E-BOOKส่วนส่งเสริม Flipbook PDF


30 downloads 102 Views 24MB Size

Recommend Stories


Get Instant Access to ebook Magia Con Velas PDF at Our Huge Library MAGIA CON VELAS PDF. ==> Download: MAGIA CON VELAS PDF
Get Instant Access to eBook Magia Con Velas PDF at Our Huge Library MAGIA CON VELAS PDF ==> Download: MAGIA CON VELAS PDF MAGIA CON VELAS PDF - Are y

Get Como Superar Conflictos De Pareja pdf ebook download free site
Get Como Superar Conflictos De Pareja pdf ebook download free site >-- Click Here to Download Como Superar Conflictos De Pareja Now --< >-- Click H

Story Transcript





คำนำ ส่วนส่งเสริมสาธารณสุข สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครระยอง มีภารกิจ เกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขเชิงรุก เช่น ส่งเสริม ป้องกัน รักษาพยาบาลเบื้องต้น ฟื้นฟู สุ ข ภาพ ให้ ก ั บ ประชาชนทุก กลุ่ มวัย ในชุ ม ชน โรงเรี ยน ศู น ย์ พ ั ฒ นาเด็ก เล็ ก สถานที ่ ร าชการ สถาน ประกอบการ และสวนสาธารณะต่างๆ ในพื้นที่เทศบาลนครระยอง มีฝ่ายในความรับผิดชอบของส่วน ส่งเสริมสาธารณสุข จำนวน 2 ฝ่าย ดังนี้ ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ และฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้าน การรักษาพยาบาลเบื้องต้นในโรงเรียนและครอบครัว ด้านการฟื้นฟูสุขภาพให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย ที่ บ้าน/ชุมชน/ โรงเรีย น/ศาสนสถาน/ศูน ย์ พ ัฒ นาเด็ กเล็ ก /สถานที ่ร าชการ/สถานประกอบการ และ สวนสาธารณะต่างๆ ในพื้นที่เทศบาลนครระยอง ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน กองทุน สุขภาพภาคต่างๆ มีงานในความรับผิดชอบของฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 4 งาน ดังนี้ งานส่งเสริม สุขภาพ, งานเวชปฏิบัติครอบครัว, งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต และงานหลักประกัน สุขภาพ ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะด้านการป้องกันโรค เฝ้าระวังและสนับสนุนการควบคุมโรค ให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย ทั้งในบ้าน/ชุมชน โรงเรียน/ศาสนสถาน/ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก /สถานที่ราชการ/สถานประกอบการ และสวนสาธารณะต่างๆ ในพื้นที่เทศบาลนคร ระยอง มีงานในความรับผิดชอบของฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค จำนวน 2 งาน ดังนี้ งาน ป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ และงานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ส่วนส่งเสริมสาธารณสุข ได้จัดทำรายงานประจำปี 2565 นี้ เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน เกี่ยวกับโครงการ/กิจกรรม รวมถึงงบประมาณในการดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัยใน 29 ชุมชนเขต เทศบาลนครระยอง นอกจากนี้ยังใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานด้านสุขภาพ พร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรม ต่างๆในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้เกิ ดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ทั้งนี้ขอขอบพระคุณคณะผู้บริหาร เทศบาลนครระยอง ผู้อำนวยการสำนัก/ผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการส่วน หัวหน้าฝ่าย พนักงานเทศบาล พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป ทุกท่าน ที่ร่วมเป็นเครือข่ายใน การดำเนินงานด้านสุขภาพ รวมทั้งเสนอแนะความคิดเห็ นและแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคใน การดำเนินงาน พร้อมทั้งพัฒนาและก้าวเคียงข้างไปด้วยกันเพื่อประชาชน โดยหวังว่ารายงานผลการ ดำเนินงานฯ ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานของเทศบาลนครระยอง ต่อไป ส่วนส่งเสริมสาธารณสุข สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ธันวาคม 2565



สารบัญ คำนำ สารบัญ ข้อมูลพื้นฐาน นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลนครระยอง ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ - งานส่งเสริมสุขภาพ - งานเวชปฏิบัติครอบครัว - งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต - งานหลักประกันสุขภาพ ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค - งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อ - งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ

หน้า ก ข 1 3 5 37



ข้อมูลพื้นฐาน พื้นที่รับผิดชอบ เทศบาลนครระยองตั้งอยู่ในพื้นที่ของ อ.เมือง จ.ระยองอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 179 กม. มีพื้นที่ทั้งสิ้น 16.95 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล คือ 1.ตำบลปากน้ำ 2.ตำบลท่าประดู่ 3.บางส่วนของตำบลเชิงเนิน 4.บางส่วนของตำบลเนินพระ จำนวน 4 เขต แบ่งออกเป็น 29 ชุมชน และ มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับพื้นที่เทศบาลตําบลทับมาเทศบาลตําบลน้ำ คอก เทศบาลตําบลเชิง เนิน ทิศใต้ ติดทะเลอ่าวไทย ทิศตะวันออก ติดกับพื้นที่ เทศบาลตําบลเชิงเนิน ทิศตะวันตก ติดกับพื้นที่ เทศบาลตําบลเนินพระ

ข้อมูลประชากร ประชากรในเขตเทศบาลนครระยอง พ.ศ.2565 มีจำนวน 62,089 คน ส่วนใหญ่เป็นประชากร วัยทำงาน (อายุ 15-59ปี) ร้อยละ 59.42 รองลงมาเป็นวัยเรียนและเยาวชน (อายุ 6-19 ปี) ร้อยละ 23.61 วัยสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป) ร้อยละ 13.84 และวัยก่อนเรียน (เด็กแรกเกิด -5ปี) ร้อยละ 9.57 จะเห็นว่าประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลง แต่ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ดังตาราง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดปรากฎการณ์สำคัญที่มีผลต่อ สังคมไทยอย่างมากนั่นคือ การมีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก สัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ ลักษณะการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจระหว่างประชากรวัยต่างๆ เปลี่ยนไป เดิมมีประชากรวัย เด็กที่ต้องพึ่งพิง ประชากรวัยแรงงานมากกว่าผู้สูงอายุ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีผู้สูงอายุที่พึ่งพิงประชากรวัยแรงงาน มากกว่าเด็ก สังคมไทยกำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ มาตรการและโครงการที่จะเป็นสวัสดิการให้ประชากร สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชีวิต ความเป็นอยู่ทั่วไป หรือเรื่องสุขภาพอนามัยต้องพัฒนาไปให้ทันกับการเพิ่ม อย่างรวดเร็วของประชากรสูงอายุในอนาคต ตาราง...



-2ตารางแสดงจำนวนประชากรกลางปีจำแนกตามกลุ่มวัย พ.ศ.2565 ประชากร อายุ รวม จำนวน วัยก่อนเรียน 0-5 ปี 5,943 วัยเรียนและเยาวชน 6-19 ปี 14,660 วัยทำงาน 15-59 ปี 36,895 วัยสูงอายุ 60ปี ขึ้นไป 8,596 ที่มา : สำนักทะเบียนราษฎร์เทศบาลนครระยอง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565

ร้อยละ 9.57 23.61 59.42 13.84

แผนภูมิปิรามิดประชากรในเขตเทศบาลนครระยอง ปะจำปี 2565 กลุ่มอายุ

้รามิ ป ดประชากร

75-79 60-64 % ชาย

45-49

% หญิง

30-34 15-19 00-04 8

6

4

2

0

2

4

6

8

้อยละ ร

นโยบาย...



-3นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลนครระยอง แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลนครระยอง พ.ศ.2561-2565 เป็นแผนพัฒนาที่จัดทำขึ้น โดยมีกระบวนการ และขั้นตอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน นำแนวคิดในการพัฒนา เมืองมาเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางในการจัด ทำแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเมือง ใหม่ๆ โดยนำเสนอแนวคิดเรื่อง " นครสีเขียวและรุ่งเรืองด้วยความพอเพียงภายในปีพ.ศ.2565 " โดย กายภาพเมืองและผังเมืองมีความเป็นระเบียบการเดินทางสัญจรของประชาชนสะดวกปลอดภัยสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติมีความสมดุลเด็กและเยาวชนเป็นคนดีมีความสุขเศรษฐกิจเมืองมีความรุ่งเรือง ประชาชนมีสุขอนามัยที่ดีสังคมน่าอยู่อบอุ่นภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนและเทศบาลนครระยองมี การบริหารจัดการที่ดีนั้นมาเป็นแนวทางในการนำแผนยุทธศาสตร์ฯไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลนครระยอง "นครสีเขียวและรุ่งเรืองด้วยความพอเพียงภายในปีพ.ศ.2565" ยุทธศาสตรและแนวทางการพัฒนา 1. ยุทธศาสตรการพัฒนากายภาพเมืองและผังเมืองใหมีความเปนระเบียบและยั่งยืน 2. ยทธศาสตรการจัดการระบบขนสงมวลชนการจราจรและความปลอดภัย 3. ยุทธศาสตรการสรางความสมดุลของสิ่งแวดลอมภายใตแนวทางเมืองคารบอนต่ำ 4. ยุทธศาสตรการพัฒนาการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม 5. ยุทธศาสตรการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองใหมีความรุงเรือง 6. ยุทธศาสตรการเสริมสรางสุขภาวะที่ดีของประชาชน 7. ยุทธศาสตรการเสริมสรางสังคมคนดีและสังคมแหงการมีสวนรวม 8. ยุทธศาสตรการบริหารจัดการองคกรใหมีความผาสุกและมีการบริหารจัดการที่ดี ส่วนส่งเสริมสาธารณสุข สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ยุทธศาสตร์ ซึ่งการจัดแผนปฏิบัติงานคำนึงถึงความสอดคล้องกับแนว ทางการพัฒนาของแผนยุทธศาสตร์ เทศบาลนครระยอง พ.ศ.2561 – พ.ศ.2565 และภารกิจประจำ ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชน - แนวทางการพัฒนาที่ 6.2.1 ส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในประชาชน - แนวทางการพั ฒ นาที่ 6.2.2 ส่ ง เสริ ม /ดู แ ลสุ ข ภาพประชาชนในชุ ม ชนโรงเรี ย นและสถาน ประกอบการ - แนวทางการพัฒนาที่ 6.3.1 จัดระบบดูแลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ 2.ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเสริมสร้างสังคมคนดีและสังคมแห่งการมีส่วนร่วม - แนวทางการพัฒนาที่ 7.2.1 สร้างความเข้มแข็งความสามัคคีความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชนและ ครอบครัวสามารถดูแลและพึ่งพึงตัวเองได้ 3.ยุทธศาสตร์ที่ 8 การบริหารจัดการองค์กรให้มีความผาสุกและมีการบริหารจัดการที่ดี ได้แก่ เทศบาล นครระยอง มีการบริหารจัดการที่ดี เจ้าหน้าที่เทศบาลมีความผาสุก ความ...



-4ความเชื่อมโยงของการดำเนินงาน กับยุทธศาสตร์ของเทศบาลนครระยอง ส่วนส่งเสริมสาธารณสุข สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้กำหนดแผนการปฏิบัติงานให้ ตอบสนองต่อวิสัยทัศน์เทศบาลนครระยอง “นครสีเขียวและรุ่งเรืองด้วยความพอเพียงภายในปี พ.ศ. 2565 " โดยกายภาพเมืองและผังเมืองมีความเป็นระเบียบการเดิน ทางสัญจรของประชาชนสะดวก ปลอดภัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความสมดุลเด็กและเยาวชนเป็นคนดีมีความสุขเศรษฐกิจ เมืองมีความรุ่งเรืองประชาชนมีสุขอนามัยที่ ดีสังคมน่าอยู่อบอุ่นภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนและ เทศบาลนครระยองมีการบริหารจัดการที่ดีนั้นจะต้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์หลักทั้ง 8 ยุทธศาสตร์และ ยุ ท ธศาสตร์ย ่อ ยหรื อ แนวทางการพั ฒ นาหรือ วัต ถุ ประสงค์ ต ่า งๆควบคู ่ก ั น ไปด้ ว ย จึ ง ได้ ก ำหนดเป็น แผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2565 ที่สนองต่อแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครระยองที่ เกี่ยวข้อง



รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2565 งานส่งเสริมสุขภาพ

สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เทศบาลนครระยอง



-5-

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) งานส่งเสริมสุขภาพ มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี สามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และสนับสนุนองค์กร ชุมชน วัด โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กให้มีความ เข้มแข็งและมีศักยภาพ สำหรับปีงบประมาณ 2565 ได้กำหนดเป็นแผนปฏิบัติงานประจำปี ที่สนองต่อ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลนครระยอง พ.ศ.2561-2565 ที่เกี่ยวข้อง คือ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชน วัตถุประสงค์ ที่ 6.2 เพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพประชาชน แนวทางการพัฒนาที่ 6.2.1 ส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในประชาชน การดำเนินงานของงานส่งเสริมสุขภาพในปีงบประมาณ 2565 ได้กำหนดไว้ในแผนปฎิบัติงาน จำนวน 3 แผนงาน 9 โครงการ 11 กิจกรรม แต่เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ต้องปฎิบัติงานภายใต้มาตรการของคณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัดระยอง และต้องปฎิบัติงานในชุด เคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวัง ติดตาม การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) พื้นที่เทศบาล นครระยอง จึงสามารถดำเนินการได้จำนวน 8 โครงการ 7 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 75 การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน (0-5ปี) ดำเนินการเฝ้าระวังการเจริญเติบโต ส่งเสริมและแก้ไขโภชนาการ ในเด็กแรกเกิด – 5ปี จำนวน 2 โครงการ 1 กิจกรรม จากแผนปฏิบัติงานที่ตั้งไว้จำนวน 3 โครงการ 2 กิจกรรมคิดเป็นร้อยละ 60 ได้แก่ 1.โครงการปั้นเด็กจิ๋วให้เป็นเด็กแจ๋ว 2.โครงการส่งเสริมพัฒนารากแก้วแห่งชีวิต 3.กิจกรรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตในเด็กปฐมวัย0-2 ปีในชุมชน กลุ่มวัยเรียนและเยาวชน ดำเนินการให้บริการอนามัยโรงเรียน จัดบริการดูแลสุขภาพเด็กตาม มาตรฐานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2557 ได้แก่ ตรวจสุขภาพนักเรียน เฝ้าระวังตรวจ คัดกรองสายตานักเรียน เฝ้าระวังภาวะโภชนาการในนักเรียนโดยการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงนักเรียนทุกคน ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ป้องกันและควบคุมโรคในนักเรียน ได้แก่ เฝ้าระวังกำจัดเหา สนับสนุนยาเม็ดเสริมธาตุ เหล็ก และการส่งเสริมสุขศึกษาด้านสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 4 โครงการ 5 กิจกรรม จาก แผนปฏิบัติงานที่ตั้งไว้จำนวน 5 โครงการ 8 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 69.23 ได้แก่ 1.โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน 2.โครงการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติในนักเรียน 3.โครงการวัยเรียน วัยใส ใส่ใจเพศศึกษา 4.โครงการหนูน้อยยิ้มสวยสุขภาพฟันดี 5.กิจกรรมตรวจสุขภาพเด็กปฐมวัย 6.กิจกรรมเด็กวัยเรียนเติบโต สมวัย 7.กิจกรรมวัยเรียนวัยใส อนามัยดี๊ดี ไม่มีเหา 8.กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในโรงเรียน 9.กิจกรรมพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กลุ่ม...



-6กลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เฝ้าระวังดัชนีมวล กาย ให้ความรู้โรคขาดสารไอโอดีนแก่ประชาชน จำนวน 1 โครงการ 1 กิจกรรม จากแผนปฏิบัติงานที่ตั้งไว้ จำนวน 1 โครงการ 1 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 100 ได้แก่ 1.โครงการรวมพลังป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน 2.กิจกรรมเฝ้าระวังดัชนีมวลกายในกลุ่มวัยทำงาน ด้านการสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมศักยภาพ งานส่งเสริมสุขภาพ ได้มีการพัฒนางานเฝ้าระวังด้าน พัฒนาการในเด็กอายุ 0-6 ปี เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในช่วงการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ได้ แ ก่ โปรแกรมเฝ้ า ระวั ง และส่ ง เสริ ม พั ฒ นาการ ( Online Development Surveillance and Promotion Program : ODSPP) เพื ่ อ ช่ ว ยอำนวยความสะดวกให้ ป ระชาชน ครู ปฐมวัย ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย เข้าถึงการประเมิน เฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการ อีกทั้งโปรแกรมยังสามารถ วิเคราะห์ความผิดปกติของพัฒนาการด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบถึงปัญหาด้านพัฒนาการ และนำ คำแนะนำไปส่งเสริมพัฒนาการบุตร หลาน หรือดูแลเด็กปฐมวัยในความปกครอง และผู้ปฏิบัติงานสามารถ นำข้อมูลที่ได้จากการใช้งานโปรแกรมเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการมาวิเคราะห์ปัญหาด้านพัฒนาการที่มี ความผิดปกติ และนำไปวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไปได้ ภารกิจ บทบาท หน้าที่ของงานส่งเสริมสุขภาพ งานส่งเสริมสุขภาพ มีภารกิจตามโครงสร้างขององค์กร คือให้บริการสาธารณะด้านสาธารณสุขเชิง รุกในพื้นที่ เกี่ยวกับการวางแผนและดำเนินการด้านส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยเด็กก่อนเรียน วัยเรียนและ เยาวชน วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ รวมถึงการโภชนาการ อนามัยชุมชน สุขศึกษาและปฎิบัติงานอื่นๆ ที่ ผู้บ ังคับ บัญชามอบหมาย ในการดูแลสุขภาพคนหนึ่งคนตั้งแต่เกิดจนถึงบั้นปลายชีว ิตให้มีส ุขภาพดี จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมตามช่วงชีวิตของแต่ละบุคคล (ดังตารางที่ 1 ) ตารางที่ 1 บทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบส่งเสริมสุขภาพ กลุม่

บทบาท 1. โภชนาการ 2. พัฒนาการ

เด็กก่อนวัยเรียน (0-5 ปี) 1. ตรวจสุขภาพ 2. เฝ้าระวังสุขภาพ 3.บริการตรวจรักษาเบื้องต้น 4.แก้ไขปัญหาสุขภาพ วัยเรียนและเยาวชน (6-19 ปี)

กลุ่ม...



-7กลุม่

บทบาท 1. โภชนาการ (ไอโอดีน) 2. สุขศึกษา 3. ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

วัยทำงาน (20-59 ปี) 1. เฝ้าระวังสุขภาพผูส้ ูงอายุตดิ สังคม 2. ให้ความรูด้ ้านสุขภาพ 2.1 ออกกำลังกาย 2.2 อาหาร 2.3 อารมณ์ ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) - สร้างเสริมศักยภาพ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ บุคคล ชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน

สร้างเสริมศักยภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) เป็นทั้งกระบวนการ กิจกรรม และแนวทางสำหรับ การดำเนินงานเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อส่งเสริมและเกื้อหนุนให้บุคคลได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ครอบครัว และชุ ม ชนในทุ ก ด้ า นแบบองค์ ร วมอย่ า งเป็ น ระบบ เนื ่ อ งจากสุ ข ภาพนั ้ น เป็ น องค์ ร วม มี ท ี ่ ม าจาก ส่วนประกอบหลายๆประการ อาทิ สังคม สิ่งแวดล้อม ระบบบริการสุขภาพและวิถีการดำเนินชีวิตของ บุคคล เพื่อสนับสนุนยับยั้งหรือกำหนดพฤติกรรมสุขภาพไปสู่การปฎิบัติ เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้ผู้คน สามารถควบคุมและเพิ่มพูนสุขภาพให้กับตนเองได้ โดยกระบวนการทั้งหมดจะเน้นที่การมีส่วนร่วมของชุมชน บทบาทของประชาชน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง และชุมชนโดย ประชาชนจะต้องเห็นคุณค่า และผลของสิ่งแวดล้อมต่อภาวะสุขภาพ ช่วยกันรักษาและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ เกื้อกูลต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี เช่น การรวมตัวกันของชุมชนเพื่อจัดโครงการเกี่ยวกับสุขภาพ ดังนั้น การสร้างเสริมศักยภาพเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ จึงเป็นการสร้างเสริมความสามารถที่มีอยู่ในตนเอง ให้มีมากขึ้น เพื่อที่จะได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากการพัฒนาตนเองจะช่วยให้เกิดการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้คนเราเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีการพัฒนาการในการทำงาน สามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรชุมชนจึงต้องมีการพัฒนาโครงสร้างและ กลไกการจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ และตระหนักในสุขภาพของชุมชน และมีเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ทำหน้าที่ให้ความรู้และสนับสนุนให้เกิดทักษะการส่ งเสริมสุขภาพ โดยเริ่มตั้งแต่การสร้าง ทีมงาน เขียนโครงการ จัดทำแผน ดำเนินงาน ควบคู่ไปกับกระบวนการสะท้อนความรู้สึกของประชาชน สำหรับข้อมูลย้อนกลับในการปรับปรุง แผน...



-8แผนงาน และกิจกรรมในโครงการ จนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน ซึ่งมีส่วนเกื้อหนุน องค์กร ชุมชน ให้มีความแข็งแกร่ง และมั่นคงยิ่งขึ้น สำหรับการพัฒนาโครงการส่งเสริมสุขภาพแบบยั่งยืนต่อไป อัตรากำลัง จำนวนข้าราชการ 2 คน จำนวนพนักงานจ้างตามภารกิจ 1 คน จำนวนพนักงานจ้างทั่วไป 1 คน งานส่งเสริมสุขภาพ

นางวันดี สาคะรังค์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

1.กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2.งานโภชนาการ นส.กัลยา อนุสาสนนันท์ พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติ

นส.ดวงพร เจริญชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข

1.กลุ่มการ เด็กก่อนวัยเรียน

1.กลุ่มวัยทำงาน

2.สุขภาพจิตในโรงเรียน/ศพด.

2.กลุ่มวัยผู้สูงอายุ

นางวรรณา สรการ พนักงานจ้างทั่วไป

1.ชั่งน้ำหนักเด็กในชุมชน 2.งานธุรการ

แผนการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฎิบัติการสาธารณสุขปี 2565 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งานส่งเสริมสุขภาพได้รับมอบหมายหน้าที่ปฎิบัติงานส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียนและเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้นเพื่อให้การส่งเสริม สุขภาพประชาชนครอบคลุมทุกกลุ่มในเขตเทศบาลนครระยอง งานส่งเสริมสุขภาพจึงได้ดำเนินงาน โครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ตามแผนปฎิบัติการที่ตั้งไว้ (ดังตารางที่ 2 )ดังนี้ โครงการ/กิจกรรมที่บรรจุในแผนปฎิบัติการปี 2565 จำนวน 9 โครงการ 12 กิจกรรม โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จสิ้นตามแผนฯ จำนวน 7 โครงการ 7 กิจกรรม

ตาราง...



-9ตารางที่ 2 การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการสาธารณสุข ปี 2565 ชื่อโครงการ/กิจกรรมที่บรรจุใน ประเมินผลการ ชื่อโครงการ/กิจกรรมที่ แผนปฎิบัติการ ดำเนินงาน ดำเนินการ ดำเนินการ ไม่ได้ แล้ว ดำเนินการ 1.กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน  1.1 โครงการปั้นเด็กจิ๋วให้เป็น 1.1กิจกรรมเฝ้าระวัง เด็กแจ๋ว และแก้ไขเจริญเติบโต ในเด็กปฐมวัย 2-5 ปี ในศพด.  1.2 โครงการส่งเสริมพัฒนาราก 1.2 โครงการส่งเสริม แก้วแห่งชีวิต พัฒนารากแก้วแห่งชีวิต  1.3 โครงการส่งเสริมทักษะ EF ให้เด็กในชุมชน  1.4 กิจกรรมเฝ้าระวังการ 1.4 กิจกรรมเฝ้าระวัง เจริญเติบโตในเด็กปฐมวัย 0-2 การเจริญเติบโตในเด็ก ปีในชุมชน ปฐมวัย 0-2 ปีในชุมชน  1.5 กิจกรรมแก้ไขโภชนาการ เด็กอายุ0-2ปีในชุมชน 2.กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน  2.1 โครงการส่งเสริมสุขภาพ 2.1 โครงการส่งเสริม เด็กวัยเรียน สุขภาพเด็กวัยเรียน  2.2 โครงการแก้ไขปัญหาเด็ก อ้วนและป้องกันโรค NCDs ใน โรงเรียน  2.3 โครงการแก้ไขภาวะสายตา 2.3 โครงการแก้ไข ผิดปกติในนักเรียน ภาวะสายตาผิดปกติใน นักเรียน  2.4 โครงการวัยเรียน วัยใส ใส่ 2.4 โครงการวัยเรียน ใจเพศศึกษา วัยใส ใส่ใจเพศศึกษา  2.5 โครงการหนูน้อยยิ้มสวย 2.5 โครงการหนูน้อย สุขภาพฟันดี ยิ้มสวยสุขภาพฟันดี  2.6.กิจกรรมเฝ้าระวังและแก้ไข เจริญเติบโตในเด็กปฐมวัย3-5ปี ในโรงเรียน

ผู้รับผิดชอบ

นางวันดี สาคะรังค์ นส.กัลยา อนุสาสนนันท์ นส.กัลยา อนุสาสนนันท์ นางวรรณา สรการ นางวันดี สาคะรังค์ นางวันดี สาคะรังค์ นส.ดวงพร เจริญชัย รุ่งเรือง นางวันดี สาคะรังค์ นส.ดวงพร เจริญชัย รุ่งเรือง นส.กัลยา อนุสาสนนันท์ นางวันดี สาคะรังค์ ตาราง...



-10ตารางที่ 2 การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการสาธารณสุข ปี 2565 ชื่อโครงการ/กิจกรรมที่บรรจุใน ประเมินผลการ ชื่อโครงการ/กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ แผนปฎิบัติการ ดำเนินงาน ที่ดำเนินการ ดำเนินการ ไม่ได้ แล้ว ดำเนินการ  2.7 กิจกรรมตรวจสุขภาพเด็ก 2.7 กิจกรรมตรวจ นส.กัลยา ปฐมวัย สุขภาพเด็กปฐมวัย อนุสาสนนันท์  2.8 กิจกรรมประเมินความ นส.กัลยา ฉลาดทางอารมณ์ในเด็กปฐมวัย อนุสาสนนันท์  2.9 กิจกรรมเด็กวัยเรียนเติบโต นางวันดี สมวัย สาคะรังค์  2.10 กิจกรรมวัยเรียนวัยใส 2.10 กิจกรรมวัย นางวันดี อนามัยดี๊ดี ไม่มีเหา เรียนวัยใส อนามัยดี๊ดี สาคะรังค์ ไม่มีเหา  2.11 กิจกรรมแปรงฟันดี ไม่มีผุ นางวันดี สาคะรังค์  2.12 กิจกรรมควบคุมและ 2.12 กิจกรรม นางวันดี ป้องกันโรคโลหิตจางจากการ ควบคุมและป้องกัน สาคะรังค์ ขาดธาตุเหล็กในโรงเรียน โรคโลหิตจางจากการ ขาดธาตุเหล็กใน โรงเรียน  2.13 กิจกรรมพัฒนาโรงเรียน 2.13 กิจกรรมพัฒนา นางวันดี ส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนส่งเสริม สาคะรังค์ สุขภาพ 3.กลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ  3.1 โครงการรวมพลังป้องกัน 3.1 โครงการรวมพลัง นส.ดวงพร โรคขาดสารไอโอดีน ป้องกันโรคขาดสาร เจริญชัย ไอโอดีน รุ่งเรือง  3.2 กิจกรรมเฝ้าระวังดัชนีมวล 3.2 กิจกรรมเฝ้าระวัง นส.ดวงพร กายในกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 18ดัชนีมวลกายในกลุ่ม เจริญชัย 59 ปี) วัยทำงาน (อายุ 18- รุ่งเรือง 59 ปี)

ผลการ...



-11ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของงานส่งเสริมสุขภาพ ปีงบประมาณ 2565 การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย ในปีงบประมาณ 2565 งานส่งเสริมสุขภาพได้ดำเนินการด้านการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชน ทุกกลุ่มวัย (กลุ่มเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มผู้สูงอายุ) โดยให้ ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการลดปัจจัยเสี่ยง สร้างปัจจัยเอื้อกับสุขภาพของ สังคม ชุมชน และประชาชนเพื่อให้การส่งเสริมสุขภาพมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยได้ปฏิบัติงานตาม โครงการ กิจ กรรมตาม /แผนดำเนิ น งานงานส่งเสริมสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 9 โครงการ 12 กิจกรรม ซึ่งสามารถดำเนินการได้ 7 โครงการ 7 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 66.67 (โครงการ/ กิจกรรมที่ดำเนินการไม่ได้เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในขณะนั้น จึงต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดระยอง เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ให้งดกิจกรรมที่มีการรวมตัวคนมากกว่า 50 คน) กลุ่มเด็กวัยก่อนเรียน 1.โครงการหนูน้อยยิ้มสวย สุขภาพฟันดี ฟัน เป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm) เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อย อาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บดอาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูด ออกเสียง ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ และมีความสำคัญต่อบุคลิกภาพ สุขภาพช่องปากที่ดี จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มวัย แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่า โรคฟันผุ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย สาเหตุหลักทำให้เด็กปฐมวัยฟันผุเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ผิดวิธี ซึ่งสามารถพบตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในขวบปีแรก ทำให้เกิดปัญหาหลาย อย่ า งตามมา ไม่ ส ามารถรั บ ประทานอาหารได้ ต ามปกติ ส่ ง ผลให้ไ ด้ รั บสารอาหารที ่จ ำเป็น ต่อ การ เจริญเติบโตไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดปัญหาด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้าได้ ผลการดำเนินงาน - เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากจำนวน 209 คน คิดเป็นร้อยละ 104.50 (โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง และโรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพลเป้าหมาย จำนวน 200 คน)

กิจกรรมให้ความรู้การแปรงฟันที่ถูกวิธี

กิจกรรมเล่นเกมส์กระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของการแปรงฟัน 2.โครงการ...



-122.โครงการส่งเสริมพัฒนารากแก้วแห่งชีวิต กิจกรรมคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโต ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เป็นวัยที่สำคัญเหมาะสมในการปูพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การอบรม เลี้ยงดูเด็กให้เติบโตและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ การให้ความรักความเอาใจใส่ โดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ 3 ปี เป็นโอกาสทองของชีวิต เพราะว่าสมองมีการเจริญเติบโตสูงสุด พร้อมที่จะเรียนรู้ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การ เปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้ พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มี ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์ แจ่มใส รู้จัก ควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่ายมี อาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อให้การดูแลพัฒนาการ เด็กวัยแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับการดูแล ประเมินแก้ไขพัฒนาการ เฝ้าระวังด้านพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และ ส่งต่อเพื่อการรักษาในรายที่มีปัญหา เพื่อให้เด็กวัยดังกล่าวมีพัฒนาการที่สมวัยเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป ผลการดำเนินงาน คัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอายุ 30 , 42 และ 60 เดือน ในโรงเรียนและศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยอง จำนวน 191 คน คิดเป็นร้อยละ 93 (จากกลุ่มเป้าหมายตามช่วง อายุ 30 , 42 และ 60 เดือน จำนวน 205 คน) สรุปรายงานผลการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 23 กันยายน 2565 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ เป้าหมาย ผลการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย (ทั้งหมด) จำนวน พัฒนาการ พัฒนาการ จำนวนที่ส่ง โรงเรียน (ราย) ที่คัดกรอง สมวัย สงสัยล่าช้า ประเมิน TEDA 4 i 30 42 60 30 42 60 30 42 60 30 42 60 30 42 60 1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัด 7 1 - 7 1 - 7 1 - 0 0 - 0 0 ป่าประดู่ 2.โรงเรียนเทศบาลวัด - 5 11 - 5 10 - 5 10 - 0 0 - 0 0 ปากน้ำ 3.โรงเรียนเทศบาลบ้าน - 2 6 - 2 6 - 2 6 - 0 0 - 0 0 ปากคลอง 4.สาธิตเทศบาลนคร - 46 41 - 44 40 - 43 39 - 1 1 - 1 1 ระยอง 5.โรงเรียนเทศบาล - 21 25 - 19 23 - 19 23 - 0 0 - 0 0 วัดโขดทิมทาราม 6.โรงเรียนเทศบาล 17 23 - - 15 19 - 15 19 - 0 0 - 0 0 วัดลุ่มมหาชัยชุมพล ภาพ...



-13-

ภาพการดำเนินงานตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กอายุ 30 , 42 และ 60 เดือน ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนา เด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยอง กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการยุคโควิด การเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีพัฒนาการสมวัยเป็นสิ่งที่สำคัญ การได้รับการเลี้ยงดู โดย ครอบครัวเป็นสิ่งที่ดีที่สุดโดยเฉพาะช่วงปฐมวัย แต่ใน ปัจจุบันด้วยภาระงานที่ต้องประกอบอาชีพนอก บ้านจึงทำให้ ไม่สามารถเลี้ยงดูได้เต็มที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนจึงมีบทบาท สำคัญในการดูแลเด็ก ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ สังคม เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการสมวัย ผู้ดูแลเด็กใน ศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน เป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่ง จะต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะและ ความสามารถในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อนำไปส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้สมวัย และเป็นเด็ก ที่มีคุณภาพต่อไป ผลการดำเนินงาน กิจกรรมอบรมออนไลน์ ใ ห้ ค วามรู้ เ รื่ อ ง การส่ ง เสริ ม พั ฒ นาการและทั ก ษะสมองในเด็ ก ปฐมวั ย มี ผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 116 คน (ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง) พบว่า มีผู้ทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ จำนวน 92 คน หลังจากผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้/แนวทางการส่งเสริมพั ฒนาการ ยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปปรับใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อีกด้วย

กิจกรรม...



-14กิจกรรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตในเด็กปฐมวัย ภาวะโภชนาการของเด็กเป็นสิ่งสำคัญเพราะโภชนาการที่ดีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็กให้เด็ก สามารถพัฒนาศักยภาพตนเองได้อย่างเต็มที่ การขาดโภชนาการที่ดีกีดขวางการเจริญเติบโตของเด็ก ส่งผล ทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าและเกิดภาวะทุพโภชนาการตามมา ดังนั้น การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการจึงมี ความสำคัญ และจำเป็นต้องส่งเสริมเด็กให้มีภาวะโภชนาการปกติเพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัยต่อไป ดังนั้น งานส่งเสริมสุขภาพจึงดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ ภาวะโภชนาการเพื่อนำผลการวิเคราะห์มาเป็น แนวทางในการจัดทำโครงการ และให้ความรู้กับครู/ผู้ปกครอง เรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก ปฐมวัยที่มีปัญหาทุพโภชนาการ(เตี้ย/ผอม) เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีรูปร่างสูงดี สมส่วน และมีโภชนาการที่ดี เหมาะสมเพื่อให้เด็กเจริญเติบโตสมส่วนตามวัย ผลการดำเนินงาน 1.กิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวิเคราะห์ผลภาวะโภชนาการ เด็กปฐมวัยโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยอง จำนวน 1,291 ราย จากจำนวน 1,291 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.45 ได้รับการแปรผลทางภาวะโภชนาการ ดังนี้ -โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง จำนวน 565 ราย จากจำนวน 574 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.4 -โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จำนวน 71 ราย จากจำนวน 71 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 -โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม จำนวน 281 ราย จากจำนวน 291 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.5 -โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ จำนวน 42 ราย จากจำนวน 42 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 -โรงเรี ย นเทศบาลวั ด ลุ ่ ม มหาชั ย ชุ ม พล จำนวน 187 ราย จากจำนวน 186 ราย คิ ด เป็ น ร้อยละ 99.6 -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่าประดู่ จำนวน จำนวน 61 ราย จากจำนวน 61 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 1.1 เมื่อแปรผลเปรียบเทียบน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ พบว่าเด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ มี เด็กน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์สูงเป็นอันดับ 1 ถึงร้อยละ 16.98 และ โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลองมีเด็ก น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ถึงร้อยละ 11.43 (ดังกราฟที่ 1 แสดงภาวะโภชนาการจากการเปรียบเทียบ น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ) แปรผลเปรียบเทียบน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงพบว่าเด็กปฐมวัยโรงเรียนวัดลุ่ม มหาชัยชุมพลพบว่ามีภาวะอ้วนเป็นอันดับ 1 ถึงร้อยละ 9.51 และเด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาลบ้านปาก คลองมีภาวะผอมเป็นอันดับ 1 ถึงร้อยละ 15.68 (ดังกราฟที่ 2 แสดงภาวะโภชนาการจากน้ำหนักตาม เกณฑ์ส่วนสูง) และแปรผลเปรียบเทียบส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ พบว่า เด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ มีภาวะเตี้ยเป็นอันดับ 1 ถึงร้อยละ 8.73 (ดังกราฟที่ 3 แสดงภาวะโภชนาการจากส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ)

กราฟ...



