เอกสารประกอบหลักสูตรภาษาอังกฤษ Flipbook PDF

เอกสารประกอบหลักสูตรภาษาอังกฤษ

68 downloads 119 Views 17MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

เอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พุทธศักราช 2565 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านหนองผือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


คำนำ จุดประสงค์การจัดทำเอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พุทธศักราช 2565 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เพื่อใช้ในการบริหารการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้เกิดการ เรียนรู้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ฉบับปรับปรุง ( พ.ศ. 2545 ) ในการจัดทำครั้งนี้ได้ทำการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษากลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ศึกษาสภาพปัญหา บริบทของการจัดการศึกษา แต่งตั้งคณะทำงาน วาง แผนการปรับปรุงหลักสูตรรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประเมินผลการใช้หลักสูตร ก่อนใช้ ระหว่างใช้ และหลัง ใช้เชิงระบบ จนได้เอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พุทธศักราช 2565 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6 ฉบับสมบูรณ์ ขอขอบคุณประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแทนผู้ปกครอง คณะครูและบุคลากร ทางการศึกษาทุกท่าน คณะผู้เชี่ยวชาญ คณะศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 2 ที่ให้การสนับสนุน ร่วมมือ พัฒนาจนแล้วเสร็จ คณะผู้จัดทำ


สารบัญ หน้า คำนำ สารบัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 1 ตอนที่ 1 ส่วนนำ ความนำ 4 วิสัยทัศน์ของหลักสูตรสถานศึกษา 5 วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา 5 พันธกิจของสถานศึกษา 5 เป้าประสงค์ของสถานศึกษา 6 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 7 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 7 ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช. (เพิ่มเติม) 9 ตอนที่ 2 โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา โครงสร้างเวลาเรียน 11 มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 13 ตัวชี้วัดชั้นปี 14 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง 18 ตอนที่ 3 คำอธิบายรายวิชา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 31 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 33 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 35 ตอนที่ 4 วิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 37 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 40 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 43 ตอนที่ 5 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การตัดสิน การให้ระดับและการรายงานผลการเรียน 47 เกณฑ์การจบการศึกษา 48 อภิธานศัพท์ 49 บรรณานุกรม


1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ทำไมต้องเรียนภาษาต่างประเทศ ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภ าษาต่างป ระเทศมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความ หลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ ภาษาต่างประเทศ และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้ง่ายและ กว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ซึ่งกำหนดให้เรียน ตลอดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น อาหรับ บาลี และภาษากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน หรือภาษาอื่นๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่ จะจัดทำรายวิชาและจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม เรียนรู้อะไรในภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ ภาษาต่างประเทศ สื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพ และศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอด ความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้ • ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ตีความ นำเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอดและความคิดเห็นใน เรื่องต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม • ภาษาและวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาความสัมพันธ์ ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของ ภาษากับวัฒนธรรมไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม • ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น การใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยง ความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน • ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก การใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้ง ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน และสังคมโลก เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก


2 คุณภาพผู้เรียน จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 • ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้องที่ฟัง อ่านออกเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยคง่ายๆ และ บทพูด เข้าจังหวะง่ายๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน บอกความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟังตรงตามความหมาย ตอบ คำถามจากการฟังหรืออ่านประโยค บทสนทนาหรือนิทานง่ายๆ • พูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง ใช้คำสั่งและ คำขอร้องง่ายๆ บอกความต้องการง่ายๆ ของตนเอง พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเพื่อน บอกความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ใกล้ตัวหรือกิจกรรมต่างๆ ตามแบบที่ฟัง • พูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว จัดหมวดหมู่คำตามประเภทของบุคคล สัตว์ และ สิ่งของตามที่ฟังหรืออ่าน • พูดและทำท่าประกอบ ตามมารยาทสังคม /วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา บอกชื่อและคำศัพท์ง่ายๆ เกี่ยวกับเทศกาล /วันสำคัญ/งานฉลอง และชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและ วัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย • บอกความแตกต่างของเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ และประโยคง่ายๆ ของภาษาต่างประเทศและ ภาษาไทย • บอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น • ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่ายๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน • ใช้ภาษาต่างประเทศ เพื่อรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องใกล้ตัว • มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด) สื่อสารตามหัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว อาหาร เครื่องดื่ม และเวลาว่างและนันทนาการ ภายในวงคำศัพท์ ประมาณ 300-450 คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรม) • ใช้ประโยคคำเดียว (One Word Sentence) ประโยคเดี่ยว (Simple Sentence) ในการสนทนา โต้ตอบตามสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 • ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำที่ฟังและอ่าน อ่านออกเสียงประโยค ข้อความ นิทาน และบทกลอนสั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน เลือก /ระบุประโยคและข้อความตรงตามความหมายของ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่อ่าน บอกใจความสำคัญ และตอบคำถามจากการฟังและอ่าน บทสนทนา นิทาน ง่ายๆ และเรื่องเล่า


3 • พูด /เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล ใช้คำสั่ง คำขอร้อง และให้คำแนะนำ พูด /เขียน แสดงความต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ พูด และเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว พูด /เขียนแสดงความรู้สึก เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว กิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆ ประกอบ • พูด /เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เขียนภาพ แผนผัง แผนภูมิ และ ตารางแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ฟังและอ่าน พูด/เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว • ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาท่าทางอย่างสุภาพ เหมาะสม ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล /วันสำคัญ/งานฉลอง/ชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เข้าร่วม กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ • บอกความเหมือน/ ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ การใช้เครื่องหมาย วรรคตอน และการลำดับคำ ตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย เปรียบเทียบความ เหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาล งานฉลองและประเพณีของเจ้าของภาษากับของไทย • ค้นคว้า รวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้ และนำเสนอด้วย การพูด /การเขียน • ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและสถานศึกษา •ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลต่างๆ • มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน) สื่อสารตามหัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขาย และลมฟ้าอากาศ ภายในวงคำศัพท์ประมาณ 1,050-1,200 คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม) • ใช้ประโยคเดี่ยวและประโยคผสม (Compound Sentences) สื่อความหมายตามบริบทต่างๆ


4 ตอนที่ 1 ส่วนนำ ความนำ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ตามคำสั่ง กระทรวงศึกษาธิการที่ สพฐ. 1239/2560 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560 และคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 30/2561 ลงวันที่ 5 มกราคม 2561 ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยมีคำสั่งให้โรงเรียนดำเนินการใช้หลักสูตรในปีการศึกษา 2561 โดยให้ใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 4 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นมา และ ปีการศึกษา 2563 โดยให้ใช้ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้เป็น หลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทาง ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพและมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านหนองผือจึงได้ทำหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2565 ให้สอดคล้องกับหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระ ภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และเป็นกรอบใน การวางแผนและพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา คุณภาพผู้เรียน ให้มีกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะ สำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด โครงสร้างเวลาเรียน ตลอดจนเกณฑ์การวัดประเมินผลให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้โรงเรียนสามารถ กำหนดทิศทางในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละระดับตามความพร้อมและจุดเน้น โดยมีกรอบ แกนกลางเป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมคุณภาพ มีความรู้อย่างแท้จริง และมีทักษะในศตวรรษที่ 21 มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในเอกสารนี้ ช่วยทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในทุกระดับ เห็นผลคาดหวังที่ต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจนตลอดแนว ซึ่งจะสามารถช่วยให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรได้อย่างมั่นใจ ทำให้การจัดทำ หลักสูตรในระดับสถานศึกษามีคุณภาพและมีความเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจนเรื่องการ วัดและประเมินผลการเรียนรู้และช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา ดังนั้นในการพัฒนา หลักสูตรในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติจนกระทั่งถึงสถานศึกษา จะต้องสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษา ทุกรูปแบบ และครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


5 การจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังได้ทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ ชุมชน ครอบครัว และบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ โดยร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ในการวางแผนดำเนินการ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนา เยาวชนของชาติไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ วิสัยทัศน์ของหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองผือ พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สู่มาตรฐานสากล และเป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งร่างกาย ความรู้คู่คุณธรรม มีความเป็นผู้นำของสังคมมีจิตสำนึกในความเป็น พลเมืองไทยและเป็นพลโลกโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยึดมั่นในการปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐานสามารถใช้นวัตกรรมและ เทคโนโลยีรวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาในการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิตโดยมุ่งเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองผือจัดการเรียนการสอนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มุ่งพัฒนาทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 พัฒนาครูสู่มืออาชีพ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พันธกิจของสถานศึกษา 1. ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการศึกษา 2. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 3. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 4. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามหลักสูตรสถานศึกษา มีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) และ มีอัจฉริยภาพมุ่งสู่เวทีการแข่งขันทางวิชาการทุกระดับ 5. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา บนพื้นฐานหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 6. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในการนานวัตกรรม/ผลวิจัยไปใช้ เพื่อความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 7. พัฒนาศูนย์การเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาให้ผู้เรียนมีอัจฉริยภาพ


6 เป้าประสงค์ของสถานศึกษา 1. สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียน อย่างรอบด้าน ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 2. สถานศึกษานำหลักสูตรไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีการประเมิน ทบทวนตรวจสอบ ปรับปรุง และรายงานผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา 3. สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการคุณภาพตามรูปแบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล มุ่งเน้น การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน 4. ครูจัดกระบวนการเรียนรู้5 ขั้นตอน (5 STEPs) และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการจัดการเรียนรู้เชิง รุก (Active learning) 5. ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน และบริหารจัดการชั้น เรียนเชิงบวก 6. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีคุณลักษณะของผู้เรียนตาม มาตรฐานสากล มีทักษะความรู้ ความสามารถขั้นสูงมากกว่าระดับปกติ 7.ผู้เรียนมีความรู้ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 8. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม ภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความ แตกต่างและหลากหลาย 9. ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในยุคดิจิทัล คิดประดิษฐ์อย่างมีความสามารถในการปรับตัว มีทักษะการ สื่อสารอย่างมีประสิทธิผล มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี 10. ครูมีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าพัฒนางาน พัฒนาตนเองจากแหล่งวิชาการต่างๆ ใช้แหล่ง เรียนรู้และพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน ใช้การวิจัย สื่อนวัตกรรม มีการ ตรวจสอบ ประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง 11. สถานศึกษาพัฒนาครูให้เป็นผู้นำและมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้เฉพาะด้านสามารถใช้ ภาษาต่างประเทศ และใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ 12. สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การใช้บริการอย่างมี คุณภาพจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้มีสื่อการเรียนรู้ที่ มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลเพียงพอต่อนักเรียน มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบความเร็วสูงเชื่อมโยง ครอบคลุมพื้นที่ของโรงเรียน


