6-4minibook3 2_4” Flipbook PDF

6-4minibook3 2_4”

9 downloads 106 Views 5MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

หน้าที่พลเมือง

CIVIC DUTY

ร า ย วิ ช า สั ง ค ม ศึ ก ษ า ศ า ส น า แ ล ะ วั ฒ น ธ ร ร ม ร หั ส ส 3 3 1 0 3

คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องหน้าที่พลเมือง เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาสังคมศึกษา ส33101 โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี มีเนื้อหาเกี่ยว กับความหมายของ หน้าที่พลงเมือง องค์ประกอบของ หน้าที่พลเมือง สังคมวิทยา มนุษย์/สังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมเพื่อ ปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ องค์ประกอบของสังคม มนุษย์ วัฒนธรรม ลักษณะของวัฒนธรรม ประเภทของ วัฒนธรรม รูปแบบวัฒนธรรม ความสำคัญของ วัฒนธรรม วัฒนธรรมไทย รัฐศาสตร์ ความหมายของ รัฐศาสตร์ รัฐ ประชาธิปไตย สถาบันทางการเมือง ปรัชญาทางการเมือง ระบอบเผด็จการ รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ นิติศาสตร์ ระบกฎหมาย กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กระบวนการยุติธรรมของไทย ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา หากหนังสือเล่มอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ มีข้อผิดพลาด ประการใด คณะผู้จัดหาก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ หน้าที่พลเมือง

หน้าที่พลเมือง

วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสัง คือ การดำเนินชีวิต ของคนในสังคม โดยยึดหลักประชาธิปไตย ในการอยู่ร่วมกัน ปฏิบัติกันด้วยความเคารพ ร่วมกันทำประโยชน์เพื่อความ สงบสุขของส่วนรวมตลอดจนการใช้สติปัญญาและความ เฉลียวฉลาดในการแก้ปัญหาทั้งมวลจนเป็นนิสัย

สังคมวิทยา

สังคมวิทยา คือ ศาสตร์ที่มุ่งศึกษาพฤติกรรม ของมนุษย์ในฐานะสมาชิกของสังคม เนื้อหาของ สังคมวิทยาจึงกินความกว้างขวางครอบคลุมตั้งแต่ ร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก การปะทะสังสรรค์ใน ชีวิตประจำวันไปจนถึงกระบวนการทางสังคมใน ระดับโลก

มนุษย์/สังคม

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม -ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและมีการติดต่อสัมพันธ์กัน -โดยกลุ่มนั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งมีการจัด ระเบียบในการอยู่ร่วมกัน

มนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคมเพื่อ

- สนองความต้องการขั้นพื้นฐานที่สำคัญคือ ด้านชีวภาพ กายภาพ จิตใจ สังคม - สร้างความเจริญก้าวหน้าให้ตนและกลุ่ม - ทำให้เป็นมนุษย์อย่างแท้จริง โดยเป็นผล จากการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกัน

1. ความจำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัย กัน มนุษย์มีช่วงเวลาเป็นวัยทารกและวัยเด็กซึ่งต้องพึ่งพา และเป็นภาระของพ่อแม่ยาวนานกว่าสัตว์อื่น ๆ จึงทำให้ มนุษย์มีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นระบบครอบครัว และ ขยายความสัมพันธ์ต่อเพื่อนบ้าน เพื่อนที่ทำงาน และเป็น สังคมชุมชนในที่สุด 2. ความจำเป็นต้องแบ่งงานกันทำตามความถนัด เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญาสูงกว่าสัตว์อื่น ๆ จึงพยายาม ควบคุมธรรมชาติและนำธรรมชาติมาใช้ตอบสนองความ ต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิตของตน เช่น การผลิต อาหาร การสร้างที่อยู่อาศัย แต่มนุษย์ไม่สามารถทำเพียง คนเดียวได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นสังคม และ แบ่งงานกันทำตามความถนัด 3. ความจำเป็นต้องได้รับการตอบสนองความต้องการทางชีวภาพ และ ความ ต้องการทางด้านสังคมจิตวิทยา หมายถึง ความต้องการในสิ่งจำเป็นแก่การมีชีวิตอยู่รอดของมนุษย์ เช่น ได้หายใจอากาศบริสุทธิ์ มีบ้านที่หลับนอนปลอดภัย ต้องการได้รับความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ และได้รับการยอมรับจากเพื่อน ๆ ความต้องการเหล่านี้ ทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังได้จึงต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมับความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ และได้รับการยอมรับจากเพื่อน ๆ 4. ความจำเป็นในการถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่คนรุ่นหลัง มนุษย์ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมความเจริญในรูปแบบต่าง ๆ ต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคน เพื่อความสุข ความสบาย และความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการดำเนินชีวิต ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ ประเพณี ศาสนา แลศิลปะแขนงต่าง ๆ รวมทั้ง การจัดระเบียบทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง

ปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ -มนุษย์มีขนาดสมองใหญ่กว่าสัตว์อื่น จึงสร้างระบบความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนได้ -มนุษย์เท่านั้นที่สร้างและใช้สัญลักษณ์ -มนุษย์เท่านั้นที่มีวัฒนธรรม

องค์ประกอบของสังคมมนุษย์

-กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตเป็นของตนเอง -สามารถเลี้ยงตนเองได้และมีอิสระในการประกอบอาชีพ -มีอำนาจเหนือกลุ่มเล็กๆ ภายในดินแดนที่ตนครอบครอง

วัฒนธรรม -วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่เกิดจากการเรียนรู้ -แบบอย่างพฤติกรรมที่ได้มาทางสังคมและถ่ายกันไปทาง สังคมโดยอาศัยสัญลักษณ์ -ผลงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ รวมทั้งความรู้ ความคิด ความเชื่อ

ลักษณะของวัฒนธรรม ความหมายของลักษณะของวัฒนธรรม

วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น ภาษา ศิลปะ กฎหมาย การปกครอง และศีลธรรม เป็นต้น ถือเป็นความเจริญงอกงามทางสติปัญญาของมนุษย์ วัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งเรียนรู้และรับ ถ่ายทอดมาจากการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกันอันความรวมถึงภาษา ธรรมเนียมประเพณีและสถาบัน ทางสังคมเป็นวิธีการดารงชีวิตของคนในสังคม

สิ่งที่จัดเป็นวัฒนธรรม มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ 1. วัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อ ตอบสนองความต้องการของสังคม เช่น การสร้างอาคาร บ้านเรือน คอมพิวเตอร์ เป็นต้น หรือการแต่งเติมสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ให้มีรูปร่างลักษณะใหม่ 2. วัฒนธรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ วัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กาเนิด และ ไม่ใช่สิ่งที่ อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สร้างมนุษย์โดยเด็กจะได้รับ การอบรมเลี้ยงดูแลขัด เกลาสังคมจากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ครูอาจารย์ เมื่อเด็กได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวและความรู้พื้น ฐานก็ ปรับปรุงพัฒนาความคิด ประดิษฐ์เป็น วัฒนธรรมใหม่ๆ

3. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สมาชิกของ สังคมยอมรับ เป็นส่วนร่วมและนาไปใช้ใน การสร้าง วัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาเป็แบบแผน การดารงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม

4. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สั่งสมและถ่ายทอดให้ แก่อนุชนรุ่นหลัง วัฒนธรรมเป็นผลของการ ถ่ายทอดและการเรียนรู้จากสมาชิกรุ่นหนึ่งไปสู่ สมาชิกอีกรุ่นต่อไป การถ่ายทอดนั้น ต้องใช้เวลา และ มีภาษาเป็นสื่อกลางช่วยใช้มนุษย์ได้แสดง ความรู้สึกและสามารถเข้าใจผู้อื่นได้ ภายหลังที่มี การสร้าง วัฒนธรรมและพัฒนาขึ้นก็จะมีการ สั่งสมกลายเป็นองค์ความรู้ของสังคม 5. วัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตามกาลเวลาที่สอดคล้องกับธรรมชาติรอบข้าง และ ความต้องการของสมาชิกในสังคม บุคคลที่ เกิดในสังคมใดก็ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของสังคม นั้น ซึ่ง แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม ไม่สามารถนามาเปรียบเทียบได้ว่าของใครดีกว่ากัน เพราะแต่ละ วัฒนธรรมย่อมมีความเหมาะสมตาม สภาพแวดล้อมของแต่ละสังคม

ประเภทของวัฒนธรรม

วัฒนธรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นวัฒนธรรมที่สามารถมองเห็นหรือจับ ต้องได้ เป็นรูปธรรม เช่น หนังสือ แว่นตา รถยนต์ เป็นต้น เป็นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่สมาชิกใน สังคมคิดค้นขึ้นมา 2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เป็นวัฒนธรรมที่มองไม่เห็น เป็นภาพ นามธรรม เช่น ค่านิยม มารยาท ปรัชญา บรรทัดฐาน สถาบัน สังคม ความเชื่อ เป็นต้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าการแบ่งวัฒนธรรมออกเป็นวัฒนธรรม นามธรรมหรือวัฒนธรรมรูปธรรมจะเป็นการแบ่งท่ีแยกกันได้อย่างเด็ดขาด การแบ่งในลักษณะที่ว่านี้เป็นการแบ่งเพื่อความสะดวกในกาพิจารณา วัฒนธรรมเท่านั้นตามความเป็นจริง วัฒนธรรมประเภทวัตถุสามารถสื่อ ความหมายและ มีลักษณะเป็นระบบสัญลักษณ์ที่จับต้องได้ บ้านเรือนที่เราอยู่มีลักษณะเป็นวัฒนธรรมประเภทวัตถุ แต่ถ้าเราพิจารณาลักษณะของบ้านเรือนเราก็จะเห็นว่า บ้านที่มนุษย์เราใช้ อาศัยอยู่นั้นอาจจะสร้างด้วยวัตถุที่ต่างกัน เช่น กระท่อม หลังคามุงจาก ย่อมแตกต่างจากบ้านไม้สัก หรือ ตึกคอนกรีต นอกจากจะต่างกันตรงวัสดุที่ใช้แล้วยังต่างกันตรงที่ลักษณะของอาคารจะ บอกให้คนในสังคม นั้นรู้ได้ว่า เจ้าของบ้านมีฐานะทางเศรษฐกิจอย่างไร เศรษฐีย่อมอยู่ตึกหลังใหญ่ คนจนมักจะอาศัยอยู่ ในกระท่อม ถ้ากระท่อมตั้งอยู่ในหมู่บ้านตามต่างจังหวัด ก็ย่อมต่างจากกระท่อมที่ตั้งอยู่ ในสลัมกรุงเทพฯ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมประเภทวัตถุย่อมให้ความ หมายทางสัญลักษณ์ด้วย

การจัดประเภทตามเนื้อหาของวัฒนธรรม จะแยกได้ 4 ประเภทดังนี้ วัตถุธรรม – วัฒนธรรมทางวัตถุ หมายถึง วัตถุทาง ศิลปกรรม เช่น เจดีย์ บ้านเรือน รวมถึงเครื่องอุปโภคทั้งหลาย ซึ่งถือว่าเป็นวัตถุทั้งสิ้น โดยคนในสังคมร่วมกันประดิษฐ์ขึ้นมา เพื่ออานวย ความสะดวกในการดารงชีวิต คติธรรม – วัฒนธรรมทางศีลธรรมและทางจิตใจ อันเป็น คติหรือหลักการดาเนินชีวิตที่ ส่วนใหญ่รับมาจากหลักธรรม ทางศาสนามีความเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจเป็นสำคัญ เนติธรรม – วัฒนธรรมทางกฎหมายหรือขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีที่มีความสำคัญ เสมอด้วยงกฎหมาย ระเบียบข้อ บังคับต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกปฏิบัติตาม สหธรรม – วัฒนธรรมทางสังคม เป็นวัฒนธรรมในการ ติดต่อเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ หรือมารยาทในสังคมหรือ สมาชิกพึงปฏิบัติต่อกันในโอกาสต่าง ๆ

รูปแบบของวัฒนธรรม - วัฒนธรรมหลัก เช่น สถาบันกษัตริย์ พุทธศาสนา ภาษาไทย - วัฒนธรรมรอง เช่น ภาษาท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น