-15กราฟที่ 1 แสดงภาวะโภชนาการจากการเปรียบเทียบนา้ หนักตามเกณฑ์อายุ 80.00 60.00 40.00 20.00 0.00

สาธิตฯ

บ้านปากคลอง

วัดโขดทิมทา ราม

วัดปากนา้

วัดลุม่ ฯ

ศพด.วัดป่ า ประดู่

นา้ หนักมากกว่าเกณฑ์

12.71

6.17

15.01

16.98

15.15

4.85

นา้ หนักค่อนข้างมาก

6.06

3.17

4.20

3.02

4.00

11.10

นา้ หนักตามเกณฑ์

74.69

71.75

73.55

66.11

71.45

65.89

นา้ หนักค่อนข้างน้อย

2.87

7.48

4.32

6.75

4.11

12.98

นา้ หนักน้อยกว่าเกณฑ์

3.67

11.43

2.92

7.14

5.30

5.17

กราฟที่ 2 แสดงภาวะโภชนาการจากนา้ หนักตามเกณฑ์ส่วนสูง 90.00 80.00 70.00 60.00 50.00 40.00 30.00 20.00 10.00 0.00

บ้านปากคลอง

วัดโขดทิมทาราม

วัดปากนา้

วัดลุม่ ฯ

ศพด.วัดป่ าประดู่

อ้วน

3.51

7.07

8.45

9.51

1.56

เริ่มอ้วน

1.59

5.02

8.81

6.13

1.56

ท้วม

1.59

2.59

2.98

5.00

1.72

สมส่วน

13.31

71.64

71.59

63.80

88.42

ค่อนข้างผอม

64.32

8.98

3.81

8.56

5.01

ผอม

15.68

4.71

4.37

6.98

1.72

กราฟ...



-16กราฟที่ 3 แสดงภาวะโภชนาการส่ วนสู งตามเกณฑ์ อายุ 90.00 80.00 70.00 60.00 50.00 40.00 30.00 20.00 10.00 0.00

สาธิตฯ

บ้านปากคลอง

วัดโขดทิมทาราม

วัดปากนา้

วัดลุม่ ฯ

ศพด.วัดป่ าประดู่

สูงกว่าเกณฑ์

5.34

12.40

14.13

6.23

9.57

1.72

ค่อนข้างสูง

6.84

6.17

8.57

6.94

10.31

3.13

สูงตามเกณฑ์

82.00

74.86

73.38

75.71

72.36

85.29

ค่อนข้างเตีย้

2.27

5.49

2.04

2.38

5.12

4.85

เตีย้

3.55

1.08

1.88

8.73

2.65

5.01

1.2 เมื่อเปรียบเทียบผลทางภาวะโภชนาการ สมส่วน อ้วน เตี้ย และ ผอม ของแต่ละโรงเรียน ผลการ วิเคราะห์ภาวะโภชนาการดังข้อมูลต่อไปนี้ 1.2.1 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยองทั้งหมดได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวิเคราะห์ผลภาวะ โภชนาการ จำนวน 565 ราย มีภาวะโภชนาการ จำแนกเป็น -สมส่วน จำนวน 436 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.28 -อ้วน จำนวน 32 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.53 -เตี้ย จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.55 -ผอม จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.08 1.2.2 โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลองจำนวน 71 ราย มีภาวะโภชนาการ จำแนกเป็น -สมส่วน จำนวน 43 ราย คิดเป็นร้อยละ 62.73 -อ้วน จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.51 -เตี้ย จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.08 -ผอม จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.68 1.2.3 โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทารามจำนวน 281 ราย มีภาวะโภชนาการ จำแนกเป็น -สมส่วน จำนวน 202 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.64 -อ้วน จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.07 -เตี้ย จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.88 -ผอม จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.71 1.2.4 โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำจำนวน 106 คน มีภาวะโภชนาการจำแนกเป็น -สมส่วน จำนวน 76 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.59 -อ้วน จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.45 -เตี้ย จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.73 -ผอม จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.37 1.2.5โรงเรียน...



-171.2.5 โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพลจำนวน 187 ราย มีภาวะโภชนาการ จำแนกเป็น -สมส่วน จำนวน 119 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.25 -อ้วน จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.51 -เตี้ย จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.65 -ผอม จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.98 1.2.6 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่าประดู่จำนวน 61 คน มีภาวะโภชนาการ จำแนกเป็น -สมส่วน จำนวน 54 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.94 -อ้วน จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.04 -เตี้ย จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.01 -ผอม จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.15

2. กิจกรรมให้ความรู้ ครู/ผู้ปกครอง ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย เพื่อให้ผู้ปกครองนำไป ส่งเสริมโภชนาการกับเด็กปฐมวัย 2.1 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง จำนวน 6 ราย 2.2 โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จำนวน 2 ราย 2.3 โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม จำนวน 4 ราย 2.4 โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ จำนวน 1 ราย 2.5 โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล จำนวน 3 ราย 2.6 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่าประดู่ จำนวน 1 ราย

กิจกรรม...



-18กิจกรรมตรวจสุขภาพเด็กปฐมวัย การพัฒนาเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะช่วงปฐมวัย มีความสำคัญสูงสุดในการวางรากฐานพัฒนาคนให้มี ความสมบูรณ์ การเริ่มต้นพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพกายที่แข็งแรง นอกจากการส่งเสริมสุขอนามัยแล้ว การตรวจคัดกรองสุขภาพร่างกายเบื้องต้นจึงมีความสำคัญและทำให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพเบื้องต้น ช่วยให้ ทราบถึงปัญหาสุขภาพเด็กปฐมวัยและจะได้รับการรักษาความผิดปกติให้มีสุขภาพที่แข็งแรงต่อไป ผลการดำเนินงาน ตรวจสุขภาพเด็กปฐมวัยระดับชั้นเตรียมอนุบาลถึงอนุบาล 3 ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลนครระยอง จำนวน 1,213 ราย (จากเด็กทั้งหมด 1,302 ราย) คิดเป็นร้อยละ 93.16 พบ ปัญหาสุขภาพ คือฟันผุ รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้ ปากน้า ปัญหาทีพ่ บ บ้านปากคลอง ปัญหาทีพ่ บ สาธิตฯ ปัญหาทีพ่ บ วัดลุ่ม ปัญหาทีพ่ บ วัดโขด ปัญหาทีพ่ บ ศพด.วัดป่าประดู่ ปัญหาทีพ่ บ จานวน ตรวจ จานวน ตรวจ จานวน ตรวจ จานวน ตรวจ จานวน ตรวจ จานวน ตรวจ ระดับชั้น /โรงเรียน ทัง้ หมด สุขภาพ ฟันผุ ทัง้ หมด สุขภาพ ฟันผุ ทัง้ หมด สุขภาพ ฟันผุ ทัง้ หมด สุขภาพ ฟันผุ ทัง้ หมด สุขภาพ ฟันผุ ทัง้ หมด สุขภาพ ฟันผุ (ราย) (ราย) (ราย) (ราย) (ราย) (ราย) (ราย) (ราย) (ราย) (ราย) (ราย) (ราย)

เตรียมอนุบาล 0 อนุบาล 1 24 อนุบาล 2 41 อนุบาล 3 43 รวม 108

0 24 41 43 108

0 9 20 22 51

0 21 19 31 71

0 21 19 29 69

0 15 7 19 41

0 185 166 224 575

0 164 151 215 530

0 19 24 52 95

0 55 63 75 193

0 51 57 68 176

0 17 28 31 76

0 89 92 107 288

0 74 92 105 271

0 17 42 40 99

38 29 0 0 67

กราฟเปรียบเทียบปัญหาด้านสุขภาพด้านฟันผุ(ปัญหาอันดับ1) เด็กปฐมวัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลนครระยอง

ฟั นผุ 59.42% 60.00%

47.22%

43.18%

36.53%

40.00% 17.92% 20.00%

13.56%

0.00%

ภาพ...

34 25 0 0 59

3 5 0 0 8



-19-

ภาพแสดงการดำเนินงานกิจกรรมตรวจสุขภาพเด็กปฐมวัย โปรแกรมเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ (Online Development Surveillance and Promotion Program : ODSPP) จากประสบการณ์การทำงานด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะเป็นผู้ประเมิน พัฒนาการตามช่วงวัยให้กับ เด็กอายุ 9 , 18 ,30 , 42 และ 60 เดือน ตามมาตรฐานคู่มือการเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการ DSPM ของกระทรวงสาธารณสุข เด็กปฐมวัยนอกเหนือจากช่วงอายุดังกล่าวยังคงมี ความจำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการโดยผู้ปกครอง ครูหรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัยซึ่งเด็ก ปฐมวัยนั้นแท้จริงแล้วเริ่มตั้งแต่ช่ว งอายุแรกเกิด – 6 ปี เด็กเหล่านี้ ยังคงต้องเฝ้าระวังและส่งเสริม พัฒนาการตามช่วงอายุให้เหมาะสมตามวัย และยังเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาชีวิตของ เด็กเพราะสมองเด็กมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา ด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษาและด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม ซึ่งบางช่วง อายุของเด็กปฐมวัย ที่ส ามารถเฝ้าระวัง และส่งเสริ มพัฒ นาการโดยผู้ปกครองอาจขาดช่ว งไป เพราะ พัฒนาการที่สมวัยเกิดจากการส่งเสริมพัฒนาการให้เป็นไปตามวัยการที่เด็กปฐมวัยจะมีพัฒนาการที่สมวัย นั้นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือคุณภาพของการเลี้ยงดู และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งเสริมพัฒนาการ เพราะพัฒนาการที่สมวัยมีความสำคัญในการสร้างรากฐานชีวิตและจิตใจของมนุษย์อีกทั้งพัฒนาการที่สมวัย ยังเป็นพื้นฐานให้เด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย ผลการดำเนินงาน 1.โปรแกรมเฝ้ า ระวั ง และส่ ง เสริ ม พั ฒ นาการ (Online Development Surveillance and Promotion Program : ODSPP) ผลิตผลของงานเป็นโปรแกรมช่ว ยอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ครูปฐมวัย ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย เข้ าถึงการประเมิน เฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการ เด็กอายุ 0-6 ปี อีกทั้ง โปรแกรมยังสามารถ วิเคราะห์ความผิดปกติของพัฒนาการด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบถึงปัญหาด้าน พัฒนาการ และนำคำแนะนำไปส่งเสริมพัฒนาการบุตร หลาน หรือดูแลเด็กปฐมวัยในความปกครอง

สแกน...



-20-

แสกนเพื่อเข้าใช้งานโปรแกรมเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ หรือ กดLink หน้าเว็ปไซต์เทศบาลนคร ระยอง

QR Code แสดงตัวอย่างวิธีการใช้งานโปรแกรมเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ

2.ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการใช้งานโปรแกรมเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ มาวิเคราะห์ปัญหาด้านพัฒนาการที่มีความผิดปกติ และนำไปวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไปได้

กราฟ...



-21-

กราฟแสดง ผู้รับบริการจำนวน 104 คน (ช่วงอายุ 0-6 ปี) ช่วงวัยที่ใช้โปรแกรมฯ มากที่สุด คือช่วงอายุ 25-29 เดือน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)

กราฟที่ 2 สรุปผลการประเมินพัฒนาการจากการใช้โปรแกรมเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการ สรุปผลพัฒนาการ 5 ด้าน ในด้านที่ผิดปกติพบว่าผู้ใช้บริการมีพัฒนาการด้าน การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญามากที่สุด (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)

กลุ่ม...



-22กลุ่มวัยเรียนและเยาวชน การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชน อายุ 6-19 ปี เป็นกระบวนการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียน และเยาวชนมีความสามารถในการควบคุมและเสริมสร้างสุขภาพของตนเองให้มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ปัจจุบันเด็กและเยาวชนจำนวนมาก ยังคงมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่ การรับประทานผัก ผลไม้น้อย ออกกำลัง กายไม่เพียงพอ นอนดึก เป็นต้น 1.โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน “เด็กวัยเรียน” เป็นวัยที่ต้องการการปลูกฝังให้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีคุณธรรม พร้อมที่จะพัฒนา ตนเอง พัฒนาชาติให้เจริญรุ่งเรือง การจะพัฒนาประเทศให้ มีความเจริญยั่งยืน จำเป็นต้องพัฒนาเด็กให้มี ความพร้อมในทุกๆ ด้าน เพื่อให้เด็กเจริญวัยเป็นประชากรที่สามารถใช้ศักยภาพของตนเองให้เกิดประโยชน์ กับประเทศชาติได้สูงสุดและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยเป็นพื้นฐาน โดย จะต้องเริ่มต้นในวัยเด็กหรือกลุ่มเยาวชน เพราะการที่เยาวชนมีสุขภาพดีนั้นจะเป็นพลังอันสำคัญ และเป็น ทรัพยากรที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไปในอนาคต การให้บริการอนามัยโรงเรียนเป็นการดำเนินกิจกรรมในด้านการบริการสุขภาพ การจัดการด้าน สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมสุขศึกษาด้านสุขภาพอนามัยโรงเรียนซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี ของเด็กวัย เรีย น งานส่งเสริมสุขภาพ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครระยอง ได้ ดำเนินการให้บริการอนามัยโรงเรียนมาอย่างต่อเนื่องทุกปีและด้วยตระหนักว่าการมีสุขภาพดีย่อมส่งผลต่อ การเรียนรู้ที่ดีของเด็กวัยเรียนซึ่งจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ผลการดำเนินงาน 1. กิจกรรมประชุมครูอนามัยโรงเรียน จำนวน 6 แห่ง ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล คิดเป็นร้อย ละ 100.00 โดยการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน 2. กิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียนประจำปีและเฝ้าระวังสุขภาพตามแนวทางการดูแล สุขภาพเด็กไทย โดยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2557 จำนวน 2,422 คน คิดเป็น ร้อยละ 66.33 (จากทั้งหมด จำนวน 3,651 คน) ซึ่งมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้ 2.1 ตรวจสุขภาพนักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ในโรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ โรงเรียน เทศบาลบ้านปากคลอง โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มฯ จำนวน 1,188 คน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2.2 ตรวจสุขภาพนักเรียนชั้น ป.1,ป.3,ป.5 ในโรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิ มทาราม โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง จำนวน 1,234 คน โดยเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบโรคให้ทำการรักษา ดังนี้ (1) ฟันผุ จำนวน 957 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.50 (2) รูปร่างอ้วนและอ้วนคอดำจำนวน 458 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.25 (3) มีเหาและไข่เหา จำนวน 75 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.64 ซึ่งนักเรียนที่เจ็บป่วยและได้รับการรักษาพยาบาล พบว่านักเรียนเป็นโรคระบบผิวหนัง คือผื่น คัน ร้อยละ 0.53 และกลาก ร้อยละ 0.09 โรคระบบทางเดินหายใจ คือหวัด ร้อยละ 0.53 ตาราง...



-23ตารางแสดงจำนวนโรค/ภาวะสุขภาพของนักเรียนที่ได้รับการรักษาพยาบาล โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง โรค/ภาวะสุขภาพ ระบบผิวหนัง - ผื่นคัน - กลาก ระบบทางเดิน หายใจ - หวัด รวม

รร.วัด ปากน้ำ

รร.บ้านปากคลอง

รร.วัดโขด

รร.วัดลุ่ม

รร.สาธิต

รวม

ร้อยละ

1 0

2 0

3 0

4 1

1 1

11 2

0.53 0.09

1 2

2 4

4 7

2 7

2 4

11 24

0.53 0.99

2.3 สำหรับนักเรียนชั้นม.1 – ม.6 ให้ตรวจสุขภาพด้วยตนเอง ภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยใช้แบบบันทึกการตรวจสุขภาพสำหรับนักเรียน หากพบโรคให้ทำการรักษา พบว่า นักเรียนได้รับการ ตรวจสุขภาพด้วยตนเอง จำนวน 1,190 คน คิดเป็นร้อยละ 100 (จากทั้งหมดจำนวน 1,190 คน) 2.4 ตรวจวัดสายตาโดยใช้แผ่นตรวจวัดสายตา Snellen chart นักเรียนชั้น ป.1 – 4 ทุกคน โดยคุณครูประจำชั้น อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สำหรับนักเรียนชั้น ป.5 - ม.6 ให้สลับกันตรวจฯ ตรวจ ยืนยันซ้ำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยใช้ Pin Hole สำหรับนักเรียนชั้น ป.5 ตรวจคัดกรองตาบอดสี หาก พบนักเรียนที่มีปัญหาสายตาผิดปกติส่งต่อจักษุแพทย์ เพื่ อการรักษากรณีเป็นโรคตาหรือให้การสนับสนุน นักเรียนใส่แว่นสายตา ดังนี้ 2.4.1 คุณครูป ระจำชั้น ส่งต่อนักเรียนที่ได้ตรวจเพื่อยืนยันซ้ำจากเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขโดยใช้ Pin Hole จำนวน 537 คน สรุปผลการตรวจสายตา ดังนี้ - สายตาปกติ จำนวน 124 คน - สายตาผิดปกติที่ต้องเฝ้าระวัง จำนวน 157 คน - สายตาผิดปกติส่งต่อพบจักษุแพทย์ จำนวน 256 คน 2.4.2 นักเรียนชั้น ป.5 จำนวนทั้งหมด 695 คน ได้รับการตรวจคัดกรองตาบอดสี และพบว่าสงสัยตาบอดสี 2 ประเภท ดังนี้ - ตาบอดสีชนิดแดง-เขียว จำนวน 10 คน ร้อยละ 1.44 - ตาบอดสีชนิดทุกสี จำนวน 26 คน ร้อยละ 3.74 ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินกิจกรรมบางโรงเรียนที่มีนักเรียนจำนวนมากทำให้เกิดความล่าช้าใน การตรวจรักษานานพอสมควร เนื่องจากจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมดังกล่าว แนวทางการแก้ไข สร้างเครือข่ายแกนนำสุขภาพ เพื่อช่วยในการปฎิบัติงานตรวจสุขภาพเบื้องต้น ในนักเรีย นตามมาตรฐาน 10 ท่า เพื่อให้การปฎิบัติงานเกิดความคล่องตัว อย่างเป็นระบบสามารถ ปฎิบัติงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดได้



-242.โครงการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ต้องมีการเรียนรู้ แต่ถ้าต้องประสบปัญหาหรือมีอุปสรรคในการเรียนรู้ เช่น ปัญหาสุขภาพทางสายตา ได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง ทำให้การมองเห็นลดลง ไม่สามารถร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้เต็มความสามารถหรือสูญเสียภาพลักษณ์จากการมองเห็นที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้การพัฒนาด้านต่างๆของนักเรียนไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างเต็มศักยภาพ จากการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนของสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยมีกิจกรรมตรวจคัด กรองการมองเห็นของนักเรียนโดยใช้แผ่นวัดสายตาแบบ E-Chart ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง จำนวน 6 แห่ง นักเรียนจำนวน 537 คน พบว่านักเรียนมีปัญหาเรื่องการมองเห็นจากการตรวจคัด กรองเบื้องต้น จำนวน 256 คน คิดเป็นร้อยละ 47.67 ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนที่ตรวจคัดกรองเบื้องต้นที่มี ปัญหาด้านการมองเห็นได้รับการตรวจยืนยันความผิดปกติและได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีตั้งแต่ระยะ เริ่มต้นโดยจักษุแพทย์ ผลการดำเนินงาน นักเรียนที่มีภาวะสายตาผิดปกติได้รับการตรวจยืนยันและแก้ไขตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ จำนวน 256 คน คิดเป็นร้อยละ 100 กรณีพบสายตาผิดปกติแก้ไขโดยแว่นสายตาจำนวน 256 คน คิดเป็นร้อยละ 100 3.โครงการวัยเรียนวัยใส ใส่ใจเพศศึกษา

วัยรุ่นเป็นระยะเปลี่ยนผ่านของชีวิตจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตด้าน ร่างกาย มีรูปร่างที่เปลี่ยนไปเป็นผู้ใหญ่ และมีพัฒนาการทางเพศเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ในปัจจุบันแนวโน้มใน การเข้าสู่วัยเริ่มหนุ่มสาวเร็วขึ้นทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยทั่ วไปแล้วคือ ช่วง 10 - 14 ปี สำหรับ เด็กชาย และ 9 - 15 ปี สำหรับเด็กหญิง ซึ่งผลจากฮอร์โมนของแต่ละเพศที่กระตุ้นการสร้างลักษณะทาง เพศของร่างกาย ให้เติบโตจากเด็กสู่ผู้ใหญ่ ฮอร์โมนดังกล่าวยังมีผลต่ออารมณ์ของวัยรุ่น ในวัยนี้ทั้งหญิงและ ชายไม่ได้มีเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และ ความรู้ส ึกด้ว ยจะเริ่มมีความสนใจในเพศตรงข้าม รวมทั้งเริ่มเกิดอารมณ์ความต้องการทางเพศตาม ธรรมชาติ ร่ ว มกั บ บริ บ ททางสัง คมในปัจ จุ บ ัน ของประเทศไทยที่ ม ีก ารเข้ าถึ ง สื ่อ ต่า งๆได้ ง ่า ย ความ หลากหลายของสื่อ และสื่อจำนวนมากก็สามารถกระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดอารมณ์ทางเพศได้ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ก็ตาม ซึ่งอาจจะชักนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ได้ เพื่อให้เด็กวัยเรียนที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่นมีความรู้ และทักษะในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ สามารถจัดการอารมณ์ตนเองและทักษะในการจัดการความสัมพันธ์ ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหาเรื่องเพศและ ความเสี่ยงทางเพศ การไม่เท่าทันสื่อเทคโนโลยีและผลกระทบด้านลบจากการใช้สื่อออนไลน์ นักเรียนจึง ต้องการความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะที่จะเผชิญและจัดการสถานการณ์ท้าทายในชีวิตโดยเฉพาะเรื่องเพศ ในช่วงอายุตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่นนั่นเอง ในปีการศึกษา 2565 งานส่งเสริมสุขภาพจึงดำเนินการจัดกิจกรรม ได้ให้ความสำคัญกับปัญหา ดังกล่าว...



-25ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการวัยเรียน วัยใส ใส่ใจเพศศึกษา เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ใส่ใจใน พัฒนาการตามช่วงวัยเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และสามารถจัดการอารมณ์ทางเพศได้ด้วยตนเอง และป้องกัน การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้เรื่องสุขอนามัยทางเพศและพัฒนาการของอวัยวะในร่างกาย 2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวกับเพศ รูปแบบการจัดกิจกรรม 1. บรรยายให้ความรู้เรื่องพัฒนาการทางเพศเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น (ด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ) สุขอนามัยทางเพศ และทักษะการจัดการกับสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อเพศ 2. ทดสอบความรู้ด้วยแบบประเมิน Pre-test และ Post-test ผลการดำเนินงาน สรุปผลรวมการให้ความรู้ทักษะการจัดการสถานการณ์เรื่องเพศแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง ตารางแสดงจำนวนการเข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้ทักษะการจัดการสถานการณ์เรื่องเพศและ ผลการประเมินจากแบบทดสอบ Pre-test และ Post-test ของนักเรียนชั้นป.5 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล นครระยอง จำแนกรายโรงเรียน จำนวนนักเรียน จำนวนนักเรียน โรงเรียน เข้า (ทั้งหมด) ร่วม ร้อยละ เทศบาลวัดปากน้ำ 67 65 97.01 เทศบาลบ้านปากคลอง 34 31 91.17 เทศบาลวัดโขดทิมทาราม 206 203 98.54 เทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล 125 115 92.00 สาธิตเทศบาลนครระยอง 224 224 100.00 รวม 656 638 95.74

Pre-Test N = 638 จำนวน 32 18 169 94 159 472

Post - Test N = 626

ความรู้เพิ่มขึ้น N = 550

ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน 49.23 44 67.70 41 58.06 13 48.15 23 83.25 186 96.88 111 88.14 93 78.81 63 70.98 203 90.63 147 69.93 539 76.43 385

หมายเหตุ : เกณฑ์คะแนนความรู้วัดจาก 7 คะแนนขึ้นไปของคะแนนเต็ม 10, N ความรู้เพิ่มขึ้น =550 เนื่องจากมีนักเรียนที่ได้คะแนนเต็ม 10 คะแนน ทั้ง Pre - Test และ Post - Test จำนวน 76 คน จากตารางการให้ความรู้ทักษะการจัดการสถานการณ์เรื่องเพศแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน 656 คน ได้รับการเข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 638 คน คิดเป็นร้อยละ 97.26 นักเรียนมีความรู้ผ่านเกณฑ์ จำนวน 539 คน คิดเป็นร้อยละ 84.48 และมีความรู้เพิ่มขึ้น จำนวน 385 คน คิดเป็นร้อยละ 71.42

แผน...

ร้อยละ 68.33 85.19 57.81 57.80 65.63 66.95



-26แผนภูมิที่ 1 แสดงเปรียบเทียบการให้ความรู้ทักษะการจัดการสถานการณ์เรื่องเพศแก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครระยอง โดยใช้แบบทดสอบPre - Test และ Post Test แผนภูมิแสดงเปรียบเทียบการให้ความรู้ทักษะการจัดการสถานการณ์ทางเพศแก่ นักเรียนชั้นป. 5 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง 100 80 60

คะแนน Pre-test คะแนน Post-test

40 20 0

รร.วัดปากน้้า

รร.บ้านปากคลอง

รร.วัดโขดฯ

รร.วัดลุ่มฯ

รร.สาธิตฯ

จากแผนภูมิที่ 1 แสดงเปรียบเทียบการให้ความรู้ทักษะการจัดการสถานการณ์เรื่องเพศแก่นักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครระยองโดยใช้แบบทดสอบPre–test และPost–Test พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ คิดเป็นร้อยละ 71.42 ปัญหา/อุปสรรค จากข้อมูลแบบทดสอบPre-Test และPost-Test วัดระดับความรู้ ทั กษะการจัดการสถานการณ์เรื่ องเพศ เห็นได้ว่านักเรียนบางส่วนยังคงมีทักษะการจัดการต่อสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อเพศในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งนี้ปัญหาอาจมาจากการสื่อสารกับนักเรียนที่ยังเข้าไม่ถึงข้อมูลด้านการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ เสี่ยงต่อการคุมคามทางเพศ แนวทางการแก้ไขปัญหา 1. ทางโรงเรียนควรกระตุ้นและส่งเสริมในด้านการใช้เทคโนโลยีหรือสื่อการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับความ เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลแก่นักเรียน 2. ทางโรงเรียนควรเสริมสร้างให้นักเรียนเกิดทักษะที่ดีในการปฏิบัติตนให้เหมาะสมและถูกต้อง โดยเพิ่มเติมเนื้อหาลงไปในรายวิชาสุขศึกษาทุกชั้นเรียน

4.กิจกรรม...



-274.กิจกรรมวัยเรียนวัยใส อนามัยดี๊ดี ไม่มีเหา โรคเหาเป็นโรคที่เป็นผลจากสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ชั้น ปฐมวัยจนถึงประถมศึกษาโดยเฉพาะนักเรียนหญิง เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย การเป็นเหาใน นักเรียนนับว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับเทศบาลนครระยอง เนื่องจากนักเรียนที่เป็นเหาจะขาดสมาธิในการเรียน และสูญเสียบุคลิกที่ดี พบว่าคนที่เป็นเหาจะมีอาการคันศรีษะอย่างมาก เนื่องจาก น้ำลายของตัวเหาจะทำให้เกิด การระคายเคืองต่อผิวหนัง การเกาหนังศีรษะอย่างมากอาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อเรื้อรังได้ จากรายงานผลการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเหานักเรียน ปีการศึกษา 2565 พบว่านักเรียนใน โรงเรียนประถมศึกษาเป็นเหา ร้อยละ 9.30 ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นเหามากที่สุด ร้อยละ 1.88 ส่วนนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 พบน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 0.06 และพบว่า นักเรียนชายไม่มี การเป็นเหา เหตุผลดังกล่าวเกิดจากการที่ส่วนใหญ่เด็กนักเรียนหญิงมักไว้ผมยาวมากกว่าเด็กชาย ทำให้การ ทำความสะอาดของเส้นผมลำบากกว่าตลอดจนเด็กนักเรียนหญิงที่ไว้ผมยาวมีโอกาสที่จะเป็นเหาง่ายกว่า จึง ทำให้อัตราการเป็นเหาเด็กหญิงสูงกว่าเด็กชาย งานส่งเสริมสุขภาพได้ดำเนินการเฝ้าระวังและกำจัดเหาใน ภาคเรียนที่ 1/2565 และติดตามนักเรียนที่กลับเป็นซ้ำพร้อมกับสนับสนุนยาฆ่าเหา แผนภูมิที่ 2 โรคเหาในนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565 จำแนกตามระดับชั้น จำนวน (คน) 40 35 30 25 20

15 10 5 0 อ.1

อ.2

อ.3

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

5.กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในโรงเรียน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มี ปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือ ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วย จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey(SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจาง สูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 26 โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุ เหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลื อด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนใน เด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้...



-28ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็น ภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือด แดง ธาตุเหล็กมีมากในสมองเป็นส่วนประกอบของไมอีลินชีท นิวโรทรานสมิตเตอร์ และมีส่วนสำคัญในการ ป้องกันเชื้อโรค การขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการ เจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งส่งผลให้ สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำ เสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี และยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี ผลการดำเนินงาน งานส่งเสริมสุขภาพ ได้ดำเนินการประสานกับทางโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครระยอง เพื่อขอ อนุญาตผู้ปกครองในเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในการรับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละ 1 เม็ด ในภาคเรียนที่ 1/2565 จำนวน 5 สัปดาห์ ตารางแสดงการสนับสนุนจำนวนยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครระยอง (ที่ได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครอง) โรงเรียน นักเรียนทั้งหมด จำนวนนักเรียน (คน) จำนวนยาเม็ดเสริมธาตุ (คน) เหล็ก (เม็ด) อนุญาต ไม่อนุญาต วัดลุ่มมหาชัยชุมพล 610 582 28 12,804 วัดโขดทิมทาราม 1,099 1,061 38 23,342 เทศบาลบ้านปากคลอง 223 215 8 4,730 เทศบาลวัดปากน้ำ 338 314 18 6,908 สาธิตเทศบาลนคร 1,376 1,151 225 12,216 ระยอง หมายเหตุ โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยองให้การสนับสนุนยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กได้ไม่ครบจำนวน เนื่องจากได้รับการสนับสนุนยาไม่เพียงพอ จึงได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในการให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก แก่เด็กนักเรียน กิจกรรมเด็กวัยเรียนเติบโตสมวัย การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็กเป็นเครื่องบ่งชี้ภ าวะเศรษฐกิจของประเทศ ใน ประเทศที่พัฒนาแล้ว ภาวะโภชนาการของเด็กจะมีแนวโน้มในด้านภาวะโภชนาการเกิน และโรคอ้วน ส่วนสูงของเด็กในประเทศเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก เนื่องจากเด็กได้มีการเติบโตเต็มศักยภาพแล้ว ต่างจากเด็กในประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนสูงของเด็กยังเพิ่มได้อีกมากหากได้รับอาหารและการเลี่ยงดูอย่างดี ในปีการศึกษา 2565 งานส่งเสริมสุขภาพได้รับผลการชั่งน้ำหนักเด็กของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนคร ระยอง ไม่ครบทุกโรงเรียน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID 2019 ทำ ให้การเปิดภาคเรียนไม่เป็น ไปตามแผนการเรียน จึงไม่สามารถดำเนินการวิเคราะห์ส ถานการณ์ภ าวะ โภชนาการของเด็กวัยเรียนในปีการศึกษา 2565 ได้

กิจกรรม...



-29กิจกรรมพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยมีโรงเรียน เป็นจุดเริ่มต้น และศูนย์กลางของการพัฒนาสุขภาพอนามัยโดยอาศัยความสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ระหว่าง นักเรียนกับครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ในการดำเนินงานที่ผ่าน มาพบว่าโรงเรียนได้ดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นอย่างดี ทำให้โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนคร ระยองผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพทุกโรงเรียน ซึ่งการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จะเน้นกระบวนการส่งเสริมสุขภาพเป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒ นาเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเด็กและเยาวชน ผลการดำเนินงาน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID 2019 ทำให้โรงเรียนต้อง เปิดการเรียนการสอนแบบ ONLINE ทำให้การพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพไม่ต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2565 งานส่งเสริมสุขภาพ จึงได้จัดประชุมครูอนามัยโรงเรียนเพื่อชี้แจงการรักษามาตรฐานโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรและระดับทองให้ต่อเนื่อง และได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนรอบรู้ ด้านสุขภาพ (Health Literate School) ซึ่งพัฒนามาจากโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (10 องค์ประกอบ) มี โรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมในระยะแรกจำนวน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มฯ และโรงเรียนนคร ระยองวิทยาคม ซึ่งในอนาคตงานส่งเสริมสุขภาพจะได้สนับสนุนและช่วยพัฒนาให้โรงเรียนในสังกัดเทศบาล นครระยองเป็นโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ ต่อไป กลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ วัยทำงาน (15-59 ปี) ซึ่งเป็นวัยที่ก่อให้เกิดผลผลิตทางด้านเศรษฐกิจ และมีส่วนสำคัญต่อฐานะ ทางเศรษฐกิจของประเทศ ในสัดส่วนที่สูงกว่าวัยอื่นๆ แต่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าคนวัยทำงานจะค่อยๆ ลดลงจาก อัตราการเกิดที่ลดลง และการก้าวเข้าสู่สังคมอายุอย่างเต็มตัว การเตรียมพร้อมเพื่อการเป็นผู้สูงวัยที่มี คุณภาพชีวิตที่ดี พึ่งตัวเองให้ได้มากที่สุด และเป็นภาระต่อสังคมน้อยที่สุด ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต้อง ให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกับกลุ่มวัยทำงานที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุ 1.โครงการรวมพลังป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ประจำปี 2565 โรคขาดสารไอโอดีน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากไอโอดีนมีความสัมพันธ์กับสติปัญญาของมนุษย์ ส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกาย ซึ่งโรคขาดสารไอโอดีนสามารถพบได้ในทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่ ทารกที่อยู่ใน ครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยหญิงมีครรภ์หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูง เด็กที่เกิด จากแม่ที่ขาดสารไอโอดีนมีโอกาสที่จะเป็นปัญญาอ่อน เป็นใบ้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ร่างกายแคระแกร็น ส่วนเด็กที่ได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอจะมีสมองและร่างกายที่เติบโตช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ร่างกาย หยุดการเจริญเติบโตและมีส่วนทำให้ไอคิวของเด็กต่ำลง ส่วนในวัยผู้ใหญ่หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้ กลายเป็นคนเซื่องซึม เฉื่อยชา ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ซึ่งปัญหาภาวะขาดสารไอโอดีนในปัจจุบัน แม้ จะดีขึ้นตามลำดับ แต่ยังต้ องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาภาวการณ์ขาดสารไอโอดีนอย่างยั่งยืน หากประชาชนบริ โ ภคสารไอโอดีน ให้ เพี ยงพอต่ อ ความต้ อ งการของร่ างกาย ตามประกาศกระทรวง สาธารณสุขกำหนดให้บริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่มีปริมาณไอโอดีนไม่น้อยกว่า 20 มิลลิกรัมและไม่มากกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเกลือบริโภค 1 กิโลกรัม และน้ำปลาหรือผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนจากถั่ว เหลืองต้องมีไอโอดีนไม่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัม และไม่มากกว่า 3 มิลลิกรัมต่อผลิตภัณฑ์ 1 ลิตร สำหรับ ไม่เกิน...



