พระครูประโชติ กลุ่ม1.. Flipbook PDF


31 downloads 107 Views 147KB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

รายงาน รายวิชาคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ เรื่องคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา

จัดทาโดย กลุ่มที่ ๑ นายทัตพงศ์ อนันต์

เลขที่ ๕

นางสาวรวมพร สีเผือก

เลขที่ ๒๓

นางสาวภิญญาพัฒน์ โชติพรหมวรรณ

เลขที่ ๒๔

เสนอ พระครูประโชติกิจจาภารณ์,ดร. พระปลัดโฆษิต โฆสิโต,ดร. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารศึกษา ชั้นปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

คานา รายงานเล่มนี้จัดทาขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาคุณธรรมจริ ยธรรมและจรรยาบรรณ วิชาชีพ เรื่องคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา รหัส ๖๑๐๒๐๖ เพื่อศึกษาเรื่องหลัก ความโปร่งใส หลัก ความเป็ น อยู่ ร่วมกัน ความรับ ผิดชอบ โดยได้ศึ ก ษาผ่านแหล่ งความรู้ต่างๆ ตามเว็บไซต์ ผู้ จั ด ท าหวั ง เป็ น อย่ างยิ่ งว่ า รายงานฉบับ นี้ จั ก เป็ น ประโยชน์ ต่อ ผู้ที่ส นใจ หากผิดพลาด ประการหนึ่งประการใด คณะผู้จัดทาขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทา

สารบัญ หน้า คานา



ความหมาย



องค์ประกอบ



ประเภท



ประโยชน์



ความสาคัญ



หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่อง

๑๐

แนวคิดทฤษฎี

๑๒

สรุป

๑๔

เอกสารอ้างอิง

๑๕



๑. ความหมาย มีนักวิชาการและนักการศึกษาได้กล่าวถึงความหมายของคุณธรรม ไว้ดังนี้ โสเครตีส ได้นาแนวคิดของ นักปราชญ์ที่ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับความหมายจากคุณธรรม ไว้ ว่ า คุ ณ ธรรม คื อ ความรู้ ซึ่ ง ได้ ข ยายความไว้ ว่ า ถ้ า บุ ค คลรั บ รู้ แ ละเข้ า ใจถึ ง ธรรมชาติ ของความดีจริง ๆ แล้วเขาจะไม่พลาดจากการกระทาความดีแน่ เขาจะไม่ทาความชั่ว เพราะความ ไม่รู้นี้ทาให้เขาต้องทา ความชั่ว อริสโตเติล ซึ่งเป็นสานุศิษย์ของท่าน ได้กล่าวแก้ว่า ที่ว่าผู้รู้ย่อมไม่ทาผิดนั้นยังรับรองกัน ไม่ได้ เพราะคนเรายังมีอารมณ์ มีกิเลสอยู่และกล่าวว่า คุณธรรมย่อมเป็นจริงในตัวเองไม่ขึ้นอยู่กับ ความรู้ ห รื อ ความเข้ าใจผิ ด หรื อ เข้ า ใจถู ก ของใคร แต่ ค วามรู้ ยัง มี ความสัม พั น ธ์ กั บ การกระท า เพราะการกระทาความดีบางครั้งต้องอาศัยตนเองและบุคลอื่น นับว่าเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่ง ที่เรา จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทาความดี เพลโต ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับ คุณธรรมไว้ว่า มนุษย์ทุกคนโดยธรรมชาติแล้วมักแสวงหา แต่สิ่งที่ ดีหรือ หาสิ่งต่าง ๆ ใน อัน ที่ จะเพิ่มพูน สิ่งที่มี อยู่เป็น อยู่แล้วให้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น และมนุ ษย์ ก็ตกอยู่ในกฎนี้ด้วย เมื่อวิญญาณได้บรรลุถึงความสมบูรณ์โดย ธรรมชาติแล้วการปฏิบัติที่ดี ตาม หน้าที่ของวิญญาณที่เรียกว่า “คุณธรรม” ซึ่งคุณธรรม คือ ความรู้ คุณธรรม ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในบุคคลโดยฉับพลันหรือ โดยบังเอิญ มนุษย์ไม่สามารถปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบถ้าหากเขา ไม่รู้ว่ากาลัง ทาอะไร ทาเพื่ออะไร ทาอย่างไร คุณธรรมทุกอย่างต้องเกิดจากความรู้และก็ไม่ใช่ความรู้ ที่ เป็น ทฤษฎี หากแต่เป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ คุณธรรม หมายถึง กฎ (rule) สาหรับการประเมินพฤติกรรมนี้มีลักษณะไม่แตกต่างจากกฎ ทาง ภาษาที่ เ รี ย กกั น ว่ า ไวยากรณ์ กฎเหล่ า นี้ เ กิ ด จากการเรี ย นรู้ ท ฤษฎี ก ารเรี ย นรู้ ท างสั ง คม ถื อ ว่ า การตั ด สิ น ทาง คุ ณ ธรรมเป็ น กระบวนการตั ด สิ น ใจเกี่ ย วกั บ ความถู ก ผิ ด ของการกระท า ตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่แต่ละคนคิดว่า เกี่ยวข้อง กฎเกณฑ์ที่อาจเข้ามาเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนี้ มีจานวนมาก เช่น คานึงลักษณะของผู้กระทาว่า เป็นอย่างไร เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ มีสติดีเพียงใด คานึงถึงลักษณะของพฤติกรรมและผลที่เกิดตามมาทั้งในระยะ สั้นและระยะยาว ว่าเป็นอย่างไร คานึงถึงสภาพแวดล้อมของการกระทานั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร คานึงถึง ความรู้สึกของผู้กระทาผิด ว่าได้รู้สึกสานึกผิดหรือยัง ถึงจานวนบุคคลและประเภทบุคคลต่าง ๆ ที่ได้รับ ผลกระทบกระเทือน จากการกระท า และค านึ ง ถึ ง ปั จ จั ย อื่ น ๆ อี ก เป็ น จ านวนมาก กฎเกณฑ์ ก ารตั ด สิ น ใจเหล่ า นี้ เกิดจากการเรียนรู้ ทั้งที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง เรียนรู้ด้วยการสังเกต และเรียนรู้จากคาบอก ของบุคคลอื่น ๆ ในสังคม ประสบการณ์ทั้ งทางตรงและทางอ้อมที่ได้รับ ทาให้คนเราเกิดความ

