รายงานประจำปี สสจ.อุดรธานี ปี 2563 Flipbook PDF


103 downloads 117 Views 40MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 1 ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวม ของหน่วยงาน


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 2 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน “มุ่งพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้มีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกัน และทันต่อการ เปลี่ยนแปลง” 1. ยกระดับคุณภาพและขยายการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป 2. ขยายเครือข่ายความร่วมมือและการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาระบบสหกรณ์ 3. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกความเป็นสหกรณ์ และการมีส่วนร่วม 4. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางด้านการบริหารจัดการ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งในระบบสหกรณ์ 5. สนับสนุนและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการ ของสมาชิกและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภายใต้หลักการสหกรณ์สากลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1.ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2.ส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์ทุกประเภท และกลุ่มเกษตรกร 3.ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป 4.ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 5. ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 3 โครงสร้างและอัตรากำลังของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี โครงสร้างสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี นายยงยุทธ อุดมศักดิ์ สหกรณ์จังหวัดอุดรธานี


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 4 ฝ่ายบริหาร นายประสิทธิ์ เทพมูณี หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป นายอาทิตย์ พรมทะรือ นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นางสาวสุภาวะดี ปัญญา นักวิเคราะห์นโยบายละแผน นายอดุลย์ ธรรมสอน นักจัดการงานทั่วไป นางสาววรางคณา พรหมมาอาจ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี สิบเอกนฤเบศร์ ทองใบ เจ้าพนักงานธุรการ น.ส.บังอร คำระกาย เจ้าพนักงานธุรการ นางธัญพิมล โคตรบุตร เจ้าพนักงานธุรการ นายสมหมาย ท้าวสนิท พนักงานบริการเอกสารั่วไป บ.2 นายสุพจน์ เกษแก้ว พนักงานขับรถยนต์ ส.2 นายจักรกฤษณ์ ปัทมนาคร พนักงานขับรถยนต์ ส.2 นายสาคร แก้วภูบาล พนักงานขับรถยนต์ ส.2 นายปิติ สินทิพลา พนักงานขับรถยนต์ ส.2 นายชัชวาล พรหมสาขา ณ สกลนคร พนักงานขับรถยนต์ ส.2 นายเสถียร ทองน้อย พนักงานขับรถยนต์ ส.2


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 5 กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ นางวนิดา อามาตย์ทัศน์ ผู้อำนวยการกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ นางสาวทิพย์สุดา กลิ่นคล้ายกัน นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นางสาวอัษฏาพร พิบูลย์ นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ นางสาวชนัญชิดา สารชัย นักวิชาสหกรณ์ นางธารณา ทิพย์กรรณ นักวิชาสหกรณ์ นางณัฎฐวรภา ศรีดา นักวิชาการสหกรณ์


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 6 ว่าที่ร้อยตรีจอมประสาน ผิวหูม ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ นางวิไลลักษณ์ ผิวหูม นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นางสาวจิรัชยา กำมะณี นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นางสาวรัชนินทร์ ทองช่วย นักวิชาสหกรณ์ นางสาวโสรยา พิมลพร นักวิชาการมาตรฐาน สินค้า นางนันทิยา บำรุงนอก นักวิชาการสหกรณ์ นางสาวภัทรภร โภคาพานิช นักวิชาการสหกรณ์


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 7 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ นายอภิเดช ธรรมสอน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ นางสาวนุชนารถ พรมทอง นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นางกนกวรรณ แก้วมุงคุณ นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นางสาวณัฐยา เทพสุนทร นักวิชาการสหกรณ์ นางสาวภรภัค รัชตะกุลนนท์ เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์ นางสาวเกวลี คอกทอง เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์ นายยศพัทธ์ กิติราช เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 8 กลุ่มตรวจการสหกรณ์ นายวชิระ แก้วพะเนาว์ ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจการสหกรณ์ นางสาวกัญญา คำตา นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นายธราธิป ทิพย์กรรณ นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นายยุทธนา ศรีธรสุทธิ์ นิติกรปฏิบัติการ นางสาวอรวรรณ มีหลง นักวิชาการสหกรณ์ นางสาวรัษฎากมล ธรรมวิเศษ นิติกร


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 9 นาสุรพล นรสิงห์ธาดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 นางสาวนิตยา สังขทิพย์ นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นางสาววาสนา บุบผาแสง นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ นางสาวสุนีย์ แซ่เต๋ง นักวิชาสหกรณ์ปฏิบัติการ นางสางรัชนีกร บุญสังข์ เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์ ปฏิบัติงาน นางสาวรัตนา เศวตวงศ์ เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์ นางจารุวรรณ รุ่งศรีรัตน์ เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 10 นายเดชา ธาราพรหม ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 นายปัญญา น้อยมะลิวัน เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์อาวุโส นางวรัชยา อินทรกองแก้ว นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นางนัทธมน เทพมูณี นักวิชาการสหกรณ์ นางสาวอัจฉรา คำจันทร์ เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 11 นายสมชิตร มณีสาร ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกณ์ 3 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 นายอภัย ทองใบ เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์อาวุโส นางสาวรัตนาพร ทองดี เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์ ว่าที่ร้อยตรีหญิงอุไรภรณ์ สันติสูงเนิน เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 12 นายวัชรินทร์ ขำคม ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 ว่าที่ร้อยตรีสิทธิศักดิ์ จันทร์หอม นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ นางสาวกัญญาณัฐ สุพันธ์ นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ นางสาวอภิสรา เมฆวัน เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 13 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 5 นายสมชาติ แจงกลาง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 5 นางสาวปณัฐตา มาหา นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นางสาวปรียนันท์ รักสุจริต นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นางสาวสกลสุภา เพชรคำจันทร์ เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 14 อัตรากำลังของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี หน่วย : คน ประเภทอัตรากำลัง ชาย หญิง รวม ข้าราชการ 16 16 32 ลูกจ้างประจำ 7 - 7 พนักงานราชการ 3 24 27 รวม 26 40 66 *** ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 48% 11% 41% ข้าราชการ ลูกจ้างประจ า พนักงานราชการ รวม 66 คน


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 15 แผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แผนปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 1. แผนงาน บุคลากรภาครัฐ (ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างการเติบโต จาก ภายใน) ผลผลิต/โครงการ รายการค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง กิจกรรมหลัก : ค่าใช้จ่ายบุคลากรกรมส่งเสริมสหกรณ์ 2. แผนงานพื้นฐาน ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิต/โครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในระดับชุมชน กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร รายจ่ายเพื่อการลงทุนสำหรับครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้าง ๓. แผนงานพื้นฐาน ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิต/โครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในระดับชุมชน กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กิจกรรมรอง : พัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา/ประชาชนทั่วไป ๔. แผนงานพื้นฐาน ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิต/โครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในระดับชุมชน กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กิจกรรมรอง : ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้ความเข้มแข็งตามศักยภาพ 5. แผนงาน พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจแบบฐานราก ผลผลิต/โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพภายใต้โครงการจัดที่ดินตามนโยบายรัฐบาล กิจกรรมรอง : ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร ๖. แผนงาน พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจแบบฐานราก ผลผลิต/โครงการ พัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน กิจกรรมหลัก : เพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจรวบรวมและจัดเก็บผลผลิตการเกษตรในสถาบัน เกษตรกร กิจกรรมรอง : พัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน ๗. แผนงาน ยุทธศาสตร์ ผลผลิต/โครงการ โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมหลัก : พัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ฯ โครงการราชดำริ กิจกรรมรอง : คลินิคเกษตรเคลื่อนที่ฯ 2563


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 16 ๘. แผนงาน ยุทธศาสตร์ ผลผลิต/โครงการ โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมหลัก : พัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ฯ โครงการราชดำริ กิจกรรมรอง : ส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนตามพระราชดำริฯ ๙. แผนงาน ยุทธศาสตร์ ผลผลิต/โครงการ โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมหลัก : พัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ฯ โครงการราชดำริ กิจกรรมรอง : ขับเคลื่อนปรัชญาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ ๑๐. แผนงาน ยุทธศาสตร์ กิจกรรมหลัก : ช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร กิจกรรมรอง : เงินอุดหนุน เพื่อชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้สกรณ์/กลุ่มเกษตรกร


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 17 ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2563 แผนภูมิแสดงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕61- ๒๕๖3 จำแนกตามประเภทงบรายจ่าย ล้านบาท หน่วย : ล้านบาท ประเภทงบรายจ่าย ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 รวมทั้งสิ้น 32.46 15.95 20.36 งบบุคลากร 6.81 6.09 6.30 งบดำเนินงาน 12.58 8.28 4.87 งบลงทุน 5.26 0.94 3.73 เงินอุดหนุน 7.81 0.64 5.46 งบรายจ่ายอื่น (ถ้ามี) - - - 0 5 10 15 20 25 30 35 งบบุคลากร งบด าเนินงาน งบลงทุน เงินอุดหนุน งบรายจ่ายอื่น


