แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 Flipbook PDF

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566

32 downloads 109 Views 28MB Size

Recommend Stories


Decreto 2566 de Septiembre 10 de 2003
Decreto 2566 de Septiembre 10 de 2003 Por el cual se establecen las condiciones mínimas de calidad y demás requisitos para el ofrecimiento y desarroll

Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

Story Transcript

1


2 แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 โรงเรียนบ้านเขาจีน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล


ก คำนำ แผนปฏิบัติการประจำปี 2566 ของโรงเรียนบ้านเขาจีนเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อดำเนินการใช้ งบประมาณต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษากับสภาพปัจจุบันของท้องถิ่นและชุมชน อีกทั้ง แนวนโยบาย จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นกรอบแนวทางการใช้งบประมาณ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เน้นการปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยเน้นประเด็นหลัก 3 ประการ คือ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและ การเรียนรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม ทางโรงเรียนขอขอบคุณผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล ส่งเสริมสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน จนประสบ ผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2566 เล่มนี้ จะส่งผลดีต่อ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพต่อไป นายเสรี มากแสง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาจีน


ข สารบัญ หน้า ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน 1 ประวัติโรงเรียน 1 ข้อมูลชุมชน 2 ข้อมูลเชิงปริมาณ 4 ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์การจัดการของโรงเรียน 8 นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 8 นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 12 จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 14 วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 นโยบาย จุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปี พ.ศ.2564-2565 20 วิสัยทัศน์ 20 จุดเน้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 21 วิสัยทัศน์/ปรัชญา/พันธกิจ ของโรงเรียน 22 ส่วนที่ 3 รายละเอียดแผนงบประมาณโครงการ ประจำปี 2564 20 แผนการใช้งบประมาณตามแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2566 34 ประมาณการรายรับ-รายจ่าย 38 โครงการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 44 โครงการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน 48 โครงการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา 52 โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC 56 โครงการนิเทศภายในสถานศึกษา 61 โครงการจัดจ้างครูลูกจ้างชั่วคราว 64 โครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ทุกระดับชั้น 67 โครงการโรงเรียนส่งเสริมภาษาอังกฤษ 71 โครงการพัฒนาความสามารถด้านทักษะการคิดคำนวณ 74 โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 78


ค สารบัญ(ต่อ) หน้า โครงการการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 81 โครงการวันสุนทรภู่สู่วันภาษาไทย 85 โครงการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ลายมือสวย 89 โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ(แข่งทักษะ) 92 โครงการรายงานผลการจัดการศึกษาสู่สาธารณชน 96 โครงการส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ 99 โครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น( กลองยาว ) 103 โครงการวันสำคัญทางศาสนาพุทธ (วันปีใหม่) 107 โครงการวิถีมุสลิม 110 โครงการวันไหว้ครู 113 โครงการจัดงานวันเด็ก 116 โครงการวันสำคัญของชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ 120 โครงงานคุณธรรม 124 โครงการการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานฐานวิจัย 128 โครงการกีฬาต้านยาเสพติดปลูกจิตสาธารณะสู่สังคม 132 โครงการงานทะเบียนนักเรียน 137 โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 140 โครงการเยี่ยมบ้าน cct 147 โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนร่วม/เรียนรวม 150 โครงการทุนการศึกษา 155 โครงการสหกรณ์โรงเรียน 158 โครงการปรับภูมิทัศน์ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน 161 โครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร และสิ่งชำรุดอื่นๆ 166 โครงการปรับปรุงซ่อมแซมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง 169 โครงการสานสัมพันธ์โรงเรียน บ้าน ชุมชน 172 โครงการประชาธิปไตยในโรงเรียน 175 โครงการออมทรัพย์ ออมความดี 178 โครงการจัดทำและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการ 182


ง สารบัญ(ต่อ) หน้า โครงการอาหารกลางวัน 186 โครงการการประเมินผลการควบคุมภายใน 189 โครงการระเบียบวินัยในโรงเรียน 192 โครงการพัฒนาและปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ 196 โครงการพัฒนาห้องสมุด 200 โครงการพัฒนาห้องพุทธศาสนา 203 โครงการพัฒนาห้องพยาบาล 206 โครงการพัฒนาและปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ 209 โครงการพัฒนาห้องละหมาด 212 โครงการพัฒนาห้องเรียนนาฏศิลป์และสื่อการเรียนรู้ 215 โครงการจัดทำเอกสาร งานธุรการ การเงิน และพัสดุ 219 โครงการกิจกรรมตามนโยบาย 222 โครงการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา 225 โครงการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน 228 โครงการตรวจสุขภาพบุคลากร. 232 โครงการค่าสาธารณูปโภค 235 โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการประจําปงบประมาณ 238 โครงการจัดซื้อวัสดุสำนักงาน 242 โครงการกิจกรรมทัศนศึกษาระดับปฐมวัย 245 โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 248 โครงการค่ายคุณธรรมจริยธรรม 251 โครงการเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ 255 โครงการค่ายวิชาการบูรณาการสร้างศิลป์ สร้างสรรค์ 259 โครงการลูกเสือพัฒนาชีวิต ประจำปี 2566 265 ภาคผนวก 270


จ การให้ความเห็นชอบเอกสาร แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 ของโรงเรียนบ้านเขาจีน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ................................................................................................................................. ตามมติ ที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านเขาจีน ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 9 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2565 ได้พิจารณาแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 ของโรงเรียน บ้านเขาจีน แล้ว 1. เห็นชอบโครงการทั้งสิ้น 62 โครงการ จำนวน 1,171,969.29 บาท งบสำรองจ่าย ( ค่าสาธารณูปโภค ) 200,000 บาท 2. เห็นชอบให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 ได้ 3. เห็นชอบให้ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาจีน มีอำนาจใช้งบประมาณถัวจ่ายได้ทุก โครงการ (ลงชื่อ)............... ............................... (นายวีระชาติ นฤภัย) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านเขาจีน (ลงชื่อ).............................................. (นายเสรี มากแสง) ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาจีน


1 ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน ประวัติของโรงเรียน โรงเรียนบ้านเขาจีนตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 โดยได้รับงบประมาณจาก หน่วยงานทางราชการ จัดซื้อที่ดินจำนวน 4 ไร่ 98 ตารางวา ราคา 6,000 บาท ภายหลังได้รับ งบประมาณ 8,000 บาท สร้างอาคารเรียนถาวรแบบ ป. 1 ก. ขนาด 2 ห้องเรียน ขณะกำลัง ก่อสร้างอาคารถาวรทางโรงเรียนได้อาศัยที่เรียนจากอาคารเรียนชั่วคราว ซึ่งผู้ปกครองนักเรียนร่วมกัน จัดสร้าง ปี พ.ศ. 2519 ได้รับงบประมาณ 40,000 บาท เพื่อต่อเติมอาคารเรียนแบบ ป. 1 ก. อีก 2 ห้องเรียน จนกระทั่งถึงปี พ.ส. 2521 ได้เปิดขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อมาปี พ.ศ. 2523 นายเพ็ชร แสงจันทร์ ได้บริจาคที่ดินให้กับทางโรงเรียน จำนวน 3 งาน 44 ตร.วา เพื่อตอบแทนการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งนักการภารโรง ของ นายสัมพันธ์ แสงจันทร์ ซึ่งเป็นบุตรชาย ปี พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณ 280,000 บาท ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป. 1 ก. ขนาด 2 ห้องเรียน และงบประมาณก่อสร้างส้วม แบบ 401 จำนวน 5 ที่นั่ง ปี พ.ศ. 2525 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ ป. 1 ก. อีก 2 ห้องเรียน จำนวน งบประมาณ 246,000 บาท ปี พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณ จำนวน 300,000 บาท สร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 203/26 จำนวน 1 หลัง ปี พ.ศ. 2534 ได้รับงบประมาณ จำนวน 720,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 102/26 จำนวน 1 หลัง 4 ห้องเรียน พร้อมครุภัณฑ์ และเรือนเพาะชำอีก 1 หลัง ปี พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณ 82,000 บาท สร้างส้วม แบบ สปช. 601/26 ขนาด 4 ที่นั่ง และสนามวอลเลย์บอล แบบ สปช. จำนวนงบประมาณ 80,000 บาท ปี. พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณ 1,650,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 จำนวน 4 ห้องเรียน พร้อมครุภัณฑ์ ปี พ.ศ. 2541 ได้รับงบประมาณ 362,000 บาท ต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่างแบบ สปช. 105/29 จำนวน 4 ห้องเรียน พร้อมครุภัณฑ์ ปี พ.ศ. 2542 ได้รับงบประมาณ 220,000 บาท สร้างสนามบาสเกตบอล จำนวน 1 สนาม และงบประมาณ 110,000 บาท สร้างส้วมแบบ สปช. 601/26 ขนาด 4 ที่นั่ง ต่อมา


