คำภาษาต่างประเทศ Flipbook PDF

คำภาษาต่างประเทศ

31 downloads 112 Views 19MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามี อิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ทั้งในด้านการพูดและ การเขียนสื่อสารในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันคนไทยศึกษา ความรู้และวิทยาการต่างๆ จากตำราภาษาอังกฤษ และสนใจ เรียนรู้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น คำยืมจากภาษาอังกฤษจึง หลั่งไหลเข้ามาในภาษาไทยมากขึ้นทุกขณะทั้งในวง การศึกษา ธุรกิจ การเมือง การบันเทิง เป็นต้น ที่มาของคำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ


๑. การทับศัพท์ เป็นการถ่ายเสียงและถอดตัวอักษร คำยืมจาก ภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์มีจำนวนมาก คนนิยม ใช้คำทับศัพท์ เพราะเข้าใจง่าย สื่อสารได้ชัดเจน เช่น คำภาษาอังกฤษ graph คำทับศัพท์ กราฟ คำภาษาอังกฤษ cartoon คำทับศัพท์ การ์ตูน คำภาษาอังกฤษ clinic คำทับศัพท์ คลินิก คำภาษาอังกฤษ quota คำทับศัพท์ โควตา คำภาษาอังกฤษ technology คำทับศัพท์ เทคโนโลยี หลักการสังเกตคำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ


๒. การบัญญัติศัพท์ เป็นวิธีการยืมคำ โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น มาแล้วสร้างคำขึ้นใหม่ ผู้ที่มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ภาษาไทยแทนคำ ภาษาอังกฤษ คือ ราชบัณฑิตยสถาน เช่น คำภาษาอังกฤษ airport คำบัญญัติศัพท์ สนามบิน คำภาษาอังกฤษ globalization คำบัญญัติศัพท์ โลกาภิวัตน์ คำภาษาอังกฤษ science คำบัญญัติศัพท์ วิทยาศาสตร์ คำภาษาอังกฤษ telephone คำบัญญัติศัพท์ โทรศัพท์ หลักการสังเกตคำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ


๓. การแปลศัพท์ วิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มี ความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสาร ในภาษาไทยต่อไป ดังตัวอย่าง เช่น คำภาษาอังกฤษ blackboard คำบัญญัติศัพท์ กระดานดำ คำภาษาอังกฤษ enjoy คำบัญญัติศัพท์ สนุก คำภาษาอังกฤษ handbook คำบัญญัติศัพท์ หนังสือคู่มือ คำภาษาอังกฤษ school คำบัญญัติศัพท์ โรงเรียน คำภาษาอังกฤษ short story คำบัญญัติศัพท์ เรื่องสั้น หลักการสังเกตคำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ


กราฟ การ์ตูน กิ๊บ กลูโคส กัปตัน แก๊ส กุ๊ก เกียร์ แก๊ง แกลลอน คริสต์มาส ไดนาโม ไดโนเสาร์ ครีม คลอรีน คอนกรีต คลินิก คอนเสิร์ต คอมพิวเตอร์ คุกกี้ เคเบิล เครดิต แคปซูล เคาน์เตอร์ แคลอรี โควตา ชอล์ก คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ


ช็อกโกเลต เช็ค เชิ้ต เชียร์ โชว์ ซีเมนต์ เซลล์ ไซเรน ดีเซล ดอลลาร์ ดีเปรสชั่น เต็นท์ ทอนซิล มาเลเรีย โมเลกุล ไมล์ ไมโครโฟน ไมโครเวฟ ยิปซัม ยีราฟ ริบบิ้น เรดาร์ ลิกไนต์ ลิปสติก เลเซอร์ วัคซีน คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ


เทอม แท็กซี่ แทรกเตอร์ นิโคติน นิวเคลียร์ นีออน นิวเคลียส โน้ต ไนลอน บล็อก เบนซิน แบคทีเรีย ปลั๊ก ปิกนิก เปอร์เซ็นต์ พลาสติก พีระมิด ฟลูออรีน ฟอร์มาลีน ฟังก์ชัน ฟาร์ม ฟิสิกส์ มอเตอร์ มัมมี่ คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ


ไทยและจีนเป็นมิตรประเทศที่ติดต่อเจริญ สัมพันธไมตรี และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามมาช้านาน ชาวจีนที่มาค้าขายได้เข้ามาตั้ง ถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ภาษาจีนจึงเข้า มาสู่ไทยโดยทางเชื้อชาติ และการค้า นอกจากนี้ภาษาจีน และภาษาไทยยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้มีคำ ภาษาจีนเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากมาตั้งแต่ในอดีต ที่มาของคำยืมที่มาจากภาษาจีน


