65ปี1เทอม2.เอกสารประกอบการสอน หน่วยที่1 หลักการ แนวคิดทางจิตวิทยาพัฒนาการ Flipbook PDF

65ปี1เทอม2.เอกสารประกอบการสอน หน่วยที่1 หลักการ แนวคิดทางจิตวิทยาพัฒนาการ

83 downloads 113 Views 5MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

1 เอกสารประกอบการสอนวิชา 801104 จิตวิทยาพัฒนาการและพฤติกรรมมนุษย หนวยที่ 1 หลักการ แนวคิดทางจิตวิทยาพัฒนาการ หลักการและปจจัยที่มีผลตอพัฒนาการของมนุษย อาจารยพ.ต.ท.หญิง ธัญญารักษ แสงบุญไทย -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- วัตถุประสงคเชิงพฤติกรรม ภายหลังการศึกษาหัวขอนี้แลว นักศึกษาจะสามารถ 1. บอกความหมายและจําแนกความแตกตางของการเจริญเติบโตและพัฒนาการได 2. อธิบายแนวคิด ความสําคัญของการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการได 3. อธิบายลักษณะพัฒนาการที่สําคัญในแตละชวงวัยของชีวิตได 4. บอกบทบาทของพยาบาลในการสงเสริมพัฒนาการได บทนํา การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษยเปนเรื่องสําคัญและจําเปนที่มนุษยทุกคนควรไดเรียนรูและมีความเขาใจ ถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นตั้งแตอยูในครรภมารดาจนถึงวัยสูงอายุวามีลําดับขั้นตอนอยางไร การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ที่เกิดขึ้นนั้นทําใหมนุษยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งดานรางกาย สติปญญา อารมณ และสังคมอยางไร สงผลใหมนุษยตองมีการ ปรับตัวตอการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในดานตาง ๆ ในแตละชวงวัยที่เหมาะสม ความรูดังกลาวนอกจากจะชวยใหเกิด ความเขาใจในตนเองและผูอื่นแลว ยังเปนประโยชนตอผูที่ปฏิบัติงานในสายงานพยาบาลวิชาชีพอีกดวย เพราะพยาบาล เปนบุคลากรที่ทํางานเกี่ยวกับมนุษยทุกวัยทั้งในมิติดานการรักษาพยาบาล การสงเสริมสุขภาพ การปองกันและควบคุม โรค และการฟนฟูสมรรถภาพ พยาบาลจึงตองมีความรูเรื่องพัฒนาการของมนุษยในทุกดานอันจะเปนการตอบสนอง ความตองการของผูรับบริการไดอยางครอบคลุมองครวมทั้ง 4 มิติ สังเขปหัวขอ 1. แนวคิดทางจิตวิทยาพัฒนาการ 2. ความหมาย และนิยามศัพทที่ใชในจิตวิทยาพัฒนาการ 3. จุดมุงหมายของการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการ 4. ขอบเขตของการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการ 5. หลักของพัฒนาการ 6. ปจจัยที่มีผลตอการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย 7. การแบงชวงวัย และลักษณะพัฒนาการเดน ๆ ที่สําคัญในแตละชวงวัยของชีวิต 8. พยาบาลกับการสงเสริมพัฒนาการและการปรับตัวของมนุษย 1. แนวคิดทางจิตวิทยาพัฒนาการ 1.1 การเจริญเติบโตเปนการเปลี่ยนแปลงของรางกายไปสูวุฒิภาวะดานปริมาณ โดยการเพิ่มจํานวนและ/หรือขนาด ของเซลล รวมทั้งขนาดของรางกาย สวนพัฒนาการเปนการเปลี่ยนแปลงไปสูวุฒิภาวะดานคุณภาพ ทําใหเกิดทักษะ ความสามารถใหม ๆ และการปรับตัวดานรางกาย อารมณ สังคม และสติปญญา 1.2 การศึกษาพัฒนาการของมนุษยมีหลายวิธี ซึ่งสามารถเลือกใชไดตามความเหมาะสม การศึกษาพัฒนาการของ มนุษยจะชวยใหพยาบาลเขาใจตนเอง เขาใจผูอื่น ยอมรับในความเปนบุคคลและความแตกตางระหวางบุคคล ซึ่งจะเปน ประโยชนในการใหบริการสุขภาพแบบองครวม


2 1.3 มนุษยทุกชาติทุกภาษามีหลักพัฒนาการเปนแบบฉบับเดียวกัน แตอัตราพัฒนาการของแตละบุคคลจะแตกตางกัน อันเปนผลเนื่องมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดลอม 1.4 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษยไดรับอิทธิพลจากองคประกอบทั้งภายในและภายนอกรางกาย ซึ่ง หมายถึงพันธุกรรมและสิ่งแวดลอม โดยทั้งสององคประกอบจะมีสวนรวมกันในการกําหนดคุณลักษณะและพฤติกรรม ของมนุษยแตละคน 2. ความหมาย และนิยามศัพทที่ใชในจิตวิทยาพัฒนาการ 2.1 ความหมายของจิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) หมายถึง จิตวิทยาสาขาหนึ่งซึ่งศึกษาถึงพัฒนาการของมนุษย ตั้งแตปฏิสนธิไปจนถึงระดับวุฒิภาวะสูงสุด และศึกษาพิจารณาอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดลอมตอพัฒนาการของ มนุษยในวัยตาง ๆ (พรรณทิพย ศิริวรรณบุศย, 2564) 2.2 นิยามศัพทที่ใชในจิตวิทยาพัฒนาการ การเจริญเติบโต (Growth) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในดานการเพิ่มขนาดของรางกายหรือเปนการเปลี่ยนแปลง ดานปริมาณ โดยการเพิ่มจํานวนเซลลและ/หรือขนาดของเซลล รวมทั้งสัดสวนของรางกายมีการเพิ่มขึ้นของขนาดและ โครงสรางของรางกาย ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแตปฏิสนธิจนถึงการมีวุฒิภาวะ พัฒนาการ (Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของรางกายดานสมรรถภาพและหนาที่ เปนการ เปลี่ยนแปลงดานคุณภาพ ทําใหเกิดทักษะ ความสามารถใหม ๆ และการปรับตัวดานตาง ๆ อยางมีแบบแผนและดําเนิน ไปอยางตอเนื่องเปนขั้น ๆ ทําใหมีความสามารถใหม ๆ เพิ่มขึ้น ไดแก ทักษะดานการใชกลามเนื้อและการเคลื่อนไหว ทักษะดานภาษาหรือการสื่อสาร พัฒนาการดานสติปญญา พัฒนาการดานสังคม เปนตน วุฒิภาวะ (Maturation) หมายถึง การบรรลุถึงขั้นการเจริญเติบโตเต็มที่ในระยะใดระยะหนึ่งตามขั้นของ พัฒนาการ และมีความพรอมที่จะทํากิจกรรมนั้นไดเหมาะสมกับวัย เชน อวัยวะเกี่ยวกับการเปลงเสียงจะเจริญเติบโต พรอมกอนที่เด็กจะพูด การเรียนรู (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอยางถาวร อันเปนผลจากการไดรับ ประสบการณหรือการฝกหัด ไมไดเปนผลมาจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาติญาณหรือลําดับขั้นของการ เจริญเติบโตตามพัฒนาการตาง ๆ เมื่อมนุษยเจริญเติบโตขึ้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในดานตาง ๆ 4 ดาน ไดแก ดานรางกาย สติปญญา อารมณและ สังคม มนุษยจะมีการเรียนรูปรับเปลี่ยนตัวเองใหเหมาะสมในการดําเนินชีวิตในสังคมและวัฒนธรรมของตน ดังนั้นการที่ เราจะเขาใจสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมของมนุษยในแตละบุคคล หรือในแตละชวงวัย เราจึงตองศึกษาปจจัยตาง ๆ ที่ ทําใหมนุษยแตละคนมีความแตกตางกัน วิชาจิตวิทยาพัฒนาการเปนศาสตรที่พยายามทําความเขาใจ และอธิบาย พัฒนาการและพฤติกรรม รวมถึงวิธีการที่จะชวยสงเสริมพัฒนาการของมนุษย ซึ่งเปนการศึกษาที่จะตองใชศาสตรหลาย แขนงรวมกัน โดยจุดมุงหมายและขอบเขตของการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการมีดังนี้ 3. จุดมุงหมายของการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการ การเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เกิดขึ้นนั้นทําใหมนุษยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งดานรางกาย สติปญญา อารมณ และ สังคม ดังนั้นการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษยจึงมีจุดมุงหมายใหผูเรียน - เขาใจลักษณะธรรมชาติของมนุษยแตละวัยและความแตกตางระหวางบุคคล ทําใหผูเรียนเขาใจเกี่ยวกับตนเองมาก ขึ้น ซึ่งเปนผลใหเกิดความเขาใจในผูอื่นดวยทําใหสามารถใชชีวิตรวมกับผูอื่นไดอยางมีความสุข - สามารถยอมรับความเปนปจเจกบุคคลของแตละคน เนื่องจากผูเรียนมีความเขาใจแบบแผนพัฒนาการของบุคคล ทําใหเกิดการยอมรับในความเปนปจเจกบุคคลของบุคคลนั้นได - สามารถประเมินและคัดกรองการเจริญเติบโตและพัฒนาการของผูรับบริการได - สามารถกําหนดแผนการสงเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการไดอยางเหมาะสม รวมทั้งการปองกันและแกไข ปญหาพัฒนาการของผูรับบริการได


3 4. ขอบเขตของการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการ จากที่ไดกลาวมาแลววา การศึกษาพัฒนาการของมนุษยนั้นเริ่มตั้งแตระยะปฏิสนธิจนถึงจุดที่มีพัฒนาการสูงสุดในแต ละดาน แมพัฒนาการของแตละบุคคลจะมีลักษณะเฉพาะจากปจจัยดานพันธุกรรมและสิ่งแวดลอมที่แตกตางกัน แต พัฒนาการของมนุษยทุกคนนั้นจะมีหลักการ (Principles) แบบแผน (Pattern) และกฎเกณฑ (Law) ที่เหมือนกัน การศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการนั้น เพื่อใหผูเรียนสามารถเขาใจพฤติกรรมและพัฒนาการดานตาง ๆ ของมนุษยไดชัดเจน ขึ้น จึงตองมีความรูขั้นพื้นฐานในหลาย ๆ สาขาวิชา ไดแก - ความรูทางดานจิตวิทยา (Psychology) สามารถชวยอธิบายพฤติกรรมและพัฒนาการของมนุษยทั้งในดานรางกาย สติปญญา อารมณ และสังคม - ความรูทางดานมานุษยวิทยา (Anthropology) เปนการศึกษาความเปนอยูของมนุษยในลักษณะภูมิประเทศ จึงเปน ความรูที่ชวยใหเกิดความเขาใจในสภาพธรรมชาติและพัฒนาการของมนุษย - ความรูทางดานชีววิทยา (Biology) เปนการศึกษาอิทธิพลของพันธุกรรมรวมถึงกระบวนการกําเนิดของมนุษยตั้งแต ปฏิสนธิไปจนถึงความสมบูรณของทารกหลังคลอด จึงมีการนํารูเรื่องพันธุกรรมมาชวยในการเรียนรูและเขาใจสมรรถภาพ ของเด็กเพื่อเปนแนวทางสงเสริมพัฒนาการในเด็ก - ความรูทางดานสังคมวิทยา (Sociology) เปนการศึกษาอิทธิพลของสังคมที่กอใหเกิดพฤติกรรมตาง ๆ ในมนุษย จึง เปนความรูที่จะชวยอธิบายพัฒนาการของมนุษยไดดียิ่งขึ้น 5. หลักของพัฒนาการ พัฒนาการของมนุษยจะเกิดขึ้นไดนั้น จําเปนจะตองมีการเจริญเติบโตของรางกายอยางเต็มที่จนทําใหมีวุฒิภาวะ อาร โนลด จีเซลล (Arnold Gesell) นักจิตวิทยาพัฒนาการ ไดกลาวถึงหลักของพัฒนาการ (Principle of Development) ของมนุษย ดังนี้ 5.1 พัฒนาการของมนุษย จะเปนไปตามทิศทางที่ธรรมชาติกําหนด ซึ่งแบงไดเปน 2 ทิศทาง - ทิศทางจากสวนบนลงสูสวนลาง (Cephalocaudal Law) เปนการพัฒนาในแนวดิ่ง โดยการพัฒนาในทิศทางนี้ จะยึดศีรษะเปนอวัยวะหลัก กลาวคือ อวัยวะใดก็ตามที่อยูใกลศีรษะมากที่สุด บุคคลนั้นจะควบคุมการทํางานของอวัยวะ สวนนั้นไดกอนอวัยวะที่อยูไกลศีรษะลงไป ดังนั้นเด็กทารกจะขยับศีรษะไดกอนขยับลําคอ ขยับลําคอไดกอนตนขา ขา และฝาเทา ตามลําดับ นิ้วเทาจะเปนอวัยวะสวนสุดทายที่จะสามารถควบคุมไดเนื่องจากไกลศีรษะมากที่สุด - ทิศทางจากสวนใกลไปสูสวนไกล (Proximodistal Law) เปนการพัฒนาในแนวขวาง โดยยึดลําตัวเปนอวัยวะ หลัก กลาวคือ อวัยวะใดก็ตามที่อยูใกลรางกายมากที่สุด บุคคลนั้นจะควบคุมการทํางานของอวัยวะสวนนั้นไดกอนอวัยวะ ที่อยูไกลรางกายออกไป ดังนั้นทารกจะขยับรางกายไดกอนหัวไหล ขยับหัวไหลไดกอนขยับแขน ขา และฝามือตามลําดับ นิ้วมือจะเปนอวัยวะสวนสุดทายที่ทารกจะสามารถควบคุมการทํางานได เนื่องจากเปนสวนที่อยูไกลรางกายมากที่สุด 5.2 พัฒนาการของมนุษยจะมีลักษณะตอเนื่องกัน พัฒนาการของมนุษยไมวาดานใดก็ตามไมใชเปนสภาวะที่เกิดขึ้น ไดโดยฉับพลันทันทีทันใด แตพัฒนาการทั้งหลายตองอาศัยระยะเวลาและความตอเนื่องอยางคอยเปนคอยไปเริ่มตั้งแตวัย ทารก และดีขึ้นตามลําดับในแตละวัยที่ผานไป โดยทั่วไปแลวพัฒนาการทั้งหลายของบุคคลควรจะสูงสุดเต็มที่ในวัยผูใหญ ตอนตน จากนั้นจึงเริ่มเสื่อมลงตามลําดับ เชน การพัฒนาในดานการพูดจะเริ่มตนในวัยทารกดวยการเปลงเสียงออแอ เปนคํางาย ๆ และจากนั้นจึงพูดเปนประโยคตอเนื่องในวัยเด็กดวยภาษาพื้น ๆ ทั่วไป จนกลายเปนประโยคที่ซับซอนใน วัยรุน และสละสลวยสมบูรณแบบในวัยผูใหญ เปนตน เนื่องจากพัฒนาการของมนุษยจะเปนไปอยางตอเนื่องเชนนี้ พัฒนาการในวัยตน ๆ จึงสงผลตอพัฒนาการในวัยตอไปเสมอ ดังนั้นวัยทารกจึงเปนวัยที่มีบทบาทสําคัญตอการสราง พื้นฐานทางพัฒนาการในดานตาง ๆ ของบุคคล 5.3 พัฒนาการของมนุษยจะตองเปนไปตามลําดับขั้น พัฒนาการของมนุษยนั้นจะมีแบบแผนเฉพาะของตน ดังนั้น พัฒนาการดานตาง ๆ ของมนุษยจึงมักจะเปนไปตามลําดับขั้นเสมอและจะไมมีการขามขั้น เชน เด็กจะเริ่มตนพัฒนาการ จากหงาย คว่ํา คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน และวิ่ง เปนตน เด็กทุกคนจะสามารถแสดงพัฒนาการดังกลาวไดเองตามธรรมชาติ เพียงแตจะมีความชาหรือเร็วในการเปลี่ยนพัฒนาการแตละขั้นซึ่งแตละคนจะมีความแตกตางกันไป