(4) ดำเนินงาน/ ธุรกิจ (1) หยุดดำเนินงาน/ ธุรกิจ (2) เลิก /ชำระบัญชี (3) จัดตั้งใหม่ (4) 1. สหกรณ์การเกษตร 58 15 25 - 98 2. สหกรณ์ประมง - 1 - - 1 3. สหกรณ์นิคม - - - - - 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ 18 - 1 - 19 5. สหกรณ์ร้านค้า - - 2 - 2 6. สหกรณ์บริการ 5 3 7 - 15 7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 6 - - - 6 รวม 87 19 35 - 141 ที่มา : (กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี)


(6)


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 20 ผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ จำแนกตามประเภทของสหกรณ์ ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 ประเภทสหกรณ์ สหกรณ์ ชั้น 1 สหกรณ์ ชั้น 2 สหกรณ์ ชั้น 3 สหกรณ์ ชั้น 4 รวม สหกรณ์ภาคการเกษตร 1. สหกรณ์การเกษตร 6 51 17 24 98 2. สหกรณ์นิคม - - - - - 3. สหกรณ์ประมง - - 1 - 1 สหกรณ์นอกภาคการเกษตร 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ 10 8 2 1 21 5. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน - 5 1 - 6 6. สหกรณ์บริการ - 5 2 5 12 7. สหกรณ์ร้านค้า - 1 2 3 รวม 16 70 23 32 141 ที่มา : รายงานสรุปผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กองแผนงาน ผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ เปรียบเทียบ 3 ปี (ปี พ.ศ. 256๑ – 256๓) ระดับชั้น ระดับชั้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 256๑ (แห่ง/ร้อยละ) ระดับชั้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 256๒ (แห่ง/ร้อยละ) ระดับชั้น ณ วันที่ 30 กันยายน 256๓ (แห่ง/ร้อยละ) ชั้น 1 17/12 19/13 16/11 ชั้น 2 75/53 90/63 70/50 ชั้น 3 37/26 20/14 23/15 ชั้น 4 13/9 14/10 32/24 รวม 142/100 143/100 141/100 ที่มา : รายงานสรุปผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 256๓ กองแผนงาน 0 10 20 30 40 50 60 70 ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4


(4) ดำเนินงาน/ ธุรกิจ (1) หยุด ดำเนินงาน/ ธุรกิจ (2) เลิก /ชำระบัญชี (3) จัดตั้งใหม่ (4) 1. กลุ่มเกษตรกรทำนา 20 33 10 - 63 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน 10 - 1 - 10 3. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 21 9 4 - 34 4. กลุ่มเกษตรกรทำไร่ 6 8 3 - 17 5. กลุ่มเกษตรกรทำประมง - - - - - 6. กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ (ระบุ) - - - - - รวม 57 50 18 - 125 ที่มา : (กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดุอดรธานี)


(6) และกลุ่มเกษตรกร


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 23 ผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร ในรอบปีบัญชีล่าสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 คำชี้แจง รายละเอียดตามเอกสารแนบ ตารางผลการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในรอบปีบัญชีล่าสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จากตารางในภาพผนวก


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 24 ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงาน


โอนเพิ่ม ผลการเบิกจ่าย หมายเหตุ ประกอบ (อธิบาย)…… หน่วยนับ ร้อยละ (%) บาท บาท ร้อยละ (%) แผนงานพื้นฐานด้าน ด้านการแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างการเติบโตภายใน ผลผลิต/โครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชน กิจกรรมหลัก ส่งเสริม และพัฒนาสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร 760,400.- 760,400.- 100% กิจกรรมรองส่งเสริมและ พัฒนาสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกร ให้มีความเข้มแข็ง ตามศักยภาพ 266 แห่ง ๒๖๖ แห่ง 100% 760,400.- 760,400.- 100% งานกำกับ ดูแล ตรวจสอบ และคุ้มครองระบบสหกรณ์ 128 แห่ง 128 แห่ง 100% 213,500 213,500 100% ผลผลิต/โครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามศักยภาพ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและ พัฒนาสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร โครงการ สร้างเครือข่าย ลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน 125 ราย 120 ราย 96% 147,200 122,850 83.46% ** ผู้สมัคร เข้าร่วม โครงการไม่ สามารถ เดินทางมา เข้าร่วมการ อบรมได้ แผนงานพื้นฐานด้าน ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิต สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามศักยภาพ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและ พัฒนาสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร รายจ่ายเพื่อการ ลงทุนสำหรับครุภัณฑ์ ครุภัณฑ์ยานพาหนะ 4 คัน 4 คัน 100% 3,412,400 3,412,400 100% ผลผลิต/โครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชน กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและ พัฒนาสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร รายจ่ายเพื่อการ ลงทุนสำหรับครุภัณฑ์ คอมพิวเตอร์ 3 ชุด 3 ชุด 100% 143,400 143,400 100%


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 26 แผนงาน บุคลากรภาครัฐ ผลผลิต รายการค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ กิจกรรมหลัก ค่าใช้จ่าย บุคลากรภาครัฐกรมส่งเสริม สหกรณ์ 27 อัตรา 27 อัตรา 100% 7,722,300 7,722,300 100% แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โครงการ ส่งเสริมดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมหลัก พัฒนา สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรใน พื้นที่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมรอง ส่งเสริม และพัฒนาสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกร กิจกรรม 1 ส่งเสริม กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนใน โรงเรียน ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี 11 โรงเรียน 11 โรงเรียน 100% 183,900 89,793 48.83% กิจกรรมรอง โครงการ คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ 12 ครั้ง 12 ครั้ง 100% 25,100 25,100 100% กิจกรรมรอง ขับเคลื่อน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมการเกษตรตาม แนวทางทฤษฎีใหม่ - ขับเคลื่อนปรัชญา เศรษฐกิจพอพียง 5 แห่ง 5 แห่ง 100% 22,000 7,320 33.27% - ส่งเสริมการเกษตรตาม แนวทางทฤษฎีใหม่ 87 ราย 87 ราย 100% 10,600 10,600 100% โครงการ ช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร กิจกรรมหลัก ช่วยเหลือ ด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกร กิจกรรมรอง ลดดอกเบี้ย เงินกู้ให้เกษตรกรสมาชิก สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 9 แห่ง 6,026 ราย 9 แห่ง 6,026 ราย 100% 100% 4,052,441.17 4,052,441.17 100%


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 27 แผนงานบูรณาการ พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ผลผลิต ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร กิจกรรมหลัก ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพภายใต้ โ ค ร งก า รจ ั ดที่ ดินตาม นโยบายรัฐบาล 1 พื้นที่ 120 ราย 1 พื้นที่ 120 ราย 100% 100% 117,200.00 107,690.00 91.89% โครงการ พัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน ก ิ จ ก ร ร ม ห ล ั ก เ พิ่ ม ศักยภาพการดำเนินธุรกิจ รวบรวมและจัดเก็บผลผลิต จากเกษตรกรในสถาบัน เกษตรกร 1 แห่ง 1 แห่ง 100% 1,400,000 1,390,879.5 99.35% ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 ที่มา : (ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี)


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 28 ผลการปฏิบัติงานส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จังหวัดอุดรธานี มีเขตพื้นที่รวม 20 อำเภอ สหกรณ์ จำนวน 141 แห่ง กลุ่ม เกษตรกร จำนวน 125 แห่ง รวมทั้งสิ้น 266 แห่ง ประกอบด้วย มีสหกรณ์ 39 แห่ง สมาชิก 143,651 คน กลุ่มเกษตรกร 15 แห่ง สมาชิก 2,999 คน ⚫ ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง มีสหกรณ์ 39 แห่ง โดยแยกเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร 12 แห่ง นอกภาค การเกษตร 27 แห่ง ดำเนินธุรกิจ 28 แห่ง หยุดดำเนินธุรกิจ 1 แห่ง อยู่ระหว่างการชำระบัญชี 10 แห่ง มีกลุ่มเกษตรกร 15 แห่ง ดำเนินธุรกิจ 5 แห่ง หยุดดำเนินธุรกิจ 5 แห่ง อยู่ระหว่างการชำระบัญชี 5 แห่ง ซึ่ง กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 ได้เข้าแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามระบบการส่งเสริมสหกรณ์ (CPS) ทุกสถาบัน จากการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับ ดูแล แนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งตามศักยภาพ ตลอดจน การติดตามงานหรือโครงการตามนโยบาย และการปฏิบัติหน้าที่ราชการอื่น ซึ่งสรุปผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ได้ ดังนี้ 1. ด้านการบริหารจัดการ 1. การยกระดับชั้นความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ดำเนินการกำกับ ดูแล แนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นที่อำเภอเมือง ผลักดันการ จัดชั้นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีผลการจัดระดับชั้นในด้านต่าง ๆ ซึ่งผลการดำเนินการเป็นไปตามแผนที่ได้ วางไว้ ดังนี้ เข้าแนะนำสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรครบทุกแห่ง สหกรณ์ที่ดำเนินงานผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 21 แห่ง จากทั้งหมด 39 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร ทั้งหมด 15 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 4 แห่ง ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 1 แห่ง เนื่องจากมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ และไม่นำมาจัดมาตรฐาน 10 แห่ง เนื่องจากหยุดดำเนินงาน และเลิก/ชำระบัญชี 2. การจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายใน ได้ดำเนินการกำกับ ดูแล แนะนำส่งเสริม พัฒนาด้านประสิทธิภาพในการจัดการองค์กร (การ ควบคุมภายใน) เพื่อพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ให้ได้รับการจัดชั้น คุณภาพการควบคุมภายในที่ดีขึ้น และรักษาระดับชั้นที่ 1 ได้ จำนวน 17 แห่ง ผลักดันการจัดชั้นความเข้มแข็ง ของสหกรณ์ จากชั้น 2 ขึ้นชั้นที่ 1 และจากชั้น 3 ขึ้นสู่ชั้นที่ 2 และที่ยังต้องปรับปรุงไม่มีการควบคุมภายในให้ มีการควบคุมภายในได้ 3. การจัดมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ได้ดำเนินการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและประเมินผลการดำเนินงานให้กับสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกร ซึ่งสหกรณ์สามารถรักษามาตรฐานได้ 21 แห่ง และกลุ่มเกษตรกรสามารถรักษามาตรฐานได้ 4 แห่ง ซึ่งกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ๑ เข้าติดตาม แนะนำ ช่วยเหลือการจัดทำบัญชี การปิดบัญชีประจำปีของ 1. อำเภอ เมือง


