4_01ส่วนประสมทางการตลาด-1 Flipbook PDF

4_01ส่วนประสมทางการตลาด-1

7 downloads 123 Views 6MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing mix)


ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing mix) ส่วนประสมทางการตลาด คือ กลุ่มของเครื่องมือทางการตลาด ที่น ามาใช้ร่วมกัน และใช้อย่างสอดคล้องเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการตลาด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก (4P) คือ ผลิตภัณฑ์(Product) ราคา(Price) ช่องทางการจัดจ าหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด(Promotion) https://www.stratomic.uk/blog/the-4ps-marketing-mix/


ผลิตภัณฑ์ (Product) ผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่เสนอขายหรือสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ โดยผลิตภัณฑ์อาจเป็นสินค้าหรือบริการ ซึ่งจะต้องมีประโยชน์ (Utility) มีคุณค่า (Value) ให้กับผู้บริโภค กล่าวคือต้องตอบสนองต่อการใช้งานและสร้างความพึงพอใจกับผู้บริโภค จึงจะส่งผลท าให้ ผลิตภัณฑ์สามารถขายได้ ในการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ต้องมีความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราคืออะไร อะไรคือสิ่งที่เราควรเพิ่มหรือ ปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ของเรา หรือการบริการหรือการท าอะไรที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ของเรา ซึ่งต้องพิจารณาจากองค์ประกอบ ของผลิตภัณฑ์ (Product Component) เช่น หน้าที่และประโยชน์ใช้สอยพื้นฐาน(Function) รูปร่างลักษณะ(Feature and Design) คุณภาพ(Quality level) การบรรจุภัณฑ์(Packaging) ตราสินค้า(Brand)


ผลิตภัณฑ์ (Product) การส่งเสริมภาพลักษณ์ด้วยตราผลิตภัณฑ์ ตราผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการเป็นเจ้าของตัวสินค้าหรือบริการ โดยตราผลิตภัณฑ์จะน าเสนอผ่านความโดดเด่น ของชื่อ (Name) ค า (Term) สัญลักษณ์ (Symbol) การออกแบบ (Design) ที่จะเป็นตัวบอกว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ๆ เป็น ของใคร และให้เกิดเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน เมื่อผู้บริโภคให้ความสนใจในตราผลิตภัณฑ์จะส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความ เชื่อมั่นในการตัดสินใจเลือกและเกิดความภักดีในตราผลิตภัณฑ์ ตราผลิตภัณฑ์จึงเป็นส่วนช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์และ บริการ


ผลิตภัณฑ์ (Product) การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ด้วยการสร้างความแตกต่างให้บรรจุภัณฑ์ หน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์ คือ ป้องกันความเสียหายของผลิตภัณฑ์ โดย บรรจุภัณฑ์อาจมีลักษณะเป็นกระป๋อง กล่อง ห่อ หรือซอง หากเป็นบรรจุภัณฑ์ในเชิง พาณิชย์บนบรรจุภัณฑ์มีฉลากผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบแผ่นป้ายที่ติดอยู่กับตัวผลิตภัณฑ์ หรืออาจเป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ ฉลากผลิตภัณฑ์จะต้องแสดงรายละเอียดของ ชื่อ ตราผลิตภัณฑ์ ข้อมูลการผลิต วันหมดอายุ สถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์และผู้จ าหน่าย ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ขนาดหรือปริมาณค าแนะน าการใช้งาน โดยต้องให้ข้อมูล ให้ถูกที่ต้องตามกฎหมายก าหนด


ผลิตภัณฑ์ (Product) ในการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจพิจารณาจากหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ รูปร่างลักษณะ และสีสันที่เด่นของบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ เป็นสิ่งที่ท าให้ ผู้บริโภคหรือผู้ใช้จดจ าได้ เช่น ขวดเครื่องดื่มน้ าอัดลม


ผลิตภัณฑ์ (Product) ในการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจพิจารณาจากหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ ช่วยการป้องกันและบรรจุอุปกรณ์ที่จ าเป็นต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ เช่น กล่องใส่โทรศัพท์มือถือ


ผลิตภัณฑ์ (Product) ในการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจพิจารณาจากหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ ช่วยให้เกิดความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้ เช่น ขวดแชมพู ขวดสบู่


ผลิตภัณฑ์ (Product) ในการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจพิจารณาจากหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ ช่วยประหยัดพื้นที่ และสะดวกต่อการขนส่ง เช่น บรรจุภัณฑ์ของเครื่องเรือนที่สามารถถอดประกอบเองได้ http://www.411estore.com/productdetail/p-chair-white-gray-เก้าอี้พีแชร์-เก้าอี้ถอดประกอบ-3781947


