หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพื่อการดำเ Flipbook PDF

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพื่อการดำเ

62 downloads 111 Views

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

1

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

2

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต สาระสำคัญ เมื่อมนุษย์เริ่มเรียนรู้ธรรมชาติมากขึ้น มีความเข้าใจในเรื่องของเหตุและผลจนเกิดเป็นศาสนา ที่มีเหตุผลเข้ามาเป็นแบบแผนและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ความเชื่อศรัทธาในกิจกรรมหรือ พิธีกรรมต่างๆ ของแต่ละศาสนาก็กลายมาเป็นประเพณี วัฒนธรรมที่ทำสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลา ยาวนาน สำหรับคนไทยแล้ว ศาสนาเป็นสถาบันสำคัญของสังคมไทยโดยยอมรับศาสนาพุทธ เป็น ศาสนาสำคัญประจำชาติและเปิดโอกาสให้บุคคลนับถือศาสนาต่างๆ ได้ โดยอิสระ ยอมให้ศาสนา สำคัญทั้งปวงตั้งอยู่ในประเทศไทยได้ เช่น ศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหมณ์ อินดู เป็นต้น แต่ศาสนา พุทธเป็นจุดรวมจิตใจของคนไทยส่วนใหญ่ จึงได้ยึดหลักธรรมมาเป็นพื้นฐานของชีวิตเพื่อที่จะ นำไปสู่ ความมั่นคงของประเทศด้วย การดำเนินชีวิตของคนเรานั้น ในความหมายหนึ่งก็คือ การบริโภค การเสพ หรือใช้ประโยชน์ จากสิ่งต่างๆ การใช้เวลาเป็นนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการรู้จักบริโภค ซึ่งเป็นความหมายอย่างหนึ่งของ การดำเนินชีวิต เป็นคนเราที่จะเป็นอยู่อย่างดีนั้นจะต้องดำเนินชีวิตเป็น คือรู้จักดำเนินชีวิตนั่นเอง ถ้า ใครรู้จักดำเนินชีวิต ชีวิต นั้นก็เป็นชีวิตที่ดีงาม เป็นชีวิตที่พัฒนาเจริญก้าวหน้า ประสบประโยชน์สุข ศาสนาทุกศาสนา จะเป็นที่พึ่งทางใจของมนุษย์ มีหลักธรรมคำสั่งสอนที่มุ่งหมาย สั่งสอนให้คนที่เป็น สมาชิกในสังคมเป็นคนดี มีคุณธรรมมีเหตุผลและศรัทธาในความถูกต้องมีพิธีกรรมและเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นศาสนานั้นๆ บุคคลไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ บทบาทใดจะต้องยึด หลักธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะธรรมหรือหลักคำสอนจะช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้ อีก ทั้งจะทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ และ การดำเนินชีวิตในทางพระพุทธศาสนา สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายและความสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม 2. คุณธรรมและจริยธรรมของสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 3. คุณธรรมและจริยธรรมในการดำรงตน 4. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทย 5. การดำรงตนให้มีความสุขวิถีพุทธ

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

3

จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกความหมายและความสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมได้ 2. อธิบายหลักคุณธรรมและจริยธรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนไทยในศตวรรษที่ 21 ได้ 3. อธิบายทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมได้ 4. อธิบายวิธีการดำรงตนให้มีความสุขบนวิถีพุทธได้ กิจกรรมการเรียนการสอน 1. แนะนำชี้แจงเกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระการเรียนในหน่วยที่ 3 2. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ตามแผนจัดการเรียนรู้หน่วยที่ 3 3. ทำกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้เอกสารประกอบการสอนหน่วยที่ 3 4. ทำกิจกรรม 3.1, 3.2 และ 3.3 โดยใช้เอกสารประกอบการสอนหน่วยที่ 3 5. ทำแบบทดสอบหลังการเรียนรู้ ตามแผนจัดการเรียนรู้หน่วยที่ 3

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

4

แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต จุดประสงค์ เพื่อทดสอบพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน คำชี้แจง แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก มีจำนวน 10 ข้อๆ ละ 1 คะแนน คำสั่ง จงกาเครื่องหมายกากบาท () ข้อที่ถูกต้องที่สุด ลงในกระดาษคำตอบที่กำหนดให้ ***************************************************************************************** 1. สภาพคุณงามความดีในจิตใจ เป็นความหมายของคำในข้อใด ก. จริยธรรม ข. คุณธรรม ค. วัฒนธรรม ง. ศีลธรรม 2. ข้อใดสอดคล้องกับทฤษฎีของโคลเบิร์ก ก. นายดำตั้งใจเรียนวิชาภาษาไทยจนคะแนนเพิ่มขึ้น ข. เด็กชายภาวนาเข้ารับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม ค. เด็กหญิงเบญจรัตน์เข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือเนตรนารี ง. นางสาวสมทรงอ่านหนังสือเพิ่มเติมที่ห้องสมุดเมื่อมีเวลาว่าง 3. พฤติกรรมใดของบุคคลต่อไปนี้ตรงกับทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กในระดับ ที่ 1 ขั้นที่ 2 ก. มารุต ช่วยคุณครูถือของไปวางไว้ที่ห้องพักครู และครูได้ให้ขนมแก่เขาเป็นสิ่งตอบแทน ข. นิติ ผลักเพื่อนเพื่อแย่งของเล่นมาล่นคนเดียวอย่างสบายใจ ค. ปรียาโดนคุณแม่บังคับให้กราบคุณยาย ง. ครูก้อยนำขนมวางไว้เพื่อเป็นรางวัลให้แก่เด็ก โดยกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า “เด็กคนใดไหว้สวย เดี๋ยวครูจะให้ขนม”

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

5

4. “วีรพงษ์ เป็นคนที่ไม่เอาเปรียบผู้อื่นเสมอต้นเสมอปลาย พฤติกรรมที่ทำให้คนรอบข้างชอบและชื่น ชมวีรพงษ์คือวีรพงษ์เป็นคนรักษาคำมั่นสัญญา” ข้อความดังกล่าวจัดอยู่ในขั้นใด ก. ขั้นที่ 1 ข. ขั้นที่ 3 ค. ขั้นที่ 5 ง. ขั้นที่ 6 5. ชมพู่มีพฤติกรรมชอบรังแกผู้อื่นครูจึงลงโทษชมพู่ พฤติกรรมแบบนี้เป็นพฤติกรรมระดับใดของโคล เบิร์ก ก. ระดับจริยธรรมก่อนเกณฑ์สังคม ข. ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม ค. ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ ง. ระดับจริยธรรมคุณธรรมสังคม 6. ข้อใดคือลักษณะของผู้มีจริยธรรมที่น่าเคารพและนับถือ ก. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท ข. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา ค. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว ง. ถูกทุกข้อ 7. ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดอยู่ในจิตลักษณะกลุ่มรากของต้นไม้ของทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม ก. สุขภาพจิต ข. สติ ปัญญา ค. เหตุผลเชิงจริยธรรม ง. ประสบการณ์ทางสังคม 8. หลักธรรมใดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เหมาะสมที่สุด ก. ไตรสิกขา ข. เบญจศีล ค. อิทธิบาท 4 ง. มัชฌิมาปฏิปทา หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

6

9. ศาสนาทุกศาสนามีความสำคัญต่อมนุษย์ในด้านใดมากที่สุด ก. สอนให้มีความยุติธรรม ข. เป็นที่รบมของคนในชุมชน ค. สอนให้เห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติ ง. เป็นหลักในการดำรงชีวิตและที่พึ่งทางใจ 10. หลักธรรมในข้อใดเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อความสำเร็จด้านการเรียนของบรรดาเหล่านิสิต นักศึกษา ก. อิทธิบาท 4 ข. สังคหวัตถุ 4 ค. พรหมวิหาร 4 ง. ฆราวาสธรรม 4

