รายงานประจำปี 2565 สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ Flipbook PDF

รายงานประจำปี 2564 สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

42 downloads 106 Views

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

จัดทำโดย สำนักวิชาการวิยาศาสตร์การแพทย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เลขที่ 88/7 ซอยติวานนท์ 14 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์0 2951 0000 และ 0 2589 9850-8 โทรสาร 0 2951 1297 ติดต่อ ฝ่ายบริหารทั่วไป เบอร์ภายใน 99357-8 ติดต่อ งานวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เบอร์ภายใน 99662 ติดต่อ งานวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบบออนไลน์ ThaiJO เบอร์ภายใน 99365


สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ (สววพ.) เป็นหน่วยงานภายในสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีจุดมุ่งหมายของการดำเนินงานในด้านวิชาการ เพื่อสนับสนุนภารกิจในด้านต่างๆ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพที่มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชน ตลอดปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา สำนักวิชาการ วิทยาศาสตร์การแพทย์มีภารกิจหลักในการพัฒนางานด้านวิชาการการจัดการความรู้ การให้คำปรึกษา ด้านวิชาการแก่ผู้บริหารและบุคลากรของกรมฯ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านวิทยาศาสตร์-การแพทย์ ต่อผู้บริหารระดับสูง สนับสนุนให้เกิดองค์ความรู้และนวัตกรรมในสาขาต่างๆ นอกจากนี้ผู้ทรงคุณวุฒิและ บุคลากรของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังมีส่วนร่วมในการสนับสนุนงานตามภารกิจที่สำคัญของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในด้านต่างๆ ได้แก่ การจัดทำวารสารกรมวิทยาศาสตร์-การแพทย์การจัดประชุม วิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ การประชุมด้านจริยธรรมการวิจัยในคน การจัดสัมมนาวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ การจัดฝึกอบรมต่างๆเช่น หลักสูตรบ่มเพาะนวัตกรความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการด้านเคมี/ชีวภาพ/รังสี ฯลฯการ ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดทำคู่มือต่างๆ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน ตามที่ได้รับมอบหมายเพื่อขับเคลื่อนภารกิจที่สำคัญด้านต่างๆ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ดังนั้น สำนัก วิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยบุคลากรในทุกระดับของสำนักฯ มีความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันพัฒนางานของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน สารจากหัวหน้า สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภญ.ดร.ประไพ วงศ์สินคงมั่น ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เคมี) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) หัวหน้าสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ภญ.ดร.ประไพ วงศ์สินคงมั่น) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เคมี) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) หัวหน้าสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์


สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ (สววพ.) เป็นส่วนราชการภายในสังกัดกรมวิทยาศาสตร์- การแพทย์มีภารกิจหลักในการพัฒนางานด้านวิชาการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ การจัดการความรู้และให้การสนับสนุนการจัดการความรู้ ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนางานวิจัย ช่วยกำกับดูแลมาตรฐาน และแนวทางการผลิตผลงานวิชาการอย่างเป็น ระบบและมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดองค์ความรู้และนวัตกรรม รวมทั้งภารกิจด้านการจัดทำวารสาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ตลอดจนปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย คณะผู้จัดทำรายงานประจำปีสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รวบรวมผลงานและกิจกรรม สำคัญของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การ ดำเนินงานตามภารกิจต่างๆ ดังกล่าว รวมทั้งภารกิจที่สนับสนุนงานสำคัญด้านอื่นๆ ของกรมวิทยาศาสตร์- การแพทย์ ได้แก่ การจัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ การจัดทำหนังสือ คู่มือสำหรับห้องปฏิบัติการ ทางการแพทย์ การพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนด้านวิชาการ การพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งการผลิตเอกสารและผลงานวิชาการต่างๆ เป็นต้น รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมผลงานและกิจกรรมดังกล่าว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับผู้เกี่ยวข้อง และผู้สนใจ ได้ทราบข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป คณะผู้จัดทำรายงาน ตุลาคม 2565


สารจากหัวหน้าสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ คำนำ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม อัตลักษณ์ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ทำเนียบผู้บริหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 11 ประวัติความเป็นมาและบทบาทหน้าที่ของสำนักวิชาการ- วิทยาศาสตร์การแพทย์ 12 โครงสร้างบุคลากรสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ 13 อัตรากำลังบุคลากรสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ 16 ส่วนที่ 2 แผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติราชการสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 19 สรุปการใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 25 ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 30 29 งานมหกรรม DMSc R2R Forum 2022 31 รางวัลที่ได้รับ 33 การขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรมต้นแบบ 37 การจัดทำวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 43 การจัดทำรายงานประจำปี2564 กรมวิทยาศาสตร์- การแพทย์ 51 สรุปผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โครงการพัฒนาบุคลากรของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านวิชาการและทบทวนการบริหารจัดการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 55


โครงการสัมมนาวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 59 โครงการอบรมคลินิกการเขียนบทความวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีงบประมาณ 2565 65 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนบทความตีพิมพ์ในวารสาร แบบมืออาชีพ” 67 โครงการสัมมนาและฝึกอบรมผู้ทบทวนบทความ ปีงบประมาณ 2565 71 โครงการฝึกอบรม เรื่อง การออกแบบการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ “จาก Design Thinking สู่การเขียนข้อเสนอโครงการ และการจัด สรรผลประโยชน์จากการวิจัย” 73 โครงการสัมมนาการทบทวนผลการดำเนินงานของสำนักวิชาการ- วิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีงบประมาณ 2565 และการวิเคราะห์ ทิศทางการวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตามแนวทาง การขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม 77 โครงการบ่มเพาะและพัฒนาศักยภาพนวัตกร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (DMSc Smart Incubator & Accelerator) 81 สรุปผลการดำเนินงานของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ ทีมงานจัดการความรู้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในปีงบประมาณ 2565 91 สรุปผลการดำเนินงานของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับคณะทำงานความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการด้าน ต่างๆ ในปีงบประมาณ 2565 95 การจัดทำหนังสือ “แนวทางการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพภายใต้ แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียวประเทศไทย” 99 การพัฒนาเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านชีววิทยาระบบร่วมกับ หน่วยงานต่างๆ 101 ความร่วมมือระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และคณะวิศวกรรม ศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในการผลิตสารละลายไฟโบร อินไหมปราศจากเชื้อที่ผ่านการับรองตามมาตรฐานสากล ISO 13485: 2016 103 การควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้นวัตกรรมป้องกันกำจัดยุงลาย แบบบูรณาการ 105


การควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้นวัตกรรมป้องกัน กำจัดยุงลาย แบบบูรณาการ 105 ความร่วมมือการวิจัยกับบริษัท เอสซีจีเคมิคอลส์ จำกัด ในการพัฒนากับดักยุงลาย “SCG Mosquito Trap” 107 อนุสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ปรุงรสชาติของอาหาร ผสมสารสกัดสมุนไพร 12 ชนิด 109 ส่วนที่ 4 ภารกิจและผลงานทางวิชาการ ภารกิจเฉพาะด้านที่สำคัญ และผลงานทางวิชาการ ของผู้ทรงคุณวุฒิ 105 ส่วนที่ 5 ภาพกิจกรรมอื่นๆ ข่าวกิจกรรม 153 การเผยแพร่สื่อ INFOGRAPHIC 187 การเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ 188 สรุปการออกใบประกาศนียบัตร (แบบออนไลน์) ปีงบประมาณ 2565 189 มุทิตาจิต แต่ผู้เกษียณอายุราชการ ปี พ.ศ. 2565 191 คณะผู้จัดทำ 193


