รวม2 พร้อมปก Flipbook PDF


6 downloads 121 Views 31MB Size

Story Transcript

ผลการด าเนินงาน


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 ก คำนำ รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพคลินิกอาชีวเวชศาสตร์สำหรับการบริการ ทุติยภูมิโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี2565 เป็นรายงานที่กลุ่มงานอาชีวเวชกรรมจัดทำ ขึ้นเพื่อใช้รายงานผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานเพื่อรายงานต่อสถาบันราชประชาสมาสัย และใช้ประกอบในการพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมพัฒนาด้านการวาง แผนการติดตามการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในฝั่งตะวันออกของ จังหวัดตาก ภายใต้ข้อจำกัดจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด – 19 ที่มีอย่างต่อเนื่อง และถึงแม้ โรคโควิด-19 จะเข้าสู่โรคประจำถิ่นแล้วก็ตาม การระบาดของโรคในสถานประกอบการยังคงใช้มาตรการ การป้องกันของโรคอย่างเคร่งครัด ส่งผลต่อการดำเนินงานตามกิจกรรมในโครงการฯ สถานประกอบการ บางแห่งไม่สามารถให้ลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมตามแผนการปฏิบัติการฯ ได้จึงต้องดำเนินการปรับเปลี่ยน กิจกรรมและสถานที่จัดโครงการฯ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามระยะเวลาที่กำหนด การดำเนิน โครงการนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีจากการทำงานร่วมกันของคณะกรรมเครือข่ายคลินิกโรคจากการทำงาน ระดับจังหวัด ทีมงานบุคลากรกลุ่มงานอาชีวเวชกรรมและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรมขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและจัดทำ รายงาน รวมถึงสถานประกอบการ นายจ้าง พนักงานที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ขอบคุณสถาบัน ราชประชาสมาสัย ที่ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงานโครงการนี้ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรมหวังว่าสรุปผลการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ สำหรับการบริการทุติยภูมิโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชระยะที่ 16 ปี 2565 จะเป็น ประโยชน์ต่อการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม หากมีข้อผิดพลาดหรือ บกพร่องประการใด คณะผู้จัดทำยินดีน้อมรับฟังคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากทุกท่านเพื่อการปรับปรุง ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก มกราคม 2566


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 ข บทสรุปผู้บริหาร โครงการพัฒนาศักยภาพคลินิกอาชีวเวชศาสตร์สำหรับบริการทุติยภูมิในโรงพยาบาล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (คลินิกโรคจากการทำงาน) ปี2565 งบประมาณ 180,000 บาท แหล่งงบ สถาบันราชประชาสมาสัย โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 ถึง ปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกและรับตลอดจนสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสร้าง ความปลอดภัยในการทำงาน 2. เพื่อส่งเสริม/สนับสนุนให้มีการดำเนินการเฝ้าระวังโรค และการบาดเจ็บจากการทำงาน 3. เพื่อให้ผู้รับบริการที่ป่วยด้วยโรคจากการประกอบอาชีพได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง ส่งต่อเหมาะสม 4. เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายในการดูแล/ส่งต่อผู้ป่วยโรคจากการประกอบอาชีพระหว่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล 5. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านอาชีวอนามัยให้มีความรู้ความสามารถในการให้บริการ 6. เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลวิธีการดำเนินงานและพัฒนา โดยยึดแนวทางดำเนินงานและตามกรอบตัวชี้วัดของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ปี2565 มีผลการ ดำเนินงานดังนี้ * เปิดให้บริการทุกวันราชการ เวลา 8.00 – 16.00 น. โดยจะมีแพทย์ซึ่งผ่านการอบรมทาง อาชีวเวชศาสตร์(2 เดือน) ออกตรวจให้บริการ ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนวัย ทำงานได้รับทราบในการให้บริการ หลายช่องทาง ได้แก่ การออกประชาสัมพันธ์โดยตรงในสถาน ประกอบการ จัดบูธนิทรรศการประชุมวิชาการเครือข่ายภายในโรงพยาบาลและภายนอกโรงพยาบาล เสียงตามสายภายในโรงพยาบาล เวปไซค์โรงพยาบาล ไลน์กลุ่มจป.ในจังหวัด ป้ายไวนิล และแผ่นพับ * สร้างเครือข่ายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทุกหน่วยงานย่อยของโรงพยาบาลฯ นอก จากนั้นยังสร้างเครือข่ายภายนอกโรงพยาบาลเชื่อมโยงถึง รพ.สต.ทุกแห่งในเขตอำเภอเมือง โรงพยาบาล ชุมชนฝั่งตะวันออก และสถานบริการสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ ตลอดจนพนักงาน นายจ้างสถาน ประกอบการให้มีความรู้-เข้าใจในการให้บริการด้านอาชีวเวชกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยมีช่องทางการ สื่อสารหลายช่องทางที่สะดวกรวดเร็ว มีการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ด้านอาชีวสุขศาสตร์ การสอน วิธีการใช้เครื่องมืออาชีวสุขศาสตร์ การตรวจสิ่งแวดล้อม การเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อบูรณาการการทำงาน ด้วยกันเป็นทีมและวางแผนแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น มีการจัดอบรม


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 ค ฟื้นฟูความรู้และแนวทางประเมินความเสี่ยงในการทำงานโดยใช้แบบประเมิน RAH.01 มีแนวทางการ ซักประวัติและช่องทางการให้คำปรึกษา การส่งต่อเพื่อเข้ามาตรวจวินิจฉัยโรคจากการทำงานโดยใช้ มาตรฐานเดียวกัน * การสร้างเครือข่ายคลินิกโรคระดับจังหวัดในปี2565 ยังคงมีการประสานงานกันทาง Group Line ของจังหวัด ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรวมถึงตัวแทนลูกจ้าง ผู้ประกันตนและ สถานประกอบการต่างๆภายในจังหวัด สามารถติดตามแก้ไขปัญหาและจัดการภารกิจที่สำคัญได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เช่น การสนับสนุนข้อมูลทบทวนการดูแลพนักงานบาดเจ็บ/ป่วยด้วยโรคจากการทำงาน การติดตามการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคโควิด -19 ของพนักงานในสถานประกอบการ *การให้บริการอาชีวอนามัยเชิงรุก/เชิงรับ ร่วมมือกับสำนักงานประกันสังคมออกหน่วยให้บริการ เชิงรุกเพื่อให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้ประกันตน ให้ความรู้ เกี่ยวกับการทำงานที่ปลอดภัยตามโปรแกรมฯ นอกจากนั้นได้ดำเนินการป้องกันและเฝ้าระวังเชิงรุก โดย การเข้าประเมินความเสี่ยงในการทำงาน (walk through survey) และตรวจกำกับติดตามผลการ ดำเนินการแก้ไขด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง ในสถานประกอบการจำนวน 7 แห่ง จัด โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ/ควบคุมป้องกันโรคจากการทำงานในสถานประกอบการ จำนวน 5 แห่ง สนับสนุนการจัดกิจกรรมร่วมกับศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ (company's wellness center) จำนวน 3 แห่ง และติดตามเยี่ยมสถานที่ทำงานผู้ป่วยโรคซิลิโคสีสในสถาน ประกอบการจำนวน 9 ราย บริการติดตามนัดผู้ป่วยโรคซิลิโคสิสมาตรวจร่างกายและตรวจสมรรถภาพ ปอดและพบแพทย์อาชีวเวชกรรม ดูแลสุขภาพให้คำปรึกษากับผู้ป่วยซิลิโคสิสทั้งหมด 10 ราย มีการดูแล ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ใกล้เคียงสถานประกอบการ โดยมีการสื่อสารความเสี่ยงให้รับทราบ การตรวจ สุขภาพ คืนข้อมูลด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม พร้อมให้คำแนะนำการป้องกันความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมที่ ถูกต้องเหมาะสม การใช้อุปกรณ์และให้อาชีวสุขศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม *การพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในโรงพยาบาลและเครือข่ายนอกโรงพยาบาล โดยปัจจุบันมี พยาบาลที่มีความชำนาญเฉพาะทางอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (4 เดือน) 5 คน ผ่านการอบรม 60 ชม. จำนวน 1 คน นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 3 คน แกนนำอาชีวอนามัยและความปลอดภัยใน หน่วยงาน 56 คน มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานอาชีวอนามัยความปลอดภัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงาน 2 ครั้ง/ปีจัดประชุมเครือข่ายภายนอกโรงพยาบาลเพื่อแจ้งนโยบายและ แนวทางการดำเนินงานอาชีวเวชกรรมและสิ่งแวดล้อมสำหรับสถานบริการระดับปฐมภูมิประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงาน การประสานงานกรณีส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุ/บาดเจ็บ/เจ็บป่วย ด้วยโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลในเขตอำเภอ เมืองตาก จำนวน 22 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนฝั่งตะวันออก จำนวน 3 แห่ง *จัดให้มีการบันทึกรายงานผลการดำเนินงานตามรอบไตรมาส ทุก 4 เดือน ทางเวปไซด์สำนัก โรคจากการประกอบอาชีพ และ เวปไซด์สถาบันราชประชาสมาสัย


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 ง *จัดบริการตามมาตรฐานบริการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มีการปรับพื้นที่/สิ่งแวดล้อมเพื่อ รองรับการให้บริการ ศูนย์สุขภาพดี (wellness center) บริเวณ ชั้น 3 อาคารผู้ป่วยนอก จัดหาอุปกรณ์ ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ปรับรูปแบบการให้บริการแบบ one stop service เพิ่มช่องทางพิเศษการเปิด บัตรเพื่อเข้ารับบริการตรวจสุขภาพเพื่อลดขั้นตอนการให้บริการเพิ่มความรวดเร็วและลดระยะเวลาการรอ คอยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ประกันเวลา) การให้บริการ จัดแพคเกจการให้บริการประเภทต่างๆ ได้แก่ รายการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจตามความเสี่ยง แพคเกจเสริมอาทิการตรวจสมรรถภาพหลอด เลือดแดงด้วยเครื่อง ABI (Ankle Brachial Index) เพื่อค้นหาภาวะหลอดเลือดตีบและภาวะหลอดเลือด แข็งตัว การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (BONE MINERAL DENSITY) การตรวจคัดกรองมะเร็ง เต้านมด้วยวิธีเทคโนโลยีการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ (Mammogram & Ultrasound) เพื่อรองรับ บริการที่ลูกค้าต้องการ , แพคเกจพิเศษตามวาระเทศกาลต่างๆ เพิ่มวันให้บริการโดยแพทย์อาชีวเวช ศาสตร์จากเดิม 2 วัน/สัปดาห์ เป็น 5 วัน/สัปดาห์ กรณีพบปัญหาด้านสุขภาพมีการส่งต่อพบแพทย์ เฉพาะทางและส่งคลินิก DPAC เพื่อรับบริการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จัดบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคโดยเปิดให้บริการ “คลินิกวัคซีนผู้ใหญ่” เพิ่มการให้บริการตรวจสุขภาพทั้งเชิงรับและเชิงรุกกับ ลูกค้าทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ และได้เป็นตัวแทนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบการให้บริการศูนย์ สุขภาพดี ระดับเขต ได้รับรางวัลด้านการส่งเสริมสุขภาพดีเด่นระดับเขตประจำปี 2565 และผ่านการ รับรองมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม จากกรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข ประจำปี 2565 ระดับดีเด่น *ปัญหาอุปสรรค ในปี 2563 – 2565 พบสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด – 19 ที่มีอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้เหลือเวลาในการดำเนินการค่อนข้างน้อย สถานประกอบการบางแห่งไม่สามารถให้ลงพื้นที่ ดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ได้ จึงต้องปรับรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ในขณะที่ บุคลากรที่รับผิดชอบมีไม่เหมาะสมกับปริมาณงาน *ด้านการวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากมลพิษและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมให้มี การวินิจฉัยโรคจากการทำงานยังน้อยยังต้องหารูปแบบและแนวทางการวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม การลงหน้า งานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือส่งผู้บาดเจ็บ/ผู้ป่วยโรคจากการประกอบอาชีพและโรค สิ่งแวดล้อมเพื่อการสอบสวนโรค และวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพ (Y96) ,โรคจากมลพิษและ สิ่งแวดล้อม (Y97) ช่วยสนับสนุนให้มีการวินิจฉัยโรคเพิ่มและถูกต้องมากขึ้น


