เล่มสรุปมอนิ่งทอร์ค ครั้งที่ 7-65 (ปรับ) Flipbook PDF

เล่มสรุปมอนิ่งทอร์ค ครั้งที่ 7-65 (ปรับ)

95 downloads 105 Views 4MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

สรุปการพูดคุยระหว่างสมาชิกวุฒิสภา Morning Talk ครั้งที่ ๗/๒๕๖๕

เรื่อง "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น"

วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ห้องประชุม ๔๐๖ - ๔๐๗ สว. ชั้น ๔ อาคารรัฐสภา

จัดทำโดย คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความรู้ในวงงานนิติบัญญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา ฝ่ายเลขานุการ กลุ่มงานติดตามและประมวลผลงานของวุฒิสภา

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

คำนำ เอกสารสรุ ป “การพู ด คุ ย ระหว่ า งสมาชิ ก วุ ฒิ ส ภา (Morning Talk)” ซึ่ ง จั ด โดย คณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา เป็นการจัดกิจกรรมการพูดคุยระหว่างสมาชิกวุฒิสภาด้วยกัน ในรูปแบบ Morning Talk ระหว่า งเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๐.๐๐ นาฬิกา ในเช้าวันจันทร์ที่มีการประชุ ม วุฒิสภา โดยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อ ให้สมาชิกวุฒิสภาได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ด้านต่า ง ๆ ในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการก่อนเข้าร่วมการประชุมวุฒิสภา โดยได้ มี ก ารจั ด กิ จ กรรม ครั้ ง ที่ ๗/๒๕๖๕ เมื่ อ วั น จั น ทร์ ที่ ๒๘ พฤศจิ ก ายน ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา เป็นต้นไป เป็นการพูดคุย เรื่อง “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น” ณ ห้องประชุม ๔๐๖ – ๔๐๗ สว. ชั้น ๔ อาคารรัฐสภา โดยมีผู้นาการพูดคุย และให้ข ้อ มูล ที ่เ กี ่ย วข้อ ง คือ พลเอก เลิ ศรั ตน์ รั ตนวานิ ช สมาชิ กวุ ฒิ สภา ด าเนิ น รายการโดย นายจเด็จ อินสว่าง สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานอนุกรรมการเสริมสร้างความรู้ในวงงานนิติบัญญัติ โดยมีผู้แทนจากสานักกฎหมาย สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา เข้าร่วมกิจกรรมด้วย ในการจั ด ท าสรุ ป ข้ อ มู ล การพู ด คุ ย เพื่ อ เผยแพร่ นี้ เป็ น เพี ย งสรุ ป สาระส าคั ญ จากการพู ด คุ ย เพื่ อ ให้ ไ ด้ อ งค์ ค วามรู้ เ พื่ อ การเผยแพร่ อั น มิ ใ ช่ เ ป็ น ลั ก ษณะบทความทางวิ ช าการ แต่มุ่งเน้นให้สมาชิกได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในประเด็นที่เป็ นที่สนใจของสังคม โดยข้อมูลจากการพูดคุยจะเป็นประโยชน์ในการนาไปประกอบการพิจารณาต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ สมาชิกวุฒิสภาได้ในระดับหนึ่ง

คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความรู้ในวงงานนิติบัญญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา

สรุปประเด็น “การแกไ้ ขเพิม่ เติมรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๔ การปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ ”

นายจเด็จ อินสวา่ ง สมาชิกวุฒสิ ภา ผูด้ าเนินรายการ ----------------------------------------------------การพูดคุยแลกเปลีย่ นความคิดเห็นในวันนี้ เป็ นประเด็นที่กาลังเป็ นที่สนใจอยา่ งยิ่ง จากสังคมและประชาชน ในเรื่อง “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๔ การปกครอง สว่ นทอ้ งถิ่น” ซึ่งจะเป็ นการพูดคุยเกีย่ วกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แกไ้ ขเพิม่ เติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช .... ซึ่งนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตัง้ จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็ นผูเ้ สนอ โดยกิจกรรมในวันนี้ได้รับเกียรติจากนายศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ในฐานะประธานกรรมการวิ ชาการของวุฒิ สภา เป็ นประธาน โดยมีวิ ทยากร คื อ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง ท้องถิ่น วุฒิสภา ซึ่งเป็ นผู้มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะมา ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็ นที่เกี่ยวข้องกั บประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีผู้แ ทนจาก สานักกฎหมาย สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา อีก ๒ ทา่ น คือ นายณัฐพล นันทมานพ ประชุมญาติ นิติกรชานาญการพิเศษ และนางสาวภัณฑิลา กิติโยดม นิติกรชานาญการพิเศษ ซึ่งจะมาร่วม ให้ ข้ อ มู ล ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง โดยผู้ เ ข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมในวั น นี้ ส ามารถแลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น ทางกฎหมาย ความรู้ ทางวิ ช าการ รวมถึ ง การรั บ ฟั งความคิ ด เห็ นจากท่า นสมาชิ ก วุ ฒิ ส ภา และผูเ้ ขา้ ร่วมกิจกรรมการพูดคุยในครัง้ นีด้ ว้ ย ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช .... ซึ่งนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็ นผูเ้ สนอ มีเนื้อหาเป็ นการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ หมวด ๑๔ ด้วยการยกเลิกและยกร่างขึ้นใหม่ทั้งหมด และมีหลายประเด็นที่สาคัญ เช่น เรื่องการออกพันธบัตร การยกเลิกระบบราชการส่วนภูมิภาค

กิ จกรรม Morning Talk

โดย คณะอนุ กรรมการเสริ มสร้ างความรู้ในวงงานนิ ติบัญ ญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา

-๒เป็ นต้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็ นเรื่องใหญท่ ี่กระทบกับเรื่องอื่นๆ อีกหลายด้าน ยกตัวอยา่ งเช่น การเลือกตัง้ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดทุกจังหวัดอาจกระทบกับรัฐธรรมนูญฯ บางมาตราหรือไม่ หากมีการเลือกตั้งผู้ว่า ราชการจัง หวัดทุกจัง หวัด จะกระทบกับสภาพความเป็ น ราชอาณาจักรตามที่รัฐธรรมนูญฯ บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑ “ประเทศไทยเป็ นราชอาณาจักร อันหนึ่งอันเดียว จะแบง่ แยกมิได้” โดยจะทาให้ประเทศไทยกลายสภาพเป็ นสาธารณรัฐหรือไม่ หากมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด จะกระทบกับความเป็ นกฎหมาย สูงสุดของรัฐธรรมนูญฯ ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง “รัฐธรรมนูญเป็ นกฎหมายสูงสุด ของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทาใด ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทานัน้ เป็ นอันใช้บังคับมิได้” หรือไม่ อนึ่ง โดยส่วนตัวแล้วมีความเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ นัน้ ไดม้ ีการกาหนดเรื่องการกระจายอานาจในการปกครองสว่ นทอ้ งถิ่นไวค้ รบถ้วนแล้ว โดยบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๙ “ภายใต้บังคับมาตรา ๑ ให้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณข์ องประชาชนในทอ้ งถิน่ ทัง้ นี้ ตามวิธีการและ รูปแบบองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ ทีก่ ฎหมายบัญญัติ การจั ด ตั้ ง องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ในรู ป แบบใดให้ ค านึ ง ถึ ง เจตนารมณ์ ของประชาชนในท้องถิ่นและความสามารถในการปกครองตนเองในด้านรายได้ จานวนและ ความหนาแนน่ ของประชากร และพื้นทีท่ ตี่ ้องรับผิดชอบ ประกอบกัน” ดังนั้น สิ่งที่ควรระมัดระวังในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช .... ซึ่งนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับประชาชนผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็ นผูเ้ สนอ คือ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหากมีการแกไ้ ข รัฐธรรมนูญฯ หมวด ๑๔ นัน้ จะเป็ นช่องทางที่นาไปสู่การแกไ้ ขหมวด ๑ และ หมวด ๒ ซึ่งจะมี ผลกระทบกับสถาบันพระมหากษัตริยห์ รือไม่ ซึ่ง เมื่ อ พิ จ ารณาในส่ ว นเนื้ อ หาของร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ แก้ไ ขเพิ่ม เติ ม ฯ ฉบั บ นี้แ ล้ ว ในภาพรวมเป็ นสิ่งที่ยอมรับได้ ยกเว้นเรื่องการยุบระบบราชการส่วนภูมิภาคซึ่งเป็ นเรื่องที่ สุดโต่งมากเกินไป ส่วนเรื่องการกระจายอานาจสู่ท้องถิ่นนัน้ ปั จจุบันมีพระราชบัญญัติกาหนด แผนและขัน้ ตอนการกระจายอานาจให้แกอ่ งคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็ นกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องและมี การด าเนิ นการไปพอสมควรอยู่แล้ ว ดั งนั้น แม้เนื้ อหาของร่ างรั ฐธรรมนู ญ แกไ้ ขเพิ่มเติมฯ ฉบับนีจ้ ะเป็ นประโยชน์ แตก่ ็มีบางสว่ นทีส่ ุดโต่งเกินไปจนอาจนาไปสู่ความแตกแยก ของประชาชนได้ จึงขอให้สมาชิกวุฒิสภาทุกทา่ นพิจารณาด้วยความรอบคอบ ---------------------------------------กิ จกรรม Morning Talk

