เนื้อหา00100266 Flipbook PDF

เนื้อหา00100266

58 downloads 123 Views 1MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

โมเดลเศรษฐกิจ BCG กับโอกำสและควำมท้ำทำยในกำรพัฒนำประเทศ (BCG economic model with opportunities and challenges in national development) ณัฏฐกิตติ์ ปัทมะ*

1. บทนำ ประเทศไทยใช้ ทรัพยากรและความหลากหลายทางชี วภาพสร้ างการเติ บโตทางเศรษฐกิ จที่ ต้ อง แลกด้วยความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดของเหลือทิ้ง ที่สร้างมลพิษ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาสุขภาพ ซึ่งต้องใช้งบประมาณจานวนมากเพื่อแก้ไขปัญหา จากการเร่ง พั ฒ นาเศรษฐกิ จ ของประเทศ เนื่ อ งจากไม่ ส ามารถสร้า งมู ล ค่ า เพิ่ ม ให้ กั บ ทรั พ ยากรได้ เต็มศักยภาพ เกิดการพัฒนาแบบกระจุกตัว ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้าระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เศรษฐกิจ ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกและได้รบั ผลกระทบสูงจากการเปลี่ยนแปลงภายนอก จึงจาเป็นต้องปรับเปลี่ยน รูป แบบการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั งคมแบบองค์ รวม โดยอาศั ย ความหลากหลายทางชี วภาพและ วัฒนธรรม การส่งเสริมและพัฒนาเพื่อยกระดับมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการ นาเทคโนโลยี นวั ต กรรมดิ จิ ทั ล สมั ย ใหม่ ที่ ช่ ว ยทลายข้ อ จ ากั ด ให้ ก้ าวกระโดด อั น จะเป็ น การสร้างการเติ บ โตทาง เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และกระจายรายได้และโอกาสอย่างทั่วถึง รวมถึงการรักษาฐานทรัพยากรที่สาคัญ และความหลากหลายทางชีวภาพให้ เกิดสมดุล ด้วยการใช้โมเดลเศรษฐกิจ แบบใหม่ในการขับเคลื่อน การพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ 1) เศรษฐกิจชีวภำพ 2) เศรษฐกิจหมุนเวียน และ 3) เศรษฐกิจสีเขียว1

ที่มา https://shorturl.asia/pB9t7 [26 ตุลาคม 2565] *

วิทยากรเชี่ยวชาญ กลุ่มงานวิจัยและข้อมูล สานักวิชาการ สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดล เศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569” บทสรุปผู้บริหาร, หน้า 3. 1

2 ในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวช้าเพียงร้อยละ 3 ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีรายได้น้อยและ ยังติดกับดักรายได้ปานกลางมาอย่างยาวนาน จึงจาเป็นต้องเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบ การพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจเแบบองค์รวม ซึ่งจะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความหลากหลายทางชี วภาพและวัฒ นธรรม โดยอาศัยกลไกวิท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทำมำกแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ท ำน้ อยแต่ ได้ มำก” ดั งนั้ น โมเดลเศรษฐกิ จ BCG (Bio-Circular- GreenEconomy : BCG Model) จึงเป็นกลไกสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด กระจายโอกาส กระจาย รายได้ และนาความมั่งคั่งไปสู่ชุมชนในท้องถิ่นอย่า งทั่วถึง นาพาประเทศก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง และมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน การพัฒนาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ให้ สามารถก้าวข้ามปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ได้แก่ ปัญหาทรัพยากรเสื่อมโทรม ขยะล้นเมือง ภาวะโลกร้อน รวมถึงรายได้เกษตรกรที่ไม่เพิ่มขึ้น บนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดคล้องกับหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรมากกว่า 3 เท่าตัว ภายใน 20 ปี2

ที่มา https://shorturl.asia/vKoTr [30 พฤศจิกายน 2565] 2

สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), BCG Economy Model คืออะไร [Online], 2565. แหล่งที่มา https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/what-is-bcg-economy-model/ [10 พฤศจิกายน 2565]

3 ดังนั้น การพัฒนาประเทศจึงต้องมุ่งสู่ การขับเคลื่อนและบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างสมดุลทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนจากแรงกดดันหรือข้อจากัดให้เป็นพลัง ปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรม ไปสู่ การใช้ วิท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัต กรรมเป็ น ฐานการพั ฒนา การใช้ ทรัพยากรสร้างมู ลค่ า ทางเศรษฐกิ จอย่ างคุ้ มค่ า รวมทั้ งยึ ด โยงกั บฐานทรั พ ยากรจากความหลากหลายทางชี ว ภาพ ได้ แ ก่ 1) การเกษตรและอาหาร 2) สุ ข ภาพและการแพทย์ 3) พลั ง งาน วั ส ดุ แ ละเคมี ชี ว ภาพ และ 4) การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อความมั่นคงพึ่งพาตนเอง และการเข้าถึงสินค้า และบริการ ทั่ ว ถึ งมากยิ่ งขึ้ น และเกิ ด การเร่ งรั ด พั ฒ นาความสามารถในการฟื้ น ตั ว หรื อการสร้ างภู มิ คุ้ ม กั น ต่ อ การเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป 2. ยุทธศำสตร์กำรพัฒนำประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

ที่มา https://www.bcg.in.th/strategies/ [8 ธันวาคม 2565] การพัฒนาประเทศด้วยโมเดล BCG มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และ สอดรับกับหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ซึ่งเป็นหลักสาคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่ต้นน้าถึงปลายน้าด้วยกลไกจตุภาคี ได้แก่ 1) อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา เพิ่มพูนทรัพยากรความหลากหลาย ทางชีวภาพและวัฒนธรรม 2) บริหารจัดการการใช้ประโยชน์และบริโภคอย่างยั่งยืน 3) ลดและใช้ประโยชน์ ของทิ้งจากกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ 4) การสร้างมูลค่าเพิ่มและห่วงโซ่มูลค่า ตั้งแต่ภาคเกษตรจนถึง ภาคการผลิตและบริการ 5) สร้างภูมิคุ้มกัน พึ่งพาตนเอง และเพิ่มสมรรถนะในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว3

3

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดล เศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569”, หน้า 3.

