หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวันมหาราช (พุทธศักราช ๒๕๖๑) 10-10-62 Flipbook PDF

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวันมหาราช (พุทธศักราช ๒๕๖๑) 10-10-62

66 downloads 119 Views 2MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript



๑ ความนำ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สพฐ. ๑๒๓๙/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ และคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ๓๐/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๑ เรื่อง ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐ ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีคำสั่งให้โรงเรียนดำเนินการใช้หลักสูตรในปีการศึกษา ๒๕๖๑ โดยให้ใช้ใน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และ ๔ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นมา ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดย กำหนดจุดมุ่งหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมี พัฒนาการเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพและมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย และเป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวันมหาราช (ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) จึงได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาในกลุ่มสาระ การเรีย นรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ส ังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สพฐ. ๑๒๓๙/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ และคำสั่งสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ๓๐/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๑ เรื่อง ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐ ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และเป็นกรอบในการ วางแผนและพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน ให้มีกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด โครงสร้างเวลาเรียน ตลอดจน เกณฑ์การวัดประเมินผลให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้โรงเรียนสามารถกำหนด ทิศทางในการจัดทำหลักสูตรการเรีย นการสอนในแต่ล ะระดับตามความพร้อมและจุดเน้น โดยมีกรอบ แกนกลางเป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ มีความพร้อมในการก้าวสู่ส ั งคม คุณภาพ มีความรู้อย่างแท้จริง และมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑



มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในเอกสารนี้ ช่วยทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในทุกระดับ เห็นผลคาดหวังที่ต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจนตลอดแนว ซึ่งจะสามารถช่วยให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรได้อย่างมั่นใจ ทำให้การจัดทำหลักสูตรใน ระดับสถานศึกษามีคุณภาพและมีความเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจนเรื่องการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ และช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรในทุก ระดับตั้งแต่ระดับชาติจนกระทั่งถึงสถานศึกษา จะต้องสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ และครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังได้ ทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ ชุมชน ครอบครัว และบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ โดยร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ในการวางแผน ดำเนินการ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนา เยาวชนของชาติไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ วิสัยทัศน์หลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช ๒๕๖๓ (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๐ ) หลักสูตรโรงเรียนวันมหาราช (ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๐) เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนเป็นบุคคลแห่ง การเรียนรู้สู่มาตรฐานสากลและเป็นมนุษย์ที่มีความสมดุ ลทั้งร่างกาย ความรู้คู่คุณธรรม มีความเป็นผู้นำของ สังคมมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลกโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยึดมั่นในการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐานสามารถใช้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีรวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาในการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิตโดย มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ เป้าประสงค์หลักสูตร (Corporate objective) ๑. เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีการ พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีทั กษะชีวิต มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต เป็นผู้นำที่ดีของสังคมและมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรีย นรู้ และการสื่อสารอย่างหลากหลาย ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) ๒. เพื่อให้สถานศึกษามีร ะบบการบริห ารและจัดการศึกษาด้ว ยระบบคุณภาพ (Quality System Management) เพื่อรองรับการกระจายอำนาจอย่างทั่วถึง ๓. เพื่อให้บุคลากรทุกคนมีทักษะวิชาชีพในการพัฒนาการเรียนการสอนและใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ ทันสมัยยกระดับการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ๔. เพื ่ อ ให้ ก ารใช้ ง บประมาณและทรั พ ยากรของทุ ก หน่ ว ยงานเป็ น ไปตามเป้ า หมายได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด



วิสัยทัศน์โรงเรียน (VISION ) “ บริหารโดยหลักธรรมาภิบาล จัดการเรียนรู้ด้วยครูมืออาชีพ พัฒนาผู้เรียนตามเกณฑ์คุณภาพ สู่มาตรฐานสากล รักความเป็นไทย รู้ใช้เทคโนโลยี มีชุมชนร่วมพัฒนา เน้นจิตอาสาพัฒนาคุณธรรม น้อมนำ ความรู้คู่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ” พันธกิจ (MISSION) 1. ระบบบริหารจัดการองค์กรอย่างมีคุณภาพ เน้นการมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ขับเคลื่อน การดำเนินงานด้วยระบบคุณภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล 2. ส่งเสริม สนับสนุน ครูและบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องมีความเป็นครูมือ ในด้านการจัดการเรียนรู้ และการทำงานด้านต่างๆ ในหน้าที่ 3. จัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล 4. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมไทย 12 ประการเพื่อมีทักษะชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย และใช้เทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์ 5. พัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยี และส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ได้อย่างทั่วถึงเหมาะสม 6. สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาการศึกษาและร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ (GOAL) 1. ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ 2. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร สู่มาตรฐานสากล มีทักษะการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน 3. ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 4. โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสอดคล้อง กับความต้องการของท้องถิ่น 5. โรงเรียนมีมาตรฐานการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ มีการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6. โรงเรียนจัดการศึกษาโดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 7. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ 8. โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และพร้อมให้บริการแก่ทุกภาคส่วน 9. โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนครบวงจร และบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษา อัตลักษณ์ รักษ์สิ่งแวดล้อม

มีพร้อมคุณธรรม

น้อมนำความพอเพียง



สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐) มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มี คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิ ตพิ เชฐวงศ์ ๑) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ ก ษาขั ้น พื ้ น ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๐) มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้ ๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้ วยหลัก เหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อ ตนเองและสังคม ๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่าง สร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่ อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม ๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปั ญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้ อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการ เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีกาตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิ ต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การ ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และ มีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม



คุณลักษณะที่พึงประสงค์ หลักสูตรโรงเรีย นวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๐) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ ๑. รักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ๓. มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. รักความเป็นไทย ๘. มีจิตเป็นสาธารณะ



โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) เวลาเรียน(ชั่วโมง/ปี) กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม  กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)  รายวิชาเพิ่มเติม ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร รวมเวลาเรียน (เพิ่มเติม)  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน - กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี - ชุมนุม กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ รวมเวลาเรียนทั้งหมด

ระดับประถมศึกษา ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๒๐๐ ๒๐๐ 80 ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ 120 800

๒๐๐ ๒๐๐ 8๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ 120 ๘0๐

๒๐๐ ๒๐๐ 8๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ 120 ๘0๐

๑๖๐ ๑๖๐ ๘๐ ๘๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๔๐

๑๖๐ ๑๖๐ ๘๐ ๘๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๔๐

๑๖๐ ๑๖๐ ๘๐ ๘๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๔๐

80 80 ๑๒๐ ๔๐

80 80 ๑๒๐ ๔๐

80 80 ๑๒๐ ๔๐

40 40 ๑๒๐ ๔๐

40 40 ๑๒๐ ๔๐

40 40 ๑๒๐ ๔๐

๓๐ ๔๐ ๑๐

๓๐ ๔๐ ๑๐

๓๐ ๓๐ ๔๐ ๔๐ ๑๐ ๑๐ ๑,๐๐๐ ชั่วโมง/ปี

๓๐ ๔๐ ๑๐

๓๐ ๔๐ ๑๐



จำนวนชั่วโมงที่จัดให้นักเรียนระดับประถมศึกษา ( ป.๑-ป.๓ ) เรียนทั้งปี เท่ากับ ๑,๐๐๐ ชั่วโมง ระดับ ชั้นประถมศึกษา ( ป.๔-ป.๖ ) เท่ากับ ๑,๐๐๐ ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้/จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนที่ ต้องการเน้นเป็นพิเศษ คือกลุ่มสาระการเรียนรู้ทักษะภาษาไทย คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาการ อ่านออก เขียนได้ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ที่ดี มีประโยชน์ มีความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียน โดยจัด การเรียนการสอนและวัดผลประเมินผลเป็นรายปี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ นั้น จากการประเมินผลระดับโรงเรียน ระดับท้องถิ่น และ ระดับชาติ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีมติร่วมกันให้จัดทำโครงการ สอนเสริมประสบการณ์พิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพนักเรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - 3 และระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โดยไม่นำคะแนนและระดับผลการเรียน ในรายวิชาสอนเสริมไปคิดรวมและตัดสิน การเลื่อนชั้นของนักเรียน ในโครงสร้างของหลักสูตรโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐) มีรายวิชาและจำนวนชั่วโมงดังนี้ โครงการสอนเสริมประสบการณ์พิเศษเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ชั้น ป.๑-๓ จำนวน ๒ ชั่วโมง / สัปดาห์ ๑. วิชา ภาษาไทยคิดวิเคราะห์ จำนวน ๑ ชั่วโมง ๒. วิชา คณิตศาสตร์ จำนวน ๑ ชั่วโมง *** หมายเหตุ จัดกิจกรรมช่วงเวลา 12.00 – 12.30 น. ทุกวันจันทร์ - วันพฤหัสบดี โครงการสอนเสริมประสบการณ์พิเศษเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ชั้น ป.๔-๖ จำนวน ๓ ชั่วโมง / สัปดาห์ ๑. วิชา ภาษาไทยคิดวิเคราะห์ จำนวน ๒ ชั่วโมง ๒. วิชา คณิตศาสตร์ จำนวน ๑ ชั่วโมง *** หมายเหตุ เวลาในการจัดกิจกรรม ปรากฏในตารางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประจำวันของผู้เรียน โครงสร้างหลักสูตรชั้นปี เป็นโครงสร้างที่แสดงรายละเอียดเวลาเรียนของรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา / กิจกรรม เพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละชั้นปี



โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ รหัส

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน (ชม./ปี) (๘๔๐) ๒๐๐ ๒๐๐ 8๐ 40 ๔๐ 40 40 ๔๐ 120 8๐ 80 (๑๒๐) ๔๐

รายวิชาพื้นฐาน ท ๑๑๑๐๑ ค ๑๑๑๐๑ ว ๑๑๑๐๑ ส ๑๑๑๐๑ ส ๑๑๑๐๒ พ ๑๑๑๐๑ ศ ๑๑๑๐๑ ง ๑๑๑๐๑ อ ๑๑๑๐๑ อ ๑๑2๐๑

ภาษาไทย ๑ คณิตศาสตร์ ๑ วิทยาศาสตร์ ๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๑ ประวัติศาสตร์ ๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๑ ศิลปะ ๑ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๑ ภาษาอังกฤษ ๑ รายวิชาเพิ่มเติม ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๑ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แนะแนว กิจกรรมนักเรียน • ลูกเสือ เนตรนารี • ชุมนุม

๓๐ ๔๐

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๑

๑๐

หมายเหตุ 1) รายวิชาหน้าที่พลเมือง บูรณาการกับการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐาน รหัสวิชา ส11101 โดยวัดผลรวมในรายวิชาพื้นฐานนั้น 2) หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา บูรณาการกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงการสอนเสริมประสบการณ์พิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพนักเรียน ชั้น ป.๑ - ๓ จำนวน ๒ ชั่วโมง / สัปดาห์ ๑. วิชา ภาษาไทยคิดวิเคราะห์ ๒. วิชา คณิตศาสตร์

จำนวน ๑ จำนวน ๑

ชั่วโมง ชั่วโมง



โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ รหัส

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน (ชม./ปี) (๘๔๐) ๒๐๐ ๒๐๐ 8๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ 120 ๔๐ 80 (๑๒๐) ๔๐

รายวิชาพื้นฐาน ท ๑๒๑๐๑ ค ๑๒๑๐๑ ว ๑๒๑๐๑ ส ๑๒๑๐๑ ส ๑๒๑๐๒ พ ๑๒๑๐๑ ศ ๑๒๑๐๑ ง ๑๒๑๐๑ อ ๑๒๑๐๑ อ ๑22๐๑

ภาษาไทย ๒ คณิตศาสตร์ ๒ วิทยาศาสตร์ ๒ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๒ ประวัติศาสตร์ ๒ สุขศึกษาและพลศึกษา ๒ ศิลปะ ๒ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๒ ภาษาอังกฤษ ๒ รายวิชาเพิ่มเติม ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แนะแนว กิจกรรมนักเรียน • ลูกเสือ เนตรนารี • ชุมนุม

๓๐ ๔๐

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๑

๑๐

หมายเหตุ 1) รายวิชาหน้าที่พลเมือง บูรณาการกับการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐาน รหัสวิชา ส11101 โดยวัดผลรวมในรายวิชาพื้นฐานนั้น 2) หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา บูรณาการกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงการสอนเสริมประสบการณ์พิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพนักเรียน ชั้น ป.๑ - ๓ จำนวน ๒ ชั่วโมง / สัปดาห์ ๑. วิชา ภาษาไทยคิดวิเคราะห์ จำนวน ๒. วิชา คณิตศาสตร์ จำนวน

๑ ๑

ชั่วโมง ชั่วโมง

๑๐

โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ รหัส

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน (ชม./ปี) (๘๔๐) ๒๐๐ ๒๐๐ 8๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๒๐๐ ๔๐ 80 (๑๒๐) ๔๐

รายวิชาพื้นฐาน ท ๑๓๑๐๑ ค ๑๓๑๐๑ ว ๑๓๑๐๑ ส ๑๓๑๐๑ ส ๑๓๑๐๒ พ ๑๓๑๐๑ ศ ๑๓๑๐๑ ง ๑๓๑๐๑ อ ๑๓๑๐๓ อ ๑32๐๑

ภาษาไทย ๓ คณิตศาสตร์ ๓ วิทยาศาสตร์ ๓ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๓ ประวัติศาสตร์ ๓ สุขศึกษาและพลศึกษา ๓ ศิลปะ ๓ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๓ ภาษาอังกฤษ ๓ รายวิชาเพิ่มเติม ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3 แนะแนว กิจกรรมนักเรียน • ลูกเสือ เนตรนารี • ชุมนุม

๓๐ ๔๐

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๑

๑๐

หมายเหตุ 1) รายวิชาหน้าที่พลเมือง และหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาบูรณาการกับการเรียนรู้ในรายวิชา พื้นฐาน รหัสวิชา ส11101 โดยวัดผลรวมในรายวิชาพื้นฐานนั้น 2) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงการสอนเสริมประสบการณ์พิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพนักเรียน ชั้น ป.๑ - ๓ จำนวน ๒ ชั่วโมง / สัปดาห์ ๑. วิชา ภาษาไทยคิดวิเคราะห์ จำนวน ๒. วิชา คณิตศาสตร์ จำนวน

๑ ๑

ชั่วโมง ชั่วโมง

๑๑

โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ รหัส

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน (ชม./ปี) (๘๔๐) ๑๖๐ ๑๖๐ ๘๐ ๘๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ 8๐ 40 (๑๒๐) ๔๐

รายวิชาพื้นฐาน ท ๑๔๑๐๑ ค ๑๔๑๐๑ ว ๑๔๑๐๑ ส ๑๔๑๐๑ ส ๑๔๑๐๒ พ ๑๔๑๐๑ ศ ๑๔๑๐๑ ง ๑๔๑๐๑ อ ๑๔๑๐๑ อ 14201

ภาษาไทย ๔ คณิตศาสตร์ ๔ วิทยาศาสตร์ ๔ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๔ ประวัติศาสตร์ ๔ สุขศึกษาและพลศึกษา ๔ ศิลปะ ๔ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๔ ภาษาอังกฤษ ๔ รายวิชาเพิ่มเติม ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 4 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แนะแนว กิจกรรมนักเรียน • ลูกเสือ เนตรนารี • ชุมนุม

๓๐ ๔๐

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๑

๑๐

หมายเหตุ 1) รายวิชาหน้าที่พลเมือง และหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาบูรณาการกับการเรียนรู้ในรายวิชา พื้นฐาน รหัสวิชา ส11101 โดยวัดผลรวมในรายวิชาพื้นฐานนั้น 2) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงการสอนเสริมประสบการณ์พิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพนักเรียน ชั้น ป.๔-๖ จำนวน ๓ ชั่วโมง / สัปดาห์ ๑. วิชา ภาษาไทยคิดวิเคราะห์ จำนวน ๒. วิชา คณิตศาสตร์ จำนวน

๒ ๑

ชั่วโมง ชั่วโมง

๑๒

โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ รหัส

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน (ชม./ปี) (๘๔๐) ๑๖๐ ๑๖๐ ๘๐ ๘๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๔๐ 40 (๑๒๐) ๔๐

รายวิชาพื้นฐาน ท ๑๕๑๐๑ ค ๑๕๑๐๑ ว ๑๕๑๐๑ ส ๑๕๑๐๑ ส ๑๕๑๐๒ พ ๑๕๑๐๑ ศ ๑๕๑๐๑ ง ๑๕๑๐๑ อ ๑๕๑๐๑ อ 15201

ภาษาไทย ๕ คณิตศาสตร์ ๕ วิทยาศาสตร์ ๕ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๕ ประวัติศาสตร์ ๕ สุขศึกษาและพลศึกษา ๕ ศิลปะ ๕ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๕ ภาษาอังกฤษ 5 รายวิชาเพิ่มเติม ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 5 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แนะแนว กิจกรรมนักเรียน • ลูกเสือ เนตรนารี • ชุมนุม

๓๐ ๔๐

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๑

๑๐

หมายเหตุ 1) รายวิชาหน้าที่พลเมือง และหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาบูรณาการกับการเรียนรู้ในรายวิชา พื้นฐาน รหัสวิชา ส11101 โดยวัดผลรวมในรายวิชาพื้นฐานนั้น 2) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงการสอนเสริมประสบการณ์พิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพนักเรียน ชั้น ป.๔-๖ จำนวน ๓ ชั่วโมง / สัปดาห์ ๑. วิชา ภาษาไทยคิดวิเคราะห์ จำนวน ๒. วิชา คณิตศาสตร์ จำนวน

๒ ๑

ชั่วโมง ชั่วโมง

๑๓

โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ รหัส

กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม

เวลาเรียน (ชม./ปี) (๘๔๐) ๑๖๐ ๑๖๐ ๘๐ ๘๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๔๐ 40 (๑๒๐) ๔๐

รายวิชาพื้นฐาน ท ๑๖๑๐๑ ค ๑๖๑๐๑ ว ๑๖๑๐๑ ส ๑๖๑๐๑ ส ๑๖๑๐๒ พ ๑๖๑๐๑ ศ ๑๖๑๐๑ ง ๑๖๑๐๑ อ ๑๖๑๐๑ อ 16201

ภาษาไทย ๖ คณิตศาสตร์ ๖ วิทยาศาสตร์ ๖ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๖ ประวัติศาสตร์ ๖ สุขศึกษาและพลศึกษา ๖ ศิลปะ ๖ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๖ ภาษาอังกฤษ ๖ รายวิชาเพิ่มเติม ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 6 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แนะแนว กิจกรรมนักเรียน • ลูกเสือ เนตรนารี • ชุมนุม

๓๐ ๔๐

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๑

๑๐

หมายเหตุ 1) รายวิชาหน้าที่พลเมือง และหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาบูรณาการกับการเรียนรู้ในรายวิชา พื้นฐาน รหัสวิชา ส11101 โดยวัดผลรวมในรายวิชาพื้นฐานนั้น 2) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงการสอนเสริมประสบการณ์พิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพนักเรียน ชั้น ป.๔ - ๖ จำนวน ๓ ชั่วโมง / สัปดาห์ ๑. วิชา ภาษาไทยคิดวิเคราะห์ จำนวน ๒. วิชา คณิตศาสตร์ จำนวน

๒ ๑

ชั่วโมง ชั่วโมง

๑๔

รายวิชาที่เปิดสอนของโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาพื้นฐาน ท ๑๑๑๐๑ ท ๑๒๑๐๑ ท ๑๓๑๐๑ ท ๑๔๑๐๑ ท ๑๕๑๐๑ ท ๑๖๑๐๑

ภาษาไทย ๑ ภาษาไทย ๒ ภาษาไทย ๓ ภาษาไทย ๔ ภาษาไทย ๕ ภาษาไทย ๖

จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน

๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐

ชัว่ โมง ชัว่ โมง ชั่วโมง ชัว่ โมง ชัว่ โมง ชั่วโมง

จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน

๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐

ชัว่ โมง ชั่วโมง ชัว่ โมง ชัว่ โมง ชั่วโมง ชัว่ โมง

จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน

8๐ ชั่วโมง 8๐ ชั่วโมง 8๐ ชั่วโมง ๘๐ ชั่วโมง ๘๐ ชั่วโมง ๘๐ ชั่วโมง

**************** กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาพื้นฐาน ค ๑๑๑๐๑ ค ๑๒๑๐๑ ค ๑๓๑๐๑ ค ๑๔๑๐๑ ค ๑๕๑๐๑ ค ๑๖๑๐๑

คณิตศาสตร์ ๑ คณิตศาสตร์ ๒ คณิตศาสตร์ ๓ คณิตศาสตร์ ๔ คณิตศาสตร์ ๕ คณิตศาสตร์ ๖ **************** กลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์

รายวิชาพื้นฐาน ว ๑๑๑๐๑ ว ๑๒๑๐๑ ว ๑๓๑๐๑ ว ๑๔๑๐๑ ว ๑๕๑๐๑ ว ๑๖๑๐๑

วิทยาศาสตร์ ๑ วิทยาศาสตร์ ๒ วิทยาศาสตร์ ๓ วิทยาศาสตร์ ๔ วิทยาศาสตร์ ๕ วิทยาศาสตร์ ๖ ***************

๑๕

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาพื้นฐาน ส ๑๑๑๐๑ สังคมศึกษาฯ ๑ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๒๑๐๑ สังคมศึกษาฯ ๒ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๓๑๐๑ สังคมศึกษาฯ ๓ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๔๑๐๑ สังคมศึกษาฯ ๔ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ส ๑๕๑๐๑ สังคมศึกษาฯ ๕ จำนวน ๘๐ ชัว่ โมง ส ๑๖๑๐๑ สังคมศึกษาฯ ๖ จำนวน ๘๐ ชัว่ โมง ส ๑๑๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๑ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๒๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๒ จำนวน ๔๐ ชัว่ โมง ส ๑๓๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๓ จำนวน ๔๐ ชัว่ โมง ส ๑๔๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๔ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๕๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๕ จำนวน ๔๐ ชัว่ โมง ส ๑๖๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๖ จำนวน ๔๐ ชัว่ โมง *** ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 2 รายวิชาหน้าที่พลเมือง บูรณาการกับการเรียนรู้ในรายวิชา พื้นฐานโดยวัดผลรวมในรายวิชาพื้นฐานนั้น และหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาบูรณาการใน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน *** ระดับประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 รายวิชาหน้าที่พลเมือง และหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา บูรณา การกับการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐานโดยวัดผลรวมในรายวิชาพื้นฐานนั้น **************** กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาพื้นฐาน พ ๑๑๑๐๑ สุขศึกษาฯ ๑ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง พ ๑๒๑๐๑ สุขศึกษาฯ ๒ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง พ ๑๓๑๐๑ สุขศึกษาฯ ๓ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง พ ๑๔๑๐๑ สุขศึกษาฯ ๔ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง พ ๑๕๑๐๑ สุขศึกษาฯ ๕ จำนวน ๘๐ ชัว่ โมง พ ๑๖๑๐๑ สุขศึกษาฯ ๖ จำนวน ๘๐ ชัว่ โมง ****************

๑๖

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ รายวิชาพื้นฐาน ศ ๑๑๑๐๑ ศ ๑๒๑๐๑ ศ ๑๓๑๐๑ ศ ๑๔๑๐๑ ศ ๑๕๑๐๑ ศ ๑๖๑๐๑

ศิลปะ ๑ ศิลปะ ๒ ศิลปะ ๓ ศิลปะ ๔ ศิลปะ ๕ ศิลปะ ๖

จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน

๔๐ ๔๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐

ชั่วโมง ชั่วโมง ชั่วโมง ชัว่ โมง ชั่วโมง ชัว่ โมง

**************** กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาพื้นฐาน ง ๑๑๑๐๑ ง ๑๒๑๐๑ ง ๑๓๑๐๑ ง ๑๔๑๐๑ ง ๑๕๑๐๑ ง ๑๖๑๐๑

การงานอาชีพฯ ๑ การงานอาชีพฯ ๒ การงานอาชีพฯ ๓ การงานอาชีพฯ ๔ การงานอาชีพฯ ๕ การงานอาชีพฯ ๖

จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน

๔๐ ๔๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐

ชัว่ โมง ชัว่ โมง ชัว่ โมง ชั่วโมง ชัว่ โมง ชัว่ โมง

**************** กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) รายวิชาพื้นฐาน อ ๑๑๑๐๑ อ ๑๒๑๐๑ อ ๑๓๑๐๑ อ ๑๔๑๐๑ อ ๑๕๑๐๑ อ ๑๖๑๐๑ รายวิชาเพิ่มเติม อ ๑๑2๐๑ อ ๑๒2๐๑ อ ๑๓2๐๑ อ ๑๔2๐๑ อ ๑๕2๐๑ อ ๑๖2๐๑

ภาษาอังกฤษ ๑ ภาษาอังกฤษ ๒ ภาษาอังกฤษ ๓ ภาษาอังกฤษ ๔ ภาษาอังกฤษ ๕ ภาษาอังกฤษ ๖

จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน

12๐ ชั่วโมง 12๐ ชั่วโมง 12๐ ชั่วโมง ๘๐ ชั่วโมง ๘๐ ชั่วโมง ๘๐ ชัว่ โมง

ภาษาอังกฤษ ๑ ภาษาอังกฤษ ๒ ภาษาอังกฤษ ๓ ภาษาอังกฤษ ๔ ภาษาอังกฤษ ๕ ภาษาอังกฤษ ๖

จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน

8๐ 8๐ 8๐ 4๐ 4๐ 4๐

****************

ชั่วโมง ชั่วโมง ชั่วโมง ชั่วโมง ชั่วโมง ชั่วโมง

๑๗

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

๑๘

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ภาษาไทย ท ๑๑๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง ศึกษาวิธีการอ่านออกเสียงและบอกความหมายของคำ คำคล้องจอง และข้อความสั้น ๆ การอ่านคำ ที่มีรูปวรรณยุกต์ การอ่านคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา การอ่านคำที่มีพยัญชนะค วบ กล้ำ การอ่านคำที่มีอักษรนำ การอ่านจับใจความสำคัญจากนิทาน บทร้องเล่นและบทเพลง เรื่องจากบทเรียน การเลือกอ่านหนังสือตามความสนใจและหนังสือที่ครูกำหนดให้อ่าน การอ่านเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำวัน มีมารยาทในการอ่าน การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด การเขียนสะกดคำ การเขียนประโยค การเขียนข้อความ มี มารยาทในการเขียน การปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำง่าย ๆ การจับใจความสำคัญจากเรื่องที่ฟังและดู การพูดแนะนำ ตนเอง การพูดขอความช่วยเหลือ การกล่าวขอบคุณ การกล่าวคำขอโทษ การพูดแสดงความคิ ดเห็ นและ ความรู้สึก มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด ศึกษาวิธีการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย การสะกดคำ การแจกลูก มาตราตัวสะกดที่ ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา การผันอักษร ความหมายของคำ การแต่งประโยค การใช้คำคล้องจอง บอกข้อคิดจากวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อ ยกรองสำหรับเด็ก ท่องจำอาขยานตามที่กำหนดและตาม ความสนใจ โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการฝึกทักษะทางภาษา การปฏิบัติจริง กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย และมีคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป. ๑/๑, ป. ๑/๒, ป. ๑/๓, ป. ๑/๔, ป. ๑/๕, ป. ๑/๖, ป. ๑/๗, ป. ๑/๘ ท ๒.๑ ป. ๑/๑, ป. ๑/๒, ป. ๑/๓ ท ๓.๑ ป. ๑/๑, ป. ๑/๒, ป. ๑/๓, ป. ๑/๔, ป. ๑/๕ ท ๔.๑ ป. ๑/๑, ป. ๑/๒, ป. ๑/๓, ป. ๑/๔ ท ๕.๑ ป. ๑/๑, ป. ๑/๒ รวมทั้งหมด ๒๒ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๑๙

