แผนดนตรี ป.1 Flipbook PDF


44 downloads 107 Views 11MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

นางสาวอัลฟาฟา บิลละเตะ โรงเรียนบ้านเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3


1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มฐ. ศ 2.1 เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ศ 2.1 ป.1/4 มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีอย่างสนุกสนาน ศ 2.1 ป.1/5 บอกความเกี่ยวข้องของเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 2. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1) สมรรถนะที่ 1 ความสามารถในการสื่อสาร ตัวชี้วัดที่ 1 ใช้ภาษาถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก และทัศนะของตนเองด้วยการพูด และการเขียน พฤติกรรมบ่งชี้ 2. พูดถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และทัศนะของตนเองจากสารที่อ่าน ฟัง หรือดูตามที่ กำหนดได้ 2) สมรรถนะที่ 2 ความสามารถในการคิด ตัวชี้วัดที่ 1 คิดพื้นฐาน (การคิดวิเคราะห์) พฤติกรรมบ่งชี้ 3. ระบุรายละเอียด คุณลักษณะ และความคิดรวบยอดของข้อมูลต่าง ๆ ที่พบเห็นในบริบท ที่เป็นสิ่งใกล้ตัว 3) สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ 3 ทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข พฤติกรรมบ่งชี้ 1. ทำงานด้วยตนเองได้สำเร็จ หน่วยที่ 3 รายวิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ ดนตรีกับชีวิต กิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ชั่วโมง


3. สมรรถนะประจำหน่วย ร้องเพลงง่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการร้องเพลงอย่างสนุกสนาน 4. เนื้อหาสาระ • การขับร้องพื้นฐาน • เพลงในชีวิตประจำวัน • การเข้าร่วมร้องเพลงในกิจกรรมในชีวิตประจำวัน 5. สมรรถนะย่อย/งาน 1) ร้องเพลงง่าย ๆ โดยใช้หลักพื้นฐานในการขับร้องเพลงอย่างสนุกสนาน 2) ร้องเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้พื้นฐานการร้องเพลง และอธิบายความเป็นมาของบทเพลง 6. โครงสร้างกิจกรรมของหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สมรรถนะ กิจกรรมการเรียนรู้ เวลา 7 ชั่วโมง พื้นฐาน การร้องเพลง สมรรถนะย่อย ร้องเพลงง่าย ๆ โดยใช้หลักพื้นฐานในการขับร้องเพลงอย่าง สนุกสนาน กิจกรรมพัฒนา สมรรถนะย่อย เรื่อง ก่อนร้องเพลงเตรียมตัว อย่างไร 2 ชั่วโมง ดนตรีใน ชีวิตประจำวัน สมรรถนะย่อย ร้องเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้พื้นฐานการร้องเพลง และอธิบายความเป็นมาของบทเพลง กิจกรรมพัฒนา สมรรถนะย่อย เรื่อง รู้จักเพลงในชีวิต ประจำวัน 3 ชั่วโมง การเข้าร่วม กิจกรรมร้องเพลง ในชีวิตประจำวัน สมรรถนะประจำหน่วย ร้องเพลงง่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เพื่อเข้าร่วม กิจกรรมการร้องเพลงอย่างสนุกสนาน กิจกรรมประเมิน สมรรถนะประจำหน่วย เรื่อง เข้าร่วมกิจกรรม ร้องเพลงในชีวิต ประจำวัน 2 ชั่วโมง หมายเหตุ : กิจกรรมในหน่วยการเรียนรู้นี้ ออกแบบมาเป็นตัวอย่างเฉพาะบางกิจกรรม (ที่ไฮไลต์สี) เท่านั้น โดย แถบสีส้ม เป็นกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อย เพื่อเตรียมนักเรียนให้มีความพร้อมก่อนไปปฏิบัติกิจกรรมประเมินสมรรถนะ แถบสีเขียว ส่วน แถบสีเทา ให้เห็นถึงการออกแบบที่เชื่อมโยงกันทั้งหน่วย แต่มิได้จัดทำกิจกรรมไว้ให้ ซึ่งครูผู้สอนสามารถออกแบบกิจกรรมเพิ่มเติม ได้เอง ตามความเหมาะสมของชั้นเรียน


7. การวัดและการประเมินผล เป้าหมาย รายการประเมิน (จุดประสงค์การเรียนรู้) การประเมิน ผู้ประเมิน เวลาประเมิน วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ การผ่าน สมรรถนะย่อย ร้องเพลงง่าย ๆ โดย ใช้หลักพื้นฐานใน การขับร้องเพลง อย่างสนุกสนาน 1) เตรียมตัวก่อนร้องเพลง แล้วแสดงท่าทาง การหายใจ วางท่าทาง และออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง ชัดเจนในขณะ ร้องเพลงตามหลักการ ขับร้องเพลง (K, S, A) 2) ร้องเพลงง่าย ๆ และ บอกเล่าเกี่ยวกับ การร้องเพลงของตนได้ (K, S) 3) มีวินัยในการฝึกซ้อม และร้องเพลงได้สำเร็จ ด้วยตนเอง (S, A) - ประเมิน ใบกิจกรรม พัฒนา สมรรถนะ ย่อย เรื่อง ก่อน ร้องเพลง เตรียมตัว อย่างไร โดยใช้ เกณฑ์การ ประเมินผล การทำ กิจกรรม พัฒนา สมรรถนะ ย่อย - สังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - ใบกิจกรรม พัฒนา สมรรถนะ ย่อย เรื่อง ก่อน ร้องเพลง เตรียมตัว อย่างไร - แบบสังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - แบบประเมิน สมรรถนะ ย่อยตาม สมรรถนะ สำคัญของ ผู้เรียน - มีระดับ คุณภาพดี (2) ขึ้นไป - ครู - ระหว่างการ ทำกิจกรรม - หลังการทำ กิจกรรม


เป้าหมาย รายการประเมิน (จุดประสงค์การเรียนรู้) การประเมิน ผู้ประเมิน เวลาประเมิน วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ การผ่าน สมรรถนะย่อย ร้องเพลงที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน โดยใช้พื้นฐานการ ร้องเพลง และ อธิบายความเป็นมา ของบทเพลง 1) ร้องเพลงที่ใช้ในชีวิต ประจำวันได้(K, S) 2) อธิบายความเป็นมา ของบทเพลงในชีวิต ประจำวันได้(K) 3) มีวินัยในการฝึกซ้อม และร้องเพลงได้สำเร็จ ด้วยตนเอง (S, A) - ประเมิน ใบกิจกรรม พัฒนา สมรรถนะ ย่อย เรื่อง รู้จักเพลง ในชีวิต ประจำวัน โดยใช้ เกณฑ์การ ประเมินผล การทำ กิจกรรม พัฒนา สมรรถนะ ย่อย - สังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - ใบกิจกรรม พัฒนา สมรรถนะ ย่อย เรื่อง รู้จักเพลง ในชีวิต ประจำวัน - แบบสังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - แบบประเมิน สมรรถนะ ย่อยตาม สมรรถนะ สำคัญของ ผู้เรียน - มีระดับ คุณภาพดี (2) ขึ้นไป - ครู - เพื่อน - ระหว่างการ ทำกิจกรรม - หลังการทำ กิจกรรม