๒ เข้าใจว่าการ ตัดสินพฤติกรรมหนึ่ง ๆ ต้องคานึงถึงเกณฑ์อะไรบ้าง และจะให้น้าหนักเกณฑ์เหล่านี้ อย่างไร พฤติกรรมของ มนุษย์ในสังคมมีแตกต่างกันมากมาย ดังนั้น ในการตัดสินความถูกผิด ของพฤติ ก รรมต่ า ง ๆ จึ ง ใช้ เ กณฑ์ ที่ แตกต่ า งกั น เนื่ อ งจากความส ามารถในการคิ ด และประสบการณ์ยังจากัดอยู่มาก ดังนั้น การตัดสินทาง จริยธรรมจึงจากัดในเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง เพียงเกณฑ์เดียว และมักจะเป็นเกณฑ์ที่มีความเป็นรูปธรรมที่เข้าใจ ง่าย ๆ เช่น เด็กเมื่อเติบโตขึ้น สามารถคิ ด ได้ ดี ขึ้ น และมี ป ระสบการณ์ ม ากขึ้ น ก็ ส ามารถเรี ย นรู้ เ กณฑ์ ก ารตั ด สิ น เพิ่ ม มากขึ้ น สามารถเรียนรู้ เกณฑ์ ก ารตัดสิ น ใจเพิ่ม มากขึ้ น ซับ ซ้อ นมากขึ้ น และสามารถที่จ ะน าเกณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้มาพิจารณาตัดสินพร้อมๆกัน จริยธรรม (Moral philosophy) เป็นหนึ่ งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ ความดีงาม ทางสังคมมนุษย์ จาแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิ ด หากจะอธิบายอย่างง่าย ๆ แล้วจริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว ล้ ว น สายยศ และอั ง คณา สายยศ ได้ ใ ห้ ค วามหมายของจริ ย ธรรมว่ า หมายถึ ง การ พิ จ ารณาตั ด สิ น ใจประพฤติ ห รื อ กระท า โดยอาศั ย หลั ก ของค่ า นิ ย มและหลั ก ศี ล ธรรม เมื่อพบสถานการณ์หนึ่ง สถานการณ์ใด นั่นคือจริยธรรมเป็นการแสดงพฤติกรรมของคน เมื่อ พบสถานการณ์หนึ่ง หากแปลความหมายของคาว่า จริยธรรม โดยการแยกคา “จริยธรรม” มาจากคา 2 คา คื อ จริ ย ธรรม ซึ่ ง แปลตามศั พ ท์ คื อ จริ ย ะ แปลว่ า ความประพฤติ กิ ริ ย าที่ ค วรประพฤติ ค าว่ า ธรรม แปลว่ า คุ ณ ความดี ค าสั่ ง สอนในศาสนา หลั ก ปฏิ บั ติ ใ นทางศาสนา ความจริ ง ความยุติ ธ รรม ความถู ก ต้ อ งกฎเกณฑ์ แ ห่ งความ ประพฤติ หรือ หลั ก ความจริ ง ที่เ ป็ น แนวทาง แห่งความประพฤติปฏิบัติ จริ ยธรรมในความหมายทั้ งหมดดั งที่ ก ล่ าวมา จึง เป็ น เรื่ อ งเกี่ ยวกั บ หลัก ความประพฤติ เป็ น แนวทาง หรื อ แบบอย่ า งของความประพฤติ ที่ เ ป็ น คุ ณ ความดี เพื่ อ การมี ชี วิ ต ที่ ดี มี คุ ณ ค่ า ของมนุษย์ และโดยทั่วไป จริยธรรมมักจะอิงอยู่กับศาสนา เพราะคาสอนทางศาสนามีส่วนสร้าง จริยธรรมให้สังคมมนุ ษย์ดารงชีวิตในทุก ด้าน ทุกวัน นี้มนุษย์มีก ารใช้ทรัพยากรโดยไม่ประหยัด ขณะเดียวกันก็ทาลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทาให้ เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ด้วยกันอย่ างมาก เช่ น มลภาวะที่ เ กิด จาก น้ าเสี ย อากาศเป็ น พิ ษ อากาศ เปลี่ ย นแปลง ปรากฏความแห้ ง แล้ ง อย่างไม่เคยมีมาก่อน หรือบางภูมิภาคก็เกิดอุทกภัย เกิดแผ่นดินไหว ปรากฏการณ์ธรรมชาติเหล่านี้ ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะมนุษย์เป็นผู้ทาให้เกิดขึ้น ดัง นั้นหากมนุษย์มี จริยธรรมในการ ประพฤติ ป ฏิ บั ติ ต่ อ ธรรมชาติ อ ย่ า งเหมาะสม ก็ จ ะลดปั ญ หาของธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มที่ มนุษย์เผชิญอยู่ในปัจจุบันได้