-30ประชาชนทั่ว ไปควรบริโ ภคเกลื อเสริ ม ไอโอดี น วันละไม่เ กิ น 1 ช้อนชาก็จะได้ ไ อโอดีนวันละ 150 ไมโครกรัมซึ่งเพียงพอต่อความต้องการต่อวัน หญิงตั้งครรภ์ทุกรายตลอดการตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด 6 เดือนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องการไอโอดีนวันละ 250 ไมโครกรัม เด็กเล็กต้องการไอโอ ดีน วันละ 90 ไมโครกรัม และเด็กวัยเรียนต้องการวันละ 120 ไมโครกรัม ผลการดำเนินงาน 1.กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องไอโอดีน 29 ชุมชน ในเขตเทศบาลนครระยอง 1.1 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของเกลือและผลิตภัณฑ์ไอโอดีน ผ่านรถ ประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ของชุมชนในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 29 ชุมชน 1.2 ติดป้ายประชาสัมพันธ์ชุมชนในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 29 ชุมชน 1.3 ประชาสัมพันธ์รณรงค์วันไอโอดีนแห่งชาติผ่านไลน์ , เฟซบุ๊ก และบทความเรื่องคน ไทยห่างไกลโรคขาดสารไอโอดีนผ่านเสียงตามสายของเทศบาลนครระยอง 1.4 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องประโยชน์และโทษของการขาดสารไอโอดีน การเลือกใช้ และการเก็บรักษาเกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนผ่านสื่อแผ่นพับ แก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง 29 ชุมชน จำนวน 398 ครัวเรือน 1.5 สำรวจการใช้เกลือบริโภคของประชาชน จำนวน 300 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 95.93 ประชาชนใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐาน จำนวน 292 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 97.33 ประชาชนใช้เกลือที่ไม่เสริมไอโอดีน จำนวน 8 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 2.67 1.6 สำรวจการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนชนิดอื่นๆ เช่น น้ำปลา,บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป,ซอส ,ซีอิ๊ว ฯลฯ จำนวน 300 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 95.93 ประชาชนใช้เกลือเสริมไอโอดีน จำนวน 300 คน คิดเป็นร้อยละ 100 1.7 จัดนิทรรศการรณรงค์วันไอโอดีนแห่งชาติ ในวันที่ 25 มิถุนายน แก่ประชาชนทั่วไป และพนักงานเทศบาลนครระยอง ณ สำนักงานเทศบาลนครระยอง 2. กิจกรรมตลาดแม่แดงร่วมใจใช้เกลือไอโอดีน 2.1 จัดนิทรรศการรณรงค์วันไอโอดีนแห่งชาติ ในวันที่ 25 มิถุนายน แก่ผู้ประกอบการ ตลาดสดแม่แดงและประชาชนทั่วไป 2.2 ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องไอโอดีนแก่ผู้ประกอบการตลาดแม่แดงและประชาชนใน เขตเทศบาลฯ ผ่านสื่อแผ่นพับ, ป้ายไวนิล และประกาศเสียงตามสายของตลาด จำนวน 66 คน 3. กิจกรรมกลุ่มเยาวชนยุวทูตรวมพลังป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน 3.1 ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคขาดสารไอโอดีนแก่กลุ่มเยาวชนยุวทูต โรงเรียนนครระยองวิทยาคม จำนวน 33 คน 3.2 เยาวชนยุวทูตมีความรู้หลังจากอบรม จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 100

ประชา...



-31-

ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องไอโอดีน ผ่านรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ และป้ายความรู้

ให้ความรู้เรื่องการเลือกใช้และการเก็บรักษาเกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนผ่านสื่อแผ่นพับ

สำรวจการใช้เกลือบริโภคและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนของประชาชน

จัดนิทรรศการรณรงค์วันไอโอดีนแห่งชาติ ในวันที่ 25 มิถุนายน 2565 ณ ตลาดสดแม่แดง ประชา...



-32-

ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องไอโอดีน ณ ตลาดสดแม่แดง

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคขาดสารไอโอดีนแก่กลุ่มเยาวชนยุวทูตโรงเรียนนครระยองวิทยาคม 2.กิจ กรรมสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ใ นประชาชนที่อาศัยในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 29 ชุมชน ผลการดำเนินงาน 1. สำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในประชาชนวัยทำงานที่อาศัยในเขตเทศบาล นครระยอง จำนวน 29 ชุมชน อายุระหว่าง 15 – 59 ปี จำนวน 423 คน ผลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ดังนี้ 1.1 ประชาชนวัยทำงานมีพฤติกรรมด้านโภชนาการอยู่ในระดับพอใช้ คือ ใน 1 สัปดาห์ ทานอาหารกลุ่มผักทุกวันๆละ 5 ทัพพี จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 39.72 ไม่เติมเครื่องปรุงรสเค็ม เพิ่มในอาหาร จำนวน 144 คน คิดเป็นร้อยละ 34.04 หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเช่น ชาเย็น กาแฟเย็น น้ำปั่น น้ำอัดลม จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 13.24 รับประทานผักและผลไม้ 3-5 วันต่อ สัปดาห์ จำนวน 182 คน คิดเป็นร้อยละ 42.72 และดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้ว 6-7 วัน/สัปดาห์ จำนวน 188 คน คิดเป็นร้อยละ 45.19 1.2 ประชาชนวัยทำงานมีกิจกรรมทางกายโดยมีการเคลื่อนไหวออกแรงอย่างน้อย วันละ 30 นาที หรือสะสมได้ 150 นาที/สัปดาห์ จำนวน 170 คน คิดเป็นร้อยละ 40.19 และมีกิจกรรมเนือย นิ่ง เช่นนั่ง/เอนกายเฉยๆ ติดต่อกันเกิน 2 ชั่วโมง จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 7.57 1.3 ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการนอนหลับเป็นระยะเวลา 7-8 ชัว่ โมงต่อวัน จำนวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 24.59 1.4.ส่วน...



-331.4 ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากเมื่อปีที่ผ่านมาเนื่องจากสถานการณ์ การระบาดโรคติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งมีการดูแลช่องปากโดยการแปรงฟันก่อนนอนด้วยยาสีฟันผสม ฟลูออไรด์ นาน 2 นาที จำนวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 41.13 1.5 มีพฤติกรรมด้านการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และสูบบุหรี่ ในระดับดี ส่วนใหญ่ไม่ ดื่มสุรา จำนวน 236 คน คิดเป็นร้อยละ 55.79 และไม่สูบบุหรี่จำนวน 262 คน คิดเป็นร้อยละ 61.94 1.6 มีสุขภาพจิตในระดับดี โดยไม่มีความรู้สึก หดหู่ เศร้า เบื่อ หรือท้อแท้สิ้นหวัง จำนวน 407 คน คิดเป็นร้อยละ 96.22 1.7 มีความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพในระดับปานกลาง จำนวน 282 คน คิดเป็นร้อย ละ 66.67 และด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 228 คน คิดเป็นร้อยละ 53.90 คัดแยกขยะ 291 คน คิดเป็น ร้อยละ 68.79

2. สำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในประชาชนวัยสูงอายุ ที่มีอายุ60 ปีขึ้นไป ที่ อาศัยในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 426 คน ผลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ดังนี้ 2.1 ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการนอนหลับในระดับดี ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการนอนหลับเป็น ระยะเวลา 5-6 ชั่วโมง จำนวน 178 คน คิดเป็นร้อยละ 41.78 รองลงมาระยะเวลา 7-8 ชั่วโมง จำนวน 172 คน คิดเป็นร้อยละ 40.38 และน้อยกว่า 5 ชั่วโมง จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 13.62 2.2 มีพฤติกรรมด้านการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และสูบบุหรี่ ในระดับดี ส่วนใหญ่ไม่ ดื่มสุรา จำนวน 340 คน คิดเป็นร้อยละ 79.81 และไม่สูบบุหรี่จำนวน 344 คน คิดเป็นร้อยละ 80.75 2.3 ด้านโภชนาการระดับปานกลางกินผักและผลไม้ 3-5 วันต่อสัปดาห์ จำนวน 182 คน คิดเป็นร้อยละ 42.72 และดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้ว 6-7 วัน/สัปดาห์ จำนวน 188 คน คิดเป็นร้อยละ 45.19 2.4มีกิจกรรม...



-342.4 มีกิจกรรมทางกายที่ระดับปานกลาง เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน ทำงานบ้าน ทำไร่ ทำสวน หรือการออกกำลังกาย อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือสะสมได้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ จำนวน 212 คน คิดเป็นร้อยละ 49.76 2.5 มีการดูแลรักษาฟันและช่องปากระดับดี ส่วนใหญ่มีการแปรงฟันก่อนนอน จำนวน 280 คน คิดเป็นร้อยละ 65.72

ตาราง...



-35ตารางรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามแผนงานส่งเสริมสุขภาพ แผนงาน งบประมาณ (กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลฯ) ตั้งไว้ ใช้จ่ายจริง คงเหลือ 1.กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน 1.1 โครงการปั้นเด็กจิ๋วให้เป็นเด็กแจ๋ว 1.2 โครงการส่งเสริมพัฒนารากแก้วแห่ง ชีวิต 1.3 โครงการส่งเสริมทักษะ EF ให้เด็กใน ชุมชน 1.4 กิจกรรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตใน เด็กปฐมวัย 0-2 ปีในชุมชน 1.5 กิจกรรมแก้ไขโภชนาการเด็กอายุ0-2 ปีในชุมชน

2.กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2.1 โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน 2.2 โครงการแก้ไขปัญหาเด็กอ้วนและ ป้องกันโรค NCDs ในโรงเรียน 2.3 โครงการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติใน นักเรียน 2.4 โครงการวัยเรียน วัยใส ใส่ใจเพศศึกษา 2.5 โครงการหนูน้อยยิ้มสวยสุขภาพฟันดี 2.6.กิจกรรมเฝ้าระวังและแก้ไขเจริญเติบโต ในเด็กปฐมวัย3-5ปีในโรงเรียน 2.7 กิจกรรมตรวจสุขภาพเด็กปฐมวัย 2.8 กิจกรรมประเมินความฉลาดทาง อารมณ์ในเด็กปฐมวัย 2.9 กิจกรรมเด็กวัยเรียนเติบโต สมวัย 2.10 กิจกรรมวัยเรียนวัยใส อนามัยดี๊ดี ไม่ มีเหา 2.11 กิจกรรมแปรงฟันดี ไม่มผี ุ 2.12 กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรค โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในโรงเรียน 2.13 กิจกรรมพัฒนาโรงเรียนส่งเสริม สุขภาพ

3.กลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ 3.1 โครงการรวมพลังป้องกันโรคขาดสาร ไอโอดีน 3.2 กิจกรรมเฝ้าระวังดัชนีมวลกายในกลุ่ม วัยทำงาน (อายุ 18-59 ปี)

ร้อยละของงบฯที่ ใช้ไป -

ไม่ได้ดำเนินการ -

-

-

ไม่ได้ดำเนินการ 159,000 144,000 15,000

-

150,070 8,930 ไม่ได้ดำเนินการ 144,000

-

0

6,070 8,930 ไม่ได้ดำเนินการ

94.38 100 40.47 -

-

ไม่ได้ดำเนินการ

-

-

-

-

-

-

-

ไม่ได้ดำเนินการ -

-

-

-

-

-

-

20,000 20,000

11,386 11,386

8,614 8,614

56.93 56.93

-

-

-

-



-36แผนภูมิที่ 3 การใช้จ่ายเงินงบประมาณตามแผนงานส่งเสริมสุขภาพ จานวนเงิน 160000 140000 120000 100000 80000 60000 40000 20000 0

งบประมาณ เบิกจ่ายจริง



-37-

บทสรุปผู้บริหาร งานอนามัยแม่และเด็ก เทศบาลนครระยอง ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ มีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพประชาชน ด้วย บริการที่ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล ป้องกันควบคุมโรคและฟื้นฟูสภาพ โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยจากภาวะคุกคามทางสุขภาพและเข้าถึง ระบบบริการที่ได้มาตรฐาน ซึ่งการพัฒนาคุณภาพประชากรต้องเริ่มตั้งแต่การเกิด โดยมีการเตรียมความพร้อม พ่อแม่ก่อนตั้งครรภ์ ดูแลครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอดทั้งมารดาและทารก การเกิดที่มีคุณภาพจะต้องเป็น ผลมาจากการตั้งครรภ์จากมารดาที่มีความพร้อมทั้ งร่างกายและจิตใจ ประกอบกับปี 2565 ยังต้องเผชิญกับ ปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การดำเนินงานดูแลสุขภาพประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนคร ระยอง มีอุปสรรคในการให้บริการในพื้นที่มากขึ้นจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการให้บริการด้านสุขภาพทุกกลุ่มวัย โดยการใช้สื่อสุขภาพทางออนไลน์มากขึ้น ทั้งการให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ ส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองใช้คู่มือ DSPM ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้มากขึ้น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ ตามวัย ด้านการจัดการส่งเสริมสุขภาพยังมีปัญหาที่สำคัญคือ พ่อแม่ขาดความตระหนักและทักษะในการเลี้ยง ดูบุตร อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีความ เสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยและโอกาสผ่าคลอดสูงกว่าปกติ การที่จะดูแลให้เด็กที่ เติบโตมาเป็นประชากรที่มีคุณภาพได้นั้น ต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมสุขภาพกลุ่มสตรีสอดคล้องกับนโยบาย 1,000 วัน มหัศจรรย์การดูแลหญิงตั้งครรภ์เน้นการดูแลสตรีตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิดถึง 2 ปี 1,000 วันแรก ของชีวิต คือ ช่วงเวลาตั้งแต่การปฏิสนธิ และตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด (270 วัน) รวมกับช่วงเวลาตั้งแต่แรก คลอดจนถึงอายุ 2 ปีบริบูรณ์ (730 วัน) 1,000 วันแรกของชีวิตเป็นที่รากฐานสำคัญของชีวิตเพราะเป็น ช่วงเวลาที่มีการพัฒนาทางร่างกาย สมอง จิตใจและสังคม เนื่องจากเป็นช่วงเวลา ที่มีกระบวนการสร้างเซลล์ สมอง เพิ่มเซลล์สมอง และควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด การได้รับโภชนาการที่เหมาะสมร่วมกับ ความรัก ความอบอุ่นจากการเลี้ยงลูกด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะทำให้ทารก เจริญเติบโตและพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มี ศักยภาพสูงในที่สุด โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีบทบาทหน้าที่ให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดอย่างมี มาตรฐานจนถึงหลังคลอด 0–6 เดือน มีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือน – 2 ปี

บท...

-38-

บทสรุปผู้บริหาร งานผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง ในสังคมปัจจุบันสถานการณ์ประชากรกำลังเป็นที่ได้ได้รับความสนใจ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ โครงสร้างประชากรที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสังคมที่เข้าสู่ “ สังคมผู้สูงอายุ ”( Aging Society ) นอกจากนี้แล้วความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะสาขาการแพทย์และ สาธารณสุข ทำให้ประชาชนมีอายุยืนยาวขึ้น ขณะที่อัตราการเกิดลดลง สัดส่วนของผู้สูงอายุจึงมีมากขึ้นเป็น ลำดับ ตามนิยามของสหประชาชาติ เมื่อประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปเป็นสัดส่วนเกิน ร้อยละ 10 หรืออายุ 65 ปี ขึ้นไปเกินร้อยละ 7 ถือว่าประเทศนั้นได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ( Aging Society ) และจะเป็น สังคมผู้สูงอายุโดยสมบรูณ์ ( Aged Society ) เมื่อสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 และ 14 ตามลำดับ ในปี 2563 นี้ ประเทศไทยจะมีประชากรสูงวัย จำนวน 12.6 ล้านคนจากประชากรรวม 66.0 ล้านคน คิด เป็น 19.1% ของประชากรทั้งหมด ปัญหาที่ท้าทายที่สำคัญยิ่งของการเป็นสังคมผู้สูงอายุ คือ ทำอย่างไร ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติและอื่นๆพบว่า ผู้สูงอายุมากกว่า 80% มีเงินไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพในวัยหลังเกษียณ แหล่งรายได้ที่สำคัญของผู้สูงอายุ คือ การเกื้อหนุนทาง การเงินจากบุตรซึ่งมีแนวโน้มลดลงด้วย ผู้สูงอายุในประเทศไทยส่วนใหญ่ พบปัญหาด้านสุขภาพ กลุ่มโรคที่ ผู้สูงอายุป่วย 3 อันดับแรก คือ กลุ่มโรคระบบกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น กระดูกและข้อ กลุ่มโรคระบบทางเดิน หายใจและกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนสาเหตุการตายของผู้สูงอายุ ที่สำคัญ คือ โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หลอดลมอักเสบและปอดอักเสบ นอกจากนี้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มพิการมากขึ้น โรคดังกล่าวต้องใช้ค่ารักษาค่อนข้างสูงและยากที่จะรักษาให้หายขาด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีฐานะทางการเงิน ไม่ดี ย่อมไม่สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่ดีได้ จึงเป็นภาระแก่บุตรหลานส่งผลกระทบต่อการดำเนิน ชีวิตทั้งผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว ในการดำเนินงานการติดตามเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน/ติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนในเขต เทศบาลนครระยอง พบว่า มีจำนวนผู้สูงอายุเจ็บป่วยและมีอายุยืนยาวเพิ่มมากขึ้นและอาศัยอยู่ตามลำพัง 2 คน ตายาย บุตรหลานไปทำงานและมีภ าวะเศรษฐานะที่ไม่ดี ส่งผลต่อการดูแลตนเองที่บ้านทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อน เข้า-ออกโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อน ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายด้านการรักษาและอัตรา การครองเตียงเป็นเวลานานและการ Re-Admit ซึ่งในการแก้ปัญหาและระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน เหล่านี้ที่พบ ในปี 2565 เทศบาลนครระยองจะเข้าสู่ระบบ Long Term Care ( LTC) ของ สปสช. จึงต้องมี การเตรียมความพร้อมหลายด้าน 1. การปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และทันสมัยเพื่อที่ได้ติดตามดูแล อย่างใกล้ชิดและให้ความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึงและตรงกับความต้องการที่แท้จริง โดยการแบ่งเขตความ รับผิดชอบเป็น 3 ทีม คือ ทีม PCC เกาะหวาย รับผิดชอบ 9 ชุมชน PCC เนินพระ รับผิดชอบ 11 ชุมชน เทศบาลนครระยอง รับผิดชอบ 5 ชุมชน OCC โรงพยาบาลระยอง รับผิดชอบผู้ป่ว ยที่จำหน่ายออกจาก โรงพยาบาล และส่งคืน Case ตามพื้นที่รับผิดชอบเมื่อได้ รับการเยี่ยมตามเกณฑ์มาตรฐานการเยี่ยมแล้ว ซึ่ง ผู้ป่วยกลุ่มเหล่านี้จะได้รับการดูแลได้อย่างทั่วถึงและได้คุณภาพ/ครอบคลุมทุกพื้นที่เพิ่มขึ้น 2. การขาดแคลนผู้ดูแล โดยเข้าสู่ระบบ LTC ตามชุดสิทธิประโยชน์การดูแลระยะยาวด้าน สาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่ งพิงที่บ้านหรือในชุมชน จะมีการจัดอบรม Care Giver จำนวน 70 ชั่วโมง เพื่อแบ่งคนดูแลและพื้นที่ไปติดตามดูแลกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ตาม Care Plan จะได้รับบริการ (1.) ด้าน สาธารณ...

-39สาธารณสุข เช่น บริการตรวจคัดกรองประเมินความต้องการการดูแล, บริการดูแลที่บ้านบริการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค, บริการกายภาพบำบัด , บริการด้านการพยาบาลและอุปกรณ์เครื่องมือช่วยทางการแพทย์ ตามที่ สปสช. กำหนด (2.) บริการด้านสังคม เช่น บริการช่วยเหลืองานบ้าน การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน บริการอุป กรณ์ช ่ว ยเหลือทางสังคม กิจกรรมนอกบ้านและอื่น ๆ โรงพยาบาลระยองจัดโครงการอบรมผู้ ช่วยเหลือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) จำนวน 70 ชั่วโมง จำนวน 51 คน มี Care Giver ที่ รับผิดชอบดูแลในพื้นที่เทศบาลนครระยอง จำนวน 15 คน ปัจจุบันปฏิบัติงานทั้งหมด 6 คน แยกตามหน่วย จัดบริการโดยแยกเป็น PCC เนินพระ จำนวน 2 คน ,รับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะ พึ่งพิง จำนวน 10 ราย PCC เกาะหวาย จำนวน 3 คน รับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มี ภาวะพึ่งพิง จำนวน 10 เทศบาลนครระยอง จำนวน 1 คน รับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มี ภาวะพึ่งพิง จำนวน 4 ราย และในเดือนตุลาคม 2565 ในโครงการ LTC มีอาสาบริบาลท้องถิ่นนครระยอง จำนวน 2 คน ได้รับการฝึกอบรม 70 ชั่วโมง รับมอบใบประกาศ 27 ตุลาคม 2563 และจัดทำคำสั่งแต่งตั้ง เป็นอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นและมอบหมายหน้าที่และปฏิบัติงานตามแผนการดูแลรายบุคคล ( Care Plan ) ระยะเวลา 11 เดือน ( 2 พฤศจิกายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2565 ) โดยมีข้อกำหนดว่าต้องปฏิบัติงาน 20 วัน/เดือน วันละ 8 ชั่วโมง ได้รับค่าตอบแทน 5,000 บาท/เดือน โอนเข้าบัญชีธนาคารของอสบ. การดำเนินงานของงานเวชปฏิบัติครอบครัวที่ผ่านมาในปีงบประมาณ 2565 เป็นไปตามแผนการ ดำเนินงานและงบประมาณที่ตั้งไว้ การจัดทำโครงการฯ ทุกโครงการและกิจกรรม ในปีงบประมาณ 2566 อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นนครระยอง เหลือปฏิบัติงาน จำนวน 1 คน อีก 1 คน ไม่ต่อสัญญา และในปี 2566 ต้องได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติม 50 ชั่วโมง จะได้รับเงินเดือนเพิ่มเป็น 6,000 บาท ( 2563 ถึง 2566 จำนวน 3 ปี ) เทศบาลนครระยองได้ส่งรายชื่อผู้จะเข้ารับการอบรมเพิ่มเติม 50 ชั่วโมง (120 ชั่วโมง ) และส่ง รายชื่อผู้ขอเข้ารับการอบรม CC ใหม่ 1 คน (ทดแทนคนเก่าที่ไม่ต่อสัญญา)

ภารกิจ...

-40ภารกิจ บทบาท หน้าที่ของงานเวชปฏิบัติครอบครัว มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การจัดบริการสาธารณะด้านการติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพประชาชนที่บ้าน ( Home Health Care / Home Visit ) โดยมีงานในความรับผิดชอบ ได้แก่ งานติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพผู้ที่มีภาวะ พึ่งพิง/ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้พิการ/ผู้ติดเชื้อเอดส์ในชุมชน, การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน, กำกับดูแลศูนย์ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง เทศบาลนครระยองและศูนย์รับบริจาคและยืมอุปกรณ์การแพทย์สำหรับผู้ ยากไร้หรือด้อยโอกาสทางสังคม การแบ่งขอบเขตความรับผิดชอบ เป็น 3 หน่วยบริการ ในพื้นที่เทศบาลนครระยอง 29 ชุมชน นครระยอง 5 ชุมชน 1. ชุมชนหลังวัดป่า 1 2. ชุมชนหลังวัดป่า 2 3. ชุมชนสะพานราษฎร์ 4. ชุมชนตากสินมหาราช 5. ชุมชนศูนย์การค้า

นครระยอง 5 ชุมชน

PCCเกาะหวาย 9 ชุมชน

PCC เนินพระ 14 ชุมชน

1. ชุมชนบางจาก 2. ชุมชนข้างอำเภอทางไผ่ 3. ชุมชนริมน้ำ-ท่าเกตุ 4. ชุมชนสองพี่น้อง 5. ชุมชนทางหลวงพูนไฉ่ 6. ชุมชนตีนเนินเกาะหวาย 7. ชุมชนเรือนจำ 8. ชุมชนชายกระป่อม 9. ชุมชนเกาะกลอย PCCเกาะหวาย 9 ชุมชน

1. ชุมชนบ้านปากคลอง 2. ชุมชนมุสลิม 3. ชุมชนสนามเป้า 4. ชุมชนหลังวัดโขด 5. ชุมชนสวนวัด 6. ชุมชนเนินพระ 7. ชุมชนทุ่งโตนด 8. ชุมชนหนองสนม-ปักป่า 9. ชุมชนแขวงการทาง PCC เนินพระ 14 ชุมชน

10. ชุมชนปากน้ำ 1 11 .ชุมชนปากน้ำ 2 12. ชุมชนสัมฤทธิ์ 13. ชุมชนก้นปึก 14. ชุมชนแหลมรุ่งเรือง ผู้รับผิดชอบ/ติดต่อ ผู้รับผิดชอบ/ติดต่อ ผู้รับผิดชอบ/ติดต่อ นางปภัสฉัฐ คำอาจ นางสาวกรรณิการ์ พินิจ นางจุฑาทิพย์ ทรงกำพลพันธุ์ เอกสารการเยี่ยมบ้าน/รายงาน ตัดข้อมูลทุกวันที่ 25 ส่งภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป

ปี ...

-41ปี พ.ศ. 2566 (มีแนวโน้มปรับพื้นที่รับผิดชอบใหม่ ตำบล ท่าประดู่ บางส่วน) เนื่องจากมีผลต่อการ Key ข้อมูลใน ตำบล ท่าประดู่ ที่ PCC เนินพระ Key ข้อมูลไม่ได้ นครระยอง 10 ชุมชน ตำบล ท่าประดู่ 1. ชุมชนหลังวัดป่า 1 2. ชุมชนหลังวัดป่า 2 3. ชุมชนสะพานราษฎร์ 4. ชุมชนตากสินมหาราช 5. ชุมชนศูนย์การค้า 6. ชุมชนสนามเป้า 7. ชุมชนข้างอำเภอทางไผ่ 8. ชุมชนหลังวัดโขด 9. ชุมชนปากคลอง 10. ชุมชนมุสลิม-ปากคลอง

PCCเกาะหวาย 9 ชุมชน ตำบล เชิงเนิน 1. ชุมชนบางจาก 2. ชุมชนข้างอำเภอทางไผ่ 3. ชุมชนริมน้ำ-ท่าเกตุ 4. ชุมชนสองพี่น้อง 5. ชุมชนทางหลวงพูนไฉ่ 6. ชุมชนตีนเนินเกาะหวาย 7. ชุมชนเรือนจำ 8. ชุมชนชายกระป่อม 9. ชุมชนเกาะกลอย

PCC เนินพระ 14 ชุมชน ตำบล เนินพระ 1. ชุมชนบ้านปากคลอง 2. ชุมชนมุสลิม 3. ชุมชนสนามเป้า 4. ชุมชนหลังวัดโขด 5. ชุมชนสวนวัด 6. ชุมชนเนินพระ 7. ชุมชนทุ่งโตนด 8. ชุมชนหนองสนม-ปักป่า 9. ชุมชนแขวงการทาง 10. ชุมชนปากน้ำ 1 11 .ชุมชนปากน้ำ 2 12. ชุมชนสัมฤทธิ์ 13. ชุมชนก้นปึก 14. ชุมชนแหลมรุ่งเรือง ผู้รับผิดชอบ/ติดต่อ ผู้รับผิดชอบ/ติดต่อ ผู้รับผิดชอบ/ติดต่อ นางปภัสฉัฐ คำอาจ นางวิไลวรรณ พรมปัญญา นางจุฑาทิพย์ ทรงกำพลพันธุ์ เอกสารการเยี่ยมบ้าน/รายงาน ตัดข้อมูลทุกวันที่ 25 ส่งภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป

อัตรา...

-42อัตรากำลัง จำนวนข้าราชการ พนักงานทั่วไป

3 1

คน คน

งานเวชปฏิบัติครอบครัว

รก.หัวหน้าฝ่ ายส่งเสริมสุขภาพ/ผอ.ส่วนส่งเสริมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม นางปาริชาติ ตันสุธิกลุ นางปภัสฉัฐ คาอาจ พยาบาลวิชาชีพชานาญการพิเศษ หัวหน้างานเวชปฏิบตั คิ รอบครัว

นางชไมพร เอือ้ ศรี พยาบาลวิชาชีพชานาญการพิเศษ

นางสาวศศิประภา มีหาดยาย

นักวิชาการสาธารณสุขปฎิบัติการ

นายชัชพงศ์ ชุ่มชื่น พนักงานจ้างทั่วไป

- กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก - กลุม่ อนามัยผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียงและครอบครัว - กลุม่ อนามัยผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/หลังผ่าตัดและครอบครัว - กลุ่มอนามัยหญิงวัยเจริญพันธ์

รายงาน...

-43-

รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ 2565 แผนงาน ซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์หรือการการแพทย์ เบิกเวชภัณฑ์และพัสดุจากคลังยาคลินิกชุมชน อบอุ่น กองการแพทย์ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือแพทย์ ซื้อวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ ซื้อวัสดุงานบ้านงานครัว รวมทั้งหมด

งบประมาณ(รายจ่ายประจำเทศบาล) ตั้งไว้ ใช้จริง คงเหลือ

งบประมาณกองทุนตำบล ตั้งไว้ ใช้จริง คงเหลือ

30,000 -

15,578 17,733.78

14,422 -

-

-

-

40,000 3,000 5,000 78,000

20,825 2,740 4,740 61,876.78

19,175 260 260 34,117

-

-

-

การดูแลหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์ และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพ แข็งแรงครรภ์คุณภาพเป็นเป้าหมายหลักของการให้บริการฝากครรภ์ทุกหน่วยบริการสาธารณสุข ซึ่งจุดเริ่มต้นที่ สำคัญของการฝากครรภ์คุณภาพคือการที่หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อให้ สามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วยในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ เสี่ยงหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพเกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและ ทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์มีการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 67.6 (ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75) และเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 56.4 (ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60) ซึ่งข้อมูลดั งกล่าวได้มาจากการติดตาม เยี่ยมมารดาหลังคลอด เนื่องจากไม่มีฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลและขาดการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ใน ชุมชน ทำให้การดูแลสุขภาพกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ยังทำได้ไม่ครอบคลุม ปัญหาส่วนใหญ่ที่มารดาฝากครรภ์ครั้งแรก หลัง 12 สัปดาห์ มาจากการที่ไม่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์และมีความกังวลที่จะต้องมาสถานพยาบาลในช่ว ง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ งานเวชปฏิบัติครอบครัว ได้ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ โดยการให้ความรู้การดูแล ตนเองขณะตั้งครรภ์ ผ่านช่องทางสื่อต่างๆได้แก่ Website , Facebook และ Line @ เรารักเทศบาลนคร ระยองรวมถึงให้ความรู้เป็นรายบุคคลทางโทรศัพท์

สื่อ...

-44สื่อให้ความรู้การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์

การ...

-45การดูแลมารดาและทารกหลังคลอด จากการดำเนิ น งานติ ด ตามเยี่ ย มดูแ ลสุ ข ภาพประชาชนที ่บ ้ า น ในปี 2565 พบว่ า มี ม ารดา หลังคลอดที่มีชื่อและพักอาศัยในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 157 ราย ติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพมารดา หลังคลอดได้ 133 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.71 , ติดตามเยี่ยมครบตามเกณฑ์มาตรฐานหลังคลอด จำนวน 86 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.66 ราย ซึ่งลดลงกว่าปี 2564 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโค โรน่า 2019 โดยพยาบาลจะเป็นผู้ดำเนินการติดตามเยี่ยมเพื่อ ให้ความรู้ด้านในการดูแลสุขภาพทั้งต่อมารดา และครอบครัว ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้ง แรก ไม่เกิน 7 วันหลังคลอด , ครั้งที่ 2 ภายใน 8 – 14 วันหลังคลอด ,ครั้งที่ 3 ตั้งแต่ 30 วัน – 42 วันหลัง คลอด ซึ่งมารดาสามารถปฏิบัติตนหลังคลอดตามคำแนะนำได้อย่างถูกต้อง ไม่พบว่ ามีภาวะแทรกซ้อนหลัง คลอดที่รุนแรง เช่น การตกเลือด การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน งานเวชปฏิบัติครอบครัวมีกิจกรรมในการดูแล มารดาและทารกหลังคลอด ดังนี้ 1. ค้นหาข้อมูลรายชื่อมารดาและทารกหลังคลอดที่พักอาศัยในเขตเทศบาลนครระยองจาก งานทะเบียนราษฎร์และจากข้อมูลในระบบ E-mail ของโรงพยาบาลระยอง 2. ศึกษาข้อมูลของมารดาและทารกหลังคลอดในพื้นที่ที่ต้องติดตามเยี่ยมบ้าน 3. ติดตามเยี่ยมกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้ 3.1 เยี่ยมครั้งที่ 1 ภายใน 7 วันหลังคลอด กิจกรรมที่ทำ - ให้ความรู้ด้านในการดูแลสุขภาพทั้งต่อมารดา และครอบครัว ส่งเสริมและแก้ไข ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แนะนำอาการผิดปกติของมารดาและทารกที่ต้องไปพบแพทย์ก่อนวันนัด 3.2 ครั้งที่ 2 ภายใน 8 -14 วันหลังคลอด กิจกรรมที่ทำ - ติดตามการปฏิบัติตนหลังคลอดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น การปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ , คุณแม่มือใหม่ 3.3 ครั้งที่ 3 ภายใน 30 - 42 วันหลังคลอด กิจกรรมที่ทำ - ติดตามการส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้ความรู้และทักษะการดูแลทารกแรกเกิด สนับสนุน การส่งเสริมด้านโภชนาการและพัฒนาการตามวัยของทารก การวางแผนครอบครัว ช่วยเหลื อ ประสานแหล่งประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพแก่มารดาและทารก เช่น การตรวจหลังคลอด การรับวัคซีนตาม วัย

-46การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในปีงบประมาณ 2565 พบมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน มีเพียงร้อยละ 41.6 สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากมารดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือมารดาไม่ได้เตรียมตัว ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ ขาดประสบการณ์ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และมีปัญหาเรื่องเต้านม การแก้ปัญหานมแม่ เช่น หัวนมบอด หัวนมแตก น้ำนมไม่ไหลและการบีบเก็บน้ำนมไว้ให้นานสำหรับมารดาที่ครบกำหนดลา คลอด มารดาหลังคลอดส่วนใหญ่ต้องทำงานนอกบ้าน บางรายสามารถใช้สิทธิ์ลาคลอดได้น้อยกว่า 90 วัน ประกอบกับค่านิยมที่ได้รับกระแสจากการโฆษณานมผงซึ่งสะดวกกว่าการบีบเก็บน้ำนมมารดา ปัญหาเหล่านี้ เป็นอุปสรรคของการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน งานเวชปฏิบัติครอบครัว ได้ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน โดยมีกิจกรรม ดังนี้ 1. ให้ความรู้และสาธิตวิธีการแก้ไขปัญหานมแม่รายบุคคลในกิจกรรมติดตามเยี่ยมมารดาหลัง คลอดที่บ้าน

2. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการส่งเสริ มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยประชาสัมพันธ์ผ่าน ช่องทางสื่อ เช่น เพจเฟซบุคเทศบาลนครระยอง , Line@เรารักนครระยอง และให้ความรู้ทางสถานีว ิทยุ ประชาคมระยอง 97.25 Mhz

-473. จัดบูทให้ความรู้เรื่องสมุนไพรเพิ่มน้ำนมหลังคลอดใน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการรวมพลัง สร้างแผนสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง ในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรม โกลเด้นซิตี้

\

ในปีงบประมาณ 2566 ยังคงดำเนินการให้ความรู้ และคำแนะนำการดูแลมารดาทารกหลังคลอด โดยสร้าง Line กลุ่มมารดาทารกหลังคลอด เพื่อใช้เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การ ดูแลสุขภาพมารดาทารกหลังคลอดและการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งขณะนี้มีสมาชิกในกลุ่ม Line จำนวน 141 คน และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลายไปในทางที่ดี ขึ้น ในปีงบประมาณ 2566 งานเวชปฏิบัติครอบครัว วางแผนจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และ มารดาหลังคลอด โดยการดำเนินงานในครั้งนี้จะแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 กิจกรรม ดังนี้ กิ จ กรรมที่ 1 ให้ ค วามรู้ ใ นการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพแก่ ห ญิ ง ตั้ ง ครรภ์ / มารดาหลั ง คลอด จำแนกเป็ น 2 รูปแบบ ดังนี้ 1.1 ให้ความรู้แบบรายเดี่ยวในกิจกรรมติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์/มารดาหลัง คลอดที่บ้าน จำนวน 100 คน 1.2 ให้ความรู้แบบรายกลุ่มโดยอบรมหญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอดที่มีปัญหาเต้านม เรื่องเตรียมความพร้อมเมื่อตั้งครรภ์และมหัศจรรย์น้ำนมแม่หลังคลอด จำนวน 50 คน กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์/มารดาหลัง คลอด ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ 4 ช่องทาง ดังนี้ 2.1 ประสานคลินิกรับฝากครรภ์เพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ ฯลฯ 2.2.ติดป้าย...

