20230329a940c6cc076dcddbc3a8212ba07df9b2111736 Flipbook PDF

20230329a940c6cc076dcddbc3a8212ba07df9b2111736

78 downloads 106 Views 3MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

คำนำ การควบคุมภายในเป็นกระบวนการปฏิบัติงานที่หน่วยงานจัดให้มีขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ สำคัญในการสนับสนุ นให้ การบริห ารจัด การองค์การ รวมทั้งเพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผล ว่าการดำเนินงานจะสามารถบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ และประสิทธิผล ด้วยการบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรมทั้งกระบวนการ รวมถึงการดูแลทรัพย์สิน การป้องกัน หรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลืองหรือการทุจริตในหน่วยงาน เป็นการลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งนี้ เพื่อให้ระดั บและขนาดของความเสี่ยง ที่จะเกิดขึ้นกับสำนักงานศาลยุติธรรมทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้หรือ ควบคุมได้อย่างเป็นระบบทั่วทั้งองค์การ ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน ความเชื่อถือได้ของรายงานการเงิน และด้านการปฏิบัติต ามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ของสำนักงานศาลยุติธรรม คณะกรรมการการควบคุมภายในสำนักงานศาลยุติธรรม จึงได้จัดทำคู่มือการ ควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อ ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการควบคุมภายใน ของสำนักงานศาลยุติธรรม ให้เกิดผลสัมฤทธิ์สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ การควบคุมภายในและภารกิจ ของสำนักงานศาลยุติธรรมต่อไป

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม 23 มีนาคม 2566



คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม



คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

สารบัญ คำนำ สารบัญ บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

แนวคิด หลักเกณฑ์ และมาตรฐานการควบคุมภายใน 1. บทนำ 2. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 3. มาตรฐานการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ 3.1 แนวคิด ความหมาย วัตถุประสงค์ 3.2 องค์ประกอบของการควบคุมภายใน 3.3 ประโยชน์ที่ได้รบั จากการควบคุมภายใน 4. การควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุตธิ รรมตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง ว่าด้วยมาตรฐานแหลักเกณฑ์ปฏิบัตกิ ารควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 การควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม 1. นโยบายบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักงานศาลยุติธรรม 2. กฎบัตรคณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม 3. คำสัง่ คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม 4. แผนการดำเนินการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุตธิ รรม 4.1 การประชุมคณะกรรมการการควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 4.2 กรอบระยะเวลาในการประเมินผลการควบคุมภายใน การประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม 1. ขอบเขตการประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุตธิ รรม 1.1 แนวทางการประเมินลการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุตธิ รรม 1.2 แผนดำเนินการในการประเมินผลการควบคุมภายใน 1.3 กิจกรรม โครงการฯ ที่กำหนดให้เป็นมาตรการเพิ่มเติม 2. การประเมินผลการควบคุมภายในตามภารกิจของสำนักงานศาลยุตธิ รรม 2.1 ประเด็นความเสี่ยงที่กำหนดให้มีการควบคุมภายใน 2.2 การกำหนดหน่วยงานที่ปรึกษาฯ ด้านการควบคุมภายในของสำนักงาน ศาลยุตธิ รรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2.3 เกณฑ์การประเมินผลความเพียงพอของมาตรการในการวบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 3. การประเมินผลองค์ประกอบของการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุตธิ รรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2. ตัวชีว้ ัดการประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม 3. มาตรการในการดำเนินการควบคุมภายใน



คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

หน้า ก ข 1 1 2 4 6 8 9 11 11 13 16 18 18 19 21 21 21 22 22 23 23 32 35 37 40 40 ข

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

สารบัญ (ต่อ) บทที่ 4

บทที่ 5

การรายงานสรุปผลการประเมินการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม 1 การรายงานผลองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค.4) 2 การรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค.5) 3 การรายงานการสอบทานการประเมินผลการควบคุมภายในของผู้ตรวจสอบภายใน (แบบ ปค.6) 4 การจัดทำหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค.3) การพิจารณาการจัดวางระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานที่จัดตั้งใหม่หรือ ที่ได้ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่

ภาคผนวก ภาคผนวก 1 โครงการ “รักษ์ศาลสีขาว” ภาคผนวก 2 ระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ และเอกสารทีเ่ กี่ยวข้อง ภาคผนวก 3 ตัวอย่าง การกำหนดมาตรการในการควบคุมภายใน (เพิม่ เติม )ประจำปีงบประมาณ

หน้า 41 42 42 42 43 48 54 54 57 58

พ.ศ. 2565

*****************************************



คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม



คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๑

บทที่ 1 แนวคิด หลักเกณฑ์ และมาตรฐานการควบคุมภายใน 1. บทนำ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 62 วรรคสาม บัญญัติให้รัฐต้อง รักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ฐานะทางการเงินการคลังของรัฐมีเสถียรภาพและมั่นคง อย่างยั่งยืน ตามกฎหมายว่าด้วยวินั ยการเงินการคลังของรัฐ และจัดระบบภาษีให้เกิดความเป็นธรรม แก่ สั ง คมกฎหมายว่ า ด้ ว ยวิ นั ย การเงิ น การคลั ง ของรั ฐ อย่ า งน้ อ ยต้ อ งมี บ ทบั ญ ญั ติ เกี่ ย วกั บ กรอบ การดำเนินการทางการคลัง และงบประมาณของรั ฐ การกำหนดวินัย ทางการคลัง ด้า นรายได้แ ละ รายจ่า ย รวมทั้ง เงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ การบริหารทรัพย์สินของรัฐและเงินคงคลังและ การบริหารหนี้สาธารณะ จึงมีการกำหนดพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 หมวด 4 การบัญชี การรายงานและการตรวจสอบ มาตรา 79 ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ ที่ ก ระทรวงการคลั ง กำหนดซึ่ ง การควบคุ ม ภายในถื อ เป็ น เครื่ อ งมื อ สำคั ญ ที่ จ ะช่ ว ยควบคุ ม ให้ การดำเนินงานตามภารกิจมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประหยัด และช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงจาก การผิดพลาด ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของทางราชการ รวมทั้งการกระทำอันเป็นการทุจริต กระทรวงการคลัง ได้กำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่ง “มาตรฐานการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ” (Internal Control Standard for Government Agency) ได้ จั ด ทำขึ้ น ตามมาตรฐานของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission : COSO 2013 โดยได้มีก ารปรับ ให้เหมาะสมกับ บริบ ทของระบบบริห ารราชการแผ่น ดิน เพื่อ ใช้เป็น กรอบแนวทาง ในการกำหนด ประเมินและปรับปรุงระบบการควบคมภายในของหน่วยงานของรัฐ อันจะทำให้การดำเนินงานและ การบริหารงานของหน่วยงานของรัฐบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และมีการกำกับดูแลที่ดี สำนั กงานศาลยุ ติธรรมจึงได้ มีการประกาศ นโยบายบริหารความเสี่ ยงและการควบคุ ม ภายในองค์กรของสำนั กงานศาลยุติธรรม เมื่อ 30 เมษายน 2561 เพื่อให้ หน่วยงานในสังกั ด สำนักงาน ศาลยุต ิธ รรมนำการบริห ารความเสี ่ย งและการควบคุม ภายในมาใช้เ ป็น เครื่อ งมือ และกรอบ แนวทางในการบริ ห ารทรั พ ยากรที่ มี อ ยู่ อ ย่ างจำกั ด ให้ เกิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ลในการ ดำเนินงานเพื่อรักษาและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของศาลยุติธรรม มุ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงให้อยู่ ใน ระดับที่ยอมรับได้ไม่กระทบต่อเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของสำนักงานศาลยุติธรรม ทั้งในด้านการ ปฏิบัติงานตามกฎหมายระเบียบด้านกลยุทธ์ ด้านการดำเนินงาน และด้านการเงิน

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๒

2. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง การดำเนิ น การตามระเบี ย บการบริ ห ารความเสี่ ย งและการควบคุ มภายในของ สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการและกรอบ แนวทางการพัฒนาของสำนักงานศาลยุติธรรม ดังต่อไปนี้ กฎหมายและระเบียบทีเ่ กีย่ วข้อง มาตราที่เกี่ยวข้อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช มาตรา 76 รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการ 2560 แผ่น ดิ น ทั้ งราชการส่วนกลาง ส่วนภู มิภ าค ส่ ว น ท้ องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่น ให้ เป็ น ไปตาม หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยหน่วยงาน ของรัฐต้องร่วมมือและช่วยเหลือกันในการปฏิบัติ หน้ า ที่ เพื่ อ ให้ ก ารบริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น การ จั ด ทำบริ ก ารสาธารณ ะ และการใช้ จ่ า ยเงิ น งบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน รวมตลอดทั้งพัฒนาเจ้าหน้าที่ของ รั ฐ ให้ มี ค วามซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต และมี ทั ศ นคติ เป็ น ผู้ ให้บริการประชาชนให้เกิด ความสะดวก รวดเร็ว ไม่ เลื อ ก ป ฏิ บั ติ แ ล ะ ป ฏิ บั ติ ห น้ าที่ อ ย่ างมี ประสิทธิภาพ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง พ.ศ.2561 มาตรา 79 ให้ ห น่ ว ยงานของรั ฐ จั ด ให้ มี ก าร ตรวจสอบภายใน การควบคุ ม ภายในและการ บริห ารจั ด การความเสี่ ย ง โดยให้ ถื อ ปฏิ บั ติ ต าม มาตรฐานและหลั ก เกณฑ์ ที่ ก ระทรวงการคลั ง กำหนด พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ มาตรา ๖ การบริห ารกิ จการบ้านเมื องที่ ดี ได้ แ ก่ บริหารกิจการบ้านเมืองทีด่ ี การบริหารราชการเพื่อบรรลุ เป้าหมาย ดังต่อไปนี้ (๑) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน (๒) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ (๓) มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและเกิ ด ความคุ้ ม ค่ า ในเชิ ง ภารกิจของรัฐ (๔) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น (๕) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทัน ต่อสถานการณ์ (๖) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและ ได้รับการตอบสนองความต้องการ (๗) มี ก ารประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ร าชการอย่ า ง สม่ำเสมอ คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๓

กฎหมายและระเบียบทีเ่ กีย่ วข้อง มาตราที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานการควบคุ มภายในสำหรั บหน่ วยงาน ตามหนั งสื อกระทรวงการคลั ง ที่ กค 0409.3/ว ข อ ง รั ฐ ( Internal Control Standard for 105 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ Government Agency) กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ การควบคุ มภายในสำหรั บหน่ วยงานของรั ฐ พ.ศ. 2561 กำหนดมาตรฐานการควบคุมภายในสำหรับ หน่ วยงานของรั ฐ (Internal Control Standard for Government Agency) ได้ จั ด ท ำ ขึ้ น ต า ม ม า ต ร ฐ า น ส า ก ล ข อ ง The Committee of Spoonsoring Organizations of the Treadway Commission : COCO 2013 โดยปรับให้ เหมาะสม กับบริบทของระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งได้ กำหนดกรอบแนวคิด ขอบเขตการใช้ วัตถุประสงค์ ของการควบคุ มภายใน รวมถึ งองค์ ประกอบของ มาตรฐานการควบคุ ม ภายใน เพื่ อ ใช้ เป็ น กรอบ แนวทางในการกำหนด ประเมินและปรับปรุงระบบ การควบคุมภายในของหน่วยงานของรัฐ อันจะทำให้ การดำเนินงานและการบริหารงานของหน่วยงานของ รัฐบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และมี การกำกับดูแลที่ดี แผนยุ ท ธศาสตร์ ศ าลยุ ติ ธ รรม พ.ศ. 2565 – ยุทธศาสตร์ S การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainabilly) 2568 ตั ว ชี้ วั ด ศาลยุ ติ ธ รรมและหน่ ว ยงานในสั ง กั ด สำนั กงานศาลยุ ติ ธรรมทั่ วประเทศผ่ านเกณฑ์ การ ประเมิ นผลการปฏิ บั ติ ราชการศาลยุ ติ ธรรม แนว ทางการดำเนินการที่ 3 ส่งเสริมให้ศาลและหน่วยงาน ต่าง ๆ ในสำนักงานศาลยุติธรรมใช้ระบบการบริหาร ความเสี่ยงและสามารถป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นให้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกาศสำนักงานศาลยุติธรรม เรื่ อง นโยบาย นโยบายการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน การบริห ารความเสี่ ย งและการควบคุ ม ภายใน องค์ กรของสำนั กงาน ศาลยุ ติ ธรรม มุ่ งเน้ น ของสำนักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2561 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1. ด้ านการปฏิ บั ติ งานตามกฎหมาย/กฎระเบี ยบ (Compliance Risk: C) 2. ด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : S) 3. ด้านการดำเนินงาน (Operational Risk : O) 4. ด้านการเงิน (Financial Risk : F) คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๔

3. มาตรฐานการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ (Internal Control Standard for Government Agency) หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์การควบคุมภายในสำหรับ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 กำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงาน ของรั ฐ โดยกำหนดกรอบแนวคิ ด ขอบเขตการใช้ วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการควบคุ ม ภายใน รวมถึ ง องค์ประกอบของมาตรฐานการควบคุมภายใน เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการกำหนด ประเมินและ ปรับปรุงระบบการควบคุ มภายในของหน่ วยงาน อั น จะทำให้ การดำเนิ นงานและการบริห ารงานของ หน่วยงานของรัฐบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและมีการกำกับดูแลที่ดี ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมได้นำ แนวทางดังกล่าวฯ มาใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำระบบการควบคุมภายในของสำนักงานศาล ยุติธรรมตามภารกิจหน้าที่ ความรับผิดชอบ โดยมีการติดตามประเมินผลอย่างต่ อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้ เป็นไปตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในฯ ที่กำหนด

3.1 แนวคิด ความหมาย วัตถุประสงค์ 3.1.1 แนวคิดของการควบคุมภายใน (1) การควบคุ ม ภายในเป็ น กลไกที่ จ ะทำให้ ห น่ ว ยงานของรั ฐ บรรลุ วัตถุประสงค์การควบคุม ภายในด้านใดด้านหนึ่ งหรือหลายด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินงาน ด้านการ รายงานและด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ (2) การควบคุ ม ภายในเป็ น ส่ ว นประกอบที่ แ ทรกอยู่ ในการปฏิ บั ติ งาน ตามปกติของหน่วยงานของรัฐ การควบคุมภายในเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง มิใช่เป็นผลสุดท้ายของการกระทำ (3) การควบคุมภายในเกิดขึ้นได้โดยบุ คลากรของหน่วยงานของรัฐ โดยผู้ กำกับดูแลฝ่ายบริหาร ผู้ปฏิบัติงานและผู้ต รวจสอบภายใน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการทำให้มีการ ควบคุมภายในเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงการกำหนดนโยบาย ระบบงาน คู่ มือการปฏิบัติงานและแบบฟอร์ม ดำเนินงานเท่านั้น หากแต่ต้องมีการปฏิบัติ (4) การควบคุมภายในสามารถให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่าจะบรรลุ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดของหน่วยงานของรัฐ อย่างไรก็ตาม การควบคุมภายในที่กำหนดก็อาจจะ ไม่ สามารถให้ ความมั่ นใจแก่ ผู้ กำกั บดู แล และฝ่ ายบริ หารว่ าการดำเนิ นงานจะบรรลุ ตามวั ตถุ ประสงค์ อย่างสมบูรณ์ (5) การควบคุมภายในควรกำหนดให้เหมาะสมกับโครงสร้างองค์กรและ ภารกิจของหน่วยงานของรัฐ

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๕

3.1.2 นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง นิยามศัพท์ หน่วยงานของรัฐ

ความหมาย หลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ กำหนด “หน่วยงานของรัฐ” ในข้อ 1 (3) หมายถึง “หน่วยงานของรัฐสภา ศาลยุ ติ ธ รรม ศาลปกครอง ศาลรั ฐ ธรรมนู ญ องค์ ก รอิ ส ระตาม รั ฐ ธรรมนู ญ และองค์ ก รอั ย การ” ซึ่ ง สำนั ก งานศาลยุ ติ ธ รรมเป็ น หน่ ว ยงานของรั ฐ ไม่ สั ง กั ด กระทรวง มี ห น้ า ที่ ต้ อ งดำเนิ น การตาม หลั ก เกณฑ์ ป ฏิ บั ติ ก ารควบคุ ม ภายในสำหรั บ หน่ ว ยงานของรั ฐ ฯ และรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในไปยังกระทรวงการคลัง โดยตรง ภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารสูงสุด ของหน่ วยงานของรัฐหมายถึง เลขาธิการสำนั กงาน ศาลยุติธรรม ผู้กำกับดูแล บุ ค คลหรื อ คณะบุ ค คล ผู้ มี ห น้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบในการกำกั บ ดู แ ล หรือ บั งคั บ บั ญ ชาของหน่ ว ยงานของรัฐ ซึ่ งผู้ มี ห น้ าที่ รับ ผิ ด ชอบใน การกำกับดูแลในสำนักงานศาลยุติธรรมหมายถึง คณะกรรมการบริหาร ศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ฝ่ายบริหาร ผู้บริหารทุกระดับของสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้ตรวจสอบภายใน