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

7

เรื่องที่ 3.1 ความหมายและความสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม “คุณธรรม” (Virtue) นักวิชาการในสาขานี้ให้ความหมายโดยสรุปว่า เป็นสิ่งที่บุคคลเห็น ว่าดี งามมาก มีประโยชน์มาก และเลวน้อย มีประโยชน์น้อย ในกาลเทศะหนึ่งๆ เช่น ความเอื้อเฟื้อ ความ อดทน ความขยันขันแข็ง ความซื่อสัตย์ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การมีระเบียบวินัย เป็นต้น สิ่งที่เป็น คุณธรรมในแต่ละสังคมอาจจะแตกต่างกัน การที่บุคคลในสังคมจะเห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ นั้น ขึ้นกับวัฒนธรรม เศรษฐกิจ ศาสนา และการศึกษาของสังคม นักวิชาการจึงเห็นว่าการนําเอา คุณธรรมใน สังคมหนึ่งไปยัดเยียดตัดสินคุณธรรมอีกสังคมหนึ่ง ย่อมไม่เหมาะสม ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว คุณธรรมมักมี ความเกี่ยวข้องกับหลักทางศาสนา อย่างไรก็ตาม ลักษณะบางด้านอาจเป็นได้ทั้ง คุณธรรมและค่านิยมใน เวลาเดียวกัน เนื่องจากสังคมเห็นว่า ลักษณะด้านนั้นเป็นสิ่งที่ดีงามและมี ความสําคัญมากด้วย เช่น “รักสามัคคี” ในสมัยก่อน “รักสามัคคี” เป็นเพียงแค่คุณธรรมที่ทุกคน ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงตระหนักถึง ความสําคัญของคุณธรรมตัวนี้ดังนั้นใน ปัจจุบันจึงอาจกล่าวได้ว่า “รักสามัคคี” เป็นทั้งคุณธรรมและ ค่านิยม คําว่า “จริยธรรม” (Morality) (Piaget, 1932 : Kohlberg, 1976) เป็นระบบของ การทํา ความดีละเว้นความชั่ว มีทั้งปัจจัยนําเข้า (Input) ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงเหตุทั้งทางด้านจิตใจและ สถานการณ์ของจริยธรรมและพฤติกรรมจริยธรรม รวมทั้งมีปัจจัยส่งออก (Output) ซึ่งเป็นผลของ การมี จริยธรรมหรือมีพฤติกรรมจริยธรรม ซึ่งผลนี้อาจอยู่ในรูปแบบทั้งจิตลักษณะและพฤติกรรมของ บุคคล ผู้กระทํา และผลต่อบุคคลอื่น ต่อกลุ่ม ต่อสิ่งแวดล้อม และต่อโลก จริยธรรมจะเกิดขึ้นเมื่อ ค่านิยมหรือ คุณธรรม ตั้งแต่ 2 ตัวขัดแย้งกัน ทําให้บุคคลต้องตกอยู่ในสภาพที่ต้องตัดสินใจหรือ แก้ปัญหาในการ เลือกที่จะปฏิบัติตามคุณธรรมหรือค่านิยมตัวใดตัวหนึ่ง เช่น ความกตัญญูต่อบุคคล ขัดแย้งกับความ รับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นต้น บุคคลที่ตัดสินใจเลือกคุณธรรมหรือค่านิยม ตัวที่มี ประโยชน์แก่ส่วนรวม มากกว่าที่เป็นประโยชน์แก่เฉพาะตนหรือพวกพ้องในกลุ่มเล็กๆ จึงมักเป็น บุคคลที่มีจริยธรรมสูง ดังนั้น จริยธรรมจึงมีความหมายครอบคลุมทั้งสาเหตุกระบวนการ และผลของ การกระทําความดีละเว้น ความชั่ว สําหรับจริยธรรมในการทํางาน คือ ระบบการทําความดีละเว้นความชั่วในเรื่องที่รับผิดชอบ และเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การทํางาน เกี่ยวข้องกับกระบวนการทํางานและ ผลงาน ตลอดจนเกี่ยวข้องกับผู้รับประโยชน์หรือโทษจากผลงานนั้น (ดวงเดือน พันธุมนาวิน, 2539) โดยสรุป นักวิชาการได้ให้ความหมายของคําว่า จริยธรรมในขอบข่าย 3 ประการ กล่าวคือ (สิทธิโชค วรานุสันติกูล, 2549)

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

8

ประการที่หนึ่ง จริยธรรมในแบบการคิดหาเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินใจที่จะกระทําหรือไม่ กระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ประการที่สอง จริยธรรมในแบบความรู้สึกทางจิตใจ การศึกษาจริยธรรมของบุคคลในข้อนี้คือ ศึกษาค่านิยม ความเชื่อและความรู้สึกชอบและไม่ชอบ ประการที่สาม จริยธรรมในแบบของการแสดงออกภายนอก คือ การศึกษาจริยธรรมเป็นส่วน ที่เป็นพฤติกรรมภายนอกของบุคคล เช่น พฤติกรรมซื่อสัตย์เอื้อเฟื้อ เป็นต้น แนวคิดทฤษฎีทางจริยธรรม สําหรับแนวคิดทฤษฎีทางจริยธรรมในที่นี้จะได้นําเสนอในส่วนที่เกี่ยวข้องใน 3 ทฤษฎีได้แก่ ทฤษฎีพัฒนาการการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบิร์กทฤษฎีความเฉลียวฉลาดเชิงจริยธรรม และ ทฤษฎี ต้นไม้เชิงจริยธรรม ทฤษฎีพัฒนาการการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบิร์ก ทฤษฎีพัฒนาการการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม เป็นแนวทางความคิดที่มีต้นกําเนิดมาจาก เพียเจท์ (Piaget, 1896) และผู้ที่นําเอาแนวความคิดนี้มาพัฒนาอย่างกว้างขวางเป็นที่ยอมรับกันอย่าง มาก คือ โคลเบิร์ก (Kohlberg, 1964) ซึ่งเขาได้ทําการศึกษาบุคคลต่างเชื้อชาติและวัฒนธรรมทั้งใน ทวีปยุโรป เอเซียและอเมริกา ผลการศึกษามนุษยชาติทําให้สามารถแบ่งระดับการพัฒนาการทางจิตใจ และใช้เหตุผลออกเป็น 3 ระดับ และแต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Kasey, 1975 : 40 Cite Kohlberg, 1985) ดังรูป