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ภาษาไทย ท ๑๒๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง

ศึกษาการอ่านออกเสียงและบอกความหมายของคำ คำคล้องจอง ข้อความ และบทร้อยกรองง่าย ๆ การอ่านคำที่มีรูปวรรณยุกต์ และไม่มีรูปวรรณยุกต์ การอ่านคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราและไม่ตรงตาม มาตรา การอ่านคำที่มีพยัญชนะควบกล้า การอ่านคำที่มีอักษรนำ การอ่านคำที่มีตัวสะกดและที่ไ ม่ออกเสียง การอ่านจับใจความสำคัญจากนิทาน เรื่องเล่า บทร้อยกรอง เรื่องจากบทเรียน การอ่าน คำแนะนำการใช้เครื่องใช้ที่จำเป็นในบ้านและในโรงเรียน การอ่านคำแนะนำในการใช้สถานที่สาธารณะ มีนิสัย รักการอ่านและมีมารยาทในการอ่าน การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย การเขียนตามประสบการณ์ และจินตนาการอย่างมีมารยาท การฟังและปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน การจับใจความสำคัญจากเรื่องที่ฟังและดู การพูดแสดงความ คิดเห็น และความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู การพูดขอร้องในโอกาสต่าง ๆ การเล่าประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีมารยาท ศึกษาส่วนประกอบของคำ การสะกดคำ การแจกลูก มาตราตัวสะกดที่ ตรงตามมาตราและไม่ตรงตาม มาตรา การผันอักษร ๓ หมู่ คำที่มีตัวการันต์ คำที่มีพยัญชนะ ควบกล้ำ คำที่มีอักษรนำ คำที่มีความหมายตรง ข้ามกัน คำที่มี รร ความหมายของคำ การแต่งประโยคและการเรียบเรียงประโยคเป็นข้อความ การใช้คำคล้อง จอง ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น บอกข้ อ คิ ด ที ่ ไ ด้ จ ากการอ่ า นวรรณกรรมร้ อ ยแก้ ว และร้ อ ยกรองสำหรั บ เด็ ก แล้ ว นำไปใช้ ใ น ชีวิตประจำวัน ฝึกร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้องกรองตาม ความสนใจ โดยใช้กระบวนการคิด การฝึกทักษะทางภาษา การปฏิบัติจริง กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ และทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป. ๒/๑, ป. ๒/๒, ป. ๒/๓, ป. ๒/๔, ป. ๒/๕, ป. ๒/๖, ป. ๒/๗, ป. ๒/๘ ท ๒.๑ ป. ๒/๑, ป. ๒/๒, ป. ๒/๓, ป. ๒/๔ ท ๓.๑ ป. ๒/๑, ป. ๒/๒, ป. ๒/๓, ป. ๒/๔, ป. ๒/๕, ป. ๒/๖, ป. ๒/๗ ท ๔.๑ ป. ๒/๑, ป. ๒/๒, ป. ๒/๓, ป. ๒/๔, ป. ๒/๕ ท ๕.๑ ป. ๒/๑, ป. ๒/๒, ป. ๒/๓ รวมทั้งหมด ๒๗ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๒๐

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ภาษาไทย ท ๑๓๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง

ศึกษาความหมายของคำ การอ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง ข้อความ และบทร้อยกรอง การอ่านคำที่ มีตัวการันต์ การอ่านคำที่มี รร การอ่านคำที่มีพยัญชนะและสระไม่ออกเสียง การอ่านคำพ้อง การอ่านคำที่มี ฑ ฤ ฦ การจับใจความสำคัญจากนิทาน นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรมจากบทเรียน การอ่านประกาศ และคำขวัญ การอ่านข้อมูลจากแผนภาพแผนที่ และแผนภูมิ และมีมารยาทในการอ่าน การเขียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งต่าง ๆ การเขียนบันทึกประจำวัน การเขียนจดหมายลาครู การเขียนเรื่องตามจินตนาการ มีนิสัยรักการเขียนและมีมารยาทในการเขียน การจับใจความสำคัญและพูดแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน และมีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด ศึกษาการสะกดคำและแจกลูกคำ มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา การผัน อักษร ๓ หมู่ คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ คำที่มี ฤ ฤๅ คำที่ใช้ บัน บรร คำที่ใช้ รร คำที่มีตัว การันต์ และ ความหมายของคำ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา การใช้พจนานุกรม การแต่งประโยคเพื่อการสื่อสาร การแต่ง คำคล้องจองและคำขวัญ ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น บอกข้อคิดและแสดงความคิดเห็นจากการอ่ าวรรณคดี วรรณกรรม และเพลงพื้นบ้าน ท่องจำบท อาขยาน และบทร้อยกรองตามที่กำหนดและตามความสนใจ โดยใช้กระบวนการคิด การฝึกทักษะทางภาษา การปฏิบัติจริง กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้และทักษะในการใช้ภาษาในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ เห็นคุณค่าของ ภูมิปัญญาทางภาษา และมีคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓, ป. ๓/๔, ป. ๓/๕, ป. ๓/๖, ป. ๓/๗, ป. ๓/๘, ป. ๓/๙ ท ๒.๑ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓, ป. ๓/๔, ป. ๓/๕, ป. ๓/๖ ท ๓.๑ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓, ป. ๓/๔, ป. ๓/๕, ป. ๓/๖ ท ๔.๑ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓, ป. ๓/๔, ป. ๓/๕, ป. ๓/๖ ท ๕.๑ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓, ป. ๓/๔ รวมทั้งหมด ๓๑ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๒๑

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ภาษาไทย ท ๑๔๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง ศึกษาการอ่านร้อยแก้วและร้อยกรองและบอกความหมายของคำ ประโยคและข้อความจากเรื่องที่อ่าน การอ่านคำที่มี ร ล เป็นพยัญชนะต้น การอ่านคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ การอ่านคำที่มีอักษรนำ การอ่านคำ ประสม การอ่านอักษรย่อและเครื่องหมายวรรคตอน การอ่านประโยคที่มีสำนวนเป็นคำพังเพย สุภาษิต ปริศนา คำทาย และเครื่องหมายวรรคตอน การอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ การอ่านจับใจความจากเรื่องต่าง ๆ ที่หลากหลาย มีนิสัยรักการอ่านและมีมารยาทในการอ่าน การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด การเขียนคำขวัญและคำแนะนำ การเขียนแผนภาพโครงเรื่องและ แผนภาพความคิด การเขียนย่อความจากสื่อที่หลากหลาย การเขียนจดหมายถึงเพื่อนและบิดามารดา การเขียน บันทึกและเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า การเขียนเรื่องตามจินตนาการ มีนิสัยรักการเขียนและมีมารยาทในการเขียน การจับ ใจความสำคัญ การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น จากเรื่องที่ฟังและดูจากสื่อต่าง ๆ ที่ หลากหลาย การพูดรายงานลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน การพูดรายงานตามลำดับเหตุการณ์ มีมารยาทในการ ฟัง การดู และการพูด ศึกษาคำในแม่ ก กา มาตราตัวสะกด การผันอักษร คำเป็นคำตาย คำพ้อง คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ การใช้พจนานุกรม การแต่งประโยคสามัญ วิเคราะห์ส่วนประกอบของ ประโยค ๒ ส่วน และ ๓ ส่วน การแต่งกลอนสี่ การแต่งคำขวัญ การใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภ าษิต ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น บอกและอธิบายข้อคิดจากวรรณคดี วรรณกรรม และวรรณกรรมท้องถิ่น เพื่ อนำไปใช้ในชีวิตจริง ฝึก ร้องเพลงพื้นบ้าน ท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามที่กำหนดและตามความสนใจ โดยใช้กระบวนการคิด การฝึกทักษะทางภาษา การปฏิบัติจริง กระบวนการกลุ่ม เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาในการเรียนรู้ และการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เห็นความสำคัญของการใช้ ภาษาไทยถูกต้อง มีจิตสาธารณะ และมีคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป. ๔/๑, ป. ๔/๒, ป. ๔/๓, ป. ๔/๔, ป. ๔/๕, ป. ๔/๖, ป. ๔/๗, ป. ๔/๘ ท ๒.๑ ป. ๔/๑, ป. ๔/๒, ป. ๔/๓, ป. ๔/๔, ป. ๔/๕, ป. ๔/๖, ป. ๔/๗, ป. ๔/๘ ท ๓.๑ ป. ๔/๑, ป. ๔/๒, ป. ๔/๓, ป. ๔/๔, ป. ๔/๕, ป. ๔/๖ ท ๔.๑ ป. ๔/๑, ป. ๔/๒, ป. ๔/๓, ป. ๔/๔, ป. ๔/๕, ป. ๔/๖, ป. ๔/๗ ท ๕.๑ ป. ๔/๑, ป. ๔/๒, ป. ๔/๓, ป. ๔/๔ รวมทั้งหมด ๓๓ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 3. มีวินัย 5. อยู่อย่างพอเพียง 7. รักความเป็นไทย

2. 4. 6. 8.

ซื่อสัตย์ สุจริต ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ

๒๒

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ภาษาไทย ท ๑๕๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง ศึกษาการอ่านร้อยแก้วและร้อยกรองและบอกความหมายของคำ ประโยค ข้อความจากเรื่องที่อ่าน การอ่านคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ การอ่านคำที่มีอักษรนำ การอ่านคำที่มีตัวการันต์ การอ่านอักษรย่อและเครื่องหมายวรรคตอน การอ่านข้อความที่เป็นการบรรยายและพรรณนา การอ่านข้อความที่มีความหมายโดยนัย การอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ การอ่านข้อความจากสื่อต่าง ๆ การอ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง ข้อแนะนำและปฏิบัติตาม มีมารยาทในการอ่าน การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด การเขียนคำขวัญ คำอวยพร คำแนะนำและคำอธิบายแสดง ขั้นตอน การเขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิด การเขียนย่อความจากสื่อที่หลากหลาย การเขียน จดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ การเขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น การกรอกแบบรายการต่าง ๆ การ เขียนเรื่องตามจินตนาการ มีมารยาทในการเขียน การจับใจความสำคัญ วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ และพูดแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู การพูด รายงานลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน การพูดรายงานตามลำดับเหตุการณ์ บอกชนิดและหน้าที่ของคำบุพบท คำสันธาน คำอุทาน แยกส่วนประกอบของประโยค รู้จักภาษาไทย มาตรฐานและภาษาถิ่น การใช้คำราชาศัพท์ คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ การแต่งกาพย์ยานี ๑๑ และใช้ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ถูกต้อง สรุปเนื้อหา บอกความรู้ ข้อคิด และอธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านและนำไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการคิด การฝึกทักษะทางภาษา การปฏิบัติจริง กระบวนการกลุ่ม เพื่อใช้ภ าษาได้อย่ างสร้า งสรรค์ เป็นประโยชน์ต่ อส่ว นรวมและสร้างความสามั คคีส อดคล้ อ งกั บ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาติ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป. ๕/๑, ป. ๕/๒, ป. ๕/๓, ป. ๕/๔, ป. ๕/๕, ป. ๕/๖, ป. ๕/๗, ป. ๕/๘ ท ๒.๑ ป. ๕/๑, ป. ๕/๒, ป. ๕/๓, ป. ๕/๔, ป. ๕/๕, ป. ๕/๖, ป. ๕/๗, ป. ๕/๘, ป. ๕/๙ ท ๓.๑ ป. ๕/๑, ป. ๕/๒, ป. ๕/๓, ป. ๕/๔, ป. ๕/๕ ท ๔.๑ ป. ๕/๑, ป. ๕/๒, ป. ๕/๓, ป. ๕/๔, ป. ๕/๕, ป. ๕/๖, ป. ๕/๗ ท ๕.๑ ป. ๕/๑, ป. ๕/๒, ป. ๕/๓, ป. ๕/๔ รวมทั้งหมด ๓๓ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 3. มีวินัย 5. อยู่อย่างพอเพียง 7. รักความเป็นไทย

2. 4. 6. 8.

ซื่อสัตย์ สุจริต ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ

๒๓

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ภาษาไทย ท ๑๖๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง ศึกษาการอ่านร้อยแก้วและร้อยกรอง และบอกความหมายของ ประโยค และข้อความที่เป็นโวหารจาก เรื่องที่อ่าน การอ่านคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ การอ่านคำที่มีอักษรนำ การอ่านคำที่มีตัวการันต์ การอ่านคำที่มา จากภาษาต่างประเทศ การอ่านอักษรย่อ และเครื่องหมายวรรคตอน การอ่านวัน เดือน ปี แบบไทย การอ่าน ข้อความที่เป็นโวหารต่าง ๆ การอ่านสำนวนเปรียบเทียบ การอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ การอ่าน จับใจความจากสื่อที่หลากหลายและนำความรู้และข้อคิดจากเรื่องไปเป็นแนวทางในการตัดสินใจแก้ปัญหาใน การดำเนินชีวิต การอ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง ข้อแนะนำ และปฏิบัติตาม การอ่านข้อมูลจากแผนผัง แผน ที่ แผนภูมิ และกราฟ เลือกอ่านหนังสือตามความสนใจ มีนิสัยรักการอ่านและมารยาทในการอ่าน การเขียนคำขวัญ คำอวยพร และประกาศ การเขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนความคิด การเขียน เรียงความ การเขียนย่อความจากสื่อที่หลากหลาย การเขียนจดหมายขอโทษ จดหมายแสดงความขอบคุณ จดหมายแสดงความเห็น ใจ จดหมายแสดงความยินดี การกรอกแบบรายการต่าง ๆ การเขียนเรื่องตาม จินตนาการ มีนิสัยรักการเขียน และมีมารยาทในการเขียน การพูดแสดงความรู้ ความเข้าใจ จุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดูจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูสื่อโฆษณา การพูดรายงานลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน การพูด รายงานตามลำดับเหตุการณ์ การพูดโน้มน้าวในสถานการณ์ต่าง ๆ มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด ศึ ก ษาชนิ ด และหน้ า ที ่ ข องคำ ๗ ชนิ ด คำราชาศั พ ท์ ระดั บ ภาษา ภาษาถิ ่ น คำที ่ ม าจาก ภาษาต่างประเทศ ลักษณะของกลุ่มคำหรือวลี ประโยคสามัญ ประโยครวม ประโยคซ้อน แสดงความคิดเห็นและอธิบายคุณค่าของวรรณคดี วรรณกรรม และวรรณกรรมพื้นบ้าน เล่ านิทาน พื้นบ้านในท้องถิ่นของตนเอง และนิทานพื้นบ้านของท้องถิ่นอื่น และนำข้อคิดไปใช้ในชีวิตจริง ท่องจำบท อาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามที่กำหนดและตามความสนใจ โดยใช้กระบวนการคิด การฝึกทักษะทางภาษา การปฏิบัติจริง กระบวนการกลุ่ม เพื่อใช้ภาษาได้อย่าง สร้างสรรค์เ ป็น ประโยชน์ต่อส่ว นรวมและสร้างความสามัคคีส อดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี แ ละ วัฒนธรรมของชาติ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป. ๖/๑, ป. ๖/๒, ป. ๖/๓, ป. ๖/๔, ป. ๖/๕, ป. ๖/๖, ป. ๖/๗, ป. ๖/๘, ป. ๖/๙ ท ๒.๑ ป. ๖/๑, ป. ๖/๒, ป. ๖/๓, ป. ๖/๔, ป. ๖/๕, ป. ๖/๖, ป. ๖/๗, ป. ๖/๘, ป. ๖/๙ ท ๓.๑ ป. ๖/๑, ป. ๖/๒, ป. ๖/๓, ป. ๖/๔, ป. ๖/๕, ป. ๖/๖ ท ๔.๑ ป. ๖/๑, ป. ๖/๒, ป. ๖/๓, ป. ๖/๔, ป. ๖/๕, ป. ๖/๖ ท ๕.๑ ป. ๖/๑, ป. ๖/๒, ป. ๖/๓, ป. ๖/๔ รวมทั้งหมด ๓๔ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

๒๓

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

๒๔

คำอธิบายรายวิชา รายวิชา คณิตศาสตร์ ค ๑๑๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง/ปี

ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกการแก้ปัญหาในสาระต่อไปนี้ การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ การอ่าน และการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย แสดงจำนวนนับไม่เกิน 100 และ 0 การนับทีละ 1 และทีละ 10 การบอกอันดับที่ การแสดงจำนวนนับไม่ เกิน 20 ในรูปความสัมพันธ์ของจำนวนแบบส่วนย่อย – ส่วนรวม หลักและค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก การ เขียนตัวเลขแสดงจำนวนนับในรูปกระจาย การเปรียบเทียบจำนวน การใช้เครื่องหมาย = ≠ > < การ เรียงลำดับจำนวนไม่เกิน 5 จำนวน ความหมายของการบวก ความหมายของการลบ การหาผลบวก การหาผลลบ ความสัมพันธ์ของการ บวกและการลบ โจทย์ปัญหา แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละ 1 และทีละ 10 แบบรูปซ้ำของจำนวน รูปเรขาคณิตและ รูปอื่นๆ การเปรียบเทียบและการวัดความยาวเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร การเปรียบเทียบและการวัดน้ำหนัก เป็นกิโลกรัม เป็นขีด โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก การจำแนกรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม วงรี ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และ กรวย การใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพ เมื่อกำหนดรูป 1 รูปแทน 1 หน่วย ในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา การจัดประสบการณ์หรือการสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ และทักษะการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารและการสื่อ ความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการ เรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ ระเบียบ รอบคอบ มีความรับผิดขอบ มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง การวัดและประเมินผลโดยใช้การสังเกตพฤติกรรมการเรียน ตรวจแบบฝึกหัด ประเมินชิ้นงานและแฟ้ม สะสมงานตามความเหมาะสม ทดสอบโดยใช้เครื่องมือที่มาตรฐานอย่างหลากหลาย ครอบคลุมการบูรณาการ การเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยวัดและประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เพื่อหาข้อสรุปผลการ พัฒนาการการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของหลักสูตรที่กำหนด ตัวชี้วัด ค ๑.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔, ป.๑/๕ ค ๑.๒ ป.๑/๑ ค ๒.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒ ค ๒.๒ ป.๑/๑ ค ๓.๑ ป.๑/๑ รวม ๑๐ ตัวชี้วัด

๒๕

สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๒๖

คำอธิบายรายวิชา รายวิชา คณิตศาสตร์ ค ๑2๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง/ปี

ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกการแก้ปัญหาในสาระต่อไปนี้ การอ่าน และการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับไม่เกิน 1,000 และ 0 การนับทีละ 2 ทีละ 5 ทีละ 10 และทีละ 100 จำนวนคู่ จำนวนคี่ หลัก ค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก และการ เขียนตัวเลขแสดงจำนวนในรูปกระจาย การเปรียบเทียบและการเรียงลำดับจำนวน การบวกและการลบจำนวน ความหมายของการคูณและการหาร การหาผลคูณ การหาผลหารและเศษ ความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร การบวก ลบ คูณ หารระคน และโจทย์ปัญหา แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละ 2 ทีละ 5 และทีละ 100 แบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิตและ รูปอื่นๆ การวัดและการเปรียบเทียบความยาวเป็นเมตรและเซนติเมตร การคาดคะเนความยาวเป็นเมตร การวัด และการเปรียบเทียบน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและกรัม กิโลกรัมและขีด การวัดและเปรียบเทียบปริมาตรและความจุ เป็นช้อนชา ช้อนโต๊ะ ถ้วยตวง ลิตร โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตรและความจุ การบอกเวลาเป็นนาฬิกาและนาที (ช่วง 5 นาที) การบอกระยะเวลาและการเปรียบเทียบระยะเวลาเป็น ชั่งโมง เป็นนาที การอ่านปฏิทิน โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา การจำแนกและบอกลักษณะของรูปหลายเหลี่ยม วงกลม และวงรี การเขียนรูปเรขาคณิตสองมิติโดยใช้ แบบรูป การใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพ เมื่อกำหนดรูป 1 รูป แทน 2 หน่วย 5 หน่วย หรือ 10 หน่วย ในการหา คำตอบของโจทย์ปัญหา การจัดประสบการณ์หรือการสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ และทักษะการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร และการสื่อ ความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้ สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่า และมีเจตคติที่ดีต่อคณิ ตศาสตร์ สามารถ ทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง การวัดและประเมินผลโดยใช้การสังเกตพฤติกรรมการเรียน ตรวจแบบฝึกหัด ประเมินชิ้นงานและแฟ้ม สะสมงานตามความเหมาะสม ทดสอบโดยใช้เครื่องมือที่มาตรฐานอย่างหลากหลาย ครอบคลุมการบูรณาการการ เรียนรู้ตามสภาพจริง โดยวัดและประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เพื่อหาข้อสรุปผลการ พัฒนาการการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของหลักสูตรที่กำหนด

๒๗

ตัวชี้วัด ค ๑.๑ ป.2/๑, ป.2/๒, ป.2/๓, ป.2/๔, ป.2/5, ป.2/6, ป.2/7, ป.2/8 ค ๑.๒ ค 1.3 ค ๒.๑ ป.2/๑, ป.2/๒, ป.2/๓, ป.2/๔, ป.2/5, ป.2/6 ค ๒.๒ ป.2/๑ ค ๓.๑ ป.2/๑ ค 3.2 รวม ๑6 ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๒๘

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา คณิตศาสตร์ ค ๑3๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง/ปี ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกการแก้ปัญหาในสาระต่อไปนี้ การใช้จำนวนแสดงปริมาณที่ได้จากการนับ การอ่านและการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทยและ ตัวหนังสือแสดงจำนวนนับไม่เกิน 100,000 หลัก ค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก และการเขียนตัวเลขแสดงจำนวน ในรูปกระจาย การเปรียบเทียบและการเรียงลำดับจำนวน การบวก การลบ การคูณ การหารสั้น การหารยาว และ การบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับ และโจทย์ปัญหา การใช้เศษส่วนการเปรียบเทียบและเรียงลำดับ เศษส่วน การบวก การลบเศษส่วน และโจทย์ปัญหา แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละเท่าๆ กัน การใช้เงินแสดงจำนวนเงิน บอกจำนวนเงิน เขียนแสดงจำนวนเงินแบบใช้จุด เปรียบเทียบจำนวนเงินและ การแลกเงิน การอ่านและเขียนบันทึกรายรับรายจ่าย และโจทย์ปัญหา การบอกเวลาเป็นนาฬิกาและนาที การอ่านเวลา การเขียนบอกเวลาโดยใช้มหัพภาค (.) หรือทวิภาค (:) การบอกระยะเวลา การเปรียบเทียบระยะเวลา การอ่านและการเขียนบันทึกกิจกรรมที่ระบุเวลา และโจทย์ปัญหา การวัดความยาว การเลือกเครื่องวัดความยาวที่เหมาะสม การคาดคะเนความยาวเป็นเมตรและเป็น เซนติเมตร การเปรียบเทียบความยาว และโจทย์ปัญหา การวัดน้ำหนัก การเลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม การ คาดคะเนน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและเป็นขีด การเปรียบเทียบน้ำหนัก และโจทย์ปัญหา การจำแนกรูปที่มีแกนสมมาตรและรูปที่ไม่มีแกนสมมาตร ระบุรูปเรขาคณิตสองมิติที่มีแกนสมมาตรและ จำนวนแกนสมมาตร การเก็บข้อมูลและจำแนกข้อมูล การอ่านและการเขียนแผนภูมิรูปภาพ การอ่าน และการเขียนตารางทาง เดียว การใช้แผนภูมิรูปภาพและตารางทางเดียวในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา การจัดประสบการณ์หรือการสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ และทักษะการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารและการสื่อ ความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ความรู้ ความคิด ทักษะ และกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้ สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถ ทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง การวัดและประเมินผลโดยใช้การสังเกตพฤติ กรรมการเรียน ตรวจแบบฝึกหัด ประเมินชิ้นงานและแฟ้ม สะสมงานตามความเหมาะสม ทดสอบโดยใช้เครื่องมือที่มาตรฐานอย่างหลากหลาย ครอบคลุมการบูรณาการการ เรียนรู้ตามสภาพจริง โดยวัดและประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เพื่อหาข้อสรุปผลการ พัฒนาการการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของหลักสูตรที่กำหนด

๒๙

ตัวชี้วัด ค ๑.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖, ป.๓/๗, ป.๓/๘, ป.๓/๙, ป.๓/๑๐, ป.๓/๑๑ ค ๑.๒ ป.๓/๑ ค ๒.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖, ป.๓/๗, ป.๓/๘, ป.๓/๙, ป.๓/๑๐, ป.๓/๑๑, ป.๓/๑๒, ป.๓/๑๓ ค ๒.๒ ป.๓/๑ ค ๓.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒ รวมทั้งหมด ๒๘ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๓๐

คำอธิบายรายวิชา รายวิชา คณิตศาสตร์ ค๑๔๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง/ปี

ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกทักษะการใช้กระบวนทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาตามสาระ การ เรียนรู้ต่อไปนี้ การอ่าน การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทยและตัวหนังสือแสดงจำนวนที่มากกว่า 100,000 หลักค่า ประจำหลักและค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก และการเขียนตัวเลขแสดงจำนวนในรูปกระจาย การเปรียบเทียบและ เรียงลำดับจำนวน ค่าประมาณของจำนวนนับและการใช้เครื่องหมาย  การบวกและการลบจำนวนที่มากกว่า 100,000 การคูณและการหาร การบวก ลบ คูณ หารระคน การประมาณผลลัพธ์ของการบวก การลบ การคูณ การหาร การแก้โจทย์ปัญหาและการสร้างโจทย์ปัญหาพร้อมทั้งหาคำตอบ แบบรูปของจำนวนที่เกิดจากการคูณ การหารด้วยจำนวนเดียวกัน เศษส่วนแท้ เศษเกิน จำนวนคละ ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนคละและเศษเกิน เศษส่วนที่เท่า กัน เศษส่วนอย่างต่ำ และเศษส่วนที่เท่ากับจำนวนนับ การเปรียบเทียบและเรียงลำดับเศษส่วน จำนวนคละ การบวก การลบเศษส่วน และจำนวนคละ การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบเศษส่วนจำนวนคละ การอ่านและการเขียนทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่ง หลัก ค่าประจำหลัก ค่าของเลขโดดในแต่ละหลักของ ทศนิยม และการเขียนตัวเลขแสดงทศนิยมในรูปกระจาย ทศนิยมที่เท่ากัน การเปรียบเทียบและเรียงลำดับทศนิยม การบวก การลบทศนิยม การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ ทศนิยมไม่เกิน 2 ขั้นตอน การบอกระยะเวลาเป็นวินาที นาที ชั่วโมง ว้น สัปดาห์ เดือน ปี การเปรียบเทียบระยะเวลาโดยใช้ ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเวลา การอ่านตารางเวลา การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา ระนาบ จุ ด เส้ น ตรง รั ง สี ส่ ว นของเส้ น ตรง และสั ญ ลั ก ษณ์ แ สดงเส้ น ตรง รั ง สี ส่ ว นของเส้ น ตรง มุ ม ส่ ว นประกอบของมุ ม การเรี ย กชื ่ อ มุ ม สั ญ ลั ก ษณ์ แ สดงมุ ม ชนิ ด ของมุ ม การวั ด ขนาดของมุ ม โดยใช้ โพรแทรกเตอร์ การสร้างมุมเมื่อกำหนดขนาดของมุม ชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การสร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมมุม ฉาก พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การอ่านและการเขียนแผนภูมิแท่ง (ไม่รวมการย่นระยะ) การอ่านตารางสองทาง โดยจัดประสบการณ์ หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัว ให้นั กเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากการปฏิบัติจริง สรุป รายงาน เพื่อให้มีความรู้ความ เข้าใจ มีทักษะในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และ สามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ มีระเบียบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณและมีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อ คณิตศาสตร์