โดย คณะอนุ กรรมการเสริ มสร้ างความรู้ในวงงานนิ ติบัญ ญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา

-๓-

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒสิ ภา ----------------------------------------------------พัฒนาการของการปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ นั บ ตั้ ง แต่ มี รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๔๐ มี ก าร วางรากฐานการปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ให้ เ ป็ นระบบและมี รู ป แบบที่ ชั ด เจน ทั้ ง นี้ โดยมี พระราชบัญญัติกาหนดแผนและขัน้ ตอนการกระจายอานาจให้แกอ่ งคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็ นแม่แบบในการดาเนินการให้เป็ นไปตามที่รัฐธรรมนูญฯ กาหนดไว้ ต่อมา รัฐธรรมนูญฯ ปี ๒๕๕๐ ก็ได้กาหนดเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้เช่นเดียวกัน จนถึง รั ฐ ธรรมนู ญ ฯ ปี ๒๕๖๐ ได้ ก าหนดไว้ ใ น หมวด ๑๔ มาตรา ๒๔๙ ถึ ง มาตรา ๒๕๔ ซึ่ ง พระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจฯ ได้กาหนดว่า รัฐต้องจัดสรรเงิน ให้องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ ในปี ๒๕๔๔ ไมต่ ่ากวา่ ร้อยละ ๒๐ ของรายได้สุทธิของรัฐ สว่ น ในปี ๒๕๔๙ และปี ๒๕๕๐ เป็ นต้นไป รัฐต้องจัดสรรไมต่ ่ากว่า ร้อยละ ๓๕ ของรายได้สุทธิ ของรัฐ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงใน ปี ๒๕๔๙ คณะปฏิวัติได้แกไ้ ขพระราชบัญญัติกาหนด แผนและขัน้ ตอนการกระจายอานาจฯ โดยกาหนดให้รัฐต้องจัดสรรเงินให้องคก์ รปกครองส่วน ทอ้ งถิน่ ร้อยละ ๒๘ – ๒๙ ของรายไดส้ ุทธิของรัฐ และไมต่ อ้ งดาเนินการในทันทีทันใด ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แกไ้ ขเพิม่ เติม (ฉบับที่.. ) พุทธศักราช .... (นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตัง้ จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็ นผู้เสนอ) มีสาระสาคัญ ดังนี้ ๑. หลั ก การ คื อ แก้ไ ขเพิ่ม เติ ม รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย เพื่อ ยกเลิ ก บทบัญญัติในหมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น ตัง้ แต่ มาตรา ๒๔๙ ถึงมาตรา ๒๕๔ และ เพิม่ เติมบทบัญญัติหมวด ๑๔ การปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ มาตรา ๒๔๙ ถึงมาตรา ๒๕๔/๖ แทน เหตุผล คือ จะผลักดันให้การกระจายอานาจไปสู่ทอ้ งถิน่ รวดเร็วขึ้น ๒. แกไ้ ขเพิ่มเติม มาตรา ๒๔๙ มีสาระสาคัญ คือ รัฐต้องจัดระเบียบบริหารราชการ แผน่ ดินแบบกระจายอานาจและต้องให้ความเป็ นอิสระแกท่ อ้ งถิ่นตามหลักการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณข์ องประชาชนในทอ้ งถิน่ (ร่างมาตรา ๓)

กิ จกรรม Morning Talk

โดย คณะอนุ กรรมการเสริ มสร้ างความรู้ในวงงานนิ ติบัญ ญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา

-๔๓. แก้ไ ขเพิ่มเติม มาตรา ๒๕๐ มีสาระสาคั ญ คื อ องค์กรปกครองส่ว นท้อ งถิ่น รูปแบบทัว่ ไปและรูปแบบพิเศษ (ร่างมาตรา ๓) ๔. แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๕๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่แ ละอานาจ โดยทัว่ ไปในการจัดทาบริการสาธารณะในระดับทอ้ งถิ่นเพื่อประโยชนข์ องประชาชนในทอ้ งถิ่น โดยเรื่องดังกล่าวดังต่อไปนี้ให้เป็ นหนา้ ที่ของรัฐบาล คือ (๑) ภารกิจทางทหารและการป้องกัน ประเทศ (๒) ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (๓) การดาเนินงานเกี่ยวกับกิจการระหว่าง ประเทศ (๔) การดาเนินงานของธนาคารกลางและระบบเงินตรา (๕) บริการสาธารณะอื่น ทีส่ ง่ ผลกระทบตอ่ ประชาชนโดยรวมทัง้ ประเทศ (ร่างมาตรา ๓) ๕. แกไ้ ขเพิม่ เติมมาตรา ๒๕๒ มีสาระสาคัญ คือ ดาเนินการกระจายอานาจเพิม่ ขึ้น ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ให้มีกฎหมายกาหนดแผนและขั้นตอนการ กระจายอานาจ (ร่างมาตรา ๓) ๖. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๕๓ มีสาระสาคัญคือ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอิสระในการเงินการคลัง และมีงบประมาณที่เพียงพอในการจัดทาบริการสาธารณะตามหนา้ ที่ และอานาจ (ร่างมาตรา ๓) ๗. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๕๔ มีสาระสาคัญคือ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวิธีการในการจัดทาบริการสาธารณะได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพ (ร่างมาตรา ๓) ๘. ให้ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งจะเป็ นการยกเลิกราชการส่วนกลางไปโดยปริยาย โดยภายใน ๒ ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะรัฐมนตรีจัดทาแผนการยกเลิก ราชการส่วนภูมิภาค (ร่างมาตรา ๔) ๙. ภายใน ๒๔๐ วันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้รัฐสภาดาเนินการตรา กฎหมายดังตอ่ ไปนี้ ให้แลว้ เสร็จ (๑) กฎหมายกาหนดแผนและขัน้ ตอนการกระจายอานาจ (๒) กฎหมายเกีย่ วกับการกาหนดรายรับขององคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ (๓) กฎหมายเกีย่ วกับวิธีการจัดทาบริการสาธารณะขององคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถิน่ (๔) กฎหมายเกีย่ วกับการกากับดูแลองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ (๕) กฎหมายเกี่ยวกับการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิน่ และผู้บริหารท้องถิ่นและ การเขา้ ชื่อเสนอขอ้ บัญญัติทอ้ งถิน่ (๖) กฎหมายการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการบริหารกิจการของ องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ (ร่างมาตรา ๕) กิ จกรรม Morning Talk

โดย คณะอนุ กรรมการเสริ มสร้ างความรู้ในวงงานนิ ติบัญ ญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา

-๕๑๐. ภายใน ๖๐ วั น นั บ แต่ ป ระกาศใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ นี้ ให้ ค ณะรั ฐ มนตรี เ สนอ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเลิกหน้าที่แ ละอานาจของราชการส่วนกลางหรือราชการ ส่ ว นภู มิ ภ าคที่ ซ้ า ซ้ อ นกั บ หน้ า ที่ แ ละอ านาจขององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ต่ อ สภา ผู้แ ทนราษฎร และให้ รั ฐ สภาพิ จ ารณาและให้ ค วามเห็ น ชอบภายใน ๑๘๐ วั น นั บ แต่ วั น ที่ คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะเป็ นการตัดหน้าที่ และอานาจของราชการสว่ นกลางหรือราชการสว่ นภูมิภาค (ร่างมาตรา ๖) ๑๑. ภายใน ๖๐ วั น นั บ แต่ ป ระกาศใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ นี้ ให้ ค ณะรั ฐ มนตรี เ สนอ ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ เ พื่ อ แก้ ไ ขหรื อ ยกเลิ ก บทบั ญ ญั ติ ใ นกฎหมายจั ด ตั้ ง องค์ ก รปกครอง ส่วนท้องถิ่นทั้งหลายที่ขัดหรือแย้งกับหลักการบริหารราชการแผ่นดินแบบกระจายอานาจ และความเป็ นอิสระแกท่ อ้ งถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณข์ องประชาชน ในท้องถิ่น หรือที่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในหมวด ๑๔ ของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับนี้ และให้รัฐสภาพิจารณาและให้ความเห็นชอบภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรี เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อสภาผูแ้ ทนราษฎร (ร่างมาตรา ๗) ทัง้ นี้ มีขอ้ สังเกตและขอ้ เสนอแนะดังนี้ ๑. จากการรับฟั งความคิดเห็นร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แกไ้ ขเพิ่มเติม (ฉบั บที่ .. ) พุ ทธศั กราช .... ฉบั บดั งกล่ าว มี ประเด็ นเรื่ อง “การก าหนดให้ ท้องถิ่ นมี อิ สระ ในการจั ดเก็ บภาษี และรายได้ อ่ื น การให้ ท้องถิ่นกู้เงิ นและการออกพันธบั ตร เพื่อให้ ท้องถิ่น มีอิสระในการเงินการคลัง ” จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ซึ่งการออกพันธบัตรนั้น กระทรวงการคลังจะเป็ นหนว่ ยงานทีร่ ับผิดชอบ ๒. ร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแกไ้ ขเพิม่ เติมนี้ แมห้ ลักการจะดีในเรื่องการกระจายอานาจ แตใ่ นทางปฏิบัติอาจจะดาเนินการไดย้ าก ๓. ปั จจุบันกฎหมายที่มีอยู่ทั้งรัฐธรรมนูญฯ และกฎหมายอื่น มีเพียงพอที่จะทาให้ องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถิน่ เขม้ แข็ง ซึ่งรัฐบาลควรให้ความสาคัญกับการกระจายอานาจให้มากขึ้น ----------------------------------------