7 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองผือ พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองผือ พุทธศักราช 2565 มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลัก เหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อ ตนเองและสังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์การคิด อย่าง สร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้ อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการ เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาและมีกาตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึง ประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมี ทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองผือ พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นใน สังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1. รักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต


8 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตเป็นสาธารณะ 1. รักชาติศาสน์กษัตริย์หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติธํารงไว้ซึ่ง ความเป็นชาติไทย ศรัทธา ยึดมั่นในศาสนา และเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ที่รักชาติศาสน์ กษัตริย์คือ ผู้ที่มีลักษณะซึ่งแสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติมีความสามัคคีปรองดอง ภูมิใจ เชิดชูความ เป็นชาติไทย ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในความถูกต้องประพฤติตรงตาม ความเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต คือ ผู้ที่ประพฤติตรงตามความ เป็นจริงทั้งทางกาย วาจา ใจ และยึดหลักความจริง ความถูกต้องในการดำเนินชีวิต มีความละอายและเกรง กลัวต่อการกระทำผิด 3. มีวินัย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์และระเบียบข้อบังคับ ของครอบครัว โรงเรียน และสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ระเบียบ ข้อบังคับของ ครอบครัว โรงเรียน และสังคมเป็นปกติวิสัย ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 4. ใฝ่เรียนรู้หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน แสวงหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ผู้ที่ใฝ่เรียนรู้ คือ ผู้ที่มีลักษณะซึ่งแสดงออกถึงความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและ ภายนอกโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม บันทึกความรู้วิเคราะห์สรุปเป็นองค์ ความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอด เผยแพร่และนําไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ 5. อยู่อย่างพอเพียง หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการดําเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีและปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้ที่อยู่อย่างพอเพียง คือ ผู้ที่ดําเนินชีวิตอย่างประมาณตน มีเหตุผล รอบคอบ ระมัดระวัง อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความรับผิดชอบ ไม่ เบียดเบียนผู้อื่น เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่าง ๆ มีการวางแผนป้องกันความเสี่ยงและพร้อมรับการ เปลี่ยนแปลง 6. มุ่งมั่นในการทํางาน หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจและรับผิดชอบในการทําหน้าที่ การงาน ด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพื่อให้งานสําเร็จตามเป้าหมาย ผู้ที่มุ่งมั่นในการทํางาน คือผู้ที่มี ลักษณะซึ่งแสดงออกถึงความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเทกําลังกาย กําลังใจ ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้สําเร็จลุล่วง ตามเป้าหมายที่กำหนดด้วยความรับผิดชอบ และมีความ ภาคภูมิใจในผลงาน


9 7. รักความเป็นไทย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่า ร่วมอนุรักษ์สืบ ทอดภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปะและวัฒนธรรม ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ผู้ที่รักความเป็นไทย คือ ผู้ที่มีความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่า ชื่นชม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบ ทอดเผยแพร่ภูมิปัญญาไทยขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปะและวัฒนธรรมไทย มีความกตัญญูกตเวทีใช้ ภาษาไทยในการสื่อสารอย่างถูกต้องเหมาะสม 8. มีจิตสาธารณะ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น โดย ไม่หวังผลตอบแทน ผู้ที่มีจิต สาธารณะ คือ ผู้ที่มีลักษณะเป็นผู้ให้และช่วยเหลือผู้อื่น แบ่งปันความสุขส่วนตนเพื่อทําประโยชน์แก่ส่วนรวม เข้าใจ เห็นใจผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยแรงกายสติปัญญา ลงมือ ปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดในชุมชน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช. (เพิ่มเติม) 1. ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์คือ การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงความสำนึกและ ภาคภูมิใจความเป็นไทยปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือและจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม คือ การประพฤติปฏิบัติตนที่ แสดงถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่น ละความเห็นแก่ ตัว รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือสังคมและบุคคลที่ควรให้ รู้จักควบคุมตัวเองเมื่อประสบกับความยากลำบากและสิ่ง ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย 3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์คือ การประพฤติที่แสดงถึงการรู้จักบุญคุณ ปฏิบัติ ตามคำสั่งสอน แสดงความรัก ความเคารพ ความเอาใจใส่ รักษาชื่อเสียง และตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูอาจารย์ 4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม คือ การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึง ความตั้งใจเพียรพยายามในการศึกษาเล่าเรียน แสวงหาความรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม 5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม คือ การปฏิบัติตนที่แสดงถึงการเห็นค่า คุณค่า ความสำคัญ ภาคภูมิใจ อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีไทยอันดีงาม 6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน คือ การประพฤติปฏิบัติตน โดย ยึดมั่นในคำสัญญา มีจิตใจโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่ช่วยได้ทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกาย และ กำลังสติปัญญา 7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง คือ การแสดง ถึงการมีความรู้ ความเข้าใจ ปฏิบัติตนตามหน้าที่และสิทธิของตนเอง เคารพสิทธิของผู้อื่นภายใต้การปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่คือ การปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายไทย มีความเคารพและนอบน้อมต่อผู้ใหญ่


10 9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การ ประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำอย่างรอบคอบ ถูกต้องเหมาะสม และน้อมนำพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต 10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีมีความรู้ มีคุณธรรม และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามพระราช ดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 11. มีความเข้มแข็งทั้งร่ายกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลสมีความละอาย เกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา คือ การปฏิบัติตนให้มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัย และมี จิตใจที่เข้มแข็ง มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ไม่กระทำความชั่วใดๆ ยึดมั่นในการทำความดีของศาสนา 12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง คือ การ ปฏิบัติตนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และประเทศชาติ ยอมเสียสละประโยชน์ ส่วนตนเพื่อรักษาประโยชน์ของส่วนรวม


11 ตอนที่ 2 โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา โครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม เวลาเรียน(ชั่วโมง / ปี) ระดับประถมศึกษา ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย 200 200 200 160 160 160 คณิตศาสตร์ 200 200 200 160 160 160 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 80 80 80 80 80 80 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม - ประวัติศาสตร์ - ศาสนาศีลธรรม จริยธรรม - หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม - เศรษฐศาสตร์- ภูมิศาสตร์ 80 (40) (40) 80 (40) (40) 80 (40) (40) 120 (40) (80) 120 (40) (80) 120 (40) (80) สุขศึกษาและพลศึกษา 40 40 40 80 80 80 ศิลปะ 40 40 40 80 80 80 การงานอาชีพ 40 40 40 80 80 80 ภาษาต่างประเทศ 160 160 160 80 80 80 รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน) 840 840 840 840 840 840 รายวิชาเพิ่มเติม ปีละไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง *ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 40 40 40 **คอมพิวเตอร์ 40 40 40 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน - กิจกรรมแนะแนว 40 40 40 40 40 40 - กิจกรรมนักเรียน (ลูกเสือ - เนตรนารี) 40 40 40 40 40 40 - ชุมนุม 40 40 40 40 40 40 รวมเวลากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 120 120 120 120 120


12 กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม เวลาเรียน(ชั่วโมง / ปี) ระดับประถมศึกษา ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6 รวมเวลาเรียน 1,000 ชั่วโมง 1,000 ชั่วโมง กิจกรรมเสริมหลักสูตร - กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 200 200 200 200 200 200 รวมเวลาทั้งหมด 1,200 ชั่วโมง (30 ชั่วโมง/สัปดาห์) 1,200 ชั่วโมง (30 ชั่วโมง/สัปดาห์) หมายเหตุ 1. * ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 จัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เป็นรายวิชาพื้นฐาน 160 ชม./ปี และจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม 40 ชม./ปี รวมเวลาเรียนภาษาอังกฤษทั้งหมด จำนวน 200 ชม./ปี 2. วิชาหน้าที่พลเมือง บูรณาการกับการเรียนรู้และวัดผลรวมในรายวิชาพื้นฐาน สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3. ** หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา วิชาการป้องกันการทุจริต จัดในกิจกรรมแนะแนว ตามคำสั่ง กระทรวง ที่ สป 1137/2561 4. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจัดเป็นกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” บังคับตามหลักสูตร ประกอบด้วยกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ไม่ลงหน่วย กิต ในปพ.