ความสำคัญของวัฒนธรรม วัฒนธรรมถือเป็นมรดกทางสังคม เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ขึ้นจากการ เรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ แล้วมีการถ่ายทอดต่อๆ มา ทำให้วัฒนธรรม กลายเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญของสังคม เป็นสิ่งที่กำหนดชีวิตความเป็น อยู่ของมนุษย์ในสังคมด้วย ทั้งนี้เพราะมนุษย์ในแต่ระยุคสมัยจะรู้จัก ปรับปรุง และพัฒนาวัฒนธรรมของตนให้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์อยู่ ตลอดเวลาด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้มนุษย์แตกต่างกันไปจากสัตว์ประเภทอื่น เพราะสามารถพัฒนาสังคม รวมทั้งสภาพความเป็นอยู่ของตนเองให้ ก้าวหน้าขึ้น จนสามารถมีอำนาจเหนือสัตว์อื่น ๆ ตลอดจนเอาชนะธรรมชาติ บางอย่างได้

ประเภทของวัฒนธรรม วัฒนธรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นวัฒนธรรมที่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ เป็นรูปธรรม เช่น หนังสือ แว่นตา รถยนต์ เป็นต้น เป็นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่ สมาชิกในสังคมคิดค้นขึ้นมา 2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เป็นวัฒนธรรมที่มองไม่เห็น เป็นภาพนามธรรม เช่น ค่านิยม มารยาท ปรัชญา บรรทัดฐาน สถาบัน สังคม ความเชื่อ เป็นต้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าการแบ่งวัฒนธรรมออกเป็นวัฒนธรรมนามธรรม หรือวัฒนธรรม รูปธรรมจะเป็นการแบ่งที่แยกกันได้อย่างเด็ดขาด การแบ่ง ในลักษณะที่ว่านี้เป็นการแบ่งเพื่อความสะดวกในการพิจารณาวัฒนธรรม เท่านั้นตาม ความเป็นจริง วัฒนธรรมประเภทวัตถุสามารถสื่อความหมาย และมีลักษณะเป็นระบบสัญลักษณ์ที่จับต้องได้ บ้านเรือนที่เราอยู่มีลักษณะเป็นวัฒนธรรมประเภทวัตถุ แต่ถ้าเรา พิจารณาลักษณะของบ้านเรือนเราก็จะเห็นว่า บ้านที่มนุษย์เราใช้อาศัยอยู่นั้น อาจจะสร้างด้วยวัตถุที่ต่างกัน เช่น กระท่อม หลังคามุงจาก ย่อมแตกต่างจากบ้านไม้สัก หรือตึกคอนกรีต นอกจากจะต่างกันตรงวัสดุที่ใช้แล้วยังต่างกันตรงที่ลักษณะของอาคารจะ บอกให้คนในสังคม นั้นรู้ได้ว่า เจ้าของบ้านมีฐานะทางเศรษฐกิจอย่างไร เศรษฐีย่อมอยู่ตึกหลังใหญ่ คนจนมักจะอาศัยอยู่ในกระท่อม ถ้ากระท่อมตั้งอยู่ในหมู่บ้านตามต่างจังหวัด ก็ย่อมต่างจากกระท่อมที่ตั้งอยู่ ในสลัมกรุงเทพฯ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมประเภทวัตถุย่อมให้ความ หมายทางสัญลักษณ์ด้วย

การจัดประเภทตามเนื้อหาของวัฒนธรรม จะแยกได้ 4 ประเภทดังนี้ วัตถุธรรม – วัฒนธรรมทางวัตถุ หมายถึง วัตถุทางศิลปกรรม เช่น เจดีย์ บ้านเรือน รวมถึงเครื่องอุปโภคทั้งหลายซึ่งถือว่าเป็นวัตถุทั้งสิ้น โดย คนในสังคมร่วมกันประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่ออานวย ความสะดวกในการดารง ชีวิต

คติธรรม – วัฒนธรรมทางศีลธรรมและทางจิตใจ อันเป็นคติ หรือหลักการดาเนินชีวิตที่ ส่วนใหญ่รับมาจากหลักธรรมทางศาสนา มีความเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจ เนติธรรม – วัฒนธรรมทางกฎหมายหรือขนบธรรมเนียมจารีต ประเพณีที่มีความสำคัญ เสมอด้วยกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกปฏิบัติตาม สหธรรม – วัฒนธรรมทางสังคม เป็นวัฒนธรรมในการติดต่อ เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ หรือมารยาทในสังคมหรือสมาชิกพึงปฏิบัติ ต่อกันในโอกาสต่าง ๆ

รูปแบบของวัฒนธรรม - วัฒนธรรมหลัก เช่น สถาบันกษัตริย์ พุทธศาสนา ภาษาไทย

- วัฒนธรรมรอง เช่น ภาษาท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น

ความสำคัญของวัฒนธรรม วัฒนธรรมถือเป็นมรดกทางสังคม เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ขึ้นจาก การเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ แล้วมีการถ่ายทอดต่อๆ มา ทำให้ วัฒนธรรมกลายเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญของสังคม เป็นสิ่งที่ กำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคมด้วย ทั้งนี้เพราะมนุษย์ ในแต่ระยุคสมัยจะรู้จักปรับปรุง และพัฒนาวัฒนธรรมของตนให้เหมาะ สมกับสภาพเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลาด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้มนุษย์แตก ต่างกันไปจากสัตว์ประเภทอื่น เพราะสามารถพัฒนาสังคม รวมทั้ง สภาพความเป็นอยู่ของตนเองให้ก้าวหน้าขึ้น จนสามารถมีอำนาจเหนือ สัตว์อื่น ๆ ตลอดจนเอาชนะธรรมชาติบางอย่างได้ นอกจากนี้ วัฒนธรรมยังเป็นสิ่งที่สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความเป็นหนึ่งอันเดียวในสังคม เพราะวัฒนธรรมนั้น เป็นแบบแผน ของการดำเนินชีวิตที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อสร้างสันติสุข ให้เกิดขึ้นในสมัย ทำให้วัฒนธรรมกลายเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นต่อ การดำเนินชีวิตของมนุษย์มากมาย

สรุปได้คือ

1. เป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม ทำให้วัฒนธรรม กลายเป็นสิ่งสำคัญ และ ย่างมีความสุข 2. เป็นสิ่งบ่งบอกความความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงของสังคม สามรถแสดง ความเป็นเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆได้ชัดเจน สร้างความผูกพันในสังคมให้แน่นแฟ้นได้เป็นอย่างดี 3. เป็นสิ่งที่ช่วยในการดำเนินชีวิตสะดวกสบายขึ้น ทั้งนี้เพราะมนุษย์ได้ สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมาใช้เพื่อความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น โดยบางอย่าง สามารถเอกชนะธรรมชาติ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการ ขาดแคลนและสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

ความสัมพันธ์ “วัฒนธรรมกับสังคม” “วัฒนธรรม = วิถีชีวิต” กับ “สังคม = กลุ่มคน” สองคำนี้จึงมีความ หมายที่แตกต่างกัน - สังคมและวัฒนธรรมเป็นของคู่กัน เกิดขึ้นและวิวัฒนาการไปด้วยกัน - สังคมจะดำรงอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีวัฒนธรรม โครงสร้างทางสังคม ความหมาย ระบบความสัมพันธ์ในสังคมที่มีบรรทัดฐานเป็นแนวทาง ให้สมาชิกยึดถือไว้ใช้เป็นหลักในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เพื่อก่อให้ เกิดความมั่นคงถาวรในสังคม องค์ประกอบของโครงสร้างสังคม - กลุ่มสังคม (องค์การทางสังคม) - สถาบันสังคม - การจัดระเบียบทางสังคม กลุ่มสังคม กลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน - มีการกระทำต่อกัน - มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน กลุ่มปฐมภูมิ - มีความสัมพันธ์กันแบบส่วนตัวใกล้ชิด เป็นแบบกันเองสนิทสนม - สมาชิกผูกพันกันทุกด้าน แน่นแฟ้น เช่น กลุ่มครอบครัว กลุ่มเพื่อน เล่น กลุ่มขนาดเล็ก กลุ่มทุติยภูมิ - มีความสัมพันธ์เป็นแบบทางการ เป็นแบบไม่คำนึงถึงความรู้สึก ส่วนตัว - สมาชิกผูกพันกันตามสถานภาพ เช่น มหาวิทยาลัย องค์การ บริษัท

วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรม คือ แบบแผนการกระทำ หรือผลการกระทำที่พัฒนาจาก สภาพเดิมตามธรรมชาติให้ดีงามยั่งยืนจนเป็นที่ยอมรับของคนใน สังคม ตัวอย่างแบบแผนการกระทำ เช่น กิริยา มารยาท การพูด การแต่งกาย การรับประทานอาหาร เป็นต้น ส่วนผลจากการกระทำ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น วัฒนธรรมการไหว้ เป็นวัฒนธรรมภายนอกที่มักได้รับการตอบ สนองจาก ผู้ได้รับด้วยการไหว้ตอบนอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมไทยอื่นๆ ที่งดงาม เช่น การกราบ การแต่งกายแบบไทยในโอกาสต่าง ๆ การทำบุญตักบาตร ฯลฯ การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี คือ สิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดสืบทอดกันมาและ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามของแต่ละสังคมอาจเหมือนกัน คล้าย กัน หรือแตกต่างกันก็ได้ และสิ่งที่ดีงามของสังคมหนึ่งเมื่อเวลาผ่าน ไป สังคมนั้นอาจเห็นเป็นสิ่งไม่ดี วัฒนธรรมและประเพณีไทย เป็นกิจกรรมที่สืบทอดมายาวนานและ สังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งดีควรอนุรักษ์ไว้ การเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก การที่บุคคลจะเป็น สมาชกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก จะต้องคำนึงถึงสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

ปัญหาสังคมไทย ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือน ต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหา นั้นให้ดี ขึ้น สาเหตุของปัญหาสังคม ปัญหาสังคม อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น อาจเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมในลักษณะที่ผู้คนในสังคมยอมรับไม่ได้ อาจ เกิดจากความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์หรืออาจเกิด จากปัจจัยทางสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติที่ไม่เหมาะสม เป็นต้นว่า ความแห้งแล้ง ภัยธรรมชาติ สังคมไทยในปัจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ผู้คนใน สังคมมีการเบี่ยงเบนความสัมพันธ์ไปจากเดิม และสถาบันทาง สังคม ก็ทำหน้าที่ไม่ครบสมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เกิด ปัญหาสังคม ปัญหาสังคมไทยมีอยู่มากมาย ดังนี้

1.ปัญหายาเสพติด กำลังระบาดในหมู่เยาวชน ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีคนติดสิ่ง เสพติดมากกว่าสองล้านคน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชน สาร เสพติด ที่ระบาดในประเทศไทย เช่น ฝิ่ น กัญชา เฮโรอีน และแอมเฟตามีนซึ่ง ในประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นด้วยมี การลักลอบนำเข้า มายังบริเวณชายแดนใต้และภาคเหนือของไทย แนวทางการป้องกันและแก้ไข - ภาครัฐ จะต้องส่งเสริมมาตรการป้องกันยาเสพติด เช่น การให้ความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสิ่งเสพติดกับประชาชนอย่าง ทั่ว ถึง โดยวิธีต่างๆไม่ว่าจะเป็นสื่อทางโทรทัศน์ วิทยุ หรือผ่านหลักสูตร การสอนในสถานบันศึกษา นอกจากนี้ภาครัฐยังควร ออกมาตรการ เพื่อบำบัดรักษาให้ผู้ที่ติดสิ่งเสพติดหยุดเสพให้นานที่สุดจนสามารถ เลิกได้โดยเด็ดขาด ซึ่งเป็นการลดปัญหาความ เดือนร้อนและยังสมมา รถการแพร่กระจายของสิ่งเสพติดได้ - ภาคเอกชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงค์ช่วยเหลือ ผู้ติดยาเสพติดให้ลดละเลิกการใช้สิ่งเสพติด รวมทั้งจัด กิจกรรมสัน ทนากานต่างๆให้กับเยาวชนและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ และห่างไกลจากยาเสพติด - ภาคประชาชน ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการสอดส่อง ดูแลไม่ให้เกิดการระบาดของสิ่งเสพติด โดยเฉพาะครอบครัว จะต้อง ให้ความรักและความอบอุ่นกับสมาชิกในครอบครัว โดยพ่อแม่ต้อง ถือว่าสิ่งนี้เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