กิ จกรรม Morning Talk

โดย คณะอนุ กรรมการเสริ มสร้ างความรู้ในวงงานนิ ติบัญ ญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา

-๗-

นายณัฐพล นันทมานพ ประชุมญาติ นางสาวภัณฑิลา กิตโิ ยดม นิตกิ รชานาญการพิเศษ นิตกิ รชานาญการพิเศษ สานักกฎหมาย สานักงานเลขาธิการวุฒสิ ภา ----------------------------------------------------ส านั ก กฎหมายได้ จั ด ท าเอกสารประกอบการจั ด กิ จ กรรม “การพู ด คุ ย ระหว่ า ง สมาชิกวุฒิสภา (Morning Talk)” ครัง้ ที่ ๗/๒๕๖๕ เรื่อง “การแกไ้ ขเพิม่ เติมรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๔ การปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ ” โดยมีรายละเอียดประกอบดว้ ย ๑. สรุ ป สาระส าคั ญ ของร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ งราชอาณาจัก รไทย แก้ไ ขเพิ่ม เติ ม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับผูม้ ีสิทธิเลือกตัง้ จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็ นผูเ้ สนอ) ๒. สรุ ป ผลการรั บ ฟั งความคิ ด เห็ น ร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย แก้ไ ขเพิ่ ม เติ ม (ฉบั บที่ ..) พุ ทธศั กราช .... (นายธนาธร จึ งรุ่ งเรื องกิ จ กั บผู้มี สิ ทธิ เลื อกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็ นผูเ้ สนอ) ๓. ตารางเปรี ย บเที ยบรั ฐธรรมนู ญแห่ งราชอาณาจั กรไทย พุ ทธศั กราช ๒๕๖๐ (เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวขอ้ ง) กับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แกไ้ ขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... สาหรับประเด็นสรุปผลการรับฟั งความคิดเห็นร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่ มเติ ม (ฉบั บที่ ..) พุ ทธศั กราช .... (นายธนาธร จึ งรุ่ งเรื องกิ จ กั บผู้ มี สิ ทธิ เลื อกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็ นผู้เสนอ) ที่ได้เปิ ดรับฟั งความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้ดาเนินการผา่ นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐสภา www.parliament.go.th ตัง้ แตว่ ันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๕ รวมระยะเวลา จานวน ๑๘ วัน ไดม้ ีการตัง้ ประเด็น การรับฟั งความคิดเห็นใน ๓ ประเด็น คือ ประเด็นที่ ๑ ท่านเห็นด้ วยหรื อไม่กับการกาหนดให้ องค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น มีความเป็ นอิสระในการกาหนดนโยบาย การบริหาร การจัดทาบริการสาธารณะ การบริหารงาน บุ คคล การเงิ นและการคลั ง การจั ดท าและการใช้ จ่ ายงบประมาณ และมี หน้าที่ และอ านาจ เป็ นของตนเอง กิ จกรรม Morning Talk

โดย คณะอนุ กรรมการเสริ มสร้ างความรู้ในวงงานนิ ติบัญ ญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา

-๘ประเด็นที่ ๒ ท่านเห็นด้วยกับการกาหนดให้มีกฎหมายแผนและขั้นตอนการกระจาย อานาจแกอ่ งคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ หรือไม่ ประเด็นที่ ๓ ทา่ นเห็นดว้ ยหรือไมก่ ับการกาหนดให้ทอ้ งถิน่ มีอิสระในการจัดเก็บภาษี และรายได้อ่นื การให้ทอ้ งถิน่ กูเ้ งินและการออกพันธบัตร เพื่อให้ทอ้ งถิน่ มีอิสระในการเงินการคลัง มีงบประมาณเพียงพอในการจัดทาบริการสาธารณะตามหนา้ ทีแ่ ละอานาจ โดยสานักกฎหมาย สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้มีขอ้ สังเกตในสรุปผลการรับฟั ง ความคิ ดเห็ น ร่ างรั ฐ ธรรมนู ญแห่ ง ราชอาณาจั กรไทยฯ ดั ง กล่ าวว่ า มี ก ารตั้งประเด็ นรั บฟั ง ความคิ ดเห็ น ๓ ประเด็ นจากประชาชนผ่านระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเพี ยงช่ องทางเดี ยว แตไ่ มไ่ ดม้ ีการสอบถามความคิดเห็นจากบุคคลหรือหนว่ ยงานทีเ่ กีย่ วขอ้ งอื่น ๆ แตอ่ ยา่ งใด ----------------------------------------

กิ จกรรม Morning Talk

โดย คณะอนุ กรรมการเสริ มสร้ างความรู้ในวงงานนิ ติบัญ ญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา

-๙-

ประเด็นขอ้ สังเกตและแลกเปลีย่ นความเห็น (ความเห็นสว่ นบุคคลของสมาชิกวุฒิสภา) - มีขอ้ สังเกตและขอ้ กังวลว่าหากร่างแกไ้ ขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้ผา่ นความ เห็นชอบ อาจส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน และอาจกระทบต่อกฎหมายหลายฉบับหรือไม่ เช่น พระราชบัญญัติตารวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่อาจต้องมีการพิจารณาตีความว่าเป็ นเรื่อง ที่เกี่ยวขอ้ งกับความมั่นคงหรือไมอ่ ยา่ งไร และหากร่างแกไ้ ขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้ผา่ น เท่ากั บเป็ น การนั บถอยหลั งการยกเลิก ราชการส่ว นกลาง ผู้ว่า ราชการจัง หวั ด นายอ าเภอ ปลัดอาเภอ กานัน ผู้ใหญ่บ้าน จะหายไปและอาจเปลี่ยนที่มาเป็ นจากการเลือกตั้งทั้ง หมด ซึ่ ง ที่ ผ่ า นมา ก านั น ผู้ ใ หญ่ บ้ า น มี บ ทบาทที่ ส าคั ญ ในส่ ว นท้ อ งถิ่ น มาอย่ า งยาวนาน และประชาชนส่ ว นใหญ่ในท้องถิ่นได้ รับ ประโยชน์จ ากการมี ตาแหน่ง ดั งกล่ าว เห็ น ด้ว ยว่ า ควรจะตอ้ งมีการปรับปรุง แต่การยกเลิกทัง้ หมดไปเสียทีเดียวอาจกอ่ ให้เกิดความไมส่ งบสุขขึ้น ในบา้ นเมืองได้ - ร่ า งแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม รั ฐ ธรรมนู ญ ฯ ฉบั บ นี้ แม้ ไ ม่ ไ ด้ เ ขี ย นระบุ ชั ด เจนว่ า ให้ มี การยกเลิก ผู้ว่ า ราชการจั ง หวัด ก็ ต าม แต่ มี ก ารแก้ไ ขยกเลิ กหน้า ที่แ ละอ านาจบางประการ ที่ซ้าซ้อนกับส่วนท้องถิ่น เป็ นการลดทอนหน้าที่และอานาจของผู้ว่าราชการให้น้อยลง เว้นแต่ ในบางเรื่ องที่เ กี่ย วข้อ งกั บความมั่น คง เช่น ผู้ว่า ราชการด ารงต าแหน่ง ผู้อ านวยการรั ก ษา ความมัน่ คงภายในจังหวัด (กอ.รมน.จังหวัด) และประเด็นที่ควรระมัดระวัง คือ การให้อานาจ แก่ ส่ ว นท้ อ งถิ่ น ในการออกพั น ธบั ต รได้ เ อง ซึ่ ง จากประสบการณ์ ที่ ผ่ า นมาการอนุ มั ติ ใ ห้ สว่ นทอ้ งถิน่ สามารถกูเ้ งินนัน้ สามารถทาได้ แต่การออกพันธบัตรยังไมเ่ คยมีมากอ่ น นอกจากนี้ แนวคิดเรื่องการเลือกตัง้ ผูว้ า่ ราชการจังหวัด กระทรวงมหาดไทยเคยมีแนวคิดเช่นนีม้ ากอ่ นแล้ว เพียงแต่มีแ นวคิดว่าจะให้มีการทดลองเฉพาะในจังหวัดขนาดใหญ่ที่สาคัญ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต เป็ นตน้ แตไ่ มใ่ ช่การเลือกตัง้ ทุกจังหวัด - ร่ า งแก้ไ ขเพิ่ ม เติ ม รั ฐ ธรรมนู ญ ฯ ฉบั บ นี้ หากพิ จ ารณาในแง่ ดี พ บว่ า บางส่ ว น มีเจตนาที่ดีในระดับหนึ่งในเรื่องการกระจายอานาจให้แกส่ ่วนทอ้ งถิ่น เพราะเมื่อพิจารณาจาก การดาเนินการของรัฐบาลตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับตา่ ง ๆ ที่ผา่ นมาตัง้ แตป่ ี ๒๕๔๐ เป็ นต้นมา จะเห็นว่าการกระจายอานาจแกส่ ่วนทอ้ งถิ่นดาเนินการไปช้ามาก เนื่องจากมีกฎหมาย ที่ เกี่ ยวข้ อ งมากมายหลายฉบั บ แต่ เมื่ อพิ จารณาจากบทเฉพาะกาลของร่ า งแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม รั ฐธรรมนู ญฯ ฉบั บนี้ ที่ก าหนดระยะเวลา ๖๐ วั น ให้ คณะรั ฐมนตรี เสนอร่ างพระราชบั ญญั ติ ยกเลิกหน้าที่และอานาจของราชการส่วนกลาง ระยะเวลาที่กาหนดไว้เพียงเท่านี้ กระบวนการ ในการแก้ไขกฎหมายแทบจะเป็ นไปไม่ได้ ในทางปฏิบั ติ เห็นว่ าเป็ นการเสนอเข้ามาเพี ยงเพื่ อ ให้เป็ นประเด็นในการพิจารณา สิ่งสาคัญที่ควรเป็ น คือ การกระจายอานาจและความเข้มแข็ง ขององคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ ในเวลาอันสมควรและเป็ นไปอยา่ งราบรื่นและมีประสิทธิภาพ กิ จกรรม Morning Talk