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 29 สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเพื่อให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สามารถปิดบัญชีได้ภายใน 30 วัน และสามารถประชุม ใหญ่สามัญประจำปีได้ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 4. การติดตามการใช้เงินกู้กองทุนต่างๆ ได้ดำเนินการกำกับดูแลแนะนำส่งเสริมกระบวนงานขั้นตอนวิธีปฏิบัติให้กับสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกร เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนหมุนเวียนของกรมส่งเสริม สหกรณ์ ผลดำเนินการ ทำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการแนะนำส่งเสริมสนับสนุนเงินกองทุนพัฒนา สหกรณ์และเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ในปีงบประมาณ 2563 ดังนี้ 4.1 เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ 1) เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (โครงการปกติ) อัตราดอกเบี้ย ตามชั้นลูกหนี้ มีจำนวน 1 แห่ง คือ สหกรณ์โคนมอุดรธานี จำกัด มี 5 สัญญา สมาชิกได้รับประโยชน์จาก โครงการฯ จำนวน 66 ราย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อจัดหาอาหารโคให้สมาชิก วงเงินกู้ที่ได้รับจัดสรร 3 ล้าน (2) เพื่อแปรรูปนม วงเงินกู้ที่ได้รับจัดสรร 3 ล้านบาท (3) เพื่อจัดหาแม่พันธ์โคนม วงเงินกู้ที่ได้รับจัดสรร 3 ล้านบาท (4) เพื่อปรับปรุงฟาร์ม วงเงินกู้ที่ได้รับจัดสรร 600,000 บาท (5) เพื่อจัดหาแหล่งน้ำ วงเงินกู้ที่ได้รับจัดสรร 550,000 บาท 2) เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (โครงการพิเศษ) มีจำนวน 1 แห่ง คือ สหกรณ์โคนมอุดรธานี จำกัด มี 1 สัญญา ชื่อโครงการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน กิจกรรม : ให้สมาชิกกู้ วงเงินที่ได้รับจัดสรร 1 ล้านบาท มีสมาชิกได้รับประโยชน์ จำนวน 66 ราย 4.2 เงินกองทุนสงเคราะห์กลุ่มเกษตรกร 1) โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ระยะ 1 มีสหกรณ์ การเกษตรในพื้นที่อำเภอเมืองที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 1 แห่ง คือ สหการเกษตรนิคมฯ เชียงพิณ จำกัด เลขที่สัญญา 7/2560 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 จำนวนเงินเงินกู้ 200,000 บาท ระยะเวลาชำระหนี้ ภายใน 5 ปี วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 สมาชิกได้รับประโยชน์จากโครงการฯ จำนวน 4 ราย โดยนำไปใช้ในการขุดสระ จำนวน 1 ราย เจาะบ่อบาดาล จำนวน 3 ราย 2) โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่งทุนในการผลิตและการตลาด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 3 แห่ง คือ (1) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์เชียงพิณ เลขที่สัญญา 11/2563 วงเงินที่ได้รับจัดสรร จำนวน 1,000,000 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกกู้ ครบกำหนดชำระหนี้ภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 มี สมาชิกได้รับประโยชน์จากการให้เงินกู้แก่สมาชิก จำนวน 56 ราย (2) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์หนองไผ่ เลขที่สัญญา 21/2563 วงเงินที่ได้รับจัดสรร จำนวน 900,000 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกกู้ ครบกำหนดชำระหนี้ภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 มี สมาชิกได้รับประโยชน์จากการให้เงินกู้แก่สมาชิก จำนวน 58 ราย (3) กลุ่มเกษตรกรทำนาหนองนาคำ เลขที่สัญญา 23/2563 วงเงินที่ได้รับจัดสรรจำนวน 800,000 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกกู้ ครบกำหนดชำระหนี้ภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 มี สมาชิกได้รับประโยชน์จากการให้เงินกู้แก่สมาชิก จำนวน 50 ราย


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 30 4.3 การแก้ไขปัญหาหนี้ค้างกองทุนพัฒนาสหกรณ์/เงินกองทุนสงเคราะห์กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอเมือง มีสหกรณ์ที่มีหนี้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ค้างชำระ จำนวน 2 แห่ง คือ 1) สหกรณ์ผู้เลี้ยงสหกรณ์อุดรธานี จำกัด มีสถานภาพเลิก/ชำระบัญชี เป็นลูกหนี้ผิดนัดเงินกองทุน พัฒนาสหกรณ์ สัญญาลงวันที่ 8 สิงหาคม 2555 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 7 สิงหาคม 2556 เงินต้นตามคำ พิพากษาจำนวน 658,322.73 บาท สถานะหนี้อยู่ระหว่างดำเนินคดี ขั้น 7 (สืบทรัพย์/ยึดทรัพย์) มียอดต้นเงินผิดนัดคงเหลือ ณ 30 กันยายน 2563 จำนวน 168,866.60 บาท 2) สหกรณ์บริการเดินรถอุดรธานี จำกัด มีสถานะยังดำเนินธุรกิจ เป็นลูกหนี้ผิดนัดเงินกองทุน พัฒนาสหกรณ์ สัญญาลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2558 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 เงินต้นตามคำ พิพากษา 1,218,136.99 บาท สถานะหนี้อยู่ระหว่างดำเนินคดี ขั้น 6 (ออกหมายบังคับคดี) มียอดต้นเงินผิดนัดคงเหลือ ณ 30 กันยายน 2563 จำนวน 435,392.84 บาท 5. การวิเคราะห์สถานภาพการเงินของสหกรณ์ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์สถานภาพทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีดังนี้ 1) สหกรณ์ที่มีผลกำไรจากการดำเนินงาน จำนวน 26 แห่ง และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลกำไรจากการ ดำเนินงาน จำนวน 5 แห่ง 2) สหกรณ์ที่มีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน จำนวน 2 แห่ง 2. ด้านการพัฒนาธุรกิจ 1. ด้านการมีส่วนร่วมในการใช้บริการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ผลความสามารถในการให้บริการสมาชิก (การมีส่วนร่วมของสมาชิกใน การใช้บริการด้านกิจกรรมร่วมกับสหกรณ์) ในพื้นที่อำเภอเมือง สหกรณ์ทั้งหมด 29 แห่ง ผลคะแนนการมีส่วน ร่วมระดับ 4 คือรักษาการมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จำนวน 20 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 68.97 และ คะแนนการมีส่วนร่วมระดับ 0 คือยกระดับการมีส่วนร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จำนวน 9 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 31.03 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต้องเข้าไปแนะนำส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมธุรกิจสหกรณ์เพิ่มขึ้น 2. ด้านปริมาณธุรกิจ ปีงบประมาณ 2563 ปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ในพื้นที่อำเภอเมืองที่มีสถานะดำเนินธุรกิจและ หยุดดำเนินงาน ไม่รวมเลิก/ชำระบัญชี ที่มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 เทียบกับปีที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2563 มีปริมาณธุรกิจรวมทั้งสิ้น 24,780,974,636.30 บาท ประกอบด้วย 1) เงินฝาก 9,276,429,111.84 บาท 2) ให้เงินกู้ 15,075,928,850.46 บาท 3) จัดหาสินค้า/อุปกรณ์มาจำหน่าย 215,223,651.41 บาท 4) การรวบรวมผลผลิต 138,724,137.79 5) การแปรรูป 72,473,879.00 บาท และ 6) ให้บริการอื่น ๆ 1,195,005.80 บาท ปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรของกลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะดำเนินงานและหยุดดำเนินงาน ไม่รวมเลิก/ชำระบัญชี ที่มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 เทียบกับปีที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2563 มีปริมาณธุรกิจรวมทั้งสิ้น 4,436,376.00 บาท ประกอบด้วย 1) ให้เงินกู้แก่สมาชิก 4,062,000.00 บาท 2) จัดหาสินค้า/อุปกรณ์มาจำหน่าย 374,376.00 บาท 3. ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ การแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิก ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสหกรณ์ภายใต้ โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร เพื่อส่งเสริมและพัฒนา สหกรณ์การเกษตรให้มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจรวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิก โดยสหกรณ์เป้าหมายในพื้นที่อำเภอเมือง จำนวน 1 สหกรณ์ คือ สหกรณ์การเกษตรเมืองอุดรธานี จำกัด ผล