เป้าหมาย รายการประเมิน (จุดประสงค์การเรียนรู้) การประเมิน ผู้ประเมิน เวลาประเมิน วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ การผ่าน สมรรถนะ ประจำหน่วย ร้องเพลงง่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ชีวิตประจำวัน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม การร้องเพลงอย่าง สนุกสนาน 1) เข้าร่วมกิจกรรม การร้องเพลงในชีวิต ประจำวันได้ (K, S) 2) ร้องเพลงง่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ประจำวัน (S) 3) อธิบายความเป็นมา ของบทเพลงในชีวิต ประจำวันที่ตนขับร้อง ได้ (K) 4) มีวินัยในการฝึกซ้อม และเข้าร่วมกิจกรรม การร้องเพลงได้สำเร็จ ด้วยตนเอง (S, A) - ประเมิน ใบกิจกรรม ประเมิน สมรรถนะ ประจำหน่วย เรื่อง เข้าร่วม กิจกรรม ร้องเพลง ในชีวิต ประจำวัน โดยใช้ เกณฑ์การ ประเมินผล การทำ กิจกรรม ประเมิน สมรรถนะ ประจำหน่วย - สังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - ใบกิจกรรม ประเมิน สมรรถนะ ประจำหน่วย เรื่อง เข้าร่วม กิจกรรม ร้องเพลง ในชีวิต ประจำวัน - แบบสังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - แบบประเมิน สมรรถนะ ประจำหน่วย ตามสมรรถนะ สำคัญของ ผู้เรียน - มีระดับ คุณภาพดี (2) ขึ้นไป - ครู - เพื่อน - ผู้ ปกครอง - ระหว่างการ ทำกิจกรรม - หลังการทำ กิจกรรม หมายเหตุ : กิจกรรมในหน่วยการเรียนรู้นี้ ออกแบบมาเป็นตัวอย่างเฉพาะบางกิจกรรม (ที่ไฮไลต์สี) เท่านั้น โดย แถบสีส้ม เป็นกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อย เพื่อเตรียมนักเรียนให้มีความพร้อมก่อนไปปฏิบัติกิจกรรมประเมินสมรรถนะ แถบสีเขียว ส่วน แถบสีเทา ให้เห็นถึงการออกแบบที่เชื่อมโยงกันทั้งหน่วย แต่มิได้จัดทำกิจกรรมไว้ให้ ซึ่งครูผู้สอนสามารถออกแบบกิจกรรมเพิ่มเติม ได้เอง ตามความเหมาะสมของชั้นเรียน


รายวิชา...................................................................................................................................................................... ระดับชั้น.............................................................................................. ชื่อหน่วยการเรียนรู้............................................................................................................................................................................................................... เวลา................ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง................................................................................................................................................................................................... เวลา................ชั่วโมง 1. สาระสำคัญ การขับร้องเพลงเป็นกิจกรรมทางดนตรีที่ช่วยสร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลิน กล่อมเกลาจิตใจ และเป็น พื้นฐานในการเรียนดนตรี เราสามารถนำความรู้เรื่องการขับร้องเพลงมาใช้ร่วมกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ประจำวัน วันสำคัญ หรือกิจกรรมทางสังคมได้ ซึ่งการขับร้องเพลงที่ดีนั้นต้องใช้การฝึกฝนอย่างถูกวิธีและ สม่ำเสมอจนเกิดความชำนาญ เราจึงควรรู้จักวิธีการเตรียมตัวก่อนการร้องเพลง เพื่อให้สามารถร้องเพลงได้อย่าง ไพเราะและเกิดความประทับใจ 2. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มฐ. ศ 2.1 เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ศ 2.1 ป.1/4 มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีอย่างสนุกสนาน 3. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1) สมรรถนะที่ 1 ความสามารถในการสื่อสาร ตัวชี้วัดที่ 1 ใช้ภาษาถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก และทัศนะของตนเองด้วยการพูด และการเขียน พฤติกรรมบ่งชี้ 2. พูดถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และทัศนะของตนเองจากสารที่อ่าน ฟัง หรือดูตามที่ กำหนดได้ 2) สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ 3 ทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข พฤติกรรมบ่งชี้ 1. ทำงานด้วยตนเองได้สำเร็จ ดนตรี – นาฏศิลป์ ประถมศึกษาปีที่ 1 ดนตรีกับชีวิต (บทที่ 3 เพลงในชีวิตประจำวัน) 7 ก่อนร้องเพลงเตรียมตัวอย่างไร 2


4. สมรรถนะย่อย ร้องเพลงง่าย ๆ โดยใช้พื้นฐานในการขับร้องเพลงอย่างสนุกสนาน 5. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1) เตรียมตัวก่อนการขับร้องเพลง แล้วแสดงท่าทาง การหายใจ วางท่าทาง และออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ในขณะร้องเพลงตามหลักการขับร้องเพลง (K, S, A) 2) ร้องเพลงง่าย ๆ และบอกเล่าเกี่ยวกับการร้องเพลงของตนได้ (K, S) 3) มีวินัยในการฝึกซ้อมและร้องเพลงได้สำเร็จด้วยตนเอง (S, A) 6. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี-นาฏศิลป์ ป.1 หน่วย 3 เรื่อง ดนตรีกับชีวิต บทที่ 3 เพลงในชีวิตประจำวัน 2) QR Code Audio/Clip/ภาพการร้องเพลงในสถานการณ์ หรือสถานที่ต่าง ๆ 3) QR Code Audio/Clip/ภาพการฝึกหายใจ การวางท่าทาง และการออกเสียง 4) ใบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อย เรื่อง ก่อนร้องเพลงเตรียมตัวอย่างไร 7. วิธีการดำเนินกิจกรรม (กระบวนการเรียนรู้ : กระบวนการปฏิบัติ(Practice Teaching)) ชั่วโมงที่ 1 ขั้นนำ ครูตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นความรู้ของนักเรียนว่า • นักเรียนคิดว่าเราจะร้องเพลงให้ไพเราะและน่าฟังได้อย่างไร • นักเรียนเคยได้ยินเสียงขับร้องเพลงจากสถานการณ์ หรือสถานที่ใด และรู้สึกอย่างไร ขั้นสอน สังเกต รับรู้ 1. ครูเปิดคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการฝึกออกเสียงก่อนร้องเพลง (กา อา นา มา) ให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนทดลอง ออกเสียงตาม


2. ครูให้นักเรียนเล่นเกม “ใครออกเสียงทรงพลังที่สุด” โดยมีวิธีการเล่น ดังนี้ - แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยแต่ละกลุ่มจับสลากเสียงกลุ่มละ 1 เสียง ดังนี้ กา อา มา ตา นา ดา - ครูจับเวลา 10 วินาที โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกเสียงพร้อมกัน นักเรียนคนใดออกเสียงได้ตามเวลา ที่กำหนดคนนั้นถือว่าผ่าน - ครูและนักเรียนร่วมกันสังเกตว่ากลุ่มใดมีสมาชิกที่ผ่านมากที่สุด โดยให้กลุ่มนั้นเป็นฝ่ายชนะ 3. ครูสุ่มนักเรียนที่ออกเสียงได้ยาวที่สุดในกลุ่มจำนวน 3 คน และนักเรียนที่ออกเสียงได้สั้นที่สุดในกลุ่มจำนวน 3 คน ออกมาสาธิตการออกเสียงให้เพื่อนฟังที่หน้าชั้นเรียนอีกครั้ง จากนั้นครูตั้งคำถาม เพื่อให้นักเรียนที่ เหลือสังเกตเพื่อนที่ออกมาสาธิตการออกเสียง ดังนี้ - นักเรียนคิดว่า เพราะเหตุใดเพื่อนบางคนจึงออกได้เสียงได้ยาวและเพื่อนบางคนออกเสียงได้สั้น - นักเรียนคิดว่า หากต้องการออกเสียงให้ยาวและนานควรทำอย่างไร 4. ครูให้นักเรียนสังเกตเกี่ยวกับการหายใจก่อนการออกเสียง จากนั้นครูสาธิตวิธีการหายใจที่ถูกต้องตามขั้นตอน ให้นักเรียนดู ดังนี้ - ขั้นการวางท่าทาง ให้นั่ง หรือยืนหลังตรง ลำตัว ใบหน้าตั้งตรง วางเท้าห่างกันเท่าช่วงไหล่ ไม่เกร็งตัว - ขั้นการหายใจ ให้ยืดคอ ผ่อนคลาย อ้าปาก และเริ่มขยับกล้ามเนื้อบนใบหน้าเล็กน้อย จากนั้นเริ่มด้วย การหายใจเข้าลึก ๆ 2-3 ครั้ง แล้วจินตนาการว่าอากาศนั้นหนักมากขณะที่หายใจเข้า ปล่อยให้ลมหายใจ ตกลงไปในท้องบริเวณสะดือ เข้าไปในกระบังลม โดยยกปากให้เป็นแนวตั้ง หายใจเข้าลึก ๆ ให้ท้องขยาย (ป่อง) ออก แล้วหายใจออกโดยการผ่อนลมหายใจออกอย่างช้า ๆ ให้ท้องยุบ (แฟบ) ลง แล้วให้นักเรียน ฝึกหายใจตามครู โดยหายใจเข้าและหายใจออกซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง ทำตามแบบ 5. ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกเสียงหลังจากนักเรียนหายใจอย่างถูกวิธีว่า การออกเสียงได้นานและยาว เกิดจากการหายใจที่ถูกต้อง การฝึกหายใจจะช่วยให้สามารถเปล่งเสียงได้นานและยาวขึ้น หากหายใจไม่ลึก และหายใจไม่ถูกต้องจะทำให้เสียงที่เปล่งออกมานั้นสั้น เพราะปล่อยลมหายใจออกมาหมดก่อนที่จะออกเสียง จบลง เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการหายใจที่ถูกต้องแล้ว ครูให้นักเรียนฝึกการออกเสียงตามครู ดังนี้ - ขั้นฝึกออกเสียง “อา” (ให้เสียงดังกังวาน) โดยทำรูปปากเป็นแนวตั้ง แล้วออกเสียง “อา” ยาว ๆ จนสุด ลมหายใจ - ขั้นฝึกออกเสียง “อี” (ให้เสียงแหลม-สูง) โดยทำรูปปากเป็นแนวนอน แล้วออกเสียง “อี” ยาว ๆ จนสุด ลมหายใจ - ขั้นฝึกออกเสียง “อู” (ให้เสียงทุ้ม-ต่ำ) โดยทำรูปปากแบบห่อเข้า แล้วออกเสียง “อู” ยาว ๆ จนสุดลม หายใจ 6. ครูให้นักเรียนฝึกปฏิบัติการออกเสียงตามขั้นตอนซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง จนเกิดความเข้าใจ