โดย คณะอนุ กรรมการเสริ มสร้ างความรู้ในวงงานนิ ติบัญ ญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา

-๑๐- ในการพิ จ ารณาร่ า งแก้ไ ขเพิ่ ม เติ ม รั ฐ ธรรมนู ญ ฯ ฉบั บ นี้ ควรมี ก ารพิ จ ารณา ถึงประเด็นความต้องการที่แท้จริงของท้องถิ่น ซึ่งมีประเด็นสาคัญ ๓ ประเด็น ประกอบด้วย ๑. ความต้ อ งการได้ รั บ จั ด สรรงบประมาณจ านวนร้ อ ยละ ๓๕ ๒. เรื่ อ งการตรวจสอบ จากส านั ก งานการตรวจเงิ น แผ่น ดิ น ที่ไ ม่มีค วามชั ด เจน และ ๓. การกระจายอ านาจยั ง คง มีความเลื่อมล้าในดา้ นการจัดสรรงบประมาณ - เห็ น ว่ า ร่ า งแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม รั ฐ ธรรมนู ญ ฯ ฉบั บ นี้ มี ค วามสุ ด โต่ ง มี ผ ลกระทบ เป็ นการทาลายโครงสร้างการปกครองและโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศ ซึ่ ง ควรต้ อ งพิ จ ารณาถึ ง บริ บ ทการปกครองของประเทศไทยจากประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ผ่ า นมา มีความแตกต่างจากบริบทของต่างประเทศทีเ่ กิดจากการรวมตัวกันของหลายรัฐ สว่ นความเป็ นอิสระ ของส่ วนท้องถิ่น มี ความเป็ นอิสระได้แต่ ต้องเป็ นไปตามกฎหมายและตามที่รั ฐบาลส่ ว นกลาง มอบอ านาจให้ มิ ใ ช่ ก ารมี อิ ส ระแบบแยกไปเป็ น เอกเทศ ซึ่ ง การยกเลิ ก ราชการส่ ว นกลาง จะส่ ง ผลกระทบท าให้ ข าดความเชื่ อ มโยงและจะท าให้ ไ ม่มี ค วามเป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น และจะส่งผลกระทบต่อความมัน่ คงของประเทศ หากการกระจายอานาจไปโดยไมม่ ีความพร้อม ผลกระทบจะตกอยู่กับประชาชน สิ่งสาคัญ คือ ทาอย่างไรที่จะทาให้กลไกองค์กรปกครอง ส่วนทอ้ งถิน่ ทีม่ ีอยูแ่ ล้วทางานได้มีประสิทธิภาพมากยิง่ ขึ้นและดูแลประชาชนได้อยา่ งเต็มที่ - มีขอ้ สังเกตว่า จาเป็ นอยา่ งยิง่ ทีร่ ัฐต้องมีการปรับเปลีย่ นและจัดความสัมพันธ์ใหม่ ระหว่ างราชการส่ว นกลาง ราชการส่ วนภูมิ ภาค และราชการส่ว นท้องถิ่น พิ จารณาได้จ าก การจั ด สรรงบประมาณปี ที่ผ่า น ๆ มา แทบจะไม่มี ก ารเปลี่ ย นแปลงแต่ อ ย่า งใด ที่ส าคั ญ คือ การซ้าซ้ อนเรื่องหน้าที่และอานาจระหว่างเทศบาล อบจ. และ อบต. อีกทั้ง การจัดสรร งบประมาณต่อหัวยังไมม่ ีความเป็ นธรรม มีการอิงการเมืองมากเกินไปทาให้การดูแลประชาชน ไมท่ วั่ ถึงในบางพื้นที่ ----------------------------------------

กิ จกรรม Morning Talk

โดย คณะอนุ กรรมการเสริ มสร้ างความรู้ในวงงานนิ ติบัญ ญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา

รูปภาพกิจกรรม

กิ จกรรม Morning Talk

โดย คณะอนุ กรรมการเสริ มสร้ างความรู้ในวงงานนิ ติบัญ ญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา

ภาคผนวก

เอกสารประกอบการจัดกิจกรรม “การพูดคุยระหว่างสมาชิกวุฒิสภา (Morning Talk)” ครั้งที่ ๗/๒๕๖๕

เรื่อง “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น”

วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม หมายเลข ๔๐๖ - ๔๐๗ สว. ชั้น ๔ อาคารรัฐสภา

จัดทาโดย สานักกฎหมาย สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา



สารบัญ หน้า ๑. สรุปสาระสาคัญของ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็นผู้เสนอ) …………………… ๓ ๒. สรุปผลการรับฟังความคิดเห็น ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็นผู้เสนอ) …………………… ๗ ๓. ตารางเปรียบเทียบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ (เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง) กับ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. …………….. ๑๐

๓ สรุปสาระสาคัญ ของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็นผูเ้ สนอ) -------------------------ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็นผู้เสนอ) มีเนื้อหารวมจานวน ๗ มาตรา สรุปสาระสาคัญได้ดังนี้ ๑. หลักการและเหตุผล ๑.๑ หลักการ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อยกเลิกบทบัญญัติในหมวด ๑๔ การปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ตั้ ง แต่ ม าตรา ๒๔๙ ถึ ง มาตรา ๒๕๔ และเพิ่ ม บทบั ญ ญั ติ ห มวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา ๒๔๙ ถึงมาตรา ๒๕๔/๖ แทน ๒.๒ เหตุผล โดยที่ รัฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั กรไทย มี บทบัญ ญัติ ในหมวด ๑๔ การปกครอง ส่วนท้องถิ่น ที่มีเนื้อหาสาระอันเป็นอุปสรรคต่อการกระจายอานาจไปสู่ท้องถิ่น จนทาให้การกระจาย อานาจไปสู่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นไม่อาจ เกิดขึ้นได้จริง เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการกาหนดนโยบาย การบริหาร การจัด ทาบริการสาธารณะ การบริห ารงานบุคคล การเงินและการคลัง การจัด ทาและการใช้จ่าย งบประมาณ เพื่อให้ องค์ กรปกครองส่ว นท้องถิ่น มีหน้าที่และอ านาจในการจัด ทาบริก ารสาธารณะ ในระดั บ ท้ อ งถิ่น โดยทั่ ว ไป เพื่ อ แก้ ไ ขปั ญหาหน้ า ที่ แ ละอานาจที่ ซ้ าซ้ อนกั บ ราชการส่ ว นกลางและ ส่ ว นภู มิ ภ าค เพื่ อ ให้ ก ารก ากั บ ดู แ ลองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ต้ อ งท าเท่ า ที่ จ าเป็ น ไม่ ก ลายเป็ น การบังคับบัญชา และเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จึงจาเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ ๒. สรุปสาระสาคัญ ๒.๑ รั ฐ ต้ อ งจั ด ระเบี ย บบริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น แบบกระจายอ านาจ และต้ อ งให้ ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ย่อมมีสิทธิจั ดตั้งเป็นองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการกาหนด นโยบาย การบริหาร การจัดทาบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง การจัดทา และการใช้ จ่ายงบประมาณ และมี หน้ าที่ และอ านาจเป็ น ของตนเอง (ร่ า งมาตรา ๓ แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม มาตรา ๒๔๙)

