รายงานประจำปี 2565 ปรับหัวหน้าปกล่าสุด Flipbook PDF

รายงานประจำปี 2565 ปรับหัวหน้าปกล่าสุด

27 downloads 104 Views 43MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

[ปี] [ชื่อเรื่องเอกสาร] [ชื่อรองของเอกสาร] PANUPONG


ก คำนำ รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖5 ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย ซึ่งมีภารกิจที่สำคัญในการให้บริการสวัสดิการทางสังคม และการส่งเสริมและสนับสนุน ให้ชุมชน ท้องถิ่น จัดสวัสดิการสังคม ทั้งนี้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดำรงชีวิตและพึ่งพาตนเองได้อย่างมีศักยภาพ และสามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคมภายใต้นโยบายที่เกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ โดยดำเนินการตามนโยบายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ นโยบายเร่งด่วน นโยบาย บริหารการพัฒนา นโยบายการขับเคลื่อนระดับพื้นที่/จังหวัด รวมถึงการบูรณาการ และพัฒนาศักยภาพภาคี เครือข่ายให้มีคุณภาพ และพัฒนาการบริหารจัดการสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานประจำปีฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานผู้ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ขอขอบคุณส่วนราชการในสังกัดที่สนับสนุน ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมา ณ โอกาสนี้ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตุลาคม ๒๕๖5


ข สารบัญ คำนำ ก สารบัญ ข ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป - ข้อมูลทั่วไปจังหวัดเลย 1 - 21 - ข้อมูลทั่วไปด้านสังคม 22 - 31 - ยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2560 - 2564 32 - 33 - ยุทธศาสตร์จังหวัดเลย 34 - 39 - ยุทธศาสตร์สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย 40 - ทำเนียบผู้บริหารสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย 41 - โครงสร้างองค์กร - ภารกิจและหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย 42 43 ส่วนที่ ๒ สรุปผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖5 - ผลการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 44 สรุปผลการดำเนินงานตามพันธกิจ/เชิงกลุ่มเป้าหมาย - กลุ่มนโยบายและวิชาการ 45 - 51 - กลุ่มการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 52 - 68 - ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดเลย 69 - 83 ส่วนที่ ๓ ประมวลภาพกิจกรรม - การบูรณาการร่วมกับ ทีม ONE HOME พม.จังหวัดเลย 84 - 92 - ด้านการสงเคราะห์ คุ้มครองผู้ประสบปัญหาทางสังคม และสนับสนุนกองทุน การจัดสวัสดิการสังคม 93 - 114 - ด้านเด็กและเยาวชน 115 - 123 - ด้านสตรีและครอบครัว 124 - 131 - ด้านผู้สูงอายุ 132 - 137 - ด้านคนพิการ - ด้านวิชาการ 138 - 145 146 - 150 - จิตอาสาและอาสาสมัคร 151 - 158 ที่ปรึกษาและคณะผู้จัดทำ 159


๑ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่จังหวัดเลย 2.1 ที่ตั้งและอาณาเขต ตารางที่ 1 แสดงที่ตั้งและอาณาเขตพื้นที่จังหวัดเลย จังหวัด พื้นที่ จำนวนประชากร (คน) ความหนาแน่น ของประชากร (ตร.กม./คน) ตารางกิโลเมตร ไร่ เลย 11,424 7,140,382 638,736 56 ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 2.2 ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดเลย ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ท่ามกลางภูเขาน้อยใหญ่ที่ สลับซับซ้อนเป็นกําแพงล้อมเกือบทุกด้าน ทให้จังหวัดเลยมีลักษณะเป็น "เมืองแห่งทะเลภูเขา" โดยพื้นที่ส่วน ใหญ่เปนดินเนินและภูเขาซึ่งเหมาะกับการปลูกพืชไร นอกกจากนี้ทางตอนเหนือของจังหวัดมีแม่น้ำโขงและ แม่น้ำเหืองไหลเป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างจังหวัดเลยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2.2.1. สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดเลย มีภูเขาล้อมรอบตัวเมือง ลักษณะเป็นแอ่งกระทะสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ยประมาณ 250 เมตร ณ สถานีอุตุนิยมวิทยา ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศออกเป็น 3 เขต ดังนี้คือ 1. เขตภูเขาสูง ทางด้านทิศตะวันตกทั้งหมด เริ่มตั้งแต่อําเภอภูกระดึง ขึ้นไปอําเภอภูหลวง อําเภอภูเรือ อําเภอท่าลี่ และเขตอําเภอด่านซ้าย อําเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ทั้งหมดมีความสูงตั้งแต่เฉลี่ย 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล 2. เขตที่ราบเชิงเขา ได้แก่ บริเวณตอนใต้และตะวันออกของจังหวัด ได้แก่ อําเภอนาด้วง อําเภอปากชม และพื้นที่บางส่วนในเขตอําเภอภูกระดึงและอําเภอภูหลวง เป็นเขตที่ไม่ค่อยมีภูเขาสูงนัก มีที่ราบเชิงเขาพอที่จะทําการเพาะปลูกได้ มีประชาชนหนาแน่นปานกลาง 3. เขตที่ราบลุ่ม มีพื้นที่น้อยมากในตอนกลางของจังหวัดคือ ลุ่มน้ำเลย ลุ่มน้ำโขง ได้แก่ บริเวณอําเภอวังสะพุง อําเภอเมืองเลย อําเภอเชียงคาน เป็นเขตที่ทำการเกษตรได้ดี มีประชากรหนาแน่น มากกว่าเขตอื่นภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นเทือกเขาในแนวทิศเหนือใต้ โดยมีที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา ขนาด ไม่ใหญ่มากนักสลับอยู่แนวเทือกเขาเหล่านั้น หินที่พบในบริเวณนี้ ส่วนใหญ่มีอายุมาก เช่น หินแปร ยุคไซลูเรียน - ดีโวเนียน อายุ 438 - 378 ล้านปี หินปูน ยุคดีโอเนียนตอนกลาง อายุ 385 ล้านปี หินตะกอนและหินแปรชั้นต่ำ อายุ 360 - 280 ล้านปี หิน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส หิน ยุคคาร์บอนิเฟอรัสเมียน อายุ 286 - 248 ล้านปี หินตะกอน ยุคไตรแอสซิก อายุ 220 ล้านปี


๒ และพบหินยุคโคราช บริเวณเขายอดราบอยู่บนหินเหล่านี้ เช่น ภูผาจิต ภูกระดึง ภูหลวง ภูหอ ภูขัด ภูเมี่ยง (อำเภอนาแห้ว) เนื่องจากชั้นหินเกือบทั้งหมดวางอยู่แนวเหนือ - ใต้ จึงควบคุมให้เกิดที่ราบลุ่ม ระหว่าง หุบเขาและทิศทางแนวเหนือใต้ด้วย แม่น้ำเลยจึงไหลจากใต้ขึ้นเหนือ 2.2.2. สภาพธรณีวิทยา หมวดหินที่พบในจังหวัดเลย มีรายละเอียดสังเขป ดังนี้ 1. หินห้วยหินลาด (Huai Hinlat Formation) พบบริเวณหินลาด กม.ที่ 109.5 บนถนนสาย ขอนแก่น-เลย ทิศใต้ผานกเค้า อำเภอภูกระดึง ประกอบด้วยหินกรวดมนเนื้อปูน (Limestone Conglomerate) เป็นหินฐานและมีหินดินดาน หินทรายแป้งและหินสีแดง สลับกับหินดินดานและหินปูนสีเทา มีอายุประมาณ ยุคไทร แอสซิกตอนกลาง (Upper Triassic Period) 2. หมวดหินภูกระดึง (Phu Kradung Foration) หินแม่แบบที่เชิงภูเขาของภูกระดึง ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง ประกอบด้วย หินจำพวกหินทรายเนื้อละเอียด และหินดินดาน ง่ายต่อการผุพัง จึงทำให้สภาพ ภูมิประเทศ ที่ประกอบด้วยหินหน่วยนี้ เป็นที่ราบ และมักจะเป็นฐานของสันเขา ที่เกิดจาก หน่วยหินพระวิหาร มีความหนาประมาณ 800-1,100 เมตร มีอายุประมาณยุคจูลาสิคตอนบน (Over Jurassic Period) 2.3 ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดเลย ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ มรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนเข้าปกคลุมประเทศไทย ตั้งแต่ประมาณ กลางเดือนตุลาคม ถึง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ทำให้จังหวัดเลย มี อากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพามวลอากาศชื้นจากทะเล และมหาสมุทร เข้าปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝน (ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ถึง ประมาณกลางเดือนตุลาคม) ทำให้มี ฝนตกชุกทั่วไป 2.3.1 ฤดูกาล ฤดูกาลของจังหวัดเลย พิจารณาตามลักษณะของลมฟ้าอากาศของประเทศไทยสามารถแบ่ง ออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้ ฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วง ที่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยและบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนซึ่งเป็นมวล อากาศเย็นจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยในช่วงดังกล่าว ทำให้จังหวัดเลยมีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป เดือนที่มีอากาศหนาวมากที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นที่มีอากาศ ร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป โดยเฉพาะเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวที่สุดของปี ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มรสุม ตะวันตกเฉียงใต้พัดเอาความชื้นจากทะเลและมหาสมุทรมาปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับในช่วงดังกล่าว ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้อากาศเริ่มชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกตั้งแต่ประมาณกลางเดือน พฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกหนาแน่นมากที่สุดในรอบปี นอกจาก ปัจจัยดังกล่าวที่ให้มีฝนตกชุกแล้วยังขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้หรือเข้าสู่ ประเทศไทยในช่วงดังกล่าวด้วย


๓ 2.3.2 อุณหภูมิ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเลยส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและมีเทือกเขาสลับซับซ้อน อากาศค่อนข้างหนาวเย็นมากในช่วงฤดูหนาว และในช่วงฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าว โดยอุณหภูมิเฉลี่ย ตลอดทั้งปี 21.84 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.77 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.16 องศาเซลเซียส เดือนมีนาคมเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุดในรอบปี ซึ่งวัดอุณหภูมิสูงที่สุดได้ 35.82 องศาเซลเซียส ณ สถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตร อำเภอเมือง ส่วนในช่วงฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวที่สุดใน เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2.3.3 ฝน โดยทั่วไปปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปีของจังหวัดเลยอยู่ระหว่าง 900 – 1,300 มิลลิเมตร เนื่องจากภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดเลยเป็นที่ราบสูงและมีภูเขาสลับซับซ้อน โดยมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็นอยู่ทางทิศตะวันตก และเทือกเขาสันกำแพงและเทือกเขาพนมดงรักอยู่ทางทิศใต้ ซึ่ง เป็นแนวกั้นไม่ให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเขาปกคลุมอย่างเต็มที่ ทำให้พื้นที่บริเวณด้านทิศใต้ต่อเนื่องถึงด้าน ตะวันตกของจังหวัดมีฝนน้อยกว่าบริเวณอื่น ๆ โดยเฉพาะบริเวณอำเภอภูหลวงมีฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปี 900 มิลลิเมตร สำหรับปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปีของจังหวัดเลย 1,240.9 มิลลิเมตร และมีจำนวนวันที่ฝนตก 126 วัน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกมากที่สุดใน รอบปี มีปริมาณฝนเฉลี่ย 235.0 มิลลิเมตร และมีฝนตก 19 วัน ปริมาณฝนมากที่สุดใน 24 ชั่วโมง วัดได้ 164.1 มิลลิเมตร เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2560 2.3.4 พายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวผ่านหรือเข้าสู่จังหวัดเลย มีแหล่งกำเนิดจากทะเลจีนใต้และ มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก โดยเคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนาม กัมพูชาและลาวก่อนจะเข้าสู่ ประเทศไทย ทำให้พายุหมุนเขตร้อนอ่อนกำลังเป็นพายุดีเปรสชันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย มากนัก แต่ยังคงทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากจนก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ สำหรับช่วงเวลาที่พายุหมุน เขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านจังหวัดนี้ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปจนถึงเดือนตุลาคม โดยเฉพาะเดือน กันยายนเป็นช่วงที่พายุหมุนเขตร้อนมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่จังหวัดนี้ได้มากที่สุด ที่มา : ศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา


๔ 2.4 ข้อมูลการปกครอง ตารางที่ 2 แสดงจำนวนเขตการปกครองพื้นที่จังหวัดเลย (หน่วย:แห่ง) อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน อบจ. เทศบาล นคร เทศบาลเมือง เทศบาล ตำบล อบต. 14 89 918 1 - 2 29 71 ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 จังหวัดเลยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 อำเภอ 89 ตำบล 918 หมู่บ้าน ปงค์การปริหารส่วน จังหวัด จำนวน 1 แห่ง เทศบาลเมือง จำนวน 2 แห่ง และเทศบาลตำบล จำนวน 29 แห่ง และองค์การบริหาร ส่วนตำบล จำนวน 71 แห่ง 2.5 ด้านประชากร ตารางที่ 3 แสดงจำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ จำแนกตามเพศ จังหวัดเลย (หน่วย : คน) ช่วงอายุ ชาย หญิง รวม อายุ 0 - 17 ปี 66,227 62,835 129,062 อายุ 18 - 25 ปี 32,530 31,265 63,795 อายุ 16 – 59 ปี 164,729 163,104 327,833 อายุ 60 ปีขึ้นไป 56,679 61,367 118,046 รวม 320,165 318,571 638,736 ที่มา: ระบบสถิติทางทะเบียน กรมการปกครอง ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 ภาพที่ 1.1 แสดงแผนภูมิข้อมูลจำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ จำแนกตามเพศ จังหวัดเลย ปี 2565 0 50,000 100,000 150,000 200,000 อายุ 0 - 17 ปี อายุ 18 - 25 ปี อายุ 16 – 59 ปี อายุ 60 ปีขึ้นไป เพศชาย เพศหญิง 61,367 คน 56,679 คน 164,729 คน 163,104 คน 32,530 คน 31,265 คน 66,227 คน 62,835 คน


๕ จากสถิติข้อมูลประชากรจังหวัดเลย พบว่า มีประชากรทั่งหมดจำนวน 638,736 คน เพศชาย จำนวน 320,165 คน เพศหญิง จำนวน 318,571 คน โดยแบ่งเป็นช่วงอายุได้ดังนี้ ช่วงอายุ 0 - 17 ปี จำนวน 129,062 คน แยกเป็น เพศชาย จำนวน 66,227 คน เพศหญิง จำนวน 62,835 คน คิดเป็น ร้อย ละ 20.21 ช่วงอายุ 18 - 25 ปี จำนวน 63,795 คน แยกเป็น เพศชาย จำนวน 32,530 คน เพศหญิง จำนวน 31,265 คน คิดเป็นร้อยละ 9.99 ช่วงอายุ 26 – 59 ปี จำนวน 327,833 คน แยกเป็น เพศชาย จำนวน 164,729 คน เพศหญิง จำนวน 163,104 คน คิดเป็นร้อยละ 51.33 ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 118,046 คน แยกเป็นเพศชาย จำนวน 56,679 คน เพศหญิง จำนวน 61,367 คน คิดเป็นร้อยละ 14.48 2.6 ด้านศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และข้อมูลชาติพันธ์ 1. จำนวนวัดที่ขึ้นทะเบียน (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2564) รวมทั้งสิ้น 746 วัด - คณะสงฆ์มหานิกาย จำนวน 599 วัด - คณะสงฆ์ธรรมยุต จำนวน 147 วัด 2. พระอริยสงฆ์จากอดีต จำนวน 14 รูป 1) หลวงปู่แหวน สุจิณโณ บ้านนาโป่ง ตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 2) หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 3) หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 4) หลวงปู่คำดี ปภาโส (พระครูญาณทัสสี) วัดถ้ำผาปู่ บ้านนาอ้อ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 5) หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ (พระธรรมวราลังการ) วัดศรีสุทธาวาส (พระอารามหลวง) ตำบล กุด ป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 6) พระราชศรีลสังวร อดีตเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธ) วัดโพนแท่น บ้านศรีโพนแท่น ตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 7) หลวงปู่สีทน สีลธโน อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำผาปู่ (ธ) บ้านนาอ้อ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 8) พระปิยทัสสี อดีตเจ้าคณะจังหวัดเลย(ธ) วัดป่าผาเจริญ บ้านเล้า ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 9) พระราชญาณวิสุทธิโสภณ(หลวงปู่ท่อน) อดีตเจ้าคณะจังหวัดเลย(ธ) วัดศรีอภัยวัน ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 10) หลวงปู่ซามา อจุตโต อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน (ธ) บ้านไร่ม่วง ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 11) หลวงปู่เผย วิริโย อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำผาปู่ (ธ) บ้านนาอ้อ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 12) หลวงปู่พัน ฐิตธมฺโม อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าน้ำภู (ธ) บ้านน้ำภู ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 13) หลวงปู่อร่าม ชินวํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าถ้ำแกลบ (ธ) บ้านท่าวังแคน ตำบลศรีสองรัก อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 14) หลวงปู่เย็น ฐานธมฺโม อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบาทภูควายเงิน (ธ) บ้านผาแบ่น ตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย


๖ 3. พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ในปัจจุบัน จำนวน 21 รูป 1) พระราชสุเมธี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเลย(ธ) วัดภูตูมวนาราม บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 2) พระราชวีราภรณ์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเลย (ม) วัดศรีบุญเรือง บ้านติ้ว ตำบลกุดป่อง อำเภอ เมืองเลย จังหวัดเลย 3) พระราชปรีชามุนี เจ้าคณะจังหวัดเลย (ม) วัดศรีบุญเรือง บ้านศรีบุญเรือง ตำบลวังสะพุง อำเภอ วังสะพุง จังหวัดเลย 4) พระราชวชิรสุธี เจ้าคณะจังหวัดเลย(ธ) วัดศรีสุทธาวาส บ้านใหม่ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 5) หลวงพ่อขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่ (ธ) บ้านม่วงไข่ ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย 6) หลวงพ่อชาลี ถิรธัมโม วัดป่าภูเรือ (ธ) บ้านตาดสาน ตำบลปลาบ่า อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย 7) หลวงปู่นิพนธ์ อภิปสนฺโน วัดสมเด็จภูเรือ (ธ) บ้านป่าจันตม ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย 8) พระครูภาวนาวิสุทธาภรณ์ วัดเนรมิตวิปัสสนา (ม) ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย 9) พระอธิการมนฑ์จิตต์เกษม วัดป่าภูแปก (ธ) บ้านกกบก ตำบลหนองงิ้ว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 10) หลวงพ่อสำลี สุทธจิตฺโต วัดถ้ำคูหาวารี (ธ) บ้านโนนสว่าง ตำบลโคกขมิ้น อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 11) หลวงตาณรงค์ วฑฒโน วัดถ้ำผาปู่ (ธ) วัดสิริปุญญาราม บ้านหมากแข้ง ตำบลหนองงิ้ว อำเภอ วังสะพุง จังหวัดเลย 12) หลวงพ่อวิลาส ปสาทิโก วัดปากภู (ม) วัดบ้านน้ำภู ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 13) พระอาจารย์ทวี ปุญญปัญโญ (ธ) วัดป่าสันติธรรม บ้านห้วยเดื่อ ตำบลห้วยเดื่อ อำเภอ หนองหิน จังหวัดเลย 14) พระครูสุวรรณรัตนวิมล วัดศรีภูมิ (ธ) บ้านแฮ่ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 15) พระครูวีรญาณโสภณ หลวงพ่อดาด วัดป่าสัมมานุสรณ์ (ธ) บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 16) พระอาจารย์มนตรี คณโสภโณ (พระอาจารย์หรั่ง) วัดวังเดือนห้า (ธ) บ้านวังเดือนห้า ตำบล ห้วยสีเสียด อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย 17) พระอาจารย์สมศรี อตฺตสิริ วัดเวฬุวนาราม (ธ) บ้านผาน้อย ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 18) พระอาจารย์แสง จิรวัฒฑโก วัดป่ากกโพธิ์(ธ) บ้านกกโพธิ์- วังก่ำ ตำบลด่านซ้าย อำเภอ ด่าน ซ้าย จังหวัดเลย 19) พระครูสิริวัฒนาธร วัดป่าประชาสรรค์(ธ) บ้านบุ่งผักก้าม ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 20) หลวงปู่ประพันธ์ กิตติโสภโณ วัดป่าวิเวกภูเขาวง(ธ) บ้านดงน้อย ตำบลผาขาว อำเภอผาขาว จังหวัดเลย 21) พระอาจารย์ อุทัย ฌานุตฺตโม วัดป่าห้วยลาด(ธ) บ้านห้วยลาด ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย


๗ 4. เทศกาล การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย วัน/เดือน/ปี ชื่อเทศกาล/ประเพณี สถานที่จัดงาน 1 มกราคม ทำบุญวันขึ้นปีใหม่ เทศบาลเมืองเลย 4 มกราคม ทำบุญเฉลิมฉลองครบรอบ 114 ปี จังหวัดเลย หน้าพิพิธภัณฑ์เมืองเลย ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 23 มกราคม งานประเพณีบุญข้าวจี่ ชิมข้าว แดกงาเว้าจาภาษาไทเลย เทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัด เลย 26 มกราคม งานวันมาฆบูชา วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวงและทุกวัด ในพื้นที่ 1 - 9 กุมภาพันธ์ งานดอกฝ้ายบานสืบสาน วัฒนธรรมไทเลย หน้าศาลากลางจังหวัดเลย 17 กุมภาพันธ์ งานประเพณีบวงสรวงพญา ช้างนางผมหอม วัดโนนสว่าง บ้านหนองบัว ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย มีนาคม งานบุญมหาชาตินาด้วง (บุญผะเหวต) วัดเวียงล้อม บ้านนาด้วง ตำบลนาด้วง อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย 12 เมษายน งานตุ้มโฮมไทดำ ศูนย์วัฒนธรรมไทดำ บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 10 เมษายน สงกรานต์ไทย - ลาว บ้านเหมืองแพร่ จุดผ่อนปรนบ้านเหมืองแพร่ ตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย 13 เมษายน สงกรานต์บ้านแฮ่ วัดศรีภูมิ วัดศรีภูมิ บ้านแฮ่ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง เลย จังหวัดเลย 13 เมษายน สรงน้ำพระเจ้าองค์แสน พระเจ้าฝนแสนห่า วัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง ตำบลนาพึง อำเภอนา แห้ว จังหวัดเลย 13 - 15 เมษายน สงกรานต์ร้อยปี วัดศรีคุณเมืองบ้านเชียงคาน ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 14-16 เมษายน แห่ต้นดอกไม้ประจำปี เทศกาลสงกรานต์ วัดศรีโพธิ์ชัย บ้านแสงภา ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย 16 เมษายน สงกรานต์ ประเพณีแห่ต้น ดอกไม้บ้านอาฮี วัดเมืองตูมธรรมาราม และเคลื่อนไปยัง วัดศิริมงคล 18 -19 เมษายน สรงน้ำพระพุทธเมตตา บนยอดภูกระดึง บนยอดภูกระดึง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย 26 พฤษภาคม งานนมัสการพระธาตุศรีสอง รัก พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มิถุนายน งานประเพณีบุญหลวงและ การละเล่นผีตาโขน วัดโพนชัย บ้านเดิ่น อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย


๘ วัน/เดือน/ปี ชื่อเทศกาล/ประเพณี สถานที่จัดงาน มิถุนายน บุญบั้งไฟล้นเอราวัณ หน้าอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย กันยายน ประเพณีออกพรรษาที่เชียงคาน วัดศรีคุณเมือง หน้าสำนักงานสาธารณสุข อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย พฤศจิกายน งานประเพณีลอยกระทง สวนสาธารณะกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ธันวาคม งานสวดมนต์ข้ามปี ทุกวัดในพื้นที่จังหวัดเลย 2.7 ด้านสาธารณสุข ตารางที่ 4 แสดงจำนวนหน่วยบริการสาธารณสุข ภาครัฐและภาคเอกชน จังหวัดเลย จังหวัด โรงพยาบาลสังกัดภาครัฐ (แห่ง) โรงพยาบาล สังกัดเอกชน (แห่ง) รพศ. รพท. รพช. รพ.สต. อื่น ๆ เลย 0 1 13 127 2 (รพ.จิตเวช/รพ.ค่าย) 1 ที่มา HDC Report กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 หมายเหตุ. รพศ. = โรงพยาบาลศูนย์ รพท. = โรงพยาบาลทั่วไป รพ.สต. = โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพช. = โรงพยาบาลชุมชน จากตารางแสดงหน่วยบริการสาธารณสุข ภาครัฐ ภาคเอกชน ในจังหวัดเลย พบว่า มีหน่วยบริการ สาธารณสุขทั้งสิ้น 144 แห่ง แบ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) จำนวน 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) จำนวน 13 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 127 แห่ง อื่น ๆ จำนวน 2 แห่ง (โรงพยาบาลค่ายศรีสองรัก,โงพยาบาลจิตเวชเลย) และโรงพยาบาลสังกัดเอกชน จำนวน 1 แห่ง (โรงพยาบาล เมืองเลยราม) ตารางที่ 5 แสดงจำนวนประชากรต่อแพทย์จังหวัดเลย (หน่วย : คน) จังหวัด แพทย์ ประชากร ประชากรต่อแพทย์ เลย 513 638,736 1,245 : 1 ที่มา : ฐานข้อมูลสารสนเทศ กระทรวงสาธารณสุข https://hdcservice.moph.go.th/ ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 จากตารางแสดงผลจำนวนประชากรต่อจำนวนแพทย์ พบว่า จังหวัดเลยมีจำนวนประชากร ทั้งหมด 638,736 คน และมีจำนวนแพทย์ 513 คน อัตราส่วนระหว่างจำนวนประชากรต่อแพทย์ คิดเป็น 1,245 : 1