ความเสี่ยง การควบคุมภายใน

ผู้ดำรงตำแหน่ งผู้ตรวจสอบภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม หรือ ดำรงตำแหน่ งอื่ น ที่ ท ำหน้ า ที่ เช่ น เดี ย วกั บ ผู้ ต รวจสอบภายในของ หน่วยงานของรัฐ ความเป็ น ไปได้ ที่ เหตุ ก ารณ์ ใดเหตุ ก ารณ์ ห นึ่ งอาจเกิ ด ขึ้ น และเป็ น อุปสรรคต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของสำนักงานศาลยุติธรรม กระบวนการปฏิ บั ติ ง านที่ ผู้ ก ำกั บ ดู แ ล หั ว หน้ า หน่ ว ยงานของรั ฐ ฝ่ายบริหาร และบุคลากรของหน่วยงานของรัฐจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้าง ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ จะบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการดำเนินงาน ด้านการรายงาน และด้าน การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๖

3.1.3 วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน

(1 ) วั ต ถุ ป ร ะ ส งค์ ด้ าน ก าร ด ำเนิ น งาน (Operations Objectives) เป็ นวัตถุประสงค์ เกี่ยวกับความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน รวมถึงการบรรลุ เป้าหมายด้านการดำเนินงานด้านการเงิน ตลอดจนการใช้ทรัพยากร การดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกัน หรือลดความผิดพลาดของหน่วยงานรัฐ ตลอดจนความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลืองหรือการทุจริต ในหน่วยงานรัฐ (2 ) วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ ด้ า น ก า ร ร า ย ง า น ( Reporting objectives) เป็นวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการรายงานทางการเงินและไม่ใช่การเงิน ที่ใช้ภายในและภายนอกหน่วยงาน ของรัฐ รวมถึงการรายงานที่เชื่อถือได้ทันเวลา โปร่งใส หรือข้อกำหนดอื่นของทางราชการ (3) วั ต ถุ ป ระสงค์ ด้ า นการปฏิ บั ติ ต ามกฎหมาย ระเบี ย บและข้ อ บั งคั บ (Compliance Objectives) เป็นวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน รวมทั้งข้อกำหนดอื่นของทางราชการ

3.2 องค์ประกอบของการควบคุมภายใน การควบคุ ม ภายในจะเป็ น เครื่ อ งมื อ สนั บ สนุ น ให้ ห น่ ว ยงานของรั ฐ สามารถ ขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้บ รรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ซึ่งตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้ว ย มาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 กำหนด องค์ประกอบการควบคุมภายในจำนวน 5 องค์ประกอบ 17 หลักการ ดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment) ประกอบด้วย

5 หลักการ ดังนี้

1.1 หน่วยงานของรัฐแสดงให้เห็นถึงการยึดมั่นในคุณค่าของความซื่อตรงและ

จริยธรรม 1.2 ผู้ ก ำกั บ ดู แ ลของหน่ ว ยงานของรั ฐ แสดงให้ เห็ น ถึ ง ความเป็ น อิ ส ระ จากฝ่ า ยบริ ห ารและมี ห น้ า ที่ ก ำกั บ ดู แ ลให้ มี ก ารพั ฒ นาหรื อ ปรั บ ปรุ ง การควบคุ ม ภายใน รวมถึ ง การดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมภายใน 1.3 หัวหน้าหน่วยงานของรัฐจัดให้มีโครงสร้างองค์กร สายการบังคับบัญชา อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่เหมาะสมในการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐภายใต้ การกำกับดูแลของผู้กำกับดูแล 1.4 หน่วยงานของรัฐแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างแรงจูงใจ พัฒนา และรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทีส่ อดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐ 1.5 หน่วยงานของรัฐกำหนดให้บุคลากรมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผล การปฏิบัติงานตามระบบการควบคุมภายใน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐ 2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ประกอบด้วย 4 หลักการ ดังนี้ 2.1 หน่วยงานของรัฐระบุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในของการปฏิบัติงาน ให้ สอดคล้ องกั บวั ตถุ ประสงค์ ขององค์ กรไว้อย่ างชั ด เจนและเพี ยงพอที่ จะสามารถระบุ และประเมิ น ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๗

2.2 หน่วยงานของรัฐระบุความเสี่ยงที่มีผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของการ ควบคุมภายในอย่างครอบคลุมทั้งหน่วยงานของรัฐ และวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อกำหนดวิธีการจัดการความ เสี่ยงนั้น 2.3 หน่ ว ยงานของรัฐพิ จ ารณาโอกาสที่ อ าจเกิ ด การทุ จริต เพื่ อ ประกอบ การประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ 2.4 หน่วยงานของรัฐระบุและประเมินการเปลี่ยนแปลงที่อาจมีผลกระทบ อย่างมีนัยสำคัญต่อระบบการควบคุมภายใน 3. กิจกรรมควบคุม (Control Activities) ประกอบด้วย 3 หลักการ ดังนี้ 3.1 หน่วยงานของรัฐระบุและพัฒนากิจกรรมการควบคุม เพื่อลดความเสี่ยงใน การบรรลุวัตถุประสงค์ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ 3.2 หน่วยงานของรัฐระบุและพัฒนากิจกรรมการควบคุมทั่วไปด้านเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการบรรลุวัตถุประสงค์ 3.3 หน่วยงานของรัฐจัดให้มีกิจกรรมการควบคุม โดยกำหนดไว้ในนโยบาย ประกอบด้วยผลสำเร็จที่คาดหวังและขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติจริง 4 . ส ารส น เท ศและก ารสื่ อส าร (Information and Communication) ประกอบด้วย 3 หลักการ ดังนี้ 4.1 หน่ ว ยงานของรัฐจั ด ทำหรือ จั ด หาและใช้ส ารสนเทศที่ เกี่ ยวข้อ งและ มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามการควบคุมภายในที่กำหนด 4.2 หน่ ว ยงานของรั ฐ มี ก ารสื่ อ สารภายในเกี่ ย วกั บ สารสนเทศ รวมถึ ง วัตถุประสงค์และความรับผิดชอบที่มีต่อการควบคุมภายใน ซึ่งมีความจำเป็นในการสนับสนุนให้มีการ ปฏิบัติตามการควบคุมภายในที่กำหนด 4.3 หน่ ว ยงานของรั ฐ มี ก ารสื่ อ สารกั บ บุ ค คลภายนอก เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งที่ มี ผลกระทบต่อการปฏิบัติตามการควบคุมภายในที่กำหนด 5. กิจกรรมติดตามผล (Monitoring Activities) ประกอบด้วย 2 หลักการ ดังนี้ กิ จ กรรมการติ ด ตามผลเป็ น การประเมิ น ผลระหว่ างการปฏิ บั ติ งานและ การประเมินผลเป็น รายครั้งหรือเป็นการประเมินผลทั้งสองวิธีร่วมกัน เพื่อให้เกิด ความมั่นใจว่าได้มี การปฏิบัติต ามหลักการในแต่ละองค์ป ระกอบของการควบคุมภายในทั้ง 5 องค์ป ระกอบ กรณี ที่ มี ผลการประเมินการควบคุมภายในจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ หน่วยงานของรัฐ ให้รายงานต่อฝ่าย บริหาร และผู้กำกับดูแล อย่างทันเวลา กิจกรรมการติดตามผลประกอบด้วย 2 หลักการ ดังนี้ 5.1 หน่ ว ยงานของรั ฐ ระบุ พั ฒ นา และดำเนิ น การประเมิ น ผลระหว่ า ง การปฏิบัติและ/หรือการประเมินผลเป็นรายครั้งตามที่กำหนด เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้มี การปฏิบัติ ตามองค์ประกอบของการควบคุมภายใน 5.2 หน่วยงานของรัฐประเมินผลและสื่อสารข้อบกพร่อง หรือจุดอ่อนของการ ควบคุมภายในอย่างทันเวลาต่อฝ่ายบริหารและผู้กำกับดูแล เพื่อให้ผู้รับผิดชอบสามารถสั่งการแก้ไข ได้อย่างเหมาะสม

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๘

3.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการควบคุมภายใน (1) การดำเนินงานของหน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด และคุ้มค่า (๓) มีข้อมูลและรายงานทางการเงินทีถ่ ูกต้อง ครบถ้วนและเชือ่ ถือได้ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ (๔) การปฏิบตั ิงานในหน่วยงานเป็นไปอย่างมีระบบและอยู่ในกรอบของ กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับทีว่ างไว้ (๕) เป็นเครื่องมือช่วยผู้บริหารในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานได้อย่างดียงิ่

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๙

4. การควบคุ ม ภายในของสำนั ก งานศาลยุ ติ ธ รรมตามหลั ก เกณฑ์ กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 ตามหลักเกณฑ์ก ระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ป ฏิบัติการควบคุม ภายในสำหรับ หน่ว ยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 กำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์การควบคุมภายใน สำหรับหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้หน่ว ยงานนำมาใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำระบบการควบคุม ภายในให้เหมาะสมกับภารกิจหน้าที่ขององค์กร โดยให้มีการดำเนินการตามมาตรฐานที่กำหนดฯ มีการ ประเมิน ผลการควบคุมภายในรวมทั้งให้มีการรายงานผล ซึ่งตามแนวทางดังกล่าวฯ สำนักงานศาล ยุติธรรมต้องดำเนินการในส่วนที่สำคัญตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อ 3 ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการประเมินผลการควบคุมภายในตามที่หน่วยงานของรัฐ กำหนดไว้อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยให้มีการรายงานตามข้อ 8 และข้อ 9 ข้อ 4 ให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลให้มีการนำมาตรฐานการควบคุม ภายในสำหรับหน่ วยงานของรั ฐที่กระทรวงการคลังกำหนด ใช้เป็นแนวทางในการจัดวางระบบการ ควบคุมภายในและประเมินผลการควบคุมภายในของหน่วยงานของรัฐ ข้อ 5 ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งโดยมีหน้าที่ ดังนี้ (1) อำนวยการในการประเมินผลการควบคุมภายใน (2) กำหนดแนวทางการประเมินผลการควบคุมภายในในภาพรวมของหน่วยงานของรัฐ (3) รวบรวม พิ จารณากลั่นกรอง และสรุปผลการประเมินการควบคุมภายในใน ภาพรวมของหน่วยงานของรัฐ (4) ประสานงานการประเมินผลการควบคุมภายในกับหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง (5) จัดทำรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในระหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการ ให้เป็นไปตามที่หน่วยงานของ รัฐกำหนด ข้อ 8 ให้คณะกรรมการจัดทำรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในระดับหน่วยงาน ของรัฐประกอบด้วย (1) การรับรองว่าการควบคุมภายในของหน่วยงานของรัฐเป็นไปตามที่มาตรฐานและ หลักเกณฑ์ปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด (2) การประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ประกอบด้วย (2.1) สภาพแวดล้อมการควบคุม (2.2) การประเมินความเสี่ยง (2.3) กิจกรรมการควบคุม (2.4) สารสนเทศและการสื่อสาร (2.5) กิจกรรมการติดตามผล (3) การประเมินผลการควบคุมภายในของภารกิจตามกฎหมายที่จัดตั้งหน่วยงาน ของรัฐหรือภารกิจตามแผนการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๑๐

(4) ความเห็นของผู้ตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการสอบทานการควบคุมภายในของ หน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวให้ เป็ นไปตามแบบรายงานที่ แนบท้ายหลักเกณฑ์ ป ฏิ บัติ นี้ โดยหน่วยงานของรัฐสามารถกำหนดแบบรายงานเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ข้อ 10 วรรคสอง กรณีหน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวง ให้จัดส่งรายงานต่อ กระทรวงการคลังโดยตรงภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณหรือสิ้นปีปฏิทินแล้วแต่กรณี ข้อ 11 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ผู้กำกับดูแล กระทรวงเจ้าสังกัด ใช้ข้อมูลรายงานการ ประเมินผลการควบคุมภายใน เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐสามารถขับเคลื่อนการ ปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๑๑

บทที่ 2 การดำเนินการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม 1. นโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักงานศาลยุติธรรม

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๑๒

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๑๓

2. กฎบัตรคณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๑๔

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๑๕

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๑๖

3. คำสั่งคณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๑๗

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๑๘

4. แผนการดำเนินการของคณะกรรมการการควบคุมภายใน 4.1 การประชุมคณะกรรมการการควบคุมภายในประจำปี 2566 ครั้งที่ 1/2566

- พิจารณากำหนดแนวทางในการควบคุมภายใน และการประเมินผล ของการควบคุมภายในสำนักงานศาลยุติธรรม - พิจารณาแบบประเมินผลองค์ประกอบของการควบคุมภายใน

ครั้งที่ 2/2566

-ประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ครั้งที่ 1/2566 -กำหนดหน่วยงานที่ปรึกษาฯ เพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมภายในเพิ่มเติม

ครั้งที่ 3/2566

ติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการการควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไตรมาสที่ 1 – 3/2566

ครั้งที่ 4/2566

-ประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ครั้งที่ 2 รอบ 12 เดือน) -สรุปผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายในฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 -สรุปผลการประเมินการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรมฯ และสรุปผล การดำนินงานของคณะกรรมการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 -พิจารณาทบทวนคำสั่งคณะกรรมการฯ กฎบัตรการควบคุมภายใน แผนดำเนินการ การควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๑๙

4.2 กรอบระยะเวลาในการประเมินผลการควบคุมภายใน

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๒๐

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๒๑

บทที่ 3 การประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. ขอบเขตการประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม 1.1 แนวทางการประเมินผลการควบคุมภายใน แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่

การควบคุมภายในจะเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐสามารถขับเคลื่อน การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ซึ่งตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐาน และหลัก เกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยได้กำหนดแนว ทางการประเมินผล ประจำปีงบประมาณ 2566 ดังนี้

(1) การประเมินผลการควบคุมภายในของภารกิจตามกฎหมายจัดตั้ง ของสำนักงานศาลยุติธรรมประกอบด้วย

(1.1) ความเสี่ยงคงเหลือจากผลการประเมินของคณะกรรมการการควบคุมภายใน และข้อสังเกตของผู้ตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 6 ด้าน 14 ประเด็น (1.2) การประเมินผลประเด็นความเสี่ยงตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยง สำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 5 ด้าน 20 ประเด็น (1.3) ความเสี่ยงเพิ่มเติมจากคณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงาน ศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 1 ด้าน 2 ประเด็น

(2) การประเมินผลองค์ประกอบของการควบคุมภายใน

การประเมินผลองค์ประกอบของการควบคุมภายในของหน่วยงานในสำนักงาน ศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ตอบแบบประเมิน ซึ่งกำหนดวิธีการประเมินผลโดยการประเมินตนเองจากการตอบแบบประเมินผลองค์ประกอบการควบคุม ภายในของคณะกรรมการการควบคุมภายใน จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1) สภาพแวดล้อมของการควบคุม 2) การประเมิ น ความเสี่ ย ง 3) กิ จ กรรมการควบคุ ม 4) สารสนเทศและการสื่ อ สาร 5) การติ ด ตาม ประเมินผล

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๒๒

1.2 แผนดำเนิ น การในการประเมิ น ผลการควบคุ ม ภายใน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้

(1) การกำหนดหน่วยงานที่ปรึกษาฯ เป็นการกำหนดให้หน่วยงานส่วนกลางที่มีหน้าที่ กำกั บ ควบคุม ดู แ ล ในการออกแนวทางปฏิ บั ติ ที่ เกี่ย วข้ อ งกั บ ภารกิ จ หน้ าที่ ข องหน่ วยงานในสั งกั ด สำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมกำหนดมาตรการในการควบคุมภายใน (เพิ่มเติม ) ในประเด็นความเสี่ยงที่มี อยู่ จ ากผลการประเมิ น การควบคุ ม ภายใน และตามข้ อ สั ง เกตของผู้ ต รวจสอบภายใน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 และนำมาควบคุมต่อในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ความเสี่ยงเพิ่มเติมจาก คณะกรรมการการควบคุ ม ภายในของสำนั ก งานศาลยุ ติ ธรรม ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 และประเด็นความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง และสูงมาก จากผลการประเมินของคณะกรรมการการควบคุม ภายใน ครั้งที่ 1/2566 ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุมความเสี่ยงที่มีอยู่ให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้หรือไม่ พบความเสี่ยงอีก คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรมจึงพิจารณากำหนดให้ หน่วยงานในส่วนกลางเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาฯ เพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมภายใน (เพิ่มเติม) (๒) กำหนดให้นำตัวชี้วัดจากการประเมินผลการปฏิบัติราชการของศาลยุติธรรมและ หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มาเป็นมาตรการเพื่อกำกับ ในประเด็นความเสี่ยงที่กำหนดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (3) ข้อมูลการรายงานผลหรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น รายงาน ข้อมูลการทุจริตฯ หรือกรณีวินัย การตรวจพบความผิดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การขอข้อมูลเพิ่มเติมจากสำนัก เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือจากสำนักคลัง เป็นต้น ข้อมูลดังกล่าวจะนำมาเพื่อประกอบการพิจารณาความเพียงพอ ของการควบคุมภายในในประเด็นความเสี่ยงที่ควบคุมและประเมินผลฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1.3 กิจกรรมโครงการฯ ที่ กำหนดให้ เป็ น มาตรการเพิ่ ม เติ ม ในการเพิ่ ม ประสิทธิ ภาพของระบบการบริหารการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม มีแนวทาง (1) โครงการรักษ์ศาลสีขาว ภายในนโยบายประธานศาลฎีกา “รักษ์ศาลสีขาว” (2) กิจกรรมการสร้างความรับรู้ต ระหนักยึด ถือและปฏิบัติ ต ามประมวลจริยธรรม ข้าราชการยุติธรรม คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๒๓