2 กลางปี พ.ศ. 2542 ได้รับงบประมาณ 375,290 บาท สำหรับจัดสรรชุดอุปกรณ์เข้าห้องปฏิบัติการ จำนวน 6 ห้องเรียน ปี พ.ศ. 2543 ได้รับจัดสรรครุภัณฑ์เครื่องกรองน้ำ จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 58,000 บาท และ พ.ศ. 2546 ได้รับงบประมาณ 45,450 บาท สร้างส้วมแบบ 604/2545 จำนวน 2 ที่นั่ง ปี พ.ศ. 2547 ได้รับจัดสรรครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์จำนวน 5 ชุด เป็นเงิน 106,300 บาท จาก องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขุด ปี พ.ศ. 2549 ได้รับจัดสรรชุดสนามเด็กเล่น เป็นเงิน 50,000 บาท จากองค์การบริหารส่วน ตำบลคลองขุด ปี พ.ศ. 2554 ได้รับงบประมาณ เป็นเงิน 1,015,670 บาท สร้างถนนคอนกรีต จำนวน 265 เมตร ปี พ.ศ. 2558 ได้จ้างปรับปรุงสนามเด็กเล่น เพิ่มเครื่องเล่นสนาม เป็นเงิน 48,000 บาท ปี พ.ศ. 2559 ได้สร้างเรือนเพาะชำขนาด 4 x 6 เมตร ขึ้นใหม่ ทดแทนที่จำหน่ายไป เป็นเงิน 54,400 บาท ปี พ.ศ. 2564 ได้ก่อสร้างอาคารเรียน สปช.105/29 ปรับปรุง อาคารเรียน 2 ชั้น 8 ห้องเรียน (ชั้น ล่าง 4 ห้อง ชั้นบน 4 ห้อง) งบประมาณ 5,402,000.- บาท ปัจจุบันโรงเรียนมีที่ดินและสิ่งก่อสร้าง คือ ที่ดินจำนวน 5 ไร่ 2 งาน 16.2 ตารางวา ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ 49648 ออกเมื่อ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ดังนี้ อาคารเรียนแบบ ป.1 ก. 4 ห้องเรียน จำนวน 2 หลัง อาคารเรียนแบบ ป.102 / 26 4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง อาคารเรียนแบบ สปช. 105 / 29 8 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง อาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 203 / 26 จำนวน 1 หลัง อาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 8 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง ส้วม 15 ที่นั่ง จำนวน 4 หลัง เรือนเพาะชำ จำนวน 1 หลัง สนามวอลเลย์บอล 1 สนาม สนามบาสเก็ตบอล 1 สนาม ข้อมูลชุมชน สภาพทางภูมิศาสตร์ เขตบริการหมู่ที่ 1 บ้านเขาจีน มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จด หมู่บ้านท่าจีน และหมู่บ้านนาแค


3 ทิศใต้ จด ป่าชายเลน โคกพยอม และคลองตายาย ทิศตะวันออก จด ป่าชายเลน หมู่บ้านนาแค และคลองปูยู ทิศตะวันตก จด คลองชลประทาน และหมู่ที่ 4 ของตำบลคลองขุด สภาพภูมิประเทศ หมู่ที่ 1 บ้านเขาจีน มีพื้นที่ประมาณ 2,850 ไร่ บ้านเขาจีนเดิมมีชื่อเรียกว่าบ้านท่าแม่เงาะ ซึ่งมี ลักษณะคล้ายเกาะมีน้ำล้อมรอบ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่รายลุ่ม ส่วนด้านทิศตะวันออกเป็นเนินเขา ป่าชายเลน และทิวเขาที่สำคัญได้แก่ภูเขาวังหมัน เขาจีน ตลอดจนมีลำคลองน้ำเค็ม ซึ่งเชื่อมต่อกับทะเล ด้านทิศใต้ บริเวณดังกล่าวจะประกอบด้วยป่าชายเลน มีป่าโกงกางตามแนวภูเขาด้านทิศตะวันออก และ ทิศใต้ซึ่งเชื่อมต่อกับอุทยานแห่งชาติทะเลบัน จึงใช้เป็นแหล่งประกอบอาชีพการประมงและทำบ่อเลี้ยงกุ้งที่ สำคัญอีกทางหนึ่งด้วย สภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศมี2 ฤดู คือฤดูฝนและฤดูร้อนรับลมมรสุมทั้งฝั่งอันดามันและบางส่วนของอ่าวไทย ประชากรและการปกครอง หมู่บ้านเขาจีนประกอบด้วยครัวเรือนประมาณ 650 หลังคาเรือน มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น ประมาณ 13,500 คน อยู่ในวัยกำลังศึกษา 500 คน และมีประชากรประกอบอาชีพต่าง ๆ ดังนี้ 1) อาชีพการเกษตร มีการทำสวนยางพารา การทำสวนผัก การเพาะเห็ดฟาง และการทำนากุ้ง ส่วนการทำ นานั้น ไม่มีประชากรประกอบอาชีพทำนาอีกแล้ว เนื่องจากการทำนาไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ส่วน อาชีพอีกอย่างคือการเลี้ยงสัตว์ประเภทวัวพันธุ์พื้นเมือง 2) อาชีพการพาณิชย์กรรม มีสถานบริการขนาดเล็ก ซึ่งประกอบด้วย ร้านค้าขายของชำ ร้านตัดผม ร้านซ่อม รถจักรยานยนต์ ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น 3) อาชีพรับจ้าง เนื่องจากประชากรในชุมชนบ้านเขาจีนส่วนใหญ่ไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเองจึงจำเป็นที่ จะต้องประกอบอาชีพรับจ้างเป็นอาชีพหลัก เช่น ขับรถรับจ้าง ก่อสร้าง เป็นต้น 4) สภาพด้านศาสนา / ขนบธรรมเนียมประเพณี ประชากรในหมู่บ้านเขาจีน นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 55 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 44.75 และนับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.25 5) ศาสนสถาน ในหมู่บ้านเขาจีนมีมัสยิดจำนวน 1 แห่ง คือ มัสยิดอัลอักศอบูกิตจินาและ มีวัด จำนวน 1 แห่ง คือ วัดถ้ำเขาจีนธีระประดิษฐ์


4 6) ด้านการศึกษา ในหมู่บ้านเขาจีนมีสถานศึกษาจำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านเขาจีน สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และกลุ่มเครือข่าย เมืองสตูล 7) ด้านสาธารณูปโภค หมู่บ้านเขาจีนมีการคมนาคมสะดวกสบายทุกฤดูกาล มีท่าเทียบเรือขนาดเล็กมี รถจักรยานยนต์รับจ้าง มีบริการโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์สาธารณะอย่างทั่วถึงเพียงพอกับความต้องการ มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน และมีคลองส่งน้ำจากชลประทานเพื่อการบริโภคและอุปโภค 8) ทรัพยากรธรรมชาติ / แหล่งท่องเทียว พื้นที่หมู่บ้านเขาจีน มีลักษณะดินที่ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรมมีความอุดม สมบูรณ์ของทรัพยากร ป่าไม้ ภูเขา มีเขตอนุรักษ์ป่าชายเลน อุทยานแห่งชาติทะเลบัน ป่าชายเลนตอน ที่ 5 มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือวัดถ้ำเขาจีนธีระประดิษฐ์ 9) ด้านการปกครอง โรงเรียนบ้านเขาจีน อยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลตำบลคลองขุด ข้อมูลเชิงปริมาณ โรงเรียนบ้านเขาจีน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสตูล กลุ่มเครือข่ายเมืองสตูล จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ ใน ระดับชั้น ป.1-ป.6 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในระดับชั้น ม.1-ม.3 ซึ่งทาง โรงเรียนได้กำหนดให้มีการจัดการศึกษา 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เฉพาะในเขตบริการหมู่ที่ 1 ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล โรงเรียนบ้านเขาจีน เป็นสถานศึกษาที่ให้บริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพและเป็น ธรรมตลอดจนบริหารงานโดยองค์คณะบุคคลที่เรียกว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีอำนาจ การการบริหารการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีโครงสร้างการบริหารงานแบ่งเป็น 4 งาน ดังนี้ 1. งานวิชาการ 2. งานงบประมาณ 3. งานบริหารบุคคล 4. งานบริหารทั่วไป


5 ข้อมูลพื้นฐานในปีการศึกษา 2565 มีนักเรียน บุคลากร พื้นที่ อาคารเรียน และอาคารประกอบที่ อยู่ในความรับผิดชอบ จำแนกรายละเอียดดังนี้( 1 ตุลาคม 2564 ) จำนวนข้าราชการ 19 คน จำนวนพนักงานราชการ 1 คน จำนวนลูกจ้าง 1 คน จำนวนครูอัตราจ้างโครงการ 2 คน จำนวนนักเรียน 295 คน จำนวนอาคารเรียน 5 หลัง 28 ห้องเรียน จำนวนอาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง จำนวนห้องน้ำ – ห้องส้วม 4 หลัง 15 ที่นั่ง จำนวนพื้นที่ของโรงเรียน 5 ไร่ 2 งาน 16.02 ตารางวา ตารางที่ 2 แสดงจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา ( 1 ตุลาคม 2565) ข้อมูลบุคลากร ตำแหน่ง ชาย หญิง รวม ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 - 1 รองผู้อำนวยการสถานศึกษา - 1 1 ครู - 17 17 พนักงานราชการ 1 - 1 ครูอัตราจ้าง (โครงการ) - 2 2 ลูกจ้างชั่วคราว (เงินงบประมาณ) 1 - 1 รวมบุคลากรทั้งสิ้น 3 20 23


6 ตารางที่ 1 แสดงจำนวนนักเรียน ณ วันที่10 มิถุนายน 2565 ชั้น จำนวนห้องเรียน จำนวนนักเรียน ชาย หญิง รวม อนุบาล 1 (ชื่อเดิมอนุบาล 3 ขวบ) - 0 0 0 อนุบาล 2 (ชื่อเดิมอนุบาล 1) 1 10 6 16 อนุบาล 3 (ชื่อเดิมอนุบาล 2) 1 14 7 21 รวม 2 24 13 37 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 1 19 7 26 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 1 11 13 24 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2 16 15 31 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 1 24 14 38 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2 21 20 41 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 1 11 12 23 รวมประถมศึกษา 8 102 81 183 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 1 13 11 24 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 1 11 11 22 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 1 12 17 29 รวมมัธยมศึกษา 3 36 39 75 รวมทั้งสิ้น 13 162 133 295