สารบัญ หน้า คำนำ ก บทสรุปผู้บริหาร ข รายงานผลการดำเนินโครงการคลินิกโรคจากการทำงานปี 2565 1 ส่วนที่ 1 รายละเอียดข้อมูลโรงพยาบาล 1 ส่วนที่ 2 เครื่องมืออาชีวเวชศาสตร์และอาชีวสุขศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินงาน 11 ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 12 ส่วนที่ 4 เปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 3 ปี ย้อนหลัง 22 ส่วนที่ 5 สรุปผลโครงการเฝ้าระวังโรคจากการทำงานในพื้นที่ 25 ส่วนที่ 6 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการดำเนินการแก้ไข 41 ส่วนที่ 7 สรุปข้อมูลสถานการณ์โรค และการบาดเจ็บจากการทำงานของลูกจ้าง ในความคุ้มครองกองทุนเงินทดแทน 1 การซักประวัติด้วยคำถามคัดกรองโรคจากการทำงาน 2 ลูกจ้างที่สงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคจากการทำงานเฉพาะผู้ที่มารับบริการ ณ คลินิกโรคจากการทำงาน 3 การวินิจฉัยโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน 4 การจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรับ 5 การบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกในสถานประกอบการ 6 การสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกโรงพยาบาล 7 สนับสนุนให้สถานประกอบการในพื้นที่สมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อ ดำเนินงานและขอรับการประเมินสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข สถานการณ์โรค และการบาดเจ็บจากการทำงานของลูกจ้างในความคุ้มครอง กองทุนเงินทดแทน 42 42 42 42 43 44 44 53 55 ภาคผนวก 71 *สำเนาโครงการ พร้อมแผนปฏิบัติการโครงการ 72 *สำเนารายงานการประชุม/การพัฒนาเครือข่ายภายใน/ภายนอกโรงพยาบาล 90 *สำเนารายงานผลการดำเนินงานราย 4 เดือนแต่ละงวด 131 * รายชื่อสถานประกอบกิจการที่โรงพยาบาลให้บริการ 136 * แบบฟอร์มต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินงาน 137 * ประมวลภาพกิจกรรมตามตัวชี้วัด 143


เทศบาลตำบลไม้งามและหนองบัวใต้) 10 ตำบล 24,788 หลังคาเรือน ประชากร 76,971 คน (แหล่งข้อมูลhttps://tak.hdc.moph.go.th/) หมายเหตุ 1). พื้นที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชรับผิดชอบของเขตบริการปฐมภูมิคือ เขตเมือง (เทศบาล) 4 ตำบล 16 ชุมชน 6,893 หลังคาเรือน ประชากร 12,538 คน รวมประชากรอำเภอเมือง ตาก ทั้งสิ้น 76,971 คน (แหล่งข้อมูล https://tak.hdc.moph.go.th/) 2). สถิติแรงงานต่างด้าวในเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ขึ้นทะเบียนการประกันสุขภาพที่โรงพยาบาล ปี2560 จำนวน 427 คนและในปี2561 จำนวน 1,167 คน ปี2562 จำนวน 150 คน และ ปี2563 จำนวน 599 คน ปี 2564 จำนวน 460 คน ปี 2565 จำนวน 402 คน (แหล่งข้อมูลจากงานสวัสดิการสังคม) นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในเขตอำเภอวังเจ้าบ้านตากและอำเภอสามเงาซึ่งอยู่ในเครือข่ายที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชต้องรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลบ้านตากและโรงพยาบาล สามเงา ซึ่งมีประชากรในเขตอำเภอบ้านตาก 30,550 คน อำเภอสามเงา 20,802 คน และอำเภอ วังเจ้า 25,710 คนรวมทั้ง 3 อำเภอ ประชากร 77,136 คน *รวมประชากรที่รับผิดชอบ (4 อำเภอ ฝั่งตะวันออก) ทั้งสิ้น 154,107 คน (แหล่งที่มา : https://tak.hdc.moph.go.th/)


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 2 1.4 อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ: ติดต่ออำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ทิศใต้: ติดต่ออำเภอวังเจ้า จังหวัดตากและอำเภอโกสัมพีจังหวัดกำแพงเพชร ทิศตะวันออก: ติดต่ออำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ทิศตะวันตก: ติดต่ออำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 1.5 ข้อมูลสถานบริการสาธารณสุข ฝั่งตะวันออก 4 อำเภอ (หน่วยนับ : แห่ง) ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลสถานบริการสาธารณสุขฝั่งตะวันออก 4 อำเภอ(ข้อมูลณธันวาคม 2565) สถานบริการสาธารณสุข อ.เมือง อ.วังเจ้า อ.บ้านตาก อ.สามเงา โรงพยาบาลทั่วไป 1 - - - โรงพยาบาลชุมชน - 1 1 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 21 5 15 14 โรงพยาบาลค่ายวชิรปราการ 1 - - - สถานีกาชาดเทพรัตน์ 1 - - - กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองตาก 1 - - - ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาฯ ม.นเรศวร 1 - - - คลินิกหมอครอบครัว (PCC) 2 - - - รวม 28 6 16 15


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 3 1.6 ข้อมูลบุคลากรสาธารณสุข ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลบุคลากรในเครือข่ายบริการโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช(ปฏิบัติงาน จริง) ตำแหน่ง รพ.ตสม สสอ.เมือง รวมทั้งCUP ข้าราชการ แพทย์/แพทย์เพิ่มพูนทักษะ ประจำ 61/15 - ประจำ 61/15 ทันตแพทย์ 13 - 13 เภสัชกร 23 - 23 พยาบาลวิชาชีพ/เทคนิค 315/4 29/- 344/4 นวก.สาธารณสุข 21 45 66 ข้าราชการอื่นๆ/ พนักงานราชการอื่นๆ 106/35 10/- 116/35 ลูกจ้างประจำ/ชั่วคราว(ไม่รวมสายวิชาชีพ) 31/141 -/10 31/151 พนักงานกระทรวง สาธารณสุข 258 40 298 รวมทั้งหมด รวม 1,023 134 1,157 ที่มา : ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ สสอ.เมืองตาก (ธันวาคม2565)


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 4 2. แผนยุทธศาสตร์โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ระยะ 5 ปี(ปีงบประมาณ 2563-2567) วิสัยทัศน์ ศูนย์บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขคุณภาพที่ประชาชนไว้วางใจ พันธกิจ M1 ให้บริการสุขภาพแบบองค์รวมเฉพาะทางทุกสาขา M2 บูรณาการงานบริการสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่าย M3 พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลและหลักธรรมภิบาล M4 พัฒนาวิชาการและร่วมผลิตแพทย์แห่งประเทศไทย กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 1 SO พัฒนาคุณภาพบริการทางการแพทย์ร่วมกับภาคีเครือข่าย กลยุทธ์ที่ 2 ST สร้างเสริมพลังการแพทย์ปฐมภูมิและภาคีเครือข่ายในการจัดการสุขภาพ กลยุทธ์ที่ 3 WO พัฒนาระบบบริหารโรงพยาบาลและเทคโนโลยีดิจิทัล กลยุทธ์ที่ 4 WT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงิน การคลังและบุคลากรที่มีสมรรถนะสูง เป้าประสงค์ 1. บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทุติยภูมิระดับสูงได้มาตรฐาน 2. ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้ 3. ระบบบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพทางการเงินการคลัง สามารถรองรับการ พัฒนาโรงพยาบาลให้เติบโตอย่างยั่งยืน 4. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization) บุคลากรมีสมรรถนะสูง และมีความสุข ในการทำงาน วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 1. เพื่อยกระดับการบริการทางการแพทย์และพัฒนาคุณภาพให้ได้การรับรองมาตรฐาน HA อย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคจากภาวะคุกคามทางสุขภาพ 3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานคุณภาพเทคโนโลยีสารสนเทศ (TMI) 4. เพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางการเงินการคลัง 5. เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่มี ประสิทธิภาพ มีสุขภาพที่ดีและมี ความสุขในการทำงาน ประเด็นท้าทายเชิงกลยุทธ์ 1. การพัฒนาคุณภาพบริการทุกระดับให้มีคุณภาพ มาตรฐาน มุ่งสู่ความเป็นเลิศในสาขาที่ กำหนด และสร้างความไว้วางใจจากประชาชนผู้มารับบริการ 2. การจัดการสุขภาพโดยชุมชนมีส่วนร่วม และพัฒนาสู่ชุมชนเข้มแข็ง 3. การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ อย่างมีธรรมาภิบาล 4. การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีสมรรถนะสูงและมีความเชี่ยวชาญ 5. การเงินการคลังมีเสถียรภาพ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 5 ค่านิยมองค์กร “ตั้งใจ สร้างสรรค์ มุ่งมั่นพัฒนา” อัตลักษณ์ ซื่อสัตย์ สามัคคี มีน้ำใจ เข็มมุ่ง • 2P Safety Patient Safety • I4 : ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา • M2 : ปลอดภัยจากการได้รับยา • M5 : ปลอดภัยจากการได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือด • P1 : บ่งชี้ตัวผู้ป่วยถูกต้อง • P3 : ลดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยโรค • E1 : เพิ่มความปลอดภัยในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลง • E2.1 : ลดอัตราตาย Sepsis • E3.3 : ลดและป้องกันการเสียชีวิตจากภาวะ Birth Asphyxia • E 4.1 : เพิ่มประสิทธิภาพการ Triage Personnel Safety • ปลอดภัยจากการติดเชื้อในระหว่างปฏิบัติงาน • Fiscal Management เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง • เพิ่มรายรับ • ลดรายจ่าย