๙ ตารางที่ 6 แสดงสาเหตุการตาย 5 อันดับแรกจากโรคต่าง ๆ จังหวัดในเขตพื้นที่จังหวัดเลย (หน่วย:คน) จังหวัด โรคเนื้องอก (รวมมะเร็ง) โรคระบบ ไหลเวียนเลือด โรคติดเชื้อและ ปรสิต โรคระบบ หายใจ โรคระบบสืบพันธ์ ร่วมปัสสาวะ เลย 827 747 456 453 383 ที่มา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 จากตารางแสดงลำดับสาเหตุการตาย 5 อันดับแรก จากโรคต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเลย พบว่า ประชากร มีสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคเนื้องอก(รวมมะเร็ง) จำนวน 827 คน มากที่สุด รองลงมาคือ โรคระบบไหลเวียน เลือด จำนวน 747 คน โรคติดเชื้อและปรสิต จำนวน 456 คน โรคระบบหายใจ จำนวน 453 คน และโรค ระบบสืบพันธ์ร่วมปัสสาวะ จำนวน 383 คน ตามลำดับ 2.8 ด้านการศึกษา ตารางที่ 7 สถานศึกษาในระบบ นอกระบบ จำแนกรายสังกัด จังหวัดเลย ปีการศึกษา 2564 (หน่วย:จำนวน:แห่ง) ที่มา : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 จากตารางสถานศึกษาในระบบ นอกระบบ จังหวัดเลย จำนวน 530 แห่ง จำแนกเป็น สถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 438 แห่ง เอกชน จำนวน 24 แห่ง ระดับ อาชีวศึกษา จำนวน 7 แห่ง ระดับอุดมศึกษา จำนวน 5 แห่ง โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 26 แห่ง สำนักงานพระพุธศาสนา จำนวน 15 แห่ง และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย จำนวน 14 แห่ง ตารางที่ 8 จำนวนนักเรียนนักศึกษาในระบบ จำแนกตามระดับชั้น ปี พ.ศ. 2564 (หน่วย:คน) ที่มา : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 ในระบบ นอกระบบ รวม สพฐ. เอกชน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา ท้องถิ่น สำนักพุทธ ฯ กศน. 438 25 7 5 26 15 14 530 ระดับการศึกษา (คน) อนุบาล ประถม ม.ต้น ม.ปลาย ปวช. ปวส. ป.ตรี 14,597 43,363 21,703 12,379 6,431 2,858 7,948 รวม 109,279 คน


๑๐ จากตารางจำนวนผู้เรียนในสถานศึกษาของรัฐ/และเอกชน จำนวน 109,279 คน โดยแยกเป็นระดับ ก่อนประถมศึกษา อนุบาล จำนวน 14,597 คน คิดเป็นร้อยละ 13.36 ของจำนวนนักเรียนนักศึกษาในระบบ ระดับประถมศึกษา จำนวน 43,363 คน คิดเป็นร้อยละ 39.68 ของจำนวนนักเรียนนักศึกษาในระบบ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 21,703 คน คิดเป็นร้อยละ 19.86 ของจำนวนนักเรียนนักศึกษาในระบบ ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 12,379 คน คิดเป็นร้อยละ 11.33 ของจำนวนนักเรียนนักศึกษาในระบบ ระดับวิทยาลัย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) จำนวน 6,431 คน คิดเป็นร้อยละ 5.88 ของจำนวนนักเรียน นักศึกษาในระบบ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) จำนวน 2,858 คน คิดเป็นร้อยละ 2.62 ของจำนวน นักเรียนนักศึกษาในระบบ และระดับมหาวิทยาลัย (ปริญญาตรี) จำนวน 7,948 คน คิดเป็นร้อยละ 7.27 ของจำนวนนักเรียนนักศึกษาในระบบ ตารางที่ 9 แสดงจำนวนผู้เรียนนอกระบบโรงเรียน จำแนกตามระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2560 - 2564 ที่มา : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 ภาพที่ 1.2 แสดงแผนภูมิข้อมูลจำนวนผู้เรียนนอกระบบโรงเรียน โดยจำแนกตามระบบการศึกษา ปีการศึกษา 2560 - 2564 จากตารางแสดงผลจำนวนผู้เรียนนอกระบบโรงเรียน โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2560 - 2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2560 มีจำนวนผู้เรียนนอกระบบโรงเรียน มากที่สุด จำนวน 19,068 คน รองลงมาคือปีการศึกษา 2561 มีจำนวนผู้เรียนนอกระบบโรงเรียน จำนวน 18,613 คน และปีการศึกษาที่มี ผู้เรียนนอกระบบโรงเรียนน้อยที่สุดคือ ปีการศึกษา 2564 มีผู้เรียนนอกระบบโรงเรียน จำนวน 16,191 คน 14,000 15,000 16,000 17,000 18,000 19,000 20,000 จ านวนผู้เรียนนากระบบโรงเรียน ปี 2560 ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 (คน) ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2560 2561 2562 2563 2564 รวม จำนวน 19,068 18,613 17,739 16,465 16,191 88,076 19,068 คน 18,613 คน 17,739 คน 16,465 คน 16,191 คน


๑๑ ตารางที่ 10 จำนวนนักเรียนที่ออกกลางคัน ในระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 - 2564 ที่มา : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 ภาพที่ 1.3 แผนภูมิข้อมูลจำนวนนักเรียนที่ออกกลางคัน ในระดับประถมศึกษา – มัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2560 - 2564 จากการสำรวจ พบว่า จำนวนนักเรียนที่ออกกลางคัน ในระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 – 2564 มีจำนวนทั้งหมด 66 คน โดยปีการศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนที่ออกลางคันมากที่สุด คือ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน รองลงมา คือปีการศึกษา 2561 จำนวน 19 คน และปีการศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนที่ออกกลางคันน้อยที่สุดคือ ปีการศึกษา 2563 มีจำนวน 2 คน 7 คน 19 คน 24 คน 2 คน 14 คน 0 5 10 15 20 25 30 ปี 2560 ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 จ ำนวนนักเรียนที่ออกกลำงคัน ระดับประถมศึกษำ -มัธยมศึกษำ(คน) ปีกำรศึกษำ จังหวัด ปีการศึกษา 2560 2561 2562 2563 2564 เลย 7 19 24 2 14 รวม 66


๑๒ 2.9 ด้านแรงงาน ตารางที่ 11 แสดงภาวการณ์มีงานทำของประชากรในจังหวัดเลย ไตรมาส 1 (มกราคม – มีนาคม 2565) (หน่วย:คน) ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 จากตารางแสดงภาวการณ์มีงานทำของประชากรในจังหวัดเลย ไตรมาส 1 (มกราคม - มีนาคม 2565)พบว่า มีจำนวนทั้งหมด 373572 คน โดยแบ่งเป็น ผู้อยู่ในกำลังแรงงานในปัจจุบัน ซึ่งแบ่งเป็น ผู้มี งานทำ จำนวน 306,012 คน และผู้ว่างงาน จำนวน 911 คน รวมเป็น 306,923 คน และผู้ไม่อยู่ในกำลัง กำลังงาน ซึ่งแบ่งเป็น ทำงานบ้าน จำนวน 27,056 คน เรียนหนังสือ จำนวน 31,131 คน และอื่น ๆ จำนวน 8,462 คน รวมเป็น 66,649 คน ตารางที่ 12 แสดงจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือ พ.ศ.2560 - 2564 ของจังหวัดเลย (หน่วย: คน) ประเด็น ปี 2560 ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 1. แรงงานต่างด้าว มาตรา 59 47 68 75 77 76 2. แรงงานต่างด้าวนำเข้า MOU 797 4,479 4,467 3,367 1,627 3. แรงงานต่างด้าว มาตรา 63/1 16 35 32 47 50 4. แรงงานต่างด้าวผ่อนผันให้อยู่ใน ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (บัตรชมพู) 0 613 625 507 1,475 รวม 860 5,195 5,199 3,998 3,228 ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 จากตารางแสดงผลจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือ พ.ศ.2560 - 2564 ของจังหวัด เลย พบว่า ประเด็นด้านแรงงานต่างด้าว มาตรา 59 ปีที่พบจำนวนแรงงานต่างด้าว มาตรา 59 มากที่สุด คือ ปี 2563 จำนวน 77 คน รองลงมา คือ ปี 2564 จำนวน 76 คน และปีที่พบแรงงานต่างด้าว มาตรา 59 น้อย ที่สุดคือ ปี 2560 จำนวน 47 คน ด้านแรงงานต่างด้าวนำเข้า MOU ปีที่พบจำนวนแรงงานต่างด้าวนำเข้า MOU มากที่สุด คือ ปี 2561 จำนวน 4,479 คน รองลงมา คือ ปี 2562 พบจำนวน 4,467 คน และปีที่พบ แรงงานต่างด้าวนำเข้า MOU น้อยที่สุด คือ ปี 2560 พบจำนวน 797 คน ประเด็นแรงงานต่างด้าว มาตรา 63/1 ปีที่พบแรงงานต่างด้าว มาตรา 63/1 มากที่สุด คือ ปี 2564 พบจำนวน 50 คน รองลงมา คือ ปี 2563 พบจำนวน 47 คน และปีที่พบแรงงานต่างด้าว มาตรา 63/1 น้อยที่สุด คือ ปี 2560 จำนวน 16 คน ประเด็นแรงงานต่างด้าวผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (บัตรชมพู) ปีที่พบมากที่สุด คือ ปี 2564 พบจำนวน 1,475 คน รองลงมาคือ ปี 2562 พบจำนวน 625 คน และปีที่พบแรงงานต่างด้าว ผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (บัตรชมพู) น้อยที่สุดคือ ปี 2563 พบจำนวน 507 คน จังหวัด กำลังแรงงานในปัจจุบัน กำลังแรงงานที่ รอฤดูกาล ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน ผู้มีงานทำ ผู้ว่างงาน ทำงานบ้าน เรียนหนังสือ อื่น ๆ เลย 306,012 911 0 27,056 31,131 8,462 รวม 373,572


๑๓ 2.10 ด้านที่อยู่อาศัย ตารางที่ 13 แสดงจำนวนชุมชนผู้มีรายได้น้อยของจังหวัดเลย พ.ศ. 2565 (หน่วย:แห่ง:คน) จำนวน ชุมชน ชุมชนแออัด ชุมชนเมือง ชุมชนชานเมือง จำนวน บ้าน จำนวน ครัวเรือน จำนวน ประชากร ชุมชน ครัวเรือน ชุมชน ครัวเรือน ชุมชน ครัวเรือน 299 0 0 27 170 272 1,359 1,565 6,591 20,071 ที่มา : กองยุทธศาสตร์และสารสนเทศที่อยู่อาศัย ฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ ข้อมูล ณ 31 มีนาคม 2565 จังหวัดเลย มีประชากรที่มีความประสงค์ด้านที่อยู่อาศัย จำนวน 299 ชุมชน 1,565 ครัวครอบ โดยแบ่งเป็น ชุมชนเมือง จำนวน 27 ชุมชน 170 ครอบครัว และชุมชนชานเมือง จำนวน 272 ชุมชน 1,395 ครอบครัว จำนวนประชากรจำนวน 20,071 คน 2.11 ด้านเศรษฐกิจและรายได้ ผลิตภัณฑ์มวลรวม ตารางที่ 14 แสดงการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเลย (หน่วย:ร้อยละ) จังหวัด อัตราการขยายตัว GPP (ร้อยละ) ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 เลย -2.7 -6.4 0.4 ที่มา: กลุ่มนโยบายและเศรษฐกิจจังหวัด สำนักงานคลังจังหวัดเลย จากตารางแสดงการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเลย ขนาดเศรษฐกิจจังหวัดเลย (GPP ณ ราคาประจำปี) พ.ศ. 2564 มีงบประมาณ 59,234 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 0.4 ของ GDP ของประเทศ ไทย ประชากรมีรายได้ต่อหัวประมาณปีละ 108,687 บาท/คน/ปี ตารางที่ 15 แสดงผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GPP per capita) ปี 25640 (หน่วย:บาท) จังหวัด รายได้ (บาท/คน/ปี) เลย 108,678 ที่มา: กลุ่มนโยบายและเศรษฐกิจจังหวัด สำนักงานคลังจังหวัดเลย ตารางที่ 16 แสดงรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนของจังหวัดเลย พ.ศ. 2560 - 2564 (หน่วย:บาท) จังหวัด ปี พ.ศ. 2560 2562 2564 เลย 21,077 25,422 26,532 ที่มา : กลุ่มนโยบายและเศรษฐกิจจังหวัด สำนักงานคลังจังหวัดเลย