ชั่วโมงที่ 2 ทำเองโดยไม่มีแบบ 7. ครูให้นักเรียนหายใจและทำท่าทางก่อนร้องเพลงให้ถูกต้องด้วยตนเอง แล้วออกเสียง “นา” เป็นทำนองเพลง Happy Birthday 8. นักเรียนออกเสียง “นา” เป็นทำนองเพลง Happy Birthday พร้อมกันทั้งห้อง 9. ครูตรวจสอบความถูกต้องของการออกเสียงของนักเรียนแต่ละคน จากนั้นครูถามนักเรียนว่า “นักเรียน รู้หรือไม่ว่าเพลง Happy Birthday มีความหมายอย่างไร และใช้ร้องในโอกาสใด” 10. นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและบันทึกลงในใบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อย เรื่อง ก่อนร้องเพลงเตรียมตัว อย่างไร 11. ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขับร้องให้มีอารมณ์ร่วมกับบทเพลง ฝึกให้ชำนาญ 12. ครูให้นักเรียนร้องเพลง Happy Birthday ด้วยเนื้อเพลงจริงให้ถูกทำนองและจังหวะ โดยอาจทำท่าทาง ประกอบขณะร้องให้เกิดความสนุกสนานตามเนื้อหาของเพลง 13. ครูสุ่มนักเรียนออกมานำเสนอการร้องเพลงหน้าชั้นเรียน รวมถึงอธิบายวิธีฝึกขับร้อง ความรู้สึกในการขับร้อง และประโยชน์ของการขับร้องเพลงให้เพื่อนและครูฟัง ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ เรื่อง พื้นฐานการร้องเพลง ขั้นประเมิน 1. ครูประเมินผลระหว่างการทำกิจกรรมและหลังการทำกิจกรรม โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงาน รายบุคคลและแบบประเมินสมรรถนะย่อยตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 2. ครูประเมินใบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อย เรื่อง ก่อนร้องเพลงเตรียมตัวอย่างไร ของนักเรียน


8. การวัดและการประเมินผล เป้าหมาย รายการประเมิน (จุดประสงค์การเรียนรู้) การประเมิน ผู้ ประเมิน เวลาประเมิน วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ การผ่าน สมรรถนะย่อย ร้องเพลงง่าย ๆ โดย ใช้หลักพื้นฐานใน การขับร้องเพลง อย่างสนุกสนาน 1) เตรียมตัวก่อนร้องเพลง แล้วแสดงท่าทาง การหายใจ วางท่าทาง และออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง ชัดเจนในขณะ ร้องเพลงตามหลักการ ขับร้องเพลง (K, S, A) 2) ร้องเพลงง่าย ๆ และ บอกเล่าเกี่ยวกับ การร้องเพลงของตนได้ (K, S) 3) มีวินัยในการฝึกซ้อม และร้องเพลงได้สำเร็จ ด้วยตนเอง (S, A) - ประเมิน ใบกิจกรรม พัฒนา สมรรถนะ ย่อย เรื่อง ก่อน ร้องเพลง เตรียมตัว อย่างไร โดยใช้ เกณฑ์การ ประเมินผล การทำ กิจกรรม พัฒนา สมรรถนะ ย่อย - สังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - ใบกิจกรรม พัฒนา สมรรถนะ ย่อย เรื่อง ก่อน ร้องเพลง เตรียมตัว อย่างไร - แบบสังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - แบบประเมิน สมรรถนะ ย่อยตาม สมรรถนะ สำคัญของ ผู้เรียน - มีระดับ คุณภาพดี (2) ขึ้นไป - ครู - ระหว่างการ ทำกิจกรรม - หลังการทำ กิจกรรม


คำชี้แจง : ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. จับคู่กับเพื่อน ฝึกการหายใจและการออกเสียง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนร้องเพลง จากนั้นทำเครื่องหมาย ลงในช่องที่ปฏิบัติ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูล 2. ฝึกออกเสียง นักเรียนออกเสียงได้นาน เป็นลำดับที่เท่าใดของกลุ่ม เพราะเหตุใดการฝึก ออกเสียงก่อนขับร้องจึงมี ความสำคัญ ก่อนร้องเพลงเตรียมตัวอย่างไร 1. นั่ง หรือยืนให้ หลังตรง 2. หายใจเข้า ลึก ๆ 3. หายใจออก ช้า ๆ 4. ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง 5. ฝึกออกเสียงตามคำให้ได้นาน ที่สุดพร้อมเพื่อนในกลุ่ม


2. ฝึกร้องเพลง Happy Birthday จากนั้นออกมานำเสนอให้เพื่อนชมหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งบันทึกข้อมูล วิธีฝึกขับร้อง ประโยชน์ของการขับร้องเพลง ความรู้สึกที่มีต่อการขับร้องของตนเอง


คำชี้แจง : ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. จับคู่กับเพื่อน ฝึกการหายใจและการออกเสียง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนร้องเพลง จากนั้นทำเครื่องหมาย ลงในช่องที่ปฏิบัติ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูล ฝึกออกเสียง อา นักเรียนออกเสียงได้นาน เป็นลำดับที่เท่าใดของกลุ่ม ลำดับที่ 1 ของกลุ่ม เพราะเหตุใดการฝึก ออกเสียงก่อนขับร้องจึงมี ความสำคัญ ทำให้มีลมหายใจเพียงพอต่อการร้องเพลง และทำให้เพลงมี ความไพเราะ ก่อนร้องเพลงเตรียมตัวอย่างไร 1. นั่ง หรือยืนให้ หลังตรง (ตัวอย่างคำตอบ) 2. หายใจเข้า ลึก ๆ 3. หายใจออก ช้า ๆ 4. ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง 5. ฝึกออกเสียงตามคำให้ได้นาน ที่สุดพร้อมเพื่อนในกลุ่ม


2. ฝึกร้องเพลง Happy Birthday จากนั้นออกมานำเสนอให้เพื่อนชมหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งบันทึกข้อมูล วิธีฝึกขับร้อง ประโยชน์ของการขับร้องเพลง ความรู้สึกที่มีต่อการขับร้องของตนเอง 1.ฝึกหายใจ 2.ฝึกวางท่าทางการขับร้องให้เหมาะสม 3.ฝึกออกเสียงและร้องเพลงให้ตรงระดับเสียง 4.ฝึกแสดงอารมณ์ให้เข้ากับบทเพลง 1. สร้างความสนุกสนานให้กับกิจกรรมที่เข้าร่วม 2. มีจิตใจที่ผ่อนคลายเมื่อได้ร้องเพลง 3. ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 1.ชอบเสียงและท่าทางการขับร้องของตนเอง 2.ชอบที่ได้แสดงออก และเพื่อน ๆ สนุกสนานไปกับการร้องเพลงของ ตนเอง