๔ ๒.๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ดังนี้ (๑) องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น รู ป แบบทั่ ว ไป ได้ แ ก่ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด เทศบาล องค์ก ารบริ ห ารส่ว นต าบล และองค์ กรปกครองส่ วนท้ อ งถิ่น รู ป แบบทั่ ว ไปอื่ น ที่ จัด ตั้ ง ขึ้ น โดยกฎหมาย (๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอื่นที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย (ร่างมาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๕๐) ๒.๓ องค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่นมีหน้าที่และอานาจโดยทั่วไปในการจัด ทาบริการ สาธารณะในระดับท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยไม่รวมเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) ภารกิจทางทหารและการป้องกันประเทศ (๒) ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (๓) การดาเนินงานเกี่ยวกับกิจการระหว่างประเทศ (๔) การดาเนินงานของธนาคารกลางและระบบเงินตรา (๕) บริการสาธารณะอื่นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยรวมทั้งประเทศ ทั้งนี้ ตามที่ คณะกรรมการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกาหนด โดยรัฐบาล ราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค มีหน้าที่และอานาจในการจัดทา บริการสาธารณะเฉพาะเรื่องที่ไม่อยู่ในหน้าที่และอานาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องที่องค์กร ปกครองส่ว นท้องถิ่น ไม่สามารถจัดทาได้จนทาให้ประชาชนได้รับผลกระทบและเดือดร้อนเสียหาย และเรื่องที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อ งขอให้รัฐบาล ราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค จัดทาแทน (ร่างมาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๕๑) ๒.๔ เพื่ อ ด าเนิ น การกระจายอ านาจเพิ่ ม ขึ้ น ให้ แ ก่ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น อย่างต่อเนื่อง ให้มีกฎหมายกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสาคัญ ตามที่กาหนด (ร่างมาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๕๒) ๒.๕ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการเงินการคลัง และมีงบประมาณ ที่เพียงพอในการจัดทาบริการสาธารณะตามหน้าที่และอานาจ ให้มีกฎหมายกาหนดรายรับขององค์กร ปกครองส่ ว นท้องถิ่น ซึ่งอย่า งน้ อยต้องมีสาระส าคัญ ตามที่ กาหนด (ร่า งมาตรา ๓ แก้ไ ขเพิ่ม เติ ม มาตรา ๒๕๓) ๒.๖ เพื่ อ ให้ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น มี วิ ธี ก ารในการจั ด ท าบริ ก ารสาธารณะ ได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ให้มีกฎหมายกาหนดวิธีก ารจัดทาบริการสาธารณะขององค์กร ปกครองส่ ว นท้องถิ่น ซึ่งอย่า งน้ อยต้องมีสาระส าคัญ ตามที่ กาหนด (ร่า งมาตรา ๓ แก้ไ ขเพิ่ม เติ ม มาตรา ๒๕๔)

๕ ๒.๗ องค์ ก รปกครองส่ว นท้อ งถิ่ น ต้อ งมีส ภาท้ องถิ่น และคณะผู้บ ริห ารท้ องถิ่ นหรื อ ผู้บริหารท้องถิ่น โดยสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง และคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหาร ท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น ทั้งนี้ โดยคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิก สภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ (ร่างมาตรา ๓ เพิ่มมาตรา ๒๕๔/๑) ๒.๘ การแต่งตั้งและการให้ข้ าราชการและลูกจ้างขององค์ก รปกครองส่วนท้องถิ่ น พ้นจากตาแหน่ง ต้องเป็นไปตามความเหมาะสมและความจาเป็นของแต่ละท้องถิ่น โดยการบริหารงาน บุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีมาตรฐานสอดคล้องกัน และอาจได้รับการพัฒนาร่วมกัน หรือสับเปลี่ยนบุคลากรระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันได้ รวมทั้ง ต้องได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคลส่ว นท้องถิ่นก่อน ทั้งนี้ ในการบริห ารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องมีองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรมของ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างระบบคุ้มครองคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารงานบุคคลตามที่ กฎหมายบัญญัติ (ร่างมาตรา ๓ เพิ่มมาตรา ๒๕๔/๒) ๒.๙ การกากับดูแลองค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทาได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้ ต้องทาเท่าที่จาเป็น และมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ชัดเจนสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม และจะกระทบถึงสาระสาคัญแห่งหลักการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิได้ ทั้งนี้ โดยให้มี กฎหมายการกากับดู แ ลองค์กรปกครองส่ วนท้ องถิ่น ซึ่ง อย่างน้อยต้องมีสาระสาคัญตามที่ก าหนด (ร่างมาตรา ๓ เพิ่มมาตรา ๒๕๔/๓) ๒.๑๐ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่นใดมีจานวนไม่น้อยกว่า สามในสี่ของจานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่าสมาชิกสภาท้อ งถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ใดขององค์ก รปกครองส่ว นท้อ งถิ่ น นั้ น ไม่ สมควรดารงตาแหน่ งต่ อไป ให้ส มาชิ กสภาท้องถิ่น หรื อ ผู้บริหารท้องถิ่นผู้นนั้ พ้นจากตาแหน่ง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ (ร่างมาตรา ๓ เพิ่มมาตรา ๒๕๔/๔) ๒.๑๑ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอ ต่ อ ประธานสภาท้ อ งถิ่ น เพื่ อ ให้ ส ภาท้ อ งถิ่ น พิ จ ารณาออกข้ อ บั ญ ญั ติ ท้ อ งถิ่ น ได้ (ร่ า งมาตรา ๓ เพิ่มมาตรา ๒๕๔/๕) ๒.๑๒ ประชาชนในท้ อ งถิ่ น มี สิ ท ธิ ใ นการมี ส่ ว นร่ ว มการบริ ห ารกิ จ การขององค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดให้มีวิธีการให้ประชาชนมีส่วนร่ว ม ดังกล่าว ทั้งนี้ โดยให้มีกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการบริหารกิจการของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร่างมาตรา ๓ เพิ่มมาตรา ๒๕๔/๖)

๖ ๒.๑๓ ภายใน ๒ ปีนั บแต่วั นประกาศใช้รัฐ ธรรมนูญ นี้ ให้ คณะรัฐ มนตรี จัด ทาแผน การยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และภายใน ๕ ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะรัฐมนตรี จัดให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค (ร่างมาตรา ๔) ๒.๑๔ ภายใน ๒๔๐ วั น นั บ แต่ วั น ประกาศใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ นี้ ให้ รั ฐ สภาด าเนิ น การ ตรากฎหมายดังต่อไปนี้ให้แล้วเสร็จ (๑) กฎหมายกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจ (๒) กฎหมายเกี่ยวกับการกาหนดรายรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๓) กฎหมายเกี่ยวกับวิธีการจัดทาบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๔) กฎหมายเกี่ยวกับการกากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๕) กฎหมายการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นและการเข้าชื่อเสนอ ข้อบัญญัติท้องถิ่น (๖) กฎหมายการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการบริหารกิจการขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (ร่างมาตรา ๕) ๒.๑๕ ภายใน ๖๐ วั น นั บ แต่ วั น ประกาศใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ นี้ ให้ ค ณะรั ฐ มนตรี เ สนอ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเลิกหน้าที่และอานาจของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาค ที่ซ้าซ้อนกับหน้าที่และอานาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อสภาผู้แทนราษฎร และให้รัฐสภา พิจารณาและให้ ความเห็น ชอบภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ ในกรณีที่รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่แล้วเสร็จ ภายในเวลาที่กาหนด ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กาหนดหน้าที่และอานาจของราชการส่วนกลาง หรื อ ราชการส่ว นภู มิภ าคที่ ซ้าซ้ อ นกั บ หน้ าที่ แ ละอานาจขององค์ ก รปกครองส่ ว นท้อ งถิ่ น สิ้น ผลไป (ร่างมาตรา ๖) ๒.๑๖ ภายใน ๖๐ วั น นั บ แต่ วั น ประกาศใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ นี้ ให้ ค ณะรั ฐ มนตรี เ สนอ ร่างพระราชบั ญญั ติเ พื่อ แก้ไ ขหรือ ยกเลิก บทบัญ ญัติใ นกฎหมายจัด ตั้ง องค์กรปกครองส่ วนท้อ งถิ่ น ทั้งหลายที่ขัดหรือแย้งกับหลักการบริหารราชการแผ่นดินแบบกระจายอานาจ และความเป็นอิสระ แก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือที่ขัดหรือแย้ ง กับบทบัญญัติในหมวด ๑๔ ของรัฐธรรมนูญนี้ และให้รัฐสภาพิจารณาและให้ความเห็นชอบภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎร (ร่างมาตรา ๗)