ผลิตภัณฑ์ (Product) ในการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจพิจารณาจากหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ ช่วยป้องกันความเสียหายและท าให้ผลิตภัณฑ์ยังมีความสดใหม่อยู่ เช่น บรรุภัณฑ์แบบซองที่มีลักษณเป็นถุงซิบของถุงผลไม้ดอง หรือขนมต่าง ๆ https://www.golflineink.co.th/


ผลิตภัณฑ์ (Product) ในการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจพิจารณาจากหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ ช่วยป้องกันการถูกขโมย หากผลิตภัณฑ์ที่ขนาดเล็กสามารถ ถูกขโมยได้ง่าย หากใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ช่วยป้องกัน การขโมย เช่น ถ่านไฟฉายที่ขายเป็นแพ็ค หรือ handy drive ที่มีบรรจุใหญ่กว่าสินค้า


ราคา (Price) ราคาเป็นคุณค่าหรือมูลค่าของตัวผลิตภัณฑ์ที่แสดงออกมาในรูปของตัวเงิน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ สามารถเปรียบเทียบได้ง่าย โดยผู้บริโภคจะเปรียบเทียบระหว่างคุณค่าที่ได้รับว่าเหมาะสมกับราคาหรือไม่ ดังนั้นผู้ ให้บริการหรือเจ้าของผลงานควรก าหนดราคาให้เหมาะสมกับสิ่งที่ผู้บริโภคได้รับ และการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือผลงาน ของตนเอง โดยการก าหนดราคาสามารถพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ ผู้บริโภคหรือผู้ใช้จะเปรียบเทียบระหว่างคุณค่าผลิตภัณฑ์ กับราคาผลิตภัณฑ์นั้น ถ้าคุณค่าที่รับรู้ของผู้บริโภคหรือผู้ใช้สูงกว่า ราคาผลิตภัณฑ์ เขาจึงจะตัดสินใจซื้อ ดังนั้นในการตั้งราคาจึงต้อง ค านึงถึงคุณค่าที่รับรู้ ในสายตาของผู้บริโภคหรือผู้ใช้ในกลุ่มต่าง ๆ ให้ คุณค่าที่รับรู้ของผลิตภัณฑ์สูงกว่าราคาผลิตภัณฑ์นั้น


ราคา (Price) ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ ต้นทุนผลิตภัณฑ์และค่าใช้จ่ายในการซื้อหรือการผลิตที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าวัสดุ ค่าเครื่องมือ ค่าสถานที่ เงินเดือนพนักงานหรือ ลูกจ้าง และค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการตั้งราคาของผลิตภัณฑ์


ราคา (Price) ราคาของคู่แข่งขัน การน าราคาของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน คล้ายกันหรือ คุณสมบัติใกล้เคียงกันของคู่แข่งขันอื่น ๆ มาพิจารณา ในการตั้งราคา จ าหน่ายให้เหมาะสมหรือใกล้เคียงกัน เพื่อไม่ให้เกิดการเปรียบเทียบกัน จนเกินไป ซึ่งหากเราตั้งราคาที่สูงกว่าอาจท าให้สูญเสียผู้บริโภคหรือผู้ใช้ แต่หากผลิตภัณฑ์ของเราแตกต่างจากคู่แข่งขันอื่น และคุณค่าที่รับรู้ใน สายตาของผู้บริโภคหรือผู้ใช้ถึงผลิตภัณฑ์ของเราสูงกว่าคู่แข่งขัน ก็ สามารถก าหนดราคาผลิตที่สูงกว่าได้


สถานที่จ าหน่าย หรือช่องทางจ าหน่าย (Place) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับที่ตั้งและรูปแบบสถานที่ให้บริการ โดยต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับ ผลิตภัณฑ์ของเราเพื่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่า 1. รูปแบบสถานที่ขายผลิตภัณฑ์ หรือการบริการ ต้องค านึงความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์หรือการ ให้บริการ และกลุ่มผู้ใช้หรือผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งรูปแบบต่าง ๆ เช่น ร้านขายสินค้า เฉพาะทั่วไป ร้านค้าออน์ไลน์ แผนกใน ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต รถเข็น