๑๔ ภาพที่ 1.4 แสดงแผนภูมิข้อมูลรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนของจังหวัดเลย พ.ศ. 2560 - 2564 จากตารางแสดงรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนของจังหวัดเลย พ.ศ. 2560 - 2564 พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของจังหวัดเลยเพิ่มขึ้นจากปี 2560 โดยในปี 2562 รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน จำนวน 25,422 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 จำนวน 4,345 บาท คิดเป็นร้อยละ 20.61 และปี 2564 รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน จำนวน 26,532 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 1,110 บาท คิดเป็น ร้อยละ 4.37 ตารางที่ 17 แสดงหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม พ.ศ. 2560 – 2564 (หน่วย:บาท) จังหวัด วัตถุประสงค์ของการกู้ยืม 2560 2562 2564 เลย หนี้สินทั้งสิ้น 148,124 244,140 261,667 เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน 38,081 67,754 60,189 เพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร 12,877 22,016 35,987 เพื่อใช้ทำการเกษตร 55,593 60,084 87,230 เพื่อใช้ในการศึกษา 795 3,111 3,975 เพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน 37,565 89,357 73,436 อื่นๆ 3,214 1,819 851 หมายเหตุ : หนี้อื่น ๆ ได้แก่ หนี้จากการค้ำประกันบุคคลอื่น หนี้ค่าปรับหรือจ่ายชดเชยค่าเสียหายเป็นต้น ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ - 5,000 10,000 15,000 20,000 25,000 30,000 ปี พ.ศ. 2560 ปี พ.ศ. 2562 ปี พ.ศ. 2564 รำยได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน (บำท) 21,077 บาท 25,422 บาท 26,532 บาท


๑๕ ภาพที่ 1.5 แผนภูมิข้อมูลหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม ปี พ.ศ. 2564 2.12 ด้านภาคีเครือข่าย ตารางที่ 18 แสดงจำนวนองค์กรภาคีเครือข่าย องค์กร จำนวน องค์กรสาธารณประโยชน์ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม 59 แห่ง องค์กรสวัสดิการชุมชน ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม 54 แห่ง กองทุนสวัสดิการสังคม 80 แห่ง สภาเด็กและเยาวชน 1,886 คน สภาองค์กรคนพิการ 7 แห่ง ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป 109 แห่ง ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต และส่งเสริมอาชีพของผู้สูงอายุ (ศพอส.) 24 แห่ง ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) 100 แห่ง ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (ศชส.ต.) 101 แห่ง อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) 2,094 คน ข้อมูลคลังปัญญาผู้สูงอายุ 62 แห่ง ที่มา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 หนี้สินทั้งสิ้น เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน เพื่อใช้ท าธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร เพื่อใช้ท าการเกษตร เพื่อใช้ในการศึกษา เพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน อื่นๆ 261,667 บาท 851 บาท 73,436 บำท 3,975 บำท 87,230 บำท 35,987 บำท 60,189 บำท หนี้สินทั้งสิ้น อื่นๆ เพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน เพื่อใช้ในกำรศึกษำ เพื่อใช้ทำกำรเกษตร เพื่อใช้ทำธุรกิจที่ ไม่ใช่กำรเกษตร เพื่อใช้จ่ำยในครัวเรือน


๑๖ สถานการณ์กลุ่มเป้าหมายทางสังคมระดับจังหวัดเลย ๓.๑ กลุ่มเด็ก (อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี บริบูรณ์) ตารางที่ 19 แสดงสถานการณ์เด็ก จังหวัดเลย ประเด็น จำนวน (คน) จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 126,948 1 เด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 3596 2 *เด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม 25 3 เด็กที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกายจิตใจและทางเพศที่มีการดำเนินคดี 0 4 เด็กที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 167 5 เด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 3 6 **เด็กนอกระบบ 531 7 ***เด็กไร้สัญชาติ 44 (ในทะเบียนบ้านกลาง) 156 (ไม่ได้รับสัญชาติไทย) หมายเหตุ *เด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หมายถึง 1) ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่และติดสารเสพติดร้ายแรง เช่น ยาบ้า ยาอี สารระเหย กัญชา เป็นต้น 2) มั่วสุมและทําความรำคาญให้กับชาวบ้าน 3) ติดเกมส์ และเล่นการพนันต่าง ๆ 4) มีพฤติกรรมทางเพศ 5) อื่น ๆ (ระบุ) .............................................. **เด็กนอกระบบ หมายถึง เด็กที่มีอายุอยู่ในช่วงที่ต้องเข้าเรียนในสถานศึกษา แต่ไม่มีโอกาสเข้าเรียนหรือเคยเข้า เรียนแล้ว มีเหตุต้องออกจากสถานศึกษาไปกลางคัน และไม่ได้กลับเข้ามาเรียนอีก (UNESCO, 2019) ***เด็กไร้สัญชาติหมายถึง เด็กที่ไม่มีสัญชาติใดเลย (ไม่ว่าจะเป็นสัญชาติไทยหรือสัญชาติรัฐใดๆ) แต่อาจได้รับการ ระบุตัวตนทางกฎหมายในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น ได้รับการจดทะเบียนการเกิด ได้ขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ในกลุ่มต่าง ๆ แหล่งที่มาของข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 (๑) เด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จังหวัด (๒) เด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด. (๓) เด็กที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกายจิตใจและทางเพศที่มีการดำเนินคดี ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย (๔) เด็กที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด. (๕) เด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและไม่พร้อมในการเลี้ยงดู ที่มาจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (๖) เด็กนอกระบบ ข้อมูลจากสำนักงานสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (๗) เด็กไร้สัญชาติ ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย


๑๗ จากตารางแสดงสถานการณ์เด็ก พบว่า เด็กในจังหวัดเลย มีจำนวน 126,948 คน มากที่สุด คือ เด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวน 3,596 คน คิดเป็นร้อยละ 2.83 รองลงมา เด็กนอก ระบบ จำนวน 531 คน คิดเป็นร้อยละ 0.41 เด็กไร้สัญชาติ จำนวน 200 คน คิดเป็นร้อยละ 0.15 เด็กที่อยู่ ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว จำนวน 167 คน คิดเป็นร้อยละ 0.15 เด็กประพฤติตัวไม่เหมาะสม จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 0.01 และเด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและไม่พร้อมในการเลี้ยงดูบุตร จำนวน 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.002 ๓.๒ กลุ่มเยาวชน (อายุ ๑๘ - ๒๕ ปี) ตารางที่ 20 แสดงสถานการณ์เยาวชน จังหวัดเลย (หน่วย:คน) หมายเหตุ *เยาวชนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หมายถึง 1) ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่และติดสารเสพติดร้ายแรง เช่น ยาบ้า ยาอี สารระเหย กัญชา เป็นต้น 2) มั่วสุมและทําความรำคาญให้กับชาวบ้าน 3) ติดเกมส์ และเล่นการพนันต่าง ๆ 4) มีพฤติกรรมทางเพศ 5) อื่น ๆ (ระบุ) .............................................. แหล่งที่มาของข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 (๑) เยาวชนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (๒) เยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกายจิตใจและทางเพศ ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด จากตารางแสดงสถานการณ์เยาวชน พบว่า เยาวชนในจังหวัดเลย มีจำนวน 62,462 คน สถานการณ์ การเยาวชนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จำนวน 46 คน และ เยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกายจิตใจ และทางเพศ จำนวน 3 คน ๓.๓ กลุ่มสตรี (หญิงที่มีอายุ ๒๕ปี- ๕๙ปี) ตารางที่ 21 แสดงสถานการณ์กลุ่มสตรี จังหวัดเลย (หน่วย:คน) หมายเหตุ แหล่งที่มาของข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 (๑) สตรีที่ถูกละเมิดทางเพศ ที่มาจาก…สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย... (๒) สตรีที่ถูกทําร้ายร่างกาย จิตใจ ที่มาจาก...สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย... (๓) แม่เลี้ยงเดี่ยวฐานะยากจนที่ต้องเลี้ยงดูบุตรเพียงลำพัง ที่มาจาก สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย (๔) สตรีที่ถูกเลิกจ้าง/ตกงาน ที่มาจาก จัดหางานจังหวัดเลย จากตารางสถานการณ์กลุ่มสตรี พบว่า สตรีจังหวัดเลยมีจำนวน 162,471 คน สถานการณ์กลุ่มสตรี พบปัญหามากที่สุดคือ สตรีที่ถูกเลิกจ้าง/ตกงาน จำนวน 1,036 คน คิดเป็นร้อยละ 0.63 รองลงมาได้แก่ สตรีที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวฐานะยากจนที่ต้องเลี้ยงดูบุตรเพียงลำพัง สตรีที่ถูกทำร้านร่างกายจิตใจ จำนวน 105 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.06 และสตรีที่ถูกละเมิดทางเพศ จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.001 ตามลำดับ จังหวัด จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด (๑) **เยาวชนที่มีพฤติกรรม ไม่เหมาะสม (๒) เยาวชนที่ถูกทารุณกรรม ทางร่างกายจิตใจและทางเพศ เลย 62,462 46 3 จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด (๑) สตรีที่ถูก ละเมิดทางเพศ (๒) สตรีถูกทำราย ร่างกายจิตใจ (๓) แม่เลี้ยงเดี่ยว ฐานะยากจน (๔) สตรีที่ถูกเลิก จ้าง/ตกงาน 162,471 0 3 105 1,036


๑๘ ๓.๔ กลุ่มครอบครัว ตารางที่ 22 แสดงสถานการณ์กลุ่มครอบครัวจังหวัดเลย (หน่วย:ครอบครัว) หมายเหตุ แหล่งที่มาของข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 (๑) ครอบครัวที่จดทะเบียนสมรส ที่มาจาก ปกครองจังหวัดเลย (๒) ครอบครัวหย่าร้าง ที่มาจาก ปกครองจังหวัดเลย (๓) ครอบครัวที่มีคนในครอบครัวกระทําความรุนแรงต่อกัน ที่มาจาก สนง.พมจ.เลย (๔) ครอบครัวยากจน ที่มาจาก สนง.พมจ.เลย จากตารางแสดง สถานการณ์ครอบครัว พบว่า ครอบครัวในจังหวัดเลย มีจำนวน 230,763 ครอบครัว พบปัญหามากที่สุดคือ ครอบครัวยากจน จำนวน 13,705 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 5.93 รองลงมาได้แก่ ครอบครัวที่จดทะเบียนสมรส จำนวน 2,294 คน คิดเป็นร้อยละ 0.99 ครอบครัวอย่าร้าง จำนวน 1,175 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 0.50 และครอบครัวที่มีคนในครอบครัวกระทำความรุ่นแรงต่อกัน จำนวน 5 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 0.002 ตามลำดับ ๓.๕ กลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป) ตารางที่ 23 แสดงสถานการณ์ผู้สูงอายุ จังหวัดเลย (หน่วย:คน) ประเด็น จำนวน จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 122,685 1 ผู้สูงอายุที่ไดรับเบี้ยยังชีพ 113,347 2 ผู้สูงอายุจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ติดบ้าน 119,540 ติดสังคม 2564 ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ (ติดเตียง) 581 3 ผู้สูงอายุที่ต้องดำรงชีพด้วยการเร่ร่อน ขอทาน 7 4 ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม 55 5 ผู้สูงอายุที่บริจาคเบี้ยยังชีพ 0 หมายเหตุ แหล่งที่มาของข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 (๑) ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ ที่มาจาก ท้องถิ่นจังหวัดเลย... (๒) ผู้สูงอายุจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ที่มาจาก สนง.พมจ.เลย (๓) ผู้สูงอายุที่ต้องดำรงชีพด้วยการเร่ร่อน ขอทาน ที่มาจาก ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดเลย (๔) ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม ที่มาจาก สนง.พมจ.เลย (๕) ผู้สูงอายุที่บริจาคเบี้ยยังชีพ ที่มาจาก ท้องถิ่นจังหวัดเลย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด (๑) ครอบครัวที่ จดทะเบียนสมรส (๒) ครอบครัว หย่าร้าง (๓) ครอบครัวที่มีคนใน ครอบครัวกระทำความ รุนแรงต่อกัน (๔) ครอบครัว ยากจน 230,763 2,294 1,175 5 13,705


