การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไตรมาสที่ 2 พ.ศ.2565 Flipbook PDF

การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไตรมาสที่ 2: เมษายน - มิถุนายน 2565

32 downloads 122 Views 12MB Size

Story Transcript

ISSN 1685-1811 การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไตรมาสที่ 2 : เมษายน - มิถุนายน 2565 สำนักงานสถิติจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไตรมาสที่ 2 : เมษายน - มิถุนายน 2565 สำนักงานสถิติจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


หน่วยงานเจ้าของเรื่อง สำนักงานสถิติจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาคารสำนักงานส่วนราชการ ชั้น 3 ถ.ดอนนก ต.มะขามเตี้ย อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 0 7727 2580 โทรสาร 0 7728 3044 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : [email protected] หน่วยงานที่เผยแพร่ สำนักงานสถิติจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาคารสำนักงานส่วนราชการ ชั้น 3 ถ.ดอนนก ต.มะขามเตี้ย อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 0 7727 2580 โทรสาร 0 7728 3044 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : [email protected] ปีที่จัดพิมพ์ 2565 จัดพิมพ์โดย สำนักงานสถิติจังหวัดสุราษฏร์ธานี ii


คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอสรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาสที่ 2 : เมษายน – มิถุนายน พ.ศ.2565เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะการทำงาน การว่างงาน การทำงานในแต่ละอาชีพ สาขาอุตสาหกรรม สถานภาพการทำงาน ชั่วโมงการทำงาน ระดับการศึกษาที่สำเร็จ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญ สามารถบอกถึงความอยู่ดีมีสุขของคนในสังคม สภาวะเศรษฐกิจ และทิศทางการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้ดำเนินการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเป็นประจำทุกเดือน และได้นำเสนอผลการสำรวจเป็นรายไตรมาส เพื่อผู้ใช้ข้อมูลจะได้ติดตามสถานการณ์ด้านแรงงานอย่างต่อเนื่อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถนำข้อมูลไปวางแผนกำหนดนโยบายต่าง ๆ ในการส่งเสริม การจ้างงานในกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ของจังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ถูกทิศทาง สำนักงานสถิติจังหวัดสุราษฎร์ธานีหวังว่า รายงานฉบับนี้จะมีประโยชน์แก่ผู้สนใจทั่วไป สำนักงานสถิติจังหวัดสุราษฎร์ธานี iii


idfdIIV iv สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการสำรวจ ภาวะการทำงานของประชากร หรือสำรวจแรงงานอย่าง ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี 2506 โดยในช่วงแรก สำรวจปีละ 2 รอบ รอบแรกเป็นการสำรวจนอกฤดู การเกษตร รอบที่ 2 เป็นฤดูการเกษตร ต่อมาในปี 2527 ถึง 2540 สำรวจปีละ 3 รอบ โดยเพิ่มการสำรวจช่วง เดือนพฤษภาคม เพื่อดูแรงงานที่จบการศึกษาใหม่เข้าสู่ ตลาดแรงงงาน และในปี 2541 เพิ่มการสำรวจขึ้นอีก 1 รอบ เป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตร ทำให้ เป็นการสำรวจครบทั้ง 4 ไตรมาสของปี ต่อมาในปี 2544 ได้ปรับปรุงการสำรวจเป็นรายเดือน ทั้งนี้เพื่อให้ สามารถติดตามภาวะการทำงานของประชากรได้อย่าง ใกล้ชิด และสามารถเสนอผลการสำรวจระดับจังหวัด เป็นรายไตรมาส ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไป สำหรับผู้ที่ ต้องการใช้ข้อมูลเป็นรายเดือน สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ ที่สำนักงานสถิติจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากผลการสำรวจใน ไตรม าสที่ 2 เดือน เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2565 พบว่า จำนวนประชากร อายุ 15 ปีขึ้นไป 931,024คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 646,333 คน และผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 284,691 คน 1. โครงสร้างของกำลังแรงงาน สำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน ซึ่งแยกได้ เป็น 3 กลุ่ม คือ 1.1 ผู้มีงานทำ มีประมาณ 637,645 คน เพิ่มขึ้น จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว 15,719 คน 1.2 ผู้ว่างงาน มีประมาณ 8,688 คน เพิ่มขึ้น จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว 1,199 คน 1.3 ผู้รอฤดูกาล ไม่พบในการสำรวจนี้ 2. ภาวะการมีงานทำของประชากร 2.1 อุตสาหกรรม สำหรับภาวะการทำงานในไตรมาสที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน พ .ศ. 2565 สรุปได้ว่า จากจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 637,645 คน เป็นผู้ทำงาน ในภาคการเกษตร 311,888 คน และนอกภาคเกษตรกรรม จำนวน 325,758 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ทำงานในสาขาการ ขายส่ง/ขายปลีกมากที่สุด คือ 111,526 คน รองลงมาเป็น สาขากิจกรรมโรงแรม และอาหาร 52,606 คน สาขาการผลิต 51,790 คน สาขาก่อสร้าง 23,484 คน สาขาการบริหาร ราชการและการป้องกันประเทศ 19,321 คน นอกนั้นเป็น สาขาอื่น ๆ 67,031คน (ได้แก่กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ การขนส่ง การศึกษา งานด้านสุขภาพ เป็นต้น) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร แผนผังการจำแนกประชากรผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ไตรมาสที่ 2 เดือน เมษายน – มิถุนายน พ.ศ. 2565 ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 931,024 คน ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 284,691 คน ทำงานบ้าน 95,126 คน ผู้ว่างงาน 8,688 คน เรียนหนังสือ 89,972 คน ผู้มีงานทำ 637,645 คน ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 646,333 ล คน อื่นๆ 99,593 คน แผนภูมิ1 ร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามภาคเกษตรและเพศ ผู้รอฤดูกาล - คน


v 2.2 สถานภาพการทำงาน จากการสำรวจสถานภาพการทำงาน พบว่า ผู้มีงาน ท ำส่วน ให ญ่ ท ำงาน เป็ น ลู กจ้างเอกช น ร้อยละ 36.5 รองลงมา คือ ทำงานส่วนตัว ร้อยละ 34.9 ช่วยธุรกิจครัวเรือน ร้อยละ 16.8 เป็นลูกจ้างรัฐบาล ร้อยละ 7.0 และเป็นนายจ้าง ร้อยละ 4.8 3. ภาวะการว่างงานของประชากร เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานของประชากร ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีทุกไตรมาสที่ 2 พบว่า อัตราการว่างงาน ในปี 2564 มีอัตราการว่างงานน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 0.9 เพิ่มขึ้นในปี 2564 เป็นร้อยละ 1.2 และเพิ่มขึ้นในปี 2565 เป็นร้อยละ 1.3 เมื่อพิจารณาตามเพศ พบว่า อัตราการ ว่างงานเพศชาย จากร้อยละ 0.8 ในปี2563 ลดลงเป็น ร้อยละ 0.5 ในปี 2564 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.0 ในปี 2565 ส่วนเพศหญิง จากร้อยละ 1.0 ในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 2.1 ในปี 2564 และลดลงเป็นร้อยละ 1.8 ปี2565 ตามลำดับ แผนภูมิที่ 2 ร้อยละของผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม จำแนกตามอุตสาหกรรม แผนภูมิที่ 3 ร้อยละของผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม จำแนกตามสถานภาพการทำงาน แผนภูมิที่ 4 เปรียบเทียบอัตราการว่างงานไตรมาสที่ 2 จำแนกตามเพศ และ ปี 2563 - 2565


สารบัญ หน้า คำนำ iii บทสรุปสำหรับผู้บริหาร iv สารบัญแผนภูมิ vii สารบัญตาราง viii บทที่ 1 บทนำ 1. ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ 1 2. คุ้มรวม 2 3. สัปดาห์แห่งการสำรวจ 2 4. คำอธิบายศัพท์ แนวคิด คำจำกัดความ 2 บทที่ 2 สรุปผลการสำรวจ 1. ลักษณะของกำลังแรงงาน 6 2. การมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน 7 3. ผู้มีงานทำ 8 3.1 อาชีพ 8 3.2 อุตสาหกรรม 9 3.3 สถานภาพการทำงาน 11 3.4 ชั่วโมงการทำงาน 12 4. การว่างงาน 13 4.1 ลักษณะการว่างงาน 13 5. เปรียบเทียบสถานภาพแรงงาน ไตรมาสที่2 พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 14 ภาคผนวก ภาคผนวก ก ระเบียบวิธี 17 ภาคผนวก ข ตารางสถิติ 18 ภาคผนวก ค ตารางสถิติเปรียบเทียบรายไตรมาส ปี พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 28


สารบัญแผนภูมิ หน้า แผนภูมิ 1 ร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ 7 แผนภูมิ 2 ร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามภาคเกษตรกรรม และเพศ 10 แผนภูมิ 3 ร้อยละของผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม จำแนกตามอุตสาหกรรม 10 แผนภูมิ 4 จำนวนของผู้มีงานทำ จำแนกตามสภาพการทำงาน 11 แผนภูมิ 5 ร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ 12 แผนภูมิ 6 เปรียบเทียบอัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 2จำแนกตามปี พ.ศ. และเพศ 13 vii


สารบัญตาราง หน้า ตาราง ก จำนวนและร้อยละของผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามสถานภาพแรงงาน และเพศ 6 ตาราง ข จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ และเพศ 7 ตาราง ค จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอาชีพ และเพศ 8 ตาราง ง จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอุตสาหกรรม และเพศ 9 ตาราง จ จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามสภาพการทำงาน และเพศ 11 ตาราง ฉ จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์และเพศ 12 ตาราง ช จำนวนและอัตราการว่างงาน จำแนกตามเพศ 13 ตาราง ซ จำนวนและร้อยละของผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามสภาพแรงงาน ไตรมาสที่2 พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 14 viii