-482.2 ติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในชุมชน 29 ชุมชน 2.3 จั ด ทำบทความผ่ า นสื่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ ข องเทศบาลนครระยอง ได้ แ ก่ เวปไซต์ เทศบาลนครระยอง , เพจเฟซบุคเทศบาลนครระยองและ Line@ เรารักนครระยอง 2.4 ให้ความรู้ทางสถานีวิทยุประชาคมระยอง กิ จ กรรมที ่ 3 ลงพื ้ น ที ่ ป ระเมิ น สถานประกอบการ เพื ่ อ จั ด เตรี ย มมุ ม นมแม่ ใ นสถาน ประกอบการ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การค้าแพชชั่น ช้อปปิ้ง เดสติเนชั่น , ห้างสรรพสินค้าโลตัส สาขา ระยอง และห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี สาขาระยอง สาเหตุที่มารดาไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นาน 6 เดือน 1. มารดาไม่รู้วิธีให้นมและวิธีบีบน้ำนม 2. มีความผิดปกติที่หัวนม เช่น หัวนมสั้น หัวนมบอด 3. มารดาต้องทำงานนอกบ้านหรือไปเรียนต่อ 4. มารดานำบุตรไปให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงดูที่ต่างจังหวัด 5. มารดากลัวลูกติดเต้า จึงให้ทารกกินนมผสมจากขวด 6. ครอบครัวไม่รู้ความสำคัญและประโยชน์ของนมแม่ มีความเชื่อว่าการให้เด็กกินกล้วยหรือนมผสม จะได้ประโยชน์มากกว่า ข้อเสนอแนะ 1. ให้คำแนะนำ เตรียมความพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 2. ด้านการให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัวในการให้นม การบีบเก็บน้ำนม ความสำคัญและ ประโยชน์ของนมแม่ 3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่สังคมในวงกว้าง

การ...

-49การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในชุมชน ในปี 2565 ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านมีจำนวนทั้งหมด 52 คน เป็นผู้สูงอายุที่ทีโรคประจำตัวทำให้เกิด ความเสื่อมถอยของร่างกาย ส่งผลให้ผู้สูงอายุเหล่านี้มีภาวะติดบ้าน ซึ่งงานเวชปฏิบัติครอบครัวได้มีกิจกรรม ดำเนินงานติดตามเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงและติดบ้าน ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ทำหัตถการ เช่น การเปลี่ยนสายยางให้อาหารทางจมูก เจาะเลือดตามแผนการรักษาของแพทย์ การเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ การทำแผลกดทับ แนะนำญาติและผู้ดูแลในการฟื้นฟูสุขภาพเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เทศบาลนครระยอง มีเครือข่ายด้านสุขภาพร่วมดำเนินการติดตามดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้แก่ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) 7 คน อาสาสมัครบริบาล ท้องถิ่น จำนวน 2 คน ปี พ.ศ. 2566 เหลืออาสาบริบาลท้องถิ่น จำนวน 1 คน ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ค้น หาผู้ส ูงอายุในเขตเทศบาลนครระยองและจำแนกผู้ส ูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตาม ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ( Barthel Activities of Daily Living : ADL) 2. ผู้จัดการระบบดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) จัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล (Care Plan) เพื่อให้ Care Giver ติดตามดูแลตามแผนที่วางไว้ 3. พยาบาลติดตามเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์มาตรฐาน ทุก 1 เดือ น เพื่อสังเกตอาการตลอดจนการ ดูแลตนเองของผู้สูงอา ในกรณีผู้สูงอายุติดอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น สายยางให้อาหารทางจมูก สาย สวนปัสสาวะ ท่อหลอดลม ฯลฯ ดูแลให้การพยาบาลและแนะนำญาติสังเกตอาการผิดปกติของผู้สูงอายุ 4. ให้คำแนะนำรวมถึงสาธิตวิธีการดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและครอบครัวในส่วนที่ยัง ปฏิบัติไม่ถูกต้อง เช่น การฟื้นฟูสุขภาพ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การให้ความรู้เรื่องโรคและการปฏิบัติ ตัวเกี่ยวกับโรคที่เป็น การดูแลผู้สูงอายุที่คาสายสวนต่างๆและการทำแผลกดทับ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน 1. การดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านเพื่อฟื้นฟูสภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อน จำเป็นต้องได้รับ การดูแลอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะรายที่มีโรคประจำตัว ต้องได้รับการดูแลจากคนในครอบครัวทุกด้าน เช่น อาหารที่เหมาะสมไม่ขัดต่อโรคประจำตัว การทำกายภาพที่บ้าน การพลิกตะแคงตัวอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง แต่ ด้วยปัญหาเศรษฐกิจครอบครัวมีรายได้น้อย บางรายญาติมีอาชีพรับจ้างรายวัน ทำให้ไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุ ติดบ้านได้อย่างใกล้ชิดขาดการรักษาอย่างต่อเนื่องจากแพทย์ 2. ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้ Care Giver และ อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น รวมถึงครอบครัวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีความวิตกกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของ โรค ทำให้ Care Giver ดำเนินการติดตามเยี่ยมบ้านได้ไม่ต่อเนื่อง 3. Care Giver บางคน ไม่ได้ลงปฏิบัติงานเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข 1. สนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแก่ Care Giver และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น 2. สนับ สนุน ช่ว ยเหลือในด้านความรู้การดูแลผู้ส ูงอายุ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น สิทธิ สวัสดิการที่ผู้สูงอายุพึงจะได้รับและส่งเสริมศักยภาพของครอบครัวและญาติให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ 3. ประชาสัมพันธ์โครงการฯและรับสมัคร Care Giver รูป...

-50รูปกิจกรรมติดตามเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน

การ

-51-

การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงในชุมชน ผลการดำเนินงานติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงในชุมชน ในปี 2565

รับใหม่ (คน)

ตาย (คน)

61

35

จำนวนผู้สูงอายุติดเตียง ย้ายกลุ่มติดบ้าน ย้ายกลุ่มติด (คน) สังคม (คน) 0 1

รวมทั้งหมด

96

ย้ายออกนอก เขต (คน) 3

คงเหลือ (คน) 57

คน

เชิงปริมาณ ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงจำนวน 86 คน ได้รับการติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพที่บ้าน ร้อยละ 100 ตารางที่ 1 แสดงผลการดำเนินงานบริการติดตามเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง กิจกรรม

หน่วยนับ

จำนวน

คน

96

1.1 กลุ่มที่มีคะแนน ADL 0-4

คน

49

1.2 กลุ่มที่มีคะแนน ADL 1-4

คน

47

2. จำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงที่ได้รับการติดตามเยี่ยมที่บ้าน

คน

96

3. จำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงที่ได้รับการติดตามเยี่ยมครบตามเกณฑ์

คน

96

1. จำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงในพื้นที่

จากตารางที่ 1 จำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ทั้งหมด 96 คน แบ่งเป็น ผู้สูงอายุที่มีคะแนน ADL 0 – 4 คะแนน จำนวน 49 คนและผู้สูงอายุที่มีคะแนน ADL 1-4 คะแนน จำนวน 47 คน ได้รับการเยี่ยมดูแล เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 100

ตาราง...

-52ตารางที่ 2 แสดงจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงแยกตามโรคประจำตัว โรคประจำตัว

หน่วยนับ

จำนวน

คิดเป็นร้อยละ

1. โรคความดันโลหิตสูง

คน

19

18.24

2. โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมองแตก/ตีบ

คน

17

16.32

3. โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

คน

15

14.40

4.โรคหลอดเลือดสมองตีบ/แตก

คน

13

12.48

5. โรคหลอดเลือดสมอง

คน

11

10.60

6. ผู้สูงอายุ

คน

9

8.70

7. โรคเบาหวาน

คน

7

6.80

8. โรคอื่นๆ เช่น มะเร็ง, หัวใจ, ฯลฯ

คน

5

4.90

คน

96

100

รวม

จากตารางที่ 2 จำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงที่ได้รับการเยี่ยมดูแลและฟื้นฟูส ุขภาพตามปัญหารายโรค ประจำตัว ดังนี้ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 18.24 ,โรคเบาหวานและหลอดเลือดสมองแตก/ตีบ ร้อยละ 16.32 โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 14.40 โรคหลอดเลือดสมองตีบ/แตก ร้อยละ 12.48 , โรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 10.60, ผู้สูงอายุ ร้อยละ 8.70, โรคเบาหวาน ร้อยละ 6.80 โรค อื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง, โรคหัวใจ ฯลฯ ร้อยละ 4.90 เชิงคุณภาพ ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงจำนวน 96 คน ได้รับการติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพที่บ้าน จำนวนผู้ป่วยที่มี แผลกดทับจำนวน 17 ราย บาดแผลหายเป็นปกติ จำนวน 2 ราย ยังคงมีบาดแผลอยู่ 1 ราย เสียชีวิต จำนวน 14 ราย จากมีภาวะแทรกซ้อนจากพยาธิสภาพของโรคและขาดการดูแลเอาใจใส่จากญาติ ผู้ดู แล ทุกคนที่ได้รับการส่งต่อและดูแลจากงานเวชปฏิบัติครอบครัว ได้รับการดูแลและแก้ไขปัญหาตามสภาพอาการ ที่พบและได้รับการดูแลเรื่องการให้ยืมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์และส่งต่อช่องทางการเข้ารับบริการด้านเบิก วัสดุอุปกรณ์การแพทย์ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์ที่ควรได้รับ

ตาราง...

-53ตารางแสดงจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงแยกตามโรคประจำตัว ปี 2565 ลำดับ

กลุ่มผูส้ ูงอายุ

เป้าหมาย

ที่ติดตามดูแล

(คน)

ติดเตียงย้าย กลุ่ม ติด ติด บ้าน สังคม

ติดบ้านย้ายกลุ่ม ติด เตียง

ติด

จำหน่าย

รับใหม่

คงเหลือ

ย้ายออก เสียชีวิต

สังคม นอกเขต

1

กลุ่มติดบ้าน

47

-

-

2

1

1

2

10

31

2

กลุ่มติดเตียง

43

0

1

-

-

3

35

61

57

3

กลุ่มพึ่งพิง

18

0

0

0

0

1

1

1

17

รวม

108

0

1

2

1

5

38

72

105

ปัญหา...

-54ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค 1. มีฐ านข้อมูลแยกประเภทกลุ่มผู้ส ูงอายุ ในเขต เทศบาล แต่ ย ั ง ไม่ ส ามารถค้ น หากลุ ่ ม ผู ้ ป ่ ว ยได้ ครอบคลุมทั้งหมดในพื้นที่ - PCC เนินพระ, PCC เกาะหวาย เมื่อพบผู้ป่วยติด เตียง/ติดบ้านรายใหม่ ไม่ส่งต่อข้อมูลกลับมาให้ทาง งานเวชปฏิบัติครอบครัว เพื่อติดตามประเมิน ADL และเก็บเป็นฐานข้อมูลในภาพรวมของ 29 ชุมชน

2. งานเวชปฏิบัติครอบครัวไม่มีทีมสหสาขาวิชาชีพ ลงพื้นที่ด้วย

3. ผู ้ ส ู ง อายุ ท ี ่ น อนติ ดเตี ย งหรือ ติ ด บ้า นและขาด ผู้ดูแลช่วยเหลือตนเองไม่ได้และต้องอยู่บ้านคนเดียว ในตอนกลางวั น เพราะลู ก หลานไปทำงานและมี ปัญหาภาวะเศรษฐกิจ

ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข 1.1 การรับข้อมูล ได้รับจากศูนย์บริการฯ, สมาชิกสภา เทศบาล, 1.2 ญาติ ผ ู ้ ป ่ ว ยมาติ ด ต่อ ขอรั บ บริ ก ารที ่เ ทศบาลนคร ระยอง 1.3 โทรมาติดต่อสอบถามข้อมูล 1.4 อสม., ประธานชุมชน, ญาติและประชาชนในพื้นที่ 1.5 เจ้าหน้าที่ค้นหาในชุมชนเอง 1.6 ประชาสัมพันธ์ทางเคเบิ้ลทีวี, วารสารเทศบาล ทุก 3 ไตรมาส, เสียงตามสายเทศบาลนครระยอง 1.7 PCC เกาะหวาย, PCC เนินพระ ,COC ระยอง ไม่ส่ง ต่อข้อมูล 1.8 งานเวชปฏิบัติครอบครัวจะส่งต่อข้อมูลให้ทั้งสอง หน่วยบริการทุกครั้งที่พบรายใหม่/รายเสียชีวิต เพื่อตัด ยอดในฐานข้อมูลให้ตรงกันทั้ง 3 หน่วยบริการรับผิดชอบ ทุก Case รวมถึงข้อมูลการตายทุกเดือนตัดยอด ทุกวันที่ 25 2.1 พบปัญหาสุขภาพด้านไหนประสานทีมสหวิชาชีพที่ รับผิดชอบในพื้นที่ นำทีมสหวิช าชีพลงพื้นที่ เช่น นัก กายภาพบำบัด, เภสัชกร ,แพทย์ ฯลฯ 2.2 พบผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนส่งต่อการรักษาและ ประสานการส่ ง ต่ อ ตามพื ้ น ที ่ ร ั บ ผิ ด ชอบ ฉุ ก เฉิ น นำส่ ง โรงพยาบาลระยองเลย 3.1 สร้างความตระหนักให้กับญาติและผู้ดูแลในการดูแล ผู้สูงอายุให้นึกถึงความดีและคุณประโยชน์ที่ท่านได้ดูแล บุตรหลานมา กรณีแบบนี้ทำได้ยากมากด้ว ยปัญ หาใน ครอบครัว/เศรษฐกิจ บางครั้งก็รู้สึกหดหู่ใจ แก้ปัญหาอะไร ไม่ได้ 3.2 หาจิตอาสาเฉพาะบุคคลที่มีใจร่ว มกับทีมงานเวช ปฏิบัติครอบครัว เช่น ได้กลุ่ม YEC ,กลุ่ม Social ที่จะช่วย สนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ที่สิ้นเปลือง เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เงินบริจาค ประสานกองสวัสดิการและ สั ง คมเรื ่ อ งสิ ท ธิ ์ แ ละการสงเคราะห์ ช่ ว ยเหลื อ ให้ กั บ ครอบครัวผู้ยากไร้ในชุมชนเป็นรายกรณี ฯลฯ ปัญหา...

-55ปัญหาและอุปสรรค

ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข 3.3 ปีงบประมาณ 2565 เข้าสู่ระบบ LTC ผู้สูงอายุ กลุ่มพึ่งพิงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับการดูแลตามสภาพ ปัญหาและตามแผนการดูแล โดยมี CG ดูแลรับผิดชอบ PCC เนิ น พระ มี CG จำนวน 2 คน รั บ ผิ ด ชอบดู แ ล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 10 ราย PCC เกาะหวาย มี CG จำนวน 3 คน รับผิดชอบดูแลผู้ส ูงอายุที่มีภ าวะ พึง่ พิง จำนวน 10 ราย เทศบาลนครระยอง มี CG จำนวน 1 คน รับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 4 ราย ( หมายเหตุ CG ของศูนย์บริการนครระยอง 1 คน ที่ ปฏิบัติงานและเบิกจ่ายค่าตอบแทนทุกเดือน อีก 2 หน่วย บริการไม่ได้ดำเนินงาน) มีอาสาบริบาลท้องถิ่นเทศบาล นครระยอง 2 คน ไปติดตามเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง จำนวน 20 ราย/คน เป็นเวลา 11 เดือน ( พ.ย.64 – ก.ย.65 ) ตุลาคม 2565 อาสาบริบาลท้องถิ่น 1 คน ไม่ต่อสัญญา เหลือ อสบ. 1 คน ดูแล จำนวน 10 ราย/เดือน 3.4 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง เทศบาล นครระยอง ได้ดำเนินการจัดซื้อวัส ดุว ิทยาศาสตร์ห รือ การแพทย์ ของ 3 หน่วยบริการ จำนวนเงินทั้งสิ้น 75,156 บาท (งบประมาณทั้งหมด 144,000 บาท) คงเหลื อ 68,844 จ่ า ยค่ า CG นครระยอง 3 เดื อ น 1,750 บาท คงเหลือเงินทั้งสิ้น 67,094 บาท 4.วั ส ดุ อ ุ ป กรณ์ ท างการแพทย์ ท ี ่ ไ ด้ ร ั บ บริ จ าคมา 4.1 ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าอาวาสวัดลุ่มมหาชัยชุมพล บางครั ้ ง มี ก ารชำรุ ด และไม่ ไ ด้ เ ป็ น ครุ ภ ั ณ ฑ์ จำนวน 10,000 บาท นำไปซื้อ เบาะนอนที่ชำรุดทดแทน หน่วยงาน ไม่มีงบประมาณในการซ่อมบำรุง , ซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้ ฯลฯ 4.2 ได้รับวัสดุอุปกรณ์การแพทย์จากครอบครัวนายธีรวุฒิ รัตตานนท์ เป็น รถเข็นนั่ง , Crain 3 ขา, ฯลฯ (รวมราคา 30,000 บาท 4.3 ได้รับการสนับสนุนข้าวสาร อาหารแห้ง จากโรงเรียน ระยองวิทยาคม , กลุ่ม YEC , สท. เอกร่ว มกับโรงแรม โกลเด้นซิตี้ มอบผ้าอ้ อมสำเร็จรูป, แป้งฝุ่นเด็กโคโดโม๊ะ ฯลฯ ลงพื้นที่ไปบริจาคผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง ในชุมชน 4.4 ของบางอย่างซ่อมบำรุงไม่ได้ เช่น รถเข็นนั่ง , เตียง ผู้ป่วย ฯลฯ เก็บไว้บริจาคต่อกับมูลนิธิวัดสวนแก้วพระ พะยอม ราย...

-56รายงานผลการปฏิบัติงานของงานเวชปฏิบัติครอบครัว ปีงบประมาณ 2565 รายงานผลการปฏิบัติงานของงานเวชปฏิบัติครอบครัว ปีงบประมาณ 2565 ประจำเดือน กันยายน 2565 ผลการปฏิบตั ิงาน ลำดับ

รายการข้อมูล

หน่วยนับ

คน คน/ราย คน/ราย คน/ราย คน/ราย คน/ราย คน คน/ราย คน/ราย คน/ราย คน/ราย คน/ราย คน คน คน

15 7 6/16 4/12 0/0 2/4 0/0 7 6/16 4/12 0/0 2/4 0/0 5 6 0

ผลรวม ประจำปี ต.ค.64 ก.ย.65 235 157 133/198 126/190 2/2 5/7 0/0 155 120/176 112/168 2/2 6/7 0/0 86 108 3

คน คน ราย ราย ราย ราย

6 6 11 11 5 5

128 129 106 106 92 92

ประจำเดือน ก.ย.-65 งานอนามัยแม่และเด็ก แจ้งเกิด แจ้งเกิด 1 2

3 4

5 6 7

1 2 3 4 5 6

จำนวนมารดาหลังคลอดในพื้นที่รายใหม่ จำนวนมารดาหลังคลอดที่ตดิ ตามเยี่ยม (คิดเฉพาะครั้งที่ 2และ3 บวกกัน) 2.1 เทศบาลนครระยองติดตามเยีย่ ม 2.2 PCC เกาะหวายติดตามเยีย่ ม 2.3 PCC เนินพระติดตามเยี่ยม 2.4 กลุ่มการพยาบาลชุมชนติดตามเยี่ยม จำนวนทารกหลังคลอดในพื้นที่รายใหม่ จำนวนทารกหลังคลอดที่ติดตามเยี่ยม(รายคิดเฉพาะครั้งที่ 2และ 3 บวกกัน) 4.1 เทศบาลนครระยองติดตามเยีย่ ม 4.2 PCC เกาะหวายติดตามเยีย่ ม 4.3 PCC เนินพระติดตามเยี่ยม 4.4 กลุ่มการพยาบาลชุมชนติดตามเยี่ยม จำนวนมารดาหลังคลอดที่ได้รับการเยี่ยมครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ จำนวนเด็กแรกเกิดที่ส่งต่อให้ติดตามโภชนาการในชุมชน จำนวนเด็ก 0-5 ปี ที่ได้รับการส่งต่อจากศูนย์บริการฯเพื่อตรวจพัฒนาการ ในรายที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า กิจกรรมงานอนามัยแม่และเด็ก ติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพมารดา ครั้งที่ 1 ติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพทารก ครัง้ ที่ 1 ติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพมารดา ครั้งที่ 2 ติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพทารก ครัง้ ที่ 2 ติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพมารดา ครั้งที่ 3 ติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพทารก ครัง้ ที่ 3

ราย...

-57รายงานผลการปฏิบัติงานของงานเวชปฏิบัติครอบครัว ปีงบประมาณ 2565 ประจำเดือน กันยายน 2565 ผลการปฏิบตั ิงาน ลำดับ

รายการข้อมูล

หน่วยนับ ประจำเดือน ก.ย.-65

7

8 9 10 11 12

1 2 1

ผลการติดตามเยี่ยมดุแลสุขภาพมารดา อาการปกติ อาการผิดปกติ - ให้การพยาบาลตามปัญหาที่พบ - ส่งต่อสถานพยาบาล ประเมินภาวะโภชนาการทารก รายคิดเฉพาะครั้งที่ 2 และ 3 บวกกัน ส่งเสริมการเลีย้ งลูกด้วยนมแม่ รวมคิดเฉพาะครั้งที่ 2 และ 3 บวกกัน แก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้คำแนะนำในการดูแลมารดาและทารกหลังคลอด รายคิดเฉพาะครั้งที 2 และ 3 บวกกัน ตรวจพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี คิดเฉพาะครั้งที่ 3 บวกกับที่ส่งต่อจาก ศูนย์บริการสาธารณสุข 12.1 พัฒนาการสมวัย 12.2 พัฒนาการไม่สมวัย - ให้คำแนะนำกระตุ้นพัฒนาการที่บ้าน - ส่งต่อคลินิกกระตุ้นพัฒนาการโรงพยาบาลระยอง งานอื่นๆ จำนวนเด็ก 0-5 ปี ที่เยี่ยมเพื่อติดตามโภชนาการและส่งต่อให้ผู้รับผิดชอบ งานโภชนาการ จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับการเยี่ยมบ้านและส่งต่อให้ผรู้ ับผิดชอบ ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง/ติดบ้าน จำนวนผู้สูงอายุติดเตียงรายใหม่ 1.1 ส่งต่อจากโรงพยาบาลระยอง 1.2 ส่งต่อจากศูนย์บริการสาธารณสุข 1.3 ส่งต่อจากชุมชน 1.4 เจ้าหน้าที่พบเอง

ผลรวม ประจำปี ต.ค.64 ก.ย.65

คน/ราย คน/ราย คน/ราย คน/ราย คน/ราย คน/ราย

6/16 0/0 0/0 0/0 6/16 6/16

127/198 1/0 1/0 0/0 127/198 127/198

คน/ราย คน/ราย

1/1 6/16

13/14 128/198

คน

5

101

คน คน คน คน

5 0 0 0

101 3 3 0

คน

6

18

คน

1

2

คน คน คน คน คน

1 0 0 1 0

61 2 0 15 44

ราย...

-58รายงานผลการปฏิบัติงานของงานเวชปฏิบัติครอบครัว ปีงบประมาณ 2565 ประจำเดือน กันยายน 2565 ผลการปฏิบตั ิงาน ลำดับ

รายการข้อมูล

หน่วยนับ

2 3 4 5 6

จำนวนผู้สูงอายุติดเตียงรายใหม่ทไี่ ด้รับการเยี่ยม จำนวนผู้สูงอายุติดเตียงรายเก่าที่ได้รับการเยี่ยม จำนวนผู้สูงอายุติดเตียงที่ได้รับการเยี่ยมตามเกณฑ์การเยี่ยม จำนวนผู้สูงอายุติดเตียงที่มีอาการดีขึ้น (รวมทีA่ DLดี+อาการอื่นๆดี) จำหน่ายผูส้ ูงอายุตดิ เตียง 6.1 เสียชีวิต 6.2 เปลี่ยนกลุ่ม 6.3 ย้ายนอกเขต จำนวนผู้สูงอายุติดบ้านรายใหม่ จำนวนผู้สูงอายุติดบ้านรายใหม่ทไี่ ด้รับการเยี่ยม จำนวนผู้สูงอายุติดบ้านรายเก่าทีไ่ ด้รับการเยี่ยม จำนวนผู้สูงอายุติดบ้านทีไ่ ด้รับการเยี่ยมตามเกณฑ์การเยี่ยม จำนวนผู้สูงอายุติดบ้านที่มีอาการดีขึ้น จำหน่ายผูส้ ูงอายุตดิ บ้าน 13.1. เสียชีวิต 13.2. เปลี่ยนกลุ่ม 13.3. ย้ายนอกเขต ส่งต่อผูส้ ูงอายุติดเตียง/ติดบ้านรับการรักษาที่โรงพยาบาลระยอง ส่งต่อผูส้ ูงอายุติดเตียง/ติดบ้านรับการรักษาคลินิกชุมชนอบอุ่น ส่งต่อผูส้ ูงอายุติดตียง / ติดบ้านให้หน่วยงานอื่นเพื่อให้ได้รับสวัสดิการด้าน ต่างๆ 15.1 ส่งต่อให้ PCC เนินพระ ขอใบรับรองความพิการ 15.2 ส่งต่อให้กองสวัสดิการและสังคมต่อบัตรผู้พิการ

คน/ครั้ง ราย/ครั้ง คน ราย คน คน คน คน คน คน/ครั้ง ราย/ครั้ง คน คน คน คน คน คน คน คน

7 8 9 10 11 12

13 14 15

คน คน คน

ผลรวม ประจำเดือน ประจำปี ต.ค.64 ก.ย.-65 ก.ย.65 1/1 58/69 27/29 218/282 28 290 0 1 2 35 2 30 0 1 0 3 2 10 2/2 10/11 23/26 145/158 25 154 0 0 1 6 0 2 0 3 1 1 0 2 0 2 0 0 0

5 1 0

ราย...

-59รายงานผลการปฏิบัติงานของงานเวชปฏิบัติครอบครัว ปีงบประมาณ 2565 ประจำเดือน กันยายน 2565 ผลการปฏิบตั ิงาน ลำดับ

รายการข้อมูล

15.3 ส่งต่อให้กองสวัสดิการและสังคมให้ผู้ป่วยได้รับเงินสงเคราะห์ 16 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

15.4 ส่งต่อให้งานทะเบียนราษฎร์ทำบัตรประชาชนให้ผู้สูงอายุ จำนวนผู้สูงอายุติดสังคมที่ได้รับการเยี่ยมดูแลสุขภาพ กิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุกลุม่ ติดเตียง/ติดบ้าน วางแผนทางการพยาบาล (ติดเตียง/ติดบ้าน) ให้คำแนะนำการดูแลป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากภาวะติดเตียง/ติดบ้าน ประเมินคะแนน ADL เจาะเลือดตามแผนการรักษา เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ทำแผล ตัดไหม ฉีดยา ให้สารน้ำและยาทางหลอดเลือดดำ เปลี่ยน/ใส่สายให้อาหารทางสายยาง เปลี่ยน/ใส่คาสายสวนปัสสาวะ สาธิตและฝึกทักษะผู้ดูแล ดังนี้ 12.1 สอนการดูดเสมหะในท่อช่วยหายใจ 12.2 สอนทำแผล 11.3 สอนการให้อาหารทางสายยาง 12.4 สอนการดูแลสายสวนปัสสาวะไม่ให้เกิดการติดเชื้อ 12.5 สอนการทำความสะอาดร่างกายบนเตียง 12.6 สอนการออกกำลังกาย 12.7 สอนการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 12.8 สอนญาติเจาะ DTX

หน่วยนับ

คน

ประจำเดือน ผลรวมประจำปี ต.ค.64 - ก.ย. ก.ย.-65 65 0 0

คน คน/ครั้ง

0 0/0

8 2/7

ราย/ราย ราย ราย ราย ราย ราย ราย ราย ราย ราย ราย

28/25 53 56 2 2 1 0 0 0 6 1

291/191 512 531 58 20 29 0 96 26 67 36

ราย ราย ราย ราย ราย ราย ราย ราย

0 1 5 1 0 0 1 0

3 20 37 27 2 2 21 0

ราย...

-60รายงานผลการปฏิบัติงานของงานเวชปฏิบัติครอบครัว ปีงบประมาณ 2565 ประจำเดือน กันยายน 2565 ลำดับ

รายการข้อมูล

ผลการปฏิบตั ิงาน

หน่วยนับ

ประจำเดือน ผลรวมประจำปี ก.ย.-65 ต.ค.64 ก.ย.65 0 3 5 53

13 14

ดูแลตัดผมให้ผสู้ ูงอายุติดเตียง ให้คำปรึกษา/คำแนะนำอาการและการดูแลผูส้ ูงอายุตดิ เตียง/ติดบ้านทาง โทรศัพท์

ราย ราย

15

ประสานสถานพยาบาลเรื่องการรักษาผู้สูงอายุตดิ บ้าน/ติดเตียง 15.1. PCC เนินพระ 15.2. PCC เกาะหวาย รับ-ส่งผูส้ ูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง กลับบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับการส่งต่อให้ติดตามเยี่ยมดูแล 1.1. ส่งต่อจากโรงพยาบาลระยอง 1.2. ส่งต่อจากศูนย์บริการสาธารณสุข 1.3. ส่งต่อจากชุมชน 1.4. เจ้าหน้าที่พบเอง จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับการเยี่ยม จำหน่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3.1. ครบตามมาตรฐานการดูแล 3.2. ย้ายนอกเขต 3.3 เสียชีวิต จำนวนผู้พิการทีไ่ ด้รับการส่งต่อให้ติดตามเยี่ยมดูแล 4.1. ส่งต่อจากโรงพยาบาลระยอง 4.2. ส่งต่อจากศูนย์บริการสาธารณสุข 4.3. ส่งต่อจากชุมชน 4.4. เจ้าหน้าที่พบเอง 4.3. ส่งต่อจากชุมชน

ราย ราย ราย คน

2 2 0 1

7 5 2 3

คน คน คน คน คน คน/ราย คน คน คน คน คน คน คน คน คน คน

1 0 0 1 0 1/10 0 11 0 0 0 0 0 0 0

30 2 0 3 25 34/82 22 77 0 5 12 0 0 0 12

16 1

2 3

4

ราย...

-61รายงานผลการปฏิบัติงานของงานเวชปฏิบัติครอบครัว ปีงบประมาณ 2565 ประจำเดือน กันยายน 2565 ลำดับ

5 6

รายการข้อมูล

ผลการปฏิบัติงาน

หน่วยนับ

ผลรวมประจำปี

ประจำเดือน ก.ย.-65

ต.ค.64 - ก.ย.65

คน/ราย

0/0

26/40

คน

0

2

6.1. ย้ายนอกเขต

คน

0

1

6.2. เสียชีวิต

คน

0

1

คน/ราย

0/0

2/6

จำนวนผู้พิการทีไ่ ด้รับการเยีย่ มดูแล จำหน่ายผู้พิการ

7

เยี่ยมผู้ป่วยหลังผ่าตัด

8

นำส่งผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการรับการรักษาที่สถานพยาบาล

คน

1

1

8.1. โรงพยาบาลระยอง

คน

1

1

8.2. คลินิกชุมชนอบอุ่น

คน

0

0

8.3 PCC เนินพระ

คน

0

0

ส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการให้หน่วยงานอื่นเพื่อได้รับสวัสดิการต่างๆ

คน

0

0

9.1. ส่งต่อให้กองสวัสดิการและสังคมดูแลด้านเงินสงเคราะห์

คน

0

3

9.2. ส่งต่อให้กองสวัสดิการและสังคมเพื่อทำบัตรผู้พิการ

คน

0

0

9.3. ส่งต่อให้กองสวัสดิการและสังคมดูแลด้านสงเคราะห์ที่อยู่อาศัย

คน

0

0

9.4. ส่งต่อ PCC เนินพระเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

คน

0

0

9

กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ 1

ให้คำแนะนำการดูแลป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว

คน

11

87

2

เจาะเลือดตามแผนการรักษา

ราย

1

18

3

เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว

ราย

0

6

4

ทำแผล

ราย

0

8

5

ตัดไหม

ราย

0

0

6

ฉีดยา

ราย

0

0

7

ให้สารน้ำและยาทางหลอดเลือดดำ

ราย

0

2

8

เปลี่ยน/ใส่คาสายสวนสวนปัสสาวะ

ราย

1

4

9

เปลี่ยน/ใส่สายให้อาหารทางสายยาง

ราย

1

12

10

ให้คำปรึกษา/คำแนะนำอาการและการดูแลผู้ป่วยทางโทรศัพท์

ราย

2

8

ราย...

-62รายงานผลการปฏิบัติงานของงานเวชปฏิบัติครอบครัว ปีงบประมาณ 2565 ประจำเดือน กันยายน 2565 ลำดับ

11

12

รายการข้อมูล

ผลการปฏิบัติงาน

หน่วยนับ

ผลรวมประจำปี

ประจำเดือน ก.ย.-65

ต.ค.64 - ก.ย.65

สาธิตและฝึกทักษะผู้ดูแลดังนี้ 11.1. สอนการดูดเสมหะในท่อช่วยหายใจ

ราย

0

2

11.2. สอนทำแผล

ราย

0

5

11.3. สอนการให้อาหารทางสายยาง

ราย

1

5

11.4. สอนการดูแลสายสวนปัสสาวะไม่ให้เกิดการติดเชื้อ

ราย

1

2

11.5. สอนการทำความสะอาดร่างกายบนเตียง

ราย

0

1

11.6. สอนการออกกำลังกาย

ราย

0

0

ประเมินบ้านผู้ป่วยล้างไต

ราย

0

2

1/4

25/128

3/3

84/105

ชิน้

2/4

58/136

ศูนย์รับบริจาคและให้ยืมอุปกรณ์การแพทย์ 1

รับบริจาควัสดุ/ครุภัณฑ์ทางการแพทย์

2

ให้ผู้ป่วยยืมวัสดุ/ครุภัณฑ์ทางการแพทย์

3

บริจาควัสดุให้กับผู้ป่วยยากไร้

รายการ/ ชิน้ คน/ชิ้น

กิจกรรมอื่นๆ 1

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง

คน

0

67

2

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนาให้กับผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง

ราย

0

163

3

อยู่หน่วยปฐมพยาบาลเกิดเหตุอุทกภัยน้ำท่วมจุดเกาะกลอย/จุดแยกซอยไพบูลย์

ครั้ง

0

4

นิมิตสุข และลงพื้นที่มอบถุงยาให้กับผู้ได้รับความเดือดร้อน

ศูนย์...

-63ศูนย์รับบริจาคและให้ยืมอุปกรณ์การแพทย์ จากภารกิจงานเวชปฏิบัติครอบครัวที่ออกติดตามเยี่ยมดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน พบว่าผู้ป่วยเหล่านี้นอกจากมีปัญหาด้านสุขภาพแล้ว ยังพบปัญหาเรื่องขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการ ดำรงชีวิต เช่น เตียงผู้ป่วย ที่นอนลม รถเข็นนั่ง เครื่องดูดเสมหะ เครื่องผลิตออกซิเจน ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ฯลฯ เพราะค่าอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้มีราคาสูง เป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ยังมีความ ทุกข์ทรมานจากการขาดอุปกรณ์ดำรงชีวิต ในปี พ.ศ. 2555 สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครระยอง ได้จัดตั้งศูนย์ รับบริจาค และให้ยืมอุปกรณ์การแพทย์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์ ดังกล่าว นำไปใช้ประโยชน์ตามศักยภาพของตนเอง สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว ลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวและเมื่อผู้ป่วยหายดีหรือไม่ต้องการใช้ อุ ป กรณ์ ฯ แล้ ว ก็ น ำมาคื น เพื ่ อ ส่ ง ต่ อ อุ ป กรณ์ เ หล่ า นั ้ น ให้ ผ ู ้ ท ี ่ เ ดื อ ดร้ อ นได้ ใ ช้ ป ระโยชน์ ต ่ อ ไป จากการ ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย บทความในวารสารเทศบาลนครระยองและการบอกต่อจากอสม.ในชุมชน ทำ ให้มีผู้ป่วยแจ้งความประสงค์ติดต่อขอยืมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์เพิ่มมากขึ้น รวมถึงมียอดผู้บริจาคเพิ่มขึ้นด้วย หลังจากผู้ป่วยเหล่านี้ได้ยืมอุป กรณ์ไปใช้ที่บ้าน พบว่าผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ลดการเกิด ภาวะแทรกซ้อน ญาติและครอบครัวมีความพึงพอใจ แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ อุปกรณ์การแพทย์ดังกล่าว ยังคงต้องการการรับบริจาคจำนวนมาก ซึ่งงานเวชปฏิบัติครอบครัว ได้ดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเขตเทศบาลนครระยอง ทราบถึงช่องทางการติดต่อบริจาคเครื่องมือแพทย์และขอ ยืมเครื่องมือแพทย์ ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0 3861 2305 ผลการดำเนินงานในปี 2565 1. รับบริจาควัสดุสิ้นเปลืองและอุปกรณ์การแพทย์ ได้แก่ เตียงนอน Fowler เบาะนอน ที่นอน ลม เครื่องผลิตออกซิเจน ถังออกซิเจน ชุดเกจ์วัดแรงดันออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ เครื่องพ่นยา รถเข็นนั่ง ไม้ เท้าค้ำยัน วอร์คเกอร์ เก้าอี้นั่งขั บถ่าย ชุดผ้าปูที่นอน ผ้าอ้อมสำเร็จรูปและแผ่นรองกันซึมเปื้อน ฯลฯจำนวน ทั้งหมด 25 รายการ 128 ชิ้น 2. หน่วยงานภายนอก 4 หน่วยงาน ได้แก่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) , ครอบครัวนาวิน โชคธรรม , โรงเรียนระยองวิทยาคมและโรงแรมโกลเด้นซิตี้ ได้บริจาคชุดยังชีพและผ้าอ้อมสำเร็จรูป 3. สนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ยืมอุปกรณ์การแพทย์ จำนวนทั้งหมด 84 ราย 105 ชิ้น 4. บริจาควัสดุสิ้นเปลืองให้แก่ผู้ป่วย ได้แก่ ชุดผ้าปูที่นอน ผ้าอ้อมสำเร็จรูปและแผ่นรองกันซึมเปื้อน จำนวนทั้งหมด 58 ราย 136 ชิ้น

ตาราง...