2. การประเมินผลการควบคุมภายในของภารกิจตามกฎหมายจัดตั้งของสำนักงานศาลยุติธรรม 2.1 ประเด็นความเสี่ยงที่กำหนดให้มีการควบคุมภายในประจำปีงบประมาณ 2566 ประกอบด้วย ประเด็นความเสี่ยง 2 กลุ่ม ดังนี้ (1) ประเด็นความเสี่ยงคงเหลือจากผลการประเมินการควบคุมภายในประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 6 ด้าน 14 ประเด็น (2) ประเด็นความเสี่ยงระดับองค์กรตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 5 ด้าน 20 ประเด็น (3) ความเสี่ยงเพิ่มเติมจากคณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุตธิ รรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 1 ด้าน 2 ประเด็น กลุ่ม 1 ความเสี่ยงที่มีอยู่จากผลการประเมินการควบคุมภายในของคณะกรรมการการควบคุมภายใน และตามข้อสังเกตของผูต้ รวจสอบภายในประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภารกิจ/ประเด็นความเสี่ยง มาตรการ/กิจกรรมการควบคุม 1. ด้านยุทธศาสตร์ โครงการหรื อกิ จกรรมของโครงการตาม กำหนดมาตรการในการติ ดตาม และการกำกั บควบคุ มการดำเนิ นงานให้ เป็ นไปตาม แผนปฏิ บั ติ การประจำปี ไม่ สามารถ แผนปฏิบัติงานหรือแผนการใช้จ่ายของหน่วยงาน ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ 2. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของข้อมูลจาก 1. มีการติดตามผลการปรับปรุงพัฒนาระบบการเชื่อมโยงระบบ e-Filing และระบบ CIOS การเชื่ อมโยงระบบ e-Filing และระบบ กับระบบสำนวนคดี CIOS กับระบบสำนวนคดี 2. ซักซ้ อมทำความเข้าใจกั บเจ้าหน้ าที่ ที่ ปฏิ บั ติ งานเป็ นนั กคอมพิ วเตอร์หรือเจ้ าหน้ าที่ ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีของศาลในเรื่องระบบ e-Filing และระบบ CIOS 3. ระบบงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ 3.1 ข้อผิดพลาดที่ส่งผลกระทบต่อความ 1.พัฒนาระบบโปรแกรมด้านการเงินให้เชื่อมโยงกับโปรแกรมบัญชีอัตโนมัติ ถูกต้องเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน 2.ซั กซ้ อมความเข้ าใจกั บเจ้ าหน้ าที่ ผู้ ปฏิ บั ติ งานที่ เกี่ ยวข้ องกั บการเชื่ อมโยงโปรแกรม ด้านการเงินและบัญชีอัตโนมัติ 3.2 ข้ อผิ ดพลาดในการปฏิ บั ติ งานด้ าน 1. จั ดให้ มี มาตรการในการกํ ากั บตรวจสอบการปฏิ บั ติ งาน เกี่ ยวกั บระบบงานการเงิ น การเงิน การบัญชี และการพัสดุ การบัญชีและการพัสดุ ของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอ 2.จัดให้มีการฝึกอบรมหรือให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะ ด้านแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ 3.3 การเบิ กค่ าใช้ จ่ ายผิ ดงาน กิ จกรรม 1.เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือซักซ้อมแนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณให้ โครงการ และประเภทค่าใช้จ่าย เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติของหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ศาลยุติธรรม 2.มีระบบการตรวจสอบหรือการควบคุมการปฏิ บัติงานของเจ้าหน้ าที่ ผู้ปฏิ บัติงานอย่าง สม่ำเสมอและต่อเนื่อง 3.4 การทุ จริ ตในการเบิ กจ่ ายเงิ น สร้างความรับรู้ในด้านวินัย และจริยธรรม ให้บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ตระหนักถึงบทลงโทษ งบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง ในการกระทำการทุจริตจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๒๔ ภารกิจ/ประเด็นความเสี่ยง 3.5 หน่วยงานมีผลการดำเนินการและ การก่อหนี้ล่าช้าหรือมีผลการเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายด้านลงทุนต่ำกว่าเป้าหมาย 3.6 การใช้จ่ายเงินงบประมาณไม่ถูกต้อง ตามระบบงบประมาณ

3.7 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณไม่ ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่ เกี่ยวข้อง 3.8 การบันทึกบัญชีโดยแนบเอกสาร ประกอบไม่ครบถ้วนและไม่ถูกต้องตาม ระเบียบและแนวทางทีเ่ กี่ยวข้อง

3.9 การจัดซื้อจัดจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

มาตรการ/กิจกรรมการควบคุม กำหนดมาตรการในการกํากับ ควบคุม การดําเนินงานให้เป็นไปตามแผนปฏิ บัติงานและ แผนการใช้จ่ายเงิน ของหน่วยงาน 1. มีการสื่อสารความเสี่ยงที่พบให้หน่วยงานในสังกัดรับทราบ และหน่วยงานส่วนกลางที่มี หน้ าที่ กำกับดูแล เพื่ อเป็นข้อมู ลในการกำหนดกิจกรรมการควบคุ มที่ เหมาะสมและการ บริหารจัดการความเสี่ยงตามภารกิจหน้าทีค่ วามรับผิดชอบ 2. กำหนดแนวทางให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมนำตัวชี้วัดการประเมินผล การปฏิบัติราชการที่กำหนดไว้ มาใช้วัดผลและประเมินการปฏิบัติราชการอย่างเข้มงวด 1. มีการสื่อสารความเสี่ยงที่พบให้หน่วยงานในสังกัดรับทราบ และหน่วยงานส่วนกลางที่มี หน้ าที่ กำกับดูแล เพื่ อเป็นข้อมู ลในการกำหนดกิจกรรมการควบคุ มที่ เหมาะสมและการ บริหารจัดการความเสี่ยงตามภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบ 2. กำหนดแนวทางให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมนำตัวชี้วัดการประเมินผล การปฏิบัติราชการทีก่ ำหนดไว้ มาใช้วัดผลและประเมินการปฏิบัติราชการอย่างเข้มงวด 1. มีการสื่อสารความเสี่ยงที่พบให้หน่วยงานในสังกัดรับทราบ และหน่วยงานส่วนกลางทีม่ ี หน้าที่กำกับดูแล เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดกิจกรรมการควบคุมที่เหมาะสมและการ บริหารจัดการความเสี่ยงตามภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบ 2. กำหนดแนวทางให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมนำตัวชี้วัดการประเมินผล การปฏิบัติราชการที่กำหนดไว้ มาใช้วัดผลและประเมินการปฏิบัติราชการอย่างเข้มงวด 1. มีการสื่อสารความเสี่ยงที่พบให้หน่วยงานในสังกัดรับทราบ และหน่วยงานส่วนกลางที่มี หน้ าที่ กำกับดูแล เพื่ อเป็นข้อมู ลในการกำหนดกิจกรรมการควบคุ มที่ เหมาะสมและการ บริหารจัดการความเสี่ยงตามภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบ 2. กำหนดแนวทางให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมนำตัวชี้วัดการประเมินผล การปฏิบัติราชการที่กำหนดไว้ มาใช้วัดผลและประเมินการปฏิบัติราชการอย่างเข้มงวด

4. ระบบสำนวนความและเอกสารทางคดี สำนวนคดีหรือเอกสารในสำนวนคดีมีการ 1. กำหนดให้มีมาตรการในการติดตาม การกำกับและควบคุมการรับ-ส่งสำนวนให้เป็นไปตาม สูญหาย แนวทางและวิธีปฏิบัติที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด 2.สร้างความรับรู้ในด้านวินัย และจริยธรรม ให้บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ตระหนักถึงบทลงโทษ ในกรณีการละเว้นหรือหลีกเลี่ยงการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบหรือแนวทางที่กำหนดฯ 5. ระบบงานรักษาความปลอดภัย มีเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นภายใน กำหนดแผนหรือมาตรการในการรักษาความปลอดภัยในกรณี เกิดเหตุการณ์ ต่าง ๆ อย่าง หน่วยงาน หรือเกิดกับบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ชั ดเจน และมี การซั กซ้ อมเพื่ อให้ สามารถควบคุ มหรื อรองรั บกรณี เกิ ดเหตุ การณ์ ความ และประชาชนที่มาติดต่อราชการ ไม่ปลอดภัยเกิดขึ้น 6. โรคระบาดและภัยพิบัติ หน่ วยงานเกิ ดโรคระบาดหรื อประสบภั ย กำหนดให้แต่ละหน่วยงานมีแนวทางบริหารจัดการในกรณีการเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อ พิบัติ ความต่อเนื่องและเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะวิกฤติหรือภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่ส่งผล กระทบให้หน่วยงานไม่สามารถดำเนินงานได้

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๒๕ กลุ่ม 2 ความเสี่ยงตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ภารกิจ/ประเด็นความเสี่ยง มาตรการ/กิจกรรมการควบคุม 1. ด้านยุทธศาสตร์ ค ว าม เสี่ ย ง โค รงก าร ห รื อ 1. ผู้บริหารยอมรับความเสี่ยงในระดับปานกลางกรณี โครงการหรือกิจกรรมของโครงการตาม กิ จ กรรม ของโค รงการต าม แผนปฏิบัติการประจำปีไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ แผนป ฏิ บั ติ ก ารประจำปี ไ ม่ 2. หน่วยงานมีการวางแผนและกำกับติดตามการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดำเนิ น การให้ บ รรลุ 3. ผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วนนำมาตรการในการกำกับ ตรวจสอบและรายงานผลฯ ของผู้บริหาร เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ (ตามตัวชี้วัดข้อ 1) ไปดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม 2. ด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ความเสี่ ย งที่ 2.1 สำนวนค้ าง 1. ผู้บริหารยอมรับความเสี่ยงในระดับต่ำกรณีสำนวนค้างการพิจารณาอยู่ที่ศาลชั้นต้นไม่ส่งสำนวนไป การพิจารณาอยู่ที่ศาลชั้นต้นไม่ส่ง ศาลสูง สำนวนไปศาลสูง 2. หน่ วยงานมีคู่ มื อการปฏิ บั ติ งานอุทธรณ์ ฎี กาตามกฎหมายและระเบี ยบที่ ถูกต้ อง ครบถ้วนเป็ น ปัจจุบันและมีการติดตามการปฏิบัติงานตามคู่มือ 3. หน่วยงานมีระบบควบคุม ตรวจสอบบัญชีรับส่งอุทธรณ์ฎีกาโดยมีการรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชา อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 4. มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบในการติ ดตามตรวจสอบผลการส่งหมายและการขยายระยะเวลาการ อุทธรณ์ฎีกาให้อยู่ในกรอบระยะเวลาตามกฎหมายและคำสั่งศาลโดยเคร่งครัด ความเสี่ยงที่ 2.2 สำนวนคดี 1. ผู้ บริ หารยอมรั บความเสี่ ยงระดั บน้ อยที่ สุ ด กรณี สำนวนคดี หรื อเอกสารในสำนวนหรื อ หรือเอกสารในสำนวนหรือซอง ซองคำพิพากษามีการสูญหาย คำพิพากษามีการสูญหาย ๒. มี มาตรการควบคุ มการรั บ-ส่ ง ติ ดตามสำนวน รวมถึ งเอกสารในคดี หรื อซองคำพิ พากษา ตามแนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสำนวนความและเอกสาร 3. มีมาตรการเพื่อการจัดเก็บสำนวนและเอกสารที่ปฏิบัติงานแล้วเสร็จในห้องเก็บสำนวนและ ห้ องเก็ บเอกสาร กรณี ที่ ต้ องส่ งสำนวนหรือเอกสารไปงานอื่ นเพื่ อปฏิ บั ติ งานต่ อเนื่ องให้ มี หลักฐานการรับส่งตามวิธกี ารหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสำนวนความและเอกสาร 4. มีมาตรการตรวจสอบความมีอยู่และความสมบูรณ์ของเอกสาร มีการบันทึกรายการเอกสาร ในสารบาญให้ถูกต้องตรงกับเอกสารในสำนวน 5. มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบและแก้ไขการปฏิบัติงานเก็บสำนวน งานเก็บ รักษาเอกสารและพยานวัตถุ การรับส่ งสำนวนความและเอกสาร และการเก็บรักษาซองคำ พิพากษาหรือคำสั่งให้ถูกต้องตามระเบียบ กบศ. ว่าด้วยงานธุรการเกี่ยวกับสำนวนความและ เอกสาร พ.ศ. 2557 ความเสี่ยงที่ 2.3 1. ผู้บริหารยอมรับความเสี่ยงระดับน้อยที่สุด กรณีข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การปฏิ บั ติ ง านเกี่ ย วกั บ งาน งานหมายตามคำสั่งศาล หมายมี ค วามล่ า ช้ า หรื อ ความ 2. มีการกำหนดกรอบระยะเวลาการปฏิบัติงานหมายและคำคู่ความ เช่น ผิดพลาดในการรายงานการส่ ง - พิมพ์หมายภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับสำนวนและคำสั่งศาล หมาย - ส่งและรายงานผลหมายภายใน 15 วัน นับจากวันได้รับหมาย ยกเว้นกรณีเร่งด่วนให้ รายงานผลภายใน 7 วัน นับแต่วนั ที่ได้รับหมาย 3. มีระบบการควบคุม บันทึกการออกหมายในระบบสารสนเทศสำนวนคดีอย่างครบถ้วนเป็นปัจจุบัน 4. มีกระบวนงานในการติดตามสำนวน และการปฏิบัตติ ามคำสั่งศาลให้แล้วเสร็จภายในกำหนด

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๒๖ ภารกิจ/ประเด็นความเสี่ยง 3. ด้านการดำเนินงาน ความเสี่ยงที่ 3.1 มีเหตุ การณ์ ความไม่ ปลอดภั ย เกิดขึ้นภายในหน่วยงาน หรือเกิด กั บ บุ ค ลากรผู้ ป ฏิ บั ติ งาน และ ประชาชนที่มาติดต่อราชการ

ความเสี่ยงที่ 3.2 หน่วยงานเกิดโรคระบาด หรือประสบภัยพิบัติ

ความเสี่ยงที่ 3.3 การร้องเรียนการให้บริการของ เจ้าหน้าที่

มาตรการ/กิจกรรมการควบคุม 1. ผู้บริหารไม่ยอมให้เกิดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยเกิดขึน้ ภายใน หน่วยงาน หรือเกิดกับบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนที่มาติดต่อราชการทุกกรณี 2. จัดให้มีมาตรการเกี่ยวกับอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ เช่น มีการกำหนดช่องทาง เข้าออก ทางเดียวหรือเท่าที่จำเป็นมีการตรวจสอบและปรับปรุงการติดตั้งสัญญาณเตือนภัย กล้องโทรทัศน์ วงจรปิด และระบบควบคุมการเข้า-ออกประตูให้เหมาะสมและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง เครื่องตรวจอาวุธ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ให้มีความพร้อม อย่างเพียงพอ 3. มีมาตรการกำหนดพื้นที่เพื่อการรักษาความปลอดภัย เช่น การพิจารณากำหนดพื้นทีค่ วบคุม พืน้ ที่ หวงห้าม เขตหวงห้ามเฉพาะ เขตหวงห้ามเด็ดขาด การกำหนดสิทธิของบุคคลในแต่ละพื้นที่ รวมทั้ง จัดทำป้ายแสดงเขตพื้นที่ให้ชัดเจน และมีเครื่องกีดขวางทางเข้าออกพื้นที่หวงห้ามมีการกำหนดบัตร ผ่านถาวรหรือบัตรผ่านชั่วคราวแยกประเภทสำหรับบุคคล และผู้มาติดต่อราชการ พิจารณากำหนดจุด รักษาความปลอดภัยประจำจุดตรวจค้นบุคคล แผนและวงรอบการตรวจจุดเสี่ ยง ให้บริหารจัดการ กำลังของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเจ้าพนักงานตำรวจศาลให้มีการบูรณาการร่วม ปฏิบัติด้วยกันตามความเหมาะสม 4. จัดให้มีการซักซ้อมและเสริมสร้างทักษะด้านการรักษาความปลอดภัยหรือซักซ้อมการ ปฏิบัติตามแผนควบคุมภาวะฉุกเฉิน แผนเผชิญเหตุหรือแผนป้องกันและรับมือกรณีเกิดเหตุ แห่งความไม่ปลอดภัย 5. จัดให้มมี าตรการเพื่อความปลอดภัยสำหรับจุดตรวจของเจ้าหน้าที่ และมาตรการในการ ป้องกันการก่อเหตุร้ายหรือนำอาวุธปืนหรืออาวุธทุกชนิดเข้ามาในอาคารศาลและบริเวณศาล 1. ผู้บริหารยอมรับความเสี่ยงระดับน้อยที่สุด กรณีหน่วยงานเกิดโรคระบาดหรือประสบภัยพิบัติ 2. จัดให้มีการกำกับดูแลให้บุคลากรในสังกัดดูแลรักษาสุขภาพและป้องกันตนเอง รักษา ระยะห่างทางสังคม สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือและหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ชุมชน หรือเดินทางไปในสถานทีเ่ สี่ยง 3. หน่วยงานมีแนวทางบริหารจัดการเพื่อความต่อเนื่องและเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะวิกฤติหรือ ภัยพิบัติ หรือเหตุฉุกเฉินที่ส่งผลกระทบให้หน่วยงานไม่สามารถดำเนินงานได้ 4. มีมาตรการในการกำกับดูแลและยกระดับมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัยตามแผนรักษา ความสงบและรักษาความปลอดภัยในศาลยุติธรรม ให้บังเกิดผลสำเร็จ โดยมอบหมายให้เจ้าพนักงาน ตำรวจศาลเป็นผู้รับผิดชอบในการประสานงาน การนำแผนไปปฏิบัติและการติดตามรายงานผล 5. จัดให้มีมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบจากวาตภัย เช่น การตรวจสอบและปรับปรุงซ่อมแซม อาคารศาลและบ้านพักข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมที่ชำรุดเสื่อมสภาพให้มีความมั่นคง แข็งแรง และการบำรุง ดูแลรักษาต้นไม้ขนาดใหญ่ และตัดแต่งกิ่งไม้ในบริเวณศาลและบ้ านพั ก ป้องกันการหักโค่น 1.การส่งเสริมให้บุคลากรมีการเสริมสร้างทักษะการต้อนรับประชาชนและประชาสัมพันธ์ 2. จัดให้มีมาตรการในการกำกับ ดูแล สอดส่องการบริการ/การปฏิบตั ิงาน 3. ส่งเสริมการมีใจให้บริการและความพร้อมในการให้บริการแก่เจ้าหน้าที่ในจุดที่ต้องติดต่อหรือ ให้บริการคูค่ วามและประชาชน 4. ตรวจสอบแก้ไขข้อขัดข้องในการบริการและแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบ 5. ลดหรือแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการให้บริการของเจ้าหน้าที่เพื่อปรับปรุงระบบการบริการของ หน่วยงานแบบยั่งยืน