๓๑

การวัดและประเมินผลโดยใช้การสังเกตพฤติ กรรมการเรียน ตรวจแบบฝึกหัด ประเมินชิ้นงานและแฟ้ม สะสมงานตามความเหมาะสม ทดสอบโดยใช้เครื่องมือที่ มาตรฐานอย่างหลากหลาย ครอบคลุมการบูรณาการการ เรียนรู้ตามสภาพจริง โดยวัดและประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เพื่อหาข้อสรุปผลการ พัฒนาการการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของหลักสูตรที่กำหนด ตัวชี้วัด ค ๑.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒ , ป.๔/๓ , ป.๔/๔ , ป.๔/๕ , ป.๔/๖ ป.๔/๗ , ป.๔/๘ , ป.๔/๙ , ป.๔/๑๐ , ป.๔/๑๑ , ป.๔/๑๒, ป.๔/๑3, ป.๔/๑4, ป.๔/๑5, ป.๔/๑6 ค ๒.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ ค ๒.๒ ป.๔/๑, ป.๔/๒ ค ๓.๑ ป.๔/๑ ค ๓.๒ รวม ๒๒ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๓๒

คำอธิบายรายวิชา รายวิชา คณิตศาสตร์ ค๑5๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง/ปี

ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกการแก้ปัญหาในเนื้อหาต่อไปนี้ การเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ การบวด การลบเศษส่วนและจำนวนคละ การคูณ การหารของ เศษส่วนและจำนวนคละ การบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่ วนและจำนวนคละ การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน และจำนวนคละ ความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วนและทศนิยม ค่าประมาณของทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่งให้เป็นจำนวนเต็ม หน่วยทศนิยม 1 ตำแหน่ง และ 2 ตำแหน่ง การใช้เครื่องหมาย  การประมาณผลลัพธ์ของการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม การคูณทศนิยม การหารทศนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยความยาว เซนติเมตรกับ มิลลิเมตร เมตรกับเซนติเมตร กิโลเมตรกับเมตร ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยน้ำหนัก กิโลกรัมกับกรัม การแก้โจทย์ ปัญหาเกี่ยวกับความยาวและน้ำหนักโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับทศนิยมและการเปลี่ยนหน่วย การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ การอ่านและการเขียนร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ การแก้โจทย์ ปัญหาร้อยละ เส้นตั้งฉากและสัญลักษณ์แสดงการตั้งฉาก เส้นขนายและสัญลักษณ์แสดงการขนาน การสร้างเส้นขนาน มุมแย้ง มุมภายในและมุมภายนอกที่อย่างบนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง ชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ ยม การสร้างรูปสี่เหลี่ยม ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม พื้นที่ของรูปสี่ เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียก ปูน การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลักษณะและส่วนต่างๆ ของปริซึม ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยม มุมฉาก ความสัมพันธ์ระหว่างมิลลิลิตร ลิตร ลูกบาศก์เซนติเมตร และลูกบาศก์เมตร การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก การอ่านและการเขียนแผนภูมิแท่ง การอ่านกราฟเส้น จัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัว ศึกษาค้นคว้าจากการปฏิบัติ จริง มีความสามารถในการ คิดคำนวณ มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และ การนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ มีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์และมีเจตนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างมีระบบ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มี วิจารณญาณ และความเชื่อมั่นในตนเอง การวัดและประเมินผลโดยใช้การสังเกตพฤติกรรมการเรียน ตรวจแบบฝึกหัด ประเมินชิ้นงานและแฟ้ม สะสมงานตามความเหมาะสม ทดสอบโดยใช้เครื่องมือที่มาตรฐานอย่างหลากหลาย ครอบคลุมการบูรณาการการ เรียนรู้ตามสภาพจริง โดยวัดและประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เพื่อหาข้อสรุปผลการ พัฒนาการการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของหลักสูตรที่กำหนด

๓๓

ตัวชี้วัด ค ๑.๑ ป.5/๑, ป.5/๒, ป.5/๓, ป.5/๔, ป.5/5, ป.5/6, ป.5/7, ป.5/8, ป.5/9 ค ๑.๒ ค 1.3 ค ๒.๑ ป.5/๑, ป.5/๒, ป.5/๓, ป.5/๔ ค ๒.๒ ป.5/๑, ป.5/๒, ป.5/๓, ป.5/๔ ค ๓.๑ ป.5/๑, ป.5/๒ ค 3.2 รวม ๑9 ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๓๔

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา คณิตศาสตร์ ค ๑๖๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในเนื้อหาต่อไปนี้ ตัวประกอบของจำนวนนับ จำนวนเฉพาะ การแยกตัวประกอบ ตัวหารร่วมที่มากที่สุด (ห.ร.ม.) ผลคูณ ร่วมที่น้อยที่สุด (ค.ร.น.) การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับ ห.ร.ม. และค.ร.น. การเปรียบเทียบและ เรียงลำดับเศษส่วนและจำนวนคละ การบวก การลบเศษส่วนและจำนวนคละ การบวก ลบ คูณ หารระคนของ เศษส่วนและจำนวนคละ การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนและจำนวนคละ 2-3 ขั้นตอน ความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วน กับทศนิยม การหารทศนิยมที่ตัวหารและผลหารเป็นทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่ง การแลกเปลี่ยนเงินตรา การแก้ โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม 3 ขั้นตอน การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับร้อยละ 2 -3 ขั้นตอน อัตราส่วน อัตราส่วนที่เท่ากัน มาตราส่วน การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วนและมาตราส่วน แบบรูป และความสัมพันธ์ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับแบบรูป ชนิดและสมบัติของรูปหลายเหลี่ยม มุมภายในของรูปหลายเหลี่ยม การสร้างรูปสามเหลี่ยม ความยาว รอบรูปและพื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยม การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูป หลาย เหลี่ยม ส่วนต่างๆ ของวงกลม การสร้างวงกลม ความยาวรอบรูปและพื้นที่ของวงกลม การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ความยาวรอบรูปและพื้นที่ของวงกลม ทรงกลม ทรงกระบอก กรวย พีระมิด รูปคลี่ของทรงกระบอก กรวย ปริซึม พีระมิด ปริมาตรของรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบด้วยทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตร ของรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบด้วยทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม การแก้โจทย์ปัญหา เกี่ยวกับแผนภูมิรูปวงกลม จัดประสบการณ์การเรียนรู้ หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัว หรือพบเห็นได้ในชีวิตจริง ศึกษาค้นคว้าโดย ปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้ เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ ไป ใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ และเชื่อมั่น ในตนเอง การวัดและประเมินผลโดยใช้การสังเกตพฤติ กรรมการเรียน ตรวจแบบฝึกหัด ประเมินชิ้นงานและแฟ้ม สะสมงานตามความเหมาะสม ทดสอบโดยใช้เครื่องมือที่มาตรฐานอย่างหลากหลาย ครอบคลุมการบูรณาการการ เรียนรู้ตามสภาพจริง โดยวัดและประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เพื่อหาข้ อสรุปผลการ พัฒนาการการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของหลักสูตรที่กำหนด

๓๕

รหัสตัวชี้วัด ค ๑.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓ ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖, ป.๖/๗, ป.๖/๘, ป.๖/๙ ป.๖/๑๐, ป.๖/๑๑, ป.๖/๑๒, ค ๑.๒ ป.๖/๑ ค ๑.3 ค ๒.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓ ค ๒.๒ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔ ค ๓.๑ ป.๖/๑ ค 3.2 รวมทั้งหมด ๒๑ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๓๖

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

๓๗

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา วิทยาศาสตร์ ว๑๑๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เวลา 8๐ ชั่วโมง ศึกษา วิเคราะห์ พืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณต่างๆ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของ สัตว์ในบริเวณที่อาศัยอยู่ หน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ สัตว์และพืช การทำหน้าที่ร่วมกันของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ การจัดกลุ่มวัสดุตามสมบัติ การเกิดเสียงและทิศทาง การเคลื่อนที่ของเสียง ปรากฏการณ์บน ท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน ลักษณะภายนอกของหิน การแก้ปัญหาโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ หรือข้อความ การเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้สื่อซอฟต์แวร์ การใช้เทคโนโลยีในการสร้าง จัดเก็บ เรียกใช้ข้อมูล การใช้ คอมพิวเตอร์และการดูแลรักษาอุปกรณ์ โดยใช้กระบวนการทางวิ ทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจ ตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรีย นรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ใน ชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รอบคอบ เห็นคุณค่าและเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ มีจิตสาธารณะ ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีความรับผิดชอบ มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดี มีคุณธรรมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ว ๑.๑ ป.๑/๑ , ป.๑/๒ ว ๑.๒ ป.๑/๑ , ป.๑/๒ ว ๒.๑ ป.๑/๑ , ป.๑/๒ ว ๒.๓ ป.๑/๑ ว ๓.๑ ป.๑/๑ , ป.๑/๒ ว ๓.๒ ป.๑/๑ ว ๔.๒ ป.๑/๑ , ป.๑/๒ , ป.๑/๓ , ป.๑/๔ , ป.๑/๕ รวม ๑๕ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๓๘

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา วิทยาศาสตร์ ว ๑๒๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เวลา 8๐ ชั่วโมง ศึกษา วิเคราะห์ ความต้องการแสงและน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของพืช วัฏจักรชีวิตของพืช ดอก ลักษณะของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สมบัติของวัสดุ การนำสมบัติของวัสดุไปประยุกต์ใช้ในการทำวัต ถุ ใน ชีวิตประจำวัน ประโยชน์ของการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ การเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิดแสง การ มองเห็นวัตถุโดยเสนอแนะแนวทางการป้องกันอันตราย ส่วนประกอบของดิน การจำแนกชนิดของดินโดยใช้ ลักษณะเนื้อดินและการจับตั วเป็นเกณฑ์ การใช้ประโยชน์จากดิน การแก้ปัญหาโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์หรือ ข้อความ การเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้สื่อซอฟต์แวร์ การใช้เทคโนโลยีในการสร้าง จัดเก็บ เรียกใช้ข้อมูล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจ ตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน มีจติ วิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รอบคอบ เห็นคุณค่าและเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ มีจิตสาธารณะ ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีความรับผิดชอบ มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดี มีคุณธรรมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ว ๑.๒ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ , ป.๒/๓ ว ๑.๓ ป.๒/๑ ว ๒.๑ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ , ป.๒/๓ , ป.๒/๔ ว 2.3 ป.๒/๑ , ป.๒/๒ ว 3.2 ป.๒/๑ , ป.๒/๒ ว 4.2 ป.๒/๑ , ป.๒/๒ , ป.๒/๓ , ป.๒/๔ รวม ๑๖ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๓๙

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา วิทยาศาสตร์ ว ๑3๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เวลา 8๐ ชั่วโมง ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว ลักษณะที่คล้ายกันของพ่อ แม่ ลูก การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต บางชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทรัพยากรธรร มชาติในท้องถิ่นและการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ชนิดและสมบัติของวัสดุที่เป็นส่วนประกอบ ของ ของเล่น ของใช้ การใช้ประโยชน์ของวัสดุแต่ละชนิด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวัสดุเมื่อถูกแรงกระทำหรือทำ ให้ร้อนขึ้น หรือเย็นลง ประโยชน์และอันตรายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของวัตถุ ผลของการออกแรง ที่กระทำต่อวัตถุ การตกของวัตถุสู่พื้นโลก และแรงที่โลกดึงดูดวัตถุ พลังงานธรรมชาติ ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ในความสำคัญของการผลิตไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย สมบัติทางกายภาพของน้ำจากแหล่งน้ำในท้องถิ่น และนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนประกอบและความสำคัญของอากาศ การเคลื่อนที่ของอากาศ ที่มีผลต่อความ แตกต่างของอุณหภูมิ การขึ้นตกของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การเกิดกลางวันกลางคืน และการกำหนดทิศ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะแสวงหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การทดลอง การสังเกต การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรี ยนรู้ มีความรู้ในการตัดสิน ใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ รักชาติ ศาสน์กษัตริย์ ซื่ อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ว ๑.๒ ป.๓/๑-๔ ว ๒.๑ ว ๒.๒ ป.๓/๑-๓ ว ๓.๑ ว ๓.๒ ป.๓/๑-2 ว 4.1 ว 5.1 ป.๓/๑-2 ว 6.1 ว 7.1 ป.๓/๑ ว ๘.1 รวมทั้งหมด ๒8 ตัวชี้วัด

ป.๓/๑ ป.๓/๑-2 ป.๓/๑-2 ป.๓/๑-3 ป.๓/๑-8

สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๔๐

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา วิทยาศาสตร์ ว ๑4๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เวลา 8๐ ชั่วโมง ศึกษา วิเคราะห์ หน้าที่ของราก ลำต้น ใบ และดอกของพืชดอก ส่วนประกอบของพืชดอก ความแตกต่าง ของลักษณะของสิ่งมีชีวิตออกเป็น กลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืชและสัตว์ จำแนกพืชออกเป็นพืชดอกและ พืชไม่มีดอก จำแนกสัตว์ออกเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลักษณะเฉพาะของสัตว์มี กระดูกสันหลังในกลุ่มปลา กลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก กลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน กลุ่มนก และกลุ่มสัตว์เลี้ย งลูกด้วย นม ตัวอย่างของสัตว์ในแต่ละกลุ่ม สมบัติทางกายภาพของวัสดุจากการทดลองและระบุการนำสมบัติของวัสดุไป ใช้ในชีวิตประจำวันโดยผ่านกระบวนการออกแบบชิ้นงาน แลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่นโดยการอภิปรายเกี่ยวกับ สมบัติทางกายภาพของวัสดุอย่างด้านความแข็ง สภาพความยืดหยุ่น การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ของวัสดุ สมบัติของสสารทั้ง ๓ สถานะ การสังเกต มวล การต้องการที่อยู่ รูปร่างและปริมาตรของสสาร เครื่องมือ ที่ใช้วัด มวล และปริมาตรของสสาร ทั้ง ๓ สถานะ ผลของแรงโน้มถ่วงที่มีต่อวัตถุ การใช้เครื่องชั่งสปริงในการวัดน้ำหนัก ของวัตถุ มวลของวัตถุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ วัตถุที่เป็นตัวกลางโปร่งใส ตัวกลางโปร่ง แสง และวัตถุทึบแสง ลักษณะการมองเห็นผ่านวัตถุ แบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์ แบบจำลอง อธิ บ ายแบบรูป การเปลี ่ย นแปลงรูป ร่า งปรากฏของดวงจั นทร์ และพยากรณ์ ร ู ป ร่ า งปรากฏของดวงจันทร์ แบบจำลองแสดงองค์ป ระกอบของระบบสุริยะ และเปรียบเที ยบคาบ การโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ จาก แบบจำลอง ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน การคาดการณ์ผลลัพธ์ จากปัญหาอย่างง่าย ออกแบบ และเขีย นโปรแกรมอย่ า งง่า ย โดยใช้ซอฟต์แวร์ หรือสื่อ และตรวจหาข้ อผิด พลาดและแก้ ไ ขใช้ อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้ รวบรวม ประเมิน นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่หลากหลาย เพื่อ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของ ผู้อื่น โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์มี จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รอบคอบ เห็นคุณค่าและเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ มีจิตสาธารณะ ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีความรับผิดชอบ มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดี มีคุณธรรมที่เหมาะสม

๔๑

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ว ๑.๒ ป.๔/๑ ว ๑.๓ ป.๔/๑ , ป.๔/๒ , ป.๔/๓ , ป.๔/๔ ว ๒.๑ ป.๔/๑ , ป.๔/๒ , ป.๔/๓ , ป.๔/๔ ว ๒.๒ ป.๔/๑ , ป.๔/๒ , ป.๔/๓ ว ๒.๓ ป.๔/๑ ว ๓.๑ ป.๔/๑ , ป.๔/๒ , ป.๔/๓ ว ๔.๒ ป.๔/๑ , ป.๔/๒ , ป.๔/๓ , ป.๔/๔ , ป.๔/๕ รวม ๒๑ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๔๒

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา วิทยาศาสตร์ ว ๑5๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เวลา 8๐ ชั่วโมง ศึกษา วิเคราะห์ ส่วนประกอบของดอกและโครงสร้างเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของพืชดอก การขยาย พันธุ์พืช การขยายพันธุ์สัตว์ อธิบายวัฏจักรของพืชและสัตว์ การถ่ ายทอดลักษณะทางพันธุ กรรม ลักษณะที่ ถ่ายทอดทางพันธุกรรม นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สำรวจเปรียบเทียบลักษณะของตนเองกับ คนใน ครอบครัว จำแนกพืชดอก พืชไร้ดอก พืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชใบเลี้ยงคู่ ระบุลักษณะของพืชดอกที่เป็นพืชใบเลี้ยง เดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่โดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์ จำแนกสัตว์ออกเป็นกลุ่ม โดยใช้ลักษณะภายในและ ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์ ทดลองและอธิบายลักษณะของวัสดุ ชนิดของวัสดุ ชนิดต่างๆ เกี่ยวกับความ ยืดหยุ่น ความแข็ง ความเหนียว การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความหนาแน่น สืบค้นข้อมูลและอภิปราย การนำวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทดลองอธิบายการหาแรงลัพธ์ ของแรงสองแรงซึ่งอยู่ในแนวเดียวกันที่กระทำ ต่อวัตถุ แรงเสียดทาน และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ การเกิดเสียง การเคลื่อนที่ของเสียง การเกิดเสียงสูง เสียงดังค่อย อธิบายอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อเสียงดังมากๆ สำรวจการทดลองอธิบายการเกิดเมฆหมอก น้ำค้าง ฝน และลูกเห็บ การเกิดวัฏจักรน้ำ การเกิดลม การเกิดทิศ และปรากฏการณ์ขึ้นตกของดวงดาวโดยใช้แผนที่ดาว ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้ และความสนใจ วางแผนสังเกต ตรวจสอบเมื่อศึกษาค้นคว้าและคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ เลือกอุปกรณ์ที่ ถูกต้องเหมาะสมในการสำรวจ ตรวจสอบ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์อันได้แก่ค วามสนใจใฝ่รู้ ความมุ่งมั่น อดทน รอบคอบ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ประหยัด การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีเหตุผล การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ มีคุณธรรมจริยธรรม และ ค่านิยมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ว ๑.๑ ป.๕/๑-5 ว ๑.2 ป.๕/๑-5 ว 3.1 ป.๕/๑-2 ว 4.๑ ป.๕/๑-5 ว 4.๒ ป.๕/๑ ว 5.1 ป.๕/๑-4 ว 6.๑ ป.๕/๑-4 ว 7.1 ป.๕/๑ ว ๘.1 ป.๕/๑-8 รวมทั้งหมด ๓5 ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๔๓

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา วิทยาศาสตร์ ว ๑6๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เวลา 8๐ ชั่วโมง ศึกษา วิเคราะห์การเจริญเติบ โตและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมนุ ษย์ ตั้งแต่แรกเกิด -ผู้ใ หญ่ ความสัมพัน ธ์ ข องระบบย่ อยอาหาร ระบบหายใจ และการหนุมเวียนเลื อ ด สารอาหารที่ จำเป็ นต่ อ การ เจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่างๆ แหล่งอาหาร การ สืบพันธ์ การเลี้ยงดูลูกอ่อน การถ่ายทอดพลังงานและโครงสร้างของร่างกายในการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด ใน สภาพแวดล้อมตามแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต การเพิ่มและการกระทำของมนุษ ย์ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลง และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการดูแลรักษาเพื่อร่วมอนุรักษ์ สารในชีวิตประจำวัน การแยกสารด้วย วิธีการต่างๆ สมบัติของสาร การนำสารมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย แหล่งกำเนิดไฟฟ้า ไฟฟ้ามีประโยชน์มากมาย ตัวนำและ ฉนวนไฟฟ้า ผลกระทบการใช้ไฟฟ้าเปลือง แม่เหล็กไฟฟ้า และการนำแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ สมบัติและ ลักษณะการเกิดของหินสามารถนำมาใช้ประโยชน์ กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ การเกิดดินใน สิ่งแวดล้อม การเกิดธรณีพิบัติทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม จึงต้องปฏิบัติตนเพื่อให้ปลอดภัย จากเหตุการณ์ธรณีพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในท้องถิ่น ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติของโลก การเกิดข้างขึ้นข้างแรม การเกิดฤดูการ การเกิดอุปราคา ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ โดยใช้ ก ระบวนการสื บ เสาะแสวงหาความรู ้ ทางวิ ท ยาศาสตร์ กระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ กระบวนการสร้างนิสัย การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล การลงมือปฏิบัติจริง การสำรวจ การสังเกต และอภิปราย เพื่อให้เกิ ดความรู้ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการ ตัดสินใจ แก้ปัญหาใฝ่เรียนรู้ นำทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ คุณธรรมจริยธรรม รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ความเป็นไทยและค่านิยมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ว ๑.1 ป.๖/๑-3 ว ๒.๑ ป.๖/๑-3 ว ๒.๒ ป.๖/๑-5 ว 3.1 ป.๖/๑-5 ว ๓.2 ป.๖/๑-3 ว 5.1 ป.๖/๑-5 ว 6.1 ป.๖/๑-3 ว 7.1 ป.๖/1 ว 7.2 ป.๖/๑ ว 8.1 ป.๖/๑-8 รวมทั้งหมด 29 ตัวชี้วัด (ว 8.1 นำไปบูรณาการ ว 1.1 - ว 7.2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีวินัย 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. ใฝ่เรียนรู้ 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. อยู่อย่างพอเพียง 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๔๔

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

๔๕

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส ๑1๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เวลา 4๐ ชั่วโมง ศึกษาวิเคราะห์พุทธประวัติ หรือประวัติของศาสดาที่ตนนับถือ แบบอย่างการดำเนินชีวิต และข้อคิดจาก ประวัติสาวก ชาดก/เรื่องเล่าและศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด ความหมาย ความสำคัญและเคารพพระ รัตนตรัย ปฏิบัติตามหลักธรรม โอวาท 3 ในพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ สวดมนต์ แผ่เมตตา มีสติ บำเพ็ญประโยชน์ต่อวัด แสดงตนเป็นพุทธมามกะ หรือศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติในศาสนพิธี พิธีกรรมและวันสำคัญทางศาสนาตามที่กำหนดได้ถูกต้อง ประโยชน์และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครั ว และโรงเรียน ศึกษา วิเคราะห์ ความสามารถและความดีและผลจากการกระทำของตนเอง ผู้อื่น โครงสร้าง บทบาท หน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวและโรงเรียน บทบาท สิทธิ หน้าที่ของตนเองในครอบครัวและโรงเรียน มีส่วนร่วม ในการตัดสินใจ และทำกิจกรรมในครอบครัวและโรงเรียนตามกระบวนการประชาธิปไตย สินค้าและบริการที่ใช้ ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวันไม่เกินตัวและประโยชน์ของการออม การใช้ทรัพยากร ในชีวิตประจำวันอย่างประหยัด ความจำเป็นของการทำงานที่สุจริต สิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ความสัมพันธ์ของตำแหน่ง ระยะ ทิศของสิ่งต่างๆ ใช้แผนผังแสดงตำแหน่งของ สิ่งต่าง ๆ ในห้องเรียน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในรอบวัน สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ส่งผลต่อ ความเป็นอยู่ของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว การดูแลสิ่งแวดล้อมที่บ้านและห้องเรียน โดยใช้ ก ระบวนการคิด กระบวนการสื บ ค้น ข้ อ มู ล กระบวนการปฏิ บ ัต ิ กระบวนการทางสั งคม กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื ่ อ ให้ เ กิ ด ความรู ้ ความเข้ า ใจ สามารถนำไปปฏิ บ ั ต ิ ใ นการดำเนิ นชี ว ิ ต มี ค ุ ณ ธร รม จริ ย ธรรม มีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีความรับผิดชอบ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ มีความเป็นพลเมืองและพลโลก สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทย และสังคมโลก มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๑.๑ ป.๑/๑,ป.1/๒, ป.1/๓,ป.1/๔ ส ๒.๑ ป.๑/๑,ป.1/๒ ส ๓.๑ ป.๑/๑,ป.1/๒,ป.1/๓ ส ๕.๑ ป.๑/๑,ป.1/๒,ป.1/๓,ป.1/๔ รวม ๒๓ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

ส ๑.๒ ป.๑/๑,ป.1/๒,ป.1/๓ ส ๒.๒ ป.๑/๑,ป.1/๒,ป.1/๓ ส ๓.๒ ป.๑/๑ ส ๕.๒ ป.๑/๑,ป.1/๒,ป.1/๓ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๔๖