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 6 นโยบายโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ใช้มาตรฐานโรงพยาบาลเป็นแนวทางในการพัฒนา ไปสู่โรงพยาบาลคุณภาพ เพื่อให้ประชาชน และผู้มารับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและมี ความพึงพอใจ โรงพยาบาลมีนโยบาย ดังนี้ 1. มุ่งเน้นความปลอดภัยของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ โดยมีระบบบริการจัดการ ความเสี่ยงที่ มีประสิทธิภาพ 2. จัดระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มุ่งเน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง โดยการมี ส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน เครือข่ายบริการสุขภาพ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. มุ่งเน้นการสร้างขวัญกำลังใจ พัฒนาความรู้ความสามารถ และพฤติกรรมบริการของ บุคลากรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 4. มุ่งเน้นระบบบริหารการเงิน-การคลังที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยยึดหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5. มุ่งเน้นการพัฒนาศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกเพื่อเป็นแหล่งร่วมผลิตแพทย์ที่ได้ มาตรฐานตามเกณฑ์ของแพทย์สภาและWFME นโยบายด้านอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและสภาพ แวดล้อมในการทำงานเพื่อผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและในสถานประกอบการ รวมถึงแรงงานในกลุ่ม อื่น ๆ มีความปลอดภัยในการทำงานและมีสุขภาพดี จึงประกาศนโยบาย ดังนี้ นโยบายสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาล 1. บุคลากรใหม่ของโรงพยาบาลทุกคนต้องได้รับการตรวจสุขภาพแรกเข้าทำงานตามเกณฑ์ที่ กำหนด 2. บุคลากรทุกคนต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงตาม ลักษณะงาน และหากมีการปรับเปลี่ยนงานต้องได้รับการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงก่อน เปลี่ยนงาน 3. บุคลากรต้องมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงตามลักษณะงานทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน 4. โรงพยาบาลสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานดำเนินกิจกรรมด้านการประเมินความเสี่ยงจากการ ทำงาน ด้านสุขภาพอนามัย การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เกิดความปลอดภัยต่อ ผู้ปฏิบัติงาน และส่งเสริมความรู้ด้านอาชีวอนามัยแก่บุคลากรในหน่วยงาน 5. บุคลากรทุกคนต้องให้ความร่วมมือในการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพของโรงพยาบาล และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพ 6. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 7 นโยบายสำหรับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการและแรงงานกลุ่มอื่น ๆ 1. จัดบริการอาชีวอนามัยแบบครบวงจรให้แรงงานในระบบและนอกระบบ ได้แก่ สำรวจ/ประเมิน ความเสี่ยงในสถานประกอบการ สื่อสาร จัดโปรแกรมความปลอดภัยในการทำงานและบริหาร จัดการดูแลหลังบาดเจ็บ/เจ็บป่วยจากการทำงาน (Return to work) 2. ดำเนินการด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในสถานประกอบการ/สถานที่ทำงาน ได้แก่ การ ตรวจสุขภาพแรกทำงาน ตรวจสุขภาพประจำปีตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง และตรวจสุขภาพ เมื่อเปลี่ยนงานหรือเมื่ออกจากงาน 3. ร่วมกับภาคีเครือข่ายในการให้บริการอาชีวอนามัยแก่ผู้ประกอบอาชีพ 4. ดำเนินการเพื่อให้เกิดการวินิจฉัยโรคจากการทำงานอย่างต่อเนื่อง 5. ดำเนินการด้านเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ประชาชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม มลพิษสิ่งแวดล้อมหรืออุบัติภัยฉุกเฉินได้รับการดูแลสุขภาพ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 8 -กลุ่มงานบัญชี -กลุ่มงานพัสดุ -กลุ่มงาน โครงสร้างพื้นฐาน และวิศวกรรมทาง การแพทย์ -กลุ่มงาน ทรัพยากรบุคคล -กลุ่มงานการเงิน -กลุ่มงานบริหาร ทั่วไป โครงสร้างการบริหารงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นายบรรเจิด นนทสูติ กลุ่มภารกิจด้าน อำนวยการ กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบ บริการสุขภาพ -กลุ่มงานสารสนเทศทาง การแพทย์ -กลุ่มงานประกันสุขภาพ -กลุ่มงานยุทธศาสตร์และ แผนงานโครงการ -กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากร บุคคล -กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการ และมาตรฐาน กลุ่มภารกิจด้านการ พยาบาล (กลุ่มการพยาบาล) -กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วย อุบัติเหตุฉุกเฉิน -กง.การพยาบาลผู้ป่วยนอก -กง.การพยาบาลผู้ป่วยหนัก -กง.การพยาบาลผู้ป่วยคลอด -กง.การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด -กง.การพยาบาลวิสัญญี -กง.การพยาบาลผู้ป่วย อายุรกรรม -กง.การพยาบาลผู้ป่วย ศัลยกรรม -กง.การพยาบาลผู้ป่วยสูติ-นรี เวชกรรม -กง.การพยาบาลผู้ป่วยกุมาร เวชกรรม -กง.การพยาบาลผู้ป่วย ออร์โธปิดิกส์ -กง.การพยาบาลผู้ป่วยโสต ศอ นาสิก จักษุ --งานควบคุมและป้องกันการติด เชื้อใน รพ. -กง.การพยาบาลตรวจรักษา พิเศษ :ไตเทียม -กง.วิจัยและพัฒนาการ พยาบาล กลุ่มภารกิจ ด้านบริการทุติและตติยภูมิ -กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม -กลุ่มงานศัลยกรรม -กลุ่มงานอายุรกรรม -กลุ่มงานกุมารเวชกรรม -กลุ่มงานศัลยกรรม ออร์โธปิดิกส์ -กลุ่มงานเวชศาสตร์ ฉุกเฉินนิติเวชฯ -กลุ่มงานวิสัญญีวิยา -กลุ่มงานจักษุวิทยา -กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก -กลุ่มงานจิตเวช -กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู -กลุ่มงานพยาธิวิทยากาย วิภาค -กลุ่มงานเทคนิค การแพทย์และพยาธิ วิทยาคลินิก -กลุ่มงานรังสีวิทยา -กลุ่มงานเภสัชกรรม -กลุ่มงานทันตกรรม -กลุ่มงานโภชนศาสตร์ -กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ รอง ผอก..ฝ่ายบริหาร นางสุพัตรา แจ่มตระกูล รอง ผอก..ฝ่ายการแพทย์ นายวันชัย พินิชกชกร รอง ผอก..ฝ่ายการพยาบาล นางสาวชลาลัย เขียวสุวรรณ กลุ่มงานแพทย์แผน ไทยและการแพทย์ ทางเลือก -กลุ่มงานเวช กรรมสังคม -กลุ่มงานสุขศึกษา -กลุ่มงาน อาชีวเวชกรรม -กลุ่มงานการ พยาบาลชุมชน กลุ่มภารกิจด้าน บริการปฐมภูมิ ภารกิจด้านผลิต บุคลากรทางการแพทย์ -ศูนย์แพทยศาสตร์ ศึกาชั้นคลินิก -กง.ฝึกอบรมพัฒนา บุคคลากรทาง การแพทย์ ผอก..ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา นายชัยกิจ อุดแน่น ศูนย์คุณภาพ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 9 โครงสร้างการบริหารงานของกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นายบรรเจิด นนทสูติ หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริการด้านปฐมภูมิ นางสาวรุ่งนภา ศิริพรไพบูลย์ หัวหน้างานอาชีวเวชกรรม นางสุนิตรา ทองดี งานอาชีวเวชกรรมคลินิกและคลินิก โรคจากการทำงาน นางสาวสุทิน ใจรักษ์ นางยุภาวดี กอกกาวงษ์ งานอาชีวป้องกัน และควบคุมโรค นส.พานิดา คงมั่นคุณธรรม งานพิษวิทยาและ เวชศาสตร์ สิ่งแวดล้อม นส.พรรณกมล มนตรี งานสร้างเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสภาพวัย ทำงาน นางเกษร สมวงษ์อินทร์ งานธุรการในกลุ่มงาน นางราตรี คาลายานนท์ งานอาชีวอนามัย ความปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อม นายปพณวิช วันใจ งานตรวจสุขภาพ นางภารดี วรรณพงษ์


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 10 ตารางที่ 3 อัตรากำลังในกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม จำนวนบุคลากรผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม/งานอาชีวอนามัย ประเภท รายละเอียด จำนวน (คน) - แพทย์ วุฒิบัตร (วว) ด้านอาชีวเวชศาสตร์ 0 อนุมัติบัตร (อว.) ด้านอาชีวเวชศาสตร์ 0 ผ่านการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานด้านอาชีวเวชศาสตร์ (หลักสูตร 2 เดือน) 2 แพทย์อื่นๆ ได้แก่......แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว...... 2 - พยาบาล ปริญญาโททางด้านพยาบาลอาชีวอนามัย 0 ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางด้านการพยาบาล อาชีวอนามัย (หลักสูตร 4 เดือน) 4 ผ่านการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานด้านอาชีวอนามัย สำหรับ พยาบาล (หลักสูตร 60 ชั่วโมง) 1 ผ่านการอบรมหลักสูตรเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม 0 - นักวิชาการ สาธารณสุข ปริญญาตรีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1 ปริญญาตรีด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 0 ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาสาธารณสุขอื่นๆ 2 -สายสนับสนุน พนักงานพิมพ์,เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 1 ภารกิจ/บทบาทหน้าที่ เจตจำนง/ความมุ่งหมายของหน่วยงาน ให้บริการด้านอาชีวอนามัยแก่บุคคลวัยทำงานให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุจากงาน โรคจากการประกอบอาชีพและมีสุขภาวะ ตลอดจนดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม และ มีความพึงพอใจในบริการที่ได้รับ หน้าที่ความรับผิดชอบ ให้บริการตรวจพิเศษทางอาชีวเวชกรรม ตรวจวินิจฉัย รักษาพยาบาลผู้ป่วยจากการ ประกอบอาชีพส่งต่อและประสานงานกับกลุ่มเทคนิคบริการอื่นๆ ให้ความรู้ จัดบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ แก่ผู้ประกอบอาชีพ เฝ้าระวังโรคในสถานประกอบการทั้งโรคจากการประกอบอาชีพและโรคเรื้อรัง ทำ การตรวจสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมืออาชีวเวชศาสตร์และอาชีวสุขศาสตร์ตลอดจน ติดตามประเมินผลด้านอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ สำรวจค้นหา ประเมินความเสี่ยงและสิ่งคุกคาม ที่ก่อให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพ ประเมินสภาวะสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงานใหม่หลังจากการ เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บเป็นศูนย์ข้อมูลและให้คำปรึกษาเรื่องโรคและภัยจากการทำงานและข้อมูลทาง พิษวิทยา ศึกษาวิจัยโรคและภัยจากสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เป้าหมาย เพื่อให้ผู้รับบริการปลอดภัยจากโรคและอุบัติเหตุจากการทำงานและมีความพึงพอใจใน บริการที่ได้รับ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 11 ส่วนที่ 2 เครื่องมืออาชีวเวชศาสตร์และอาชีวสุขศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินงาน ตารางที่ 4 เครื่องมืออาชีวเวชศาสตร์และอาชีวสุขศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินงาน เครื่องมือ รุ่น จำนวน (เครื่อง) สภาพการใช้งาน แหล่งที่มา ปกติ รอ ซ่อม รอ จำหน่าย เครื่องตรวจ สมรรถภาพปอด CareFusion 2 / - - สนับสนุนจากศูนย์ แพทยศาสตร์ ศึกษา/ร.พสมเด็จฯ เครื่องตรวจ สมรรถภาพ การมองเห็น VTI/MASTER 1 / - - งบค่าเสื่อมระบบ หลักประกันสุขภาพ เครื่องตรวจ สมรรถภาพ การได้ยิน Fonix FA 12 1 / - - กองอาชีวอนามัย GSI 18 1 / - - งบค่าเสื่อมระบบ หลักประกันสุขภาพ เครื่องตรวจวัดแสง 407026 1 / - - สนับสนุนจากศูนย์ แพทยศาสตร์ เครื่องตรวจวัด ความร้อน QT36 1 / - - กองอาชีวอนามัย เครื่องตรวจวัดเสียง SE-400 Series 1 / - - งบค่าเสื่อมระบบ หลักประกัน