บทที่ 1 บทนำ 1. ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจ ภาวะการทำงานของประชากรทั่วประเทศอย่าง ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 โดยในช่วงแรกทำการสำรวจปีละ 2 รอบ และใน พ.ศ. 2527 ถึง พ.ศ. 2540 ได้ทำการสำรวจปีละ 3 รอบ โดยรอบที่ 1 ทำการสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงหน้าแล้งนอกฤดูการเกษตร รอบที่ 2 สำรวจ ในเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่กำลังแรงงานใหม่ที่ เพิ่งสำเร็จการศึกษาเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน รอบที่ 3 สำรวจในเดือนสิงหาคม เป็นช่วงฤดูการเกษตร และ ต่อมาใน พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา ได้เพิ่มการสำรวจ อีก 1 รอบ รวมเป็น 4 รอบ โดยทำการสำรวจใน เดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูการเก็บ เกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ทั้งนี้เพื่อเป็นการ นำเสนอข้อมูลที่สะท้อนถึงภาวะการมีงานทำ การว่างงานและการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของประชากรทั้งประเทศเป็นรายไตรมาสและ ต่อเนื่องครบทุกช่วงเวลาของปี เนื่องจากความจำเป็นต้องการใช้ข้อมูล เพื่อใช้ ในการวางแผนและกำหนดนโยบายในระดับจังหวัด มีมากขึ้น สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้กำหนดขนาด ตัวอย่างเพิ่มขึ้นโดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ทั้งนี้เพื่อให้ สามารถนำเสนอข้อมูลในระดับจังหวัดได้ โดยเสนอ เฉพาะรอบการสำรวจของเดือนกุมภาพันธ์และ เดือนสิงหาคมเท่านั้น การสำรวจรอบที่ 4 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ซึ่งจัดทำเป็นครั้งแรก ได้เสนอผลในระดับจังหวัดด้วยและตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ผลการสำรวจทั้ง 4 รอบได้เสนอผล ในระดับจังหวัด หลังจากเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจกลาง ปี 2540 ความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนและ กำหนดนโยบายด้านแรงงานมีมากขึ้นและเร่งด่วนขึ้น ในปี พ.ศ. 2544 จึงได้เริ่มดำเนินการสำรวจเป็น รายเดือนแล้วนำข้อมูล 3 เดือนรวมกันเพื่อเสนอ ข้อมูลเป็นรายไตรมาส โดยข้อมูลที่สำคัญสามารถ นำเสนอในระดับจังหวัด สำหรับข้อมูลของเดือน ที่ตรงกับรอบการสำรวจเดิม คือข้อมูลเดือน กุมภาพันธ์ พฤษภาคม และ สิงหาคม ได้จัดทำ สรุปผลการสำรวจเฉพาะข้อมูลที่สำคัญเพื่อสามารถ เปรียบเทียบกับข้อมูลแต่ละรอบของปีที่ผ่านมาได้ และการสำรวจตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2544 เป็นต้นมา สามารถนำเสนอผลของการสำรวจเป็น รายเดือนทุกเดือนโดยสามารถเสนอผลในระดับภาค เท่านั้นเนื่องจากตัวอย่างไม่มากพอที่จะนำเสนอใน ระดับย่อยกว่านี้ และในขณะเดียวกันได้มีการปรับ อายุผู้อยู่ในกำลังแรงงานจาก 13 ปีขึ้นไปเป็น 15 ปี ขึ้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการใช้แรงงาน เด็ก ปรับปรุงการจัดจำแนกประเภทของอาชีพ อุตสาหกรรมและสถานภาพการทำงานให้สอดคล้อง กับมาตรฐานสากลในปัจจุบันเพื่อให้สามารถ เปรียบเทียบข้อมูลกันได้ ปรับเขตการปกครอง จากเดิมเขตสุขาภิบาลถูกนำเสนอรวมเป็นนอกเขต เทศบาล มารวมเป็นในเขตเทศบาล เนื่องจาก พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล เป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการสำรวจภาวะ การทำงานของประชากรเพื่อประมาณจำนวนและ ลักษณะของกำลังแรงงานภายในประเทศและ ในจังหวัดต่าง ๆ ในแต่ละไตรมาสของข้อมูลสถิติที่ได้ จากการสำรวจ 1. จำนวนประชากรในวัยทำงาน (อายุ 15 ปี ขึ้นไป) และจำนวนประชากรนอกวัยทำงานจำแนก ตามเพศ 2. จำนวนประชากรในวัยทำงาน จำแนก ตามสถานภาพแรงงาน อายุ เพศ สถานภาพสมรส การศึกษาที่สำเร็จ 3. จำนวนผู้มีงานทำ จำแนกตามลักษณะที่ น่าสนใจ เช่น อายุ เพศ การศึกษาที่สำเร็จ อาชีพ อุตสาหกรรม สถานภาพการทำงาน ชั่วโมงทำงาน ค่าจ้าง เงินเดือน และผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ได้รับจาก การทำงาน


2 4. จำนวนผู้ว่างงาน จำแนกตามลักษณะ บางประการที่น่าสนใจ เช่น ระยะเวลาในการหางานทำ งานที่ทำครั้งสุดท้าย สาเหตุการว่างงาน เป็นต้น 2. คุ้มรวม ประชากรที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนส่วนบุคคล และครัวเรือนกลุ่มบุคคลประเภทคนงาน 3. สัปดาห์แห่งการสำรวจ หมายถึง ระยะเวลา 7 วัน นับจากวันก่อน วันสัมภาษณ์ย้อนหลังไป 7 วัน เช่น วันสัมภาษณ์คือ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 “ระหว่าง 7 วันก่อน วันสัมภาษณ์” คือ ระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 4. คำอธิบายศัพท์/แนวคิด/คำจำกัดความ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ปรับปรุงแนวคิด และคำนิยามที่ใช้ในการสำรวจภาวะการทำงานของ ประชากรหลายครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงทางสังคมและเศรษฐกิจ ของประเทศตลอดจนความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล และสอดคล้องกับมาตรฐานสากลขององค์การ แรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กับองค์การ สหประชาชาติ (UN) แนวคิดและคำนิยามที่ใช้ในการ สำรวจไตรมาสนี้ ได้เริ่มใช้มาตั้งแต่รอบที่ 1 พ.ศ. 2526 มีการปรับปรุงบ้างตามลำดับ และตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2544ได้กำหนดอายุขั้นต่ำของประชากรวัยทำงาน เป็น 15 ปี คำนิยามที่สำคัญ ๆ ที่ใช้ในการสำรวจ มีดังนี้ ผู้มีงานทำ ผู้มีงานทำ หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีลักษณะอย่างหนึ่ง อย่างใด ดังต่อไปนี้ 1. ได้ทำงานตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป โดยได้รับ ค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร เงินปันผลค่าตอบแทนที่มี ลักษณะอย่างอื่นสำหรับผลงานที่ทำ เป็นเงินสด หรือสิ่งของ 2. ไม่ได้ทำงาน หรือทำงานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง แต่เป็นบุคคลที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (ซึ่งจะถือว่าเป็น ผู้ที่ปกติมีงานประจำ) 2.1 ยังได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ หรือผลกำไรจากงานหรือธุรกิจใน ระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน 2.2 ไม่ได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง หรือ ผลประโยชน์อื่น ๆ หรือผลกำไรจากงานหรือธุรกิจใน ระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน แต่ยังมีงานหรือธุรกิจที่จะ กลับไปทำ 3. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับ ค่าจ้างในวิสาหกิจหรือไร่นาเกษตรของหัวหน้า ครัวเรือนหรือของสมาชิกในครัวเรือน ผู้ว่างงาน ผู้ว่างงาน หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป และในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีลักษณะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 1. ไม ่ ได ้ ทำงานและไม่ ม ี งานประจำ แต่ได้หางาน สมัครงานหรือรอการบรรจุ ในระหว่าง 30 วันก่อนวันสัมภาษณ์ 2. ไม่ได้ทำงานและไม่มีงานประจำ และ ไม่ได้หางานทำในระหว่าง 30 วันก่อนวันสัมภาษณ์ แต่พร้อมที่จะทำงานในสัปดาห์แห่งการสำรวจ กำลังแรงงานปัจจุบัน กำลังแรงงานปัจจุบัน หมายถึง บุคคลที่ มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีงาน ทำหรือว่างงาน ตามคำนิยามที่ได้ระบุข้างต้น กำลังแรงงานที่รอฤดูกาล กำลังแรงงานที่รอฤดูกาล หมายถึง บุคคลที่ มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ในสัปดาห์แห่งการสำรวจเป็นผู้ไม่ เข้าข่ายคำนิยามของผู้มีงานทำ หรือผู้ว่างงาน แต่เป็นผู้รอฤดูกาลที่เหมาะสมเพื่อที่จะทำงาน และ เป็นบุคคลที่ตามปกติจะทำงานที่ไม่ได้รับสิ่งตอบแทน ในไร่นาเกษตร หรือธุรกิจซึ่งทำกิจกรรมตามฤดูกาล โดยมีหัวหน้าครัวเรือน หรือสมาชิกคนอื่น ๆ ใน ครัวเรือนเป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ กำลังแรงงานรวม กำลังแรงงานรวม หมายถึง บุคคลทุกคนที่ มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ในสัปดาห์แห่งการสำรวจเป็นผู้อยู่ ในกำลังแรงงานปัจจุบัน หรือเป็นผู้ถูกจัดจำแนกอยู่


3 ในประเภทกำลังแรงงานที่รอฤดูกาลตามคำนิยามที่ ได้ระบุข้างต้น ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน หมายถึง บุคคลที่ ไม่เข้าข่ายคำนิยามของผู้อยู่ในกำลังแรงงานใน สัปดาห์แห่งการสำรวจ คือ บุคคลซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจ มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่ได้ทำงาน และไม่พร้อมที่จะทำงาน เนื่องจากเป็นผู้ที่ 1. ทำงานบ้าน 2. เรียนหนังสือ 3. ยังเด็กเกินไป หรือชรามาก 4. ไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากพิการทาง ร่างกายหรือจิตใจ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง 5. ไม่สมัครใจทำงาน 6. ทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ผลกำไร ส่วน แบ่ง หรือสิ่งตอบแทนอื่น ๆ ให้แก่บุคคลซึ่งมิได้ เป็นสมาชิกในครัวเรือนเดียวกัน 7. ทำงานให้แก่องค์การ หรือสถาบันการ กุศลต่างๆ โดยไม่ได้รับค่าจ้างผลกำไรส่วนแบ่งหรือ สิ่งตอบแทนอย่างใด 8. ไม่พร้อมที่จะทำงาน เนื่องจากเหตุผลอื่น ทำงาน หมายถึง กิจการที่ทำที่มีลักษณะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 1. กิจการที่ทำแล้วได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน หรือสิ่งของ ค่าตอบแทนที่เป็นเงิน อาจจ่ายเป็น รายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือรายชิ้น 2. กิจการที่ทำแล้วได้ผลกำไร หรือหวังที่จะ ได้รับผลกำไร หรือส่วนแบ่งเป็นการตอบแทน 3. กิจการที่ทำให้กับธุรกิจของสมาชิกใน ครัวเรือน โดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือผลกำไรตอบแทน อย่างใด ซึ่งสมาชิกในครัวเรือนที่ประกอบธุรกิจนั้น จะมีสถานภาพการทำงาน เป็นประกอบธุรกิจ ส่วนตัว หรือนายจ้าง อาชีพ อาชีพ หมายถึง ประเภทหรือชนิดของงาน ที่บุคคลนั้นทำอยู่ บุคคลส่วนมากมีอาชีพเดียว สำหรับบุคคลที่ในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีอาชีพ มากกว่า 1 อาชีพ ให้นับอาชีพที่มีชั่วโมงทำงานมาก ที่สุด ถ้าชั่วโมงทำงานแต่ละอาชีพเท่ากัน ให้นับ อาชีพที่มีรายได้มากกว่า ถ้าชั่วโมงทำงานและรายได้ ที่ได้รับจากแต่ละอาชีพเท่ากัน ให้นับอาชีพที่ผู้ตอบ สัมภาษณ์พอใจมากที่สุด ถ้าผู้ตอบสัมภาษณ์ตอบ ไม่ได้ให้นับอาชีพที่ได้ทำมานานที่สุด การจัดจำแนก ประเภทอาชีพ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2554 ปรับใช้ตาม International Standard Classificationof Occupation, 2008 (ISCO – 08) ขององค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ (ILO) ก่อน พ.ศ. 2553 การจัดประเภทอาชีพ จำแนกตามความเหมาะสมกับลักษณะอาชีพของ ประเทศไทย โดยอ้างอิง International Standard Classification of Occupation, 1988 (ISCO – 88) อุตสาหกรรม อุตสาหกรรม หมายถึง ประเภทของกิจกรรม ทางเศรษฐกิจที่ได้ดำเนินการโดยสถานประกอบการ ที่บุคคลนั้นกำลังทำงานอยู่ หรือประเภทของธุรกิจ ซึ่งบุคคลนั้นได้ดำเนินการอยู่ในสัปดาห์แห่ง การสำรวจ ถ้าบุคคลหนึ่งมีอาชีพมากกว่าหนึ่งอย่าง ให้บันทึกอุตสาหกรรมตามอาชีพที่บันทึกไว้ การจัด จำแนกประเภทอุตสาหกรรม ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ . ศ. 2554 ป ร ั บ ใช้ ต า ม Thailand Standard Industrial Classification, (TSIC 2009) ก่อน พ.ศ. 2553 การจัดประเภทอุตสาหกรรม จำแนกตามความเหมาะสมกับลักษณะอุตสาหกรรม ของประเทศไทย โดยอ้างอิง International Standard Industrial Classification of All Economic Activities, (ISIC : 1989) สถานภาพการทำงาน สถานภาพการทำงาน หมายถึง สถานะของ บุคคลที่ทำงานในสถานที่ที่ทำงานหรือธุรกิจ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 1. นายจ้าง หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจของ ตนเอง เพื่อหวังผลกำไรหรือส่วนแบ่ง และได้จ้าง บุคคลอื่นมาทำงานในธุรกิจในฐานะลูกจ้าง 2. ประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจของตนเองโดยลำพังผู้เดียว หรืออาจมีบุคคลอื่นมาร่วมกิจการด้วย เพื่อหวังผล กำไรหรือส่วนแบ่ง และไม่ได้จ้างลูกจ้าง แต่อาจมี สมาชิกในครัวเรือนหรือผู้ฝึกงาน มาช่วยทำงาน