-64ตารางกิจกรรมที่ดำเนินการในศูนย์รับบริจาคและให้ยืมอุปกรณ์การแพทย์ จำนวนรับบริจาค

จำนวนสนับสนุนให้ยืม

จำนวนที่บริจาคให้ผู้ยากไร้

ปี พ.ศ.

รายการ

จำนวนชิ้น

จำนวน ผู้ป่วย (ราย)

จำนวน อุปกรณ์ (รายการ)

จำนวน ผู้ป่วย (ราย)

จำนวน อุปกรณ์ (รายการ)

2559

13

129

70

104

9

16

2560

18

252

75

96

17

14

2561

61

85

120

25

90

20

2562

75

171

117

135

38

43

2563

50

77

89

117

41

45

2564

38

97

90

110

57

35

2565

25

128

84

105

58

136

จากตาราง จะเห็นได้ว่าในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนรายการรับบริจาคลดลง ร้อยละ 65.79 และมีผู้ขอรับการ สนับสนุนลดลง ร้อยละ 93.33 เนื่องจากต้องการยืมของที่เป็นชิ้นใหญ่ๆ เช่น เตียงนอน, เครื่องผลิตออกซิเจน , ถังออกซิเจน, ที่นอนลม, รถเข็นนั่ง ฯลฯ ซึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอในการให้ยืม อุปกรณ์จำพวกนี้ใช้กันไปเป็น ระยะเวลายาวนาน จนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตถึงจะนำมาคืน และมาคืนก็มีการพังชำรุด ซ่อมแซมไม่ได้ต้อง จำหน่ายออก

ภาพ...

-65ภาพกิจกรรมรับบริจาควัสดุและอุปกรณ์การแพทย์

ภาพ...

-66ภาพกิจกรรมบริจาควัสดุและอุปกรณ์การแพทย์และถุงยังชีพ

ภาพ...

-67ภาพกิจกรรมการให้ยืมอุปกรณ์การแพทย์

ภาพ...

-68ภาพกิจกรรมการติดตามเยี่ยมดูแลกลุ่มเป้าหมายที่บ้าน

ภาพ...

-69ภาพกิจกรรมอื่นๆ ในการดูแลกลุ่มเป้าหมายที่บ้าน

ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ทางคลื่นวิทยุ

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนโควิด

จัดเตรียมชุดยาและออกหน่วยปฐมพยาบาลน้ำท่วม

ประเมินบ้านล้างไต

ตัดผม-โกนหนวด

ตรวจประเมินพัฒนาการ รูป...

-70-

รูปกิจกรรมโครงการอาสาบริบาลท้องถิ่นและCG

CG ติดตามเยี่ยมตาม Care Plan

อาสาบริบาลท้องถิ่นติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ จำนวน 2 คน คนละ 10 ราย

71-

บทนำ ประเทศไทยมีเป้าหมายทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่สำคัญประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การมีอายุ ยืนยาวและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การที่ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงในทุกช่วงวัยทำให้มีอายุยืนยาวเมื่อเข้าสู่วัย ผู้สูงอายุ ซึ่งการมีอายุยืนยาวไม่เจ็บป่วยเป็นโรค เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เนื่องจากคุณภาพชีวิต ประกอบด้วยสุขภาพในหลายด้านรวมกันได้แก่ สุขภาพด้านกายภาพ (physical health) สุขภาพด้านจิตใจ (mental health) สุขภาพด้านสังคม(social health) และภาวะสุขภาพโดยทั่วไป(general health) โดย องค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยามของ “สุขภาพ” ว่าไม่ใช่แต่เพียงการปราศจากโรค แต่หมายถึงการมีความ สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งจะสอดคล้องกับนิยามของคุณภาพชีวิตที่กล่าวว่า “คุณภาพ ชีวิต” เป็นการรับรู้ความพึงพอใจและสถานะของบุคคลในการดำรงชีวิตในสังคม ดังนั้น องค์ประกอบของการมี สุขภาพดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยทั่วไปแล้วบุคคลที่มีสุขภาพที่สมบูรณ์ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1) สุขภาพทางกาย (Physical Health) คือ มีสภาพร่างกายที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีการพัฒนาที่เหมาะสมกับวัย สังเกตได้จากการ ที่บุคคลนั้นมีความสมบูรณ์แข็งแรง ระบบและอวัยวะทุกส่วนทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ร่างกายมีสมรรถภาพ สูง สามารถทำงานได้นาน ๆ โดยไม่เหนื่อยง่าย การนอนและการพักผ่อนเป็นไปตามปกติ ผิวพรรณผุดผ่อง รูปร่างทรวดทรงสมส่วน เป็นต้น 2) สุขภาพทางจิต (Mental Health) คือ มีสภาพจิตปกติ สามารถปรับตัว ให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้มี สุขภาพจิตดี ย่อมมีผ ลมาจากสุขภาพกายดีด้ว ย หรือคำกล่า วที่ว่า “จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่ สมบูรณ์” 3) สุขภาพทางสังคม (Social Health) คือ การมีสภาพของความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ ในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน สามารถเข้ากับบุคคลและชุมชนได้ทุกสถานะอาชีพ ไม่เป็นคนถือตัว ไม่เป็นคนเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่น เป็นที่เคารพรักและเป็นที่นับถือของคนทั่วไป ส่วน คุณภาพชีวิตที่ดีนั้นประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย ได้แก่ โครงสร้างทางร่างกายและสุขภาพร่างกาย รวมถึงด้านบุคลิกภาพด้วย 2) ด้านจิตใจ ได้แก่ สภาพจิตใจและสุขภาพจิตรวมถึงด้า นคุณธรรมและจริยธรรม ด้วย 3) ด้านสังคม ได้แก่ สถานะทางสังคม ยศ ตำแหน่ง เกียรติยศชื่อเสียง การยอมรับนับถือ รวมถึงการมี มนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย 4) ด้ า นเศรษฐกิ จ ได้ แ ก่ สถานะทางเศรษฐกิ จ การเงิ น และรายได้ ที ่ มั่ น คง จากองค์ประกอบของชีวิตเหล่านี้ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะกฎของธรรมชาติ คือ มีการ เกิด มีแก่ มีเจ็บ และมีการตายจากไป จึงทำให้มนุษย์เกิดความต้องการด้านต่างๆ ที่จะเป็นแนวทางในการ พัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อมุ่งความสำเร็จให้แก่ตนเองสืบต่อไป การพัฒ นาตนเองเพื่อ ให้มีคุณภาพชีว ิตที่ดี จึงควรพัฒ นาสุขภาพในด้านร่างกาย ได้แก่ การให้ ความสำคัญกับสุขภาพ การบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังเป็น ประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ การพัฒนาทางด้านอารมณ์ ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ การฝึกสมาธิ การพัฒนา ทางด้านสังคม อันได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ หรือจากหน่วยงานต่างๆ ที่จัดขึ้น การใช้เวลาว่าง บำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน การปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนาทางด้านสติปัญญา ได้แก่ การเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง การเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและ ประสบการณ์ในด้านต่างๆ การศึกษาข้อมูลด้วยตนเองจากสื่อสารสนเทศ รวมไปถึงการหัดสังเกตและติดตาม การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ภาร...

-72ภารกิจ บทบาทหน้าที่ งานส่งเสริมสนับ สนุน การพัฒ นาคุณภาพชีว ิต สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีภ ารกิจตาม โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือการให้บริการสาธารณะตามแผนงานสาธารณสุข ประกอบไป ด้วยงานที่สำคัญได้แก่ มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา คุณภาพชีวิตประชาชน โดยวางแผน การให้บริการ และดำเนินการด้านส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒ นา คุณภาพชีวิตประชาชนให้มีสุขภาพดี ทั้งความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ทำงานบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ได้แก่ งาน ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส สร้างและพัฒนากลุ่มสุขภาพต่างๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มออกกำลังกาย ชมรมสร้างสุขภาพ และปฏิบัติงานอื่นๆที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายในการ ดูแลสุขภาพคนหนึ่งคนตั้งแต่เกิดจนถึงบั้นปลายชีวิตให้มีสุขภาพดี จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่ เหมาะสมตามช่วงชีวิตของแต่ละบุคคล โดยภารกิจที่เป็นมาตรฐานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น มี 2 กลุ่มหลัก คือ ภารกิจหลัก (core functions) เป็นภารกิจตามกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งกฎหมายจัดตั้ง กฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจหรือ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นภารกิจที่อยู่ในความรับผิ ดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรงและ ภารกิจเสริม (auxiliaryfunctions) ซึ่งเป็นภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจเลือกที่จะดำเนินการตาม หลักวิชาการ ตามความคาดหวังของสังคม หรือภายใต้บริบททางการเมืองการบริหารหรือปัญหาเฉพาะที่ เกิดขึ้นในพื้นที่ที่สามารถดำเนินการเองโดยตรง หรือดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆและมีความรับผิดชอบ ร่วมกัน ประเทศไทยได้มีการกระจายอำนาจ ด้านสุขภาพให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพ.ร.บ.กำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 มาตรา 16 การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อขยาย โอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพและรัฐบาลมีนโยบายดำเนินการตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ โดย เร่งดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง ภายใต้ สถานการณ์ดังกล่าว การส่งเสริมสุขภาพในชุมชนหรือในระดับท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ส ำคัญยิ่งที่ จะส่งเสริ มให้ ประชาชนทุกคนมีสุขภาพที่ดี สามารถสร้างเสริมสุขภาพของตน และควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ โดยสร้างมาตรการทางสังคมกำหนดให้สุขภาพเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของสังคม เริ่มต้นจากระดับปัจเจก บุคคล ครอบครัว และชุมชนเพื่อพัฒนาสุขภาพของคนในระดับต่าง ๆ การดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในทาง ปฏิบัติโดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในกิจกรรมโครงการในท้องถิ่น โดยเฉพาะการมีส่วน ร่วมในการตัดสินใจและดำเนินการ มีองค์กร ที่ไม่เป็นทางการหรือองค์กรอาสาสมัคร มีบทบาทสำคัญในท้องถิ่น มีกลุ่มองค์กรต่างๆทั้งในและนอกชุมชนร่วมมือดำเนินกิจกรรมเพื่อเป้าหมายของการมีส่วนร่วม สิ่งเหล่านี้จะทำ ให้กิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนเพื่อให้สู่ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development) คื อ เป้ า หมายที่ 3 การมี ส ุ ข ภาพและความเป็ น อยู ่ ท ี ่ ด ี ใ นทุ ก ช่ ว งอายุ แ ละสอดคล้ องกั บ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนใน เขตเทศบาลนครระยองสู่สังคมมั่นคงและยั่งยืนจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและทุนมนุษย์ให้เข้มแข็ง อย่างไรก็ตามผู้บริหารและภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนางาน ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุนความร่วมมือการบูรณาการงานยุทธศาสตร์สุขภาพที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและ คุณภาพชีวิตของประชาชนตลอดช่วงชีวิต เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข อัตรา...

อัตรากำลัง จำนวนข้าราชการ จำนวนพนักงานจ้างตามภารกิจ

1คน 1คน

งานส่งเส

1.ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส 2. สร้างและพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส 3. สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพระราชดําริด้านสาธารณสุข 4. สร้างกระแสการออกกำลังกายของประชาชนในเขตเทศบาล

1. ส่งเ 2. พัฒ ที่เหม 3. ทด

-73-

สริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต

นางสาวศิริจติ ร์วรรณวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

นายนัฐวัฒน์ รัตนบุรี ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข

เสริมสนับสนุนกลุม่ /ชมรมออกกำลังกาย ฒนาทักษะ/ส่งเสริมความรู้ดา้ นการส่งเสริมพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย มาะสมแก่ประชาชน ดสอบสมรรถภาพร่างกายประชาชน

-74-

การดำเนินงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต กับ ยุทธศาสตร์เทศบาลนครระยอง และสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านส่งเสริมและสนับสนุนการ พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนที่กำหนดกรอบการดำเนินงานสำคัญตามการจัดบริการสาธารณะขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น แผนยุทธศาสตร์สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมและเทศบาลนครระยอง ที่สอดคล้องกับ นโยบายเทศบาลนครระยอง และส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือการบูรณาการยุทธศาสตร์สุขภาพภายใต้บริบท สร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลนครระยองตลอดช่วงชีวิต ยุคแห่งการระบาดของโรคโควิด -19 ปีงบประมาณ 2565 งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตจำเป็นต้องดำเนินงานตามภารกิจควบคู่กับการป้องกันและการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไร ก็ตามการดำเนินงานทุกโครงการทุกกิจกรรมจำเป็นต้องปรับแผน เนื่องจากไม่สามารถดำเนินงานตามแผนที่ กำหนดภาคีเครือข่ายและผู้บริหารต่างเห็นความสำคัญเช่นกันโดยให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งและ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการลดปัจจัยเสี่ยงสร้างปัจจัยเอื้อกับสุขภาพของสังคม ชุมชน และ ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง สามารถป้องกันตนเองลดการแพร่เชื้อและสามารถดำรงชีวิตเฉกเช่นภาวะปกติซึ่ง เป็นการดำรงชีวิตรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 เพื่อให้การส่งเสริมสุขภาพมีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนา ที่ย ั่งยืน (SustainableDevelopment Goals หรือ SDGs) ด้านการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good health and well-being) และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

-75ความเชื่อมโยงการดำเนินงานงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามยุทธศาสตร์เทศบาลนครระยอง และสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ยุทธศาสตร์ 6. เสริมสร้างสุขภาวะที่ดีและพัฒนามาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขอย่างเป็นระบบในทุกด้าน 7. เสริมสร้างสังคมคนดีและสังคมแห่งการมีส่วนร่วม เป้าประสงค์

ประชาชนมีสุขอนามัยและสุขภาวะที่ดี ประชาชนมีอายุยืนเพิม่ ขึ้น สังคมที่น่าอยู่อบอุ่นประชาชนมีส่วนร่วม

กลยุทธ์

พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพประชาชน

2. ผู้สูงอายุ( 60 ปีขึ้นไป)

กลุ่มเป้าหมาย

1.เด็ก/เยาวชน /สตรี / ผู้ด้อยโอกาส

สนับสนุนและรองรับสังคมผู้สูงอายุ

กิจกรรม/ โครงการ

1. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ กลุ่มเด็ก/เยาวชน /สตรี / ผู้ดอ้ ยโอกาส ในชุมชน 2. ให้คำปรึกษาแนะนำให้การ ช่วยเหลือเยียวยาจิตใจเด็ก/เยาวชน / สตรี / ผูด้ ้อยโอกาสที่ได้รับผลกระทบ ทางจิตใจ

1. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุในชุมชน 2. ให้คำปรึกษาแนะนำให้การช่วยเหลือ เยียวยาจิตใจผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบทาง จิตใจ 3.สนับสนุนการสร้างกลุ่มสุขภาพผู้สูงอายุ ตามบริบทพืน้ ที่

พัฒนาเครือข่ายในชุมชนให้เข้มแข็งมีส่วนร่วม ในการจัดบริการสาธารณะ 3.เครือข่ายในชุมชน 1. สร้าง/สนับสนุนความเข้มแข็งของ เครือข่ายสุขภาพเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ 2. สร้าง/พัฒนาความยั่งยืนของกลุ่ม/ชมรม สร้างสุขภาพ

-76-

ผลการดำเนินงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ มนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศชาติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ประเทศไทยให้ความสำคัญในการพัฒนาประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง คุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นสิ่ง ที ่ ต ้ อ งได้ ร ั บ การดูแ ลและพั ฒ นา เพราะถ้ า ประชาชนมี ค ุณ ภาพชี ว ิ ตที ่ ด ีก ็ จะสามารถพั ฒ นาครอบครั ว และ ประเทศชาติให้มั่นคงการพัฒนาสุขภาพจิตเปรียบได้กับการพัฒนาชีวิต ซึ่งการพัฒนาชีวิตเพื่อการฝึกฝนทั้งทาง ร่างกายและจิตใจ ในการอบรมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษา ชีวิต ครอบครัว และสังคมการเป็นอยู่โดยสันติสุข จากสถานการณ์การแพรระบาดของโควิด- 19 สงผลกระทบตอ ประชาชนทั้งดานเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพกายและ สุขภาพจิต ดังนั้นการดําเนินงานสงเสริมและปองกันปญหา สุขภาพจึงจําเปนอยางยิ่งที่จะตองมีการบูรณาการมาตรการ การปองกันปญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตเขา ด วยกัน การดําเนินงานปองกันโรคจําเปนตองใชกลยุทธที่ทําใหชุมชนมีความเขาใจการปองกันโรค มีวิธีรับ ข อมูลขาวสารที่ถูกตอง ที่สําคัญคือการดูแลใจชวยเหลือซึ่งกันและกัน ในชุมชน เพื่อใหเกิดความมั่นใจในดาน ความ ปลอดภัยในชุมชน ลดความตื่นตระหนกและคอยๆฟนฟูใหคนในชุมชนสามารถกลับมาดําเนินชีวิตไดตามปกติ เพื่อ สรางภูมิคมุ กันทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ดำเนินการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพควบคู่กับการ เฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด- 19 ซึ่งวิกฤตจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา ได้ส่งผลกระทบต่อคนทั้งในด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ และด้วยเงื่อนไขของโรคโควิด - 19 ทำให้ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งต้องเผชิญกับโรคภัยเพีย งลำพัง ญาติพี่น้อง และครอบครัวไม่สามารถดูแลเข้าเยี่ยมผู้ป่วยได้อย่าง ใกล้ชิด ทำได้เพียงดูแลกันผ่านทางโทรศัพท์ หรือบางราย อาจไม่มีโอกาสในการสื่อสาร พูดคุยกันเลย ตั้งแต่ผู้ปว่ ย เริ่มป่วยและเข้ารับ รักษาในโรงพยาบาลจนถึงในช่วงสุดท้ายของชีวิต เป็นการเสียชีวิตแบบกะทันหัน ไม่มีโอกาส เห็นหน้า พูดคุย โอบกอด ล่ำลากัน โดยดำเนินการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต ผ่าน กิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกลุ่มเด็ก/เยาวชน /สตรี / ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน 2. ให้คำปรึกษาแนะนำให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจเด็ก/เยาวชน /สตรี / ผู้ด้อยโอกาสที่ได้รับผลกระทบ ทางจิตใจ ผลผลิตและผลลัพธ์ 1. กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพประชาชนที่ติดเชื้อ/เสี่ยงสัมผัสติดเชื้อโรคโควิด-19 ปีงบประมาณ 2565 งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค โควิด-19 ประชาชนตำบลปากน้ำร่วมกับการดำเนินงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพประชาชนที่ติดเชื้อ/เสี่ยง สัมผัสติดเชื้อโรคโควิด -19 เน้นการดูแลสุขภาพจิตใจ (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม –30 ธันวาคม 2564)และ ประชาชนในชุมชนเขต 3 จำนวน 7 ชุมชน (ระหว่างวันที่ 20 มกราคม - 25 พฤษภาคม 2565) ร่วมกับการ ดำเนินงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพประชาชนที่ติดเชื้อ/เสี่ยงสัมผัสติดเชื้อโรคโควิด -19 เน้นการดูแล สุขภาพจิตใจ เศรษฐกิจ การอยู่ร่วมกันในสังคม โดยประเมินสุขภาพใจผู้ได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วยและ เสี่ยงติดเชื้อโควิด -19จำนวน 43 ราย พบว่า เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า จำนวน 8 ราย โดยมีความคิดฆ่าตัวตาย จำนวน 1 ราย เนื่องจากประสบปัญหาการติดเชื้อโควิด -19 ครั้งที่ 2 รายได้ลดน้อยลงและปฐมพยาบาลทางด้าน จิตใจ (Psychological First Aids) ผ่านทางโทรศัพท์ จำนวน 1,476 ราย จำแนกเป็น 1.1.ผู้ปว่ ย...

-771.1 ผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 940 ราย 1.2 ผู้สัมผัสผู้ป่วยเสี่ยงติดเชื้อสูง จำนวน 536 ราย 2.กิจกรรมให้คำปรึกษา คำแนะนำให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วย และเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่เพียงแต่ ส่งผลกระทบด้านสุขภาพเท่านั้นยังส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อทุกคนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะบุคคล และครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากจนหรือเป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเจ็บป่วยจากไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) เด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ แรงงานนอกระบบ คนไร้บ้าน แรงงานข้ามชาติจะได้รับ ผลกระทบในระดับที่รุนแรงกว่ากลุ่มคนทั่วไปในสังคมนอกจากนี้กลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่สามารถที่จะรับมือและจัดการ กับสถานการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ด้วยลำพังตนเอง ในสภาวะเช่นนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานต่างๆ ต้องให้การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเหล่านี้โดยเร่งด่วน เพียงพอ และครอบคลุมความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจทำให้ เกิดความเครียดในคนทุกกลุ่ม งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิต เป็นอย่างยิ่ง โดยได้บูรณาการการสนับสนุนช่วยเหลือทางสุขภาพจิต ที่มุ่งดูแลสุขภาพจิตใจควบคู่ไปกับการดูแล สุขภาพกายของผู้ป่วย ผู้ที่ถูกกักตัว ประชาชนทั่วไป การดูแลสุขภาพจิต จะช่วยบรรเทาความเครียด วิตกกังวล ของครอบครัวที่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤต ช่วยเหลือผู้ป่วยที่รักษาหายและครอบครัวของพวกเขาให้สามารถกลับมา ใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ป้องกันโรคทางจิตเวชที่อาจจะเกิดมาจากการถูกตีตรา และช่วยเหลือประชาชนทั่วไปให้ สามารถรับมือกับสภาวะอารมณ์ด้านลบจากการต้องกักกันตนเองอยู่แต่ในบ้านเป็นเวลานานเพี่อให้ให้ผ่านพ้น ช่วงเวลาที่ยากลำบากนั้นไปด้วยกัน โดยดูแลคุณภาพชีวิตผู้ได้รับผลกระทบจากการเจ็ บป่วยและเสี่ยงติดเชื้อโค วิด-19 ด้านอาหารจำนวน 296 ราย ให้คำแนะนำ/ ให้คำปรึกษารายบุคคลหรือครอบครัวทางโทรศัพท์ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในชุมชนปากน้ำ 2 และชุมชนใกล้เคียง ระหว่างวันที่ 2-14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทำให้เกิดบทเรียนการตีตราทางสังคม ประชาชนซอย 13 ถนนอารีราษฎร์ เนื่องจาก ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคโควิด -19 เป็นโรคใหม่และมีหลายอย่างที่ประชาชนยังไม่รู้เกี่ยวกับโรคนี้เกิดความ กลัวสิ่งที่ไม่รู้บางคนมีความสับสน ความวิตกกังวลและความหวาดกลัวเกิดขึ้นในสังคม ซึ่งได้ทําลายความสมัคร สมานในสังคมซอย 13 ถนนอารีราษฎร์ ทําให้เกิดการแยกตัวทางสังคมของกลุ่มคนราษฎร์ เกิดการแบ่งแยกมีการ ใช้เชือกกั้นไม่ประชาชนเดินทางสัญจรไปมา ผลที่ตามมาคือปัญหาสุขภาพที่รุนแรงขึ้นและการควบคุมการระบาดที่ ยากลําบากขึ้นๆทำให้ขยายไปยังชุมชนใกล้เคียง ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ในชุมชนปากน้ำ 2 และชุมชนใกล้เคียงในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 71 ราย จำแนกเป็น 1. ผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 40 ราย 2. ผู้สัมผัสผู้ป่วยเสี่ยงติดเชื้อสูง จำนวน 31 ราย 2.1 กลุ่มเปราะบางจำนวน 22 ราย ได้แก่ เด็ก จำนวน 14 ราย คนพิการ จำนวน 2 ราย ผู้สูงอายุ จำนวน 5ราย คนเร่ร่อน จำนวน 1 ราย 2.2 ประชาชนทั่วไป จำนวน 9 ราย งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้ดำเนินการเสริมสร้างพลังใจให้มีวัคซีนชีวิตในการเผชิญกับปัญหา หรือวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในชุมชนทั้งรายบุคคลและครอบครัว ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ให้คำแนะนำการปฏิบัติ ตัวเมื่ออยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อระหว่างรอเข้ารับการรักษาตัว ให้กำลังใจแก่ผู้ที่ถูกกักตัว เปิดโอกาสให้แสดงความรู้สึก และ...

-78และระบายความในใจเพื่อจัดการป้องกัน แก้ไขปัญหาจนสามารถก้าวข้ามปัญหาไปได้ฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติใน เวลาอันรวดเร็วเมื่อกลับ มาพักฟื้น ที่บ้าน ให้คำแนะนำเน้นปฏิบัติตามการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 แบบ ครอบจักรวาล (Universal Prevention For Covid-19) การดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นภายในบ้าน แนะนำว่ า ให้ พยายามหลี ก เลี่ ย งการพู ด ถึ ง เรื่ อ งเครี ย ดและเปลี่ ย นไปคุ ย กั น ในเรื่ อ งทั่ ว ไป ไถ่ ถ ามสารทุ ก ข์ สุ ข ดิ บ ของคน รอบข้ า งบ้ า ง แม้ จ ะดู เ ป็ น เรื่ อ งเล็ ก น้ อ ย แต่ สิ่ ง เหล่ า นี้ จ ะช่ ว ยคลายความรู้ สึ ก โดดเดี่ ย วและบรรเทาจาก ความเครี ย ดของตัว เราเองและคนรอบข้ า งได้ และประสานงานสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม ลงพื้นที่ ดำเนิน การช่ว ยเหลือผู้ได้ร ับผลกระทบโรคโควิด - 19 สำหรับครอบครัว ที่ประสบภัย ในรายเด็กได้ส นับสนุน อุปกรณ์เสริมพัฒนาการแก่เด็ก ได้แก่ สมุดระบายสี ของเล่นสำหรับเด็กตามวัย แนวทางการแก้ไข&โอกาสพัฒนา 1. ควรมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดูแลตนเองและการอยู่ร่วมกันบุคคลที่หายป่วยจากโรคโควิด19 ทั้งด้านป้องกันโรค การรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 ที่เข้าใจง่ายและปรับเจตคติได้จริงส่งเสริมสุขภาพทาง กายและใจ สร้างความตระหนักแต่ไม่ตระหนกต่อโรคโควิด-19 เพื่อรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน 2. ดำเนินการประสานผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการสร้างวัคซีนใจในชุมชนปากน้ำ 2 เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกัน ชุมชน โดยใช้ศักยภาพและสายสัมพันธ์ในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนต่อไป

3.กิจกรรม...

-793. กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนที่มีปัญหาด้านสุขภาพและผลกระทบทางจิตใจ งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตร่วมกับงานสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคมในการให้ ความรู้และคำแนะนำแก่ประชาชนที่มีปัญหาด้านสุขภาพและผลกระทบทางจิตใจ ได้แก่ การขาดนัดพบแพทย์ ถูก กระทำความรุนแรงทางจิตใจ ขาดความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายเนื่องจากสภาพแวดล้ อมไม่เหมาะสม จำนวน 15 ราย จำแนกเป็น 3.1 เด็ก จำนวน1 ราย สาเหตุถูกกระทำความรุฯแรงจากมารดาที่ติดยาเสพติด แนะนำครูและชุมชนใน การสอดส่องดูแล แจ้งเหตุเมื่อเกิดความรุนแรง 3.2 สตรี จำนวน 3 ราย สาเหตุ - ขาดการเข้าถึงบริการสาธารณสุข จำนวน 2 ราย เนื่องจากเจ็บป่วยด้วยมะเร็งปากมดลูก ขาด การรักษา 4 ปี ให้คำแนะนำด้านขั้นตอนการเข้าถึงศูนย์มะเร็งจังหวัดชลบุรี และการส่งต่อจากโรงพยาบาลระยอง - ได้รับผลการทบทางจิตใจ จำนวน 1 ราย เนื่องจากถูกพลัดพรากบุตรไปอยู่บ้านพักเด็ก จังหวัด ระยอง เนื่องจากบ้านรก ไม่สะอาด มีขยะเต็มบ้าน ไม่ถูกสุขอนามัย เด็กมีพัฒนาการไม่สมวัย ให้คำแนะนำเบื้องต้น เกี่ยวกับการทำความสะอาดบ้าน ประเมินความเครียด ภาวะซึมเศร้า แนะนำช่องทางการสื่อสารกับบุตร พบ จิตแพทย์เพื่อยืนยันว่าเป็นผู้มีสุขภาพจิตปกติสามารถเลี้ยงดูบุตรได้ แจ้งแนวทางการดูแลเด็ก ให้ข้อมูลแก่จิตแพทย์ และวางแผนการเยียวยาจิตใจสตรีที่ได้รับผลกระทบ 3.3 ผู้ด้อยโอกาส จำนวน 3 ราย สาเหตุ - ปัญญาอ่อน จำนวน 1 ราย เนื่องจากมีพฤติกรรมและอารมณ์ทำร้ายบุคคลในครอบครัว แนะนำปรับการเลี้ยงดู ลดการใช้มือถือ ส่งต่อข้อมูลสุขภาพจิตแก่เจ้าหน้าที่คลินิกจิตเวช - จิตเภทแบบหวาดระแวงมีอาการหลอนทางตาและหู เนื่องจากมีอาการหลอนและทำร้ายข้าว ของบ้านข้างเคียง ติดตามอาการและการกินยาหลังออกจากโรงพยาบาลระยอง ส่งต่อจิตแพทย์เพื่อปรับการรักษา จากยากินเป็นยาฉีดเดือนละ 1 ครั้ง - มีอาการทางจิตร่วมกับได้รับผลกระทบทางจิตใจ (บ้านไฟไหม้) จำนวน 1 ราย เนื่องจากมี อารมณ์แปรปรวนและจะทำร้ายผู้อื่นที่ส่งเสียงดังหรือวิ่งรถผ่านไปมา ประสานผู้นำชุมชนและประสานนัดจิตเวช ฉุกเฉิน 3.4 ผู้สูงอายุ จำนวน 8 ราย สาเหตุ - สมองเสื่อม จำนวน 1 ราย กิน นอนอยู่บนกองขยะเป็นระยะเวลานานหลายปี ประสาน โรงพยาบาลระยองเพื่อเข้ารับการรักษาอาการ ให้คำแนะนำแก่ญาติเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวทางการรักษา - เครียดและอยากฆ่าตัวตาย จำนวน 3 รายเนื่องจากเป็นหนี้นอกระบบ ถูกโกงเงิน ไม่มีงานทำ เนื่องจากได้รับอุบัติเหตุสะโพกหัก ประเมินความเครียด ภาวะซึมเศร้า -ผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียง จำนวน 4 ราย ขาดการออกกำลังกายจากสภาพร่างกาย แนะนำ การบริหารร่างกายเฉพาะส่วนและให้คำแนะนำญาติในการฝึกบริหารร่างกาย

ภาพ...

-80-

5. กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง ภายหลังวันที่ 1 กรกฎคม 2565 ที่มีการประกาศปลด Lock Down การแพร่ระบาดโรคโควิด -19เริ่ม คลี่คลายลง ทำให้ผู้คนสามารถออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติกันมากขึ้น แต่ยังต้องอยู่ภายใต้ข้อปฏิบัติและมาตรการ ที่เข้มงวดทางสังคมที่จะต้องทำร่วมกันหรือที่เรียกว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบ New Normal เพื่อป้องกันไม่ให้มี การแพร่ระบาดครั้งใหม่เกิดขึ้นซึ่ง โรคโควิด-19 ทำให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบกระทันหันนั้นได้ส่งผล กระทบหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ที่เป็นบุคคล ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่น ได้แก่ ครอบครัวยากจนที่มีเด็กเล็ก แม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้...

-81ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง จำเป็นต้องร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิต งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตได้ดำเนินการส่งเสริมคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง 2 กลุ่ม คือกลุ่มเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ผลผลิตและผลลัพธ์ 1. ให้ ความรู้ผู้ ป กครองเกี่ย วกับ การเสริมสร้างความผูกพันทางอารมณ์ด้ว ย “กิน กอด เล่น เล่ า” แก่เครื อข่ายผู้ ป กครองศูนย์พัฒ นาเด็กเล็ กวัดป่าประดู่ 1 จำนวน 38 คน

2. ส่งเสริมสุขภาพกายและสร้างสุขภาพจิตแก่ผู้สู งอายุ 2.1 ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพกาย โดยดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายแก่ผู้สูงอายุในเขต เทศบาลนครระยอง จำนวน 42 คน โดยจัดออกกำลังกายด้วยยางยืดเพื่อลดระดับความตึงตัวของกลุ่มกล้ามเนื้อที่ ถูกยืดและเพิ่มความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ ฝึกทักษะตาราง 9 ช่องเพื่อฝึกสมอง เพิ่มการทรงตัวและความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อขา ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 30 กันยายน 2565 ทุกวันจันทร์ –พุธ เวลา 15.30-16.30 น. ณ สวนศรีเมืองเฉลี่ยผู้ออกกำลังกายวันละ 25 คน ระดับความพึงพอใจของการเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 95.15 มีการ นำไปใช้ความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติต่อที่บ้าน ร้อยละ 95.15

-82-

2.2 ส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ จำนวน 22 คน ด้วยกิจกรรมแรลลี่สุขภาพจิต พาผู้สูงอายุ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ สถานที่สำคัญในเขตเทศบาลนครระยอง กิจกรรมสุขสง่าเสริมสร้างคุณค่าในตนเองและ ผู้อื่น มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ระดับความพึงพอใจของการเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ93.45

การดำเนินงานสนับสนุนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ เป็นกระบวนการในการเพิ่มความสามารถให้กับบุคคลเพื่อให้สามารถ ควบคุมและพัฒนาสุขภาพของตนเองได้ กฎบัตรออตตาวากลายมาเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้โลกเริ่มมีมุมมองต่อ การ ดูแลสุขภาพกว้างขึ้น จากเดิมที่มองว่าเราจะมีสุขภาพดีได้ต้องดูแลตัวเอง มองว่าคนเราจะมีสุขภาพดีได้ไม่ได้ขึ้ นอยู่ กับแค่ตนเองเท่านั้น แต่สังคม สภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ชุมชน สถานที่ทำงานต่างก็มีผลต่อสุขภาพ ทั้งสิ้น ดังนั้น การจัดการสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืน (Sustainable Community Health Management) จึงเป็น เรื่องของการจัดการทั้งหมดที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของบุคคลในชุมชน และถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคม ไม่เพียง...