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส ๑2๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เวลา 4๐ ชั่วโมง สังเกต ศึกษาค้นคว้า การรวบรวมข้อมูล อภิปราย ความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบเบื้องต้นของ ศาสนา ประวัติศาสนา ศาสดาของศาสนา คัมภีร์ และการใช้ภาษาของศาสนา รวบรวมหลักจริยธรรม การบำเพ็ญ ประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน และชุมชน หลักปฏิบัติการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ศาสนพิธี และพิธีกรรมในวัน สำคัญของศาสนา การบริหารจิต การเจริญปัญญาเบื้องต้น การทำความดีของบุคคลในครอบครัว และโรงเรียน การปฏิบัติตนตามคำแนะนำเกี่ยวกับศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม การเป็นพลเมืองดี ในสังคมประชาธิปไตย การยอมรับ การเคารพสิทธิ และหน้าที่ของตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว สิทธิของบุคคลที่พึงได้รับการ คุ ้ ม ครอง การขั ด เกลาของสั ง คม ค่ า นิ ย ม ความเชื ่ อ ประเพณี วั ฒ นธรรม และภู ม ิ ป ั ญ ญาของ ท้องถิ่น ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว บทบาทหน้าที่ของตนเอง การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ข้อตกลง กฎ กติกา ระเบียบในโรงเรียน ความหมาย และความสำคัญของรัฐธรรมนูญ ประโยชน์ของรายรับ –รายจ่ายของ ครอบครัว ตัดสินใจเลือกอย่างเหมาะสม เศรษฐกิจพอเพียง อาชีพของชุมชน การซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและ บริการ ประโยชน์ของธนาคาร ภาษีที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ศึกษา อธิบาย ระบุ จำแนกสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นธรรมชาติกับที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งปรากฏระหว่างโรงเรียน กับบ้านระบุตำแหน่งอย่างง่ายและลักษณะทางกายภาพของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏในลูกโลก แผนที่ แผนผัง และ ภาพถ่าย ความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ระหว่างโลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ความสำคัญและคุณค่าของ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทางสังคม และใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดไปและที่ใช้แล้วหมดไปได้อย่าง คุ้มค่า ความสัมพันธ์ของฤดูกาลกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูปรับปรุงสิ่งแวดล้อมใน โรงเรียนและชุมชน โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ กระบวนกลุ่ม กระบวนสืบค้น กระบวนการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางจริยธรรม กระบวนการประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มี คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีความรับผิดชอบ รัก ความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ มีความเป็นพลเมืองและพลโลก สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทย และสังคมโลก มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๑.๑ ป.2/๑, ป.2/๒, ป.2/๓, ป.2/๔ ป.2/๕, ป.2/๖, ป.2/๗ ส ๑.๒ ป.2/๑, ป.2/๒, ส ๒.๑ ป.2/๑, ป.2/๒, ป.2/๓, ป.2/๔ ส ๒.๒ ป.2/๑, ป.2/๒ ส ๓.๑ ป.2/๑, ป.2/๒, ป.2/๓, ป.2/๔ ส ๓.๒ ป.2/๑, ป.2/๒ ส ๕.๑ ป.2/๑, ป.2/๒, ป.2/๓ ส ๕.๒ ป.2/๑, ป.2/๒, ป.2/๓, ป2./๔ รวม ๒๘ ตัวชี้วัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 2. มีสมรรถนะในการคิด 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

๔๗

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส ๑3๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เวลา 4๐ ชั่วโมง สังเกต ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูล อภิปราย แสดงความคิดเห็น สรุปใจความสำคัญความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบของศาสนา ประโยชน์ ประวัติศาสดาของศาสนา ภาษา ที่ใช้ในคัมภีร์ของศาสนาที่ตน นับถือ หลักจริยธรรมในการพัฒนาตน การบำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ ศาสนพิธี พิธีกรรมในวันสำคัญของศาสนา การบริหารจิต การเจริญปัญญา สติ สัมปชัญญะ ความรำลึกได้ ความรู้ตัว ชื่นชม การทำความดีของบุคคลในครอบครัว และโรงเรียน ศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม การเป็นพลเมืองดีในสังคม ประชาธิปไตย การเคารพสิทธิและหน้าที่ของ ตนเอง บทบาทสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ สถานภาพ สิทธิของบุคคลที่พึง ได้รับการคุ้มครอง การขัดเกลาของสังคม ค่านิยม ความเชื่อ ประเพณี การอนุรักษ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ของ ท้องถิ่น การสร้างความดี การแก้ปัญหาความขัดแย้ง กฎ กติกา ระเบียบในชุมชน ความสำคัญของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ รายรับ–รายจ่าย ผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับการตัดสินใจเลือกอย่างเหมาะสม ระบบเศรษฐกิจ พอเพี ย ง อาชี พ ในชุ ม ชนการแลกเปลี ่ ย น สิ น ค้ า และบริ ก ารความสำคั ญ ของธนาคาร ภาษี ท ี ่ เ กี ่ ย วข้ อ งใน ชีวิตประจำวัน การใช้แผนผัง แผนที่ และรูปถ่าย ในการหาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในโรงเรียนและชุมชน ความสัมพันธ์ ของตำแหน่ง ระยะ ทิศทาง วาดแผนผังเพื่อแสดงตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สำคัญในบริเวณโรงเรียนและท้องถิ่น เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นในอดีตกับปัจจุบัน การใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติในการสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพวัฒนธรรม และภูมิปัญญาในท้องถิ่น ศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิ ดมลพิษโดยมนุษย์และหาความแตกต่างของลักษณะเมืองและ ชนบท ศึกษาลักษณะภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมทางกายภาพกับการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น ส่งเสริมให้รู้จัก การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและอธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพกับการดำเนินชีวิตของคนใน ท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการตั้งคำถาม รวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปเพื่อตอบคำถาม เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทย และสังคมโลก สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้วิธีการ ของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

๔๘

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๑.๑ ป.3/๑, ป.3/๒, ป.3/๓, ป.3/๔, ป.3/๕, ป.3/๖, ป.3/๗ ส ๑.๒ ป.3/๑, ป.3/๒, ป.3/๓ ส ๒.๑ ป.3/๑, ป.3/๒, ป.3/3, ป.๓/๔ ส ๒.๒ ป.3/๑, ป.3/๒, ป.3/๓ ส ๓.๑ ป.3/๑, ป.3/๒, ป.3/๓ ส ๓.๒ ป.3/๑, ป.3/๒, ป.3/๓ ส ๕.๑ ป.3/๑, ป.3/๒, ป.3/๓ ส ๕.๒ ป.3/๑, ป.3/๒, ป.3/๓, ป.3/๔, ป.3/๕ รวม ๓๑ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๔๙

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส ๑4๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เวลา 8๐ ชั่วโมง สังเกต ศึกษาค้นคว้า อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น รวบรวมข้อมูล สืบค้น ข้อมูล สรุป ใจความสำคัญ เกี่ ย วกับ ความสำคัญ ทางศาสนา และศาสดาของศาสนาพุ ทธ คัมภีร์ทางศาสนาที่ ตนนั บ ถื อ หลั ก ธรรมของศาสนา การบริ ห ารจิ ต และเจริ ญ ปั ญ ญา ชื ่ น ชมการทำความดี ข องบุ ค ลากรในสั ง คม แปล ความหมายในคัมภีร์ ศาสนาที่ตนนับถือ เสนอแนวทางการกระทำของตนเอง และผู้อื่นในฐานะพลเมืองดีของสังคม สิทธิเด็ก เพื่อป้องกันตัวเองและสังคม เปรียบเทียบความแตกต่างของวัฒนธรรมในท้องถิ่น การยอมรับคุณค่าของ กันและกัน การรวมกลุ่มทั้งภาครัฐและเอกชน ชื่นชมการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ เป็น ประมุข การรวมกลุ่มภาครัฐ และเอกชน เพื่อพัฒ นาท้องถิ่น อำนาจอธิปไตย ปฏิบัติตามกฎหมายใน ชีวิตประจำวันวิเคราะห์ ผู้ผลิต ผู้บริโภค ประเภทของทรัพยากร การเลือกใช้อย่างเหมาะสม ความหมายระบบ สินเชื่อ ผลดีผลเสีย คุณสมบัติของผู้บริโภค วิธีการของเศรษฐกิจ การหารายได้ การออม การลงทุน ผลผลิต ทางด้านเศรษฐกิจ การตลาด การธนาคาร สถาบันการเงินอื่นๆ ภาษีที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน การพึ่งพา การแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ ใช้แผนที่และรูปถ่ายระบุลักษณะสำคัญทางกายภาพ แหล่งทรัพยากรและสถานที่สำคัญต่างๆ ใน จังหวัดของตนเอง ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัด สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้น และมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมใน จังหวัด โดยใช้ กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการทางสังคม กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจระบบธรรมชาติและมนุษย์ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ มีความเป็นพลเมืองและพลโลก สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทย และสังคมโลก

๕๐

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๑.๑ ส ๑.๒ ส ๒.๑ ส ๒.๒ ส ๓.๑ ส ๓.๒ ส ๕.๑ ส ๕.๒ รวม ๓๐

ป.๔/๑, ป.4/๒, ป.4/๓, ป.4/๔, ป.4/๕, ป.4/๖, ป.4/๗, ป.4/๘ ป.๔/๑, ป.4/๒, ป.4/๓ ป.๔/๑, ป.4/๒, ป.4/๓, ป.4/๔, ป.4/๕ ป.๔/๑, ป.4/๒, ป.4/๓ ป.๔/๑, ป.4/๒, ป.4/๓ ป.๔/๑, ป.4/๒ ป.๔/๑, ป.4/๒, ป.4/๓ ป.๔/๑, ป.4/๒, ป.4/๓ ตัวชี้วัด

สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๕๑

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส ๑5๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เวลา 8๐ ชั่วโมง สังเกต ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ อภิปราย สนทนาซักถาม แสดงความคิดเห็น รวบรวมข้อมูล สืบค้น ข้อมูล สรุปใจความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องราวพื้นฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความสำคัญของศาสนา ศาสดา และ คั ม ภี ร ์ ท างศาสนาที ่ ต นนั บ ถื อ หลั ก ธรรมของศาสนาที ่ ต นนั บ ถื อ เพื ่ อ เข้ า ใจในการพั ฒ นาตน และ สังคม ความหมาย การบริหารจิต และเจริญปัญญา ชื่นชมการทำความดีของตนเองและบุคคลในสังคม และ แนวปฏิบัติในการชื่นชม การทำความดีของบุคคลสำคัญกลุ่มเพื่อน ประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา ของศาสนาที่ตนนับถือ กระบวนการประชาธิปไตยในการทำงานร่วมกันในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน การปฏิบัติ ตน ตามสิทธิ หนาที่ เสรีภาพในฐานะพลเมืองดีของประเทศ การดำเนินชีวิต ความแตกต่างของวัฒนธรรมในกลุ่ม คนในภูมิภาค การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโครงสร้างการปกครอง ประเทศ ซึ่งมีทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง คนกับการปกครอง ประเทศ ความสำคัญในกฎหมายในชีวิตประจำวัน หน้าที่ของผู้ผลิ ต และผู้บริโภค ความหมายของระบบสินเชื่อ ผลดีผลเสียต่อภาวะ การเงิน การเลือกของผู้บริโภค ผลกระทบต่อทรัพยากรที่มีอยู่ ระบบสหกรณ์ การบริหาร ทางด้านเศรษฐกิจ บทบาทการใช้เงิน ในท้องถิ่น การบริการต่าง ๆ ของธนาคาร และสถาบันการเงินใน ต่างประเทศ ผู้บริโภค ผู้ยืมและนักธุรกิจ การจัดหาแหล่งรายได้ของรัฐ ความเชี่ยวชาญ ชำนาญด้านจำนวน ปริมาณสินค้ารวมทั้งที่ผลิตการซื้อมาทางเศรษฐกิจ สืบค้นอธิบายข้อมูล ลักษณะทางกายภาพที่ส่งผลต่อแหล่งทรัพยากรและสถานที่สำคัญในภูมิภาคของ ตนด้วยแผนที่และรูปถ่าย วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของ ประชากรในภูมิภาคของตน วิเคราะห์อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดวิถีการดำเนินชีว ิตใน ภูมิภาคของตน และ นำเสนอตัวอย่างให้เห็นผลจากการรักษาและการทำลายสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางใน การจัดสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคของตนโดยให้ผู้เรียนฝึกทักษะการสังเกต การแปลความข้อมูลทางภูมิศาสตร์ การใช้ เทคนิคเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการใช้เทคโนโลยี และกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อให้เ กิ ด ความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิ บั ติ ในการดำเนิ นชีว ิต มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีความรับผิดชอบ รัก ความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ มีความเป็นพลเมืองและพลโลก สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข

๕๒

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๑.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗ ส ๑.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓ ส ๒.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔ ส ๒.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓ ส ๓.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓ ส ๓.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒ ส ๕.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ส ๕.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓ รวม ๒๗ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๕๓

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส ๑6๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เวลา 8๐ ชั่วโมง สังเกต ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ อภิปราย สนทนา ซักถาม แสดงความคิดเห็น รวบรวมข้อมูลสืบค้น ข้อมูลความสำคัญหลักธรรมพระรัตนตรัย ไตรสิกขา หลักธรรมโอวาท ๓ การทำความดีของบุคคลในประเทศ การ สวดมนต์ แผ่เมตตาของศาสนาที่ตนนับถือ สรุปใจความสำคัญเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ปลงอายุสังขารจนถึง สังเวชนียสถาน ประวัติศาสดา ข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก เรื่องเล่า ศาสนิกชนตัวอย่าง ศาสนพิธี สถานที่ ในศาสนสถาน ศาสนิกชนที่ดี ประโยชน์ของการเข้าร่วมในศาสนพิธี พิธีกรรม กิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา การบริหารจิตและเจริญปัญญาวันสำคัญทางศาสนา การกระทำที่แสดงถึงคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองดีใน สังคมประชาธิปไตย สิทธิเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองตามสิทธิมนุษยชน บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง บรรทัดฐานทางสังคมและวัฒนธรรม สัญลักษณ์ เอกลักษณ์ ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรมในท้องถิ่น อำนาจ อธิปไตยและการมีส ่วนร่ว มในการปกครองระบอบประชาธิปไตย กฎหมายในชีวิตประจำวัน การเลือกใช้ ทรัพยากรที่มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม การเพิ่มรายได้เงินออมจากการลงทุน สิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภค เศรษฐกิจพอเพียง ระบบสหกรณ์ การบริหาร ด้านการผลิต และการพึ่งพาทางเศรษฐกิจ บทบาทการใช้เงินและ การบริการด้านการเงินต่างประเทศ การจัดเก็บภาษี การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ แผนที่ชนิดต่าง ๆ การ กระทำที่ส่งผลดีและผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งผลกระทบจากการที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมในด้านบวกและด้านลบ การกระทำที่มีส่วนช่วยแก้ปัญหา และเสริมสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น สืบค้นและอธิบายข้อมูลลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย ด้วยแผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ และภาพ จากดาวเทียม อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับภัยพิบัติในประเทศไทย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ภัยพิบัติ วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับลักษณะกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมใน ประเทศไทย วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของประเทศไทยในอดีตกับปัจจุบันและผลที่เกิดขึ้นจาการ เปลี่ยนแปลง นำเสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลจาการรักษาและทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ แนวทางในการจัดการที่ยั่งยืนในประเทศไทย โดยให้ผู้เรียนมีทักษะการสังเกต การแปลความข้อมูล การใช้เทคนิค เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการใช้ เทคโนโลยีโดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทย และสังคมโลก

๕๔

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๑.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖, ป.๖/๗, ป.๖/๘, ป.๖/๙ ส ๑.๒ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔ ส ๒.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕ ส ๒.๒ ป.๖/๑,ป.๖/๒, ป.๖/๓ ส ๓.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓ ส ๓.๒ ป.๖/๑, ป.๖/๒ ส ๕.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒ ส ๕.๒ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓ รวม ๓๑ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๕๕

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ประวัติศาสตร์ ส ๑1๑๐2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เวลา 4๐ ชั่วโมง

สังเกต ศึกษาค้น คว้า การบอกวัน เดือน ปี และการนับช่ว งเวลาตามปฏิทินที่ใช้ในชีว ิตประจำวัน เรียงลำดับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามวันเวลาที่เกิดขึ้น และบอกประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว โดยสอบถามผู้เกี่ยวข้อง บอกความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมสิ่งของ เครื่องใช้ หรือการดำเนินชีวิตของ ตนเองกับสมัยของพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดี ตที่มีผลกระทบต่อตนเองในปัจจุบัน และ อธิบายความหมาย ความสำคัญของสัญลักษณ์สำคัญของชาติไทยและปฏิบัติตนได้ถูกต้อง บอกสถานที่สำคัญซึ่ง เป็นแหล่งวัฒนธรรมในชุมชน พร้อมทั้งระบุสิ่งที่ตนรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และแก้ปัญหา เพื ่ อ ให้ เ กิ ด ความรู ้ ความเข้ า ใจ สามารถนำไปปฏิ บ ั ต ิ ใ นการดำเนิ น ชี ว ิ ต มี ค ุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย มีจิต สาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทย และสังคมโลก มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๔.๑ ป.๑/๑ , ป.๑/๒ , ป.๑/๓ ส ๔.๒ ป.๑/๑ , ป.๑/๒ ส ๔.๓ ป.๑/๑ , ป.๑/๒ , ป.๑/๓ รวม ๘ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี 8. มีจิตสาธารณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๕๖

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ประวัติศาสตร์ ส ๑2๑๐2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เวลา 4๐ ชั่วโมง

สังเกต ศึกษาค้นคว้า การใช้คำระบุเวลาที่แสดงเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ลำดับเหตุการณ์ที่ เกิ ด ขึ ้ น ในครอบครั ว หรื อ ในชี ว ิ ต ของตนเองโดยใช้ ห ลั ก ฐานที ่ เ กี ่ย วข้ อ ง สื บ ค้ น ถึ ง การเปลี ่ ยนแปลงในวิถี ชีวิตประจำวันของคนในชุมชนของตนจากอดีตถึงปัจจุบัน อธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อวิถีชีวิต ของคนในชุมชน และระบุบุคคลที่ทำประโยชน์ต่อท้องถิ่นหรือประเทศชาติ พร้อมยกตัวอย่างวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาไทยที่ภาคภูมิใจและควรอนุรักษ์ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และแก้ปัญหา เพื ่ อ ให้ เ กิ ด ความรู ้ ความเข้ า ใจ สามารถนำไปปฏิ บ ั ต ิ ใ นการดำเนิ น ชี ว ิ ต มี ค ุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย มีจิต สาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทย และสังคมโลก มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๔.๑ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ ส ๔.๒ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ ส ๔.๓ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ รวม ๖ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๕๗

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ประวัติศาสตร์ ส ๑3๑๐2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เวลา 4๐ ชั่วโมง

ศึกษาวิเคราะห์การเทียบศักราชที่สำคัญตามปฏิทินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แสดงลำดับเหตุการณ์สำคัญของ โรงเรียนและชุมชนโดยระบุหลักฐานและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานและ พัฒนาการของชุมชน สรุปลักษณะที่สำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของชุมชน และเปรียบเทียบ ความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชุมชนตนเองกับชุมชนอื่น ๆ รวมทั้ง ระบุพระนามและพระราช กรณียกิจโดยสังเขปของพระมหากษัตริย์ไทยที่เป็นผู้สถาปนาอาณาจักรไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันโดยสังเขป พร้อม ทั้งบอกวีรกรรมของบรรพบุรุษไทยที่มีส่วนปกป้องประเทศชาติ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีว ิต มีคุณธรรม จริยธรรม มี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทย และสังคมโลก มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๔.๑ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ ส ๔.๒ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ ส ๔.๓ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ รวม ๘ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๕๘

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ประวัติศาสตร์ ส ๑4๑๐2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เวลา 4๐ ชั่วโมง

ศึกษาวิเคราะห์เกณฑ์การนับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษและสหัสวรรษ อธิบายยุคสมัยในการศึกษา ประวัติของมนุษยชาติ วิเคราะห์แยกแยะประเภทหลักฐานที่ใช้ ในการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่นและการตั้ง หลักแหล่ง และพัฒนาการของมนุษย์ ยุคก่อประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์ พร้อมทั้งยกตัวอย่างหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ที่พบในท้องถิ่นที่แสดงพัฒนาการของมนุษยชาติในดินแดนไทยและอธิบายพัฒนาการของ อาณาจักรสุโขทัย วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญ ภูมิปัญญาไทยที่ สำคัญ สมัยสุโขทัยที่น่าภาคภูมิใจและควรคุณค่าแก่การอนุรักษ์ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีว ิต มีคุณธรรม จริยธรรม มี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทย และสังคมโลก มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๔.๑ ป.๔/๑ , ป.๔/๒ , ป.๔/๓ ส ๔.๒ ป.๔/๑ , ป.๔/๒ ส ๔.๓ ป.๔/๑ , ป.๔/๒ , ป.๔/๓ รวม ๘ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี 8. มีจิตสาธารณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๕๙

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ประวัติศาสตร์ ส ๑5๑๐2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เวลา 4๐ ชั่วโมง

สังเกต ศึกษาค้นคว้า สืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย รวบรวมข้อมูลจาก แหล่งต่าง ๆ เพื่อตอบคำถามทางประวัติศาสตร์ อย่างมีเหตุผล อธิบายความแตกต่างระหว่างความจริงกับ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียและจีนที่มีต่อไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทยปัจจุบัน โดยสังเขป และอธิบายพัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา – ธนบุรี ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ การปกครอง ของอาณาจักรอยุธยา รวมถึงบอกประวัติและ ผลงานของบุคคลสำคัญสมัยอยุธยา – ธนบุรีที่น่าภาคภูมิใจ พร้อมทั้งอธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ สมัยอยุธยา และธนบุรีที่น่าภาคภูมิใจควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีว ิต มีคุณธรรม จริยธรรม มี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทย และสังคมโลก มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๔.๑ ป.๕/๑ , ป.๕/๒ , ป.๕/๓ ส ๔.๒ ป.๕/๑ , ป.๕/๒ ส ๔.๓ ป.๕/๑ , ป.๕/๒ , ป.๕/๓ , ป.๕/๔ รวม ๙ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๖๐

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ประวัติศาสตร์ ส ๑6๑๐2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เวลา 4๐ ชั่วโมง

ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ อภิปราย ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์อย่างง่าย ๆ และนำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเร่องราวสำคัญใน อดีต รวมทั้งสภาพสังคมเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน บอกความสัมพันธ์ของกลุ่ม อาเซียนโดยสังเขป และอธิบายพัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พร้อมทั้งยกตัวอย่างผลงานของบุคคลสำคัญ ภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยรัตนโกสินทร์ ที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีว ิต มีคุณธรรม จริยธรรม มี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทย และสังคมโลก มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๔.๑ ป.๖/๑ , ป.๖/๒ ส ๔.๒ ป.๖/๑ , ป.๖/๒ ส ๔.๓ ป.๖/๑ , ป.๖/๒ , ป.๖/๓ , ป.๖/๔ รวม ๘ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๖๑

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

๖๒

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ส ๑1๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เวลา 4๐ ชั่วโมง

ศึกษา วิเคราะห์ ลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอกที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการไปตามวัย สมาชิกในครอบครัว ความรักความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว สิ่งที่ชื่นชอบและความภาคภูมิใจในตนเอง ลักษณะและความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเอง สิ่งที่ทำให้เกิ ด อันตรายภายในบ้านและโรงเรียน สาเหตุของการเกิดอันตรายจากการเล่น ปฏิบัติตนในการดูแลรักษาอวัยวะภายนอก การดูแลตนเองตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ เมื่อมีอาการ เจ็บป่วยเบื้องต้น การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุร้ายที่บ้านและโรงเรียน การป้องกันอันตรายภายใน บ้านและโรงเรียน ที่เกิดจากการเล่น มีทักษะในการปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบอยู่กับที่ แบบเคลื่อนที่ แบบใช้อุปกรณ์ ประกอบ การเล่นเกมเบ็ดเตล็ด ตามกฎ กติกา ข้อตกลงในการเล่นเกมตามคำแนะนำ โดยใช้ทักษะกระบวนการปฏิบัติ ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย กระบวนการคิด การสืบค้นข้อมูล การ แก้ปัญหา และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถตัดสินใจ และนำ ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และมีจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด พ ๑.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒ พ ๒.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓ พ ๓.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒ พ ๓.๒ ป.๑/๑, ป.๑/๒ พ ๔.๑ ป.๔/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓ พ ๕.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓ รวม ๑๕ รหัสตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๖๓

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ส ๑2๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เวลา 4๐ ชั่วโมง

ศึกษา วิเคราะห์ ลักษณะ หน้าที่ และวิธีการดูแลรักษาอวัยวะภายในที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ไปตามวัย รู้จัก เข้าใจ และดูแลตนเองและสมาชิกในครอบครัว รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้ าที่ของสมาชิกใน ครอบครัว บทบาทของเพื่อน และความภาคภูมิใจในตนเองพร้อมปฏิบัติพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศ ปฏิบัติตนให้ เป็นผู้มีสุขภาพที่ดี เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ รู้จักการเลือกของใช้และของเล่นที่เหมาะสมและไม่เกิดอันตราย เมื่อมีอาการเจ็บป่วยสามารถบอกลักษณะอาการ สาเหตุ และการรักษาเบื้องต้นที่เหมาะสม ปฏิบัติตนในการ ป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทางน้ำ ทางบก และอัคคีภัย การปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาอย่างเหมาะสม และ ระบุโ ทษของสารเสพติด สารอัน ตรายใกล้ตัวและวิธีป้องกันที่เหมาะสม มีทักษะในการปฏิบัติกิจกรรมการ เคลื่อนไหวร่างกายแบบอยู่กับที่ แบบเคลื่อนที่ แบบใช้อุปกรณ์ประกอบ การเล่นเกมเบ็ดเตล็ด ตามกฎ กติกา ข้อตกลงในการเล่นเกมตามคำแนะนำ เพื่อให้เกิดความสนุกสนานและปลอดภัย โดยใช้ทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ กระบวนการปฏิบัติ ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย การสืบค้นข้อมูล การแก้ปัญหา การระดมสมอง และ การอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ มีทักษะสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ สามารถตัดสินใจ และนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และมีจริยธรรม คุณธรรม และ ค่านิยมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด พ ๑.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓ พ ๒.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓ พ ๓.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒ พ ๓.๒ ป.๒/๑, ป.๒/๒ พ ๔.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕ พ ๕.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕ รวม ๒๐ รหัสตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๖๔

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ส ๑3๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เวลา 4๐ ชั่วโมง

อธิบายลักษณะและการเจริญเติบโต โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ระบุปัจจัยที่มีผลต่ อ การ เจริญเติบโตของร่างกาย อธิบายความสำคัญและความแตกต่างของแต่ละครอบครัว สร้างสัมพันธภาพในครอบครัว และกลุ่มเพื่อน ใช้ทักษะการปฏิเสธเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่นำไปสู่การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีสุขภาพที่ดี เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แปรงฟันอย่างถูกวิธี และเสริมสร้าง สมรรถภาพทางกายได้เหมาะสม และป้องกันตนเองจากการแพร่กระจายของโรค ปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัย จากอุบัติเหตุภายในบ้าน โรงเรียน และการเดินทาง เลือกขอความช่วยเหลือจากบุคคลและแหล่งต่างๆ เมื่อเกิด เหตุร้าย และสามารถปฐมพยาบาลเมื่อเกิดการบาดเจ็บจากการเล่น มีทักษะในการปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบอยู่กับที่ แบบเคลื่อนที่ แบบใช้อุปกรณ์ประกอบ การเล่นเกมเบ็ดเตล็ด การละเล่นพื้นเมือง ตามกฎ กติกา ข้อตกลง เพื่อให้เกิดความมีวินัย รักการออกกำลังกาย มีน้ำใจนักกีฬา เกิดความสนุกสนานและปลอดภัย โดยใช้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการปฏิบัติ ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย การสืบค้นข้อมูล การแก้ปัญหา การระดมสมอง และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ มีทักษะสื่อสาร สามารถตัดสินใจ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน มีการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด พ ๑.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓ พ ๒.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓ พ ๓.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒ พ ๓.๒ ป.๓/๑, ป.๓/๒ พ ๔.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕ พ ๕.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓ รวม ๑๘ รหัสตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๖๕