๑๙ จากตางรางแสดงสถานการณ์ผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุจังหวัดเลยมีจำนวน 122,685 คน พบปัญหา มากที่สุดได้แก่ ปัญหาผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 119,540 คน คิดเป็นร้อยละ 97.43 รองลงมาได้แก่ปัญหา ผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 2,564 คน คิดเป็นร้อยละ 2.08 ผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเองไม่ได้ (ติดเตียง) จำนวน 581 คน คิดเป็นร้อยละ 0.47 ปัญหาผู้สูงอายุมีที่อยู่ไม่เหมาะสม จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 0.04 และปัญหาผู้สูงอายุที่ต้องดำรงชีพด้วยการเร่ร่อน ขอทาน จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.005 ตามลำดับ ๓.๖ กลุ่มคนพิการ ตารางที่ 24 แสดงสถานการณ์คนพิการ จังหวัดเลย (หน่วย:คน) ที่มา ข้อมูลจากศูนย์บริการคนพิการจังหวัด ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ จากตารางแสดงสถานการณ์ปัญหาคนพิการ พบว่า คนพิการจังหวัดเลยมีจำนวน 28,889 คน มีจำนวนคนพิการที่จดทะเบียนและมีบัตรประจำตัวคนพิการทั้งสิ้น จำนวน 28,889 คน ได้รับเบี้ยความพิการ จำนวน 28,889 คน และคนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพคนพิการ และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 18,263 คน ตารางที่ 25 แสดงจำนวนคนพิการจำแนกตามสาเหตุความพิการ จังหวัดเลย (หน่วย:คน) ที่มา ข้อมูลจากศูนย์บริการคนพิการจังหวัด ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ จากตารางแสดงจำนวนคนพิการจังหวัดเลย จำนวน 28,889 คน โดยจำแนกสาเหตุความพิการ พบมากที่สุด คือ พิการจากอุบัติเหตุ จำนวน 11,802 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.85 รองลงมาได้แก่พิการจาก โรคติดเชื้อ จำนวน 9,295 ราย คิดเป็นร้อยละ 32.17 พิการจากโรคอื่นๆ จำนวน 3,475 ราย คิดเป็น ร้อยละ 12.02 พิการจากพันธุกรรม จำนวน 2,373 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.21 พิการไม่ทราบสาเหตุ จำนวน 1,857 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.42 และพิการมากกว่า 1 สาเหตุ จำนวน 87 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.30 ตามลำดับ จำนวน คนพิการที่มีบัตร ประจำตัวคนพิการ คนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพ เบี้ยยังชีพคนพิการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 28,889 28,889 28,889 18,263 สาเหตุความพิการ รวม พันธุกรรม โรคติดเชื้อ อุบัติเหตุ โรคอื่น ๆ ไม่ทราบสาเหตุ มากกว่า 1 สาเหตุ 2,373 9,295 11,802 3,475 1,857 87 28,889


๒๐ ตารางที่ 26 แสดงจำนวนคนพิการจำแนกตามประเภทความพิการ จังหวัดเลย (หน่วย:คน) ประเภทความพิการ จำนวน 1 พิการทางการเห็น 2,349 2 พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 9,243 3 พิการทางการคลื่อนไหวหรือร่างกาย 11,817 4 พิการทางใจหรือพฤติกรรม 3,477 5 พิการทางสติปัญญา 1,855 6 พิการทางการเรียนรู้ 90 7 ออทิสติก 100 8 พิการมากกว่า 1 ประเภท 773 รวม 29,758 ที่มา ข้อมูลจากศูนย์บริการคนพิการจังหวัด ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ จากตารางแสดงสถานการณ์ปัญหาคนพิการ พบว่า คนพิการจังหวัดเลยมีจำนวน 28,889 คน โดย จำแนกตามประเภทความพิการ พบมากที่สุด คือ พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย จำนวน 11,817 คน คิดเป็นร้อยละ 40.90 รองลงมาได้แก่ พิการทางการได้ยืนหรือสื่อความหมาย จำนวน 9,243 คน คิดเป็นร้อยละ 31.99 พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม จำนวน 3,477 คน คิดเป็นร้อยละ 12.03 พิการทางการเห็น จำนวน 2,349 คน คิดเป็นร้อยละ 8.13 พิการทางสติปัญญา จำนวน 1,855 คน คิดเป็นร้อยละ 6.42 พิการมากกว่า 1 ประเภท จำนวน 773 คน คิดเป็นร้อยละ 2.67 พิการออทิสติก จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 0.34 และ พิการทางการเรียนรู้ จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 0.311 ๓.๗ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ตารางที่ 27 แสดงสถานการณ์กลุ่มผู้ด้อยโอกาส จังหวัดเลย (หน่วย:คน) ที่มาข้อมูลจาก... ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ หมายเหตุ นิยาม ผู้ด้อยโอกาส หมายถึง ผู้ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน และได้รับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การเมือง กฎหมาย วัฒนธรรม ภัยธรรมชาติและภัยสงคราม รวมถึงผู้ที่ขาดโอกาสที่จะเข้าถึง บริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ตลอดจนผู้ประสบปัญหาที่ยังไม่มีองค์กรหลักรับผิดชอบอันจะส่งผลให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เท่า เทียมกับผู้อื่น” โดย กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) คนยากจน คนเร่ร่อน/ไร้ที่อยู่ อาศัย ไม่มีสถานะทาง ทะเบียนราษฎร ผู้พ้นโทษ ผู้ติดเชื้อ HIV 43,530 28 1,145 10 33


๒๑ จากตารางสถานการณ์กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ประชากรทั้งหมด จำนวน 638,736 คน พบปัญหามากที่สุด คือ สถานการณ์กลุ่มคนจน จำนวน 43,530 คน คิดเป็นร้อยละ 6.81 รองลงมาได้แก่ สถานการณ์กลุ่มไม่มี สถานะทางทะเบียนราษฎร จำนวน 1,145 คน คิดเป็นร้อยละ 0.17 สถานการณ์กลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 0.005 สถานการณ์กลุ่มปัญหาคนไร้ที่พึ่งจำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 0.004 และสถานการณ์กลุ่มผู้พ้นโทษ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 0.001 ตามลำดับ


๒๒ สถานการณ์เชิงประเด็นทางสังคมในระดับจังหวัดเลย ๔.๑ สถานการณ์กลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ตารางที่ 28 แสดงกลุ่มคนเป้าหมายตามฐานข้อมูลระบบการพัฒนาคนแบบชี้เป้า TP MAP แยกรายมิติ จังหวัดเลย (หน่วย:คน) ที่มา ฐานข้อมูลระบบการพัฒนาคนแบบชี้เป้า TP MAP สำนักงานการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมายเหตุกลุ่มคนเปราะบาง หมายถึง บุคคลที่ต้องการได้รับการพึ่งพิงจากผู้อื่น ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ หรือตัดสินใจได้ด้วยตัวเองโดยสามารถแบ่งกลุ่มคนเปราะบางได้ ดังนี้ 1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าบุคคลทั่วไป อาทิ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ 2. กลุ่มทุพพลภาพ อาทิ ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยสมองเสื่อม 3. กลุ่มที่ไม่มีอิสระพอในการตัดสินใจ อาทิ นักโทษ ทหารเกณฑ์ จากตารางแสดงกลุ่มคนเป้าหมายตามฐานข้อมูลระบบการพัฒนาคนแบบชี้เป้า TP MAPจำนวน ครัวเรือนเปราะบางจังหวัดเลย จำนวน 50,896 ครอบครัว โดยแยกรายมิติพบมากที่สุดคือ ประเด็นจำนวน คนเปราะบาง จำนวน 15,791 คน คิดเป็นร้อยละ 31.02 รองลงมาคือ ประเด็นด้านสุขภาพ จำนวน 6,579 คน คิดเป็นร้อยละ 12.92 ประเด็นด้านรายได้ จำนวน 5,708 คน คิดเป็นร้อยละ 11.21 ประเด็น ด้านการศึกษา จำนวน 3,280 คน คิดเป็นร้อยละ 6.44 ประเด็นด้านความเป็นอยู่ จำนวน 2,158 คน คิด เป็นร้อยละ 4.24 และประเด็นด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 0.08 ตามลำดับ ๔.๑.๒ ตารางที่ 29 แสดงข้อมูลครัวเรือนเปราะบาง จังหวัดเลย (หน่วย:ครัวเรือน) ที่มา กองตรวจราชการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ข้อมูล ณ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ *นิยาม ครัวเรือน หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันและกินอยู่ร่วมกันในสถานที่เดียวกันจำนวน 6 เดือน เป็นอย่าง น้อย โดยจำแนกออก ได้เป็น 2 ชนิด คือ 1. ครัวเรือนคนเดียว ได้แก่ ครัวเรือนซึ่งประกอบด้วยบุคคลคนเดียวโดยไม่เกี่ยวข้องเป็นสมาชิกของครัวเรือนอื่นใดที่อยู่ในบ้านเดียวกัน หรือบุคคลคนเดียวอาศัยอยู่ตามลำพังในบ้านหลังหนึ่ง 2. ครัวเรือนที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ได้แก่ ครัวเรือนที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป อยู่รวมกันในบ้านเดียวกัน หรือส่วนหนึ่งของ บ้าน และร่วมกันในการจัดหาและใช้สิ่งอุปโภค บริโภคอันจำเป็นแก่การครองชีพของบุคคลกลุ่มนั้น บุคคลเหล่านี้อาจเป็นญาติกัน หรือไม่เป็น ญาติกันเลย *จำนวนคน เปราะบาง ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านรายได้ ด้านการเข้าถึง บริการภาครัฐ 15,791 2,158 3,280 6,579 5,708 45 *จำนวนครัวเรือนเปราะบาง ครัวเรือนที่อยู่ อาศัยไม่มั่นคง **ระดับความเปราะบางของครัวเรือน ระดับ 0 ระดับ ๑ ระดับ ๒ ระดับ ๓ 50,896 1,569 45,602 1,877 2,804 613


๒๓ ครัวเรือนเปราะบาง ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและมีบุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เช่น ครอบครัวยากจนที่มีเด็กเล็ก แม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้สูงอายุ คนพิการ สามารถแบ่งระดับความเปราะบางได้ ดังนี้ ครัวเรือนระดับ ๐ หมายถึง ครัวเรือนที่ไม่ตกมิติเรื่องรายได้และมีบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง ครัวเรือนระดับ 1 หมายถึงครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและมีปัญหาที่อยู่อาศัย ครัวเรือนระดับ 2 หมายถึงครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและมีบุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง 1 – 2 คน ครัวเรือนระดับ 3 หมายถึงครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและมีบุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมากกว่า 2 คน ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย คือ ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ ต่อคน ต่อปี ภาวะพึ่งพิง หมายถึง คนที่ต้องได้รับการดูแล/ช่วยเหลือจากคนอื่น (อาทิ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น) จากตารางแสดงข้อมูลครัวเรือนเปราะบาง จังหวัดเลย จำนวน 50,896 ครอบครัว โดยแยกระดับ ความเปราะบางของครัวเรือน โดยแยกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับความปราะบางของครัวเรือนระดับ 0 จำนวน 45,602 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 89.59 ระดับ 1 จำนวน 1,877 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 3.68 ระดับ 2 จำนวน 2,804 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 5.50 และระดับ 3 จำนวน 613 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 1.20 ๔.๑.๓ ผลการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ที่มา กองตรวจราชการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ข้อมูล ณ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕


๒๔ ๔.๒ สถานการณ์ภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ตารางที่ 30 แสดงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 พื้นที่จังหวัดเลย (หน่วย:คน) จังหวัด ติดเชื้อสะสม กำลังรักษา รักษาหาย เสียชีวิต เลย 17,510 911 16,493 106 ที่มา รายงานสถานการณ์COVID-19 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม 256๕ จากตารางแสดงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 พื้นที่จังหวัดเลย ประชากรจังหวัดเลย จำนวน 638,736 คน พบว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยแยกเป็นติดเชื้อสะสมจำนวน 17,510 คน คิดเป็นร้อยละ 2.74 กำลังรักษา จำนวน 911 คน คิดเป็นร้อยละ 0.14 รักษาหาย จำนวน 16,493 คน คิดเป็นร้อยละ 2.58 และเสียชีวิต จำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 0.01 ตารางที่ 31 แสดงข้อมูลการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลย (หน่วย:คน) จังหวัด เข็มที่ ๑ เข็มที่ ๒ กระตุ้นเข็มที่ ๓ กระตุ้นเข็มที่ ๔ เลย 450,940 421,537 141,504 8,643 ที่มา : MOPH-Immunization Center (IC) กระทรวงวาธารณสุข ข้อมูล ณ ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม 256๕ จากตารางแสดงข้อมูลการได้รับวัคซีนป้องกันโรค โควิด 19 ประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลย ประชากร จังหวัดเลย จำนวน 638,736 คน โดยแยกข้อมูลการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ดังนี้ เข็มที่ 1 จำนวน 450,940 คน คิดเป็นร้อยละ 70.51 เข็มที่ 2 จำนวน 421,537 คน คิดเป็นร้อยละ 65.99 เข็มที่ 3 จำนวน 141,504 คน คิดเป็นร้อยละ 22.15 และเข็มที่ 4 จำนวน 8,643 คน คิดเป็นร้อยละ 1.35 ตารางที่ 32 แสดงข้อมูลการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 พื้นที่จังหวัดเลย ผู้ป่วย COVID-19(คน) ครอบครัวผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 (ครอบครัว) ผู้ได้รับผลกระทบที่ได้รับ การช่วยเหลือ (คน) ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบที่ ได้รับการที่ช่วยเหลือ(ครอบครัว) 17,510 106 71,493 16546 ที่มา รายงานข้อมูลการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม 256๕