ภาพที่ 3.1 โครงสร้างทางจิต 6 ขั้น ของจริยธรรมในมนุษย์

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

9

ระดับก่อนกฎเกณฑ์ (Reconvention) เป็นระดับที่บุคคลยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางในการ ตัดสินการกระทํา การจะทําสิ่งใดมักคํานึงถึงผลประโยชน์ที่ตนจะได้รับเป็นใหญ่ โดยมิได้คํานึงถึงว่า การกระทํานั้นจะส่งผลต่อผู้อื่นอย่างไร ระดับนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ขั้น ขั้นที่ 1 หลักการเชื่อฟังคําสั่งและหลบหลีกการถูกลงโทษ บุคคลที่มีการตัดสินใจอยู่ในขั้น นี้ จะตัดสินการกระทําว่าดี-เลว ถูก-ไม่ถูก โดยพิจารณาที่ผลการกระทําว่าจะส่งผลต่อตนเองอย่างไร หลบหลีกการถูกลงโทษทางกายเพราะกลัวได้รับความเจ็บปวด ยอมทําตามคําสั่งผู้มีอํานาจทางกาย เหนือตน ผู้ที่ใช้หลักการตัดสินใจขั้นนี้มักเป็นเด็กอายุ 2-7 ปี ขั้นที่ 2 หลักการแสวงหารางวัล บุคคลที่มีการตัดสินใจอยู่ในขั้นนี้เป็นผู้ที่ถือว่าการกระทําที่ ถูกต้องคือ การกระทําที่สนองความต้องการของตนและทําให้คนเกิดความพอใจ การสัมพันธ์กับ ผู้อื่น เป็นไปในลักษณะแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน การกระทําแบบดีมาดีตอบ ร้ายมาร้ายตอบ เข้าทํานอง “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ผู้ใช้หลักการตัดสินใจขั้นนี้มักเป็นเด็กอายุ 7-10 ปี ผู้ใหญ่ที่มีเหตุผลเชิง จริยธรรม ชะงักขั้นนี้จะมีเหตุผลในการทําหรือไม่ ทําอะไร เช่น ทําแล้วไม่คุ้ม ทําหน้าที่ก็ต้องขอสิ่ง ตอบแทน มิฉะนั้น จะไม่ทํา ระดับตามกฎเกณฑ์ (Convention) เป็นระดับที่บุคคลเรียนรู้ที่จะกระทําตามกฎเกณฑ์ ของ กลุ่มย่อยของตน กระทําตามกฎหมายหรือกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของศาสนา รู้จักที่จะเอาใจเขามาใส่ ใจเรา มีความสามารถที่จะแสดงบทบาทของตนได้อย่างเหมาะสมเมื่ออยู่ในสังคม ระดับนี้แบ่งออกได้ เป็น 2 ขั้น ขั้นที่ 3 หลักการทําตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ พฤติกรรมที่ดีตามทัศนะของผู้ใช้หลักการตัดสิน ขั้นนี้ ก็คือ การทําให้ผู้อื่นพอใจและยอมรับ ลักษณะที่เด่นก็คือ การคล้อยตามและส่วนผู้ใหญ่ที่จริยธรรม หยุดชะงักในขั้นนี้จะเป็นผู้กระทําการใดๆ โดยเห็นแก่พวกพ้อง เครือญาติและเพื่อนฝูงมากกว่าจะ ตัดสินใจกระทําสิ่งใดเพื่อส่วนรวม พยายามทําตนให้ผู้อื่นรักหรือมองเห็นว่าน่ารักผู้ใช้หลักขั้นนี้มักเป็น เด็ก อายุประมาณ 10-13 ปี ขั้นที่ 4 หลักการทําตามหน้าที่ทางสังคม ตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ของสังคม บุคคลจะเริ่ม มองเห็นความสําคัญของกฎเกณฑ์ระเบียบต่างๆ เห็นความสําคัญของการทําตามหน้าที่ตน แสดงการ ยอมรับ เคารพในอํานาจและมุ่งรักษาไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ทางสังคม ผู้มีหลักการ ตัดสินใจขั้นนี้ มักเป็นเด็ก ช่วง อายุ 13-16 ปีและผู้ใหญ่โดยทั่วไป หากจริยธรรมหยุดชะงักในขั้นนี้บุคคลจะกระทําการใดๆ โดย อ้างกฎ ระเบียบ เป็นสําคัญ โดยไม่สนใจประโยชน์ส่วนรวม ระดับเหนือกฎเกณฑ์(Post Convention) ในระดับนี้การตัดสินพฤติกรรมใดๆ เป็นไป ตาม ความคิดและเหตุผลของตนเอง แล้วตัดสินใจไปตามที่ตนคิดว่าเหมาะสม ระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น เช่นกัน

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

10

ขั้นที่ 5 หลักการทําตามคํามั่นสัญญา ขั้นนี้ยึดประโยชน์และความถูกต้องเพื่อประโยชน์ ส่วนรวมเป็นหลัก เป็นการกระทําที่เป็นไปตามข้อตกลงและยอมรับกันของผู้ที่มีจิตใจสูง โดยจะต้อง นําเอา กฎเกณฑ์ของสังคม กฎหมาย ศาสนา และความคิดเห็นของบุคคลรอบด้านมาร่วมในการ พิจารณาความ เหมาะสมด้วยใจเป็นกลาง เข้าใจในสิทธิของตนและเคารพในสิทธิของผู้อื่น สามารถ ควบคุมตนเองได้ มีความภาคภูมิใจเมื่อทําดีและละอายใจตนเองเมื่อทําชั่ว ผู้มีการตัดสินใจโดยใช้หลัก นี้มักเป็นผู้ที่มีอายุ มากกว่า 16 ปีขึ้นไป ขั้นที่ 6 หลักการยึดอุดมคติสากล มีลักษณะแสดงถึงความเป็นสากลนอกเหนือจาก กฎเกณฑ์ ในสังคมของตน มีความยืดหยุ่นทางจริยธรรมเพื่อจุดมุ่งหมายบั้นปลายอันเป็นอุดมคติที่ยิ่งใหญ่ มี หลักธรรมประจําใจของตนเอง มีความเกลียดกลัวความชั่ว เลื่อมใสศรัทธาในความดีงาม ยึดประโยชน์ ส่วนรวมเป็นหลัก ผู้มีหลักการตัดสินใจขั้นนี้ส่วนมาเป็นวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง หลักการตัดสินใจทั้ง 6 ขั้นนี้ครอบคลุมพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่ง พัฒนาการถึงขีดสูงสุด และมีลักษณะเป็นสากล คือบุคคลไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใด เชื้อชาติใด วัฒนธรรมใด ก็มีแนวโน้มว่าเจริญโดยผ่านกระบวนการเหล่านี้ตามลําดับขั้น จากขั้นต่ำไปหาขั้นสูง โดย ไม่ข้ามขั้นตอนใด เว้นแต่บุคคลอาจพัฒนาในอัตราที่เร็ว-ช้าแตกต่างกัน สําหรับแนวปรัชญาและ วัฒนธรรมไทย มีความ คล้ายคลึงกันในลําดับขั้นของการพัฒนาจะแตกต่างกันก็ตรงที่แบ่งรายละเอียด มากน้อยกว่ากันเท่านั้น ซึ่งถ้านํามาเทียบเคียงกันจะได้ดงนี้

โคลเบิร์ก (Kohlberg) ได้เขียนบทความนําเสนอเหตุผลเชิงจริยธรรมที่สูงกว่าขั้นที่ 6 ไว้หลาย บทความเกี่ยวกับเหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นที่ 7 โดยเรียกว่า “Ultimate Faith” เป็นการที่บุคคลจะ กระทํา หรือไม่กระทําสิ่งใดโดยความเชื่อถือศรัทธาขั้นปรมัตถ์ในความเกี่ยวเนื่องของชีวิตใกล้เคียงกับ หลักพุทธ ศาสนาเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

11

โคลเบิร์ก ได้ทําการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง และพบว่าบุคคลจะสามารถพัฒนาการทาง จริยธรรมถึงขั้นที่ 6 เมื่อการพัฒนาความคิด สติปัญญาสมบูรณ์ซึ่งอย่างเร็วที่สุดคือ อายุ 13 ปีและมี เพียง 25% ของมนุษย์ในโลกเท่านั้นที่สามารถพัฒนาเกินขั้นที่ 4 (Kohlberg and Ryncaz, 1990) จากที่กล่าวมาพบข้อสรุปที่น่าเชื่อได้ว่า สติปัญญาของบุคคลนั้นมีความ สัมพันธ์กับพัฒนาการ ทางจริยธรรมอย่างมาก เป็นส่วนสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางจริยธรรมอีกด้วย แต่ ความคิด ตามทฤษฎีนี้แท้จริงสติปัญญาเพียงอย่างเดียวไม่เพียงที่จะทําให้จริยธรรมของบุคคลพัฒนาไป ได้ด้วยดี จะต้องมีสิ่งกระตุ้นหรือสภาวะจากภายนอกร่วมด้วย ซึ่งทั้งเพียร์เจท์ (Piaget, 1932) และ โคลเบิร์ก (Kohlberg, 1964) ต่างก็มองพัฒนาการทางจริยธรรมว่าเป็นผลิตผลของอิทธิพลร่วม ระหว่างพัฒนาการ ของสติปัญญา (Cognitive development) กับประสบการณ์ทางสังคม (Social experience) จึงกล่าวได้ว่า ความคิดและหลักของทฤษฎีนี้ทั้งเพียเจท์และโคลเบิร์กได้เน้นความสําคัญของ องค์ประกอบสองประการ คือ 1) พัฒนาการทางสติปัญญา และ 2) ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือ ประสบการณ์ ทางสังคม ซึ่งอิทธิพลและความสําคัญของสติปัญญานั้นได้กล่าวมาแล้ว ส่วนด้าน ประสบการณ์ทางสังคมนั้น โคลเบิร์ก (Kohlberg, 1976) กล่าวว่าการได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่นใน สังคมมากๆ ทําให้บุคคล มีโอกาสสวมบทบาทบ่อยๆ จึงเกิดความสามารถในการสวมบทบาททาง สังคม (Social role taking) หรือความสามารถในการหยั่งลึกทางสังคม (social perspective taking)