13 มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมี 4 สาระ จำนวน 8 มาตรฐาน สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็น อย่างมีเหตุผล มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและ ความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆโดยการ พูดและการเขียน สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้ อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของ ภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็น พื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชนและสังคม มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก


14 ตัวชี้วัดชั้นปี สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่าง มีเหตุผล ป.4 ป.5 ป.6 1. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำ (instructions) ง่ายๆ ที่ฟังหรืออ่าน 2. อ่านออกเสียงคำ สะกดคำ อ่านกลุ่มคำประโยค ข้อความ ง่ายๆ และบทพูดเข้าจังหวะ ถูกต้องตาม หลักการอ่าน 3. เลือก/ระบุภาพ หรือ สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมาย ตรงตามความหมายของ ประโยคและ ข้อความสั้นๆ ที่ฟังหรืออ่าน 4. ตอบคำถามจากการฟังและ อ่านประโยค บทสนทนา และ นิทานง่ายๆ 1. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ ที่ฟังและ อ่าน 2. อ่านออกเสียงประโยค ข้อความ และบทกลอนสั้นๆ ถูกต้องตาม หลักการอ่าน 3.ระบุ/วาดภาพสัญลักษณ์หรือ เครื่องหมายตรงตามความหมาย ของประโยคและข้อความสั้นๆ ที่ฟังหรืออ่าน 4. บอกใจความสำคัญ และ ตอบคำถาม จากการฟังและ อ่านบทสนทนา และนิทาน ง่ายๆ หรือเรื่องสั้นๆ 1. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำ ที่ฟังและอ่าน 2. อ่านออกเสียงข้อความ นิทาน และบทกลอนสั้นๆถูกต้องตาม หลักการอ่าน 3. เลือก/ระบุประโยคหรือ ข้อความสั้นๆตรงตามภาพ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย ที่อ่าน 4. บอกใจความสำคัญและตอบ คำถามจากการฟังและอ่าน บท สนทนา นิทานง่ายๆ และเรื่อง เล่า


15 สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและ ความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ ป.4 ป.5 ป.6 1. พูด/เขียนโต้ตอบในการ สื่อสารระหว่างบุคคล 2. ใช้คำสั่ง คำขอร้อง และ คำขออนุญาตง่ายๆ 3. พูด/เขียนแสดงความ ต้องการของตนเอง และขอ ความช่วยเหลือในสถานการณ์ ง่ายๆ 4. พูด/เขียนเพื่อขอและให้ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองเพื่อนและ ครอบครัว 5. พูดแสดงความรู้สึกของ ตนเองเกี่ยวกับ เรื่องต่างๆ ใกล้ตัว และกิจกรรมต่างๆ ตามแบบที่ฟัง 1. พูด/เขียนโต้ตอบในการ สื่อสารระหว่างบุคคล 2. ใช้คำสั่ง คำขอร้อง คำขออนุญาต และให้คำแนะนำ ง่ายๆ 3. พูด/เขียนแสดงความ ต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความ ช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ 4. พูด/เขียนเพื่อ ขอและให้ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองเพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว 5. พูด/เขียนแสดงความรู้สึก ของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว และกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆ ประกอบ 1. พูด/เขียนโต้ตอบในการ สื่อสารระหว่างบุคคล 2. ใช้คำสั่ง คำขอร้อง และให้ คำแนะนำ 3. พูด/เขียนแสดงความ ต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความ ช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ 4. พูดและเขียนเพื่อขอและให้ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว 5. พูด/เขียนแสดงความรู้สึกของ ตนเอง เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ ตัว กิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆ ประกอบ สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูด และการเขียน ป.4 ป.5 ป.6 1. พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตนเองและเรื่องใกล้ตัว 2. พูด/วาดภาพแสดงความ สัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ใกล้ตัว ตามที่ฟังหรืออ่าน 3. พูดแสดงความคิดเห็นง่ายๆ เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว 1. พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตนเองและเรื่องใกล้ตัว 2. เขียนภาพ แผนผัง และ แผนภูมิแสดงข้อมูลต่างๆ ตามที่ ฟังหรืออ่าน 3. พูดแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว 1. พูด/เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเองเพื่อน และ สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว 2. เขียนภาพ แผนผัง แผนภูมิ และตารางแสดงข้อมูลต่างๆ ตามที่ฟังหรืออ่าน 3. พูด/เขียนแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว


16 สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่าง เหมาะสมกับกาลเทศะ ป.4 ป.5 ป.6 1. พูดและทำท่า ประกอบ อย่างสุภาพ ตามมารยาทสังคม และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา 2. ตอบคำถามเกี่ยวกับ เทศกาล/วันสำคัญ/ งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ ง่ายๆ ของเจ้าของภาษา 3. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษา และวัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย 1. ใช้ถ้อยคำน้ำเสียงและกิริยา ท่าทางอย่างสุภาพ ตาม มารยาทสังคมและวัฒนธรรม ของเจ้าของภาษา 2. ตอบคำถาม/บอก ความสำคัญ ของเทศกาล/ วันสำคัญ/งานฉลองและชีวิต ความเป็นอยู่ง่ายๆ ของเจ้าของ ภาษา 3. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษา และวัฒนธรรม ตามความสนใจ 1. ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยา ท่าทางอย่างสุภาพ เหมาะสม ตามมารยาทสังคม และ วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา 2. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล/ วันสำคัญ/งานฉลอง/ชีวิตความ เป็นอยู่ของเจ้าของภาษา 3. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษา และวัฒนธรรม ตามความสนใจ สาระที่2 ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษา และวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ป.4 ป.5 ป.6 1. บอกความแตกต่างของของ เสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยค และข้อความของ ภาษา ต่างประเทศและ ภาษาไทย 2. บอกความเหมือน/ความ แตกต่างระหว่างเทศกาลและ งานฉลอง ตามวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษากับของไทย 1. บอกความเหมือน/ความ แตกต่างระหว่างการออกเสียง ประโยคชนิดต่างๆ การใช้ เครื่องหมายวรรคตอน และ การลำดับคำ (order) ตามโครงสร้างประโยค ของ ภาษาต่างประเทศและภาษาไทย 2. บอกความเหมือน/ความ แตกต่างระหว่างเทศกาลและ งานฉลองของเจ้าของภาษากับ ของไทย 1. บอกความเหมือน/ความ แตกต่างระหว่างการออกเสียง ประโยคชนิดต่างๆ การใช้ เครื่องหมายวรรคตอน และ การลำดับคำ ตามโครงสร้าง ประโยค ของ ภาษาต่างประเทศ และภาษาไทย 2. เปรียบเทียบความเหมือน/ ความแตกต่าง ระหว่างเทศกาล งานฉลองและประเพณีของ เจ้าของภาษากับของไทย


17 สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐาน ในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน ป.4 ป.5 ป.6 1. ค้นคว้า รวบรวมคำศัพท์ที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระ การเรียนรู้อื่นและนำเสนอด้วย การพูด/การเขียน 1. ค้นคว้า รวบรวมคำศัพท์ที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระ การเรียนรู้อื่น และนำเสนอด้วย การพูด/การเขียน 1. ค้นคว้า รวบรวมคำศัพท์ที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระ การเรียนรู้อื่นจากแหล่งเรียนรู้ และนำเสนอด้วยการพูด/ การเขียน สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม ป.4 ป.5 ป.6 1. ฟังและพูด/อ่าน ใน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน ห้องเรียนและสถานศึกษา 1. ฟัง พูด และอ่าน/เขียน ใน สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ห้องเรียนและสถานศึกษา 1. ใช้ภาษาสื่อสาร ใน สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ห้องเรียนและสถานศึกษา มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก ป.4 ป.5 ป.6 1. ใช้ภาษา ต่างประเทศ ในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูล ต่างๆ 1. ใช้ภาษา ต่างประเทศ ในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูล ต่างๆ 1. ใช้ภาษา ต่างประเทศในการ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลต่างๆ


18 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็น อย่างมี เหตุผล ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 1. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำ (instructions) ง่ายๆ ที่ฟังหรืออ่าน คำสั่งและคำขอร้องที่ใช้ในห้องเรียน และคำแนะนำในการเล่นเกม การวาดภาพ หรือการทำอาหารและเครื่องดื่ม - คำสั่ง เช่น Look at the…/here/over there./ Say it again./ Read and draw./ Put a/an…in/on/under a/an…/ Don’t go over there. etc. - คำขอร้อง เช่น Please take a queue./ Take a queue, please./ Can you help me, please? etc. - คำแนะนำ เช่น You should read everyday./Think before you speak./ คำศัพท์ที่ ใช้ในการเล่นเกม Start./ My turn./ Your turn./ Roll the dice./ Count the number./ Finish./ คำบอกลำดับขั้นตอน First,... Second,… Then,… Finally,... etc. 2. อ่านออกเสียงคำ สะกดคำ อ่าน กลุ่มคำ ประโยค ข้อความง่ายๆ และบทพูดเข้าจังหวะถูกต้องตาม หลักการอ่าน คำ กลุ่มคำ ประโยค ข้อความ บทพูดเข้าจังหวะ และการสะกดคำ การใช้พจนานุกรม หลักการอ่านออกเสียง เช่น - การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะท้ายคำ - การออกเสียงเน้นหนัก-เบา ในคำและกลุ่มคำ - การออกเสียงตามระดับเสียงสูง-ต่ำ ในประโยค 3. เลือก/ระบุภาพ หรือสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายตรงตามความหมาย ของประโยคและข้อความสั้นๆ ที่ฟัง หรืออ่าน กลุ่มคำ ประโยคเดี่ยว สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และความหมาย เกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขาย และ ลมฟ้าอากาศ และเป็นวงคำศัพท์สะสมประมาณ 550-700 คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม) 4. ตอบคำถามจากการฟังและอ่าน ประโยค บทสนทนา และนิทาน ง่ายๆ ประโยค บทสนทนา นิทานที่มีภาพประกอบ คำถามเกี่ยวกับใจความสำคัญของเรื่อง เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน - Yes/No Question เช่น Is/Are/Can…? Yes,…is/are/can./ No,…isn’t/aren’t/can’t.