4

ที่มา https://www.bcg.in.th/background/ [7 ธันวาคม 2565] 2.1 สำระสำคัญของยุทธศำสตร์กำรพัฒนำประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เมื่ อ วั น ที่ 19 มกราคม 2564 คณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ มี ม ติ เ ห็ น ชอบให้ ด าเนิ น การขั บ เคลื่ อ น การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่ปี 2564 เป็ นต้นไป โดยกาหนดให้ แผนงาน/โครงการต่าง ๆ ต้องสอดคล้องกับแผนปฏิบั ติการ ด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 -25704 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ โดยสรุป ดังนี้ ยุทธศำสตร์ที่ 1 กำรสร้ำงควำมยั่งยืนของฐำนทรัพยำกร และควำมหลำกหลำยทำงชีวภำพ ด้วยกำรจัดสมดุลระหว่ำงกำรอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ เน้นการนาความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ เพื่อความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นทุนพื้นฐาน ในการพัฒ นาเศรษฐกิจให้ เติบโตเพื่อส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป และส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ธรรมชาติจึงไม่ใช่แค่เพียงทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต แต่เป็นพื้นฐานของความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ดังนั้น จึ งต้ องรั กษาสมดุ ลระหว่ างการมี อยู่ แ ละใช้ ไป รวมถึ ง การน ากลั บ มาใช้ ซ้ าตามหลั ก การหมุ น เวี ย น โดยมีเป้าหมายสาคัญ 1) สร้างความยั่งยืนในการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในระดับ ชุมชนและประเทศ 2) เสริมสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงของชุมชนเพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหาร

4

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, “แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570” บทสรุปผู้บริหาร, 2565, หน้า 1.

5 จั ดการทรั พยากรและความหลากหลายทางชี วภาพ 3) สร้ างองค์ ความรู้ และเทคโนโลยี เพื่ อสนั บสนุ น การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายที่สมดุลและยั่งยืน5 ยุทธศำสตร์ที่ 2 กำรพัฒนำชุมชนและเศรษฐกิจฐำนรำกให้เข้มแข็ง ด้วยทุนทรัพยำกร อัตลักษณ์ ควำมคิดสร้ำงสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้ศักยภาพของพื้นที่โดยการระเบิดจากภายใน เน้นตอบสนองความต้องการในแต่ละพื้นที่ เป็นอันดับแรก ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งในระดับพื้นที่ การดารงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ รวมถึงการใช้ ประโยชน์จากความเข้มแข็งจากภายใน มาต่อยอดและยกระดับมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการ ให้มีมูลค่าสูงขึ้น ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และให้ความสาคัญกับการพัฒนา ที่นาไปสู่การเติบโตของทุกภาคส่วนไปพร้อม ๆ กัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและพัฒนาได้อย่างเท่าเทียม มากยิ่งขึ้น ครอบคลุม ภาคการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น อาหารอาหารพื้นบ้าน อาหารริมทาง สมุนไพร การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการผลิตพลังงานชุมชน เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อ 1) เศรษฐกิจ ท้องถิ่นและภูมิภาคเติบโตอย่างมีคุณภาพและมีสัดส่วนต่อ GDP เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) สร้างหลักประกัน ของการมีงานทาในพื้นที่และได้รับผลตอบแทนที่ดี เพื่อนาไปสู่การลดความเหลื่อมล้าทางรายได้ระหว่าง ภาคเมื องกั บ ชนบท 3) สร้างความมั่ นคงพื้ นฐานให้ กั บชุ มชนเพื่ อการมี คุ ณภาพชี วิตที่ ดี ประกอบด้ วย ความมั่นคงด้านอาหารสุขภาพ และพลังงาน6 ยุท ธศำสตร์ที่ 3 ยกระดั บ กำรพั ฒ นำอุ ต สำหกรรมภำยใต้ เศรษฐกิ จ BCG ให้ ส ำมำรถ แข่งขันได้อย่ำงยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการเดิม ให้สามารถเติบโต ได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการนาความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิต ลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตให้เป็นศูนย์ การหมุน เวียนทรัพยากรกลับมาใช้ หรือการนาไปสร้าง มูลค่าเพิ่มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ยกระดับมาตรฐานสู่การเป็นแหล่งผลิตและให้บริการที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี ให้ความสาคัญกับระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีมาตรการ การผลิ ต ที่ ยั่ งยื น เที ย บเท่ ามาตรฐานสากล รวมถึ งการพั ฒ นาสู่ ก ารสร้างผลิ ต ภั ณ ฑ์ ห รือ บริ ก ารที่ ใช้ นวัตกรรมเข้มข้น เช่น ระบบการผลิตพืชในโรงงานพืช การให้บริการด้านสุขภาพที่มีความแม่นยาสูง เป็น ต้น เพื่อเป็น ผู้น าในการผลิตและการให้บริการทั้งในระดับประเทศและเวทีโลก ครอบคลุม 6+1 สาขา คือ การเกษตร อาหาร ยาและวัคซีน เครื่องมือแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรให้มี

5

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดล เศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569”, หน้า 42. 6 เรื่องเดียวกัน,หน้า 45-46.