ดีเยี่ยม 3 ดี 2 พอใชร้ 1 ปรับปรุง 0 แบบประเมินสมรรถนะย่อยตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตารางบันทึกระดับคุณภาพในการทำกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อย คำชี้แจง : ใส่ตัวเลขลงในช่องระดับคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด รายการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ระดับคุณภาพ สมรรถนะที่ 1 ความสามารถในการสื่อสาร ตัวชี้วัดที่ 1 พฤติกรรมบ่งชี้ 2. สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 1. หมายเหตุ : หากนักเรียนมีระดับคุณภาพไม่ถึงระดับดี (2) ในแต่ละสมรรถนะสำคัญ ครูควรพัฒนานักเรียน ให้ถึงเกณฑ์ เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมก่อนทำกิจกรรมต่อไป เกณฑ์การประเมินผลการทำกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อย รายการตัวชี้วัด รายการประเมิน สมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียน ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม (3 คะแนน) ดี (2 คะแนน) พอใช้ (1 คะแนน) ปรับปรุง (0 คะแนน) ศ 2.1 ป.1/4 มีส่วนร่วมใน กิจกรรมดนตรี อย่างสนุกสนาน สมรรถนะที่ 1 ความสามารถใน การสื่อสาร ตัวชี้วัดที่ 1 ใช้ภาษาถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก และทัศนะของ ตนเองด้วยการพูด และการเขียน ขับร้องเพลง โดย ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และ แสดงท่าทาง ประกอบได้ ชัดเจนและ สอดคล้องกับ เนื้อเพลงตลอดทั้ง เพลงอย่างมั่นใจ ขับร้องเพลง โดย ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และ แสดงท่าทาง ประกอบได้ ชัดเจนและ สอดคล้องกับ เนื้อเพลงตลอดทั้ง เพลง ขับร้องเพลง โดย ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และ แสดงท่าทาง ประกอบได้ ไม่สามารถ ขับร้องเพลง โดย ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และ แสดงท่าทาง ประกอบ พฤติกรรมบ่งชี้ 2. พูดถ่ายทอด ความคิด ความ รู้สึก และทัศนะ ของตนเองจาก สารที่อ่าน ฟัง หรือดูตามที่ กำหนดได้ สมรรถนะที่ 4 ร้องเพลง โดยฝึก การหายใจ ร้องเพลง โดยฝึก การหายใจ ร้องเพลง โดยฝึก การหายใจ ร้องเพลง โดยฝึก การหายใจ


รายการตัวชี้วัด รายการประเมิน สมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียน ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม (3 คะแนน) ดี (2 คะแนน) พอใช้ (1 คะแนน) ปรับปรุง (0 คะแนน) ความสามารถใน การใช้ทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ 3 ทำงานและอยู่ ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุข พฤติกรรมบ่งชี้ 1. ทำงานด้วย ตนเองได้สำเร็จ การวางท่าทาง และ การออกเสียงด้วย ตนเองได้สำเร็จ การวางท่าทาง และ การออกเสียงด้วย ตนเองได้สำเร็จ โดยมีผู้แนะนำ การวางท่าทาง และ การออกเสียงด้วย ตนเองได้โดยมี ผู้อื่นช่วยเหลือ จนสำเร็จ การวางท่าทาง และ การออกเสียงด้วย ตนเองไม่สำเร็จ


รายวิชา...................................................................................................................................................................... ระดับชั้น.............................................................................................. ชื่อหน่วยการเรียนรู้............................................................................................................................................................................................................... เวลา................ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง................................................................................................................................................................................................... เวลา................ชั่วโมง 1. สาระสำคัญ บทเพลงมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเรา บางเพลงมีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เราจึงควรศึกษาความหมายของบทเพลงต่าง ๆ และร้องเพลงเหล่านั้นตามหลักการขับร้องเพลงอย่างไพเราะ น่าฟัง สอดคล้องกับอารมณ์และความหมายของบทเพลง 2. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มฐ. ศ 2.1 เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ศ 2.1 ป.1/4 มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีอย่างสนุกสนาน ศ 2.1 ป.1/5 บอกความเกี่ยวข้องของเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 3. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1) สมรรถนะที่ 1 ความสามารถในการสื่อสาร ตัวชี้วัดที่ 1 ใช้ภาษาถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก และทัศนะของตนเองด้วยการพูด และการเขียน พฤติกรรมบ่งชี้ 2. พูดถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และทัศนะของตนเองจากสารที่อ่าน ฟัง หรือดูตามที่ กำหนดได้ 2) สมรรถนะที่ 2 ความสามารถในการคิด ตัวชี้วัดที่ 1 คิดพื้นฐาน (การคิดวิเคราะห์) พฤติกรรมบ่งชี้ 3. ระบุรายละเอียด คุณลักษณะ และความคิดรวบยอดของข้อมูลต่าง ๆ ที่พบเห็นในบริบท ที่เป็นสิ่งใกล้ตัว 3) สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ 3 ทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข พฤติกรรมบ่งชี้ 1. ทำงานด้วยตนเองได้สำเร็จ ดนตรี – นาฏศิลป์ ประถมศึกษาปีที่ 1 ดนตรีกับชีวิต (บทที่ 1 เพลงในชีวิตประจำวัน) 7 รู้จักเพลงในชีวิตประจำวัน 3


4. สมรรถนะย่อย ร้องเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้พื้นฐานการร้องเพลง และอธิบายความเป็นมาของบทเพลง 5. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1) ร้องเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้(K, S) 2) อธิบายความเป็นมาของบทเพลงในชีวิตประจำวันได้ (K) 3) มีวินัยในการฝึกซ้อมและร้องเพลงได้สำเร็จด้วยตนเอง (S, A) 6. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี-นาฏศิลป์ ป.1 หน่วย 3 เรื่อง ดนตรีกับชีวิต บทที่ 1 เพลงใน ชีวิตประจำวัน 2) QR Code Audio/Clip/ภาพเพลงกล่อมเด็ก 3) QR Code Audio/Clip/ภาพการละเล่นของเด็กไทย 4) QR Code Audio/Clip/ภาพเพลงสำคัญ (เพลงชาติไทย เพลงสรรเสริญพระบารมี) 5) QR Code Audio/Clip/ภาพการฝึกหายใจ การวางท่าทาง และการออกเสียง 6) ใบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อย เรื่อง รู้จักเพลงในชีวิตประจำวัน 7. วิธีการดำเนินกิจกรรม (กระบวนการเรียนรู้ : การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning)) ชั่วโมงที่ 1 ขั้นนำ เตรียมความพร้อมของสมอง (Preparation) 1. ครูถามว่า มีนักเรียนคนใดในห้องนี้ชอบร้องเพลง หรือร้องเพลงได้ไพเราะบ้าง 2. ครูให้นักเรียนเลือกตัวแทน 2–3 คน ออกมาร้องเพลงให้เพื่อน ๆ ฟังทีละคน (ไม่ต้องร้องจบเพลง โดยครู พิจารณาตามความเหมาะสม) 3. ครูและเพื่อน ๆ ปรบมือชมเชยนักเรียน แล้วสอบถามนักเรียนในห้องว่า ฟังเพลงแล้วรู้สึกอย่างไร (แนวคำตอบ : รู้สึกผ่อนคลายและได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน)