4 โดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นสำหรับ งานที่ทำ 3. ช่วยธุรกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับ ค่าจ้าง หมายถึง ผู้ที่ช่วยทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ในไร่นาเกษตร หรือในธุรกิจของสมาชิกในครัวเรือน 4. ลูกจ้าง หมายถึง ผู้ที่ทำงานโดยได้รับ ค่าจ้างเป็นรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน รายชิ้น หรือเหมาจ่าย ค่าตอบแทนที่ได้รับจากการทำงาน อาจจะเป็นเงินหรือสิ่งของ ลูกจ้างแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 4.1 ลูกจ้างรัฐบาล หมายถึง ข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานองค์การบริหารส่วน จังหวัด ตลอดจนลูกจ้างประจำและชั่วคราวของ รัฐบาล 4.2 ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ หมายถึง ผู้ที่ ทำงานให้กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 4.3 ลูกจ้างเอกชน หมายถึง ผู้ที่ทำงาน ให้กับเอกชน หรือธุรกิจของเอกชน รวมทั้งผู้ที่รับจ้าง ทำงานบ้าน 5. การรวมกลุ่ม หมายถึง กลุ่มคนที่มา ร่วมกันทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพึ่งตนเอง และ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สมาชิกแต่ละคนมีความ เท่าเทียมกันในการกำหนดการทำงานทุกขั้นตอน ไม่ว่าเป็นการลงทุน การขาย งานอื่นๆของกิจการที่ทำ ตลอดจนการแบ่งรายได้ให้แก่สมาชิกตามที่ตกลงกัน (การรวมกลุ่มดังกล่าวอาจจดทะเบียนจัดตั้งในรูปของ สหกรณ์หรือไม่ก็ได้) การจัดจำแนกประเภทสถานภาพการทำงาน ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2544 ใช้ตาม International Classification of Status in Employment, 1993 (ICSE – 93) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีสถานภาพการทำงานเพิ่มขึ้นอีก 1 กลุ่ม คือ การรวมกลุ่ม (Member of Producers’ Cooperative) ชั่วโมงทำงาน ชั่วโมงทำงาน หมายถึง จำนวนชั่วโมงทำงาน จริงทั้งหมด ในสัปดาห์แห่งการสำรวจ สำหรับบุคคล ที่มีอาชีพมากกว่าหนึ่งอาชีพ ชั่วโมงทำงาน หมายถึง ยอดรวมของชั่วโมงทำงานทุกอาชีพ สำหรับผู้ที่มีงาน ประจำซึ่งไม่ได้ทำงานในสัปดาห์แห่งการสำรวจ ให้บันทึกจำนวนชั่วโมงเป็น 0 ชั่วโมง การสำรวจก่อนปี พ.ศ. 2544 ผู้ที่มีงานประจำ ซึ่งไม่ได้ทำงานในสัปดาห์แห่งการสำรวจ ให้นับ จำนวนชั่วโมงทำงานปกติต่อสัปดาห์เป็นชั่วโมง ทำงาน รายได้ของลูกจ้าง รายได้ของลูกจ้าง หมายถึง รายได้ของผู้ที่ มีสถานภาพการทำงานเป็นลูกจ้าง ที่ได้รับมาจากการ ทำงานของอาชีพที่ทำในสัปดาห์แห่งการสำรวจ ซึ่ง ประกอบด้วยค่าจ้างและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ สำหรับลูกจ้าง ระยะเวลาของการหางานทำ ระยะเวลาของการหางานทำ หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้ว่างงานได้ออกหางานทำ ให้นับตั้งแต่ วันที่เริ่มหางานทำจนถึงวันสุดท้ายก่อนวันสัมภาษณ์ คาบการแจงนับ คาบการแจงนับ หมายถึง ระยะเวลาที่ พนักงานออกไปสัมภาษณ์บุคคลในครัวเรือนตัวอย่าง ซึ่งโดยปกติเป็นวันที่ 1 - 12 ของทุกเดือน ประเภทของครัวเรือนที่อยู่ในขอบข่ายการสำรวจ ครัวเรือนที่อยู่ในขอบข่ายการสำรวจแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ 1. ครัวเรือนส่วนบุคคล ประกอบด้วย ครัวเรือนหนึ่งคน คือ บุคคลเดียวซึ่งหุงหาอาหารและ จัดหาสิ่งอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพ โดยไม่เกี่ยวกับผู้ใด ซึ่งอาจพำนักอยู่ในเคหสถาน เดียวกัน หรือครัวเรือนที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ร่วมกันจัดหา และใช้สิ่งอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่ การครองชีพร่วมกัน ครัวเรือนส่วนบุคคลอาจอาศัย อยู่ในเคหะที่เป็นเรือนไม้ ตึกแถว ห้องแถว ห้องชุด เรือแพ เป็นต้น 2. ครัวเรือนกลุ่มบุคคล 2.1 ประเภทคนงาน ได้แก่ ครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วย บุคคลหลายคนอยู่กินร่วมกันในที่อยู่ แห่งหนึ่ง เช่น ที่พักคนงาน เป็นต้น


5 2.2 ประเภทสถาบัน ซึ่งหมายถึง บุคคลหลายคนอยู่ร่วมกันในสถานที่อยู่แห่งหนึ่ง เช่น สถานที่กักกัน วัด กรมทหาร โดยไม่แยกที่อยู่เป็น สัดส่วนเฉพาะคนหรือเฉพาะครัวเรือน นักเรียนที่อยู่ ประจำที่โรงเรียนหรือในหอพักนักเรียน เป็นต้น ไม่อยู่ในคุ้มรวมของการสำรวจนี้ ระดับการศึกษาที่สำเร็จ ได้จำแนกการศึกษาตามระดับการศึกษาที่ สำเร็จ ดังนี้ 1. ไม่มีการศึกษา หมายถึง บุคคลที่ไม่เคย เข้าศึกษาในโรงเรียน หรือไม่เคยได้รับการศึกษา 2. ต่ำกว่าประถมศึกษา หมายถึง บุคคลที่ สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถมปีที่ 6 หรือ ชั้นประถมปีที่ 7 หรือชั้น ม.3 เดิม 3. สำเร็จประถมศึกษา หมายถึง บุคคลที่ สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 6 หรือ ชั้นประถมปีที่ 7 หรือชั้น ม.3 เดิมขึ้นไป แต่ไม่สำเร็จ ระดับการศึกษาที่สูงกว่า 4. สำเร็จมัธยมศึกษาตอนต้น หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้น ม.3 ม.ศ.3 หรือ ม.6 เดิมขึ้นไป แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า 5. สำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลาย 5.1 สายสามัญ หมายถึง บุคคลที่ สำเร็จการศึกษาประเภทสามัญศึกษาตั้งแต่ชั้น ม.6 ม.ศ.5 หรือ ม.8 เดิมขึ้นไป แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่ สูงกว่า 5.2 อาชีวศึกษา หมายถึง บุคคลที่ สำเร็จการศึกษาประเภทอาชีวศึกษาหรือวิชาชีพ ที่เรียนต่อจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือ เทียบเท่า โดยมีหลักสูตรไม่เกิน 3 ปี และไม่สำเร็จ ระดับการศึกษาที่สูงกว่า 5.3 วิชาการศึกษา หมายถึง บุคคลที่ สำเร็จการศึกษาประเภทวิชาการศึกษา (การฝึกหัด ครู) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ขึ้นไป แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า 6. อุดมศึกษา 6.1 สายวิชาการ หมายถึง บุคคลที่ สำเร็จการศึกษาประเภทสามัญศึกษ าห รือ สายวิชาการ โดยได้รับวุฒิบัตรระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี โท เอก 6.2 สายวิชาชีพ หมายถึง บุคคลที่ สำเร็จการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา หรือ สายวิชาชีพที่ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบเท่าอนุปริญญา ปริญญาตรี 6.3 สายวิชาการศึกษา หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาประเภทวิชาการศึกษา และ ได้รับประกาศนียบัตรระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี 7. อาชีวศึกษาระยะสั้น หมายถึง บุคคลที่ สำเร็จการศึกษาหรือการฝึกอบรมประเภท อาชีวศึกษาที่มีหลักสูตรไม่เกิน 1 ปี และได้รับ ประกาศนียบัตรหรือใบรับรองเมื่อสำเร็จการศึกษา พื้นความรู้ของผู้เข้าเรียนได้กำหนดให้แตกต่างตาม วิชาเฉพาะแต่ละอย่างที่เรียน แต่อย่างต่ำต้องจบ ประถมปีที่ 4 หรือเทียบเท่า 8. อื่น ๆ หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษา ที่ไม่สามารถเทียบชั้นได้