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 31 การจัดโครงการสหกรณ์สามารถแก้ปัญหาหนี้ค้างชำระ มีหนี้ค้างลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งโครงการได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 สหกรณ์ได้จัดทำแผนจากจำนวนสมาชิกที่มีหนี้ค้าง ชำระจำนวน 780 ราย เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิก ซึ่งสหกรณ์ได้ดำเนินการจัดทำแผนจัดการหนี้จำนวน 152 ราย จัดทำแผนป้องกัน จำนวน 1 แผน มีแผน เจรจา/ติดตามหนี้ทุกเดือน ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2563 สมาชิกได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระแล้วเสร็จ จำนวน 170 ราย คงเหลือสมาชิกที่มีหนี้ค้างชำระจำนวน 610 ราย แสดงว่าสหกรณ์มีการแก้ไขหนี้ค้างชำระ ลดลงคิดเป็นร้อยละ 21.80 จากจำนวนสมาชิกที่มีหนี้ค้างชำระทั้งหมด 4. ด้านการออมเงินของสมาชิก ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอเมือง มีการระดมทุน ภายในเพิ่มขึ้นทั้งเงินรับฝากและทุนเรือนหุ้น ได้แนะนำ ส่งเสริมให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการดำเนิน ส่งเสริมการออมกับสมาชิก สหกรณ์มีอัตราส่วนเงินออมต่อหนี้สินของสมาชิกเพิ่มขึ้นจากปี 2562 (ปีก่อน) จำนวน 18 แห่ง อัตราส่วนเงินออมต่อหนี้สินของสมาชิกลดลงจากปีก่อน จำนวน 11 แห่ง 5. การใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาด สหกรณ์การเกษตรในพื้นที่อำเภอเมือง มีการแนะนำให้ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาด/ สิ่งก่อสร้างเครื่องจักรกลการเกษตรของสหกรณ์ภาคการเกษตรที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ จำนวน 4 แห่ง ดังนี้ 1) สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. อุดรธานี จำกัด มีการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ การตลาด ดังนี้ (1) ฉาง ขนาด 200 ตัน จำนวน 1 หลัง สภาพดีใช้จัดเก็บ/รักษาผลผลิตข้าวเปลือก (2) ลานตาก ขนาด 2200 ตารางเมตร จำนวน 1 แห่ง สภาพดีใช้งานเพื่อรวบรวมผลผลิต ข้าวเปลือก (3) เครื่องชั่ง ขนาด 40 ตัน จำนวน 1 เครื่อง สภาพดีเปลี่ยนเป็นระบบคอมพิวเตอร์ใช้ ชั่ง/ ตวง/วัด/คัดแยกผลผลิตข้าวเปลือก (4) โกดัง ใช้เป็นคลังสินค้า ขนาด 400 ตัน จำนวน 3 หลัง ใช้ประโยชน์ในการจัดเก็บ/รักษา ผลผลิต (5) ฉาง ขนาด 500 ตัน จำนวน 1 หลัง สภาพดีใช้จัดเก็บข้าว (6) รถบรรทุก 6 ล้อ จำนวน 4 คัน ไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ใช้ขนส่ง/เคลื่อนย้าย ผลผลิต สหกรณ์ใช้ประโยชน์โดยการให้เช่า (7) รถตัก จำนวน 1 คัน สภาพใช้งานได้เพื่อขนส่ง/เคลื่อนย้ายผลผลิต (8) ปั๊มน้ำมัน ประกอบด้วย อาคารปั๊มน้ำมัน 1 หลัง/ ถังน้ำมันใต้ดิน 5 ถัง/ ตู้จ่าย 8 ตู้/ ป้าย 1 ป้าย/ ระบบไฟฟ้าปั๊มน้ำมัน 1 ชุด/ ระบบ Postec ปั๊มน้ำมัน 1 ชุด 2) สหกรณ์โคนมอุดรธานี จำกัด แนะนำให้สหกรณ์ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาด ดังนี้ (1) โรงงานแปรรูปพาสเจอร์ไรส์ ขนาด 2 ตัน/วัน สภาพทรุดโทรม แต่ยังใช้งานได้เพื่อการ แปรรูปน้ำนมโค/ผลิตสินค้า (2) ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ขนาด 2 ตัน/วัน ใช้เพื่อรวบรวมผลผลิต จำนวน 1 หลัง (3) โกดัง จำนวน 1 หลัง ใช้เพื่อเก็บอาหารสัตว์ (4) ห้องเย็น จำนวน 1 หลัง ใช้เพื่อจัดเก็บ/รักษาผลผลิต (5) รถบรรทุก 10 ล้อ จำนวน 1 คัน ใช้เพื่อขนส่ง/เคลื่อนย้ายผลผลิต


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 32 3) สหกรณ์การเกษตรเมืองอุดรธานี จำกัด แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ การตลาด/สิ่งก่อสร้าง จำนวน 4 รายการ ได้แก่ (1) เครื่องชั่งข้าวเปลือก ขนาด 40 ตัน จำนวน 1 เครื่อง (2) ลานตาก เพื่อรวบรวมผลผลิตข้าวเปลือก ขนาด 2200 ตารางเมตร จำนวน 1 แห่ง (3) ฉาง ขนาด 200 ตัน สภาพยังใช้งานได้ ใช้เก็บผลผลิตข้าวเปลือก จำนวน 1 แห่ง ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวในปีที่ผ่านมามีสมาชิกมาใช้บริการลานตากข้าวเปลือก และรวบรวม ผลผลิตข้าวเปลือกจากสมาชิกและประชาชนในพื้นที่เก็บไว้ที่ฉางข้าวเพื่อรอจำหน่าย 4) สหกรณ์การเกษตรนิคมฯ เชียงพิณ จำกัด แนะนำส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาด จำนวน 4 รายการ ดังนี้ (1) ลานตาก ขนาด 2200 ตารางเมตร จำนวน 1 แห่ง ใช้ประโยชน์ในการรวบรวมผลผลิต (2) ฉาง ขนาด 200 ตัน จำนวน 1 หลัง ใช้จัดเก็บ/รักษาผลผลิต (3) โรงงานผลิตปุ๋ย/ทำปุ๋ยหมัก จำนวน 1 แห่ง ใช้แปรรูปผลผลิต/ผลิตสินค้าปุ๋ย (4) ปั๊มน้ำมัน ประกอบด้วยตู้จ่ายน้ำมัน สภาพใช้งานได้ จำนวน 1 ปั๊ม 3. การกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1. ประสิทธิภาพการบริหารงาน การแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีการกำกับ ดูแล สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ดังนี้ 1) ดำเนินการตรวจการสหกรณ์ในพื้นที่อำเภอเมืองอุดรธานี ครบทุกแห่งจำนวน 36 แห่ง 2) กำกับ ดูแล กลุ่มเกษตรกร จำนวน 10 แห่ง 2. การชำระบัญชี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สหกรณ์ที่มีสถานะ เลิก/ชำระบัญชี จำนวน 9 แห่ง กลุ่มเกษตรกร จำนวน 5 แห่ง การดำเนินการชำระบัญชีส่วนใหญ่อยู่ในขั้น 2 (รับมอบทรัพย์สิน) และขั้น 3 ส่งงบดุลตาม มาตรา 80 4. งานตามนโยบายรัฐบาล ในปีงบประมาณ 2563 ผลงานตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่อำเภอเมืองที่ได้รับมอบหมายให้ ดำเนินการ มี ดังนี้ 1. โครงการลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านสานต่ออาชีพเกษตรกร มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ในพื้นที่อำเภอเมืองอุดรธานี จำนวน 32 ราย กลุ่มส่งเสริม สหกรณ์ 1 ได้รับมอบหมายจากสหกรณ์จังหวัดอุดรธานีลงพื้นที่เพื่อประเมินความพร้อมในการประกอบอาชีพ เกษตรกรรมของผู้สมัครที่เข้าร่วมโครงการ และเข้ารับการอบรมความรู้ทางการเกษตร ยืนยันสถานะเข้าร่วม โครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร จำนวน 12 ราย 2. โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับการจัดสรรปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเมือง ที่เข้าร่วมโครงการ 1 แห่ง คือ สหกรณ์การเกษตรเมืองอุดรธานี จำกัด ได้รับจัดสรรปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จากกรมส่งเสริม สหกรณ์ จำนวน 753 ราย เป็นจำนวนเงิน 718,604.64 บาท ทำให้มียอดเงินชดเชยดอกเบี้ยคงเหลือที่ยัง ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 1,877,107.15 บาท โดยสหกรณ์ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินชดเชย ดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรสมาชิก เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2563 สหกรณ์ได้ดำเนินการจ่ายเงินให้สมาชิกตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ครบแล้ว และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดสรรงบประมาณเงินชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรสมาชิก


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 33 สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวน 753 ราย จำนวนเงิน 767,268.36 บาท สหกรณ์จะดำเนินการตามแนว ทางการเบิกจ่ายของกรมฯต่อไปในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ⚫ ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. ด้านองค์กร 1) การบริหารจัดการลูกหนี้ค้างชำระของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สมาชิกไม่มาชำระหนี้ตามกำหนด เป็นจำนวนมาก ทำให้สหกรณ์ต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของสหกรณ์ ส่งผลในการ ดำเนินงานสหกรณ์ 2) ทุนดำเนินงานน้อย เนื่องจากไม่มีการระดมทุนภายใน สมาชิกยังขาดความเชื่อมั่นในระบบ สหกรณ์ ทำให้การระดมทุนในรูปแบบของหุ้น และเงินรับฝากออมทรัพย์มีน้อย สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรขาด เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน ทำให้มีปริมาณธุรกิจของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรลดลง 2. ด้านบุคลากร 1) คณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ให้ความสำคัญ ในการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับของสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์มีระบบการควบคุมภายในไม่ดี มีผลต่อการ ประเมินความเข้มแข็งของสหกรณ์ และความน่าเชื่อถือของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 2) เจ้าหน้าที่สหกรณ์ยังขาดการติดตามแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีความใส่ใจในการทำหน้าที่ ของตนเองเท่าที่ควร 3) คณะกรรมการดำเนินงานขาดความรู้ในการวางแผนงาน และจัดทำแผนธุรกิจของสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกร ทำให้ไม่รู้ทิศทางในการดำเนินงานที่ชัดเจน ขาดการติดตามผลการดำเนินงาน 4) สมาชิกขาดความร่วมมือในการทำธุรกิจกับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ทำให้การมีส่วนร่วมทำ ธุรกิจของสมาชิกลดลง ส่งผลให้สหกรณ์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 5) เจ้าหน้าที่สหกรณ์/กรรมการที่ได้รับมอบหมายทำบัญชี ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำ บัญชี หรือไม่มีความรู้ด้านบัญชี ยังต้องพึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ 3. อุปกรณ์ 1) สหกรณ์ขนาดเล็กขาดอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2) การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระบบ ทำให้ค้นหาเอกสารลำบาก 4. ด้านงบประมาณ สหกรณ์ขนาดเล็ก ยังขาดการวางแผนงบประมาณรายรับ-รายจ่ายประจำเดือน เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการควบคุมการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ⚫ ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1. แนะนำส่งเสริมให้คณะกรรมการดำเนินงานศึกษาระเบียบ ข้อบังคับที่สหกรณ์ถือใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับสหกรณ์ 2. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ เพื่อแนะนำส่งเสริม ให้ความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานในรูปแบบสหกรณ์ ทบทวนการถือใช้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ปฏิบัติ ตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง 3. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน หรือปรับปรุงแก้ไขที่มี อยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลเพิ่มขึ้น


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 34 4. แนะนำให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ สอดคล้องรับพระราชบัญญัติสหกรณ์ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 5. แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีการติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง และรายงาน ผลการแก้ไขปัญหาให้ที่ประชุมคณะกรรมการได้รับทราบทุกครั้ง แล้วรายงานผลให้จังหวัดทราบอย่างต่อเนื่อง ⚫ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด อุดรธานี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 1. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุดรธานี จำกัด ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุดรธานี จำกัด ได้ดำเนินการภายใต้การกำกับ ส่งเสริมของกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อมุ่งเน้นการบริหาร จัดการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ สามารถผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการสหกรณ์สีขาวด้วย ธรรมาภิบาล ผลการดำเนินงานในปี 2563 ในปี 2563 สหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุดรธานี จำกัด มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพโดย สามารถระดมหุ้น และเงินฝากจากสมาชิกเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยไม่มีการกู้เงินจากภายนอก ซึ่งสรุปผลความสำเร็จได้ ดังนี้ 1. ทุนเรือนหุ้น ในวันสิ้นปีทางบัญชี ณ 30 กันยายน 2562 สหกรณ์มีทุนเรือนหุ้น จำนวน 10,287,017,070.00 บาท ในระหว่างปีมีทุนเรือนหุ้นเพิ่ม 408,854,000.00 บาท ณ วันสิ้นปี 30 กันยายน 2563 สหกรณ์มีทุนเรือนหุ้น จำนวน 10,695,871,080.00 บาท 2. การรับฝากเงิน ณ วันสิ้นปี 30 กันยายน 2562 สหกรณ์มีเงินรับฝาก 16,907 บัญชี เป็นจำนวนเงิน 5,644,289,684.86 บาท ณ วันสิ้นปี 30 กันยายน 2563 สหกรณ์มีเงินฝาก 18,777 บัญชี เป็นจำนวนเงิน 6,246,985,944.69 บาท 3. การให้เงินกู้ ณ วันสิ้นปี 30 กันยายน 2562 สหกรณ์มีลูกหนี้เงินกู้ จำนวน 17,077,316,319.77 บาท ระหว่างปีมีการปล่อยเงินกู้ฉุกเฉิน, เงินกู้สามัญและเงินกู้พิเศษ เป็นจำนวนเงิน 5,923,195,057.11 บาท ณ วันสิ้นปี 30 กันยายน 2563 มีลูกหนี้เงินกู้จำนวน 17,076,961,308.77 บาท สาเหตุที่สมาชิกกู้เงิน เพิ่มขึ้นในระหว่างปีเกิดจากสภาพปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในปัจจุบัน ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จึงมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของสมาชิก ส่วนใหญ่ที่มีรายได้ประจำอาจทำให้รายได้มีไม่เพียงพอจึงมีการกู้ยืมเพิ่มขึ้น และพฤติกรรมการกู้ยืม เปลี่ยนแปลงไปเป็นการกู้ยืมเพื่อปิดหนี้วงเงินเดิม และใช้เงินส่วนต่าง (Refinance) เพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญในการ อนุมัติสินเชื่อสหกรณ์ต้องพิจารณาถึงหลักความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิก (Capacity) คุณสมบัติของ ผู้กู้ (Character) หลักประกัน (Collateral) เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากตัวลูกหนี้จากการ ไม่สามารถชำระหนี้คืนเงินกู้ได้ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาโครงสร้างเงินทุนของสหกรณ์จากแหล่งที่มาของเงินทุน


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 35 ที่สำคัญ พบว่า ยังคงใช้ทุนภายในที่ได้จากหุ้นซึ่งเกิดจากการสะสมรายเดือนและเงินฝากหรือเงินออมของ สมาชิกโดยสะสมสม่ำเสมอและต่อเนื่องในทุกปี จึงส่งผลให้สหกรณ์มีปริมาณเม็ดเงินทุนหมุนเวียนในระบบ อย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งสหกรณ์ได้นำทุนที่ได้ไปลงทุนในลูกหนี้เงินกู้แก่สมาชิกเป็นส่วนใหญ่ สามารถสร้างเป็น รายได้และผลกำไรที่เพิ่มขึ้นให้กับสหกรณ์ 4. การจัดสวัสดิการแก่สมาชิก 4.1 สงเคราะห์ศพแก่สมาชิกและคู่สมรส สหกรณ์มีการจ่ายทุนสงเคราะห์สมาชิกและคู่สมรส เป็น สมาชิกจำนวน 90 ราย เป็นเงิน 3,611,400.00 บาท และคู่สมรสจำนวน 38 ราย เป็นเงิน 963,800.00 บาท 4.2 บำเหน็จสมาชิกที่เกษียณอายุและถึงแก่กรรม สหกรณ์จ่ายให้สมาชิกที่เกษียณอายุ จำนวน 625 ราย เป็นเงิน 35,420,972.50 บาท สมาชิกที่ถึงแก่กรรม จำนวน 33 ราย เป็นเงิน 1,416,762.54 บาท 4.3 สวัสดิการสมาชิกที่มีอายุ 61 ปีขึ้นไป (วันคล้ายวันเกิด) 1) อายุ 61 - 65 ปี จ่ายรายละ 2,000 บาท สมาชิกจำนวน 2,920 ราย เป็นเงิน 1,840,000.00 บาท 2) อายุ 66 - 70 ปี จ่ายรายละ 2,500 บาท สมาชิกจำนวน 1,150 ราย เป็นเงิน 2,875,000.00 บาท 3) อายุ 71 ปีขึ้นไป จ่ายรายละ 3,000 บาท สมาชิกจำนวน 1,135 ราย เป็นเงิน 3,405,000.00 บาท 4.4 สมาชิกถึงแก่กรรม จ่ายรายละ 300,000 บาท สมาชิกจำนวน 90 ราย เป็นเงิน 26,700,000.00 บาท 4.5 ทุนการศึกษาบุตรสมาชิก ทุนละ 3,000 บาท สมาชิกจำนวน 661 ทุน เป็นเงิน 1,983,000.00 บาท 4.6 สงเคราะห์สมาชิกประสบภัยพิบัติ สมาชิกจำนวน 14 ราย เป็นเงิน 91,000.00 บาท 5. การบริจาคเพื่อการกุศล 5.1 สถานศึกษาและหน่วยงานสังกัดของสมาชิก เป็นเงิน 1,225,907 บาท 5.2 การจัดงานครู ปี 2563 เป็นเงิน 200,000 บาท 5.3 สนับสนุนบุญกฐิน ผ้าป่า การศึกษา สาธารณกุศล เป็นเงิน 226,547 บาท 5.4 ด้านต่างๆ เช่น ให้นักศึกษาจาก 3 สถาบันเข้าฝึกงาน, อนุญาตให้หน่วยงานต่างๆ ใช้ห้อง ประชุม 11 ครั้ง ให้ชมรมข้าราชการครูบำนาญใช้สถานที่ เป็นต้น