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ส ๑4๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เวลา 8๐ ชั่วโมง

ศึกษา วิเคราะห์ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายและจิตใจตามวัย (ในช่วงอายุ 9 -12 ปี) ความสำคัญของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ การดูแลรักษากล้ามเนื้อ กระดูก และข้อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คุณลักษณะของความเป็นเพื่อนและสมาชิกที่ดีของครอบครัว พฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศของตนตามวัฒนธรรมไทย วิธีการปฏิเสธการกระทำที่เป็นอันตรายและไม่เหมาะสม ในเรื่องเพศ ผลพัฒนาการของตนเองในการออกกำลังกาย เล่นเกม และเล่นกีฬา ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม กับสุขภาพ การจัดสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและเอื้อต่อสุขภาพ สภาวะอารมณ์และความรู้สึก ผลที่มีต่อสุขภาพ ข้อมูลบนฉลากอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ความสำคัญของการใช้ยาและหลักการใช้ยาอย่างถูกวิธี วิธีปฐม พยาบาล ผลเสียของการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ปฏิบัติ แสดงคำพูดหรือท่าทาง พฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศของตน ตามวัฒนธรรมไทย วิธีการ ปฐมพยาบาลเมื่อได้รับอันตรายจากการใช้ยาผิด สารเคมี แมลงสัตว์กัดต่อยและการ บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ปฏิบัติกิจกรรม ทดสอบ ควบคุมการเคลื่อนไหวในลักษณะผสมผสานได้ทั้งแบบอยู่กบั ที่ แบบเคลื่อนที่ และแบบใช้อุปกรณ์ประกอบ กายบริหารมือเปล่าประกอบจังหวะ เล่นเกมเลียนแบบและกิจกรรม แบบผลัด การเล่นกีฬาพื้นฐานตามกฎ กติกาการเล่น สมรรถภาพทางกาย โดยใช้ทักษะกระบวนการปฏิบัติ ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย กระบวนการคิด การสืบค้นข้อมูล การแก้ปัญหาและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถตัดสินใจ และนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และมีจริยธรรม คุณธรรม และ ค่านิยมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด พ ๑.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ พ ๒.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ พ ๓.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔ พ ๓.๒ ป.๔/๑, ป.๔/๒ พ ๔.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔ พ ๕.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ รวม ๑๙ รหัสตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๖๖

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ส ๑5๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เวลา 8๐ ชั่วโมง

ศึกษา ความสำคัญและวิธีดูแลรักษา ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายให้ทำงานตามปกติซึ่งส่งผลต่อ สุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงทางเพศ และปฏิ บัติตนได้เหมาะสม ลักษณะของ ครอบครัวที่อบอุ่นตามวัฒนธรรมไทย พฤติกรรมที่พึงประสงค์ และไม่พึงประสงค์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน ความสำคัญของการปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้ สร้างเสริมสุขภาพ การตัดสินใจเลือกซื้ ออาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ปฏิบัติตนในการป้องกันโรค ปัจจัย และ ผลกระทบที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติด ที่มีต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ความปลอดภัย จากการใช้ยาและหลีกเลี่ยงสารเสพติด อิทธิพลของสื่อที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกันอันตรายจากการเล่น กีฬา วิธีการจัดรูปแบบการเคลื่อนไหวร่างกายแบบผสมผสานแบบและปฏิบัติกิจกรรมทางกายทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบตามแบบที่กำหนด วิธีการเล่นเกมนำไปสู่กีฬาและกิจกรรมแบบผลัด ก าร เคลื่อนไหวในเรื่องการรับแรง การใช้แรง และความสมดุลทักษะกลไกลที่ส่งผลต่อการปฏิบัติกิจกรรมทางกายและ เล่นกีฬาการเล่นกีฬาไทย หลักการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการหลักการและรูปแบบการออกกำลังกายการออก กำลังกายและการเล่นเกม การละเล่นพื้นเมือง วิธีการเล่นกีฬาไทยและกีฬาสากล ประเภทบุคคลและประเภททีมที่ เหมาะสมกับวัยอย่างสม่ำเสมอการสร้างทางเลือกในวิธีปฏิบัติในการเล่นกีฬาอย่างหลากหลาย รู้กฎกติกาในการ เล่นเกมกีฬาไทยและกีฬาสากลตามชนิดกีฬาที่เล่นวิธีการรุกและวิธีการป้องกันในการเล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลที่ เล่นสิทธิของตนเองและผู้อื่นในการเล่นเกมและกีฬาความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเล่นเกมและกีฬา โดยใช้กระบวนการการสืบค้น การอภิปราย การปฏิบัติ การบอก ระบุ แสดง เพื่อเกิดความรู้ ความ เข้าใจนำไปสู่การปฏิบัติการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่า ในการดูแลเพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่น มีวินัย รักความเป็นไทย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตสาธารณะ การนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข มาตรฐาน/ตัวชี้วัด พ ๑.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒ พ ๒.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔ พ ๓.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖ พ ๓.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕ พ ๔.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔ พ ๕.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕ รวม ๒๖ รหัสตัวชี้วัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีวินัย 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. ใฝ่เรียนรู้ 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. อยู่อย่างพอเพียง 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๖๗

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ส ๑6๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เวลา 8๐ ชั่วโมง

ศึกษาความสำคัญและวิธีดูแลรักษาระบบสืบพันธุ์ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจที่มี ผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการให้ทำงานเป็นปกติ ความสำคัญของการสร้างและ รักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น พฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเอดส์ และการ ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ความสำคัญและแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อมที่มีผล ต่อสุขภาพ ผลกระทบที่เกิดจากการระบาดของโรคและเสนอแนวทางการป้องกันโรคติดต่อสำคัญที่ พบในประเทศไทย พฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสุขภาพของส่วนรวม ความรุนแรง ของภัยธรรมชาติที่มีต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม การปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ สาเหตุของการติดสารเสพติด และชักชวนให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงสารเสพติด หลักการ รูปแบบ การจำแนก การเคลื่อนไหวร่างกายโดยอาศัยกลไกการทำงานประสานกันของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลให้ ร่างกายของคนเราเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านสมรรถภาพทาง กาย อารมณ์ สังคมและจิตใจ ในการออกกำลังกาย กิจกรรมนันทนาการ การเล่นเกม การเล่น กีฬาไทย กีฬาสากล ทั้งประเภทบุคคลและประเภททีม และรู้กฎ กติกามารยาท ในการเล่น ประเภทนั้นๆ โดยใช้กระบวนการการสืบค้น การอภิปราย การปฏิบัติ เพื่อเกิดความรู้ ความเข้าใจนำไปสู่ การปฏิบัติการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม เกิดความตระหนักและเห็น คุณค่าในการดูแลตนเองและผู้อื่น ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน เล่นกีฬาที่ตนเองชื่นชอบ ด้วย ความสามัคคีและมีน้ำใจนักกีฬา มีวินัย คำนึงถึงความปลอดภัย รักความเป็นไทย การนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข มาตรฐาน/ตัวชี้วัด พ ๑.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒ พ ๓.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖ พ ๓.๒ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖ พ ๔.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔

พ ๒.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒ พ ๕.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓

รวม ๒๓ รหัสตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๖๘

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

๖๙

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ศ ๑1๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เวลา 4๐ ชั่วโมง

อภิปราย บอก มีทักษะ สร้าง วาดภาพ ระบุ ท่อง เล่า เลียนแบบ แสดง เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวในธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รอบตัว สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน มีพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์โดยการทดลองใช้สี ด้วยเทคนิค ง่าย ๆวาดภาพระบายสีภาพธรรมชาติตามความรู้สึกของตนเองงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน สิ่งต่าง ๆสามารถ ก่อกำเนิดเสียง ที่แตกต่างกัน ลักษณะของเสียงดัง-เบา และความช้า- เร็ว ของจังหวะ บทกลอน ร้องเพลงง่าย ๆ มีส่วนร่วมใน กิจกรรมดนตรีอย่างสนุกสนานความเกี่ยวข้องของเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพลงในท้องถิ่น สิ่งที่ชื่น ชอบในดนตรีท้องถิ่น เครื่องดนตรีจากพืชและสัตว์ในหมู่บ้าน การเคลื่อนไหว ท่าทางง่าย ๆ เพื่อสื่อความหมาย แทนคำพูด สิ่งที่ตนเองชอบ จากการดูหรือร่วมการแสดง เล่นการละเล่นของเด็กไทย รู้ เข้าใจ เห็นคุณค่า ชื่นชม เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ในธรรมชาติ และสิ่ง ที่มนุษย์สร้างขึ้น ความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน มีพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์โดยการทดลองใช้สี ด้วยเทคนิคง่าย ๆวาดภาพระบายสีภาพธรรมชาติตามความรู้ สึก ของตนเองงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน สิ่งต่าง ๆสามารถก่อกำเนิดเสียง ที่แตกต่างกัน ลักษณะของเสียงดังเบา และความช้า-เร็ว ของจังหวะ บทกลอน ร้องเพลงง่าย ๆ มีส่วนร่วมใน กิจกรรมดนตรีอย่างสนุกสนานความ เกี่ยวข้องของเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพลงในท้องถิ่นเครื่องดนตรีจากพืชและสัตว์ในหมู่บ้าน สิ่งที่ชื่นชอบใน ดนตรีท้องถิ่น การเคลื่อนไหว ท่าทางง่าย ๆเพื่อสื่อความหมาย แทนคำพูด สิ่งที่ตนเองชอบ จากการดูหรือร่วม การแสดง เล่นการละเล่นของเด็กไทย รักและมุ่งมั่นในการทำงาน สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดย ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ศ ๑.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔, ป.๑/๕ ศ ๑.๒ ป.๑/๑ ศ ๒.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔, ป.๑/๕ ศ ๒.๒ ป.๑/๑, ป.๑/๒ ศ ๓.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓ ศ ๓.๒ ป.๑/๑, ป.๑/๒ รวม ๖ มาตรฐาน ๑๘ ตัวชี้วัด

๗๐

สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๗๑

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ศ ๑2๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เวลา 4๐ ชั่วโมง

บรรยายรูปร่าง รูปทรงที่พบในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุทัศนธาตุที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมและงาน ทัศนศิลป์โดยเน้นเรื่อง เส้นสี รูปร่าง และรูปทรง เลือกงานทัศนศิลป์ บอกความสำคัญ และบรรยายถึงสิ่งที่ มองเห็นรวมถึงเนื้อหาเรื่องราว อภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น วิธีการสร้างงานและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ สร้างงานทัศนศิลป์ 3 มิติ สร้างภาพปะติดโดยการตัดหรือฉีก วาดภาพถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวหรือ เพื่อนบ้าน สร้างสรรค์งานเป็นรูปแบบโครงสร้างเคลื่อนไหว จำแนกแหล่ง กำเนิด เสีย งและคุณ สมบั ติ ข องเสีย ง บอกความหมายและความสำคัญ ของเพลงบอก ความสัมพันธ์ของเสียงร้อง เสียงเครื่องดนตรีในท้องถิ่น เคาะจังหวะ เคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับเนื้อหาของ เพลง ขับร้องเพลงง่ายๆเข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรีในท้องถิ่น ระบุมารยาทในการชมการแสดง การละเล่นพื้นบ้านและเชื่อมโยงการละเล่น กับสิ่งที่พบเห็นในการ ดำรงชีวิต ระบุสิ่งที่ชื่นชอบและภาคภูมิใจในการละเล่นพื้นบ้าน เคลื่อนไหวขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่สะท้อน อารมณ์ตนเองอย่างอิสระ อิสระ แสดงท่าทางสื่อความหมายแทนคำพูดอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปราย กระบวนการกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลและการบันทึกข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสาร และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ศ 1.1 ป.2/1 ป.2/2 ศ 1.2 ป.2/1 ป.2/2 ศ 2.1 ป.2/1 ป.2/2 ศ 2.2 ป.2/1 ป.2/2 ศ 3.1 ป.2/1 ป.2/2 ศ 3.1 ป.2/1 ป.2/2 รวม 25 ตัวชี้วัด

ป.2/3 ป.2/4 ป.2/5 ป.2/6 ป.2/7 ป.2/8 ป.2/3 ป.2/4 ป.2/5 ป.2/3 ป.2/4 ป.2/5 ป.2/3

สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๗๒

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ศ ๑3๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เวลา 4๐ ชั่วโมง

บรรยายรูปร่าง รูปทรงในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ สร้างผลงาน เมื่อชมงานทัศนศิลป์ จำแนก ทัศนศิลป์ของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติบรรยายเหตุผล และวิธีการในการสร้างงาน ทัศนศิลป์ ระบุสิ่ งที่ชื่นชมและสิ่งที่ควรปรับปรุงในงานทัศนศิลป์ ระบุสิ่งแวดล้อมและจัดกลุ่มของภาพตาม ทัศนศิลป์ เล่าถึงที่มาของทัศนศิลป์ในท้องถิ่น บรรยาย ลักษณะรูปร่าง รูปทรงในงานออกแบบสิ่งต่างๆ ในบ้าน และโรงเรียน ระบุรูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรีที่เน้น และได้ยินในชีวิตประจำวัน ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนเสียง และเคาะจังหวะ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี เสียงขับร้องและผู้อื่น ระบุลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของ ดนตรีในท้องถิ่นขับร้องและบรรเลงดนตรีง่ายๆ เคลื่อนไหวท่าทางสอดคล้องกับอารมณ์ของเพลงที่ต้องนำดนตรีไป ใช้ในชีวิตประจำวันหรือโอกาสต่างๆ ได้เหมาะสม เปรียบเทียบบทบาทของผู้แสดงและผู้ชม ประโยชน์ของการแสดงนาฏศิลป์ในชีวิตประจำวัน ระบุสิ่งที่ เป็นลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของการแสดงนาฏศิลป์อธิบายความสำคัญของตัวแสดงนาฏศิลป์ สร้างสรรค์การ เคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ในสถานการณ์สั้น แสดงท่าทางประกอบเพลงตามรูปแบบนาฏศิลป์มีส่วนร่วมใน กิจกรรมแสดงที่เหมาะสมกับวัย เล่าการแสดงนาฏศิลป์ที่เคยเห็นในท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปราย กระบวนการกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลและการบันทึกข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสาร และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ศ 1.1 ป.3/1-ป.3/10 ศ 1.2 ป.3/1-ป.3/2 ศ 2.1 ป.3/1-ป.3/7 ศ 2.2 ป.3/1 ศ 3.1 ป.3/1-ป.3/5 ศ 3.2 ป.3/1-ป.3/3 รวม 29 ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๗๓

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ศ ๑4๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เวลา 8๐ ชั่วโมง

เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเน้นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดก ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่าง อิสระชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ใจความสัมพันธ์ร ะหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและเห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็นมรดกทาง วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากล โดยแสดงออกทางด้านดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ คุณค่าของดนตรี และถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างมีอิสระ ชื่นชมและ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมตระหนักในนาฏศิลป์ที่เป็น มรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล มีกระบวนการที่เหมาะสมกับกิจกรรมการจัดการ เรียนรู้ประกอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตว์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงานรักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ สามารถสื่อสารการคิด การแก้ปัญหา เชื่อมโยงการใช้ใน ชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปราย กระบวนการกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลและการบันทึกข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสาร และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ศ 1.1 ป.4/1 ป.4/2 ป.4/3 ป.4/4 ป.4/5 ป.4/6 ป.4/7 ป.4/8 ป.4/9 ศ 1.2 ป.4/1 ป.4/2 ศ 2.1 ป.4/1 ป.4/2 ป.4/3 ป.4/4 ป.4/5 ป.4/6 ป.4/7 ศ 2.2 ป.4/1 ป.4/2 ศ 3.1 ป.4/1 ป.4/2 ป.4/3 ป.4/4 ป.4/5 ศ 3.2 ป.4/1 ป.4/2 รวม 29 ตัวชี้วัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีวินัย 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. ใฝ่เรียนรู้ 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. อยู่อย่างพอเพียง 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๗๔

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ศ ๑5๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เวลา 8๐ ชั่วโมง

บรรยายเกี่ยวกับจังหวะ ตำแหน่งของสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏในสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์ เปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์ที่สร้างด้วยวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่แตกต่างกัน ระบุปัญหาในการจัด องค์ประกอบศิลป์และการสื่อความหมายในงานทัศนศิลป์ของตนเองและบอกวิธีการปรับปรุงงานให้ดีขึ้น บรรยาย ประโยชน์และคุณค่าของงานทัศนศิลป์ที่มีผลต่อชีวิตของคนในสังคม ระบุและบรรยายเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบ ของงานทัศนศิลป์ในแหล่งเรียนรู้หรือนิทรรศการศิลปะ อภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมและภูมิ ปัญญาในท้องถิ่น วาดภาพโดยใช้เทคนิค สร้างสรรค์งานพิมพ์ภาพ โดยเน้นการจัดวางตำแหน่งของสิ่งต่างๆในภาพ ระบุองค์ประกอบดนตรีในเพลงใช้ในการสื่ออารมณ์ จำแนกลักษณะของเสียงขับร้องและเครื่องดนตรีที่ อยู่ในวงดนตรีประเภทต่างๆ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประเพณีในวัฒนธรรมต่างๆ อธิบายคุณค่าของ ดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยอ่าน เขียนตั วโน้ตดนตรีไทยและสากล 5 ระดับเสียง ใช้เครื่องดนตรี บรรเลงจังหวะและทำนองร้องเพลงไทยหรือเพลงสากลหรือเพลงไทยสากลที่เหมาะสมวัย ด้นสดง่ายๆโดยใช้ ประโยคของเพลงแบบถาม-ตอบ ใช้ดนตรีร่วมกับกิจกรรมในการแสดงออกตามจินตนาการ บรรยายองค์ประกอบของนาฏศิลป์เปรียบเทียบการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่างๆ บอกประโยชน์ที่ได้รับจาก การชมการแสดงและเปรียบเทียบการแสดงประเภทต่างๆของไทยในแต่ละท้องถิ่นโดยแสดงท่าทางประกอบเพลง หรือเรื่องราวตามความคิดของตน การแสดงนาฏศิลป์โดยเน้นการใช้ภาษาท่า และ นาฏยศัพท์ ในการใช้สื่อ ความหมายและการแสดงออก มีส่วนร่ วมในกลุ่มกับการเขียนเค้าโครงเรื่องหรือบทละครสั้นๆ ระบุหรือ แสดง นาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นบ้านที่สะท้อนและประเพณี โดยใช้ทักษะกระบวนการฝึกอย่างเหมาะสม ปฏิบัติจริง แสดงบทบาทสมมุติ การศึกษาค้นคว้า การ ทดลอง การแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์โดยมีกระบวนการที่เหมาะสมกับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ประกอบมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มุ่งมั่นในการทำงาน อยู่อย่างพอเพียง รักความเป็นไทย มีวินัย รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์และมีจิตสาธารณะ ผู้ที่ได้รับมีสมรรถนะที่สำคัญคือ ความสามารถในการคิด ความสามารถ ในการแก้ปัญหา ความสามารถใน การสื่อสาร ความสามารถในการใช้ทักษะในชีวิต มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ศ 1.1 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, ป.5/6, ป.5/7 ศ 1.2 ป.5/1, ป.5/2 ศ 2.1 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, ป.5/6, ป.5/7 ศ 2.2 ป.5/1, ป.5/2 ศ 3.1 ป.5/1, ป.5/2, ป5/3, ป.5/4, ป.5/5} ป.5/6 ศ 3.2 ป.5/1, ป.5/2 รวม 26 ตัวชี้วัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีวินัย 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. ใฝ่เรียนรู้ 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. อยู่อย่างพอเพียง 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๗๕

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ศ ๑6๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เวลา 8๐ ชั่วโมง

ศึกษา สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ สื่อความคิด ถ่ายทอดจินตนาการ ใช้สีคู่ตรงข้าม แสงเงา น้ำหนักงานปั้น รูปแบบ เทคนิค และวิธีการต่าง ๆ แสดงเป็นแผนภาพ แผนผัง ภาพประกอบ อธิบายหลักการจัดขนาด สัดส่วน ความสมดุลในการสร้างงานทัศนศิลป์ จากรูปแบบ 2 มิติ เป็น 3 มิติ บทบาทของงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนชีวิตและ สังคม อภิปรายเกี่ยวกับอิทธิพลของความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาที่มีผลต่องานทัศนศิลป์ในท้องถิ่นอันเป็น มรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบดนตรี เพลงที่ฟังและศัพท์สังคีต จำแนกประเภทเครื่องดนตรี ใช้เครื่องดนตรี และเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ อ่าน เขียนโน้ตไทยและโน้ตสากล ร้องเพลง ด้นสด สร้างสรรค์รูปแบบ จังหวะและทำนองด้วยเครื่อ งดนตรีไทยหรือเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ สืบทอดดนตรีไทย จำแนก ดนตรีที่มาจากยุคสมัยที่ต่างกัน อิทธิพลของวัฒนธรรมต่อดนตรีในท้องถิ่น บรรยายความรู้สึกและแสดงความ คิดเห็นที่มีต่อบทเพลง ความไพเราะของเสียงดนตรี ศึกษาพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ นาฏศิลป์เบื้องต้น แสดงออกอย่างอิสระในการประดิษฐ์ท่าทางประกอบ เพลงปลุกใจหรือเพลงพื้นเมืองหรือท้องถิ่น การแสดงนาฏศิลป์และละครสร้างสรรค์ การใช้เรื่องแต่ง จินตนาการ ประสบการณ์ ละครสร้างสรรค์ ระบำ ฟ้อน รำวงมาตรฐาน การอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างนาฏศิลป์และการละครกับสิ่งที่ประสบในชีวิตประจำวัน ใช้หลักสุนทรีทางนาฏศิลป์ การบอกความหมาย ความเป็นมา ความสำคัญพร้อมทั้งระบุประโยชน์ที่ได้รับจากการแสดงหรือ การชมการแสดงนาฏศิลป์ สร้างสรรค์ การเคลื่อนไหวและการถ่ายทอดลีลา อารมณ์ สิ่งที่มีความสำคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์และละคร ระบุประโยชน์ที่ได้รับจากการแสดงหรือการชมการแสดง นาฏศิลป์และละคร โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปราย กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเห็น คุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ศ 1.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, ป.6/6, ป.6/7 ศ 2.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, ป.6/6 ศ 3.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, ป.6/6 รวม 27 ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

ศ 1.2 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3 ศ 2.2 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3 ศ 3.2 ป.6/1, ป.6/2

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๗๖

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

๗๗

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา การงานอาชีพ ศ ๑1๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เวลา 4๐ ชั่วโมง

บอกวิธีการทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง ใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือง่ายๆ ในการทำงานอย่ าง ปลอดภัย นำความรู้เกี่ยวกับการทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีความรับผิดชอบ มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดี มีคุณธรรมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ง ๑.๑ ป. ๑/๑ ป. ๑/๒ ป.๑/๓ รวมทั้งหมด ๓ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๗๘

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา การงานอาชีพ ศ ๑2๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เวลา 4๐ ชั่วโมง

ศึกษาวิธ ีการทำงาน ประโยชน์บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในบ้าน เลือกใช้ว ัสดุ อุปกรณ์ และ เครื่องมือที่เหมาะสมกับงานและประหยัด นำความรู้เรื่องการทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัวไปใช้ได้ อย่างปลอดภัย เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีความรับผิดชอบ มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดี มีคุณธรรมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ง ๑.๑ ป ๒/๑, ป ๒/๒, ป ๒/๓ รวมทั้งหมด ๓ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๗๙

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา การงานอาชีพ ศ ๑3๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เวลา 4๐ ชั่วโมง

ฝึกการทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ อธิบายวิธีการใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ อภิปรายการเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างสร้างสรรค์ การเลือกสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นมิตร กับชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีความรับผิดชอบ มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดี มีคุณธรรมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ง ๑.๑ ป๓/๑, ป๓/๒, ป๓/๓ รวมทั้งหมด ๓ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๘๐

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา การงานอาชีพ ศ ๑4๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เวลา 8๐ ชั่วโมง

อธิบายเหตุผลในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างเป็นขั้นตอนทำงาน ด้วยความขยันอดทน รับผิดชอบ และซื่อสัตย์ ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงาน ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัดและ คุ้มค่า อธิบายความหมายและความสำคัญของอาชีพ มีเจตคติที่ดีต่องานอาชี พ เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีความรับผิดชอบ มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดี มีคุณธรรม ที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ง ๑.๑ ป๔/๑, ป๔/๒, ป๔/๓, ป๔/๔ ง ๒.๑ ป๔/๑ รวมทั้งหมด ๕ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๘๑

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา การงานอาชีพ ศ ๑5๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เวลา 8๐ ชั่วโมง

อธิบายเหตุผลการทำงานแต่ละขั้นตอนถูกต้องตามกระบวนการทำงาน ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบ ประณีต และมีความคิดสร้างสรรค์ ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานกับสมาชิกในครอบครัว มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ในชุมชน ระบุความแตกต่างของอาชีพ มีคุณธรรมที่ดีในการประกอบ อาชีพ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ง ๑.๑ ป๕/๑, ป๕/๒, ป๕/๓, ป๕/๔ ง ๒.๑ ป๕/๑, ป๕/๒ รวมทั้งหมด ๖ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๘๒

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา การงานอาชีพ ศ ๑6๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เวลา 8๐ ชั่วโมง

ใช้ทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ การออกแบบ การสร้าง และเลือกวิธีการ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ และความชำนาญ ให้ ม ี ค ุ ณ ธรรม และลั ก ษณะนิ ส ัย ในการทำงาน มี ม ารยาทในการทำงาน มี ส ่ ว นร่ ว มในการจัดการ เห็นคุณค่าของการแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพ มีคุณธรรมและเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ เช่น ความ ซื่อสัตย์ความขยัน อดทน ความยุติธรรม และความรับผิดชอบ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ง ๑.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓ ง ๒.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒ รวมทั้งหมด ๕ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๘๓

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

๘๔

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ภาษาอังกฤษ อ ๑1๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เวลา 12๐ ชั่วโมง

ปฏิบัติตาม คำสั่งง่ายๆ ที่ฟัง ตัวอักษรและเสียง และสะกดคำง่าย ๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน ภาพตรง ตามความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟัง เรื่องใกล้ตัว คำสั้น ๆ ง่าย ๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง คำสั่งง่าย ๆ ตามแบบที่ฟัง ความต้องการง่ายๆของตนเองตามแบบที่ฟัง การขอและให้ข้อมูลง่ายๆ เกี่ยวกับ ตนเองตามแบบที่ฟัง ข้อมูลง่ายๆ เกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว ตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ชื่อและคำศัพท์ เกี่ยวกับเทศกาลสำคัญของเจ้าของภาษา การเข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับวัย การระบุ ตัวอักษรและเสียงอักษรของภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)และภาษาไทย คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการ เรียนรู้อื่น การฟัง/พูดในสถานการณ์ง่ายๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียน การใช้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)เพื่อรวบรวม คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องใกล้ตัว โดยการปฏิบัติตาม ระบุ อ่านออกเสียง เลือกภาพ ตอบคำถาม พูดโต้ตอบ ใช้ บอก พูดขอ ให้ข้อมูล ทำท่าประกอบ เข้าร่วม ฟัง/พูด เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เกิด สมรรถนะตามความต้องการของหลักสูตร มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ขึ้นในตัวของผู้เรียน และสามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ต ๑.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔ ต ๑.๒ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔ ต ๑.๓ ป.๑/๑ ต ๒.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓ ต ๒.๒ ป.๑/๑ ต ๓.๑ ป.๑/๑ ต ๔.๑ ป.๑/๑ ต ๔.๒ ป.๑/๑ รวม ๘ มาตรฐาน ๑๖ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๘๕