บทที่ 2 สรุปผลการสำรวจ 1. ลักษณะของกำลังแรงงาน ผลการสำรวจภ าวะการ ทำงา น ข อ ง ประชากรของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไตรมาสที่ 2 ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2565 ซึ่งพบว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 931,024 คน ซึ่งอยู่ในกำลังแรงงานรวม 646,333 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 69.4 ของผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นชาย จำนวน 352,609 คน คิดเป็นร้อยละ 54.6 เป็นหญิง จำนวน 293,724 คน คิดเป็นร้อยละ 45.4 และผู้รอฤดูกาลไม่พบในการสำรวจครั้งนี้ โดยกำลังแรงงานปัจจุบัน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ 637,645คน คิดเป็นร้อยละ 68.5 ผู้ว่างงาน จำนวน 8,688คน อัตราการว่างงานหญิงและชาย คิดเป็น ร้อยละ 1.8 และ 1.0 ตามลำดับ ส่วนผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 248,691 คน คิดเป็นร้อยละ 30.6 ของประชากรที่มี อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งประกอบด้วยทำงานบ้าน จำนวน 95,126 คน คิดเป็นร้อยละ 10.2 เรียนหนังสือ จำนวน 89,972 คน คิดเป็นร้อยละ 9.7 และอื่น ๆ จำนวน 99,593คน คิดเป็นร้อยละ 10.7ของประชากร ที่มีอายุ15 ปีขึ้นไป ตาราง ก จำนวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามสถานภาพแรงงานและเพศ สถานภาพแรงงาน รวม ชาย หญิง จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ยอดรวม 931,024 100.0 447,949 100.0 483,075 100.0 1. ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 646,333 69.4 352,609 78.7 293,724 60.8 1.1 กำลังแรงงานปัจจุบัน 646,333 69.4 352,609 78.7 293,724 60.8 1.1.1 ผู้มีงานทำ 637,645 68.5 349,154 77.9 288,492 59.7 1.1.2 ผู้ว่างงาน 8,688 0.9 3,455 0.8 5,233 1.1 1.2 ผู้ที่รอฤดูกาล - - - - - - 2. ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 284,691 30.6 95,340 21.3 189,351 39.2 2.1 ทำงานบ้าน 95,126 10.2 1,540 0.3 93,586 19.4 2.2 เรียนหนังสือ 89,972 9.7 43,383 9.7 46,589 9.6 2.3 อื่นๆ 99,593 10.7 50,418 11.3 49,176 10.2 อัตราการว่างงาน 1.3 1.0 1.8 หมายเหตุ : อัตราการว่างงาน = ผู้ว่างงาน x 100 ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน


7 2. การมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน เมื่อพิจารณาอัตราการมีส่วนร่วมในกำลัง แรงงาน จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ผู้ที่อยู่ใน กำลังแรงงานส่วนใหญ่ จบการศึกษาในระดับ ประถมศึกษามีประมาณ 216,328 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 23.2 รองลงมา คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวน 191,070 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 20.5 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจำนวน 164,694 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 17.7 ระดับมหาวิทยาลัย มีจำนวน 161,146 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 17.3 ระดับต่ำกว่าประถมศึกษา มีจำนวน 127,411 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 13.7 ส่วนระดับการศึกษาที่อยู่ใน กำลังแรงงานน้อยที่สุด คือ ผู้ที่ไม่มีการศึกษาจำนวน 56,863 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 6.1 ของผู้มีงานทำ ทั้งสิ้น ตาราง ข จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ และเพศ ระดับการศึกษาที่สำเร็จ รวม ชาย หญิง จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ยอดรวม 931,024 100.0 447,949 100.00 483,075 100.0 1. ไม่มีการศึกษา 56,863 6.1 25,134 5.6 31,729 6.6 2. ต่ำกว่าประถมศึกษา 127,411 13.7 49,746 11.1 77,665 16.1 3. ประถมศึกษา 216,328 23.2 119,462 26.7 96,836 20.0 4. มัธยมศึกษาตอนต้น 191,070 20.5 97,025 21.7 94,045 19.5 5. มัธยมศึกษาตอนปลาย 164,694 17.7 85,822 19.1 78,874 16.3 5.1 สายสามัญ 128,559 13.8 68,142 15.2 60,418 12.5 5.2 สายอาชีวศึกษา 35,627 3.8 17,680 3.9 17,948 3.7 5.3 สายวิชาการศึกษา 508 0.1 - - 508 0.1 6. มหาวิทยาลัย 161,146 17.3 64,221 14.3 96,924 20.1 6.1 สายวิชาการ 108,586 11.7 41,272 9.2 67,313 13.9 6.2 สายวิชาชีพ 32,429 3.5 15,334 3.4 17,096 3.6 6.3 สายวิชาการศึกษา 20,131 1.2 7,615 1.7 12,515 2.6 7. อื่นๆ - - - - - - 8. ไม่ทราบ 13,512 1.5 6,509 1.5 7,003 1.4 6.1 13.7 23.2 20.5 17.7 17.3 1.5 0.0 5.0 10.0 15.0 20.0 25.0 แผนภูมิ 1 ร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ


8 3. ผู้มีงานทำ 3.1 อาชีพ ประชากรของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีงานทำ จำนวน 637,645 คนนั้น พบว่า เป็นชายประมาณ 349,154 คน และหญิงประมาณ 288,492 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ 54.8 และ 45.2 ของจำนวนผู้มีงานทำ ตามลำดับ สำหรับอาชีพของผู้มีงานทำ จากผลการสำรวจ ปรากฏว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้าน การเกษตรและการประมง จำนวน 295,427คน หรือคิดเป็นร้อยละ 46.3 ของผู้มีงานทำ โดยชาย มีสัดส่วนสูงกว่าหญิง คือ ชาย ร้อยละ 51.0 และ หญิงร้อยละ 40.7 รองลงมา คือ พนักงานบริการและ พนักงานในร้านค้าและตลาด ซึ่งมีประมาณ 118,766 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 18.6 โดยหญิง มีสัดส่วนสูงกว่าชายอย่างชัดเจน (หญิง ร้อยละ 25.6 และชาย ร้อยละ 12.9) อาชีพขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ในด้านการขายและการให้บริการมีจำนวน 75,925 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.9 โดยที่หญิงมีสัดส่วนสูงกว่าชาย คือ หญิงร้อยละ 12.6 ชาย ร้อยละ 11.3 ผู้ปฏิบัติงาน ด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มี53,061 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 8.3 โดยที่ชาย มีสัดส่วนสูงกว่าหญิงอย่างชัดเจน (ชาย ร้อยละ 11.2 และหญิง ร้อยละ 4.8) นอกนั้นประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น ผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงาน ด้านการประกอบ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคนิคฯ เสมียน และผู้บัญญัติ กฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ ซึ่งอยู่ระหว่างร้อยละ 2.0–3.8ของผู้มีงานทำทั้งสิ้น ตาราง ค จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอาชีพ และเพศ อาชีพ รวม ชาย หญิง จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ยอดรวม 637,645 100.0 349,154 100.0 288,492 100.0 1. ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ 12,621 2.0 8,187 2.4 4,435 1.5 2. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ 23,681 3.7 7,001 2.0 16,680 5.8 3. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคนิคสาขาต่าง ๆ และอาชีพที่เกี่ยวข้อง 17,866 2.8 6,408 1.8 11,459 4.0 4. เสมียน 16,311 2.6 2,701 0.8 13,610 4.7 5. พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้า และตลาด 118,766 18.6 44,923 12.9 73,843 25.6 6. ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร และการประมง 295,427 46.3 178,076 51.0 117,351 40.7 7. ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ 53,061 8.3 39,228 11.2 13,833 4.8 และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 8. ผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ 23,987 3.8 23,070 6.6 917 0.3 9. อาชีพขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ในด้านการขาย และการให้บริการ 75,925 11.9 39,560 11.3 36,365 12.6 10. คนงานซึ่งมิได้จำแนกไว้ในหมวดอื่น - - - - - - --มีจำนวนเพียงเล็กน้อย


9 3.2 อุตสาหกรรม เมื่อพิจารณาถึงประเภทอุตสาหกรรม หรือ ลักษณะของการประกอบกิจกรรมของผู้มีงานทำ ในเชิงเศรษฐกิจ พบว่า ผู้มีงานทำในสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้และการประมง มีประมาณ 311,888 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 48.9 โดยสัดส่วนของชายสูงกว่า หญิง คือ ชาย ร้อยละ 51.2 และหญิง ร้อยละ 42.3 รองลงมา คือ ผู้ทำงานในสาขาขายส่ง ขายปลีกฯ มีประมาณ 111,526คน หรือคิดเป็นร้อยละ 17.5 โดยหญิงมีสัดส่วนสูงกว่าชาย คือ หญิง ร้อยละ 20.9 และชาย ร้อยละ 14.7 ผู้ทำงานในสาขากิจกรรม โรงแรม และอาหาร จำนวน 52,606 คน คิดเป็น ร้อยละ 8.3 โดยสัดส่วนของหญิงสูงกว่าชาย คือ ร้อยละ 11.7 และร้อยละ 5.4 เป็นผู้ที่ทำงานในสาขา การผลิต จำนวน 51,790คน หรือคิดเป็นร้อยละ 8.1 โดยหญิงมีสัดส่วนสูงกว่าชาย คือ หญิง ร้อยละ 8.3 ชาย ร้อยละ 7.9 และส่วนที่เหลือกระจาย อยู่ในสาขาการก่อสร้าง การบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ กิจกรรมด้านบริการอื่น ๆ การขนส่ง การศึกษา งานด้านสุขภาพ ฯลฯ ตาราง ง จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอุตสาหกรรม และเพศ อุตสาหกรรม รวม ชาย หญิง จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ยอดรวม 637,645 100.0 349,154 100.0 288,492 100.0 1. เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง 311,888 48.9 189,896 54.4 121,992 42.3 2. การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน - - - - - - 3. การผลิต 51,790 8.1 27,712 7.9 24,078 8.3 4. การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา - - - - - - 5. การจัดหาน้ำ บำบัดน้ำเสีย 593 0.1 593 0.2 - - 6. การก่อสร้าง 23,484 3.7 21,807 6.2 1,677 0.6 7. การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ 111,526 17.5 51,316 14.7 60,211 20.9 รถจักรยานยนต์ 8. การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม 14,474 2.3 11,656 3.3 2,817 10 9. กิจกรรมโรงแรม และอาหาร 52,606 8.3 18,750 5.4 33,857 11.7 10. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร - - - - - - 11. กิจการทางการเงินและการประกันภัย 2,927 0.5 424 0.1 2,503 0.9 12. กิจการด้านอสังหาริมทรัพย์การให้เช่า และกิจกรรมทางธุรกิจ 1,061 0.2 - - 1,061 0.4 13. กิจกรรมทางวิชาชีพและเทคนิค 3,476 0.5 1,826 0.5 1,650 0.6 14. การบริหารและการสนับสนุน 3,402 0.5 1,497 0.4 1,905 0.7 15. การบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ 19,321 3.0 14,256 4.1 5,064 1.7 16. การศึกษา 13,516 2.1 1,829 0.5 11,687 4.0 17. งานด้านสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์ 11,325 1.8 1,356 0.4 9,968 3.4 18. ศิลปะความบันเทิงนันทนาการ 1,460 0.2 964 0.3 497 0.2 19. กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ 14,602 2.3 5,271 1.5 9,331 3.2 20. ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 195 -- - - 195 0.1 21. องค์การระหว่างประเทศและองค์การ ต่างประเทศอื่นๆ และสมาชิก - - - - - - 22. ไม่ทราบ - - - - - - --มีจำนวนเพียงเล็กน้อย 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5