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

12

กิจกรรม 3.1 ความหมายและความสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม คำชี้แจง 1. ให้นักศึกษาอ่านสาระโดยละเอียดในเอกสารประกอบการสอน หน่วยที่ 3 เรื่องที่ 3.1 2. ตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง คำถาม 1. จงบอกความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม มาพอสังเขป 2. จงอธิบายความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรมที่ต้องมีในมนุษย์ พร้อมยกตัวอย่าง ประกอบ 3. จงอธิบายทฤษฎีพัฒนาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบิร์ก มาพอสังเขป บันทึกการตอบกิจกรรม 3.1 ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ .......................................................................................................................................................... ...... ............................................................................................................................ .................................... ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................. .............. ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

13

เรื่องที่ 3.2 คุณธรรมและจริยธรรมของสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 ลักษณะทางสังคมเศรษฐกิจในยุคศตวรรษที่ 21 การขยายตัวทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม มากที่สุด เป็นยุคของอุตสาหกรรมที่มาแทนที่แรงงานคนและสัตว์อันเป็นปัจจัยการผลิตในยุคกสิกรรม การขยายตัวและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดังกล่าวได้มีผลให้สังคมโลกในการปรับตัวอย่างรีบเร่ง เพื่อการดำรงคงอยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลง การขับเคลื่อนธุรกิจของประชากรต้องก้าวข้ามอุปสรรค ปัญหา ประชากรในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลต้องเป็นประชากรที่มีความพร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ ข้อมูล ที่มากมายทั้งข้อมูลภายใน และข้อมูลภายนอก เนื่องจากมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ สื่อสังคมออนไลน์ทำให้ข้อมูลมาจากหลากหลายช่องทาง ประชากรจำเป็นต้องมีศักยภาพในการ จัดการข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งจะขอขยาย ความหมาย เกี่ยวกับคำว่า เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) นั้นคือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศ โดยการนำไอทีหรือเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มผลงาน โดยใช้เวลาน้อยลง และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการต่างๆ เพื่อให้เราแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง “ยุคปัจจุบันที่การใช้สมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ” ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ติดต่อสื่อสาร กันผ่านเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง (Wireless Broadband) เช่น 3G, 4G ซึ่งใช้งานได้ง่ายกว่า เครื่องพีซี (Personal Computer: PC) มากทำให้เกิดการใช้งานในวงกว้าง แม้กระทั่งในคนที่ไม่เคยใช้ คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตมาก่อน ซึ่งทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ มากมายในแทบทุกสาขา เศรษฐกิจ การปรับเปลี่ยนที่สำคัญก็คือ เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เทคโนโลยีดิจิทัลเข้า มามีบทบาทสำคัญในชีวิตของมนุษย์แทบทุกด้านการติดต่อสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม ดำเนินบนฐานของข้อมูลในอินเทอร์เน็ตหลายประเทศในโลกจึงจำเป็นต้องปรับตัวไปสู่ความเป็นดิจิทัล การที่ประเทศไทยต้องปรับตัวเพื่อเตรียมก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ธุรกิจที่ จะต้องแข่งขันกันด้วยความรู้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม รูปแบบของเศรษฐกิจกำลังจะ เปลี่ยนไป เกิดการทำงานแบบใหม่ ที่เรียกว่า ดิจิทัล เวิร์คเพลส (Digital Workplace) ข้อมูลเกือบทุก อย่าง ในอนาคตจะถูกเชื่อมโยงด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นการขับเคลื่อนทั้งสมรรถนะของตนเอง และ ของประชากรให้ไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัล โดยมีวิธีบริหารการทำงานผ่านระบบ ออนไลน์ตลอด ทั้งวิธีการบริหารจัดการดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) ในประชากรให้เกิด ประโยชน์ มากที่สุด ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตการทำงานจะอยู่ในโมบายเทคโนโลยี (Mobile Technology) ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของการทำธุรกรรมหรือการทำงานอื่นๆ ระบบดิจิทัลจะเข้ามา ควบคุมการทำงานในอนาคต จะเป็นการติดต่อที่ทำได้ตลอดเวลาทุกสถานที่ ผู้ประกอบการธุรกิจควรมี การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ดิจิทัลให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการเลือกบริโภคของลูกค้า ซึ่งมีความ

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

14

สอดคล้องกับผลงานวิจัยที่ว่า ผู้ประกอบการควรเน้นจำหน่ายสินค้าแฟชั่นประเภทเสื้อ กางเกง กระโปรง ของกลุ่มคนในวัยทำงาน เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้มีโอกาสเติบโตสูงมาก และควรให้ ความสำคัญในเรื่องคุณภาพสินค้า ความหลากหลายของสินค้า ราคา การส่งเสริมการขาย และควรมี ช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า แฟชั่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลจะทำให้ประชากรเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว แต่สิ่งที่ประชากรควรรักษาไว้ ก็คือความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันหรือสอดคล้องกันเกี่ยวกับเรื่อง คุณธรรมจริยธรรมระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกๆ ฝ่ายในประชากร แล้วขยายวงกว้างไปภายนอกประชากร ต่อไป ซึ่งเริ่มจากการกำหนดแผนงานด้านคุณธรรมและจริยธรรม การแผนส่งเสริมให้เป็นวัฒนธรรม ประชากร และการสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านคุณธรรมและจริยธรรมภายในประชากร สำหรับ ผู้เขียนมีความประสงคที่จะสะท้อนให้เห็นรูปแบบการจัดประชากรและแนวทางพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยใช้หลักคำสอน ของพุทธศาสนาและการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในจิตสำนึกของบุคคล ตามกรอบทักษะและการเรียนวัฒนธรรมในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ได้พลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ ไทย