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๒๗ ภารกิจ/ประเด็นความเสี่ยง ความเสี่ยงที่ 3.4 การไม่สามารถให้บริการคัด ถ่ายเอกสารให้แก่คคู่ วามและ ประชาชนได้ตามระยะเวลาที่ กำหนด

4. ด้านการเงิน ความเสี่ยงที่ 4.1 การทุจริตในการเบิกจ่าย งบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง

มาตรการ/กิจกรรมการควบคุม 1. มีมาตรการและผู้รับผิดชอบในการกำกับตรวจสอบการให้บริการคัดถ่ายเอกสารให้แก่ คู่ความได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ทั้งการบริการ ณ ที่ตั้งของหน่วยงาน และระบบบริการ ออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) 2. มีมาตรการในการติดตามสำนวนทีค่ ู่ความขอคัดถ่ายเอกสาร 3. มีบริการจัดส่งเอกสารที่คู่ความขอคัดถ่ายทางไปรษณีย์โดยคู่ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการ จัดส่งเอกสารตามอัตราที่กำหนดของไปรษณีย์ 4. จัดให้มีการเก็บรักษาเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในระบบการจัดทำสารบบ และสำนวนความอิเล็กทรอนิกส์ (E-CMS) ครบ 5 ประเภท พร้อมให้บริการคัดถ่ายเอกสาร ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) ให้แก่คู่ความได้ ภายใต้คำสั่งศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด 1. ผู้บริหารปฏิเสธที่จะยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตทุกกรณี 2. ผู้บริหารมุ่งมั่นจะสร้างระบบการควบคุม ป้องกัน ตรวจสอบ เพื่อให้ผู้มี ส่วนได้เสียมั่นใจ ในระบบธรรมาภิบาลและความซื่อตรงขององค์กร 3. กำหนดให้มีการดำเนินการตามกระบวนทางกฎหมาย กฎ ระเบียบ และการดำเนินการ ทางวินัย ในกรณีตรวจสอบพบการทุจริต 4. จัดให้มีการส่งเสริมความรู้ด้านวินัย และจริยธรรมแก่บุคลากรให้มีความตระหนักถึงผลที่ ได้รับหรือบทลงโทษของการกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ 5. จัดให้มีมาตรการสอดส่องดูแลหรือแจ้งเบาะแสการกระทำทุจริตที่พบเห็นเพื่อป้องกันการทุจริต 6. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ ยวกั บ ระเบี ยบการเบิ กจ่ายเงินและการจั ดซื้อ จั ดจ้ าง แก่ผู้เกี่ยวข้อง และกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ถูกต้องตามกฎหมาย และระเบียบทุกขั้นตอน 7. ส่ ง เสริ ม ให้ เจ้ า หน้ า ที่ ก ารเงิ น เจ้ า หน้ า ที่ พั ส ดุ แ ละผู้ เกี่ ย วข้ อ ง รั ก ษามาตรฐานการ ปฏิ บั ติ ง านให้ ถู ก ต้ อ งตามระเบี ย บคณะกรรมการบริ ห ารศาลยุ ติ ธ รรมว่ า ด้ ว ยการเงิ น พ.ศ. 2545 ระเบี ยบคณะกรรมการบริห ารศาลยุติ ธรรมว่าด้วยเงิน ค่าธรรมเนี ย มศาล เงินค่าปรับ และเงินกลาง พ.ศ. 2556พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

ความเสี่ยงที่ 4.2 1. ผู้ บ ริ ห ารยอมรั บ ความเสี่ ย งระดั บ น้ อยที่ สุ ด กรณี ห น่ ว ยงานไม่ ส ามารถก่อ หนี้ ผู ก พั น ความล่าช้าในการก่อหนี้ ค่าใช้จ่ายด้านลงทุนได้ทนั ภายในปีงบประมาณที่ได้รับจัดสรร และเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายด้านลงทุน 2. จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างค่าใช้จ่ายด้านลงทุน 3. จัดให้มีการกำกับ ควบคุม การดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้ จ่ า ยเงิ น ของหน่ ว ยงาน มี ก ารบริ ห ารสั ญ ญาให้ เป็ น ไปตามระเบี ย บการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า ง ข้อกำหนด และระยะเวลาของสัญญาอย่างเคร่งครัด 4. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารสัญญาและการตรวจ รับพัสดุแก่บุคลากรของหน่วยงาน 5. มีมาตรการเตรี ยมความพร้อมการขอรับการจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านลงทุนใน เรื่องรูปแบบรายการและพื้นที่ดำเนินการ

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๒๘ ภารกิจ/ประเด็นความเสี่ยง ความเสี่ยงที่ 4.3 ข้อผิดพลาดในการปฏิบตั ิงาน ด้านการเงิน การบัญชี และ การพัสดุ

มาตรการ/กิจกรรมการควบคุม 1. ผู้ บริ หารยอมรับความเสี่ ยงระดั บน้ อยที่ สุ ด กรณี ข้ อผิ ดพลาดในการปฏิ บั ติ งานด้ านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ 2. กำกั บดู แลการเก็ บรั กษาเงิ น การตรวจสอบการรั บจ่ ายและรายงานเงิ นคงเหลื อประจำวั น ให้ครบถ้วนถูกต้องทุกสิ้นวันทำการและตรวจสอบการจัดทำรายงานการเงินประจำเดือน และการจัดทำ งบกระทบยอดเงินฝากธนาคารให้ครบถ้วน ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 3. จัดให้มีการสอนงานหรือให้ผู้ปฏิบัติงานเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะ ด้าน และนำคู่มือการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชีและการพัสดุ รวมทั้งระเบียบที่เกี่ยวข้องไปใช้ ในการปฏิบัติงาน 4. กำกั บดู แลและให้ คำปรึ กษาแนะนำแก่ เจ้ าหน้ าที่ การเงิ น เจ้ าหน้ าที่ พั สดุ และผู้ เกี่ ยวข้ อง ให้ ดำเนิ น การจั ด ซื้ อ จั ด จ้ างและการเบิ กจ่ ายงบประมาณมี ค วามถู ก ต้ อ งตามระเบี ยบ คณะกรรมการบริ หารศาลยุ ติ ธรรมว่ าด้ วยการเงิ น พ.ศ. 2545 ระเบี ยบคณะกรรมการบริ หาร ศาลยุติธรรมว่าด้วยเงินค่าธรรมเนียมศาล เงินค่าปรับและเงินกลางพ.ศ. 2556 พระราชบั ญญั ติ การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 5. ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานตามข้อเสนอแนะตามรายงานการตรวจสอบภายใน

ความเสี่ยงที่ 4.4 การเบิกค่าใช้จ่ายผิดงาน กิจกรรม โครงการและประเภท ค่าใช้จา่ ย

1. มี การเสริมสร้างความรู้ความเข้ าใจที่ ถูกต้ อง หรือซั กซ้ อมแนวทางการควบคุ มและเบิ กจ่ าย งบประมาณตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 2. มีการกำหนดให้ หน่ วยงานตรวจสอบแบบแจ้งโอนเงินงบประมาณ ประจำปี งบประมาณของ สำนักงานศาลยุติธรรม (ใบชมพูของสำนักการคลัง) พร้อมกับเปรียบเทียบกับรายละเอียดประกอบ แผนการใช้ จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ (ใบชมพูของสำนั กแผนงานและงบประมาณ) ให้ถูกต้องตรงกัน 3. มีการจัดทำทะเบียนคุมงบประมาณจำแนกตามประเภทค่าใช้จ่าย งาน กิจกรรม และโครงการ เพื่อควบคุมการเบิกจ่ายให้อยู่ในวงเงินที่ได้รับในแต่ละงาน กิจกรรม และโครงการ 4. มี การตรวจสอบรายจ่ายจริงประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 และวางแผนควบคุ มการใช้ จ่าย งบประมาณ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็ นรายไตรมาส กรณี ตรวจสอบพบว่างบประมาณ คงเหลื อหรื อคาดว่ าจะไม่ เพี ยงพอ หน่ วยงานมี การจั ดทำคำของบประมาณเพิ่ มเติ มล่ วงหน้ า ตามระยะเวลาที่กำหนด 5. มีการติดตามตรวจสอบและควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง หลักเกณฑ์ แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ ตามเอกสารระบบบริหารงบประมาณศาลยุติธรรมและ สำนักงานศาลยุติธรรมอย่างเคร่งครัด

ความเสี่ยงที่ 4.5 มีเงินที่ คู่ความโอนมาค้างอยู่ในระบบ CIOS โดยไม่มีการตรวจสอบ และดำเนินการตามคำร้องหรือ รายการโอนเงิน

1. มีหนังสือแจ้งธนาคารผู้ให้บริการบัญชีของหน่วยงานตรวจสอบรายการโอนเงินและแจ้ง กลับมาให้ทราบ กรณีทราบชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้โอนเงิน เพื่อจะได้แจ้งให้ผู้โอนเงิน มาติดต่อขอรับเงินคืนภายใน 30 วัน 2. ให้งานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบรายการคำร้อง คำขอ คำแถลงในระบบ CIOS ทุกวัน วันละ 2 ครั้งรอบเช้าและรอบบ่าย ให้ตรวจสอบทุกวัน เนื่องจากในแต่ละวันมีคำร้องและการโอน เงินในระบบ CIOS จำนวนมาก หากปล่อยให้ล่วงเลยไปจะยากแก่การตรวจสอบ 3. สำหรับยอดเงินที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ ให้ลงประกาศผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน และปิด ประกาศหน้าศาลให้คคู่ วามหรือประชาชนหรือหน่วยงานที่โอนเงินเข้ามาทราบเกีย่ วกับรายการเงิน ที่โอนเข้ามา หากผู้ใดเป็นผู้โอนเงินเข้ามา ให้ยื่นคำขอรับเงินคืนภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศ 4. หากพ้นกำหนดแล้ว และงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถตรวจสอบได้ และยังไม่มีผู้ใดแจ้ง ขอรับเงินคืน ให้ส่วนคลังจัดทำสรุปรายงานยอดเงินที่ค้างอยู่ในบัญชี นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๒๙ ภารกิจ/ประเด็นความเสี่ยง มาตรการ/กิจกรรมการควบคุม 5. ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเสี่ยงที่ 5.1 1. ผู้บริหารปฏิ เสธที่ จะยอมรับความเสี่ยงในเรื่องของความปลอดภั ยของระบบสารสนเทศที่ ข้อมูลส่ วนบุคคลในระบบ เกีย่ วข้องกับข้อมูลด้านการเงิน ข้อมูลส่วนบุคลล และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ เทคโนโลยี ห รื อ นวั ต กรรมที่ 2. กำหนดมาตรการเพื่ อ การบริ ห ารจั ด การข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลในระบบเทคโนโลยี ห รื อ หน่วยงานพัฒนาขึ้นรั่วไหลไปยัง นวัตกรรมที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นให้มีความปลอดภัยป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญของ เซิร์ฟเวอร์ภายนอกหน่วยงาน หน่วยงานและข้อมูลส่วนบุคคล 3. กำหนดผู้รับผิดชอบเพื่อกำกับ ดูแล การใช้งานระบบเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ พัฒนาขึ้น เพื่อรักษาความปลอดภัย ความเสี่ยงที่ 5.2 ข้ อ ผิ ด พ ล า ด ใ น ก า ร ปฏิ บั ติ งานบั น ทึ ก ข้อ มูล หรือ ไม่ นำเข้าข้อมูลในระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ

1. ผู้บริหารยอมรับความเสี่ยงระดับปานกลางสำหรับข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานบันทึก ข้อมูลหรือไม่นำเข้าข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาทักษะความรู้ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. หน่ ว ยงานนำคู่ มื อ ติ ด ต่ อ ราชการศาลทางออนไลน์ ไ ปดำเนิ น งานหรื อ จั ด ให้ มี การรายงานข้อขัดข้องของระบบหรือปัญหาไปยังหน่วยที่รับผิดชอบเพื่อเป็นแนวทางแก้ไข การทำงานผ่านระบบ 4. กำหนดผู้รับผิดชอบเพื่อกำกับ ดูแล การใช้งาน การบันทึกหรือนำเข้าข้อมูลในระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความเสี่ยงที่ 5.3 ร ะ บ บ เ ท ค โ น โ ล ยี สารสนเทศของสำนั ก งานศาล ยุ ติ ธ รรมขั ด ข้ อ งไม่ สาม ารถ รองรับการปฏิบัติงานได้

1. ผู้ บ ริ ห ารยอมรั บ ความเสี่ ย งระดั บ ปานกลางสำหรับ ระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศของ สำนักงานศาลยุติธรรมขัดข้องไม่สามารถรองรับการปฏิบัติงานได้ 2. มาตรการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2.1 มีแผนการบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงานเพื่อ ลดความเสี่ยงจากการชำรุดบกพร่องของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ หรือสายไฟฟ้า/สายสัญญาณ 2.2 มี มาตรการตรวจสอบระบบเครื อข่ ายสื่ อสารหลั กเพื่ อลดความเสี่ ยงจากการเชื่ อมต่ อระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตขัดข้อง 2.3 มีการกำหนดแผนสำรอง แผนดำเนินการหรือแนวทางในการดำเนินการสำหรับเจ้าหน้าที่ในการ ตรวจสอบและดูแลระบบ CIOS และ e-filing กรณีเกิดไฟฟ้าดับกระทันหัน ไฟกระชาก หรือภัยพิบัติอื่น เพือ่ ลดความเสียหายต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและงานบริการของหน่วยงาน 3. มาตรการด้านบุคลากร 3.1 กำหนดผู้รับผิดชอบเพื่อกำกับ ดูแล การใช้งานระบบ CIOS และe-filing ของหน่วยงาน 3.2 จัดให้บุคลากรเข้ารับการอบรม E-Filing และ CIOS ตามหลักสูตรของสำนักงานศาลยุตธิ รรม 3.3 จัดให้มีคู่มือและพี่เลี้ยงสอนงานและให้คำปรึกษาแนะนำการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่างๆ แก่บุคลากรภายในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. การตรวจสอบระบบเครื อข่ ายและประสิ ทธิ ภาพการทำงานของระบบ CIOS และe-Filing เป็นประจำและแจ้งหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องทันทีเมื่อเกิดข้อขัดข้อง

ความเสี่ยงที่ 5.4 ระบบรั ก ษาความมั่ น คง ปลอดภัยของข้อมูลจากการบุก รุ ก และภั ยคุ ก คามที่ อาจจะ เกิดขึ้นจากผู้ที่ไม่ประสงค์ดี

1. ใช้เครื่องมือในการจัดการความปลอดภัย ประกอบด้วย การรักษาความปลอดภัยจากการบุกรุก จากเครือข่ ายภายนอก (Firewall) การตรวจจั บและป้ องกั นภั ยคุ กคามที่ เกิ ดจากภายในระบบ เครือข่าย (Intrusion Detection and Prevention System) การป้องกันการแพร่กระจายไวรัสผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าสู่เครือข่าย (Anti-Virus Gateway) ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด 2. จัดให้มีการกำกับดูแลตรวจสอบการใช้งานอินเตอร์เน็ตรองรับการพิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน สัญญาณระบบเครือข่ายภายในศาลยุติธรรม (Lan) สำหรับห้องพิจารณาคดีและบริหารจัดการภายใน หน่วยงานว่าได้กำหนดค่าทางเครือข่าย (Network Configuration) ให้ทุกห้องพิจารณาคดีและห้อง ประชุมออนไลน์สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๓๐ ภารกิจ/ประเด็นความเสี่ยง