2.ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาเด็กและเยาวชนในสังคมไทยเป็นปัญหาที่สำคัญและมี ความหลากหลาย เช่น เด็กเร่ร่อน ปัญหาเด็กติดยาเสพติด มั่วสุมตาม สถานที่บันเทิง และปัญหาเหยื่อของโฆษณาทำให้เป็นผู้บริโภคนิยม เป็นต้น แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา - พ่อแม่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสมาชิกในครอบครัว โดย ให้ความรักความอบอุ่นกับสมาชิกในครอบครัว และพร้อม ทั้งส่งเสริม การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของบุตรหลาน - โรงเรียนและชุมชน ต้องส่งเสริมการจัดเวลารวมทั้งพื้นที่ ให้เด็กและเยาวชนไดแสดงศักภาพความสามารถตามความ สนใจและ ความต้องการตามวัย - หน่วยงานของรัฐและเอกชน ต้องมีการเร่งรัดการจัดบริการ นันทนาการให้เข้าถึงเด็กและเยาวชน - สื่อมวลชน ควรสนับสนุน เผยแพร่กิจกรรมความดี ความ สามารถของเด็ก เพื่อเด็กจะได้มีความภาคภูมิใจในการทำงาน กิจกรรม ต่างๆ

3.ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่อยู่ในสังคมไทยมาเป็น เวลานาน และนับวันยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น ปัญหาคอร์รัปชั่นทำ ให้ ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนา ประเทศชาติเป็นเวลามหาศาล เช่น การทุจริตของข้าราชการ บาง คนในการจัดซื้อวัสดุเพื่อนำมาสร้างถนนทำให้ได้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพแต่ ราคาสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรงเพราะ ประชาชนต้องใช้ ถนนในการสัญจร หากถนนไม่ดี ชำรุด หรือทรุดตัวก็จะทำให้ประชาชน เดือดร้อนเกิดอันตรายต่อชีวิตและ ทรัพย์สินได้ แนวทางการแก้ไขปัญหา - ปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเยาวชนใสังคม โดยผู้ใหญ่ควร เป็นแบบอย่างที่ดีและปลูกฝังเยาวชนให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วม - ภาครัฐควรรณรงค์ให้คนในสังคมรังเกียจการทุจริต เน้น ความซื่อสัตย์ และความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีของตนเอง - กฎหมายไทย ควรมีบทลงโทษทางสังคมต่อผู้ที่กระทำการ ทุจริตอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้มีการใช่ช่องโหว่ทางกฎหมาย ในการ ช่วยเหลือพวกพ้องให้พ้นผิด - คนในสังคมจะต้องให้ความร่วมมือ และให้การสนับสนุน องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและขจัดการทุจริต เช่น สำนักงานคณะ กรรมการป้องกันการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นต้น - สื่อมวลชนต้องให้ความสนใจในการติดตามการดำเนินงาน ของรัฐ และเปิดโปงปัญหาที่เกิดขึ้นให้สังคมได้รับรู้ เพื่อให้ ประชาชน ทราบว่าปัญหานี้เป็นอันตรายต่อสังคมมากเพียงใด

4 ปัญหาความยากจน ความยากจน คือ สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลที่มีรายได้ไม่ พอกับรายจ่ายไม่สามารถจะหาสิ่งจำเป็นมาสนองความ ต้องการทาง ร่างกาย และจิตใจได้อย่างเพียงพอจนทำให้บุคคลนั้นมีสภาพความ เป็นอยู่ที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่สังคมวางไว้ ความยากจนขึ้นอยู่กับ มาตรฐานของแต่ละสังคม 5. ปัญหาโรคเอดส์

โรคเอดส์ (AIDS : Aequired Deficency Syndrome) แพร่มา สู่ประเทศไทยจากประเทศตะวันตก ประเทศไทยได้รับ อันตรายจากโรค เอดส์รุนแรงขึ้น โรคเอดส์เกิดจากสาเหตุที่สำคัญ เช่น การสำส่อนทาง เพศ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การถ่ายเท เลือดที่ขาดความระมัดระวัง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ ผู้ป่วยจะต้องเสียชีวิตทุกราย ประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณ จำนวนมากในการรักษาผู้ป่วยโรค เอดส์ ซึ่งเป็นบุคคลที่สังคมรังเกียจ

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย 1รัฐบาลควรออกระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมาย เพื่อ กำหนดมาตรการการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง และแน่นอน 2 วางแผนและนโยบายการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยร่วมมือ กับภาคเอกชนเพื่อรณรงค์และอนุรักษ์ 3 ให้การศึกษาแก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้เกิดความรู้และ ความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ ให้มากขึ้น 4 ปรับปรุงและพัฒนาสังคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 5. พัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านเกษตรกรรมอุตสาหกรรมและ การบริการให้ดีขึ้น 6. พัฒนาสังคม สร้างค่านิยม และรณรงค์ให้ประชาชนร่วม มือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 7. ให้การศึกษาแก่ประชาชนให้ทั่วถึงและสูงขึ้น การศึกษา เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้สูงขึ้น รัฐจึงควร ทุ่มเทงบ ประมาณในการให้การศึกษาแก่ประชาชน

8 รัฐต้องจัดสวัสดิการที่ดีให้แก่ประชาชนต้องจัดให้ ประชาชนมีการศึกษาที่ดีและมีงานทำทุกคนเพื่อเป็นหลักประกันของ ชีวิต ควรจัดให้มีการประกันสังคมโดยทั่วถึง 9 พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมกับประเทศ โดยพัฒนา เศรษฐกิจเพื่อส่วนรวม กระจายรายได้สู่ชนบทมากขึ้นพยายามลด ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยให้อยู่ในระดับเดียวกัน 10 มีการพัฒนาสังคมให้เหมาะสม โดยเฉพาะระดับ ครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญต้องพัฒนาก่อนสถาบันอื่น ๆ ควร สร้างค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก เช่น ให้มีความซื่อสัตย์ ขยัน ใฝ่ศึกษา ไม่ เห็นแก่เงิน ชอบศึกษาค้นคว้า ฯลฯ รัฐต้อง พัฒนาบุคคลให้มี คุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตในครรลองแห่งจริยธรรม คุณธรรม หรือตามหลักปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นก็มีความ รุนแรงใน หลายๆระดับซึ่งมีผู้กระทำผิดที่แต่งต่างกันออกไป และยังเป็นสาเหตุ ของปัญหาต่างๆได้ดังที่กล่าวมาแล้ว โดยมากเรา มักจะมาเน้นใน เรื่องของปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการล่วงละเมิดต่างๆ ปัญหา ครอบครัว ปัญหาความเครียด ฯลฯ และหาทาง แก้ไขจากปลายเหตุ ส่วนปัญหาสังคมอื่นๆก็ได้แก่ ปัญหาสิทธิส่วนบุคคล ปัญหาการ จำกัดสิทธิ ปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมซึ่งก่อ ให้เกิดปัญหา ความเครียดและการกดดัน ปัญหาทางด้านการศึกษาเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งไม่ได้รับความสนใจมากเท่ากับพวกปัญหา อาชญากรรม อย่างที่ เราทราบกันดีว่าการที่ปัญหาสังคมจะเกิดขึ้นนั้นมันก็เริ่มมาจากคนที่ ได้รับความกดดันความกระทบ กระเทือนทางจิตใจ แต่อะไรเป็น สาเหตุของความกระทบกระเทือนและความกดดันเหล่านั้นล่ะนี่จึงเป็น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการที่เราจะเริ่มต้นแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

ประชาธิปไตย (อังกฤษ: democracy) เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งพลเมืองเป็นเจ้าของอำนาจ อธิปไตยและเลือกผู้ปกครองซึ่งทำหน้าที่ออกกฎหมาย โดย พลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไป ใช้อำนาจแทนก็ได้ การตัดสินว่าผู้ใดเป็นพลเมืองบ้างและการแบ่ง ปันอำนาจในหมู่พลเมืองเป็นอย่างไรนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา และแต่ละประเทศเปลี่ยนแปลงในอัตราไม่เท่ากัน นอกจากการเลือก ตั้งแล้ว ความคิดที่เป็นรากฐานของประชาธิปไตย ได้แก่ เสรีภาพใน การชุมนุมและการพูด การไม่แบ่งแยกและความเสมอภาค สิทธิพลเมือง ความยินยอม สิทธิในการมีชีวิตและสิทธิฝ่ายข้างน้อย นอกจากนี้ ประชาธิปไตยยังทำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงผลประโยชน์ ของตนและแบ่งอำนาจจากกลุ่มคนมาเป็นชุดกฎเกณฑ์แทน ประชาธิปไตยแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก ประเภทแรกเริ่ม ปรากฏขึ้นในนครรัฐกรีกโบราณบางแห่งช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อน คริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนครรัฐเอเธนส์ เรียก ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองทุกคนมีสิทธิพิจารณากลั่นกรอง และวินิจฉัยกฎหมาย ประเภทที่สองเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกผู้แทนตนไปทำ หน้าที่ในรัฐสภา เช่น ระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี สถาบันทางการเมือง (Political Institutions) หมายถึง องค์กรหรือหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการ ปกครองและดำเนินกิจการต่างๆ ของรัฐทั้งภายใน และ ภายนอก ประเทศ ซึ่งอาจจะก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมายของรัฐ หรืออาจก่อตั้งขึ้น โดยการร่วมใจกันของเอกชน หรือตามประเพณีก็ได้ สถาบัน ทางการเมืองมี สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐบาล พรรคการเมือง เป็นต้น

รัฐศาสตร์ ความหมายของรัฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ (Political Science) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ อันเป็น สาขาหนึ่งของวิชาสังคมศาสตร์ ที่กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับรัฐ ว่าด้วยทฤษฎีแห่งรัฐ การวิวัฒนาการ มีกำเนิดมาอย่างไร สถาบัน ทางการเมืองที่ทำหน้าที่ดำเนินการปกครองมีกลไกไปในทางใด การจัดองค์การต่างๆ ในทางปกครอง รูปแบบของรัฐบาล หรือสถาบันทางการเมืองที่ต้องออกกฎหมายและ รักษาการณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเอกชน (Individual) หรือกลุ่มชน (Group) กับรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐกับรัฐ ตลอดจนแนวคิดทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อโลก ตลอดจน การแสวงหาอำนาจของกลุ่มการเมืองหรือภายในกลุ่มการเมือง หรือ สถาบันการเมืองต่างๆ รัฐ (State) องค์ประกอบของรัฐ การที่จะกล่าวว่าประเทศใดมีฐานะเป็นรัฐ หมายถึง รัฐชาติ (Nation State) โดยสมบูรณ์ในทางรัฐศาสตร์หรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่กำหนดไม่ ได้ง่ายนัก แต่ถึงอย่างไรก็ตามนักปราชญ์ทางการเมืองได้กำหนดกฎ เกณฑ์ไว้สำหรับที่เป็นเครื่องมือพิจารณาว่าประเทศใดมีฐานะที่จะเป็นรัฐ กฎเกณฑ์ที่ว่านั้นคือ รัฐที่สมบูรณ์หรือรัฐที่เป็นเอกราชนั้นจะต้อง ประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการเป็นอย่างน้อย คือ ประชากร ดินแดน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย

ปรัชญาทางการเมือง (Political Philosophy) คือ ความคิดความเชื่อของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ในยุคใดยุคหนึ่ง อันเป็นรากฐานของระบบการเมืองที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและความ ต้องการของตน หมายความรวมถึง อุดมการณ์หรือเป้าหมายที่จะเป็น แรงผลักดันในมนุษย์ปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ เช่น ผู้บริหารประเทศไทยมีปรัชญาทางการเมืองที่มุ่งในทางพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมและทางกสิกรรม กับปรารถนาให้ ประชาชาติมีการกินดีอยู่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุประสงค์ (Objective or Ends) แต่การที่จะปฏิบัติ (Means) นั้นอาจจะใช้ระบบประชาธิปไตย แบบไทยๆ ซึ่งก็เป็นวิถีทางที่อาจจะนำมาถึงจุดมุ่งหมายนั้นๆ ระบอบเผด็จการ เป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ จะให้ความสำคัญกับการอำนาจนิยม ผู้ใช้อำนาจหรือผู้นำซึ่งเป็นคนกลุ่ม น้อยและไม่คำนึงถึงเสรีภาพของประชาชน ระบอบเผด็จการนี้มีมาแต่ยุค โบราณ และได้พัฒนารูปแบบออกไปในแต่ละยุคแต่ละสถานการณ์ของ การปกครอง แต่สาระแก่นสารยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่น ใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่า ด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นฉบับที่ 20 รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐ เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้ แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 20 ฉบับ เคยผ่านการแก้ไขสำเร็จ มาแล้ว 22 ครั้ง สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักของสังคมไทยที่เกื้อกูล แผ่นดิน มาช้านาน พระมหากษัตริย์ไทยในแต่ละยุคสมัยอาจมีพระราช อํานาจและใช้ พระราชอํานาจแตกต่างกัน แต่ทุกพระองค์ล้วนยอมรับ กรอบของความเป็นพระราชาตามคำสอนในพระพุทธศาสนา นั่นคือ พระมหากษัตริย์ต้องมี “ราชธรรม” เป็นหลัก หรือเป็นแนวทางในการ ปกครอง

สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ได้นำ เรื่องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมาบัญญัติไว้เป็นครั้ง แรก ว่า “บุคคล”ย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธิใด ๆ และมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่ เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ตามอุดมคติของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การใช้อำนาจ รัฐจะต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้โดยสาธารณะ เพื่อรักษาผลประโยชน์ ของประชาชนทุกคนที่ถือเป็นเจ้าของประเทศ รัฐธรรมนูญไทยจึงมี บทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยให้อำนาจทาง กฎหมายกับองค์กรอิสระจำนวนหนึ่ง ในการตรวจสอบทรัพย์สิน นักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง รวมถึงตัดสินลงโทษการกระทำ ที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

การตรวจสอบทรัพย์สิน เป็นมาตรการเพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยการใช้ ตำแหน่งของตน โดยกำหนดให้นักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ต้องยื่นแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน รวมถึงคู่สมรส และ บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ทุกครั้ง เมื่อเข้ารับตำแหน่งหรือพ้น จากตำแหน่ง ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ประกอบด้วย - นายกรัฐมนตรี - รัฐมนตรี - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร - สมาชิกวุฒิสภา - ข้าราชการการเมืองอื่น - ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เป็นมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ในการ แสวงหา ผลประโยชน์ขณะดำรงตำแหน่ง ของผู้ที่ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ทั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ได้แก่ - การกระทำต้องห้ามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา อาทิ ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงาน ของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ แทรกแซง หรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ - การห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ก้าวก่ายหรือ แทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาทิ การแต่งตั้ง โยก ย้าย เลื่อนตำแหน่งของข้าราชการ การให้ข้าราชการพ้นจากตำแหน่ง - การห้ามนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งใดๆ ในบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กรที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไร - การห้ามนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ก้าวก่ายหรือแทรกแซงการ ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ - การจำกัดสิทธิของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่ บรรลุนิติภาวะ ในการถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ รัฐธรรมนูญไทยกำหนดให้มีองค์กรอิสระ ที่มีอำนาจในการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐ ดังนี้ - ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีหน้าที่พิจารณาและสอบสวนข้อเท็จจริงตาม คำร้องเรียน - คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง - คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มีหน้าที่ กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอ แนะ เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน

นิติศาสตร์ พัฒนาการของกฎหมาย บทบาทของกฎหมายที่มีต่อสังคม “กฎหมาย” คืออะไร ? เป็นคำถามที่นักนิติปรัชญาสนใจพิเคราะห์กันมา ยาวนาน ซึ่งหลายทฤษฎีมีเหตุมีผลที่น่าสนใจ แต่ถ้าจะสนใจพิเคราะห์ พัฒนาการของกฎหมาย (development of law) แล้วจะพบว่า กฎหมายนั้นมีอยู่คู่กับสังคมตั้งแต่ไหนแต่ไร จนกล่าวกันว่า “ที่ใดมี สังคม ที่นั่นมีกฎหมาย” (Ubi societas ibi jus) เพราะเมื่อคนมาอยู่ รวมเป็นสังคมประโยชน์และความต้องการของแต่ละคนอาจขัดแย้งกัน ได้ ซึ่งกฎหมายจะเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการควบคุมสังคม (social controls) โดยเป็นกติกาเพื่อชี้ขาดความถูกต้องที่สังคมยอมรับในการ ใฝ่หาความเป็นธรรมอันเป็นจุดสมดุล (equilibrium) การที่กฎหมายขยายตัวตามภาระของรัฐและความซับซ้อนของสังคม เช่น นี้ในประเทศระบบประมวลกฎหมาย (code law) เนื่องจากมีการ ปรับตัวครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ ๑๘ และ ๑๙ โดยจัดทำประมวลกฎหมายที่ สำคัญต่างๆ ขึ้นใช้ ปัญหาต่างๆ จึงบรรเทาอยู่ระยะหนึ่ง ส่วนประเทศใน ระบบคอมมอนลอว์ (common law) นั้น เหตุการณ์ปรากฏชัดว่าไม่อาจ พึ่งการพัฒนากฎหมายโดยอาศัยศาลตีความเป็นรายคดี (case by case) ได้อีกต่อไป จนปรากฏว่าประเทศในระบบคอมมอนลอว์มี กฎหมายลายลักษณ์อักษรเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และยากที่จะถือว่าเป็น ระบบกฎหมายที่พัฒนาขึ้นโดยศาลโดยไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรได้ อีก[๒] และอาจกล่าวได้ว่าคำว่าระบบคอมมอนลอว์คงเหลือแต่เพียง ลักษณะในทางนิติวิธี (juristic method) ของการใช้กฎหมายในศาล เท่านั้น ที่ศาลในระบบคอมมอนลอว์จะยึดถือแนวบรรทัดฐานเป็นหลักใน การตัดสินคดีต่อมา (stare decisis) อย่างหนักแน่นและเป็นทางการมากกว่า (degree) ศาลในระบบประมวล กฎหมาย

ระบบกฎหมาย ระบบกฎหมายซึ่งได้รับอิทธิพลจากกฎหมาย โรมัน ลักษณะพื้นฐานของ ซีวิลลอว์คือ เป็น กฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็น ระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษา ของศาล ระบบกฎหมายดังกล่าวจึงได้ยึดถือฝ่าย นิติบัญญัติเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย และระบบ ศาลมักจะใช้วิธีพิจารณาโดยระบบไต่สวน และศาลจะ ไม่ผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อน ในเชิงความคิด ซีวิลลอว์เป็นกลุ่มของ แนวคิดและระบบกฎหมายซึ่งได้รับมาจาก ประมวลกฎหมายจัสติเนียน รวมไปถึงกฎหมาย ของชนเผ่าเยอรมัน สงฆ์ ระบบศักดินา และจารีต ประเพณีภายในท้องถิ่นเอง รวมไปถึงความคิด เช่น กฎหมายธรรมชาติ แนวคิดในการจัดทำ ประมวลกฎหมาย และกลุ่มปฏิฐานนิยม (กลุ่มที่ ยึดถือกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นหลัก) ซีวิลลอว์ ดำเนินจากนัยนามธรรม วางระเบียบหลัก การทั่วไป และแบ่งแยกกฎระเบียบสารบัญญัติออก จากระเบียบพิจารณาความ ในระบบนี้จะให้ความสำคัญ กับกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นอันดับแรก เมื่อมีข้อ เท็จจริงปรากฏขึ้น จะพิจารณาก่อนว่ามีกฎหมายลาย ลักษณ์อักษรบัญญัติไว้หรือไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ดังกล่าว ถ้ามีก็จะนำกฎหมายลายที่บัญญัติไว้นั้นนำมา ปรับใช้กับข้อเท็จจริง หากไม่มีกฎหมายให้พิจารณา จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นนั้นๆ จารีตประเพณีก็คือ ประเพณีที่ประพฤติและปฏิบัติกันมานมนาน

กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพ บุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำ ผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่ เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้า หรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการ รับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้ บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า “ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์” แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลัก ทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่า ด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอา กฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมาย พาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมาย พาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจาก กฎหมายแพ่งโดยจัดทำเป็นประมวลกฎหมายคนละเล่มกันจึงยังไม่มี ความจำเป็นเท่าใดนักในขณะนั้น

สัญญาจำนองและสัญญาจำนำ การจำนำ คือ บุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้จำนำ” มอบสังหาริมทรัพย์ให้ กับอีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้รับจำนำ” เพื่อประกันการชำระหนี้ โดย สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ แหวน สร้อย ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตอย่าง ช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้จำนำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ บุคคลอื่นจะนำทรัพย์ของผู้ จำนำไปจำนำแทนไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการยักยอกทรัพย์ หรือ ลักทรัพย์ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ผู้รับจำนำต้องระวังให้ดี ผู้รับจำนำมีสิทธิในการ ครอบครองทรัพย์สินที่จำนำ จนกว่าผู้จำนำจะมาชำระหนี้ไถ่ถอนคืน ขณะเดียวกันระหว่างที่จำนำอยู่ ผู้รับจำนำก็ต้องรับผิดชอบดูแล ทรัพย์สินนั้น

นิติกรรมและสัญญา นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่ง ต่อผลในกฎหมาย ที่จะเกิดขึ้นเพื่อการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอน สิทธิ สงวนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับซึ่งสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้เงิน สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้และพินัยกรรม เป็นต้น นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดง เจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและมีผลตามกฎหมาย ซึ่งบาง กรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้ เช่น การก่อตั้งมูลนิธิ คำมั่น โฆษณาจะให้รางวัล การรับสภาพหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ คำมั่นจะซื้อหรือจะขาย การทำพินัยกรรม การบอกกล่าวบังคับจำนอง การทำคำเสนอ การบอกเลิกสัญญา เป็นต้น นิติกรรมสองฝ่าย (นิติกรรมหลายฝ่าย) ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิด ขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่าย ต่างต้องตกลงยินยอมระหว่างกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำ เป็นคำเสนอ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนอง เมื่อคำเสนอ และคำสนองถูกต้องตรงกันจึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้น หรือเรียก กันว่า สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืม สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาขายฝาก จำนอง จำนำ เป็นต้น

นิติบุคคล คือ บุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นให้มีสภาพเป็นบุคคล เช่น เดียวกับบุคคลธรรมดา เพื่อให้นิติบุคคลสามารถใช้สิทธิหน้าที่ ภายใน ขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลได้ จึงต้องแสดงออกถึงสิทธิและ หน้าที่ผ่าน ผู้แทนนิติบุคคล 1. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน ได้แก่ 1. บริษัทจำกัด (ผู้ก่อการอย่างน้อย 3 คน) 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (ผู้ก่อการอย่าง 3 คน) 3. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน 4. สมาคม 5. มูลนิธิด้แก่ นิติ 2. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน ได้แก่ วัด จังหวัด กระทรวง/ทบวง กรม จังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อบต./ อบจ./กทม/เทศบาล/พัทยา) องค์การของรัฐบาล องค์การมหาชน ฯลฯ

ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญา โดยหลักทั่วไป บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา แต่มีข้อยกเว้น คือ บุคคล บางประเภทกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำ นิติกรรมสัญญา เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความ สามารถ และบุคคลล้มละลาย สำหรับผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ต้องรับ ความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องแสดงออก ปกติแล้ว บุคคลทุกคนต่างมีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา แต่ ยังมีบุคคลบางประเภทที่เป็นผู้หย่อนความสามารถ กฎหมายจึงต้อง เข้าดูแลคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ ไม่ให้ได้รับความเสียหายในการกำหนด เงื่อนไขในการเข้าทำนิติกรรมของผู้นั้น ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา (1) ผู้เยาว์ (Minor) (2) บุคคลวิกลจริต (Unsound Mind) (3) คนไร้ความสามารถ (Incompetent) (4) คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi-Incompetent) (5) ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย (6) สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน

ผู้ทำนิติกรรมแทน ผู้อนุบาล (guardian) เป็นบุคคลที่ศาลแต่งตั้งให้ปกครองดูแล คนไร้ความสามารถ ผู้พิทักษ์ (custodian) หมายถึง บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็น ผู้ปกครองดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ การควบคุมการทำนิติกรรม 1. วัตถุประสงค์ของการทำนิติกรรม : หากกระทำนิติกรรมที่ฝ่าฝืน ข้อห้ามดังกล่าวถือเป็น โมฆะได้แก่ – นิติกรรมต้องห้ามชัดแจ้งด้วยกฎหมาย – นิติกรรมที่พ้นวิสัย – นิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี 2. แบบของนิติกรรม : ในนิติกรรมบางประเภทกฎหมายกำหนด แบบของการทำนิติกรรมเอาไว้ เช่น สัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ กฎหมายกำหนดให้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ถ้าไม่ทำตาม กฎหมายกำหนด สัญญาถือเป็นโมฆะ