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

15

เรื่องที่ 3.3 คุณธรรมและจริยธรรมในการดำรงตน คำว่า “จริยธรรม” แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือ กิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี หลักคำสอนของ ศาสนา หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น “จริยธรรม” จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า “หลักแห่งความประพฤติ” หรือ “แนวทางของการประพฤติ” จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็น ผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้ 1. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว 2. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา 3. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท 4. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง 5. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใดๆ ได้ แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่กำหนดโดยรัฐบาล จากคุณสมบัติของผู้มี จริยธรรมดังกล่าว แสดงถึงความเป็นคนมีคุณภาพ มีภาวะความเป็นผู้นำ อันเป็นที่ต้องการของ องค์การและสังคมทุกระดับ รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของประชาชนใน ด้านจริยธรรมและคุณธรรมในสังคม จึงได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 8 โดยเน้น การพัฒนาจิตใจในลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ซึ่งผล ที่ปรากฏในปัจจุบันก็คือ มีการเผยแผ่ธรรมะทางสื่อต่างๆ มากมาย วัดวาอารามก็ได้เข้ามามีส่วนร่วม ส่วนช่วยในการอบรมสั่งสอนด้วย จริยธรรมเป็นจริยสมบัติ หน่วยงานต่างๆ ก็ให้การสนับสนุนเป็น อย่างดี คนไทยวัยหนุ่มสาวและเยาวชนได้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จากที่เห็นได้จากสื่อและข่าว ต่างๆ เนื่องจากจริยธรรมเป็นคุณสมบุติที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการวัดคุณภาพของคน ซึ่งมี ความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรทั้งประเทศ รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คุณธรรมและจริยธรรมไว้ดังนี้ 1. พัฒนาจิตใจประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ผู้นำแต่ละกลุ่มเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลง 2. ให้สถาบันของสังคมและครอบครัวทำหน้าที่อันถูกต้อง ชอบธรรมของตนเอง แก้ไข ข้อบกพร่องโดยรีบด่วน 3. บรรจุการพัฒนาจิตใจในหลักสูตร การฝึกอบรมทุกหลักสูตร และให้ดำเนินการพัฒนา ต่อเนื่องต่อไป

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

16

4. ให้มีการพัฒนาวิธีปลูกฝัง อบรม สั่งสอนศีลธรรม จริยธรรม ตามความเหมาะสมของ กลุ่มเป้าหมายให้เป็นที่น่าสนใจ 5. สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของสังคมอันได้แก่ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ ถูกต้องดีงามตามหลักศีลธรรมและจริยธรรม นอกจากการพัฒนาของรัฐบาลดังกล่าว องค์การควรได้ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของ องค์การในวิธีเดียวกันในองค์การอีกแห่งหนึ่ง เพื่อให้บุคลากรขององค์การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึง ประสงค์ขององค์การและประเทศชาติโดยแท้จริง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยวิธีดังกล่าวอาจเป็น ส่วนหนึ่งสำหรับการพัฒนาองค์การ ที่สำคัญก็คือองค์การควรให้มีการสร้างบรรยากาศหรือสภาวะ แวดล้อมในการทำงานให้ดีด้วย ดังเช่นไม่ให้คนมีงานทำมากเกินไป หรือน้อยเกินไป การพิจารณา ความดีความชอบให้มีความยุติธรรม และส่งเสริมด้วยมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย ซึ่งบรรยากาศ ที่ดีจะช่วยการพัฒนาจิตใจ ในด้านสถาบันการศึกษาก็ควรได้มีการบรรจุหลักคุณธรรมไว้ในหลักสูตร เพื่อเป็นการพัฒนาและให้การศึกษากับคนทั้งชาติ เพื่อการพัฒนาจิตใจของคนในชาติให้มีคุณภาพ จริยธรรม ในชีวิตประจำวัน 1. ขยัน ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทนไม่ ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้ปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่ง หมาย 2. ประหยัด การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มีความประ หยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน 3. ซื่อสัตย์ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึก ลำเอียงหรืออคติ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา 4. มีวินัย การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและ วินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา 5. สุภาพ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ที่มี ความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว 6. มีน้ำใจ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ เห็น คุณค่าในเพื่อนมนุษย์

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

17

กิจกรรม 3.2 คุณธรรมและจริยธรรมต่อการดำรงชีวิต คำชี้แจง 1. ให้นักศึกษาอ่านสาระโดยละเอียดในเอกสารประกอบการสอน หน่วยที่ 3 เรื่องที่ 3.2 และ เรื่องที่ 3.3 2. แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มๆ ละ 3-5 คน ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มอภิปรายในกลุ่ม และสรุปผล การอภิปราย นำเสนอผลการอภิปราย ประเด็นอภิปราย 1. “ปัจจุบัน คน เริ่มขาดคุณธรรมจริยธรรม มากขึ้น” จริง หรือไม่ เพราะเหตุใด 2. คุณธรรมและจริยธรรม สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างไร และ นักศึกษาคิดว่าสามารถแยกเรื่อง เศรษฐกิจ กับ คุณธรรมออกจากกันได้ บันทึกการตอบกิจกรรม 3.2 ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ .......................................................................................................................................................... ...... ............................................................................................................................ .................................... ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ .......................................................................................................................................................... ......

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

18

เรื่องที่ 3.4 ทฤษฎีต้นไม้คุณธรรมสำหรับคนไทย กระแสโลกาภิวัฒน์ได้มีอิทธิพลต่อกระแสวัฒนธรรมไทยที่คนไทยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งด้านการกิน การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมโดยรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ อย่างไม่เหมาะสม ครอบงําทั้งตนเอง ครอบครัวและคนรอบข้าง ก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนไทย ทําให้หลงลืมคุณธรรมจริยธรรม วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทย จากการพบปะกับบุคคลมากมายทั้งตอนเรียน ตอนทํางาน เคยสงสัยอยู่ตลอดว่าคนที่ทั้งเก่ง และ เป็นคนดีด้วย เขาเป็นคนที่สมบูรณ์แบบอย่างนั้นได้อย่างไร มีคุณลักษณะพิเศษอะไรที่เพาะบ่ม บุคคลนั้นแต่ อย่างน้อยบุคคลเหล่านั้นต้องมีพฤติกรรมทางจริยธรรมที่ดีงามอย่างหนึ่งแน่นอน ซึ่งจาก การอ่านหนังสือ ดูเว็บ ไซด์ก็รู้สึกสะดุดใจกับทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งเขียนโดย ศ.ดร.ดวงเดือน พันธุมนาวิน คือ ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมซึ่ง น่าสนใจมาก โดยเฉพาะกับยุคสมัยปัจจุบันที่ทุกคนร่ำร้องเรียกหาคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม ศ.ดร.ดวงเดือน ให้คํานิยามคําว่า “จริยธรรม” ว่า หมายถึง ระบบการทําความดี ละ เว้นความชั่ว คําว่า “ระบบ” หมายถึง ทั้งสาเหตุที่บุคคลจะกระทํา หรือไม่กระทําและผลของการกระทํา หรือไม่กระทํานั้นตลอดจนกระบวนการเกิดและเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมเหล่านี้ด้วย การที่คนเราจะทําความดี หรือไม่มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ 1) สาเหตุภายในตัวบุคคล ได้แก่ ความไม่เห็นแก่ตัวความเชื่อในหลักการทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว การเคารพกฎหมาย ระเบียบและกติกาของสังคม 2) สาเหตุภายนอกตัวบุคคล ได้แก่ คนรอบข้างกฎระเบียบ ศาสนา สังคม วัฒนธรรม และ สถานการณ์ในขณะที่บุคคลประสบอยู่ ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม คือ ลักษณะพื้นฐานและองค์ประกอบทางจิตใจซึ่งจะนําไปสู่พฤติกรรม ที่พึงปรารถนาเพื่อส่งเสริมให้บุคคลเป็นคนดีและคนเก่งนั้นมีสาเหตุทางจิตใจอะไรบ้างและได้นํามา ประยุกต์เป็นทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสาหรับคนไทยขึ้น

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

19

ภาพที่ 3.2 ทฤษฎีต้นไม้คุณธรรม ที่มา : http://bsris.swu.ac.th/sar/streng49.asp ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสําหรับคนไทยนั้น ได้แบ่งต้นไม้จริยธรรมออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่หนึ่ง ได้แก่ดอกและผลไม้บนต้น ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทําดีละเว้นชั่วและพฤติกรรม การทํางานอย่างขยันขันแข็งเพื่อส่วนรวม ซึ่งล้วนแต่เป็นพฤติกรรมของพลเมืองดีพฤติกรรมที่เอื้อเฟื้อ ต่อการ พัฒนาประเทศ ส่วนที่สอง ได้แก่ ส่วนลําต้นของต้นไม้แสดงถึงพฤติกรรมการทํางานอาชีพอย่างขยันขันแข็ง ซึ่งประกอบด้วยจิตลักษณะ 5 ด้าน คือ 1) เหตุผลเชิงจริยธรรม 2) มุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง 3) ความเชื่ออํานาจในตน 4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 5) ทัศนคติคุณธรรมและค่านิยม

