บทสรุปบทความ00100266 Flipbook PDF

บทสรุปบทความ00100266

27 downloads 114 Views 1MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

บทความวิชาการ เรื่อง โมเดลเศรษฐกิจ BCG กับโอกาสและความท้าทาย ในการพัฒนาประเทศ (BCG economic model with opportunities and challenges in national development) จัดทาโดย นายณัฏฐกิตติ์ ปัทมะ วิทยากรเชี่ยวชาญ กลุ่มงานวิจัยและข้อมูล สานักวิชาการ สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนั ก วิช ำกำร ส ำนั กงำนเลขำธิ กำรวุ ฒิ สภำ มีห น้ ำ ที่ สนั บ สนุ นข้ อ มู ลวิ ช ำกำรให้ แ ก่ สมำชิ ก วุ ฒิ ส ภำ และคณะกรรมำธิ ก ำร เพื่ อ ประโยชน์ ใ นกำรด ำเนิ น งำนที่ เ กี่ ย วข้ อ งในวงงำน ของฝ่ำยนิ ติบัญญัติ บทควำมวิชำกำร เรื่อง โมเดลเศรษฐกิจ BCG กับโอกาสและความท้าทาย ใ น ก า ร พั ฒ น า ป ร ะ เ ท ศ (BCG economic model with opportunities and challenges in national development) จัด ท ำขึ้ น โดยมี วัต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อเป็ น ข้ อ มู ล ให้ กับ สมำชิ ก วุ ฒิ ส ภำ และบุคคลในวงงำนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หำกสมำชิกวุฒิสภำมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะประกำรใด หรือประสงค์ให้จัดทำ ข้อมูลทำงวิชำกำรในเรื่องที่ท่ำนสนใจ สำมำรถแจ้งควำมจำนงได้ที่ สำนักวิชำกำร สำนักงำนเลขำธิกำร วุฒิสภำ อำคำรรัฐสภำ (เกียกกำย) ชั้น 2 ถนนสำมเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2831 9308, 9309 อนึ่ง บทควำมวิชำกำรนี้ สำนักวิชำกำรได้จัดทำขึ้น ปีที่ 13 ฉบับที่ 02 เดือนมกรำคม 2566 เผยแพร่ ผ่ ำ นทำงห้ อ งสมุ ด อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ วุ ฒิ ส ภำ http://library.senate.go.th/e-library/ web/main.jsp?HMS=1582257832967 และเว็บไซต์ของสำนักงำนเลขำธิกำรวุฒิสภำในช่องทำง Digital Document (เอกสำรวิ ช ำกำร ส ำนั ก วิ ช ำกำร) https://www.senate.go.th/view/1/ Digital_Media_Data/TH-TH

โมเดลเศรษฐกิจ BCG กับโอกาสและความท้าทายในการพัฒนาประเทศ (BCG economic model with opportunities and challenges in national development) ณัฏฐกิตติ์ ปัทมะ*

ในช่ ว ง 10 ปี ที่ ผ่ า นมา ประเทศไทยได้ เร่ ง สร้ า ง การเติ บ โตและพั ฒ นาเศรษฐกิ จ อย่ า งมี นั ย ส าคั ญ และ ก้ าวกระโดด ส่ ง ผลให้ ท รั พ ยากรได้ รับ ความเสื่ อ มโทรม อย่ า งรวดเร็ ว และความหลากหลายทางชี ว ภาพลดลง อย่ า งมาก มี ข องเหลื อ ทิ้ ง ที่ ส ร้ า งมลพิ ษ ต่ อ ระบบนิ เวศ ก่อให้เกิดปั ญหาสิ่งแวดล้อม และปัญ หาสุขภาพ แต่ การ พั ฒ นาเศรษฐกิ จ ดั ง กล่ า วอยู่ ในรู ป แบบท ามากได้ น้ อ ย เนื่องจากไม่สามารถสร้างมู ลค่าได้เต็ มศักยภาพ กระจุก ตั ว อยู่ ในเมื อ งใหญ่ และพึ่ ง พาปั จ จั ย ภายนอก ท าให้ เกิ ด ความเหลื่ อ มล้ าทางสั ง คมและเศรษฐกิ จ ในภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงพอในการนาพาประเทศไทยให้ก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง จาเป็นต้องปรับเปลี่ยนและขับเคลื่อนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเร่งด่วนโดยอาศัยฐาน ความเข้ ม แข็ ง ของประเทศที่ มี ค วามหลากหลายบนจุ ด แข็ ง ของประเทศไม่ ว่ า จะเป็ น ความมั่ น คง ด้ า นอาหาร ความเข้ ม แข็ ง ด้ า นระบบสาธารณสุ ข และการมี ท รั พ ยากรธรรมชาติ ที่ ส มบู ร ณ์ แ ละ มีวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น มุ่งส่งเสริมและพัฒนาให้ประเทศเป็นเจ้าของสินค้าและบริการ มู ล ค่ า สู ง ที่ ย กระดั บ มู ล ค่ า ในห่ ว งโซ่ ก ารผลิ ต สิ น ค้ า และบริ ก าร ภายใต้ เงื่ อ นไขข้ อ จ ากั ด และโจทย์ ความท้าทายสาคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในทศวรรษหน้าที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความก้ า วหน้ า ทางเทคโนโลยี การระบาดของโรคอุ บั ติ ใหม่ แ ละอุ บั ติ ซ้ า และการแปรปรวนของ สภาพภูมิอากาศทั่วโลก รวมถึงการแบ่งขั้วอานาจและการแย่งชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโลก ดังนั้น โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดต่อยอดการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้า จนถึงปลายน้ า ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และ การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียนที่คานึงถึงการนาวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ ประโยชน์ให้มากที่สุด ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียวซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล ให้ความสาคัญกับการแข่งขันได้ในระดับโลก และส่งต่อผลประโยชน์ *