7 ตารางที่ 3 แสดงข้อมูลเกี่ยวกับครู และบุคลากรทางการศึกษา (1 ตุลาคม 2564) ที่ ชื่อ – สกุล วัน เดือน ปี เกิด วัน เดือน ปี รับราชการ วุฒิ/เอก ตำแหน่ง สอนชั้น/วิชา เบอร์ โทรศัพท์ 1. นายเสรี มากแสง 26 ก.ค.2508 2 พ.ค.2532 กศ.ม.บริหาร ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร 0850812218 2. นางสาวสุชาดา ยูฮันนัน 1 ก.ค.2526 10 มี.ค.2558 ศษ.ม.บริหาร รองผู้อำนวยการ ผู้บริหาร 0808362125 3. นางณภสุ จันทร์เมือง 29 ต.ค.2506 16 มิ.ย.2536 คบ.พลศึกษา ครูค.ศ.3 ประจำชั้น ป.6 0872955309 4. น.ส.นิภา ทุมเกลี้ยง 28 ธ.ค. 2514 1 ก.ค.2537 คบ.การศึกษาปฐมวัย ครูค.ศ.3 อนุบาล 3 0896535288 5. นางอุบล เอี้ยวเล็ก 26 ก.ย.2508 15 ก.ย.2536 คบ.ประถมศึกษา ครูคศ.3 ประจำชั้น ป.3 0896554134 6. นางปิ่นเพ็ชร สวัสดี 30 เม.ย.2507 19 ธ.ค. 2530 กศ.บ.ชีววิทยา ครูค.ศ.3 ประจำชั้น ป.4/1 0901538479 7. น.ส.อัจฉรา พิศาลสินธุ์ 14 มิ.ย.2507 1 ธ.ค.2536 ศศ.บ.ประถมศึกษา ครูค.ศ.3 ประจำชั้น ป.1 0862861114 8. นางสุดจิตต์ หนูเกื้อ 19พ.ค.2513 17 พ.ค.2547 คบ.ประถมศึกษา ครูค.ศ.3 ประจำชั้น ป.2 0862813133 9. น.ส.รีนา แซะอาหลี 1 ต.ค.2514 20ก.ย.2538 คบ.คณิตศาสตร์ ครูค.ศ.3 ประจำชั้น ม.1 0842152816 10. นางอาอีฉ๊ะ เปรมใจ 23 ม.ค.2523 18 พ.ค.2554 ศษ.ม. บริหารการศึกษา ครูค.ศ.3 ประจำชั้น ม.3 0894628261 11. นางรัตนาภรณ์ ฤทธิรงค์ 2 มี.ค 2515 18 พ.ค.2554 คบ.สังคมศึกษา คม.บริหารการศึกษา ครูคศ.2 ประจำชั้น ป.5/2 0869621413 12. นางซีตีอัยเซาะ กาสา 29 ต.ค.2522 1 ก.ค. 2552 ศศ.บ. ภาษาอังกฤษ ครูคศ.2 ประจำชั้น ป.6 0887655493 13. นางณัฏฐยา ตีมง 7 ก.พ.2522 21 ก.ค.2554 คบ.วิทยาศาสตร์ ครูคศ.2 ประจำชั้น ม.2 0805399900 14. น.ส.นิตา จันทรานุศาสตร์ 20 พ.ค.2526 4 ก.พ.2556 ศษ.ม. บริหารการศึกษา ครูคศ.2 ศิลปะ/การงาน 0824271793 15. นางไลลา วงค์สัมพันธ์ 17 มี.ค.2529 8 ก.ค. 2553 คบ.ภาษาอังกฤษ ครูคศ.2 ประจำชั้น ป.3 0872814717 16. น.ส.ฟารีดา หลังยาหน่าย 27 ส.ค.2535 25 ต.ค. 2559 วท.บ. (ศษ.คณิตศาสตร์) ครู คณิตศาสตร์ ป.5-6 0863058187 17. นางนูรอัรวา ดาหมาด 26 ก.พ.2529 20 ธ.ค.2559 ศศ.บ.ศษ. ภาษาไทย ครู ประจำชั้น ป.5/1 0937211537 18. นางสาวอัจฉรา รักราวี 21 มิ.ย.2535 12 ธ.ค. 2560 ศศ.บ.นาฎศิลป์ ครู ศิลปะ-นาฎศิลป์ 0807026221 19. นางศิริพร นิ่มน้อย 6 พ.ค.2532 3 ส.ค. 2563 ค.บ.สังคมศึกษา ครูผู้ช่วย ประจำชั้น ป.4/2 0980535997 20. นายอนุพล เหล่ทองคำ 5 ต.ค.2525 1 ก.ย. 2563 บธ.บ.บริหารธุรกิจ พนักงานราชการ อิสลามศึกษา 0869634249 21. นางสาวสุพิศา ระสิตานนท์ 13 พ.ย.2540 ศศ.บ.ภาษาไทย ครูอัตราจ้าง ประจำชั้น ม.3 0986719643 22. นางสาววิมล สุยะราช 6 เม.ย.2531 คบ.การศึกษาปฐมวัย ครูอัตราจ้าง อนุบาล 2 0887845649 23. นายอับดุลวาหาบ หมาดเต๊ะ 11 ส.ค.2517 ปวส. คอมพิวเตอร์ ธุรกิจ นักการภารโรง -- 0629695894


8 ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์การจัดการของโรงเรียน นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย 1.1 เร่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของสังคม และ ป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ และภัยอื่นๆ โดยมีการดำเนินการตามแผนและมาตรการ ด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครู และบุคลากรในรูปแบบต่างๆ อย่างเข้มข้น รวมทั้งดำเนินการ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ติดตามประเมินผลการดำเนินการ และแสวงหาสถานศึกษาที่ดำเนินการได้ดี เยี่ยม (Best Practice) เพื่อปรับปรุง พัฒนาและขยายผลต่อไป 1.2 เร่งปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรม และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง โดยบูรณาการอยู่ใน กระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกันควบคู่กับการใช้สื่อสังคม ออนไลน์ในเชิงบวกและสร้างสรรค์ พร้อมทั้งหาแนวทางวิธีการปกป้องคุ้มครองต่อสถานการณ์ที่เกิด ขึ้นกับผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 1.3 เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ จะเกิดขึ้นในอนาคต 1.4 เร่งพัฒนาบทบาทและภารกิจของหน่วยงานด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ในทุก หน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้ดำเนินการอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ 2. การยกระดับคุณภาพการศึกษา 2.1 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษานำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปสู่การปฏิบัติอย่าง เต็มรูปแบบ เพื่อสร้างสมรรถนะที่สำคัญจำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน 2.2 จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ค้นพบพรสวรรค์ ความสนใจ ความถนัดในอาชีพของ ตนเอง ด้วยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) ทั้งในห้องเรียน สถาน ประกอบการ รวมทั้งการเรียนรู้ ผ่านแพลตฟอร์มและห้องดิจิทัลให้คำปรึกษาแนะนำ 2.3 พัฒนาและบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลฐาน สมรรถนะสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เพื่อสร้างความฉลาดรู้ด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างตรรกะความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลให้นักเรียนไทยสามารถแข่งขันได้กับนานาชาติ 2.4 พัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) สำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมดิจิทัลในโลกยุคใหม่


9 2.5 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและ ศีลธรรมให้มีความทันสมัย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ของท้องถิ่น และการเสริมสร้างวิถีชีวิตของความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง 2.6 จัดการเรียนรู้ตามความสนใจรายบุคคลของผู้เรียนผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ หลากหลายและแพลตฟอร์มการเรียนรู้อัจฉริยะที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอนคุณภาพสูงรวมทั้งมีการประเมินและพัฒนาผู้เรียน 2.7 ส่งเสริมการให้ความรู้และทักษะด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) ให้กับผู้เรียน โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารออมสิน สหกรณ์ ฯลฯ ผ่าน กระบวนการเรียนรู้ โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ และการเผยแพร่สื่อแอนิเมชันรอบรู้เรื่องเงิน รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเชิงพาณิชย์เพื่อให้เกิดผลตอบแทนที่สูงขึ้น 2.8 ปรับโฉมศูนย์วิทยาศาสตร์และศูนย์การเรียนรู้ ให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย สวยงาม ร่มรื่น จูงใจ ให้เข้าไปใช้บริการ โดยมีมุมค้นหาความรู้ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มุมจัดกิจกรรมเชิง สร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ของผู้เรียน หรือกลุ่มผู้เรียน และการร่วมกิจกรรมกับครอบครัว หรือจัดเป็น ฐานการเรียนรู้ด้านต่างๆ ที่ผู้เรียนและประชาชนสามารถมาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม และได้รับ เอกสารรับรองการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องหรือสะสมหน่วยการ เรียนรู้ (Credit Bank) ได้ รวมทั้งมีบริเวณพักผ่อนที่มีบริการลักษณะบ้านสวนกาแฟเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น 2.9 ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการนำผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน 2.10 พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะและผลลัพธ์ที่ตัว ผู้เรียน 3. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย 3.1 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล ในการส่งต่อไปยังสถานศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะระดับการศึกษาภาคบังคับ เพื่อป้องกันเด็ก ตกหล่นและเด็กออกกลางคัน 3.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปทุกคน เข้าสู่ระบบ การศึกษา เพื่อรับการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีคุณภาพ ตามศักยภาพ ตามวัยและต่อเนื่องอย่างเป็น ระบบ โดยบูรณาการร่วมงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