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ภาษาอังกฤษ อ ๑2๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เวลา 12๐ ชั่วโมง

ปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆ และคำขอร้องง่ายๆ ที่ฟัง ระบุตัวอักษรและเสียง อ่านออกเสียงคำ สะกดคำ และ อ่านประโยคง่ายๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน เลือกภาพตรงตามความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟัง ตอบคำถาม จากการฟังประโยค บทสนทนาหรือนิทานง่าย ๆ ที่มีภาพประกอบ พูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ง่าย ๆในการสื่อสาร ระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง ใช้คำสั่งและคำขอร้องง่าย ๆ ตามแบบที่ฟัง บอกความต้องการง่ายๆของตนเองตาม แบบที่ฟัง พูดขอและให้ข้อมูลง่ายๆ เกี่ยวกับตนเองตามแบบที่ฟัง พูดให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว พูด และทำท่าทางประกอบตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา บอกชื่อและคำศัพท์เกี่ยวกับเทศกาลสำคัญของเจ้าของ ภาษา การเข้าร่ว มกิจ กรรมทางภาษาและวัฒ นธรรมที่ เหมาะสมกับวั ย ระบุตัว อักษรและเสีย งอัก ษรของ ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)และภาษาไทย บอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ฟัง/พูดใน สถานการณ์ง่ายๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ใช้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)เพื่อรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องใกล้ตวั โดยการระบุ อ่านออกเสียง เลือก ตอบคำถาม พูดโต้ตอบ ใช้ บอก ทำท่าทาง เข้าร่วม ฟัง เพื่อให้ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดสมรรถนะตามความต้องการของหลักสูตร มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ขึ้นในตัวของผู้เรียน และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถ นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ต ๑.๑ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ , ป.๒/๓ , ป.๒/๔ ต ๑.๒ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ , ป.๒/๓ , ป.๒/๔ ต ๑.๓ ป.๒/๑ , ป.๒/๑ ต ๒.๑ ป.๒/๒ , ป.๒/๓ ต ๒.๒ ป.๒/๑ ต ๓.๑ ป.๒/๑ ต ๔.๑ ป.๒/๑ ต ๔.๒ ป.๒/๑ รวม ๘ มาตรฐาน ๑๖ ตัวชี้วัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีวินัย 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. ใฝ่เรียนรู้ 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. อยู่อย่างพอเพียง 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๘๖

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ภาษาอังกฤษ อ ๑3๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เวลา 12๐ ชั่วโมง

ปฏิบัติตามคำสั่งและคำขอร้องที่ฟังหรืออ่าน คำ สะกดคำ อ่านกลุ่มคำประโยค และบทพูดเข้าจังหวะ (chant)ง่าย ๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน ภาพหรือสัญลักษณ์ตรงตามความหมายของคำกลุ่มคำและประโยคที่ฟัง จากการฟังหรืออ่านประโยค บทสนทนา หรือนิทานง่ายๆ คำสั้นๆ ง่าย ๆในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ ฟัง คำสั่งและคำขอร้องง่าย ๆ ตามแบบที่ฟัง ความต้องการง่ายๆของตนเองตามแบบที่ฟัง ขอและให้ข้อมูลง่ายๆ เกี่ยวกับตนเองและเพื่อนตามแบบที่ฟัง ความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ใกล้ตัว หรือกิจกรรมต่างๆ ตามแบบ ที่ฟัง ให้ข้อมูลง่ายๆ เกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว คำตามประเภทของ บุคคล สัตว์ และสิ่งของตามที่ฟังหรือ อ่าน มารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ชื่อและคำศัพท์ง่ายๆเกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลองและ ชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับวัย ความแตกต่างของเสียง ตัว อักษร คำ กลุ่มคำ และประโยคง่ายๆ ของภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)และภาษาไทย คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น สถานการณ์ง่ายๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)เพื่อ รวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องใกล้ตัว โดยการอ่านออกเสียง สะกดคำ ฟัง พูด เลือก/ระบุ ตอบคำถาม พูดโต้ตอบ ใช้ บอก จัดหมวดหมู่ ทำท่าประกอบ เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้มีค วามรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ต ๑.๑ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ , ป.๓/๔ ต ๑.๒ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ , ป.๓/๔ , ป.๓/๕ ต ๑.๓ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ ต ๒.๑ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ ต ๒.๒ ป.๓/๑ ต ๓.๑ ป.๓/๑ ต ๔.๑ ป.๓/๑ ต ๔.๒ ป.๓/๑ รวม ๘ มาตรฐาน ๑๘ ตัวชี้วัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีวินัย 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. ใฝ่เรียนรู้ 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. อยู่อย่างพอเพียง 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๘๗

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ภาษาอังกฤษ อ ๑4๑๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เวลา 8๐ ชั่วโมง

ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำ (instructions)ง่าย ๆที่ฟังหรืออ่าน อ่านออกเสียงคำ สะกด คำ อ่านกลุ่มคำ ประโยค ข้อความง่ายๆ และบทพูดเข้าจังหวะ ถูกต้องตามหลักการอ่าน เลือก/ระบุภาพหรือ สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายตรงตามความหมายของประโยคและข้อความสั้นๆที่ฟังหรืออ่าน ตอบคำถามจากการ ฟังหรืออ่านประโยค บทสนทนา หรือนิทานง่ายๆ พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล ใช้คำสั่ง คำ ขอร้อง และคำขออนุญาตง่าย ๆ พูด/เขียนแสดงความต้องการของตนเองตามและขอความช่ว ยเหลื อ ใน สถานการณ์ง่ายๆ พูด/เขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเองเพื่อน และครอบครัว พูดแสดงความรู้สึกของ ตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว หรือกิจกรรมต่างๆ ตามแบบที่ฟัง พูด/เขียนให้ข้อมู ลง่ายๆ เกี่ยวกับตนเองและ เรื่องใกล้ตัว พูด/วาดภาพแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆใกล้ตัวที่ฟังหรืออ่าน พูดแสดงความคิดเห็นง่า ยๆ เกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว พูดและทำท่าประกอบอย่างสุภาพตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของ ภาษา ตอบคำถามเกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ง่ายๆของเจ้าของภาษา การเข้า ร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับวัย บอกความแตกต่างของเสียงตัว อักษร คำ กลุ่มคำ ประโยค และข้อความ ของภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)และภาษาไทย บอกความเหมือน/ความแตกต่าง ระหว่างเทศกาลและงานฉลองตามวั ฒนธรรม ของเจ้าของภาษากับของไทย ค้นคว้ารวบรวม คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และนำเสนอด้วยการพูด/การเขียน ฟัง/พูดในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและ สถานศึกษา ใช้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)ในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลต่างๆ โดยการฟัง พูด อ่าน เขียน ระบุ อ่านออกเสียง เลือก ตอบคำถาม พูดโต้ตอบ ใช้ บอก ทำท่าทาง เข้า ร่วม เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดสมรรถนะตามความต้องการ ของหลักสูตร มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ขึ้นในตัวของผู้เรียน และสามารถอยู่ร่วมกั บผู้อื่นในสังคมได้อย่างมี ความสุข สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไป ประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ต ๑.๑ ป.๔/๑ , ป.๔/๒ , ป.๔/๓ , ป๔/๔ ต ๑.๓ ป.๔/๑ , ป.๔/๒ , ป.๔/๓ ต ๒.๒ ป.๔/๑ , ป.๔/๒ ต ๔.๑ ป.๔/๑ รวม ๘ มาตรฐาน ๒๐ ตัวชี้วัด

ต ๑.๒ ต ๒.๑ ต ๓.๑ ต ๔.๒

ป.๔/๑ , ป.๔/๒ , ป.๔/๓ , ป๔/๔ , ป๔/๕ ป.๔/๑ , ป.๔/๒ , ป.๔/๓ ป.๔/๑ ป.๔/๑

๘๘

สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๘๙

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ภาษาอังกฤษ อ ๑5๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เวลา 8๐ ชั่วโมง ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำ ที่ฟังหรืออ่าน อ่านออกเสียง ประโยค ข้อความ และบท กลอนสั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน ระบุ/วาดภาพสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายตรงตามความหมายของประโยค และข้อความสั้นๆที่ฟังหรืออ่าน บอกใจความสำคัญและตอบคำถามจากการฟังหรืออ่านบทสนทนา และนิทาน ง่ายๆหรือเรื่องสั้นๆ พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล ใช้คำสั่ง คำขอร้อง คำขออนุญาตและให้ คำแนะนำง่าย ๆ พูด/เขียนแสดงความต้องการของตนเองตาม ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความ ช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ พูด/เขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเองเพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว พูดแสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว หรือกิจกรรมต่างๆพร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆประกอบ พูด/ เขียนให้ข้อมูลง่ายๆ เกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว เขียนภาพ แผนผัง และแผนภูมิแสดงข้อมูลต่างๆตามที่ฟัง หรืออ่าน พูดแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องต่างๆใกล้ตัว ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาท่าทางอย่างสุภาพตาม มารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ตอบคำถาม/บอกความสำคัญของเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลองและ ชีวิตความเป็นอยู่ง่ายๆของเจ้าของภาษา การเข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ บอกความ เหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการลำดับคำ (order) ตามโครงสร้างของประโยคของภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)และภาษาไทย บอกความเหมือน/ความ แตกต่างระหว่างเทศกาลและงานฉลองตามวั ฒนธรรม ของเจ้าของภาษากับของไทย ค้นคว้ารวบรวม คำศัพท์ที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และนำเสนอด้วยการพูด/การเขียน ฟัง พูด และอ่าน/เขียนในสถานการณ์ ต่างๆทีเ่ กิดขึ้นในห้องเรียนและสถานศึกษา ใช้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)ในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูล โดยการฟัง พูด อ่าน เขียน ระบุ อ่านออกเสียง เลือก ตอบคำถาม พูดโต้ตอบ ใช้ บอก ทำท่าทาง เข้าร่วม เพื่อให้ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดสมรรถนะตามความต้องการของหลักสูตร มีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ขึ้นในตัวของผู้เรียน และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิด ประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ต ๑.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔ ต ๑.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕ ต ๑.๓ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓ ต ๒.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓ ต ๒.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒ ต ๓.๑ ป.๕/๑ ต ๔.๑ ป.๕/๑ ต ๔.๒ ป.๕/๑ รวม ๘ มาตรฐาน ๒๐ ตัวชี้วัด

๙๐

สมรรถนะ ๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๒. ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ๓. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ๓. มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. รักความเป็นไทย ๘. มีจิตสาธารณะ

๙๑

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา ภาษาอังกฤษ อ ๑6๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เวลา 8๐ ชั่วโมง ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำ ที่ฟังและอ่าน อ่านออกเสียง ข้อความ นิทาน และบทกลอน สั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน เลือก/ระบุประโยค หรือ ข้อความสั้นๆ ตรงตามภาพ สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมาย ที่อ่าน บอกใจความสำคัญ และตอบคำถามจากการฟังหรืออ่าน บทสนทนา หรือนิทานง่ายๆและเรื่องเล่า พูด/ เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล ใช้ คำสั่ง คำขอร้อง และคำขออนุญาตและให้คำแนะนำ พูด/เขียน แสดงความต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ พูด/เขียน เพื่อขอและให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว พูด/เขียนแสดงความรู้สึกของตนเอง เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว หรือกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆประกอบ พูด/เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง เพื่อน และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เขียนภาพ แผนผัง และแผนภูมิแสดงข้อมูลต่างๆตามที่ฟังหรืออ่าน พูดเขียนแสดง ความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาท่าทางอย่างสุภาพ เหมาะสมตามมารยาท สังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง/ชีวิ ตความเป็นอยู่ของ เจ้าของภาษา การเข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ บอกความเหมือน/ความแตกต่าง ระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการลำดับคำ ตามโครงสร้าง ประโยค ของภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)และภาษาไทย เปรียบเทียบความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาลงาน ฉลอง และประเพณีของเจ้าของภาษากับของไทย ค้นคว้ารวบรวม คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่ น จากแหล่งการเรียนรู้ และนำเสนอด้วยการพูด/การเขียน ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียน และสถานศึกษา ใช้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)ในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลต่างๆ โดยการฟัง พูด อ่าน เขียน ระบุ อ่านออกเสียง เลือก ตอบคำถาม พูดโต้ตอบ เข้าร่วม เปรียบเทียบ ค้นคว้า ใช้ บอก เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดสมรรถนะตามความ ต้องการของหลักสูตร มีคุณลักษณะอั นพึงประสงค์ขึ้นในตัวของผู้เรียน และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างมีความสุข สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถ นำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ต ๑.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔ ต ๑.๒ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕ ต ๑.๓ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓ ต ๒.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓ ต ๒.๒ ป.๖/๑, ป.๖/๒ ต ๓.๑ ป.๖/๑ ต ๔.๑ ป.๖/๑ ต ๔.๒ ป.๖/๑

๙๒

รวม ๘ มาตรฐาน ๒๐ ตัวชี้วัด สมรรถนะ ๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๒. ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ๓. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ๓. มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. รักความเป็นไทย ๘. มีจิตสาธารณะ

๙๓

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร อ ๑12๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เวลา 8๐ ชั่วโมง

ใช้คำสั่งที่ใช้ในห้องเรียน ตัวอักษร เสียงตัวอักษร สระ การสะกดคำ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ประโยค บอกความต้องการเกี่ยวกับตนเอง ประโยค ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง คำสั่งที่ใช้ในห้องเรียน ข้อความที่ใช้ในการพูด ให้ข้อมูล เกี่ยวกับ ตนเอง และเรื่องใกล้ตัว คำ ที่มีความหมายสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆใกล้ตัว อาหาร เครื่องดื่ม วัฒนธรรมเจ้าของภาษาแสดงกิริยา การขอบคุณ ขอโทษ การพูดแนะนำตนเอง การใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่านใน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลและมีทักษะทางสังคม มีวิถีของระบอบประชาธิปไตย ซื่อสัตย์ ใฝ่เรียนรู้ แสดงออกถึงความเป็นไทย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ใน ชี วิต ประจำวัน ผลการเรียนรู้ ๑. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้องที่ฟัง ๒. อ่านออกเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยคง่ายๆ และ บทพูดเข้าจังหวะง่ายๆ ถูกต้องตามหลัก การอ่าน ๓. บอกความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟังตรงตามความหมาย ตอบคำถามจากการฟังหรืออ่านประโยค บทสนทนาหรือนิทานง่ายๆ รวมทั้งหมด ๓ ผลการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๙๔

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร อ ๑22๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เวลา 8๐ ชั่วโมง

ใช้คำสั่งที่ใช้ในห้องเรียน ตัวอักษร เสียงตัวอักษร สระ การสะกดคำ การอ่านออกเสียง คำ กลุ่มคำ บทอ่าน บทสนทนา ประโยค ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองคำ ประโยคบทอ่าน บทสนทนา ประโยค ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตนเอง ข้อความที่ใช้ในการพูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว คำ ที่มีความหมายสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ใกล้ตัว อาหาร เครื่องดื่ม วัฒนธรรมเจ้าของภาษาแสดงกิริยา การขอบคุณ ขอโทษ การพูดแนะนำตนเอง กิจกรรม ทางภาษา การร้องเพลง การใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่านในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน โดยใช้กระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลและมีทักษะทางสังคม มีวิถีของระบอบประชาธิปไตย ซื่อสัตย์ ใฝ่เรียนรู้ แสดงออกถึงความเป็นไทย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน ผลการเรียนรู้ ๑. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้องที่ฟัง ๒. อ่านออกเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยคง่ายๆ และ บทพูดเข้าจังหวะง่ายๆ ถูกต้องตามหลักการ อ่าน ๓. บอกความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟังตรงตามความหมาย ตอบคำถามจากการฟังหรืออ่านประโยค บทสนทนาหรือนิทานง่ายๆ ๔. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง ใช้คำสั่ง และคำขอร้องง่ายๆ บอกความต้องการง่ายๆ ของตนเอง พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเพื่อน บอกความรู้สึกของ ตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ใกล้ตัวหรือกิจกรรมต่างๆ ตามแบบที่ฟัง ๕. พูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว จัดหมวดหมู่คำตามประเภทของบุคคล สัตว์ และสิ่งของ ตามที่ฟังหรืออ่าน ๖. พูดและทำท่าประกอบ ตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้า ของภาษา บอกชื่อและคำศัพท์ง่ายๆ เกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง และชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทาง ภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย รวมทั้งหมด ๖ ผลการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๙๕

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร อ ๑32๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เวลา 8๐ ชั่วโมง

ใช้คำสั่งที่ใช้ในห้องเรียน ตัวอักษร เสียงตัวอักษร สระ การสะกดคำ การอ่านออกเสียง คำ กลุ่มคำ บทอ่าน พูดเข้าจังหวะ บทสนทนา ประโยค ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองคำ เลือกระบุภาพ ตรงความหมาย บท สนทนา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ประโยคบอกความต้องการเกี่ยวกับตนเองคำ คำสั่งที่ใช้ในห้องเรียน ข้อความที่ ใช้ในการพูดให้ข้อมูลความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว วัฒนธรรมเจ้าของภาษาแสดงกิริยา การขอบคุณ ขอโทษ การพูดแนะนำตนเอง การใช้ภ าษาในการฟัง พูด อ่านในสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นในห้องเรียนโดยใช้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลและมีทักษะทางสังคม มีวิถีของระบอบประชาธิปไตย ซื่อสัตย์ ใฝ่เรียนรู้ แสดงออกถึงความเป็นไทย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน ผลการเรียนรู้ ๑. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้องที่ฟัง ๒. บอกความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟังตรงตามความหมาย ตอบคำถามจากการฟังหรืออ่านประโยค บทสนทนาหรือนิทานง่ายๆ ๓. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง ใช้คำสั่งและคำขอร้องง่ายๆ ๔. บอกความต้องการง่ายๆ ของตนเอง พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเพื่อน บอกความรู้สึกของ ตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ใกล้ตัวหรือกิจกรรมต่างๆ ตามแบบที่ฟัง ๕. พูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว จัดหมวดหมู่คำตามประเภทของบุคคล สัตว์ และ สิ่งของตามที่ฟังหรืออ่าน ๖. พูดและทำท่าประกอบ ตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ๗. บอกชื่อและคำศัพท์ง่ายๆ เกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง และชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของ ภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย ๘. บอกความแตกต่างของเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ และประโยคง่ายๆ ของภาษาอังกฤษและภาษาไทย ๙. ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่ายๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน รวมทั้งหมด ๙ ผลการเรียนรู้ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีวินัย 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. ใฝ่เรียนรู้ 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. อยู่อย่างพอเพียง 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๙๖

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร อ ๑42๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เวลา 4๐ ชั่วโมง

ปฏิบัติตามคำสั่ง คำแนะนำ คำขอร้องที่ใช้ในห้องเรียน พูดเข้าจังหวะ บทสนทนา ประโยค ให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเองคำ เลือกระบุภาพ หรือสัญลักษณ์ตรงความหมาย ตอบคำถามจากการฟังและอ่าน บทสนทนา พูด เขียน ให้ข้อมูลโต้ตอบเกี่ยวกับตนเอง สื่อสารระหว่างบุคคล ประโยคบอกความต้องการเกี่ยวกับตนเอง คำสั่งที่ใช้ ในห้องเรียน ข้อความที่ใช้ในการพูด เขียน แสดงความต้องการของตนเอง ให้ข้อมูลความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง และ เรื่องใกล้ตัว วัฒนธรรมเจ้าของภาษาแสดงกิริยา การขอบคุณ ขอโทษ การพูดแนะนำตนเอง คำศัพท์เกี่ยวกับ เทศกาลเจ้าของภาษา กิจกรรมทางภาษา การร้องเพลง ศึกษา การใช้ภาษาในการฟัง พูดทำท่าประกอบอย่าง สุภาพ เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษา อ่าน พูด ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหา ความรู้ การสืบค้นข้อมูลและมีทักษะทางสังคม มีวิถีของระบอบประชาธิปไตย ซื่อสัตย์ ใฝ่เรียนรู้ แสดงออกถึง ความเป็นไทย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน ผลการเรียนรู้ ๑. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้องที่ฟัง ๒. อ่านออกเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยคง่ายๆ และ บทพูดเข้าจังหวะง่ายๆ ถูกต้องตามหลักการ อ่าน ๓. บอกความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟังตรงตามความหมาย ตอบคำถามจากการฟังหรืออ่านประโยค บทสนทนาหรือนิทานง่ายๆ ๔. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง ใช้คำสั่งและคำขอร้องง่ายๆ บอกความต้องการง่ายๆ ของตนเอง ๕. พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเพื่อน บอกความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ใกล้ตัวหรือ กิจกรรมต่างๆ ตามแบบที่ฟัง ๖. พูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว จัดหมวดหมู่คำตามประเภทของบุคคลสัตว์ และสิ่งของ ตามที่ฟังหรืออ่าน ๗. พูดและทำท่าประกอบ ตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา บอกชื่อและคำศัพท์ง่ายๆ เกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง และชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทาง ภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย ๘. บอกความแตกต่างของเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ และประโยคง่ายๆ ของภาษาภาษาอังกฤษและ ภาษาไทย ๙. ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่ายๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน รวมทั้งหมด ๙ ผลการเรียนรู้

๙๗

สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๙๘

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร อ ๑52๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เวลา 4๐ ชั่วโมง

ปฏิบัติตามคำสั่ง คำแนะนำ คำขอร้อง คำแนะนำง่ายๆ ที่ใช้ในห้องเรียน การสะกดคำ การอ่านออกเสียง บทสนทนา ประโยค ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองคำ เลือกระบุภาพ หรือสัญลักษณ์ตรงความหมายของประโยค ตอบ คำถามจากการฟังและอ่าน บทสนทนา นิทานง่ายๆ ประโยค พูด เขียนให้ข้อมูลโต้ต อบเกี่ยวกับตนเอง แสดง ความรู้สึก สื่อสารระหว่างบุคคล ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยา ประโยคบอกความต้องการเกี่ยวกับตนเองคำ คำสั่งที่ใช้ในห้องเรียน ข้อความที่ใช้ในการพูด เขียน แสดงความต้องการของตนเอง ให้ข้อมูลความรู้สึกเกี่ยวกับ ตนเอง และเรื่องใกล้ตัว บอกความเหมือน ความแตกต่าง ระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ แสดงความ คิดเห็นง่ายๆโดยใช้คำศัพท์เหมาะสมกับวัย การใช้ภาษาในการฟัง พูดทำท่าประกอบอย่างสุภาพ เข้าร่วม กิจกรรมทางภาษา อ่าน พูด ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การ สืบค้นข้อมูลและมีทักษะทางสังคม มีวิถีของระบอบประชาธิปไตย ซื่อสัตย์ ใฝ่เรียนรู้ แสดงออกถึงความเป็น ไทย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ผลการเรียนรู้ ๑. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้องที่ฟัง ๒. อ่านออกเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยคง่ายๆ และ บทพูดเข้าจังหวะง่ายๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน ๓. บอกความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟังตรงตามความหมาย ตอบคำถามจากการฟังหรืออ่านประโยคบท สนทนาหรือนิทานง่ายๆ ๔. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง ใช้คำสั่งและคำขอร้องง่ายๆ บอก ความต้องการง่ายๆ ของตนเอง ๕. พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเพื่อน ๖. บอกความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ใกล้ตัวหรือกิจกรรมต่างๆ ตามแบบที่ฟัง ๗. พูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัวจัดหมวดหมู่คำตามประเภทของบุคคลสัตว์ และสิ่งของตามที่ ฟังหรืออ่าน ๘. พูดและทำท่าประกอบ ตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ๙. บอกชื่อและคำศัพท์ง่ายๆ เกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง และชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย รวมทั้งหมด ๙ ผลการเรียนรู้

๙๙

สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๑๐๐

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร อ ๑62๐๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เวลา 4๐ ชั่วโมง

ปฏิบัติตามคำสั่ง คำแนะนำ คำขอร้อง คำแนะนำง่ายๆ ที่ใช้ในห้องเรียน การสะกดคำ การอ่านออกเสียง คำ กลุ่มคำ บทอ่าน บทกลอนสั้นๆ บทสนทนา ประโยคถูกต้องตามหลักการอ่าน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองคำ เลือกระบุภาพ หรือสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายตรงความหมายของประโยค ข้อความสั้นๆ ตอบคำถามจากการ ฟังและอ่าน บทสนทนา พูด เขียนให้ข้อมูลโต้ตอบเกี่ยวกับตนเอง แสดงความรู้สึก สื่อสารระหว่างบุคคล เขียน ภาพ แผนผัง และแผนภูมิ ตารางแสดงข้อมูลต่างๆ ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยา ประโยคบอ กความต้องการ เกี่ยวกับตนเองคำ คำสั่งที่ใช้ในห้องเรียน ข้อความที่ใช้ในการพูด เขียน แสดงความต้องการของตนเอง ให้ข้อมูล ความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว ใช้คำสั่ง คำขอร้อง และให้คำแนะนำ บอกความเหมือน ความแตกต่าง ระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ กิจกรรมทางภาษา การร้องเพลง การเล่านิทานประกอบท่าทาง พูด วาด ภาพแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ แสดงความคิดเห็นง่ายๆโดยใช้คำศัพท์เหมาะสมกับวัย การใช้ภาษาในการ ฟัง พูดทำท่าประกอบ และนำเสนอด้วยการพูด เขียนอย่างสุภาพ เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษา อ่าน พูด ใน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน และสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลและมี ทักษะทางสังคม มีวิถีของระบอบประชาธิปไตย ซื่อสัตย์ ใฝ่เรียนรู้ แสดงออกถึงความเป็นไทย เพื ่ อ ให้ เ กิ ด ความรู ้ ความเข้ า ใจ สามารถสื ่ อ สารสิ่ ง ที่ เ รี ย นรู ้ และ นำความรู ้ ไ ปใช้ป ระโยชน์ ใน ชีวิตประจำวัน ผลการเรียนรู้ ๑. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้องที่ฟัง ๒. อ่านออกเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยคง่ายๆ และ บทพูดเข้าจังหวะง่ายๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน ๓. บอกความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟังตรงตามความหมาย ตอบคำถามจากการฟังหรืออ่านระโยค บทสนทนาหรือนิทานง่ายๆ ๔. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง ใช้คำสั่งและคำขอร้องง่ายๆ บอกความต้องการง่ายๆ ของตนเอง ๕. พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเพื่อน ๖. พูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว จัดหมวดหมู่คำตามประเภทของบุคคล สัตว์ และ สิ่งของตามที่ฟังหรืออ่าน ๗. พูดและทำท่าประกอบ ตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ๘. บอกชื่อและคำศัพท์ง่ายๆ เกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง และชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของ ภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย ๙. ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่ายๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน รวม ๙ ผลการเรียนรู้