ขั้นสอน เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (Acquisition) 1. ครูถามคำถามนักเรียนว่า นักเรียนคิดว่า ใครเป็นคนแรกที่ร้องเพลงให้นักเรียนฟัง และเราเรียกเพลงนั้นว่า เพลงใด (แนวคำตอบ : แม่ ร้องเพลงกล่อมเด็ก เพื่อกล่อมให้หลับ) 2. ครูอธิบายถึงเพลงกล่อมเด็ก พร้อมทั้งเปิดเพลงกล่อมเด็กแต่ละภาคให้นักเรียนฟัง โดยให้นักเรียนดูเนื้อหา ของเพลงกล่อมเด็กแต่ละภาคจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี-นาฏศิลป์ ป.1 หน่วย 3 เรื่อง ดนตรีกับ ชีวิต บทที่ 1 เพลงในชีวิตประจำวัน 3. ครูขับร้องเพลงกล่อมเด็กให้นักเรียนฟัง และให้นักเรียนฝึกขับร้องเพลงกล่อมเด็กตามครู 4. ครูอธิบายคำศัพท์ของบทเพลงกล่อมเด็กแต่ละภาค ว่าแต่ละคำที่นักเรียนไม่เข้าใจมีความหมายว่าอย่างไร เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความหมายของบทเพลงมากขึ้น และอธิบายถึงการขับร้องในแต่ละภาคว่ามีความ แตกต่างกันอย่างไร 5. ครูอธิบายว่า นอกจากเพลงกล่อมเด็กแล้ว ยังมีเพลงประกอบการละเล่นของเด็กไทยต่าง ๆ ที่นักเรียนควร รู้จัก จากนั้นครูถามนักเรียนว่า นักเรียนรู้จักเพลงเกี่ยวกับการละเล่นใดบ้าง (แนวคำตอบ : รีรีข้าวสาร งูกินหาง) 6. ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี-นาฏศิลป์ ป.1 หน่วย 3 เรื่อง ดนตรีกับชีวิต บทที่ 1 เพลงในชีวิตประจำวัน เพื่อดูเนื้อเพลงรีรีข้าวสาร เพลงงูกินหาง และเพลงมอญซ่อนผ้า พร้อมเปิดคลิปวิดีโอ การละเล่นให้นักเรียนดู และอธิบายความสำคัญของเพลงประกอบการละเล่นเด็กไทย และวิธี การเล่นจนนักเรียนเข้าใจ 7. ครูแบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน แล้วให้แต่ละกลุ่มฝึกร้องเพลงประกอบการละเล่นตามครู แล้วออกมาแสดงให้เพื่อนชมท้ายชั่วโมง พร้อมทั้งให้นักเรียนที่เหลือปรบมือประกอบการละเล่นของเพื่อน ดังนี้ - กลุ่มที่ 1 เพลงรีรีข้าวสาร - กลุ่มที่ 2 เพลงงูกินหาง - กลุ่มที่ 3 เพลงมอญซ่อนผ้า 8. ครูสรุปความรู้เรื่องเพลงในชีวิตประจำวัน ในหัวข้อเกี่ยวกับเพลงกล่อมเด็กและเพลงประกอบการละเล่นเด็กไทย ชั่วโมงที่ 2 เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (Acquisition) (ต่อ) 9. ครูถามนักเรียนว่า ในแต่ละวันที่มาโรงเรียน มีเพลงใดที่นักเรียนร้องเป็นประจำบ้าง (แนวคำตอบ : เพลงชาติไทย) 10. ครูอธิบายถึงความสำคัญของเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมี และให้นักเรียนศึกษาเนื้อเพลง จากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี-นาฏศิลป์ ป.1 หน่วย 3 เรื่อง ดนตรีกับชีวิต บทที่ 1 เพลงใน จากนั้น ครูถามนักเรียนว่า - เพลงชาติไทย มีความสำคัญอย่างไร


(แนวคำตอบ : เป็นเพลงที่แสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติไทย บ่งบอกถึงความสามัคคี ความเสียสละ และความกล้าหาญของคนไทย) - เพลงสรรเสริญพระบารมี มีความสำคัญอย่างไร (แนวคำตอบ : เป็นเพลงประจำองค์พระมหากษัตริย์ เนื้อเพลงกล่าวถึงพระบารมีของพระมหากษัตริย์ที่ ทรงปกครองปวงชนชาวไทย) 11. ครูให้นักเรียนยืนตรง จากนั้นเปิดเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมี ให้นักเรียนร้องตามพร้อม ๆ กัน 12. ครูอธิบายความสำคัญของเพลงดังกล่าวเพิ่มเติมให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ ฝึกใช้ข้อมูลและข้อคิดเห็น เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงความรู้(Elaboration) 13. ครูอธิบายความรู้ว่า ในชีวิตประจำวันของนักเรียนตั้งแต่เด็กจนโต จะพบกับบทเพลงมากมาย นักเรียนควร สังเกตว่า ในกิจกรรมต่าง ๆ นั้น บทเพลงมีความสำคัญอย่างไร โดยการเชื่อมโยงสิ่งที่พบเจอกับบทเพลงที่ นักเรียนเคยเรียนมาจนเกิดเป็นความรู้ หรือสืบค้นหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบทเพลงนั้น 14. ครูให้นักเรียนเล่นเกม “อะไรอยู่ในเพลงนะ” โดยเขียนคำศัพท์เกี่ยวกับคน สัตว์ และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับ เพลงที่นักเรียนรู้จักมาประเภทละ 1 คำ ลงในใบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อย เรื่อง รู้จักเพลงใน ชีวิตประจำวัน 15. นักเรียนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนเกี่ยวกับชื่อคน สัตว์ และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเพลงที่นักเรียนรู้จัก พร้อมพูดบอกเหตุผลว่าคำศัพท์เหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องกับบทเพลงอย่างไร 16. นักเรียนเลือกนำเสนอการขับร้องเพลงในหัวข้อ “รู้จักเพลงในชีวิตประจำวัน” โดยนำชื่อคน สัตว์ และสิ่งของ ที่นักเรียนเลือกมานำเสนอด้วยการร้องเพลง 1 เพลง ที่เกี่ยวข้องกันในชั่วโมงถัดไป โดยก่อน หรือหลังการ ขับร้องเพลง นักเรียนต้องนำเสนอความเป็นมาของบทเพลงและความเกี่ยวข้องของบทเพลงกับชีวิตประจำวัน ของนักเรียนด้วย สรุปองค์ความรู้ (Memory Formation) 17. ครูอธิบายนักเรียนว่า นอกจากนักเรียนจะศึกษาเรื่องเพลงในชีวิตประจำวันแล้ว นักเรียนควรนำความรู้เรื่อง หลักการขับร้องเพลงมาใช้ประกอบการร้องเพลงในชีวิตประจำวัน เพื่อให้การร้องเพลงเกิดความไพเราะ 18. ครูเปิดคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนการขับร้องที่เคยเรียนในชั่วโมงที่ผ่านมาให้นักเรียนดูอีกครั้ง เพื่อให้นักเรียนได้นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการนำเสนอผลงานในชั่วโมงถัดไปได้อย่างถูกต้องและไพเราะ 19. ครูสรุปความรู้เรื่องเพลงในชีวิตประจำวันและกิจกรรมที่ต้องนำเสนอในชั่วโมงถัดไป รวมถึงหลักการ ขับร้องเพลง ชั่วโมงที่ 3 นำไปใช้ (Functional Integration) 20. ครูทบทวนความรู้เรื่องเพลงในชีวิตประจำวันและการนำเสนอในหัวข้อ “รู้จักเพลงในชีวิตประจำวัน” 21. นักเรียนแต่ละคนนำเสนอผลงานการขับร้องเพลง ความเป็นมาของบทเพลง และความเกี่ยวข้องของบทเพลง กับชีวิตประจำวันของนักเรียน


ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ เรื่อง รู้จักเพลงในชีวิตประจำวัน ขั้นประเมิน 1. ครูประเมินผลระหว่างการทำกิจกรรมและหลังการทำกิจกรรม โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงาน รายบุคคลและแบบประเมินสมรรถนะย่อยตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 2. ครูประเมินใบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อย เรื่อง รู้จักเพลงในชีวิตประจำวัน ของนักเรียน


8. การวัดและการประเมินผล เป้าหมาย รายการประเมิน (จุดประสงค์การเรียนรู้) การประเมิน ผู้ ประเมิน เวลาประเมิน วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ การผ่าน สมรรถนะย่อย ร้องเพลงที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน โดยใช้พื้นฐานการ ร้องเพลง และ อธิบายความเป็นมา ของบทเพลง 1) ร้องเพลงที่ใช้ในชีวิต ประจำวันได้(K, S) 2) อธิบายความเป็นมา ของบทเพลงในชีวิต ประจำวันได้ (K) 3) มีวินัยในการฝึกซ้อม และร้องเพลงได้สำเร็จ ด้วยตนเอง (S, A) - ประเมิน ใบกิจกรรม พัฒนา สมรรถนะ ย่อย เรื่อง รู้จักเพลง ในชีวิต ประจำวัน โดยใช้ เกณฑ์การ ประเมินผล การทำ กิจกรรม พัฒนา สมรรถนะ ย่อย - สังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - ใบกิจกรรม พัฒนา สมรรถนะ ย่อย เรื่อง รู้จักเพลง ในชีวิต ประจำวัน - แบบสังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - แบบประเมิน สมรรถนะ ย่อยตาม สมรรถนะ สำคัญของ ผู้เรียน - มีระดับ คุณภาพดี (2) ขึ้นไป - ครู - เพื่อน - ระหว่างการ ทำกิจกรรม - หลังการทำ กิจกรรม