6 ประสิ ท ธิ ภ าพสู งด้ ว ยการใช้ เทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมผสานภู มิ ปั ญ ญา มุ่ งยกระดั บ ผลผลิ ต เกษตร สู่มาตรฐานสูงครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพโภชนาการ ความปลอดภัย และระบบการผลิตที่ยั่งยืน7 ยุทธศำสตร์ที่ 4 เสริมสร้ำงควำมสำมำรถในกำรตอบสนองต่อกระแสกำรเปลี่ยนแปลงของโลก เน้นการสร้างภูมิคมุ้ กัน และการมีความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก อย่างเท่าทันเพื่อบรรเทาผลกระทบ รวมทั้งเข้าถึงโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกที่เกิดขึ้นได้ รวดเร็ วยิ่ งขึ้ น เป็ นการปู ทางสู่ อนาคตการลงทุ นโครงสร้ างพื้ นฐานในด้ านต่ าง ๆ เพื่ อสร้ างคุ ณ ค่ าใหม่ ในอนาคตด้วยการนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปเพิ่มศักยภาพของชุมชน ผู้ประกอบการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต/บริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด รวมถึงสร้างการเติบโต อย่างมีคุณภาพเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่า สามารถตอบโจทย์ต้นทุนที่ถูกลงมากขึ้น คาดว่ า ในปี 2578 ไทยจะก้ าวเข้ าสู่ สั งคมสู งวั ย ที่ มี คนวั ยท างานน้ อยลงอย่ างมาก ส่ งผลให้ โครงสร้างภาคแรงงานเปลี่ยนไป การทาธุรกิจรูปแบบเดิมที่ ใช้ แรงงานจานวนมากไม่เหมาะสมอีกต่อไป โครงสร้างตลาดและการบริโภคของประชาชนจะเปลี่ยนไปอย่างมาก ความต้องการบริโภคสินค้าที่ส่งผลดีต่อ สุขภาพจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น ภาวะโลกร้อนทาให้เกิดภัยแล้งรุนแรงและน้าท่วมฉับพลัน จะเป็นความ เสี่ยงโดยตรงต่อธุรกิจและกระทบกับคนทั้งโลก รวมถึง มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีจะมีการนามาใช้ เพิ่มขึ้น เช่น สินค้าที่ผลิตต้องไม่สร้างมลพิษ หรือไม่ใช้สารปฏิชีวนะหรือสารเคมีต้องห้ามในกระบวน การผลิต ส่งผลให้ต้องมีการเตรียมความพร้ อมของภาคสังคมให้เข้าสู่สังคมฐานความรู้เพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน และเร่งรัดพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมภายในประเทศ โดยมีเป้าหมายคือ 1) ทุกภาคส่วนสามารถ ในการปรั บตั วและรั บมื อต่ อการเปลี่ ยนแปลงได้ อย่ างรู้ เท่ าทั น 2) เร่ งรั ด พั ฒ นาความสามารถในการ สร้างเทคโนโลยี นวัตกรรมของไทยเพื่อรองรับการผลิตสินค้าและบริการที่มีนวัตกรรมเข้มข้น8 สาหรับแนวทางการเร่งรัดและผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจภาคการเกษตรที่เชื่อมโยง กับการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้การขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ได้แก่ 1) สนับสนุนให้เกษตรกรนาเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ซึ่ งจะช่ ว ยลดต้ น ทุ น จากการใช้ ปุ๋ ย และยา ผลิ ต ผลที่ ป ลอดภั ย และมี คุ ณ ภาพและปริม าณตรงตาม ความต้องการของตลาด อีกทั้งยังสามารถนามาแปรรูปให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นได้ด้วย 2) สนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น สารให้ความหวาน สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เป็นต้น เพื่อบรรเทาปัญหาราคาตกต่าในพืชเศรษฐกิจ ที่สาคัญของไทย เช่น อ้อย มันสาปะหลัง ยาง และปาล์ม เป็นต้น 7

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดล เศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2569”, หน้า 49-50. 8 เรื่องเดียวกัน, หน้า 74-75.

7 3) การผลิตยาชีววัตถุ วัคซีน และชุดตรวจวินิจฉัยที่จาเป็นได้เองภายในประเทศ ทาให้ผู้ป่วย เข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ที่มีราคาแพงได้เพิ่มขึ้นและลดการนาเข้า 4) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่จากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม และระบบ บริหารสถานที่ท่องเที่ยว โดยการนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ตลอดจนบริหารจัดการเส้นทาง ทาให้เกิด แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพและกระจายนักท่องเที่ยวสู่เมืองรองหรือชุมชนท้องถิ่น 5) การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เน้นการแปลงของเสียให้เป็นแหล่งรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับผู้ประกอบการเดิมในระบบ และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ ให้สามารถใช้ ทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น เศรษฐกิจโมเดล BCG จึงตอบโจทย์ การพั ฒนาที่ ยั่ งยื นของสหประชาชาติ ให้ บรรลุ เป้ าหมาย การผลิตและบริโภคที่ ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ การอนุรักษ์ ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒ นาที่ยั่งยืน อีกทั้งยังสอดรับ กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักสาคัญ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วย9

ที่มา https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/bcg-by-nstda/ [7 ธันวาคม 2565]

9

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สานักงานพัฒ นาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), “โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG”, [Online], 2565. แหล่งที่มา https://www.nstda.or.th/home/knowledge _post/bcgby-nstda/ [7 ธันวาคม 2565]