สัญญา คือ นิติกรรมชนิดหนึ่ง แต่เป็นนิติกรรมที่มีบุคคล 2 ฝ่าย หรือมากกว่านั้น มาตกลงกัน โดยแสดงเจตนาเสนอและสนองตรงกัน ก่อให้เกิดสัญญาขึ้น สัญญาย่อมก่อให้เกิดหนี้ เกิดความผูกพันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ โดยเจ้า หนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย สัญญาซื้อขาย คือ สัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย การโอนกรรมสิทธิ์ หมายถึง การโอนความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน ที่ซื้อ ขายนั้นไปให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อเมื่อได้เป็นเจ้าของก็สามารถที่จะใช้ ได้รับ ประโยชน์ หรือจะขายต่อไปอย่างไรก็ได้ ราคาทรัพย์สิน จะชำระเมื่อไรนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อผู้ขาย จะต้องตกลงกัน ถ้า ตกลงกันให้ชำระราคาทันทีก็เป็นการซื้อขายเงินสด ถ้า ตกลงกันชำระราคา ในภายหลังในเวลาใดเวลาหนึ่งเพียงครั้งเดียวตามที่ตกลงกันก็เป็นการซื้อ ขายเงินเชื่อ แต่ถ้าตกลงผ่อนชำระให้กันเป็นครั้งคราวก็เป็นการซื้อขาย เงินผ่อน การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ต้อง ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร หรือมีการวางมัดจำ หรือมีการชำระหนี้บาง ส่วนไว้ล่วงหน้าหากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา ย่อมฟ้องร้องให้ ปฏิบัติตามสัญญารวมทั้งเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายที่ผิดสัญญาได้

สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายซึ่งสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ ในทรัพย์สินตกไป ยังผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงในขณะทำสัญญาว่า ผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นคืน ได้ภายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่ต้องไม่เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ขายที่ดินโดยมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ขายต้องการซื้อคืน ผู้ซื้อจะยอมขายคืนเช่น นี้ถือว่าเป็นข้อตกลงให้ไถ่คืนได้ การเช่าทรัพย์ คือ สัญญาที่มีบุคคลอยู่สองฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ให้เช่า ฝ่ายที่สองคือผู้เช่า ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันและกัน โดยฝ่ายผู้ให้เช่ามีหนี้ที่จะต้องให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่า ส่วนฝ่ายผู้เช่าก็มีหนี้ที่จะต้องชำระค่าเช่าเป็นการตอบแทน – การารเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือ ชื่อของฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามสัญญา – สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นานเกินกว่า 3 ปี หรือมีกำหนดตลอด อายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ – ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า ให้แก่ผู้เช่าในสภาพที่ ซ่อมแซมดีแล้ว – ผู้เช่าต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่า เหมือนทรัพย์สินของตนเอง และ ยอมให้ผู้ให้เช่าตรวจตราทรัพย์สินเป็นครั้งคราว และไม่ดัดแปลงหรือต่อ เติมทรัพย์สิน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่า – ผู้เช่าต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ให้แห่ผู้ให้เช่าในสภาพที่ซ่อมแซม ดีแล้วเมื่อสัญญาเช่านั้นสิ้นสุดลง สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินของตน ออกให้ผู้อื่นเช่า เพื่อใช้สอยหรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ และให้คำมั่นว่าจะขาย ทรัพย์นั้น หรือจะให้ทรัพย์สินที่เช่าตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อได้ใช้เงินจน ครบตามที่ตกลงไว้โดยการชำระเป็นงวดๆ จนครบตามข้อตกลง

การกู้ยืมเงิน เป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้ กู้” มีความต้องการจะใช้เงิน แต่ตนเองมีเงินไม่พอ หรือไม่มี เงินไปขอกู้ยืม จากบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ให้กู้” และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายใน กำหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง การกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ มีการส่ง มอบ เงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ให้ยืม ในการกู้ยืมนี้ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้ ตามกฎหมายก็วางหลักเอาไว้ว่า “การกู้ยืมเงินกันกว่า 2,000 บาท ขึ้นไปนั้น จะต้องมีหลักฐานในการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลง ลายมือชื่อของคนยืมเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้” ดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินกันนี้ เพื่อป้องกันมิให้นายทุนบีบบังคับ คนจน กฎหมายจึงได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่ผู้ให้กู้สามารถเรียก ได้ ว่าต้อง ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี คือร้อยละ 1.25 ต่อเดือน (เว้นแต่ เป็นการกู้ยืม เงินจากบริษัทเงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งสามารถเรียกดอกเบี้ย เกินอัตราดังกล่าว ได้ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน)

ค้ำประกัน หมายถึง สัญญาที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้คํ้าประกัน” สัญญาว่า จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ สัญญาค้ำประกัน ต้องทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปนี้ คือ ต้องทำ หลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง และ ต้องลงลายมือชื่อของผู้คํ้า ประกัน ชนิดของสัญญาค้ำประกัน ได้แก่ สัญญาคํ้าประกันอย่างไม่จำกัด จำนวน และสัญญาคํ้าประกันจำกัดความรับผิด จำนำ คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบ สังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ครอบครองเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อประกันการชำระหนี้ ทรัพย์สินที่จำนำได้คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ช้าง ม้า โค กระบือ และเครื่องทองรูปพรรณ สร้อย แหวน เพชร เป็นต้น เมื่อผู้จำนำไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิบังคับจำนำ โดยต้องบอก กล่าวแก่ผู้จำนำ หากผู้จำนำยังไม่ชำระหนี้อีก ผู้รับจำนำมีสิทธินำทรัพย์สิน นั้นขายออกทอดตลาด โดยต้องแจ้งเวลาและสถานที่แก่ผู้จำนำ เมื่อขายทอดตลาดแล้ว ได้เงินสุทธิเท่าใด ผู้รับจำนำมีสิทธิหักมาใช้ หนี้ได้จนครบ หากยังมีเงินเหลือต้องคืนให้แก่ผู้จำนำ จำนอง คือ การที่ใครคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนองเอาอสังหาริมทรัพย์ อันได้แก่ ที่ดิน บ้านเรือน เป็นต้น ไปตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง หรือนัยหนึ่ง ผู้จำนองเอาทรัพย์สินไปทำหนังสือจดทะเบียนต่อ เจ้าพนักงาน เพื่อเป็นประกัน การชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบ ทรัพย์ที่จำนองให้เจ้าหนี้ ผู้จำนองอาจเป็นตัวลูกหนี้เองหรือจะเป็นบุคคล ภายนอกก็ได้

สาระสำคัญของสัญญา 1. ต้องมีบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป 2. ต้องมีการแสดงเจตนาเป็นคำเสนอคำสนองตกลงกัน ยินยอมกัน 3. ต้องมีวัตถุประสงค์ คำเสนอ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาตอบ ถ้าข้อความที่แสดง เจตนาออกมานั้นตรงกันกับคำเสนอ เรียกนิติกรรมฝ่ายหลังว่า คำสนอง เกิดเป็นสัญญาขึ้น 1. ลักษณะของคำเสนอ คำเสนอเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวเกิดจากการแสดงเจตนาของผู้ทำคำ เสนอต่อบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้รับคำเสนอ คำเสนอจะต้องมีข้อความแน่นอนชัดเจนพอที่จะให้ถือเป็นข้อผูกพัน ก่อให้เกิดเป็นสัญญา คำทาบทาม ที่มีขึ้นเพื่อให้มีการเจรจาที่จะทำสัญญากันต่อไป และแตก ต่างกับคำเชื้อเชิญ คำเชื้อเชิญจะมีลักษณะเป็นคำขอที่ให้อีกฝ่ายหนึ่งทำคำ เสนอเข้ามาการแสดงเจตนาทำคำเสนอจะทำด้วยวาจาก็ได้ เป็นลายลักษณ์ อักษร หรือด้วยกริยาอาการอย่างใด ๆ ก็ได้ 2. การถอนคำเสนอ 2.1 ในระยะเวลาที่บ่งไว้ให้ทำคำสนองผู้เสนอจะถอนคำเสนอของตน ไม่ได้ (มาตรา 354) 2.2 ผู้เสนอจะถอนคำเสนอซึ่งกระทำต่อผู้อยู่ห่างโดยระยะทางก่อน เวลาที่ควรมีคำสนองไม่ได้ (มาตรา 355) 2.3 คำเสนอต่อบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้าจะมีคำสนองได้ก็แต่ ณ ที่นั้น เวลานั้น (มาตรา 356) 3. การเสนอสิ้นความผูกพัน 3.1 ผู้รับคำเสนอบอกปัดไปยังผู้เสนอ (มาตรา 357) 3.2 ผู้รับคำเสนอไม่สนองรับภายในกำหนดเวลาที่บ่งไว้ในคำเสนอ ภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าผู้เสนอจะได้รับคำบอกกล่าว 3.3 กรณีที่ผู้เสนอตายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ(มาตรา 360) มาตรา 360 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของหลักหรือก่อนสนองรับผู้สนองได้ ทราบว่าผู้เสนอตายแล้วหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ

คำสนอง คือ คำตอบของผู้รับคำเสนอต่อผู้เสนอโดยแสดงเจตนาว่า ผู้รับคำเสนอนั้นตกลง คำมั่น เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวเช่นเดียวกับคำเสนอ มีผลเช่นเดียวกับ คำเสนอ คือ ผูกพันผู้ให้คำมั่นว่าตนจะรักษาคำมั่นนั้นจนกว่าเหตุการณ์ เกี่ยวกับคำมั่นจะสิ้นสุดลง คำมั่น การตีความสัญญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 ให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติ ประเพณีด้วย หมายความว่า ในเบื้องต้นการตีความการแสดงเจตนาของ สัญญายังอยู่ในบังคับของมาตรา 171 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการ ตีความการแสดงเจตนาหรือการตีความนิติกรรม แต่เนื่องจากสัญญา เป็นนิติกรรมหลายฝ่าย ซึ่งเกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่ สองฝ่ายขึ้นไป มาตรา 368 จึงบัญญัติหลักในการตีความสัญญาเพิ่ม เติมจากการแสดงเจตนาทั่วไป โดยให้ตีความตามความประสงค์ในทาง สุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีประกอบด้วย การตีความตามความประสงค์คือการตีความตามเจตนาอันแท้จริง และต้องถือตามเจตนาของคู่สัญญาทุกฝ่ายอันจะพึงคาดหมายได้ว่าหาก ได้ตกลงกันโดยสุจริตจะตกลงกันอย่างไร มิใช่ถือแต่เพียงเจตนาอัน แท้จริงของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอกจากนั้น ในกรณีที่มีประเพณีปฏิบัติกัน อยู่อย่างไร เมื่อคู่สัญญามิได้แสดงเจตนาไว้เป็นอย่างอื่น ก็ย่อมคาด หมายได้ว่าตกลงทำสัญญาโดยถือตามประเพณีที่ปฏิบัติกันนั้นด้วย เช่น นายมะขามตกลงจ้างนายมะนาวเป็นทนายความว่าความให้โดยมิได้ตกลง กำหนดสินจ้าง ก็มีสัญญาผูกพันนายมะขามที่จะต้องจ่ายสินจ้างเพื่อผล สำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น และการคิดคำนวณสินจ้างต้องตีความให้เป็น ไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย โดย จะเพ่งเล็งถึงเฉพาะเจตนาอันแท้จริงของนายมะขามหรือนายมะนาว เพียงฝ่ายเดียวไม่ได้

เอกเทศสัญญา หนี้เอกเทศ หรือ สัญญามีชื่อ เป็นศัพท์กฎหมาย หมายถึง หนี้ หรือสัญญาประเภทที่กฎหมายขนานนามให้เป็นพิเศษ เพื่อวางกฎ เกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นการเอกเทศ ดังนั้น หนี้หรือสัญญาทั่วไปที่ไม่ ปรากฏชื่อตามกฎหมาย จึงได้ชื่อว่า "สัญญาไม่มีชื่อ" หรือ "หนี้ สามัญ" โดยปกติแล้ว กฎหมายจะวางบทบัญญัติครอบคลุมสัญญา และหนี้เป็นการทั่วไปก่อน เรียกบทบัญญัตินี้ว่า "บททั่วไป" ซึ่งจะใช้ บังคับแก่ทุกกรณี และวางหลักเฉพาะเจาะจงสำหรับเรื่องพิเศษบาง ประเภท เรียกบทบัญญัตินี้ว่า "บทพิเศษ" ซึ่งต้องนำมาใช้ก่อนบท ทั่วไป เมื่อไม่มีบทพิเศษบัญญัติไว้จึงค่อยยกบททั่วไปมาใช้ เช่น ตาม กฎหมายไทย ซื้อขายเป็นเอกเทศสัญญาที่มีบทบัญญัติกำหนดความ สัมพันธ์ของคู่กรณีไว้เป็นบทพิเศษ แต่ไม่ได้กำหนดเรื่องการเกิดและ การสิ้นสุดลงของสัญญา จึงต้องยกบททั่วไปที่เกี่ยวข้องมาใช้ เอกเทศสัญญาและหนี้เอกเทศนั้นเป็นบทบัญญัติจำพวกบทพิเศษ ส่วนสัญญาไม่มีชื่อและหนี้ทั่วไปคือสัญญาและหนี้ตามบททั่วไปนั่นเอง และเอกเทศสัญญาหรือหนี้เอกเทศจะมีประเภทใดบ้างนั้น ขึ้นอยู่ กฎหมายของแต่ละประเทศ