คำชี้แจง : ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. เขียนคำศัพท์เกี่ยวกับคน สัตว์ และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเพลงที่นักเรียนรู้จักมาประเภทละ 1 คำ แล้วอธิบายความเกี่ยวข้องของคำศัพท์กับบทเพลง ประเภท คำศัพท์ ชื่อเพลง ความเกี่ยวข้องของคำศัพท์กับบทเพลง คน สัตว์ สิ่งของ 2. เลือกคำศัพท์ในข้อ 1. มา 1 คำ เพื่อนำมาขับร้องเพลงหน้าชั้นเรียน พร้อมบอกความ เป็นมาของบทเพลงและความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน พร้อมบันทึกข้อมูล คำศัพท์ที่นักเรียนเลือก คือ การนำเสนอของนักเรียนมีชื่อว่า เนื้อเพลง มีดังนี้ รู้จักเพลงในชีวิตประจำวัน (เขียน หรือติดเนื้อเพลง)


1) ความเป็นมาของบทเพลง 2) ความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน 3) วิธีการนำเสนอของนักเรียน 4) ความรู้สึกที่มีต่อการนำเสนอผลงานของนักเรียน


คำชี้แจง : ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. เขียนคำศัพท์เกี่ยวกับคน สัตว์ และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเพลงที่นักเรียนรู้จักมาประเภทละ 1 คำ แล้วอธิบายความเกี่ยวข้องของคำศัพท์กับบทเพลง ประเภท คำศัพท์ ชื่อเพลง ความเกี่ยวข้องของคำศัพท์กับบทเพลง คน เด็ก หน้าที่ของเด็ก ได้ยินในเพลงหน้าที่ของเด็กเป็นประจำ สัตว์ เป็ด เป็ดอาบน้ำ เป็นสัตว์ที่อยู่ในเพลงเป็ดอาบน้ำ สิ่งของ ผ้า มอญซ่อนผ้า เป็นชื่อสิ่งของที่อยู่ในเพลงประกอบ การละเล่นเด็กไทย “มอญซ่อนผ้า” 2. เลือกคำศัพท์ในข้อ 1. มา 1 คำ เพื่อนำมาขับร้องเพลงหน้าชั้นเรียน พร้อมบอกความ เป็นมาของบทเพลงและความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน พร้อมบันทึกข้อมูล คำศัพท์ที่นักเรียนเลือก คือ ผ้า การนำเสนอของนักเรียนมีชื่อว่า มอญซ่อนผ้า เนื้อเพลง มีดังนี้ รู้จักเพลงในชีวิตประจำวัน (เขียน หรือติดเนื้อเพลง) มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ (ตัวอย่างคำตอบ)


1) ความเป็นมาของบทเพลง เป็นเพลงที่ใช้ประกอบการละเล่นของเด็กไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่ในอดีต ใช้ร้องและปรบมือ ตามเพลงพร้อมกับผู้เล่นคนอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความสนุกสนานให้กับการละเล่น มักใช้เล่น ในเวลาว่าง หรือโอกาสต่าง ๆ 2) ความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน เป็นการละเล่นที่ฉันเคยเล่นกับครอบครัวในเวลาว่างและเคยดูการแสดงการละเล่นนี้ใน เทศกาลสงกรานต์ 3) วิธีการนำเสนอของนักเรียน จำลองการละเล่นมอญซ่อนผ้าประกอบการร้องเพลง โดยชวนเพื่อน ๆ อีก 3 คน มาเล่นด้วย แล้วฉันเป็นผู้ร้องเพลงให้เพื่อน ๆ และครูฟัง 4) ความรู้สึกที่มีต่อการนำเสนอผลงานของนักเรียน นำเสนอออกมาได้ดีตามที่ตั้งใจฝึกซ้อม และดีใจที่เพื่อน ๆ ชอบการนำเสนอในครั้งนี้


ดีเยี่ยม 3 ดี 2 พอใชร้ 1 ปรับปรุง 0 แบบประเมินสมรรถนะย่อยตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตารางบันทึกระดับคุณภาพในการทำกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อย คำชี้แจง : ใส่ตัวเลขลงในช่องระดับคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด รายการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ระดับคุณภาพ สมรรถนะที่ 1 ความสามารถในการสื่อสาร ตัวชี้วัดที่ 1 พฤติกรรมบ่งชี้ 2. สมรรถนะที่ 2 ความสามารถในการคิด ตัวชี้วัดที่ 1 พฤติกรรมบ่งชี้ 3. สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 1. หมายเหตุ : หากนักเรียนมีระดับคุณภาพไม่ถึงระดับดี (2) ในแต่ละสมรรถนะสำคัญ ครูควรพัฒนานักเรียน ให้ถึงเกณฑ์ เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมก่อนทำกิจกรรมต่อไป เกณฑ์การประเมินผลการทำกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อย รายการตัวชี้วัด รายการประเมิน สมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียน ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม (3 คะแนน) ดี (2 คะแนน) พอใช้ (1 คะแนน) ปรับปรุง (0 คะแนน) ศ 2.1 ป.1/4 มีส่วนร่วมใน กิจกรรมดนตรี อย่างสนุกสนาน ศ 2.1 ป.1/5 บอกความเกี่ยวข้อง ของเพลงที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน สมรรถนะที่ 1 ความสามารถใน การสื่อสาร ตัวชี้วัดที่ 1 ใช้ภาษาถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก และทัศนะของ ตนเองด้วยการพูด และการเขียน ขับร้องเพลงโดย ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก หรือ ท่าทางประกอบได้ ชัดเจนและ สอดคล้องกับเนื้อ เพลงตลอดทั้งเพลง อย่างมั่นใจ ขับร้องเพลงโดย ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก หรือ ท่าทางประกอบได้ ชัดเจนและ สอดคล้องกับเนื้อ เพลงตลอดทั้งเพลง ขับร้องเพลงโดย ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก หรือ ท่าทางประกอบได้ ขับร้องเพลงโดย ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก หรือ ท่าทางประกอบ ไม่ได้ พฤติกรรมบ่งชี้ 2. พูดถ่ายทอด ความคิด ความ รู้สึก และทัศนะ ของตนเองจาก สารที่อ่าน ฟัง หรือดูตามที่ กำหนดได้


รายการตัวชี้วัด รายการประเมิน สมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียน ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม (3 คะแนน) ดี (2 คะแนน) พอใช้ (1 คะแนน) ปรับปรุง (0 คะแนน) สมรรถนะที่ 2 ความสามารถใน การคิด ตัวชี้วัดที่ 1 คิดพื้นฐาน (การคิดวิเคราะห์) พฤติกรรมบ่งชี้ 3.ระบุรายละเอียด คุณลักษณะ และความคิด รวบยอดของ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ พบเห็นในบริบท ที่เป็นสิ่งใกล้ตัว ระบุรายละเอียด ของบทเพลง และ ความเกี่ยวข้องของ บทเพลงกับชีวิต ประจำวันได้ ถูกต้องและ ครบถ้วน ระบุรายละเอียด ของบทเพลง และ ความเกี่ยวข้องของ บทเพลงกับชีวิต ประจำวันได้ ถูกต้อง แต่ไม่ ครบถ้วน ระบุรายละเอียด ของบทเพลง และ ความเกี่ยวข้องของ บทเพลงกับชีวิต ประจำวันได้ ถูกต้องเป็น บางส่วนและไม่ ครบถ้วน ระบุรายละเอียด ของบทเพลง และ ความเกี่ยวข้องของ บทเพลงกับชีวิต ประจำวันไม่ได้ สมรรถนะที่ 4 ความสามารถใน การใช้ทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ 3 ทำงานและอยู่ ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุข พฤติกรรมบ่งชี้ 1. ทำงานด้วย ตนเองได้สำเร็จ นำเสนอผลงาน การร้องเพลงใน ชีวิตประจำวันด้วย ตนเองได้สำเร็จ นำเสนอผลงาน การร้องเพลงใน ชีวิตประจำวันด้วย ตนเองได้สำเร็จ โดยมีผู้แนะนำ นำเสนอผลงาน การร้องเพลงใน ชีวิตประจำวันด้วย ตนเองได้โดยมี ผู้อื่นช่วยเหลือ จนสำเร็จ นำเสนอผลงาน การร้องเพลงใน ชีวิตประจำวันด้วย ตนเองไม่สำเร็จ


