แบบฝึกการอ่านจับใจความ ชุดที่ 2 Flipbook PDF

แบบฝึกการอ่านจับใจความ ชุดที่ 2

16 downloads 118 Views 5MB Size

Story Transcript



คำนำ แบบฝึ กทั กษะการอ่ านจั บใจความ กลุ ่ มสาระการเรี ยนรู ้ ภาษาไทย ระดั บชั้ น ประถมศึกษาตอนปลาย การอ่านจับใจความ เล่มนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการฝึกทักษะ การอ่านจับใจความจากสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ทางภาษาอย่างแม่นยำ สามารถอ่านจับใจความได้ถูกต้อง และยัง ทำให้นักเรียนมีความเพลิดเพลิน ตลอดจนมีทักษะที่ดีใ นการเรียน ภูมิใจในผลงานของ ตนเองและเกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาไทย ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ สูงสุดแก่ผู้เรียน ครูและผู้สนใจทุกท่าน

นางสาวนันทยา เกกินะ



สารบัญ เรื่อง

หน้า

คำนำ



สารบัญ



คำชี้แจง



คำแนะนำสำหรับครู



แบบฝึกทักษะที่ ๑



แบบฝึกทักษะที่ ๒



แบบฝึกทักษะที่ ๓



แบบฝึกทักษะที่ ๔



แบบฝึกทักษะที่ ๕

๑๑

แบบฝึกทักษะที่ ๖

๑๓



คำชี้แจง แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เล่มนี้ เป็นแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้สำหรับ เป็นเครื่องมือให้นักเรียนได้ฝึกอ่านจับใจความสำคัญของเรื่องและสรุปประเด็นสำคัญจาก เรื่องที่อ่าน โดยเนื้อเรื่องจะเป็นงานเขียนที่มีเนื้อหาเหมาะสมกับความสามารถและความ สนใจของนักเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ฉบับ ปรับปรุง ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นการฝึกให้รู้จักวิเคราะห์และใช้กระบวนการคิดที่หลากหลาย ปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและมีทักษะพื้นฐานที่ดีในการอ่าน มีความพร้อมที่จะ เรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ มีทั้งหมด ๘ เรื่อง ดังนี้ เรื่องที่ ๑ การอ่านจับใจความนิทาน เรื่องที่ ๒ การอ่านจับใจความบทเพลง เรื่องที่ ๓ การอ่านจับใจความบทความ เรื่องที่ ๔ การอ่านจับใจความพระบรมราโชวาท เรื่องที่ ๕ การอ่านจับใจความสารคดี เรื่องที่ ๖ การอ่านจับใจความเรื่องสั้น เรื่องที่ ๗ การอ่านจับใจความบทโฆษณา เรื่องที่ ๘ การอ่านจับใจความข่าว



คำแนะนำสำหรับครู แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความเล่มนี้ เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้ เกิดทักษะการอ่านจับใจความที่ถูกต้อง ครูควรปฏิบัติดังนี้ ๑. ให้คำแนะนำในการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความ เข้าใจ สามารถฝึกปฏิบัติได้ตามกิจกรรมในแบบฝึกทักษะ มีวินัย มีความรับผิดชอบ และมี ความซื่อสัตย์ในการทำแบบฝึกทักษะ โดยทำข้อตกลงในการเรียน และการวัดผล และ ประเมินผล ๒. ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามแบบฝึกทักษะ ตั้งแต่ต้นจนจบตามลำดับใน แผนการจัดการเรียนรู้ ๓. ครูมีหน้าที่ดำเนินการตรวจแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบ สังเกตพฤติกรรม อำนวยความสะดวกในการทำแบบฝึกทักษะ เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ บันทึกคะแนน แจ้งผลแก่นักเรียน และติดตามซ่อมเสริมนักเรียนที่ไม่ผ่านกิจกรรม





ใบความรู้ การอ่านจับใจความสำคัญ การอ่านจับใจความสำคัญ หมายถึง การอ่านเพื่อค้นหาความคิดสำคัญหรือสาระสำคัญ ของเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งเสนอให้ผู้อ่านทราบ