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

20

ส่วนที่สาม ได้แก่ รากของต้นไม้ ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทํางานอาชีพอย่างขยันขันแข็งซึ่ง ประกอบด้วยจิตลักษณะ 3 ด้าน คือ 1) สติปัญญา 2) ประสบการณ์ทางสังคม 3) สุขภาพจิต จิตลักษณะทั้งสามนี้อาจใช้เป็นสาเหตุของการพัฒนาจิตลักษณะ 5 ประการ ที่ลําต้นของ ต้นไม้ก็ได้ กล่าวคือ บุคคลจะต้องมีลักษณะพื้นฐานทางจิตใจ 3 ด้าน ในปริมาณที่สูงพอเหมาะกับอายุ จึงจะเป็นผู้ที่มี ความพร้อมที่จะพัฒนาจิตลักษณะทั้ง 5 ประการ ที่ลําต้นของต้นไม้โดยที่จิตทั้ง 5 ลักษณะนี้จะพัฒนาไปเอง โดยอัตโนมัติ ถ้าบุคคลที่มีความพร้อมทางจิตใจ 3 ด้านดังกล่าวและอยู่ใน สภาพแวดล้อมทางครอบครัวและ สังคมที่เหมาะสม นอกจากนั้นบุคคลยังมีความพร้อมที่จะรับการ พัฒนาจิตลักษณะบางประการใน 5 ด้านนี้ โดยวิธีการอื่นๆ ด้วย ฉะนั้นจิตลักษณะพื้นฐาน 3 ประการ จึงเป็นสาเหตุของพฤติกรรมของคนดีและของคน เก่งนั่นเอง นอกจากนี้จิตลักษณะพื้นฐาน 3 ประการ ที่รากนี้อาจเป็นสาเหตุร่วมกับจิตลักษณะ 5 ประการที่ ลําต้น หากบุคคลมีพื้นฐานทางด้านจิตใจเป็น ปกติและได้รับประสบการณ์ทางสังคมที่เหมาะสม บุคคลนั้นก็จะ สามารถพัฒนาโดยธรรมชาติ แต่ใน สังคมไทยมีการวิจัยพบว่าพัฒนาการหยุดชะงักอย่างไม่เหมาะสมกับวัย กล่าวคือ ผู้ใหญ่จํานวนหนึ่งซึ่ง สมควรพัฒนาการใช้เหตุผลไปถึงขั้นสูงแล้วแต่ยังหยุดชะงักที่ขั้นต่ำ เช่น ยังยึด หลักแลกเปลี่ยน ผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนพวกพ้อง เป็นต้น บุคคลที่มีแรงจูงใจดังกล่าวจึงยังไม่สามารถคิด ประโยชน์เพื่อสังคมได้ ดังนั้น หากเราหมั่นตรวจสอบจริยธรรมของตัวเองอยู่ตลอดเวลา การบันทึกกิจกรรมที่ได้ กระทําแต่ละวันทําให้ได้ข้อมูล เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ดีงามยิ่งขึ้น ซึ่งการ บันทึกข้อมูลการปฏิบัติหรือกิจกรรมที่ได้กระทําเสมือนการปฏิบัติธรรมโดยวิธีนั่งสมาธิเพราะในขณะที่ จิตกําลังทบทวนสิ่งที่ได้ กระทําเสมือนเป็นการพิจารณาตัวเอง พิจารณาการกระทําดีและไม่ดีในขณะที่ จิตพิจารณาก็จะเกิดสมาธิและ เมื่อได้พิจารณาตนเองแล้ว ก็สามารถเข้าใจตนเองและปรับเปลี่ยน พฤติกรรมใหม่ ซึ่งเป็นเสมือนเกิดปัญญาใน การนําพาชีวิตผ่านพ้นทุกข์ได้ลองปฏิบัติดูนะ

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

21

เรื่องที่ 3.5 การดำรงตนให้มีความสุขวิถีพุทธ การดำเนินชีวิตตามหลักของพุทธศาสนานั้น มีหลักธรรมคำสอนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ของชาวพุทธอยู่มากมาย แต่ในประเด็นนี้เพียงต้องการที่จะกล่าวให้เห้นถึงหลักการดำเนนิชีวิตอย่าง กว้างๆ ของพุทธศาสนา ซึ่งการดำเนนิชีวิตามแนวพุทธศาสนานั้น จะพบเห็นได้จากการที่ชาวพุทธนำ หลักธรรม หลักจริยธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนี้ 1. การกระทำความดี ละเว้นความชั่ว ซึ่งแนวทางการปฏิบัติของแต่ละศาสนาแตกต่างกัน แต่ทุกศาสนาก็สอนให้ทำความดี และละเว้นความชั่วเป็นพื้นฐาน ได้แก่ ศีล 5 ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ การไม่ลักทรัพย์ การไม่ประพฤติผิวในกาม การไม่กล่าวมุสา และการไม่เสพสิ่งเสพติดมีนเมา ซึ่ง เป็นสิ่งที่ทำให้ประมาท 2. การพัฒนาตนเองและการพึ่งตนเอง เพื่อให้อยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข เช่น พุทธภาษิต ที่ว่า อัตตาหิอัตตโน นาโถ หมายถึง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน 3. ความยุติธรรม ความเสมอภาพและเสรีภาพคำสอนของศาสนาจะเน้นในเรื่องเหล่านี้ เพราะทุกเรื่องจะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ชาติตระกูลไม่ได้เป็นเครื่อง กำหนดความแตกต่างของบุคคล คนที่เกิดมาเท่าเทียมกันทั้งนั้น และสอนให้ทุกคนอยู่ภายใต้อคติ 4 คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ คือ ลำเอียง เพราะเหตุทั้ง 4 ประการ คือ เพราะรัก เพราะโกรธ เพราะหลง และเพราะกลัว เป็นต้น 4. การเสียสละ หรือการสงเคราะห์ เช่น สังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน คือ การแบ่งปันสิ่งของๆ ตนแก่คนที่ควรให้ ปียวาจา คือ การใช้วาจาที่อ่อนหวาน อัตฤจริยา คือ ประพฤติตนแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์ สมานัตตตา คือ ความเป็นคนวางตนเสมอ ไม่ถือตัว 5. ความอุตสาหะและความพยายาม มีความอุตสาหะ มีความเพียรความอดทน และมีความ พยายามอันจะช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ พร้อมทั้งพัฒนาตนเองอยู่เสมอ พุทธศาสนามีคติ เตือนใจว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น หรือหลักคำสอนอิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ ความพอใจรักใครในสิ่งนั้น วิริยะ ความเพียรในสิ่งนั้น จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น และวิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น 6. ความรักความเมตตา เพราะการที่คนเราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันตินั้น ความรักความ เมตตาเป็นสื่อสำคัญอีก ในพุทธศาสนามีพุทธภาษิตว่า เมตตาธรรม เป็นเครื่องค้ำจุนโลก 7. ความมีคุณธรรมอดทน อดกลั้น เกือบทุกศาสนา มีบทบัญญัติและข้อปฏิบัติในเรื่องนี้ เหมือนกัน เช่น ศีลของศาสนาพุทธ บัญญัติ 10 ประการของศาสนาคริสต์ การถือศีลอดของศาสนา อิสลาม ทุกข้อปฏิบัติ คือ การให้คน มีคุณธรรม อดทน และอดกลั้น