๑๐๑

สมรรถนะสำคัญ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร 2. มีสมรรถนะในการคิด 3. มีสมรรถนะในการแก้ปัญหา 4. มีสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต 5. มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ

๑๐๒

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๐๓

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนวันมหาราช (ผาณิตพิเชฐวงศ์๑) ได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จากประสบการณ์ตรง ได้ฝึกปฏิบัติจริงและค้นพบความถนัดของตนเอง สามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมตาม ความสนใจจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย บำเพ็ญประโยชน์เ พื่อสังคม มีทักษะในการดำเนินงาน ส่งเสริมให้มี วุฒิภาวะทางอารมณ์ สังคม ศีลธรรม จริยธรรม ให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง สามารถวางแผนชีวิตและอาชีพ ได้อย่างเหมาะสม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาการเรียนรู้อย่างรอบ ด้านเพื่อความเป็น มนุษย์ที่ ส มบูร ณ์ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีล ธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ปลูกฝังให้สร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม สามรถจักการตนเองได้และ อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมี ความสุข โรงเรียนบ้านฝาผนัง ได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๑. กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถ ตั ด สิ น ใจ คิ ด แก้ ป ั ญ หา กำหนดเป้ า หมาย วางแผนชี ว ิ ต ทั ้ ง ด้ า นการเรี ย น และอาชี พ สามารถปรั บ ตน ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่ว ยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษา แก่ผ ู้ป กครองในการมีส ่ว นร่ว มพัฒ นาผู้เรียน โดยนักเรียนทุก คนต้องเข้าร่ว มกิจกรรมแนะแนว ๔๐ ชั่ว โมง ต่อปีการศึกษา ๒. กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาระเบียบวินัย ความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน รู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วยเหลือ แบ่งปันเอื้ออาทรและ สมานฉันท์ โดยจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ให้ได้ปฏิบัติด้วยตนเอง ในทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผนประเมินและปรับปรุงการทำงานเน้นการ ทำงานรวมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษาและ ท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียน ประกอบด้วย กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี นักเรียนทุกคนต้องเข้าร่ วม กิจกรรม ลูกเสือ เนตรนารี ๓๐ ชั่วโมงต่อปีการศึกษา กิจกรรมชุมนุม นักเรียนทุกคนต้องเข้าร่ว มกิจกรรม ชมรม ๔๐ ชั่งโมงต่อปีการศึกษา ๓. กิจ กรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ส ่งเสริมให้ผ ู้เรียนบำเพ็ญตนให้เ ป็น ประโยชน์ต่อสังคม ชุมชนและท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดี งาม ความเสียสละการมีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่างๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม นักเรียนทุก คนต้องเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๑๐ ชั่วโมงต่อปีการศึกษา

๑๐๔

โครงสร้างและอัตราเวลาการจัดกิจกรรม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๑. กิจกรรมแนะแนว ๒. กิจกรรมนักเรียน ๒.๑ ลูกเสือ-เนตรนารี ๒.๒ กิจกรรมชุมนุม ๓. กิจกรรมเพื่อสังคม และสาธารณประโยชน์ เวลาเรียนรวม

ระดับประถมศึกษา ป.๓ ป.๔ ๔๐ ๔๐

ป.๑ ๔๐

ป.๒ ๔๐

๓๐ ๔๐ ๑๐

๓๐ ๔๐ ๑๐

๓๐ ๔๐ ๑๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

ป.๕ ๔๐

ป.๖ ๔๐

๓๐ ๔๐ ๑๐

๓๐ ๔๐ ๑๐

๓๐ ๔๐ ๑๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑. กิจกรรมแนะแนว วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อผู้เรียนค้นพบความถนัด ความสามารถ ความสนใจของตนเอง รักละเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ๒. เพื่อให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากข้อมูล ข่าวสาร แหล่งเรียนรู้ ทั้งด้านการศึกษา อาชีพส่วนตัว สังคม เพื่อนำไปใช้ในการวางแผน เลือกแนวทางการศึกษาอาชีพได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพ ของตนเอง ๓. เพือ่ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาบุคลิกภาพ และรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ๔. เพือ่ ให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ ในงานอาชีพและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ๕. เพื่อให้ผู้เรียนมีค่านิยมที่ดีงามในการดำเนินชีวิต สร้างเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมแก่นักเรียน ๖. เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ แนวการจัดกิจกรรม โรงเรียนวันมหาราช ( ผาณิตพิเชฐวงศ์๑ ) ได้จัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อช่วยเหลือ และพัฒนาผู้เรียน ดังนี้ ๑. จัดกิจกรรมเพื่อให้ครูได้รู้จักและช่วยเหลือผู้เรียนมากขึ้น โดยใช้กระบวนการทางจิตวิทยา การ จัดบริการสนเทศ โดยให้มีเอกสารเพื่อใช้ในการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ด้วยการสังเกต สัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การเขียนประวัติ การพบผู้ปกครองก่ อนและระหว่างเรี ย น การเยี่ยมบ้านนักเรียน การให้ความช่วยเหลือผู้เรียนเรื่องสุขภาพจิ ต เศรษฐกิจ การจัดทำระเบียน สะสม สมุดรายงานประจำตัวนักเรียน และบัตรสุขภาพ ๒. การจัดกิจกรรมพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ โดยทำแบบทดสอบเพื่อรู้จักและเข้าใจตนเอง มีทักษะ ในการตัดสินใจ การปรับตัว การวางแผนเพื่อเลือกศึกษาต่อ เลือกอาชีพ

๑๐๕

๓. การจัดบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนรายบุคคล และรายกลุ่ม ในด้านการศึกษา อาชีพ และส่วนตัว โดยมีผู้ให้คำปรึกษาที่มีคุณวุฒิ และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการให้คำปรึกษา ตลอดจนมีห้องให้ คำปรึกษาที่เหมาะสม ๓.๑ ช่วยเหลือผู้เรียนที่ประสบปัญหาด้านการเงิน โดยการให้ทุนการศึกษาแก่ผู้เรียน ๓.๒ ติดตามเก็บข้อมูลของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ๒. กิจกรรมนักเรียน ๒.๑ กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี ❖ กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ทุกคน ได้ฝึกอบรมวิชาลูกเสือ - เนตรนารี เพื่อส่งเสริม หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ส่งเสริมความสามัคคี มีวินัย และ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม โดยดำเนินการจัดกิจกรรมตามข้อกำหนดของคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ วัตถุประสงค์ พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๘ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม เพื่อพัฒนา ลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคม เพื่อให้เกิดความสามัคคี และความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เพื่อความสงบสุข และความมั่งคงของประเทศชาติตาม แนวทางดังต่อไปนี้ ๑. ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง ๒. ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ๓. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์ ๔. ให้รู้จักทำการฝีมือและฝึกฝนการทำกิจกรรมต่างๆ ตามความเหมาะสม ๕. ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม และความมั่งคงชองชาติ แนวการจัดกิจกรรม ❖ กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ เปิดประชุมกอง ดำเนินการตามกระบานการของลูกเสือ และจัดกิจกรรมให้ศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติกิจกรรมตามมาตรฐาน โดยเน้นระบบหมู่ สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม ปิดประชุมกอง โดยให้ผู้เรียนศึกษา และฝึกปฏิบัติดังนี้ ๑. เตรียมลูกเสือสำรอง นิยายเรื่อเมาคลี ประวัติการเริ่มกิจกรรมลู กเสือสำรอง การทำความ เคารพเป็นหมู่ (แกรนด์ฮาวล์) การทำความเคารพเป็นรายบุคคล การจับมือซ้าย ระเบียบแถว เบื้องต้น คำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือสำรอง

๑๐๖

๒. ลูกเสือสำรองดาวดวงที่ ๑ , ๒ และ ๓ อนามัย ความสามารถเชิงทักษะ การสำรวจ การ ค้นหาธรรมชาติ ความปลอดภัย บริการ ธง และประเทศต่างๆ การฝีมือ กิจกรรมกลางแจ้ง การบันเทิง การผูกเงื่อน คำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือสำรองโดยใช้กระบานการทำงาน กระบวนการแก้ ป ั ญ หา กระบวนการกลุ ่ ม กระบวนการจั ด การ กระบวนการคิ ด ริ เ ริ่ ม สร้างสรรค์ กระบวนการฝึกปฏิบัติ ทางลูกเสือ กระบวนการทางเทคโนโลยี และภูมิปัญญา ท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือ สามารถปฏิบัติตามคำ ปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือสำรอง มีนิส ัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และ พึ ่ ง ตนเอง ซื ่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต มี ร ะเบี ย บวิ น ั ย และเห็ น อกเห็ น ใจผู ้ อ ื ่ น บำเพ็ ญ ตนเพื่ อ สาธารณประโยชน์ รู้จักทำการฝีมือ พัฒนากาย จิตใจ และศีลธรรม ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องกับ ลัทธิทางการเมืองใดๆ สนใจและอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ❖ กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ เปิดประชุมกอง ดำเนินการตามกระบวนการของลูกเสือ และจัดกิจกรรมให้ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติกิจกรรมตามมาตรฐาน โดยเน้นระบบหมู่ สรุปการปฏิบัติกิจกรรม ปิดประชุมกอง โดยให้ผู้เรียนศึกษา และปฏิบัติในเรื่อง ๑. ลูกเสือตรี ความรู้เกี่ยวกับ ขบวนการลูกเสือ คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามัญ กิจกรรม กลางแจ้ง ระเบียบแถว ๒. ลูกเสือโท การรู้จักดูแลตนเอง การช่วยเหลือผู้อื่น การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ทักษะทางวิชา ลูกเสือ งานอดิเรกและเรื่อที่น่าสนใจ คำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือ ระเบียบแถว ๓. ลูกเสือเอก การพึ่งพาตนเอง การบริการ การผจญภัย วิชาการของลูกเสือ ระเบียบแถว โดยใช้ กระบวนการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหา ระบวนการกลุ่ม กระบวนการจัดการ กระบวนการ คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ กระบวนการฝึกปฏิบัติทางลูกเสือ กระบวนการทางเทคโนโลยี และภูมิ ปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือ สามารถปฏิบัติตาม คำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของ ลูกเสือสามัญ มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และ พึ่งตนเอง ซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น บำเพ็ญตนเพื่อสารธารณ ประโยชน์ รู้จักทำการฝีมือ พัฒนากาย จิตใจ และศีลธรรม ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิทาง การเมืองใดๆ สนใจและอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนำไปใช้ในชีวิตประจำวั นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ หมายเหตุ ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม และผ่านการทดสอบแล้ว จะได้รับเครื่องหมายลูกเสือตรี ลูกเสือโท และลูกเสือเอก

๑๐๗

๒.๒ กิจกรรมชุมนุม วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัด และความต้องการของตน ๒. เพื่อให้ผ ู ้เรีย นได้ พ ัฒ นาความรู้ ความสามารถด้า นการคิดวิเ คราะห์ สังเคราะห์ ให้เ กิ ด ประสบการณ์ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพตามศักยภาพ ๓. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ๔. เพื่อให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้ตามวิถีประชาธิปไตย แนวการจัดกิจกรรม การจัดกิจกรรมตามความสนใจ (ชุมนุม) ผู้เรียนสามารถเลือกเข้าเป็นสมาชิกชมรม วางแผนการดำเนิน กิจกรรมร่วมกัน โดยมีชมรมที่หลากหลาย เหมาะสมกับเพศ วัย และความสนใจของผู้เรียน ประกอบด้วยกิจกรรม ด้านคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมประชาธิปไตย ส่งเสริมการเรียนรู้ และค่าย วิชาการ การศึกษาดูงาน การฝึกปฏิบัติ การบรรยายพิเศษดังตัวอย่างพอสังเขปต่อไปนี้ ๑. กิจกรรมพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรมและจริยธรรม จัดสอนจริยธรรมในห้องเรียน จัดให้ มีการปฏิบัติกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญทั้งทางชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมทั้งในด้านวัฒนธรรม ประเพณี กีฬา และศีลปะ ๒. กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาสีทุกช่วงชั้น โดยผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงาน และการแก้ปัญหาทุกขั้นตอน ๓. กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการทำงาน จัดกิจกรรมวันวิชาการโดยผู้เรียนมีโอกาสปฏิบัติจริง และฝึก ทักษะการจัดการ ๔. กิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒ นธรรม โดยจัดกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมไทย เช่น ประเพณีไหว้ครู ประเพณีลอยกระทง ๕. กิจกรรมส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย จัดให้มีการเลือกคณะกรรมการนักเรียน โดย ให้นำกระบวนการประชาธิปไตยไปใช้ในการร่วมวางแผนดำเนินงานพัฒนาโรงเรียน ๖. กิจกรรมคนดีของสังคม จัดให้มีการบรรยายให้ความรู้ เพื่อป้องกันปัญหาโรคติดต่อร้ายแรง ปัญหายาเสพติด ปัญหาวัยรุ่น ให้ความรู้เพื่อปลูกฝังให้เป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ๗. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยจัดแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องสืบค้นทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ๘. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและอนามัย ให้บริการห้องพยาบาล มีบริการให้ความรู้แก่ผู้เรียน เพื่อ ป้องกันโรคระบาดอย่างทันเหตุการณ์

๑๐๘

๓. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และประเทศชาติ ๒. เพื่อให้ผู้เรียนออกแบบกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ตามความถนัด และความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร ๓. เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ได้อย่า งมี ประสิทธิภาพ ๔. เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์จนเกิดคุณธรรม จริยธรรมตาม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๕. เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แนวการจัดกิจกรรม การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้ เรียนได้ทำประโยชน์ตาม ความสามารถ ความถนัดและความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความ เสียสละต่อสังคม มีจิตใจมุ่งทำประโยชน์ต่อครอบครั ว ชุมชนและสังคมกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ กิจกรรมบำเพ็ญ ประโยชน์ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม กิจกรรมดำรงรักษา สืบสาน ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กิจกรรมพัฒนา นวัตกรรมและเทคโนโลยี เวลาเรี ย นสำหรั บ กิ จ กรรมเพื ่ อ สั ง คมและสาธารณประโยชน์ ใ นส่ ว นกิ จ กรรมเพื ่ อ สั ง คมและ สาธารณประโยชน์ จัดสรรเวลาให้ผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ รวม ๖ ปี จำนวน ๖๐ ชั่วโมง (เฉลี่ยปีละ ๑๐ ชั่วโมง ) การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ในระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ เป็นการจัดกิจกรรม ภายในเวลาเรียน โดยให้ผู้เรียนรายงานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมลงในสมุดบันทึก และมีผู้รับรองผลการเข้าร่วม กิจกรรมทุกครั้ง แนวทางการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนวันมหาราช ( ผาณิตพิเชฐวงศ์๑ ) กำหนดแนวทางในการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังนี้ ๑. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม มีแนวทางปฏิบัติดังนี้ ๑.๑ การตรวจสอบเวลาเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนตลอดปี การศึกษา ๑.๒ ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน / ชิ้นงานของผู้เรียน ผู้เรียน ต้องได้รับการประเมินทุกผลการเรียนรู้ และผ่านทุกผลการเรียนรู้ โดยแต่ละผลการเรียนรู้ผ่านไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ หรือมีคุณภาพในระดับ ๑ ขึ้นไป

๑๐๙

๑.๓ ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน / ชิ้นงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ ข้อ ๑.๑ และข้อ ๑.๒ ถือว่าผู้เรียนมีผลการเรียน “ผ” ผ่านการประเมินกิจกรรมและนำผลการประเมินไป บันทึกในระเบียนแสดงผลการเรียน ๑.๔ ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานไม่เป็นไปตาม เกณฑ์ ข้อ ๑.๑ และข้อ ๑.๒ ถือว่าผู้เรียนมีผลการเรียน “มผ” โรงเรียนต้องจัดซ่อมเสริมให้ผู้เรียนทำ กิจกรรมในส่วนที่ผู้เรียนไม่ได้เข้าร่วมหรือไม่ได้ทำจนครบถ้วน แล้วจึงเปลี่ยนผลการเรียนจาก “มผ” เป็น “ผ” และนำผลการประเมินไปบันทึกในระเบียนแสดงผลการเรียน ๒. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อการตัดสิน มีแนวปฏิบัติดังนี้ ๒.๑ กำหนดให้ผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้เรียน ทุกคนตลอดระดับการศึกษา ๒.๒ ผู้รับผิดชอบสรุปและตัดสินการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามเกณฑ์ ที่โรงเรียนกำหนด ผู้เรียนจะต้องผ่านกิจกรรม ๓ กิจกรรมสำคัญดังนี้ ๒.๒.๑ กิจกรรมแนะแนว ๒.๒.๒ กิจกรรมนักเรียน ได้แก่ ๑. กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ๒. กิจกรรมชุมนุม ๒.๒.๓ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๒.๓ การนำเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๒.๔ เสนอผู้บริหารโรงเรียนพิจารณาอนุมัติผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านเกณฑ์การจบ แต่ละระดับการศึกษา

๑๑๐

คำอธิบายรายวิชา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑๑๑

คำอธิบายรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที ๑ - ๖

กิจกรรมแนะแนว เวลา ๔๐ ชั่วโมง/ปี

รู้จักและเข้าใจตนเอง รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีเจตคติที่ดีต่อการมี ชีวิตที่ดีมีคุณภาพ มีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รู้จัก ตนเองในทุกด้าน รู้ความถนัด ความสนใจ และบุคลิกภาพของตนเอง รู้และเข้าใจโลกของงานอาชีพอย่าง หลากหลาย มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจรติ รู้ข้อมูลอาชีพ สามารถเลือกตนแนวทางในการประกอบอาชีพได้อย่าง เหมาะสม มีการเตรียมตัวสู่อาชีพ สามารถวางแผนเพื่อประกอบอาชีพตามที่ตนเองมีความถนัดและสนใจ มี คุณลักษณะพื้นฐานที่จ ำเป็นในการประกอบอาชีพและพัฒนางานให้ประสบความสำเร็จเพื่อสร้างฐานะทาง เศรษฐกิจให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ พัฒนาตนเองในด้านการเรียนอย่างเต็มศักยภาพ รู้จักแสวงหาความรู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนให้เป็นคนดีมีความรู้และ ทักษะทางวิช าการ รู้จ ักแสวงหาและใช้ข ้อ มูล ประกอบการวางแผนการเรียนหรื อการศึก ษาต่ อได้ อย่ า งมี ประสิทธิภาพ มีวิธีการเรียนรู้ มีทักษะการคิด แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ คิดเป็น ทำเป็น มีคุณธรรม จริยธรรม เอื้ออาทรและสมานฉันท์ เพื่อดำรงชีวิตอยู่รวมกันอย่างสงบสุขตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จัก เข้าใจ รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น เกิดการเรียนรู้สามารถวาง แผนการเรียนรู้ อาชีพ รวมทั้งการดำเนินชีวิตและมีทั กษะทางสังคม เกิดการเรียนรู้สามารถปรับตัวได้อย่าง เหมาะสม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข พึ่งตนเองได้มีทักษะในการเลือกแนวทางการศึกษา การงานและ อาชีพ ชีวิตและสังคม มีสุขภาพจิตที่ดีและจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการเรียนรู้ ๑. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จัก เข้าใจ รัก และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ๒. เพือ่ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถวางแผนการเรียน การศึกษาต่อ อาชีพ รวมทั้งการดำเนิน ชีวิต และมีทักษะทางสังคม ๓. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่าง เหมาะสม ๔. สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ รวม ๔ ผลการเรียนรู้

๑๑๒

คำอธิบายรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที ๑

กิจกรรมนักเรียน (เตรียมลูกเสือสำรองและลูกเสือสำรองดาวดวงที่ ๑) เวลา ๓๐ ชั่วโมง/ปี

เปิดประชุมกอง ดำเนิน การตามกระบวนการของลู กเสื อและจัด กิจ กรรมโดยให้ ศึก ษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ โดยเน้นระบบหมู่และปฏิบัติกิจกรรมตามคำปฏิญาณและกฎของ ลูกเสือสำรอง เรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริงใช้สัญลักษณ์สมาชิกลูกเสือสำรองที่มีความเป็นเอกลักษณ์ร่วมกัน ศึกษาธรรมชาติในชุมชนด้วยความสนใจ ใฝ่รู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม ปิดประชุมกอง ในเรื่องต่อไปนี้ ๑. เตรียมลูกเสือสำรอง นิยายเมาคลี ประวัติการเริ่มกิจการลูกเสือ การทำความเคารพหมู่ (แกรนด์ฮาวล์) การทำความเคารพเป็นรายบุคคล การจับมือซ้าย ระเบียบแถว เบื้องต้น คำปฏิญาณ กฎและ คติพจน์ของลูกเสือสำรอง ๒. ลูกเสือสำรองดาวดวงที่ ๑ อนามัย ความสามารถเชิงทักษะ การสำรวจ การค้นหาธรรมชาติ ความปลอดภัย บริการ ธงและประเทศต่าง ๆ การฝีมื อ กิจกรรมกลางแจ้ง การบันเทิง การผูกเงื่ อ น คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสำรอง เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือสำรองดาวดวงที่ ๑ สามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือสำรอง มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเอง มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ รู้จักทำการฝีมือและ ฝึกฝนทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม รักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรมและความมั่นคงของ ชาติ และสามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการเรียนรู้ ๑. มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งพาตนเองได้ ๒. มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ๓. บำเพ็ญตนเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๔. ทำการฝีมือและฝึกฝนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ๕. รักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและ ความมั่นคง ๖. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน ๗. สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ รวม ๗ ผลการเรียนรู้

๑๑๓

คำอธิบายรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที ๒

กิจกรรมนักเรียน (ลูกเสือสำรองดาวดวงที่ ๒) เวลา ๓๐ ชั่วโมง/ปี

เปิดประชุมกอง ดำเนินการตามกระบวนการของลูกเสือ และจัดกิจกรรมให้ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ โดยเน้นระบบหมู่ และปฏิบัติตามคำปฏิญาณ คติพจน์และกฎของลูกเสือ สำรอง ศึกษาเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริงใช้สัญลักษณ์สมาชิกลูกเสือสำรองที่มีความเป็นเอกลักษณ์ร่วมกัน ศึกษาธรรมชาติในชุมชนด้วยความสนใจใฝ่รู้ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง สรุปผลและปฏิบัติกิจกรรม ปิดประชุมกอง ในเรื่องต่อไปนี้ ลู ก เสื อ สำรองดาวดวงที่ ๒ นิ ย ายเมาคลี ประวั ต ิ ก ารเริ ่ม กิ จการลู ก เสือ การทำความเคารพหมู่ (แกรนฮาวล์) การทำความเคารพเป็นรายบุคคล การจับมือซ้าย ระเบียบแถว คำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของ ลูกเสือสำรอง อนามัย ความสามารถเชิงทักษะ การสำรวจ การค้นหาธรรมชาติการอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน ท้องถิ่น ความปลอดภัย บริการ การผูกเงื่อน ธง และประเทศต่าง ๆ การฝีมือที่ใช้วัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น กิ จ กรรมกลางแจ้ ง การบั น เทิ ง ที ่ ส ่ ง เสริ ม สุ ข ภาพกายสุ ข ภาพจิ ต และอนุ ร ั ก ษ์ ภ ู ม ิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ ่ น อนุ ร ั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมลดภาวะโลกร้อน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือสำรองดาวดวงที่ ๒ สามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎและคติพจน์ของลูกเสือสำรอง มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจ รู้จักบำเพ็ญเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ รู้จักทำการฝีมือและฝึกฝนทำ กิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม รักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของชาติ และสามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการเรียนรู้ 1. มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเองได้ 2. มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 3. บำเพ็ญตนเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ 4. ทำการฝีมือและฝึกฝนทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม 5. รักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความมั่นคงของชาติ 6. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงได้ รวม ๖ ผลการเรียนรู้

๑๑๔

คำอธิบายรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที ๓

กิจกรรมนักเรียน (ลูกเสือสำรองดาวดวงที่ ๓) เวลา ๓๐ ชั่วโมง/ปี

เปิดประชุมกอง ดำเนินการตามกระบวนการของลูกเสือ และจัดกิจกรรมให้ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ โดยเน้นระบบหมู่ และปฏิบัติตามคำปฏิญาณ คติพจน์และกฎของลูกเสือ สำรอง ศึกษาเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริงใช้สัญลักษณ์สมาชิกลูกเสือสำรองที่มีความเป็น เอกลักษณ์ร่วมกัน ศึกษาธรรมชาติในชุมชนด้วยความสนใจใฝ่รู้ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง สรุปผลและปฏิบัติกิจกรรม ปิดประชุมกอง ในเรื่องต่อไปนี้ ลูกเสือสำรองดาวดวงที่ ๓ นิย ายเมาคลี ประวัติการเริ่มกิจการลูกเสือ การทำความเคารพหมู่ (แกรนฮาวล์) การทำความเคารพเป็นรายบุคคล การจับมือซ้าย ระเบียบแถว คำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของ ลูกเสือสำรอง อนามัย ความสามารถเชิงทักษะ การสำรวจ การค้นหาธรรมชาติการอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน ท้องถิ่น ความปลอดภัย บริการ การผูกเงื่อน ธง และประเทศต่าง ๆ การฝีมือที่ใช้วัสดุเหลื อใช้ในท้องถิ่น กิ จ กรรมกลางแจ้ ง การบั น เทิ ง ที ่ ส ่ ง เสริ ม สุ ข ภาพกายสุ ข ภาพจิ ต และอนุ ร ั ก ษ์ ภ ู ม ิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ ่ น อนุ ร ั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมลดภาวะโลกร้อน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือสำรองดาวดวงที่ ๓ สามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎและ คติพจน์ของลูกเสือสำรอง มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจ รู้จักบำเพ็ญเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ รู้จักทำการฝีมือและฝึกฝนทำกิจกรรมต่า ง ๆ ตามความเหมาะสม รักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของชาติ และสามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการเรียนรู้ ๑. มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเองได้ ๒. มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ๓. บำเพ็ญตนเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๔. ทำการฝีมือและฝึกฝนทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ๕. รักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความมั่นคงของชาติ ๖. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงได้ รวม ๖ ผลการเรียนรู้