10 แผนภูมิ2 ร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามภาคเกษตรกรรม และเพศ แผนภูมิ3 ร้อยละของผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม จำแนกตามอุตสาหกรรม 0.0 10.0 20.0 30.0 40.0 50.0 60.0 รวม ชาย หญิง 48.9 51.2 42.3 51.1 48.8 57.7 ภาคเกษตรกรรม นอกภาคเกษตรกรรม 0.0 2.0 4.0 6.0 8.0 10.0 12.0 14.0 16.0 18.0 การผลิต การจัดหาน้้า และบ้าบัดน้้าเสีย การก่อสร้าง การขายส่ง/ปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ การขนส่ง เก็บสินค้า และการคมนาคม กิจกรรมโรงแรม และอาหาร กิจการทางการเงินและการประกันภัย กิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ กิจกรรมทางวิชาชีพและเทคนิค การบริหารและการสนับสนุน การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ การศึกษา งานด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ ศิลปะความบันเทิงนันทนาการ กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ 8.1 0.1 3.7 17.5 2.3 8.3 0.5 0.2 0.5 0.5 3.0 2.1 1.8 0.2 2.3


11 3.3 สถานภาพการทำงาน ในจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 637,645คน นั้น เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพการทำงาน ผลการสำรวจ ครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่มีสถานภาพการทำงานลูกจ้าง เอกชน มีประมาณ 232,609 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 36.5 โดยชายมีสัดส่วนสูงกว่าหญิง คือ ชาย ร้อยละ 36.8 หญิง ร้อยละ 36.1 รองลงมาเป็นผู้มีสถานภาพ การทำงานส่วนตัว ซึ่งมีประมาณ 222,666 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 34.9 โดยชายมีสัดส่วนสูงกว่า หญิง คือ ชาย ร้อยละ 39.1 หญิง ร้อยละ 29.9 ส่วนผู้ทำงานช่วยธุรกิจครัวเรือนมีประมาณ 107,038คน หรือคิดเป็นร้อยละ 16.8 โดยสัดส่วนของหญิง สูงกว่าชาย คือ หญิง ร้อยละ 22.1ชาย ร้อยละ 12.4 ส่วนผู้ที่มีสถานภาพการทำงานเป็นลูกจ้างรัฐบาล มีประมาณ 44,365 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 7.0 โดยหญิงมีสัดส่วนสูงกว่าชาย คือ หญิง ร้อยละ 7.9 ชาย ร้อยละ 6.2 และผู้ที่มีสถานภาพการทำงาน เป็นนายจ้างมีจำนวน 30,967 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.9 โดยชายมีสัดส่วนสูงกว่าหญิง คือชาย ร้อยละ 5.5 และหญิง ร้อยละ 4.0 ของผู้มีงานทำ ตาราง จ จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามสถานภาพการทำงาน และเพศ สถานภาพการทำงาน รวม ชาย หญิง จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ยอดรวม 637,645 100.0 349,154 100.0 288,492 100.0 1. นายจ้าง 30,967 4.8 19,320 5.5 11,646 4.0 2. ลูกจ้างรัฐบาล 44,365 7.0 21,506 6.2 22,859 7.9 3. ลูกจ้างเอกชน 232,609 36.5 128,565 36.8 104,044 36.1 4. ทำงานส่วนตัว 222,666 34.9 136,483 39.1 86,183 29.9 5. ช่วยธุรกิจครัวเรือน 107,038 16.8 43,279 12.4 63,759 22.1 6. การรวมกลุ่ม - - - - - - แผนภูมิ 4 ร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามสถานภาพการทำงาน นายจ้าง 4.8 ลูกจ้างรัฐบาล 7.0 ลูกจ้างเอกชน 36.5 ท้างานส่วนตัว 34.9 ช่วยธุรกิจครัวเรือน 16.8


12 3.4 ชั่วโมงการทำงาน ในจำนวนผู้มีงาน 637,645 คน นั้นประกอบด้วย ผู้ที่ทำงานในสัปดาห์การสำรวจตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป จำนวน 627,937 คน และผู้ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์ การสำรวจแต่มีงานประจำ(ชั่วโมงการทำงานเป็น “0”) 9,708 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 98.5 และ 1.5 ตามลำดับ สำหรับผู้มีงานทำทั้งสิ้นส่วนใหญ่ เป็นผู้ทำงาน 35-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์สูงสุดซึ่งมี ประมาณ 323,940 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 50.8 ซึ่งสัดส่วนของหญิงมีสัดส่วนสูงกว่าชาย คือ หญิง ร้อยละ 51.8 และชาย ร้อยละ 50.0 รองลงมา คือ ผู้ที่ทำงาน 10-34 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีประมาณ 257,135 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 40.4 โดยชายมี สัดส่วนสูงกว่าหญิง คือ ชายร้อยละ 41.8 และหญิง ร้อยละ 38.6 ตามลำดับ เป็นผู้ทำงานตั้งแต่ 50 ชั่วโมงขึ้นไป ต่อสัปดาห์จำนวน 39,057 คน หรือ คิดเป็น ร้อยละ 6.1โดยหญิงมีสัดส่วนสูงกว่าชาย คือ หญิงร้อยละ 7.0และชาย ร้อยละ 5.4และผู้ที่ทำงาน ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง (1 –9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) มีประมาณ 7,804 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.2ของจำนวนผู้มีงานทำ โดยหญิงมีสัดส่วนสูงกว่าชาย คือ หญิง ร้อยละ 1.7 และชาย ร้อยละ 0.8 ตาราง ฉ จำนวนและร้อยละผู้มีงานทำ จำแนกตามชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์และเพศ 1/ ผู้ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์การสำรวจ แต่มีงานประจำ 1.5 1.2 40.4 50.8 6.1 0.0 10.0 20.0 30.0 40.0 50.0 60.0 0 ชั่วโมง 1 - 9 ชั่วโมง 10 - 34 ชั่วโมง 35 - 49 ชั่วโมง 50 ชั่วโมง ขึ้นไป ชั่วโมงการทำงาน รวม ชาย หญิง จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ยอดรวม 637,645 100.0 349,154 100.0 288,492 100.0 1. 0 ชั่วโมง1/ 9,708 1.5 7,105 2.0 2,603 0.9 2. 1 - 9 ชั่วโมง 7,804 1.2 2,867 0.8 4,937 1.7 3. 10 - 34 ชั่วโมง 257,135 40.4 145,768 41.8 111,368 38.6 4. 35 - 49 ชั่วโมง 323,940 50.8 174,619 50.0 149,322 51.8 5. 50 ชั่วโมงขึ้นไป 39,057 6.1 18,795 5.4 20,262 7.0 แผนภูมิ 5 ร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามชั่วโมง การทำงานต่อสัปดาห์


13 4. การว่างงาน 4.1 ลักษณะการว่างงาน ประชากรของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ว่างงานทั้งสิ้น 8,688 คน เป็นชาย 3,455 คน คิดเป็นร้อยละ 39.8 และหญิง 5,233 คน คิดเป็น ร้อยละ 60.2 ของผู้ว่างงาน ตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานของประชากร ซึ่งหมายถึง สัดส่วนของผู้ว่างงานต่อจำนวนของ ประชากรที่อยู่ในกำลังแรงงานรวม พบว่า จังหวัด สุราษฎร์ธานีหญิงมีอัตราการว่างงานสูงกว่าชาย คือ หญิง ร้อยละ 1.8 และชาย ร้อยละ 1.0 ตามลำดับ ตาราง ช จำนวนและอัตราการว่างงาน จำแนกตามเพศ ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน ผู้ว่างงาน จำนวน ร้อยละ ยอดรวม 646,333 8,688 1.3 ชาย 352,609 3,455 1.0 หญิง 293,724 5,233 1.8 หมายเหตุ : อัตราการว่างงาน = ผู้ว่างงาน x 100 ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน แผนภูมิ6 เปรียบเทียบอัตราการว่างงานไตรมาสที่ 2 จำแนกตามปี พ.ศ และเพศ 0.0 0.5 1.0 1.5 2.0 2.5 รวม ชาย หญิง 0.9 0.8 1.0 1.2 0.5 2.1 1.3 1.0 1.8 2563 2564 2565


ภาคผนวก


ภาคผนวก ก ระเบียบวิธี


ภาคผนวก ก ระเบียบวิธี 1. วิธีการสำรวจ การสำรวจนี้ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ ครัวเรือนส่วนบุคคลและครัวเรือนกลุ่มบุคคลประเภทครัวเรือน คนงานที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลทุกจังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้น ครัวเรือนชาวต่างชาติที่ทำงาน ในสถานทูตหรือองค์การระหว่างประเทศที่มีเอกสิทธิ์ทางการทูต การสำรวจแต่ละเดือน สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการสำรวจในทุกจังหวัดทั่วประเทศ แผนการเลือก ตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบ Stratified Two-stage Sampling โดยหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง คือ เขตแจงนับ (Enumeration Area : EA) จำนวน 1,990 EA ตัวอย่าง จากทั้งสิ้นจำนวน 127,460 EA และหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง คือ ครัวเรือนส่วนบุคคลและสมาชิกในทุกครัวเรือนกลุ่มบุคคลประเภทครัวเรือนคนงาน จำนวน 27,960 ครัวเรือนตัวอย่าง หรือคิดเป็นจำนวนประชาชนตัวอย่างประมาณ 95,000 คน ซึ่งขนาดตัวอย่างในแต่ละเดือนสามารถนำเสนอผลการ สำรวจในระดับภาค (กรุงเทพมหานคร และ 4 ภาค) โดยจำแนกตาม เขตการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และนอก เขตเทศบาล แต่ไม่เพียงพอสำหรับนำเสนอผลการสำรวจในระดับจังหวัดหรือพื้นที่ย่อยกว่านี้สำหรับการนำเสนอผล การสำรวจในระดับจังหวัดได้ใช้ข้อมูลของการสำรวจ จำนวน 3 เดือน เพื่อให้ได้ขนาดตัวอย่างเพียงพอ เช่น กรณีสรุป รายงานผลการสำรวจระดับจังหวัดในไตรมาสที่ 4ของปี พ.ศ. 2561 ก็ได้นำข้อมูลของเดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม 2561 มารวมกัน เป็นต้น สำหรับขนาดตัวอย่างของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้หน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง จำนวน 84 EA ตัวอย่าง หน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง จำนวน 1,176 ครัวเรือนตัวอย่าง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนหรือสมาชิกในครัวเรือนตัวอย่าง โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ/สำนักงานสถิติจังหวัด โดยผู้ทำการสัมภาษณ์ทุกคนจะมีคู่มือ การปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติงานไปในทางเดียวกัน ส่วนการประมวลผลข้อมูลนั้นดำเนินการในส่วนกลางตามหลักวิชาการสถิติโดยนำข้อมูลที่ได้จากตัวอย่าง มาประมาณค่า โดยมีการถ่วงน้ำหนัก (Weighty) ซึ่งค่าถ่วงน้ำหนักคำนวณได้จากสูตรการประมาณค่า ที่สอดคล้องกับวิธีการเลือกตัวอย่าง เพื่อให้ได้ค่าประมาณประชากรใกล้เคียงกับค่าที่แท้จริง 2. คาบการเก็บรวบรวมข้อมูล การสำรวจได้ดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศในระหว่างวันที่ 1 –12 ของเดือน เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2565 3. การปัดตัวเลข ข้อมูลในตารางสถิติที่นำเสนอในรายงานฉบับนี้ เป็นค่าประมาณที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก ซึ่งผลรวมจาก ยอดย่อยในแต่ละรายการอาจไม่เท่ากับยอดรวม ทั้งนี้เนื่องจากการปัดเศษทศนิยมโดยอิสระจากกัน 17