4 5.4 พัฒนาการของมนุษยจะสมบูรณไดตองอาศัยวุฒิภาวะและการเรียนรูพัฒนาการของบุคคลทั้งหลายจะเกิดขึ้น ไดจําเปนตองมีรางกายที่เจริญเติบโตสมบูรณแข็งแรงเต็มที่ จนทําใหบุคคลนั้นมีวุฒิภาวะที่พรอมจะแสดงพัฒนาการนั้น ๆ แตพัฒนาการดังกลาวจะมีความคลองแคลวชํานาญไดนั้นตองอาศัยการเรียนรู โดยการฝกฝนและฝกหัดเพื่อหา ประสบการณ พัฒนาการทั้งหลายจึงจะเกิดความสมบูรณขึ้นได ดังนั้นพัฒนาการของมนุษยทุกดานจึงตองอาศัยทั้งวุฒิ ภาวะและการเรียนรูควบคูกันไป โดยวุฒิภาวะจะเปนความพยายามขั้นตนของสิ่งมีชีวิตในการจัดระบบเพื่อเตรียมหา ประสบการณตาง ๆ ในการนํามาใชประโยชนใหกับตนเองสวนการเรียนรูเปนการเพิ่มความชํานาญใหกับประสบการณ นั้น ๆ 5.5 อัตราเวลาพัฒนาการของแตละคนจะแตกตางกัน วุฒิภาวะเปนปจจัยสําคัญตอการเกิดพัฒนาการทั้งหลาย และ เนื่องจากวุฒิภาวะเปนเรื่องธรรมชาติของแตละบุคคล จึงไมมีใครทราบลวงหนาวาเด็ก คนใดจะเกิดวุฒิภาวะขึ้นในตัว เมื่อไร ดังนั้นจึงเปนสาเหตุที่ทําใหเด็กแตละคนมีวุฒิภาวะในเวลาที่แตกตางกัน พัฒนาการแตละดานจึงเกิดชาเร็วตางกัน ตามไปดวย จากหลักการของพัฒนาการทั้ง 5 ประการนี้ จะชวยใหผูเรียนไดเขาใจธรรมชาติของพัฒนาการ ชวยใหสามารถ ประเมินความผิดปกติ และสามารถสงเสริมพัฒนาการใหแกผูรับบริการแตละบุคคลไดอยางเหมาะสม 6. ปจจัยที่มีผลตอการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย การเจริญเติบโตและการพัฒนาการของชีวิตแตละบุคคล ยอมมีความแตกตางกันแมแตคูแฝดที่เกิดจากไขใบเดียวกันก็ ยังมีลักษณะที่แตกตางกัน ความแตกตางดังกลาวขึ้นอยูกับปจจัยตาง ๆ ดังนี้ 6.1 ปจจัยดานพันธุกรรม พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง ลักษณะตาง ๆ ของบรรพบุรุษซึ่งถายทอดสูลูกหลานดวยวิธีการสืบพันธลักษณะ ตาง ๆ ที่ถายทอดมานั้นมีทั้งลักษณะทางรางกาย สติปญญา ลักษณะบุคลิกภาพ และลักษณะแฝงตาง ๆ โดยถายทอด ทางยีนสซึ่งอยูบนโครโมโซม ลักษณะตาง ๆ ที่ถายทอดทางพันธุกรรมซึ่งมีอิทธิพลตอการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ไดแก 1) ลักษณะทางกาย เชน รูปราง ลักษณะใบหนา สีของดวงตาและผม สีผิว หมูเลือด ลักษณะของความผิดปกติ และความบกพรองทางรางกายบางประการ เชน ตาบอดสี ปากแหวง เพดานโหว เปนตน 2) ลักษณะทางสติปญญาหรือเชาวปญญา เปนความสามารถของบุคคลในการเรียนรู การปรับตัว การแกปญหา การวางแผน ความสามารถเฉพาะและความสามารถในการตอบสนองความตองการของตนเองไดเหมาะสม สิ่งสําคัญที่ นําไปสูพัฒนาการที่ดีของสติปญญา คือ ความสมบูรณของสมองและระบบประสาท ซึ่งสวนหนึ่งไดรับสืบทอดทาง พันธุกรรมและอีกสวนหนึ่งเปนผลของสิ่งแวดลอมที่เหมาะสม นอกจากนั้นยังขึ้นอยูกับการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมดวย สมองและระบบประสาทที่สมบูรณทําใหการทําหนาที่ของสมองเปนปกติ 3) โรคและความผิดปกติบางอยาง ที่มีการถายทอดทางพันธุกรรม เชน โรคเบาหวาน โรคฮีโมฟเลีย โรคตาบอดสี โรคลมบาหมู เปนตน 6.2 ปจจัยดานสิ่งแวดลอม หมายถึง สิ่งตาง ๆ ที่อยูรอบตัวบุคคล ทั้งภายในและภายนอกรางกายทั้งที่เปนรูปธรรมและนามธรรม สิ่งแวดลอม ที่มีอิทธิพลตอการเจริญเติบโตและพัฒนาการของบุคคล ตั้งแตเริ่มปฏิสนธิในครรภจนถึงขณะคลอดและหลังคลอด 1) สิ่งแวดลอมในระยะตั้งครรภ หมายถึง สิ่งแวดลอมของทารกในครรภมารดาเกี่ยวของกับสภาพตาง ๆ ของ มารดาขณะตั้งครรภทั้งรางกายและจิตใจ ไดแก 1.1) อายุของมารดา หญิงมีครรภที่มีอายุมากกวา 35 ป หรือนอยกวา 20 ป มีโอกาสตั้งครรภผิดปกติหรือให กําเนิดบุตรที่พิการหรือผิดปกติได เชน การแทง ภาวะแทรกซอนของการตั้งครรภ คลอดยาก คลอดกอนกําหนด ทารก ตายคลอด ทารกน้ําหนักตัวนอยกวาปกติ ทารกพิการแตกําเนิด ปญญาออน เปนตน


5 1.2) ภาวะโภชนาการของมารดา รางกายของทารกเจริญเติบโตขึ้นไดเพราะไดรับอาหารบํารุงจากมารดาที่ผาน ไปทางรก ถามารดามีภาวะโภชนาการดีจะมีผลใหทารกในครรภเจริญเติบโตแข็งแรงสมบูรณ แตถามารดามีภาวะ โภชนาการไมดีจะสงผลตอการเจริญเติบโตของทารกในครรภ 1.3) โรคตาง ๆ ของมารดาและความผิดปกติในขณะตั้งครรภ ที่มีผลตอพัฒนาการของทารกในครรภ เชน - มารดาที่เปนโรคเบาหวาน (Diabetic Mellitus) มีโอกาสที่จะทําใหกําเนิดบุตรที่มีความพิการของสมองได - มารดาที่เปนโรคหัวใจ (Heart disease) ทําใหทารกไดรับออกซิเจนไมเพียงพอสงผลใหทารกมีการ เจริญเติบโตชาและเกิดความผิดปกติได - มารดาที่เปนหัดเยอรมัน (Rubella) ในระยะ 3 เดือนแรกจะมีผลใหทารกมีความผิดปกติของตา หู หัวใจ และสมองประมาณรอยละ 10-50 และทารกยังเปนพาหะของโรคไดภายใน 1 ปหลังคลอด - มารดาที่เปนโรคซิฟลิส (Syphilis) เชื้อโรคสามารถผานไปสูทารกในครรภไดในระยะ 18-20 