-83ไม่เพียงแต่จำกัดอยู่ในส่วนของการทำนุบำรุงสุขภาพ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การวินิจฉัยโรค และการ รักษาพยาบาลเท่านั้น แต่การจัดการสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นการพัฒนาที่มุ่งให้เกิดการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ของชุมชน ที่มีการดำเนินการควบคู่ไปกับการปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในชุมชนให้เอื้อต่อการมีสุขภาพ ดี มีความเข้มแข็งสามารถดูแลสุขภาพของตนเองตามวิธีการที่กำหนดขึ้นเองของชุมชน ดำเนินการเองได้โดยชุมชน และประเมินผลโดยชุมชน ในขณะที่บุคคล องค์กรหรือนักพัฒนาจากภายนอก มีหน้าที่เพียงให้การส่งเสริมและ สนับ สนุนกลไกต่างๆ ที่เอื้อต่อการทำงานหรือพัฒนาสุขภาพให้มีความเชื่อมโยงกับการปฏิบัติการและการ ประสานงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมและยั่ งยืน งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์เทศบาลนครระยองด้านสังคมที่น่าอยู่อบอุ่นประชาชนมีส่วนร่วม โดยเสริมสร้างความ เข้มแข็งของชุมชน กลุ่ม/ชมรมสร้างสุขภาพให้มีส่วนร่วมในการการดูแลคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของประชาชน ผ่านการดำเนินงานต่างๆ ดังนี้ - สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขของชุมชน - สร้าง/สนับสนุนความเข้มแข็งของกลุ่มออกกำลังกาย 1. สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขของชุมชน เทศบาลนครระยอง (สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม) ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานโครงการ พระราชดำริด้านสาธารณสุข โดยได้ร ับ การจัดสรรงบประมาณ เงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป สำหรับการ ดำเนินงานตามแนวทางโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวน 29 ชุ ม ชน ชุ ม ชนละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) จำนวนเงิ น ทั้ ง สิ้ น 580,000 บาท (ห้าแสนแปดหมื่น บาทถ้ว น) และแจ้งให้แต่ละชุมชนจัดทำประชาคมในชุมชน ซึ่งมีชุมชนที่ ประสงค์ขอรับงบประมาณสำหรับการ ดำเนิน การโครงการฯ จำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนเรือนจำชุมชนวัดป่าประดู่ 1 และชุมชนเรือนจำ รวมเป็น เงินจำนวน 60,000 บาท (หกหมื่นบาทถ้วน) ดังนี้ - โครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ชุมชนก้นปึก-ปากคลอง -โครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ชุมชนเรือนจำ -โครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ชุมชนวัดป่าประดู่ 1 ทั ้ ง นี ้ โ ครงการฯดั ง กล่ า วเป็ น ภารกิ จ ที ่ อ ยู ่ ใ นอำนาจหน้ า ที ่ ท ี ่ ช ุ ม ชนที ่ ข อรั บ เงิ น อุ ด หนุ น (ระเบี ย บ กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยคณะกรรมการชุม ชนของเทศบาล พ.ศ. 2564 ข้อ 20 คณะกรรมการชุมชนมีหน้าที่ ในการจัดทำแผนและพัฒนาชุมชนการแก้ไขปัญหาและสร้างความสามัคคีของประชาชนในชุมชนส่งเสริมให้ ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการของเทศบาลและมีหน้าที่ช่วยเหลือเทศบาลในการปฏิบัติงานตาม อำนาจหน้ า ที ่ ก ารจั ด บริ ก ารสาธารณะในชุ ม ชนและปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ อ ื ่ น ตามที ่ เ ทศบาลมอบหมายหรื อ กระทรวงมหาดไทยกำหนด) และหน้าที่ของเทศบาลนครระยองผู้ให้เงินอุดหนุนตามกฎหมาย ชุมชนที่ขอรับเงิน อุดหนุนได้จัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการชุมชน จำนวน 3 คน กับเทศบาลนครระยอง ซึ่งดำเนิน โครงการฯโดยมีคณะทำงานติดตามประเมินผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนติดตามผลการดำเนินงานจนแล้วเสร็จและ รายงานผลการดำเนินโครงการฯให้เทศบาลนครระยองทราบเรียบร้อยแล้ว การดำเนินโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขของเทศบาลนครระยอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นการนำหลักการทรงงานและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อันเกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับสภาพสังคมของ ประเทศ...

-84ประเทศชาติ และวิถีชีวิตของประชาชนชาวไทยสามารถสร้างความสุขที่ยั่งยืนได้หากทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจ กัน อีกทั้งยังเป็นแนวทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย ทำให้ชุมชนที่ได้ดำเนินการโครงการพระราชดำริด้าน สาธารณสุขเกิดกระบวนการเรียนรู้และเห็นความสำคัญมีความตั้งใจมาปรับใช้ในการพัฒนาประชาชนในชุมชน งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ประเมินผลโครงการ พระราชดำริด้านสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 และถอดบทเรียนผลการดำเนินงานจากการเป็น ผู้ให้คำปรึกษาหารือแก่ชุมชนที่ประสงค์ขอรับงบประมาณ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน นำหลัก ทรงงานและเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป ดังนี้ 1. สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน คือเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องของชุมชนได้เข้ามามี ส่วนร่วมกับโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนี้ 1.1 การให้ข้อมูลข่าวสาร เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในเรื่องโครงการ พระราชดำริด้านสาธารณสุข โดยแจกเอกสารสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการตามโครงการพระราชดำริ ด้านสาธารณสุขขององค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 และเสริมสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุขที่พบบ่อยในชุมชน ทางเลือกและทางแก้ไข 1.2 การรับฟังความคิดเห็น เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงและ ความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินงานโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขด้วย การรับฟังความ คิดเห็นในการจัดประชาคมของชุมชน 1.3 การเกี่ยวข้อง เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมเสนอแนะทางที่ นำไปสู่การตัดสินใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าข้อมูลความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนจะถูก นำไปพิจ ารณาเป็น ทางเลือกในการมีความประสงค์ขอรับงบประมาณดำเนินงานโครงการพระราชดำริด้าน สาธารณสุข 1.4 ความร่วมมือ ผู้ให้คำปรึกษาหารือจะเป็นหุ้นส่วนกับกลุ่มประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ของการตัดสินใจ ตั้งแต่การระบุปัญหา พัฒนาทางเลือกและแนวทางแก้ไข และให้ชุมชนมีการดำเนินกิจกรรม ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่น คณะกรรมการชุมชนร่วมเป็นกรรมการในการขอรับเงินอุดหนุน ตั้งแต่การเขียนโครงการ ทำบันทึกข้อตกลง ดำเนินงานและรายงานผลโครงการฯ 1.5 การเสริมอำนาจแก่ประชาชน โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจว่ามีความประสงค์หรือไม่ ประสงค์ขอรับงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไป เพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานตามแนวทางโครงการพระราชดำริดา้ น สาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2565 และมอบอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมดว่าจะดำเนิน โครงการฯเรื่องใด 2. เป็นผู้สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการชุมชน เพราะขีดความสามารถของแต่ละคนต่างกัน เพื่อที่จะให้คณะกรรมการชุมชนได้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยจะร่วมกันวางแผน ร่วมดำเนินงาน ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมรับผลของการจัดกิจกรรมหรือโครงการฯที่เกิดขึ้น ปัญหาอุปสรรคในการตัดสินใจดำเนินงานโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข 1. คณะกรรมการชุมชนขาดประสบการณ์ องค์ความรู้ในการดำเนินงานพระราชดำริ ด ้ า น สาธารณสุข เนื่องจากเป็นคณะกรรมการชุมชนชุดใหม่ 2. คณะกรรมการชุมชนขาดความมั่นใจ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเ ชื้อ ไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19 ) แนว...

-85แนวทางการแก้ไข 1. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพระราชดำริด้านสาธารณสุข เพื่อเปิดโอกาสให้คณะกรรมการ ชุมชนในการตัดสินใจสร้างกำลังใจในการจัดทำสรุปรายละเอียดเอกสารประกอบการเบิกจ่ายของโครงการรวมทั้ง ขั้นตอน และวิธีการเบิกจ่ายสำหรับชุมชนที่ขอรับงบประมาณ 2. สร้างความเชื่อมั่นแก่ชุมชนโดยการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วม รับฟัง คว าม คิดเห็นและข้อเสนอแนะของชุมชน และเสนอแนะรูปแบบกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาและบริบท ของชุมชนที่ลดการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อตัดสินใจขอรับงบประมาณเงินอุดหนุนต่อไป แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข 1. จัดทำคู่มือ /ขั้นตอนการปฏิบัติงานโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขให้แก่ชุมชน 2. จัดทำตารางกำหนดเวลาและติดตามการปฏิบัติงานโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขเป็น ระยะๆ เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ถอดบทเรียนผลการดำเนินการโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ชุมชนก้นปึก-ปากคลอง 1.ชื่อโครงการ สร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2.พระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 3.วันที่มีพระราชดำริ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2505 โดยมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้นเป็นครั้งแรกใน ประเทศไทย 4. ผู้รับผิดชอบคณะกรรมการชุมชนก้นปึก-ปากคลอง 5.ลักษณะโครงการโครงการใหม่สำหรับชุมชน 6.ประโยชน์ของโครงการผู้สูงอายุจำนวน 31 คน ได้รับการเสริมสุข 5 มิติ โดยมีกิจกรรมสุขสบาย การ ออกกำลังกายด้วยผ้าขนหนู กิจกรรมสุขสว่าง การบริหารสมอง กิจกรรมสุขสง่า เทคนิคการสร้างคุณค่าในตนเอง กิจกรรมสุขสนุก การได้เปิดโลกทัศน์แรลลี่สุขภาพจิต ลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ กิจกรรมสุขสงบ ฟังธรรมะการ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและจัดการอารมณ์ ทำให้สามารถนำไปใช้ในชี วิตประจำวันส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมี การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนจำนวน 4 คน และเจ้าหน้าที่เทศบาลนครระยอง จำนวน 6 คน 7. วันเดือนปีที่เริ่มดำเนินการ วันที่ 26 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2565 และเสร็จสิ้นเรียบร้อย เมื่อวันที่ 26 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2565 8.จุดเด่นของโครงการ (Project Highlights) 8.1เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ชุมชนก้นปึก -ปากคลองประสบภายหลังสถานการณ์การ แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด -19) ทำให้ประชาชนมีภาวะความเครียดผู้เข้าร่วมโครงการได้ เปิดโลกทัศน์ 8.2 โครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเป็นโครงการพระราชดำริที่ช่วยให้ประชาชน (ผู้สูงอายุ)สามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพและความสามารถ “พึ่งตนเอง”ได้ภายหลังการได้รับความรู้เมื่อเสร็จสิ้น โครงการ 8.3 เป็นโครงการที่ส่งเสริมความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุและสามารถนำผลไปปฏิบัติได้จริง

9.ปัจจัย...

-869.ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ (Key Success Factor) 9.1 มีการนำหลักทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร 1. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบโดยมีการนำข้อมูลปัญหาสาธารณสุขของ ชุมชน ทั้งสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สาธารสุขและประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริง อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามเป้าหมาย 2. ระเบิดจากภายในพระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่า“ต้องระเบิดจาก ข้างใน” ซึ่งชุมชนก้นปึก-ปากคลองเริ่มพัฒนาโครงการฯจากคน(ผู้สูงอายุ)ที่เกี่ยวข้องก่อน โดยสร้างความเข้มแข็ง จากภายในให้เกิดความเข้าใจและอยากทำ ไม่ใช่การสั่งให้ทำ ซึ่งมีการประชุมคณะกรรมการชุมชน เพื่อให้ทราบถึง เป้าหมายและวิธีการต่อไป 3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก ชุมชนมองปัญหาภาพรวมของโครงการพระราชดำริ ด ้ า น สาธารณสุข ว่ า กิ จ กรรมบางเรื่ อ งมี อ าสาสมั ค รสาธารณสุ ข ดำเนิ น การคั ด กรองสุ ข ภาพเป็ น ประจำ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด -19) ประชาชนมีภาวะความเครียด จึงเริ่ม ลงมือแก้ปัญหานั้นจากจุดเล็กๆ คือกลุ่มผู้สูงอายุก่อน เมื่อสำเร็จแล้วจึงค่อยๆ ขยับขยายแก้ไปเรื่อยๆทีละจุด เรา สามารถเอามาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ โดยมองไปที่เป้าหมายใหญ่ของงานให้ลุล่วงไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 4. ทำตามลำดับขั้นเริ่มต้นจากการลงมือทำในสิ่งที่จำเป็นก่อน คือ การจัดทำประชาคม เพื่อให้ได้มติที่ประชุมว่ามีความประสงค์ขอรับงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไป งบประมาณ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) สำหรับการดำเนินงานตามแนวทางโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2565 และเขียน โครงการส่งให้เทศบาลนครระยองเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการฯ โดยมี ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสนับสนุ นการพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำ/ดำเนินการโครงการ พระราชดำริด้านสาธารณสุขฯร่วม และรายงานผลการดําเนินการโครงการและคืนเงินที่เหลือจ่ายภายใน 30 วัน นับแต่โครงการแล้วเสร็จ 5. ภูมิสังคม การดำเนินโครงการเป็นการรวมกลุ่มผู้สูงอายุที่มีนิส ัยใจคอตลอดจน วัฒนธรรมประเพณีที่มีลักษณะเดียวกัน ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขในคนในชุมชนเดียวกัน 6. ทำงานแบบองค์รวมคือการมองสุขภาพผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบทั้งด้านสุขภาพกาย จิตใจ และสังคม 7. ไม่ติดตำรามีการทำงานอย่างยืดหยุ่นกับสภาพและสถานการณ์นั้นๆ ไม่ใช่การยึดติด อยู่กับแค่ในตำราวิชาการ เพราะสิ่งที่ชุมชนทำโอบอ้อมต่อสภาพสังคมและจิตวิทยาของผู้สูงอายุ 8. รู้จักประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ชุมชนใช้หลักในการแก้ปัญหาด้วยความ เรียบง่ายและประหยัด จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เท่าที่จำเป็น โดยใช้งบประมาณ 14,192 บาท มีเงินคงเหลือคืน5,808 บาท 9. ทำให้ง่ายการดำเนินงานโครงการตามแนวพระราชดำริของชุมชนไปได้โดยง่าย ไม่ ยุ่งยากซับซ้อนและที่สำคัญ คือ สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนโดยรวม“ทำให้ง่าย”ขั้นตอนเดียว กลุ่มเป้าหมายเดียว ไม่มีขั้นตอนพิธีการแบบราชการ เช่น พิธีเปิด-ปิดโครงการ 10. การมีส่วนร่วมชุมชนเปิดโอกาสให้คณะกรรมการชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมใน การดำเนินงานโครงการตามแนวพระราชดำริด้านสาธารณสุข โดยจัดประชาคมชุมชน ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมี การประเมินความพึงพอใจร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย 11.ประโยชน์...

-8711. ประโยชน์ส่วนรวมคณะกรรมชุมชนยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ 12. ขาดทุนคือกำไร“การให้” และ “การเสียสละ” เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร จะเห็นได้จากผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับความสุข มีรอยยิ้ม 13.การพึ่งพาตนเองการดำเนินงานโครงการตามแนวพระราชดำริ เบื้องต้นเป็นการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้มีความแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป ซึ่งต่อไปการพัฒนาให้ ประชาชนในชุมชนจะช่วยให้สามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด 14.เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนมีการนำปรัชญาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระ ราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนิน ชีวิต ให้ดำเนินไปบน “ทางสายกลาง” เพื่อให้ผู้สูงอายุรอดพ้นและสามารถ ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลง 15.ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน คณะกรรมการชุมชนเป็นผู้ที่มีความสุจริตและ บริสุทธิ์ใจ แม้บางคนจะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มาก 16. ทำงานอย่างมีความสุขคณะกรรมการชุมชนทำงานโดยคำนึงถึงความสุขที่เกิดจาก การได้ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น จะเห็นได้จากคณะกรรมการชุมชนอำนวยความสะดวกและบริการแก่ผู้สูงอายุด้วย ความเต็มใจ 17.ความเพียร การเริ่มต้นทำงานของคณะกรรมการชุมชนอาจจะไม่ได้มีความพร้อม เนื่องจากเป็นคณะกรรมการชุดใหม่ จึงต้องอาศัยความอดทนและความมุ่งมั่นที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด เริ่มตั้งแต่การประชาสัมพันธ์และค้นหาผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ 18 รู้ รัก สามัคคี - รู้ คือ รู้ปัญหาสาธารณสุขของชุมชนเกี่ยวกับผู้สูงอายุและรู้วิธีแก้ปัญหาโดยการจัด โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ นั้น - รัก คือ เมื่อรู้ถึงปัญหาและวิธีแก้แล้ว คณะกรรมการชุมชนจึงมีความรัก ที่จะลงมือทำ ลงมือแก้ไขปัญหานั้น - สามัคคี คือ การแก้ไขปัญหาต่ างๆ ไม่สามารถลงมือทำคนเดียวได้ ต้องอาศัยความ ร่วมมือร่วมใจกัน จะเห็นได้จากการทำงานของคณะกรรมการชุมชน สมาชิกสภาเทศบาลนครระยองเขต 2 เจ้าหน้าที่เทศบาลนครระยอง 9.2 การมีส่วนร่วมของชุมชนหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ของโครงการ มีกระบวนการให้ประชาชน เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ปัญหาของชุมชน เน้นการมีส่วน ร่วมการเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแข็งขันของประชาชน และสนับสนุนการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 9.3 การทำงานเป็นทีม ของคณะกรรมการชุมชนและเจ้าหน้าที่ส าธารณสุขที่เป็นพี่เลี้ยงการ ดำเนินงานโครงการ 9.4 การได้รับทรัพยากรที่พอเพียงงบประมาณสนับสนุนชุมชนละ 20,000 บาท 9.5 การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารเทศบาลนครระยอง ที่อุดหนุนงบประมาณ สนับสนุน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการเป็นพี่เลี้ยงโครงการ สนับสนุนวิทยากร 10. ปัญหาอุปสรรค 10.1 การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึงทำให้ผู้สูงอายุที่สนใจแต่ไม่ได้ลงทะเบียนขอเข้าร่วมกิจกรรม แทนคนที่ไม่เข้าร่วม 10.2 การ...

-8810.2 การสื่อสาร เนื่องจากผู้สูงอายุที่มีปัญหาการอ่านและเขียนหนังสือ ทำให้บางรายไม่ได้ แสดงความคิดเห็นหรือทำแบบประเมินสุขภาพจิต 11. ข้อเสนอแนะ 11.1 คณะกรรมการชุมชนควรมีการวางแผนการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง 11.2 คณะกรรมการชุมชนควรมีส่วนร่วมกิจกรรมในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ มากหรือเป็นบัดดี้ ภาพกิจกรรมโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ชุมชนก้นปึก – ปากคลอง

กิจกรรมสุขสนุก

กิจกรรมสุขสบาย

กิจกรรมสุขสง่า

กิจกรรมสุขสว่าง

กิจกรรมสุขสงบ ถอด...

-89ถอดบทเรียนผลการดำเนินการโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนทีส่ มเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ชุมชนเรือนจำ 1.ชื่อโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ฯ 2.พระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 3.วันที่มีพระราชดำริ พ.ศ. 2510 4. ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการชุมชนเรือนจำ 5.ลักษณะโครงการโครงการต่อเนื่อง 6.ประโยชน์ของโครงการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงดานสุขภาพแก่ประชาชน กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 56 คน โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่จำนวน 5 คนเป็นผู้ ประเมินสัดส่วนร่างกายได้แก่ ซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดเส้นรอบเอว วัดความดันโลหิต มีเจ้าหน้ าที่ สาธารณสุขงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ตรวจระดับ น้ำตาลในเลือดและให้คำแนะนำรายบุคคลเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกรณีพบความเสี่ยงด้านสุขภาพ นอกจากนี้ประชาชนได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนด้านโภชนาการ เรื่อง“การป้องกันและ ควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน/กินอย่างไรห่างไกลโรค” มีการทดสอบสมรรถภาพความอ่อนตัวของ หัวไหล่ประชาชนและผู้สูงอายุเพื่อประเมินภาวะไหล่ติด และบรรยายและสาธิตการออกกำลังกายด้วยผ้าขนหนู มี คณะกรรมการชุมชนร่วมอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จำนวน 4 คน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 65 คน 7.วัน เดือนปีท ี่เ ริ่ ม ดำเนิ น การ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565 และเสร็จสิ้นเรียบร้อย เมื่อวั น ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565 8.จุดเด่นของโครงการ (Project Highlights) 8.1เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่ชุมชนเรือนจำ พบว่าประชาชนเป็นโรคติดต่อเรื้อรังและมี พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม 8.2 โครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ฯ เป็นโครงการพระราชดำริที่ช่วยให้ประชาชนสามารถอยู่ใน สังคมได้ตามสภาพและความสามารถ “พึ่งตนเอง”ได้ภายหลังการได้รับการตรวจสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับ พฤติกรรมที่เหมาะสมกับตนเองเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ 8.3 เป็นโครงการที่ส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนและสามารถรับได้ นำไปดำเนินการเองได้ และเป็นวิธีการที่ประหยัด สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นำความรู้ไปปฏิบัติได้จริง 9. ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ (Key Success Factor) 9.1 มีการนำหลักทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร 1. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบโดยมีการนำข้อมูลปัญหาสาธารณสุขของ ชุมชน ทั้งสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สาธารสุขและประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริง อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามเป้าหมาย 2. ระเบิดจากภายในพระองค์ทรงมุ่งเน้น เรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่า “ต้องระเบิด จากข้างใน” ซึ่งชุมชนเรือนจำเริ่มพัฒนาโครงการฯจากสุขภาพของประชาชนที่เกี่ยวข้องก่อน โดย สร้างความ เข้มแข็งจากภายในให้เกิดความเข้าใจและอยากทำ ไม่ใช่การสั่งให้ทำ ซึ่งมีการประชุมคณะกรรมการชุมชน เพื่อให้ ทราบถึงเป้าหมายและวิธีการต่อไป 3.แก้...

-903. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก ชุมชนมองปัญหาภาพรวมของโครงการพระราชดำริ ด ้ า น สาธารณสุข ว่าการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่เป็นโครงการเชิงรุก ที่มีอาสาสมัครสาธารณสุขและคณะกรรมการชุมชน สามารถดำเนินการได้ จึงเริ่มลงมือแก้ปัญหานั้นจากจุดเล็กๆ คือประชาชนวัยทำงานถึงวัยผู้สูงอายุ เมื่อสำเร็จแล้ว จึงค่อยๆ ขยับขยายแก้ไปเรื่อยๆ ทีละจุด ทำให้ชุมชนสามารถเอามาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ต่อไป โดยมองไป ที่เป้าหมายใหญ่ของงานให้ลุล่วงไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 4. ทำตามลำดับขั้นเริ่มต้นจากการลงมือทำในสิ่งที่จำเป็นก่อน คือ การจัดทำประชาคม เพื่อให้ได้มติที่ประชุมว่ามีความประสงค์ขอรับงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไป งบประมาณ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) สำหรับการดำเนินงานตามแนวทางโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2565 และเขียน โครงการส่งให้เทศบาลนครระยองเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการฯ โดยมี ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำ/ดำเนินการโครงการ พระราชดำริด้านสาธารณสุขฯร่วม และรายงานผลการดําเนินโครงการและคืนเงินที่เหลือจ่ายภายใน 30 วันนับแต่ โครงการแล้วเสร็จ 5. ภูมิสังคม การดำเนินโครงการเป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในชุมชนเรือนจำ มี นิสัยใจคอที่รู้จัก ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่มีลักษณะเดียวกัน ทำให้ประชาชนมีความสนใจที่จะเข้าร่วม โครงการ 6.ทำงานแบบองค์รวมคือการมองสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นระบบทั้งด้านสุขภาพ กาย การแก้ไขปัญหาและป้องกันโรคไม่ให้อาการเจ็บป่วยเป็นมากขึ้น 7.ไม่ติดตำรามีการทำงานอย่างยืดหยุ่นกับสภาพและสถานการณ์นั้นๆ ไม่ใช่การยึดติด อยู่กับแค่ในตำราวิชาการ ได้แก่ แบบคัดกรองสุขภาพที่มีลักษณะเหมาะกับการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ คณะกรรมการ ชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขจะคัดกรองในส่วนที่มีความจำเป็น ทำให้ไม่ใช้เวลาในการคัดกรองนานเกินไป 8. รู้จักประหยัด เรียบง่าย ได้ ประโยชน์สูงสุดชุมชนใช้หลักในการแก้ปัญหาด้วยความ เรียบง่ายและประหยัด จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เท่าที่จำเป็น สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 9. การมีส่วนร่วมชุมชนเปิดโอกาสให้คณะกรรมการชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมใน การดำเนิน งานโครงการตามแนวพระราชดำริด้านสาธารณสุข โดยจัดประชาคมชุมชน ประชาชนที่เข้าร่ว ม โครงการมีการแสดงความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายและประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ 10. ประโยชน์ส่วนรวมคณะกรรมชุมชนยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญโดยมี เป้าหมายประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป 11. ขาดทุนคือกำไร“การให้” และ“การเสียสละ” เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร จะ เห็นได้จากประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการส่งเสริมสุขภาพ และแก้ไขปัญหาสุขภาพเบื้องต้น 12. การพึ่งพาตนเองการดำเนินงานโครงการตามแนวพระราชดำริ เบื้องต้นเป็นการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับประชาชน เพื่อให้มีความแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป สามารถอยู่ในสังคมได้ ตามสภาพแวดล้อมและสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด 13.เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนมีการนำปรัชญาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระ ราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต ให้ดำเนินไปบน “ทางสายกลาง” เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลง 14.ความ...

-9114.ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน คณะกรรมการชุมชนเป็นผู้ที่มีความสุจริตและ บริสุทธิ์ใจ การดำเนินงานเป็นไปด้วยความโปร่งใส แม้บางคนจะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ได้มาก 15. ทำงานอย่างมีความสุขคณะกรรมการชุมชนทำงานโดยคำนึงถึงความสุขที่เกิดจาก การได้ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น โดยมีการร่วมแรงร่วมใจในการทำงาน 16.ความเพียร การเริ่มต้นทำงานของคณะกรรมการชุมชนมีความพร้อม จึงต้องอาศัย ความอดทนและความมุ่งมั่นที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด ตั้งแต่การวางแผนงาน การดำเนินงานและสรุป ประเมินผลโครงการ 17. รู้ รัก สามัคคี - รู้ คือ รู้ปัญหาสาธารณสุขของชุมชนที่พบบ่อยเกี่ยวกับประชาชนเป็นโรคติดต่อไม่ เรื้อรังและรู้วิธีแก้ปัญหาโดยการจัดโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ - รัก คือ เมื่อรู้ถึงปัญหาและวิธีแก้แล้ว คณะกรรมการชุมชนจึงมีความรัก ที่จะลงมือทำ ลงมือแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน - สามัคคี คือ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่สามารถลงมือทำคนเดียวได้ ต้องอาศัยความ ร่วมมือร่วมใจกัน จะเห็นได้จากการทำงานของคณะกรรมการชุมชน เจ้าหน้าที่เทศบาลนครระยอง อาสาสมัคร สาธารณสุขในชุมชนเรือนจำ 9.2 การมีส่วนร่วมของชุมชนหรือผู้ไ ด้รับผลประโยชน์ของโครงการ มีกระบวนการให้ประชาชน เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ปัญหาของชุมชน เน้นการมีส่วน ร่วมการเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแข็งขันของประชาชน และสนับสนุนการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ที่เกีย่ วข้อง 9.3 การทำงานเป็นทีม ของคณะกรรมการชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นพี่เลี้ยงการ ดำเนินงานโครงการ 9.4 การได้รับทรัพยากรที่พอเพียงงบประมาณสนับสนุนชุมชนละ 20,000 บาท 9.5 การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารเทศบาลนครระยอง ที่อุดหนุนงบประมาณ สนับสนุน เจ้าหน้าที่ในการเป็นพี่เลี้ยงโครงการ สนับสนุนวิทยากร 10. ปัญหาอุปสรรค 10.1 การประชาสัมพันธ์โครงการไม่ทั่ว ถึงทำให้ประชาชนไม่ทราบเวลาในการจัดกิจ กรรม ช่วงเวลาแรกของโครงการประชาชนจะเข้ารับการตรวจสุขภาพจำนวนน้อย บางรายเพิ่งออกจากกะทำงาน ทำให้ ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ต่อเนื่อง 10.2กิจกรรมมีความหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ ทำให้ประชาชนมีความ วิตกกังวลในกลุ่มเด็กเล็กที่เข้าร่วมกิจกรรม 11. ข้อเสนอแนะ 11.1 คณะกรรมการชุมชนควรมีการวางแผนการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง 11.2 ควรจัดกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อนเช่น อบรมให้ความรู้ แก่กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ ภาพ...

-92ภาพถ่ายกิจกรรมโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ฯ ชุมชนเรือนจำ

กิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและการให้คำแนะนำรายบุคคล

กิจกรรมให้ความรู้ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายแก่ประชาชน

ถอด...

-93ถอดบทเรียนผลการดำเนินการโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนทีส่ มเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ชุมชนวัดป่าประดู่ 1 1.ชื่อโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ฯ 2.พระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 3.วันที่มีพระราชดำริ พ.ศ. 2510 4. ผู้รับผิดชอบคณะกรรมการชุมชนวัดป่าประดู่ 1 5.ลักษณะโครงการโครงการใหม่สำหรับชุมชน 6.ประโยชน์ของโครงการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงดานสุขภาพแก่ประชาชน กลุ่มเป้าหมายคนไทยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 42คน เป็นประชาชนต่างด้าว จำนวน 8 คน โดยมีอาสาสมัคร สาธารณสุขในพื้นที่และใกล้เคียงจำนวน 5 คนเป็นผู้ประเมินสัดส่วนร่างกายได้แก่ ซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัด ส่วนสูง วัดเส้นรอบเอว วัดความดันโลหิต มีเจ้าหน้ าที่สาธารณสุขงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและให้คำแนะนำรายบุคคลเกี่ยวกั บการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกรณีพบความเสี่ยงด้านสุขภาพ คัดกรองพัฒนาการเด็กอายุ 1- 5 ปี จำนวน 4 คน และ ส่งเสริมพัฒนาการผู้เลี้ยงดูเด็กที่สงสัยพัฒนาการว่าล่าช้า จำนวน 2 ราย แนะนำตรวจประเมินซ้ำที่โรงพยาบาล ระยองสาขาเกาะหวาย มีมุมส่งเสริมพัฒนาการ นิทานและของเล่นเสริมพัฒนาการ การระบายสี นอกจากนี้ ประชาชนได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนด้านโภชนาการ เรื่อง“การป้องกันและควบคุมโรค ความดัน โลหิตสูงและเบาหวาน/กิน อย่างไรห่างไกลโรค” คณะกรรมการชุมชนร่ว มอำนวยความสะดวกแก่ ประชาชน จำนวน8 คน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 67คน 7.วันเดือนปีที่เริ่มดำเนินการ/และเสร็จสิ้นเรียบร้อย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565 8.จุดเด่นของโครงการ (Project Highlights) 8.1เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ชุมชนวัดป่าประดู่ 1 พบว่าประชาชนเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมและมีจำนวนเด็กหลายกลุ่มอายุ 8.2 โครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ฯ เป็นโครงการพระราชดำริที่ช่วยให้ประชาชนสามารถอยู่ใน สังคมได้ตามสภาพและความสามารถ “พึ่งตนเอง”ได้ภายหลังการได้รับการตรวจสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับ พฤติกรรมที่เหมาะสมกับตนเองเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ 8.3 เป็นโครงการที่ส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนและสามารถรับได้ นำไปดำเนินการเองได้ และ เป็นวิธีการทีส่ อดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นำความรู้ไปปฏิบัติได้จริง 9.ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ (Key Success Factor) 9.1 มีการนำหลักทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร 1. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบโดยมีการนำข้อมูลปั ญหาสาธารณสุขของ ชุมชน ทั้งสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สาธารสุขและประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริง อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามเป้าหมาย 2. ระเบิดจากภายในพระองค์ทรงมุ่งเน้น เรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่า “ต้องระเบิด จากข้างใน” ซึ่งชุมชนวัดป่าประดู่ 1 เริ่มพัฒนาโครงการฯจากสุขภาพของประชาชนที่เกี่ยวข้องก่อน โดยสร้าง ความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดความเข้าใจและอยากทำ ไม่ใช่การสั่งให้ทำ ซึ่งมีการประชุมคณะกรรมการชุมชน เพือ่ ให้ทราบถึงเป้าหมายและวิธีการต่อไป 3.ทำ...

-943. ทำตามลำดับขั้นเริ่มต้นจากการลงมือทำในสิ่งที่จำเป็นก่อน คือ การจัดทำประชาคม เพื่อให้ได้มติที่ประชุมว่ามีความประสงค์ขอรับงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไป งบประมาณ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) สำหรับการดำเนินงานตามแนวทางโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2565 และเขียน โครงการส่งให้เทศบาลนครระยองเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการฯ โดยมี ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำ/ดำเนินการโครงการ พระราชดำริด้านสาธารณสุขฯร่วม และรายงานผลการดําเนินการโครงการและคืนเงินที่เหลือจ่ายภายใน 30 วัน นับแต่โครงการแล้วเสร็จ 4. ภูมิสังคม การดำเนินโครงการเป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในชุมชนวัดป่าประดู่ 1 มีนิสัยใจคอที่รู้จัก ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่มีลักษณะเดียวกัน ทำให้ประชาชนมีความสนใจที่จะเข้าร่วม โครงการ 5.ทำงานแบบองค์รวมคือการมองสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นระบบทั้งด้านสุขภาพ กาย การแก้ไขปัญหาและป้องกันโรคไม่ให้อาการเจ็บป่วยเป็นมากขึ้น 6. ไม่ติดตำรามีการทำงานอย่างยืดหยุ่นกับสภาพและสถานการณ์นั้นๆ ไม่ใช่การยึดติด อยู่กับแค่ในตำราวิชาการ ได้แก่ แบบคัดกรองสุขภาพที่มีลักษณะเหมาะกับการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ คณะกรรมการ ชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขจะคัดกรองในส่วนที่มีความจำเป็น ทำให้ไม่ใช้เวลาในการคัดกรองนานเกินไป 7. การมีส่วนร่วมชุมชนเปิดโอกาสให้คณะกรรมการชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมใน การดำเนิน งานโครงการตามแนวพระราชดำริด้านสาธารณสุข โดยจัดประชาคมชุมชน ประชาชนที่เข้าร่ว ม โครงการมีการแสดงความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายและประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ 8.ประโยชน์ส่วนรวมคณะกรรมชุมชนยึดประโยชน์ข องส่ว นรวมเป็นสำคัญ โดยมี เป้าหมายประชาชนทุกกลุ่มวัย 9.ขาดทุนคือกำไร“การให้” และ“การเสียสละ” เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร จะ เห็นได้จากประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการส่งเสริมสุขภาพ 10.การพึ่งพาตนเองการดำเนินงานโครงการตามแนวพระราชดำริ เบื้องต้นเป็นการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับประชาชน เพื่อให้มีความแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป สามารถอยู่ในสังคมได้ ตามสภาพแวดล้อมและสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด 11.เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนมีการนำปรัชญาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระ ราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต ให้ดำเนินไปบน “ทางสายกลาง” เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลง 12. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน คณะกรรมการชุมชนเป็นผู้ที่มี ความสุจริตและ บริสุทธิ์ใจ การดำเนินงานเป็นไปด้วยความโปร่งใส แม้บางคนจะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ได้มาก 13.ทำงานอย่างมีความสุขคณะกรรมการชุมชนทำงานโดยคำนึงถึงความสุขที่เกิดจาก การได้ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น โดยมีการร่วมแรงร่วมใจในการทำงาน 14.ความเพียร การเริ่มต้นทำงานของคณะกรรมการชุมชนมีความพร้อม จึงต้องอาศัย ความอดทนและความมุ่งมั่นที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด ตั้งแต่การวางแผนงาน การดำเนินงานและสรุป ประเมินผลโครงการ 15.รู้...