ภาคผนวก ข ตารางสถิติ


19 ตารางสถิติ หน้า ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามสถานภาพแรงงาน และเพศ 19 ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จและเพศ 20 ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ 21 ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอาชีพ และเพศ 22 ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอุตสาหกรรม และเพศ 23 ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามสถานภาพการทำงาน และเพศ 24 ตารางที่ 7 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ และเพศ 25


20 ตารางที่1 จ านวนและร้อยละของประชากรอายุ15 ปีขึ้นไป จ าแนกตามสถานภาพแรงงาน และเพศ สถานภาพแรงงาน รวม ชาย หญิง ยอดรวม 931,024 447,949 483,075 1. ผู้อยู่ในก ำลังแรงงำน 646,333 352,609 293,724 1.1 ก ำลังแรงงำนปัจจุบัน 646,333 352,609 293,724 1.1.1 ผู้มีงำนท ำ 637,645 349,154 288,492 1.1.2 ผู้ว่ำงงำน 8,688 3,455 5,233 1.2 ผู้ที่รอฤดูกำล - - - 2. ผู้ไม่อยู่ในก ำลังแรงงำน 284,691 95,340 189,351 2.1 ท ำงำนบ้ำน 95,126 1,540 93,586 2.2 เรียนหนังสือ 89,972 43,383 46,589 2.3 อื่นๆ 99,593 50,418 49,176 ยอดรวม 100.0 100.0 100.0 1. ผู้อยู่ในก ำลังแรงงำน 69.4 78.7 60.8 1.1 ก ำลังแรงงำนปัจจุบัน 69.4 78.7 60.8 1.1.1 ผู้มีงำนท ำ 68.5 77.9 59.7 1.1.2 ผู้ว่ำงงำน 0.9 0.8 1.1 1.2 ผู้ที่รอฤดูกำล - - - 2. ผู้ไม่อยู่ในก ำลังแรงงำน 30.6 21.3 39.2 2.1 ท ำงำนบ้ำน 10.2 0.3 19.4 2.2 เรียนหนังสือ 9.7 9.7 9.6 2.3 อื่นๆ 10.7 11.3 10.2 .. มีจ ำนวนเล็กน้อย ร้อยละ จ านวน (คน)


21 ระดับการศึกษาที่ส าเร็จ รวม ชาย หญิง ยอดรวม 931,024 447,949 483,075 1. ไม่มีกำรศึกษำ 56,863 25,134 31,729 2. ต่ ำกว่ำประถมศึกษำ 127,411 49,746 77,665 3. ประถมศึกษำ 216,328 119,462 96,836 4. มัธยมศึกษำตอนต้น 191,070 97,025 94,045 5. มัธยมศึกษำตอนปลำย 164,694 85,822 78,874 5.1 สำยสำมัญ 128,559 68,142 60,418 5.2 สำยอำชีวศึกษำ 35,627 17,680 17,948 5.3 สำยวิชำกำรศึกษำ 508 - 508 6. มหำวิทยำลัย 161,146 64,221 96,924 6.1 สำยวิชำกำร 108,586 41,272 67,313 6.2 สำยวิชำชีพ 32,429 15,334 17,096 6.3 สำยวิชำกำรศึกษำ 20,131 7,615 12,515 7. อื่นๆ - - - 8. ไม่ทรำบ 13,512 6,509 7,003 ยอดรวม 100.0 100.0 100.0 1. ไม่มีกำรศึกษำ 6.1 5.6 6.6 2. ต่ ำกว่ำประถมศึกษำ 13.7 11.1 16.1 3. ประถมศึกษำ 23.2 26.7 20.0 4. มัธยมศึกษำตอนต้น 20.5 21.7 19.5 5. มัธยมศึกษำตอนปลำย 17.7 19.1 16.3 5.1 สำยสำมัญ 13.8 15.2 12.5 5.2 สำยอำชีวศึกษำ 3.8 3.9 3.7 5.3 สำยวิชำกำรศึกษำ 0.1 - 0.1 6. มหำวิทยำลัย 17.3 14.3 20.1 6.1 สำยวิชำกำร 11.7 9.2 13.9 6.2 สำยวิชำชีพ 3.5 3.4 3.6 6.3 สำยวิชำกำรศึกษำ 1.2 1.7 2.6 7. อื่นๆ - - - 8. ไม่ทรำบ 1.5 1.5 1.4 จ านวน (คน) ร้อยละ ตารางที่2 จ านวนผู้มีอายุ15 ปีขึ้นไป จ าแนกตามระดับการศึกษาที่ส าเร็จ และเพศ


22 ตารางที่3 จ านวนและร้อยละของผู้มีงานท า จ าแนกตามอาชีพ และเพศ อาชีพ รวม ชาย หญิง ยอดรวม 637,645 349,154 288,492 1. ผู้บัญญัติกฎหมำย ข้ำรำชกำรระดับอำวุโส และผู้จัดกำร 12,621 8,187 4,435 2. ผู้ประกอบวิชำชีพด้ำนต่ำงๆ 23,681 7,001 16,680 3. ผู้ประกอบวิชำชีพด้ำนเทคนิคสำขำต่ำงๆ และอำชีพที่เกี่ยวข้อง 17,866 6,408 11,459 4. เสมียน 16,311 2,701 13,610 5. พนักงำนบริกำรและพนักงำนในร้ำนค้ำ และตลำด 118,766 44,923 73,843 6. ผู้ปฏิบัติงำนที่มีฝีมือในด้ำนกำรเกษตร และกำรประมง 295,427 178,076 117,351 7. ผู้ปฏิบัติงำนด้ำนควำมสำมำรถทำงฝีมือ และธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 53,061 39,228 13,833 8. ผู้ปฏิบัติกำรโรงงำนและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงำนด้ำนกำรประกอบ 23,987 23,070 917 9. อำชีพขั้นพื้นฐำนต่ำงๆ ในด้ำนกำรขำย และกำรให้บริกำร 75,925 39,560 36,365 10. คนงำนซึ่งมิได้จ ำแนกไว้ในหมวดอื่น - - - ยอดรวม 100.0 100.0 100.0 1. ผู้บัญญัติกฎหมำย ข้ำรำชกำรระดับอำวุโส และผู้จัดกำร 2.0 2.4 1.5 2. ผู้ประกอบวิชำชีพด้ำนต่ำงๆ 3.7 2.0 5.8 3. ผู้ประกอบวิชำชีพด้ำนเทคนิคสำขำต่ำงๆ และอำชีพที่เกี่ยวข้อง 2.8 1.8 4.0 4. เสมียน 2.6 0.8 4.7 5. พนักงำนบริกำรและพนักงำนในร้ำนค้ำ และตลำด 18.6 12.9 25.6 6. ผู้ปฏิบัติงำนที่มีฝีมือในด้ำนกำรเกษตร และกำรประมง 46.3 51.0 40.7 7. ผู้ปฏิบัติงำนด้ำนควำมสำมำรถทำงฝีมือ และธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 8.3 11.2 4.8 8. ผู้ปฏิบัติกำรโรงงำนและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงำนด้ำนกำรประกอบ 3.8 6.6 0.3 9. อำชีพขั้นพื้นฐำนต่ำงๆ ในด้ำนกำรขำย และกำรให้บริกำร 11.9 11.3 12.6 10. คนงำนซึ่งมิได้จ ำแนกไว้ในหมวดอื่น - - - .. มีจ ำนวนเล็กน้อย จ านวน (คน) ร้อยละ


23 ตารางที่4 จ านวนและร้อยละของผู้มีงานท า จ าแนกตามอุตสาหกรรม และเพศ อุตสาหกรรม รวม ชาย หญิง ยอดรวม 637,645 349,154 288,492 1. เกษตรกรรม กำรป่ำไม้และกำรประมง 311,888 189,896 121,992 2. กำรท ำเหมืองแร่เหมืองหิน - - - 3. กำรผลิต 51,790 27,712 24,078 4. กำรไฟฟ้ำ ก๊ำซ และกำรประปำ - - - 5. กำรจัดหำน้ ำ บ ำบัดน้ ำเสีย 593 593 - 6. กำรก่อสร้ำง 23,484 21,807 1,677 7. กำรขำยส่ง กำรขำยปลีก กำรซ่อมแซมยำนยนต์รถจักรยำนยนต์ 111,526 51,316 60,211 8. กำรขนส่ง สถำนที่เก็บสินค้ำ และกำรคมนำคม 14,474 11,656 2,817 9. โรงแรมและภัตตำคำร 52,606 18,750 33,857 10. ข้อมูลข่ำวสำรและกำรสื่อสำร - - - 11. กิจกำรทำงกำรเงินและกำรประกันภัย 2,927 424 2,503 12. กิจกำรดำ้นอสังหำริมทรัพย์กำรให้เช่ำ และกิจกรรมทำงธุรกิจ 1,061 - 1,061 13. กิจกรรมทำงวิชำชีพและเทคนิค 3,476 1,826 1,650 14. กำรบริหำรและกำรสนับสนุน 3,402 1,497 1,905 15. กำรบริหำรรำชกำรและกำรป้องกันประเทศ 19,321 14,256 5,064 16. กำรศึกษำ 13,516 1,829 11,687 17. งำนดำ้นสุขภำพ และงำนสังคมสงเครำะห์ 11,325 1,356 9,968 18. ศิลปะควำมบันเทิงนันทนำกำร 1,460 964 497 19. กิจกรรมบริกำรดำ้นอื่นๆ 14,602 5,271 9,331 20. ลูกจ้ำงในครัวเรือนส่วนบุคคล 195 - 195 21. องค์กำรระหว่ำงประเทศและองค์กำรตำ่งประเทศอื่นๆ และสมำชิก - - - 22. ไม่ทรำบ - - - ยอดรวม 100.0 100.0 100.0 1. เกษตรกรรม กำรป่ำไม้และกำรประมง 48.9 54.4 42.3 2. กำรท ำเหมืองแร่เหมืองหิน - - - 3. กำรผลิต 8.1 7.9 8.3 4. กำรไฟฟ้ำ ก๊ำซ และกำรประปำ - - - 5. กำรจัดหำน้ ำ บ ำบัดน้ ำเสีย 0.1 0.2 - 6. กำรก่อสร้ำง 3.7 6.3 0.6 7. กำรขำยส่ง กำรขำยปลีก กำรซ่อมแซมยำนยนต์รถจักรยำนยนต์ 17.5 14.7 20.9 8. กำรขนส่ง สถำนที่เก็บสินค้ำ และกำรคมนำคม 2.3 3.3 1.0 9. โรงแรมและภัตตำคำร 8.3 5.4 11.7 10. ข้อมูลข่ำวสำรและกำรสื่อสำร - - - 11. กิจกำรทำงกำรเงินและกำรประกันภัย 0.5 0.1 0.9 12. กิจกำรดำ้นอสังหำริมทรัพย์กำรให้เช่ำ และกิจกรรมทำงธุรกิจ 0.2 - 0.4 13. กิจกรรมทำงวิชำชีพและเทคนิค 0.5 0.5 0.6 14. กำรบริหำรและกำรสนับสนุน 0.5 0.4 0.7 15. กำรบริหำรรำชกำรและกำรป้องกันประเทศ 3.0 4.1 1.7 16. กำรศึกษำ 2.1 0.5 4.0 17. งำนดำ้นสุขภำพ และงำนสังคมสงเครำะห์ 1.8 0.4 3.4 18. ศิลปะควำมบันเทิงนันทนำกำร 0.2 0.3 0.2 19. กิจกรรมบริกำรดำ้นอื่น ๆ 2.3 1.5 3.2 20. ลูกจ้ำงในครัวเรือนส่วนบุคคล -- - 0.1 21. องค์กำรระหว่ำงประเทศและองค์กำรตำ่งประเทศอื่นๆ และสมำชิก - - - 22. ไม่ทรำบ - - - จ านวน (คน) ร้อยละ