สัปดาหของ การตั้งครรภ ซึ่งจะสงผลใหทารกเกิดความพิการแตกําเนิน เชน ตาบอด หูหนวก ปากแหวง เพดานโหว ปญญาออน เปน ตน นอกจากนี้อาจทําใหแทง คลอดกอนกําหนด หรือตายในครรภได - มารดาที่เปนโกโนเรีย (Gonorrhea) แมวาเชื้อโรคจะไมผานไปยังทารกในระหวางอยูในครรภมารดา แต จะเขาสูตาของเด็กในระหวางคลอดทําใหตาบอดได - มารดาที่เปนเอดส(AIDS) มีโอกาสที่ทารกจะติดเชื้อเอชไอวีไดถึงรอยละ 50 นอกจากนี้ทารกเกิดมาจะมี น้ําหนักตัวนอย พัฒนาการชา หรือตายคลอดได - มารดาที่เปนโรคไวรัสตับอักเสบบี(Virus Hepatitis B) ทารกมีโอกาสติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได - มารดาเปนโรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) สามารถถายทอดเชื้อโรคไปสูทารกในครรภผานทาง รกได อาจทําใหแทงหรือเสียชีวิตหลังคลอด หรือบางรายเมื่อคลอดออกมาแลวจะมีสมองพิการ หรืออาจตาบอดได - มารดาที่มีภาวะขาดฮอรโมนของตอมไทรอยด (Thyroid deficiency) อาจทําใหเกิด cretinism เด็ก เจริญเติบโตชากวาวัย ตัวเตี้ยแคระ หัวโต สันจมูกแบน แขนขาสั้นเล็ก ลิ้นโตคับปาก ผิวหนังหยาบกระดาง ขนรุงรัง ทอง ปอง กระดูกไมพัฒนาเต็มที่ และกลามเนื้อไมมีแรง - มารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ (Hypertensive Disorder in Pregnancy) เปนภาวะที่ ทําใหมีความดันโลหิตสูง บวมตามรางกาย แขน ขา มีไขขาวในปสสาวะ ถาเปนมากจะชัก หมดสติ ตับ ไต ไมทํางาน ทํา ใหทารกตายในครรภได 1.4) ยา สารเสพติด และสารมีพิษตาง ๆ - หญิงมีครรภที่รับประทานยา Tetracycline ติดตอกันในระยะตั้งครรภ จะยับยั้งการเจริญเติบโตของ กระดูกและเมื่อมีฟนขึ้นเด็กจะฟนเหลืองหรือเทา - หญิงมีครรภที่รับประทานยา Aspirin มากเกินไปจะทําใหทารกมีความผิดปกติของระบบโลหิต - หญิงมีครรภที่ไดรับยา Streptomycin มากเกินไป จะมีผลตอประสาทรับเสียงของทารก ทําใหทารกหู หนวกได - หญิงมีครรภที่ไดรับ Quinine มากเกินไป อาจทําใหทากหูหนวกได - ยา Thalidomide เปนยาที่หญิงมีครรภใชแกอาการแพทอง ทําใหนอนหลับ ผลของยาทําใหทารกมีความ พิการของแขนขา มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและหัวใจ - หญิงมีครรภที่ติดสารเสพติด เชน เฮโรอีน มอรฟน ฝน กัญชา ยา Barbiturate จะทําใหทารกตัวเล็กกวา ปกติ คลอดกอนกําหนด และเมื่อคลอดออกมาทารกจะมีอาการติดยาเสพติดและอาการขาดยาเสพติดดวย - หญิงมีครรภที่ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอลเชน สุรา เบียร หรือไวน มักจะขาดสารอาหารจากการรับประทาน อาหารที่ไมเหมาะสม ซึ่งมีผลทําใหทารกขาดสารอาหารดวย นอกจากนี้สุรายังมีผลตอการเจริญเติบโตของสมองของ ทารกในชวงอายุครรภ 18 - 20 สัปดาห และทารกอาจมีกลุมอาการที่เรียกวา fetal alcoholic syndrome


6 - หญิงมีครรภที่ติดบุหรี่ จะมีปริมาณของคารบอนไดออกไซดในเลือดสูง ทําใหปริมาณของออกซิเจนใน เลือดต่ํา ทารกในครรภจะขาดออกซิเจนดวย นอกจากนี้นิโคดินจากบุหรี่ยังทําใหอัตราการเตนของหัวใจของทารกเร็วขึ้น เสนเลือดที่ไปเลี้ยงทารกหดตัวทําใหทารกไดรับอาหารนอยลง เปนผลตอการเจริญเติบโตและสมองของทารก ทําใหเสี่ยง ตอการแทง การเจริญเติบโตชา พิการแตกําเนิด สติปญญาต่ํา คลอดกอนกําหนด น้ําหนักแรกเกิดต่ํากวาเกณฑ (low birth weight infant) ตายกอนกําหนด ตายคลอด เปนตน - หญิงมีครรภที่ดื่มกาแฟมาก ๆ ทําใหทารกเติบโตชา คลอดกอนกําหนด ตายคลอด - หญิงมีครรภที่ไดรับสารพิษจากสิ่งแวดลอม เชน ปรอท ตะกั่ว เปนตน สารมีพิษเหลานี้ก็จะผานไปสูทารก ทําใหเกิดความพิการทั้งทางรางกายและสมอง 1.5) กัมมันตภาพรังสีหญิงมีครรภที่ไดรับรังสี ในระยะ 1 – 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ จะมีผลทําใหเกิด ความผิดปกติตอทารกโดยมีศีรษะเล็ก ตัวสั้น ชวงขาสั้น มีความดอยทางสติปญญา 1.6) หญิงมีครรภที่ไดรับอุบัติเหตุในระหวางตั้งครรภ จะมีผลตอทารกในครรภดวย เชน ถามารดาเสียเลือดมาก จากการไดรับอุบัติเหตุอาจทําใหทารกในครรภไดรับอันตรายจากภาวะสมองขาดเลือดและออกซิเจนได 1.7) องคประกอบของโลหิตในมารดาและทารกที่มี Rh factor ตางกัน รางกายของมารดาจะสราง