กฎหมายอาญา ความผิดอาญา หมายถึง การกระทําที่มีผลกระทบกระเทือนต่อ สังคม หรือคนส่วนใหญ่ อันเป็นสาธารณชน เมื่อบุคคลใดกระทําความ ผิดทางอาญาจะต้องรับโทษทางกฎหมายมากบ้าง น้อยบ้างเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทําความผิด กฎหมายมิได้ถือว่า การ กระทําความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทํา ความผิดจึงขึ้นอยู่กับการ กระทําและความรู้สึกของสังคม ความผิดอาญา คือ การกระทําที่โดยส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับเนื้อ ตัว ร่างกายของ ผู้เสียหาย อันมีผลต่อความสงบเรียบร้อยและศีล ธรรมอันดีของประชาชน รัฐจึงต้องลงโทษ ผู้กระทําความผิด โดยตั้ง อยู่ภายใต้หลักการสําคัญ คือ 1) การกระทํานั้นต้องมีกฎหมายบัญญัติ ไว้ชัดแจ้งว่าเป็นความผิดในขณะกระทําความผิด ตามหลัก “ไม่มีความ ผิด ไม่มีโทษ ไม่มี กฎหมาย” (Nullum crimen Nulla poena sine lege : นูลลัม ครีเมน นูลล่า โพน่า ซิเน เล เก) 2) โทษที่ลงต้องเป็น โทษที่ได้กําหนดไว้ในกฎหมาย 3) กฎหมายต้องไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่ง หมายถึง กฎหมายจะไม่ลงโทษหรือเอาผิดต่อการกระทําก่อนที่ กฎหมายนั้นประกาศใช้ (Ex post facto law) (คณิต ณ นคร, 2551).

การแบ่งประเภทความผิดอาญา ความผิดอาญาอาจแบ่งพิจารณาออกเป็น 6 ประเภท คือ (1) ความผิดอาญาในแง่ของ กฎหมาย (2) ความผิดอาญาในแง่ของการกระทํา (3) ความผิดอาญาในแง่ของเจตนา (4) ความผิดอาญาในแง่ของผู้กระทํา (5) ความผิดอาญาในแง่ของโทษ (6) ความผิดอาญาในแง่ ของการดําเนินคดี ซึ่งมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ 1) การแบ่งแยกความผิดอาญาในแง่ของกฎหมาย ความผิดอาญานั้น อาจกล่าวโดยย่อได้ว่า หมายถึง การกระทําที่ฝ่าฝืน ต่อกฎหมาย อาญา ความผิดอาญาในแง่ของกฎหมายจึงแบ่งออกได้ เป็น 2 ประการ คือ ความผิดในตัวเอง 1.1) ความผิดในตัวเอง (Mala in se : Malum in se) ความผิดตัวใน ตัว คือ การกระทําที่วิญญูชนทั่วไป (Reasonable person) รู้ว่าการก ระทํานั้นเป็นความผิดในตัวเอง (Wrong in itself) หรือ ความผิดในตัว เองนี้เป็นหนึ่งในแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมายอาญาที่ เป็นแนวคิด ทางศีลธรรมของสังคม (Legal Moralism) เพราะเป็นการกระทํา กระทบกระเทือน ต่อสังคม การกระทํานั้นเป็นความชั่วร้ายในตัวเอง (Evil in itself) ความผิดในตัวเองนี้เป็น ความผิดทั้งศีลธรรมและ กฎหมายในขณะเดียวกัน เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาย เป็นการกระทํา ที่เป็นความผิดทางศีลธรรมตามศีลข้อที่ 1 ของเบญจศีลในพุทธ ศาสนา และยังเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 อีกด้วย

1.2) ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (Mala Prohibita : Malum Prohibitum) การ กระทําที่เป็นความผิดตามที่กฎหมายห้าม (wrong due to being prohibited) ซึ่งกล่าวอีกนัย หนึ่งก็หมายความว่า กา รกระทํานั้นไม่เป็นความผิดในตวั เอง ไม่ผิดมโนธรรมสํานึก ไม่ผิดศีล ธรรม แต่เป็นการกระทําที่สังคมควรตําหนิติเตียน ควรลงโทษ ควร เอาผิดแก่ผู้กระทํา สังคมจึง จําเป็นต้องตรากฎหมายขึ้นเพื่อเอาผิดต่อ การกระทํานั้น โดยกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยรัฐสภา (Statute) ซึ่งเป็น กฎหมายที่เรียกว่า “กฎหมายฝ่ายบ้านเมือง (Positive law)” หรือ “กฎหมาย เทคนิค (Technical law)” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษา ประโยชน์ของสังคมอันเป็นประโยชน์ สาธารณะ (Public interest) ดัง เช่น การกําหนดความผิดของผู้หลีกเลี่ยงไม่ชําระภาษีเงินได้ของ บุคคลธรรมดาตามประมวลกฎหมายรัษฎากร หรือความผิดฐานพา อาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือ ทางสาธารณะ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มี เหตุสมควร ตามมาตรา 371 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น

2) การแบ่งแยกความผิดอาญาในแง่ของการกระทํา การกระทํา หมายความถึง การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สํานึก กล่าวคือ อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ การแบ่งประเภทความ ผิดอาญาในแง่ของการกระทําจึงแบ่ง ออกได้ดังต่อไปนี้ 2.1) ความผิดโดยการเคลื่อนไหวร่างกายและความผิดโดยไม่ เคลื่อนไหวร่างกาย ความหมายของการกระทําตามประมวลกฎหมาย อาญา หมายถึง “การเคลื่อนไหวร่างกายหรือ กล้ามเนื้ออันเป็น อิริยาบถ (Movement) และการเคลื่อนไหวนั้นอยู่ภายใต้จิตใจบังคับ (Willed movement) ซึ่งคําว่า “จิตใจบังคับ” นี้ ยังไม่ถึงขั้น “เจตนา (ตั้งใจ มุ่งหมาย)” เพียงแต่ ผู้กระทําได้กระทําลงไปโดยรู้สึกตัวว่า “กํา ลังทําอะไรอยู่ก็พอแล้ว ทั้งการเคลื่อนไหวร่างกาย (Bodily movement) จะต้องมีพฤติการณ์ประกอบอิริยาบถ (Circumstances movement) นั้นด้วย เช่น ก. การชักปืนออกจาก ซองปืน (อิริยาบถ : Movement) และเล็งปืนไปยัง ข. ผู้ตาย ซึ่งอยู่ใน วิถีกระสุน แล้วเหนี่ยวไกปืน (พฤติการณ์ประกอบอิริยาบถ : Circumstances วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ Journal of MCU Social Science Review ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2564 Vol. 10 No. 2 April - June 2021 400 movement) และในที่สุดเกิดความตายขึ้น (Consequence) ซึ่งเป็น ผลร้าย (Harms) อันเกิด จากการกระทําของ ก. นั่นเอง กฎหมาย อาญาต้องการเห็นว่าการเคลื่อนไหวร่างกายโดยผู้ เคลื่อนไหวร่างกาย ต้อง “รู้สํานึกในการกระทํา” ด้วย ส่วนการรู้สํานึกในการกระทํานั้น ประกอบด้วยขั้นตอนของสภาวะทางจิตใจอันเป็นองค์ประกอบภายใน 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ การคิด และการตกลงใจว่าจะกระทําตามที่คิด และได้กระทําตามที่คิดและตกลงใจนั้น (หยุด แสง อุทัย, 2551)

2.2) ความผิดโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกายตามกฎหมายอาญา กฎหมาย อาญานั้น ยังคํานึงถึงการที่บุคคลมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดผล (Harms) ขึ้นแต่บุคคลผู้มีหน้าที่ไม่กระทําตาม หน้าที่ผลจึงเกิดขึ้น กฎหมายอาญาซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีล ธรรม อันดีของประชาชนจึงกําหนดเอาผิดแก่การไม่กระทําที่ก่อให้เกิด ผลร้าย (Harms) ไว้ให้เป็นอาญา 2 กรณี กล่าวคือ 1) การงดเว้น (การไม่กระทํา) ซึ่งผู้งดเว้นมีหน้าที่ที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกัน ผล และ 2) การละเว้นการกระทํา ซึ่งจะได้อธิบายในรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) การงดเว้น (การไม่กระทํา) ที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผล (Restraining) การ งดเว้นการที่จักต้องกระทํา (Restraining) หมายความว่า งดเว้นไม่กระทําในสิ่งที่ตนมีหน้าที่ต้อง กระทํา “เพื่อ ป้องกันผล” ก็แสดงว่ากฎหมายอาญาหมายถึง หน้าที่ที่จักต้องกระทํา นั้นต้องเป็น “หน้าที่โดยเฉพาะเจาะจง” ที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันมิให้ เกิดผลอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นนั่นเอง กฎหมายอาญาจึงถือว่าผู้ไม่กระ ทําโดยการงดเว้นการกระทําเช่นว่านี้เป็นผู้กระทําด้วยฉะนั้น ผู้งด เว้น การกระทําที่จะต้องรับผิดตามกฎหมายอาญานั้น จะต้องปรากฏว่า เป็นการงดเว้นไม่กระทํา หน้าที่ที่สําคัญอันเป็นหัวใจของมาตรา 59 วรรคท้าย คือ “หน้าที่เพื่อป้องกัน” ซึ่งหากผู้งดเว้นไม่ มีหน้าที่เช่นว่านี้ ผู้ไม่กระทําย่อมไม่ต้องรับผิดต่อผลที่เกิดขึ้น ในที่นี้ของกล่าวถึงหน้าที่ เพื่อ ป้องกันผลในรายละเอียดว่าหน้าที่เพื่อป้องกันไม่ให้ผลเกิดขึ้นนั้น มีหน้าที่อะไรบ้าง

(2) หน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ (Statutory duty) หน้าที่ตาม กฎหมายที่ว่านี้ มีขึ้นเพื่อให้บุคคลทั่วไปทราบว่าตนเองมีหน้าที่ดังกล่าว ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งกฎหมายได้ กําหนดหน้าที่ตามกฎหมาย ให้ผู้มีความสัมพันธ์บางจําพวกที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามที่กฎหมาย บัญญัติไว้ เช่น (ก) หน้าที่ของบิดา มารดา ต้องเลี้ยงดูบุตรที่อยู่ใน ภาวะช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ซึ่ง หากบิดา มารดาไม่จัดหา นม อาหาร หรือรักษาพยาบาลบุตรตามสมควร บุตรถึงแก่ความตาย ดังนี้ บิดา มารดา อาจต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา หากการไม่ช่วยเหลือ บุตรเช่นว่านั้น เกิดโดยความตั้งใจของบิดาหรือมารดา หรืออาจจะต้อง รับผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ ความตาย หากบิดาหรือ มารดาไม่ระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เช่นว่านั้น ( (ข) หน้าที่ของ บุตรต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา เป็นการตอบแทนซึ่งกันและกัน ระหว่างบิดา มารดาและ บุตร (Mutual dependence) (ค) หน้าที่ของ สามี ภริยาที่จะต้องรับผิดชอบ ช่วยเหลือในการ ดํารงชีวิต ความเป็น อยู่ของกันและกัน (ปกป้อง ศรีสนิท,2561).