๒๕


๒๖ ๔.๓ สถานการณ์เชิงประเด็นสำคัญในพื้นที่จังหวัดเลย 4.3.1 สถานการณ์การค้ามนุษย์จังหวัดเลย ประจำปี 2562 – 2565 จังหวัดเลย ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดเลย (ศปคม.จ.เลย) ขึ้น สืบเนื่องจากปัญหาการค้ามนุษย์เป็นปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นมานานอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ทั้งใน ระดับชาติ ระดับประเทศ และระดับจังหวัด เป็นผลกระทบที ่เกิดจากปัญหาครอบครัว ปัญหาด้านสภาพ ความเป็นอยู ่ ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาการโยกย้ายที ่อยู ่อาศัย ปัญหาเหล ่าจึง ทำให้สถานการณ์ การค้ามนุษย์มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในสภาพปัจจุบัน เนื่องจากประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ตามแนว ชายแดนจะเป็นพื้นที่ต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางในการลักลอบแรงงานและผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการค้า มนุษย์เข้ามาหางานทำในพื้นที่ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดเลย (ศปคม.จ.เลย) จึงมีอำนาจหน้าที ่ในการเป็นศูนย์กลางในการประสานและรวบรวมข้อมูลระหว ่างหน ่วยงานต ่างๆ อันเป็น การศึกษาหรือเฝ้าระวังสถานการณ์การค้ามนุษย์ในระดับจังหวัด โดยสำหรับปี 2565 ประเทศไทยได้รับการ ปรับอันดับ ขึ้นมาอยู่ในกลุ่ม เทียร์ 2 (Tier 2) จากระดับ เทียร์ 2 เฝ้าระวัง (Tier 2 Watch List) เมื่อปี 2564 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบค้า มนุษย์ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา จังหวัดเลยจัดอยู่ในทั้ง ๓ สถำนะของการค้ามนุษย์ คือ ต้นทำง ทำงผ่ำน และปลำยทำง และจากการรวบรวมข้อมูลของหน ่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเลย สถานการณ์การค้ามนุษย์ในจังหวัดเลย ในปี ๒๕๖5 ซึ ่งถือได้ว ่าสถานการณ์การค้ามนุษย์ในจังหวัดเลยยังไม ่รุนแรง ถึงแม้ว ่าจังหวัดเลยจะมีพื้นที่ ชายแดนติดต ่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก ่อำเภอปากชม อำเภอท ่าลี ่ อำเภอเชียงคาน อำเภอนาแห้ว และมีกลุ ่มแรงงานจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเข้ามาทำงานในจังหวัดเลยก็ตาม จังหวัดเลย ได้มีมาตรการในการเฝ้าระวังป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง โดยบูรณาการร่วมกับ หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จากการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในปี ๒๕๖5 ที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดเลย สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัดเลย ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จังหวัดเลย ตามนโยบายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อวางแผนขับเคลื่อนงาน ติดตามผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดเลย และได้ดำเนินการ จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในจังหวัดเลยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง


๒๗ 4.3.2 สถานการณ์การความรุนแรงในครอบครัว จังหวัดเลย ประจำปี 2565 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย โดยศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกัน การกระทำความรุนแรงในครอบครัว ได้รวบรวมข้อมูลความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งจำแนกประเภทความรุนแรงในครอบครัว เป็น 3 ประเภท พบมากที่สุดคือ ด้านร่างกาย ปี 256 5 จำนวน 15 ครั้ง รองลงมาคือ ด้านวาจา/จิตใจ จำนวน 13 ครั้ง และด้านทำลายทรัพย์สิน จำนวน 4 ครั้ง สาเหตุความรุนแรงในครอบครัว พบมากที่สุดคือ ปัญหาการดื่มสุรา/ยาเสพติด จำนวน 12 ราย รองลงมาคือ ปัญหาสุขภาพกาย/จิตใจ จำนวน 11 ราย บันดาลโทษะ จำนวน 8 รายปัญหาด้านเศรษฐกิจ จำนวน 7 ราย ปัญหาด้านอำนาจเหนือกว่า จำนวน 6 ราย และปัญหาการหึงหวง/นอกใจ จำนวน 3 ราย ตามลำดับ


๒๘ 4.3.3 สถิติการให้บริการศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. 1300 จังหวัดเลย ประจำปี 2565 สถิติการให้บริการศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 พม.จังหวัดเลย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 357 กรณี เฉลี่ย 1 กรณี/วัน จากสถิติการให้บริการ ของศูนย์ช่วยเหลือสังคมสายด่วน 1300 จังหวัดเลย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนี่องจากกลุ่มเป้าหมายมีความต้องการ ทราบถึงสิทธิ สวัสดิการของภาครัฐ และตามนโยบายรัฐบาย โดยแยกประเด็นปัญหา พบมากสุดได้แก่ ปัญหาเรื่องรายได้และความเป็นอยู่ จำนวน 116 ราย รองลงมาคือ ปัญหาเรื่องสิทธิ สวัสดิการ และกฎหมาย จำนวน 69 ราย ปัญหาความรุนแรง จำนวน 16 ราย ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว จำนวน 9 ราย ปัญหาสุขภาพ/อุบัติเหตุ อุบัติภัย/แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย จำนวน 9 ราย ปัญหาพฤติกรรม จำนวน 9 ราย ปัญหาเร่ร่อน/ขอทาน จำนวน 5 ราย ปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น/ตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์ จำนวน 2 ราย ปัญหาบุคคลสูญหาย จำนวน 1 ราย และปัญหาไวรัสโควิค-19 จำนวน 1 ราย ตามลำดับ การให้ความช่วยเหลือ 1. ปัญหาที่เกี่ยวกับภารกิจกระทรวงฯ การให้คำปรึกษาและแนะนำ จำนวน 357 กรณี 2. ประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 กรณี ภายในกระทรวง สนง.พมจ.เลย (กลุ่มการ พัฒนาสังคมและสวัสดิการ 4 กรณี) /สนง.พมจ.อุดร 1 กรณี /สนง.พมจ.หนองบัวลำภู จำนวน 1 กรณี จำนวน 6 กรณี/พก. จำนวน 2 กรณี /บพด. จำนวน 1 กรณี


๒๙ การวิเคราะห์สถานการณ์ทางสังคมในพื้นที่จังหวัดเลย (เป็นการนำข้อมูลในส่วนที่ ๒-๔ มาวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ทางสังคมในเขตพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ) ๕.๑ สถานการณ์เชิงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัด ๕.1.๑ กลุ่มเด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์) ตารางที่ ๕.1.๑ แสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมจังหวัด กลุ่มเด็ก (หน่วย:คน) จากตารางแสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมจังหวัด กลุ่มเด็ก พบมากที่สุด คือ ประเด็นเด็กนอกระบบ จำนวน 531 คน คิดเป็นร้อยละ 0.41 รองลงมาคือ ประเด็นเด็กไร้สัญชาติ จำนวน 200 คน คิดเป็นร้อยละ 0.15 และประเด็นเด็กที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว จำนวน 167 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.13 ตามลำดับ ๕.1.2 กลุ่มเยาวชน ตารางที่ ๕.1.๒ แสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมจังหวัด กลุ่มเยาวชน (หน่วย:คน) จากตารางแสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมจังหวัด กลุ่มเยาวชน พบมากที่สุด คือ เยาวชนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 0.07 รองลงมาคือ ประเด็นเยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกายจิตใจและทางเพศ จำนวน 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.004 ตามลำดับ ลำดับ ประเด็นสถานการณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ตามประเด็น คิดเป็นร้อยละของประชากร เด็กทั้งหมดในเขตพื้นที่จังหวัด 1 เด็กนอกระบบ 531 0.41 2 เด็กไร้สัญชาติ 200 0.15 3 เด็กที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 167 0.13 ลำดับ ประเด็นสถานการณ์ กลุ่มเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ตามประเด็น คิดเป็นร้อยละของประชากร เยาวชนทั้งหมดในเขตพื้นที่จังหวัด 1. เยาวชนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม 46 0.07 2. เยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทาง ร่างกายจิตใจและทางเพศ 3 0.004


๓๐ ๕.1.3 กลุ่มสตรี ตารางที่ ๕.1.๓ แสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมจังหวัด กลุ่มสตรี (หน่วย:คน) จากตารางแสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมจังหวัด กลุ่มสตรี พบมากที่สุด คือ ประเด็นสตรีที่ถูกเลิกจ้าง จำนวน 1,036 คน คิดเป็นร้อยละ 0.63 รองลงมาคือประเด็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ฐานะยากจน จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 0.06 และประเด็นสตรีที่ถูกทำร้ายร่างกายจิตใจ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.001 ตามลำดับ ๕.1.๔ กลุ่มครอบครัว ตารางที่ ๕.1.๔ แสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมจังหวัด กลุ่มครอบครัว (หน่วย:คน) จากตารางแสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมครอบครัว พบมากที่สุด คือประเด็นครอบครัวยากจน จำนวน 13,705 คน คิดเป็นร้อยละ 5.93 รองลงมาคือประเด็นครอบครัว หย่าร้าง จำนวน 1,175 คน คิดเป็นร้อยละ 0.50 และ ประเด็นครอบครัวที่มีคนในครอบครัวกระทำความรุ่น แรงต่อกัน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 0.002 ตามลำดับ ลำดับ ประเด็นสถานการณ์ กลุ่มเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ตามประเด็น คิดเป็นร้อยละของประชากรสตรี ทั้งหมดในเขตพื้นที่จังหวัด 1. สตรีที่ถูกเลิกจ้าง 1,036 0.63 2. แม่เลี้ยงเดี่ยวฐานะยากจน 105 0.06 3. สตรีที่ถูกทำร้ายร่างกายจิตใจ 3 0.001 ลำดับ ประเด็นสถานการณ์ กลุ่มเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ตามประเด็น คิดเป็นร้อยละของจำนวนครอบครัว ทั้งหมดในเขตพื้นที่จังหวัด 1. ครอบครัวยากจน 13,705 5.93 2. ครอบครัวหย่าร้าง 1,175 0.50 3. ครอบครัวที่มีคนในครอบครัว กระทำความรุนแรงต่อกัน 5 0.002


๓๑ ๕.1.๕ กลุ่มผู้สูงอายุ ตารางที่ ๕.1.๕ แสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดกลุ่มผู้สูงอายุ (หน่วย:คน) จากตารางแสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดกลุ่มผู้สูงอายุ พบมาก ที่สุดคือ ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ (ติดเตียง) จำนวน 581 คน คิดเป็นร้อยละ 0.47 รองลงมาคือ ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 0.04 และ ผู้สูงอายุที่ต้องดำรงชีพด้วยการ เร่ร่อนขอทาน จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 0.005 ตามลำดับ ๕.1.6 กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ตารางที่ ๕.1.6 แสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมจังหวัด กลุ่มผู้ด้อยโอกาส (หน่วย:คน) จากตารางแสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมจังหวัด กลุ่มผู้ด้อยโอกาส พบมากที่สุดคือ ประเด็นกลุ่มคนยากจน จำนวน 43,530 คน คิดเป็นร้อยละ 6.81 รองลงมาคือ ประเด็น กลุ่มไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร จำนวน 1,145 คน คิดเป็นร้อยละ 0.17 และประเด็นกลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 0.005 ตามลำดับ ลำดับ ประเด็นสถานการณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน กลุ่มเป้าหมายตาม ประเด็น คิดเป็นร้อยละของจำนวน ผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตพื้นที่ จังหวัด 1. ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ (ติดเตียง) 581 0.47 2. ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม 55 0.04 3. ผู้สูงอายุที่ต้องดำรงชีพด้วยการเร่ร่อนขอทาน 7 0.005 ลำดับ ประเด็นสถานการณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ตามประเด็น คิดเป็นร้อยละของจำนวนประชากร ทั้งหมดในเขตพื้นที่จังหวัด ๑ กลุ่มคนยากจน 43,530 6.81 ๒ กลุ่มไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร 1,145 0.17 ๓ กลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV 33 0.005


๓๒ ยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2565 วิสัยทัศน์ ประชาชนเข้าถึงโอกาส และการคุ้มครองทางสังคมมีความมั่นคงในชีวิต พันธกิจ 1. เสริมสร้างศักยภาพคนและสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว 2. เสริมสร้างโอกาสและการคุ้มครองทางสังคมอย่างเท่าเทียม 3. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน 4. ยกระดับองค์กรให้มีผลสัมฤทธิ์สูงด้วยธรรมาภิบาลและเทคโนโลยีดิจิทัล เป้าประสงค์ 1. คนทุกช่วงวัยได้รับโอกาสและการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่และครอบครัวไทยมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ 2. ประชาชนทุกช่วงวัยได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต 3. องค์กรเครือข่ายมีความเข้มแข็งและร่วมเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาสังคม อย่างเต็มที่และมี ประสิทธิภาพ 4. องค์กร พม. ก้าวสู่องค์กรยุคดิจิทัลมีผลสัมฤทธิ์สูง และบุคลากรมีทักษะที่จำเป็นในการขับเคลื่อน งานในคตวรรษที่ 21 ยุทธศาสตร์เป้าประสงค์และกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาศักยภาพคนและสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวอย่างยั่งยืน -พัฒนาทักษะสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับคนทุกช่วงวัย -ส่งเสริมให้กลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ได้รับการพัฒนาศักยภาพทักษะอาชีพ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต -เตรียมความพร้อมนการพัฒนาคนเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย และพัฒนาทักษะผู้สูงอายุ ให้มีคุณภาพเหมาะสมตามช่วงวัย -ส่งเสริมการสร้างครอบครัวและเตรียมคามพร้อมของพ่อแม่ผู้ปกครองให้มีทักษะ ในการเลี้ยงดูบุตรหลาน -ส่งเสริมการสร้างภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อครอบครัว ให้สถาบันครอบครัวมีความ เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 : สร้างโอกาสและยกระดับการคุ้มครองทางสังคมสำหรับคนทุกช่วงวัย -กำหนดนโยบาย มาตรการในการคุ้มครองทางสังคม รวมถึงการพัฒนานวัตกรรม ทางสังคม เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ -ยกระดับการคุ้มครองทางสังคม โดยการจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานการส่งเสริมการ เข้าถึงสิทธิ การสร้างหลักประกันทางสังคม สำหรับคนทุกช่วงวัย กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้ประสบปัญหาทางสังคม และกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงแบบพุ่งเป้า ให้ สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