ทำเนียบผู้บริหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์


ประวัติความเป็นมาและบทบาทหน้าที่ของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตามคำสั่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ 398/2543 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ได้มีการจัดตั้ง “สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์” ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 มีการเปลี่ยนแปลงชื่อเป็น “สำนักจัดการความรู้และเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การแพทย์” ตามคำสั่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1648/2556 ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 แล้วปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น “สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์ การแพทย์” ตามคำสั่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1308/2558 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งจัดตั้งขึ้น เป็นหน่วยงานภายในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้การบริหารวิชาการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 31 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ 1. ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ คำปรึกษาด้านวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์แก่ผู้บริหาร และบุคลากร ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2. ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่อผู้บริหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. เป็นผู้จัดการ การจัดการความรู้ในภาพรวมของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4. เป็นแหล่งข้อมูลผลงานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาต่างๆ 5. ดำเนินงานพัฒนาระบบและกระบวนการจัดทำวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และบริหารจัดการ ด้านบรรณาธิการ 6. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบมาย โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ในสาขาต่างๆ ปฏิบัติงานในสำนักวิชาการ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และขึ้นตรงต่ออธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ 1 ท่าน เป็นหัวหน้า สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ และให้สำนักงานเลขานุการกรม สนับสนุนงานด้านการบริหารจัดการ และ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปัจจุบันสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งอยู่เลขที่ 88/7 ชั้น 7 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ซอยโรงพยาบาลบำราศนราดูร ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000


โครงสร้างบุคลากรสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ หัวหน้าสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (จุลชีววิทยา) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วิทยาศาสตร์กายภาพ) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ภูมิคุ้มกันวิทยา) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เทคโนโลยีชีวภาพ) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (พิษวิทยา) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เคมี) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ชีววิทยา) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (มาตรฐานห้องปฏิบัติการ) หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป นักจัดการงานทั่วไป ฝ่ายบริหารทั่วไป งานวารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิชาการเผยแพร่ นักจัดการงานทั่วไป เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าพนักงานธุรการ พนักงานขับรถยนต์


ผังบุคลากรสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภญ.ดร.ประไพ วงศ์สินคงมั่น ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เคมี) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) หัวหน้าสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดร.อภิวัช ธวัชสิน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วิทยาศาสตร์กายภาพ) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) ทนพญ.สิริภากร แสงกิจพร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ชีววิทยา) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) ดร.อุรุญากร จันทร์แสง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (จุลชีววิทยา) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) ดร.นวลจันทร์ วิจักษณ์จินดา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ภูมิคุ้มกันวิทยา) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) ดร.วันทนา ปวีณกิตติพร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เทคโนโลยีชีวภาพ) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ)


ผังบุคลากรฝ่ายบริการทั่วไป นางกาญจน์ชนก นาคชำนาญ เจ้าพนักงานธุรการ นายอนุชิต บุญกิตติวศิน เจ้าพนักงานธุรการ นายนาวี ศรีวรมย์ นักจัดการงานทั่วไป นายพนมยงค์ บุญชิต พนักงานขับรถยนต์ นางสาวภาวิณี สุขเจริญ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นางสาวประสาน จุลวงษ์ นักวิชาการเผยแพร่ นางสาวอภิมน จิรพงศธร นักวิชาการเผยแพร่ นายนิธิภัทร เนียมสอาด นักจัดการงานทั่วไป หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป


อัตรากำลังสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ อัตรากำลัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีอัตรากำลังโดยจำแนกเป็น ข้าราชการ จำนวน 8 อัตรา (ว่าง 2 อัตรา) พนักงานราชการ จำนวน 2 อัตรา พนักงานกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 4 อัตรา จ้างเหมาบริการ จำนวน 2 อัตรา รวมทั้งหมด 16 อัตรา สายงานรวม 16 อัตรา ข้าราชการ (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) (8 อัตรา) 1. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (จุลชีววิทยา) 2. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์(ภูมิคุ้มกันวิทยา) 3. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์(เทคโนโลยีชีวภาพ) 4. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์(พิษวิทยา) 5. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์(เคมี) 6. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์(ชีววิทยา) 7. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์(วิทยาศาสตร์กายภาพ) 8. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์(มาตรฐานห้องปฏิบัติการ) พนักงานราชการ (2 อัตรา) 1. นักจัดการงานทั่วไป 2. นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข (4 อัตรา) 1. นักวิชาการเผยแพร่ 2. เจ้าพนักงานธุรการ 3. เจ้าพนักงานธุรการ 4. นักจัดการงานทั่วไป จ้างเหมาบริการ (2 อัตรา) 1. นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2. พนักงานขับรถยนต์ แผนภูมิแสดงข้อมูลจำ นวนบุคลำกร ส ำนักวิชำกำรวิทยำศำสตร์กำรแพทย์ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข พนักงานจ้างเหมาบริการ ข้าราชการ (50%) จ้างเหมาบริการ (13%) พนักงานกระทรวง สาธารณสุข (25%) พนักงานราชการ (12%)


แผนปฏิบัติราชการสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1. แผนงาน/โครงการ: การบริหารจัดการสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ 1.1 วัตถุประสงค์ - บริหารจัดการงานสนับสนุนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านวิชาการและด้านบริหารจัดการ และ การดำเนินงานต่างๆ ตามภารกิจของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ - จัดทำวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฉบับปี พ.ศ. 2565 - จัดทำรายงานประจำปีพ.ศ. 2564 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - จัดทำรายงานประจำปี พ.ศ. 2564 สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ 1.2 ตัวชี้วัดโครงการ -ร้อยละผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีพ.ศ. 2565 สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์- การแพทย์ร้อยละ 100 - จัดทำวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ฉบับปีพ.ศ. 2565 ได้รับการตีพิมพ์ตามกำหนด ระยะเวลา จำนวน 4 ฉบับ - จัดทำรายงานประจำปี พ.ศ. 2564 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 1 ฉบับ - จัดทำรายงานประจำปีพ.ศ. 2564 สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 1 ฉบับ 1.3 งบประมาณ (บาท) - จำนวน 1,620,926.88 บาท 1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ - ความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีพ.ศ. 2565 สำนักวิชาการ วิทยาศาสตร์การแพทย์ร้อยละ 100 - วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ฉบับปี พ.ศ. 2565 จำนวน 4 ฉบับ - รายงานประจำปีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 1 ฉบับ - รายงานประจำปีสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 1 ฉบับ 2. โครงการฝึกอบรม 2.1 โครงการอบรม “การออกแบบการศึกษา/วิจัย ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565” 2.1.1 วัตถุประสงค์ - เพื่อให้นักวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบ กระบวนการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้องและเหมาะสม - เพื่อให้นักวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและเหมาะสม


2.1.2 ตัวชี้วัดโครงการ - เจ้าหน้าที่ที่ดำเนินงานด้านการศึกษา วิจัย ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในด้านต่างๆ หรือ ศึกษาด้านการประเมินความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือพิษวิทยา เข้าร่วมจำนวน ๕๐ คน 2.1.3 งบประมาณ (บาท) - จำนวน 26,940.00 บาท 2.1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ - นักวิชาการและนักวิจัย มีความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบกระบวนการวิจัย และการ ประเมินความเสี่ยง ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม - นักวิชาการและนักวิจัย สามารถเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย อย่างถูกต้องครบถ้วน และเหมาะสม - นักวิชาการและนักวิจัย สร้างผลงานศึกษา วิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีคุณภาพ 2.2 โครงการอบรม “การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารแบบมืออาชีพ” 2.2.1 วัตถุประสงค์ - เพื่อพัฒนาบุคลากรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทราบถึง หลักการ และวิธีการเขียนบทความวิชาการที่มีคุณภาพ - เพิ่มทักษะและเทคนิคการเขียนผลงานวิชาการ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ และนานาชาติ 2.2.2 ตัวชี้วัดโครงการ - จัดฝึกอบรม 1 ครั้ง โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมอย่างน้อย 40 คน 2.2.3 งบประมาณ (บาท) - จำนวน 12,180.00 บาท 2.2.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ - บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจหลักการและเทคนิคในการเขียนผลงานการศึกษาวิจัยเพื่อตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการอย่างมีระบบ และถูกต้องตามหลักการสากล - กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีบทความที่มีคุณภาพ ได้รับการตีพิมพ์เพิ่มมากขึ้น 2.3 โครงการอบรม “คลินิกการเขียนบทความวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีงบประมาณ 2565” 2.3.1 วัตถุประสงค์ - พัฒนาทักษะความรู้ด้านภาษาอังกฤษในการเขียนบทคัดย่อให้แก่นักวิชาการของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2.3.2 ตัวชี้วัดโครงการ - โครงการ และแผนปฏิบัติการได้รับการอนุมัติ - สามารถจัดอบรม เรื่อง คลินิกการเขียนบทความวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีงบประมาณ 2565ได้ครบถ้วนตามแผน


- ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมไม่ต่ำกว่า 80 2.3.3 งบประมาณ (บาท) - จำนวน 9,645.00 บาท 2.3.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ - นักวิชาการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับความรู้ทางวิชาการด้านภาษาอังกฤษ และ สามารถนำไปใช้ประยุกต์ในการขัยนบทคัดย่อผลงานวิชาการได้อย่างถูกต้อง 2.4 โครงการอบรม บ่มเพาะและพัฒนาศักยภาพนวัตกร กริมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2.4.1 วัตถุประสงค์ - พัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ในการวิจัย ประดิษฐ์ คิดค้น และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ - เพื่อเสริมสร้างวิธีคิดในการพัฒนานวัตกรรมให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการ ของผู้รับบริการและนโยบายของประเทศ - เพื่อสนับสนุนให้นวัตกรของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ฝึกภาคปฏิบัติในการเขียน โครงการ นำเสนอผลงาน และบริหารจัดการสินทรัพย์ทางความรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน - เพื่อเปิดโอกาสให้วิทยากร และผู้เข้าร่วมอบรม ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็น และ ประสบการณ์ร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาเครือข่ายการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เป็น ประโยชน์ในระบบสาธารณสุขของประเทศต่อไป 2.4.2 ตัวชี้วัดโครงการ - บุคลากร ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความต้องการ เรียนรู้กระบวนการพัฒนานวัตกรรม และมีโครงการที่สามารถพัฒนานวัตกรรมสู่การใช้ ประโยชน์ได้ ผ่านรูปแบบออนไลน์และรูปแบบห้องประชุมจำนวน 50 คน - โครงการ และแผนปฏิบัติการได้รับการอนุมัติ - ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมไม่ต่ำกว่า 80 2.4.3 งบประมาณ (บาท) - จำนวน 65,730.00 บาท 2.4.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ - ผู้เข้าร่วมการอบรมได้รับความรู้ทางวิชาการ ระบบคุณภาพ มาตรฐานห้องปฏิบัติการ ข้อกำหนด และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการวิจัย ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนา นวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์ได้จริง - สามารถบ่มเพาะและพัฒนาศักยภาพนวัตกรให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่ สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง -สามารถสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สร้างสรรค์ผลงานร่วมกันได้อย่างยั่งยืน


3. โครงการสัมมนา 3.1 โครงการสัมมนาและฝึกอบรมผู้ทบทวนบทความ ปีงบประมาณ 2565 3.1.1 วัตถุประสงค์ - เพื่อให้การดำเนินการจัดทำวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3.1.2 ตัวชี้วัดโครงการ - ผู้รับการอบรม มีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3.1.3 งบประมาณ (บาท) - จำนวน 8,850.00 บาท 3.1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ - เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อันดีระหว่างบรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการคณะบรรณาธิการ ฝ่ายจัดการ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่ทำหน้าที่ทบทวนบทความ - เพื่อให้การดำเนินการจัดทำวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3.2 โครงการสัมมนาวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 3.2.1 วัตถุประสงค์ - เพื่อเป็นเวทีเสริมสร้างและแลกเปลี่ยนความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์- การแพทย์สำหรับนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักวิชาการที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งภายในและภายนอกกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3.2.2 ตัวชี้วัดโครงการ - จัดสัมมนาวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 8 ครั้ง 3.2.3 งบประมาณ (บาท) - จำนวน 20,860.00 บาท 3.2.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ - นักวิชาการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับความรู้ และติดตามความก้าวหน้า ใหม่ๆ ในการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4. โครงการพัฒนาบุคลากร 4.1 พัฒนาบุคลากรของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านวิชาการและทบทวนการบริหารจัดการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 4.1.1 วัตถุประสงค์ - เพื่อสัมมนาบุคลากรของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านวิชาการ ทบทวนการ ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี และทบทวนด้านบริหารจัดการ และเพื่อ เสริมสร้างความสามัคคีในหน่วยงาน


4.2.2 ตัวชี้วัดโครงการ - จัดการประชุมเพื่อวิเคราะห์ปรับปรุงภารกิจของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในต่างจังหวัดจำนวน 2 วัน 4.3.3 งบประมาณ (บาท) - จำนวน 52,600.00 บาท 4.4.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ - ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหา และวิเคราะห์ปรับปรุงภารกิจของสำนักวิชาการ วิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่จะช่วยสนับสนุนงานด้านวิชาการของกรมวิทยาศาสตร์- การแพทย์ให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักวิชาการ- วิทยาศาสตร์การแพทย์ 4.2 การทบทวนผลการดำเนินงานของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ การวิเคราะห์ทิศทางการวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม 4.2.1 วัตถุประสงค์ - เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค ของโครงการและภารกิจต่างๆ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2565 - เพื่อจัดทำแนวทางการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สำคัญ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ด้านสาธารณสุข และตาม ทิศทางของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4.2.2 ตัวชี้วัดโครงการ - ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าหน้าที่สำนักวิชาการ- วิทยาศาสตร์การแพทย์รวมทั้งสิ้น 14 คน 4.2.3 งบประมาณ (บาท) - จำนวน 100,160.00 บาท 4.2.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ - ได้ผลการทบทวนการดำเนินงานของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในปี 2565 แนวทางการพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มเติมกิจกรรม ในปี 2566 ต่อไป - ได้แนวทางการวิจัยและพัฒนาในโครงการสำคัญ ตามนโยบายประทศไทย 4.0 ด้าน สาธารณสุข และตามทิศทางการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สำคัญ ของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ภายใต้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ใช้จัดทำข้อเสนอโครงการตามทิศทางนั้นๆ - จะทำให้หน่วยงานลดการดำเนินงานในโครงการที่มีผลกระทบต่ำ หรือไม่เกิดการใช้ ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมให้น้อยลง โดยหน่วยงานจะสามารถบูรณาการโครงการ สำคัญตามแนวทางใหม่ร่วมกัน


สรุปการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ยอดรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 2,106,211.88 บาท ลำดับ ชื่อโครงการ/สัมมนา/อบรม จำนวนเงิน/บาท 1. งบบริหารจัดการ - งบบริหารจัดการสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ 1,620,926.88 2. โครงการอบรม - โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารแบบ มืออาชีพ 12,180.00 - โครงการฝึกอบรม เรื่อง “การออกแบบการศึกษา/วิจัย ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565” 26,940.00 - โครงการคลินิกการเขียนบทความวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีงบประมาณ 2565 9,645.00 - โครงการอบรมบ่มเพาะและพัฒนาศักยภาพนวัตกรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 65,730.00 3. โครงการสัมมนา - โครงการสัมมนาวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีงบประมาณ 2565 20,860.00 - โครงการสัมมนาและฝึกอบรมผู้ทบทวนบทความ ปีงบประมาณ 2565 8,850.00 4. โครงการพัฒนาบุคลากร - โครงการพัฒนาบุคลากรของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านวิชาการ และทบทวนการบริหารจัดการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 52,600.00 - โครงการสัมมนา การทบทวนผลการดำเนินงานของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ปีงบประมาณ 2565 และ การวิเคราะห์ทิศทางการวิจัยของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม 100,160.00 5. งบจัดซื้อครุภัณฑ์ - เงินรายจ่ายงบลงทุนและเงินบำรุง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับ จัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และครุภัณฑ์เพิ่มเติม 188,320.00


การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 30 การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 30 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภายใต้หัวข้อ “80 ปี : วิทยาศาสตร์การแพทย์และการสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (80 Years : Medical Sciences and Networking for Sustainable Development) ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2565 โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จังหวัด นนทบุรีสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดให้ คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้แทนพระองค์ เปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 30 โดยมี ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง สาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นางจุรีภรณ์ บุญวงศ์วิโรจน์ รองประธานกรรมการมูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมต้อนรับผู้แทนพระองค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ ผลงานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข อีกทั้งเป็นเวทีที่ให้โอกาสแก่นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์และสาธารณสุข เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้นำเสนอผลงานวิชาการ สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบในด้านวิชาการและดำเนินการจัดประชุมใน รูปแบบ Onsite และ Online โดยไม่เสียค่าลงทะเบียน ประมาณ 1,000 คน แบ่งเป็นสาขาต่างๆ แยกเป็น 5 ห้อง ได้แก่ ห้องที่ 1 สาขา Current Research and Innovation on Diseases ห้องที่ 2 สาขา Current Research and Innovation on Consumer Protection ห้องที่ 3 Risk Assessment and Health Threat Warning การประเมิน


ความเสี่ยงและเตือนภัยสุขภาพ ห้องที่ 4 สาขา Medical Sciences Network for Sustainable Development เครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสาขาที่ 5 Medical Sciences Symposium ในปีนี้มี การนำเสนอผลงานวิชาการในรูปการบรรยาย จำนวน 54 เรื่อง และโปสเตอร์ จำนวน 209 เรื่อง จำนวนรวมทั้งสิ้น 263 เรื่อง โดยมีการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการวิชาการตามคำสั่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์คณะอนุกรรมการ อำนวยการและคณะกรรมการวิชาการที่ 2/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิชาการ ในการจัดประชุมวิชาการ วิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 30 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในการดำเนินการจัดงาน พิจารณาผลงานที่ นำเสนอ ประเมินและตัดสินผลงาน ประสานงานต่างๆ และแก้ไขปัญหาในการจัดประชุม รูปแบบของการประชุม ประกอบไปด้วย 1) การอภิปรายเสวนา โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ Keynote Speech และ Invited Speaker ซึ่งเป็น ผู้มีความรู้ ความสามารถจากหลากหลายสาขาทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน 2) การประกวดรางวัล วิทยาศาสตร์การแพทย์ดีเด่น (DMSc Award) และการบรรยายโดยผู้รับรางวัลชนะเลิศ 3) การนำเสนอผลงานทาง วิชาการ แบบบรรยายและโปสเตอร์ โดยมีผู้สนใจทั้งบุคลากรภายในและภายนอกกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ส่งผล งานเข้าประกวดรวมทั้งสิ้น จำนวน 263 เรื่อง ทั้งนี้ การจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 30 ได้จัดการ ประชุมในรูปแบบ Onsite และ Online สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับฟังการบรรยายผ่านออนไลน์ระบบ Zoom Webinar และ Facebook Live ได้ 4 ช่องทาง คือ เพจกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพจประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพจกองแผนงานและวิชาการ และเพจสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเก็บคะแนน จำนวนหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์/เทคนิคการแพทย์ รวม 3 วัน 13.5 หน่วยกิต การเผยแพร่เว็บไซต์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 30 https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/1594 รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ ประจำปี 2565 https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/1596 รางวัลในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 30 https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/1598


งานมหกรรม DMSc R2R Forum 2022 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นองค์กรหลักด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข มีองค์ความรู้ที่สำคัญ สะสมอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีบทบาทหลักในการพัฒนานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ การเฝ้าระวังภัยสุขภาพ การกำหนดมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข พร้อมมีสายงานสนับสนุนระบบคุณภาพการ พัฒนาบุคลากร รวมถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนให้ องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการ จัดการ Routine to Research หรือ R2R เพื่อพัฒนาและสร้างนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จัดงานมหกรรม DMSc R2R Forum 2022: R2R สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (R2R to Sustainable Development) วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2565 โดยทีมงานจัดการความรู้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกองแผนงานและวิชาการ เป็นคณะกรรมการฯ ในการประกวด ผลงานในประเภทงานภารกิจหลัก และงานภารกิจสนับสนุน การจัดงานในครั้งนี้จัดในรูปแบบผสมผสานทั้ง Online และ Onsite ไม่เสียค่าลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมงาน ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขภายใน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งจากส่วนกลางและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานเครือข่ายห้องปฏิบัติการ จำนวนกว่า 500 คน ทั้งนี้มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมส่งผลงานประกวดประเภทการนำเสนอผลงานด้วยวาจา (Oral Presentation) จำนวนทั้งสิ้น 90 เรื่อง แบ่งเป็นด้านคุ้มครองผู้บริโภค 30 เรื่อง ด้านชันสูตรโรค 13 เรื่อง ด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์ 14 เรื่อง และด้านภารกิจสนับสนุน 33 เรื่อง เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานเรียนรู้ และต่อยอดการพัฒนาคุณภาพ โดยประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัย ตามมติเห็นชอบคณะกรรมการวิชาการได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลนำเสนผลงานดังนี้ 1. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค 1.1 รางวัลชนะเลิศ เรื่อง รูปแบบการดูแลผู้บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพบ้านอรุณทอแสง (มินิธัญญารักษ์) ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยฯ โรงพยาบาลกุดชุม ผู้นำเสนอ นายเผด็จ จันทร์แดง โรงพยาบาลกุดชุม 1.2 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 เรื่อง ความสำเร็จในการวางระบบการจัดการแก้ไขปัญหาการใช้ยาไม่ ปลอดภัยในอำเภอเมืองร้อยเอ็ดผู้นำเสนอ ภญ.กัลยาณี อาชาสันติสุข โรงพยาบาลร้อยเอ็ด กลุ่มงานเวชกรรมสังคม 1.3 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 เรื่อง การพัฒนาศักยภาพวิทยากรระดับอำเภอ (ครู ก.) สำหรับการอบรม พัฒนา อสม. วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ผู้นำเสนอ นายจิระเดช นาสุข ศูนย์วิทยาศาสตร์ การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา 1.4 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 เรื่อง การปรับปรุงวิธีสกัดดีเอ็นเอจากพืชสมุนไพรด้วยวิธีCTAB ผู้นำเสนอ นายศรีคุณ ขาวงาม สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2. ด้านชันสูตร 2.1 รางวัลชนะเลิศ เรื่อง การให้บริการเป็นเลิศในการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ในสตรีตั้งครรภ์ เครือข่ายโรงพยาบาลศรีนครินทร์ผู้นำเสนอ นางทิพาพร จรูญศิริมณีกุล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ งานห้องปฏิบัติการ เวชศาสตร์ชันสูตร 2.2 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่1 เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องสำหรับการหา ค่า LDL-C ในบริบทโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ผู้นำเสนอ นายสิรวิชญ์ สนโศก โรงพยาบาลโกสุมพิสัย


