79D1E9E6-5235-4D0A-B13A-BE5218E6F303 Flipbook PDF


20 downloads 103 Views 23MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

สงคราม การค้า สหรัฐ-จีน

US-CHINA TRADE WAR

สงครามการค้า สหรัฐ-จีน

สหรัฐประกาศสงครามการค้ากับจีน เมื่อวันที่ 22 มี.ค.2018 โดย ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมพ์ ลงนามในคำสั่งขึ้นภาษี สินค้าที่เกี่ยวข้อง กับทรัพย์ สินทางปัญญาจากจีน ด้วยการกล่าวหาว่าจีนแอบฉก ทรัพย์ สินทางปัญญาของบริษัทอเมริกันที่เข้าไปลงทุนในจีน โดยการ บังคับให้ธุรกิจสหรัฐต้องร่วมทุนกับเอกชนจีน แถมยังต้องถ่ายทอด เทคโนโลยีและเปิ ดเผยความลับทางการค้าแก่หุ้นส่วนชาวจีนด้วย มิ หนำซ้ำ เอกชนอเมริกันยังไม่สามารถเก็บค่าอนุญาตการใช้ ประโยชน์ ทรัพย์ สินทางปัญญา หรือที่เรียกกันว่า “ค่าไลเซนส์” ในจีนอีกด้วย สหรัฐกล่าวหาอีกด้วยว่า จีนลักลอบเจาะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตน ล้วงเอาข้อมูลที่เป็ นทรัพย์ สินทางปัญญาของอุตสาหกรรมอเมริกัน เหล่านี้เป็ นต้นเหตุให้จีนสามารถผลิตสินค้าโดยใช้ เทคโนโลยี อเมริกัน แล้วส่งออกขายทั่วโลก รวมทั้งตลาดสหรัฐ ซึ่ งเป็ นสาเหตุให้ สหรัฐขาดดุลการค้ากับจีนเมื่อปี ที่แล้ว เป็ นการขาดดุลสูงเป็ น ประวัติการณ์ ถึง 337,200 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 10.5 ล้านล้านบาท และเรียกร้องให้ลดการขาดดุลลง 100,000 ล้านดอลลาร์หรือราว 3.125 ล้านล้านบาท

ทำไมสหรัฐจ้องเล่นงานจีน

中国制造

Made in China หรือ 2025 เป็ นข้ออ้างที่ทรัมพ์นำมาใช้ในการห้ามมิให้จีน ลงทุนในบริษัทไฮเทคของสหรัฐ เหมือนกับตอนกล่าวหาข้ออ้างว่าญี่ปุ่ นจะครองครอง โลก (megalomaniac) ต่อญี่ปุ่ นสมัยยุคทศวรรษ 1980 เพื่อกันท่า Sony และบริษัท อุตสาหกรรมชั้นนำของญี่ปุ่ นในตอนนั้นแต่หากสังเกตให้ดี ทางรัฐบาลเยอรมันก็มีการ ออกโครงการ Industry 4.0 ที่คล้ายคลึงกับ Made in China 2025 แต่ทางสหรัฐกลับ ไม่ได้ออกมาตรการปกป้ องอุตสาหกรรมไฮเทคต่อเยอรมัน

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนกำลัง ทวีความรุ นแรงขึ้นในระดับที่หลาย ประเทศเริ่มแสดงความวิตกถึงผลกระทบ ที่จะตามมาในช่วงสิ้นปีนี้ และในปี 2562 โดยสะท้อนออกมาอย่างเด่นชัด ในปฏิกิริยาของตลาดหุ้นทั่วโลกที่ทรุ ดตัว หลายระลอก และอัตราแลกเปลี่ยนของ ประเทศคู่ค้าที่เริ่มอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับ เงินสกุลดออลาร์ของสหรัฐ รวมถึงเงิน บาท

ชนวนปะทุของสงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งสอง ได้เปิ ดฉากขึ้นอย่างเป็ น ทางการหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกาประกาศเก็บภาษีนำเข้าจากจีน 25% รวมทั้งสิ้น 1,102 รายการ มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2561 โดยมีผล ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม จนกระตุ้นให้จีนต้องดำเนินมาตรการตอบโต้ทันที ด้วยการเก็บภาษีนำเข้า สินค้าจากสหรัฐ ในอัตราเดียวกัน เป็ นมูลค่าเท่ากันและมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกับสหรัฐ จากนั้น ในวันที่ 23 สิงหาคม มาตรการตอบโต้จีนระลอกที่สอง ก็เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็ นทางการ โดยสหรัฐสั่งขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ในอัตรา 25% เป็ นมูลค่าอีก 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยครั้ง ล่าสุด สินค้าเป้ าหมายมีทั้งสิ้น 279 รายการ ในจำนวนนั้น รวมถึงสิ้นค้าเซมิคอนดักเตอร์ พลาสติก เคมีภัณฑ์ รถจักรยานยนต์ มาตรวัดความเร็ว และอุปกรณ์ สร้างรางรถไฟ และในวันที่ 24 กันยายน มาตรการกำแพงภาษีต่อสินค้าจีนรอบที่สาม มูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ ก็เริ่มมีผลบังคับใช้ โดยเริ่มเก็บจาก 10% และเพิ่มเป็ น 25% ในช่วงปีหน้า เว้นแต่ว่าทั้งสอง ประเทศจะเจรจากันได้ ครอบคลุมสินค้าเกือบ 6,000 รายการ ซึ่ งถือเป็ นมาตรการตอบโต้ทางภาษี กับสินค้านำเข้ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมาของสหรัฐฯ

สาเหตุของสงคราการค้า สหรัฐ-จีน

1. ทำเนียบขาวระบุว่า พบการปฏิบัติที่ “ไม่เป็ นธรรม” หลายประการของจีน รวมถึงกฎหมายห้ามต่างชาติ ครอบครองกิจการ นั้นหมายความว่า นักลงทุนต่างชาติ ที่ต้องการเข้าไปลงทุนในจีนจะต้องมีคนจีนเป็ นหุ้น ส่วนร่วมด้วย ซึ่ งมีผลกดดันให้หลายบริษัทต่างชาติ ต้องยอมถ่ายโอนเทคโนโลยีให้ เพื่อให้สินค้านั้นเข้าสู่ ตลาดจีนได้ 2. สหรัฐหวั่นนโยบาย Made in China 2025 ซึ่ งจีน พยายามที่จะพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพสูง และรวมไป ถึงสินค้าไฮเทคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็ น สินค้ากลุ่มไอที ทั้ง Hardware และ Software และสินค้าชนิดอื่นๆ 3. สหรัฐต้องการที่จะลดการขาดดุลทางการค้ากับ ประเทศจีน และรวมไปถึงเรื่องของการว่างงานในสหรัฐ ซึ่ งการเพิ่มกำแพงภาษีในมุมมองทรัมพ์คือการเพิ่ม การจ้างงานในสหรัฐ

แม้หลายคนจะเชื่อว่าจีนมีอาวุธเด็ดมากพอในการเอาคืนสหรัฐ แต่นักวิเคราะห์มองว่าที่ผ่านมาจีน ใช้มาตรการภาษีกับสินค้าบางอย่างโดยผ่านการไตร่ตรองมาอย่างรอบคอบแล้ว และอาจหลีกเลี่ยง ใช้มาตรการการค้าที่แข็งกร้าวขึ้น เพราะจีนไม่ต้องการให้สถานการณ์ ความขัดแย้งบานปลาย เนื่องจากเศรษฐกิจจีนยังต้องพึ่งพาการส่งออกในฐานะพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ประกอบ กับจีนยังได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐอย่างมหาศาล นอกจากนี้สหรัฐยังเป็ นหนึ่งในคู่ค้ารายใหญ่ ที่สุดของจีน ดังนั้นหากสองฝ่ ายทำสงครามการค้ากัน จีนอาจจะเป็ นฝ่ ายที่เสียหายหนักกว่า