๒. องค์ประกอบ คุณ ธรรมที่ สาคัญ มี ๔ ประการ ได้แก่ ความฉลาด (wisdom) ความยุติธรรม (justice) ความกล้าหาญ (courage) และความรู้จักประมาณ (temperance) ซึ่งขยายความ ได้ดังนี้ ๑. ความฉลาดหรือปั ญญา บุคคลผู้มีคุณธรรมย่อมกระทากิจกรรมทุกอย่างด้วยเหตุผล เสมอ หรืออีกนัยหนึ่งว่า กิจกรรมที่มีเหตุผลย่อมประกอบด้วย คุณธรรม ด้วยเหตุนี้ปัญญาจึงเป็น รากฐานของ คุณธรรมทั้งหมด ๒. ความยุติ ธ รรม เป็ น คุณ ธรรมทางสังคมที่ไ ด้รวบรวมเอาคุณ ธรรมอื่ น ๆ เข้าไว้ด้ว ย เช่น ความ รัก ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี การทาหน้าที่ การรักษาสัญญา ฯลฯ ความฉลาดอย่างเดียว สามารถทาให้กิจกรรมต่าง ๆ ดาเนินไปได้ ความยุติธรรมทาทุกสิ่ง ทุ ก อย่ า งเป็ น ไปตามความต้ อ งการอย่ า ง แท้ จ ริ ง ซึ่ ง ตั ด สิ น โดยเหตุ ผ ล ความกล้ า หาญท าให้ เรายืนหยัดที่จะทาสิ่งที่ฉลาดและยุติธรรม ไม่ว่าจะมี อุปสรรคใด ๆ และความรู้จักประมาณ รวมถึง ความซื่อสัตย์ ความเชื่อมั่น มาช่วยประสานต่าง ๆ ของจิตใจ ให้กลมกลืนไปกับเหตุผล ๓. ความกล้ า หาญ เป็ น คุ ณ ธรรมที่ ส าคั ญ มากในการด ารงชี วิ ต ของคน ที่ จ าเป็ น ในการป้ อ งกั น ชีวิตของเราให้หลุดพ้ น จากสิ่งยั่ว ยวนใจ ในความหมายของความกล้าหาญนี้ ไ ด้ รวมเอาทั้ ง ความกล้ า หาญและ ความอดทนไว้ ด้ ว ย ผู้ ที่ ก ล้ า หาญเท่ า นั้ น ที่ จ ะไม่ ต กเป็ น ทาส ของสิ่ ง ยั่ ว ยวนใจที่ จ ะท าให้ เ สี ย คน ผู้ ที่ ก ล้ า หาญ เท่ า นั้ น จะเอาชนะศั ต รู แ ละอุ ป สรรคได้ มนุษย์ต้องการความกล้าหาญที่มีระดับแตกต่างกัน ตามสถานที่ ตาม สถานการณ์ เช่น ทหาร ต้อ งการความกล้าหาญทางร่างกายในสถานการณ์สงคราม ครู นั ก การศาสนา อาจจะต้อ งใช้ ความกล้าหาญทางด้านศีลธรรมมากกว่า เป็นต้น ๔. ความรู้ จั ก ประมาณ มี ลั ก ษณะคล้ า ย ๆ และควบคู่ กั บ ความกล้ า หาญ ถ้ า คนใด มี คุ ณ ธรรมข้ อ นี้ ก็ มั ก จะรอดพ้ น จากสิ่ ง ยั่ ว ใจทั้ ง หลายได้ ความรู้ จั ก ประมาณ หมายถึ ง การหลีก เลี่ ยงจากสิ่ง ยั่วยวนใจจาก ประสาทสัมผั สหรือ ความเพลิ ดเพลิ น ทางวุฒิ ปั ญ ญา ผู้รู้จั ก ประมาณ คือ ผู้ที่สามารถควบคุมประสาทสัมผัสของเขาได้ ความรู้จัก ประมาณเป็นระเบี ยบวินัย ในตนเอง และตรงข้ามกับคาว่า การขาดความพอดี กระทรวงศึกษาธิการได้สรุปองค์ประกอบของจริยธรรมที่ประกอบด้วย คุณลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ ๑. ความรับผิดชอบ คือ มุ่งมั่นตั้งใจทางานด้วยความพากเพียร พยายามปรับปรุงงานให้ ดีขึ้นเพื่อให้ บรรลุผลสาเร็จตามความมุ่งหมาย