24 ตารางที่5 จ านวนและร้อยละของผู้มีงานท า จ าแนกตามสถานภาพการท างาน และเพศ สถานภาพการท างาน รวม ชาย หญิง ยอดรวม 637,645 349,154 288,492 1. นำยจ้ำง 30,967 19,320 11,646 2. ลูกจ้ำงรัฐบำล 44,365 21,506 22,859 3. ลูกจ้ำงเอกชน 232,609 128,565 104,044 4. ท ำงำนส่วนตัว 222,666 136,483 86,183 5. ช่วยธุรกิจครัวเรือน 107,038 43,279 63,759 6. กำรรวมกลุ่ม - - - ยอดรวม 100.0 100.0 100.0 1. นำยจ้ำง 4.8 5.5 4.0 2. ลูกจ้ำงรัฐบำล 7.0 6.2 7.9 3. ลูกจ้ำงเอกชน 36.5 36.8 36.1 4. ท ำงำนส่วนตัว 34.9 39.1 29.9 5. ช่วยธุรกิจครัวเรือน 16.8 12.4 22.1 6. กำรรวมกลุ่ม - - - จ านวน (คน) ร้อยละ


25 ชั่วโมงการท างาน รวม ชาย หญิง ยอดรวม 637,645 349,154 288,492 1. 0 ชั่วโมง 1/ 9,708 7,105 2,603 2. 1- 9 ชั่วโมง 7,804 2,867 4,937 3. 10-19 ชั่วโมง 54,282 26,025 28,257 4. 20-29 ชั่วโมง 113,146 63,022 50,125 5. 30-34 ชั่วโมง 89,707 56,721 32,986 6. 35-39 ชั่วโมง 102,909 55,595 47,314 7. 40-49 ชั่วโมง 221,031 119,024 102,008 8. 50 ชั่วโมงขึ้นไป 39,057 18,795 20,262 ยอดรวม 100.0 100.0 100.0 1. 0 ชั่วโมง 1/ 1.5 2.0 0.9 2. 1-9 ชั่วโมง 1.2 0.8 1.7 3. 10-19 ชั่วโมง 8.5 7.5 9.8 4. 20-29 ชั่วโมง 17.8 18.1 17.4 5. 30-34 ชั่วโมง 14.1 16.2 11.4 6. 35-39 ชั่วโมง 16.1 15.9 16.4 7. 40-49 ชั่วโมง 34.7 34.1 35.4 8. 50 ชั่วโมงขึ้นไป 6.1 5.4 7.0 1/ ผู้ไม่ได้ท ำงำนในสัปดำห์กำรส ำรวจ แต่มีงำนประจ ำ ร้อยละ ตารางที่6 จ านวนและร้อยละของผู้มีงานท า จ าแนกตามชั่วโมงการท างานต่อสัปดาห์และเพศ จ านวน (คน)


26 ตารางที่7 จ านวนและร้อยละของผู้มีงานท า จ าแนกตามระดับการศึกษาที่ส าเร็จ และเพศ ระดับการศึกษาที่ส าเร็จ รวม ชาย หญิง ยอดรวม 637,645 349,154 288,492 1. ไม่มีกำรศึกษำ 43,435 21,758 21,677 2. ต่ ำกว่ำประถมศึกษำ 65,853 32,912 32,942 3. ประถมศึกษำ 165,839 102,276 63,563 4. มัธยมศึกษำตอนต้น 120,224 70,664 49,560 5. มัธยมศึกษำตอนปลำย 111,442 65,041 46,401 5.1 สำยสำมัญ 89,172 52,341 36,831 5.2 สำยอำชีวศึกษำ 22,270 12,700 9,570 5.3 สำยวิชำกำรศึกษำ - - - 6. มหำวิทยำลัย 120,326 50,591 69,735 6.1 สำยวิชำกำร 79,915 31,606 48,309 6.2 สำยวิชำชีพ 27,296 14,467 12,829 6.3 สำยวิชำกำรศึกษำ 13,115 4,518 8,597 7. อื่นๆ - - - 8. ไม่ทรำบ 10,526 5,913 4,614 ยอดรวม 100.0 100.0 100.0 1. ไม่มีกำรศึกษำ 6.8 6.2 7.5 2. ต่ ำกว่ำประถมศึกษำ 10.3 9.4 11.4 3. ประถมศึกษำ 26.0 29.3 22.0 4. มัธยมศึกษำตอนต้น 18.8 20.2 17.2 5. มัธยมศึกษำตอนปลำย 17.5 18.6 16.1 5.1 สำยสำมัญ 14.0 15.0 12.8 5.2 สำยอำชีวศึกษำ 3.5 3.6 3.3 5.3 สำยวิชำกำรศึกษำ - - - 6. มหำวิทยำลัย 18.8 14.5 24.2 6.1 สำยวิชำกำร 12.5 9.1 16.7 6.2 สำยวิชำชีพ 4.3 4.2 4.5 6.3 สำยวิชำกำรศึกษำ 2.1 1.3 3.0 7. อื่นๆ - - - 8. ไม่ทรำบ 1.7 1.7 1.6 จ านวน (คน) ร้อยละ


ภาคผนวก ค ตารางสถิติเปรียบเทียบรายไตรมาส ปี พ.ศ.2564 และ พ.ศ.2565


ตาราง A จำนวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามสถานภาพแรงงา สถานภาพแรงงาน 2/2564 3/2564 ยอดรวม 884,116 100.0 885,415 1 1. ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 629,416 71.2 618,060 1.1 กำลังแรงงานปัจจุบัน 629,416 71.2 618,060 1.1.1 ผู้มีงานทำ 621,926 70.3 605,563 1.1.2 ผู้ว่างงาน 7,489 0.8 12,497 1.2 ผู้ที่รอฤดูกาล - - - 2. ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 254,700 28.8 267,355 2.1 ทำงานบ้าน 95,141 10.7 101,845 2.2 เรียนหนังสือ 60,682 6.9 62,562 2.3 อื่นๆ 98,877 11.2 102,948


าน เปรียบเทียบปี 2564 และปี 2565 รายไตรมาส ไตรมาส/ปี 4/2564 2564 1/2565 2/2565 100.0 886,634 100.0 884,733 100.0 929,194 100.0 931,024 100.0 69.8 628,436 70.9 628,639 71.1 649,476 69.9 646,333 69.4 69.8 628,436 70.9 628,639 71.1 649,476 69.9 646,333 69.4 68.4 617,393 69.6 618,098 69.9 642,780 69.2 637,645 68.5 1.4 11,044 1.3 10,541 1.2 6,696 0.7 8,688 0.9 - - - - - - - - - 30.2 258,198 29.1 256,094 28.9 279,718 30.1 284,691 30.6 11.5 97,711 11.0 90,552 10.3 97,231 10.5 95,126 10.2 7.1 63,303 7.1 63,672 7.3 85,093 9.2 89,972 9.7 11.6 97,184 11.0 99,472 11.3 97,394 10.4 99,593 10.7 28


ตาราง B จำนวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามระดับการศึกษา ระดับการศึกษาที่สำเร็จ 2/2564 3/2564 ยอดรวม 884,116 100.0 885,415 100.0 1. ไม่มีการศึกษา 45,797 5.2 43,604 4.9 2. ต่ำกว่าประถมศึกษา 142,443 16.1 155,662 17.6 3. ประถมศึกษา 208,168 23.5 216,178 24.4 4. มัธยมศึกษาตอนต้น 182,344 20.6 170,306 19.3 5. มัธยมศึกษาตอนปลาย 136,875 15.5 157,638 17.8 5.1 สายสามัญ 112,563 12.7 126,073 14.2 5.2 สายอาชีวศึกษา 24,312 2.8 31,565 3.6 5.3 สายวิชาการศึกษา - - - - 6. มหาวิทยาลัย 150,829 17.1 132,178 14.9 6.1 สายวิชาการ 108,168 12.2 87,751 9.9 6.2 สายวิชาชีพ 27,195 3.1 28,229 3.2 6.3 สายวิชาการศึกษา 15,466 1.8 16,199 1.8 7. อื่นๆ - - - - 8. ไม่ทราบ 17,658 2.0 9,850 1.1


าที่สำเร็จ เปรียบเทียบปี 2564 และปี 2565 รายไตรมาส ไตรมาส/ปี 4/2564 2564 1/2565 2/2565 886,634 100.0 884,733 100.0 929,194 100.0 931,024 100.0 35,510 4.0 38,535 4.4 81,319 8.8 56,863 6.1 143,921 16.2 150,207 17.0 131,210 14.0 127,411 13.7 234,440 26.4 215,984 24.4 226,639 24.4 216,328 23.2 178,275 20.1 178,233 20.1 188,417 20.3 191,070 20.5 144,201 16.3 144,691 16.4 146,121 15.7 164,694 17.7 115,486 13.0 116,524 13.5 121,923 13.1 128,559 13.8 28,715 3.3 28,167 3.2 24,198 2.6 35,627 3.8 - - - - - - 508 0.1 139,731 15.8 142,521 16.1 141,794 15.3 161,146 17.3 97,665 11.0 99,719 11.3 96,300 10.4 108,586 11.7 28,902 3.3 28,138 3.2 30,538 3.3 32,429 3.5 13,164 1.5 14,665 1.7 14,956 1.6 20,131 1.2 - - - - - - - - 10,555 1.2 14,561 1.6 13,695 1.5 13,512 1.5 29