มาตรการ/กิจกรรมการควบคุม 3. มอบหมายให้ นั กวิ ชาการคอมพิ วเตอร์ ดำเนิ นการตรวจสอบการใช้ งานระบบเครื อข่ าย คอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และให้รายงานสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านทาง Line Open Chat ในโอกาสแรกที่ พบปั ญหาการโจมตี เครือข่าย การปลอมแปลงเป็ นผู้ ใช้งานอย่ าง ถูกต้อง การพยายามลอบเข้ามาติดตั้งโปรแกรมเพื่อขโมยข้อมูล หรือพบพฤติกรรมอื่นๆ ที่มีความ ผิดปกติเกิดขึ้นในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการใช้อินเตอร์เน็ตของหน่วยงาน 4. กำกับดูแลการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Private Network : VPN) โดยไม่ ให้ ใช้ โปรแกรมควบคุ มคอมพิ วเตอร์ ระยะไกล (Remote Desktop Software) ในการเข้าถึงดังกล่าว ในช่วงนอกเวลาทำการปกติ และให้ผู้ใช้งานถือปฏิบัติตามแนว ทางการใช้งานเครือข่ายเสมือนอย่างปลอดภัย (ตามหนังสือสำนักงานศาลยุติธรรมที่ ศย 013/ ว 1126 ลว 28 พ.ย. 2565)

ความเสี่ยงที่ 5.5 ความพร้อมในการพิจารณา คดีออนไลน์

1. ผู้บริหารยอมรับความเสี่ยงระดับปานกลางสำหรับความไม่พร้อมของหน่วยงานในการดำเนิน กระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. มาตรการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2.1 กำกับ ดูแลและมอบหมายให้เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องจัดเตรียมความพร้อมในการดำเนิน กระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดก่อนวันนัด 2.2 การตรวจสอบระบบเครือข่ายและประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ ายและอุปกรณ์ พิจารณาคดีออนไลน์เป็นประจำและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันทีเมื่อเกิดข้อขัดข้อง 2.3 มีมาตรการเพื่อลดความเสีย่ งจาก ไฟกระชาก จากสายพ่วงที่มีปัจจัยก่อให้เกิดไฟไหม้ ไฟดูด ไฟย้อนกลับทำให้อุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องพิจารณาคดีเสียหาย 3. มาตรการด้านบุคลากร 3.1 กำหนดผู้ รั บผิ ดชอบเพื่ อกำกั บ ดู แล การใช้ งานระบบการพิ จารณาคดี ออนไลน์ ของ หน่วยงาน 3.2 จัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานและพี่เลี้ยงสอนงานแก่เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ให้สามารถใช้ เครื่องมือและปฏิบัติงานพิจารณาคดีออนไลน์ได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ 4. ผู้บังคับบัญชากำกับดูแลให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติงานตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์ที่ประธานศาลฎีกาและสำนักงานศาลยุติธรรม กำหนดอย่างเคร่งครัด

ความเสี่ยงที่ 5.6 การบันทึกข้อมูลคดีและ คำสั่ง คำร้อง ลงในโปรแกรม สารสนเทศสำนวนคดีของแต่ละ ส่วนงานไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน และไม่เป็นปัจจุบัน

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกส่วนงานตรวจสอบและบันทึกข้อมูลสำนวนคดีและคำสั่งศาลใน ส่วนที่รับผิดชอบให้ถกู ต้อง ครบถ้วนก่อนส่งสำนวนไปยังส่วนงานอื่น 2. มอบหมายให้หัวหน้าส่วน หัวหน้างานหรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกำกับดูแลและติดตาม การบันทึกข้อมูลสำนวนคดีและคำสั่งศาลในโปรแกรมสารสนเทศสำนวนคดีให้ครบถ้วน ถูกต้องเป็นปัจจุบนั 3. กรณี ต รวจพบความบกพร่ องล่ าช้ าในการบัน ทึ กข้อมู ลสำนวนคดี และคำสั่ งศาลใน โปรแกรมสารสนเทศสำนวนคดีให้แจ้งผู้เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขภายในวันที่ตรวจพบ

ความเสี่ยงที่ 5.7 การลงสารบบคำพิพากษา ไม่เป็นปัจจุบัน บันทึกข้อมูล ผิดพลาด

1. มี ก ารมอบหมายเจ้ า หน้ า ที่ ใ นการตรวจสอบการลงสารบบคำพิ พ ากษา คำสั่ งศาล ให้ถกู ต้องเป็นปัจจุบันทุกครั้งที่มีการออกหมายเลขคดีแดง 2. มี ก ารมอบหมายให้ เจ้ า หน้ า ที่ ก ำกั บ ควบคุ ม ดู แ ล และตรวจสอบคดี ที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ล ง คำพิพากษาย่อในระบบโปรแกรมสำนวนคดี 3. มอบหมายหน้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบโดยการกำหนดให้ หั ว หน้ า ส่ ว น และหั วหน้ างานเป็ น ผู้ควบคุมการลงสารบบคำพิพากษาให้เป็นปัจจุบันและบันทึกข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๓๑

กลุ่ม 3 ความเสี่ยงเพิ่มเติมจากคณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นความเสี่ยง มาตรการ/กิจกรรมการควบคุม ความเสี่ยงที่ 1 ติดตาม กำกับให้หน่วยงานดำเนินการตามแผนหรือแนวทางการดำเนินการใน ประสิทธิภาพของระบบการ การจัดการสำรองข้อมูล สำรองข้อมูลของหน่วยงาน เพื่อให้สามารถรองรับกรณี เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผล กระทบให้ระบบงานและ ข้อมูลหลักเกิดความเสียหาย ความเสี่ยงที่ 2 การนำ ข้อมูลส่วนบุคคลจากระบบ เทคโนโลยีไปใช้โดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย

(1)การซักซ้อมทำความเข้าใจแก่บุคลากร ในการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ โดย ชอบด้วยกฎหมาย (2) กำกับ ให้มีการขออนมัติอนุญาต ก่อนการนำข้อมู ลส่วนบุคคลไปใช้ในการ ดำเนินการ

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๓๒

2.2 การกำหนดหน่วยงานส่วนกลางทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ปรึกษาด้านการ ควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566การกำหนด การกำหนดหน่วยงานที่ปรึกษาฯ เป็นการกำหนดให้หน่วยงานส่วนกลางที่มีหน้าที่ กำกั บ ควบคุม ดู แ ล ในการออกแนวทางปฏิ บั ติ ที่ เกี่ย วข้ อ งกั บ ภารกิ จ หน้ าที่ ข องหน่ วยงานในสั ง กั ด สำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมกำหนดมาตรการในการควบคุมภายใน (เพิ่มเติม) ในประเด็นความเสี่ยงที่มี อยู่ จ ากผลการประเมิ น การควบคุ ม ภายใน และตามข้ อ สั ง เกตของผู้ ต รวจสอบภายใน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 และนำมาควบคุมต่อในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และประเด็นความเสี่ยงที่ อยู่ในระดับสูง และสูงมาก จากผลการประเมินของคณะกรรมการการควบคุมภายใน ครั้งที่ 1/2566 โดยประเมินจากการประเมินตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 ในไตรมาสที่ 1-2/2566 แล้วนำมาวิเคราะห์สรุปเป็นผลการประเมินผลการ ควบคุมภายในครั้งที่ 1/2566 ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุมความเสี่ยงที่มีอยู่ให้ อยู่ในระดับที่ควบคุม ได้ หรือ ไม่พบความเสี่ยงอีก คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนัก งานศาลยุติธรรมจึงพิ จารณา กำหนดให้หน่วยงานในส่วนกลางเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาฯ เพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมภายใน (เพิ่มเติม) ดังนี้ หน่วยงานในส่วนกลางที่กำหนดให้เป็น หน่วยงานที่ปรึกษาฯ ความเสี่ยงคงเหลือจากผลการประเมินการควบคุมภายใน และข้อสังเกตของผู้ตรวจสอบภายในประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 ๑. ด้านยุทธศาสตร์ 1.สำนักแผนงานและงบประมาณ 2.สำนักส่งเสริมงานตุลาการ ๒. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.สำนักการคลัง 3.สำนักส่งเสริมงานตุลาการ ๓. ระบบงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ 1.สำนักการคลัง 2.สำนักแผนงานและงบประมาณ 3.สำนักบริหารทรัพย์สิน 4.สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 5.สำนักส่งเสริมงานตุลาการ ๔. ระบบสำนวนความและเอกสารทางคดี 1. สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม 3. สำนักส่งเสริมงานตุลาการ 5. ระบบงานรักษาความปลอดภัย 1. ศูนย์รักษาความปลอดภัย 2. สำนักส่งเสริมงานตุลาการ 6. โรคระบาดและภัยพิบัติ 1.สำนักการแพทย์ 2.สำนักแผนงานและงบประมาณ 3.สำนักส่งเสริมงานตุลาการ ประเด็นความเสี่ยง

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๓๓ หน่วยงานในส่วนกลางที่กำหนดให้เป็น หน่วยงานที่ปรึกษาฯ  ความเสี่ยงระดับองค์กรตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ๑. ด้านยุทธศาสตร์ ทุกหน่วยงานในส่วนกลาง ๒. ด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ทุกหน่วยงานในส่วนกลาง ประเด็นความเสี่ยง

๓. ด้านการดำเนินงาน

ทุกหน่วยงานในส่วนกลาง

๔. ด้านการเงิน

ทุกหน่วยงานในส่วนกลาง

5. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทุกหน่วยงานในส่วนกลาง

 ความเสี่ยงเพิ่มเติมจากคณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

1.สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.สำนักการคลัง 3.สำนักส่งเสริมงานตุลาการ 4.สำนักกฎหมายและวิชาการ

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๓๔

ขั้นตอนการดำเนินการของหน่วยงานที่ปรึกษา ขั้นตอนที่ รายละเอียดการดำเนินงาน 1 คณ ะกรรมการการควบ คุ ม ภายในประเมิ น ผลการควบคุ ม ภายใน ครั้ ง ที่ 1 2

3

4 5

(รอบ 6 เดือน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และทบทวนมาตรการในการควบคุม ภายในในประเด็นความเสี่ยง คณะกรรมการการควบคุมภายในฯ นำข้อมูล จากผลการประเมิน ของความเสี่ยงของ คณะกรรมการบริห ารจั ด การความเสี่ยง รายไตรมาสที่ 1-2 ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 มาวิเคราะห์และสรุปเพื่อประเมินผลการควบคุมภายใน ครั้งที่ 1/2566 (รอบ 6 เดือน) เมื่อการประเมินผลพบว่าประเด็นความเสี่ยงนั้น ๆ อยู่ในระดับที่สูงและ สูงมาก จึงกำหนดหน่วยงานส่วนกลางร่วมเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาฯ โดยพิจารณาตาม ภารกิจที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบรวมถึงภารกิจที่กำกับดูแลหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ศาลยุ ติ ธ รรม ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ประเด็ น ความเสี่ ย งซึ่ ง ถู ก กำหนดให้ มี ม าตรการ ในการควบคุมภายในเพิ่มเติม แล้วให้หน่วยงานที่ปรึกษาที่ได้รับมอบหมาย ร่วมกำหนด มาตรการในการควบคุมภายใน (เพิ่มเติม ) เพื่อควบคุมกำกับดูแ ลประเด็นความเสี่ยง นั้น ๆ ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่พบความเสี่ยงอีก หน่วยงานที่ปรึกษาแจ้งเวียนให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการ ตามมาตรการที่กำหนด การดำเนิน การตามมาตรการในการควบคุมความเสี่ยง (เพิ่มเติม) ของหน่วยงานที่ ปรึ ก ษาฯ ตามที่ ก ำหนด เพื่ อ จะได้ น ำมาประเมิ น ผลการดำเนิ น ตามกิ จ กรรมใน สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หน่วยงานที่ปรึกษาฯ สรุป และประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการของหน่วยงาน ที่ปรึกษาฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 คณะกรรมการการควบคุมภายในสรุปและวิเคราะห์ผลการดำเนินการตามมาตรการของ หน่วยงานที่ปรึกษาฯ เพื่อประกอบการประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงาน ศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๓๕

2.3 เกณฑ์การประเมินผลความเพียงพอของมาตรการในการควบคุมภายใน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 หลักเกณฑ์/มาตรการ ในการ ควบคุมภายใน

ผลการประเมิน

เพียงพอ 1.แผนบริหารจัดการความเสี่ยง -ผลการประเมินฯ ไตรมาสที่ 1-4 ไม่ ของคณะกรรมการบริหาร พ บ ความเสี่ ย งใน ระดั บ สู ง และ จัดการความเสี่ยง สูงมาก -ผลการประเมินฯ ไตรมาสที่ 1-2 พบความเสี่ยงสูงและสูงมาก แต่ไม่ พบในไตรมาสที่ 3-4

ไม่เพียงพอ -ผลการประเมินความเสี่ยงฯ ในไตรมาส 1-4 พบว่ามีความเสี่ยงสูง และสูงมาก -ผลการประเมินความเสี่ยงฯ ในไตรมาส ที่ 1-2 ไม่พบความเสี่ยงสูง และสูงมาก แต่พบว่ามีความเสี่ ยงสู ง และสุงมากใน ไตรมาสที่ 3-4

2.การดำเนินการตามมาตรการ - มีการกำหนดหน่วยงานที่ปรึกษาฯ ควบคุมภายใน (เพิ่มเติม) ของ - มีการกำหนดมาตรการควบคุม หน่วยงานที่ปรึกษาฯ เพิ่มเติม - หน่วยงานมีการดำเนินการครบถ้วน ตามมาตรการในการควบคุมภายใน (เพิ่มเติม) ที่กำหนด - มีการดำเนินการตามมาตรการใน การควบคุมภายในเพิ่มเติม และไม่ พบปัญหาอุปสรรค

- ไม่ มี ก ารกำหนดมาตรการในการ ควบคุมเพิม่ เติมฯ - หน่วยงานไม่ดำเนินการตามมาตรการ ของหน่วยงานที่ปรึกษาฯ หรือพบปัญหา อุ ป สรรค ข้ อ ขั ด ข้ อ งในการดำเนิ น การ ตามมาตรการ

3.ตัวชี้วัดในการปฏิบัติราชการ ของ

การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาล ยุติธรรมผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัดการ ปฏิบัติการที่กำหนด

การประเมินผลการปฏิบัติราชการของ หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาล ยุติธรรมไม่ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัดการ ปฏิบัติการที่กำหนด

4. ข้อสังเกตของหน่วยงาน ตรวจสอบ

ไม่มีข้อสังเกตและข้อทักท้วงจาก หน่วยตรวจสอบ

-พบว่ามีข้อสังเกตและข้อทักท้วงจาก หน่วยงานตรวจสอบ -พบว่ามีการดำเนินการกรณีวินัยกับ บุคลากรซึ่งเป็นการเกิดกรณีวินัยใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

5. ข้อมูลเพิ่มเติม

-มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ เกี่ยวข้องกับประเด็นความเสี่ยงที่มีอยู่ -มีกิจกรรม หรือสถานการณ์ที่ สนับสนุนในการปรับปรุงแก้ไข หรือ เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมความ เสี่ยงที่มีอยู่

-มีสถานการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งส่งผลกระทบ ต่อการควบคุมความภายในในประเด็น ความเสี่ ย งนั้ น ๆ ซึ่ ง ส่ ง ผลให้ ป ระเด็ น ความเสี่ยงที่มีอยู่มีแนวโน้มจะปรับอยู่ใน ระดับสูงขึ้น หรือเกิดความเสี่ยงใหม่

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๓๖ หลักเกณฑ์/มาตรการ ในการ ผลการประเมิน ควบคุมภายใน เพียงพอ ไม่เพียงพอ 6. การวิเคราะห์ผลตาม - มี ร ะเบี ย บ ที่ ดี ห รื อ มาตรการที่ -ไม่มีระเบียบหรือมาตรการ มาตรการของการควบคุม เพี ยงพอสามารถควบคุมความเสี่ ยง -มีระเบียบหรือมาตรการ แต่ไม่เพียงพอ ภายใน ให้อยูใ่ นระดับที่ยอมรับได้ - มีระเบียบหรือมาตรการที่ดี แต่ผู้ปฏิบัติ - มี ระ เบี ย บ ห รื อ ม าต ร ก ารที่ ดี ขาดวินัยและสามัญสำนึกที่ดี ประกอบกั บ ผู้ ป ฏิบั ติ มีระเบี ยบวินั ย -มีระเบียบหรือมาตรการที่ดี แต่ผู้ปฏิบัติ และสามัญสำนึกที่ดี มีพฤติกรรมละเว้นหรือหลีกเลี่ยง -แสดงให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติมีพฤติกรรม -ขาดการกำกับดูแลโดยผู้บังคับบัญชาแต่ ใน การป ฏิ บั ติ ต ามระเบี ยบ ห รื อ ละระดับ มาตรการ -แสดงให้เห็นว่ามีการกำกับดูแลโดย ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาแต่ ล ะระดั บ อย่ า ง เข้มงวด 7. การวิเคราะห์ผลกับนโยบาย สามารถบริหารความเสี่ยงให้อยู่ใน บริหารจัดการความเสี่ยงของ ระดับที่ไม่กระทบต่อเป้าหมายและ สำนักงานศาลยุติธรรม วัตถุประสงค์ของสำนักงานศาล ยุติธรรม ทั้ง 4 ด้าน