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 12 ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด กิจกรรม ผลงาน งบประมาณ (บาท) 1.การ จัดตั้ง คลินิกโรค จากการ ทำงาน 1.1มีการวินิจฉัยโรคจากการทำงานและมีการลงรหัสสาเหตุ ภายนอกว่าเกิดจากการทำงาน (Y96) หรือ รหัสสาเหตุ ภายนอก หลักที่ 4 ลงท้ายด้วย 2 กรณีบาดเจ็บหรือพิษ การดำเนินการ มีการประสานแพทย์เจ้าของคนไข้แผนกผู้ป่วยนอก ตึก อุบัติเหตุและฉุกเฉินและเจ้าหน้าที่เวชระเบียน(coder) ใน การลงรหัสการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน กรณีพบผู้ป่วย บาดเจ็บจากการทำงานให้ส่งซักประวัติอย่างละเอียดที่กง.อา ชีวเวชกรรมเพื่อหาสาเหตุและหาแนวทางป้องกันพร้อมให้อา ชีวสุขศึกษา พร้อมนำข้อมูลมาตรวจสอบซ้ำกับศูนย์ข้อมูล เพื่อสรุปรายงานฯ - ไม่ใช้ งบประมาณ 1.2 การเปิดคลินิกให้บริการเชิงรับในโรงพยาบาล การดำเนินการ คลินิกโรคจากการทำงาน จัดตั้งเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2553 เปิดให้บริการที่อาคารผู้ป่วยนอกชั้น 3 คลินิกบริการมีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ออกตรวจทุกวันจันทร์ –วันศุกร์เวลา 8.00-16.00 น. หยุดวันหยุดราชการและ นักขัตฤกษ์ - ไม่ใช้ งบประมาณ 1.3 การจัดทำป้ายบอกทางการไปรับบริการ ณ คลินิกโรค จากการทำงานแก่ผู้รับบริการ การดำเนินการ มีการจัดทำป้ายแนะนำคลินิกโรคจากการทำงาน ขอบเขตการบริการ และติดตั้งป้าย ณ จุดให้บริการเพื่อ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการรับทราบ มีความสะดวกในการ มารับบริการ - ไม่ใช้ งบประมาณ 1.4 การประชาสัมพันธ์การให้บริการทั้งในโรงพยาบาลและ นอกโรงพยาบาล การดำเนินการ จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์คลินิกบริการ จัดทำแผ่นพับ แนะนำคลินิกโรคจากการทำงานและการบริการเพื่อใช้ในการ ประชาสัมพันธ์ทั้งในโรงพยาบาลและในสถานประกอบการ จัดทำโครงการออกหน่วยร่วมกับประกันสังคมจังหวัดเพื่อให้ ความรู้แนะนำคลินิกบริการแก่สถานประกอบการและลูกจ้าง โดยตรงและผ่านทางเวปไซค์ของรพ. จัดทำป้าย ประชาสัมพันธ์ คลินิกบริการ 4 ป้าย ,ป้ายสอด แสดงคุณภาพ อากาศ 1 ป้าย, ป้ายฟิวเจอร์ บอร์ดแจ้ง อันตรายจากเสียง 12 แผ่น, แผ่น พับแนะนำคลินิก บริการ 100 งบคลินิกโรค 17,300


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 13 ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด กิจกรรม ผลงาน งบประมาณ (บาท) 2. การ สร้าง เครือข่าย ระหว่าง หน่วยงาน ภายในและ ภายนอก โรงพยาบาล 2.1 การจัดประชุม/อบรมร่วมกับแผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภายใน โรงพยาบาลเพื่อสร้างเครือข่ายการคัดกรอง การรับ-ส่งต่อผู้ป่วย โรค/การบาดเจ็บจากการทำงาน การดำเนินการ ปี 2565 กลุ่มงานอาชีวเวชกรรมได้จัดประชุม คณะกรรมการดำเนินงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน และติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดำเนินการ จัดประชุมแกนนำอาชีวอนามัยของแต่ละหน่วยงานพร้อมทั้ง ลงหน้างานเพื่อประสานงานและแจ้งแนวทางการจัดบริการ อาชีวอนามัยตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและ เวชกรรมสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงพยาบาลทั่วไป - ประชุมคณะ กรรมการฯ 2 ครั้ง - ประชุมแกน นำฯและลง หน้างาน 1 ครั้ง งบคลินิกโรค 900 ไม่ใช้ งบประมาณ 2.2 การจัดประชุม/อบรมเพื่อสร้างเครือข่ายการคัดกรอง การรับ-ส่งต่อและดูแลผู้ป่วยโรค/บาดเจ็บจากการทำงานจาก หน่วยบริการสุขภาพภายนอกโรงพยาบาล เช่น รพ.เอกชน , ร.พ.ชุมชน รพ.สต.(ศูนย์สุขภาพชุมชน) และสถาน ประกอบการ การดำเนินการ จัดประชุมเครือข่ายคลินิกโรคจากการทำงานหน่วยบริการ สุขภาพโรงพยาบาลระดับชุมชนในเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพระดับตำบล เพื่อแจ้งแนวทางการจัดบริการอาชีวอนามัย ตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรม สิ่งแวดล้อมสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและแจ้ง แนวทาง/ช่องทางการประสานการส่งต่อ กรณีส่งผู้รับบริการได้รับ อุบัติเหตุ บาดเจ็บขณะทำงานหรือป่วยด้วยโรคจากการทำงาน จัดประชุม 1 ครั้ง งบคลินิกโรค 2,000


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 14 ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด กิจกรรม ผลงาน งบประมาณ (บาท) 2. การ สร้าง เครือข่าย ระหว่าง หน่วยงาน ภายในและ ภายนอก โรงพยาบาล 2.3 มีการจัดกิจกรรมบูรณาการจัดบริการอาชีวอนามัยเชิง รุกแก่สถานประกอบการร่วมกับคณะทำงานเครือข่ายคลินิก โรคจากการทำงานระดับจังหวัด โดยเฉพาะสำนักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักงาน ประกันสังคมจังหวัดฯลฯ -ประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน/ติดตามการปรับปรุง สิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการฝั่งตะวันออกโดยเครือข่าย คณะกรรมการคลินิกโรคจากการทำงานและทีมงานที่เกี่ยวข้อง( walk through survey) -ติดตามการแก้ไขความเสี่ยงในการทำงานและ walk through survey ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย นเรศวร - การส่งเสริมสุขภาพและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค(วัคซีน ไข้หวัดใหญ่) ผู้ประกันตนอายุ 50 ปีขึ้นไป ร่วมกับสำนักงาน ประกันสังคมจังหวัด ปี2565 -ร่วมการสัมนาในหัวข้อ “ทัศนคติเชิงบวก” และจัดกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน ตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในการทำงาน พนักงานบริษัทอรรฐนีอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ร่วมกับ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด -วิทยากรสอนโรคไม่ติดต่อแนะนำคลินิกโรค ช่องทางการรับ บริการและการส่งต่อและคลินิกโรคมลพิษ พนักงานศูนย์ การศึกษาพิเศษ ร่วมกับงานประกันสังคมจังหวัด -วิทยากรแนะนำการเลิกบุหรี่และสุรา แนะนำคลินิกโรค ช่อง ทางการรับบริการและการส่งต่อและคลินิกโรคมลพิษ พนักงานอุทยานแห่งชาติลานสาง ร่วมกับงานประกันสังคม จังหวัด -จัดนิทรรศการความปลอดภัยอาชีวอนามัยพนักงานเขื่อน พนักงาน กฟผ.เขื่อนภูมิพลร่วมกับสำนักงานประกันสังคม จังหวัด (คน/แห่ง) 390/7 150/4 ผู้ประกันตน 361 /10 42/1 50/1 43/1 100/1 งบคลินิกโรค 3,600 ไม่ใช้ งบประมาณ ไม่ใช้ งบประมาณ ไม่ใช้ งบประมาณ ไม่ใช้ งบประมาณ ไม่ใช้ งบประมาณ ไม่ใช้ งบประมาณ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 15 ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด กิจกรรม ผลงาน งบประมาณ (บาท) 3. การ จัดบริการ อาชีวอนามัย เชิงรุกเชิงรับ 3.1 การจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรับ เช่น การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง (โดยมีการ บันทึกข้อมูลการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง จากการทำงานในแฟ้ม SPECIALPP ในระบบ HDC ตามแนวทางที่กำหนด) การให้อาชีวสุข ศึกษา การให้คำปรึกษาทางด้านอาชีวอนามัย ฯลฯ 5,102 ราย ไม่ใช้ งบประมาณ 3.2 การจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกใน สถานประกอบการกลุ่มเสี่ยงปัจจัยทางเคมี กายภาพ การยศาสตร์ - ตรวจสุขภาพประจำปี - ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงพนักงานใน สถานประกอบการ - ตรวจประเมินสิ่งแวดล้อมด้วยเครื่องมือ อาชีวสุขศาสตร์ในสถานประกอบการ - คัดกรองโรคจากการทำงาน - ออกติดตามเยี่ยมบ้านและสถานที่ทำงาน ผู้ป่วยด้วยโรคจากการทำงาน - จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและสนับสนุน วิทยากรให้ความรู้ บริการให้อาชีวสุขศึกษา คำปรึกษาด้านความปลอดภัย/อุปกรณ์การ ป้องกันและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเป็นสถาน ประกอบการกลุ่มเสี่ยงปัจจัยทางเคมี กายภาพ การยศาสตร์ (ราย/แห่ง) 1,693/52 260/11 1,605/15 517/25 9/9 5,876/250 - ไม่ใช้ งบประมาณ ,, ,, งบคลินิกโรค 6,200 ไม่ใช้ งบประมาณ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 16 ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด กิจกรรม ผลงาน งบประมาณ (บาท) 3. การ จัดบริการ อาชีวอนามัย เชิงรุกเชิงรับ 3.3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคแก่ลูกจ้างร่วมกับ”ศูนย์สุขภาพ คนทำงานองค์รวมของสถานประกอบการ” - จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเข้าร่วมจัดตั้งศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานและ ดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน -วิทยากรบรรยายหัวข้อ “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงาน wellness center ของ โรงพยาบาลต้นแบบ”ในการจัดประชุมชี้แจง ตัวชี้วัด แนวทางการดำเนินงาน มาตรการ ขับเคลื่อนและสนับสนุนเครือข่ายด้านโรคจากการ ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมปี 2566 จนท.สา ธารณสุขเครือข่ายเขตสุขภาพที่ 2 (ผ่านระบบ VDO conference) (ราย/แห่ง) 165/3 100/100 ไม่ใช้ งบประมาณ ไม่ใช้ งบประมาณ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 17 ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด กิจกรรม ผลงาน งบประมาณ (บาท) 3. การ จัดบริการ อาชีวอนามัย เชิงรุกเชิงรับ 3.4 จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค/ การบาดเจ็บจากการทำงานอย่างต่อเนื่องตาม ความเสี่ยงของสถานประกอบการในพื้นที่พิจารณา จากโรคและการบาดเจ็บที่ต้องเฝ้าระวัง 7 กลุ่ม โรค (โรคที่เกิดจากแร่ใยหิน โรคปอดฝุ่นหิน โรค พิษสารโลหะหนัก โรคระบบโครงร่างกระดูกและ กล้ามเนื้อ โรคปอดฝุ่นฝ้าย โรคพิษสารตัวทำ ละลาย และการบาดเจ็บจากการทำงาน) หรือ สอดคล้องกับพรบ.หรือบริบทของพื้นที่ - อบรมเชิงปฏิบัติการยับยั้งโรคปอดฝุ่นหิน:หยุดการ ซ้ำเติมปอดด้วยบุหรี่ พนักงานบริษัทสหเฮง มายนิ่ง จำกัด อ.เมืองตาก -อบรมเชิงปฏิบัติการ “ชวนกันฟิต พิชิตพุง มุ่งสู่ สุขภาพดีเริ่มต้นที่ ใส่ใจ 3อ. บอกลา 3ส.”และ การสวมอุปกรณ์ป้องกันขณะปฏิบัติงานพนักงาน บริษัทต้นน่านทรานเทค จำกัด อ.วังเจ้า -อบรมเชิงปฏิบัติการ“การส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน โรคจากการทำงานในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์” พนักงานบริษัทเอสเคอิน เตอร์ฟู๊ด จำกัด อ.เมืองตาก -อบรมส่งเสริมสุขภาพผู้ประกันตนกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : BYE BYE FAT 2022 ผู้ประกันตนกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช -ประชุมเชิงปฏิบัติการรองรับอุบัติภัยจากสารเคมี วัตถุอันตรายเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอ เมืองตาก ปี2565 -โครงการ “ฟิตเนส เส้นทางสู่สุขภาพดี” บุคลากร โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ราย/แห่ง) 32/1 34/1 92/1 80/1 165/1 1 แห่ง งบคลินิกโรค 9,940 10,180 17,540 18,000 31,710 งบประมาณ องค์การเภสัช กรรม 200,000