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 36 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุดรธานี จำกัด มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานประจำเดือน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ นำปัญหา/อุปสรรคของลูกหนี้ค้างชำระเสนอที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อ พิจารณาเป็นรายๆ ไป โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อทำแผนติดตามหนี้และจัดกลุ่มลูกหนี้สหกรณ์ 2. คณะกรรมการดำเนินการมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนมากขึ้น ทำหน้าที่ของ ตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น เมื่อเป็นหนี้ต้องชำระหนี้ เพื่อให้สหกรณ์สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง 3. สหกรณ์มีความเข้มแข็งเพราะมีทุนดำเนินงานจากภายในเพียงพอในการบริหารจัดการสร้าง รายได้ให้สหกรณ์โดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากภายนอก


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 37 2. สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงเพชรธนา จำกัด ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์ สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่งคงเพชรธนา จำกัด ได้รับการแก้ไขปัญหาเนื่องจากไม่สามารถปิดบัญชีได้ ตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2562 จึงได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมายของจังหวัดอุดรธานีให้เข้าร่วมโครงการสร้าง ความเข้มแข็งการจัดทำบัญชีและงบการเงินของสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคง ประจำปีง บประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่บัญชีของสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงให้จัดทำ บัญชีได้เป็นปัจจุบัน และให้สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงสามารถจัดทำงบทดลองและปิดบัญชีได้ตามกฎหมายที่ กำหนด การดำเนินโครงการดังกล่าวสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุดรธานีได้แต่งตั้งทีมปิดบัญชีสหกรณ์ประจำ จังหวัด 1 ทีม และให้สหกรณ์แต่งตั้งทีมปิดบัญชีสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงเพชรธนา จำกัด 1 ทีม เพื่อดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติงานปิดบัญชีสหกรณ์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 ณ ที่ทำการสหกรณ์ เคหสถานบ้านมั่นคงเพชรธนา จำกัด โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการ คือ ผู้แทนจาก สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์อุดรธานี และผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) หรือ พอช. เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย ผลงานที่ได้การแก้ไข มีดังนี้ข้อ 1 สหกรณ์มีแผนปฏิบัติงานปิดบัญชีสหกรณ์เคหสถาน บ้านมั่นคงเพชรธนา จำกัดจังหวัดอุดรธานี จำนวน 1 แผน สามารถปิดบัญชีส่งให้ผู้สอบบัญชีได้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ข้อ 2 สหกรณ์ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำบัญชี จึงได้จ้าง บุคคลภายนอกเป็นผู้จัดทำบัญชี เพื่อจัดทำงบการเงินตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2562 ให้แล้วเสร็จตามคำแนะนำ ของผู้สอบบัญชีที่ให้แนวทางการแก้ไขงบการเงิน และสามารถส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชีเพื่อขอรับการตรวจ บัญชี ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และสหกรณ์สามารถจัดทำงบทดลองได้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ให้ทีมปิดบัญชี สหกรณ์ประจำจังหวัดเข้าติดตามและรายงานผลให้สหกรณ์จังหวัดทราบทุกเดือน


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 38 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัจจัยแห่งผลสำเร็จที่ทำให้สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงเพชรธนา จำกัด ที่สามารถจัดทำงบการเงิน แล้วเสร็จตามกำหนดได้นั้น เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากทีมปิดบัญชีสหกรณ์ฯ เช่น คณะกรรมการ ดำเนินการที่รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น และผู้แทนหน่วยงานจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้แทน จาก พอช. ที่ให้คำแนะนำและแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็นจึงทำให้สหกรณ์สามารถปิดบัญชีได้ ตามแผนที่กำหนด ทั้งนี้ ทีมปิดบัญชีประจำจังหวัดได้เข้าติดตามผลการดำเนินงานหลังโครงการฯ อย่าง ต่อเนื่องทุกเดือนเพื่อรายงานผลให้สหกรณ์จังหวัดและกรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ ประกอบด้วย สหกรณ์ 10 แห่ง สมาชิก 4,515 คน กลุ่มเกษตรกร 8 แห่ง สมาชิก 1,399 คน ⚫ ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในเขตพื้นที่อำเภอศรีธาตุมีสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจ 5 แห่ง หยุดดำเนินธุรกิจ 4 แห่ง ชำระบัญชี 1 แห่ง มีกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินธุรกิจ 4 แห่ง หยุดดำเนินธุรกิจ 2 แห่ง ชำระบัญชี 2 แห่ง ซึ่งกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 ได้เข้าแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามระบบการส่งเสริมสหกรณ์ทุกสถาบัน โดยสรุปผลการ ดำเนินงานแบ่งเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ด้านการบริหารจัดการ 1. การยกระดับชั้นความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์ โดยการวิเคราะห์และจัดทำแผนการพัฒนาเพื่อ ยกระดับสหกรณ์เป้าหมายสู่ระดับชั้นที่ดีขึ้น ซึ่งผลจากการขับเคลื่อนสามารถยกระดับความเข้มแข็งสหกรณ์ใน อำเภอศรีธาตุรักษาระดับชั้นสหกรณ์ได้จำนวน 5 แห่ง การประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การจัดระดับชั้นของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอศรีธาตุ จำนวน 6 แห่ง (กลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินธุรกิจ จำนวน 4 แห่ง หยุดดำเนินธุรกิจ จำนวน 2 แห่ง) ผลจากการ ขับเคลื่อนสามารถ รักษาระดับชั้นได้ทั้งหมด 2 แห่ง 2. อำเภอ ศรีธาตุ


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 39 2. การจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายใน ผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 ในภาพรวม เปรียบเทียบกับผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 ระดับชั้น ระดับชั้นสหกรณ์ ข้อมูล ณ 30 ก.ย.62 ระดับชั้นสหกรณ์ ข้อมูล ณ 30 ก.ย.63 แห่ง ร้อยละ แห่ง ร้อยละ ชั้น 1 1 10 1 10 ชั้น 2 5 50 4 40 ชั้น 3 3 30 2 20 ชั้น 4 (ชำระบัญชี) 1 10 3 30 รวม 10 100 10 100 จากตาราง พบว่าผลการจัดชั้นสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 มีสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็งอยู่ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 5 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 100 ของ สหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจทั้งหมด 5 แห่ง ) ลดลงจากเดิม จำนวน 1 แห่ง เมื่อเทียบกับผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 ซึ่งมีสหกรณ์อยู่ในชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 6 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 100 ของสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจ 6 แห่ง) สำหรับชั้น 4 มีสหกรณ์ที่เข้าสู่กระบวนการเลิก เพิ่มขึ้น 2 แห่ง ทำให้ สหกรณ์ชั้น 4 มีจำนวน 3 แห่ง 3. การจัดมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ในเขตพื้นที่อำเภอศรีธาตุ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 มีสหกรณ์นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 5 แห่ง สหกรณ์ที่ไม่นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 5 แห่ง กลุ่มเกษตรกรนำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 3 แห่ง ไม่นำมาจัดมาตรฐาน 3 แห่ง ดังนี้ มีสหกรณ์ที่รักษาเป้าหมายที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับดีเลิศ จำนวน 2 แห่ง สหกรณ์ที่รักษาเป้าหมายที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 3 แห่ง สหกรณ์ รักษาเป้าหมายกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2 แห่ง ผลักดันให้กลุ่มเกษตรกรที่ไม่ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2 แห่ง 4. การติดตามการใช้เงินกู้กองทุนต่าง ๆ 4.1 เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการแนะนำส่งเสริมสนับสนุนเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 2 แห่ง ดังนี้ 1) สหกรณ์การเกษตรศรีธาตุ จำกัด วัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกกู้ยืมทำการเกษตร 2) สหกรณ์การเกษตรบ้านห้วยวังปลาศรีธาตุ จำกัด วัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกกู้ยืมทำ การเกษตร(ปลูกมันสำปะหลัง) 3) สหกรณ์การเกษตรอุตสาหกรรมมันสำปะหลังศรีธาตุ จำกัด วัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุน ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน 4) สหกรณ์โคนมศรีธาตุ จำกัด วัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนให้สมาชิกกู้ยืม