19 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง Do/Does/Can/Is/Are...? Yes/No… etc. - Wh-Question เช่น Who is/are…? He/She is…/They are… What…?/Where…? It is …/They are… What...doing? …is/am/are… etc. - Or-Question เช่น Is this/it a/an...or a/an…? It is a/an… etc. ป.5 1. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และ คำแนะนำง่ายๆ ที่ฟังและอ่าน คำสั่งและคำขอร้องที่ใช้ในห้องเรียน ภาษาท่าทาง และคำแนะนำ ในการเล่นเกม การวาดภาพ หรือการทำอาหารและเครื่องดื่ม - คำสั่ง เช่น Look at the…/here/over there./ Say it again./ Read and draw./ Put a/an…in/on/under a/an…/ Don’t go over there. etc. - คำขอร้อง เช่น Please take a queue./ Take a queue, please./ Can/Could you help me, please? etc. - คำแนะนำ เช่น You should read everyday./ Think before you speak./ คำศัพท์ที่ใช้ในการเล่นเกม Start./ My turn./ Your turn./ Roll the dice./ Count the number./ Finish./ คำบอกลำดับขั้นตอน First,… Second,… Next,… Then,… Finally,… etc. 2. อ่านออกเสียงประโยค ข้อความ และบทกลอนสั้นๆถูกต้องตาม หลักการอ่าน ประโยค ข้อความ และบทกลอน การใช้พจนานุกรม หลักการอ่านออกเสียง เช่น - การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะท้ายคำ - การออกเสียงเน้นหนัก-เบา ในคำและกลุ่มคำ - การออกเสียงตามระดับเสียงสูง-ต่ำ ในประโยค - การออกเสียงเชื่อมโยง (linking sound) ในข้อความ - การออกเสียงบทกลอนตามจังหวะ 3. ระบุ /วาดภาพ สัญลักษณ์หรือ เครื่องหมายตรงตามความหมายของ ประโยคและข้อความสั้นๆ ที่ฟัง หรืออ่าน เครื่องหมาย และความหมายเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพ และสวัสดิการ การซื้อ-ขาย และลมฟ้าอากาศ และเป็นวงคำศัพท์ สะสมประมาณ 750-950 คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมและ นามธรรม)


20 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 4. บอกใจความสำคัญ และตอบ คำถามจากการฟังและอ่านบท สนทนา และนิทานง่ายๆ หรือ เรื่องสั้นๆ - Wh-Question เช่น Who is/are…? He/She is…/They are… What…?/Where…? It is …/They are… What...doing? …is/am/are… etc. - Or-Question เช่น Is this/it a/an...or a/an…? It is a/an… etc. ป.6 1. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และ คำแนะนำที่ฟังและอ่าน คำสั่ง คำขอร้อง ภาษาท่าทาง และคำแนะนำในการเล่นเกม การ วาดภาพ การทำอาหารและเครื่องดื่ม และการประดิษฐ์ - คำสั่ง เช่น Look at the…/here/over there./ Say it again./ Read and draw./ Put a/an…in/on/under a/an…/ Don’t go over there. etc. - คำขอร้อง เช่น Please look up the meaning in a dictionary./ Look up the meaning in a dictionary, please./ Can/Could you help me, please? etc. - คำแนะนำ เช่น You should read everyday./ Think before you speak./ คำศัพท์ที่ใช้ในการเล่นเกม Start./ My turn./ Your turn./ Roll the dice./ Count the number./ Finish./คำบอกลำดับขั้นตอน First,… Second,… Next,… Then,… Finally,… etc. 2. อ่านออกเสียงข้อความ นิทาน และบทกลอนสั้นๆ ถูกต้องตาม หลักการอ่าน ข้อความ นิทาน และบทกลอน การใช้พจนานุกรม หลักการอ่านออกเสียง เช่น - การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะท้ายคำ - การออกเสียงเน้นหนัก-เบา ในคำและกลุ่มคำ - การออกเสียงตามระดับเสียงสูง-ต่ำ ในประโยค - การออกเสียงเชื่อมโยง (linking sound) ในข้อความ - การออกเสียงบทกลอนตามจังหวะ 3. เลือก/ระบุประโยค หรือ ข้อความสั้นๆ ตรงตามภาพ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่อ่าน ประโยค หรือข้อความ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และความหมาย เกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขาย และ ลมฟ้าอากาศ และเป็นวงคำศัพท์สะสมประมาณ 1,050-1,200 คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม) 4. บอกใจความสำคัญและตอบ ประโยค บทสนทนา นิทาน หรือเรื่องเล่า


21 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง คำถามจากการฟังและอ่านบท สนทนา นิทานง่ายๆ และเรื่องเล่า คำถามเกี่ยวกับใจความสำคัญของเรื่อง เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม - Yes/No Question เช่น Is/Are/Can…? Yes,…is/are/can./ No,…isn’t/aren’t/can’t. Do/Does/Can/Is/Are...? Yes/No… etc. - Wh-Question เช่น Who is/are…? He/She is…/They are… What…?/Where…? It is …/They are… What...doing? …is/am/are… etc. - Or-Question เช่น Is this/it a/an...or a/an…? It is a/an… Is/Are/Was/Were/Did…or…? etc. สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 1. พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสาร ระหว่างบุคคล บทสนทนาที่ใช้ในการทักทาย กล่าวลา ขอบคุณ ขอโทษ การพูด แทรกอย่างสุภาพ ประโยค/ข้อความที่ใช้แนะนำตนเอง เพื่อน และบุคคลใกล้ตัว และสำนวนการตอบรับ เช่น Hi/Hello/Good morning/Good afternoon/Good evening/I am sorry./How are you?/I’m fine. Thank you. And you?/ Hello.I am… Hello,…I am… This is my sister.Her name is… Hello,…/Nice to see you. Nice to see you too./Goodbye./ Bye./See you soon/later./ Thanks./Thank you./Thank you very much./You’re welcome./It’s O.K. etc. 2 .ใช้คำสั่ง คำขอร้อง และคำขอ อนุญาตง่ายๆ คำสั่ง คำขอร้อง และคำขออนุญาตที่ใช้ในห้องเรียน


22 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 3. พูด/เขียนแสดงความต้องการ ของตนเอง และขอความช่วยเหลือ ในสถานการณ์ง่ายๆ คำศัพท์ สำนวน และประโยคที่ใช้แสดงความต้องการและขอ ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ เช่น I want …/ Please…/ May…?/ I need your help./ Please help me./ Help me! etc. 4. พูด/เขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง เพื่อน และ ครอบครัว คำศัพท์ สำนวน และประโยคที่ใช้ขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตนเอง สิ่งใกล้ตัว เพื่อน และครอบครัว เช่น What’s your name? My name is… What time is it? It is one o’clock. What is this? It is a/an… How many…are there? There is a /an…/There are… Where is the…? It is in/on/under… etc. 5. พูดแสดงความรู้สึกของตนเอง เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว และ กิจกรรมต่างๆ ตามแบบที่ฟัง คำและประโยคที่ใช้แสดงความรู้สึก เช่น ดีใจ เสียใจ ชอบ ไม่ ชอบ รัก ไม่รัก เช่น I/You/We/They like…/He/She likes… I/You/We/They love…/He/She loves… I/You/We/They don’t like/love/feel… He/She doesn’t like/love/feel… I/You/We/They feel… etc. ป.5 1. พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสาร ระหว่างบุคคล บทสนทนาที่ใช้ในการทักทาย กล่าวลา ขอบคุณ ขอโทษ ชมเชย การพูดแทรกอย่างสุภาพ ประโยค/ข้อความที่ใช้แนะนำตนเอง เพื่อน และบุคคลใกล้ตัว และสำนวนการตอบรับ เช่น Hi /Hello/ Good morning/ Good afternoon/ Good evening/ I am sorry./ How are you?/ I’m fine. Thank you. And you?/ Hello. I am…/ Hello,…I am… This is my sister. Her name is… /Hello,…/ Nice to see you. Nice to see you too./ Goodbye./ Bye./ See you soon/later./ Good/Very good./ Thanks./ Thank you./ Thank you very much./ You’re welcome./ It’s O.K. etc. 2. ใช้คำสั่ง คำขอร้อง คำขอ อนุญาต และให้คำแนะนำง่ายๆ คำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำที่มี 1 - 2 ขั้นตอน


23 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 3. พูด/เขียนแสดงความต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและ ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือใน สถานการณ์ง่ายๆ คำศัพท์ สำนวน และประโยคที่ใช้บอกความต้องการ ขอความ ช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ เช่น Please…/ May…?/ I need…/ Help me!/ Can/ Could…?/ Yes,.../No,… etc. 4. พูด/เขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว คำศัพท์ สำนวน และประโยคที่ใช้ขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว เช่น What do you do? I’m a/an… What is she/he? …is a/an (อาชีพ) How old/tall…? I am… Is/Are/Can…or…? …is/are/can… Is/Are…going to…or…? …is/are going to… etc. 5. พูด/เขียนแสดงความรู้สึกของ ตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว และกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งให้ เหตุผลสั้นๆ ประกอบ คำและประโยคที่ใช้แสดงความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดีใจ เสียใจ มีความสุข เศร้า หิว รสชาติ เช่น I’m…/He/She/It is…/You/We/They are… I/You/We/They like…/He/She likes…because… I/You/We/They love…/He/She loves…because… I/You/We/They don’t like/love/feel…because… He/She doesn’t like/love/feel…because… I/You/We/They feel…because… etc.


24 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.6 1. พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสาร ระหว่างบุคคล บทสนทนาที่ใช้ในการทักทาย กล่าวลา ขอบคุณ ขอโทษ ชมเชย การพูดแทรกอย่างสุภาพ ประโยค/ข้อความที่ใช้แนะนำตนเอง เพื่อน และบุคคลใกล้ตัว และสำนวนการตอบรับ เช่น Hi/ Hello/ Good morning/ Good afternoon/ Good evening/ I am sorry./ How are you?/ I’m fine./Very well./Thank you. And you?/ Hello. I am… Hello,…I am… This is my sister. Her name is… Hello,…/ Nice to see you. Nice to see you, too./ Goodbye./ Bye./ See you soon/later./ Great!/ Good./ Very good. Thank you./ Thank you very much./ You’re welcome./ It’s O.K./ That’s O.K./ That’s all right./ Not at all./ Don’t worry./ Never mind./ Excuse me./ Excuse me, Sir./Miss./Madam. etc. 2. ใช้คำสั่ง คำขอร้อง และให้ คำแนะนำ คำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำที่มี 2-3 ขั้นตอน 3. พูด/เขียนแสดงความต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและ ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือใน สถานการณ์ง่ายๆ คำศัพท์ สำนวน และประโยคที่ใช้บอกความต้องการ ขอความ ช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ เช่น Please…/ May…?/ I need…/ Help me!/ Can/Could…?/ Yes,... /No,… etc. 4. พูดและเขียนเพื่อขอและให้ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว คำศัพท์ สำนวน และประโยคที่ใช้ขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว เช่น What do you do? I’m a/an… What is she/he? …is a/an (อาชีพ) How old/tall…? I am… Is/Are/Can…or…? …is/are/can… Is/Are…going to…or…? …is/are going to… etc.