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 18 ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด กิจกรรม ผลงาน งบประมาณ (บาท) 4.การพัฒนา บุคลากรด้าน อาชีวอนามัย 4.1 การพัฒนาศักยภาพด้านอาชีวอนามัยของกลุ่มงาน อาชีวเวชกรรม/ผู้รับผิดชอบงาน -การประชุมสัมมนาการพัฒนาเครือข่ายคลินิกมลพิษ (ผ่านระบบ VDO conference) จัดโดย รพ.นพรัต นราชธานีวันที่ 13-14 ม.ค.65 -พัฒนาศักยภาพหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการ ประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม(ทฤษฎี)(ผ่าน ระบบ VDO conference) จัดโดย กรมควบคุมโรค วันที่ 10-11 ม.ค.65 - พัฒนาศักยภาพหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการ ประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม(ปฏิบัติ) กรมควบคุมโรค (ผ่านระบบ VDO conference) จัดโดย กรมควบคุมโรค วันที่ 24-25 ม.ค.65 -พัฒนาศักยภาพบุคลากรของหน่วยบริการสุขภาพและ เครือข่ายทุกสังกัดตามมาตรฐานการให้บริการของ พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพฯ พ.ศ.2562 จัดโดย กรมควบคุมโรค วันที่ 23-25 ก.พ.65 -Balancing Adaption and Innovatiom forv Resilience in Healthcare in an Endemic จัดโดย รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วันที่ 9 มี.ค.65 -Personnelb safety what Happens what Happens when COVID Becomes Endemicจัดโดย รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วันที่ 10 มี.ค.65 -Vape or Healy let scalin up Control Now or Nerer จัดโดย รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วันที่ 10 มี.ค.65 -มองระบบสุขภาพ ว่าด้วย การถ่ายโอน รพ.สตสู่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จัดโดย รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช วันที่ 11 มี.ค.65 -Omicron oh my Cod!! จัดโดย รพ.สมเด็จ พระเจ้า ตากสินมหาราช วันที่ 11 มี.ค.65 (คน) 2 7 7 2 1 1 1 1 1 ไม่ใช่งบฯ ไม่ใช่งบฯ ไม่ใช่งบฯ ไม่ใช่งบฯ ไม่ใช่งบฯ ไม่ใช่งบฯ ไม่ใช่งบฯ ไม่ใช่งบฯ ไม่ใช่งบฯ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 19 ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด กิจกรรม ผลงาน งบประมาณ (บาท) 4.การพัฒนา บุคลากรด้าน อาชีวอนามัย 4.1 การพัฒนาศักยภาพด้านอาชีวอนามัยของกลุ่มงานอา ชีวเวชกรรม/ผู้รับผิดชอบงาน - People Safety ระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและ ความปลอดภัยด้วยน้ำใจที่มีส่วนรวม จัดโดย รพ. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วันที่ 11 มี.ค. 65 - การดำเนินงาน Bubble and seal ในเขตสุขภาพที่ 2 จัดโดย กรมควบคุมโรค วันที่ 14 มี.ค.65 -ประชุมราชการเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการดำเนินโครงการ และพัฒนาแบบรายงานผลการดำเนินงานคลินิกโรคจาก การทำงาน จัดโดย สถาบันราชประชาสมาสัย วันที่ 10 ส.ค.65 -ประชุมวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัยแห่งชาติครั้งที่ 9 “smart occupational health nurse 2002” จัดโดย สมาคมพยาบาล วันที่ 22-23 ส.ค.65 -ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการจัดบริการอาชี วอนามัยโรงพยาบาล.จัดโดย เครือข่ายคลินิกโรคจาก การทำงานภาคเหนือตอนล่างเขต 2 ร่วมกับโรงพยาบาล แม่ข่ายภาคเหนือเขต 2 เขต 3 วันที่ 6-9 ก.ย.65 -ประชุมเชิงปฏิบัติการรองรับอุบัติภัยจากสารเคมีอันตราย เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมืองตาก ปี 2565 จัดโดย กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตาก สินมหาราช วันที่ 6 ต.ค.65 - วิทยากรบรรยายหัวข้อ “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การ ดำเนินงาน wellness center ของโรงพยาบาลต้นแบบ” ในการจัดประชุมชี้แจงตัวชี้วัด แนวทางการดำเนินงาน มาตรการขับเคลื่อนและสนับสนุนเครือข่ายด้านโรคจาก การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมปี 2566 เขตสุขภาพ ที่ 2 จัดโดย สคร.2 วันที่ 16 พ.ย.65 (คน) 1 2 1 2 3 8 2 ไม่ใช่งบฯ ไม่ใช่งบฯ ไม่ใช่งบฯ งบคลินิกโรค 13,313.80 งบคลินิกโรค 10,102 ไม่ใช้งบฯ ไม่ใช้งบฯ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 20 ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด กิจกรรม ผลงาน งบประมาณ (บาท) 4.การพัฒนา บุคลากรด้าน อาชีวอนามัย 4.1 การพัฒนาศักยภาพด้านอาชีวอนามัยของกลุ่มงานอา ชีวเวชกรรม/ผู้รับผิดชอบงาน -อบรมเชิงปฏิบัติการการบริการจัดการงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล (OH&SENN) รุ่น 18 การบริหารจัดการอาชีวอนามัยความ ปลอดภัยของบุคลากรตามมาตรฐาน HA จัดโดย สมาคม โรคจากการประกอบอชีพและสิ่งแวดล้อมวันที่ 28-30 พ.ย.65 -ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายคลินิกโรคจากการทำงาน ปี2565 วันที่ 6 - 7 ธ.ค.65 -ประชุมเชิงปฏิบัติการ “โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพ เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบ อาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด ด้านการ สอบสวนโรคจากการทำงาน” วันที่ 21 ธ.ค.65 . (คน) 2 2 2 เงินบำรุงรพ. 17,496 งบคลินิกโรค 9,303 เงินบำรุงรพ. 1,592


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 21 ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด กิจกรรม ผลงาน งบประมาณ (บาท) 5. การจัดทำ ข้อมูลและการ รายงาน 5.1 การรายงานผลการดำเนินงานรายสี่เดือน ภายในระยะเวลาที่กำหนด(รายงานแบบออนไลน์) 3 ครั้ง/ปี ไม่ใช้งบฯ 5.2 การจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน ประจำปีฉบับสมบูรณ์พร้อมสถานการณ์โรคและ การบาดเจ็บจากการทำงานของผู้ประกันตนตาม กรอบการจัดทำรายงานที่กำหนดส่งภายในวันที่ 30 มกราคมของปีถัดไป 2 ชุดพร้อม ไฟล์ข้อมูลลง แผ่นซีดี จำนวน 1 แผ่น งบคลินิกโรค 1,811 6.การพัฒนา คุณภาพตาม มาตรฐานการ จัดบริการอาชีว อนามัยและ เวชกรรม สิ่งแวดล้อม -ผ่านการรับรองตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีว อนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ระดับดีเด่น -ส่งเครื่องมือด้านอาชีวสุขศาสตร์และเครื่องมือ อาชีวเวชศาสตร์สอบเทียบกับมาตรฐาน ผ่านการ ประเมิน ระดับ ดีเด่น ประจำปี 2565 4 เครื่อง ไม่ใช้งบฯ งบคลินิกโรค 28,100 ปี2565 ได้รับงบประมาณจากราชประชาสมาสัย รวม ใช้งบคลินิกโรคจากการทำงาน งบเหลือคืน ใช้งบอื่น 180,000 บาท 180,000 บาท 0 บาท 219,088 บาท


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 ส่วนที่ 4 เปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 3 ปี ย้อนหลัง ตัวชี้วัด กิจกรรม 3. การจัดบริการ อาชีวอนามัย เชิงรุกเชิงรับ 3.1 มีการจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรับ เช่น การตรวจสุขภาพตา เสี่ยง (โดยมีการบันทึกข้อมูลการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงจาก ทำงานในแฟ้ม SPECIALPP ในระบบ HDC ตามแนวทางที่กำหนด อาชีวสุขศึกษา การให้คำปรึกษาทางด้านอาชีวอนามัย ฯลฯ 2. การจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกในสถานประกอบการกลุ่มเสี่ ทางเคมี กายภาพ การยศาสตร์ - ตรวจสุขภาพประจำปี - การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในการทำงาน - ตรวจประเมินความเสี่ยงในสถานประกอบการ (แห่ง) - บริการให้อาชีวสุขศึกษา คำปรึกษาด้านความปลอดภัย/อุปกรณ ป้องกันและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง - การส่งเสริมสุขภาพพนักงานในสถานประกอบการ/สถานที่ทำง (ราย/แห่ง)


22 ผลงาน ปี 2562 ปี2563 ปี 2564 ปี 2565 ามปัจจัย กการ ด) การให้ 10,373 ราย 5,019 ราย 12,828 ราย 17,455 ราย ยงปัจจัย ณ์การ งาน (ราย) 9132 788 11 2,413 4849/20 (ราย) 6875 248 5 1,615 4881/21 (ราย) 1,386 443 5 1,472 1854/31 (ราย) 1,693 260 15 5,876 3,942/85


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 ส่วนที่ 4 เปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 3 ปี ย้อนหลัง ตัวชี้วัด กิจกรรม 3. การจัดบริการ อาชีวอนามัย เชิงรุกเชิงรับ 3.3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกั ลูกจ้างร่วมกับ “ศูนย์สุขภาพคนทำงานองค์รวมของสถานประกอ - สนับสนุนการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ร่วมกับ “ศูนย์สุขภาพคนทำงานองค์รวมของสถานประกอบการ” สุขภาพพนักงานในสถานประกอบการโดยจัดทำมุมสุขภาพ สมุดบ และแนะนำการบันทึกข้อมูลสุขภาพในสถานประกอบการ -สนับสนุนสถานประกอบการเข้าร่วมและประเมินศูนย์สุขภาพคน รวมผ่านระบบออนไลน์ 3.4 จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค/การบาดเจ็บจา อย่างต่อเนื่องตามความเสี่ยงของสถานประกอบการในพื้นที่พิจาร และการบาดเจ็บที่ต้องเฝ้าระวัง 7 กลุ่มโรค (โรคที่เกิดจากแร่ใยหิ หินโรคพิษสารโลหะหนักโรคระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ ฝ้ายโรคพิษสารตัวทำละลายและการบาดเจ็บจากการทำงาน)


23 ผลงาน ปี 2562 ปี2563 ปี 2564 ปี 2565 ันโรคแก่ บการ” คแก่ลูกจ้าง ด้วยการดูแล บันทึกสุขภาพ นทำงานองค์ 4 แห่ง 0 แห่ง 2 แห่ง 0 แห่ง 1 แห่ง 1 แห่ง 4 แห่ง 1 แห่ง ากการทำงาน รณาจากโรค หินโรคปอดฝุ่น โรคปอดฝุ่น 3 โครงการ 5 โครงการ 3 โครงการ 5 โครงการ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 ส่วนที่ 4 เปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 3 ปี ย้อนหลัง ตัวชี้วัด กิจกรรม 4.การพัฒนาบุคลากร ด้านอาชีวอนามัย 4.1 การพัฒนาศักยภาพด้านอาชีวอนามัยของกลุ่มงาน อาชีวเวชกรรม/ผู้รับผิดชอบงาน 5. การจัดทำข้อมูล และการรายงาน 5.1 การรายงานผลการดำเนินงานรายสี่เดือนตามที่กำหนด(ร ออนไลน์) 5.2 การจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปีฉบับสม สถานการณ์โรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของผู้ประกันต การจัดทำรายงานที่กำหนด 6.การพัฒนาคุณภาพ ตามมาตรฐานการ จัดบริการอาชีว อนามัยฯ -ผ่านการรับรองตามมาตรฐานบริการอาชีว อนามัยและเวชกร สิ่งแวดล้อม จาก กรมควบคุมโรค รวม ใช้งบคลินิกโรคจากการ งบเห ใช