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 40 ผลจากการกู้ยืมเงินฯทำให้ มีปริมาณธุรกิจเพิ่มมากขึ้น มีการใช้เงินกู้ให้ถูกต้องตาม วัตถุประสงค์ ทำให้เมื่อสิ้นปีสหกรณ์มีกำไรเพิ่มมากขึ้น ทำให้สมาชิกมีสภาพคล่องทางการเงิน มีความเป็นอยู่ที่ ดีขึ้น และสามารถชำระหนี้ได้ทันตามกำหนดเวลา 4.2 เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 1) ในเขตพื้นที่อำเภอศรีธาตุ มีสหกรณ์ 1 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 1 แห่ง ที่กู้เงินกองทุน สงเคราะห์เกษตรกร ซึ่งผลจากการกู้ยืมเงินกองทุนฯ ทำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีปริมาณธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ใช้เงินกู้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ทำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีทุนหมุนเวียนดีขึ้น สามารถชำระหนี้ได้ทัน ตามกำหนดเวลา 2) เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสาร้างระบบน้ำในไร่นา ของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ในเขตพื้นที่อำเภอศรีธาตุ มีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่กู้เงินกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรโครงการฯ จำนวน 3 แห่ง แยกเป็น สหกรณ์ 2 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 1 แห่ง ซึ่งสามารถชำระหนี้ ได้ทันตามกำหนดเวลา 4.3 การแก้ไขปัญหาหนี้ค้างกองทุนพัฒนาสหกรณ์/เงินกองทุนสงเคราะห์กลุ่มเกษตรกร ในเขตพื้นที่อำเภอศรีธาตุ ไม่มีลูกหนี้ค้างชำระเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์และเงินกองทุน สงเคราะห์เกษตรกร 5. การวิเคราะห์สถานภาพทางการเงินของสหกรณ์ จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม อาจส่งผลให้สหกรณ์เกิดความเสี่ยงในด้าน ต่างๆ คือ เงินทุนของสหกรณ์ส่วนใหญ่มาจากเงินกู้ยืมและเงินรับฝาก หากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวขึ้น อาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดหาเงินทุนของสหกรณ์ในอนาคตได้ การชำระหนี้ตามกำหนดของลูกหนี้เงินกู้ และ ทุนสำรองต่อสินทรัพย์อยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง โดยจะส่งผลให้มีหนี้ค้างนาน สหกรณ์ควรกำหนดให้มี มาตรการติดตามเร่งรัดหนี้ที่เหมาะสมมากขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้ได้รับการตรวจสอบและรับรองงบการเงินจากผู้สอบบัญชีสหกรณ์ จำนวน 7 แห่ง ดังนี้ 1) สหกรณ์มีผลการดำเนินงาน มีกำไรสุทธิ 5 แห่ง กลุ่มเกษตรกรมีผลการดำเนินงาน มีกำไรสุทธิ 2 แห่ง 2) ไม่มีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลการดำเนินงานขาดทุน 3) มีสหกรณ์ที่อยู่ในสถานะหยุดดำเนินงาน จำนวน 5 แห่ง และมีกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในสถานะ หยุดดำเนินงาน 2 แห่ง 4) สหกรณ์ที่อยู่ในสถานะชำระบัญชี 3 แห่ง คือ (1) สหกรณ์การเกษตรภูไทยน้ำทิพย์ จำกัด (2) สหกรณ์พัฒนาชนบทศรีธาตุ จำกัด (3) สหกรณ์การเกษตรกร(รายย่อย)อำเภอศรีธาตุ จำกัด กลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในสถานะชำระบัญชีจำนวน 2 แห่ง คือ (1) กลุ่มเกษตรกรทำไร่จำปี (2) กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านโปร่ง


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 41 2. ด้านการพัฒนาธุรกิจ 1. ด้านการมีส่วนร่วมในการใช้บริการ จากการเข้าแนะนำ ส่งเสริม ให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการดำเนินการส่งเสริมให้สมาชิกร่วม คิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมากขึ้น ทำให้สมาชิกมาใช้บริการสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรในรูแบบการกู้ยืมเงิน ในการซื้อสินค้า เพิ่มมากขึ้น ได้ดำเนินการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาด้านการมีส่วน ร่วมของสมาชิกในการทำธุรกิจหรือการใช้บริการ เช่น การกู้ยืมเงินของสมาชิก การซื้อสินค้ามาจำหน่ายให้กับ สมาชิก การรับซื้อผลผลิตการเกษตรของสมาชิก และการให้บริการรับฝากเงินของสมาชิก พบว่าสมาชิกที่มีส่วน ร่วมในการทำธุรกิจหรือใช้บริการกับสหกรณ์ 5 แห่ง แต่มีสหกรณ์ที่มีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์เกิน กว่าร้อยละ 70 จำนวน 3 แห่ง คือ สหกรณ์การเกษตรศรีธาตุ จำกัด,สหกรณ์โคนมศรีธาตุ จำกัด และสหกรณ์ การเกษตรบ้านห้วยวังปลาศรีธาตุ จำกัด ส่วนสมาชิกที่มีส่วนร่วมในการทำธุรกิจหรือใช้บริการกับสหกรณ์ ไม่ถึง ร้อยละ 70 จำนวน 2 แห่ง คือ สหกรณ์การเกษตรอุตสาหกรรมมันสำปะหลังศรีธาตุ จำกัด เนื่องจากมีเงินทุน ไม่เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิกจึงทำให้บริการสมาชิกได้ไม่ทั่วถึง และสหกรณ์ยางพาราศรีธาตุวังสาม หมอ จำกัดเนื่องจาก สหกรณ์ไม่ได้ดำเนินธุรกิจ มีเพียงการปล่อยเงินกู้สมาชิกจำนวน 3 ราย 2. ด้านปริมาณธุรกิจ จากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อสรุปผลการ วิเคราะห์และกำหนดแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจรวบรวมผลผลิตการเกษตร ธุรกิจแปรรูปผลิตผลการเกษตร และธุรกิจรับฝากเงิน พบว่าพื้นที่อำเภอ ศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี สหกรณ์ที่มีสถานะดำเนินกิจการ จำนวน 5 แห่ง มีอัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อน จำนวน 4 แห่ง ปริมาณธุรกิจลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน จำนวน 1 แห่ง กลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะดำเนิน กิจการ จำนวน 2 แห่ง ปริมาณธุรกิจลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน จำนวน 2 แห่ง เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้ง และปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ทำให้สมาชิกไม่มีประสิทธิภาพในการส่งชำระหนี้ ทำให้ กลุ่มเกษตรกรเก็บหนี้ได้ยากขึ้น 3. ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ จากสภาพปัญหาของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรส่วนมากจะเป็นหนี้ค้างนาน การแก้ไขปัญหาหนี้สิน ของสมาชิก ควรมีการวางแผนให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อออกติดตาม เร่งรัดหนี้ค้างชำระอย่างเข้มข้นเป็นรายบุคคล และนำปัญหาอุปสรรคที่พบมาเสนอที่ประชุมคณะกรรมการทุกเดือน เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป เช่น การหา เงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำมาให้สมาชิกู้ยืม การจัดทำโครงการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับสมาชิกสหกรณ์ การ จัดหาสินค้ามาจำหน่ายให้สมาชิกในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งในปีนี้สหกรณ์สามารถลดจำนวนลูกหนี้ค้างนานที่มีหนี้ ค้างชำระ 3 ปีลงได้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ได้แนะนำ ส่งเสริมให้สหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรมีการดำเนิน ธุรกิจด้าน ต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) ธุรกิจเงินรับฝาก สหกรณ์จำนวน 2 แห่ง 2) ธุรกิจสินเชื่อ สหกรณ์จำนวน 5 แห่ง กลุ่มเกษตร จำนวน 2 แห่ง 3) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย จำนวน 2 แห่ง


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 42 4. ด้านเงินออมของสมาชิก ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในอำเภอศรีธาตุ มีการระดมทุนภายใน เพิ่มขึ้นทั้งเงินรับฝากและทุนเรือนหุ้น แนะนำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการดำเนินส่งเสริมการออมกับ สมาชิกส่วนมากจะเป็นสหกรณ์ ส่วนกลุ่มเกษตรกรไม่ได้ดำเนินธุรกิจรับฝากเงินจากสมาชิก สมาชิกสามารถมา ฝากเงินเพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อน สหกรณ์มีอัตราส่วนเงินออมต่อหนี้สินของสมาชิกเพิ่มขึ้นจากปี 2562 (ปีก่อน) จำนวน 3 แห่ง ส่วนกลุ่มเกษตรกรไม่ได้ดำเนินธุรกิจรับฝากเงินจากสมาชิก 5. การใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาด มีการแนะนำส่งเสริมการใช้อุปกรณ์การตลาดอย่างอย่างคุ้มค้า มีสมาชิกมาใช้บริการลานตากของ สหกรณ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ทำให้ไม่เกิดปัญหาจากการที่สมาชิกเมื่อเก็บเกี่ยวข้าว แล้วไม่มีที่ตาก 3. การกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1. ประสิทธิภาพการบริหารงาน การแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจการ (ข้อบกพร่อง/ข้อสังเกตผู้สอบ บัญชี) 1) กลุ่มเกษตรกรถือเงินสดเกินกว่าระเบียบกำหนด ได้แนะนำให้กลุ่มเกษตรกร ถือปฏิบัติตาม ระเบียบว่าด้วยการเก็บรักษาเงินสดโดยเคร่งครัด 2) กรณีผู้ตรวจสอบกิจการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับ ได้แนะนำให้ผู้ตรวจสอบกิจการเข้า ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามความเหมาะสม และรายงานผลการตรวจสอบให้ที่ประชุม คณะกรรมการทราบทุกเดือน 3) กรณีการจัดทำรายละเอียดในสัญญาเงินกู้ไม่เรียบร้อย ครบถ้วน สมบูรณ์ แนะนำให้ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีการตรวจสอบการจัดทำรายละเอียดในสัญญาเงินกู้ให้ครบถ้วน ถูกต้องและให้ผู้มี อำนาจลงนาม ลงนามให้ครบถ้วน หากมีการแก้ไขควรเซ็นกำกับ ห้ามขีดฆ่าหรือลบเป็นอันขาด 4) กรณีสหกรณ์รับฝากเงินจากบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นสมาชิก ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าว ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 46(5) และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 และไม่เป็นตามข้อบังคับและระเบียบสหกรณ์ที่กำหนดให้ สหกรณ์รับฝากเงินจากสมาชิกหรือสหกรณ์ หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้ฝากเงิน ทั้งนี้ ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ 5) กรณีสหกรณ์มีเงินปันผลค้างจ่ายและเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่าย สหกรณ์ควรดำเนินการจ่ายให้ สมาชิกให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว 6) สหกรณ์มีเงินรอตรวจสอบยกมาจากปีก่อน ซึ่งยังไม่สามารถสอบหาที่มาของผู้โอนและ รายการโอนเพื่อบันทึกบัญชีที่ถูกต้องได้ สหกรณ์ควรเร่งตรวจสอบยอดเงินดังกล่าวให้ถูกต้องโดยเร็วและ รายงานผลผู้สอบบัญชีทราบโดยเร็ว 2. การชำระบัญชี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในเขตพื้นที่อำเภอศรีธาตุมีสหกรณ์พัฒนาชนบทศรีธาตุ จำกัด ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรับมอบทรัพย์สิน 4. งานตามนโยบายรัฐบาล 1. โครงการลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านสานต่ออาชีพเกษตรกร มีสมาชิกสหกรณ์และสมาชิก เกษตรกรผู้ประสงค์สมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 7 ราย