10 3.3 พัฒนาข้อมูลและทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ และ กลุ่มเปราะบาง รวมทั้งกลุ่ม NEETs ในการเข้าถึงการศึกษา การเรียนรู้ และการฝึกอาชีพ อย่างเท่า เทียม 3.4 พัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว (Home School) และการเรียนรู้ที่บ้านเป็นหลัก (Home–based Learning) 4. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 4.1 พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) มีการบูรณาการวิชาสามัญและวิชาชีพในชุดวิชาชีพเดียวกัน เชื่อมโยงการจัดการอาชีวศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบและระบบทวิภาคี รวมทั้งการจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อ สะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาอย่าง เข้มข้นเพื่อการมีงานทำ 4.2 ขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และยกระดับ สมรรถนะกำลังคนตามกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน และมาตรฐานสากล รวมทั้งขับเคลื่อนความเป็น เลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) โดยความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถานประกอบการ ในการผลิตกำลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ 4.3 พัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการ Re-skill Up-skill และ New skill เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น พร้อมทั้งสร้างช่องทาง อาชีพในรูปแบบหลากหลายให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้สูงอายุ โดยมีการบูรณา การความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.4 ส่งเสริมการพัฒนาแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (VNET) ตามสมรรถนะที่จำเป็นในการเข้าสู่อาชีพ และการนำผลการทดสอบไปใช้คัดเลือกเข้าทำงาน ศึกษาต่อ ขอรับประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) การขอรับ วุฒิบัตรสมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) 4.5 จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาการจัดตั้งธุรกิจ (ศูนย์ Start up) ภายใต้ศูนย์พัฒนา อาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา เพื่อการส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการด้านอาชีพทั้งผู้เรียนอาชีวศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยเชื่อมโยงกับ กศน. และสถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพในวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ 4.6 เพิ่มบทบาทการอาชีวศึกษาในการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการและกำลัง แรงงานในภาคเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรอัจฉริยะ (Smart Farmer) และกลุ่มยุวเกษตรกร อัจฉริยะ (Young Smart Farmer) ที่สามารถรองรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้


11 4.7 ส่งเสริม และสนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนทุกช่วงวัยเพื่อการมีงานทำ โดยบูรณาการความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันสังคมอื่น 4.8 พัฒนาหลักสูตรอาชีพสำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้อยู่นอกระบบโรงเรียนและ ประชาชนที่สอดคล้องมาตรฐานอาชีพ เพื่อการเข้าสู่การรับรองสมรรถนะและได้รับคุณวุฒิวิชาชีพตาม กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ รวมทั้งสามารถนำผลการเรียนรู้และมวลประสบการณ์เทียบโอนเข้าสู่การสะสม หน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ได้ 5. การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ 5.1 ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ Performance Appraisal (PA) โดยใช้ระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ระบบ Digital Performance Appraisal (DPA) 5.2 ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการ พัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตาม กรอบระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษา 5.3 พัฒนาครูให้มีความพร้อมด้านวิชาการและทักษะการจัดการเรียนรู้ การใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งให้เป็นผู้วางแผนเส้นทางการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตของผู้เรียนได้ตามความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล 5.4 พัฒนาขีดความสามารถของข้าราชการพลเรือนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ มีสมรรถนะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเปลี่ยนแปลงของโลก อนาคต 5.5 เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม 6. การพัฒนาระบบราชการ และการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล 6.1 ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ 4.0 ด้วยนวัตกรรม และการนำเทคโนโลยี ดิจิทัล มาเป็นกลไกหลัก ในการดำเนินงาน (Digitalize Process) การเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูล (Sharing Data) การส่งเสริมความร่วมมือ บูรณาการกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก 6.2 ปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถใช้งาน เครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับระบบราชการ 4.0 สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอุปกรณ์และทุกช่องทาง


12 6.3 ปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา โดยยึดหลัก ความจำเป็นและใช้พื้นที่เป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ 6.4 นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาในตำแหน่งและสายงานต่าง ๆ 6.5 ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของส่วนราชการให้เป็นไปตามกลไกการ ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ 7. การขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ เร่งรัดการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองและแผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อ รองรับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติควบคู่กับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้รับทราบอย่าง ทั่วถึง นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. ด้านความปลอดภัย 1.1 พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยของผู้เรียนทุกคน พร้อมเสริมสร้าง ระบบ และกลไกในการดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มข้น ให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา จากโรคภัย ต่าง ๆ ภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ 1.2 ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม 1.3 สร้างภูมิคุ้มกัน การรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีในการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และชีวิตวิถีปกติต่อไป (Next Normal) 2. ด้านโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 2.1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3-6 ปีทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษา สร้าง สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการดูแลปกป้อง เพื่อให้มีพัฒนาการครบทุกด้าน โดยการ มีส่วนร่วม ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.2 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนในระดับการศึกษาชั้นพื้นฐาน ได้เข้าถึงโอกาส ความเสมอ ภาค และได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถะสำหรับการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพในอนาคตให้ สอดคล้อง กับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ 2.3 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็ม ตามศักยภาพ


13 2.4 ส่งเสริมเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและจัดหา ทางเลือกในการเข้าถึงการเรียนรู้ การฝึกอาชีพ เพื่อให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้ 2.5 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น รายบุคคลเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการศึกษา โดยเฉพาะการดูแลและป้องกันไม่ให้ นักเรียน หลุดออกจากระบบการศึกษา และช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบ 3. ด้านคุณภาพ 3.1 ส่งเสริม สนับสนุน สถานศึกษาที่มีความพร้อม ให้นำหลักสูตรแกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐานที่เน้นสมรรถะไปใช้ตามศักยภาพของสถานศึกษาให้สามารถออกแบบหลักสูตรที่ เหมาะสม กับความต้องการและบริบท 3.2 พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่เหมาะสมตามช่วงวัย สามารถจัดการตนเอง มี การคิดขั้นสูงมีความสามารถในการสื่อสาร สามารถจัดระบบและกระบวนการทำงานของตนเองและ ร่วมกับผู้อื่น โดยใช้การรวมพลังทำงานเป็นทีม เป็นพลเมืองที่ดี มีศีลธรรม และอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และ วิทยาการอย่างยั่งยืนรวมทั้งมีความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครองใน ระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 3.3 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นำไปสู่การมีอาชีพ มี งานทำ และส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขัน 3.4 ส่งเสริม และพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลคุณภาพผู้เรียน ให้ควบคู่ การ เรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล รวมทั้งส่งเสริมการนำระบบ ธนาคารหน่วยกิตมาใช้ในการเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบกรณ์ต่าง ๆ ของผู้เรียนในสถานศึกษา 3.5 พัฒนา ส่งเสริม ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากร ทางการศึกษา รวมทั้งบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีสมรรถนะตาม มาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิชาชีพ 4. ด้านประสิทธิภาพ 4.1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจและใช้พื้นที่ เป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักธรรมาภิบาล 4.2 นำเทคโนโลดิจิทัลและการจัดการฐานข้อมูล มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการ บริหาร จัดการศึกษาชั้นพื้นฐาน และการเรียนรู้ของผู้เรียน


14 4.3 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ ใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้นวัตกรรม ในการขับเคลื่อนบริหารจัดการโดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน และแสวงหาการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน ที่ เกี่ยวข้องทุกระดับเพื่อให้ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม 4.4 ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์ เฉพาะ โรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ และโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 4.5 เพิ่มประสิทธิภาพการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และปรับ กระบวนการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สอดรับกับชีวิตวิถีใหม่ (New Nomal) และชีวิตวิถีปกติต่อไป (Next Nomal) จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ 1. เร่งแก้ปัญหากลุ่มผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคโควิด – 19 โดยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) ให้กับผู้เรียนทุกระดับ รวมทั้งลดความเครียดและสุขภาพจิตของผู้เรียน แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สพฐ. 36 2. เสริมสร้างระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยนักเรียน ด้วยระบบมาตรฐาน ความ ปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform) 3. ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3-6 ปี และผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าถึง โอกาส ทางการศึกษา และป้องกันการหลุดออกจากระบบ รวมทั้งช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน และเด็กพิการที่ค้นพบจากการปักหมุดบ้านเด็กพิการให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา 4. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถะและการจัดทำกรอบหลักสูตร รวมทั้ง จัด กระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ให้เหมาะสมตามวัยของผู้เรียน 5. จัดการอบรมครูโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการวางแผนและ การสร้างวินัยด้าน การเงินและการออม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู 6. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมี ปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่ หลากหลายรูปแบบ (Active Leaming) มีการวัด และประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถะของผู้เรียน (Assessment for Leaming) ทุกระดับ 7. ยกระดับคุณภาพของนักเรียนประจำพักนอน สำหรับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สูง ห่างไกล และถิ่นทุรกันดาร 8. มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ทุกระดับ


15 9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจและใช้พื้นที่เป็นฐาน เพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ (Block Grant) ตามหลักธรรมาภิบาล ให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา วิสัยทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ “สร้างคุณภาพผู้เรียน สู่สังคมอนาคตอย่างยั่งยืน” (ผู้เรียนมีความรู้และสมรรถนะที่จำเป็น มีความสุข และมีเป้าหมาย ได้รับการพัฒนา อย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ) พันธกิจ สพฐ. 1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ 2. พัฒนาสถานศึกษาให้มีความปลอดภัยแก่ผู้เรียน 3. ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ใน การแข่งขัน 4. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 5. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทาง การศึกษา อย่างทั่วถึง และเท่าเทียม 6. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษา ที่ ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศ 7. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญา ของ เศรษฐกิจพอเพียง 8. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับและจัดการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กลยุทธ์สพฐ. กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา


16 กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ 1. เป้าหมาย (1) ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการดูแลด้านความปลอดภัย และ สามารถ ปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ (2) สถานศึกษา ได้รับการพัฒนาให้มีความปลอดภัย และจัดการศึกษาได้อย่าง มี ประสิทธิภาพ (3) สถานศึกษา ได้รับการส่งเสริมให้มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อความปลอดภัยของผู้เรียน 2. ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ที่ ตัวชี้วัด เป้าหมาย สำนัก 1 ร้อยละของผู้เรียนที่มีความรู้ความเข้าใจในภัย คุกคาม รูปแบบใหม่ทุกรูปแบบ รู้เท่าทันสื่อและ เทคโนโลยีในการดำเนินชีวิตวิถีใหม่และชีวิตวิถีถัดไป ร้อยละ 80 ศป.สพฐ. 2 ร้อยละของผู้เรียนได้รับการศึกษาในสถานศึกษา ที่มีความ ปลอดภัย ร้อยละ 80 ศป.สพฐ. / สอ. 3 ร้อยละของสถานศึกษาที่มีแผน/มาตรการในการจัดการ ภัย พิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ โรคอุบัติใหม่และ โรคอุบัติ ซ้ำ รองรับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ร้อยละ 80 ศป.สพฐ. 4 ร้อยละของครู บุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการตาม แนวทาง ในการจัดการภัยพิบัติ และภัยคุกคามทุกรูปแบบ ให้สามารถ ปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ รองรับ วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ร้อยละ 80 ศป.สพฐ. กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน 1. เป้าหมาย (1) ประชากรวัยเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่าง เสมอภาค จนจบการศึกษาภาคบังคับ