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

22

8. การยกย่องเคารพบิตามารดา ถือเป็นหลักสำคัญ เพราะบุพการีเป็นสิ่งควรยกย่อง ในพุทธ ศาสนากล่าวไว้ว่า บิดา มารดา เป็นพระพรหมของลูก 9. การไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ พุทธศาสนาถือว่ากำเนิดชาติตระกูลมิได้ทำให้บุคคลเป็น พราหมณ์ เป็นกษัตริย์เป็นพ่อค้า ความประพฤติของบุคคล เป็นเรื่องกำหนดของบุคคล ทุกคนมีความ เท่าเทียมกัน 10. การไม่ข้องแวะด้วยอบายมุข ไม่เสพสุราของมึนเมา ไม่เล่นการพนัน หาเลี้ยงชีพโดยไม่ ชอบธรรมต่างๆ เช่น การค้ามนุษย์ ค้าขายสิ่งเสพติดมึนเมา และผิดกฎหมาย เป็นต้น จากความหมายการดำเนินชีวิตตามแนวความเชื่อพุทธปรัชญาเถรวาท ได้แก่ การดำเนินชีวิต ตามปกติของคนเรา ด้วยการรักษากาย วาจา ใจ ให้สุจริต ไม่คิด พูด ทำในสิ่งชั่ว สร้างความดี และทำ ใจให้ผ่องใส เป็นไปตามหลักของศีล สมาธิ และปัญญา หลักพุทธจริยธรรม 3 ระดับพุทธจริยธรรม หรือหลักสำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนจัดเป็น 3 ระดับ คือ 1. พุทธจริยศาสตร์ขั้นพื้นฐาน หลักธรรมขั้นนี้มีอยู่ 2 ขั้น คือ ขั้นหยาบ เป็นลักษณะที่ต้องงดเว้น ด้วยการไม่ประพฤติผิด ทางกายและวาจา เรียกว่า เบญจศีล หรือศีล 5 อีกขั้นหนึ่ง คือ ขั้นละเอียด ที่ประณีตมากขึ้นกว่าเดิม เป็นลักษณะทางใจ 5 อย่าง เรียกว่า เบญจธรรม มาคู่กัน 2. จริยศาสตร์ขั้นกลาง หลักจริยธรรมนี้ เป็นหลักปฏิบัติที่สูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 ประการ หมายถึง ทางแห่งการกระทำความดี หรือทางไปสู่ความเจริญ และสันติสุขหรือสุคติ จริยธรรมระดับนี้จะช่วยยกฐานะความดีของมนุษย์ให้สูงขึ้น ประณีตขึ้นตามลำดับ แบ่งออกเป็น 3 ทางตามโครงสร้างของพฤติกรรมของมนุษย์ ได้แก่ 1) กายสุจริต คือ ความประพฤติทางกาย 3 ประการ ได้แก่ (1) เว้นจากการฆ่า และเบียดเบียนสัตว์ (2) เว้นจากการละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (3) เว้นจากการประพฤติผิดทางกาม 2) วจีสุจริต คือ ความประพฤติดีทางวาจา 4 ประการ ได้แก่ (1) เว้นจากการพูดเท็จ (2) เว้นจากการพูดยุยงให้แตกสามัคคี (3) เว้นจากการพูดคำหยาบ (4) เว้นจากการพูดเรื่องไร้สาระ ไม่มีประโยชน์ 3) มโนสุจริต คือ ความประพฤติดีทางใจ 3 ประการ ได้แก่ (1) ไม่คิดโลภ อยากได้สิ่งของๆ คนอื่น หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

23

(2) ไม่คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น (3) มีทัศนคติที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ดังนั้น คุณธรรม 10 ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องฝึกให้มีในตน เพื่อความสงบสุขของตน และสังคม 3. หลักจริยธรรมชั้นสูงสุด หลักจริยธรรมขั้นนี้ เป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์ หรือปัญหาของชีวิตอย่าง แท้จริง เป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ผู้ปฏิบัติจะต้องอาศัยปัญญาบารมีและความมุ่งมั่นพยายาม อย่างแรงกล้าจึงจะสำเร็จ เรียกว่า อริยมรรค หรือมัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง ทางดำเนินชีวิตอัน ประเสริฐ 8 ประการ ได้แก่ 1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ หมายถึง การมีความรู้ที่ถูกต้อง คือ ความรู้จริงของชีวิต อันประเสริฐ 4 อย่าง ได้แก่ 1) รู้ว่า ชีวิตนี้มีความทุกข์เท่านั้น ความสุข คือ สภาพที่ทุกข์เจือจาง 2) รู้ว่า ทุกข์นั้นเกิดจากสาเหตุ คือ ตัณหา ไม่ใช่เกิดจากพระเจ้าดลบันดาล 3) รู้ว่า ทุกข์นั้นสามารถดับได้ด้วยวิธีที่ถูกต้อง 4) รู้จักวิธีที่จะปฏิบัติเพื่อพ้นจากทุกข์ 2. ส้มมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ หมายถึง การมีความนึกคิดไปในทางที่ถูกต้อง ดี งาม ได้แก่ 1) คิดที่จะปลีกออกจากกาม 2) คิดไม่พยาบาทปองร้าย 3) คิดไม่เบียดเบียนคนอื่นๆ 3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูด ที่ถูกต้องดีงาม มี 4 ประการ คือ 1) ไม่พูดเท็จบิดเบือนความจริงให้ผู้อื่นเข้าใจผิด 2) ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้แตกความสามัคคีในหมู่คณะ 3) ไม่พูดคำหยาบ ไม่สุภาพ ไม่ไพเราะหูคนฟัง 4) ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ ไม่มีหลักฐานอ้างอิง ไม่มีประโยชน์ 4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ หมายถึง การประพฤติถูกต้องทางกาย 3 ประการ ได้แก่ 1) ไม่ฆ่าและเบียดเบียนสัตว์ทุกชนิด 2) ไม่ละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของคนอื่น 3) ไม่ประพฤติผิดประเวณี

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

24

5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ หมายถึง การดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดีงาม ประกอบ อาชีพสุจริตไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดกฎหมาย พุทธศาสนิกชนไม่ควรประกอบอาชีพค้าขาย ต่อไปนี้ คือ 1) ค้าขายมนุษย์ 2) ค้าขายศัตราวุธ 3) เลี้ยงสัตว์ไว้ฆ่า 4) ขายน้ำเมา และสิ่งเสพติดค้าขายยาพิษ 6. สัมมาวายามะ คือ ความพยายามชอบ หมายถึง เพียรพยายามในทางที่ถูกต้องดีงาม ได้แก่ 1) เพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นในจิตใจ 2) เพียรพยายามละเว้นความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว ให้หมดไป 3) เพียรพยายามทำความดีที่ยังไม่ได้ทำ 4) เพียรพยายามรักษาความดีที่ตนเองมีอยู่ไว้ 7. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ หมายถึง การตั้งสติไว้ถูกต้อง ด้วยการพิจารณาใน 4 อย่าง เรียกว่า สติปัฏฐาน ได้แก่ 1) พิจารณากาย และรู้เท่าทันกาย 2) พิจารณาเวทนา และรู้เท่าทันเวทนา 3) พิจารณาจิต และรู้เท่าทันจิต 4) พิจารณาธรรม และรู้เท่าทันธรรมตามความเป็นจริง 8. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจชอบ หมายถึง การทำจิตใจให้สงบได้อย่างถูกต้อง ให้มี จิตใจที่มีคุณภาพสมรรถภาพ และสุขภาพ การดำเนินชีวิต คือ การนำหลักศีลธรรม ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง การดำเนินชีวิตตามแนวพุทธศาสนา ได้แก่ การนำหลักประโยชน์ 3 ประการ ไปใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดความผาสุกในชีวิต กล่าวคือ ประโยชน์ปัจจุบัน ได้แก่ การ แสวงหายศ ทรัพย์ เกียรติ ชีวิตคู่ครองที่เป็นสุข ฯลฯ โดยชอบธรรม ประโยชน์เบื้องหน้า ได้แก่ การ พัฒนาด้านจิตใจด้วยคุณธรรม มีศรัทธา ศีล ฯลฯ และประโยชน์สูงสุด ได้แก่ กฎไตรลักษณ์ ขันธ์ 5 ปฏิจจสมุปบาท 13 อริยสัจ 4 เป็นต้น