8 2.2 ควำมสอดคล้องกับนโยบำยและแผน 3 ระดับ

ที่ มา กระทรวงการอุ ดมศึ กษา วิ ทยาศาสตร์ วิ จั ยและนวั ตกรรม, “แผนปฏิ บั ติ การด้ านการขั บเคลื่ อน การพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570”, 2565, หน้า 21. 1. แผนระดับ 1 1) ยุทธศำสตร์ชำติ เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ ยุทธศำสตร์ชำติที่ 2 ด้ำนกำรสร้ำงควำมสำมำรถในกำรแข่งขัน ประเด็นที่ 2 ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน มุ่งสู่การเกษตรสร้างมูลค่า อุตสาหกรรมและ บริการแห่งอนาคต การสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว และประเด็นที่ 4 ยกระดับความสามารถ ด้านเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อเพิ่มสมรรถนะความสามารถของประเทศทั้งปัจจุบันและอนาคต ยุทธศำสตร์ชำติที่ 3 ด้ำนกำรพัฒนำและกำรเสริมสร้ำงศักยภำพทรัพยำกรมนุษย์ ประเด็ น ที่ 3 ปฏิ รูป กระบวนการเรียนรู้ที่ ต อบสนองต่อ การเปลี่ ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ประเด็นที่ 5 การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัย และ ประเด็ นที่ 6 การสร้างสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการพั ฒ นาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพ ยากรมนุ ษย์ ยุทธศำสตร์ที่ 4 ยุทธศำสตร์ชำติด้ำนกำรสร้ำงโอกำสและควำมเสมอภำคทำงสังคม ประเด็น ที่ 1 สร้างความยั่งยืน ของความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการใช้ประโยชน์ แ ละ การอนุรักษ์อย่างสมดุล มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุ มชนที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและ

9 ประเด็นที่ 3 การพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการเติบโตอย่างทั่วถึง ด้วยการสร้างความสามารถด้านกาลังคนให้มี ความเชี่ยวชาญ และเข้าถึงความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยุทธศำสตร์ที่ 5 ยุทธศำสตร์ชำติด้ำนกำรสร้ำงกำรเติบโตบนคุณ ภำพชีวิต ที่เ ป็นมิต รต่อ สิ่งแวดล้อม ประเด็ น ที่ 1 สร้ างการเติ บ โตอย่ างยั่ งยื น บนสั งคมเศรษฐกิ จสี เขี ย ว สร้ างความเป็ น ธรรม บนความสมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลาย ทางชีวภาพในและนอกถิ่นกาเนิด และส่งเสริมการบริโภคและการผลิตสีเขียว10 2. แผนระดับ 2 1) แผนแม่บทภำยใต้ยุทธศำสตร์ชำติ มีความสอดคล้องใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้ำนกำรสร้ำงควำมสำมำรถในกำรแข่งขัน ประเด็นที่ 3 การเกษตรสร้างมูลค่า ในแผนย่อยเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรอัจฉริยะ อุตสาหกรรมและ บริการแห่ งอนาคต ประเด็นที่ 4 อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตแผนย่อยอุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ครบวงจร ประเด็นที่ 5 สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ประเด็นที่ 7 โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล และประเด็นที่ 8 ผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ (2) ด้ำนกำรสร้ำงโอกำสและควำมเสมอภำคทำงสังคม ประเด็นที่ 13 การเสริมสร้าง ให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี แผนย่อยการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัยสนับสนุนการสร้างสุขภาวะ ที่ดี และประเด็นที่ 16 เศรษฐกิจฐำนรำก แผนย่อยการยกระดับศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ ด้วยการเพิ่มพูนองค์ความรู้และทักษะในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจของเกษตรกรและแรงงาน (3) ด้ำนกำรสร้ำงกำรเติบโตบนคุณภำพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่ 18 การเติบ โตอย่างยั่งยื น แผนงานย่อ ยการสร้างการเติบ โตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว และ ประเด็นที่ 23 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มุ่งเน้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้าทางสังคม และการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน11 2) แผนกำรปฏิ รูป ประเทศ สอดคล้ อ งใน 6 ด้ าน ได้ แ ก่ (1) ด้ ำนกำรบริ ห ำรรำชกำร แผ่นดิน การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีความคล่องตัว และโปร่งใส (2) ด้ำนกฎหมำย การกาหนดกลไกทาง กฎหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (3) ด้ำนเศรษฐกิจ การเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่ งขั นโดยการเพิ่ มผลิ ตภาพ และการสร้ างฐานอุ ตสาหกรรมใหม่ (4) ด้ ำนทรั พ ยำกรธรรมชำติ แ ละ สิ่งแวดล้อมการส่งเสริมให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการรักษาฟื้นฟูให้สมบูรณ์และยั่งยืน 10

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570, 2565, หน้า 21-23. 11 เรื่องเดียวกัน, หน้า 23-24.