๑๑๕

คำอธิบายรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที ๔

กิจกรรมนักเรียน (ลูกเสือสามัญ (ลูกเสือตรี) ) เวลา ๓๐ ชั่วโมง/ปี

เปิดประชุมกอง ดำเนินการตามกระบวนการของลูกเสือ และจัดกิจกรรมโดยให้ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ โดยเน้นระบบหมู่ และปฏิบัติกิจกรรมตามคำปฏิญาณ คติพจน์ และกฎของ ลูกเสือสามัญ เรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง ใช้สัญลักษณ์สมาชิกลูกเสือสามัญที่มีความเป็นเอกลักษณ์ร่วมกัน ศึกษาธรรมชาติในชุมชนด้วยความสนใจ ใฝ่รู้และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลดภาวะโลกร้อนและประยุ กต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้เกี่ยวกับ กระบวนการลูกเสือ ประวัติของ Load Baden Powell พระราชประวัติสังเขปของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว วิวัฒนาการของกระบวนการ ลูกเสือไทยและลูกเสือโลก การทำความเคารพ การแสดงรหัส การ จับมือซ้าย กิจกรรมกลางแจ้ง ระเบียบแถวท่ามือเปล่า ท่ามือไม้พลวง การใช้สัญญามือและนกหวีด การตั้งแถว และการเรียนแถว เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือสามัญ สามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ ของลูกเสือสามัญ มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย และ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น บำเพ็ญตนเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ทำการฝีมือและฝึกฝนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตาม ความเหมาะสม ความถนัด และความสนใจ รั กษาและส่ ง เสริ มจารี ต ประเพณี วัฒ นธรรมและความมั ่ น คง ประโยชน์และสามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการเรียนรู้ 1. มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเองได้ 2. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบ วินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 3. บำเพ็ญตนเพื่อส่งเสริมและสาธารณะประโยชน์ 4. ทำการฝีมือและฝึกฝนทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความถนัดและความสนใจ 5. รักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความมั่นคงของชาติ 6. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน 7. สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวม ๗ ผลการเรียนรู้

๑๑๖

คำอธิบายรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที ๕

กิจกรรมนักเรียน ( กิจกรรมลูกเสือสามัญ (ลูกเสือโท) ) เวลา ๓๐ ชั่วโมง/ปี

เปิดประชุมกองดำเนิน การตามกระบวนการของลู กเสื อ และจัดกิจกรรมโดยให้ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ โดยเน้นระบบหมู่ และปฏิบัติกิจกรรมตามคำปฏิญาณ คติพจน์และ กฎของลูกเสือสามัญ เรียนรู้จากคิดและปฏิบัติจริง ใช้สัญลักษณ์สมาชิกลูกเสือสามัญที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ร่วมกัน ศึกษาธรรมชาติในชุมชนด้วยความสนใจ ใฝ่รู้ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลดภาวะโลกร้อนและการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ทักษะในทางวิชา ลูกเสือ การรู้จักดูแลตนเอง การช่วยเหลือผู้อื่น การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทำงานอดิเรก และเรื่องที่สนใจ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือสามัญ สามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ ของลูกเสือสามัญ มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น บำเพ็ญตนเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ทำการฝีมือและฝึกฝนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ความถนัด และความสนใจ รักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรมและความมั่นคง ประโยชน์และสามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการเรียนรู้ 1. มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเองได้ 2. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบ วินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 3. บำเพ็ญตนเพื่อส่งเสริมและสาธารณะประโยชน์ 4. ทำการฝีมือและฝึกฝนทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความถนัดและความสนใจ 5. รักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความมั่นคงของชาติ 6. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน 7. สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวม ๗ ผลการเรียนรู้

๑๑๗

คำอธิบายรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที ๖

กิจกรรมนักเรียน ( กิจกรรมลูกเสือสามัญ (ลูกเสือเอก) ) เวลา ๓๐ ชั่วโมง/ปี

เปิดประชุมกองดำเนินการตามกระบวนการของลูก เสือ และจัดกิจกรรมโดยให้ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ โดยเน้นระบบหมู่ และปฏิบัติตามคำปฏิญาณ คติพจน์ และกฎของลูกเสือ สามัญ วิชาการของลูกเสือ ระเบียบแถว การพึ่งตนเอง การผจญภัย การใช้สัญลักษณ์ สมาชิกลูกเสือสามัญ ที่ มีความเป็นเอกลักษณ์ร่วมกัน เรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง ศึกษาธรรมชาติ วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้วยความสนใจ ใฝ่รู้ และประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดภาวะโลกร้อน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือสามัญ สามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของ ลูกเสือสามัญ มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย และ เห็น อกเห็ น ใจผู้ อ ื่ น บำเพ็ญตนเพื ่ อสัง คมและสาธารณประโยชน์ ทำการฝีม ื อ และฝึ กฝนการทำกิ จ กรรม ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ความถนัด และความสนใจ รักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรมและความ มั่นคง ประโยชน์และสามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการเรียนรู้ 1. มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเองได้ 2. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบ วินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 3. บำเพ็ญตนเพื่อส่งเสริมและสาธารณะประโยชน์ 4. ทำการฝีมือและฝึกฝนทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความถนัดและความสนใจ 5. รักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความมั่นคงของชาติ 6. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน 7. สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวม ๗ ผลการเรียนรู้

๑๑๘

คำอธิบายรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที ๑ - ๖

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เวลา ๑๐ ชั่วโมง/ปี

ฝึกปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสมัครใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ฝึกการทำงานที่สอดคล้องกับชีวิตจริง ตลอดจนสะท้อนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ สำรวจและใช้ข้อมูลประกอบการวางแผนอย่างเป็นระบบ เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ และใช้ความคิดสร้างสรรค์ การบริการด้านต่าง ๆ ที่ เป็นประโยชน์ต่อตนเองและ ส่วนรวม เสริมสร้างความมีน้ำใจ เอื้ออาทร ความเป็นพลเมืองดีและความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและ สังคม คิดออกแบบกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในลักษณะอาสาสมัคร จิตอาสา เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมตามแนวทางวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง เพื่ อให้ผ ู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็น ประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ สามารถออกแบบการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ตามความถนัดและความสนใจ ในลักษณะอาสาสมัคร พัฒนาศักยภาพตนเองในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ได้อ ย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์จนเกิดคุณธรรม จริยธรรม ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีจิตสาธารณะและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และสามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ ผลการเรียนรู้ 1. บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ 2. ออกแบบการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ตามความถนัดและ ความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร 3. สามารถพัฒนาศักยภาพในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. ปฏิบัติกิจการเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์จนเกิดคุณธรรม จริยธรรมตามคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ 5. สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ รวม ๕ ผลการเรียนรู้

๑๑๙

คำอธิบายรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที ๑ - ๖

กิจกรรมนักเรียน (กิจกรรมชุมนุม) เวลา ๔๐ ชั่วโมง/ปี

ปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัด และความต้องการ เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านการ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เกิดประสบการณ์ทั้งด้านวิชาการ และพื้นฐานอาชีพ ทักษะชีวิตและสังคมตาม ศักยภาพอย่างรอบด้าน เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความสามารถในการสื่อสาร มีทักษะการคิด แก้ปัญหา ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี พัฒนาทักษะในการทำงานและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงานรักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัด และความต้องการของตน ได้พัฒนาความรู้ ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้เกิดประสบการณ์ทั้งทั กษะทางวิชาการ ทักษะอาชีพ ทักษะ ชีวิตและสังคมตามศักยภาพ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม คิดเป็น ทำได้ ทำงานร่วมกับ ผู้อื่นได้ตามวิถีประชาธิปไตย และประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเหมาะสม ผลการเรียนรู้ 1. ปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัดและความต้องการของตน 2. มีความรู้ ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เกิดประสบการณ์ ทั้งทางวิชาการและ วิชาชีพตามศักยภาพ 3. ใช้เวลาว่างให้เกดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม 4. มุ่งมั่นในการทำงานและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ตามวิถีประชาธิปไตย 5. ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเหมาะสม รวม ๕ ผลการเรียนรู้

๑๒๐

เกณฑ์การจบการศึกษา

๑๒๑

เกณฑ์การจบการศึกษา หลักสูตรโรงเรีย นวัน มหาราช (ผาณิตพิเขฐวงศ์ ๑) พุทธศักราช ๒๕๖๑ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๑) กำหนดเกณฑ์สำหรับการจบ การศึกษา ดังนี้ เกณฑ์การจบระดับประถมศึกษา ๑. ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐาน จำนวน ๘๔๐ ชั่วโมง และรายวิชาเพิ่มเติมจำนวน ๔๐ ชั่วโมง และมี ผลการประเมินรายวิชาพื้นฐานผ่านทุกรายวิชา ๒. ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป ๓. ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป ๔. ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและได้รับการตัดสินผลการเรียน “ผ่าน” ทุกกิจกรรม การจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน เป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เป็น เป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชน ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามเป้าหมายหลักสูตร ผู้สอนพยายามคัดสรร กระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้โดยช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งปลูกฝัง เสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาทักษะต่างๆ อันเป็นสมรรถนะสำคัญให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย ๑. หลักการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนมี ความสำคัญที่ส ุด เชื่อว่าทุกคนมี ความสามารถเรี ยนรู้ และพัฒ นาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิด กั บผู้ เ รี ยน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมองเน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ และคุณธรรม ๒. กระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะต้อ งอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็น เครื ่ อ งมื อ ที ่ จ ะนำพาตนเองไปสู ่ เ ป้า หมายของหลั ก สู ต ร กระบวนการเรี ย นรู ้ท ี ่ จ ำเป็ นสำหรั บ ผู ้ เรี ยน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการ เผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย กระบวนการเหล่านี้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝน พัฒนา เพราะจะ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ดังนั้น ผู้สอน จึงจำเป็นต้องศึกษาทำความ เข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๑๒๒

๓. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึก ษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของ ผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แล้วจึงพิจารณาออกแบบการ จัดการเรียนรู้โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เ รียนได้ พัฒนาเต็มตามศักยภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ๔. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร ทั้งผู้สอนและผู้เรียนควรมีบทบาท ดังนี้ ๔.๑ บทบาทของผู้สอน ๑) ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ ท้าทายความสามารถของผู้เรียน ๒) กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้และทักษะกระบวนการ ที่เป็น ความคิดรวบยอด หลักการ และความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๓) ออกแบบการเรี ย นรู ้แ ละจัด การเรีย นรู้ ท ี่ ต อบสนองความแตกต่า งระหว่า งบุ ค คลและ พัฒนาการทางสมอง เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย ๔) จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ ๕) จั ด เตรี ย มและเลื อ กใช้ ส ื ่ อ ให้ เ หมาะสมกั บ กิ จ กรรม นำภู ม ิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ ่ น เทคโนโลยี ทีเ่ หมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ๖) ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา และระดับการพัฒนาการของผู้เรียน ๗) วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งปรับปรุงการจัดการ เรียนการสอนของตนเอง ๔.๒ บทบาทของผู้เรียน ๑) กำหนดเป้าหมาย วางแผน และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง ๒) เสาะแสวงหาความรู้ เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อความรู้ ตั้งคำถาม คิดหา คำตอบหรือหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ ๓) ลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ๔) มีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มและครู ๕) ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง สื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุนการจัดการกระบวนการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะตามมาตรฐานของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อการเรียนรู้มีหลากหลาย

๑๒๓

ประเภท ทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และเครือข่าย การเรียนรู้ต่างๆ ที่มีในท้องถิ่น การเลือกใช้สื่อ ควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการ และลีลาการเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน การจัดหาสื่อการเรียนรู้ ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาขึ้นเอง หรือปรับปรุงเลือกใช้อย่างมี คุณภาพจากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวเพื่อนำมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมและสื่อสารให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยสถานศึกษาควรจัดให้มีอย่างพอเพียง เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรดำเนินการดังนี้ ๑. จั ด ให้ ม ี แ หล่ ง การเรี ย นรู้ ศู น ย์ ส ื ่ อ การเรี ย นรู้ ระบบสารสนเทศการเรี ย นรู ้ และเครื อ ข่ า ย การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน เพื่อการศึกษาค้นคว้าและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้ ระหว่างสถานศึกษา ท้องถิ่น ชุมชน สังคมโลก ๒. จัดทำและจัดหาสื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน เสริมความรู้ให้ผู้สอน รวมทั้งจัดหา สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ ๓. เลือกและใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีความเหมาะสม มีความหลากหลาย สอดคล้อง กับวิธีการ เรียนรู้ ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ๔. ประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ที่เลือกใช้อย่างเป็นระบบ ๕. ศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ๖. จั ด ให้ ม ี ก ารกำกั บ ติ ด ตาม ประเมิ น คุ ณ ภาพและประสิ ท ธิ ภ าพเกี ่ ย วกั บ สื ่ อ และการใช้ สื่ อ การเรียนรู้เป็นระยะๆ และสม่ำเสมอ ในการจัดทำ การเลือกใช้ และการประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในสถานศึกษา ควรคำนึงถึงหลักการ สำคัญของสื่อการเรียนรู้ เช่น ความสอดคล้องกับหลักสูตร วัตถุประสงค์การเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมการ เรียนรู้ การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน เนื้อหามีความถูกต้องและทันสมัย ไม่กระทบความมั่นคงของชาติ ไม่ขัดต่อ ศีลธรรม มีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เข้าใจง่าย และน่าสนใจ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการ คือ การประเมินเพื่อ พัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะ สำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุก ระดับ ไม่ว ่าจะเป็น ระดับ ชั้น เรีย น ระดับ สถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ การวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศ ที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน ตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด การพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับ เขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ มีรายละเอียด ดังนี้

๑๒๔

๑. การประเมินระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอน ดำเนินการเป็นปกติและสม่ำเสมอ ในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลาย เช่น การ ซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ ภาระงาน แฟ้มสะสมงาน การ ใช้แบบทดสอบ ฯลฯ โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินเองหรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วมประเมิน ในกรณีที่ไม่ผ่านตัวชี้วัดให้มีการสอนซ่อมเสริม การประเมินระดับชั้นเรียนเป็นการตรวจสอบว่า ผู้ เรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้ อัน เป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนา ปรับปรุงและส่งเสริมในด้านใด นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้ผู้สอนใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วย ทั้งนี้โดย สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ๒. การประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสินผล การเรียนของ ผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ และ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นอกจากนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา ว่าส่งผลต่อการ เรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ ผู้เรียนมีจุดพัฒนาในด้านใด รวมทั้งสามารถนำผลการเรียนของผู้เรียนใน สถานศึกษาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติ ผลการประเมินระดับสถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อ การปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร โครงการ หรือวิธีการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเพื่อการจัดทำแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษาของสถานศึ กษา ตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึก ษาและการรายงานผลการจั ด การศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชน ๓. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ตามภาระความรับผิดชอบ สามารถดำเนินการโดยประเมินคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วยข้อสอบมาตรฐานที่จัดทำและดำเนินการโดยเขตพื้นที่การศึกษา หรือด้วยความร่วมมือ กับหน่วยงานต้นสังกัด ในการดำเนินการจัดสอบ นอกจากนี้ยังได้จากการตรวจสอบทบทวนข้อมูลจากการประเมิน ระดับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ๔. การประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียน ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เข้ารับการประเมิน ผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษา ในระดับต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุนการ ตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศ ข้อมูลการประเมินในระดับต่างๆ ข้างต้น เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาในการตรวจสอบทบทวนพัฒนา คุณภาพผู้เรียน ถือเป็นภาระความรับผิดชอบของสถานศึกษาที่จะต้องจัดระบบดูแลช่วยเหลือ ปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพบนพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคลที่จำแนกตาม สภาพปัญหาและความต้องการ ได้แก่ กลุ่มผู้เรียนทั่วไป กลุ่ มผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ กลุ่มผู้เรียนที่มี

๑๒๕

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ กลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาด้านวินัยและพฤติกรรม กลุ่มผู้เรียนที่ปฏิเสธโรงเรียน กลุ่ม ผู้เรียนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มพิการทางร่างกายและสติปัญญา เป็นต้น ข้อมูลจากการประเมิน จึงเป็นหัวใจของสถานศึกษาในการดำเนินการช่วยเหลือผู้เรียนได้ทันท่วงที เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนา และประสบความสำเร็จในการเรียน สถานศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษา จะต้องจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการ เรียนของสถานศึกษาให้ส อดคล้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เป็นข้อกำหนดของหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกัน เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน ๑. การตัดสิน การให้ระดับและการรายงานผลการเรียน ๑.๑ การตัดสินผลการเรียน ในการตัดสินผลการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้น ผู้สอนต้องคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนเป็นหลัก และต้องเก็บ ข้อมูลของผู้เรียนทุกด้านอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในแต่ละภาคเรียน รวมทั้งสอนซ่อมเสริมผู้เรียนให้พัฒนาจนเต็ม ตามศักยภาพ ระดับประถมศึกษา (๑) ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด (๒) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด (๓) ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา (๔) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ใน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การพิจารณาเลื่อนชั้น ถ้าผู้เรียนมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย และสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่า สามารถพัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้ ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษาที่จะผ่อนผันให้เลื่อนชั้นได้ แต่หากผู้เรียนไม่ ผ่านรายวิชาจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น สถานศึกษา อาจตั้ง คณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นได้ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ ๑.๒ การให้ระดับผลการเรียน ระดับประถมศึกษา ในการตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชา สถานศึกษาสามารถให้ระดับผล การเรียนหรือระดับคุณภาพการปฏิบัติของผู้เรียน เป็นระบบตัวเลข ระบบตัวอักษร ระบบร้อยละ และระบบที่ใช้ คำสำคัญสะท้อนมาตรฐาน การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลัก ษณะอันพึงประสงค์นั้น ให้ระดับผล การ ประเมินเป็น ดีเยี่ยม ดี และผ่าน การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรม และผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นผ่าน และไม่ผ่าน

๑๒๖

๑.๓ การรายงานผลการเรียน การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและผู้เรียนทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ของผู้เรียน ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและจัดทำเอกสารรายงานให้ ผู้ปกครองทราบเป็นระยะๆ หรือ อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง การรายงานผลการเรียนสามารถรายงานเป็นระดับคุณภาพการปฏิบัติของผู้เรียนที่สะท้อนมาตรฐาน การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๒. เกณฑ์การจบการศึกษา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน กำหนดเกณฑ์กลางสำหรับการจบการศึกษาเป็น ๑ ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ๒.๑ เกณฑ์การจบระดับประถมศึกษา (๑) ผู้เรีย นเรีย นรายวิช าพื้นฐาน และรายวิช า/กิจกรรมเพิ่ม เติม ตามโครงสร้ างเวลาเรี ย น ที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด (๒) ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินรายวิชาพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึก ษา กำหนด (๓) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากำหนด (๔) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตาม ที่สถานศึกษากำหนด (๕) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจ กรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิ นตาม ที่สถานศึกษากำหนด สำหรับการจบการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น การศึกษาเฉพาะทาง การศึกษา สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ การศึกษาทางเลือก การศึกษาสำหรับผู้ ด้อยโอกาส การศึกษาตามอัธยาศัย ให้ คณะกรรมการของสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ตาม หลักเกณฑ์ในแนวปฏิบัติการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เอกสารหลักฐานการศึกษา เอกสารหลักฐานการศึกษา เป็นเอกสารสำคัญที่บันทึกผลการเรียน ข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ พัฒนาการของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ ๑. เอกสารหลักฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ๑.๑ ระเบียนแสดงผลการเรียน เป็นเอกสารแสดงผลการเรียนและรับรองผลการเรียนของ ผู้เรียนตามรายวิชา ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ สถานศึกษา และผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาจะต้องบันทึกข้อมูลและออกเอกสารนี้ให้ ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖)

๑๒๗

๑.๓ แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา เป็นเอกสารอนุมัติการจบหลักสูตรโดยบันทึกรายชื่อและ ข้อมูลของผู้จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖) ๒. เอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกพัฒนาการ ผลการเรียนรู้ และข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับผู้เรียน เช่น แบบรายงานประจำตัวนักเรียน แบบบันทึกผลการเรียนประจำรายวิชา ระเบียนสะสม ใบรับรองผลการเรียน และ เอกสารอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ของการนำเอกสารไปใช้ การเทียบโอนผลการเรียน สถานศึกษาสามารถเทียบโอนผลการเรียนของผู้เรียนในกรณีต่างๆ ได้แก่ การย้ายสถานศึกษา การเปลี่ยน รูปแบบการศึกษา การย้ายหลักสูตร การออกกลางคันและขอกลับเข้ารับการศึกษาต่อ การศึกษาจากต่างประเทศ และขอเข้าศึกษาต่อในประเทศ นอกจากนี้ ยังสามารถเทียบโอนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้ อื่นๆ เช่น สถานประกอบการ สถาบันศาสนา สถาบันการฝึกอบรมอาชีพ การจัดการศึกษาโดยครอบครัว การเที ย บโอนผลการเรี ย นควรดำเนิ น การในช่ ว งก่ อ นเปิ ด ภาคเรี ย นแรก หรื อ ต้ น ภาคเรี ย นแรก ที่สถานศึกษารับผู้ขอเทียบโอนเป็นผู้เรียน ทั้งนี้ ผู้เรียนที่ได้รับการเทียบโอนผลการเรียนต้องศึกษาต่อเนื่องใน สถานศึกษาที่รับเทียบโอนอย่างน้อย ๑ ภาคเรียน โดยสถานศึกษาที่รับผู้เรียนจากการเทียบโอนควรกำหนด รายวิชา/ จำนวนหน่วยกิต ที่จะรับเทียบโอนตามความเหมาะสม การพิจารณาการเทียบโอน สามารถดำเนินการได้ ดังนี้ ๑. พิจารณาจากหลักฐานการศึกษา และเอกสารอื่นๆ ที่ให้ข้อมูลแสดงความรู้ ความสามารถของผู้เรียน ๒. พิจารณาจากความรู้ ความสามารถของผู้เรียนโดยการทดสอบด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งภาคความรู้และ ภาคปฏิบัติ ๓. พิจารณาจากความสามารถและการปฏิบัติในสภาพจริง ทั้งนีก้ ารเทียบโอนผลการเรียนให้เป็นไปตาม ประกาศ หรือ แนวปฏิบัติ ของกระทรวงศึกษาธิการ

๑๒๘

การบริหารจัดการหลักสูตร ในระบบการศึกษาที่มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรนั้น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น จนถึงระดับสถานศึกษา มีบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริม การใช้และพัฒนาหลักสู ตรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษามี ประสิทธิภาพ สูงสุด อันจะส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดอื่น ๆ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทใน การขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา เป็นตัวกลางที่จะเชื่อมโยงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ กำหนดในระดับชาติให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่ การจัดทำหลักสูตรของ สถานศึกษา ส่งเสริมการใช้และพัฒนาหลักสูตรในระดับสถานศึกษา ให้ประสบความสำเร็จ โดยมีภารกิจสำคัญ คือ กำหนดเป้าหมายและจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในระดับท้องถิ่นโดยพิจารณาให้สอดคล้องกับสิ่งที่ เป็นความต้องการในระดับชาติ พัฒนาสาระ การเรียนรู้ท้องถิ่น ประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับท้ องถิ่น รวมทั้งเพิ่มพูนคุณภาพการใช้หลักสูตรด้วยการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากร สนับสนุน ส่งเสริม ติดตามผล ประเมินผล วิเคราะห์ และรายงานผลคุณภาพของผู้เรียน สถานศึกษามีหน้าที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การวางแผนและดำเนินการใช้หลักสูตร การเพิ่มพูนคุณภาพการใช้หลักสูตรด้วยการวิจัยและพัฒนา การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรจัดทำระเบียบการวัด และประเมินผล ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาต้องพิจารณาให้สอดคล้อง กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน และรายละเอียดที่เขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงาน สังกัดอื่นๆ ในระดับท้องถิ่นได้จัดทำเพิ่มเติม รวมทั้ง สถานศึกษาสามารถเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความ ต้องการของผู้เรียน โดยทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

๑๒๙

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

๑๓๐

คำสั่งโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) ที่ ............. / ๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ เพื่อให้การบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้อง กับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ หมวด ๔ มาตรา ๒๗ ที่กำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการ ประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพของปัญหาในชุมชน และสังคม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ และสอดคล้อง กับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงขอแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการโรงเรียนมหาราช (ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑) ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ดังนี้ ๑. นางวีราภรณ์ แสงประทุม

ผู้อำนวยการโรงเรียนวันมหาราช

ประธานกรรมการ

๒. นางสาวขวัญฤดี บุญล้อม

หัวหน้าการเรียนรู้ปฐมวัย

กรรมการ

๓. นางกมลลักษณ์ พุ่มดียิ่ง

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

กรรมการ

และหัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๔. นายอเนก แสวงทอง

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

กรรมการ

และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา ๕. นายเจษฎา ชื่นบุญมา

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ

กรรมการ

๖. นางสาวณัฐกานต์ สงภักดี

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

กรรมการ

๗. นางสาวพิมพ์กมล ศุภมงคล

ครูพิเศษ

กรรมการ

๘. นางอารียรักษ์ โหล่ตระกูล

หัวหน้างานวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

๑๐. นางสาวณัฐพัฒน์ เอี่ยมรักษา

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพฯ

กรรมการและ เลขานุการ กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ

๑๓๑

หน้าที่ ๑. วางแผนการดำเนินงานวิชาการ กำหนดสาระรายละเอียดของหลักสูตรระดับสถานศึกษาและ แนว ทางการจัดสัดส่วนสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ๒. จัดทำคู่มือการบริหารหลักสูตร และงานวิชาการของสถานศึกษา นิเทศ กำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและการแนะแนวให้สอดคล้องและ เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๓. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวน การเรียนรู้ การวัด และประเมินผลและการแนะแนวให้เป็นไปตามจุดหมายและแนวทางการดำเนินการของหลักสูตร ๔. ประสานความร่วมมือจากบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ และชุมชน เพื่อให้การใช้หลักสูตรเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ ๕. ประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการใช้หลักสูตรแก่นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องและนำ ข้อมูลป้อนกลับจากฝ่ายต่าง ๆ มาพิจารณาเพื่อปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ๖. ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ ๗. ติดตามผลการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล ระดับชั้น และช่วงชั้น ระดับวิชา กลุ่มวิชา ในแต่ละปี การศึกษา เพื่อปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษา ๘. ตรวจสอบทบทวน ประเมิ น มาตรฐาน การปฏิ บ ั ต ิ ง านของครู และการบริ ห ารหลัก สู ตรระดั บ สถานศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา แล้ว ใช้ผลการประเมิน เพื่อวางแผนพัฒนาการปฏิบัติงานของครูและการบริหาร หลักสูตรปีการศึกษาต่อไป ๙. รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา โดยเน้นผลการพัฒนาคุณภาพ นักเรีย นต่อคณะกรรมการสถานศึ ก ษาขั้น พื้ นฐาน คณะกรรมการบริห ารหลักสู ตรระดั บเหนือสถานศึ ก ษา สาธารณชน และผู้เกี่ยวข้อง ๑๐. ให้ดำเนินการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยภาคเรียนละ ๒ ครั้ง ทั้งนี้ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๓๐ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ (ลงชื่อ) (นางวีราภรณ์ แสงประทุม) ผู้อำนวยการโรงเรียนวันมหาราช(ผาณิตพิเชฐวงศ์ ๑)

๑๓๒

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.