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

25

กิจกรรม 3.3 วิถีไทย วิถีธรรม นำพาชีวิตมีสุข คำชี้แจง 1. ให้นักศึกษาอ่านสาระโดยละเอียดในเอกสารประกอบการสอน หน่วยที่ 3 เรื่องที่ 3.2 และ เรื่องที่ 3.3 2. นักศึกษาวางแผนทำกิจกรรม วิถีไทย วิถีธรรม นำพาชีวิตมีสุข โดยเสนอแผนกิจกรรม ให้กับครูผู้สอน ในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนในวันสำคัญทางศาสนาที่ตนเองนับถือ พร้อมกับ วางแผนการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อศาสนสถาน 3. นักศึกษาร่วมสรุป ถอดบทเรียนที่ได้จากการทำกิจกรรม และนำเสนอผลการสรุปการทำ กิจกรรม บันทึกการตอบกิจกรรม 3.2 ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ .......................................................................................................................................................... ...... ............................................................................................................................ .................................... ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

26

แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต จุดประสงค์ เพื่อทดสอบความรู้ของผู้เรียน คำชี้แจง แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก มีจำนวน 10 ข้อๆ ละ 1 คะแนน คำสั่ง จงกาเครื่องหมายกากบาท () ข้อที่ถูกต้องที่สุด ลงในกระดาษคำตอบที่กำหนดให้ ***************************************************************************************** 1. สภาพคุณงามความดีในจิตใจ เป็นความหมายของคำในข้อใด ก. จริยธรรม ข. คุณธรรม ค. วัฒนธรรม ง. ศีลธรรม 2. พฤติกรรมใดของบุคคลต่อไปนี้ตรงกับทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กในระดับ ที่ 1 ขั้นที่ 2 ก. มารุต ช่วยคุณครูถือของไปวางไว้ที่ห้องพักครู และครูได้ให้ขนมแก่เขาเป็นสิ่งตอบแทน ข. นิติ ผลักเพื่อนเพื่อแย่งของเล่นมาล่นคนเดียวอย่างสบายใจ ค. ปรียาโดนคุณแม่บังคับให้กราบคุณยาย ง. ครูก้อยนำขนมวางไว้เพื่อเป็นรางวัลให้แก่เด็ก โดยกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า “เด็กคนใดไหว้สวย เดี๋ยวครูจะให้ขนม” 3. ข้อใดสอดคล้องกับทฤษฎีของโคลเบิร์ก ก. นายดำตั้งใจเรียนวิชาภาษาไทยจนคะแนนเพิ่มขึ้น ข. เด็กชายภาวนาเข้ารับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม ค. เด็กหญิงเบญจรัตน์เข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือเนตรนารี ง. นางสาวสมทรงอ่านหนังสือเพิ่มเติมที่ห้องสมุดเมื่อมีเวลาว่าง

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

27

4. “วีรพงษ์ เป็นคนที่ไม่เอาเปรียบผู้อื่นเสมอต้นเสมอปลาย พฤติกรรมที่ทำให้คนรอบข้างชอบและชื่น ชมวีรพงษ์คือวีรพงษ์เป็นคนรักษาคำมั่นสัญญา” ข้อความดังกล่าวจัดอยู่ในขั้นใด ก. ขั้นที่ 1 ข. ขั้นที่ 3 ค. ขั้นที่ 5 ง. ขั้นที่ 6 5. ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดอยู่ในจิตลักษณะกลุ่มรากของต้นไม้ของทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม ก. สุขภาพจิต ข. สติ ปัญญา ค. เหตุผลเชิงจริยธรรม ง. ประสบการณ์ทางสังคม 6. ข้อใดคือลักษณะของผู้มีจริยธรรมที่น่าเคารพและนับถือ ก. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท ข. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา ค. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว ง. ถูกทุกข้อ 7. ชมพู่มีพฤติกรรมชอบรังแกผู้อื่นครูจึงลงโทษชมพู่ พฤติกรรมแบบนี้เป็นพฤติกรรมระดับใดของโคล เบิร์ก ก. ระดับจริยธรรมก่อนเกณฑ์สังคม ข. ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม ค. ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ ง. ระดับจริยธรรมคุณธรรมสังคม 8. หลักธรรมใดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เหมาะสมที่สุด ก. ไตรสิกขา ข. เบญจศีล ค. อิทธิบาท 4 ง. มัชฌิมาปฏิปทา หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

28

9. หลักธรรมในข้อใดเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อความสำเร็จด้านการเรียนของบรรดาเหล่านิสิต นักศึกษา ก. อิทธิบาท 4 ข. สังคหวัตถุ 4 ค. พรหมวิหาร 4 ง. ฆราวาสธรรม 4 10. ศาสนาทุกศาสนามีความสำคัญต่อมนุษย์ในด้านใดมากที่สุด ก. สอนให้มีความยุติธรรม ข. เป็นที่รบมของคนในชุมชน ค. สอนให้เห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติ ง. เป็นหลักในการดำรงชีวิตและที่พึ่งทางใจ

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

29

บรรณานุกรม จรวยพร ธรณินทร์. ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และ ธรรมาภิบาล. สืบค้น 2 กันยายน 2563. จาก http://www.charuaypontorranin.com/index. php?lay=show&ac=article&Id=5375831&Ntype=6 ดวงเดือน พันธุมนาวิน. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. พระครูโสภิตปัญญาบุยุด ญาณธมุโม (ขันขจร). "ศึกษาวิเคราะห์อารักขสัมปทาตามหลักพุทธปรัชญา เถรวาท" วิทยานิพนธ์ ศน.ม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราช วิทยาลัย. 2557. พระพรหมคุณาภรณ์. พจนาบุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก. 2556. . พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์. 2558. พระอุดมศักดิ์ ปิยวณุโณ (จันทบุตร). การดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขตามแนว พุทธจริยศาสดร์: ศึกษากรณีทิศ 6. วิทยานิพนธ์ ศน.ม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. 2548. พุทธทาส ภิกขุ. ทาน ทำอย่างไร จึงจะได้บุญมาก. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. 2549. พุทธทาส ภิกขุ. คู่มือเป็นอยู่ด้วยจิตว่าง. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา. มปป. สมภาร พรมทา. พุทธปรัชญา มนุษย์ สังคม และปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 2552. มหามกุฎราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย. พิมพ์เนื่องในวโรกาส ครบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. 2525. รุ่ง สุบิน. พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน. 2550. ลักษณารีย์ ยิ่งเกรียงไกร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 4(1): 1-12, 2557. วศิน อินทสระ. พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย. 2541. สนิท ศรีสำแดง. พุทธปรัชญา. กรุงเทพฯ : นีลนาราการพิมพ์. 2535. สิทธิโชค วราสุสันติกูล. จิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์ = Social psychology : theories and applications. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยุเคชั่น, 2549. Piaget, Jean. The Moral Judgement of the child. London : Routledge Kegan Raul, 1932. หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

30

ภาคผนวก

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

31

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

ข ข ก ค ก ง ค ง ง ก

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

32

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

ข ก ข ค ค ง ก ง ก ง

หน่วยที่ 3 หลักธรรมและจริยธรรมเพือ่ การดาเนินชีวติ

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.