10 (5) ด้ ำนสำธำรณสุ ข ส่ งเสริ มการบริ การในระบบสุ ขภาพและสาธารณสุ ขให้ มี ประสิ ทธิ ภาพ คนไทย มีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงการนาแพทย์แผนไทยและสมุนไพรมาใช้ในระบบบริการสุขภาพ และ (6) ด้ำนพลังงำน ส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน12 3) แผนพัฒนำเศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติ ฉบับที่ 13 มีเป้าหมายพลิกโฉมประเทศไทย สู่มูลค่าสูงและยั่งยืน โดยแผนปฏิบัติการ BCG สอดคล้องกับ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) เศรษฐกิจมูล ค่ำที่เป็นมิต รต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ หมุดหมำยที่ 1 ไทยเป็น ประเทศชั้นนาด้านสินค้าเกษตรและแปรรูปมูลค่าสูง หมุดหมำยที่ 2 เป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้น คุณค่าและความยั่งยืน และหมุดหมำยที่ 4 เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง (2) สังคมแห่งโอกำสและควำมเสมอภำค สอดคล้องกับหมุดหมำยที่ 7 ไทยมี SMEs ที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ หมุดหมำยที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองหลักของภูมิภาคที่มี ความเจริญทางเศรษฐกิจ ทัน สมัย และน่าอยู่ หรือกระจายการเติบโตสู่เมืองรอง และหมุดหมำยที่ 9 ความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอและเหมาะสม (3) วิถีชีวิตที่ยั่งยืน สอดคล้องกับหมุดหมำยที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคม คาร์บอนต่า ปัญหาขยะ น้าเสีย มลพิษ และก๊าซเรือนกระจกลดลง และหมุดหมำยที่ 11 ไทยสามารถ ลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (4) ปัจจัยสนับสนุนกำรพลิกโฉมประเทศ สอดคล้องกับหมุดหมำยที่ 12 ไทยมีกาลังคน สมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต13 ดั ง นั้ น การพั ฒ นาประเทศตามแผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ฯ ฉบั บ ที่ 13 จึ ง ต้ อ งอาศั ย ความเข้าใจในบริบทสถานการณ์ในภาพรวม เพื่อให้รับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และเป็นได้ทั้งโอกาสที่ช่วยเสริมสร้างประโยชน์ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบรุนแรง ทั่ ว โลกทั้ งทางเศรษฐกิ จ สั งคม และสิ่ งแวดล้ อ ม ประกอบกั บ แนวโน้ ม ที่ ค าดว่าจะส่ งผลต่ อ ทิ ศทาง การพัฒนาประเทศในอนาคต ภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัดให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด14 3. แผนระดับที่ 3 อาทิเช่น นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิท ยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แผนปฏิบัติ ราชการ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 12

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, “แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570”, 2565, หน้า 24. 13 เรื่องเดียวกัน, หน้า 25. 14 “ประกาศสานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แผนพัฒ นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)”, รำชกิจจำนุเบกษำ 139 (1 พฤศจิกายน 2565): หน้า 6.

11 ทั้งนี้ หลักในการดาเนินงานแบบบูรณาการระหว่างหลายภาคส่วนให้เป็นไปโดยมีเอกภาพ และมีพลัง โดยยึดหลักการสาคัญในการผลักดันโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งเน้นการแข่งขันได้ในระดับโลก และการส่งต่อผลประโยชน์สู่ชุมชน และขับเคลื่อนโดยกลไกการทางานแบบจตุภาคี (Quadruple Helix)

ที่มา https://www.bcg.in.th/background/ [16 ธันวาคม 2565] 3. สถำนกำรณ์ ควำมท้ำทำยและโอกำสในกำรขับเคลื่อนกำรพัฒนำประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG 3.1 สถำนกำรณ์กำรขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG 1) สำขำกำรเกษตรและอำหำร ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่า GDP ของสาขาเกษตรเติบโต ในอั ต ราติด ลบ จึงต้ องปรับ โครงสร้างการผลิต สิน ค้ าเกษตรทั้ งระบบให้มี ศั กยภาพในการเพิ่ ม GDP ของภาคเกษตรได้สูงขึ้นเป็น 1.7 ล้านล้านบาท ด้วยการเพิ่มความหลากหลายของผลผลิต มีระบบสนับสนุน การตั ด สิ น ใจจากเทคโนโลยี การวิ เคราะห์ ค วามต้ องการ ซึ่ งจะท าให้ การผลิ ต แม่ น ย าสอดคล้ องกั บ ความต้องการของตลาด ลดของเหลือทิ้ง มีการตรวจสอบและติดตามผลได้แบบเรียลไทม์ ลดการบุกรุกผืนป่า และการใช้เทคโนโลยีระบบการผลิตและเครื่องจักรกลที่เหมาะสม รวมถึงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่สินค้า ปลอดภัย และการสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ คาดหวังว่าเมื่อได้ขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจ BCG อย่างบูรณาการแล้ว จะสามารถลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดมลพิษ ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ เช่น PM 2.5 ขยะ น้าเสีย การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น สาหรับผลิตภัณฑ์อาหารมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่า GDP จาก 0.6 ล้านล้านบาท เป็น 0.9 ล้านล้านบาท ด้วยการพัฒนาต่อยอดจากพื้นฐานความพร้อมของผู้ประกอบการในการยกระดับคุณภาพ สร้างมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิต ภัณ ฑ์ การสร้างผลิต ภัณ ฑ์ใหม่โดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร เพื่อสุขภาพ อาหารสาหรับแต่ละช่วงวัย หรือการพัฒนาเป็นสารประกอบมูลค่าสูง