๗ สรุปผลการรับฟังความคิดเห็น ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็นผูเ้ สนอ) -------------------------๑. สำหรับกำรรับฟังควำมคิดเห็นเกี่ยวกับร่ำงรัฐธรรมนูญดังกล่ำว ได้ดำเนินกำรผ่ำนระบบ เทคโนโลยีสำรสนเทศของรัฐสภำ www.parliament.go.th ตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหำคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๕ กันยำยน ๒๕๖๕ รวมระยะเวลำ จำนวน ๑๘ วัน โดยข้อมูลประกอบกำรรับฟังควำมคิดเห็น ได้แก่ ร่างมาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมหมวด ๑๔ กำรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่างมาตรา ๔ กำรยกเลิกรำชกำรส่วนภูมิภำค ร่างมาตรา ๕ กำรตรำกฎหมำยที่เกี่ยวข้องกับกำรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่างมาตรา ๖ กำรยกเลิกหน้ำที่และอำนำจของรำชกำรส่วนกลำงหรือรำชกำรส่วนภูมิภำค ที่มีควำมซ้ำซ้อนกับหน้ำที่และอำนำจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ร่างมาตรา ๗ แก้ไขหรือยกเลิกบทบัญญัติในกฎหมำยจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ขัดหรือแย้งกับหลักกำรบริหำรรำชกำรแผ่นดินแบบกระจำยอำนำจและควำมเป็นอิสระของท้องถิ่น ๒. สำหรับผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับหรืออำจได้รับผลกระทบจำกร่ำงพระรำชบัญญัติ ได้แก่ (๑) กระทรวงมหำดไทย (๒) องค์กรปกครองส่วนภูมิภำค (๓) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๔) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (๕) ประชำชนทั่วไป ๓. ผลกำรรับฟังควำมคิดเห็น สรุปได้รวม ๓ ประเด็น ดังนี้ ประเด็ น ที่ ๑ ท่ า นเห็ น ด้ ว ยหรื อ ไม่ กั บ การก าหนดให้ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น มีความเป็นอิสระในการกาหนดนโยบาย การบริหาร การจัดทาบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง การจัดทาและการใช้จ่ายงบประมาณ และมีหน้าที่และอานาจเป็นของตนเอง คาตอบ เห็นด้วย โดยสรุปควำมเห็นได้ ดังนี้ - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรมีกำรกระจำยอำนำจ มีอิสระในกำรกำหนด นโยบำย อำนำจในกำรบริหำร กำรจัดทำบริกำรสำธำรณะ บริหำรงำนบุคคล กำรเงินและกำรคลัง มีอำนำจในกำรจัดทำและใช้จ่ำยงบประมำณเป็นของตนเอง

๘ - ทำให้สำมำรถแก้ไขสภำพปัญหำของชุมชนในพื้นที่ได้อย่ำงถูกต้อง เนื่องจำก กำรบริหำรจัดกำร กำรบริกำรสำธำรณะ จะสำมำรถยึดโยงกับควำมต้องกำรของคนในพื้นที่มำกกว่ำเดิม โดยที่ไม่ต้องไปยึดโยงกับนโยบำยของกำรบริหำรรำชกำรส่วนกลำง ไม่เห็นด้วย - ไม่มี ประเด็นที่ ๒ ท่านเห็นด้วยกับการกาหนดให้มีกฎหมายแผนและขั้นตอนการกระจาย อานาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือไม่ คาตอบ เห็นด้วย โดยสรุปควำมเห็นได้ ดังนี้ - เพื่อให้กำรกระจำยอำนำจไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปตำมหลักกำร กระจำยอำนำจ ตอบสนองกำรบริหำรรำชกำรที่มีประสิทธิภำพ ลดควำมซ้ำซ้อนของหน่วยงำน และ สำมำรถตอบสนองควำมต้องกำรของประชำชนภำยในท้องถิ่นได้อย่ำงแท้จริง - เป็นกฎหมำยที่มีควำมล้ำหลัง ไม่มีลักษณะกำรกระจำยอำนำจอย่ำงแท้จริง เนื่องจำกอำนำจในกำรบริหำรจัดกำรและกำรบริกำรสำธำรณะยังถูกยึด โยงจำกอำนำจของกำรบริหำร รำชกำรส่วนกลำงมำกเกินไป ทำให้นโยบำยในกำรบริหำรรำชกำรส่วนท้องถิ่นถูกจำกัด ขำดควำมเป็น อิสระอย่ำงแท้จริง ไม่เห็นด้วย - ไม่มี ประเด็นที่ ๓ ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกาหนดให้ท้องถิ่นมีอิสระในการจัดเก็บภาษีและ รายได้อื่ น การให้ท้ องถิ่ นกู้เ งิน และการออกพัน ธบัต ร เพื่อให้ท้ องถิ่ นมีอิ สระในการเงิน การคลั ง มีงบประมาณเพียงพอในการจัดทาบริการสาธารณะตามหน้าที่และอานาจ คาตอบ เห็นด้วย โดยสรุปควำมเห็นได้ ดังนี้ - เป็นกำรจัดเก็บและกระจำยรำยได้ไปยังท้องถิ่นอย่ำงแท้จริง เพื่อนำมำบริหำร จั ด กำรจั ด ท ำบริ ก ำรสำธำรณะ และพั ฒ นำภำยในท้ อ งถิ่ น ของตนได้ อ ย่ ำ งมี ป ระสิ ท ธิ ภ ำพตรง ตำมควำมต้องกำรของประชำชนภำยในท้องถิ่นนั้น ๆ ไม่เห็นด้วย - ไม่เห็นด้วยกับกำรให้ท้องถิ่นมีอำนำจในกำรกู้เงิน และออกพันธบัตร ซึ่งอำจ เป็นกำรสร้ำงภำระหนี้สินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๙ ๔. ประโยชน์ที่ประชำชนและสังคมจะได้รับ เมื่อร่ำงรัฐธรรมนู ญแห่งรำชอำณำจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักรำช .... ประกำศใช้ในรำชกิจจำนุเบกษำ จะส่งผลให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีควำมเป็นอิสระ มีอำนำจในกำร จัดทำนโยบำย กำรบริกำรสำธำรณะ กำรบริหำรจัดกำร และงบประมำณของตนเองมำกขึ้น รวมทั้ง ประชำชนภำยในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในกำรตรวจสอบและกำรบริหำรจัดกำรภำยในท้องถิ่นของตน

เอกสารประกอบการจัดกิจกรรม “การพูดคุยระหว่างสมาชิกวุฒิสภา (Morning Talk)” ครั้งที่ ๗/๒๕๖๕ เรื่อง “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น”

จัดทาโดย สานักวิชาการ สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา

สารบัญ ๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา ๒๔๙ – มาตรา ๒๕๔ ๒. ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็นผู้เสนอ ๓. รายงานผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานผลการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจกิดขึ้นจาก ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็นผู้เสนอ

เอกสารประกอบการจัดกิจกรรม “การพูดคุยระหว่างสมาชิกวุฒิสภา (Morning Talk)” ครั้งที่ ๗/๒๕๖๕ เรื่อง “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น”