๓๓ -พัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือเยียวยาใสถานการณ์วิกฤติอย่างทันท่วงทีและมี ประสิทธิภาพ -สร้างโอกาสในการเข้าถึงที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินที่มั่นคงและได้มาตรฐาน และ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตให้กับประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย -ยกระดับการบริหารจัดการกองทุนในสังกัดกระทรวง พม. เพื่อขับเคลื่อนการ คุ้มครองทางสังคมคนทุกช่วงวัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาทุนทางสังคม สร้างการมีส่วนร่วมเสริมเศรษฐกิจฐานราก สู่การเป็น หุ้นส่วนการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน -สานพลังเครือข่าย ร่วมกับภาคธุรกิจเพื่อสังคม วิสาหกิจเพื่อสังคมภาคประชาสังคม องค์กรชุมชน องค์กรตามกลุ่มเป้าหมายสถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน -ส่งเสริมการลงทุนทางสังคมในรูปแบบใหม่ -การปรับกลไกการขับเคลื่อนงานเชิงพื้นที่ที่มุ้งเน้นการพัฒนาสังคมแบบองค์รวม -การเสริมสร้างพลเมืองที่มีส่วนร่วม (Engage Citizen) พลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) อาสาสมัครพัฒนาสังคมจิตอาสา เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนา สังคม -เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการเพิ่มมูลค่าและความเข้มแข็งของ เศรษฐกิจฐานรากให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์และทุนทางสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 4 : มุ่งพัฒนาองค์กรให้มีสมรรถนะและผลสัมฤทธิ์สูงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ในยุคดิจิทัล -ปรับเปลี่ยนองค์กร พม. สู่องค์กรยุคดิจิทัล โดยการพัฒนาและบูรณาการข้อมูล ขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายรวมถึงการพัฒนากระบวนงานและบริการ ที่สะดวกเข้าถึงง่ายด้วยดิจิทัล ส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมในการพัฒนาองค์กร -การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร การปรับโครงสร้างให้มีความยืดหยุ่น ตลอดจนการพัฒนากฎหมาย ระเบียบ ประกาศต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และการเปลี่ยนแปลงรวมถึงสร้างธรรมาธิบาลในการบริหารองค์กร -มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะบุคลากร (Skillsets) ในการทำงานในยุคดิจัทัลและศตวรรษที่ 21 ทั้งการปลูกฝังบุคลากรให้มีกรอบความคิด (Mindset) ในการเรียนรู้และพัฒนา ตนเองมุ้งประโยชน์ส่วนรวมรวมถึงการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน -สื่อสารสังคมสร้างภาพลักษณ์องค์กรทั้งในเชิงนโยบายและการขับเคลื่อนภารกิจ เพื่อสร้างการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายและภาคส่วนต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ


๓๔ ยุทธศาสตร์จังหวัดเลย 1. วิสัยทัศน์จังหวัดเลย “เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ” 2. พันธกิจ 1) พัฒนาการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน 2) สนับสนุนมาตรฐานอาหารปลอดภัย 3) บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน 4) ปรับปรุงระบบ Information Technology ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และเหมาะสม 3. ค่านิยม ค่านิยม : Loei value (ค่านิยมจังหวัดเลย) = LOEI 1) L = Learning Organization: เป็นจังหวัดที่มีการเรียนรู้อยู่เสมอ หรือเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) O = Open mind: เป็นจังหวัดที่มีบุคลากรเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับการเห็นต่าง 3) E = Ethics: เป็นจังหวัดที่มีบุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรม ต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) I = Integration: เป็นจังหวัดที่มีการทำงานบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน 4. เป้าประสงค์รวม เพื่อพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการภายในจังหวัด ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองที่น่าอยู่และน่าท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 5. ตัวชี้วัดตามเป้าประสงค์รวม ร้อยละของดัชนีวัดความสุข มวลรวมชุมชน ของจังหวัดเลย (Gross Village Happiness : GVH) ค่าเป้าหมาย ≥ 75 % ต่อปี 6. ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามแผนที่ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย 1) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว ต่อ ปี 2) ร้อยละความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 3) ใบประกาศมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) ใบประกาศอาหารปลอดภัย ร้อยละ 3 ร้อยละ 75 ไม่น้อยกว่า 4 แห่ง ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง 7. ประเด็นการพัฒนา (ยุทธศาสตร์) ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาการเกษตรสู่เกษตรสมัยใหม่ ควบคู่กับการส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การผลิต การค้า และการบริการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงสู่ความยั่งยืน


๓๕ 8. เป้าประสงค์ตามประเด็นการพัฒนา (ยุทธศาสตร์) 1. เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน สร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ 2. เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรให้แข่งขันได้ ปลอดภัย ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการให้แข่งขันได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ความยั่งยืน และสร้างความพอใจให้แก่ผู้ใช้บริการ 5. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยแบบมีส่วนร่วม 9. แนวทางการพัฒนาภายใต้ประเด็นการพัฒนา ประเด็นการพัฒนาที่ 1 : การพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน แนวทางการพัฒนาที่ 1.1 ยกระดับการท่องเที่ยวและบริการสู่มาตรฐาน แผนงานที่ 1 : พัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวและบริการ โครงการสำคัญ 1) โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนายความสะดวก ในแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน กิจกรรมหลัก - การพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน - การอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว - การส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว - พัฒนาโครงข่ายทางหลวงเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัด - เพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงสนับสนุนการพัฒนาตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ East-West Economic Corridor โครงการสำคัญ 2) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสนับสนุนการ ท่องเที่ยว กิจกรรมหลัก - การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อรองรับการท่องเที่ยว - พัฒนาพื้นที่นำร่องตามหลักเกณฑ์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (GSTC) - การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและบริการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว - ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว - การจัดทำระบบมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว - การให้คำปรึกษาแนะนำระบบมาตรฐานการท่องเที่ยว (มาตรฐานสากล) แนวทางการพัฒนาที่ 1.2 ส่งเสริมการตลาดเพื่อรองรับ New normal แผนงานที่ 2 : ส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โครงการสำคัญ 3) โครงการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด กิจกรรมหลัก - การส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับ New normal (เชื่อมโยงกับ ต่างประเทศ) - การสัมมนาการจัดทำกลยุทธ์ช่องทางการตลาดด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับ New Normal


๓๖ - การโฆษณาและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัด - การตรวจประเมินระบบมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว ประเด็นการพัฒนาที่ 2 : การพัฒนาการเกษตรสู่เกษตรสมัยใหม่ ควบคู่กับการส่งเสริมและ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนาที่ 2.1 : เพิ่มผลิตภาพด้านการเกษตรเพื่อเกษตรแปรรูปมูลค่าสูงและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม แผนงานที่ 3 : ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร โครงการสำคัญ 1) โครงการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนด้านการเกษตร กิจกรรมหลัก - พัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำเพื่อสนับสนุนการเกษตร - พัฒนาและปรับปรุงเส้นทางลำเลียงผลผลิตสินค้าเกษตร - ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลพร้อมติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อสนับสนุน การเกษตร - การบริหารจัดการน้ำและระบบชลประทานเพื่อการเกษตร - ส่งเสริมระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน โครงการสำคัญ 2) โครงการส่งเสริมการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการตลาดสินค้าเกษตร กิจกรรมหลัก - การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - พัฒนาและส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรแบบครบวงจร - ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อการเกษตร - การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการเกษตร - ส่งเสริมการจัดทำเกษตรคุณภาพตามมาตรฐาน GAP - การส่งเสริมการตลาดด้านการเกษตร (ตลาดสีเขียว) - การสนับสนุนปัจจัยการผลิดด้านการเกษตร - การส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร โครงการสำคัญ 3) โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมหลัก - ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - การถ่ายทอดและฝึกอบรมความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาเกษตรกรตามแนวทฤษฎีใหม่โดย ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - การส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสาน - ส่งเสริมและพัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง - การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยสู่มาตรฐานอินทรีย์อย่างเป็นระบบ (Green economy) - การส่งเสริมการจัดทำเกษตร Zoning


๓๗ แนวทางการพัฒนาที่ 2.2 : ส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แผนงานที่ 4 : สร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม โครงการสำคัญ 4) โครงการส่งเสริมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กิจกรรมหลัก - ส่งเสริมอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศป่าต้นน้ำ - การบริหารจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และมลภาวะทางด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน - การเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ตามสถานการณ์โลก - พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรนิเวศ Loei green zone โครงการสำคัญ 5) โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม กิจกรรมหลัก - ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและชุมชน ประเด็นการพัฒนาที่ 3 : การผลิต การค้า และการบริการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนาที่ 3.1 : สนับสนุนการจัดการอุตสาหกรรมการผลิต การค้า และการบริการ มุ่งสู่มาตรฐาน แผนงานที่ 5 : สนับสนุนการจัดการอุตสาหกรรมการผลิต การค้า และการบริการ มุ่งสู่มาตรฐาน โครงการสำคัญ 1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการผลิต การค้า และการบริการ เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม กิจกรรมหลัก - เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีมาตรฐาน - เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการภาคอุตสาหกรรมการผลิต การค้า ธุรกิจ SMEs และการบริการสู่มาตรฐาน - พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเลย สู่การเป็น Start up ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล - ส่งเสริมการรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนการผลิต การค้า และการบริการ เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม - สนับสนุนเทคโนโลยีนวัตกรรม การผลิตเชิงสร้างสรรค์ - ส่งเสริมช่องทางการตลาด ผลิตภัณฑ์ชุมชน อุตสาหกรรมการผลิต การค้า ธุรกิจ SMEs และ การบริการ


๓๘ โครงการสำคัญ 2) โครงการส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต การค้าและการบริการ กิจกรรมหลัก - ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนด้านการผลิต การค้า และการบริการ - เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (แปรรูปผลิตภัณฑ์โดยกระบวนการพลังงานแสงอาทิตย์) - ปรับปรุงผังเมืองจังหวัดเลยเพื่อส่งเสริมการลงทุน โครงการสำคัญ 3) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร แรงงานและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการ ผลิต การค้า และการบริการเพื่อรองรับ New normal กิจกรรมหลัก - พัฒนาทักษะ (Up-skill) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุนในอุตสาหกรรม การผลิตและบริการ - พัฒนาศักยภาพแรงงานนอกระบบ เพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ (New normal) - พัฒนาทุนมนุษย์สู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) - สร้างกลไกการคุ้มครองแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี - พัฒนาหลักประกันทางสังคมให้กับแรงงานเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ประเด็นการพัฒนาที่ 4 : การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงสู่ความยั่งยืน แนวทางการพัฒนาที่ 4.1 : ยกระดับสังคมและคุณภาพชีวิตสู่การมีความคุ้มครองทางสังคมที่ เพียงพอ แผนงานที่ 6 : พัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความยั่งยืน โครงการสำคัญ 1) โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาเมือง และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อ ยกระดับสังคม และคุณภาพชีวิต กิจกรรมหลัก - ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต - ปรับปรุงรักษาระบบโครงข่ายทางภายใต้โครงข่ายแขวงทางหลวงชนบทเลย จำนวน 26 สายทางระยะทางรวม 542.515 กม. - การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานในภาคประชาสังคม - ศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อสร้างถนนเลี่ยง เมืองเลย (BYPASS LOEI) และทางเลี่ยงเมืองเชียงคาน (BYPASS CHAING KHAN) (โครงการชี้เป้าเชิงนโยบาย ผ่าน ครม.สัญจร จ.หนองคาย)