วิทยากรเชี่ยวชาญ กลุ่มงานวิจัยและข้อมูล สานักวิชาการ โทร. 0 2831 9309

ข สู่ชุมชนผ่านการทางานแบบจตุภาคี โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อผลิตสินค้า และบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทามากแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทาน้อยแต่ได้มาก” เน้ น สาขาที่มี ศัก ยภาพ ได้แ ก่ เกษตรและอาหาร สุข ภาพและการแพทย์ พลังงาน วั สดุ และเคมี ชีวภาพ และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงถือว่าเป็นโอกาสและความท้าทายการขับเคลื่อน และพั ฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ สามารถฟื้ นตัวได้อย่างรวดเร็ว สร้างภู มิ คุ้มกั นต่ อการเปลี่ยนแปลง จากภายนอกเกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน กระจายโอกาสอย่างเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้า และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูงได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ 1) ควรบูรณาการการจัดทาฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบและทันสมัย เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สามารถน าไปใช้ประโยชน์ ในการวางแผนอนุ รักษ์ ฟื้ นฟู และสร้างเศรษฐกิจ BCG เศรษฐกิจชุมชน และ เศรษฐกิจการท่องเที่ยวบนความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2) เร่งผลักดันและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้เอื้อต่อการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ BCG และควบคุมการปล่อยของเสีย/ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง รวมถึงการกาหนดมาตรฐานและการรับรองคุณภาพด้าน BCG เช่น ฉลากผลิตภัณฑ์จากเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล เป็นต้น 3) ส่งเสริมผู้ประกอบการทั้งรายเดิมและรายใหม่ให้เข้าถึงแหล่งความรู้ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และการประกอบธุรกิจ และสนับสนุนผู้ประกอบการด้าน BCG เช่น ผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพ หรือธุรกิจ แหล่งท่องเที่ยวชุมชน สตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการพัฒนาต่อยอดกิจการแปรรูปขยะ เป็นต้น ให้สามารถ เข้าถึงแหล่งทุน ได้ง่าย รวมถึงการสร้างแรงจูงใจด้วยมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษี และมาตรการ จัดเก็บภาษีสาหรับผูท้ ่สี ร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 4) เร่งรัดทุกภาคส่วนให้ ยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ BCG สู่มาตรฐานสากลทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการวิจัยและพัฒ นา การขยายขนาดการผลิต ด้านคุณ ภาพ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร พรีเมียม เกษตรปลอดภัย สารสกัด ชีวเคมีภัณฑ์ และยา 5) เร่งสร้างและพัฒนากาลังคนในทุกระดับตั้งแต่กลุ่มชุมชน ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่ อ ม กลุ่ ม วิ ส าหกิ จ เริ่ ม ต้ น และผู้ ป ระกอบการเทคโนโลยี รวมถึ งเร่ ง สร้ างตลาดรองรั บ นวัตกรรมสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน **********************

รายละเอียดบทความฉบับเต็ม



ออกแบบ : เรไร ลำเจี ย ก, มั ท ยำ ศรี พ นำ, นิ จ วรรณ โปยขุ น ทด

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.