(3) หน้าที่จากการยอมรับโดยเจาะจงหรือสัญญา (Duties arising from a specific acceptance or contract) หน้าที่จากการยอมรับ โดยเจาะจงหรือสัญญานี้เป็นหน้าที่ ที่เกิดจากการเข้ารับสัญญาด้วย ความสมัครใจ ในอันที่จะผูกพันตนให้ต้องปฏิบัติตามหลักสัญญา ต้อง เป็นสัญญา (Promise is promise) ซึ่งสัญญาในกรณีนี้เป็นสัญญา เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลซึ่ง มีการกําหนดชัดแจ้งว่า ถ้าผู้กระทําไม่ทํา หน้าที่ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ว่าจะหลงลืมหรือเจตนาก็ ถือเป็นการงด เว้นปฏิบัติตามหน้าที่ ถ้าหากงดเว้นโดยเจตนาก็ต้องรับผิดฐานเจตนา ในความผิดที่ เกิดผลนั้นขึ้น หรือถ้าหากงดเว้นโดยประมาทก็ต้องรับ ผิดฐานประมาทในฐานความผิดที่เกิดผล นั้นขึ้นแล้วแต่กรณี หน้าที่ เช่นว่านี้เป็นหน้าที่ต้องกระทําต่อบุคคลภายนอกด้วยมิใช่เป็นเพียง หน้าที่ต้องกระทําต่อคู่สัญญาเท่านั้น เช่น A ถูก B จ้างให้เป็นผู้ดูแล ความปลอดภัยบริเวณสระ ว่ายน้ํา (lifeguard) ของ B, A จึงมีหน้าที่ ตามสัญญาที่ตกลงไว้กับ B ฉะนั้น หากเด็กชาย C ซึ่งยัง ว่ายน้ําไม่ แข็งแรงกําลังจะจมน้ําตาย A มิได้เข้าช่วยเหลือเด็กชาย C โดย ประมาท (ขาดความ ระมัดระวังเอาใจใส่หน้าที่) ถ้าหากเด็กชาย C จมน้ํา แล้วตาย ย่อมถือได้ว่า A งดการกระทําตาม หน้าที่อันเกิดจากสัญญา (Duty upon contract) ในการป้องกันมิให้เกิดผล (ความตายของ เด็กชาย C) A จึงต้องรับผิดต่อความตายของเด็กชาย C ฐานประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความ ตายตามมาตรา 291 ประกอบมาตรา 59 วรรคท้าย

(4) หน้าที่อันเกิดจากการกระทําครั้งก่อนๆ ของตน หรือเข้ารับภาระอัน หนึ่งอันใด ไว้ก่อนหน้า (Duties which arise from their own actions or take any load in advance) หน้าที่อันเกิดจากการก ระทําครั้งก่อนๆ ของตนนั้น เป็นหน้าที่ที่เกิดจากการที่บุคคลได้กระทํา การอย่างหนึ่งอย่างใดไว้ก่อนหน้านั้น จนเกิดเป็นหน้าที่ติดตัว และ กลายเป็นหน้าที่เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดผลขึ้นด้วย ได้แก่ กรณีที่บุคคล คนหนึ่งกระทําการให้เกิดต้นเหตุแห่งภยันตราย ไม่ว่าจะ โดยเจตนา หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือโดยประมาทก็ตาม กรณีนี้บุคคลนั้นย่อม มีหน้าที่กระทําเพื่อ ป้องกันผลที่จะเกิดภยันตรายขึ้นตามที่ตนได้ก่อขึ้น ในชั้นแรก หากบุคคลนั้นงดเว้นการที่จักต้อง กระทําเพื่อป้องกันผล บุคคลนั้นจะต้องมีความรับผิดต่อผลที่เกิดขึ้นภายหลัง ส่วนกรณี หน้าที่อัน เกิดจากการเข้ารับภาระอันหนึ่งอันใดไว้ล่วงหน้านั้น ได้แก่ การเข้ารับภาระที่จะต้องปฏิบัติ ต่อเนื่องแต่งดเว้นกระทําตามหน้าที่นั้น ไม่ตลอดจนเกิดผลขึ้น เช่น A รับอาสาพา B ซึ่งเมาสุราจน ครองสติไม่ ได้จากร้านอาหารแห่งหนึ่งเพื่อพากลับบ้าน แต่ต่อมา A รู้สึกว่าไม่ อยากไปส่ง B แล้ว จึงปล่อย B ทิ้งเสียไว้กลางทาง ทั้งๆ ที่ ถ้า A ปล่อยให้ B อยู่ในร้านอาหารย่อมปลอดภัยกว่านํา ออกมาเพื่อทิ้งไว้ กลางทาง หาก B ถึงแก่ความตายเพราะเดินตกคลองจนจมน้ําตาย ดังนี้ A ย่อม มีความผิดฐานฆ่าคนตายตามมาตรา 288 ประกอบ มาตรา 59 วรรคท้าย

(5) หน้าที่อันเกิดจากความสัมพันธ์พิเศษ (Duty upon special relationship) หน้าที่อันเกิดจากความสัมพันธ์พิเศษระหว่างผู้งดเว้น และผู้ได้รับผลจากการงดเว้น ซึ่งเป็นหน้าที่ ไม่ใช่หน้าที่ตามที่กฎหมาย บัญญัติ ไม่ใช่หน้าที่ตามสัญญา แต่เป็นหน้าที่ที่ถูกกําหนดขึ้นตามหลัก คุณธรรม ศีลธรรม (Morality) เพื่อให้บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติต่อกัน (6) ความผิดโดยการละเว้น (Omission) ความผิดโดยการละเว้นนี้ เป็นกรณีที่ บุคคลวางเฉยไม่กระทําการใดๆ ตามหน้าที่ทั่วๆ ไป ที่ กฎหมายบัญญัติให้กระทํา แต่ถึงขนาดเป็น หน้าที่เฉพาะตามที่ กฎหมายบัญญัติในความผิดฐานงดเว้นการกระทํา (Restraining) ความผิด โดยการละเว้นนี้เกิดจากจุดประสงค์ของกฎหมายอาญาที่ให้ เป็นเครื่องมือในการกําหนดขอบเขต หน้าที่ทั่วๆ ไป ที่บุคคลจะต้องก ระทํา ซึ่งหน้าที่ทั่วๆ ไป เหล่านั้นเกิดขึ้นและพัฒนาจากหน้าที่ ทางศีล ธรรม หน้าที่เกิดจากความจําเป็นในการบริหารราชการของรัฐ หน้าที่ที่ ก่อให้เกิดความ สะดวกในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยกฎหมาย บัญญัติให้การละเว้นนั้นเป็นความผิดทันทีที่มี พฤติการณ์ว่าไม่กระทํา ตามหน้าที่ทั่วๆ ไป ดังกล่าว ดังเช่นหน้าที่ทางศีลธรรมตามมาตรา 374 บัญญัติให้การละเว้นไม่ช่วยเหลือ ตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตน อาจช่วยได้แต่ไม่ช่วยตาม ความจําเป็น มาตรา 374 นี้ เป็นบทบัญญัติ ที่มุ่งหมายบังคับให้บุคคลแสดงน้ําใจ ทําหน้าที่เป็น พลเมืองที่ดี หรือที่ เรียกกันว่า “Good Samaritan Law” หรือกรณีหน้าที่อันเกิด กฎหมาย บัญญัติให้บุคคลต้องกระทําเพื่อป้องกันผลประโยชน์ สาธารณะ หรือป้องกันสาธารณภัย เช่น มาตรา 383 กฎหมายบัญญัติ ให้บุคคลต้องช่วยระงับสาธารณภัยอื่นหรือเพลิงไหม้ ในกรณีที่ เจ้า หน้าที่เรียกให้ช่วยระงับแล้วไม่ละเว้นไม่กระทําตาม เป็นต้น (เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, 2551)

3) การแบ่งแยกความผิดอาญาในแง่เจตนา การกระทําความผิดอาญาในแง่ของเจตนา แบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้ 3.1) ความผิดที่กระทําโดยเจตนา ซึ่งเป็นการกระทําภายในจิตใจของผู้ กระทํา คือผู้กระทําการกระทําไปโดยรู้สํานึก (คิดจะกระทํา ตกลงใจจะ กระทําตามที่คิด และกระทําลง ไปตามที่คิดและตกลงใจนั้น) ในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผล (Direct intent) หรือย่อม เล็งเห็นผล (Indirect intent) (มาตรา 59 วรรคสอง) เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาย ตามมาตรา 288 แห่งประมวล กฎหมายอาญา 3.2) ความผิดที่กระทําโดยประมาท ซึ่งเป็นการกระทําที่ผู้กระทําไม่มี เจตนาแต่ ได้กระทําลงไปโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งผู้กระทําใน ภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและ พฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ ความระมัดระวังได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ (มาตรา 59 วรรคสี่) เช่น ความผิดฐานกระทําโดยประมาทและการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย ตาม มาตรา 291 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

3.3) ความผิดที่ไม่ต้องมีเจตนาและไม่ต้องประมาท เช่น ความผิดฐาน ทําให้เกิด ปฏิกูลแก่น้ําในบ่อ สระ หรือที่ขังน้ําอันมีไว้สําหรับประชาชน ใช้สอย ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ ตาม มาตรา 380 แห่งประมวล กฎหมายอาญา 3.4) ความผิดนอกเหนือเจตนา เช่น กรณีที่ผู้กระทํามีเพียงเจตนาทํา ร้าย ไม่มี เจตนาทําให้ผู้อื่นตาย แต่ผลการทําร้ายนั้นทําให้ผู้อื่นตายก็ ต้องรับผิดในความตายอันเป็นผลจาก การทําร้ายอยู่นั่นเอง (ตาม ทฤษฎีผลธรรมดา มาตรา 63)

ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2564 Vol. 10 No. 2 April - June 2021 403 3.5) ความผิดที่ต้องรับผิดในผลสุดท้ายแห่งเจตนา เช่น ความผิดฐาน วางเพลิง เผาทรัพย์ของผู้อื่นจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 224 แห่งประมวล กฎหมายอาญา ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้กระทํา เพียงต้องการวางเพลิงเผาทรัพย์ (บ้านของผู้อื่น) แต่คนที่ นอนหลับ อยู่ในบ้านถูกไฟคลอกถึงแก่ความตาย ดังนี้ แม้ผู้วางเพลิงเผาทรัพย์ ไม่ต้องการให้ใคร ตาย แต่เมื่อมีผลสุดท้ายเกิดขึ้น คือ ความตายของ คนที่นอนหลับในบ้าน ผู้วางเพลิงเผาทรัพย์ก็ ต้องรับผิดเพิ่มขึ้น

4.การแบ่งแยกความผิดอาญาในแง่ของผู้กระทํา การแบ่งแยกความผิดอาญาในแง่ของผู้กระทําแบ่งออกได้เป็น 2 ประการ ดังต่อไปนี้ 4.1) ความผิดทั่วไป หมายถึง ความผิดที่บุคคลทั่วไปเป็นผู้กระทํา ความผิดได้ โดยสังเกตจากบทบัญญัติความผิดจะเริ่มต้นด้วยคําว่า “ผู้ ใด” เช่น มาตรา 288 แห่งประมวล กฎหมายอาญา 4.2) ความผิดที่กําหนดคุณสมบัติของผู้กระทํา หมายถึง ความผิดที่กํา หนดไว้ โดยเฉพาะว่าผู้กระทําจะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น มาตรา 147 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา เริ่มต้นด้วยคําว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน” หรือ มาตรา 301 ใช้คําว่า “หญิงใด” (ทวีเกียรติ มีนะ กนิษฐ,2560)

5. การแบ่งแยกความผิดอาญาในแง่โทษ การแบ่งแยกความผิดอาญาในแง่โทษ แบ่งออกเป็น 2 ประการ ดังต่อ ไปนี้ 5.1) ความผิดลหุโทษ (Petty Offences) ความผิดลหุโทษนี้เป็น บทบัญญัติของ กฎหมายที่มุ่งเน้นเพื่อไม่ให้บุคคลใช้สิทธิของตนที่ก่อ ให้เกิดความรําคาญแก่ผู้อื่นหรือแก่สังคม ส่วนมาก และเพื่อให้เป็นการป้องปรามมิให้เป็นความผิดอาญาที่ขยาย ผลหนักขึ้นเกินเหตุจนไม่ สามารถอยู่กันอย่างปกติสุข 5.2) ความผิดทั่วไป ได้แก่ ความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าความผิด ลหุโทษ 6. การแบ่งแยกความผิดอาญาในแง่การดําเนินคดี ความผิดอาญาในแง่การดําเนินคดี แบ่งแยกย่อยได้เป็น 2 ประการ คือ 6.1) ความผิดอาญาแผ่นดิน คําว่า “ความผิดอาญาแผ่นดิน” กับคําว่า “ความผิดต่อแผ่นดิน” นั้น เป็นคําที่มักได้ยินอยู่เสมอ ซึ่งความจริง แล้วทั้งสองคํานี้มีนัย ความหมายเหมือนกัน ความผิดอาญาแผ่นดิน คือ ความผิดที่หากมีการกระทําแล้วนอกจากจะมี ผลกระทบต่อผู้ที่ถูกก ระทําโดยตรงแล้ว ยังมีผลกระทบต่อสังคมโดยรวมอีกด้วย ดังนั้น รัฐ จึงต้อง เข้ามาดําเนินการเอาตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษ แม้ผู้ที่ถูกกระทํา นั้นจะไม่ติดใจเอาความหรือ ดําเนินคดีกับผู้กระทําผิดต่อไปแล้วก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกัน สังคมโดยรวม 6.2) ความผิดอันยอมความได้ คําว่า “ความผิดอันยอมความได้” กับคํา ว่า “ความผิดต่อส่วนตัว” ก็มีนัยความหมายเหมือนกัน เพียงแต่ว่าถ้อย คําดังกล่าวนั้นได้มีการ บัญญัติไว้ในกฎหมายคนละฉบับกันและใช้ถ้อย คําต่างกันเท่านั้น กล่าวคือ ในประมวลกฎหมาย