๔ ๒. ความชื่ อ สั ต ย์ คื อ การประพฤติ ป ฏิ บั ติ อ ย่ า งเหมาะสม และตรงต่ อ ความเป็ น จริ ง ทั้งกายวาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น ๓. ความมีเหตุผล คือ การรู้จักไตร่ตรองไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจโดยไม่ผูกพัน กับ อารมณ์ และความยึดมั่นของที่มีอยู่เดิม ๔. ความกตั ญญูก ตเวที กตัญ ญู หมายถึ ง การส านึ ก ในการอุ ปการคุณ ที่ผู้อื่ น มีต่ อ เรา กตเวทีคือ การ แสดงออก การตอบแทนบุญคุณ ๕. การรักษาระเบียบวินัย คือ การควบคุมการประพฤติและปฏิบัติ ให้ถูกต้องกับจรรยา มารยาท ศีลธรรม กฎข้อบังคับและกฎหมาย ๖. ความเสียสละ คือ ความละความเห็นแก่ตั ว การให้ปันกับคนที่ควรให้ด้วยก าลังกาย ทรัพย์ สติปัญญา ๗. ความสามัคคี คือ พร้อมเพรียงเป็นน้าหนึ่งน้าใจเดียวกัน ร่วมมือกันกระทากิจการใด ให้สาเร็จ ลุล่วงด้วยดี โดยเห็นกับประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ๘. การประหยัด คือ การใช้สิ่งทั้งหลายให้พอเหมาะพอควร ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ๙. ความยุ ติ ธ รรม คื อ การปฏิ บั ติ ด้ ว ยความเที่ ย งตรง สอดคล้ อ งกั บ ความเป็ น จริ ง และเหตุผลไม่ ลาเอียง ๑๐. ความอุตสาหะ คือ ความพยายามที่จะกระทาให้เกิดความสาเร็จในงาน ๑๑. ความเมตตากรุณา คือ ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข ความสงสารที่จะช่วยให้ ผู้อื่นพ้นทุกข์ สรุปได้ ว่า การที่บุคคลจะสามารถพัฒ นาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม นอกจากขึ้นอยู่กับ ระดับ สติปัญญาแล้ว ต้องอาศัยองค์ประกอบอย่างอื่นอีกหลายองค์ประกอบรวมกัน ดังนั้น การที่ บุคคลพัฒนาการ ทางสติปัญญาในขั้นสูงไม่ได้หมายความถึงบุคคลนั้น จะมีพัฒนาการด้านการใช้ เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นสูง เสมอไป



๓. ประเภท สามารถจาแนกเป็น ๒ ส่วน คือ จริยธรรมภายในและจริยธรรมภายนอก ๑. จริ ย ธรรมภายใน เป็ น จริ ย ธรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น ภายในจิ ต ใจของบุ ค คล ประกอบด้ ว ย ๓ ประการ ได้แก่ ๑.๑ ความคิดความรู้ทางจริยธรรม หมายถึง ความเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้อง ดีงาม สามารถตัดสินแยกความถูกต้องออกจากความรู้ได้ด้วยความคิด การมีความรู้ว่า ในสังคมของตน นั้นถือว่าการ กระทาใดควรกระทา การกระทาใดควรละเว้น ลักษณะ และพฤติกรรมใดเหมาะสม หรือไม่เหมาะสมมากน้อย เพียงใด เป็นการเรียนรู้เรื่องเนื้อหาของจริยธรรมเป็นหลัก ๑.๒ อารมณ์ความรู้สึกทางจริยธรรม หมายถึง ความพอใจ ศรัทธา เลื่อมใส ความรู้สึก ของบุคคล ว่าชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับค่านิ ยมในสังคมนั้น เกิดความยิน ดี ที่จะรับจริยธรรมมาเป็นแนว ประพฤติปฏิบัติ ๑.๓ เหตุผลทางจริยธรรม หมายถึง การที่ บุคคลใช้เหตุในการเลือกที่จะกระทา หรือเลือก ที่จะไม่ กระทาพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เหตุผลนี้ จะเป็นแรงจูงใจที่อยู่เบื้อ งหลังการกระทา ต่าง ๆ ของบุคคล การที่ บุคคลมีการกระทาที่คล้ายคลึงกัน อาจมีจริยธรรมในระดับที่แตกต่างกัน ได้เสมอต่อการให้เหตุผลในทาง จริยธรรมของบุคคล จะเป็นเครื่องแสดงพัฒนาการทางจริยธรรม ของบุคคลนั้น และมีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคลด้วย ๒ จริยธรรมภายนอก เป็นจริยธรรมที่บุคคลประพฤติแสดงออกมา โดยมีจริยธรรมภายใน ดังกล่าว ข้างต้นเป็นรากฐาน จึงเป็นพฤติกรรมการกระทาที่บุคคลตัดสินใจการกระทาถูกหรือผิด ในสถานการณ์ แ วดล้ อ มต่ า ง ๆ แสดงพฤติ ก รรมที่ สั ง คมนิ ย มชมชอบ หรื อ งดเว้ น การแสดง พฤติกรรมที่ ฝืนกฎเกณฑ์หรือ ค่านิยมนั้น ๆ ในสังคม



๔. ประโยชน์ จริยธรรมจะมีประโยชน์เมื่อนาไปปฏิบัติ เพราะจริยธรรมเป็นหลักสาคัญสาหรับการปฏิบัติ จริยธรรมมี ประโยชน์ ดังนี้ ๑. ประโยชน์ต่ อตนเอง การปฏิบัติตามหลัก จริยธรรมทาให้คนเราเป็น คนดี คนดีย่อ ม มี ความสบาย ใจ อิ่ ม เอิ บ ใจ เพราะได้ ท าความดี จึ ง เป็ น ที่ รั ก ใคร่ ช อบและชอบพอของคนอื่ น นอกจากนี้หลักธรรม เช่น ความเพียร ความอดทน ความมีวินัย ยังช่วยให้ประสบความสาเร็จ ในการงานด้วย ๒. ประโยชน์ ต่ อ สั ง คม คนดี ย่ อ มท าประโยชน์ แ ก่ ต นเอง และคนอื่ น ด้ ว ยการไม่ ท าชั่ ว เป็นการลด ภาระของสังคมที่ไม่ต้องแก้ปัญหา การทาดีจึงเป็นประโยชน์แก่สังคม และช่วยให้สังคม พัฒนาไปสู่ความเจริญ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่คนอื่น ๆ คนดีจึงเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า ๓. ประโยชน์ต่อการรักษาจริยธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งที่ดีมีคุณค่า ทั้งแก่บุคคลและสังคม จะรักษาไว้ ด้วยการปฏิบัติ เพราะถ้าไม่ปฏิบัติก็จะเป็นเพียงคาพูดหรือตัวหนังสือที่เขียนไว้ จะช่วย ใครไม่ได้ทั้งสิ้น ดั ง นั้ น การศึ ก ษาจริ ย ธรรมและน าไปปฏิ บั ติ ดี จึ ง เป็ น การรั ก ษาจริ ย ธรรมให้ ค งอยู่ เช่นเดียวกับพระภิกษุสงฆ์สืบต่อ พระพุทธศาสนาได้ด้ วยการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามคาสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาจึงดารงมาได้ จนถึงปัจจุบัน คนทั่วไปก็สามารถรักษาจริยธรรม ของศาสนาได้ด้วยการปฏิบัติเช่นเดียวกัน การปฏิบัติจึงให้คุณ แก่ตน แก่สังคม และเป็นการรักษา จริยธรรมไว้ให้เป็นประโยชน์แก่อนุชนสืบไป ๔. ประโยชน์ต่อการพัฒนาบ้า นเมือง ต้องพัฒนาจิตใจก่อ นหรือ อย่างน้อ ยก็ต้องควบคู่ ไปกับการ พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอื่น ๆ ด้วย เพราะการพัฒนาที่ไม่มีจริยธรรมเป็นแกนนา ก็ จ ะสู ญ เปล่ า เพราะท าให้ บุ ค คลกลุ่ ม หลงในวั ต ถุ และอบายมุ ข มากขึ้ น การที่ เ ศรษฐกิ จ ต้ อ ง เสื่อมโทรม ประชาชนยากจน สาเหตุหนึ่งก็คือ คนในสังคมและเลยจริยธรรม มุ่งแต่จะกอบโกย ผลประโยชน์สว่ นตน ขาดความเมตตาปราณี แล้งน้าใจ เห็นแก่ ตัว โดยไม่คานึงถึงคนอื่น และ สังคมโดยส่วนรวม การพัฒ นาเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งการเมือ ง จึงไม่ประสบ ความสาเร็จ เท่าที่ควร ๕. ประโยชน์ ต่ อ การช่ ว ยควบคุ ม มาตรฐาน รั บ ประกั น คุ ณ ภาพและปริ ม าณที่ ถู ก ต้ อ ง ใน การ ประกอบอาชีพ ในการผลิต และในการบริหาร ถ้าผู้ผลิตมีจริยธรรมก็จะผลิตสินค้าที่มี คุณภาพไม่ปลอมปน อะไรไม่ดีก็บอกว่าไม่ดี อะไรว่าดีก็บอกว่าดี จริยธรรมจึงเป็นเรื่องของความซื่อ

๗ สั ต ว์ สุ จ ริ ต ยุ ติ ธ รรม ช่ ว ยให้ มาตรฐานสิ น ค้ า ดี มี คุ ณ ภาพ ลดปั ญ หาการคดโกงฉ้ อ ฉล เอารั ด เอาเปรียบ เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ ตลอดจนความใจ แคบไม่ยอมเสียสละ