รายวิชา...................................................................................................................................................................... ระดับชั้น.............................................................................................. ชื่อหน่วยการเรียนรู้............................................................................................................................................................................................................... เวลา................ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนรู้................................................................................................................................................................................................................. เวลา................ชั่วโมง รายวิชา...................................................................................................................................................................... ระดับชั้น.............................................................................................. ชื่อหน่วยการเรียนรู้............................................................................................................................................................................................................... เวลา................ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง.................................................................................................................................................................................................. เวลา................ชั่วโมง 1. สาระสำคัญ การเข้าร่วมกิจกรรมการร้องเพลง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรากล้าแสดงออก เห็นคุณค่าของดนตรีและวัฒนธรรม รวมถึงได้นำความรู้และความสามารถในเรื่องการขับร้องเพลงไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน 2. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มฐ. ศ 2.1 เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ศ 2.1 ป.1/4 มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีอย่างสนุกสนาน ศ 2.1 ป.1/5 บอกความเกี่ยวข้องของเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 3. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1) สมรรถนะที่ 1 ความสามารถในการสื่อสาร ตัวชี้วัดที่ 1 ใช้ภาษาถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก และทัศนะของตนเองด้วยการพูด และการเขียน พฤติกรรมบ่งชี้ 2. พูดถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และทัศนะของตนเองจากสารที่อ่าน ฟัง หรือดูตามที่ กำหนดได้ 2) สมรรถนะที่ 2 ความสามารถในการคิด ตัวชี้วัดที่ 1 คิดพื้นฐาน (การคิดวิเคราะห์) พฤติกรรมบ่งชี้ 3. ระบุรายละเอียด คุณลักษณะ และความคิดรวบยอดของข้อมูลต่าง ๆ ที่พบเห็นในบริบท ที่เป็นสิ่งใกล้ตัว 3) สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ 3 ทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข พฤติกรรมบ่งชี้ 1. ทำงานด้วยตนเองได้สำเร็จ ดนตรี-นาฏศิลป์ ประถมศึกษาปีที่ 1 ดนตรีกับชีวิต (บทที่ 1 เพลงในชีวิตประจำวัน) 7 เข้าร่วมกิจกรรมร้องเพลงในชีวิตประจำวัน 2


4. สมรรถนะประจำหน่วย ร้องเพลงง่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการร้องเพลงอย่างสนุกสนาน 5. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1) เข้าร่วมกิจกรรมการร้องเพลงในชีวิตประจำวันได้(K, S) 2) ร้องเพลงง่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน (S) 3) อธิบายความเป็นมาของบทเพลงในชีวิตประจำวันที่ตนขับร้องได้ (K) 4) มีวินัยในการฝึกซ้อมและเข้าร่วมกิจกรรมการร้องเพลงได้สำเร็จด้วยตนเอง (S, A) 6. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี-นาฏศิลป์ ป.1 หน่วย 3 เรื่อง ดนตรีกับชีวิต บทที่ 1 เพลงใน ชีวิตประจำวัน 2) QR Code/Audio/Clip/ภาพกิจกรรมที่นักเรียนสามารถเข้าร่วมการขับร้องเพลงได้ 3) ใบกิจกรรมประเมินสมรรถนะประจำหน่วย เรื่อง เข้าร่วมกิจกรรมร้องเพลงในชีวิตประจำวัน 7. วิธีการดำเนินกิจกรรม (กระบวนการเรียนรู้ : การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning)) ชั่วโมงที่ 1 ขั้นนำ เตรียมความพร้อมของสมอง (Preparation) 1. ครูเปิดภาพสถานที่ต่าง ๆ ให้นักเรียนดูจำนวน 10 ภาพ แล้วให้นักเรียนตอบคำถามในประเด็นต่อไปนี้ - นักเรียนเคยได้ยินเสียงร้องเพลงจากภาพใดบ้าง - เสียงเพลงนั้นคือเพลงใด - เสียงเพลงนั้นมาจากกิจกรรม หรือสถานการณ์ใด และมีความสำคัญอย่างไร 2. ครูสุ่มตัวแทนนักเรียนออกมาตอบคำถาม ขั้นสอน เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (Acquisition) 1. ครูอธิบายนักเรียนเกี่ยวกับสถานการณ์ หรือสถานที่ที่มีการขับร้องเพลงในชีวิตประจำวัน ความสำคัญ มารยาท และประโยชน์ของการร้องเพลงให้ถูกต้องตามหลักการ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จากนั้นครูถาม นักเรียนว่า


- นอกจากนักเรียนเคยได้ยินเสียงเพลงจากสถานที่ต่าง ๆ แล้ว นักเรียนเคยร่วมร้องเพลงในสถานที่ หรือ กิจกรรมใดบ้าง (แนวคำตอบ : ร่วมร้องเพลงชาติที่โรงเรียนในตอนเช้าของทุกวัน) 2. ครูเปิดคลิปวิดีโอกิจกรรมต่าง ๆ ที่นักเรียนสามารถเข้าร่วมการขับร้องเพลงในชีวิตประจำวันให้นักเรียนดู และ อธิบายความรู้เพิ่มเติม ฝึกใช้ข้อมูลและข้อคิดเห็น เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงความรู้(Elaboration) 3. ครูแจ้งนักเรียนว่า จะให้นักเรียนไปเข้าร่วมกิจกรรมการร้องเพลงจริงๆ นอกเวลาเรียน แล้วบันทึกวิดีโอ หรือ ถ่ายภาพการเข้าร่วมกิจกรรม และนำมาเล่าให้เพื่อน ๆ และครูฟังในชั่วโมงถัดไป 4. ครูให้นักเรียนเลือกกิจกรรมที่ครูเปิดให้ดูเป็นตัวอย่างคนละ 1 กิจกรรม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเข้าร่วม กิจกรรมจริง 5. นักเรียนเลือกกิจกรรมที่สนใจและฝึกซ้อมเพลงที่เหมาะสมกับกิจกรรมนั้นให้เพื่อนและครูดู พร้อมสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมจากครู สรุปองค์ความรู้(Memory Formation) 6. ครูสรุปความรู้ในหัวข้อ “เข้าร่วมกิจกรรมร้องเพลงในชีวิตประจำวัน” ให้นักเรียนฟังอีกครั้ง เพื่อเตรียมความ พร้อมในการปฏิบัติกิจกรรมจริง ชั่วโมงที่ 2 นำไปใช้(Functional Integration) 7. ครูทบทวนความรู้ในหัวข้อ “เข้าร่วมกิจกรรมร้องเพลงในชีวิตประจำวัน” 8. นักเรียนแต่ละคนออกมาเล่าถึงกิจกรรมร้องเพลงที่ตนเองได้เข้าร่วม โดยนำเสนอเป็นคลิปวิดีโอ หรือภาพถ่าย ให้เพื่อน ๆ ดู และบอกเล่าเกี่ยวกับรายละเอียดของกิจกรรมและความเป็นมาของบทเพลง ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ เรื่อง เข้าร่วมกิจกรรมร้องเพลงในชีวิตประจำวัน ขั้นประเมิน 1. ครูประเมินผลระหว่างการทำกิจกรรมและหลังการทำกิจกรรม โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงาน รายบุคคลและแบบประเมินสมรรถนะประจำหน่วยตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 2. ครูประเมินใบกิจกรรมประเมินสมรรถนะประจำหน่วย เรื่อง เข้าร่วมกิจกรรมร้องเพลงในชีวิตประจำวัน ของ นักเรียน


1 2 8. การวัดและการประเมินผล เป้าหมาย รายการประเมิน (จุดประสงค์การเรียนรู้) การประเมิน ผู้ประเมิน เวลาประเมิน วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ การผ่าน สมรรถนะ ประจำหน่วย ร้องเพลงง่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ชีวิตประจำวัน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม การร้องเพลงอย่าง สนุกสนาน 1) เข้าร่วมกิจกรรม การร้องเพลงในชีวิต ประจำวันได้ (K, S) 2) ร้องเพลงง่าย ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับชีวิต ประจำวัน (S) 3) อธิบายความเป็นมา ของบทเพลงในชีวิต ประจำวันที่ตนขับร้อง ได้ (K) 4) มีวินัยในการฝึกซ้อม และเข้าร่วมกิจกรรม การร้องเพลงได้สำเร็จ ด้วยตนเอง (S, A) - ประเมิน ใบกิจกรรม ประเมิน สมรรถนะ ประจำหน่วย เรื่อง เข้าร่วม กิจกรรม ร้องเพลง ในชีวิต ประจำวัน โดยใช้ เกณฑ์การ ประเมินผล การทำ กิจกรรม ประเมิน สมรรถนะ ประจำหน่วย - สังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - ใบกิจกรรม ประเมิน สมรรถนะ ประจำหน่วย เรื่อง เข้าร่วม กิจกรรม ร้องเพลง ในชีวิต ประจำวัน - แบบสังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - แบบประเมิน สมรรถนะ ประจำหน่วย ตามสมรรถนะ สำคัญของ ผู้เรียน - มีระดับ คุณภาพดี (2) ขึ้นไป - ครู - เพื่อน - ผู้ ปกครอง - ระหว่างการ ทำกิจกรรม - หลังการทำ กิจกรรม