Antibody ตอเลือดของทารก ทําใหเซลลเม็ดเลือดแดงของทารกถูกทําลาย ทารกจะขาดออกซิเจนไปเลี้ยงรางกายทําใหเกิดการแทง หรือตายคลอด แตถาทารกมีชีวิตรอด อาจจะทําใหทารกจะมีความบกพรองทางสมอง ปญญาออน หรืออาจเปนอัมพาต 1.8) สภาวะอารมณของมารดา ที่มีอิทธิพลตอการเจริญเติบโตของทารก ไมวาจะเปนอารมณโกรธ กลัว หรือ วิตกกังวลจะมีผลตอจิตใจและอารมณของทารกในครรภดวย สงผลใหสภาพอารมณของทารกในระยะหลังคลอดมี ลักษณะเปนเด็กเจาอารมณ เลี้ยงยาก มีอาการผิดปกติของระบบยอยอาหาร มีอาการจุกเสียด เปนตน 1.9) ภาวะเศรษฐกิจและสังคม เปนอีกปจจัยหนึ่งที่มีผลตอความเปนอยูและสุขภาพของหญิงมีครรภ ถาหญิงมี ครรภมีฐานะเศรษฐกิจและสังคมต่ํา ทารกที่คลอดออกมาจะมีน้ําหนักแรกคลอดนอยกวาปกติ 2) สิ่งแวดลอมในระยะคลอด ในระยะคลอด หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น เชน การคลอดยาก ระยะของการคลอดนานกวาปกติ วิธีการคลอดที่ทํา ใหสมองทารกถูกกระทบกระเทือนจากการใชเครื่องมือหรืออุปกรณชวยคลอด เปนตน ปจจัยดังกลาวอาจทําใหสมองขาด ออกซิเจน ไดรับบาดเจ็บกระทบกระเทือนจนอาจมีผลใหสมองพิการ ปญญาออน เปนโรคลมชัก แขนขาเปนอัมพาต หรือ มีความผิดปกติเกี่ยวกับการพูด เปนตน 3) สิ่งแวดลอมในระยะหลังคลอด เมื่อทารกคลอดจากครรภมารดาแลว ทั้งสิ่งแวดลอมในครอบครัว และสิ่งแวดลอมในสังคมที่เด็กเติบโตขึ้นจะมี ความสําคัญตอการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทั้งทางรางกาย อารมณ สังคม และสติปญญา 3.1) สิ่งแวดลอมในครอบครัว ไดแก - บาน บานเปนสถาบันแรกที่มีความเกี่ยวของกับชีวิตของเด็ก เปนสิ่งแวดลอมสําคัญในชวงวัยทารกและวัย เด็กตอนตน ซึ่งเปนรากฐานของการพัฒนาดานตาง ๆ ในวัยตอมา - บรรยากาศภายในบาน ขึ้นอยูกับบิดามารดาเปนสวนใหญ ถาบิดามารดาใหความสนใจ ใหความรัก ความ อบอุนแกลูก และสมาชิกในบานมีสัมพันธภาพที่ดีตอกัน เด็กก็จะมีความสุขพรอมที่จะเรียนรูและพัฒนาไปในทิศทางที่ดี เด็กที่อยูในครอบครัวที่มีความรักใครผูกพันกัน จะมีสัมพันธภาพดี มีความเอื้อเฟอเผื่อแผ ความไมเห็นแกตัวมากกวาเด็ก ที่อยูในครอบครัวที่มีสัมพันธภาพไมดี - วิธีการอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็กที่สําคัญ คือ บิดามารดาตองทําใหเด็กรูสึกวาตนไดรับความรัก ความอบอุน ความปลอดภัยอยางเพียงพอและฝกใหเด็กมีความเปนตัวของตัวเองสามารถพึ่งตนเองได อีกทั้งการอบรมเลี้ยงดูจาก ครอบครัวและการใหการศึกษาในครอบครัวมีอิทธิพลตอระดับคุณภาพของคนและบุคลิกภาพ ซึ่งรวมทั้งคานิยม เจตคติ และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน


7 3.2) สิ่งแวดลอมในสังคม - โรงเรียน เปนสิ่งแวดลอมที่สําคัญในชวงวัยเรียน เปนที่ใหการศึกษาอบรมวิชาความรู ศีลธรม วัฒนธรรม แกเด็ก นอกจากนี้ยังเปนแหลงปลูกฝงเจตคติและสรางบุคลิกภาพของเด็ก โรงเรียนที่จัดสภาพแวดลอมที่เปดโอกาสให เด็กไดมีปฏิสัมพันธกับกลุมเพื่อน มีผลทําใหลักษณะการยึดตนเองเปนศูนยกลางดานอารมณและความรูสึกของเด็ก ปฐมวัยลดลง - ลักษณะของครู ครูเปนผูที่มีอิทธิพลตอการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กอยางมากทั้งโดยทางตรงและ ทางออมรองจากพอแม - สถาบันทางศาสนา เปนสถานที่ใหการศึกษาอบรมเด็กใหเปนผูมีความประพฤติดี และเปนศูนยกลางแหง การอบรมสั่งสอนทางศาสนาและขนบธรรมเนียม ประเพณีตาง ๆ ตลอดจนใหการศึกษาแกเด็ก เชน เปนที่ตั้งของ โรงเรียนชั้นประถม เปนตน - สื่อมวลชน ไดแก หนังสือ หนังสือพิมพ วิทยุ โทรทัศนภาพยนตร เปนตน เปนแหลงของขอมูลขาวสาร ความรูตาง ๆ ซึ่งทําใหเด็กและผูรับขาวสารเกิดการเรียนรูและเลียนแบบได การรูจักใชวิจารณญาณเพื่อเลือกสื่อใหแกเด็ก ฝกใหเด็กรูจักเลือกและแสวงหาความรูหรือตัวอยางที่ถูกตองจากสื่อจะมีสวนอยางสําคัญในการสงเสริมพัฒนาการของ เด็ก - สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การไดรับประสบการณตาง ๆ จากการดํารงชีวิตในสภาพสังคม และวัฒนธรรมของเด็กตั้งแตเกิด ทําใหเกิดการปรับตัวและหลอหลอมเปนบุคลิกภาพของบุคคลในสังคมนั้น 3.3) ความเจ็บปวย