17 (2) ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับการส่งเสริมให้ได้รับโอกาสทาง การศึกษา อย่างเสมอภาคจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ (4) ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเต็มตามศักยภาพ (5) เด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน ได้รับการช่วยเหลือให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ที่ ตัวชี้วัด เป้าหมาย สำนัก 1 อัตราการเข้าเรียนสุทธิของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน ร้อยละ 70 สนผ. 2 อัตราการเข้าเรียนสุทธิของผู้เรียนปฐมวัย ร้อยละ 70 สนผ. 3 จำนวนผู้เรียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงบริการทาง การศึกษา และพัฒนาสมรรถภาพหรือบริการทางการศึกษา ที่เหมาะสม ตามความจำเป็น 2,178,666 คน สนผ./ สศศ. 4 ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับ นักเรียนยากจน ร้อยละ 20 สนผ. กลยุทธ์ที่ 3ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 1. เป้าหมาย (1) ผู้เรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้ สิทธิและ หน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักและความภูมิใจในความเป็นไทย (2) ผู้เรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ตาม มาตรฐาน สอดคล้องกับศักยภาพ ให้เป็นผู้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (3) ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการ เปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยีมีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งจิตวิญญาณความเป็นครู


18 (4) สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (5) สถานศึกษา มีระบบการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning) (6) สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถจัดการ เรียน การสอนที่ยืดหยุ่นตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของผู้เรียน 2. ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ที่ ตัวชี้วัด เป้าหมาย สำนัก 1 ร้อยละของนักเรียนปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ร้อยละ 80 สวก. 2 ร้อยละของผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 90 สวก. 3 ร้อยละของผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะและ ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ร้อยละ 80 สวก. 4 ร้อยละของสถานศึกษาที่สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับการเตรียมความพร้อม (ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์) ในการประเมินระดับนานาชาติตาม โครงการ PISA ร้อยละ 70 สทศ. 5 ร้อยละของสถานศึกษาที่สามารถจัดการเรียนการสอน ตามพหุปัญญา ร้อยละ 30 สวก. 6 ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการคัดกรองเพื่อพัฒนา พหุปัญญารายบุคคล ร้อยละ 30 สวก. 7 จำนวนผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตาม ความ ถนัด และความสามารถ (วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ ทัศนศิลป์นาฏศิลป์ดนตรีกีฬา) 22,650 คน สวก. / สบว. / ศบศ.


19 8 ร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบทาง การศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ร้อยละ 50 ขึ้นไป เพิ่มขึ้น จากปีการศึกษาที่ผ่านมา ร้อยละ 3 สทศ. 9 ร้อยละของครูสอนภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ได้รับการพัฒนาและยกระดับความรู้ ภาษาอังกฤษโดยใช้ระดับการพัฒนาทางด้านภาษา (CEFR) ตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 50 ศบศ. 10 จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สามารถจัดการ เรียนรู้เชิงรุก 100,000 คน ศบศ. กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา 1. เป้าหมาย (1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างมี ประสิทธิภาพ (2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน (3) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท (4) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท (5) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับ บริบท (6) สถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และโรงเรียนคุณภาพได้รับการพัฒนา ประสิทธิภาพ ที่เหมาะสมกับบริบท


20 (7) สถานศึกษาในพื้นที่ลักษณะพิเศษ ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพ ที่เหมาะสมกับ บริบท 2. ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ที่ ตัวชี้วัด เป้าหมาย สำนัก 1 ร้อยละของหน่วยงานและสถานศึกษามีระบบบริหาร จัดการ ที่เป็นดิจิทัล ร้อยละ 80 กพร. สทร. 2 ร้อยละของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สถานศึกษาที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ เขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก (EEC) และโรงเรียนคุณภาพ ได้รับการพัฒนา ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาตามบริบทพื้นที่ ร้อยละ 80 สบน. / สนผ. / สมป. / สพก.จชต / สนก. 3 ร้อยละของหน่วยงานในสังกัด สพฐ. ที่ผ่าน เกณฑ์ การประเมิน ITA online ร้อยละ 80 สนก. 4 ร้อยละของสถานศึกษาและหน่วยงานใช้ระบบเชื่อมโยง ข้อมูลใน ระบบแบบ Real Time ร้อยละ 80 สทร. 5 จำนวนครั้งของประชาชนที่เข้าถึงหลักสูตรสื่อแหล่งเรียนรู้ ที่จัด การศึกษาในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Lifelong learning) จำนวน 100,000 ครั้ง สทร. 6 ร้อยละของโครงการของหน่วยงานในสังกัด สพฐ. ที่ บรรลุ ผลสัมฤทธิ์ตามค่าเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ร้อยละ 10 สตผ. นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีพ.ศ.2564-2565 วิสัยทัศน์ “สตูลต้องเป็น 1”


21 พันธกิจ 1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขัน 3. พัฒนาศักยภาพและคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 4. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทาง การศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 5. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ 6. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 7. ปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับ และจัดการศึกษาโดยใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนามุ่งสู่ Thailand 4.0 จุดเน้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 1. เร่งรัดแก้ไขปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียน 2. เร่งรัดการพัฒราทักษะทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ทั้ง บวก ลบ คูณ หาร ของนักเรียน 3. เร่งรัดการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 4. พัฒนาทักษะการคัดลายมือของนักเรียนด้วยรูปแบบกระทรวงศึกษาธิการ 5. ส่งเสริมการปลูกฝังค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการแก่นักเรียน 6. พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันทางวิชาการของนักเรียน 7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเด็กพิการ 8. เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 9. ส่งเสริมความเข้มแข็งของการนิเทศการศึกษา 10. ส่งเสริมศักยภาพของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในการปฏิบัติงาน 11. พัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและการให้บริการของบุคลากรทางการศึกษา 12. ส่งเสริม สนับสนุน ศักยภาพในการแข่งขันด้านต่าง ๆ 13. ส่งเสริมให้บุคลากร ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน พัฒนาศักยภาพเพื่อรองรับ การเป็น ประเทศไทย 4.0


22 14. เสริมสร้างความพร้อมในการเป็นพลเมืองของประชาคมอาเซียน แก่ บุคลากร ผู้บริหาร สถานศึกษา ครู และนักเรียน 15. ส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาพื้นที่เกาะ และโรงเรียนถิ่นทุรกันดาร 16. ส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาตามโครงการและนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ 17. ส่งเสริมการพัฒนาภูมิทัศน์ของสถานศึกษาให้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม เอื้อต่อการจัด การศึกษา 18. เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากร ทางการศึกษา วิสัยทัศน์พันธกิจ จุดเน้น ของโรงเรียนบ้านเขาจีน วิสัยทัศน์โรงเรียนบ้านเขาจีน “โรงเรียนบ้านเขาจีนมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะที่สำคัญ มีความรู้ ทักษะและเจตคติด้าน การเป็นผู้ประกอบการ ใช้ทรัพยากรที่มีอย่างเห็นคุณค่าบนความเปลี่ยนแปลงของโลก มีคุณธรรม พื้นฐานเพื่อนำสู่การดำเนินชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุข ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสม มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีรู้เท่าทันและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์” ปรัชญา โรงเรียนบ้านเขาจีน ผู้ประกอบการเยาว์วัย ใส่ใจสุขภาพ ก้าวทันเทคโนโลยี มีคุณธรรม คำขวัญประจำโรงเรียน : “สุขภาพดี ทักษะเด่น เน้นคุณธรรม นำเทคโนโลยี” สีประจำโรงเรียน : แดง –น้ำเงิน พันธกิจ 1. จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงผู้เรียน 2. พัฒนาสถานศึกษาให้มีความปลอดภัยแก่ผู้เรียน 3. ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขัน 4. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21


23 5. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทาง การศึกษาอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม 6. ส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยใช้กระบวนการโครงงานฐานวิจัย และการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ 7. สร้างให้ผู้เรียนเกิดความสำนึกรักบ้านเกิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เห็นคุณค่าขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมไทย 8. จัดกระบวนการการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลเน้นสมรรถนะ ที่เอื้อต่อการ พัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรโรงเรียนบ้านเขาจีน พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ และ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งพัฒนา ผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ใน ฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 9. มีวิถีชีวิตตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ 10. มีความละอายและไม่ทนต่อการทุจริต เป้าหมาย 1. ผู้เรียนทุกคนรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความชื่อสัตย์สุจริต 3. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีวินัย 4. ผู้เรียนร้อยละ 80 ใฝ่รู้ใฝ่เรียน 5. ผู้เรียนร้อยละ 80 อยู่อย่างพอเพียง


24 6. ผู้เรียนร้อยละ 80 มุ่งมั่นในการทำงาน 7. ผู้เรียนทุกคนรักความเป็นไทย 8. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีจิตสาธารณะ 9. นักเรียนทุกคนได้รับการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามศาสนาที่ตนนับถือ 10. นักเรียนทุกคนมีความละอายและไม่ทนต่อการทุจริต คุณลักษณะอันพึงประสงค์โรงเรียนบ้านเขาจีน 1. ผู้เรียนปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษาและสังคม มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 2. ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย และพัฒนา สิ่งแวดล้อม 3. ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดี ต่ออาชีพสุจริต 4. ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิด สร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ 5. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร 6. ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง 7. ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี 8. ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา เป้าหมาย 1. ผู้เรียนร้อยละ 80 ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษาและสังคม มีความ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 2. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย และ พัฒนาสิ่งแวดล้อม 3. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และ มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต 4. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ 5. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร


25 6. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง 7. ผู้เรียนร้อยละ90 มีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี 8. ผู้เรียนร้อยละ 90 มีสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา จุดเน้น มาตรการ และตัวชี้วัดความสำเร็จ ตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จุดเน้น 1. 1 โรงเรียน 1 กิจกรรมเด่น (โรงเรียนประถมศึกษา) 2. 1 โรงเรียน 1 กิจกรรมเด่น 1 ทักษะอาชีพ (โรงเรียนขยายโอกาส) 3. 1 กลุ่มสาระ 1 โครงงาน 1 นวัตกรรม (ครู/นักเรียน) 4. อ่านออก เขียนได้ ลายมือสวย ยกชั้น และคิดเลขเป็น 5. ก้าวสู่อาเซียน MOU โรงเรียนคู่พัฒนา/ลูกเสือไทย-ต่างประเทศ เป้าหมาย 1. ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ ถูกต้อง และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น ซื่อสัตย์ สุจริต มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม 2. ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี กีฬา ภาษา และอื่น ๆ ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ 3. ผู้เรียน เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีความรู้ มี ทักษะ มีสมรรถนะตามหลักสูตร และคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีสุขภาวะที่ เหมาะสมตามวัย มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ การเป็นพลเมือง พลโลกที่ดี (Global Citizen) พร้อมก้าวสู่สากล นำไปสู่การสร้างความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ 4. ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (ผู้พิการ) กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ 5. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้ และจรรยาบรรณ ตามมาตรฐานวิชาชีพ


26 6. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 7. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีสมดุลในการบริหารจัดการเชิง บูรณาการ มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ และการ รายงานผลอย่างเป็นระบบ ใช้งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนคุณภาพ การศึกษา การขับเคลื่อนมาตรการสู่การปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล นโยบายที่ 1 การศึกษาเพื่อความมั่นคง มาตรการที่ 1 การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.1 ป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ 1. ร้อยละ 100 บุคลากรได้รับการส่งเสริมการป้องกันและ ประพฤติมิชอบ มาตรการที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนากิจการลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 2.1 ส่งเสริมและพัฒนากิจการลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด 1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด มาตรการที่ 3 ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย โดยผ่านกระบวนการสภานักเรียน แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 3.1 ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย โดย ผ่านกระบวนการสภานักเรียน 1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนมีการส่งเสริมระบอบ ประชาธิปไตย โดยผ่านกระบวนการสภานักเรียน มาตรการที่ 4 ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาตามแนวศาสตร์พระราชา และสอดคล้องกับ นโยบายที่สำคัญ แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 4.1 โรงเรียนคุณธรรม 1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนดำเนินการโรงเรียนคุณธรรม


27 แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 4.2 ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษา ตามแนวศาสตร์พระราชา และสอดคล้อง กับนโยบายสำคัญ 2. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนได้รับการส่งเสริม สนับสนุน การ จัดการศึกษาตามแนวศาสตร์พระราชา และสอดคล้องกับ นโยบายที่สำคัญ มาตรการที่ 5 ส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้เรียน แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 5.1 สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและ อบายมุข 1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนปลอดยาเสพติดและอบายมุข 5.2 ค่ายทักษะชีวิต ป้องกันยาเสพติด 2. ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายทักษะชีวิต มีพฤติกรรมที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 5.3 ส่งเสริม ความประพฤตินักเรียน 3. ร้อยละ 100 ของนักเรียน มีพฤติกรรมตามคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ 5.4 พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างเข้มข้นในโรงเรียนขยายโอกาส 4. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนขยายโอกาสมีระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนที่มีประสิทธิภาพ 5.5 ส่งเสริมพัฒนาความรู้ให้พ่อ แม่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 5. ร้อยละ 100 ของผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลต้นแบบได้รับ การพัฒนาเต็มรูปแบบตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย 5.6 ส่งเสริมสถานศึกษาให้มีการพัฒนา นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีตาม แนวทางกระทรวงสาธารณสุข 6. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนมีการพัฒนาให้นักเรียนมีภาวะ โภชนาการที่ดีตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข นโยบายที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขัน มาตรการที่ 1 เสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.1 ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพเด็กให้มี พัฒนาการรอบด้านและสมดุล ตาม หลักสูตรปฐมวัย 1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียน จัดการศึกษาให้เด็กมีพัฒนาการ รอบด้านอย่างสมดุลในระดับที่สูงขึ้น และมีพฤติกรรมที่ แสดงออกถึงสมรรถนะสำคัญในศตวรรษที่ 21


28 แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.2 ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านความรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะ ตามหลักสูตรแกนกลาง สอดคล้องกับ การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 2. ร้อยละ 100 ของโรงเรียน จัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้รับการ พัฒนาตามหลักสูตรแกนกลาง มีผลสัมฤทธิ์ และผลการทดสอบ ระดับชาติ สูงขึ้น และมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงสมรรถนะ สำคัญในศตวรรษที่ 21 1.3 ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการจัด การศึกษาตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน และพลวัตทาง การศึกษาในศตวรรษที่ 21 3. ร้อยละ 100 ของโรงเรียน จัดการศึกษาตามหลักสูตร แกนกลางอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรการที่ 2 การพัฒนาการนิเทศเพื่อยกระดับการศึกษา แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 2.1 นิเทศติดตามและพัฒนาโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนได้รับการนิเทศติดตามและพัฒนา โรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา มาตรการที่ 3 การจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วมและเรียนรวม แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 3.1 พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา เรียนร่วมและเรียนรวม 1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนเรียนร่วมและเรียนรวมจัด การศึกษาเรียนร่วมและเรียนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรการที่ 4 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนมูลนิธิชัยพัฒนาและพื้นที่พิเศษ แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 4.1 ส่งเสริมสนับสนุนการสอนภาษาเพื่อ การสื่อสารสำหรับการประกอบอาชีพ 1. ร้อยละ 70 ของนักเรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับการประกอบอาชีพ 4.2 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ 2. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนมูลนิธิชัยพัฒนาและพื้นที่พิเศษ


29 แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ ในโรงเรียนโดยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ท้องถิ่นอย่างมั่นคง ยั่งยืน ในโรงเรียน มูลนิธิชัยพัฒนาและพื้นที่เกาะ ได้รับการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพในโรงเรียนภาษา เพื่อการสื่อสารสำหรับการประกอบอาชีพ 3. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนมูลนิธิชัยพัฒนาและพื้นที่พิเศษ ได้รับการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพในโรงเรียนชนบท ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับการประกอบอาชีพ และการใช้ พลังงานทดแทน (แสงแดด, โซล่าเซลล์) 4.3 ส่งเสริมการจัดการศึกษาในโรงเรียน ตามโครงการมูลนิธิชัยพัฒนา 4. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนตามโครงการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้รับการส่งเสริมการจัดการศึกษา มาตรการที่ 5 การพัฒนาทักษะอาชีพในโรงเรียนขยายโอกาส แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 5.1 ส่งเสริมการเรียนการสอนด้าน อาชีพในโรงเรียนขยายโอกาส 1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนขยายโอกาสได้รับการส่งเสริมการ เรียนการสอนด้านอาชีพในโรงเรียนขยายโอกาส มาตรการที่ 6 การส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 6.1 การแข่งขันทักษะทางวิชาการ 1. ร้อยละ 100 ของนักเรียนและครูเข้าร่วมแสดงความสามารถ ทักษะทางวิชาการ 6.2 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดห้องเรียน ส่งเสริมความสามารถพิเศษ 2. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการจัด ห้องเรียนส่งเสริมความสามารถพิเศษ นโยบายที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรการที่ 1 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ


30 1.1 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และ วิชาชีพ 1. ร้อยละ 100 ของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ และสามารถปฏิบัติงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ร้อยละ 100 ของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและยุทธศาสตร์ ของหน่วยงาน มาตรการที่ 2 สร้างขวัญ กำลังใจแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 2.1 ยกย่อง เชิดชูเกียรติ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่มีผลการ ปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ 1. ร้อยละ 80 ของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มี ผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศ ได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติ มาตรการที่ 3 การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน และการออกจากราชการ แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 3.1 พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลให้ มีประสิทธิภาพ โดยเชื่อมโยงกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแผนอัตรากำลัง การสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง ย้าย โอน วินัย และการลาออกจากราชการ 1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนมีแผนอัตรากำลัง ส่งผลให้การ ดำเนินการบริหารงานบุคคล มีประสิทธิภาพ นโยบายที่ 4 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษา มาตรการที่ 1 เกณฑ์เด็กเข้าเรียน อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.1 ส่งเสริมประชากรวัยเรียนทุกคนให้ ได้รับโอกาสในการเข้ารับบริการทาง การศึกษาอย่างทั่วถึงมีคุณภาพและเสมอ ภาค 1. ร้อยละ 100 ของประชากรวัยเรียนภาคบังคับได้รับโอกาส ในการเข้ารับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพและ เสมอภาค มาตรการที่ 2 พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ


31 2.1 สร้างความเข้มแข็งของระบบการ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบส่งเสริม ความประพฤตินักเรียน ระบบคุ้มครอง นักเรียน และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม 1. ร้อยละ 100 ของผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพตาม ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มาตรการที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 3.1 ส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี การจัดการศึกษา (NEW DLTV , DLIT) ให้ครอบคลุมพื้นที่อย่างทั่วถึงและมี ประสิทธิภาพ 1. ร้อยละ 90 ของผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษา (NEW DLTV , DLIT) อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ นโยบายที่ 5 การศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาตรการที่ 1 ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.1 ส่งเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์ สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการขยะ อย่างเป็นระบบ 1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกรัก สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ 1.2 น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสู่การปฏิบัติ 2. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนได้น้อมนำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 1.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุก ภาคส่วนในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนมีเครือข่ายความร่วมมือจากทุก ภาคส่วนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรการที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และสื่อการ เรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 2.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษา พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้การบริหาร จัดการขยะ และทักษะชีวิต 1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้การ บริหารจัดการขยะและทักษะชีวิต