25 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 5. พูด/เขียนแสดงความรู้สึกของ ตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว กิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผล สั้นๆ ประกอบ คำและประโยคที่ใช้แสดงความรู้สึก และการให้เหตุผลประกอบ เช่น ชอบ/ไม่ชอบ ดีใจ เสียใจ มีความสุข เศร้า หิว รสชาติ สวย น่าเกลียด เสียงดัง ดี ไม่ดี เช่น I’m…/He/She/It is…/You/We/They are… I/You/We/They like…/He/She likes…because… I/You/We/They love…/He/She loves…because… I/You/We/They don’t like/love/feel…because… He/She doesn’t like/love/feel…because… I/You/We/They feel…because… etc. สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูด และ การเขียน ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 1. พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตนเองและเรื่องใกล้ตัว ประโยคและข้อความที่ใช้ในการพูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง บุคคล สัตว์และเรื่องใกล้ตัว เช่น ชื่อ อายุ รูปร่าง สี ขนาด รูปทรง สิ่งต่างๆ จำนวน 1-100 วัน เดือน ปี ฤดูกาล ที่อยู่ของสิ่งต่างๆ เครื่องหมายวรรคตอน 2. พูด/วาดภาพแสดงความสัมพันธ์ ของสิ่งต่างๆ ใกล้ตัวตามที่ฟังหรือ อ่าน คำ กลุ่มคำที่มีความหมายสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ใกล้ตัว เช่น การ ระบุ/เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของภาพกับคำ หรือกลุ่มคำ โดยใช้ ภาพ แผนภูมิ แผนภาพ แผนผัง 3. พูดแสดงความคิดเห็นง่ายๆ เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว ประโยคที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว ป.5 1. พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตนเองและเรื่องใกล้ตัว ประโยคและข้อความที่ใช้ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล สัตว์ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล เรื่องต่างๆ ใกล้ ตัว จำนวน 1-500 ลำดับที่ วัน เดือน ปี ฤดูกาล เวลา สภาพ ดินฟ้าอากาศ อารมณ์ ความรู้สึก สี ขนาด รูปทรง ที่อยู่ของสิ่ง ต่างๆ เครื่องหมายวรรคตอน


26 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 2. เขียนภาพ แผนผัง และแผนภูมิ แสดงข้อมูลต่างๆ ตามที่ฟังหรือ อ่าน คำ กลุ่มคำ ประโยคที่แสดงข้อมูลและความหมายของเรื่องต่างๆ ภาพ แผนผัง แผนภูมิ ตาราง 3. พูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องต่างๆ ใกล้ตัว ประโยคที่ใช้ในการพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมหรือ เรื่องต่างๆ ใกล้ตัว ป.6 1. พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตนเอง เพื่อน และสิ่งแวดล้อมใกล้ ตัว ประโยคและข้อความที่ใช้ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง กิจวัตร ประจำวัน เพื่อน สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล เรียก สิ่งต่างๆ จำนวน 1-1,000 ลำดับที่ วัน เดือน ปี ฤดูกาล เวลา กิจกรรมที่ทำ สี ขนาด รูปทรง ที่อยู่ของสิ่งต่างๆ ทิศทางง่ายๆ สภาพดินฟ้าอากาศ อารมณ์ ความรู้สึก เครื่องหมายวรรคตอน 2. เขียนภาพ แผนผัง แผนภูมิ และตารางแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ฟัง หรืออ่าน คำ กลุ่มคำ และประโยคที่มีความหมายสัมพันธ์กับภาพ แผนผัง แผนภูมิ และตาราง 3. พูด/เขียนแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว ประโยคที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่าง เหมาะสมกับกาลเทศะ ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 1. พูดและทำท่าประกอบอย่าง สุภาพ ตามมารยาทสังคมและ วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา มารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เช่น การ ขอบคุณ ขอโทษ การใช้สีหน้าท่าทางประกอบ การพูดขณะ แนะนำตนเอง การสัมผัสมือ การโบกมือ การแสดงความรู้สึก ชอบ/ไม่ชอบ การแสดงอาการตอบรับหรือปฏิเสธ 2. ตอบคำถามเกี่ยวกับเทศกาล / วันสำคัญ / งานฉลองและชีวิตความ เป็นอยู่ง่ายๆ ของเจ้าของภาษา คำศัพท์และข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง และ ชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เช่น วันคริสต์มาส วันขึ้นปี ใหม่ วันวาเลนไทน์ เครื่องแต่งกาย ฤดูกาล อาหาร เครื่องดื่ม 3. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและ วัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม เช่น การเล่นเกมการร้องเพลง การเล่านิทานประกอบท่าทาง บทบาทสมมุติ วันคริสต์มาส วันขึ้น ปีใหม่วันวาเลนไทน์


27 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.5 1. ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยา ท่าทางอย่างสุภาพ ตามมารยาท สังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของ ภาษา การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาท่าทาง ตามมารยาทสังคมและ วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เช่น การขอบคุณ ขอโทษ การใช้ สีหน้าท่าทางประกอบการพูดขณะแนะนำตนเอง การสัมผัสมือ การโบกมือ การแสดงความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบ การกล่าวอวยพร การแสดงอาการตอบรับหรือปฏิเสธ 2. ตอบคำถาม /บอกความสำคัญ ของเทศกาล /วันสำคัญ/งานฉลอง และชีวิตความเป็นอยู่ง่ายๆ ของ เจ้าของภาษา ข้อมูลและความสำคัญของเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลองและชีวิต ความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เช่น วันคริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์ เครื่องแต่งกาย ฤดูกาล อาหาร เครื่องดื่ม 3. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและ วัฒนธรรมตามความสนใจ กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม เช่น การเล่นเกม การร้อง เพลง การเล่านิทาน บทบาทสมมุติ วันขอบคุณพระเจ้า วัน คริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์ ป.6 1. ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยา ท่าทางอย่างสุภาพเหมาะสม ตาม มารยาทสังคมและวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษา การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาท่าทาง ตามมารยาทสังคมและ วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เช่น การขอบคุณ ขอโทษ การ ใช้สีหน้าท่าทางประกอบการพูดขณะแนะนำตนเอง การสัมผัสมือ การโบกมือ การแสดงความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบ การกล่าวอวยพร การแสดงอาการตอบรับหรือปฏิเสธ 2. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล /วัน สำคัญ/งานฉลอง /ชีวิตความ เป็นอยู่ของเจ้าของภาษา ข้อมูลและความสำคัญของเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลองและชีวิต ความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เช่น วันคริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์ เครื่องแต่งกายตามฤดูกาล อาหาร เครื่องดื่ม 3. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและ วัฒนธรรมตามความสนใจ กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม เช่น การเล่นเกม การร้อง เพลง การเล่านิทาน บทบาทสมมุติ วันขอบคุณพระเจ้า วัน คริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์


28 สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับ ภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 1. บอกความแตกต่างของเสียง ตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยค และข้อความขอภาษาต่างประเทศ และภาษาไทย ความแตกต่างของเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ และประโยคของ ภาษาต่างประเทศและภาษาไทย 2. บอกความเหมือน /ความ แตกต่างระหว่างเทศกาลและงาน ฉลอง ตามวัฒนธรรมของเจ้าของ ภาษากับของไทย ความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาล และงานฉลองตาม วัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย ป.5 1. บอกความเหมือน /ความ แตกต่างระหว่างการออกเสียง ประโยคชนิดต่างๆ การใช้ เครื่องหมายวรรคตอน และการ ลำดับคำ (order) ตามโครงสร้าง ประโยค ของภาษาต่างประเทศ และภาษาไทย ความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิด ต่างๆ ของเจ้าของภาษากับของไทยการใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศ และภาษาไทย 2. บอกความเหมือน /ความ แตกต่างระหว่างเทศกาลและงาน ฉลอง ของเจ้าของภาษากับของ ไทย ความเหมือน /ความแตกต่างระหว่างเทศกาลและงานฉลองของ เจ้าของภาษากับของไทย ป.6 1. บอกความเหมือน /ความ แตกต่างระหว่างการออกเสียง ประโยค ชนิดต่างๆ การใช้ เครื่องหมายวรรคตอน และการ ลำดับคำตามโครงสร้างประโยค ของภาษาต่างประเทศและ ภาษาไทย ความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิด ต่างๆ ของเจ้าของภาษากับของไทย การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศ และภาษาไทย


29 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 2. เปรียบเทียบความเหมือน / ความแตกต่างระหว่างเทศกาล งานฉลองและประเพณีของ เจ้าของภาษากับของไทย การเปรียบเทียบความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาล งานฉลอง และประเพณีของเจ้าของภาษากับของไทย สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานใน การพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 1. ค้นคว้า รวบรวมคำศัพท์ที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ อื่นและนำเสนอด้วยการพูด / การ เขียน การค้นคว้า การรวบรวม และการนำเสนอ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ป.5 1. ค้นคว้า รวบรวมคำศัพท์ที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ อื่น และนำเสนอด้วยการพูด / การเขียน การค้นคว้า การรวบรวม และการนำเสนอคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ป.6 1. ค้นคว้า รวบรวมคำศัพท์ที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ อื่นจากแหล่งเรียนรู้ และนำเสนอ ด้วยการพูด / การเขียน การค้นคว้า การรวบรวม และการนำเสนอคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น สาระที่4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 1. ฟังและพูด/อ่านในสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและ สถานศึกษา การใช้ภาษาในการฟังและพูด/อ่านในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน ห้องเรียน ป.5 1. ฟัง พูด และอ่าน/เขียนใน สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ห้องเรียนและสถานศึกษา การใช้ภาษาในการฟัง พูด และอ่าน/เขียนในสถานการณ์ต่างๆ ที่ เกิดขึ้นในห้องเรียน