ใจความสำคัญ หมายถึง ข้อความที่มีสาระคลุม ข้อความอื่นๆ ในย่อหน้าหรือเรื่องนั้นทั้งหมด (ที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องได้ง่าย) โดยมีข้อความอื่นๆ เป็นเพียงส่วนขยาย ใจความสำคัญเท่านั้น ข้อความหนึ่งหรือตอน หนึ่งจะมี ใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียว นอกนั้นเป็นใจความสำคัญรองลงไป

ตัวอย่าง “ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือด ทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทย ทวีมีชัยไชโย” ใจความสำคัญ คือ ความรักชาติไทย



ใบความรู้ การอ่านจับใจความบทเพลง

บทเพลงเป็ นงานเขียนประเภทจรรโลงใจ เป็ นงานเขียนที่ช่วยให้ จิตใจมีความประณี ตขึ้นเป็ นการผ่อนคลายอารมณ์เครี ยด ผูอ้ ่านควรอ่าน ด้วยความตั้งใจ ทาใจให้สบายและใช้จินตนาการตามไปด้วย

หลักในการอ่านจับใจความบทเพลง

๑. ให้นกั เรี ยนฝึ กอ่านอย่างรวดเร็ ว โดยใช้วิธีการ กวาดสายตาจากซ้ายไปขวาเพื่อพิจารณา รายละเอียดของข้อความบทเพลงในแต่ละย่อหน้า ๒. ฝึ กตั้งคาถามจากบทเพลงที่อ่าน โดยใช้คาถาม บทเพลงเกี่ยวกับเรื่ องอะไร ผูเ้ ขียน มีจุดมุ่งหมาย อย่างไร เป็ นต้น ๓. อ่านอย่างพิจารณา เพื่อตอบคาถามที่ต้งั ไว้ ๔. ให้นกั เรี ยนสรุ ปสาระสาคัญตามความเข้าใจโดย การเล่าเรื่ อง หรื อเขียนสรุ ปย่อ



แบบฝึกทักษะที่ ๑ คำชี้แจง นักเรียนอ่านบทเพลงต่อไปนี้แล้วเขียนเรียงลำดับเหตุการณ์ โดยเขียน ตัวเลข ๑ – ๑๐ หน้าข้อความที่กำหนดให้ (๑๐ คะแนน)

เพลงส้มตำ เนื้อเพลง เพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อไปนี้จะเล่าถึงอาหารอร่อย

คือส้มตำกินบ่อยๆรสชาติแซบดี

วิธีทำก็ง่าย จะบอกได้ต่อไปนี้

มันเป็นวิธีพิเศษเหลือหลาย

ไปซื้อมะละกอ ลูกพอเหมาะเหมาะ

สับสับเฉาะเฉาะ ไม่ต้องมากมาย

ตำพริกกับกระเทียม ยอดเยี่ยมกลิ่นอาย

น้ำปลา มะนาว น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บถ้ามี

ปรุงรสให้แซบหนอ ใส่มะละกอลงไป อ้อ! อย่าลืมใส่ กุ้งแห้งป่นของดี มะเขือเทศเร็วเข้า เอาถั่วฝักยาวใส่เร็วรี่

เสร็จสรรพแล้วซี ยกออกจากครัว

กินกับข้าวเหนียว เที่ยวแจกให้ทั่ว

กลิ่นหอมยวนยั่ว น่าน้ำลายไหล

จดตำราจำ ส้มตำลาวเอาตำรามา

ใครหม่ำเกินอัตรา ระวังท้องจะพัง

ขอแถมอีกนิด แล้วจะติดใจใหญ่

ไก่ย่างด้วยเป็นไร อร่อยแน่จริงเอย



___________ ใส่น้ำปลา มะนาว น้ำตาลทราย ___________ วิธีการทำส้มตำ ___________ ปรุงรสให้อร่อย ___________ กินกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง ___________ ใส่มะเขือเทศ และถั่วฝักยาว ___________ ซื้อมะละกอลูกพอดี ___________ ใส่กุ้งแห้งป่น ___________ ใส่มะละกอลงไปในครก ___________ สับมะละกอไม่ต้องมาก ___________ ตำพริกกับกระเทียม