-9515. รู้ รัก สามัคคี - รู้ คือ รู้ปัญหาสาธารณสุขของชุมชนที่พบบ่อยเกี่ยวกับประชาชนเป็นโรคติดต่อไม่ เรื้อรังและรู้วิธีแก้ปัญหาโดยการจัดโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ - รัก คือ เมื่อรู้ถึงปัญหาและวิธีแก้แล้ว คณะกรรมการชุมชนจึงมีความรัก ที่จะลงมือทำ ลงมือแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน - สามัคคี คือ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่สามารถลงมือทำคนเดียวได้ ต้องอาศัยความ ร่วมมือร่วมใจกัน จะเห็นได้จากการทำงานของคณะกรรมการชุมชน เจ้าหน้าที่เทศบาลนครระยอง อาสาสมัคร สาธารณสุขในชุมชนวัดป่าประดู่ 1 9.2 การมีส่วนร่วมของชุมชนหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ของโครงการ มีกระบวนการให้ประชาชน เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ปัญหาของชุมชน เน้นการมีส่วน ร่วมการเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแข็งขันของประชาชน และสนับสนุนการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 9.3 การทำงานเป็นทีม ของคณะกรรมการชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นพี่เลี้ยงการ ดำเนินงานโครงการ 9.4 การได้รับทรัพยากรที่พอเพียงงบประมาณสนับสนุนชุมชนละ 20,000 บาท 9.5 การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารเทศบาลนครระยอง ที่อุดหนุนงบประมาณ สนับสนุน เจ้าหน้าที่ในการเป็นพี่เลี้ยงโครงการ สนับสนุนวิทยากร 10. ปัญหาอุปสรรค 10.1 การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึงทำให้ประชาชนไม่ทราบเวลาในการจัดกิจกรรม ทำให้ช่วงแรก ของการตรวจสุขภาพจะมาน้อย บางรายเพิ่งออกจากกะทำงาน ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ต่อเนื่อง 10.2 กิจกรรมมีความหลากหลายช่วงอายุ ทำให้ประชาชนมีความกังวลในกลุ่มเด็กที่เข้าร่วม กิจกรรม 11. ข้อเสนอแนะ 11.1 คณะกรรมการชุมชนควรมีการวางแผนการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง 11.2 ควรจัดกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อนเช่น อบรมให้ความรู้ แก่กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ

กิจกรรมประเมินพัฒนาการและส่งเสริมสุขภาพเด็ก ภาพ...

-96-

กิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและให้คำแนะนำรายบุคคล

กิจกรรมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ประชาชนทั่วไป 2. สร้าง/สนับสนุนความเข้มแข็งของกลุ่มออกกำลังกาย ปีงบประมาณ 2565 งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้สำรวจการมีส่วนร่วมในการสร้าง เสริมและพัฒนาสุขภาพของบุคคลในชุมชน คือ การร่วมกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้คนในชุมชนมีการพัฒนา คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการสนใจกิจกรรมเหมือนๆกัน ที่เป็นชมรมหรือกลุ่มที่มีอยู่แล้วในชมรมหรือกลุ่มที่ มีอยู่แล้วในชุมชนหรือมารวมกันใหม่แล้วสมัครเป็นเครือข่ายชมรมสร้างสุขภาพกับหน่วยงานของรัฐ เช่น ชมรม ผู้สูงอายุ ชมรมแอโรบิกกลุ่มกีฬา จากสถานการณ์การแพรระบาดของโควิด- 19 ระลอกเดือนมกราคม 2565 ทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะออกกำลังกายในรูปแบบของการรวมกลุ่ ม แต่คงมีสมาชิกกลุ่มออกกำลังกายที่มี กิจกรรมด้านสุขภาพทั้งในรูปแบบการออกกำลังกายและกีฬา จำนวน 34 กลุ่ม จำแนกเป็น 1. ของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครระยอง จำนวน 23 กลุ่ม 2. บริหารจัดการด้วยกลุ่มออกกำลังกายของตนเอง จำนวน 11 กลุ่ม(กลุ่มกีฬาจำนวน 6 กลุ่ม) ชมรมสร้างสุขภาพที่เน้นการออกกำลังกายจำแนกตามระดับการสร้างสุขภาพ แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้ ชมรมสร้างสุขภาพระยะเริ่มต้น หมายถึง ชมรมสร้างสุขภาพที่จัดกิจกรรมออกกำลังกายอย่างเดียว หรือ จัดกิจกรรมอื่นๆ (1 อ.) ซึ่งยังไม่ได้พัฒนาให้เข้าเกณฑ์ ระดับ 1-3 จำนวน 22 กลุ่ม (ยกเว้นกลุ่มรำกระบอง ยาม เช้าชมรมแอโรบิคสวนศรีเมือง) ชมรมสร้างสุขภาพระดับ 1 หมายถึง ชมรมสร้างสุขภาพที่จัดกิจกรรมสร้างสุขภาพ(2 อ.) ให้กับสมาชิก ในเรื่องออกกำลังกาย และด้านอาหารปลอดภัย จำนวน 1 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มรำกระบอง ยามเช้า ชมรมสร้างสุขภาพระดับ 2 หมายถึง ชมรมสร้างสุขภาพที่จัดกิจกรรมสร้างสุขภาพ (6 อ.) ให้กับสมาชิก ในเรื่อง ออกกำลังกายด้านอาหารปลอดภัย,การส่งเสริมสุขภาพจิต,อนามัยชุมชน,อโรคยาและอบายมุข แก่สมาชิก ชมรม...

-97ชมรมฯ พบว่า ไม่มีชมรม/กลุ่มออกกำลังกายที่ดำเนินการกิจกรรมสร้างสุขภาพ (6 อ.) ชมรมสร้างสุขภาพระดับ 3 (ชมรมต้นแบบ) หมายถึง ชมรมสร้างสุขภาพที่จัดกิจกรรมสร้างสุขภาพ ให้กับสมาชิกครอบคลุม 6 อ. และมีการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง มีการระดมทุน มีการวิเคราะห์และการวางแผน แก้ปัญหาสุขภาพให้กับสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพได้ พบว่ามีชมรมสร้างสุขภาพที่มีการการบริหารจัดการแต่ยังไม่ เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จำนวน 1 กลุ่ม คือ ชมรมแอโรบิคสวนศรีเมืองระยอง เป็นชมรมสร้างสุขภาพที่เน้นการออก กำลังกายด้วยแอโรบิก (1 อ.) มีการระดมทุนสมาชิกทุกครั้งที่มาออกกำลังกายเพื่อสนับสนุนให้การออกกำลังกาย อย่างต่อเนื่อง จำนวน 5 วันต่อสัปดาห์ หลังจากได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง จำแนกตามจุดมุงหมายของกลุ่มออกกำลังกายในเขตเทศบาลนครระยองแบ่งเป็น 1.กลุ่มออกก้าลังกายเพื่อสุขภาพเปนการออกกําลังกายที่เนนวิธีการใหรางกาย เกิดการพัฒนาและ รักษาสุขภาพใหสมบูรณแข็งแรง โดยการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมที่ทําใหเกิดการพัฒนาสุขภาพ จำนวน 7 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแอโรบิก(2) กลุ่มรำกระบอง (2) กลุ่มโยคะ(3) 2.กลุ่มออกก้าลังกายเพื่อเลนกีฬา (กีฬาคือการออกกําลังกายชนิดหนึ่ง ซึ่งมีกฎกติกาแนนอน) แล วแตละชนิดของกีฬาจะแตกตางกัน ไป จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตะกร้อลอดห่ว ง กลุ่มเซปักตะกร้อ กลุ่ม บาสเกตบอล กลุ่มโรลเลอร์เบด กลุ่มวู๊ดบอล กลุ่มเปตอง 3.กลุ่มออกก้าลังกายเพื่อรัก ษาทรวดทรงและสัดสวนเปนการออกกําลังกายที่เนนการบริหารกาย เฉพาะสวน เพื่อใหมีรูปรางที่สมสวนจำนวน 1 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Street Bar Rayong 4.กลุ่มออกก้าลังกายเพื่อความสนุกสนานเปนกิจกรรมนันทนาการ เปนการออกกําลังกายที่ เนนการสงเสริมสุขภาพจิต คลายความเครียด ลดความวิตกกังวล และสงเสริมความสามัคคี จำนวน 20 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไลน์แดนซ์ (16) กลุ่มรำวงไลน์แดนซ์ (1) กลุ่มลีลาศ (3) ผลผลิตและผลลัพธ์การขับเคลื่อนความเข้มแข็งของกลุ่มออกกำลังกาย 1. ส่งเสริมการพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มออกกำลังกายให้มีทักษะในการบริหารจัดการและพัฒนา กลุ่มของตนเอง เพื่อให้กลุ่มสามารถดำเนินงานได้อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง พึ่งพาตนเองได้แก่สมาชิกกลุ่มออก กำลังกายจำนวน 24 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออกกำลังกายช่วงเช้า - กลุ่มรำกระบอง ยามเช้า - กลุ่มกินรีศรีเมือง - กลุ่มโยคะนางฟ้า 2019 กลุ่มออกกำลังกายช่วงบ่าย - ชมรมเทศบาลนครระยอง - กลุ่มเริงลีลาศ กลุ่มออกกำลังกายช่วงเย็น - กลุ่มหรรษาพาเพลิน - ชมรมแอโรบิคสวนศรีเมือง - กลุ่มออกกำลังกลายไลน์แดนซ์-ลีลาศ ศรีเมือง - กลุ่มออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกายและใจ เทศบาลนครระยอง - กลุ่มออกกำลังกายแอโรบิคชุมชนเนินพระ - กลุ่มไลน์แดนซ์ สวนศรีเมือง -กลุ่ม...

-98- กลุ่มออกกำลังกายเพื่อสุขภาพชุมชนปากน้ำ 1 - กลุ่มรักษ์สุขภาพ ชุมชนทางหลวงพูนไฉ่ - กลุ่มรวมศิลป์ แดนซ์ - กลุ่มสร้างเสริมสุขภาพชุมชนสวนวัดโขด - กลุ่ม We love to dance - กลุ่มลีลาศ ลานเขียว สวนศรีเมือง - กลุ่มไลน์แดนซ์ สองพี่น้อง - กลุ่มชุมชนเนินพระรักษ์สุขภาพ - กลุ่มลีลาศ และไลน์แดนซ์ - กลุ่มไลน์แดนซ์ ชุมชนริมน้ำ-ท่าเกตุ - กลุ่มรักษ์ลีลาศนครระยอง - กลุ่มสาวลืมวัย - กลุ่มไลน์แดนซ์ ชุมชนสัมฤทธิ์ 2. เสริมสร้างความแข็งแรงของสมาชิกกลุ่มออกกำลังกายจำนวน 24 กลุ่ม โดยทดสอบสมรรถภาพ ทางกายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพและเพิ่มความสามารถในการทำงานของร่างกาย ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการ ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคปวดหลัง ตลอดจน ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการขาดการออกกำลังกายจำนวน 327 คนผลการทดสอบสมรรถภาพก่อนและหลังการ ออกกำลังกาย ดังนี้ ประเภท

ครั้งที่ 1 จำนวน (ราย)

ครั้งที่ 2 จำนวน (ราย)

ผลการประเมินดีขึ้น จำนวน (ราย)

ร้อยละ

องค์ประกอบของ ร่างกาย

241

243

91(N=157)

57.96

รอบเอว ดัชนีมวลกาย สมรรถภาพ ร่างกาย

241 241 233

243 243 259

86(N=157) 88(N=157) 116(N=147)

54.77 56.05 78.91

ความอดทนของ 211 234 105(N=134) 78.36 ระบบหัวใจและ ไหลเวียนเลือด ความอ่อนตัว 22 25 11(N=13) 84.61 ปัจจัยความสำเร็จ 1) การมีผู้นำกลุ่ม/ชมรม ที่มีความมุ่งมั่น มีความรู้ ความสามารถในเรื่องการออกกำลังกายที่ดี มีความ เสียสละ มีความเป็นผู้นำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทุ่มเทแรงกายและแรงใจในการจัดกิจกรรมต่างๆของชมรมฯ และสามารถโน้มน้าวจิตใจให้สมาชิกให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของชมรม 2)สมาชิก...

-992) สมาชิกกลุ่มมีความตั้งใจ ใส่ใจสุขภาพ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ต่อสมาชิกด้วยกัน และมีใจศรัทธาในตัว ผู้นำกลุ่มหรือครูนำออกกำลังกายมีวินัยและความรับผิดชอบในการออกกำลังกาย 3) การได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าวิทยากรครูนำเต้น สถานที่ หรืออุปกรณ์บางอย่าง เช่น เครื่อง เสียง จากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครระยอง ถึงแม้จะไม่เพียงพอแต่ก็ช่วยให้กลุ่มไม่ต้องระดม ทรัพยากรจำนวนมากจากแหล่งอื่นๆ 4) กลุ่มออกกำลังกายภายใต้การสนับสนุนของเทศบาลนครระยอง บางกลุ่มใช้กระบวนการบริหารจัดการ ที ่ เ ป็ น กั น เอง ใช้ ว ิ ธ ีข อความร่ว มมือ ให้ ช ่ ว ยเหลื อ ลงขั น กั น มี ก ารพู ด คุ ย ปรึ ก ษาหารื อ แบบ ไม่ เ ป็ น ทางการ 5) กลุ่มออกกำลังกายมีการจัดกิจ กรรมตรงความต้องการของสมาชิกทุกกลุ่ม มีการปรับกิจกรรมให้ สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก เช่น เพิ่มท่าเต้นที่สนุกสนาน บางแห่งมีกิจกรรมทางสังคม กิจกรรม สาธารณประโยชน์ที่สมาชิกมาทำกิจกรรมร่วมกันที่นอกเหนือจากการออกกำลังกาย แนวทางสร้างความยั่งยืนของกลุ่มออกกำลังกาย 1.สร้างการพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มออกกำลังกายให้มีทักษะในการบริหารจัดการและพัฒนากลุ่ม ของตนเอง เพื่อให้กลุ่มสามารถดำเนินงานได้อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง โดยเสริมสร้างความรู้ด้านชมรมสร้าง สุขภาพที่มีคุณภาพ ต้องมี 6 องค์ประกอบ คือ -ต้องมีโครงสร้างชมรมที่ชัดเจน (มีคณะทำงานผู้รับผิดชอบ) - มีแกนนำ(ผู้นำออกกำลังกาย)ที่ได้รับการฝึกอบรมการมีกิจกรรมทางกาย - จัดกิจกรรมอย่างน้อย 3ครั้งต่อสัปดาห์ (ยกเว้นชมรมจักรยาน ชมรมผู้สูงอายุอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง) เพื่อให้มีกิจกรรมทางกายสะสม อย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์ หรือ 30 นาที/วัน ต่อ สัปดาห์ - มีสถานที่การมีกิจกรรมทางกายที่แน่นอน ปลอดภัย - มีการบริหารจัดการในเรื่องงบประมาณที่สนับสนุนทั้งจากหน่วยงานในพื้นที่หรือจากชุมชนจัด กิจกรรมสร้างสุขภาพ (6 อ.) ให้กับสมาชิกในเรื่อง ออกกำลังกายด้านอาหารปลอดภัย ,การส่งเสริมสุขภาพจิต ,อนามัยชุมชน,อโรคยาและอบายมุข แก่สมาชิกชมรมฯ มีการวิเคราะห์และการวางแผนแก้ปัญหาสุขภาพให้กับ สมาชิกชมรมสร้างสุขภาพได้ - มีสมาชิกชมรมฯ อย่างน้อย 20 คน - ควรมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพแก่สมาชิกเป็นระยะ ๆ และแจ้งการตรวจสุขภาพ รวมถึงมีตัวชี้วัดด้านสุขภาพสะท้อนให้สมาชิกได้ทราบผลการดูแลสุขภาพและมีแรงจูงใจในการออกกำลังกาย ต่อเนื่อง 2.เพิ่มการประสานงานระหว่างกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครระยองและหน่วยงานสาธารณสุข ในพื้นที่ในการนำผลการคัดกรองสุขภาพและปัญหาสุขภาพของประชาชน มาเชื่อมโยงกับพฤติกรรมสุขภาพที่เป็น สาเหตุ โดยเฉพาะพฤติกรรมการออกกำลังกาย เพื่อใช้เป็นประเด็นในการสร้างความตระหนักเรื่องการออกกำลัง กายกับประชาชน รวมทั้งใช้ผลการคัดกรองสุขภาพและปัญหาสุขภาพในครั้งต่อ ๆ มา เป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์ในเรื่อง สุขภาพที่ดีขึ้นของประชาชน และใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุนการออกกำลังกายของกลุ่มออกกำลังกาย ตลอดจน ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องสุขภาพที่เชื่อมโยงกับการออกกำลังกายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนใน ชุมชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกาย จนกลายเป็นวิถีชีวิตชุมชนต่อไป 3.ส่งเสริมให้มีการจัดการรวมพลคนรักษ์สุขภาพ บุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจ ความ ภาคภูมิใจ การสร้างชื่อเสียงให้กับกลุ่ม ภาพ...

-100-

กลุ่มออกกำลังกาย

ทดสอบสมรรถภาพทางกาย

ประเมินสัดส่วนร่างกาย

เสริมสร้างทักษะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาแก่สมาชิกกลุ่มออกำลังกาย

-101บทสรุปผู้บริหาร กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพอเทศบาลนครระยองอจั ด ตั ้ ง เมื ่ อ ลงนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลง ร่วมการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เมื่อปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 13 ปี มีวัตถุประสงค์หลัก มุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้ทั่วถึงและมากขึ้น พร้อมกับสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่ มผู้ป่วยเรื้อรังที่อยู่ ในเขตพื้นที่สามารถ เข้าถึงการบริการสาธารณสุขในด้ านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน และการฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างทั่วถึง และ มีประสิทธิภาพ ตามประเภทและขอบเขตของบริการในท้ องถิ่นหรือพื้นที่ โดยการบริหารจัดการอย่ างมีส่วนร่วม ของบุคคลในท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ในรูปแบบคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ) ทั้งนี้สํานักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ(สปสช.) โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่ งชาติ เป็นผู้กําหนดหลักเกณฑ์ แนวทางตามคู่ มือ ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์ก รปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2565 เพื่อปฏิบัติงานเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของจัดสรรงบประมาณ ประสานงาน สนับสนุน ติดตามและประเมินผล วิสัยทัศน์ “กองทุนเข้าถึง พึ่งพาได้ ภายใต้การบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล มุ่งสู่สุขภาวะที่ดีของประชาชน ภายในปี 2565” พันธกิจ 1. สนับสนุนและส่งเสริมการดูแลสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนทุกกลุ่มวัย 2. สนับสนุนและส่งเสริมการจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชน 3. สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานด้านสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟู คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือผู้พิการ 4. พัฒนาการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน ยุทธศาสตร์/แนวทางการพัฒนา ยุทธศาสตร์การพัฒนา ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยองที่สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ โดยแบ่งยุทธศาสตร์ เป็น 4 ด้าน ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านสุขภาพ/โรคระบาดหรือภัยพิบัติ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สนับสนุนแลส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพในเด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนฯท

สรุป...

-102สรุปภาพรวมการดำเนินงานกองทุนฯ 1. กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการสนับสนุน งบประมาณในการดำเนินโครงการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จำนวน 68 โครงการ โดยครอบคลุม กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน, กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน, กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด, กลุ่ม ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง , กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง ซึ่งยังไม่ครอบคลุมในกลุ่มคน พิการและทุพพลภาพ ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ มีประชาชนเข้าร่วมการดำเนินโครงการจำนวนทั ้งสิ้ น 65,505 คน คิดเป็นร้อยละ 105.50 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลนครระยอง เนื่องจากสถานการณ์โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงไม่สามารถดำเนินโครงการได้เป็นไปตามแผนได้ 2. กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565 สนับสนุนและส่งเสริมการ ดำเนินงานด้านสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือผู้พิการ จำนวนทั้งสิ้น 3 โครงการ โดยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ดำเนินการการสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาการตามวัย/กระบวนการเรียนรู้/ ความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์ และศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้ดำเนินการสนับสนุนและ ส่งเสริมการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 3. ด้านการบริหารจัดการกองทุนฯ ในปีงบประมาณ 2565 ในปีงบประมาณ 2565 กองทุนฯ มีรายรับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดสรรให้ เป็น จำนวนเงิน 2,804,400 บาท เทศบาลโอนเงินสมทบ เป็นจำนวนเงิน 1,446,500 บาท ดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคาร เป็นจำนวนเงิน 11,925.53 บาท เมื่อรวมกับยอดเงินคงเหลือยกมาจากปีงบประมาณ 2564 เป็น จำนวนเงิน 3,696,702.66 บาท กองทุนฯ มีงบประมาณที่จะใช้ในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ เป็นจำนวนเงิน 7,959,528.19 บาท ในปีงบประมาณ 2565 กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง มีการดำเนิน การสนับ สนุ นงบประมาณกองทุนฯ ให้กับหน่ว ยบริการสาธารณสุข องค์กรต่างๆและกลุ่มภาค ประชาชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 5,491,712.90 บาท (คิดเป็นร้อยละ 69 ของเงินรายรับในปีงบประมาณ 2565 รวมกับยอดยกมา ปี 2564) โดยใช้จ่ายครอบคลุม ทุกประเภทกิจกรรม กองทุนฯ มีเงินรับคืนจากการดำเนินโครงการเป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,629,417.45 บาท ทำให้ ยอดคงเหลื อ ยกไป เป็ น จำนวนทั ้ งสิ้ น 5,097,232.74 บาท (คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 64.33 ของเงิ น รายรับ ใน ปีงบประมาณ 2565 รวมกับยอดยกมา ปี 2564) จะเห็นว่าในปีงบประมาณ 2565 กองทุนฯมีการใช้จ่าย งบประมาณที่ค่อนข้างสูง แต่มีการคืนเงิน กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง มากขึ้ น ทำให้ยอด คงเหลือยกไปค่อนข้างสูงเหมือนกัน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ กิจกรรมส่วนใหญ่ต้องมีรวมกลุ่มทำกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายบาง กลุ่มเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม กองทุนฯ ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในกลุ่มเป้าหมาย ต่างๆ และเพิ่มสื่อหลายช่องทาง ทำให้ประชาชน หน่วยงานของรัฐและเอกชนรู้จักและเข้ามาของบประมาณ สนับสนุนจากกองทุนฯเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการจัดให้มีบุคลากรรับผิดชอบปฏิบัติงานกองทุนหลักประกัน สุขภาพ เทศบาลนครระยองโดยตรง ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน และให้ความ ช่วยเหลือภาคประชาชนในการที่จะเสนอโครงการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ในพื้นที่ เพื่อขอรั บการ สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลุ่ม...

-103กลุ่ม/ชมรม/ภาคีเครือข่าย ด้านสุขภาพในพื้นที่ - ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลนครระยอง มีอาสาสมัครสาธารณสุข ทั้ง 29 ชุมชน รวมจำนวน 273 คน - ชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลนครระยอง จำนวนสมาชิก 1,076 คน - กลุ่มสตรีเทศบาลนครระยอง จำนวนสมาชิก 270 คน - ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีภาวะพึ่งพิง เทศบาลนครระยอง จำนวน 1 ศูนย์ - องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่ดำเนินการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จำนวน 30 ชมรม/กลุ่ม ได้แก่ 1. ชมรมเซปักตะกร้อสวนศรีเมือง 21. ชมรมแอโรบิคสวนศรีเมือง 2. ชมรมเต้น B-BOY 22. กลุ่มออกกำลังกายแอโรบิคชุมชนเนินพระ 3. ชมรมบาสเก็ตบอลสวนศรีเมือง 23. กลุ่มออกกำลังกายด้วยโรลเลอร์เบรด 4. ชมรมไทเก็ก รำพัด 24. กลุ่มสร้างเสริมสุขภาพ ชุมชนสวนวัดโขด 5. ชมรมฟุตซอลสวนศรีเมือง 25. กลุ่มไลน์แดนซ์สองพี่น้อง 6. กลุ่มไลน์แดนซ์-ลีลาศ ศรีเมือง 26. กลุ่มไลน์แดนซ์ริมน้ำ-ท่าเกตุ 7. กลุ่มไลน์แดนซ์ สวนศรีเมือง 27. กลุ่มกินรี ศรีเมือง 8. กลุ่มรักษ์สุขภาพชุมชนทางหลวง-พูนไฉ่ 28. กลุ่มรวมศิลป์แดนซ์ 9. กลุ่มออกกำลังกายด้วยวู้ดบอล 29. กลุ่มรักษ์ลีลาศนครระยอง 10. กลุ่มลีลาศและไลด์แดนซ์ 30. กลุ่มออกกำลังกายชุมชนสัมฤทธิ์ 11. กลุ่ม อสม.ศสมช.เกาะกลอย 12. กลุ่มชุมชนเนินพระ รักษ์สุขภาพ 13. กลุ่ม WE LOVE TO DANCE 14. กลุ่มโยคะนางฟ้า 2019 15. กลุ่มออกกำลังกายเพื่อสุขภาพชุมชนปากน้ำ 1 16. กลุ่มเริงลีลาศ 17. ชมรมแอโคบิค สวนศรีเมืองระยอง 18. ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลนครระยอง 19. กลุ่มสาวลืมวัย 20. กลุ่มออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกายและใจเทศบาลนครระยอง

-104ข้อมูลสภาพปัญหา ข้อมูลสภาพปัญหาของสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย และได้รับการแก้ไขโดยการดำเนินงานโครงการ เพื่อสอดคล้องกับสภาพปัญหา ที่

ประเด็นปัญหา

สาเหตุ

แนวทางแก้ไข

1

หญิงตั้งครรภ์เกือบครึ่งเสี่ยงขาด -หญิงตั้งครรภ์ได้รับสาร สารไอโอดีน ส่งผลให้ทารกในครรภ์ ไอโอดีนไม่เพียงพอ มีความผิดปกติ

-รณรงค์/ให้ความรู้ส่งเสริมให้ หญิงตั้งครรภ์บริโภคอาหารที่มี สารไอโอดีนอย่างเพียงพอ

2

อัตราการเลี้ยงทารกด้วยนมแม่ อย่างเดียวมีจำนวนน้อย

-แม่ตอ้ งไปทำงาน -แม่ไม่ทราบวิธีเก็บน้ำนม -แม่มีปัญหาน้ำนมน้อย

-รณรงค์ประโยชน์ของการเลี้ยง ลูกด้วยนมแม่ -ให้ความรู้แม่เกี่ยวกับวิธีการ เก็บน้ำนม วิธีแก้ไขปัญหา น้ำนมน้อย

3

พัฒนาการของเด็กเล็กไม่สมวัย

-พฤติกรรมการเลี้ยงดู -ติดจอทีวี,จอมือถือ -โภชนาการ -ความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง

-ส่งเสริมการเลี้ยงดู (กิน นอน กอด เล่น เล่า ช่วยเหลือตัวเอง ทำงานบ้าน) -ติดตามการรับวัคซีนให้ ครบถ้วน

4

สุขวิทยาส่วนบุคคลในเด็กเล็ก เช่น เหา, ฟันผุ, โรคผิวหนัง)

-การดูแลสุขอนามัยในเด็ก เล็กของผู้ปกครอง

-ส่งเสริมการดูแลสุขอนามัย เด็กเล็กที่เหมาะสม ให้แก่ ผู้ปกครอง

5

คุณแม่วัยรุ่น (ท้องก่อนวัยอันควร)

-ไม่รู้จักวิธีการจัดการอารมณ์ -สภาพสังคม (การเลี้ยงดู สื่อ )

-ให้ความรู้/สร้างความ ตระหนัก -ฝึกทักษะการจัดการอารมณ์

6

ปัญหายาเสพติด บุหรี่ สุรา ยาบ้า ฯลฯ

-ความอยากรู้อยากลอง -ปัญหาครอบครัว

-ใช้กฎหมายบังคับ -รณรงค์ลดละเลิกยาเสพติด ทุกชนิด -ให้ความรู้/สร้างความ ตระหนักถึงอันตรายของยา เสพติด

7

ประชาชนเป็นโรคติดต่อ เช่น อุจจาระร่วง, โควิด-19,ไข้หวัด ใหญ่,ไข้เลือดออก,โรคเอดส์ ฯลฯ

-สุขอนามัยไม่เหมาะสม -สภาพแวดล้อมก่อให้เกิด แหล่งพาหะนำโรค

-ปรับเปลี่ยนสุขอนามัยโดยการ ให้ความรู้/สร้างความตระหนัก -ปรับปรุงสภาพแวดล้อม

8...

-105-ไม่ออกกำลังกาย -บริโภคอาหารไม่เหมาะสม -ความเครียด

8

ประชาชนเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพิ่มมากขึ้น เช่น มะเร็ง,เบาหวาน ,ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด

9

ปัญหาอุบัติเหตุ -อุบัติเหตุบนท้องถนน -อุบัติเหตุทางน้ำ

-ขาดความตระหนัก -ขาดความรู้ -ขาดทักษะ

สร้างความตระหนัก -ให้ความรู้การจราจร -ฝึกทักษะ -ใช้กฎหมายบังคับ

10

ปัญหาสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน -โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ, โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ -ความเครียด

-พฤติกรรมเนือยนิ่ง -สภาพเศรษฐกิจ -ขาดความรู้ในการจัด ท่าทางการทำงานที่ถูกต้อง

-ส่งเสริมการออกกำลังกาย -ให้ความรู้การจัดท่าทางในการ ทำงานที่ถูกต้อง -ส่งเสริมจัดการความเครียด

11

-มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น/เกิดภาวะพึ่งพิง เพิ่มขึ้น -ผู้สูงอายุมีอายุยืนแต่มีโรค ประจำตัว -ผู้สูงอายุเปราะบาง (ขาดผู้ดูแล)

-ภาวะเศรษฐกิจ -สะสมพฤติกรรมที่ไม่ เหมาะสมตั้งแต่วัยทำงาน

-ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ครบ ทั้ง 4 มิติ ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ ความปลอดภัย -โครงการเตรียมความพร้อมเข้า สู่วัยสูงอายุ

-ส่งเสริมการออกกำลังกาย -ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ เหมาะสม -ส่งเสริมการจัดการความเครียด

-106ข้อมูลโครงสร้างของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง

คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง

คณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกัน สุขภาพ เทศบาลนครระยอง คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ

คณะอนุกรรมการสนับสนุนการ จัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง

คณะอนุกรรมการด้านพัสดุ การเงินและบัญชี คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล 1 คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง ( ณ ปัจจุบันมีคณะกรรมการ ดังนี้ ) 1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระยอง ที่ปรึกษา 2. สาธารณสุขอำเภอเมืองระยอง ที่ปรึกษา 3. ท้องถิ่นอำเภอเมืองระยอง ที่ปรึกษา 4. นายกเทศมนตรีนครระยอง ประธานกรรมการ 5. นายเสรี สุวรรณวิจิตร ผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น กรรมการ 6. นางสาวเยาวดี มณีทรัพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น กรรมการ 7. นายประสิทธิ์ แก้วไพฑูรย์ สมาชิกสภาเทศบาล กรรมการ 8. นายธันยวัฒน์ ชโลธร สมาชิกสภาเทศบาล กรรมการ 9. นางสาวกรรณิการ์ พินิจ (ผู้จัดการคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลระยอง (เกาะหวาย) กรรมการ 10. นางกฤษณา พึ่งแพง (ผู้จัดการคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลระยอง (เนินพระ) กรรมการ 11. นางสาววันเพ็ญ สิทธิชัย ผู้แทน อสม. กรรมการ 12. นางสุนิมิตต์ โชติช่วง ผู้แทน อสม. กรรมการ 13. นางจินตนา สุภาภรณ์ ผู้แทนชุมชน กรรมการ 14. นายโอภาส ปิ่นปลิ้มจิตต์ ผู้แทนชุมชน กรรมการ 15. นายสมนึก หอมสุคนธ์ แผู้แทนชุมชน กรรมการ 16. นายอดิศักดิ์ จิตต์เรืองรอง แผู้แทนชุมชน กรรมการ 17. นางสาวศิริรัตน์ อารีรัตนตระกูล แผู้แทนชุมชน เกรรมการ 18. นางวรรณดี มณีศาสตร์ แผู้แทนของศูนย์ประสานงานฯ เกรรมการ

-87-ฯ-10719. นายสุกิจ เทพประสิทธิ์ แรองปลัดเทศบาลปฏิบัติราชการแทน ปลัดเทศบาล กรรมการ 20. ผู้อำนวยการสำนักคลัง แกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 21. ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมสาธารณสุข แ เกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ (1) พิจารณาอนุมัติแผนการเงินประจำปีของกองทุนหลักประกันสุขภาพ (2) พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10 (3) ออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน ทั้งนี้ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ (4) สนับสนุนให้บุคคลในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้าน ในชุมชน หรือหน่วยบริการ ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ (5) ให้คำแนะนำในการจัดทำข้อมูลและโครงการ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานสาธารณสุขของ กลุ่มเป้าหมาย แก่หน่วยงาน องค์กรหรือกลุ่มประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (6) พิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงาน รายงานการรับเงิน การจ่ายเงิน และ เงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2. คณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง 2.1 คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ( ณ ปัจจุบันมีคณะกรรมการ ดังนี้ ) 1. นายสุกิจ เทพประสิทธิ์ ปลัดเทศบาล ประธานอนุกรรมการ 2. นางสาวกรรณิการ์ พินิจ ผู้จัดการคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลระยอง (เกาะหวาย) อนุกรรมการ 3. นางกฤษณา พึ่งแพง ผู้จัดการคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลระยอง (เนินพระ) อนุกรรมการ 4. นายประสิทธิ์ แก้วไพฑูรย์ สมาชิกสภาเทศบาล แอนุกรรมการ 5. นางจินตนา สุภาภรณ์ ผู้แทนชุมชน อนุกรรมการ 6. นางสาวอรทัย ศรีพงศ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ อนุกรรมการ 7. นางธนาวดี ฑามาศ หัวหน้าฝ่ายสังคมสงเคราะห์ อนุกรรมการ 8. นางสาวรัตนาพร ล้อมทอง นักวิชาการคลัง อนุกรรมการ 9. นางสาวอุไรวรรณ ทิศสลี นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ อนุกรรมการ/ เลขานุการ มีหน้าที่ (1) จัดทำแผนงานประจำปี เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ (2) พิจารณาจัดทำแบบฟอร์มโครงการ ที่ใช้ในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณกองทุนฯ (3) พิจารณากลั่นกรอง โครงการ ที่หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน กลุ่มประชาชน ฯลฯ เสนอขอรับ การสนับสนุนงบประมาณกองทุนฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพิจารณาความสอดคล้องในการเขียนโครงการ และข้อเสนอแนะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำโครงการ (4) ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำระเบียบกองทุนฯ เกี่ยวกับขั้นตอน หลักเกณฑ์ วิธีการขอรับการ สนับสนุนงบประมาณกองทุนฯ (5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ มอบหมาย 2.2.คณะ...

-1082.2 คณะอนุกรรมการด้านพัสดุ การเงินและบัญชี ( ณ ปัจจุบันมีคณะกรรมการ ดังนี้ ) 1. นางศิริลักษณ์ ทองเรือง ผอ.ส่วนบริหารการคลัง ประธานอนุกรรมการ 2. นายดุสิต ธรรมศิริรักษ์ ผอ.ส่วนบริการสาธารณสุขฯ รองประธานอนุกรรมการ 3. นางสุนิมิตต์ โชติชว่ ง ผู้แทนอสม. อนุกรรมการ 4. นางสาวศศิณริณ แจ้งจิตร นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ อนุกรรมการ 5. นางสาวอุไรวรรณ ทิศศลี นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ อนุกรรมการ/ เลขานุการ มีหน้าที่ (1) จัดทำแผนการเงินประจำปี เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติ (2) กำหนดรูปแบบ แนวทางการปฏิบัติงาน ด้านการเงินการคลังของกองทุนฯ ได้แก่ การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน และการจัดทำบัญชี (3) ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำระเบียบกองทุนฯ เกี่ยวกับการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน และการจัดทำบัญชี (4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯมอบหมาย 2.3 คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล ( ณ ปัจจุบันมีคณะกรรมการ ดังนี้ ) 1. นางสาววทันยา โห้ประเสริฐ หน.ฝ่ายบริการการแพทย์และพยาบาล อนุกรรมการ 2. นางสาวภัทรานิษฐ์ อิ้ววัฒนกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ อนุกรรมการ 3. นางสาวอุไรวรรณ ทิศศลี นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ อนุกรรมการ/ เลขานุการ 4. นางสาวสิญาพร นามสงสาร ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข อนุกรรมการ/ ผช.เลขานุการ มีหน้าที่ (1) กำหนดเนื้อหา แบบฟอร์ม และรูปแบบการติดตามและประเมินผลโครงการที่ขอรับการสนับสนุน งบประมาณ เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ (2) วางแนวทางการลงพื้นที่ กำกับ ติดตามและประเมินผลโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ (3) สรุปผลการติดตามประเมินผลโครงการ เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ ทราบ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี (4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ มอบหมาย

ข้อมูล...