30 ป.6 1. ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและ สถานศึกษา การใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและ สถานศึกษา


31 ตอนที่ 3 คำอธิบายรายวิชา คำอธิบายรายวิชาพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อ 14101 ภาษาอังกฤษ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เวลา 80 ชั่วโมง ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำ (instructions)ง่าย ๆที่ฟังหรืออ่านอ่านออกเสียงคำ สะกดคำ อ่านกลุ่มคำ ประโยค ข้อความง่ายๆ และบทพูดเข้าจังหวะ ถูกต้องตามหลักการอ่าน เลือก/ระบุ ภาพหรือสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายตรงตามความหมายของประโยคและข้อความสั้นๆที่ฟังหรืออ่านตอบ คำถามจากการฟังหรืออ่านประโยค บทสนทนา หรือนิทานง่ายๆ พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่าง บุคคล ใช้คำสั่ง คำขอร้อง และคำขออนุญาตง่าย ๆ พูด/เขียนแสดงความต้องการของตนเองตามและขอ ความช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ พูด/เขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเองเพื่อน และครอบครัว พูด แสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว หรือกิจกรรมต่างๆ ตามแบบที่ฟัง พูด/เขียนให้ข้อมูล ง่ายๆ เกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว พูด/วาดภาพแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆใกล้ตัวที่ฟังหรืออ่าน พูด แสดงความคิดเห็นง่ายๆ เกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว พูดและทำท่าประกอบอย่างสุภาพตามมารยาท สังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ตอบคำถามเกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ ง่ายๆของเจ้าของภาษา การเข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับวัย บอกความแตกต่าง ของเสียงตัว อักษร คำ กลุ่มคำ ประโยค และข้อความ ของภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)และภาษาไทย บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาลและงานฉลองตามวัฒนธรรม ของเจ้าของภาษากับของไทย ค้นคว้ารวบรวม คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และนำเสนอด้วยการพูด/การเขียน ฟัง/พูดใน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและสถานศึกษา ใช้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)ในการสืบค้นและ รวบรวมข้อมูลต่างๆ โดยการฟัง พูด อ่าน เขียน ระบุอ่านออกเสียงเลือกตอบคำถามพูดโต้ตอบใช้บอกทำท่าทางเข้าร่วม เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดสมรรถนะตามความต้องการของ หลักสูตร มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ขึ้นในตัวของผู้เรียน และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมี ความสุขสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไป ประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รหัสตัวชี้วัด ต 1.1 ป.4/1 , ป.4/2 , ป.4/3 , ป4/4 ต 1.2 ป.4/1 , ป.4/2 , ป.4/3 , ป4/4 , ป4/5 ต 1.3 ป.4/1 , ป.4/2 , ป.4/3 ต 2.1 ป.4/1 , ป.4/2 , ป.4/3


32 ต 2.2 ป. 4 / 1 , ป. 4/ 2 ต 3.1 ป. 4 / 1 ต 4.1 ป. 4 / 1 ต 4.2 ป. 4 / 1 รวมทั้งหมด 20 ตัวชี้วัด


33 คำอธิบายรายวิชาพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อ 15101 ภาษาอังกฤษ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เวลา 80 ชั่วโมง ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำ ที่ฟังหรืออ่านอ่านออกเสียง ประโยค ข้อความ และบท กลอนสั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน ระบุ/วาดภาพสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายตรงตามความหมายของ ประโยคและข้อความสั้นๆที่ฟังหรืออ่านบอกใจความสำคัญและตอบคำถามจากการฟังหรืออ่านบทสนทนา และนิทานง่ายๆหรือเรื่องสั้นๆ พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล ใช้คำสั่ง คำขอร้อง คำขอ อนุญาตและให้คำแนะนำง่าย ๆ พูด/เขียนแสดงความต้องการของตนเองตาม ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและ ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ พูด/เขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเองเพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว พูดแสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว หรือกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆประกอบ พูด/เขียนให้ข้อมูลง่ายๆ เกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว เขียนภาพ แผนผัง และแผนภูมิแสดงข้อมูลต่าง ๆตามที่ฟังหรืออ่าน พูดแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆใกล้ตัว ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาท่าทางอย่างสุภาพตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ตอบคำถาม/บอก ความสำคัญของเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ง่ายๆของเจ้าของภาษา การเข้าร่วม กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออกเสียง ประโยคชนิดต่าง ๆ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการลำดับคำ(order)ตามโครงสร้างของประโยคของ ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)และภาษาไทย บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาลและงาน ฉลองตามวัฒนธรรม ของเจ้าของภาษากับของไทย ค้นคว้ารวบรวม คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ อื่น และนำเสนอด้วยการพูด/การเขียน ฟัง พูด และอ่าน/เขียนในสถานการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและ สถานศึกษา ใช้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)ในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ โดยการฟัง พูด อ่าน เขียน ระบุอ่านออกเสียงเลือกตอบคำถามพูดโต้ตอบใช้บอกทำท่าทางเข้าร่วม เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดสมรรถนะตามความต้องการของ หลักสูตร มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ขึ้นในตัวของผู้เรียน และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมี ความสุขสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไป ประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รหัสตัวชี้วัด ต 1.1 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4 ต 1.2 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5 ต 1.3 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3 ต 2.1 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3 ต 2.2 ป.5/1,ป.5/2 ต 3.1 ป.5/1


34 ต 4.1 ป. 5 / 1 ต 4.2 ป. 5 / 1 รวมทั้งหมด 20 ตัวชี้วัด


35 คำอธิบายรายวิชาพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อ 16101 ภาษาอังกฤษ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เวลา 80 ชั่วโมง ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำ ที่ฟังและอ่านอ่านออกเสียง ข้อความ นิทาน และบท กลอนสั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน เลือก/ระบุประโยค หรือ ข้อความสั้นๆ ตรงตามภาพ สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายที่อ่านบอกใจความสำคัญ และตอบคำถามจากการฟังหรืออ่าน บทสนทนา หรือนิทานง่ายๆและ เรื่องเล่า พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล ใช้คำสั่ง คำขอร้อง และคำขออนุญาตและให้ คำแนะนำ พูด/เขียนแสดงความต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือใน สถานการณ์ง่ายๆ พูด/เขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว พูด/เขียน แสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว หรือกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆประกอบ พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง เพื่อน และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เขียนภาพ แผนผัง และแผนภูมิแสดงข้อมูลต่างๆ ตามที่ฟังหรืออ่าน พูดเขียนแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาท่าทาง อย่างสุภาพ เหมาะสมตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล/วัน สำคัญ/งานฉลอง/ชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา การเข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความ สนใจ บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการลำดับคำ ตามโครงสร้าง ประโยค ของภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)และภาษาไทยเปรียบเทียบ ความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาลงานฉลอง และประเพณีของเจ้าของภาษากับของไทยค้นคว้า รวบรวม คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้ และนำเสนอด้วยการพูด/การ เขียนใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและสถานศึกษาใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ โดยการฟัง พูด อ่าน เขียน ระบุอ่านออกเสียงเลือกตอบคำถามพูดโต้ตอบเข้าร่วมเปรียบเทียบ ค้นคว้า ใช้บอกเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดสมรรถนะตาม ความต้องการของหลักสูตร มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ขึ้นในตัวของผู้เรียน และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นใน สังคมได้อย่างมีความสุข สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รหัสตัวชี้วัด ต 1.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4 ต 1.2 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5 ต 1.3 ป.6/1,ป.6/2, ป.6/3 ต 2.1 ป.6/1,ป.6/2, ป.6/3 ต 2.2 ป.6/1, ป.6/2


36 ต 3.1 ป. 6 / 1 ต 4.1 ป. 6 / 1 ต 4.2 ป.6 / 1 รวมทั้งหมด 20 ตัวชี้วัด


37 ตอนที่ 4 วิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ วิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิชา ภาษาอังกฤษ 4 รหัสวิชา อ14101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 80 ชั่วโมง หน่วย ที่ ชื่อหน่วยการ เรียนรู้ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 1 Welcome! ต 1.1 ป. 4/1-3 ต 1.2 ป. 4/1, 4 ต 1.3 ป. 4/1 ต 2.1 ป. 4/1, 3 ต 2.2 ป. 4/1 ต 4.1 ป. 4/1 การเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และสำนวนภาษา เกี่ยวกับการทักทาย การแนะนำตัว การถามชื่อ ผู้อื่น และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ช่วยให้ สนทนา พูด/เขียนสื่อสารได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสม 6 5 2 A Surprise Party! ต 1.1 ป. 4/1-4 ต 1.2 ป. 4/4 ต 1.3 ป. 4/1-2 ต 2.1 ป. 4/2-3 ต 2.2 ป. 4/2 ต 3.1 ป. 4/1 ต 4.1 ป. 4/1 ต 4.2 ป. 4/1 การรู้และเข้าใจคำศัพท์ และประโยคที่ใช้ขอ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และสมาชิกใน ครอบครัวเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ เช่น อายุ วัน เกิด เป็นการเรียนรู้เพื่อการสื่อสาร รวมทั้งการ เขียนประโยคบอกวันที่ บัตรเชิญงานวันเกิด อวยพรวันเกิด และจัดงานวันเกิด ช่วยให้นำ ภาษาไปใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจความเหมือนและ ต่างของการจัดงานฉลองวันเกิดของเจ้าของ ภาษากับไทย ทำให้ทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรม ของเจ้าของภาษาด้วย 11 10 3 Something to Eat ต 1.1 ป. 4/1-4 ต 1.2 ป. 4/1-5 ต 1.3 ป. 4/1-2 ต 2.1 ป. 4/1-3 ต 2.2 ป. 4/1-2 ต 3.1 ป. 4/1 ต 4.1 ป. 4/1 ต 4.2 ป. 4/1 การรู้และเข้าใจความหมายของคำศัพท์ เกี่ยวกับอาหาร และผลไม้โครงสร้างภาษา ช่วย ให้เข้าใจเรื่องที่อ่านและฟัง การขอและให้ ข้อมูลในร้านอาหาร ช่วยให้สนทนา พูด/เขียน สื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทำให้ เข้าใจเรื่องที่ฟังและอ่าน และสามารถเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของสิ่งที่ปรากฏในเนื้อหาที่ได้ฟัง และอ่านได้ 13 10