ข้อพิจารณาว่าความผิดใดเป็นความผิดอันยอมความได้ ความผิดที่กฎหมายถือว่าเป็นความผิดอันยอมความได้นั้น ได้มีกรอบ ความคิดในทางนิติ บัญญัติว่า “ความผิดอันยอมความได้” ควรมี ลักษณะดังนี้ 1) เป็นความผิดที่มีความเป็นอาชญากรรมน้อย 2) เป็นความผิดที่มีคุณธรรมทางกฎหมายที่เป็นเรื่องส่วนตัวอย่าง มากที่พึงเคารพใน เจตจํานงของผู้เสียหายหรือมีคุณธรรมทาง กฎหมายที่เป็นส่วนบุคคลโดยแท้ 3) เป็นความผิดที่มุ่งประสงค์จะคุ้มครองผู้เสียหายอย่างแท้จริง 4) ต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าความผิดนั้นเป็น “ความผิด อันยอมความได้” เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา 326 - มาตรา 332 (ดูมาตรา 333 วรรคหนึ่ง), ความผิด ฐานฉ้อโกง มาตรา 341 มาตรา 342 และมาตรา 344 – มาตรา 347 (ดูมาตรา 348), ความผิด ฐานโกงเจ้าหนี้ มาตรา 349 – มาตรา 350 (ดูมาตรา 351), ความผิด ฐานยักยอก มาตรา 352 – มาตรา 355 (ดูมาตรา 356), เป็นต้น โดย จะพิจารณาเห็นได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่ ผู้เสียหายหรือผู้ ถูกกระทําโดยเฉพาะนั้นได้รับความเสียหายมากกว่ารัฐ จึงควรที่จะให้ผู้ เสียหาย เป็นผู้วินิจฉัยหรือตัดสินใจว่าควรใช้บังคับกฎหมายอาญาแก่ผู้ กระทําผิดหรือไม่ ถ้าผู้เสียหายไม่ ติดใจจะดําเนินคดีกับผู้กระทําความ ผิดก็สามารถยอมความกันได้ (คณิต ณ นคร, 2551)

โทษทางอาญา ตามกฎหมายอาญามาตรา 18 ได้กำหนดโทษไว้ 5 สถาน คือ ประหาร ชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน การลงโทษประหารชีวิต กฎหมายกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธี ฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย โทษจำคุก โทษจำคุกให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำ พิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังก่อน ศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุก วิธีการให้ศาลยกโทษจำคุกได้ ตามมาตรา55 โทษจำคุกที่ผู้ กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเพียงสามเดือนหรือน้อยกว่า ศาล จะกำหนดโทษให้น้อยลงอีกก็ได้ หรือโทษจำคุกที่ผู้กระทำผิดจะต้องรับ มีกำหนดเพียงสามเดือนหรือน้อยกว่าและมีโทษปรับด้วย ศาลจะ กำหนดโทษจำคุกน้อยลงหรือยกโทษจำคุกและให้เหลือเพียงปรับอย่าง เดียว

รอการลงโทษ ตามมาตรา56 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือ ปรับ และศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ ก็ตามหรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น (๑) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ (๒) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำ โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน (๓) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้ว มากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำ โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษและเมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรมสุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือการรู้สึก ความผิด และพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควร ปรานีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือปรับ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะ เวลาที่ศาลจะได้กำหนดแต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้

กฎหมายกำหนดวิธีการ 2 วิธี คือ มีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่ รอการกำหนดโทษไว้ หรือศาลกำหนดโทษแต่รอการลงโทษนั้น แต่หากความปรากฏแก่ศาลว่าผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตาม เงื่อนไขที่กำหนด ศาลอาจตักเตือนผู้กระทำความผิด หรืจะกำหนดการ ลงโทษที่ยังไม่ได้กำหนดหรือลงโทษที่รอไว้ก็ได้ โทษกักขัง เป็นโทษจำกัดเสรีภาพในร่างกายแต่เบากว่าโทษจำ คุก ผู้ต้องโทษกักขังจะถูกกักตัวไว้ในสถานที่กักขังซึ่งมิใช่เรือนจำ โทษ เป็นโทษที่เปลี่ยนจากโทษจำคุกมาเป็นกักขัง หากผู้กระทำความผิดซึ่ง มีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ถ้าไม่ ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมา ก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิด ลหุโทษ ศาลจะให้ลงโทษกักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้นก็ได้ โทษปรับ ผู้ใดต้องโทษปรับ ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล กรณีไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ศาลจะ ยึดทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ สั่งให้กักขังแทนค่าปรับ แต่ถ้าศาลเห็นว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่า ปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่งให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปก่อน ก็ได้ โทษริบทรัพย์สิน ได้แก่ ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ ในการกระทำความผิด หรือ ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด เว้นแต่เป็นทรัพย์สิน ของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด

การยอมรับวัตถุประสงค์ 5 ประการ สำหรับการบังคับใช้กฎหมายอาญาโดยการลงโทษ ได้แก่ การตอบแทน การป้องปราม การหมดความสามารถ การทำให้กลับ คืนดีและการคืนสภาพ เขตอำนาจศาลต่าง ๆ ให้น้ำหนักแตก่คุณค่า ต่างกันไป การตอบแทน (retribution): มองว่าอาชญากรสมควรถูกลงโทษใน ทางใดทางหนึ่ง เป็นเป้าหมายที่มองกันแพร่หลายมากที่สุด อาชญากร ใช้ข้อได้เปรียบอย่างไม่เหมาะสม หรือก่อความเสียหายอย่างอยุติธรรม ต่อผู้อื่น ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงต้องทำให้อาชญากรได้รับผลเสียอัน ไม่น่าพึงประสงค์เพื่อให้ "สมดุลกัน" ในทำนองเดียวกัน ประชาชน ยอมรับต่อกฎหมายเพื่อให้ได้รับสิทธิในการไม่ถูกฆ่า และหากมี ประชาชนฝ่าฝืนกฎหมายข้อนี้ ถือว่าพวกเขายอมสละสิทธิที่กฎหมาย มอบให้ ดังนั้นบุคคลที่ฆ่าผู้อื่นจึงอาจถูกประหารชีวิตด้วย ทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องมี "การรักษาสมดุล" การป้องปราม (deterrence): การป้องปรามปัจเจกมุ่งต่อผู้กระทำ ความผิดคนใดคนหนึ่ง เป้าหมายคือการกำหนดบทลงโทษให้หนักเพียง พอเพื่อให้ประชาชนไม่คิดกระทำความผิด การป้องปรามทั่วไปมุ่งต่อ สังคมทั้งหมด การหมดความสามารถ (incapacitation): ออกแบบมาเพื่อกัน อาชญากรจากสังคมเพื่อให้ปลอดภัยจากการกระทำความผิด โทษอาจ มีทั้งจำคุก ประหารชีวิตหรือเนรเทศ

การทำให้กลับคืนดี (rehabilitation): มุ่งแปลงสภาพผู้กระทำความ ผิด ให้กลับเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณค่า เป้าหมายหลักคือป้องกัน การกระทำความผิดซ้ำโดยการจูงใจผู้กระทำความผิดว่าการกระทำของ เขาผิด การคืนสภาพ (restoration): ตามทฤษฎีการลงโทษที่เน้นผู้ เสียหาย เป้าหมายคือการใช้อำนาจรัฐแก้ไขความเสียหายใด ๆ ที่ผู้กระทำความผิดกระทำต่อผู้เสียหาย การทำให้กลับคืนดี (rehabilitation): มุ่งแปลงสภาพผู้กระทำความ ผิดให้กลับเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณค่า เป้าหมายหลักคือป้องกัน การกระทำความผิดซ้ำโดยการจูงใจผู้กระทำความผิดว่าการกระทำของ เขาผิด การคืนสภาพ (restoration): ตามทฤษฎีการลงโทษที่เน้นผู้ เสียหาย เป้าหมายคือการใช้อำนาจรัฐแก้ไขความเสียหายใด ๆ ที่ผู้ กระทำความผิดกระทำต่อผู้เสียหาย

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของ สิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ (1) ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ (2) ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 8 ประเภท ได้แก่ (1) สิทธิบัตร (2) อนุสิทธิบัตร (3) เครื่องหมายการค้า (4) ความลับทางการค้า และ (5) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (6) แบบผังภูมิของวงจรรวม (7) คุ้มครองพันธุ์พืช (8) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของ ในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของ หนังสือซึ่งจับต้องได้ สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหาก จากความเป็นเจ้าของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เจ้าของหนังสือ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการ ทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น เช่น เจ้าของหนังสือจะไม่ สามารถทำหนังสือขึ้นมาจำหน่ายเองโดยปราศจากความยินยอมของ เจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิทางกฎหมายแต่ เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น หรือผู้ซื้อซอฟต์แวร์จะเป็นเจ้าของ สินค้านี้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำ ซอฟต์แวร์นั้นขึ้นมาจำหน่ายเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิ ก่อนเท่านั้น ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์ คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้อง กับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของ ตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อ และถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกัน การแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

กระบวนการยุติธรรมของไทย กระบวนการยุติธรรม หมายถึง การดำเนินการคดีเมื่อมีข้อ พิพาทเกิดขึ้น ระหว่างผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานมีการ สืบสวนหาข้อเท็จจริงกับผู้กระทำผิดจนถึงการฟ้องร้องต่อศาล ทั้ง ในกรณีของคดีแพ่งและคดีอาญา บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม 1. ประชาชน หมายถึง ประชาชน หรือราษฎรเป็นบุคคลหลาย คนซึ่งถือเป็นทั้งหมด ดังในกลุ่มชาติพันธุ์หรือชาติ ตัวอย่างเช่น คน ยิวเรียกรวม ๆ ว่า "ชนยิว" คนยิปซียุโรปประกอบเป็นส่วนใหญ่ของ "ชนโรมานี" และคนปาเลสไตน์เรียก "ชนปาเลสไตน์" 2. พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัด อำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด 3. พนักงานอัยการ เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล อาจเป็นข้าราชการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเจ้าพนักงาน อื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้ ข้าราชการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดผู้ มีอำนาจ และหน้าที่ในการดำเนินคดี หรือทำหน้าที่ในฐานะทนายแผ่น ดิน, อัยการ ก็เรียก 4. ทนายความ คือ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าต่าง แก้ต่างคู่ความ ในเรื่องอรรถคดี, เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย ผู้ที่สภาทนายความได้รับจด ทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความได้ 5. ศาล มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

ศาลแบ่งออกเป็น 3 ระดับ 1. ศาลชั้นต้น ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีในชั้นต้นทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญา ได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่ง กรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาล อาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาล ยุติธรรมอื่น เช่น ศาลภาษีอากรกลาง

2. ศาลอุทธรณ์ ศาลยุติธรรมชั้นสูง ถัดจากศาลฎีกาลงมา ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาล อุทธรณ์ภาค มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาบรรดาคดี ที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือ คำสั่งของศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่า ด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอำนาจศาล และมีอำนาจ พิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของ ศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษ ประหารชีวิตหรือ จำคุกตลอดชีวิต เมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาล อุทธรณ์และศาล อุทธรณ์ภาค วินิจฉัยชี้ขาดคำร้อง คำขอที่ยื่นต่อศาล อุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ตามกฎหมาย และ วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคมี อำนาจวินิจฉัยได้ตาม กฎหมายอื่นด้วย

3. ศาลฎีกา ศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด ซึ่งมีอำนาจพิจารณา พิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์ คำพิพากษา หรือคำสั่ง ของศาลอุทธรณ์และ ศาลอุทธรณ์ภาค และคดีที่ อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรง ต่อศาลฎีกา ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการ อุทธรณ์ หรือฎีกา และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ ศาลฎีกา มีอำนาจพิจารณาพิพากษาและมีอำนาจ วินิจฉัย ชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกา ตามกฎหมาย

จัดทำโดย จัดทำโดย นายธนัท นายธนัท ต่ายธานี ต่ายธานี นายยศปกรณ์ นายยศปกรณ์ เรืองเเสน เรืองเเสน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 6/4

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.