เรื่อง คำชี้แจง : ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. ให้นักเรียนเลือกกิจกรรมที่นักเรียนสนใจ 1 กิจกรรม ฝึกซ้อมการร้องเพลงเพื่อเข้าร่วม กิจกรรม แล้วบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่นักเรียนเลือกเข้าร่วมขับร้อง 1) รายละเอียดของกิจกรรม • ชื่อกิจกรรม/งาน • สถานที่จัดงาน บ้าน ชุมชน โรงเรียน อื่น ๆ 2) รายละเอียดเกี่ยวกับบทเพลงที่ใช้ขับร้อง • ชื่อเพลง เข้าร่วมกิจกรรมร้องเพลงในชีวิตประจำวัน (เขียน หรือติดเนื้อเพลง)


• ความเป็นมาของบทเพลง • ความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน 2. บันทึกวิธีการนำเสนอของนักเรียน • ขณะเข้าร่วมกิจกรรมจริง นักเรียนปฏิบัติอย่างไร • ติดภาพการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน (ติดภาพ)


คำชี้แจง : ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. ให้นักเรียนเลือกกิจกรรมที่นักเรียนสนใจ 1 กิจกรรม ฝึกซ้อมการร้องเพลงเพื่อเข้าร่วม กิจกรรม แล้วบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่นักเรียนเลือกเข้าร่วมขับร้อง 1) รายละเอียดของกิจกรรม • ชื่อกิจกรรม/งาน วันลอยกระทง • สถานที่จัดงาน บ้าน ชุมชน โรงเรียน อื่น ๆ 2) รายละเอียดเกี่ยวกับบทเพลงที่ใช้ขับร้อง • ชื่อเพลง รำวงลอยกระทง เข้าร่วมกิจกรรมร้องเพลงในชีวิตประจำวัน (เขียน หรือติดเนื้อเพลง) เพลงรำวงลอยกระทง คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริงวันลอยกระทง ลอยลอยกระทง ลอยลอยกระทง ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ (ตัวอย่างคำตอบ)


• ความเป็นมาของบทเพลง เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสนุกสนานและแสดงถึงบรรยากาศของวันลอยกระทง ซึ่งเป็นประเพณีที่คนไทยสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน ใช้ร้องครั้งแรกโดยวงดนตรี สุนทราภรณ์ • ความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน ได้ยินเพลงนี้ทุกปีในช่วงวันลอยกระทง ทั้งจากที่บ้านและที่โรงเรียน ซึ่งในปีนี้ได้เข้าร่วม กิจกรรมวันลอยกระทงของหมู่บ้านอีกด้วย 2. บันทึกวิธีการนำเสนอของนักเรียน • ขณะเข้าร่วมกิจกรรมจริง นักเรียนปฏิบัติอย่างไร ใส่ชุดไทยไปร่วมงานวันลอยกระทงของหมู่บ้านและร่วมร้องเพลงรำวงลอยกระทง พร้อมแสดงรำวงประกอบเพลงกับครอบครัวอื่น ๆ • ติดภาพการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน (ติดภาพ) (พิจารณาจากการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน)


ดีเยี่ยม 3 ดี 2 พอใชร้ 1 ปรับปรุง 0 แบบประเมินสมรรถนะประจำหน่วยตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตารางบันทึกระดับคุณภาพในการทำกิจกรรมประเมินสมรรถนะประจำหน่วย คำชี้แจง : ใส่ตัวเลขลงในช่องระดับคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด รายการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ระดับคุณภาพ สมรรถนะที่ 1 ความสามารถในการสื่อสาร ตัวชี้วัดที่ 1 พฤติกรรมบ่งชี้ 2. สมรรถนะที่ 2 ความสามารถในการคิด ตัวชี้วัดที่ 1 พฤติกรรมบ่งชี้ 3. สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 1. หมายเหตุ : หากนักเรียนมีระดับคุณภาพไม่ถึงระดับดี (2) ในแต่ละสมรรถนะสำคัญ ครูควรพัฒนา นักเรียนให้ถึงเกณฑ์ เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมก่อนทำกิจกรรมต่อไป เกณฑ์การประเมินผลการทำกิจกรรมประเมินสมรรถนะประจำหน่วย รายการตัวชี้วัด รายการประเมิน สมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียน ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม (3 คะแนน) ดี (2 คะแนน) พอใช้ (1 คะแนน) ปรับปรุง (0 คะแนน) ศ 2.1 ป.1/4 มีส่วนร่วมใน กิจกรรมดนตรี อย่างสนุกสนาน ศ 2.1 ป.1/5 บอกความเกี่ยวข้อง ของเพลงที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน สมรรถนะที่ 1 ความสามารถใน การสื่อสาร ตัวชี้วัดที่ 1 ใช้ภาษาถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก และทัศนะของ ตนเองด้วยการพูด และการเขียน ขับร้องเพลง โดย ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก หรือ ท่าทางประกอบได้ ชัดเจนและ สอดคล้องกับ เนื้อเพลงตลอด ทั้งเพลงอย่างมั่นใจ ขับร้องเพลง โดย ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก หรือ ท่าทางประกอบได้ ชัดเจนและ สอดคล้องกับ เนื้อเพลงตลอด ทั้งเพลง ขับร้องเพลง โดย ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก หรือ ท่าทางประกอบได้ ขับร้องเพลง โดย ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก หรือ ท่าทางประกอบ ไม่ได้ พฤติกรรมบ่งชี้ 2. พูดถ่ายทอด ความคิด ความ รู้สึก และทัศนะ ของตนเองจาก สารที่อ่าน ฟัง หรือดูตามที่ กำหนดได้


รายการตัวชี้วัด รายการประเมิน สมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียน ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม (3 คะแนน) ดี (2 คะแนน) พอใช้ (1 คะแนน) ปรับปรุง (0 คะแนน) สมรรถนะที่ 2 ความสามารถใน การคิด ตัวชี้วัดที่ 1 คิดพื้นฐาน (การคิดวิเคราะห์) พฤติกรรมบ่งชี้ 3.ระบุรายละเอียด คุณลักษณะ และความคิด รวบยอดของ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ พบเห็นในบริบท ที่เป็นสิ่งใกล้ตัว ระบุรายละเอียด ของบทเพลงและ ความเกี่ยวข้องของ บทเพลงกับชีวิต ประจำวันได้ถูกต้อง และครบถ้วน ระบุรายละเอียด ของบทเพลงและ ความเกี่ยวข้องของ บทเพลงกับชีวิต ประจำวันได้ถูกต้อง แต่ไม่ครบถ้วน ระบุรายละเอียด ของบทเพลงและ ความเกี่ยวข้องของ บทเพลงกับชีวิต ประจำวันได้ถูกต้อง เป็นบางส่วนและ ไม่ครบถ้วน ระบุรายละเอียด ของบทเพลงและ ความเกี่ยวข้องของ บทเพลงกับชีวิต ประจำวันไม่ได้ สมรรถนะที่ 4 ความสามารถใน การใช้ทักษะชีวิต ตัวชี้วัดที่ 3 ทำงานและอยู่ ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุข พฤติกรรมบ่งชี้ 1. ทำงานด้วย ตนเองได้สำเร็จ เข้าร่วมกิจกรรม และนำเสนอผลงาน การร้องเพลงใน ชีวิตประจำวันด้วย ตนเองได้สำเร็จ เข้าร่วมกิจกรรม และนำเสนอผลงาน การร้องเพลงใน ชีวิตประจำวันด้วย ตนเองได้สำเร็จ โดยมีผู้แนะนำ เข้าร่วมกิจกรรม และนำเสนอผลงาน การร้องเพลงใน ชีวิตประจำวันด้วย ตนเองได้โดยมี ผู้อื่นช่วยเหลือ จนสำเร็จ เข้าร่วมกิจกรรม และนำเสนอผลงาน การร้องเพลงใน ชีวิตประจำวันด้วย ตนเองไม่สำเร็จ


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.