โดยเฉพาะการเจ็บปวยเรื้อรังจะมีผลทําใหเด็กมีพัฒนาการหยุดชะงักหรือถดถอยได เนื่องจากสาเหตุรวมหลายประการ เชน ผลขางเคียงของยาที่ไดรับจาการรักษา สภาพจิตอารมณของเด็กปวยที่สงผลให เด็กเกิดอารมณซึมเศรา สติปญญาไมไดรับการกระตุนจากการที่ตองขาดเรียนบอยครั้ง ในรายที่ไดรับอุบัติเหตุทางสมอง หรือไดรับสารพิษจากมลภาวะจนเกิดความพิการของสมองยอมสงผลใหมีพัฒนาการลาชา 6.3 อิทธิพลรวมกันระหวางพันธุกรรมและสิ่งแวดลอม โดยที่พันธุกรรมเปนตัวถายทอดลักษณะทางสรีระไปสูลูกหลาน ทําใหมีโครงสรางและความสามารถดานตาง ๆ แตกตางกัน พันธุกรรมจึงเปนตัวกําหนดขอบเขตของพัฒนาการดานตาง ๆ ในขณะที่สิ่งแวดลอมจะมีอิทธิพลรวมกับ พันธุกรรม ในการกําหนดวาบุคคลแตละคนจะพัฒนาไปไดอยางไร และผลของพัฒนาการจะเปนอยางไร เชน เด็กที่มี พันธุกรรมดานสติปญญาดี ถาอยูในสิ่งแวดลอมที่ดีทุกดาน เด็กก็จะมีพัฒนาการที่ดีทั้งดานรางกาย สติปญญา อารมณ และสังคม ในทางตรงขามถาสิ่งแวดลอมมีความไมเหมาะสมเด็กก็จะพัฒนาไดไมดีดวย อิทธิพลรวมระหวางพันธุกรรม และสิ่งแวดลอมจึงเปนสิ่งที่เกิดขึ้นในการพัฒนาทุกดานของบุคคลโดยไมอาจหลีกเลี่ยงไดและจะทํางานประสานกัน ตลอดเวลา 7. การแบงชวงวัย และลักษณะพัฒนาการเดน ๆ ที่สําคัญในแตละชวงวัยของชีวิต การศึกษาพัฒนาการของมนุษย จะมีการแบงศึกษาตามชวงวัยเพื่อความสะดวกในการศึกษาหรือกลาวถึง พัฒนาการของมนุษยในวัยตาง ๆ โดยที่การกําหนดวาวัยใดจะเริ่มตนและสิ้นสุดลงเมื่อใดนั้น จะพิจารณาจากการ เปลี่ยนแปลงดานตาง ๆ ของมนุษยวาระยะใดมนุษยมีการเปลี่ยนแปลงสวนใหญเปนแบบเดียวกัน การแบงชวงวัยตาม ขั้นตอนของการพัฒนาการ (stage of development) มีดังนี้ 1. วัยทารกในครรภ(Prenatal period) ระยะเวลาตั้งแตปฏิสนธิจนถึงคลอด ซึ่งปจจัยดานพันธุกรรมและสิ่งแวดลอม ดังกลาวไวขางตน จะมีผลตอพัฒนาการของทารกในครรภที่จะคลอดออกมา 2. วัยทารกแรกเกิด (New born & infancy) ระยะเวลาตั้งแตคลอด ถึงอายุ 1 ป 3. วัยทารกตอนปลาย (Toddler) ระยะเวลาตั้งแตอายุ 1 ถึง 3 ป วัยทารกเปนวัยที่มีการเจริญเติบโตทางรางกายอยางรวดเร็วมากกวาทุกวัย อัตราการเจริญเติบโตเปน 2 เทาของ การเจริญเติบโตปกติ ดานการเคลื่อนไหวทารกจะมีการควบคุมอวัยวะตาง ๆ ใหเกิดการประสานงานกันมากขึ้นระหวาง ตากับมือและขา ทําใหมีการทรงตัวดีขึ้นซึ่งพัฒนาการที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการควบคุมรางกาย เชน การคว่ํา คืบ นั่ง


8 คลาน ยืน เดิน วิ่ง พัฒนาการดานอารมณ อารมณแรกสุดจะมีอารมณเดียวคือ ตื่นเตน (excitement) จากนั้นเมื่ออายุ เพิ่มขึ้นอารมณอื่น ๆ จึงจะปรากฏตามมา พัฒนาการดานสังคมจะขึ้นอยูกับพอแมหรือบุคคลที่อยูใกลชิดทารก ถาให ความรัก ดูแลเอาใจใสใกลชิดจนทําใหทารกเกิดความไววางใจจะชวยใหทารกสามารถอยูรวมกับบุคคลอื่นในสังคมได 4. วัยเด็กตอนตน (Early childhood) ระยะเวลาตั้งแต อายุ 3 ถึง 5 ปหรือเรียกวาวัยอนุบาล มีความสามารถในการ ใชกลามเนื้อมากขึ้น ทํากิจกรรมหลาย ๆ อยางไดดวยตัวเอง เชน อาบน้ํา แตงตัว รับประทานอาหาร ปนดินน้ํามัน วาด ภาพระบายสี กระโดดโลดเตน ปนปาย วัยนี้ครอบครัวยังมีความสําคัญตอเด็ก เริ่มเรียนรูวิธีการอยูรวมกับบุคคลอื่นที่ ไมใชพอแมหรือญาติพี่นองเนื่องจากเปนวัยที่จะเริ่มออกจากสังคมที่บานเพื่อเขาสูโรงเรียนอนุบาล อยางไรก็ตามเด็กวัยนี้ ยังยึดตัวเองเปนศูนยกลาง (egocentric) เชน เด็กอาจจะเลนในสิ่งที่ตนเองอยากเลน หรืออยากจะคุยและพูดในสิ่งที่ตน อยากจะพูดโดยไมคํานึงถึงความตองการของผูอื่น พัฒนาการดานสติปญญา สามารถใชภาษาในการสื่อสารเปนประโยค อยางตอเนื่องได เชน เลาเหตุการณที่พบเห็นหรือไดยินไดฟงมาได นอกจากนี้ยังมีจินตนาการ อยากรูอยากเห็น รูจัก สังเกตและใหความสนใจตอสิ่งแวดลอมรอบตัว จึงมักแสดงออกดวยการซักถามผูใหญ 5. วัยเด็กตอนปลาย (Late childhood) ระยะเวลาตั้งแตอายุ 6 ถึง 12 ปการเคลื่อนไหวรางกายดีขึ้นเนื่องจากการ ทํางานประสานกันของอวัยวะทํางานไดมีประสิทธิภาพขึ้น พัฒนาการดานอารมณ เปนวัยสนุกสนาน เด็กจะมีความสุขกับ การไดทํากิจกรรมรวมกับเพื่อนจนบางครั้งอาจขาดความรับผิดชอบตอหนาที่ที่ไดรับมอบหมายจากผูใหญ พัฒนาการดาน สติปญญานั้นเด็กวัยนี้รูจักใชความคิดอยางมีเหตุผลในการตัดสินใจ มีความรับผิดชอบมากขึ้น 6. วัยรุน (Adolescence) ระยะเวลาตั้งแต อายุ 12 ถึง 20 ปเปนวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางรางกายอยางรวดเร็วทั้ง ดานน้ําหนักและสวนสูง รวมถึงลักษณะทางเพศ พัฒนาการดานอารมณเปนวัยที่มีการแสดงอารมณอยางเปดเผย รุนแรง และแปรปรวนงาย พัฒนาการดานสังคมมักจะเริ่มหางจากพอแม ชอบอยูกับกลุมเพื่อน พยายามคนหาตนเอง พัฒนาการ ดานสติปญญาใกลเคียงกับวัยผูใหญ แตตางกันตรงที่ความสุขุมรอบคอบและประสบการณ 7. วัยผูใหญตอนตน หรือวัยทํางาน (Early adulthood or Adult) 21-40 ปเปนวัยที่รางกายเจริญสมบูรณสูงสุด เต็มที่ในชวงอายุ 20-25 ป และเริ่มเสื่อมลงเมื่ออายุ 30 ป ดานอารมณจะมีความมั่นคงทางอารมณควบคุมอารมณไดดี พัฒนาการดานสังคม เริ่มรูจักวางแผนชีวิตใหกับตนเอง เชน เลือกอาชีพ การสรางฐานะ การเลือกคูครอง พัฒนาการดาน สติปญญาจะเจริญสูงสุดเต็มที่เมื่ออายุ 25 ป จากนั้นจะเริ่มลดลง แตสิ่งที่วัยผูใหญสามารถไดมาทดแทนคือประสบการณ ดังนั้นในชวงอายุ 30-40 ปเปนตนไปจึงเปนชวงที่บุคคลมีความสามารถคิดสรางสรรคผลงานไดอยางมีคุณภาพและสราง ชื่อเสียงความสําเร็จใหตัวเองได 9. วัยกลางคน (Middle age) ระยะเวลาตั้งแต อายุ 41 ถึง 60 ปเปนวัยที่รางกายเริ่มเสื่อมถอย เชน มีผมหงอก สายตายาวผิวหนังเริ่มเหี่ยว กระดูกและฟนไมแข็งแรง เปราะงาย พัฒนาการดานอารมณเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก ฮอรโมนเพศผลิตลดลง เกิดผลกระทบใหความตองการทางเพศลดนอยลง สภาวะทางอารมณ เชน หงุดหงิดงาย ซึมเศรา หดหู เปนตน ดานสังคมจะแคบลง วัยนี้มักจะคบเพื่อนสนิทและคบกันมานานหรือรูจักคุนเคยทั้งครอบครัว ไปมาหาสูกัน เปนประจํา ดานสมรรถภาพการทํางานลดลงเนื่องจากสภาพรางกายเสื่อมลง อาจรูสึกเบื่อหนายตองานประจําและ สิ่งแวดลอมในที่ทํางาน สวนดานสติปญญาเนื่องจากเซลลสมองเริ่มเสื่อม ทําใหเกิดปญหาดานความจําและการเรียนรูสิ่ง ตาง ๆ ยากขึ้น การตัดสินใจไมแนนอน เริ่มขาดความเชื่อมั่นในตนเอง 10. วัยสูงอายุ (Elderly or Old age) 60 ปเปนตนไป สภาพรางกายเสื่อมถอยทั้งดานปริมาณและคุณภาพ เชน กลามเนื้อลีบลง กระดูกบาง ประสิทธิภาพการทํางานของอวัยวะตาง ๆ ลดลง เชน สมอง จําเรื่องใหม ๆ ไดนอยลง คิดชา ตัดสินใจชา เปนตน ดานอารมณอาจเกิดอารมณเศราเบื่อหนาย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากถูกทอดทิ้งใหอยูคนเดียว สูญเสีย บุคคลที่รักใกลชิด ดานสังคมนั้นวัยนี้บทบาทและความสําคัญทางสังคมถูกจํากัดลง เนื่องจากปญหาสุขภาพ เดินทางไม สะดวกตองเปนภาระลูกหลานจึงมักถูกทอดทิ้งใหอยูบานลําพัง และดานสติปญญา วัยนี้มักพบปญหาของความเสื่อมของ เซลลสมอง ซึ่งมีผลใหความจําเสื่อม สับสน มีพฤติกรรมแบบเด็ก ไมยอมหลับไมยอมนอน เปนตน


9 8. พยาบาลกับการสงเสริมพัฒนาการและการปรับตัวของมนุษย บทบาทของพยาบาล ในการสงเสริมใหผูรับบริการไดมีพัฒนาการที่เปนไปตามวัย คือ การใหความรู ใหคําแนะนําแก ผูรับบริการเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษยในแตละวัยพรอมทั้งชวยเหลือและสนับสนุน หรือเอื้ออํานวยใหผูรับบริการมีวุฒิ ภาวะตามขั้นพัฒนาการและสามารถพัฒนาตนเองใหมีศักยภาพตามวัย มีความสามารถในการปรับตัวและพรอมที่จะ เผชิญกับภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นตามวัยไดอยางเหมาะสม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีตอไป รายการอางอิง กัลยา นาคเพ็ชร, จุไร อภัยจิรรรัตน และ สมพิศ ใยสุน (บรรณาธิการ). (2548). จิตวิทยาพัฒนาการสําหรับพยาบาล. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพิ์สุภา. เติมศักดิ์ คทวณิช. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. พรรณทิพย ศิริวรรณบุศย. (2564). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. Kail V. & Cavanaugh C. (2010). Human development: A life-span view. USA.: Graphic World Inc.


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.