๕. ความสาคัญ สภาพสังคมไทยปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลกระทบ โดยตรงต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย จริยธรรมและคุณธรรมของคนในสังคม ปั ญ หาต่ า ง ๆ ในสั ง คมมี ม าก ขึ้ น เนื่ อ งจากความเจริ ญ ก้ า วหน้ า ทางวั ต ถุ อั น เนื่ อ งมาจาก ความก้ า วหน้ า ทางวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี สั ง คมไทยได้ รั บ กระแสอิ ท ธิ พ ลของวั ฒ นธรรม ต่ า งชาติ ที่ ผ่ า นเข้ า มาทางสื่ อ มวลชน เทคโนโลยี ส ารสนเทศใน รู ป แบบต่ า ง ๆ และคนไทย ได้น าวิท ยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ใ นการผลิต และดารงชีวิตโดยขาดการ กลั่น กรอง และเลือกใช้ประโยชน์อย่างมีเหตุผลอีกทั้งคนไทยยังไม่สามารถสร้างเทคโนโลยีได้เอง ทาให้คนไทย ตกอยู่ภายใต้การครอบงาของวัฒนธรรมต่างชาติ และสังคมไทยเบี่ยงเบนจากเอกลักษณ์วัฒนธรรม ที่ดีงาม และ คุณค่าชีวิตแบบไทยดั้งเดิม มายึดติดกับกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยมมากขึ้น ทาให้ เกิ ด ความขั ด แย้ ง และ สั บ สนทั้ ง ในเรื่ อ งความคิ ด ความเชื่ อ ค่า นิ ย ม บทบาทหน้ า ที่ ค านึ ง ถึ ง ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม มีการ เอารัดเอาเปรียบผู้อื่ น เพื่อการเป็นผู้ชนะแข่งขันชิงดี ชิงเด่นอย่างขาดการประนีประนอมและเกื้อกูลต่อกันจน ทาให้ระเบียบวินัยและคุณลัก ษณะที่พึง ประสงค์ของคนในชาติถูก ละเลย และเริ่ มออกห่างจากศาสนา มีค วาม หย่อ นยานในศีล ธรรม และจริยธรรม ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนไทยอย่างรวดเร็วเกิดปัญหาศี ลธรรมเสื่อม วัฒนธรรม ที่ดีของชาติถูกละเลย ครอบครัวขาดความอบอุ่น ชุมชนขาด ความเข้มแข็งก่อให้เกิดปัญหาสังคม ต่าง ๆ ตามมา ดั ง นั้ น สั ง คมไทยในปั จ จุ บั น ทุ ก หน่ ว ยงาน องค์ ก ารต่ า งๆได้ เ ห็ น ความส าคั ญ ของการ เสริ มสร้ างจริย ธรรม มากขึ้น และพยายามหาทางปู อ งกัน ปั ญ หาทางจริยธรรมที่ มั ก จะเกิ ดขึ้ น ในบุคคลในทุกช่วงวัยของชีวิต ศาสนาและการศึ ก ษา ได้ มี บ ทบาทในการสร้ า งเสริ ม ศี ล ธรรมและจริ ย ธรรมมาโดยตลอด แต่นักปฏิบัติการพัฒนายังทางานได้ไม่เต็มที่ ทั้งนี้ เพราะขาดข้อมูลเกี่ยวกับจิตใจและพฤติกรรม ของคนไทยประเภท ต่าง ๆ อันจะทาให้มีความรู้อย่างชัดเจนว่ามีสาเหตุอะไรบ้าง ที่จะทาให้คนไทย เป็นได้ทั้งคนดีและเก่ง มิใช่ เพียงแต่เป็นคนเก่าเท่านั้น เยาวชนและประชาชนไทยในยุคนี้ประเภทใด ที่ยังขาดคุณสมบัติใดบ้าง ที่จะทาให้ เขาเหล่านั้นเป็นคนดีและคนเก่งให้มากยิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังต้องมี การวิจัยเพื่อแสวงหาวิธีการพัฒนาจิตใจ และพฤติกรรมของคนไทยประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ เกิดประสิทธิผลในการดาเนินการพัฒนาให้มากที่สุดและ รวดเร็วที่สุดด้วย ทั้งนี้ การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒ นาทุกขั้นตอนต้องใช้ “ความรอบรู้” ในการพัฒนา ด้าน ต่าง ๆ ด้วยความรอบคอบ เป็นไปตามลาดับขั้นตอน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของสังคมไทย

๙ รวมทั้ ง การเสริ ม สร้ า งศี ล ธรรมและส านึ ก ใน “คุ ณ ธรรม” จริ ย ธรรมในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ และด าเนิ น ชี วิ ต ด้ว ยความเพี ย ร อั น จะเป็น ภู มิ คุ้ ม กัน ในตั ว ที่ดี ใ ห้ พ ร้อ มเผชิ ญ การเปลี่ย นแปลง ที่เกิดขึ้น ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน สังคมและ ประเทศชาติ ดังนั้นจากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด จริยธรรมจึงมีความสาคัญและเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับมนุษย์มาก เพราะจริยธรรมเป็นทั้งธรรมชาติ และเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์เป็นที่ยอมรับว่า จริยธรรมที่ดี จะเป็น ปัจจัยพื้นฐานที่จะช่วย ให้ สั ง คมมี ค วามสุ ข สงบ และพั ฒ นาไปอย่ า งมี ร ะบบ จริ ย ธร รมที่ ดี ยั ง เป็ น ปั จ จั ย พื้ น ฐานใน การเอื้อประโยชน์ให้กับธรรมชาติ ทาให้มนุษย์สามารถมีชีวิตได้อย่างมีความสุข

๑๐

๖. หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งได้แก่ “ศีล ๕ ธรรม ๕ “หรือ เบญจศีล เบญจธรรม” ดังต่อไปนี้ - ไม่ฆ่าสัตว์ - ไม่ลักทรัพย์ - ไม่ประพฤติผิดในกาม - ไม่พูดปด – ไม่ดื่มสุรา ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์หรือมนุษย์ เป็นศีล กรุณาต่อสัตว์หรือมนุษย์ เป็นธรรม ๒. เว้นจากการลัก ฉ้อ เป็นศีล เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และประกอบอาชีพสุจริต เป็นธรรม ๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เป็นศีล สารวมในกาม เป็นธรรม ๔. เว้นจากการพูดปด เป็นศีล พูดจริง เป็นธรรม ๕. เว้นจากการดื่มสุราเมรัย เป็นศีล มีสติสารวมระวัง เป็นธรรม “กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ” ดังต่อไปนี้ทางกาย ๓ ข้อ ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์หรือมนุษย์ ๒. เว้นจากการลักทรัพย์ ๓. เว้นการประพฤติผิดในกาม ทางวาจา ๔ ข้อ ๑. เว้นจากการพูดปด ๒. เว้นจากการพูดยุยงให้แตกร้าวกัน ๓. เว้นจาการพูดหยาบ ๔. เว้นจากการพูดเหลวไหลเพ้อเจ้อ