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

ความเสี่ ยงที่มีอยู่ อยู่ในระดับที่ส่ งส่ งผล กระทบต่อนโยบายบริ หารจัดการความ เสี่ ย งแ ล ะก ารค ว บ คุ ม ภ าย ใน ข อ ง สำนักงานศาลยุติธรรม ด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1. ความเสี่ ย งด้ านการปฏิ บั ติ งานตาม กฎหมาย/กฎระเบียบ 2. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ 3.ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน 4.ความเสี่ยงด้านการเงิน ซึ่ ง คณะกรรมการมี ค วามเห็ น ว่ า ส่ ง ผล กระทบต่ อ องค์ ก รในระดั บ สู ง จนไม่ สามารถยอมรับได้

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๓๗

3. การประเมินผลองค์ประกอบของการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 3.1 แนวทางการประเมินผลองค์ประกอบของการควบคุมภายใน 3.1.1 ประเด็นในการประเมินตนเอง กำหนดให้ผู้บริหารของหน่วยงานดำเนินการประเมินตนเองตามแบบประเมินที่ คณะกรรมการการควบคุ ม ภายในกำหนดฯ ซึ่ ง จะกำหนดเนื้ อ หาในแบบประเมิ น ให้ ส อดรั บ กั บ องค์ประกอบของมาตรฐานการควบคุมภายในตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและ หลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นเครื่องมือสนันให้ หน่วยงานของรัฐสามารถขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ทั้งนี้ การควบคุม ภายในจะประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 17 หลักการ ด้าน 1) สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment) 2) การประเมินความเสีย่ ง (Risk Assessment) 3) กิจกรรมควบคุม (Control Activities) 4) สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication) 5) กิจกรรมการติดตามผล (Monitoring Activities)

3.1.2 วิธีการประเมินผล 1) กำหนดให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมใช้วิธีการประเมินตนเอง (Self Assessment) อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้มีการปฏิบัติตามหลักการในแต่ละ องค์ประกอบของการควบคุมภายในที่ได้กำหนดในมาตรฐานการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ 2) ผู้ ป ระเมิ น ผลการควบคุ ม ภายในของหน่ วยงาน คื อ ผู้ อ ำนวยการสำนั ก / ผู้อำนวยการสำนักงานในฐานะผู้ควบคุมกำกับดูแลและบริหารจัดการตามผลสัมฤทธิ์ของตัวชี้วัดผลการ ปฏิบัติงานด้านการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน 3) แบบประเมินผลเป็นแบบประเมินในรูปแบบการประเมินตนเอง โดยขอความ ร่วมมือให้หน่วยงานตอบแบบประเมินตนเองฯ ภายในเดือนกันยายน 2566 4) การประเมินขอความร่วมมือหน่วยงานตอบแบบประเมินในช่องทางผ่านระบบ ออนไลน์ (Google Form) เพื่อให้คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม สรุปผล การประเมิ น และวิ เคราะห์ ปั ญ หา อุ ป สรรค รวมทั้ งข้ อ เสนอแนะ และจั ด ทำรายงานผลเพื่ อ เสนอ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๓๘

กระบวนการประเมินผลองค์ประกอบของการควบคุมภายในของหน่วยงานใน สังกัดสำนักงานศาลยุตธิ รรม ขั้นตอนกระบวนการในการประเมินตนเองด้านองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

คณะกรรมการการควบคุมภายในจัดทำแบบประเมินตนเองเพื่อให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ศาลยุติธรรมประเมินผลตนเอง

หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการประเมินตนเองฯ ตามแบบประเมินที่กำหนด ผ่านระบบออนไลน์ (Google Form)

คณะกรรมการการควบคุมภายในฯ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ รวบรวมผลการประเมินตนเอง ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม สรุปผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุม ภายในของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อรายงานผลการประเมินในภาพรวม ของสำนักงานศาลยุตธิ รรม

คณะกรรมการฯ รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายในของหน่วยงานในสังกัด สำนักงานศาลยุติธรรมในภาพรวมฯ ไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหาร ศาลยุติธรรม คณะกรรมการตรวจสอบ และกระทรวงการคลัง

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๓๙

3.2 หลักเกณฑ์ในการประเมินผล

3.2.1 เกณฑ์การกำหนดระดับค่าคะแนน การดำเนินการ

คะแนน

หน่วยงานมีการดำเนินการตามกิจกรรมทีก่ ำหนดในแบบประเมิน หน่วยงานที่ไม่มีการดำเนินงาน

1 0

หน่วยงานไม่มีการดำเนินงานตามกิจกรรมตามกำหนดแต่มีการ ดำเนินการอืน่ ๆ ที่สามารถควบคุมได้ในประเด็นความเสี่ยงเดียวกัน

1

3.2.2 เกณฑ์การประเมินผล ค่าคะแนน 95 – 100

เกณฑ์การประเมิน 5 ดีเด่น

คำอธิบาย หน่วยงานมีประสิทธิภาพในการดำเนินการตามระบบการ ควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรมและเป็นไปตาม มาตรฐานการควบคุมภายในที่กำหนดเป็นอย่างดีมาก ดี หน่วยงานมีประสิทธิภาพในการดำเนินการตามระบบการ ควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม และเป็นไปตาม มาตรฐานการควบคุมภายในที่กำหนดได้เป็นอย่างดี พอใช้ หน่วยงานมีการดำเนินการตามระบบการควบคุมภายใน ของสำนักงานศาลยุติธรรมและเป็นไปตามมาตรฐานการ ควบคุมภายในที่กำหนดในระดับพอใช้ได้ ควรปรับปรุง หน่วยงานมีการดำเนิน การตามระบบการควบคุมภายใน ของสำนั ก งานศาลยุติ ธ รรม แต่ยั งไม่ เพี ย งพอ เห็ น ควร กำชับ เน้นย้ำให้ ดำเนินการมาตรการควบคุมภายในของ สำนักงานศาลยุติธรรมเพิ่มขึ้น ต้องปรับปรุง หน่วยงานมีการดำเนินการตามระบบการควบคุมภายใน ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดเห็นควรมีปรับปรุงหรือ มีการดำเนินกิจกรรมตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด เพิ่มขึ้น

90 - 94.99

4

85 – 89.99

3

80 – 84.99

2

ต่ำกว่า 80

1

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๔๐

4. ตัวชี้วัดและมาตรการในการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม 4.1 ตัวชี้วัดการประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม 1. สำนั กงานศาลยุติ ธรรมมีการดำเนิ นการควบคุมภายในที่ สอดรับ ตามมาตรฐานการ ควบคุมภายในตามหลักเกณฑ์ โดยผลการประเมินองค์ประกอบตามมาตรฐานของการควบคุมภายใน ในภาพรวมของสำนักงานศาลยุติธรรม ร้อยละ 95% 2. ศาลยุติธรรมและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติ ธรรมทั่วประเทศผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ผลการปฏิบัติราชการศาลยุติธรรม ตามหลักเกณฑ์ การประเมินผลการปฏิบัติราชการของ สำนักงานศาลยุติธรรมประจำปีงบประมาณ

4.2 มาตรการในการดำเนินการควบคุมภายใน 1. กำหนดให้ มี ก ารกำกั บ ติ ด ตาม ทบทวนมาตรการ และกิ จ กรรมควบคุ ม เพิ่ ม เติ ม กรณีหน่วยงาน มีผลการประเมินผลองค์ประกอบของการควบคุมภายในของหน่วยงาน ไม่ถึงเกณฑ์ 95% 2. กำหนดการปรับ ปรุงกิ จ กรรมการการควบคุ ม ภายในเพิ่ ม เติ ม เมื่ อ ผลการประเมิ น องค์ประกอบของการควบคุมภายในพบว่าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม มีการดำเนินการ ตามกิจกรรมตามองค์ประกอบของการควบคุมภายในที่กำหนด ไม่ถึงเกณฑ์ 95% 3. กำหนดให้ประเด็นความเสี่ยงที่มีผลการประเมินตามมาตรการในการควบคุมภายใน ที่ อ ยู่ ในระดั บ ไม่ เพี ย งพอ ประกอบกั บ ผลการสุ่ ม ตรวจสอบยั ง พบข้ อ ผิ ด พลาดหรื อ พบความผิ ด ให้นำประเด็นความเสี่ยงนั้น วิเคราะห์สาเหตุของความเสี่ยงแล้วปรับปรุงระบบการควบคุมภายในและ มาตรการจัดการความเสี่ยงในปีงบประมาณถัดไป

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๔๑

บทที่ 4 การรายงานสรุปผลประเมินการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แนวทางการรายงานการประเมิน ผลการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธ รรม ซึ่ ง เป็ น หน่ ว ยงานอิ ส ระที่ ต้ อ งดำเนิ น การตามหลั ก เกณฑ์ ก ระทรวงการคลั งว่ า ด้ ว ยมาตรฐานและ หลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมภายในให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง ของรัฐ พ.ศ.2561 โดยให้หน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงจัดทำรายงานการประเมินผล การควบคุ มภายในระดับหน่ วยงานของรัฐ รายงานไปยังกระทรวงการคลังภายใน 90 วันนับแต่วัน สิ้นปีงบประมาณ ประกอบด้วยแบบรายงาน ดังนี้ (1) การรายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค. 4) (2) การรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค. 5) (3) การรายงานการสอบทานการประเมินผลการควบคุมภายในของผู้ตรวจสอบภายใน (แบบ ปค. 6) (4) การจัดทำหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค. 3)

ผังแสดงขั้นตอนการจัดทำรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงาน ศาลยุติธรรม คณะกรรมการการควบคุมภายในสำนักงานศาลยุติธรรม

 แบบ ปค. 4

 แบบ ปค. 5

 แบบ ปค. 3

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

คณะกรรมการตรวจสอบของ สำนักงานศาลยุติธรรม  แบบ ปค. 6

 กระทรวงการคลัง (ภายใน 90 วัน นับแต่สิ้นปีงบประมาณ)

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๔๒

1. การรายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค. 4) การรายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายในเป็นการประเมิน องค์ประกอบของมาตรฐานการควบคุมภายใน 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมการ ควบคุม การประเมินความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม สารสนเทศและการสือ่ สาร กิจกรรมการติดตามผล โดยคณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ดำเนินการดังนี้ (1) ประมวลผลข้ อ มู ล ในแต่ ล ะองค์ ป ระกอบจากการประเมิ น องค์ ป ระกอบ การควบคุมภายใน มาระบุลงในแบบรายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค. 4) (2) นำผลการประเมิ น /ข้ อ สรุ ป ของแต่ ล ะองค์ ป ระกอบลงในแบบรายงาน การประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค. 4) พร้อมจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่ยังมีอยู่ (3) สรุป ผลการประเมิ น โดยรวม 5 องค์ป ระกอบลงในตอนท้ ายแบบรายงาน โดยข้อมูลความเสี่ยงที่ประเมินให้นำไประบุในแบบรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค. 5) เพื่อกำหนดกิจกรรมควบคุมต่อไป

2. การรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค. 5) เป็นการประเมินผลการควบคุมภายในของภารกิจตามกฎหมายที่จัดตั้ง หน่วยงาน ของรัฐ หรือภารกิ จตามแผนการดำเนิ นงานที่สำคัญ ของหน่ วยงานของรัฐ เพื่ อ บันทึ กกระบวนการ ในการประเมินผลการควบคุมภายในและระบุการควบคุมที่มีอยู่ รวมทั้งประเมินผลการควบคุมความ เสี่ยงที่ยังมีอยู่และการควบคุมภายในที่ต้องปรับปรุงและรับผิดชอบ ซึ่งเป็นผลการประเมินการควบคุม ภายในที่มีอยู่ของกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดที่หน่วยงานรับผิดชอบ พร้อมทั้งวิเคราะห์ความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน เพื่อประเมินความเสี่ยงและกำหนดกิจกรรมการควบคุม ผู้รับผิดชอบและระยะเวลาในการดำเนินการ หากความเสี่ยงนั้น ๆ ยังไม่สามารถควบคุม ได้ให้อยู่ใน ระดับที่ยอมรับได้

3. การรายงานการสอบทานการประเมินผลการควบคุม ภายในของ ผู้ตรวจสอบภายใน (แบบ ปค. 6) เมื่อดำเนินการรวบรวมแบบรายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค. 4) และแบบรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค. 5) ส่งให้คณะกรรมการ ตรวจสอบของสำนั ก งานศาลยุ ติ ธ รรม เพื่ อ ทำหน้ าที่ ส อบทานประสิ ท ธิภ าพและประสิ ท ธิ ผ ลของ กระบวนการควบคุมภายใน กระบวนการบริหารความเสี่ยง และกระบวนการกำกับดูแลที่ดีในภาพรวม ของสำนักงานศาลยุติธรรม จากนั้นคณะกรรมการตรวจสอบของสำนักงานศาลยุติธรรมจะแจ้ง รายงาน การสอบทานการประเมิ น ผลการควบคุ ม ภายในของผู้ ต รวจสอบภายใน (แบบ ปค.6) เพื่ อ จะได้ ดำเนินการจัดทำแบบหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค.3) ต่อไป

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๔๓

4. การจั ด ทำหนั ง สื อ รั บ รองการประเมิ น ผลการควบคุ ม ภายใน (แบบ ปค. 3)

เมื่ อ คณะกรรมการตรวจสอบจั ด ส่ งรายงานการสอบทานการประเมิ น ผลการ ควบคุมภายในของผู้ตรวจสอบภายใน (แบบ ปค.6) กลับมาให้คณะกรรมการการควบคุมภายในของ สำนักงานศาลยุติธรรมทราบ คณะกรรมการการควบคุมภายในจะดำเนินการจัดทำหนังสือรั บรองการ ประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค.3) ตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ การจัดทำหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค.3) เป็น การสรุปในภาพรวมของหน่วยงาน โดยเสนอต่อเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงาน ของรัฐพิจารณาเห็นชอบและลงนามในหนังสือ และรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในตามแบบที่ กำหนดแล้วแจ้งไปยังกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังที่กำหนดไว้ว่า กรณี หน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวง ให้จัดส่งหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน ต่อกระทรวงการคลังโดยตรงภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณหรือสิ้นปีปฏิทินแล้วแต่กรณี

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๔๔

5. แบบรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ◆ รายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค.4) สำนักงานศาลยุติธรรม รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน สำหรับระยะเวลาดำเนินงานสิ้นสุดวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2566 องค์ประกอบของการควบคุมภายใน

ผลการประเมิน / ข้อสรุป

1. สภาพแวดล้อมการควบคุม ........................................................................... ............................................................................ ........................................................................... 2. การประเมินความเสี่ยง

........................................................................... ............................................................................ ...........................................................................

........................................................................... ............................................................................ ........................................................................... 3. กิจกรรมควบคุม

.......................................................................... ........................................................................... ..........................................................................

........................................................................... ............................................................................ ........................................................................... 4. สารสนเทศและการสื่อสาร

.......................................................................... .......................................................................... ..........................................................................

........................................................................... ............................................................................ ........................................................................... 5. กิจกรรมการติดตามผล ........................................................................... ............................................................................ ...........................................................................

............................................................................ ............................................................................ ............................................................................ ............................................................................. .............................................................................. ..............................................................................

ผลการประเมินโดยรวม ............................................................................................................................... .............................................. ผู้รายงาน..................................................... (.................................................) ตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม วันที่.........เดือน...........................พ.ศ.............. คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๔๕

◆รายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค.5) สำนักงานศาลยุติธรรม รายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน สำหรับระยะเวลาดำเนินงานสิ้นสุดวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2566

ภารกิจตามกฎหมายที่จัดตั้ง หน่วยงานของรัฐหรือ ภารกิจตามแผนการ ดำเนินการหรือภารกิจอื่น ๆ

ความเสี่ยง

การควบคุม

การประเมินผลการ

ภายในที่มีอยู่

ควบคุมภายใน

ความเสี่ยงที่ยังมีอยู่

การปรับปรุงการ

หน่วยงานที่

ควบคุมภายใน

รับผิดชอบ

ที่สำคัญของหน่วยงานของ รัฐ/วัตถุประสงค์

(...........................................) ตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม วันที่.........เดือน...........................พ.ศ..............