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 43 2. โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร (โครงการเงินชดเชยดอกเบี้ย) มีสหกรณ์การเกษตรศรีธาตุจำกัด เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 536 ราย เป็นเงิน 397,140.20 บาท ⚫ ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. ด้านองค์กร สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกจำนวนมากและอยู่พื้นที่ห่างไกล สมาชิกบางคนมีอายุมาก บางรายก็เสียชีวิต ทำให้ยากต่อการติดต่อประสานงาน และไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าที่ควร คู่สมรสของสมาชิก บางรายเป็นลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทำให้มีหนี้สินหลายทาง 2. ด้านบุคลากร 1) คณะกรรมการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรบางแห่งมีการเก็บรักษาเงินสดเกินกว่าวงเงินที่กำหนด เป็นประจำ ทำให้เสี่ยงต่อการทุจริตได้ 2) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรบางแห่งไม่มีการจัดจ้างเจ้าหน้าที่ จึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการ ดำเนินการช่วยกันปฏิบัติหน้าที่ โดยมอบหมายประธานกรรมการทำหน้าที่รับ-จ่าย ซึ่งสามารถรวบรวมและแยก หมวดหมู่เอกสารหลักฐานรับ-จ่ายได้ และเลขานุการทำหน้าที่เก็บรักษาเงินสด ในส่วนการบันทึกบัญชีได้จัดจ้าง บุคคลภายนอก ซึ่งบุคคลดังกล่าวทำได้เพียงบันทึกสมุดบัญชีขั้นต้น สมุดบัญชีขั้นปลายและบัญชีย่อยต่างๆ และบางสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรคณะกรรมการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีอายุค่อนข้างมาก 3. อุปกรณ์ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรบางแห่งมีเครื่องใช้สำนักงาน ตู้เก็บเอกสารไม่ได้มาตรฐานในการเก็บ รักษาเอกสารทางเงินและบัญชี และส่วนมากไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ในการปฏิบัติงาน 4. ด้านงบประมาณ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรบางแห่งมีงบประมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิก ทำให้การ บริหารงานงบประมาณไม่ทั่วถึงสมาชิกทุกคน ทำให้ต้องกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ และกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรมาให้บริการสมาชิก ⚫ ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1. แนะนำให้สมาชิกที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล สมาชิกที่อายุมาก สมาชิกที่เสียชีวิตและไม่ต้องการ ใช้บริการกับสหกรณ์ ให้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จะได้บริการสมาชิกได้ครอบคลุมทั่วถึง 2. มีบางสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการเก็บรักษาเงินสดไว้เกินระเบียบที่กำหนด ได้แนะนำให้ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ปฏิบัติตามระเบียบ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้สหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรนำเงินส่วนเกินเข้าฝากธนาคารในวันถัดไป และกำกับเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด ให้คณะกรรมการมีมติมอบหมายหน้าที่ให้รับผิดชอบ และปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด 3. ได้แนะนำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรควรจัดหาตู้เก็บเอกสารที่ได้มาตรฐาน เพื่อจัดเก็บเอกสารไว้ เป็นระเบียบและป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกรณีเอกสารสูญหาย หากสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรควร จะจัดหาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในการเก็บข้อมูลและสะดวกต่อการปฏิบัติงาน 4. ควรมีการจัดทำแผนการปฏิบัติงานในการเพิ่มปริมาณธุรกิจ เช่น ธุรกิจรวบรวมผลผลิตของสมาชิก มาจำหน่าย ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายโดยจัดหาปุ๋ย วัสดุการเกษตร มาจำหน่ายให้สมาชิกในราคา ที่เป็นธรรม


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 44 ⚫ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด อุดรธานี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สหกรณ์โคนมศรีธาตุ จำกัด สหกรณ์โคนมศรีธาตุจำกัด สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 285 หมู่ 1 ถนนศรีธาตุ-ไชยวาน ตำบลหัวนาคำ อำเภอศรีธาตุจังหวัดอุดรธานีโทรศัพท์082-8579166 จดทะเบียนวันที่ 18 สิงหาคม 2538 ปัจจุบันมี สมาชิก 103 คน มีคณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 10 คน ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์ 1. สหกรณ์จัดโครงการระดมทุนเรือนหุ้นและจัดหาสินค้ามาจำหน่ายให้กับสมาชิกเพื่อจัดหาแหล่ง เงินทุนภายในของสหกรณ์ โดยมีสมาชิกร่วมทำธุรกิจ ร้อยละ 85 ของสมาชิกทั้งหมด 2. สหกรณ์ส่งเสริมอาชีพให้แก่สมาชิก โดยการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายในราคายุติธรรมแก่สมาชิก สหกรณ์ เช่น จัดหาอาหารสัตว์มาจำหน่าย จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น 3. สหกรณ์มีความสามัคคีกลมเกลียว ทั้งคณะกรรมการดำเนินการ และฝ่ายจัดการ มีความเสียสละ ทุ่มเทให้กับการดำเนินงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ 4. สหกรณ์มีผู้นำที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์รอบด้าน มีความเสียสละ ระดมความคิดความสามารถ ในการแก้ไขปัญหาของสหกรณ์ได้เป็นอย่างดี 5. สหกรณ์มีการติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการเป็นประจำ สม่ำเสมอ และนำปัญหาที่พบมา หารือในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา เป็นประจำทุกเดือน โครงการจัดหาสินค้ามาจำหน่าย


รายงานประจำปี 2563 (Annual Report) | 45 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. สมาชิกทุกคนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ เป็นอย่างดี มีคณะกรรมการดำเนินงานให้ความสำคัญกับแนวคิดในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น 2. มีเจ้าหน้าที่ ทั้งคณะกรรมการดำเนินการ มีความสามัคคีกลมเกลียว ปฏิบัติงานเต็มความรู้ ความสามารถ มีความเสียสละ ทุ่มเทให้กับการดำเนินงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ทำให้การทำงานมี ศักยภาพมากยิ่งขึ้น 3. มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เข้าไปให้คำแนะนำและกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด 4. สหกรณ์สามารถเข้าถึงความต้องการของสมาชิกได้ทำให้สมาชิกมีความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อ สหกรณ์ว่าเป็นสถาบันที่เป็นที่พึ่งและให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่สมาชิก ทุกคนได้ สหกรณ์มีผู้นำที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์รอบด้าน เสียสละ สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของ สหกรณ์ได้ ประกอบด้วย สหกรณ์ 6 แห่ง สมาชิก 2,692 คน กลุ่มเกษตรกร 10 แห่ง สมาชิก 992 คน ⚫ ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในเขตพื้นที่อำเภอวังสามหมอ มีสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจ 3 แห่ง หยุดดำเนินธุรกิจ 3 แห่ง กลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินธุรกิจ 3 แห่ง หยุดดำเนินธุรกิจ 5 แห่ง ชำระบัญชี 2 แห่ง ซึ่งกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 ได้ เข้าแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามระบบการส่งเสริมสหกรณ์ทุกสถาบัน โดยสรุปผลการ ดำเนินงานแบ่งเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ด้านการบริหารจัดการ 1. การยกระดับชั้นความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์ โดยการวิเคราะห์และจัดทำแผนการพัฒนาเพื่อ ยกระดับสหกรณ์เป้าหมายสู่ระดับชั้นที่ดีขึ้น ซึ่งผลจากการขับเคลื่อนสามารถยกระดับความเข้มแข็งสหกรณ์ใน อำเภอวังสามหมอ รักษาระดับชั้นสหกรณ์ได้จำนวน 1 แห่ง การประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การจัดระบบชั้นของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอวังสามหมอ จำนวน 6 แห่ง (กลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินธุรกิจ จำนวน 3 แห่ง หยุดดำเนินธุรกิจ จำนวน 5 แห่ง ชำระบัญชี 2 แห่ง) ผลจากการขับเคลื่อนสามารถ รักษาระดับ ได้ทั้งหมด 2 แห่ง 3. อำเภอ วังสามหมอ


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.