ตาราง C จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามตามอาชีพ เปรียบเทียบปี 2564 อาชีพ 2/2564 3/256 ยอดรวม 621,926 100.0 605,563 1. ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโสและผู้จัดการ 12,906 2.1 9,254 2. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ 21,228 3.4 18,326 3. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคนิคสาขาต่างๆและอาชีพที่ เกี่ยวข้อง 17,200 2.8 16,083 4. เสมียน 23,127 3.7 15,530 5. พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้า และตลาด 118,608 19.1 120,255 6. ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร และการประมง 286,340 46.0 287,529 7. ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจอื่นๆที่ เกี่ยวข้อง 51,001 8.2 50,001 8. ผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงานด้าน การประกอบ 29,837 4.8 19,311 9. อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ ในด้านการขายและการให้บริการ 60,684 9.7 69,273 10. คนงานซึ่งมิได้จำแนกไว้ในหมวดอื่น 995 0.2 - --มีจำนวนเพียงเล็กน้อย


4 และปี 2565 รายไตรมาส ไตรมาส/ปี 64 4/2564 2564 1/2565 2/2565 100.0 617,393 100.0 618,098 100.0 642,780 100.0 637,645 100.0 1.5 9,209 1.5 11,689 1.9 9,940 1.5 12,621 2.0 3.0 18,726 3.0 19,925 3.2 17,493 2.7 23,681 3.7 2.7 19,740 3.2 18,778 3.0 14,746 2.3 17,866 2.8 2.6 14,711 2.4 17,956 3.4 17,653 2.8 16,311 2.6 19.9 119,228 19.3 120,890 19.6 115,552 18.0 118,766 18.6 47.5 301,903 48.9 289,091 46.8 305,794 47.6 295,427 46.3 8.3 43,139 7.0 49,178 8.0 52,171 8.1 53,061 8.3 3.2 24,479 4.0 25,807 4.2 16,622 2.6 23,987 3.8 11.3 66,259 10.7 64,536 10.4 92,811 14.4 75,925 11.9 - - - 249 -- - - - - 30


ตาราง D จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามตามอุตสาหกรรม เปรียบเทียบปี อุตสาหกรรม 2/2564 3/2564 ยอดรวม 621,926 100.0 605,563 100.0 1. เกษตรกรรม การป่าไม้ และ การประมง 303,441 48.8 311,139 51. 2. การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน 3,143 0.5 1,293 0.2 3. การผลิต 43,857 7.0 49,251 8. 4. การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา 2,524 0.4 1,297 0.2 5. การจัดหาน้ำ บำบัดน้ำเสีย 3,481 0.5 1,949 0. 6. การก่อสร้าง 30,903 5.0 38,147 6. 7. การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ 91,271 14.7 80,971 13. 8. การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม 19,296 3.1 13,786 2. 9. กิจกรรมโรงแรม และอาหาร 53,744 8.6 49,373 8.2 10. ข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร 1,925 0.3 1,547 0. 11. กิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัย 6,069 1.0 3,039 0.5 12. กิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ 1,793 0.3 768 0. 13. กิจกรรมทางวิชาชีพ และเทคนิค 3,043 0.5 2,751 0.5 14. การบริหารและการสนับสนุน 4,534 0.7 5,037 0. 15. การบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ 17,321 2.8 10,807 1. 16. การศึกษา 11,285 1.8 10,929 1. 17. งานด้านสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์ 12,435 2 10,725 1. 18. ศิลปะ ความบันเทิง นันทนาการ 1,280 0.2 2,656 0. 19. กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ 10,004 1.6 9,618 1. 20. ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 230 0.1 480 0. 21. องค์การระหว่างประเทศ และองค์การ ต่างประเทศ อื่น ๆ และสมาชิก 347 0.1 - 22. ไม่ทราบ - - - --มีจำนวนเพียงเล็กน้อย


ปี 2564 และปี 2565 รายไตรมาส ไตรมาส/ปี 4/2564 2564 1/2565 2/2565 0 617,393 100.0 618,098 100.0 642,780 100.0 637,645 100.0 4 315,577 51.1 305,366 49.4 340,137 53.0 311,888 48.9 2 - - 700 0.1 - - - - 1 42,244 6.8 44,242 7.2 47,773 7.4 51,790 8.1 2 3,040 0.5 1,895 0.3 317 -- - - 3 904 0.2 227 0.1 1,134 0.2 593 0.1 3 35,014 5.7 34,747 5.6 33,589 5.2 23,484 3.7 4 116,524 18.9 101,515 16.4 106,273 16.5 111,526 17.5 3 9,433 1.5 14,668 11,687 14,474 2.3 2 2.4 1.8 52,606 8.3 3 - - 5 39,045 6.3 47,288 7.7 42,752 6.7 2,927 0.5 1 633 0.1 1,361 0.2 476 0.1 1,061 0.2 5 2,286 0.4 4,607 0.7 4,626 0.7 3,476 0.5 8 1,976 0.3 1,611 0.3 1,608 0.3 3,402 0.5 8 867 0.1 2,268 0.4 2,954 0.5 19,321 3.0 8 3,897 0.6 3,942 0.6 3,562 0.6 13,516 2.1 8 15,180 2.5 17,408 2.8 14,458 2.2 11,325 1.8 4 11,897 1.9 12,256 2.0 9,581 1.5 1,460 0.2 6 9,412 1.5 10,402 1.7 8,419 1.3 14,602 2.3 1 1,175 0.2 1,405 0.2 4,668 0.7 195 -- - 7,646 1.3 8,674 1.4 7,346 1.1 - - - 641 0.1 693 0.1 1,422 0.2 - - 31


ตาราง E จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามตามสถานภาพการทำงาน เปรีย สถานภาพการทำงาน 2/2564 3/2564 ยอดรวม 621,926 100.0 605,563 100.0 1. นายจ้าง 25,782 4.1 24,145 4.0 2. ลูกจ้างรัฐบาล 49,062 7.9 39,919 6.6 3. ลูกจ้างเอกชน 252,103 40.5 224,580 37.1 4. ทำงานส่วนตัว 192,072 30.9 199,864 33.0 5. ช่วยธุรกิจครัวเรือน 102,542 16.5 117,055 19.3 6. การรวมกลุ่ม 364 0.1 - -


ยบเทียบปี 2564 และปี 2565 รายไตรมาส ไตรมาส/ปี 4/2564 2564 1/2565 2/2565 617,393 100.0 618,098 100.0 642,780 100.0 637,645 100.0 26,936 4.4 25,758 4.2 23,432 3.7 30,967 4.8 42,030 6.8 45,277 7.3 33,420 5.2 44,365 7.0 205,797 33.3 231,246 37.4 266,949 41.5 232,609 36.5 225,985 36.6 208,061 33.7 220,116 34.2 222,666 34.9 116,646 18.9 107,664 17.4 98,863 15.4 107,038 16.8 - - 91 - - - - - 3 2


ตาราง F จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามตามชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห ชั่วโมงการทำงาน 2/2564 3/2564 ยอดรวม 621,926 100.0 605,563 100.0 6 1. 0 ชั่วโมง1/ 20,445 3.3 5,603 0.9 2. 1 - 9 ชั่วโมง 8,918 1.4 5,669 0.9 3. 10 - 19 ชั่วโมง 51,733 8.3 42,587 7.0 4. 20 - 29 ชั่วโมง 103,967 16.7 125,637 20.8 5. 30 - 34 ชั่วโมง 93,757 15.1 96,411 15.9 6. 35 - 39 ชั่วโมง 105,882 17.0 88,393 14.6 7. 40 - 49 ชั่วโมง 197,597 31.8 216,590 35.8 8. 50 ชั่วโมงขึ้นไป 39,628 6.4 24,673 4.1


ห์ เปรียบเทียบปี 2564 และปี 2565 รายไตรมาส ไตรมาส/ปี 4/2564 2564 1/2565 2/2565 617,393 100.0 618,099 100.0 642,780 100.0 637,645 100.0 14,251 2.3 11,471 1.9 8,650 1.3 9,708 1.5 21,187 3.4 9,950 1.6 6,308 1.0 7,804 1.2 53,228 8.6 47,401 7.7 31,900 5.0 54,282 8.5 134,270 21.7 120,927 19.6 102,875 16.0 113,146 17.8 81,865 13.3 90,789 14.7 128,445 20.0 89,707 14.1 83,753 13.6 97,089 15.7 97,703 15.2 102,909 16.1 185,458 30.1 204,161 29.6 223,331 34.7 221,031 34.7 43,381 7.0 36,311 5.9 43,568 6.8 39,057 6.1 3 3


ตาราง G จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ เป ระดับการศึกษาที่สำเร็จ 2/2564 3/2564 ยอดรวม 621,926 100.0 605,563 100.0 6 1. ไม่มีการศึกษา 29,728 4.8 25,590 4.2 2. ต่ำกว่าประถมศึกษา 74,920 12.0 82,588 13.6 3. ประถมศึกษา 160,228 25.8 165,662 27.4 4. มัธยมศึกษาตอนต้น 123,330 19.8 114,830 19.0 5. มัธยมศึกษาตอนปลาย 97,013 15.6 110,267 18.2 5.1 สายสามัญ 78,519 12.6 88,597 14.6 5.2 สายอาชีวศึกษา 18,494 3.0 21,670 3.6 5.3 สายวิชาการศึกษา - - - - 6. มหาวิทยาลัย 121,917 19.6 99,736 16.5 6.1 สายวิชาการ 89,352 14.4 70,663 11.7 6.2 สายวิชาชีพ 22,618 3.6 19,075 3.1 6.3 สายวิชาการศึกษา 9,947 1.6 9,998 1.7 7. อื่นๆ - - - - 8. ไม่ทราบ 14,790 2.4 6,889 1.1


ปรียบเทียบปี 2564 และปี 2565 รายไตรมาส ไตรมาส/ปี 4/2564 2564 1/2565 2/2565 617,393 100.0 618,098 100.0 642,780 100.0 637,645 100.0 22,055 3.6 23,991 3.9 60,290 9.4 43,435 6.8 68,911 11.1 77,081 12.5 65,961 10.3 65,853 10.3 180,128 29.2 166,358 26.9 173,247 26.9 165,839 26.0 128,692 20.8 122,570 19.8 117,329 18.2 120,224 18.8 101,055 16.4 102,487 17.7 103,689 16.1 111,442 17.5 80,094 13.0 82,280 13.3 86,341 13.4 89,172 14.0 20,961 3.4 20,208 3.3 17,348 2.7 22,270 3.5 - - - - - - - - 106,805 17.3 113,440 18.4 112,837 17.6 120,326 18.8 75,078 12.2 81,361 13.2 77,509 12.1 79,915 12.5 22,395 3.6 22,346 3.6 27,136 4.2 27,296 4.3 9,332 1.5 9,733 1.6 8,192 1.3 13,115 2.1 - - - - - - - - 9,747 1.6 12,170 2.0 9,429 1.5 10,526 1.7 3 4


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.