12 2) สำขำสุขภำพและกำรแพทย์ ในปัจจุบันไทยมีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้ านสุขภาพ และการแพทย์ โดยเฉพาะในกลุ่ มผลิตภั ณฑ์ ยาและเวชภั ณฑ์ มี มู ลค่ าเพี ยง 40,000 ล้ านบาท เนื่ องจาก ขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง บุคลากรวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแพทย์ ส่วนใหญ่อยู่ในต้นน้าของห่วงโซ่ ทาให้ขาดศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงจาเป็นต้องเร่งรัด การพัฒนาขีดความสามารถด้านการสร้างนวัตกรรมยา วัคซีน ยาชีววัตถุ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึง การวิจัยทางคลินิ กและการบริหารจัดการข้อมูลวิทยาศาสตร์การแพทย์ การให้ ความสาคั ญกั บนโยบาย ป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพมากกว่านโยบายด้านการรักษา และการสร้างแพลตฟอร์มการวิจัยทางคลินิก ให้สอดประสานการทางานกับฝ่ายกากับดูแลของรัฐ คาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่า GDP เป็น 90,000 ล้านบาท 3) สำขำพลังงำน วัสดุ และเคมีชีวภำพ มูลค่า GDP ของสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ ประมาณ 95,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูง แต่ต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้ได้ ร้ อ ยละ 30 ในปี 2579 โดยด้ ว ยการพั ฒ นานวั ต กรรมการผลิ ต พลั ง งานที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง และ หลากหลายทั้งชนิดและคุณสมบัติ เช่น ขยะจากอุตสาหกรรม ครัวเรือน ของเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร เป็นต้น ให้สามารถนากลับมาใช้ใหม่ในรูปของแหล่งพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน มีแหล่งพลังงาน ทดแทนในพื้นที่ เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ ชีวมวล (รวมขยะ) เป็นต้น และใช้เทคโนโลยีการจัดเก็บ ข้อมูล ส่วนวัสดุและเคมีชีวภาพมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดผลผลิต ทางการเกษตรและของเสีย หรือ ผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพที่มีมูลค่าสูง อาทิ พลาสติกชีวภาพ ไฟเบอร์เภสัชภัณฑ์ มีศักยภาพในการเพิ่ม มูลค่า GDP มากกว่า 2.6 แสนล้านบาท 4) สำขำกำรท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้ำงสรรค์ (Creative Economy) การท่องเที่ยวเป็นแหล่ง สร้างรายได้หลักของประเทศด้วยมูลค่า GDP ประมาณ 1 ล้านล้านบาท และมีศักยภาพในสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการกระจายแหล่งท่องเทีย่ วสู่เมืองรอง โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ระบบดิจิตัล สินค้า และบริการ เน้นตลาดคุณภาพ สร้างมาตรฐานความสะดวก สะอาด ปลอดภัย ร่วมกับการชูอัตลักษณ์ ของแต่ละพื้นที่ โดยการนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้บริหารจั ดการและดูแลระบบนิเวศ รวมถึง การฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งเสื่อมโทรมทางธรรมชาติให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สาหรับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนพื้นฐานการสร้าง การใช้องค์ความรู้ และความคิด สร้างสรรค์ เชื่อมโยงกับทุนทางปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม และความหลากหลายทางชีวภาพให้สามารถ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น การท่องเที่ยวเชิง สุขภาพ ศิลปะและวัฒนธรรม การท่ อ งเที่ ย วเชิ งเกษตร เป็ น ต้ น รวมถึงการพั ฒ นาเพื่ อ ส่งออกสิ น ค้ าและบริก ารอย่ างมี อัต ลั ก ษณ์ ให้ ส อดประสานความร่ ว มมื อ กั บ ภาคธุร กิ จ การท่ อ งเที่ ย ว เพื่ อ รองรับ การเข้ า สู่ สั งคมผู้ สู งอายุ ที่ จ ะ ส่งผลกระทบโดยตรงในอีก 5-10 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีศักยภาพในการเพิ่ม GDP เป็น 1.4 ล้านล้านบาท15 15

สานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ , โมเดลเศรษฐกิจ บีซีจี, [Online], 2565. แหล่งที่มา https://www.nstda.or.th/home/knowledge _post/bcg-by-nstda/ [7 ธันวาคม 2565]

13 3.2 ประเด็นท้ำทำยและโอกำสกำรพัฒนำประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ประเด็นท้ำทำย ไทยมีอัตราการขยายตัวช้ากว่าเศรษฐกิจในภาพรวม สาเหตุห ลัก เนื่องจาก ภาคการผลิต ยังคงใช้ใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน ผลิต ภัณ ฑ์ และบริการถูกทดแทนได้ง่าย จึงสูญ เสียตลาด ให้ประเทศที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุน การผลิต โดยเฉพาะในกลุ่ม สินค้าเกษตร ทั้งนี้ การเติบโตของ เศรษฐกิ จที่ ช้าส่ งผลให้ รายได้ ต่ อหั วของประชากร เฉลี่ ย 2.4 แสนบาท/ปี ต่ ากว่ารายได้ เฉลี่ย ของโลก ถึงประมาณ 4 เท่า ในปี 2562 หรือร้อยละ 40 ของจานวนประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพียง 5,200 บาท ซึ่งไม่ เพี ยงพอต่ อการด ารงชีพ ท าให้ รัฐบาลมี ภาระในการจั ดสวัสดิ การให้ กับผู้ ที่ มี รายได้น้ อยที่ ถือบั ตร สวัสดิการแห่งรัฐ 14 ล้านคน ในปี 2563 เพิ่มขึ้นจาก 11.4 ล้านคน ในปี 2561 ไม่นับรวมสาขาการท่องเที่ยว ที่เป็นจักรกลขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สาคัญ แต่รายได้จากการท่องเที่ยวต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 2 ใน 3 เมื่อเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศอย่างมาก โจทย์ ความท้ าทายส าคั ญ ของการพั ฒ นาเศรษฐกิ จไทยในทศวรรษหน้ า คื อ ความผั น ผวน ทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การระบาดของโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้า และการแปรปรวนของ สภาพภูมิอากาศ รวมถึงการลดลงของทรัพยากรอย่างรวดเร็ว การพัฒนาแบบใหม่จึงต้องมุ่งสู่การพัฒนา อย่างสมดุลมากขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเปลี่ยนแรงกดดัน หรือข้อจากัด เป็ น พลั งในการขั บเคลื่ อน เพื่ อให้ เกิ ดการเร่ งรั ดพั ฒ นาความสามารถในการฟื้ นตั ว (Resilience) หรื อ การสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาอันรวดเร็ว16 จุดแข็งที่สำคัญ 1) ไทยมี ค วามมั่น คงด้ านอาหารสูงมากเมื่อ เที ยบกั บ ประเทศอื่ น ๆ และอยู่ในฐานะครัว ของโลก ในปี 2562 โดยส่งออกอาหารรวมกันคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านบาท มีสินค้าหลายชนิด ที่ผลิตได้มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ได้แก่ ข้าว มันสาปะหลัง และน้าตาลทราย แต่การส่งออกสินค้า เกษตรได้เป็นจานวนมาก ประมาณร้อยละ 80 อยู่ในรูปของสินค้าแปรรูปขั้นต้น 2) ไทยมีความเข้มแข็งด้านระบบสาธารณสุข โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ดีที่สุด ด้านการฟื้น ตัว แต่ต้องน าเข้ายา วัสดุ และอุป กรณ์ ทางการแพทย์ในสัดส่วนที่สูง คิดเป็ นร้อยละ 70 ของมูลค่ารวม 1.9 แสนล้านบาท 3) ไทยมีทรัพยากรธรรมชาติ/วัฒนธรรมที่สมบูรณ์ แต่เน้นการท่องเที่ยวเชิงปริมาณมากกว่า เชิงคุณภาพ ในปี 2562 มีรายได้จากการการท่องเที่ยวกว่า 3 ล้านล้านบาท มากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก มี นั ก ท่ อ งเที่ ย วเดิ น ทางมาท่ อ งเที่ ย วกว่ า 40 ล้ า นคน แต่ ค่ า ใช้ จ่ า ยด้ า นการท่ อ งเที่ ย วต่ อ หั ว ของ กลุ่มนักท่องเที่ยวหลักค่อนข้างต่า และค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติค่อนข้างคงที่ ประมาณ 5,000 บาท/หัว (ปี 2558 – 2562) 16