2.3 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ เรื่อง ศึกษาการเสื่อมสภาพของดีเอ็นเอจากหยดเลือดของศพบนกระดาษ กรองที่เก็บไว้นาน 5 ปีผู้นำเสนอ นายธนิตเชษฐ์ เขตคาม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 3. ด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์ 3.1 รางวัลชนะเลิศ เรื่อง การเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่าย และค่าความอิ่มตัวออกซิเจนใน ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ที่หย่าเครื่องช่วยหายใจด้วย SENA piece ในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลเสนา ผู้นำเสนอ พว.ศิริรัตน์ โหตรภวานนท์ โรงพยาบาลเสนา 3.2 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 เรื่อง การใช้โปรแกรม Multi-Objective Frequency Processing (MFP) ในการปรับแต่งภาพถ่ายรังสีกระดูกสันหลัง ผู้นำเสนอ นางพะนอจิตต์ สุนทะโร โรงพยาบาลกำแพงเพชร 3.3 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่2เรื่อง หูฟังตรวจโรค ไอโอที ตรวจผ่านแอปพลิเคชัน ผู้นำเสนอ นายจักรพงษ์ ขันธสิทธิ์ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา 4. ด้านภารกิจสนับสนุน 4.1 รางวัลชนะเลิศ เรื่อง ผลของการพัฒนาระบบศูนย์พักคอยในการดูแลผู้ป่วยโรค Covid-19 โดยชุมชน เป็นฐาน ผู้นำเสนอ นางสาวพนิดา สมนันท์ สำนักงานธารณสุขอำเภอหนองแค 4.2 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมตารางเวรออนไลน์ โรงพยาบาลสุโขทัย ผู้นำเสนอ นายเจตรินทร์ สายยิ้ม โรงพยาบาลสุโขทัย 4.3 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่2 เรื่อง การพัฒนาระบบการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการออนไลน์ระหว่าง โรงพยาบาลแม่ข่าย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายบริการ สุขภาพ อำเภอตระการพืชผล จังหวัด อุบลราชธานีผู้นำเสนอ นายนิติชัย ทุมนันท์ โรงพยาบาลตระการพืชผล 4.4 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 เรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการเอกสารคุณภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการเป็นหน่วยรับรองของประเทศไทย ผู้นำเสนอ นางสาวศศิธร นุ่มทอง สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


รางวัลที่ได้รับ รางวัลเชิดชูศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ทนพญ.สิริภากร แสงกิจพร จบการศึกษาสาขาชีวเคมี บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2537 เริ่มบุกเบิกงานวิจัยด้านธาลัสซีเมีย และด้านเซลล์ต้นกำเนิน ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 2540 การดำเนินงานทั้งสองด้านอาศัยการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิชาการ ด้านระบบคุณภาพ และด้านการ บริหารจัดการ เพื่อวิจัยและพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมที่สามารถบูรณาการสู่การใช้ประโยชน์ระดับประเทศ สำหรับ ผลงานด้านธาลัสซีเมีย ทนพญ.สิริภากร แสงกิจพร ได้วิจัยและพัฒนาชุดทดสอบ DMSc α-Thal 1 ซึ่งเป็นชุดทดสอบ แรกของโลกสำหรับวินิจฉัยความผิดปกติของยีน α-Thalassemia 1 โดยเทคนิค Real Time PCR สามารถถ่ายทอดสู่ การผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2560 ได้รับการขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยในปี 2561 กระบวนการผลิตได้รับการรับรอง ตามมาตรฐานสากล ISO 13485 และ CE-IVD ของสหภาพยุโรปในปี 2563 นับเป็นต้นแบบในการพัฒนาวิธีตรวจ วินิจฉัยความผิดปกติของยีนธาลัสซีเมียได้อีก 3 การทดสอบที่สามารถถ่ายทอดสู่การให้บริการอย่างต่อเนื่อง สำหรับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านเซลล์ต้นกำเนิด ความท้าทายของผลงานชิ้นนี้คือการพัฒนาต้นแบบ ห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องตามข้อกำหนดสากลแห่งแรกของประเทศไทย ที่สามารถใช้ประโยชน์ในการต่อยอด งานวิจัยจากระดับห้องทดลองสู่การผลิตอย่างมีคุภาพตามมาตรฐานสากล ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในการวิจัยและ พัฒนานวัตกรรมสู่การวิจัยทางคลินิกแล้วกว่า 5 ชนิด โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทีมผู้วิจัยคณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


และสภากาชาดไทย นับเป็นความพยายามของเครือข่ายนักวิจัยไทยในการเตรียม ความพร้อมสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโดยอาศัยนวัตกรรมภายในประเทศตลอด ระยะเวลาปี 25 ปีที่ผ่านมา ได้บูรณาการองค์ความรู้และประสบประการณ์จน สามารถวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางห้องปฏิบัติการที่สามารถถ่ายทอดสู่การใช้ ประโยชน์ ผลงานได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลระดับชาติอันทรงเกียรติ เช่น 1. รางวัล DMSc Award ประจำปี 2556 2. รางวัลนักการสาธารณสุขดีเด่น “รางวัลชัยนาทนเรนทร” ประจำปี 2558 3. รางวัล Bronze Award จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2561 4. รางวัลเชิดชูเกียรติในฐานะผู้ที่ทำคุณประโยชน์และอุทิศตนให้กับงานควบคุม และป้องกันธาลัสซีเมียของประเทศ จากมูลนิธิโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทยปี 2562 บุคลากรดีเด่น ที่เป็นแบบอย่างของการกระทำความดี ประจำปี 2565 1. ดร.อภิวัฏ ธวัชสิน ผู้ทรงคุณวุฒิและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วิทยาศาสตร์กายภาพ) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) 2. นางกาญจน์ชนก นาคชำนาญ เจ้าพนักงานธุรการ ฝ่ายบริหารทั่วไป 3. นายนาวี ศีวรมย์ นักจัดการงานทั่วไป ฝ่ายบริหารทั่วไป 4. นายอนุชิต บุญกิตติวศิน เจ้าพนักงานธุรการ ฝ่ายบริหารทั่วไป


รางวัลประเภทผลสำเร็จการจัดการความรู้ของหน่วยงาน (KIS) สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ประเภทผลสำเร็จการจัดการองค์ ความรู้ของหน่วยงาน (KIS) ประจำปี 2565 โดยมี ภญ.ดร.ประไพ วงศ์สินคงมั่น หัวหน้าสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์- การแพทย์รับมอบใบประกาศนียบัตรจากนายแพทย์ศุภกกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2565 ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปีการสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


รางวัลการประกวดออกแบบโลโก้ 80 ปี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เนื่องในวันที่ 10 มีนาคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะครบรอบ 80 ปีเพื่อส่งเสริมการมี ส่วนร่วมภายใน รวมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แสดงศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงาน ออกแบบ ทั้งนี้ ผลงานที่ได้รับคัดเลือกจะถูกนำไปเผยแพร่ในสื่อประชาสัมพันธ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตลอดปี 2565 สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศการออกแบบโลโก้ 80 ปี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยนายนาวี ศรีวรมย์นักจัดการงานทั่วไป สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ รับมอบใบประกาศนียบัตร จากดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการประทรวงสาธารณสุข วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


การขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ตามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการป้องกันการทุจริต เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมใน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และเพื่อให้มีความสอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนหน่วยงานให้เป็นองค์กร คุณธรรมต้นแบบตามแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์- การแพทย์ จึงได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆทั้งด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการป้องกันการทุจริต เพื่อให้เกิด การขับเคลื่อนสำนักฯ เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบอย่างเป็นรูปธรรม โดยเกิดจากการดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างพร้อมเพรียงของบุคลากรในสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์- การแพทย์ ประกอบด้วย 1. จัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมอย่างมีส่วนร่วมของบุคลากรที่สอดคล้องกับคุณธรรม เป้าหมาย รวมทั้งมีการปรับปรุงแผนดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางประเมินองค์กรคุณธรรม กระทรวงสาธารณสุข 2. จัดทำคำสั่งคณะทำงานมอบหมายบุคลากรรับผิดชอบการดำเนินงาน 3. ร่วมกันกำหนดคุณธรรมหลัก (อัตลักษณ์) สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา เปิดใจ ให้บริการ 4. ประกาศเจตนารมณ์ไม่ทนต่อการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมทั้งมีประกาศเจตนารมณ์ ต่อต้านการทุจริต "สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ใสสะอาด ร่วมต้านทุจริต" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 5. ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน 6. กำหนดคุณธรรมเป้าหมายและมีการกำหนด "ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ" ที่สอดคล้องกับ อัตลักษณ์สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา เปิดใจ ให้บริการ 7. จัดกิจกรรมใน 3 มิติ ได้แก่ การยึดมั่นในหลักธรรมและทำนุบำรุงศาสนา การปฏิบัติตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง และการปฏิบัติตามวิถีวัฒนธรรม ประกอบด้วย 7.1 ร่วมกิจกรรมการสวดมนต์ไหว้พระอย่างสม่ำเสมอ การทำบุญตักบาตร การทำบุญอุทิศส่วน กุศลให้กับผู้ล่วงลับ 7.2 จัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1 7.3 ร่วมกิจกรรมสืบสานวิถีวัฒนธรรมประเพณีได้แก่ เทศกาลสำคัญต่างๆ การลอยกระทง 8. จัดกิจกรรมจิตอาสา "รู้รักสามัคคี รักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพชีวิต" เนื่องในวันคล้ายวันพระบรม ราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร์ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเจ้าหน้าที่ของ สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ดำเนินกิจกรรม 5 ส. ทำความสะอาดและจัดเก็บ เช็ดโต๊ะทำงาน รวมถึง บริเวณพื้นที่ภายในสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ 9. เชิดชูบุคลากรดีเด่น สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน 10. ส่งเสริมคุณธรรมด้านจิตอาสา เป็นการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ประกอบด้วย


10.1 บุคลากรร่วมกันบริจาคโลหิตเพื่อช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย 10.2 ส่งมอบโลชั่นทากันยุง ให้กำลังทหารพราน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 11. องค์กรได้รับองค์ความรู้จากการดำเนินงานองค์กรคุณธรรม สามารถเผยแพร่ และเป็นแหล่งเรียนรู้ ถ่ายทอดขยายไปสู่องค์กรอื่นๆ ได้ ประกอบด้วย 11.1 จัดอบรมเพื่อพัฒนาจิตใจให้เกิดจิตตปัญญาในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิตในรูปแบบ การบรรยายธรรมโดยเจ้าอาวาสวัดพุทธปัญญา จังหวัดนนทบุรี 11.2 เผยแพร่องค์ความรู้ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา เปิดใจ ให้บริการ โดยบุคลากรของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผ่านระบบ Knowledge and Information Systems (KIS) 11.3 เผยแพร่ความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้าน ของพ่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งบุคลากรของสำนักฯ ได้เดินทางไปศึกษาเรียนรู้และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นมา เผยแพร่ให้กับบุคลากรกรมฯ ผ่านทาง website ของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ 12. ดำเนินการติดตามเพื่อประเมินผลสำเร็จ มีการทบทวน ปรับปรุงแผนส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรให้มี คุณภาพและบรรลุคุณธรรมเป้าหมายที่กำหนด ประกอบด้วย 12.1 การรายงานผลสำเร็จของแผนตามระยะเวลาที่กำหนด 12.2 การถอดบทเรียนเพื่อการปรับปรุงแผนส่งเสริมคุณธรรมขององค์กร จำนวน 3 เรื่อง 13. มีผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย 13.1 ผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้เกินกว่า 80% 13.2 บุคลากรในองค์กรมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นตามคุณธรรมเป้าหมายที่ กำหนดตามแบบการประเมินพฤติกรรมที่จัดทำขึ้น 14. มีการส่งรายงานประเมินตนเองตามแนวทางประเมินองค์กรคุณธรรมกระทรวงสาธารณสุขตาม ระยะเวลาที่กำหนด มีการดำเนินกิจกรรมตามแผนได้ร้อยละ 100 และส่งรายงานตามแบบติดตามประเมินผลรอบ 12 เดือน เว็บไซต์องค์กรคุณธรรม จริยธรรม สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ https://citly.me/hgcs3


(ข้อ 7.1) กิจกรรมการขับเคลื่อนจริยธรรมส่งเสริมคุณธรรม “ทำบุญอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศล แผ่เมตตา แก่ผู้ล่วงลับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์” สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดกิจกรรมทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ให้แก่บุคลากร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการขับเคลื่อนจริยธรรม ส่งเสริมคุณธรรมสำนัก วิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมี ดร.อภิวัฏ ธวัชสิน นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ ทนพญ. สิริภากร แสงกิจพร นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ ดร.อุรุญากร จันแสง นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทรงคุณวุฒิเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทั่วไปสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ และบุคลากร วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ณ พระอุโบสถวัดพุทธปัญญา จังหวัดนนทบุรี


(ข้อ 11.1) กิจกรรมการขับเคลื่อนจริยธรรมส่งเสริมคุณธรรม บรรยายธรรมพิเศษ หัวข้อเรื่อง “การพัฒนาจิตใจให้เกิดจิตตปัญญา ในการปฏิบัติงานการดำรงชีวิต” สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดกิจกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม การบรรยายธรรม เรื่อง การพัฒนาจิตใจให้เกิดจิตตปัญญาในการปฏิบัติงานและดำรงชีวิต บรรยายธรรมโดย พระมหาทวี โพธิเมธี เจ้าอาวาสวัดพุทธปัญญา จังหวัดนนทบุรี โดยมีนางสาวประไพ วงษ์สินคงมั่น หัวหน้า สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์กาแพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทั่วไปสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์- การแพทย์ และบุคลากรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และบุคคลผู้สนใจภายนอก ผ่านระบบออนไลน์ด้วย Facebook Live สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ณ พระอุโบสถวัดพุทธปัญญา จังหวัดนนทบุรี LIVE การบรรยายธรรมพิเศษ https://youtu.be/YIcbDczlU-o


การจัดทำวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ปีที่ 64 และปีที่ 65) วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รับตีพิมพ์เผยแพร่บทความ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ ใหม่ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เกี่ยวกับชีววัตถุ เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง ยาที่เป็นเภสัช เคมีภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม สมุนไพร ยาเสพติด วัตถุอันตราย รังสี โรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ พาหะนำโรค การประเมิน ความเสี่ยง การวิจัยทางคลินิก ระบบบริหารจัดการคุณภาพ และอื่น ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้ดำเนินการ จัดทำวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วยปีที่ 64 ฉบับที่ 4 และปีที่ 65 ฉบับที่ 1-3 ผลงานเผยแพร่ทั้งสิ้น 25 เรื่อง ดังนี้ วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 64 ฉบับที่ 4 ลำดับ ปีที่/เล่ม/หน้า ชื่อบทความ ผู้นิพนธ์และคณะ 1 ว กรมวิทย พ 2564; 63(4): 743-752 การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันในผู้ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ 2 โดส และปัจจัยที่มีผลต่อ ระดับภูมิคุ้มกัน วชิราภรณ์ อรุโณทอง, นิภาวรรณ เจตตวัน, มลฑล มายูร, ธัญธิวา บุญพิศิษฐ์สกุล และ สุรินทร์ จันทร์ต๊ะ 2 ว กรมวิทย พ 2564; 63(4): 753-765 การพัฒนาและการตรวจสอบความถูกต้องของวิธี ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อไวรัสปนเปื้อนในเซลล์ Vero ที่ใช้ในการผลิตวัคซีนโดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยง ตรวจสอบ สุกัลยาณี ไชยมี, สุภาภรณ์ ชุมพล, วิริยามาตย์ เจริญคุณธรรม และ สุภาพร ภูมิอมร 3 ว กรมวิทย พ 2564; 63(4): 766-781 ความชุกของการติดเชื้อ Human papillomavirus สายพันธุ์เสี่ยงสูงของสตรีไทยในพื้นที่ จังหวัด พิจิตร อุทัยธานี ชัยนาท และกำแพงเพชร ศิริญญา เพชรพิชัย, ณัฐพร คล้ายคลึง, อมรรัตน์ โพธิ์ตา , อนุกูล บุญคง, และ ปาริชาติ กัญญาบุญ 4 ว กรมวิทย พ 2564; 63(4): 782-792 การตรวจค้นหาวัณโรคและวัณโรคดื้อยาใน โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2561 ธานี วงษ์ชัย, จณิศรา ฤดีอเนกสิน, วิพัฒน์ กล้ายุทธ, โสภา ศรีสังข์งาม, สุปราณี บุญชู, ศราวุธ ตุ่นคำแดง,


ลำดับ ปีที่/เล่ม/หน้า ชื่อบทความ ผู้นิพนธ์และคณะ ณัฐกานต์ ชื่นชม, และ เบญจวรรณ เพชรสุขศิริ 5 ว กรมวิทย พ 2564; 63(4): 793-808 การประเมินความเสี่ยงเชิงกึ่งปริมาณของเชื้อ Staphylococcus aureus แ ล ะ Salmonella spp. ที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ใน ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย นงคราญ เรืองประพันธ์, มุทิตา คณฑา, กิตติมา ไมตรีประดับศรี และ อรอนงค์ วงษ์เอียด 6 ว กรมวิทย พ 2564; 63(4): 809-821 การตรวจพยาธิในปลาทะเลและผลิตภัณฑ์จาก ปลาทะเล ช่วงปี พ.ศ. 2561-2563 ขันทอง เพ็ชรนอก, กนกวรรณ นุชนิยม และ ก่อเกียรติ ศาสตรินทร์ 7 ว กรมวิทย พ 2564; 63(4): 822-835 การลดความแออัดในโรงพยาบาลและระยะเวลา รอคอยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของ โรงพยาบาลปากช่องนานา ธวัช ทองน้อย และ อรวรรยา กระสังข์ 8 ว กรมวิทย พ 2564; 63(4): 836-845 การประเมินคุณภาพการบริหารจัดการวัคซีนของ คลังวัคซีนโรงพยาบาล ในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ปี พ.ศ. 2563 สมคิด เพชรชาตรี และ วัชรศักดิ์ สารพร 9 ว กรมวิทย พ 2564; 63(4): 846-860 การศึกษาเปรียบเทียบข้อกำหนดด้านความ ปลอดภัยห้องปฏิบัติการทางการแพทย์: ISO 15190:2003 และ ISO 15190:2020 ภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์, นัฐกาญจน์ ละเอียดดี, สุรศักดิ์ หมื่นพล และ ณัฐนันท์ นามมนตรี วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 65 ฉบับที่ 1 10 ว กรมวิทย พ 2565; 64(1): 1-13 การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดสำหรับกลุ่มอาการ ดาวน์และโครโมโซมผิดปกติที่พบบ่อย โดยวิธี Molecular Karyotyping สิริภากร แสงกิจพร, ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, อารีรัตน์ ขอไชย, ชลลดา ยอดทัพ, สาวิตรี ด้วงเรือง, ณัชชา ปาณะจำนง, พัชราภรณ์ นพปรางค์, อัจฉราพร ดำบัว, พัชราภรณ์ บุญชู และ สมชาย แสงกิจพร


35 0 110 ลำดับ ปีที่/เล่ม/หน้า ชื่อบทความ ผู้นิพนธ์และคณะ 11 ว กรมวิทย พ 2565; 64(1): 14-24 การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อ HIV-1 จากตัวอย่าง หยดเลือดแห้งบนกระดาษซับโดยตรงด้วยวิธี real-time PCR วิโรจน์ พวงทับทิม, รัชณีกร ใจซื่่อ, นวลจันทร์ วิจักษณ์จินดา และ อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ 12 ว กรมวิทย พ 2565; 64(1): 25.47 การพัฒนาระบบทดสอบสำหรับคัดกรองสาร ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไคเนส เพื่อค้นหาสารต้านมะเร็ง ภาณุพันธ์ ปัญญาใจ, ปฐมาพร ปรึกษากร, พันธ์ธิดา ตรียวง, ฉัตรภรณ์ ใจมา และ ปนัดดา เทพอัคศร 13 ว กรมวิทย พ 2565; 64(1): 48-66 การพัฒนาและทดสอบความใช้ได้ของวิธี วิเคราะห์สารฟิโพรนิลและเมตาโบไลต์ตกค้าง ในไข่และผลิตภัณฑ์ วีรวุฒิ วิทยานันท์ และ ธรณิศวร์ ไชยมงคล 14 ว กรมวิทย พ 2565; 64(1): 67-80 เว็บไซต์และแอปพลิเคชันการทดสอบความ ชำนาญห้องปฏิบัติการของสำนักยาและวัตถุ เสพติด ศิริพร เหล่ามานะเจริญ, มาศวลัย ลิขิตธนเศรษฐ์ และ อังคณา กริชพิทักษ์เงิน วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 65 ฉบับที่ 2 15 ว กรมวิทย พ 2565; 64(2): 81-92 ระบาดวิทยาของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สาย พันธุ์เบต้า (B.1.351) และปัจจัยเสี่ยงต่อการ เกิดอาการรุนแรงในภาคใต้ตอนล่างของ ประเทศไทย ช่วงเมษายน-กันยายน 2564 สวรรยา จันทูตานนท์ และ ชูพงศ์ แสงสว่าง 16 ว กรมวิทย พ 2565; 64(2): 93-105 การคัดกรองฤทธิ์ต้าน SARS-CoV-2 และ โมเลกุลเป้าหมายการออกฤทธิ์ของพืชสมุนไพร ไทย ศรายุธ ระดาพงษ์, ตีญานี สาหัด, ณฐภัทร หาญกิจ, พราว ศุภจริยาวัตร, พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์ โอกาดะ, วันดี มีฉลาด, พรชัย สินเจริญโภไคย, สมจิตร์ เนียมสกุล, เสกรชตกร บัวเบา,