จัดทาโดย สานักวิชาการ สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น …………………………………………….. มาตรา ๒๔๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑ ให้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่ง การปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามวิธีการและรูปแบบองค์ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่กฎหมายบัญญัติ การจัดตั้งองค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่นในรูปแบบใดให้คานึงถึง เจตนารมณ์ของประชาชน ในท้ อ งถิ่ น และความสามารถในการปกครองตนเองในด้ า นรายได้ จ านวนและความหนาแน่ น ของประชากร และพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบ ประกอบกัน มาตรา ๒๕๐ องค์ กรปกครองส่ว นท้ อ งถิ่ นมี ห น้า ที่แ ละอ านาจดู แลและจัด ท าบริก าร สาธารณะ และกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การจัดทาบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะใดที่สมควรให้เป็นหน้าที่และอานาจ โดยเฉพาะขององค์ กรปกครองส่ว นท้องถิ่นแต่ ละรู ปแบบ หรื อให้อ งค์ก รปกครองส่วนท้ องถิ่ นเป็ น หน่วยงานหลัก ในการดาเนินการใด ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งต้องสอดคล้องกับรายได้ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคสี่ และกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกลไก และขั้นตอนในการกระจายหน้าที่ และอานาจ ตลอดจนงบประมาณและบุคลากรที่เกี่ยวกั บหน้าที่และ อานาจดังกล่าวของส่วนราชการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย ในการจัดทาบริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะใดที่เป็นหน้าทีแ่ ละอานาจขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิน่ ถ้าการร่วมดาเนินการกับเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐหรือการมอบหมายให้เอกชน หรือหน่วยงานของรัฐดาเนินการ จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นมากกว่าการที่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจะดาเนินการเอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จะร่วมหรือมอบหมายให้เอกชนหรือหน่วยงานของรัฐ ดาเนินการนัน้ ก็ได้ รัฐต้องดาเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ของตนเองโดยจัดระบบภาษีหรือ การจั ดสรรภาษี ที่ เหมาะสม รวมทั้งส่ งเสริ มและพั ฒนาการหารายได้ ขององค์ กรปกครองส่ วนท้ องถิ่ น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดาเนินการตามวรรคหนึ่งได้อย่างเพียงพอ ในระหว่างที่ยังไม่อาจดาเนินการได้ ให้รัฐ จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพลางก่อน กฎหมายตามวรรคหนึ่งและกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ต้องให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการบริหาร การจัดทาบริการสาธารณะ การส่งเสริมและสนับสนุน การจัดการศึกษา การเงินและการคลัง และการกากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งต้องทาเพียง เท่าที่จาเป็นเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม การป้องกันการทุจริตและการใช้จ่ายเงินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคานึงถึงความเหมาะสมและความ แตกต่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ และต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการ ขัดกันแห่งผลประโยชน์ และการป้องกันการก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการส่วนท้องถิ่น ด้วย

-๒มาตรา ๒๕๑ การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามที่กฎหมาย บัญญัติซึ่งต้องใช้ระบบคุณธรรมและต้องคานึงถึงความเหมาะสมและความจาเป็ นของแต่ละท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ การจัดให้มีมาตรฐานที่สอดคล้องกันเพื่อให้สามารถ พัฒนาร่วมกัน หรือการสับเปลี่ยนบุคลากรระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันได้ มาตรา ๒๕๒ สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง ผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นหรือในกรณี องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น รู ป แบบพิ เ ศษ จะให้ ม าโดยวิ ธีอื่ น ก็ ไ ด้ แต่ ต้ อ งค านึ ง ถึ ง การมี ส่ ว นร่ ว ม ของประชาชนด้วย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่ กฎหมายบัญญัติ ซึ่งต้องคานึงถึงเจตนารมณ์ ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย มาตรา ๒๕๓ ในการดาเนินงาน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น เปิดเผยข้อมูลและรายงานผลการดาเนินงานให้ประชาชนทราบ รวมตลอดทั้งมีกลไกให้ประชาชนในท้องถิ่น มีส่วนร่วมด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๒๕๔ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิเข้าชื่อกัน เพื่อเสนอข้อบัญญัติหรือเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติ ..................................................................................

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ... นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คน เป็นผู้เสนอ

รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น และรายงานผลการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดจากร่างพระราชบัญญัติ

ส่วนที่ ๑ ข้อมูลพื้นฐานของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช .... ๑. ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ....  กฎหมายใหม่  แก้ไขเพิ่มเติม  ยกเลิก ๒. หลักการและเหตุผล ๒.๑ หลักการ แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย เพื่ อ ยกเลิ ก บทบั ญ ญั ติ ใ นหมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่มาตรา ๒๔๙ ถึงมาตรา ๒๕๔ และเพิ่มบทบัญญัติหมวด ๑๔ การปกครอง ส่วนท้องถิ่น มาตรา ๒๔๙ ถึงมาตรา ๒๕๔/๖ แทน ๒.๒ เหตุผล โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีบทบัญญัติในหมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีเนื้อหาสาระอันเป็นอุปสรรคต่อการกระจายอานาจไปสู่ท้องถิ่น จนทาให้การกระจายอานาจไปสู่ท้องถิ่น ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้อ งถิ่นไม่อาจเกิดขึ้นได้จริง เพื่อให้องค์กร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น มี ค วามเป็ น อิ ส ระในการก าหนดนโยบาย การบริ ห าร การจั ด ท าบริ ก ารสาธารณะ การบริ ห ารงานบุ คคล การเงิน และการคลั ง การจัดทาและการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอานาจในการจัดทาบริการสาธารณะในระดับท้องถิ่นโดยทั่วไป เพื่อแก้ไขปัญหาหน้าที่ และอานาจที่ซ้าซ้อนกับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้การกากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องทาเท่าที่จาเป็น ไม่กลายเป็นการบังคับบัญชา และเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจาเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ ๓. ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมาย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จานวน ๗๖,๕๙๑ คนเป็นผู้เสนอ ส่วนที่ ๒ การรับฟังความคิดเห็นและสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น ๑. ข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็น ร่างมาตรา ๓ ยกเลิกหมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา ๒๔๙ ถึงมาตรา ๒๕๔ และเพิ่ม บทบัญญัติใหม่เป็นหมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา ๒๔๙ ถึงมาตรา ๒๕๔/๖ แทน โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ - กาหนดให้รัฐต้องจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบบกระจายอานาจ โดยให้อิสระ แก่ท้องถิ่นตามหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยมีอิสระในการกาหนดนโยบาย การบริหาร

-2การจัดทาบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง การจัดทาและการใช้จ่าย งบประมาณ และมีหน้าที่และอานาจเป็นของตนเอง - กาหนดให้ องค์ กรปกครองส่ วนท้ องถิ่ นมี อ านาจหน้ าที่ ทั่วไป ในการจัดทาบริ การ สาธารณะในระดั บท้ องถิ่น โดยให้ รั ฐบาล ราชการส่ วนกลาง และราชการส่ วนภู มิภาคมี อ านาจจัดท าบริ การ สาธารณะเฉพาะเรื่ องที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถจัดทาได้ และเฉพาะเรื่องที่องค์กรปกครองส่ วน ท้องถิ่นร้องขอ - กาหนดให้มีแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจโดยมีสาระสาคัญเกี่ยวกับการแบ่ง หน้าที่และอานาจระหว่างการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาลด ความซ้าซ้อนอานาจหน้าที่ของหน่วยงาน - กาหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง - กาหนดให้ มีกฎหมายว่าด้วยการมีส่ วนร่ วมของประชาชนในท้องถิ่นในการบริ หาร กิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การตั้งสภาพลเรือน การเข้าชื่อเสนอข้อญัตติท้องถิ่น การเข้าชื่อถอด ถอนผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ตลอดจนมีส่วนร่วมในการจัดทางบประมาณท้องถิ่น - เพิ่มความยืดหยุ่ นในการจัดหารายได้ให้แก่ตนเองเพื่อนามาใช้ ในการจั ดทาบริ การ สาธารณะให้แก่ท้องถิ่น - กาหนดให้ท้องถิ่นมีอิสระในการบริหารจัดการการบริการสาธารณะ เช่น การจัดตั้ง บริษัทจากัด การจัดตั้งองค์การมหาชนในระดับท้องถิ่น การจัดตั้งสหการ หรือมอบอานาจให้เอกชนจัดทาบริการ สาธารณะแทน - มีการกาจัดอานาจการกากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความชัดเจน โดยยึด หลักความเป็นอิสระของท้องถิ่น ร่างมาตรา ๔ กาหนดให้คณะรัฐมนตรีจัดทาแผนการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคภายใน ๒ ปี นับ แต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องดังกล่าวภายใน ๕ ปี นับ แต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ร่างมาตรา ๕ ให้รัฐสภาดาเนินการตรากฎหมายต่อไปนี้ให้แล้วเสร็จภายใน ๒๔๐ วัน นับแต่วัน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ๑.การกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจ ๒.การกาหนดรายรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓.วิธีการจัดทาบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๔.การกากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๕.การถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นและการเข้าชื่อเสนอข้อญัตติ ท้องถิ่น ๖.การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ร่างมาตรา ๖ และร่างมาตรา ๗ กาหนดให้คณะรัฐมนตรียกเลิกหน้าที่และอานาจของราชการ ส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคที่มีความซ้าซ้อนกับหน้าที่และอานาจของราชการส่วนท้องถิ่น และแก้ไขหรือ ยกเลิกบทบัญญัติในกฎหมายการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลายที่ขัดกับหลักการบริหารราชการแผ่นดิน แบบกระจายอานาจและความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่น