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดล เศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2569”, หน้า 33-38.

14 โอกำสในกำรพัฒนำ 1) โลกหันมาให้ความสาคัญกับการผลิตและพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน เนื่องจากภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่ องและรุนแรง จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะขยายตลาดไปสู่การผลิต สินค้าที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมด้วยการพัฒนาต่อยอดจากฐานทรัพยากรจากความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม และการเกษตรที่เป็นจุดแข็งของประเทศ 2) ตลาดต้องการสินค้า/บริการที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐานระดับสากล ในช่วงหลังโรคโควิด 19 มีความต้องการสินค้าอาหารของไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวและอาหารสาเร็จรูป 3) ตลาดผลิต ภัณ ฑ์แ ละบริการสุขภาพเติบโตสูงจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปสู่การให้ ความสาคัญกั บการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณ ภาพ จึงเป็นโอกาสที่ดี เนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และสรรพคุณในการเป็นยาและเวชสาอาง โอกำสของไทยในเวทีโลก 1) มุ่ งเน้ น การเป็ น ครัว ของโลกที่ ส ะอาด ถู ก สุ ข ลั ก ษณะ และปลอดภั ย ได้ ม าตรฐานโลก คาดการณ์ ว่า ในปี 2593 ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้น เป็น 9.8 พันล้านคน และส่งผลให้ความต้องการ อาหารเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70 จึงจาเป็นต้องขยายตลาดด้วยการยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารไทยให้มีมาตรฐาน ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดี 2) เพิ่มมูลค่าภาคการผลิตและบริการด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ จากการมีแหล่ง วัต ถุดิบเกษตรจานวนมากและผลิต ได้ตลอดทั้งปี และเศษวัสดุและของเสียที่ไม่ได้นาไปใช้ประโยชน์ ให้สามารถนาไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย คาดการณ์ว่า ตลาดวัสดุชีวภาพจะขยายเพิ่มเป็น 3.48 แสนล้านเหรี ยญสหรัฐ ในปี 2570 และผลิต ภัณ ฑ์ เคมีชีวภาพในตลาดโลกมีโอกาสเติบโตจาก 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2559 เป็น 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2568 3) การมีสุขภาพที่ดีและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศ ในปี 2564 ไทยก้าวเข้าสู่ สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ และในปี 2583 จะมีผู้สูงอายุมากถึง 20 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของจานวนประชากรทั้งประเทศ จึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและการแพทย์ภายในประเทศ ที่จะนาไปสู่การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงทั้งในยามปกติและภาวะวิกฤต 4) แหล่งพานักที่สร้างความสุข เน้นความปลอดภัย การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ยั่งยืน โดยกระจาย รายได้สู่ชุมชน เพื่อให้นักท่องเที่ยวสัมผัสประสบการณ์ของการอยู่ดี กินดี และมีสุขภาพที่ดี ตลอดเวลา ที่มาท่องเที่ยวหรือพานักในประเทศ 5) สังคมที่ยอมรับความแตกต่างและการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาประเทศที่มุ่งให้เกิด การกระจายการเติบโตทางเศรษฐกิจไปสู่ในภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม รวมถึงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด17 17

เรื่องเดียวกัน, หน้า 38-40.