32 นโยบายที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มาตรการที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ สพป.สตูล และสถานศึกษา โดยใช้ หลักธรรมาภิบาล และศาสตร์พระราชา แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1) 1.1 ส่งเสริม พัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่ ให้เป็นสำนักงานมาตรฐาน 1. ร้อยละ 100 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน มีการกำกับ ติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือและรายงานผลการใช้ งบประมาณ 2. ร้อยละ 100 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการพัฒนา ระบบฐานข้อมูลกลาง Big Data 3. ร้อยละ 100 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน มีการติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย 4. ร้อยละ 100 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับการ ปรับปรุง พัฒนาระบบเน็ทเวิร์ก 5. ร้อยละ 100 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไร้กระดาษ 6. ร้อยละ 100 มีการประชุมผู้บริหารสถานศึกษา รอง ผอ. สพป.สตูล ผอ.กลุ่ม และศึกษานิเทศก์ 7. ร้อยละ 100 ของบุคลากรของเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับการ พัฒนา 8. สพป.สตูล มีข้อมูลสารสนเทศของครู และบุคคลากรทางการ ศึกษาครบถ้วน ถูกต้อง 9. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนได้รับการนิเทศผ่านการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 10. ร้อยละ 100 ของบุคคลากรในสำนักงานมีความรู้ความ เข้าใจในการประหยัดพลังงาน และร่วมกันประหยัดพลังงาน เช่น ประหยัดพลังงานไฟฟ้า และน้ำมันเชื้อเพลิง 1.2 ส่งเสริม สนับสนุน ขับเคลื่อนระบบ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 11. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพที่มี ประสิทธิภาพ 12. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนมีระบบการควบคุมทรัพย์สินที่มี ประสิทธิภาพ


33 แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 13. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนมีการรายงานผลการจัด การศึกษา และจัดทำกรอบแนวทางในการวางแผน 14. ร้อยละ 100 ของคณะกรรมการสถานศึกษาได้รับการ สัมมนา เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ มาตรการที่ 2 ส่งเสริมและแสวงหาการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาคุณภาพ การศึกษา แนวทาง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 2.1 สร้างการรับรู้ และการมีส่วนร่วมใน การจัดการศึกษา 1. ร้อยละ 100 ของหน่วยงานทุกระดับส่งเสริมสนับสนุน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน สังคม ได้มีความรู้ความเข้าใจในการ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการมีส่วนร่วมรับผิดชอบการ พัฒนาผู้เรียน 2.2 การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรม การศึกษาสตูล 2. ร้อยละ 80 ของสถานศึกษามีการจัดทำนวัตกรรมเพื่อพัฒนา ผู้เรียนตามบริบทพื้นที่สถานศึกษา และอุทยานธรณีโลกสตูล


34 ส่วนที่ 3 รายละเอียดแผนงาน/โครงการ แผนการใช้งบประมาณตามแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2566 ลำดับ โครงการ ผู้รับผิดชอบ งบประมาณ 1 โครงการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา น.ส.นิภา ทุมเกลี้ยง นางซีตีอัยเซาะ กาสา นางรีนา โส๊ะพันธ์ 12,000.00 2 โครงการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน นางรีนา โส๊ะพันธ์ 15,000.00 3 โครงการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา นางซีตีอัยเซาะ กาสา นางรีนา โส๊ะพันธ์ 3,000.00 4 โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC นางปิ่นเพ็ชร สวัสดี 1,500.00 5 โครงการนิเทศภายในสถานศึกษา น.ส.สุชาดา ยูฮันนัน 500.00 6 โครงการจัดจ้างครูลูกจ้างชั่วคราว น.ส.นิภา ทุมเกลี้ยง 216,000.00 7 โครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ทุกระดับชั้น น.ส.นิภา ทุมเกลี้ยง นางซีตีอัยเซาะ กาสา นางรีนา โส๊ะพันธ์ 45,500.00 8 โครงการโรงเรียนส่งเสริมภาษาอังกฤษ นางไลลา วงค์สัมพันธ์ 500.00 9 โครงการพัฒนาความสามารถด้านทักษะการคิดคำนวณ นางฟารีดา จันทร์ตุด 5,200.00 10 โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย น.ส.นิภา ทุมเกลี้ยง น.ส.วิมล สุยะราช 3,000.00 11 โครงการการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง นางศิริพร นิ่มน้อย 10,000.00 12 โครงการวันสุนทรภู่สู่วันภาษาไทย นางนูรอัรวา ดาหมาด น.ส.นิตา จันทรานุศาสตร์ 6,000.00 13 โครงการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ลายมือสวย นางนูรอัรวา ดาหมาด 20,000.00 14 โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทาง วิชาการ(แข่งทักษะ) นางปิ่นเพ็ชร สวัสดี 20,000.00 15 โครงการรายงานผลการจัดการศึกษาสู่สาธารณชน นางศิริพร นิ่มน้อย 32,000.00


35 ลำดับ โครงการ ผู้รับผิดชอบ งบประมาณ นางอัจฉรา พูลสวัสดิ์ 16 โครงการส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ นางอัจฉรา พูลสวัสดิ์ 25,000.00 17 โครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น( กลองยาว ) นางณภสุ จันทร์เมือง 6,000.00 18 โครงการวันสำคัญทางศาสนาพุทธ (วันปีใหม่) นางรัตนภรณ์ฤทธิรงค์ 3,000.00 19 โครงการวิถีมุสลิม นายอนุพล เหล่ทองคำ 1,000.00 20 โครงการวันไหว้ครู นางศิริพร นิ่มน้อย 2,240.00 21 โครงการจัดงานวันเด็ก นางณภสุ จันทร์เมือง 25,000.00 22 โครงการวันสำคัญของชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ นางอุบล เอี้ยวเล็ก 10,000.00 23 โครงงานคุณธรรม นางอุบล เอี้ยวเล็ก 3,000.00 24 โครงการการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานฐานวิจัย นางฟารีดา จันทร์ตุด นางอาอีฉ๊ะ เปรมใจ 70,000.00 25 โครงการกีฬาต้านยาเสพติดปลูกจิตสาธารณะสู่สังคม นางณภสุ จันทร์เมือง 30,000.00 26 โครงการงานทะเบียนนักเรียน น.ส.นิภา ทุมเกลี้ยง นางซีตีอัยเซาะ กาสา น.ส.สุพิศา ระสิตานนท์ 2,200.00 27 โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ นางไลลา วงค์สัมพันธ์ 15,500.00 28 โครงการเยี่ยมบ้าน cct นางนูรอัรวา ดาหมาด นางซีตีอัยเซาะ กาสา 2,000.00 29 โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนร่วม/ เรียนรวม นางณัฏฐยา ตีมง 500.00 30 โครงการทุนการศึกษา น.ส.นิภา ทุมเกลี้ยง น.ส.วิมล สุยะราช - 31 โครงการสหกรณ์โรงเรียน นางสุดจิตต์หนูเกื้อ 500.00 32 โครงการปรับภูมิทัศน์พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและ ภายนอกห้องเรียน น.ส.อัจฉรา พิศาลสินธุ์ 30,000.00 33 โครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร และสิ่งชำรุดอื่นๆ นางอุบล เอี้ยวเล็ก 100,000.00 34 โครงการปรับปรุงซ่อมแซมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อ พ่วง นางอาอีฉ๊ะ เปรมใจ 20,000.00


36 ลำดับ โครงการ ผู้รับผิดชอบ งบประมาณ 35 โครงการสานสัมพันธ์โรงเรียน บ้าน ชุมชน (ประชุม กรรมการ ประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายผู้ปกครอง) นางสุดจิตต์หนูเกื้อ 5,000.00 36 โครงการประชาธิปไตยในโรงเรียน นางณัฏฐยา ตีมง 2,000.00 37 โครงการออมทรัพย์ ออมความดี น.ส.สุพิศา ระสิตานนท์ 500.00 38 โครงการจัดทำและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศ และ เทคโนโลยีเพื่อการจัดการ นางอัจฉรา พูลสวัสดิ์ 7,000.00 39 โครงการอาหารกลางวัน น.ส.อัจฉรา พิศาลสินธุ์ 40 โครงการการประเมินผลการควบคุมภายใน น.ส.สุชาดา ยูฮันนัน 1,000.00 41 โครงการระเบียบวินัยในโรงเรียน นางสุดจิตต์หนูเกื้อ นางณภสุจันทร์เมือง 3,000.00 42 โครงการพัฒนาและปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ นางณัฏฐยา ตีมง 10,000.00 43 โครงการพัฒนาห้องสมุด น.ส.นิตา จันทรานุศาสตร์ นางนูรอัรวา ดาหมาด 40,000.00 44 โครงการพัฒนาห้องพุทธศาสนา นางรัตนาภรณ์ฤทธิรงค์ 1,000.00 45 โครงการพัฒนาห้องพยาบาล นางไลลา วงค์สัมพันธ์ 2,000.00 46 โครงการพัฒนาและปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ นางอาอีฉ๊ะ เปรมใจ 10,000.00 47 โครงการพัฒนาห้องละหมาด นายอนุพล เหล่ทองคำ 1,000.00 48 โครงการพัฒนาห้องเรียนนาฏศิลป์และสื่อการเรียนรู้ นางอัจฉรา พูลสวัสดิ์ 10,000.00 49 โครงการจัดทำเอกสาร งานธุรการ การเงิน และพัสดุ นางไลลา วงค์สัมพันธ์ 5,000.00 50 โครงการกิจกรรมตามนโยบาย นางฟารีดา จันทร์ตุด 43,988.29 51 โครงการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา น.ส.สุชาดา ยูฮันนัน 2,000.00 52 โครงการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน น.ส.สุชาดา ยูฮันนัน 10,000.00 53 โครงการตรวจสุขภาพบุคลากร. นางไลลา วงค์สัมพันธ์ - 54 โครงการค่าสาธารณูปโภค น.ส.นิภา ทุมเกลี้ยง 200,000.00 55 โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการประจําปงบประมาณ นางฟารีดา จันทร์ตุด นางอาอีฉ๊ะ เปรมใจ 10,000.00 56 โครงการจัดซื้อวัสดุสำนักงาน นางฟารีดา จันทร์ตุด 20,000.00