แบบฝึกทักษะที่ ๒ คำชี้แจง นักเรียนอ่านบทเพลงแล้วเขียนเครื่องหมาย

✓ หน้าข้อความที่ตรงกับเนื้อเพลง

และเขียนเครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ไม่ตรงกับเนื้อเพลง (๑๐ คะแนน)

เพลงหน้าที่เด็ก เด็กเอ๋ยเด็กดี

ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน

เด็กเอ๋ยเด็กดี

ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน

หนึง่ นับถือศาสนา

สอง รักษาธรรมเนียมมั่น

สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์

สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน

ห้า ยึดมั่นกตัญญู

หก เป็นผู้รู้รักการงาน

เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ

ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน

แปด รู้จักออมประหยัด

เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล

น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ

ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา

สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์

รูบ้ าปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา

เด็กสมัยชาติพัฒนา

จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ



ตัวอย่าง



หน้าที่ของเด็กมี ๑๐ ประการ

๑. ดีต้องเอาแต่ใจตนเอง ๒. เด็กดีต้องพูดจาสุภาพอ่อนหวาน ๓. เด็กดีต้องเชื่อฟังพ่อแม่ ครู อาจารย์เด็ก ๔. เด็กดีต้องขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน ๕. เด็กดีต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผูอ้ ื่น ๖. เด็กดีต้องแต่งกายทันสมัยใช้ของราคาแพง ๗. เด็กดีต้องรู้จักประหยัดอดออม ๘. เด็กดีต้องมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ๙. เด็กดีต้องไม่ยอมแพ้ใคร ต้องชนะเท่านั้น ๑๐. เด็กดีต้องมักใหญ่ใฝ่สูง



แบบฝึกทักษะที่ ๓ คำชี้แจง นักเรียนอ่านบทเพลงแล้วเขียนค่านิยมที่ปรากฏในเนื้อเพลง ลงในช่องว่าง ให้ถูกต้อง (๑๐ คะแนน)

เพลงค่านิยม ๑๒ ประการ คำร้อง :พันเอก สมศักดิ์ เตียสุวรรณ ทำนอง :ร้อยเอก สุระชัย ถวิลไพร

หนึ่งรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สองซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนได้ สามกตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ สี่มุ่งใฝ่ เล่าเรียน เพียรวิชา ห้ารักษา วัฒนธรรม ประจำชาติ หกไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา เจ็ดเรียนรู้ อธิปไตย ของประชา แปดรักษา วินัย กฏหมายไทย เก้าปฏิบัติ ตามพระราชดำรัส สิบไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้ สิบเอ็ดต้อง เข้มแข็ง ทั้งกายใจ สิบสองไซร้ คิดอะไร ให้ส่วนรวม



ค่านิยม ๑๒ ประการ

ตัวอย่าง รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริ ย์



แบบฝึกทักษะที่ ๔ คำชี้แจง นักเรียนอ่านบทเพลงแล้วตอบคำถามให้ถูกต้อง (๑๐ คะแนน)

เพลง ใครหนอ



ร คำร้อง/ทำนอง สุรพล โทณะวณิก



ใครหนอ รักเรา เท่าชีวี

ใครหนอ ปราณี ไม่มีเสื่อมคลาย

ใครหนอ รักเราใช่เพียงรูปกาย

รักเขาไม่หน่าย มิคิดทำลาย ใครหนอ

ใครหนอ เห็นเรา เศร้าทรวงใน

ใครหนอ เอาใจปลอบเราเรื่อยมา

ใครหนอ รักเราดังดวงแก้วตา

รักเขากว้างกว่า พื้นพสุธา นภากาศ

จะเอาโลก มาทำปากกา

แล้วเอานภา มาแทน กระดาษ

เอาน้ำหมด มหาสมุทรแทนหมึกวาด

ประกาศ พระคุณไม่พอ

ใครหนอ รักเรา เท่าชีวัน (เท่าชีวัน)

ใครหนอ ใครกันให้เราขี่คอ (คุณพ่อ คุณแม่)

ใครหนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ

รู้แล้วละก็ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ

ใครหนอ รักเรา เท่าชีวัน (เท่าชีวัน)

ใครหนอ ใครกันให้เราขี่คอ (คุณพ่อ คุณแม่)

ใครหนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ

รู้แล้วละก็ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ

๑๐

จุดประสงค์ในการเขียนบทเพลงนี้คืออะไร ตอบ............................................................................................................................. ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ๑. เนื้อหาของบทเพลงกล่าวถึงอะไร ตอบ............................................................................................................................. ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ๒. นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อได้อ่านบทเพลงนี้ ตอบ.............................................................................................................................. .......................................................................................................................... .......................................................................................................................... ๓. นักเรียนได้ประโยชน์อย่างไรบ้างจากการอ่านบทเพลงนี้ ตอบ............................................................................................................................. .. ........................................................................................................................... ...........................................................................................................................