๑. คำที่ชื่ออาหารการกิน ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย โจ๊ก ตังโอ๋ บ๊วย เก๊กฮวย ๒. คำที่เกี่ยวกับสิ่งของ เครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋ง ฮวงซุ้ย โต๊ะ หลักการสังเกตคำยืมที่มาจากภาษาจีน


๔. คำที่มักใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก ก๋วยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น โบตั๋น อี๊ ป๊า ๓. คำที่เกี่ยวกับการค้าและ การจัดระบบทางการค้า เจ๋ง บ๋วย หุ้น ห้าง โสหุ้ย เจ๊ง หลักการสังเกตคำยืมที่มาจากภาษาจีน


ตัวอย่างคำยืมภาษาจีน กงสี กงฉิน กงเต็ก ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เกาเหลา กุ๊ย เก๊ เก๊ก เกี้ยว เกี๊ยว เกี๊ยะ กุยเฮง เก๊ก ก๋ง เก้าอี้ ขาก๊วย เข่ง จับกัง จับฉ่าย จับยี่กี จันอับ เจ๊ง เจ เฉาก๊วย เซ้ง เซียน แซ่ แซยิด ซาลาเปา


ตะหลิว เต๋า ตุน ตุ๋นแต๊ะเอีย เต้าหู้ เต้าฮวย เต้าเจี้ยว โต๊ะ ไต้ก๋ง ตังเก บ๊วย บะฉ่อ บะหมี่ บู๊ ปุ้งกี๋ ปอเปี๊ยะ แป๊ะเจี๊ยะ พะโล้ เย็นตาโฟ หวย ยี่ห้อ ลิ้นจี่ ห้าง หุ้น เอี๊ยม เฮงซวย ฮวงซุ้ย ฮ่องเต้ อั้งโล่ ตัวอย่างคำยืมภาษาจีน


ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอารยธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และ มีความเจริญก้าวหน้าในหลายด้านทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ไทยเรามีการติดต่อ กับญี่ปุ่นและได้รับวัฒนธรรมรวมถึงภาษาของญี่ปุ่นเข้ามา จากการค้าขายและเปลี่ยนสินค้าเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งคน ไทยเริ่มนิยมศึกษาเล่าเรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นความรู้เพิ่มขึ้น ทำให้ภาษาญี่ปุ่นเข้ามาปะปนกับไทยเราอย่างกลมกลืน ที่มาของคำยืมที่มาจากภาษาญี่ปุ่น


๑. ชื่ออาหาร เช่น สุกี้ยากี้ ซาบะ วาซาบิ โมจิ ยากิโซบะ ซูซิ เท็มปุระ อูด้ง โชยุ ซาซิมิ โตเกียว ราเม็ง ตัวอย่างคำยืมภาษาญี่ปุ่น


๒. ชื่อกีฬา เช่น ยูโด คาราเต้ ซูโม่ ตัวอย่างคำยืมภาษาญี่ปุ่น


กิโมโน สึนามิ คาราโอเกะ ซาโยนาระ ซามูไร ฮาราคีรี บอนไซ เกอิชา คันจิ นินจา โอตาคุ เซน ตัวอย่างคำยืมภาษาญี่ปุ่น


ประเทศกัมพูชามีชายแดนติดต่อกับไทย และมี ความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมมาตั้งแต่ในอดีตช้านาน ทำให้ ภาษาเขมรเข้ามาปะปนกับภาษาไทยจากอิทธิพลทางด้าน การเมือง วัฒนธรรม และภูมิศาสตร์ ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูล มอญ-เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็น คำพยางค์เดียวและเป็น คำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับ ภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย ที่มาของคำยืมที่มาจากภาษาเขมร


๑. คำภาษาเขมรมักจะใช้จ ร ล ญ ส เป็นตัวสะกด จ สะกด เสด็จ ตรวจ เท็จ อำนาจ ร สะกด ขจร ระเมียร ควร ล สะกด กำสรวล ตำบล ถวิล ดล จรัล ญ สะกด จำเริญ ชำนาญ เชิญ เพ็ญ ส สะกด จรัส ตรัส หลักการสังเกตของคำเขมร ถนน บางคำเปลี่ยนตัวสะกด จาก ร ล ญ เป็น น เดิร เดิน ถนล