24 ผลงาน ปี 2562 ปี2563 ปี 2564 ปี 2565 6 คน 7 คน 8 คน 8 คน รายงานแบบ 3 ครั้ง 3 ครั้ง 3 ครั้ง 3 ครั้ง มบูรณ์พร้อม ตนตามกรอบ 3 ชุดพร้อมแผ่น ซีดี 3 ชุดพร้อม แผ่นซีดี 2 ชุดพร้อม แผ่นซีดี 2 ชุดพร้อม ไฟล์สรุปฯ รรม ผ่านการ ประเมินระดับ ดีเด่น ผ่านการ ประเมินระดับ ดีเด่น ผ่านการ ประเมินระดับ ดีเด่น ผ่านการ ประเมินระดับ ดีเด่น รทำงาน(บาท) หลือคืน(บาท) ช้งบอื่น(บาท) 130,000 0 30,000 137,000 0 33,500 140,000 0 200,000 180,000 0 219,088


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 25 ส่วนที่ 5 สรุปโครงการเฝ้าระวังโรคจากการทำงานในพื้นที่ สรุปผลโครงการเฝ้าระวังโรคจากการทำงานในพื้นที่ คลินิกโรคจากการทำงาน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก ปี2565 1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยับยั้งโรคปอดฝุ่นหิน : หยุดการซ้ำเติมปอดด้วยบุหรี่ พนักงานบริษัท สหเฮงมายนิ่ง จำกัด อ.เมืองตาก หลักการและเหตุผล บริษัทสหเฮงมายนิ่ง จำกัด เป็นสถานประกอบที่ประกอบธุรกิจประเภทการทำเหมืองแร่และ เหมืองหิน โดยมีกระบวนการการระเบิด ตัดแห่งหินแกรนิต จากการเดินสำรวจ walkthrough survey เพื่อประเมินความเสี่ยงในการทำงานร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปีและตรวจตามความเสี่ยงในการ ทำงาน พบว่า พนักงานมีความเสี่ยงด้านสุขภาพหลายด้าน ได้แก่ ระดับเสียงดังในขณะทำงาน ความร้อน จากบรรยากาศพื้นที่กลางแจ้ง ฝุ่นที่เกิดจากการะเบิด ตัดแต่งหินซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งเสี่ยงต่อการเป็น โรคปอดฝุ่นหิน นอกจากนั้น จากการประเมินซักประวัติพฤติกรรมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง พบว่า พนักงาน ส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมสูบบุหรี่เป็นประจำซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดฝุ่นหิน ให้เร็วมากขึ้น ทั้งนี้ปัจจุบันมีพนักงานของบริษัทป่วยเป็นโรคซิลิโคสิสแล้วจำนวน 2 ราย และถึงแม้จะมี การตรวจสุขภาพประจำปีและตรวจตามความเสี่ยงแล้วแต่ยังคงไม่เพียงพอต่อการป้องกันและเฝ้าระวัง โรคปอดฝุ่นหินที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานที่เหลือได้ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรมจึงจัดทำโครงการอบรมเชิง ปฏิบัติการยับยั้งโรคปอดฝุ่นหิน : หยุดการซ้ำเติมปอดด้วยบุหรี่ ให้กับพนักงานเพื่อให้พนักงานได้มีความรู้ มีทัศนคติที่ดีในการดูแลตนเองให้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในโรคปอดฝุ่นหิน 2. ให้ความรู้ด้านพิษภัยบุหรี่ที่ส่งผลต่อสุขภาพและผลต่อโรคปอดฝุ่นหิน 3. ให้แนวทางการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรคปอดฝุ่นหินโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันและแนวทางการ ลด ละ เลิก บุหรี่ กลุ่มเป้าหมาย พนักงานบริษัท สหเฮงมายนิ่ง จำกัด อ.เมืองตาก จำนวน 30 คน วิธีการดำเนินงาน 1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติจัดทำโครงการ(กิจกรรมที่1 ในโครงการคลินิกโรคฯ ปี2565) 2. ประสานผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ(สถานประกอบการ/ภาคีเครือข่าย) 3. ดำเนินงานตามโครงการโดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้ - การคืนข้อมูลสุขภาพประจำปีพร้อมผลวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ - สถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นความเสี่ยงในบริษัท - เปิดโอกาสแสดงความคิดเห็นภาพรวม - ให้ความรู้เรื่องปอดฝุ่นหิน และพิษภัยบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพ - เชิญชวนปรับพฤติกรรมความเสี่ยง ด้านการสวมใส่อุปกรณ์ที่ป้องกันฝุ่น รวมถึงการปฏิบัติ ตามนโยบาย มาตรการที่บริษัทได้แจ้งไว้ - ประเมินความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและประเมินความพึงพอใจ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 26 ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖5 สถานที่ดำเนินงาน ลานกิจกรรมบริษัท สหเฮงมายนิ่ง จำกัด อ.เมืองตาก จ.ตาก งบประมาณ งบประมาณสนับสนุนจากสถาบันราชประชาสมาสัย จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 9,700 บาท (เก้าพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน) รายละเอียดดังนี้ กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการยับยั้งโรคปอดฝุ่นหิน : หยุดการซ้ำเติมปอดด้วยบุหรี่ พนักงานบริษัท สหเฮงมายนิ่ง จำกัด อ.เมืองตาก จำนวน 30 คน 1 ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,800 บาท 2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,800 บาท 3 ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน เป็นเงิน 3,600 บาท 4 ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 2,000 บาท 5 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 9,700 บาท หมายเหตุค่าใช้จ่ายทุกรายการถัวเฉลี่ยจ่ายได้ การประเมินผลโครงการ ผลผลิต 1. จำนวนพนักงานที่เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมในโครงการเชิงปฏิบัติการครบตามเป้าหมายร้อยละ 100 2. พนักงานสามารถปฏิบัติตัว/สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลได้ถูกต้องและเหมาะสม ร้อยละ 100 3. พนักงานและผู้ประกันตนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 ผลลัพธ์ 1. กลุ่มพนักงานมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวและสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขณะ ปฏิบัติงานได้อย่าง เหมาะสม 2. กลุ่มผู้ประกันตนมีความรู้เข้าใจตระหนักเรื่องสุขภาพและการใช้อุปกรณ์ป้องกันสม่ำเสมอ 3. สถานประกอบการมีการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐาน เพียงพอแก่พนักงานและมีการจัด สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมปลอดภัย วิธีการประเมินผล 1. ประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมของพนักงานที่เข้ารับการอบรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. พนักงานในสถานประกอบการสนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพและสมัครใจในการลด ละเลิกบุหรี่ 2. บริษัทมีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องให้แก่ พนักงานในสถานประกอบการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ งานคลินิกโรคจากการทำงาน กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 27 กำหนดการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยับยั้งโรคปอดฝุ่นหิน : “หยุดการซ้ำเติมปอดด้วยบุหรี่” ณ ห้องลานกิจกรรมบริษัท สหเฮงมายนิ่ง จำกัด อ.เมืองตาก จ.ตาก วันที่ 10 สิงหาคม ๒๕๖5 เวลา 8.00- 16.00 น. .................................. 08.00 - 08.30น. -ลงทะเบียน/ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม 08.30-09.00น. -คืนข้อมูลสภาวะสุขภาพของพนักงาน 09.00 - 10.30น. -โรคปอดฝุ่นหินภัยร้ายใกล้ตัว 10.30 - 10.45น. -พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 - 12.00น. -การควบคุมป้องกันโรคซิลิโคสีสด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพ -การเลือกและฝึกสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)ที่เหมาะสม 12.00 - 13.00น. -พักกลางวัน 13.00 - 14.30น. -บุหรี่กับโรคปอดฝุ่นหิน -อยากเลิกบุหรี่ทำอย่างไร/คลินิกเลิกบุหรี่ 14.30 - 14.45น. -พักรับประทานอาหารว่าง 14.45 - 16.00น. -มาตรการการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันโรคโควิด-2019 -วิธีการล้างมือ 7 ขั้นตอนสู้โควิด-19 16.00 - 16.30น. -ประชาสัมพันธ์บริการคลินิกโรคจากการทำงานและ wellness center รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช -ช่องทางการติดต่อ /ประสานส่งต่อผู้สงสัยโรคจากการทำงาน -ทดสอบความรู้หลังการอบรมและประเมินความพึงพอใจ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 28 สรุปผลการดำเนินโครงการ ดำเนินโครงการวันที่ 10 สิงหาคม 2565 งบประมาณทั้ง โครงการ (บาท) แหล่งงบประมาณ งบประมาณที่ใช้ไป (บาท) คงเหลือ 9,940 จากกองทุนเงิน ทดแทน สำนักโรค จากการประกอบ อาชีพและ สิ่งแวดล้อม จำนวน 9,940 บาท 0 ดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน ผลผลิต (out put) ผลลัพธ์/ผลกระทบที่เกิดจากการ ดำเนินโครงการ (Out come) ดำเนินงานตาม โครงการโดยจัด อบรมเชิงปฏิบัติการ “ยับยั้งโรคปอดฝุ่น หิน : หยุดการซ้ำ เติมปอดด้วยบุหรี่” พนักงานบริษัท สหเฮงมายนิ่ง จำกัด อ.เมืองตาก จ.ตาก จำนวน 32 คน 1.จำนวนพนักงาน/ ที่เข้ารับการอบรมใน โครงการครบตาม เป้าหมาย ร้อยละ 100 2.พนักงานสามารถ สาธิตย้อนกลับเรื่อง ปฏิบัติตัว/สวมใส่ อุปกรณ์ป้องกัน ส่วนบุคคล ได้ ถูกต้องและ เหมาะสม ร้อยละ 100 3.สถานประกอบ การมีการคัดกรอง พนักงานก่อน ทำงานตาม มาตรฐานการ ป้องกันโรคโควิด19 ร้อยละ100 4.พนักงานมีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับ โรคปอดฝุ่นหินและ การสวมอุปกรณ์ ป้องกันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 85 1.ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 32 คนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม ด้านการรับฟังความรู้ด้านวิชาการ โรคปอดฝุ่นหินและเรื่องพิษภัยบุหรี่ 2.พนักงานรับรู้และเข้าใจเรื่องการ สวมใส่อุปกรณ์และการเปลี่ยน หน้ากาก รวมถึงการทำความ สะอาดร่างกายก่อนกลับบ้าน 3.พนักงานที่สูบบุหรี่ให้คำมั่น สัญญาว่าจะพยายาม ลด ละ เลิก บุหรี่ 4.สถานประกอบการปรับปรุง ห้องน้ำ/ห้องอาบน้ำรองรับการ อาบน้ำก่อนกลับบ้านให้พนักงาน 5.สถานประกอบการมีมาตรการ การป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด19


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 29 ประโยชน์ที่ได้รับของโครงการ 1.พนักงานบริษัทเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพิ่มมากขึ้น 2.พนักงานมีทัศนคติที่ดีด้านการดูแลสุขภาพ และมีความรู้-เข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง รวมถึงสามารถการป้องกันโรคปอดฝุ่นหินที่อาจเกิดขึ้น 3.พนักงานมีความตระหนักในการปฏิบัติตัวเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 รูปกิจกรรม กิจกรมการให้ความรู้โรคปอดฝุ่นหินและการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม โดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 30 สอนพิษภัยบุหรี่และให้รางวัลผู้ร่วมตอบคำถาม สาธิตย้อนกลับเรื่องการใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง ตรวจวัดความเข้มแสงสว่างในสำนักงานบริษัทสหเฮงมายนิ่ง