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย



แม้ว่าหลายหน่วยงานคาดการณ์ ว่าผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทยในระยะสั้นจะมี ไม่มากนัก แต่สถิติการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้กลับมีค่าติดลบราวร้อยละ 2.7 โดยเดือนพฤษภาคมที่ผ่านติดลบถึงร้อยละ 5.8 ถือเป็ นสัญญาณเตือนเบื้องต้นที่ ไม่ควรมองข้าม เพราะหากสงครามนี้ยังยืดเยื้อต่อไป ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและ เศรษฐกิจไทยจะขยายเป็ นวงกว้างและมีความรุ นแรงมากขึ้นในหลายด้านด้วยกัน

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย ผลกระทบด้านแรก คือ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมจะชะลอตัวลง

ส่งผลให้ประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไปยังสองประเทศนี้ได้รับผลกระทบ ยอดการส่งออกลดลงจนส่งผลต่ออัตรา การขยายตัวของประเทศเหล่านั้นตามไปด้วย สุดท้ายแล้วแม้แต่ประเทศที่ไม่ได้พึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และจีนก็จะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการที่เศรษฐกิจของประเทศอื่นชะลอตัวลงตามไปด้วย เนื่องจากทั้งสอง ประเทศเป็ นคู่ค้ารายใหญ่ของประเทศไทย สงครามการค้าที่ยืดเยื้อจึงส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผลกระทบด้านที่สอง คือ บรรยากาศด้านการลงทุน หากความขัดแย้งนี้ยังคงเกิดขึ้นซ้ำๆ กันต่อไปเรื่อย นักลงทุนก็ต้องหาวิธีลดความเสี่ยงลงด้วยการย้าย เงินลงทุนและฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นเพื่อให้ยังสามารถทำธุรกิจกับสหรัฐฯ และจีนได้ต่อไป เรื่องนี้เป็ นทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศไทย ประเทศไทยยังมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ แข็งแกร่ง และสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าส่วนใหญ่เป็ นสินค้าซึ่ งประเทศไทยสามารถส่ง ออกไปยังทั้งสองประเทศได้ จึงอาจดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนเพื่อผลิตสินค้าเหล่านี้ได้

ผลกระทบด้านที่สาม คือ การจัดระเบียบห่วงโซ่อุปทานในระดับโลกขึ้นมาใหม่ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ สินค้าส่งออกจำนวนไม่น้อยในตลาดโลกไม่ได้ผลิตขึ้นมาภายในประเทศเดียวทั้งหมด มี การแยกผลิตตามความได้เปรียบด้านต้นทุนในการผลิตของประเทศ หากประเทศที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิต ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าจนทำให้ความได้เปรียบด้านต้นทุนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้ผลิตในประเทศ เหล่านั้นอาจโดนแทนที่ด้วยผู้ผลิตในประเทศอื่นที่มีความได้เปรียบมากกว่า จนทำให้ห่วงโซ่อุปทานของสินค้า เปลี่ยนโฉมหน้าไป อาจส่งผลต่อผู้ผลิตในประเทศไทยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเหล่านี้

ผลกระทบด้านที่สี่ คือ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน หากย้อนกลับไปดูทิศทางการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนของเงิน บาทและเงินตราสกุลอื่นในเอเชีย จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงไป ตามสถานการณ์ สงครามการค้า เป็ นการเพิ่มความเสี่ยงทางการเงิน ให้กับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

ผลกระทบด้านที่ห้า คือ การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจีนเป็ นนักท่องเที่ยวที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจของจีนชะลอตัวลงมากจนทำให้จำนวนนักท่องเที่ยว จีนลดลง หรือมีการลดค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวลง ย่อมส่งผลต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจากประเทศอื่น หากการตัดสินใจมาท่องเที่ยวมีความอ่อนไหวต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศเหล่านั้นแล้ว จำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศเหล่านี้ก็อาจลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้แล้ว หากผลกระทบด้านต่างๆ ของสงครามการค้าทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงอย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวไทยเองก็ อาจลดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือลดรายจ่ายในการท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน

ผลกระทบด้านที่หก คือ การจ้างงานและการกระจายรายได้ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจากการค้าการลงทุนที่ลดลง ประกอบกับการลดลงของนักท่องเที่ยว จะส่งผลต่อการจ้างงานให้ ลดลงจากการหดตัวของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ได้ทำงานประจำ หรือทำงานประจำที่ใช้ทักษะไม่สูงนัก ในกรณี ที่ ไม่โดนเลิกจ้าง นายจ้างก็อาจเลือกใช้วิธีการไม่ขึ้นเงินเดือนตามที่ควรจะเป็ น ซึ่ งสิ่งเหล่านี้ทำให้ระดับรายได้ของแรงงาน กลุ่มนี้เพิ่มช้ากว่ากลุ่มอื่น ส่งผลให้การกระจายรายได้ระหว่างแรงงานแต่ละกลุ่มมีความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น ปัญหาการกระจายรายได้อีกมิติหนึ่งก็คือ การกระจายรายได้ในเชิงภูมิภาค เพราะแต่ละภูมิภาคจะได้รับผลกระทบจากการ ชะลอตัวทางเศรษฐกิจไม่เท่ากัน พื้นที่ไหนที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เข้มแข็ง หรือเป็ นพื้นที่ที่มีการผลิตสินค้าเพื่อการ ส่งออกมาก ก็จะได้รับผลกระทบมากตามไปด้วย นอกจากนี้แล้ว การที่เศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว ย่อมทำให้กำลังซื้อภายในประเทศลดลง ซึ่ งอาจทำให้ความ ต้องการสินค้าเกษตรและสินค้าพื้นฐานในชีวิตประจำวันลดลง ภูมิภาคไหนที่มีมูลค่าการผลิตสินค้าเหล่านี้สูงก็จะได้รับ ผลกระทบตามไปด้วย

ผลกระทบด้านที่เจ็ด คือ การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาของบริษัทลดลง ในเมื่อทิศทางการค้าการลงทุนโลกยังไม่มีความชัดเจน ประกอบกับการที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและ เศรษฐกิจไทยลดลงกว่าที่คาดการณ์ ไว้ อาจส่งผลให้บริษัทเลื่อนการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาออกไป ส่งผลต่อ ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทและความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้เพิ่มขึ้นช้ากว่าที่ควรจะ เป็ นตามไปด้วย

ผลกระทบด้านที่แปด คือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะได้รับผลกระทบ มากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ผลกระทบทั้ง 6 ด้านที่กล่าวมีผลต่อธุรกิจแตกต่างกัน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่ งมีทรัพยากรน้อย มีความ สามารถในการปรับตัวจำกัด ย่อมได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมมากกว่าในทุกด้าน

กลยุทธ์ของประเทศไทย ทำอย่างไรให้อยู่รอดและยั่งยืน?



ไม่ว่าการตอบโต้ทางการค้าและเทคโนโลยีเพื่อความเป็ นมหาอำนาจในการกำหนดระเบียบโลกใหม่ ระหว่างสหรัฐฯ และจีน จะออกมาในรูปแบบใดก็ตาม กลยุทธ์สำหรับประเทศขนาดเล็กเช่นประเทศไทย นอกเหนือจากการสร้างภูมิคุ้มกันต่อความผันผวนในตลาดการเงินโลกแล้ว ควรมุ่งเน้นการสร้างภูมิคุ้มกัน และกระจายความเสี่ยงในมิติของเศรษฐกิจเช่นกัน ผ่านทั้งการพัฒนาทักษะแรงงานให้เท่าทันโลก อันจะ เป็ นฐานรากของเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนได้จากการบริโภคในประเทศ รวมถึงการสร้างห่วงโซ่อุปทานใน ภูมิภาค (regionalization) มากขึ้น เพื่อรองรับโอกาสใหม่ ๆ ที่อาจเกิดจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ ยักษ์ใหญ่ที่ขยายวงกว้างขึ้นอีกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็ นการลงทุนใหม่หรือการย้ายฐานการผลิตจากต่าง ประเทศ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่ งนอกจากจะช่วยถ่ายโอนความสามารถทางเทคโนโลยีจากต่าง ประเทศและพัฒนาผู้ประกอบการไทยแล้ว ยังช่วยพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำที่จะทำให้ไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น เนื่องจาก อุตสาหกรรมการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซี ยนอย่าง เช่น มาเลเซี ย และเวียดนาม [4] ซึ่ งประเทศเหล่านี้ได้รับผลดีจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ในช่วงที่หลายประเทศต้องใช้นโยบายทำงานที่บ้าน (Work From Home: WFH) ผนวกกับ แนวโน้มความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น แม้ว่าในปัจจุบัน สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลายในหลายประเทศทั่วโลก ผนวกกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังเข้มข้นและใกล้ได้ผลตัดสินเข้ามาทุกที ทำให้ดูเหมือนว่าสงคราม ระหว่างสองมหาอำนาจจะพักยกและห่างหายไปจากหน้าหนังสือพิมพ์ไปบ้าง แต่เราไม่ควรชะล่าใจ เพราะ ความขัดแย้งนี้ไม่น่าจะจบลงโดยง่าย และเราควรก้าวข้ามจากการเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจ มาเป็ น “การฟื้นฟูและพัฒนาความสามารถให้แข่งขันได้” เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว ไม่ว่าใครจะก้าวมา เป็ นคนกำหนดระเบียบโลกต่อไป