๕. นักเรียนจะนำข้อคิดจากการอ่านบทเพลงนี้ไปประยุกต์ใช้ชีวิตประจำวัน ได้อย่างไร ตอบ............................................................................................................................. .. ........................................................................................................................... ...........................................................................................................................

๑๑

แบบฝึกทักษะที่ ๕ คำชี้แจง นักเรียนอ่านบทเพลงแล้วตอบคำถามให้ถูกต้อง (๑๐ คะแนน)

เพลงเยาวชนไทย ร ทรัพย์



ท คำร้อง : เลิศ ประสม

ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน

เยาวชนชาติไทย ต้องหยิ่งในความเป็นไทย ชีวิตจิตใจอย่าให้ใครดูหมิ่น เยาวชนไทยนั้นเป็นไทยทุกเมื่อ จะอยู่เหนืออยู่กลางหรือทางใต้ แม้จะถือศาสนาใดๆ เกิดเป็นไทยต้องเป็นไทยอยู่ชั่วกัลป์ เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า ชาติศาสนามหากษัตริย์ซื่อสัตย์มั่น จงทำดี จงทำดี ไว้ชั่วชีวัน สิ่งสำคัญเพื่อมุ่งให้ชาติไทยเจริญ

๑๒

๑. จุดประสงค์ในการเขียนบทเพลงนี้คืออะไร ตอบ............................................................................................................................. ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ๒. เนื้อหาของบทเพลงกล่าวถึงอะไร ตอบ.............................................................................................................................. .......................................................................................................................... .......................................................................................................................... ๓. นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อได้อ่านบทเพลงนี้ ตอบ.............................................................................................................................. .......................................................................................................................... .......................................................................................................................... ๔. นักเรียนได้ประโยชน์อย่างไรบ้างจากการอ่านบทเพลงนี้ ตอบ............................................................................................................................. . .......................................................................................................................... .......................................................................................................................... ๕. นักเรียนจะนำข้อคิดจากการอ่านบทเพลงนี้ไปประยุกต์ใช้ชีวิตประจำวัน ได้อย่างไร ตอบ............................................................................................................................. .. .......................................................................................................................... ...........................................................................................................................

๑๓

แบบฝึกทักษะที่ ๖ คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านบทเพลงแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด (๑๐ คะแนน) อ่านบทเพลงต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๑ – ๕

เพลงอิ่มอุ่น คำร้อง : ศุ บุญเลี้ยง ทำนอง : ศุ บุญเลี้ยง

อุ่นใดๆ โลกนี้มิมีเทียบเทียม อุ่นอกอ้อมแขนอ้อมกอดแม่ตระกอง รักเจ้าจึงปลูก รักลูกแม่ย่อมห่วงใย ไม่อยากจากไปไกล แม้เพียงครึ่งวัน ให้กายเราใกล้กัน ให้ดวงตาใกล้ตา ให้ดวงใจเราสองเชื่อมโยงผูกพัน อิ่มใดๆ โลกนี้มิมีเทียบเทียม อิ่มอกอิ่มใจ อิ่มรักลูกหลับนอน น้ำนมจากอก อาหารของความอาทร แม่พร่ำเตือนพร่ำสอน สอนสั่ง ให้เจ้าเป็นเด็กดี ให้เจ้ามีพลัง ให้เจ้าเป็นความหวังของแม่ต่อไป ใช่เพียงอิ่มท้องที่ลูกร่ำร้องเพราะต้องการไออุ่น อุ่นไอรัก อุ่นละมุนขอน้ำนมอุ่นจากอกให้ลูกดื่มกิน