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 31 สรุปผลโครงการเฝ้าระวังโรคจากการทำงานในพื้นที่ คลินิกโรคจากการทำงาน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก ปี 2565 2. โครงการอบรมเชิงอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงานใน อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์พนักงาน บริษัท เอสเคอินเตอร์ฟู๊ด จำกัด อ.เมือง จ.ตาก หลักการและเหตุผล อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์พนักงาน บริษัท เอสเคอินเตอร์ฟู๊ด จำกัด เป็นสถาน ประกอบการที่มีการดำเนินการด้านเนื้อสัตว์สด ส่งผลิตภัณฑ์เนื้อหมูสดออกสู่ตลาดรายวัน มีพนักงานประจำ 147 คน จากการประเมินความเสี่ยงในสถานที่ทำงานพบว่า มีปัจจัยคุกคามกายภาพที่พบบ่อย ได้แก่ ความ ร้อน ความเย็น เสียงดัง แสงสว่าง ส่วนปัจจัยด้านชีวภาพ พบว่ามีโอกาสสัมผัสสิ่งคัดหลั่งที่มาจากสุกร ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อโรค ปรสิตที่อาจติดมากับสุกร สิ่งคุกคามด้านการยศาสตร์ได้แก่ ท่าทางการทำงานที่ซ้ำๆ เช่น ขยับข้อมือขึ้นลง การบิดเอี้ยวตัว การยืนเป็นเวลานาน สถานที่ทำงานชื้นแฉะ ความเย็นในห้องปฏิบัติการ ชำแหละเนื้อ รวมถึง สิ่งคุกคามด้านจิตสังคมที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงาน เช่นการทำงานภายใต้ชั่วโมงการทำงาน ที่เร่งด่วน อาจเกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน รูปแบบการทำงานแบบช่วงเวลา รวมถึงอุบัติเหตุต่างๆที่อาจ เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน เช่น การใช้มีดตัดแต่งวัตถุดิบ ดังนั้น เพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อสุขภาพ และส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพพนักงาน ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงการดูแลเบื้องต้นปฐมพยาบาลเมื่อ เกิดอุบัติเหตุก่อนนำส่งโรงพยาบาล คลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึง จัดทำโครงการอบรมเชิงอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงานในอุตสาหกรรม เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์พนักงานบริษัท เอสเคอินเตอร์ฟู๊ด จำกัด เพื่อให้พนักงานได้มีความรู้ทักษะใน การการดูแลสุขภาพตนเองให้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความรู้ด้านดูแลสุขภาพและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรค/อันตรายที่เกิด จากงาน 2. ให้ความรู้ทักษะในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล 3. ฝึกทักษะการช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้น กลุ่มเป้าหมาย พนักงานบริษัท เอสเคอินเตอร์ฟู๊ด จำกัด อ.เมืองตาก จำนวน 92 คน วิธีการดำเนินงาน 1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติจัดทำโครงการ(กิจกรรมที่1 ในโครงการคลินิกโรคฯ ปี2565) 2. ประสานผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ(สถานประกอบการ/ภาคีเครือข่าย) 3. ดำเนินงานตามโครงการโดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 32 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงานในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์พนักงาน บริษัท เอสเคอินเตอร์ฟู๊ด จำกัด อ.เมืองตาก จ.ตาก จำนวน 92 คน 1 ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 92 คน เป็นเงิน 5,520 บาท 2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 30 บาทจำนวน 92 คน เป็นเงิน 5,520 บาท 3 ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4 ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 2,900 บาท 5 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 17,540 บาท หมายเหตุค่าใช้จ่ายทุกรายการถัวเฉลี่ยจ่ายได้ การประเมินผลโครงการ ผลผลิต 1.จำนวนพนักงานที่เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมในโครงการเชิงปฏิบัติการครบตามเป้าหมายร้อยละ 100 2. พนักงานสามารถปฏิบัติตัว/สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลได้ถูกต้องและเหมาะสม ร้อยละ 100 3.พนักงานและผู้ประกันตนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 ผลลัพธ์ 1. กลุ่มพนักงานมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวและสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขณะ ปฏิบัติงานได้อย่าง เหมาะสม 2. กลุ่มพนักงานมีความรู้เข้าใจตระหนักเรื่องการช่วยเหลือเบื้องต้น การปฐมพยาบาลและสามารถฝึกปฏิบัติได้ วิธีการประเมินผล 1. ประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมของพนักงานที่เข้ารับการอบรม 2. ติดตามอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานลดลง(สถิติจากฝ่ายบุคคลในระยะยาว) ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. พนักงานในสถานประกอบการสนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพ 2. บริษัทมีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องให้แก่ พนักงานในสถานประกอบการ 3. พนักงานได้รับอุบิติเหตุจากการทำงานลดลง หน่วยงานที่รับผิดชอบ งานคลินิกโรคจากการทำงาน กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 33 กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงานในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ พนักงาน บริษัท เอสเคอินเตอร์ฟู๊ด จำกัด อ.เมืองตาก จ.ตาก ณ ห้องประชุมบริษัท เอสเคอินเตอร์ฟู๊ด จำกัด วันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 8.30- 16.30 น. 08.30 – 09.00 น. - ลงทะเบียน/ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม 09.00 – 10.30 น. - คืนข้อมูลสุขภาพ/ปัญหาและความเสี่ยงที่ตรวจพบในพนักงาน 10.30 – 10.45 น. - พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 – 12.00 น. - อันตรายจากโรคหูดับ สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน - อุบัติเหตุและการป้องกันจากการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม อาหารสด - การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 12.00 – 13.00 น. - พักกลางวัน 13.00 – 14.30 น. - การทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีความเย็นและการป้องกันอันตรายจาก ความเย็น - การเลือกและฝึกการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่เหมาะสม 14.30 – 14.45 น. - พักรับประทานอาหารว่าง 14.45 – 16.00 น. - ปัญหาด้านการยศาสตร์ - การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการปวด/การบาดเจ็บของโรคระบบ กระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน 16.00 – 16.30 น. - ประชาสัมพันธ์บริการคลินิกโรคจากการทำงาน และ Wellness Center รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช - ช่องทางการติดต่อ/ประสานส่งต่อผู้สงสัยโรคจากการทำงาน - ทดสอบความรู้หลังการอบรม


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 34 สรุปผลการดำเนินโครงการ ดำเนินโครงการวันที่ 15 กันยายน 2565 งบประมาณทั้ง โครงการ (บาท) แหล่ง งบประมาณ งบประมาณที่ใช้ไป (บาท) คงเหลือ 17,540 จากกองทุนเงิน ทดแทน สำนัก โรคจากการ ประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม จำนวน 17,540 บาท 0 ดำเนินงาน ผลการ ดำเนินงาน ผลผลิต (out put) ผลลัพธ์/ผลกระทบที่เกิดจาก การดำเนินโครงการ (Out come) โครงการอบรม เชิงปฏิบัติการ อบรมเชิง ปฏิบัติการ “การ ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค จากการทำงานใน อุตสาหกรรม เนื้อสัตว์และ ผลิตภัณฑ์จาก เนื้อสัตว์” พนักงานบริษัท เอสเคอินเตอร์ฟู๊ด จำกัด อ.เมือง จ.ตาก จำนวน พนักงาน/ บุคลากรที่เข้า รับการอบรมใน โครงการเชิง ปฏิบัติการครบ ตามเป้าหมาย 92 คน 1.จำนวนพนักงาน/บุคลากร ที่เข้ารับการอบรมในโครงการ เชิงปฏิบัติการครบตาม เป้าหมาย ร้อยละ 100 2.พนักงานสามารถปฏิบัติ ตัว/สวมใส่PPEและป้องกัน ของมีคมบาด ได้ถูกต้อง ร้อยละ 100 3.พนักงานมีความรู้ด้าน การยศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 99.52 4.สามารถฝึกปฏิบัติการ ปฐมพยาบาลช่วยเหลือ เบื้องต้นกรณีเกิดอุบัติเหตุ 5.ฝึกปฏิบัติการยืดเหยียด กล้ามเนื้อได้ถูกต้องร้อยละ 100 1.พนักงานมีความรู้ความ เข้าใจเรื่องโรคที่เกิดขึ้นจาก การทำงานมากขึ้น 2.พนักงานมีความตระหนักถึง ความปลอดภัยในการทำงาน ป้องกันอุบัติเหตุ/การบาดเจ็บ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทำงาน 3.สถานประกอบการจัดหา อุปกรณ์ชุดปฐมพยาบาลขั้น พื้นฐาน และจัดหาเครื่องวัด ความดันโลหิตไว้ประจำบริษัท 1 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือดูแล สุขภาพพนักงาน 4.สร้างเครือข่ายดูแลส่งเสริม ต่อเนื่อง 5.ยังคงใช้มาตรการการ ป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด 19 ต่อเนื่อง ประโยชน์ที่ได้รับของโครงการ 1.พนักงานบริษัทเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพิ่มมากขึ้น 2.พนักงานมีทัศนคติที่ดีด้านการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังการเกิดโรคที่แฝงมากับการทำงานมี ความรู้-เข้าใจในการดูแลสุขภาพรวมถึงสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ 3.พนักงานรู้วิธีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นร่างกาย


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 35 รูปภาพกิจกรรมบรรยายให้ความรู้และสาธิตการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล บริษัท เอสคอินเตอร์ฟู๊ด อ.เมือง จ.ตาก สอนให้ความรู้เกี่ยวกับโรคจากการทำงานและการสวมใส่PPE สอนให้สาธิตการปฐมพยาบาลเบื้องต้น/สาธิตย้อนกลับ การฝึกหัดยืดเหยียดกล้ามเนื้อและความรู้ด้านการยศาสตร์