สถานที่จ าหน่าย หรือช่องทางจ าหน่าย (Place) 2. สถานที่ตั้งของร้านค้า เช่น ตลาดนัด ร้านค้าในห้างสรรพสินค้าในตัวเมือง ชานเมือง ร้านค้าในย่านชุมชน ซึ่งสามารถให้ค าถาม เหล่านี้ช่วยพิจารณา ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือใคร มีคู่แข่งขันหรือร้านค้าที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการ ประเภทเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันในบริเวณนั้นหรือไม่ มีปริมาณผู้คนในบริเวณนั้นมากน้อยเพียงใด สถานที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางหรือครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย(ผู้ใช้หรือผู้บริโภค)หรือไม่ สถานที่ตั้ง กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใข้สามารถเดินทางหรือเข้าถึงได้ง่าย ปลอดภัย สะดวกสบายหรือไม่ สามารถเข้าถึงได้ ด้วยการบริการสาธารณะหรือไม่


การส่งเสริมการตลาด (Promotion) การส่งเสริมการตลาดเป็นการสื่อสารกันระหว่างผู้ให้บริการ และผู้บริโภคหรือผู้ใช้ เพื่อกระตุ้นการขาย และสร้างทัศนคติที่ดีกับผลิตภัณฑ์ โดยผ่านเครื่องมือส่งเสริมการตลาดไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา (Advertising), การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling), การตลาดทางตรง (Direct Marketing), การให้ข่าวและ ประชาสัมพันธ์(Publicity and Public Relation) การส่งเสริมการขาย (Sale Promotion) โดยอาจเลือกใช้ เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย ๆ เครื่องมือแบบประสมประสานกัน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมกับ ลูกค้าหรือผู้ใช้ ผลิตภัณฑ์ คู่แข่งขัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้


การส่งเสริมการตลาด (Promotion) การโฆษณา (Advertising) เป็นกิจกรรมในการเสนอข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บริการ ที่ต้องมีการ จ่ายเงินหรือมีค่าใช้จ่ายให้กับผู้ช่วยด าเนินการ ประเภทของการโฆษณา เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ ใบปลิว ป้ายโฆษณาที่ต่าง ๆ) สื่อที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์และวิทยุสื่ออิเล็กทรอนิกส์(ข้อความโฆษณา ที่ส่งเข้าโทรทัศพ์มือถือ ข้อความโฆษณาที่ปรากฏบนเว็บไซต์)


การส่งเสริมการตลาด (Promotion) การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling) เป็นกิจกรรมการให้ข้อมูล จูงใจและสร้าง ความสัมพันธ์กับผู้บริโภคโดยใช้บุคคล พนักงานขายต้องมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ ทักษะในการ สื่อสารและจูงใจที่ดี ซึ่งมักใช้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความซับซ้อน ที่อาจต้องใช้การอธิบายหรือการสาธิต ประกอบ


การส่งเสริมการตลาด (Promotion) การตลาดทางตรง (Direct Marketing) เป็นการ ติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้เพื่อให้เกิดการตอบสนอง โดยตรง หรือตอบสนองในทันที ซึ่งวิธีการต่าง ๆ ที่สามารถใช้ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์โดยตรงกับผู้บริโภค ประกอบด้วย การขายทาง โทรศัพท์ การขายโดยจดหมายตรงหรือแคตตาล็อก การขายทาง โทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ การส่งข้อความผ่านจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์หรือโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น


การส่งเสริมการตลาด (Promotion) การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ (Publicity and Public Relation) เป็นกิจกรรมที่สื่อสารข้อมูล และความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์(สินค้า บริการ) หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์กับสาธารณชน เพื่อสร้าง ทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ หรือบุคคลที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมที่สามารถน าใช้ ประกอบด้วย การใช้ข่าว การจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อรับบริจาค การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ (แผ่นพับ วีดิทัศน์ เว็บไซต์) การให้เงินสนับสนุนกิจกรรม


การส่งเสริมการตลาด (Promotion) การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) หมายถึง กิจกรรมส่งเสริมที่นอกเหนือจากการโฆษณา การขายโดยใช้พนักงาน การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ ซึ่งสามารถกระตุ้นความสนใจ เพื่อให้เกิดการทดลอง ใช้หรือการซื้อโดยลูกค้าหรือผู้ใช้โดยทันที ช่องทางการ ส่งเสริมการขาย ประกอบด้วย การให้คูปองส่วนลด การ ลดราคาสินค้า การให้ของขวัญ การให้ตัวอย่างสินค้าแถมมากับผลิตภัณฑ์ การแจกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เพื่อ ทดลองใช้ การใช้คูปองสะสมแลกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.