38 หน่วย ที่ ชื่อหน่วยการ เรียนรู้ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 4 What’s the Weather Like? ต 1.1 ป. 4/1-4 ต 1.2 ป. 4/1-5 ต 1.3 ป. 4/1-2 ต 2.1 ป. 4/1-3 ต 2.2 ป. 4/1-2 ต 3.1 ป. 4/1 ต 4.1 ป. 4/1 ต 4.2 ป. 4/1 การรู้และเข้าใจความหมายของคำศัพท์ เกี่ยวกับสภาพอากาศ โครงสร้างประโยค เกี่ยวกับการบอกสิ่งที่กำลังทำ ช่วยให้สนทนา พูด/เขียนสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม เข้าใจสำนวนและ โครงสร้างประโยค ช่วยให้เข้าใจเรื่องที่อ่านและ ฟัง และสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งที่ ปรากฏในเนื้อหาที่ได้ฟังและอ่านได้ช่วยให้พูด/ เขียนสื่อสารและเข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาได้ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ช่วยให้เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของภาพกับคำ/กลุ่มคำและพูด สื่อสารได้ 12 10 5 Hooray, It’s Saturday! ต 1.1 ป. 4/1-4 ต 1.2 ป. 4/1-4 ต 1.3 ป. 4/1-2 ต 2.1 ป. 4/2-3 ต 2.2 ป. 4/1-2 ต 3.1 ป. 4/1 ต 4.1 ป. 4/1 ต 4.2 ป. 4/1 การรู้และเข้าใจความหมายของคำศัพท์ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน ชีวิตในโรงเรียน สัตว์ และเวลา รู้และเข้าใจโครงสร้างที่ใช้ขอและให้ ข้อมูลเกี่ยวกับเวลาและกิจกรรมที่ทำเป็น ประจำ เข้าใจสำนวนและโครงสร้างที่ใช้ในการ ขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันและ ความต้องการ ช่วยให้พูด/เขียนสื่อสาร เข้าร่วม กิจกรรมทางภาษา และใช้ภาษาใน การสืบค้นและรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ช่วยให้สนทนา พูด/เขียนสื่อสาร ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 12 15 6 My Favourite Season ต 1.1 ป. 4/1-4 ต 1.2 ป. 4/1-5 ต 1.3 ป. 4/1-3 ต 2.1 ป. 4/1-3 ต 2.2 ป. 4/1-2 ต 3.1 ป. 4/1 ต 4.1 ป. 4/1 ต 4.2 ป. 4/1 การรู้และเข้าใจความหมายของคำศัพท์ เกี่ยวกับฤดูกาล กิจกรรมและการปลูกต้นไม้ และประโยคคำสั่งและเสนอความช่วยเหลือ ช่วยให้เสนอความช่วยเหลือและปฏิบัติตาม คำสั่งได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รู้และเข้าใจ โครงสร้างประโยคคำสั่ง และหลักการออกเสียง ช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ฟัง พูดและเขียนสื่อสาร เกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวได้ช่วยให้สนทนา พูด/ 13 15


39 หน่วย ที่ ชื่อหน่วยการ เรียนรู้ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน เขียนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม การรู้และ เข้าใจคำศัพท์และโครงสร้างประโยคที่ใช้ขอ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ชอบและสิ่งที่ไม่ชอบ ถาม-ตอบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ชอบทำ ช่วยให้ เข้าใจเรื่องที่อ่านและเขียนสื่อสารได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม เข้าใจเรื่องที่อ่าน พูด และเขียนสื่อสารเกี่ยวกับฤดูกาลและกิจกรรมที่ ทำในแต่ละฤดูกาล ใช้ภาษาอังกฤษในการ เชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น พร้อมทั้งเขียนสื่อสารได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสม 7 All About Animals! ต 1.1 ป. 4/1-4 ต 1.2 ป. 4/1-5 ต 1.3 ป. 4/1-2 ต 2.1 ป. 4/1-3 ต 2.2 ป. 4/2 ต 3.1 ป. 4/1 ต 4.1 ป. 4/1 ต 4.2 ป. 4/1 การรู้และเข้าใจความหมายของคำศัพท์ เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของสัตว์และโครงสร้าง ประโยค ช่วยให้พูดสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งเข้าร่วม กิจกรรมทางภาษาได้บอกความสามารถ ช่วย ให้ใช้ภาษาอังกฤษในการพูดเขียนบรรยาย เกี่ยวกับสิ่งใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม บรรยายลักษณะของสัตว์ได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสม ขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ ช่วยให้ตอบคำถามจากการอ่านและฟังได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม ช่วยให้อ่าน พูด/เขียน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสม 13 15 รวมตลอดปี 80 80 สอบปลายปี 20 คะแนน 100


40 วิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิชา ภาษาอังกฤษ 5 รหัสวิชา อ15101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 80 ชั่วโมง หน่วย ที่ ชื่อหน่วยการ เรียนรู้ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 1 Let’s Start! ต 1.1 ป. 5/1-3 ต 1.2 ป. 5/1, 2, 4 ต 1.3 ป. 5/1 ต 4.1 ป. 5/1 ต 4.2 ป. 5/1 การรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และสำนวนภาษาที่ เกี่ยวกับสี สัตว์ อาหาร วัน เวลา และฤดูกาล รวมทั้งการ ถาม-ตอบข้อมูลพื้นฐานทั่วไปใน ชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้เรียนพูดสื่อสารได้ อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษา 6 5 2 Hello! ต 1.1 ป. 5/1-4 ต 1.2 ป. 5/1, 4 ต 1.3 ป. 5/1 ต 2.1 ป. 5/1-3 ต 3.1 ป. 5/1 ต 4.1 ป. 5/1 ต 4.2 ป. 5/1 การรู้และเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์และประโยค ที่ใช้ขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ สัญชาติ อายุ รูปร่างหน้าตา จำนวน ข้อมูล ส่วนตัว ช่วยให้ฟัง พูด อ่าน และเขียนสื่อสาร เกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่อง ต่าง ๆ ใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมของเจ้าของ ภาษาและภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งเป็น พื้นฐานในการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ขอและให้ ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อประเทศและสัญชาติอายุ รูปร่างหน้าตา และจำนวน การบรรยาย รูปร่างหน้าตา ช่วยให้พูด/อ่าน และเขียน สื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสม 11 10 3 Trick or Treat? ต 1.1 ป. 5/1-4 ต 1.2 ป. 5/1-2,4-5 ต 1.3 ป. 5/1-3 ต 2.1 ป. 5/1-3 ต 2.2 ป. 5/2 ต 3.1 ป. 5/1 ต 4.1 ป. 5/1 การรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสำนวนภาษาที่ใช้ขอ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่กำลังทำ บรรยายสิ่งของต่าง ๆ ขอและให้ข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งที่สามารถ ไม่สามารถทำ และ กิจกรรมที่กำลังทำ ช่วยให้พูดสื่อสารได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม พูด/อ่าน และเขียน สื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและ 13 10


41 หน่วย ที่ ชื่อหน่วยการ เรียนรู้ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน ต 4.2 ป. 5/1 เหมาะสม รู้และเข้าใจคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ เทศกาลฮาโลวีน เทศกาลและสิ่งของต่าง ๆ ช่วยให้อ่าน พูด/เขียนนำเสนอเกี่ยวกับ เทศกาลในประเทศของตนเองได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม 4 Let’s Go Shopping! ต 1.1 ป. 5/1-4 ต 1.2 ป. 5/1, 4-5 ต 1.3 ป. 5/1, 3 ต 2.1 ป. 5/1, 3 ต 2.2 ป. 5/2 ต 3.1 ป. 5/1 ต 4.1 ป. 5/1 ต 4.2 ป. 5/1 การรู้และเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์และ โครงสร้างที่ใช้ในการขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารและเครื่องดื่ม โครงสร้างที่ใช้ขอร้องให้ ผู้อื่นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้กับเรา โครงสร้างที่ใช้ ขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถและไม่ สามารถทำได้ การรู้เกี่ยวกับแหล่งซื้อขาย สินค้าในภูมิภาคอาเซียนและคำศัพท์ที่ เกี่ยวข้อง ช่วยให้พูด อ่าน และเขียนสื่อสาร ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสม 12 10 5 I Don’t Like Science! ต 1.1 ป. 5/1-4 ต 1.2 ป. 5/1-2,4-5 ต 1.3 ป. 5/1-3 ต 2.1 ป. 5/1-3 ต 2.2 ป. 5/2 ต 3.1 ป. 5/1 ต 4.1 ป. 5/1 ต 4.2 ป. 5/1 การรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสำนวนภาษาที่ใช้ขอ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาเรียน เวลา คำศัพท์ โครงสร้างที่ใช้ในการขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ กิจวัตรประจำวัน กิจกรรมที่ทำ รวมถึงการใช้ คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ คำบุพบทบอก เวลา สำนวนภาษาเกี่ยวกับวิชาเรียน ให้ ข้อมูลเกี่ยวกับวันที่ตนเองชอบ ช่วยให้พูด สื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และการ รู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในภูมิภาค อาเซียน ช่วยให้เราเข้าใจแหล่งการเรียนรู้ใน ประเทศภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น 12 15 6 Jobs ต 1.1 ป. 5/1-4 ต 1.2 ป. 5/1, 4-5 ต 1.3 ป. 5/1, 3 ต 2.1 ป. 5/1-3 การรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสำนวนภาษาที่ใช้ขอ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาเรียนและเวลา การ ขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ งานอดิเรก กิจวัตรประจำวัน และกิจกรรมที่ชอบและไม่ 13 15