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 36 สรุปผลโครงการเฝ้าระวังโรคจากการทำงานในพื้นที่ คลินิกโรคจากการทำงาน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก ปี 2565 3.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติปฏิบัติการ“ชวนกันฟิต พิชิตพุง มุ่งสู่สุขภาพดี เริ่มต้นที่ ใส่ใจ 3อ.บอกลา 3ส.” และการสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงาน พนักงานบริษัทต้นน่านทรานเทคจำกัด หลักการและเหตุผล โรคที่เกิดจากการทํางานในปัจจุบันมีอัตราแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความเร่งรีบ มีการ แข่งขันสูง คนทํางานเกิดความเครียด มีความ กดดัน การมุ่งเน้นประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการทํางาน จนไม่คํานึงถึงสุขภาพ การให้ความสําคัญกับสุขภาพจึงเป็นเรื่องจําเป็นเพราะการไม่มีโรค สุขภาพกายดี สุขภาพจิต จะดีด้วย การมีโรคภัยไข้เจ็บนอกจากจะเสียสุขภาพแล้ว ยังเสียสุขภาพจิต ส่งผลต่อ ครอบครัว สังคม บริษัทต้นน่านทรานเทคจำกัด ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับการขนส่ง การซ่อมเครื่องยนต์รถสินค้า ขนาดใหญ่ ร่วมกับธุรกิจปั้มน้ำมัน พนักงานส่วนใหญ่ต้องเข้าทำงานเป็นช่วงเวลา มีพฤติกรรมการดำเนิน ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆได้ง่าย ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังความเสี่ยงดังกล่าว กลุ่มงาน อาชีวเวชกรรมจึงจัดโครงการ “ชวนกันฟิต พิชิตพุง มุ่งสู่สุขภาพดี เริ่มต้นที่ ใส่ใจ 3 อ.บอกลา 3 ส.” และการสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความตระหนักให้พนักงานได้เริ่มปรับ พฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของโรคเรื้อรัง หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานเพื่อภาวะสุขภาพที่ดีต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความรู้ด้านดูแลสุขภาพและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมเสี่ยงและการ ป้องกันโรค/อันตรายที่เกิดจากงาน 2. สร้างแนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับพนักงาน 3. ให้ความรู้ทักษะในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล 4. ชวนพนักงานลดน้ำหนัก กลุ่มเป้าหมาย พนักงานบริษัทต้นน่านทรานเทค จำกัด อ.วังเจ้า จ.ตาก จำนวน 30 คน วิธีการดำเนินงาน 1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติจัดทำโครงการ(กิจกรรมที่2 ในโครงการคลินิกโรคฯ ปี2565) 2. ประสานผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ(สถานประกอบการ/ภาคีเครือข่าย) 3. ดำเนินงานตามโครงการโดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 37 กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการ “ชวนกันฟิต พิชิตพุง มุ่งสู่สุขภาพดี เริ่มต้นที่ใส่ใจ 3 อ. บอกลา 3 ส.”และการสวมอุปกรณ์ป้องกันขณะปฏิบัติงาน พนักงานบริษัทต้นน่านทรานเทค จำกัด อ.วังเจ้า จ.ตาก จำนวน 30 คน 1 ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,800 บาท 2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,800 บาท 3 ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน เป็นเงิน 3,600 บาท 4 ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 2,000 บาท 5 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 9,700 บาท หมายเหตุค่าใช้จ่ายทุกรายการถัวเฉลี่ยจ่ายได้ การประเมินผลโครงการ ผลผลิต 1.จำนวนพนักงานที่เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมในโครงการเชิงปฏิบัติการครบตามเป้าหมายร้อยละ 100 2. พนักงานสามารถปฏิบัติตัว/สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลได้ถูกต้องและเหมาะสม ร้อยละ 100 3.พนักงานและผู้ประกันตนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 4.. พนักงานที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดน้ำหนักได้ อย่างน้อยร้อยละ 25 ของคนที่เข้าร่วมโครงการ(7 คน) ผลลัพธ์ 1. กลุ่มพนักงานมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวและสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขณะ ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม 2.กลุ่มมีความรู้เข้าใจตระหนักเรื่องการรับประทานอาหารและออกกำลังกายเพิ่มขึ้นจากเดิม 3. พนักงานบางกลุ่มสามารถลดน้ำหนักจากเดิม วิธีการประเมินผล 1.ประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมของพนักงานที่เข้ารับการอบรม 2.ติดตามผลการดูแลสุขภาพและน้ำหนักของพนักงาน(สถิติจากฝ่ายบุคคลในระยะยาว) ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. พนักงานในสถานประกอบการสนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพ 2. บริษัทมีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องให้แก่ พนักงานในสถานประกอบการ 3. พนักงานบางส่วนสามารถลดน้ำหนัก และเป็นบุคคลต้นแบบได้


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 38 กำหนดการ อบรมเชิงปฏิบัติการ : “ชวนกันฟิต พิชิตพุง มุ่งสู่สุขภาพดีเริ่มต้นที่ ใส่ใจ 3อ. บอกลา 3ส.”และการ สวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงานพนักงานบริษัทต้นน่านทรานเทคจำกัด ณ ห้องประชุมบริษัท ต้นน่านทรานเทค จำกัด วันที่ 26 กรกฎาคม ๒๕๖5 เวลา 8.00 - 16.00 น. 08.30 - 09.00น. -ลงทะเบียน/ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม 09.00 - 10.30น. -คืนข้อมูลสภาวะสุขภาพของพนักงานและแนวโน้มสถานการณ์โรค เรื้อรัง/โรคจากการทำงาน -ความเสี่ยงในที่ทำงานชนิด/วิธีเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกัน(PPE) 10.30 - 10.45น. -พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 - 12.00น. -ภาวะอ้วนลงพุง ภัยเงียบเสี่ยงโรค สถานการณ์ -การป้องกัน โดยใช้หลัก 3อ. บอกลา 3ส. 12.00 - 13.00น. -พักกลางวัน 13.00 - 14.30น. -จัดแบ่งกลุ่มตามภาวะสุขภาพ ดี เสี่ยง ป่วย - 10 โปรแกรมสุขภาพ ทางเลือกที่เราเลือกได้ 14.30 - 14.45น. -พักรับประทานอาหารว่าง 14.45 - 15.30น. -ออกแบบ ศูนย์สุขภาพดี วิถีเรา ในสถานประกอบการ 15.30 - 16.00น. -ประชาสัมพันธ์บริการคลินิกโรคจากการทำงานและศูนย์สุขภาพดี รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช -ช่องทางการติดต่อ /ประสานส่งต่อผู้สงสัยโรคจากการทำงาน -ทดสอบความรู้หลังการอบรม


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 39 สรุปผลการดำเนินโครงการ ดำเนินโครงการวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 งบประมาณทั้ง โครงการ (บาท) แหล่ง งบประมาณ งบประมาณที่ใช้ไป (บาท) คงเหลือ 17,540 จากกองทุนเงิน ทดแทน จำนวน 10,180 บาท เบิกส่วนเพิ่มเติมจากโครงการ คลินิกโรคจากการทำงาน ปี2565 ดำเนินงาน ผลการ ดำเนินงาน ผลผลิต (out put) ผลลัพธ์/ผลกระทบที่เกิดจาก การดำเนินโครงการ (Out come) โครงการอบรม เชิงปฏิบัติการ อบรมเชิง ปฏิบัติการ “ชวน กันฟิต พิชิตพุง มุ่งสู่สุขภาพดี เริ่มต้นที่ ใส่ใจ 3 อ. บอกลา 3ส.” และการสวม อุปกรณ์ป้องกัน ส่วนบุคคลขณะ ปฏิบัติงาน พนักงานบริษัท ต้นน่านทรานเทค จำกัด จำนวนพนักงาน สนใจเข้าร่วม อบรมเชิง ปฏิบัติการ มากกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยสามารถ บรรยายทฤษฎี และมีการพูดคุย สอบถามใน ระหว่างการ อบรม มีการฝึก ฝึกปฏิบัติการ เลือกชนิด อุปกรณ์ป้องกัน อัตรายส่วน บุคคล 1.จำนวนพนักงานที่เข้ารับ การอบรมในโครงการเชิง ปฏิบัติการมากกว่า เป้าหมายเดิม 30 คน เพิ่ม 4 คนรวมทั้งหมด 34 คน 2.พนักงานมีความรู้ด้าน3 อ.(อาหาร/อารมณ์/ออก กำลังกาย) 3ส.(สุรา สูบ บุหรี่/สารเสพติด) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 79.16 4.พนักงานเลือกใช้อุปกรณ์ ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้ถูกต้อง ร้อยละ 96.56 1.มีความตระหนักในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 3 ส. และสร้างข้อตกลงในการ ตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักของ กลุ่มพนักงาน 2.พนักงานมีความตระหนักถึง ความปลอดภัยในการทำงาน ป้องกันอุบัติเหตุ/การบาดเจ็บ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทำงาน 3.สถานประกอบการจัดหา อุปกรณ์เครื่องมือวัดความดัน โลหิตไว้ประจำบริษัท 1 เครื่อง เพื่อดูแลสุขภาพ พนักงาน 4.สร้างเครือข่ายดูแลส่งเสริม ต่อเนื่อง 5.สถานประกอบการจะตั้ง รางวัลให้กับพนักงานที่ สามารถลดน้ำหนักลงได้ 5.สมัครเข้าโครงการศูนย์ สุขภาพดีวัยทำงาน ประโยชน์ที่ได้รับของโครงการ 1. พนักงานบริษัทเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพิ่มมากขึ้น 2. พนักงานมีทัศนคติที่ดีด้านการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะด้านพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงสูบบุหรี่ สุรา สารเสพติด 3. มีการรณรงค์เรื่องการลดน้ำหนักและสร้างบุคคลต้นแบบด้านการลดน้ำหนักทำให้เกิด กระแสการลดนำหนักในกลุ่มพนักงานซึ่งเป็นบรรยากาศที่ดีด้านสุขภาพ


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 40 รูปภาพกิจกรรมบรรยายให้ความรู้และสาธิตการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล บริษัท ต้นน่านทรานเทค จำกัด อ.เมือง จ.ตาก ภาวะอ้วนลงพุง / ส่งเสริมสุขภาพ 3 อ 3 ส ความปลอดภัยในการทำงานและการเลือกการใช้PPEที่ถูกต้อง โปรแกรมสุขภาพทางเลือกในการดูแลตนเอง / การเลือกอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล


เอกสารสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2565 41 ส่วนที่ 6 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการดำเนินการแก้ไข ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข 1.การระบาดของโรคโควิด -19 ทำให้เริ่มดำเนิน กิจกรรมได้ช้าและมีช่วงเวลาในการทำกิจกรรม สั้นมาก -ส่วนกลางควรอนุญาตให้มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรม ต่างๆโดยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากลงในทางปฏิบัติ ควร ปรับรูปแบบ/ระบบการทำงานให้สอดคล้องกับการ ระบาดของโรค 2.สถานประกอบการบางแห่งไม่ให้ความร่วมมือ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน โรคจากการประกอบอาชีพ /มลพิษจาก สิ่งแวดล้อม -ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากขึ้น -เครือข่ายระดับจังหวัดต้องเห็นความสำคัญ ร่วมมือ การทำงานให้มากขึ้น -การบังคับใช้กฎหมายกำหนดให้ทุกสถาน ประกอบการมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ/ ป้องกันโรคจากการทำงานในทุกๆปี 3.การส่งต่อผู้ป่วยและคัดกรองโรคจากการ ทำงานจากแผนกต่างๆ เข้าสู่คลินิกโรคจากการ ทำงานค่อนข้างน้อย -จัดทำแนวทางการคัดกรองและการส่งต่อแบบชัดเจน ง่าย เพื่อให้เครือข่ายส่งต่อได้สะดวกมากขึ้น ลงหน้า งานเพื่อกระตุ้นและเน้นย้ำแนวทางการส่งต่อฯ กับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -เพิ่มช่องทางในการติดต่อแบบรวดเร็ว เช่น โทรศัพท์ กลุ่มไลน์แกนนำอาชีวอนามัยในโรงพยาบาล ไลน์ กลุ่ม จป.จังหวัด -ประชาสัมพันธ์ในสถานประกอบการเพิ่มมากขึ้น 4.ในสถานประกอบการบางแห่งขาดข้อมูล พื้นฐานด้านการตรวจสุขภาพแรกทำงานลูกจ้าง ในสถานประกอบการ และการตรวจตามความ เสี่ยงไม่เหมาะสมกับลักษณะงาน เนื่องจากสถาน ประกอบการบางแห่งยังไม่เห็นความสำคัญ -ควรมีการบังคับให้สถานประกอบการปฏิบัติตาม กฎหมายการตรวจสุขภาพแรกทำงานโดยเฉพาะการ ตรวจความเสี่ยงตามลักษณะงาน -กำหนดรายการตรวจตามความเสี่ยงร่วมกับสถาน ประกอบการเพื่อให้มีความเหมาะสมกับลักษณะงาน -แจ้งสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทราบเพื่อ กำชับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย 5.การวินิจฉัยโรค/อุบัติเหตุจากการทำงานไม่ ครอบคลุมทุกราย -แจ้งหลักเกณฑ์และทำความเข้าใจกับองค์กรแพทย์ โดยแพทย์อบรมอาชีวเวชศาสตร์เป็นตัวแทนชี้แจง และให้ข้อมูล -เพิ่มการประชาสัมพันธ์แนวทางการการวินิจฉัยได้ ง่ายและสะดวกขึ้นให้กับบุคลากรทางการแพทย์


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.