ก้าวต่อไปของจีน-สหรัฐ จะเกิดมาตรการตอบโต้กันแบบไหนบ้าง



ฝั่งสหรัฐ Trump บอกว่าเป็ นเรื่องงานที่เขาจะชนะในเกมสงครามการค้านี้ เพราะเขาก็เตรียมมาตรการทาง ภาษีอีก 2.00 แสนล้านเหรียญสหรัฐแล อีก 2.67 แสนเหรียญสหรัฐที่จะใช้กับสินค้าจีนที่นำเข้ามาใน สหรัฐ หากจีนไม่ยอมทำตามกระบวนการเพื่อลดดุลการค้าที่เกินสหรัฐอยู่ 3.35 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หากสหรัฐเลือกเดินเกมขึ้นภาษีอีกจะส่งผลกระทบต่อจีนที่เป็ นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ในโลก ที่สำคัญ ภาคธุรกิจยังออกมาเตือนว่า จีนอาจจะมีวิธีการเอาคืนผ่านกำหนดเกณฑ์การลงทุนหรือเทขายพันธบัตร ของสหรัฐครั้งใหญ่ เป็ นต้น ซึ่ งปลายเดือน ส.ค.2018 เพิ่งมีการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ แต่ยังไม่ เห็นข้อสรุ ปใหม่ๆ ด้าน Gao Feng โฆษก กระทรวงพาณิ ชย์ของจีน บอกว่า หากสหรัฐมีการประกาศใช้มาตรการทางภาษีเพื่อ ปะทะกับจีน จีนก็จำเป็ นที่จะต้องมีมาตรการตอบโต้เช่นกัน

สรุ ป สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐ ยังเป็ นที่จับตามองไปทั่วโลก เพราะไม่ว่าสหรัฐ ต้ำกำแพงภาษีอะไรมา จีนก็เหมือนจะตอบโต้ให้เท่ากัน แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน ซึ่ งลาสุดตัวเลขการค้าของจีนก็ยังเกิดดุลสหรัฐ ทำให้ Trump ออกมาขู่ว่าจะขึ้นภาษีใส่จีนอีกเกือบ 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ฝั่งจีนก็ไม่ยอมอาจจะตั้ง ภาษีกลับไปที่สินค้าสหรัฐเช่นกัน ซึ่ งจีนมีกระสุนในมือคือ เขาถือพันธบัตรของสหรัฐอยู่เยอะ อาจจะส่ง ผลกระทบต่อสหรัฐได้

อ้างอิง https://thaitextile.org/th/insign/detail.7 86.1.0.html https://thaitextile.org/th/insign/detail.7 86.1.0.html https://thematter.co/thinkers/china-vsusa-trade-war/77688 https://brandinside.asia/trade-warchina-and-usa-kbank-the-wisdom/

จัดทำโดย นางสาวโสภิตนภา มัญจะกาเภท 16515143 สาขาคณิ ตศาสตร์

นานภูธิป ขันตี 16515130 สาขาคณิ ตศาสตร์

วิถีโลกกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม GE64404

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.