๓๙ โครงการสำคัญ 2) โครงการเสริมสร้างสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตจังหวัดเลย กิจกรรมหลัก - ส่งเสริมสุขภาพและมาตรฐานโรงพยาบาลจังหวัด/ชุมชน/ประจำตำบล - การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษา - ส่งเสริมการกีฬาและสุขภาวะที่เหมาะสมทุกช่วงวัย - การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และวินัยทางสังคม - การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีถิ่นไทเลย - ส่งเสริม พัฒนาและสนับสนุนผู้ด้อยโอกาส คนพิการ เด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ - การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการทุกช่วงวัย - การส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยกระบวนการยุติธรรมเพื่อลดความเลื่อมล้ำในสังคม - การพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ (เศรษฐกิจพอเพียง) แนวทางการพัฒนาที่ 4.2 : ยกระดับมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ แผนงานที่ 7 : ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการภาครัฐมุ่งสู่ความเป็นสากล โครงการสำคัญ 3) โครงการพัฒนาระบบคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ กิจกรรมหลัก - การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ - บูรณาการข้อมูลและสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดเลย - การจัดทำฐานข้อมูล GPP จังหวัด แนวทางการพัฒนาที่ 4.3 : ป้องกัน แก้ไขและบรรเทาสาธารณภัย แผนงานที่ 8 : ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โครงการสำคัญ 4) โครงการป้องกันแก้ไขและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนในพื้นที่อันเนื่องมาจากสา ธารณภัย กิจกรรมหลัก - การป้องกันแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ ในพื้นที่ - การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม และดินโค่นถล่ม - การป้องกันและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์วิกฤติโรคติดต่อในคน ในพืช และในสัตว์ แนวทางการพัฒนาที่ 4.4 : ป้องกันและรักษาความสงบภายในและตามแนวชายแดน แผนงานที่ 9 : เสริมสร้างความเข้มแข็งและมั่นคง โครงการสำคัญ 5) โครงการยกระดับเสริมสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงในพื้นที่ กิจกรรมหลัก - การรักษาความสงบภายในและตามแนวชายแดนเพื่อความมั่นคง - เพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีเพื่อนสนับสนุนด้านความมั่นคงให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ - การบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด - การเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้าน - การเสริมสร้างศักยภาพและภูมิคุ้มกันของคนและชุมชน


๔๐ ยุทธศาสตร์สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย วิสัยทัศน์ มุ่งครอบครัว ชุมชนให้ผาสุก รุกไปหาสังคมเพื่อพัฒนาใฝ่หาความมั่นคงของมนุษย์ พันธกิจ เพิ่มประสิทธิภาพของการคุ้มครองทางสังคม พัฒนาหลักประกันความมั่นคงของมนุษย์ สร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนานโยบายและสารสนเทศ - จัดเก็บข้อมูลเครือข่ายและกลุ่มเป้าหมาย - เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อพัฒนานโยบายและการจัดบริการให้ทั่วถึง เป็นธรรมการสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิต - จัดบริการสวัสดิการสังคมในระดับจังหวัด - สร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัย - พัฒนามาตรฐานการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ - สร้างครอบครัวและชุมชนเข้มแข็ง ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาบริการทางสังคมเชิงรุก - เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายให้มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง - เพื่อสร้างกระบวนทัศน์ข้าราชการให้ทำงานป้องกันและเฝ้าระวังปัญหา ยุทธศาสตร์ที่ 3 การรวมพลังพัฒนาทุนทางสังคม - สร้างทัศนคติของประชาชนให้เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ - คุ้มครองความเสมอภาคทางสังคม - เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม


๔๑ สำนักงำนพัฒนำสังคมและควำมมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย หัวหน้ำฝ่ำยบริหำรทั่วไป หัวหน้ำกลุ่มนโยบำยและวิชำกำร หัวหน้ำกลุ่มกำรพัฒนำสังคม และสวัสดิกำร ผู้อำนวยกำรศูนย์บริกำรคนพิกำร จังหวัดเลย


๔๒ โครงสร้างองค์กร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย แบ่งอำนาจหน้าที่และโครงสร้างกำรบริ หารจัดการ ออกเป็น 1 ฝ่าย 2 กลุ่ม 1 ศูนย์บริการคนพิการ ประกอบด้วย


๔๓ ภารกิจและหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย 1. ศึกษา วิเคราะห์ และรายงานสถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อการกำหนดนโยบายในระดับ จังหวัด รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไข 2. ประสาน และจัดทำแผนงานโครงการ / กิจกรรม ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัด ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง 3. ส่งเสริม และประสานการดำเนินงานการจัดกิจกรรม ตามภารกิจและเป้าหมายของหน่วยงานใน กระทรวง 4. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานกับองค์กรเครือข่าย ทั้งภาครัฐ และเอกชน 5. ส่งเสริม ประสานงาน และดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม รวมทั้งส่งต่อให้หน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง 6. เป็นศูนย์ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับจังหวัด 7. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และรณรงค์ให้มีการดำเนินกิจกรรม เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ 8. ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับ มอบหมาย


๔๔ ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินงาน ผลการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ลำดับ หน่วยงาน งบประมาณที่ได้รับ (บาท) ผลการเบิกจ่าย (บาท) คิดเป็น ร้อยละ 1 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ 4,433,308.09 4,433,308.09 100 2 งบเบิกแทนกรมกิจการเด็กและเยาวชน 3,088,110.00 3,088,110.00 100 3 งบเบิกแทนกรมกิจการสตรีและครอบครัว 1,353,250.00 1,353,250.00 100 4 งบเบิกแทนกรมกิจการผู้สูงอายุ 4,224,000.00 4,224,000.00 100 5 งบเบิกแทนกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ 1,149,000.00 1,149,000.00 100 6 งบเบิกแทนกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 1,826,935.00 1,826,935.00 100 รวมงบประมาณทั้งสิ้น 16,074,603.09 16,074,603.09 100 ลำดับ งบกองทุน งบประมาณ ที่ได้รับ(บาท) ผลการเบิกจ่าย (บาท) คิดเป็น ร้อยละ 1 เงินกองทุนคุ้มครองเด็ก 243,230.00 243,230.00 100 2 เงินกองทุนผู้สูงอายุ 3,587,999.00 100 3 เงินกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม 1,491,052.00 100 4 เงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 20,335,749.99 100 5 เงินกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ 198,360.00 100 รวมงบประมาณทั้งสิ้น 25,856,390.99 100


45 สรุปผลการดำเนินงานตามพันธกิจ/เชิงกลุ่มเป้าหมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย ******************************************************** กลุ่มนโยบายและวิชาการ ที่ โครงการ / กิจกรรม/ขั้นตอน งบประมาณ (บาท) กลุ่มเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน 1 ประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานด้านการป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงเครือข่ายที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินการป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ รูปแบบกิจกรรม/ขั้นตอน 1. เชิญประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. จัดประชุมตามทวาระที่กำหนดและสรุปผลการประชุมฯ เพื่อทราบ 3. ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณ 4. ดำเนินการงบประมาณตามระเบียบ 23,375 คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน เกิดการบูรณาการการ ทำงานด้านการป้องกัน และปราบปรามการค้า มนุษย์ ทั้งภาครัฐและ เอกชน รวมไปถึงเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินการ ป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ 2 การจัดทำรายงานสถานการณ์และการดำเนินงาน ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์และการ ดำเนินงานของจังหวัดในปีงบประมาณ 2565 เพื่อนำมา ประเมินผลและวางแผนการดำเนินงาน รูปแบบกิจกรรม/ขั้นตอน 1. สำนักงาน พมจ.รวบรวมข้อมูลสถิติจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง 2. จัดทำรางานสถานการณ์และผลการดำเนินงานป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ ประจำปีงบประมาณ 2565 3. เสนอคณะอนุศปคม.จังหวัดทราบและใช้เป็นข้อมูล ประกอบการวางแผน 4. รายงานผลถึง กคม.เพื่อนำมาวิเคราะห์และใช้เป็น ข้อมูลในการคาดการณ์สถานการณ์ค้ามนุษย์ - สนง.พมจ.เลย หน่วยงาน/องค์กรมีส่วน ร่วมในการแก้ไขปัญหา ค้ามนุษย์ และมี แผนปฏิบัติการป้องกัน และปราบปรามค้ามนุษย์


46 ที่ โครงการ / กิจกรรม/ขั้นตอน งบประมาณ (บาท) กลุ่มเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน 3 การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ ประจำปี2565 วัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์จังหวัด ประจำปี2565 โดยบูรณาการ ความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ให้ได้ ทราบถึงแผนปฏิบัติการฯ ของจังหวัดและแผนโครงการ ที่ต้องการขอสนับสนุนงบประมาณกองทุนป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ รูปแบบกิจกรรม/ขั้นตอน 1. เชิญประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. จัดประชุมตามทวาระที่กำหนดและสรุปผลการประชุมฯ เพื่อทราบ 3. ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณ 4. ดำเนินการงบประมาณตามระเบียบ 5,000 - คณะอนุ กรรมการฯ - ผู้ปฏิบัติงาน ด้านการป้องกัน และปราบปราม การค้ามนุษย์ หน่วยงาน/องค์กรมีส่วน ร่วมในการแก้ไขปัญหาค้า มนุษย์ และมีแผนปฏิบัติ การป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ 4 โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทีมสหวิชาชีพ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ระดับพื้นที่ วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ รูปแบบปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และการป้องกันตนเองจากภัย การค้ามนุษย์เพื่อนำไปถ่ายทอดและขยายกลุ่มเป้าหมาย ในระดับพื้นที่ต่อไป รูปแบบกิจกรรม/ขั้นตอน 1. สำนักงาน พมจ.กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2. สำนักงาน พมจ.ดำเนินการจัดโครงการให้แก่ทีม สหวิชาชีพ 3. ประเมินผลและสรุปผลโครงการ 20,000 ทีมสหวิชาชีพ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้เท่า ทันภัยอันตราย/รูปแบบ ของการค้ามนุษย์ หรือให้ สามารถป้องกันตนเองให้ ปลอดภัยจากการค้ามนุษย์ และไม่กระทำความผิด กฎหมายป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ 5 โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาชน เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ในระดับพื้นที่ วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนส่งเสริม พัฒนาศักยภาพสภาเด็กและ เยาวชน ในการดำเนินการหรือกิจกรรมเพื่อต่อต้านการค้า มนุษย์ 25,000 สภาเด็กฯ ประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพเด็กและ เยาวชน เพื่อต่อต้าน การค้ามนุษย์ในระดับพื้นที่


47 ที่ โครงการ / กิจกรรม/ขั้นตอน งบประมาณ (บาท) กลุ่มเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน รูปแบบกิจกรรม/ขั้นตอน 1. สำนักงาน พมจ.จัดประชุมร่วมกับสภาเด็กเพื่อวางแผน ร่วมกันในการจัดทำโครงการ 2. สภาเด็กฯ จัดกิจกรรมต่อต้านการค้ามนุษย์ในรูปแบบที่ เหมาะสมกับสถานการณ์ค้ามนุษย์ในพื้นที่โดยอาศัยความ ร่วมมือกับหน่วยงานในชุมชน 3. สำนักงานพมจ. ต้องให้การสนับสนุนข้อมูลแก่สภาเด็ก ประกอบด้วยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ 6 ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานทีม พม. จังหวัด ภายใต้แนวคิดบ้านเดียวกัน (One Home) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานใน สังกัดกระทรวง พม. จังหวัดเลย เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อบูรณาการนโยบายของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. จังหวัดเลย และแบ่งปันทรัพยากรในการบริหารงาน ให้เกิดการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม บรรลุภารกิจของกระทรวง รูปแบบกิจกรรม/ขั้นตอน 1. จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานทีม พม. จังหวัด ภายใต้แนวคิดบ้านเดียวกัน (One Home) 2. จัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนฯ เพื่อกำหนดกรอบ แนวทาง การขับเคลื่อนทีม พม. จังหวัดฯ 3. จัดทำแผนปฏิบัติงานบูรณาการ ทีม พม.จังหวัดฯ 4. รายงานผลการขับเคลื่อนการดำเนินงาน - หน่วยงานในสังกัด กระทรวง พม. จังหวัดเลย ประชุมหน่วยงานในสังกัด กระทรวงพัฒนาสังคมและ ความมั่งคงของมนุษย์ (One Home) ประจำเดือน ประจำปี 2565 เพื่อบูรณาการ แผนการขับเคลื่อนงาน ด้านสังคมและแบ่งปัน ทรัพยากรในการ บริหารงานให้เกิดการ ปฏิบัติงานในพื้นที่อย่าง เต็มรูปธรรม บรรลุภารกิจ ของกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่งคงของมนุษย์ 7 โครงการวิเคราะห์และเฝ้าระวังสถานการณ์ทางสังคม การจัดทำรายงานสถานการณ์ จังหวัด วัตถุประสงค์ - เพื่อจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดเลย - เพื่อการวางแผน พัฒนาพื้นที่เชิงรุก และกำหนด นโยบายในภาพรวมของจังหวัดเลย รูปแบบกิจกรรม/ขั้นตอน 1.ประชุมชี้แจงตามแบบการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์ทาง สังคม - คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน - จัดทำรายงาน สถานการณ์ทางสังคม จังหวัดเลย ปี 2565 - ประชาสัมพันธ์รายงาน สถานการณ์ทางสังคม จังหวัดเลย ผ่านช่องทาง เว็บไซด์สำนักงานพัฒนา สังคมและความมั่งคงขอ งมนาย์จังหวัดเลย ส่งหนังสือถึงส่วนราชการ ที่ปฏิบัติงานด้านสังคม


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.