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๔๖

◆รายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค.6) รายงานการสอบทานการประเมินผลการควบคุมภายในของผู้ตรวจสอบภายใน เรียน ............................................... ผู้ตรวจสอบภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ได้สอบทานการประเมินผลการควบคุมภายใน ของหน่วยงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่...............เดือน..........................พ.ศ................ด้วยวิธีการสอบทานตาม หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยมี วัต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ ให้ ค วามมั่ น ใจอย่ างสมเหตุ ส มผลว่า ภารกิจ ของหน่ ว ยงานจะบรรลุ วัตถุป ระสงค์ของการควบคุมภายในด้านการดำเนินงานที่มีประสิ ทธิผ ล ประสิทธิภ าพ ด้านการรายงานที่ เกี่ย วกับ การเงิน และไม่ใช่การเงิน ที่ เชื่ อถือได้ ทั นเวลา และโปร่งใส รวมทั้ งด้ านการปฏิ บั ติ ตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับทีเ่ กีย่ วข้องกับการดำเนินงาน จากผลการสอบทานดังกล่าว ผู้ตรวจสอบภายในเห็ นว่า การควบคุมภายในของสำนักงาน ศาลยุติธรรม มีความเพียงพอ ปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วย มาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 ลายมือชื่อ..................................................... ตำแหน่ง...(หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน) วันที่...............เดือน........................พ.ศ............ กรณีได้สอบทานการประเมินผลการควบคุ มภายในแล้ว มีข้อตรวจพบหรือข้อสังเกตเกี่ยวกับความเสี่ยง และ การควบคุมภายในหรือการปรับปรุงการควบคุมภายในสำหรับความเสี่ยงดังกล่าว ให้รายงานข้อตรวจพบหรือ ข้อสังเกตดังกล่าวในวรรคสาม ดังนี้ อย่างไรก็ดี มีข้อตรวจพบและ/หรือข้อสังเกตเกี่ยวกับมีความเสี่ยงและการควบคุมภายในและ/หรือ การปรับปรุงการควบคุมภายใน สรุปได้ดังนี้ 1. ความเสี่ยงที่มีอยู่ที่กำหนดปรับปรุงการควบคุมภายใน 1.1........................................................................ ....... 1.2............................................................................... 2. การควบคุมภายในและ/หรือการปรับปรุงการควบคุมภายใน 2.1................................................................................. 2.2.................................................................................

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๔๗

◆หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน แบบ ปค.3 หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (กรณีหน่วยงานของรัฐไม่อยู่ในสังกัดกระทรวง) เรียน ปลัดกระทรวงการคลัง สำนั กงานศาลยุ ติธ รรม ได้ประเมิน ผลการควบคุม ภายในของหน่ ว ยงาน สำหรับ ปี สิ้ นสุ ด วั น ที่ 30 เดื อ น กั น ยายน พ.ศ. 256 6 ด้ ว ยวิ ธี ก ารที่ ห น่ ว ยงานกำหนดซึ่ ง เป็ น ไปตามหลั ก เกณฑ์ กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติ การควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า ภารกิจของหน่วยงานจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการ ควบคุมภายในด้านการดำเนิ นงานที่มีประสิทธิผล ประสิ ทธิภาพ ด้านการรายงานที่เกี่ยวกับการเงิน และไม่ใช่ การเงินที่เชื่อถือได้ ทันเวลา และโปร่งใส รวมทั้งด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินงาน จากผลการประเมินดังกล่าว สำนักงานศาลยุติธรรมเห็นว่า การควบคุมภายในของหน่วยงาน มีความเพียงพอ ปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและ หลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 ลายมือชื่อ..................................................... (................................................) ตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม วันที่..........เดือน.........................พ.ศ............... กรณี มีความเสี่ ยงสำคัญ และกำหนดจะดำเนินการปรับปรุงการควบคุมภายในสำหรับความเสี่ ยงดั งกล่ าวใน ปีงบประมาณหรือปีปฏิทินถัดไป ให้อธิบายเพิ่มเติมในวรรคสาม ดังนี้ อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงและได้กำหนดปรับปรุงการควบคุมภายใน ในปีงบประมาณ หรือปีปฏิทินถัดไป สรุปได้ ดังนี้ 1. ความเสี่ยงที่มีอยู่ที่กำหนดปรับปรุงการควบคุมภายใน 1.1............................................................................... 1.2............................................................................... 2. การปรับปรุงการควบคุมภายใน 2.1................................................................................. 2.2.................................................................................

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๔๘

บทที่ 5 การพิจารณาจัดวางระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานที่จัดตั้งใหม่ หรือทีไ่ ด้ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ สำนั กศาลยุติธรรมได้มีหนังสือเวี ยนที่ 025/ว 686 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 แจ้งแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายใน กรณีหน่วยงานที่จัดตั้งใหม่ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ปฏิบัติ การควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ เพื่อควบคุมกำกับหน่วยงานในสังกัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่หรือที่ได้ ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ให้มี การจัดวางระบบการควบคุมภายในและรายงานการจัดวางระบบการ ควบคุมภายใน โดยได้จัดทำผังแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่ได้ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่สำหรับหน่วยงานย่อยในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อเป็นแนว ปฏิบัติของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมในการดำเนินการจัดวางระบบการควบคุมภายในให้ สอดคล้องกับ หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับ หน่ วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่ กำหนด ให้ หน่ วยงานของรัฐจั ด วางระบบการควบคุ มภายใน โดยใช้ มาตรฐานการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐที่กระทรวงการคลังกำหนดเป็นแนวทางในการจัด วางระบบการควบคุมภายในให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่ได้ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ จัดวางระบบการควบคุมภายในตามวรรคหนึ่ง ให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จัดตั้งขึ้นใหม่หรือที่ได้ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยให้มีการรายงานการจัดวาง ระบบการควบคุมภายในมายังคณะกรรมการการควบคุมภายใน ดังนี้ 1. รายงานผลการจัดวางระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานมายั งคณะกรรมการ การควบคุมภายใน ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ ครบ 1 ปี ของการจัดวางระบบการควบคุมภายใน ได้แก่ 1) หนังสือรับรองการจัดวางระบบการควบคุมภายใน (แบบ วค. 1) 2) รายงานการจัดวางระบบการควบคุมภายใน (แบบ วค. 2) 2. จัดทำแบบรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในของหน่วยงานมายังคณะกรรมการ การควบคุมภายใน ภายใน 30 วัน นับแต่สิ้นปีงบประมาณ ในปีที่มีการรายงานผลการจัดวางระบบการควบคุม ภายใน ตามแบบรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน (ป.ค. 5) กรณีหน่วยงานที่จัดตั้งใหม่หรือที่ได้ปรับ โครงสร้างองค์กรใหม่

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๔๙

ผังกระบวนการจัดวางระบบการควบคุมภายใน กรณีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในสังกัดสำนักงานศาลยุตธิ รรม (ตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบตั ิการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. 2561)

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๕๐

แบบรายงานการประเมิ น ผลการควบคุ ม ภายในของสำนั ก งานศาลยุ ติ ธ รรม กรณีการพิจารณาจัดวางระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานที่จัดตั้งใหม่หรือที่ได้ ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ 1. หนังสือรับรองการจัดวางระบบการควบคุมภายใน (แบบ วค. 1) แบบ วค. 1 หนังสือรับรองการจัดวางระบบการควบคุมภายใน เรียน ................................... (หน่วยงานจัดตั้งใหม่)...ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ (หรือได้ปรับโครงสร้างใหม่) ตาม (กฎหมายที่จัดตั้ง)........ เมื่อวันที่..............เดือน................................พ.ศ...........................และได้จัดวางระบบการควบคุมภายในแล้ว เสร็จ เมื่อวันที่.........................เดือน............................พ.ศ.....................ตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่า ด้ ว ยมาตรฐานและหลั ก เกณฑ์ ป ฏิ บั ติ ก ารควบคุ ม ภายในสำหรั บ หน่ ว ยงานของรั ฐ พ.ศ. 2561 โดยมี วัตถุป ระสงค์เพื่อให้ ความมั่น ใจอย่างสมเหตุส มผลว่า ภารกิจของหน่วยงานจะบรรลุวัตถุประสงค์ ของการ ควบคุมภายในด้านการดำเนินงานที่มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ด้านการรายงานที่เกี่ยวกับการเงิน และไม่ใช่การเงิน ที่เชื่อถือได้ ทันเวลา และโปร่งใส ด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงาน ภายใต้การกำกับดูแลของ.......(ผู้กำกับดูแลของหน่วยงาน)......

ลายมือชื่อ........................................................ ตำแหน่ง.....(หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ)............. วันที่...............เดือน.........................พ.ศ..........

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๕๑

2. รายงานการจัดวางระบบการควบคุมภายใน (แบบ วค. 2) แบบ วค.2 …..หน่วยงานจัดตั้งใหม่... รายงานการจัดวางระบบการควบคุมภายใน ระยะเวลาตั้งแต่..............................ถึง.................................

ภารกิจตามกฎหมายที่จัดตั้งหน่วยงานของรัฐ หรือภารกิจตามแผนการดำเนินการหรือ

สภาพแวดล้อมการ

ภารกิจอื่น ๆ ที่สำคัญของหน่วยงานของรัฐ/

ควบคุม

ความเสี่ยงที่สำคัญ

กิจกรรมการควบคุมที่สำคัญ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

วัตถุประสงค์

(...........................................) ตำแหน่ง......(หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ)....... วันที่.........เดือน...........................พ.ศ..............

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๕๒

3. รายงานการประเมินผลการควบคุ มภายใน (แบบ ปค.5) กรณีหน่วยงานที่จัดตั้ง ใหม่หรือที่ได้ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ แบบ ป.ค. 5 ...หน่วยงานจัดตั้งขึ้นใหม่.. รายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน สำหรับระยะเวลาดำเนินงานสิ้นสุดวันที่.........เดือน....................พ.ศ............. ภารกิจตามกฎหมายที่จัดตั้ง หน่วยงานของรัฐหรือ ภารกิจตามแผนการ ดำเนินการหรือภารกิจอื่น ๆ

ความเสี่ยง

การควบคุมภายใน

การประเมินผลการ

ที่มีอยู่

ควบคุมภายใน

ความเสี่ยงที่ยังมีอยู่

การปรับปรุง

หน่วยงานที่

การควบคุมภายใน

รับผิดชอบ

ที่สำคัญของหน่วยงานของ รัฐ/วัตถุประสงค์ (ตามรายงานฯ ในแบบ วค.2)

(...........................................) ตำแหน่ง...(หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ)....... วันที่.........เดือน...........................พ.ศ..............

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๕๓

ภาคผนวก

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๕๔

ภาคผนวกที่ 1 กิจกรรมการควบคุมภายในตามแผนดำเนินการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการ “รักษ์ศาลสีขาว” ภายใต้นโยบายประธานศาลฎีกา ข้อที่ 1 เรื่อง “รักศาล” 1. หลักการและเหตุผล นโยบายสำคัญประการหนึ่งของสำนักงานศาลยุติธรรมคือ การสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรมี ความความรักความผูกพันในองค์กร โดยมุ่งเน้นการสร้างความสามัคคี การทำงานเป็นทีม การสร้าง ทัศ นคติแ ละสภาวะแวดล้อ มที ่ด ีในการทำงาน รวมทั้ง ให้ป ฏิบัต ิร าชการและปฏิบัต ิต นตามหลัก คุณ ธรรม จริย ธรรมข้า ราชการศาลยุต ิธ รรม ซึ่ งสอดคล้ อ งกั บ นโยบายประธานศาลฎีก า ข้อ 1 “รักศาล” เสริมสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรในองค์กรศาลยุติธรรม ทั้งข้าราชการตุลาการ ข้าราชการศาล ยุติธรรม พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้พิพากษาสมทบ ผู้ประนีประนอม ตลอดจนบุคคลภายนอกที่ เข้าร่วมงานกับศาลยุติธรรมมีความรักความผูกพันในองค์กร โดยมุ่งเน้นการสร้างความสามัคคี การ ทำงานเป็นทีม การสร้างทัศนคติและสภาวะแวดล้อมที่ดีในการทำงาน รวมทั้งมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต ของบุคลากรทุกฝ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของศาลยุติธรรมในการให้บริการประชาชน สำนักงานศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้ าที่เกี่ยวกับงานธุรการศาลยุติธรรม เพื่อการสนับสนุน งานตุลาการอันเป็นภาระกิจหลักของศาลยุติธรรมให้ดำเนินไปอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเป็น เลิศในการอำนวยความยุติธรรม ซึ่งได้ต ระหนัก และให้ความสำคัญ ของการสร้างความสามัคคีข อง บุคลากรในองค์กร การสร้างทีมทำงานที่ เข้มแข็งและมีประสิ ทธิภาพ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจ ขององค์ก รศาลยุต ิธ รรมให้บ รรลุเป้า หมาย ดัง นั้ น การจะสร้า งความสามัค คี หรือ การสร้างทีม ที่ เข้ม แข็ง ได้นั ้น อัน ดับ แรกบุค ลากรในองค์ก รจะต้อ งมีค วามรัก และผูก พัน กับ องค์ก รอัน เป็น ปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้บุคลากรมีความเข้มแข็งเป็นการสนั บสนุนการปฏิบัติภารกิจได้รับมอบหมาย สำเร็จลุล่ว งเกิด ประสิทธิภาพแก่สำนักงานศาลยุติธรรม ประกอบกับสำนักงานศาลยุติธรรมมีภารกิจใน ด้านการควบคุมภายใน ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล หัวหน้าหน่วยงาน และบุคลากร ของหน่ว ยงานจัด ให้ม ีขึ ้น เพื ่อ สร้า งความมั ่น ใจอย่า งสมเหตุส มผลว่า การดำเนิน งานจะบรรลุ วัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นไปตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงาน ของรัฐ พ.ศ. 2561 อีกทั้งยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565 – 2568 ด้านการ พัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainability) ในประเด็น ยุท ธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมระบบงานตุลาการและระบบงาน ธุรการของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ ในการดำเนินกิจกรรมด้านการ ควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม โดยส่งเสริมให้บุคลากรในศาลยุติธรรมสามารถใช้ระบบการ บริหารความเสีย่ งเพื่อป้องกันปัญหาทีอ่ าจเกิดขึ้นจากภารกิจที่ได้รับมอบหมาย สำนั กส่ งเสริมงานตุ ลาการ สำนั กงานศาลยุ ติ ธรรม ในฐานะที่ ดู แลรั บผิ ด ชอบเกี่ ยวกั บ การควบคุมภายใน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ เป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์รวมทั้งเป็นการสร้างมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานของบุคลากรของ สำนักงานศาลยุติธรรม จึงเห็นควรกำหนดให้มี โครงการ “รักษ์ศาลสีขาว” เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกด้าน คุณธรรมจริยธรรม วัฒนธรรม ค่านิยม และในการรักองค์กร มุ่งเน้นการสร้างความสามัคคี การทำงาน เป็นทีม การสร้างทัศนคติ เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานอันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของบุ คลากรทุ กฝ่ ายในสำนั กงานศาลยุ ติ ธรรม รวมทั้ งสร้ า งความมั่ น ใจอย่ า ง คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๕๕

สมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของสำนักงานศาลยุติธรรมจะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล สามารถการยกระดับ การสร้างมาตรฐานและความเชื่อมั่น ศรัทธาให้ กับประชาชนที่มีต่อ องค์กรศาลยุติธรรม อันจะนำไปสู่การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบได้อีกทางหนึ่งด้วย 2. วัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและสร้างค่านิยมฯ ให้บุคลากรในองค์กรศาลยุติธรรม มีความรักความ ผูกพัน ในองค์กร โดยมุ่งเน้น การสร้างความสามัคคี การทำงานเป็ น ทีม เพื่อ เพิ่ม ประสิทธิภ าพการ ทำงานของศาลยุติธรรมในการให้บริการประชาชน 3. ระยะเวลาดำเนินงานโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 4. กิจกรรมที่ดำเนินการ ดำเนินงานตามกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โครงการ “รักษ์ศาลสีขาว” กิจกรรมที่ 2 ศาลยุติธรรมและหน่วยงานในสังกัดสำนั กงานศาลยุติธรรม จัดโครงการ/ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างจิตสำนึกฯ ส่งเสริมให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างจิตสำนึกให้บุคลากร ในองค์กรศาลยุติธรรม มีความรักความผูกพันในองค์กร โดยมุ่งเน้นการสร้างความสามัคคี การทำงานเป็นทีม การสร้างทัศนคติและสภาวะแวดล้อมที่ดีในการทำงาน โปร่งใส่ และป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างน้อย 1 กิจกรรม เช่น 1. กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรมของข้าราชการที่ดี เช่น โครงการ/ กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรมในเรื่องดังกล่าว 2. กิจกรรมอื่นใดที่แสดงให้เห็นถึงการสร้างทัศนคติทดี่ ีหรือเจตจำนง ในการเชื่อม ความสัมพันธ์ ความรัก ความสามัคคีของบุคลากรภายในหน่วยงาน กิจกรรมที่ 3 การรายงาน และประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 5. งบประมาณ 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ สามารถเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงานให้มีความเข้มแข็ง มีจิตสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ ร่วมกัน มีความรักความผูกพันในองค์กร ส่งผลให้เกิดความรักสามัคคี และร่วมกันเป็นทีม เพื่อให้การบริการ ประชาชนได้ อย่ างมีประสิ ทธิภาพและเต็มกำลังความสามารถ สามารถบรรลุวั ตถุประสงค์ตามนโยบาย “รักศาล” ของประธานศาลฎีกา