42 หน่วย ที่ ชื่อหน่วยการ เรียนรู้ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน ต 2.2 ป. 5/2 ต 3.1 ป. 5/1 ต 4.1 ป. 5/1 ต 4.2 ป. 5/1 ชอบทำ รวมทั้งโครงสร้างที่ใช้บอกอาชีพที่ อยากทำในอนาคต รวมทั้งการรู้และเข้าใจ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับบทอ่าน ช่วยให้เข้าใจ เรื่องที่อ่าน ช่วยให้พูดสื่อสารได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม และการรู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียนและคำศัพท์ที่ เกี่ยวข้อง ช่วยให้เข้าใจแหล่งการเรียนรู้ใน ประเทศภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น และการรู้ และเข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ช่วยให้พูดขอและให้ข้อมูล เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้อื่นได้ 7 I Was a Happy Baby! ต 1.1 ป. 5/1-4 ต 1.2 ป. 5/1-5 ต 1.3 ป. 5/1-3 ต 2.1 ป. 5/1-3 ต 2.2 ป. 5/1-2 ต 3.1 ป. 5/1 ต 4.1 ป. 5/1 ต 4.2 ป. 5/1 การรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และสำนวนภาษา เกี่ยวกับบุคลิกลักษณะของบุคคล และ สถานที่ต่าง ๆ ในเมือง และโครงสร้าง ประโยค Past Simple Tense ซึ่งช่วยให้ สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารใน ชีวิตประจำวัน และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม กับกาลเทศะ 13 15 รวมตลอดปี 80 20 สอบปลายปี 20 คะแนน 100


43 วิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชา ภาษาอังกฤษ 6 รหัสวิชา อ16101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 80 ชั่วโมง หน่วย ที่ ชื่อหน่วยการ เรียนรู้ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 1 Welcome Back! ต 1.1 ป. 6/1-3 ต 1.2 ป. 6/1-2, 4 ต 1.3 ป. 6/1 ต 2.1 ป. 6/1 ต 4.1 ป. 6/1 ต 4.2 ป. 5/1 การรู้และเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์และสำนวน ภาษาต่าง ๆ ที่เรียนมาแล้วในชั้น ป. 1-5 รวมทั้งการ ถาม-ตอบ การขอและให้ข้อมูล พื้นฐานทั่วไป และข้อมูลส่วนตัวของตนเองและ เพื่อน ทำให้ผู้เรียนพูดสื่อสาร ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับวัฒนธรรม ของเจ้าของภาษา 4 5 2 The Way We Look! ต 1.1 ป. 6/1-4 ต 1.2 ป. 6/2-4 ต 1.3 ป. 6/1 ต 2.1 ป. 6/3 ต 3.1 ป. 6/1 ต 4.1 ป. 6/1 ต 4.2 ป. 6/1 รู้และเข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกาย และคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ โครงสร้าง ถาม-ตอบเกี่ยวกับจำนวน สำนวนและ โครงสร้างภาษา หลักวิธีการเขียน ช่วยให้ สนทนา เขียนโต้ตอบ พูด/เขียนสื่อสารเกี่ยวกับ ลักษณะภายนอก และสถานการณ์ที่กำหนดได้ อย่างถูกต้องและเหมาะสม 12 10 3 Cows Are Fatter Than Goats! ต 1.1 ป. 6/1-4 ต 1.2 ป. 6/1-5 ต 1.3 ป. 6/1-3 ต 2.1 ป. 6/1-3 ต 2.2 ป. 6/1-2 ต 3.1 ป. 6/1 ต 4.1 ป. 6/1 ต 4.2 ป. 6/1 การรู้และเข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ และ ประเภทของสัตว์ช่วยให้ใช้ภาษาอังกฤษในการ แยกแยะประเภทของสัตว์ และเชื่อมโยงความรู้ กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาอื่น การบรรยาย เกี่ยวกับสัตว์และสวนสัตว์ที่ชอบ การวิเคราะห์ ความแตกต่างของโครงสร้างการเปรียบเทียบ ขั้นกว่าและขั้นสูงสุด ระหว่างภาษาอังกฤษและ ภาษาไทย และการใช้โครงสร้างประโยคในการ เปรียบเทียบขั้นกว่า และขั้นสูงสุด ในทักษะ ต่าง ๆ ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน การบอก วิธีการประหยัดน้ำ การร้องเพลงภาษาอังกฤษ การรู้และเข้าใจเรื่องที่อ่านเกี่ยวกับประเทศ เพื่อนบ้าน และประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ เพื่อ เป็นการพัฒนาทักษะการอ่าน ทำให้เกิดการ 12 10


44 หน่วย ที่ ชื่อหน่วยการ เรียนรู้ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน เรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และเข้าใจ วัฒนธรรมของชาติอื่น ช่วยให้สื่อสารได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม และอยู่ในสังคมโลกอย่าง มีความสุข 4 A Sore Throat ต 1.1 ป. 6/1-4 ต 1.2 ป. 6/1-5 ต 1.3 ป. 6/1-3 ต 2.1 ป. 6/1-3 ต 2.2 ป. 6/1 ต 3.1 ป. 6/1 ต 4.1 ป. 6/1 ต 4.2 ป. 6/1 การรู้และเข้าใจเรื่องที่ได้ศึกษา คำศัพท์ สำนวน และโครงสร้างภาษา หลักวิธีการเขียน ช่วยให้ สนทนา โต้ตอบ พูด/เขียนสื่อสารเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพ ทั้งการบอกอาการไม่สบายและ แนะนำวิธีการรักษา กฎที่ควรปฏิบัติต่าง ๆ และกฎจราจร ความปลอดภัยบนท้องถนน ได้ อย่างถูกต้องและเหมาะสม เป็นทักษะสำคัญที่ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 13 10 5 What Happened To You? ต 1.1 ป. 6/1-4 ต 1.2 ป. 6/1-2, 4-5 ต 1.3 ป. 6/1-3 ต 2.1 ป. 6/1, 3 ต 2.2 ป. 6/1 ต 3.1 ป. 6/1 ต 4.1 ป. 6/1 ต 4.2 ป. 6/1 การรู้คำศัพท์เกี่ยวกับ TV Programme และ เกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งสำนวน การออก เสียงคำศัพท์ต่าง ๆ การรู้และเข้าใจความหมาย ของสถานที่ทางธรรมชาติ ช่วยให้ใช้ ภาษาอังกฤษในการบอกสถานที่ และเชื่อมโยง ความรู้กับกลุ่มสาระวิชาอื่น ๆ การรู้โครงสร้าง Past simple tense ด้วยทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน การร้องเพลงทางภาษา ทำให้ สนุกสนานเพลิดเพลิน มีทัศนคติที่ดีต่อการ เรียนภาษาอังกฤษ การอ่านเรื่องเกี่ยวกับ ประเทศเพื่อนบ้านและบทความเกี่ยวกับ เรื่องราวของประเทศเจ้าของภาษา เช่น รายการโทรทัศน์ เป็นการเพิ่มพูนความรู้ พัฒนาทักษะการอ่าน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้น และทำให้เกิดการเรียนรู้เข้าใจวัฒนธรรมของ ชาติอื่น และอยู่ในสังคมโลกอย่างมีความสุข สามารถนำไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทำให้การสื่อสารมี ประสิทธิภาพ และเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ 13 15


45 หน่วย ที่ ชื่อหน่วยการ เรียนรู้ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน ได้ 6 Fun Food ต 1.1 ป. 6/1-4 ต 1.2 ป. 6/1-2, 4-5 ต 1.3 ป. 6/1-3 ต 2.1 ป. 6/2-3 ต 2.2 ป. 6/1-2 ต 3.1 ป. 6/1 ต 4.1 ป. 6/1 ต 4.2 ป. 6/1 การรู้และเข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับอาหาร พูด ประโยคเกี่ยวกับอาหาร ใช้ some และ any ในประโยค และการเรียนรู้ประโยคถาม-ตอบ เกี่ยวกับจำนวนของอาหาร ประโยคบรรยาย เกี่ยวกับอาหาร เป็นประโยชน์ในการสื่อสาร และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งการฟัง อ่านเกี่ยวกับอาหาร และเขียนบอกขั้นตอนของ การทำสิ่งต่าง ๆ เป็นเป็นประโยชน์ในการ สื่อสาร สามารถนำความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน การรู้และเข้าใจเรื่องที่อ่าน เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เป็นการ พัฒนาทักษะการอ่าน ทำให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจวัฒนธรรมของชาติอื่น ทำให้เข้าใจความ เหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษากับของไทย รวมถึงการรู้และ เข้าใจความหมายของผึ้งชนิดต่าง ๆ และ โครงสร้างประโยค ช่วยให้ใช้ภาษาอังกฤษใน การบอกชนิดของผึ้งและเชื่อมโยงความรู้กับ กลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ และสามารถเขียน สื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 12 15 7 Let’s Go Camping! ต 1.1 ป. 6/2-4 ต 1.2 ป. 6/4-5 ต 1.3 ป. 6/1-2 ต 2.1 ป. 6/2-3 ต 2.2 ป. 6/1-2 ต 3.1 ป. 6/1 ต 4.1 ป. 6/1 ต 4.2 ป. 6/1 การรู้และเข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับสภาพอากาศ เสื้อผ้า และประโยคบอกเกี่ยวกับสภาพอากาศ ประโยคขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่จะทำ การเรียนรู้ไวยากรณ์และโครงสร้างเกี่ยวกับ เหตุการณ์ที่วางแผนไว้ว่าจะทำในอนาคต และ ใช้ประโยคคำถามแบบ Yes/No Questions รวมไปถึงการฟังและการอ่านเกี่ยวกับกิจกรรม ที่กำลังจะทำ เรียนรู้หลักการออกเสียง การ เขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เล่ากิจกรรมที่ วางแผนจะทำ อีกทั้งการอ่านเรื่องเกี่ยวกับ 12 15


46 หน่วย ที่ ชื่อหน่วยการ เรียนรู้ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน ประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการพัฒนาทักษะการ อ่าน ทำให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจวัฒนธรรมของ ชาติอื่น ทำให้อยู่ในสังคมโลกอย่างมีความสุข และเป็นการเรียนรู้เพื่อการสื่อสารใน ชีวิตประจำวันด้วย รวมตลอดปี 80 20 สอบปลายปี 20 คะแนน 100


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.