15 4. บทสรุปและข้อเสนอแนะ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เร่ง สร้างการเติบโตและพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีนัยสาคัญ และก้าวกระโดด ส่งผลให้ทรัพยากรได้รับความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วและความหลากหลายทางชีวภาพ ลดลงอย่างมาก มีของเหลือทิ้งที่สร้างมลพิษ ต่อระบบนิเวศ ก่อให้เกิด ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหา สุขภาพ แต่การพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวอยู่ในรูปแบบทามากได้น้อย เนื่องจากไม่สามารถสร้างมูลค่า ได้เต็มศักยภาพ กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ และพึ่งพาปัจจัยภายนอก ทาให้เกิดความเหลื่อมล้าทางสังคม และเศรษฐกิจในภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงพอในการนาพาประเทศไทยให้ก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ ปานกลาง จาเป็นต้องปรับเปลี่ยนและขับเคลื่อนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเร่งด่วน โดยอาศัยฐานความเข้มแข็งที่มีความหลากหลายบนจุดแข็งของประเทศไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงด้านอาหาร ความเข้มแข็งด้านระบบสาธารณสุข และการมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และมีวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ เฉพาะถิ่น มุ่งส่งเสริมและพัฒ นาให้ ป ระเทศเป็นเจ้าของสินค้าและบริการมู ลค่าสูงที่ยกระดับมู ลค่ า ในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการ ภายใต้เงื่อนไขข้อจากัดและโจทย์ความท้าทายสาคัญของการพัฒนา เศรษฐกิจในทศวรรษหน้าที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การระบาดของโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้า และการแปรปรวนของสภาพภูมิ อากาศทั่วโลก รวมถึงการแบ่งขั้ว และการแย่งชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติมหาอานาจโลก ดังนั้ น โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นการพั ฒนาเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดต่อยอดการพัฒนาตั้งแต่ ต้นน้าจนถึงปลายน้า ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาเป็ น ผลิต ภัณ ฑ์ มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียนที่คานึงถึงการนาวัสดุต่าง ๆ กลั บ มาใช้ ป ระโยชน์ ให้ ม ากที่ สุ ด ภายใต้ เศรษฐกิ จ สี เขี ย วซึ่ งเป็ น การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ควบคู่ ไปกั บ การพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล ให้ความสาคัญกับการแข่งขันได้ในระดับโลก และ ส่งต่อผลประโยชน์ สู่ชุมชนผ่านการท างานแบบจตุภาคี โดยอำศั ยกลไกวิทยำศำสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมเพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทำมำกแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทำน้อยแต่ได้มำก” เน้ น สาขาที่มีศักยภาพ ได้แก่ เกษตรและอำหำร สุขภำพและกำรแพทย์ พลังงำน วัสดุ และเคมีชีวภำพ และกำรท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้ำงสรรค์ จึงถือว่าเป็นโอกาสและ ความท้าทายการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว สร้างภูมิคุ้มกัน ต่ อการเปลี่ ยนแปลงจากภายนอกเกิ ด การกระจายรายได้ ล งสู่ ชุ ม ชน กระจายโอกาสอย่ างเป็ น ธรรม ลดความเหลื่อมล้า และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้ สูงได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

16 ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ 1) ควรบูรณาการการจัดทาฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบและทันสมัย เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สามารถน าไปใช้ประโยชน์ ในการวางแผนอนุ รักษ์ ฟื้ นฟู และสร้างเศรษฐกิจ BCG เศรษฐกิจชุมชน และ เศรษฐกิจการท่องเที่ยวบนความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2) เร่งผลักดันและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ และระเบี ยบที่ เกี่ยวข้ อง ให้ เอื้อต่ อการขั บเคลื่อน เศรษฐกิจ BCG และควบคุมการปล่อยของเสีย/ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง รวมถึงการกาหนดมาตรฐานและการรับรองคุณภาพด้าน BCG เช่น ฉลากผลิตภัณฑ์จากเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล เป็นต้น 3) ส่งเสริมผู้ประกอบการทั้งรายเดิมและรายใหม่ให้เข้าถึงแหล่งความรู้ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และ การประกอบธุรกิ จ และสนั บ สนุ น ผู้ ป ระกอบการด้ าน BCG เช่ น ผู้ผ ลิ ต พลาสติก ชี วภาพ หรือ ธุรกิ จ แหล่งท่องเที่ยวชุมชน สตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการพัฒนาต่อยอดกิจการแปรรูปขยะ เป็นต้น ให้สามารถ เข้าถึงแหล่งทุน ได้ง่าย รวมถึงการสร้างแรงจูงใจด้วยมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษี และมาตรการ จัดเก็บภาษีสาหรับผูท้ ่สี ร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 4) เร่งรัด ทุกภาคส่วนให้ ยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ BCG สู่มาตรฐานสากลทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการวิจัยและพัฒ นา การขยายขนาดการผลิต ด้านคุณ ภาพ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร พรีเมียม เกษตรปลอดภัย สารสกัด ชีวเคมีภัณฑ์ และยา 5) เร่งสร้างและพัฒนากาลังคนในทุกระดับตั้งแต่กลุ่มชุมชน ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่ อ ม กลุ่ ม วิ ส าหกิ จ เริ่ ม ต้ น และผู้ ป ระกอบการเทคโนโลยี รวมถึ งเร่ ง สร้ างตลาดรองรั บ นวัตกรรมสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน *********************

17

บรรณำนุกรม ภำษำไทย กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569” บทสรุปผู้บริหาร. กระทรวงการอุ ด มศึ ก ษา วิ ท ยาศาสตร์ วิ จั ย และนวั ต กรรม, “แผนปฏิ บั ติ ก ารด้ า นการขั บ เคลื่ อ น การพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570” บทสรุปผู้บริหาร. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่ งชาติ (สวทช.), โมเดลเศรษฐกิ จ ใหม่ BCG, [Online], 2565. แหล่ ง ที่ ม า https://www. nstda.or.th/home/knowledge _post/bcg-by-nstda/ [7 ธันวาคม 2565] ประกาศสานักนายกรัฐมนตรี เรือ่ ง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 2570)”,รำชกิจจำนุเบกษำ 139 (1 พฤศจิกายน 2565): สานั กงานพั ฒ นาวิทยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), BCG Economy Model คืออะไร [Online], 2565. แหล่ ง ที่ ม า https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/what-isbcg-economy-model/ [10 พฤศจิกายน 2565] สานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ, โมเดลเศรษฐกิจ บีซีจี, [Online], 2565. แหล่งที่ ม า https://www.nstda.or.th/home/knowledge _post/bcg-bynstda/ [7 ธันวาคม 2565] สื่ออิเล็กทรอนิกส์ https://shorturl.asia/vKoTr [30 พฤศจิกายน 2565] https://www.bcg.in.th/strategies/ [8 ธันวาคม 2565] https://www.bcg.in.th/background/ [7 ธันวาคม 2565] https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/bcg-by-nstda/ [7 ธันวาคม 2565] ********************

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.