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๕๖

7. การประเมินผลการดำเนินการ คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม กำหนดให้เป็นคะแนนสำหรับ ประกอบการประเมินผลจากการการประเมินตนเองตามแบบประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ของสำนั ก งานศาลยุ ติ ธ รรม ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 ในประเด็ น หั วข้ อ การประเมิ น ผล องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม โดยการกำหนดให้คะแนนสำหรับหน่วยงานที่ดำเนินการ และไม่มีคะแนนสำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้ดำเนินการตามโครงการฯ แล้วจึงนำคะแนนไปทำการประเมินผล ในภาพรวมของการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายในประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 8. ที่ปรึกษาโครงการ 1. นายสมชาย ทองสีมัน ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา 2. นายสรวิศ ลิมปรังษี ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา 3. นายภพ เอครพานิช รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม 4. นายไกรพล อรัญรัตน์ ผู้พิพากษาประจำสำนักงานศาลยุติธรรม ช่วยทำงานชั่วคราว ในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา 5. นายพิเชษฐ์ คงศิลา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมงานตุลาการ 6. นายเสริมศักดิ์ พรหมหาญ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง 8. ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนั ก ส่ ง เสริ ม งานตุ ล าการ เลขานุ ก ารคณะกรรมการการควบคุ ม ภายในของสำนั ก งาน ศาลยุติธรรม เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ 1. นางสาวสุธินี ฤกษ์วศินกุล นิติกรเชี่ยวชาญ 2. นายจุมพล กาลสัมฤทธิ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ 3. นางสาวมิ่งพร มิ่งภัทรสิริ นิติกรชำนาญการพิเศษ 4. นางสาวกัญจน์ชญา ร้อยหมื่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ 5. นางพัชริดา แก้วมา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ 6. นายรวีภัทร พิมแก้ว นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ 7. นายสายชล ศรีสว่าง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ***************************************

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๕๗

ภาคผนวกที่ 2 ระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง หนังสือสำนั กงานศาลยุติธรรม ที่ ศย 025/ ว 1201 ลงวั น ที่ 23 ธั น วาคม 2565 เรื่ อ ง การดำเนิ น กิ จ กรรมตามโครงการ “รักษ์ศาลสีขาว” ของสำนักงานศาลยุติธรรม

หนั งสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.3/ ว 1 0 5 ล ง วั น ที่ 5 ตุ ล า ค ม 2 5 6 1 เรื่ อ ง หลั ก เกณฑ์ ก ระทรวงการคลั ง ว่ า ด้ ว ย มาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุม ภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561

หนั ง สื อ เวี ย นสำนั ก งานศาลยุ ติ ธ รรม ที่ ศ ย 0 2 5 /ว 6 8 6 ล งวั น ที่ 3 0 มิถุนายน 2564 เรื่อง แนวทางการจัด วางระบบการควบคุ ม ภายใน กรณี หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่ได้ปรับ โครงการสร้างองค์กรใหม่

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๕๘

ภาคผนวกที่ 3 ตั ว อย่ าง การกำหนดมาตรการในการควบคุ ม ภายใน (เพิ่ ม เติ ม ) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 ของหน่วยงานที่ปรึกษาฯ เมื่อนำผลการประเมินความเสี่ยงมาทำการทบทวนมาตรการ วิเคราะห์ความเหมาะสมเพียงพอของ การควบคุมภายในที่มีอยู่ ประกอบกับนำผลการประเมินความเสี่ยงของคณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงใน ไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาสที่ 2 ของปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 พบว่ายั งมีหน่ วยงานที่ มีความเสี่ยงที่ อยู่ใน ระดับสูงมากและสูงตามตารางข้างต้น และคณะกรรมการการควบคุมภายในจึงได้กำหนดให้หน่วยงานที่ปรึกษาฯ ร่วมพิจารณากำหนดแนวทางหรือมาตรการในการควบคุมภายใน (เพิ่มเติม) เพื่อควบคุมความเสี่ยงที่มีอยูใ่ ห้อยู่ใน ระดับที่ยอมรับได้หรือไม่พบความเสี่ยง ในรอบการประเมินผลการควบคุมภายในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งมีตัวอย่างในการกำหนดมาตรการในการควบคุมภายใน (เพิ่มเติม) ดังนี้

1. ด้านยุทธศาสตร์ ประเด็ น ความเสี่ ย ง : โครงการหรือ กิจ กรรมของโครงการตามแผนปฏิ บั ติ การประจำปี ไม่ สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้

ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ สำนักแผนงานและงบประมาณ 1. จัดทำคู่มือ แนวทาง และแบบฟอร์มการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ที่ครอบคลุมโครงการ หรือกิจกรรมของโครงการ ตัวชี้วัดเป้าหมายผลผลิต งบประมาณที่ใช้ กรอบระยะเวลาการดำเนินงานหรือ โครงการ และผู้รับผิดชอบ รวมถึงความสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ฯ และนโยบายประธานศาลฎีกา 2. จัดทำคู่มือ แนวทาง และแบบฟอร์มรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบั ติการประจำปี โดยกำหนดให้รายงานผลทุก 6 เดือน 3. ซักซ้อมและเร่งรัดติดตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ศาลยุติธรรม 4. สื่อสารแผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565-2568 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงาน จัดทำแผนปฏิบัติการ 4 ปี แผนปฏิบัติ การประจำปี แผนงาน/โครงการ การติดตามเร่งรัดการดำเนินงานตาม แผน รวมทั้งการประเมินผลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ 5. จั ด สั ม มนาทางวิ ช าการหั ว ข้ อ การบริ ห ารจั ด การความเสี่ ย ง และจั ด สั ม มนาหั ว ข้ อ การ ขับ เคลื่ อนแผนยุ ท ธศาสตร์ และการจัดทำคำของบประมาณโครงการเพื่ อเสริม สร้างความรู้แก่บุ คลากรใน หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม

2. ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นความเสี่ยงที่ 1 ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของข้อมูลจากการเชื่อมโยงระบบ e-Filing และระบบ CIOS กับระบบสำนวนคดี

ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดให้มีแผนหรือมาตรการควบคุมภายในเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว โดยการพัฒนา ระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม CIOS ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบ ECMS และระบบการยื่น – รับ คำคูค่ วาม ทางอิเล็กทรอนิกส์ e-Filing แบบอัตโนมัติในทุกๆ หลังเที่ยงคืน เพื่อทำให้ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบันและถูกต้องมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๕๙

ประเด็น ความเสี่ ยงที่ 2 ระบบงานการเงินและบัญ ชียังพบข้อผิดพลาดที่ กระทบต่อความ ถูกต้อง เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินในภาพรวมของสำนักงานศาลยุติธ รรม เนื่องจากโปรแกรมด้าน การเงินยังไม่เชื่อมโยงกับโปรแกรมบัญชีโดยอัตโนมัติ

ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ สำนักการคลัง 1. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการเงินและบัญชี 2. กำหนดประชุมคณะทำงานฯ ชุดดังกล่ าว เพื่ อหาแนวทางในการพัฒ นาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศด้านการเงินและบัญชีให้เชื่อมโยงระหว่างระบบงานคดี ระบบงานการเงิน และระบบงานบัญชี

ประเด็นความเสี่ยงที่ 3 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานศาลยุติธรรมขัดข้องไม่สามารถ รองรับการปฏิบัติงานได้

ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดให้ มีแผนหรือมาตรการควบคุ มภายในเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว โดย ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

3. ระบบงบประมาณ การเงิน การบัญชี และการพัสดุ ประเด็ น ความเสี่ ย งที่ 1 : ระบบการเงิ น และบั ญ ชี ยั ง พบข้ อ ผิ ด พลาดที่ มี ส าระสำคั ญ ใน กระบวนการออกใบเสร็จรับเงินและกระบวนการบันทึกบัญชี ซึ่งกระทบต่อความถูกต้องเชื่อถือได้ของรายงาน ทางการเงินในภาพรวมของสำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีสาเหตุจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และโปรแกรม ด้านการเงินยังไม่เชื่อมโยงกับโปรแกรมบัญชีโดยอัตโนมัติ

ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ สำนักการคลัง 1. แต่งตัง้ คณะทำงานเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการเงินและบัญชี 2. กำหนดประชุมคณะทำงานฯ ชุดดังกล่ าว เพื่ อหาแนวทางในการพั ฒ นาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศด้านการเงินและบัญชีให้เชื่อมโยงระหว่างระบบงานคดี ระบบงานการเงิน และระบบงานบัญชี

ประเด็ น ความเสี่ ย งที่ 2 : การขาดความรู้ค วามเข้ าใจและประสบการณ์ ของเจ้ าหน้ า ที่ ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีที่ได้รับการบรรจุใหม่ ในด้านที่เกี่ยวข้องกับระบบงานด้านการเงินและบัญชี ของสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน

ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ สำนักการคลัง กำหนดให้มีแผนหรือมาตรการควบคุมภายในเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว โดย จัดให้ มีการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชีและพัสดุ

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๖๐

ประเด็นความเสี่ยงที่ 3 : ข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ 1. สำนักแผนงานและงบประมาณ กำหนดให้มีแผนหรือมาตรการควบคุมภายใน ดังนี้ 1) ปรับปรุงระบบงบประมาณศาลยุ ติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตาม กฎหมาย และระเบียบด้านการงบประมาณที่เป็นปัจจุบัน 2) จัดทำสือ่ สารสนเทศประชาสัมพันธ์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น อินโฟกราฟิค คลิปวีดิโอ เป็นต้น 2. สำนักการคลัง กำหนดให้มีแผนหรือมาตรการควบคุมภายในเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว โดย กำหนดมาตรการหรือแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี เพื่อให้ศาลใช้เป็นแนวทางเดียวกันในการ ปฏิบัติงาน

2. สำนักบริหารทรัพย์สิน กำหนดให้มีแผนหรือมาตรการควบคุมภายใน ดังนี้ 1) จัดให้มีการอบรมให้ความรู้และซักซ้อมความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ 2) แจ้งหนังสือเวียน เกีย่ วกับข้อหารือและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับงานด้านพัสดุผ่าน ทางเว็บไซต์สำนักบริหารทรัพย์สิน

4. ระบบสำนวนความและเอกสารทางคดี ประเด็นความเสี่ยง : ข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานหมายตามคำสั่งศาล ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม กำหนดให้มีแผนหรือมาตรการควบคุมภายในเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว โดยจัด ให้ มี การศึกษาและรวบรวมข้อมู ลด้ า นกฎหมาย ระเบีย บ ข้ อ พิ จารณาที่ เกี่ ยวข้อ ง เพื่ อ เผยแพร่แ ก่ หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมทราบและถือปฏิบัติ โดยวิธีการออกหนังสือแจ้งเวียนและลงใน เว็บไซต์ของสำนักฯ ทั้งนี้ การปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานหมายตามคำสั่งศาลมีความเกี่ยวข้องกับระเบียบ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยงานธุรการเกี่ยวกับ สำนวนความและเอกสาร พ.ศ. 2557 และคู่มือการปฏิบัติราชการของศาล ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ สำนักส่งเสริมงานตุลาการ กำหนดให้ มีแผนหรือมาตรการควบคุมภายในเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว โดย กำหนดเป็นตัวชี้วัดในการปฏิบัติราชการของสำนักงานศาลยุติธรรม ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการนำ นวัตกรรมมาใช้เพื่อการเปลี่ยนผ่านศาลยุติธรรมสู่อนาคต (Transformation) ประเด็นชี้วดั “ระดับความสำเร็จในการใช้ระบบงานฐานข้อมูลหมายจับ (AWIS)” ประเด็นวัดย่อยร้อยละของการออกหมายจับ (แบบพิมพ์ 47) โดยใช้โปรแกรมระบบงาน ฐานข้อมูลหมายจับ (AWIS) จากการออกหมายจับ (แบบพิมพ์ 47) ทั้งหมด คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๖๑ ประเด็นวัดย่อยร้อยละของการรับคำร้องขอออกหมายจับ (แบบพิมพ์ 47 ทวิ) ที่ยื่นผ่าน ระบบงานฐานข้อมูลหมายจับ (AWIS) จากการออกหมายจับ (แบบพิมพ์ 47 ทวิ) ทั้งหมด (ไม่รวมข้อยกเว้น) ประเด็นวัดย่อยร้อยละของการอัปโหลดไฟล์หมายจับ (แบบพิมพ์ 47) ลงในโปรแกรมระบบงาน ฐานข้อมูลหมายจับ (AWIS)

5. ระบบงานรักษาความปลอดภัย ประเด็นความเสี่ยงที่ 1 : มีเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นภายในหน่วยงาน หรือเกิดกับ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานและประชาชนที่มาติดต่อราชการ

ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ ศูนย์รักษาความปลอดภัย กำหนดให้มีแผนหรือมาตรการควบคุมภายในเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว โดยการ กำหนดแนวทางและมาตรการแจ้งเหตุ การรายงานเหตุ แห่งความไม่ปลอดภัย และการขอรับ การ สนับสนุนกำลังเจ้าพนักงานตำรวจศาล เพื่อรักษาความปลอดภัยหรือคุ้มครองข้ าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ สำนักส่งเสริมงานตุลาการ กำหนดให้ มีแผนหรือมาตรการควบคุมภายในเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว โดย กำหนดเป็นตัวชี้วัดในการปฏิบัติ ราชการของสำนักงานศาลยุติธรรม ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการ ดำเนินงานเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ประเด็ น ชี้ วัด “จำนวนเรื่อ งในการดำเนิ น การเกี่ ย วกั บ การรัก ษาความปลอดภั ย และ ประเด็นวัด ความสำเร็จของการรายงานผลการจัดทำแผนรักษาความปลอดภัยและป้องกันอัคคีภัย (รายปี)”

6. โรคระบาดและภัยพิบัติ ประเด็นความเสี่ยง : หน่วยงานเกิดโรคระบาดหรือประสบภัยพิบัติ ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ สำนักการแพทย์ กำหนดให้มีแผนหรือมาตรการควบคุมภายใน ดังนี้ 1. จัดสรรงบประมาณจัดหาวัสดุและ/หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อส่งเสริ มสุขภาพและ ป้องกันโรคให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม 2. จัดสรรงบประมาณจัดทำฉากกั้นป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้แก่หน่วยงานใน สังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม 3. การจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 4. การจัดหาวัคซีนโควิด – 19 และเข็มกระตุ้น 5. จัดอบรมโครงการนำร่ อง “เพื่อนช่วยเพื่อน : อาสาสมัครป้องกันการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” ให้กับบุคลากรของสำนักการแพทย์ ผู้แทนหน่วยงานส่วนกลางและ ศาลบริเวณถนนรัชดาภิเษก 6. ร่ ว มพั ฒ นาโปรแกรมการคั ด กรองผู้ มี ค วามเสี่ ย งต่ อ การติ ด เชื้ อ โควิ ด - 19 ด้ ว ย COJPASS ผ่านระบบออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) และ Smart office คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๖๒

7. จัด โครงการ COJMED STATION บริการตรวจคัด กรองโรคติ ด เชื้ อโควิด - 19 และ รับรองผลบนแพลตฟอร์มหมอพร้อม 8. จัดทำแนวทางการปฏิบัติในสถานการณ์ การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีบุคลากรในหน่วยงานติดเชื้อและหายจากการติดเชื้อ 9. จัดทำแนวปฏิบัติการตรวจคัดกรองด้วย Antigen Test Kit (ATK) 10. จัด ทำแนวทางการปฏิ บัติ เพื่ อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 11. จัดโครงการ “สำนักงานศาลยุติธรรมห่วงใย สร้างพลังใจแก่บุคลากรติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” 12. กำหนดให้ บริการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับสำนัก /กอง/ศูนย์/ สถาบัน (ในส่วนกลาง) และศาลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ขอความอนุเคราะห์ ตัวอย่างหน่วยงานที่ปรึกษาฯ สำนักแผนงานและงบประมาณ กำหนดให้มีแผนหรือมาตรการควบคุมภายใน ดังนี้ 1. จั ด ทำแนวทางการเบิ ก จ่ า ยงบประมาณเพื่ อ จ่ า ยให้ กั บ บุ ค ลากรในหน่ ว ยงานสำนั ก งาน ศาลยุติธรรม กรณีเกิดภัยพิบัติ 2. จัดทำสื่อสารสนเทศประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ กรณีเกิดภัยพิบัติ

*****************************************************************************

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

คู่มือการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ๖๓

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นายสมชาย ทองสีมัน

ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการฯ

นายสรวิศ ลิมปรังษี

ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา กรรมการ

นายภพ เอครพานิช

รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม

นายไกรพล อรัญรัตน์ นายเสริมศักดิ์ พรหมหาญ

ผู้พิพากษาประจำสำนักงานศาลยุติธรรม ช่วยทำงาน กรรมการ ชั่ วคราวในตำแหน่ งผู้ พิ พ ากษาศาลชั้ น ต้ น ประจำ สำนักประธานศาลฎีกา ผู้อำนวยการสำนักการคลัง กรรมการ

นายพิเชษฐ์ คงศิลา

ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมงานตุลาการ

กรรมการและเลขานุการ

นางสาวสุธินี ฤกษ์วศินกุล

นิติกรเชี่ยวชาญ

ผู้ช่วยเลขานุการ

นายจุมพล กาลสัมฤทธิ์

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ

ผู้ช่วยเลขานุการ

นางสาวมิ่งพร มิ่งภัทรสิริ

นิติกรชำนาญการพิเศษ

ผู้ช่วยเลขานุการ

กรรมการ

นางสาวกัญจน์ชญา ร้อยหมื่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ผู้ช่วยเลขานุการ

นางพัชริดา แก้วมา

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ผู้ช่วยเลขานุการ

นายรวีภัทร พิมแก้ว

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ผู้ช่วยเลขานุการ

นายสายชล ศรีสว่าง

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ผู้ช่วยเลขานุการ

----------------------------------------------------------------------

คณะกรรมการการควบคุมภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

ส่วนสนับสนุนการพิจารณาคดี สานักส่งเสริมงานตุลาการ อาคารศาลอาญา ชัน้ 6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจกั ร กรุงเทพมหานคร 10900

https://oja.coj.go.th/ 0-2512-8501-2

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.