ข้อสังเกต ส่วนใหญ่คำภาษาเขมรจะไม่มีรูปวรรณยุกต์ ส่วนน้อยมากที่มีรูปวรรณยุกต์ แต่ก็มีเฉพาะ วรรณยุกต์เอกเท่านั้น ๒. คำเขมรไม่นิยมใช้รูปวรรณยุกต์ ตำบล ดำเนิน กระบือ เสด็จ เขนย จำเริญ เพลา ทรง ยกเว้น คำบางคำ เช่น เขม่า จำหน่าย ฯลฯ หลักการสังเกตของคำเขมร


๓. คำภาษาเขมรส่วนใหญ่จะเป็นคำควบกล ้า และอักษรนำ ขลาด ขนอง เสวย โตนด กระบือ จมูก ไกร ขลัง ปรุง สนุก สนาน เฉลียว หลักการสังเกตของคำเขมร


4. คำภาษาเขมรส่วนใหญ่จะขึ้นต้นด้วย บัง บัน บำ บัง บังคับ บังคม บังอาจ บังเกิด บัน บันได บันดาล บันเทิง บันลือ บำ บำเพ็ญ บำรุง บำเหน็จ บำเรอ หลักการสังเกตของคำเขมร


ประ แผลงเป็น บรร ประทม บรรทม ประจุ บรรจุ ประจง บรรจง ผ แผลงเป็น ประ ผสาน ประสาน ผกาย ประกาย ผสม ประสม ข แผลงเป็น กระ ขจัด กระจัด ขจาย กระจาย ขดาน กระดาน หลักการสังเกตของคำเขมร


การแผลงสระอำ เกิด กำเนิด ชาญ ชำนาญ จ่าย จำหน่าย เดิน ดำเนิน ตรวจ ตำรวจ หลักการสังเกตของคำเขมร


คำเขมรคำราชาศัพท์ ดำริ โปรด เจริญ ตรัส ดำรัส เสด็จ เขนย ขนง บรรทม ผนวช ธำมรงค์ กันแสง


ที่มาของคำยืมที่มาจากภาษาชวา-มลายู ภาษาชวา (อินโดนีเซีย) ชวาที่ไทยยืมมาใช้ ส่วนมากเป็นภาษาเขียน ซึ่งรับมาจากวรรณคดีเรื่อง ดาหลังและอิเหนาเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ ภาษามลายู (มาเลย์) เข้ามาปะปนในภาษาไทย เพราะมีเขตแดนติดต่อกัน จึงติดต่อสัมพันธ์กันทั้ง ทางด้านการค้าขาย ศาสนา วัฒนธรรม มาเป็น เวลานาน โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ยังคงใช้ ภาษามลายูสื่อสารในชีวิตประจำวัน


หลักการสังเกตการคำภาษาชวา-มลายู ๑. ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ เช่น บุหรง บุหลัน ระตู ปาหนัน ตุนาหงัน ๒. ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น กัลปังหา กุญแจ กระดังงา ซ่าหริ่ม ประทัด ๓. นำมาใช้ในความหมายคงเดิม เช่น ทุเรียน น้อยหน่า บุหลัน


ตัวอย่างคำภาษาชวา-มลายูในภาษาไทย กะพง กะลาสี กำยาน กำปั่น กระยาหงัน (สวรรค์) กะละปังหา จับปิ้ง จำปาดะ ตลับ ทุเรียน มังคุด สละ สลาตัน สลัด โสร่ง หนัง ยะลา เบตง น้อยหน่า กริช กิดาหยัน(มหาดเล็ก) กุหนุง(เขาสูง) กุญแจ การะบุหนิง (ดอกแก้ว)


ตัวอย่างคำภาษาชวา-มลายูในภาษาไทย กระดังงา อิเหนา อังกะลุง อสัญแดหวา (เทวดา) ตุนาหงัน (คู่หมั้น) ยิหวา (ดวงใจ) บุหรง (นกยูง) บุหลัน (ดวงจันทร์) บุหงา (ดอกไม้) อุรังอุตัง สะตาหมัน (สวน) บุหงารำไป ปาหนัน (ดอกลำเจียก) รำมะนา การะบุหนิง (ดอกแก้ว) กิดาหยัน (มหาดเล็ก) ซ่าโบะ (ผ้าห่ม) ซ่าหริ่ม ดาหงัน (สงคราม)


ปันหยี ปั้นเหน่ง ประทัด บุษบามินตรา (ดอกพุทธรักษา) มาลาตี (ดอกมะลิ) มินตรา (ต้นกระถิน) มิรันตี (ดาวเรือง) สะการะตาหรา (ดอกกรรณิการ์) ตันหยง (ดอกพิกุล) กาหลา (ชื่อดอกไม้) ประไหมสุหรี มะเดหวี ระตู (เจ้าเมือง) ตัวอย่างคำภาษาชวา-มลายูในภาษาไทย


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.