๑๑ ทางใจ ๓ ข้อ ๑. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ๒. ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น หรือคิดให้เขาพินาศ ๓. ไม่เห็นผิดจากทานองคลองธรรม โดยมีความเห็นถูกต้องว่า ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ ชั่ว บิดามารดามีคุณ เป็นต้น “อริยมรรค” แปลว่า “ทางอันประเสริฐ” บ้าง เรียกว่า”มัชฌิมาปฏิปทา” แปลว่า “ข้อ ปฏิบัติทางสายกลาง “ บ้าง มี ๘ ประการ คือ ๑. ความเห็นชอบ คือมีปัญญาเห็นอริยสัจ ๔ ประการ ๒. ความดาริชอบ คือ ดาริในการออกจากกาม ในการไม่ปองร้าย ดาริในการไม่เบียดเบียน ๓. การเจรจาชอบ คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่ยุยงให้แตกร้าว ไม่พูดคาหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๔. การกระทาชอบ คือ ไม่ฆ่าสัตว์หรือมนุษย์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ๕. การเลี้ยงชีพชอบ คือ ไม่หาเลี้ยงชีพในทางที่ผิดที่มีโทษ ประกอบอาชีพที่ชอบธรรม ๖. ความเพียรชอบ คือ เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทาความดี เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ ๗. การตั้งสติชอบ คือ ตั้งสติพิจารณาร่างกาย เวทนา หรือความรู้สึกสุขทุกข์ ตลอดจนไม่สุข ไม่ ทุกข์ จิต และธรรม รวม ๔ ประการ ให้รู้เท่าทันเห็นทั้งความเกิด ความดับ ๘. การตั้งใจมั่นชอบ คือ การทาจิตใจให้สงบมีสมาธิอย่างแน่วแน่ ที่เรียกว่าได้ฌาน ๔

๑๒

๗. แนวคิดทฤษฎี พื้นฐานจริยธรรมแบบพุทธไม่ได้มีพื้นฐานอยู่ที่ความเชื่อในภาวะสูงสุด หรือพระผู้เป็นเจ้า แต่เสนอให้ พิจารณาสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ในภาวะที่เป็นกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จากเหตุปัจจัยต่าง ๆ มิใช่เพื่อรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแบบพระเจ้า พระเจ้าได้ชี้ให้เห็นถึง วิ ธี ก ารพื้ น ฐานหรื อ จริ ย ธรรมพื้ น ฐาน ที่ ด าเนิ น ชี วิ ต ไปสู่ ค วามสวยสุ ข แบบพื้ น ฐานระดั บ กลาง และระดับสูงสุด พื้นฐานจริยธรรมแบบพุทธ คือธรรมสาหรับควบคุมความประพฤติเบื้องต้น ๓ ทาง คือ ๑. ทางกาย ๒. ทางวาจา ๓. ทางใจ แต่ละทางจะบอกถึงพฤติกรรม ๒ ลักษณะ คือ ๑. ดี ๒. ชั่ว ความประพฤติจะดีจะชั่ว ขึ้นอยู่กับมูลเหตุซึ่งเป็นตัวการ ๒ ประการ ๑. มูลเหตุดี ๒. มูลเหตุชั่ว มูลเหตุดี เรียกว่า กุศลมูล แปลว่า รากเหง้าของกุศล หรือรากเหง้าของความฉลาด กุศลมูล มีอยู่ ๓ ประการ ๑. อโลภะ ความไม่โลภ ๒. อโทษะ ความไม่โกรธ ๓. อโมหะ ความไม่หลง ถ้าคนเราตกอยู่ในอ านาจของความไม่โลภ ไม่โ กรธ ไม่หลง กาย วาจา ใจ ก็จะปรากฏ ในทางไม่โลภ ไม่ โกรธ ไม่หลง ผลของพฤติกรรมก็คือ ความสุขกายและสุขใจ ไม่เป็นพิษเป็นภัย แก่ ตั ว เอง และบุ ค คลอื่ น ส่ ว น มู ล เหตุ ชั่ ว เรี ย กว่ า อกุ ศ ลมู ล แปลว่ า รากเหง้ า ของอกุ ศ ล หรือรากเหง้า ของความโง่ซึ่งมีอยู่ ๓ ประการ

๑๓ ๑. โลภะ ความโลภ ๒. โทษะ ความโกรธ ๓. โมหะ ความหลง หรือ ความไม่รู้จริง คนเราต้ อ งการความสุ ข ความสุ ข จะเกิ ด รั บ ได้ ก็ ต้ อ งก าจั ด มู ล เหตุ แ ห่ ง ความทุ ก ข์ ใ ห้ ห มดไป พระพุทธเจ้า จึงทางชี้นาจริยธรรมสาหรับปฏิบัติ เพื่อกาจัดความชั่วอันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ ไว้ ๓ ทาง คือ ๑. ศีล เป็นข้อปฏิบัติกาจัดความชั่วทางกาย วาจา ซึ่งตกอยู่ใต้ อิทธิพลของความโลภความ โกรธ ซึ่งจัดเป็นความชั่วอย่างหยาบ ๒. สมาธิ เป็ น ข้ อ ปฏิ บั ติ ก าจั ด ความชั่ ว ทางใจ ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น เพราะความโลภ ความโกรธ ซึ่งจัดเป็น ความชั่วอย่างกลาง ๓. ปัญญา เป็นคุณธรรมที่กาจัดความหลงผิด ซึ่งเป็นความชั่วอย่างละเอียด ข้อปฏิบัติทั้ง ๓ นี้ เป็นจริยธรรมที่สาคัญในพระพุทธศาสนา เป็นหัวใจของคาสอนทั้งหมด เป็ น จุ ด หมาย หรื อ ความดี สู ง สุ ด ทางจริ ย ธรรมคื อ จุ ด ที่ ต้ อ งการหรื อ สิ่ ง ที่ ดี พึ่ ง ได้ ส าหรั บ ชี วิ ต คือ ความสุขความสะดวกสบาย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