37 ลำดับ โครงการ ผู้รับผิดชอบ งบประมาณ 57 โครงการกิจกรรมทัศนศึกษาระดับปฐมวัย น.ส.วิมล สุยะราช น.ส.นิภา ทุมเกลี้ยง 10,000.00 58 โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา นางณัฏฐยา ตีมง 92,011.00 59 โครงการค่ายคุณธรรมจริยธรรม นางรัตนภารณ์ฤทธิรงค์ 20,000.00 60 โครงการเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ นางอาอีฉ๊ะ เปรมใจ 50,000.00 61 โครงการค่ายวิชาการบูรณาการสร้างศิลป์ สร้างสรรค์ นางปิ่นเพ็ชร สวัสดี นางรีนา โส๊ะพันธ์ น.ส.นิภา ทุมเกลี้ยง 30,000.00 62 โครงการลูกเสือต้านภัยยาเสพติด นางณภสุจันทร์เมือง 50,330.00


38 ประมาณการรายรับ-รายจ่ายเงินประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 ของโรงเรียนบ้านเขาจีน ประมาณการรายรับ 1. เงินอุดหนุนรายหัว 1.1 ระดับก่อนประถมฯ ( 36 คน x 1,734 ) = 62,424.00 1.2 ระดับประถมฯ (179 คน x 1,938 ) = 346,902.00 1.3 ระดับมัธยมฯ ( 58 คน x 3,570 ) = 207,060.00 2. เงินอุดหนุนเรียนฟรี15 ปี = 252,341.00 3. เงินสนับสนุนจาก อบต. = 451,500.00 4. ยอดยกมา = 503,242.29 รวมประมาณการรายรับทั้งสิ้น = 1,823,469.29 ประมาณการรายจ่าย ที่ งาน/โครงการ แผน หน้า แหล่งงบประมาณ (จำนวนเงิน) หมาย เหตุ เงินอุดหนุน เรียนฟรี 15 ปี/รายหัว อบต. บริจาค/ รายได้ สถานศึก ษา รวมเงิน งบประจำ 1 สาธารณูปโภค 235 200,000 200,000.00 2 วัสดุสำนักงาน 242 20,000 20,000.00 3 วัสดุน้ำมันเชื้อเพลิง 0 0.00 งบพัฒนา งานวิชาการ 4 โครงการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา 44 12,000.00 12,000.00 5 โครงการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผล การเรียน 48 15,000.00 15,000.00 6 โครงการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา 52 3,000.00 3,000.00 7 โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้ กระบวนการ PLC 56 1,500.00 1,500.00


39 ที่ งาน/โครงการ แผน หน้า แหล่งงบประมาณ (จำนวนเงิน) หมาย เหตุ เงินอุดหนุน เรียนฟรี 15 ปี/รายหัว อบต. บริจาค/ รายได้ สถานศึก ษา รวมเงิน 8 โครงการนิเทศภายในสถานศึกษา 61 500.00 500.00 9 โครงการจัดจ้างครูลูกจ้างชั่วคราว 64 216,000.00 216,000.00 10 โครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ทุกระดับชั้น 67 45,500.00 45,500.00 11 โครงการโรงเรียนส่งเสริมภาษาอังกฤษ 71 500.00 500.00 12 โครงการพัฒนาความสามารถด้านทักษะการ คิดคำนวณ 74 5,200.00 5,200.00 13 โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 78 3,000.00 3,000.00 14 โครงการการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง 81 10,000.00 10,000.00 15 โครงการวันสุนทรภู่สู่วันภาษาไทย 85 6,000.00 6,000.00 16 โครงการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ลายมือ สวย 89 20,000.00 20,000.00 17 โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็น เลิศทางวิชาการ(แข่งทักษะ) 92 20,000.00 20,000.00 18 โครงการรายงานผลการจัดการศึกษาสู่ สาธารณชน 96 32,000.00 32,000.00 19 โครงการส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ 99 25,000.00 25,000.00 20 โครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น(กลองยาว ) 103 6,000.00 6,000.00 21 โครงการวันสำคัญทางศาสนาพุทธ (วันปีใหม่) 107 3,000.00 3,000.00 22 โครงการวิถีมุสลิม 110 1,000.00 1,000.00 23 โครงการวันไหว้ครู 113 2,240.00 2,240.00 24 โครงการจัดงานวันเด็ก 116 25,000.00 25,000.00 25 โครงการวันสำคัญของชาติและสถาบัน พระมหากษัตริย์ 120 10,000.00 10,000.00 26 โครงงานคุณธรรม 124 3,000.00 3,000.00


40 ที่ งาน/โครงการ แผน หน้า แหล่งงบประมาณ (จำนวนเงิน) หมาย เหตุ เงินอุดหนุน เรียนฟรี 15 ปี/รายหัว อบต. บริจาค/ รายได้ สถานศึก ษา รวมเงิน 27 โครงการการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานฐาน วิจัย 128 70,000.00 70,000.00 28 โครงการกีฬาต้านยาเสพติดปลูกจิตสาธารณะสู่ สังคม 132 30,000.00 30,000.00 29 โครงการกิจกรรมทัศนศึกษาระดับปฐมวัย 245 10,000.00 10,000.00 30 โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ระดับ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 248 92,011.00 92,011.00 31 โครงการค่ายคุณธรรมจริยธรรม 251 20,000.00 20,000.00 32 โครงการเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ 255 50,000.00 50,000.00 33 โครงการค่ายวิชาการบูรณาการสร้างศิลป์ สร้างสรรค์ 259 30,000.00 30,000.00 34 โครงการลูกเสือต้านภัยยาเสพติด 265 50,330.00 50,330.00 งานบริหารทั่วไป 35 โครงการงานทะเบียนนักเรียน 137 2,200.00 2,200.00 36 โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 140 15,500.00 15,500.00 37 โครงการเยี่ยมบ้าน cct 147 2,000.00 2,000.00 38 โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียน ร่วม/เรียนรวม 150 500.00 500.00 39 โครงการทุนการศึกษา 153 0.00 0.00 40 โครงการสหกรณ์โรงเรียน 158 500.00 500.00 41 โครงการปรับภูมิทัศน์พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้ง ภายในและภายนอกห้องเรียน 161 30,000.00 30,000.00 42 โครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร และสิ่งชำรุด อื่นๆ 166 100,000.00 100,000.00


41 ที่ งาน/โครงการ แผน หน้า แหล่งงบประมาณ (จำนวนเงิน) หมาย เหตุ เงินอุดหนุน เรียนฟรี 15 ปี/รายหัว อบต. บริจาค/ รายได้ สถานศึก ษา รวมเงิน 43 โครงการปรับปรุงซ่อมแซมคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ต่อพ่วง 169 20,000.00 20,000.00 44 โครงการสานสัมพันธ์โรงเรียน บ้าน ชุมชน (ประชุมกรรมการ ประชุมผู้ปกครอง เครือข่าย ผู้ปกครอง) 172 5,000.00 5,000.00 45 โครงการประชาธิปไตยในโรงเรียน 175 2,000.00 2,000.00 46 โครงการออมทรัพย์ออมความดี 178 500.00 500.00 47 โครงการจัดทำและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการ 182 7,000.00 7,000.00 48 โครงการอาหารกลางวัน 186 451,500.00 451,500.00 49 โครงการการประเมินผลการควบคุมภายใน 189 1,000.00 1,000.00 50 โครงการระเบียบวินัยในโรงเรียน 192 3,000.00 3,000.00 51 โครงการพัฒนาและปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ 196 10,000.00 10,000.00 52 โครงการพัฒนาห้องสมุด 200 40,000.00 40,000.00 53 โครงการพัฒนาห้องพุทธศาสนา 203 1,000 1,000.00 54 โครงการพัฒนาห้องพยาบาล 206 2,000 2,000.00 55 โครงการพัฒนาและปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ 209 10,000 10,000.00 56 โครงการพัฒนาห้องละหมาด 212 1,000 1,000.00 57 โครงการพัฒนาห้องเรียนนาฏศิลป์และสื่อการ เรียนรู้ 215 10,000.00 10,000.00 58 โครงการจัดทำเอกสาร งานธุรการ การเงิน และพัสดุ 219 5,000 5,000.00 59 โครงการกิจกรรมตามนโยบาย 222 43,988.29 43,988.29 งานบริหารงบประมาณ


42 ที่ งาน/โครงการ แผน หน้า แหล่งงบประมาณ (จำนวนเงิน) หมาย เหตุ เงินอุดหนุน เรียนฟรี 15 ปี/รายหัว อบต. บริจาค/ รายได้ สถานศึก ษา รวมเงิน 60 โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการประจําป งบประมาณ 238 10,000 10,000.00 งานบริหารบุคคล 61 โครงการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา 225 2,000 2,000.00 62 โครงการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน 228 10,000 10,000.00 63 โครงการตรวจสุขภาพบุคลากร. 232 0.00 0.00 1,371,969.29 451,500.00 1,823,46 9.29


43 รายละเอียดแผนงบประมาณ/โครงการ ประจำปีงบประมาณ 2566


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.