๑๔

๑. บทเพลงนี้ให้ข้อคิดอย่างไร ก. ควรกตัญญูต่อแม่ ข. ควรมีกิริยา สุภาพเรียบร้อย ค. ควรช่วยกันรักษาความสะอาด ง. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ๒. บทเพลงนี้กล่าวถึงใครบ้าง ก. แม่ ข. ลูก ค. แม่ ลูก ง. พ่อ แม่ ลูก ๓. บทเพลงนี้กล่าวถึงเนื้อหาใดชัดเจนที่สุด ก. ความรักของพ่อ แม่ ลูก ข. ความรักของลูกที่มีต่อแม่ ค. ความรักของแม่ที่มีต่อลูก ง. ความรักของคนในครอบครัว ๔. ข้อใดเป็นความหวังของผู้เป็นแม่ ก. อยากให้ลูกเป็นคนดี ข. อยากให้ลูกเรียนเก่ง ค. อยากให้ลูกร่ำรวยเงินทอง ง. อยากให้ลูกมีชื่อเสียงโด่งดัง ๕. นักเรียนอ่านบทเพลงนี้แล้วรู้สึกอย่างไร ก. รู้สึกเหงา ข. รู้สึกเศร้าใจ ค. รู้สึกซาบซึ้งใจ ง. รู้สึกสนุกสนาน

๑๕

อ่านบทเพลงต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๖ – ๑๐

เพลงรักเมืองไทย คำร้อง : พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ทำนอง : พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ

รักเมืองไทย ชูชาติไทย ทำนุบำรุงให้รุ่งเรือง สมเป็นเมืองของไทย เราชาวไทยเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (ซ้ำ) ไม่เคยอ่อนน้อมเราไม่ยอมแพ้ใคร (ซ้ำ) ศัตรูใจกล้ามาแต่ทิศใด ถ้าข่มเหงไทย คงจะได้เห็นดี เราชาวไทยเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (ซ้ำ) เรารักเพื่อนบ้านเราไม่รานรุกใคร (ซ้ำ) แต่รักษาสิทธิ์อิสระของไทย ใครทำช้ำใจไทยจะไม่ถอยเลย (สร้อย) เราชาวไทยเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (ซ้ำ) ถ้าถูกข่มเหงแล้วไม่เกรงผู้ใด (ซ้ำ) ดังงูตัวนิดมีพิษเหลือใจ เรารักเมืองไทยยิ่งชีพเราเอย

๑๖

๖. บทเพลงนี้ให้ความรู้สึกอย่างไร ก. รู้สึกปลุกใจให้รักชาติ ข. รู้สึกเศร้าใจและเสียใจ ค. รู้สึกประหม่าและตื่นเต้น ง. รู้สึกยินดีสนุกสนานเพลิดเพลิน ๗. บทเพลงนี้กล่าวถึงผู้ใด ก. ชาวนา ข. ชาวไทย ค. ชาวบ้าน ง. ชาวประมง ๘. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. คนไทยต้องทันสมัย ข. คนไทยต้องรักเมืองไทย ค. คนไทยต้องรักอิสระเสรี ง. คนไทยต้องไปเรียนต่างประเทศ ๙. ข้อใดเป็นประเด็นสำคัญของบทเพลงนี้ ก. ความมีน้ำใจของคนไทย ข. ความเสียสละของคนไทย ค. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคนไทย ง. ความรักชาติบ้านเมืองของคนไทย ๑๐. ข้อใดไม่ได้กล่าวในบทเพลงนี้ ก. การรักประเทศชาติ ข. การเชิดชูประเทศชาติ ค. การทำนุบำรุงประเทศชาติ ง. การบริจาคทรัพย์เพื่อประเทศชาติ

๑๗

บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ ไทย จำกัด, ๒๕๕๑. . แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๕๓. . ภาษาไทยสาระที่ควรรู้.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๕๓. กิติยาวดี บุญซื่อ. จากหลักการสู่การสอนเพื่อครูภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ จำกัด, ๒๕๕๕. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น, ๒๕๔๖. วรรณี โสมประยูร. การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, ๒๕๔๗. อัจฉรา ชีวพันธ์. ศิลปะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เบ็นพับลิซชิ่ง, ๒๕๔๖. อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. การอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร :พีบีซี จำกัด, ม.ป.ป.

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.