๑๔

๘. สรุป สรุปได้ว่า คุณธรรมจริยธรรมเป็น คาที่ไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดออก จากกัน เพราะเป็น ที่เชื่อมกัน แต่สามารถจาแนกให้เห็นชัดขึ้น ในความหมายของคุณธรรม แต่หากเป็นเรื่อง

คา ของ

ปรัชญาส่วนนี้อาจเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับเรื่องของทฤษฎีคุณค่า โดยเฉพาะ สุนทรียศาสตร์ และ จริย ศาสตร์ ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ความสวย ความดี ความงาม หาก ให้ นิ ย ามในเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร คุณธรรมก็จะเป็นเรื่องของความคิด คิดดี คิดถูก ซึ่งเกิดจากความรู้ความเข้าใจที่ ถูกต้องเกี่ยวกับ ธรรมชาติของสรรพสิ่งจึงมีแนวโน้มว่าเป็นเรื่องของตัวบุคคลเป็นอัตวิสัย อย่างไรก็ตามหากคนที่ คิดเหมือน ๆ กันมารวมกลุ่มกันก็ จะกลายเป็นความคิด ของกลุ่มคนได้โดยภาพรวมแล้วคุณธรรม ตามนั ย นี้ จึ ง เป็ น เรื่ อ งของความดี ความงาม ความ ถู ก ต้ อ ง ส่ ว นในเรื่ อ งจริ ย ธรรมก็ จ ะเป็ น พฤติกรรม เป็นการปฏิบัติแนวทางในการปฏิบัติซึ่งมาจากการคิดดี คิด ถูก และจริยธรรมเป็นเรื่อง คนหลาย ๆ คน เป็นข้อตกลงร่วมกันของกลุ่ม อาจจะเริ่มจากระดับครอบครัว ชุมชน ประเทศ ไปจนถึง ระดับ โลก ซึ่งเป็ น แนวประพฤติปฏิ บัติที่ก ลุ่ มเห็น พ้ อ งต้อ งกัน ว่าเป็น ส่ วนหนึ่ งกระทาใน การอยู่ ร่ ว มกั น ซึ่ ง ได้ แ ก่ ขนบธรรมเนี ย ม จารี ต ประเพณี กฎหมาย ดั ง นั้ น โดยสรุ ป แล้ ว ความแตกต่างระหว่างคา ว่าคุณธรรมกับจริยธรรม คือ คาว่าคุณธรรมเป็นความคิด–คิดดี คิดงาม คิดถูก ส่วนคาว่าจริยธรรมเป็นการ กระทา–ปฏิบัติดี ปฏิบัติงาม ปฏิบัติถูก คาว่า “จริยธรรม” อาจมีผู้รู้ให้คาอธิบายแตกต่างกันไปตามศาสตร์สาขาวิชา แต่โดยสรุปแล้ว จริยธรรม คือ กฎเกณฑ์ ความประพฤติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง คือ ความเป็นผู้มีปัญญา มีเหตุผล ทาให้มนุษย์มีมโนธรรม รู้จักไตร่ตรองจาแนก ความดี - ความชั่ว ความถูก -ความผิด สิ่งใดควร ไม่ควร ทาให้บุคคลเกิดการควบคุมตนเองและกลุ่ม เกิดพฤติกรรม ประพฤติปฏิบัติในสังคม

เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการ. (2523). แนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา. โกสินทร์ รังสยาพันธ์. (2530). ปรัชญาและคุณธรรมสาหรับครู. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การ ศาสนา. พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี). (2563). ศีล๕รักษาโลก. กรุงเทพมหานคร: Tammasala. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. การส่งเสริมและพัฒนาชุมชน องค์กร อาเภอ และจังหวัด คุณธรรม. ผศ.ดร.สถาพร วิชัยรัมย์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ขัตติยา กรรณสูต และคณะ. (2547). คุณธรรมพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย. กรุงเทพฯ : สานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จรัญ ธรรมโม. (2559). คุณธรรมจริยธรรมสาหรับนักบริหาร. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2566, จิราภรณ์ รังรื่น. (2559). การครองตน การครองคน การครองงาน. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.gotoknow.org/post/242933 ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2520). จริยธรรมของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ประวัติ พื้นผาสุก. (2549). คุณธรรมสาหรับผู้บริหาร. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม). (2558). พุทธธรรมกับการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พะเยา : โรงพิมพ์เจริญอักษร. พระโฆษิต สุโมโธ. (2548). หลักพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไสว มาลาทอง. (2542). คู่มือการศึกษาจริยธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.