36 ลำดับ ปีที่/เล่ม/หน้า ชื่อบทความ ผู้นิพนธ์และคณะ ศักดิ์วิชัย อ่อนทอง, Kenneth J. Ritchie และ ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์ 17 ว กรมวิทย พ 2565; 64(2): 106-120 เมพิควอต และพาราควอต ในผักและผลไม้โดย เทคนิค LC-MS/MS เสาวณีย์ วาจาสิทธิ์, สุวิมล หมวดหม๊ะ, อัจฉรี อินแก้ว, กัญญารัตน์ เชื้อกูลชาติ, วิทวัส วังแก้วหิรัญ, สกุลรัตน์ สมสันติสุข และ ทองสุข ปายะนันทน์ 18 ว กรมวิทย พ 2565; 64(2): 121-132 การประเมินคุณภาพสารมาตรฐาน Factor VIII แบบผงแห้งเพื่อทดสอบค่าความแรง โสมมริสา พวงพรศรี, อัศจรรย์ อาเมน, ปัทมา บุนนาค, ฐิตาภรณ์ ภูติภิณโยวัฒน์, ชาญวิทย์ ชูแก้ว และ ไพศาล พังจุนันท์ 19 ว กรมวิทย พ 2565; 64(2): 133-145 การพัฒนากระบวนการเตรียม DMSc Stem Pro: Autologous Bone Marrow Mesenchymal Stem Cells สำหรับการศึกษาวิจัยทางคลินิก อัจฉราพร ดำบัว, สิริภากร แสงกิจพร, ละอองศรี อัชชะนียะสกุล, อารีรัตน์ ขอไชย, อดิศักดิ์ ตรีนวรัตน์, สาวิตรี ด้วงเรือง, ศุภลักษณ์ บัวศรีแก้ว, อภิชาติ โชติชูศรี, พัชราภรณ์ บุญชู, ชลลดา ยอดทัพ, พัชราภรณ์ นพปรางค์, ปัญญกมล จันทรสาขา และ สมชาย แสงกิจพร


ผู้จัดทำวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งอยู่เลขที่ 88/7 ชั้น 7 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซอยบำราศนราดูร ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 0 2951 0000 และ 0 2589 9850-8 ต่อ 99662 (คุณประสาน จุลวงษ์) ผู้ประสานงานเกี่ยวกับวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ต่อ 99365 (คุณอภิมน จิรพงศธร) ผู้ดูแลเว็บไซต์วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ลำดับ ปีที่/เล่ม/หน้า ชื่อบทความ ผู้นิพนธ์และคณะ วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 65 ฉบับที่ 3 20 ว กรมวิทย พ 2565; 64(3): 147-159 ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อปรสิตใน ลำไส้ของประชากร ในพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี อุทัยทิพย์ บุญเกษม, สิริพร ศรีรุ่งเรือง, ปัทมา อายุโย และ วิวรพรรณ สรรประเสริฐ 21 ว กรมวิทย พ 2565; 64(3): 160-171 การตรวจสอบความถูกต้องของวิธี Polymerase Chain Reaction สำหรับ ตรวจหาสารพันธุกรรมเชื้อ Legionella pneumophila เบญจพร หนูทอง, อาภากร นบนอบ และ ศศิธร หนูทอง 22 ว กรมวิทย พ 2565; 64(3): 172-180 การตรวจหาผู้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในกลุ่ม แรงงานต่างด้าวที่สัมผัสผู้ป่วยในโรงงานทอผ้า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ด้วยวิธี real-time RT-PCR พายุ ภักดีนวน, ธานี วงษ์ชัย, ณัฐกานต์ ชื่นชม, วิพัฒน์ กล้ายุทธ, โสภา ศรีสังข์งาม, สุปราณี บุญชู, เบญจวรรณ เพชรสุขศิริ และ จณิศรา ฤดีอเนกสิน 23 ว กรมวิทย พ 2565; 64(3): 181-196 คุณภาพน้ำผึ้งที่ผลิตในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2564 พัชริดา พิชัย และ ไพรินทร์ บุตรกระจ่าง 24 ว กรมวิทย พ 2565; 64(3): 197-211 การตรวจสอบการปลอมและการปนเปื้อนทาง กายภาพของอาหาร ระหว่างปี พ.ศ. 2552- 2563 ขันทอง เพ็ชรนอก 25 ว กรมวิทย พ 2565; 64(3): 212-222 การตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมในสินค้าเกษตร ที่ส่งออก ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2560 ขันทอง เพ็ชรนอก ขอบคุณข้อมูลจากคณะบรรณาธิการวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


ข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ของนักวิจัย และบุคคลทั่วไปที่สนใจ วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บนระบบวารสารไทยออนไลน์ Thai-journal (ThaiJO) ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน ----------------------------------- วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ว กรมวิทย พ) Print ISSN: ISSN 0125-684X Online ISSN: E-ISSN 2697-4525 สามารถดูวารสารที่ได้รับการตีพิมพ์แบบออนไลน์ ตั้งแต่ปีที่ 55 ฉบับที่ 3 (2013) ถึงฉบับปัจจุบัน เว็บไซต์เผยแพร่วารสาร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ตีพิมพ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เข้าดูรายละเอียดประเทศที่เข้าชมวารสาร https://s04.flagcounter.com/countries/MXJJ/1?


วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับการรับรองเป็นวารสารกลุ่มที่ 1 โดยศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index (TCI) Center) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการจัดทำวารสาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อรับตีพิมพ์เผยแพร่บทความ วิชาการ ในการสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข โดยเริ่มตีพิมพ์ฉบับ แรก (ปีที่ 1 ฉบับที่ 1) เมื่อเดือนมกราคม 2501 และได้ตีพิมพ์ เผยแพร่บทความวิจัยประเภทต่างๆ เช่น นิพนธ์ต้นฉบับ รายงาน จากห้องปฏิบัติการ บทความปริทัศน์ บทความทั่วไป ฯลฯ ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยฉบับล่าสุด คือ ปีที่ 64 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2565) นับเป็นวารสารที่มีประวัติการ เผยแพร่ผลงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข ที่ ยาวนานมากฉบับหนึ่งของประเทศไทย ในปี 2565 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (ศูนย์ TCI) ได้ทำการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 ครั้งที่ 3 (2565–2567) เพื่อปรับกลุ่มคุณภาพวารสารโดยมีเกณฑ์คุณภาพที่ใช้ใน การประเมินซึ่งเป็นเกณฑ์คุณภาพหลัก จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ วารสารต้อง ออกตรงตามเวลาที่กำหนด วารสารต้องมีเลขมาตรฐานสากลประจำ วารสาร (ISSN) ที่จดทะเบียนถูกต้องตามหลักสากล วารสารต้องมี เว็บไซต์ที่มีข้อมูลครบถ้วน บทความมีรูปแบบการตีพิมพ์ที่ได้มาตรฐาน (วารสารกลุ่ม 1 ต้อง ผ่านเกณฑ์หลักนี้ทุกข้อ) และเกณฑ์คุณภาพรอง จำนวน 8 ข้อ ได้แก่ วารสารต้องมี Citation ที่ตรวจสอบได้จาก ฐานข้อมูล TCI วารสารต้องมีกองบรรณาธิการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมาจาก หลากหลายหน่วยงาน วารสารต้องตีพิมพ์บทความที่มีผู้นิพนธ์จาก หลากหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก วารสารมีรูปแบบการ อ้างอิงที่ถูกต้องตามมาตรฐาน วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ วารสารต้องมีระบบการจัดการออนไลน์ คุณภาพของบทความในวารสาร และเกณฑ์คุณภาพอื่นๆ ทั้งนี้วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องผ่านเกณฑ์ ดังกล่าวทั้งหมด รวมทั้งต้องส่งบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้วย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2562-2564) จำนวน 10 เรื่อง ให้ คณะกรรมการพิจารณาคุณภาพของบทความเหล่านี้ ทั้งนี้วารสารซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 2 ที่ขอรับการประเมินทั้งหมด 194 วารสาร มีเพียง 71 วารสารที่ผ่านการประเมินคุณภาพได้เลื่อนเป็นวารสารกลุ่มที่ 1 และวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (เล่มแรก) วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 64 ฉบับที่ 3 (2022) กรกฎาคม - กันยายน 2565


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.