-3๒. ผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบจากร่างพระราชบัญญัติ (๑) กระทรวงมหาดไทย (๒) องค์กรปกครองส่วนภูมิภาค (๓) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๔) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (๕) ประชาชนทั่วไป ๓. ประเด็นการรับฟังความคิดเห็น ๑.ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกาหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็น อิส ระ ในการกาหนดนโยบาย การบริหาร การจัดทาบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง การจัดทาและการใช้จ่ายงบประมาณ และมีหน้าที่และอานาจเป็นของตนเอง ๒. ท่านเห็ น ด้ว ยกับการกาหนดให้ มีกฎหมายแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจแก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือไม่ ๓. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกาหนดให้ท้องถิ่นมีอิสระในการจัดเก็บภาษีและรายได้อื่น การให้ท้องถิ่นกู้เงินและการออกพันธบัตร เพื่อให้ท้องถิ่นมีอิสระในการเงินการคลัง มีงบประมาณเพียงพอใน การจัดทาบริการสาธารณะตามหน้าที่และอานาจ ๔. ระยะเวลาและวิธีการการรับฟังความคิดเห็น ๔.๑ ระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็น รับฟังตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๕ รวมระยะเวลา จานวน ๑๘ วัน ๔.๒ วิธีการรับฟังความคิดเห็น

(๑) ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐสภา www.parliament.go.th

-4-

๔.๒ ผลการรับฟัง ผลการรับฟังผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐสภา www.parliament.go.th สรุปได้ เป็นรายประเด็นดังนี้ ๑.ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกาหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระใน การกาหนดนโยบาย การบริหาร การจัดทาบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง การจัดทาและการใช้จ่ายงบประมาณ และมีหน้าที่และอานาจเป็นของตนเอง เห็นด้วย - องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ควรมี ก ารกระจาย อ านาจ มี อิ ส ระในการก าหนดนโยบาย อ านาจใน การบริหาร การจัดทาบริการสาธารณะ บริหารงาน บุคคล การเงินและการคลั ง มีอานาจในการจั ด ทา และใช้จ่ายงบประมาณเป็นของตนเอง - ทาให้สามารถแก้ไขสภาพปัญหาของชุมชนในพื้นที่ ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง เนื่ อ งจากการบริ ห ารจั ด การ การ บริการสาธารณะ จะสามารถยึดโยงกับความต้องการ ของคนในพื้นที่มากกว่าเดิมโดยที่ไม่ต้องไปยึดโยงกับ นโยบายของการบริหารราชการส่วนกลาง

ไม่เห็นด้วย

๒. ท่า นเห็น ด้ วยกับการกาหนดให้มีกฎหมายแผนและขั้น ตอนการกระจายอานาจแก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือไม่ เห็นด้วย - เพื่อให้การกระจายอานาจไปยังองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นเป็นไปตามหลักการกระจายอานาจ ตอบสนอง การบริหารราชการที่มีประสิทธิภาพ ลดความซ้าซ้อน ของหน่วยงาน และสามารถตอบสนองความต้องการ ของประชาชนภายในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง

ไม่เห็นด้วย

-5เห็นด้วย - เป็ น กฎหมายที่ มี ค วามล้ า หลั ง ไม่ มี ลั ก ษณะการ กระจายอานาจอย่างแท้จริง เนื่องจากอานาจในการ บริหารจัดการและการบริการสาธารณะยังถูกยึดโยง จากอ านาจของการบริ ห ารราชการส่ ว นกลางมาก เกิ น ไป ท าให้ น โยบายในการบริ ห ารราชการส่ ว น ท้องถิ่นถูกจากัด ขาดความเป็นอิสระอย่างแท้จริง

ไม่เห็นด้วย

๓. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกาหนดให้ท้องถิ่นมีอิสระในการจัดเก็บภาษีและรายได้อื่น การให้ท้องถิ่นกู้เงินและการออกพันธบัตร เพื่อให้ท้องถิ่นมีอิสระในการเงินการคลัง มีงบประมาณเพียงพอ ในการจัดทาบริการสาธารณะตามหน้าที่และอานาจ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย - เป็นการจัดเก็บและกระจายรายได้ไปยังท้องถิ่น - ไม่เห็นด้วยกับการให้ท้องถิ่นมีอานาจในการกู้เงิน และ อย่างแท้จริง เพื่อนามาบริหารจัดการจัดทาบริการ ออกพันธบัตร ซึ่งอาจเป็นการสร้างภาระหนี้สินให้แก่ สาธารณะ และพั ฒ นาภายในท้ อ งถิ่ น ของตนได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพตรงความต้ อ งการของ ประชาชนภายในท้องถิ่นนั้นๆ ส่วนที่ ๓ รายงานผลการวิเคราะห์ผลกระทบอันเกิดจากร่างพระราชบัญญัติ ๑. ความเป็นมา สภาพปัญหา ความจาเป็นที่จะต้องตราพระราชบัญญัติ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีบทบัญญัติในหมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีเนื้อหาสาระอันเป็นอุปสรรคต่อการกระจายอานาจไปสู่ท้องถิ่น จนทาให้การกระจายอานาจไปสู่ท้องถิ่น ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นไม่อาจเกิดขึ้นได้จริง เพื่อให้องค์กร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น มี ค วามเป็ น อิ ส ระในการก าหนดนโยบาย การบริ ห าร การจั ด ท าบริ ก ารสาธารณะ การบริ ห ารงานบุ คคล การเงิน และการคลั ง การจัดทาและการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอานาจในการจัดทาบริการสาธารณะในระดับท้องถิ่นโดยทั่วไป เพื่อแก้ไขปัญหาหน้าที่ และอานาจที่ซ้าซ้อนกับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้การกากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องทาเท่าที่จาเป็น ไม่กลายเป็นการบังคับบัญชา และเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจาเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ ๒. ความสอดคล้องของร่างพระราชบัญญัติ  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๖ รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการ แผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่นให้เป็นไปตามหลักการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี โดยหน่วยงานของรัฐต้องร่วมมือและช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้การบริหาร ราชการแผ่นดิน การจัดทาบริการสาธารณะ และการใช้จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อประโยชน์ สุขของประชาชน

-6 ยุทธศาสตร์ชาติเรื่อง ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม การลดความ เหลื่อมล้าสร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ ปรับโครงสร้างและแก้ไขกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อ วางระบบและกลไกในการบริ ห ารราชการองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น โดยปรั บ ปรุ ง กฎหมายเพื่ อ จั ด ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้เอื้อต่อประชาชนในการตัดสินใจ เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาพื้นที่และการกากับติดตามเพื่อสร้างธรรมาภิบาลในการทางานของภาครัฐ ตลอดจน การปรั บ ปรุ งกฎหมายเพื่ อ พัฒ นาระบบการปกครองท้ อ งถิ่น โดยการเปิดพื้นที่และโอกาสการมีส่ ว นร่ ว ม อย่างกว้างขวางของภาคส่วนต่าง ๆ ๓. ประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับ เมื่ อ ร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทยแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม (ฉบั บ ที่ . .) พุ ท ธศั ก ราช .... ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา จะส่งผลให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีความเป็นอิสระ มีอานาจในการจัดทา นโยบาย การบริการสาธารณะการบริหารจัดการ และงบประมาณของตนเองมากขึ้น ประชาชนภายในท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและการบริหารจัดการภายในท้องถิ่นของตน ๔. ความสัมพันธ์หรือความใกล้เคียงกับกฎหมายอื่น ๕. ผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ผลกระทบอื่นที่สาคัญ ๖. การกาหนดให้มีระบบอนุญาต อนุมัติหรือการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่  มี  ไม่มี เหตุผลและความจาเป็น

๗. การกาหนดให้มีระบบคณะกรรมการ  มี เหตุผลและความจาเป็น

๘. บทกาหนดโทษ  ไม่มี  โทษทางอาญา  โทษทางปกครอง  โทษปรับเป็นพินัย  โทษอุปกรณ์ เหตุผลและความจาเป็น

 ไม่มี

-7-

ส่วนที่ ๔ การเปิดเผยรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานผลการวิเคราะห์ผลกระทบอันเกิดขึ้น จากร่างพระราชบัญญัติ คณะกรรมการรั บ ฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมาย ที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้เปิดเผยรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นและ รายงานผลการวิเคราะห์ผลกระทบอันเกิดจากร่างพระราชบัญญัติ ทางเว็บไซต์รัฐสภา ww.parliament.go.th แล้วตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕

คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.