-109ข้อมูลการเงินประจำปีงบประมาณ 2565 กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง ด้านการใช้จ่ายงบประมาณกองทุนฯ

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง ประจำปีงบประมาณ 2565 รายงานสรุปสถานะการเงินรายการ -ยอดคงเหลือยกมาจากปีงบประมาณ 2564 รายรับ -เงินค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากสำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ -เงินสมทบจากเทศบาลนครระยอง -เงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รวมรายรับปีงบประมาณ 2565 รวมงบประมาณทั้งหมด รายจ่าย -สนับสนุนหน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข -สนับสนุนกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น

งบประมาณ (บาท) 3,696,702.66

ร้อยละ

2,804,400.00

-

1,446,500.00 11,925.53 4,262,825.53 7,959,528.19

ร้อยละ 100 -

1,302,141.00

ร้อยละ 16.36 ของงบประมาณ ทั้งหมด ร้อยละ 25.64 ของงบประมาณ ทั้งหมด ร้อยละ 0.88 ของ งบประมาณทั้งหมด ร้อยละ 2.40 ของ งบประมาณทั้งหมด ร้อยละ 23.72 ของงบประมาณ ทั้งหมด ร้อยละ 69.00 ของงบประมาณ ทั้งหมด ร้อยละ 47.89 ของรายจ่ายทั้งหมด ร้อยละ 64.03 ของงบประมาณ ทั้งหมด

2,040,975.00

-สนับสนุนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุ/ผู้พิการ -สนับสนุนการบริหาร/พัฒนากองทุนฯ

69,856.00 190,655.90

-สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ

1,888,085.00

รวมรายจ่ายปีงบประมาณ 2565

5,491,712.90

เงินคืนเหลือจ่ายจากโครงการ

2,629,417.45

ยอดคงเหลือยกไป ปีงบประมาณ 2566

5,097,232.74

-

-110แผนภูมิที่ 2 แสดงร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565 ของรายรับทั้งหมด

หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงาน สาธารณสุข

ร้อยละ 23.72

ร้อยละ 16.36% ร้อยละ 25.64

ร้อยละ 2.4

องค์กรหรือกลุ่มประชาชน/หน่วยงาน อื่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ศูนย์พัฒนาและ ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ/ผู้พิการ การบริหาร/พัฒนากองทุนฯ

กรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ

ร้อยละ 0.88

จากกราฟจะเห็นว่าสนับสนุนหน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชนสนับสนุนกรณีเกิดโรค ระบาด/ภัยพิบัติ มีการใช้งบประมาณมากที่สุด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และหน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน มีการใช้งบประมาณรองลงมาและมากกว่าหน่วยบริการ สถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข แสดงให้เห็นว่าภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้าน สุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ เพื่อการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนให้มีประสิทธิภาพ มี ใช้จ่ายงบประมาณไม่เกินร้อยละ 15 ของรายรับในปีงบประมาณ เป็นไปตามประกาศของ สปสช.

-111

รายงานสรุปการรับเงิน การ กองทุนหลักประกันสุขภา ประจำปีงบประ

1. ข้อมูลสรุปการรับเงิน การจ่ายเงิน และเงินคงเหลือ ประจำปีงบ ตารางที่ 2 แสดงจำนวนสรุปการรับเงิน การจ่ายเงิน และเงินค รายการงบประมาณ รับเงิน

จ่ายเงิน

ประจำไตรมาส 1

ยอดคงเหลือยกมา

3,696,702.66 บาท

เงินค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ

2,804,400.00 บาท

เงินอุดหนุนหรืองบประมาณที่ได้รับ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

-

เงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

-

สนับสนุนโครงการ ประเภทที่ 1 – 5 เงินรับคืนจากโครงการ รวมเงินคงเหลือประจำไตรมาส

3,196,835.00 บาท 941,982.19 บาท 4,246,249.85 บาท

จากตารางที่ 2 แสดงจำนวนสรุปการรับเงิน การจ่ายเงิน และเงิน ได้แก่ ไตรมาส 2 และ 4 ตามลำดับ และน้อยที่สุด คือ ไตรมาส 3 และคราวเดียวกันได้มีการ ได้แก่ 3 และ 4 ตามลำดับ และน้อยที่สุด คือ ไตรมาส 2 จนทำให้มีเงินคงเหลือประจำไตรมา คือ ไตรมาส 3

1-

รจ่ายเงิน และเงินคงเหลือ าพ เทศบาลนครระยอง ะมาณ 2565

บประมาณ 2565 คงเหลือ ประจำไตรมาส ประจำไตรมาส 2

ประจำไตรมาส 3

ประจำไตรมาส 4

4,246,249.85 บาท

5,900,305.03 บาท

3,867,806.23 บาท

-

-

-

1,446,500.00 บาท

-

-

6,373.53 บาท

-

5,552.00 บาท

11,445.60 บาท

2,042,498.80 บาท

240,933.50 บาท

212,627.25 บาท

10,000.00 บาท

1,464,808.01 บาท

5,900,305.03 บาท

3,867,806.23 บาท

5,097,232.74 บาท

นคงเหลือประจำไตรมาส พบว่าส่วนใหญ่มีการรับเงินมากที่สุด คือ ไตรมาส 1 รองลงมา รจ่ายเงิน เพื่อสนับสนุนโครงการ ประเภทที่ 1 – 5 มากที่สุด คือ ไตรมาส 1 รองลงมา าสมากที่สุด คือ ไตรมาส 2 รองลงมาได้แก่ ไตรมาส 4 และ 1 ตามลำดับ และน้อยที่สุด

-1122. กราฟที่ 1 แสดงจำนวนสรุปการรับเงิน การจ่ายเงิน และเงินคงเหลือ ประจำไตรมาส 7,000,000.00

งบประมาณ ปี 2565

6,000,000.00 5,000,000.00 4,000,000.00

การรับเงิน

3,000,000.00

เงินรับคืน

การจ่ายเงิน เงินคงเหลือ

2,000,000.00 1,000,000.00 0.00

ไตรมาส 1

ไตรมาส 2

ไตรมาส 3

ไตรมาส 4

จากกราฟที่ 1 แสดงจำนวนสรุปการรับเงิน การจ่ายเงิน และเงินคงเหลือ ประจำไตรมาส พบว่าใน การดำเนินงานปีงบประมาณ 2565 มีการรับเงินมากกว่า เงินคงเหลือและการจ่ายเงิน ตามลำดับ ซึ่งในทาง ตรงกันข้าม เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงไม่สามารถ รวมกลุ่มได้ และมีการจ่ายเงิน เพื่อ สนับ สนุนโครงการให้กับหน่ว ยงาน องค์กรหรือกลุ่มประชาชนได้ลดลง ตามลำดับ (ตั้งแต่ไตรมาส 1 – 4 ) รวมถึงมีการเงินคืนโครงการอย่างต่อเนื่อง (ตั้งแต่ไตรมาส 2 – 4) จนทำให้ มีเงินคงเหลือมากกว่า 3 เท่าของรายจ่ายเงิน ซึ่งอาจทำให้ ประชาชนขาดเข้าถึงการบริการสาธารณสุขอย่างมา ทั่วถึงในปีงบประมาณ 2565 ได้

-113-

ผลการดำเนินงานโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565 ตารางที่ 3 แสดงสรุปแผนงานโครงการแยกตามประเภทการสนับสนุน ประเภทกิจกรรม ประเภทที่ 1 สนับสนุนหน่วยบริการ/สถาน บริการ/หน่วยงานสาธารณสุข ประเภทที่ 2 สนับสนุนองค์กรหรือกลุ่ม ประชาชน/หน่วยงานอื่น ประเภทที่ 3 สนับสนุนศูนย์ เด็กเล็ก/ ผู้สูงอายุ/คนพิการ ประเภทที่ 4 สนับสนุนการบริหาร/พัฒนา กองทุนฯ ประเภทที่ 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาด/ ภัยพิบัติ รวมทุกประเภท

โครงการที่ขอรับ ผลการอนุมัติ ร้อยละของ งบประมาณ โครงการ จำนวนโครงการ (จำนวน) (จำนวน) ที่อนุมัติทั้งหมด 23 23 33.82 28

28

41.18

2

2

2.94

2

2

2.94

13

13

19.12

68

68

100

หมายเหตุ ยกเลิก 5 โครงการ

แผนภูมิที่ 3 แสดงสัดส่วนร้อยละการเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณกองทุนหลักประกัน สุขภาพ เทศบาลนครระยอง แยกตามประเภทการสนับสนุน

ร้อยละ 2.94

ร้อยละ 19.12

ร้อยละ…

ร้อยละ 33.82

ร้อยละ 41.18

หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข 23 โครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น 28 โครงการ สนับสนุนศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สงู อายุ/คนพิการ 2 โครงการ สนับสนุนการบริหาร/พัฒนากองทุนฯ 2 โครงการ สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ 13 โครงการ

จาก...

-114จากแผนภูมิที่ 2 แสดงสัดส่วนการเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณกองทุน หลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง แยกตามประเภทการสนับสนุน พบว่า ในปีงบประมาณ 2565 มี องค์กร/กลุ่มประชาชน/หน่วยงานอื่น และในพื้นที่เทศบาลนครระยอง ได้เสนอโครงการเข้ามาขอรับการ สนับสนุนงบประมาณกองทุนฯ ในสัดส่ว นที่ใกล้เคียงกับหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข แสดงให้เห็นถึงบทบาทของภาคประชาชนที่เข้ามาร่วมดำเนินงานด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก/ศูน ย์พัฒ นาและฟื้น ฟูคุณภาพชีว ิตผู้สูงอายุหรือผู้พิการมีสัดส่ว นที่ค่อนข้างน้อย ซึ่งเพิ่มมาจาก ปีงบประมาณ 2564 เนื่องจากทางกองทุนฯ ได้ดำเนินการประชุมซักซ้อมความเข้าใจในการขอรับงบประมาณ ให้กับทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครระยอง ได้มี การจัดบริการด้านสาธารณสุขให้แก่บุคลากรภายในศูนย์ฯ ดังกล่าว อย่างครอบคลุม สำหรับโครงการเพื่อการ บริหารและจัดการกองทุนฯ มีการจัดกิจกรรม ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการทั้งด้านเอกสาร ด้านการเงิน ด้านการติดตามประเมินผลและการประชาสัมพันธ์กองทุนฯ และการจัดทำแผนกองทุนฯ ในส่วนของการ พัฒนาศักยภาพบุคลากรไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโค โรนา 2019 (COVID-19) จึงไม่สามารถรวมกลุ่มได้ และในปีงบประมาณ 2565 มีการขอรับงบกองทุนฯ ที่ เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปใช้ดำเนินโครงการกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ตารางที่ 4 แสดงสรุปผลการดำเนินโครงการที่ขอรับงบประมาณสนับสนุนจ ชื่อโครงการ

ผลการดำเนินงาน

ผลสัมฤทธิ์ตา การบรรลุตามวัตถุป บรรลุ ไม่บ

ประเภทกิจกรรม ๑ : กิจกรรมการสนับสนุนหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข  1. โครงการตรวจสารปนเปื้อนใน ดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหารสดและ อาหาร อาหารแห้งในร้านจำหน่ายอาหารตลาดแม่ แดงเอกชน จำนวน 67 ร้าน/112 ตัวอย่าง โดยไม่พบสารปนเปื้อน จำนวน 61 ร้าน/ 106 ตัวอย่าง 2. โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัย 1. แผงลอยจำหน่ายอาหารในที่/ทาง  ด้านอาหารในแผงลอยจำหน่าย สาธารณะ ได้รับการตรวจเฝ้าระวังความ อาหาร ประจำปีงบประมาณ ปลอดภัยด้านอาหาร จำนวน 137 ร้าน 2565 2. แผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่เอกชน ได้รับการตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยด้าน อาหาร จำนวน 228 ร้าน 3. ผู้ประกอบกิจการ ผู้ปรุง/ผู้เสิรฟ์ อาหาร มี ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของสุขวิทยาส่วน บุคคล และสุขลักษณะของสถานที่ปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหาร จำนวน 365 คน  3. โครงการส่งเสริมพัฒนาการ ราก 1.เด็กอายุ 9,18,30,42,60 เดือน และเด็ก แก้วแห่งชีวิต อายุ 2-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการ ประเมินและส่งเสริมพัฒนาการ จำนวน 186 คน 2.ครู ผู้ดูแลเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครอง มีส่วนร่วม ในการส่งเสริมพัฒนาการในเด็กปฐมวัย จำนวน 116 คน

จากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565

ามวัตถุประสงค์ ประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม บรรลุ

การเบิกจ่ายงบประมาณ อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท)

-

67 ร้าน

56,600

26,674.40 (47.13%)

29,925.60 (52.87%)

-

365 ร้าน

55,300

42,910 (77.59%)

12,390 (22.41%

-

302 คน

40,000

0

40,000 (100%)

ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน

เนื่องจากสถานการณ์ โควิด 19 ทำให้ต้องปรับ รูปแบบกิจกรรมเป็น แบบอบรมออนไลน์ แทนการรวมกลุ่มคน จึงไม่ใช้งบประมาณ

ชื่อโครงการ

ผลการดำเนินงาน

ผลสัมฤท การบรรลุตามวัตถ บรรลุ ไม

ประเภทกิจกรรม ๑ : กิจกรรมการสนับสนุนหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข  4. โครงการหนูน้อยยิม้ สวย สุขภาพ เด็กปฐมวัยในศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก/โรงเรียน ฟันดี มีความรู้การแปรงฟันที่ถูกวิธี จำนวน 209 คน  5. โครงการวัยเรียน วัยใส ใส่ใจ -นักเรียนได้รับความรู้เรื่องสุขอนามัยทางเพศ เพศศึกษา และพัฒนาการของอวัยวะในร่างกาย จำนวน 626 คน -นักเรียนมีความรู้และทักษะในการจัดการกับ สถานการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ จำนวน 559 คน 6. โครงการรวมพลังป้องกันโรค ขาดสารไอโอดีน

7. โครงการสุขภาพดีใน สวนสาธารณะ เขตเทศบาลนครระยอง

1.ชุมชนที่ประชาชนได้รับความรู้ เรื่องการใช้ เกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน จำนวน 29 ชุมชน 2.กลุม่ เยาวชน ยุวทูตในโรงเรียนมีส่วนร่วม ในการส่งเสริมเรื่องการใช้เกลือและผลิตภัณฑ์ เสริมไอโอดีน จำนวน 33 คน 3.ผู้ประกอบการตลาดแม่แดงและประชาชน ในเขตฯได้รับความรู้เรื่องการใช้เกลือและ ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดัน จำนวน 66 คน ได้ดำเนินการซื้อจ้างชุดนิทรรศการ Roll up เนื้อหาเกี่ยวกับ:การออกกำลังกาย โรคความ ดันโลหิตสูง เบาหวาน เพื่อใช้เป็นสื่อให้ ความรู้



 สถา โคว ให้ไม ดำเน

ทธิ์ตามวัตถุประสงค์ ถุประสงค์ จำนวน ม่บรรลุ ผู้เข้าร่วม

อนุมัติ (บาท)

การเบิกจ่ายงบประมาณ เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท)

(ต่อ) -

209 คน

15,000

6,070 (40.47%)

8,930 (59.53%)

-

626 คน

10,000

0

10,000 (100%)

-

-29 ชุมชน -ยุวทูต จำนวน 33 คน -ผู้ประกอบการ จำนวน 66 คน

20,000

11,386 (56.93%)

8,614 (43.07%)

 เพราะ านการณ์ วิด-19 ทำ ม่สามารถ นินการได้

-

53,700

11,500 (21.42%)

42,200 (78.58%)

ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน

เนื่องจากสถานการณ์โค วิด 19 ทำให้ต้องปรับ รูปแบบกิจกรรมเป็น แบบประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อแทนการรวมกลุ่มคน จึงไม่ใช้งบประมาณ

เนื่องจากสถานการณ์ โควิด 19 ทำให้ไม่ สามารถดำเนินการได้

ผลสัมฤทธ ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุตามวัตถ บรรลุ ไม ประเภทกิจกรรม ๑ : กิจกรรมการสนับสนุนหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข (ต  8. โครงการตรวจคัดกรองโรคตาต้อ 1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาต้อ กระจกในประชาชนกลุม่ เสี่ยง กระจก อายุ 45 ปีขึ้นไป ตรวจยืนยันความ อายุ 45 ปีขึ้นไป ผิดปกติทางด้านการมองเห็นโดยจักษุแพทย์ และได้รับความรูโ้ รคตาต้อกระจกและการ ป้องกันโรค จำนวน 105 คน 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาต้อ กระจก อายุ 45 ปีขึ้นไป ตรวจพบความ ผิดปกติของตาจากโรคตาต้อกระจกได้รับการ รักษาที่ถูกต้อง จำนวน 21 คน

9. โครงการตลาดสดน่าซื้อ อาหาร สะอาดปลอดภัย ประจำปี งบประมาณ 2565

1.แผงค้าจำหน่ายอาหารปรุงสุกได้รับการเก็บ ตัวอย่างอาหารส่งตรวจเฝ้าระวังเชื้อโรค จำนวน 63 แผงค้า/80 ตัวอย่าง 2.แผงค้าจำหน่ายอาหารที่เข้าข่ายมีสาร ปนเปื้อน ได้รับการเก็บตัวอย่างอาหารตรวจ เฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร จำนวน 286 แผงค้า/353 ตัวอย่าง 3. ผู้จำหน่ายสินค้าได้รับความรู้ ความเข้าใจ เรื่องความปลอดภัยด้านอาหารและเลือกแหล่ง รับซื้อ/ผลิตสินค้า ทีส่ ะอาด มีคณ ุ ภาพจาก แหล่งที่น่าเชื่อถือได้ จำนวน 300 คน 4.มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้อาหารอย่าง ถูกต้องแก่ประชาชน ผ่านช่องทางสื่อ ประชาสัมพันธ์ต่างๆ จำนวน 4 ช่องทาง



ธิ์ตามวัตถุประสงค์ ถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ม่บรรลุ ต่อ) 105 คน

-

359 ร้าน

การเบิกจ่ายงบประมาณ ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท) 75,000

35,000 (46.67%)

40,000 (53.33%)

95,100

91,723.59 (96.45%)

3,376.41 (3.55%)

-เนื่องจากสถานการณ์โค วิด 19 ทำให้ไม่ได้ ดำเนินการคัดกรอง/ ติดตามในชุมชนมาคัด กรองสายตา -ในวันจัดโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่ ประสานงานทาง โทรศัพท์ไม่มาเข้ารับ บริการตรวจสายตา

ผลสัมฤทธ ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุตามวัตถ บรรลุ ไม ประเภทกิจกรรม ๑ : กิจกรรมการสนับสนุนหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข (ต  10. โครงการสำรวจและตรวจเฝ้า 1. สถานประกอบกิจการผลิตน้ำบริโภค โรงผลิต น้ำแข็ง และตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญได้รับการสำรวจ ระวังคุณภาพน้ำดื่ม ประจำปี และจัดทำฐานข้อมูล จำนวน 251 แห่ง งบประมาณ 2565 2.สถานประกอบกิจการผลิตน้ำบริโภค โรงผลิตน้ำแข็งได้รับการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ดื่มเบื้องต้น จำนวน 5 แห่ง 3. ร้านจำหน่ายน้ำแข็งในชุมชนได้รับการตรวจ เฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้น จำนวน 23 แห่ง 4.จำนวนตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในเขตเทศบาลนคร ระยองได้รับการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่ม เบื้องต้น จำนวน 223 ตู้ 5.ผู้ประกอบการผู้ปฏิบัติงาน ได้รับความรู้และ คำแนะนำในการบำรุงรักษาการทำความสะอาด และสุขลักษณะส่วนบุคคล จำนวน 100 คน 6. จุดเก็บน้ำปลายท่อจากหัวจ่ายหรือจุดบรรจุน้ำ จำนวน 4 จุด ได้รับการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจ ทางห้องปฏิบัติการตามเกณฑ์น้ำประปาดื่มได้ของ กรมอนามัย

11. โครงการอบรมหลักสูตรผู้ ประกอบกิจการ ประจำปี งบประมาณ 2565

1. ผู้ประกอบกิจการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับ การอบรมหลักสูตรผู้สมั ผัสอาหารตาม กฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่าย อาหาร พ.ศ. 2561 จำนวน 60 คน 2. ผู้ประกอบกิจการร้านอาหารผ่านการ ทดสอบความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 50 คน



ธิ์ตามวัตถุประสงค์ ถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ม่บรรลุ ต่อ) 251 ร้าน

-

60 คน

การเบิกจ่ายงบประมาณ ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท) 71,300

50,099 (70.27%)

21,201 (29.73%)

64,700

48,980 (75.70%)

15,720 (24.30%)

ผลสัมฤทธ ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุตามวัตถ บรรลุ ไม ประเภทกิจกรรม ๑ : กิจกรรมการสนับสนุนหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข (ต  12. โครงการรักเราปลอดภัยใน 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ได้รับ เดือนแห่งความรัก ความรู้เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์และวิธีการป้องกันโรค จำนวน 90 คน 2.ประชาชนทั่วไปได้รับความรู้เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวิธีการป้องกัน โรค จำนวน 50 คน  13. โครงการเฝ้าระวังและพัฒนา 1.สถานประกอบการจำหน่ายอาหารได้รับการ มาตรฐานสถานประกอบการ ตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานร้านอาหาร จำหน่ายอาหาร ประจำปี ปลอดภัยเทศบาลนครระยอง และแบบตรวจ งบประมาณ 2565 สุขาภิบาลอาหารสำหรับสถานที่จำหน่าย อาหารตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของ สถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 จำนวน 263 แห่ง 2. ผู้ประกอบกิจการ ผู้ปรุง /ผู้เสิร์ฟอาหาร ได้รับความรู้เรื่องสุขวิทยาส่วน บุคคล และสุขลักษณะของสถานที่ปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหาร จำนวน 500 คน  14. โครงการคนรุ่นใหม่ห่างไกล นักเรียนได้รับความรูเ้ กี่ยวกับโทษและพิษภัย อบายมุข ของอบายมุขสุรา บุหรี่ ยาเสพติด และมีทักษะการปฏิเสธและป้องกัน จำนวน 150 คน

ธิ์ตามวัตถุประสงค์ ถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ม่บรรลุ ต่อ) 150

การเบิกจ่ายงบประมาณ ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท) 38,690

22,902 (59.19%)

15,788 (40.81%)

-

263 แห่ง

137,000

77,814 (59.19%)

59,186 (59.19%)

-

150 คน

14,000

11,425 (81.61%)

2,575 (18.39%)

ผลสัมฤทธ ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุตามวัตถ บรรลุ ไม ประเภทกิจกรรม ๑ : กิจกรรมการสนับสนุนหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข (ต  15. โครงการรณรงค์ป้องกัน กิจกรรมที่ 1 โรคติดต่อนำโดยแมลง 1.ให้ความรู้ในโรงเรียน จำนวน 3 แห่ง ปีงบประมาณ 2565 2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง ประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ช่องทาง 3. ติดตั้งจุดการเข้าถึงทรายกำจัดลูกน้ำ จำนวน 35 แห่ง กิจกรรมที่ 2 พื้นที่เสี่ยงในชุมชนมีกิจกรรมทำลายแหล่ง เพาะพันธ์ลูกน้ำและจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อ ไม่ให้เป็นแหล่งเสีย่ งต่อการเกิดการระบาดของ โรคติดต่อ จำนวน 5 แห่ง  16. โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพ 1.หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการตรวจสุขภาพ ช่องปากฝึกการควบคุมคราบจุลินทรีย์ และฝึก ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ทักษะการแปรงฟันแบบปฏิบตั ิ จำนวน 292 คน 2.หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่มีปัญหาในช่องปาก ได้รับบริการทันตกรรม จำนวน 173 คน 17. โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพ ในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 0-5 ปี

1.เด็กก่อนวัยเรียน อายุ 0-5 ปีในคลินิกเด็กดี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน 372 คน 2.ผู้ปกครองหรือผูด้ ูแลเด็กได้รับความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก จำนวน 275 คน 3.เด็กก่อนวัยเรียน อายุ 0-5 ปีในคลินิกเด็กดี ที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุการเคลือบฟลูออไรด์ จำนวน 72 คน



ธิ์ตามวัตถุประสงค์ ถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ม่บรรลุ ต่อ) 150 คน

การเบิกจ่ายงบประมาณ ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท) 67,000

50,510 (75.39%)

16,490 (24.61%)

-

173 คน

28,003

28,003 (100%)

0

-

372 คน

17,548

17,548 (100%)

0

ผลสัมฤทธ ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุตามวัตถ บรรลุ ไม ประเภทกิจกรรม ๑ : กิจกรรมการสนับสนุนหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข (ต  18. โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพ 1. เด็กก่อนวัยเรียนได้รบั การตรวจสุขภาพช่อง ในเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3-5 ปี ปากและได้รับการการเคลือบฟลูออไรด์วานิช จำนวน 1,038 คน 2.เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการฝึกทักษะการ แปรงฟันแบบแห้ง จำนวน 1,038 คน รวม 18 โครงการ ประเภทกิจกรรม 2 : กิจกรรมการสนับสนุนองค์กร/กลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่นๆ 19. โครงการออกกำลังกายเพื่อ ครู บุคลากร นักเรียน/นักศึกษาเข้าร่วม สุขภาพ ขยับกาย สบายชีวา กิจกรรมออกกำลังกาย จำนวน 785 คน 20. โครงการอบรมให้ความรู้ด้าน อาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลนครระยอง สุขภาพสำหรับอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้ทางด้าน สาธารณสุข เทศบาลนครระยอง สุขภาพครอบคลุมทุกมิติ จำนวน 300 คน 21. โครงการอบรมให้ความรู้ด้าน ประธานศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน สุขภาพสำหรับประธาน ศสมช. (ศสมช.)เทศบาลนครระยองและผูเ้ กี่ยวข้อง เทศบาลนครระยอง ได้รับความรู้ในด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ ครอบคลุมทุกมิติ 22. โครงการรวมวัยผู้สูงอายุ เติม สมาชิกชมรมผู้สูงอายุเทศบาลนครระยอง ความสุขให้กันและกัน ประจำปี ได้รับความรู้ในเรื่องสุขภาพและมีความพึง งบประมาณ 2565 พอใจในการอบรม จำนวน 519 คน 23. โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วย 1.ผูส้ ูงอายุที่มีความสนใจในการเล่นดนตรีไทย การเล่นดนตรีไทย มีการเรียนดนตรีไทย จำนวน 24 คน 2.มีการจัดการเรียนการสอยดนตรีไทยให้แก่ กลุ่มเป้าหมาย อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆละ 2 ชั่วโมง รวมจำนวน 96 ครั้ง

  

 

ธิ์ตามวัตถุประสงค์ ถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ม่บรรลุ ต่อ) 1,038 คน

การเบิกจ่ายงบประมาณ ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท) 74,000

74,000 (100%)

0

932,941

606,545 (65.01%)

326,396 (34.99%)

6,500 (100%) 612,000 (95.74%)

0 27,200 (4.26%)

-

785 คน

6,500

-

300 คน

639,200

-

35 คน

33,275

31,475 (94.59%)

1,800 (5.41%)

-

519 คน

346,000

68,000 (19.65%)

278,000 (80.35%)

-

24 คน

87,900

87,400 (99.43%)

500 (0.57%)

ผลสัมฤทธิ์ต ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุตามวัตถุปร บรรลุ ไม่บ ประเภทกิจกรรม 2 : กิจกรรมการสนับสนุนองค์กร/กลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่นๆ (ต่อ)  24. โครงการออกกำลังกายเพื่อ -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ สุขภาพชุมชนปากน้ำ 1 ประจำปี ออกกำลังกายด้วยการเต้นไลน์แดนซ์ งบประมาณ 2565 จำนวน 13 คนต่อวัน ทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 17.30-18.30 น. ณ ลานออกกำลังกาย ชายคลองชุมชนปากน้ำ 1 -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  25. โครงการสร้างเสริมสุขภาพกาย -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ และใจด้วยไลน์แดนซ์ประจำปี ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ จำนวน 14 คน งบประมาณ 2565 ต่อวัน ทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 16.30-17.30 น. ณ สวนศรีเมือง -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  26.โครงการสุขภาพร่างกายและ -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ จิตใจดีด้วยไลน์แดนซ์ ประจำปี ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ จำนวน 15 คน งบประมาณ 2565 ต่อวัน ทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 18.00-19.00 น. ณ สวนศรีเมือง -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  27. โครงการส่งเสริมสุขภาพกายใจ -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ ทุกกลุ่มวัยด้วยกิจกรรมโยคะ ออกกำลังกายด้วยโยคะ จำนวน 10 คนต่อวัน ประจำปีงบประมาณ 2565 ทุกวันจันทร์,พุธ,ศุกร์ เวลา 6.00-7.00 น. ณ สวนศรีเมือง -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง

ตามวัตถุประสงค์ ระสงค์ จำนวน ผู ้เข้าร่วม บรรลุ

การเบิกจ่ายงบประมาณ ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท)

-

13 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

14 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

15 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

10 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

ผลสัมฤทธิ์ต ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุตามวัตถุปร บรรลุ ไม่บ ประเภทกิจกรรม 2 : กิจกรรมการสนับสนุนองค์กร/กลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่นๆ (ต่อ)  28. โครงการเสริมสร้างสุขภาพ -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ ขยับกาย สบายชีวี ด้วยไลน์แดนซ์ ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์และลีลาศ ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 17 คนต่อวัน ทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 19.00-20.00 น. ณ สวนศรีเมือง -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  29. โครงการรวมพล คนรักษ์ -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ สุขภาพ ประจำปีงบประมาณ ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ จำนวน 12 คน 2565 ต่อวัน ทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 19.00-20.00 น. ณ ลานอเนกประสงค์ชุมชนสวนวัดโขด -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  30. โครงการส่งเสริมการออกกำลัง -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ กายเพื่อกายและใจแข็งแรง ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ จำนวน 19 คน ประจำปีงบประมาณ 2565 ต่อวัน ทุกวันพุธ-ศุกร์ เวลา 18.30-19.30 น. ณ สวนสาธารณะโขดปอ -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  31. โครงการสุขภาพแข็งแรง ใจ -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ สบาย ห่างไกลโรค ประจำปี ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ จำนวน 17 คน งบประมาณ 2565 ต่อวัน ทุกวันพฤหัสบดี-เสาร์ เวลา 18.0019.00 น. ณ ลานออกกำลังกายชุมชนทาง หลวง-พูนไฉ่ -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง

ตามวัตถุประสงค์ ระสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม บรรลุ

การเบิกจ่ายงบประมาณ ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท)

-

17 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

12 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

19 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

17 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

ผลสัมฤทธ ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุตามวัตถ บรรลุ ไม ประเภทกิจกรรม 2 : กิจกรรมการสนับสนุนองค์กร/กลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่นๆ (ต่อ)  32. โครงการลีลาศพาสุขใจกาย -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ แข็งแรงประจำปีงบประมาณ ออกกำลังกายเต้นลีลาศ จำนวน 20 คนต่อวัน 2565 ทุกวันอังคาร-พฤหัส เวลา 13.30-14.30 น. ณ ห้องสมุดประชาชนสวนศรีเมือง -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  33. โครงการสร้างสุขภาพโดยการ -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ ออกกำลังกายเต้นแอโรบิค สวนศรี ออกกำลังกายเต้นแอโรบิค จำนวน 20 คนต่อ เมืองระยอง ประจำปีงบประมาณ วัน ทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 18.00-19.00 น. 2565 ณ สวนศรีเมือง -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  34. โครงการออกกำลังกายเพื่อ -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ สุขภาพกายและใจด้วยไลน์แดนซ์ ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ จำนวน 20 คน ประจำปีงบประมาณ 2565 ต่อวัน ทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 19.00-20.00 น. ณ สวนศรีเมือง -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  35. โครงการสุขใจกายสบายด้วย -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ โยคะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ออกกำลังกายด้วยโยคะ จำนวน 17 คนต่อวัน ทุกวันจันทร์-อังคาร,ศุกร์ เวลา 7.30-8.30 ณ สวนศรีเมือง -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง

ธิ์ตามวัตถุประสงค์ ถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ม่บรรลุ

การเบิกจ่ายงบประมาณ ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท)

-

20 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

20 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

20 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

17 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

ผลสัมฤทธ ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุตามวัตถ บรรลุ ไม ประเภทกิจกรรม 2 : กิจกรรมการสนับสนุนองค์กร/กลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่นๆ (ต่อ)  36. โครงการส่งเสริมสุขภาพกาย -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ และใจด้วยลีลาศ ประจำปี ออกกำลังกายเต้นลีลาศ จำนวน 20 คนต่อวัน งบประมาณ 2565 ทุกวันพฤหัสบดี-เสาร์ เวลา 19.00-20.00 น. ณ สวนศรีเมือง -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  37. โครงการแข็งแรงใจสบายด้วย -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ ไลน์แดนซ์ ชุมชนริมน้ำ-ท่าเกตุ ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ จำนวน 21 คน ประจำปีงบประมาณ 2565 ต่อวัน ทุกวันอังคาร-พฤหัส เวลา 18.00-19.00 น. ณ ลานออกกำลังกายเลียบคลองชลประทาน -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  38. โครงการออกกำลังกายเพื่อ -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ สุขภาพ แอโรบิค/ไลน์แดนซ์ ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์และแอโรบิค ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 12 คนต่อวัน ทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 18.00-19.00 น. ณ ลานวัดเกาะกลอย -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  39. โครงการออกกำลังกาย สบาย -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ ชีวี ชุมชนเนินพระ ประจำปี ออกกำลังกายเต้นแอโรบิค จำนวน 18 คนต่อ งบประมาณ 2565 วัน ทุกวันพฤหัส-เสาร์ เวลา 18.00-19.00 น. ณ สวนสาธารณะโขดปอ -.มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง

ธิ์ตามวัตถุประสงค์ ถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ม่บรรลุ

การเบิกจ่ายงบประมาณ ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท)

-

20 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

21 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

12 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

18 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

ผลสัมฤทธ ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุตามวัตถ บรรลุ ไม ประเภทกิจกรรม 2 : กิจกรรมการสนับสนุนองค์กร/กลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่นๆ (ต่อ)  40. โครงการส่งเสริมการออกกำลัง -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ กายเพื่อสุขภาพกายและใจ ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ จำนวน 13 คน ปีงบประมาณ 2565 ต่อวัน ทุกวันศุกร์-เสาร์ เวลา 17.30-18.30 น. ณ สวนป่าสิริกิตติส์ องพี่น้อง -มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  41. โครงการออกกำลังกายสูงวัยสุข -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ ใจ ประจำปีงบประมาณ 2565 ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ จำนวน 10 คน ต่อวัน ทุกวันจันทร์,พุธ,ศุกร์ เวลา 13.0014.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์เมืองเก่ายมจินดา -มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง 42. โครงการสุขใจ กายสบาย ด้วย ไลน์แดนซ์ ประจำปีงบประมาณ 2565

43. โครงการสุขภาพกายและใจ แข็งแรงด้วยการเต้นไลน์แดนซ์ ชุมชนทุ่งโตนด

-สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ จำนวน 21 คน ต่อวัน ทุกวันอังคาร-พฤหัส เวลา 17.0018.00 น. ณ ลานออกกำลังกายเลียบคลอง ชลประทาน -มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ จำนวน 21 คน ต่อวัน ทุกวันอาทิตย์-อังคาร เวลา 18.0019.00 น. ณ สวนสาธารณะโขดศาลเจ้า -มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง





ธิ์ตามวัตถุประสงค์ ถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ม่บรรลุ

การเบิกจ่ายงบประมาณ อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท)

-

13 คนต่อวัน

39,600

39,600 (100%)

0

-

10 คนต่อวัน

40,100

29,300 (73.07%)

10,800 (26.93%)

-

21 คนต่อวัน

40,100

39,600 (98.75%)

500 (1.25%)

-

21 คนต่อวัน

50,100

50,100 (100%)

0

ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน

เนื่องจากสถานการณ์โค วิด-19 ส่งผลให้ไม่สะดวกที่ จะรวมกลุ่มเพื่อจัด กิจกรรมในบางช่วงเวลา ซึ่งส่วนใหญ่สมาชิกเป็น ผู้สูงอายุ ซึ่งมีความเสีย่ ง ต่อการติดเชื้อ

ผลสัมฤท ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุตามวัต บรรลุ ประเภทกิจกรรม 2 : กิจกรรมการสนับสนุนองค์กร/กลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่นๆ (ต่อ)  44. โครงการรักสุขภาพ รักษ์ลลี าศ -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ ออกกำลังกายเต้นลีลาศ จำนวน 16 คนต่อวัน ทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 16.30-17.30 น. ณ สวนสาธารณะโขดปอ -มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  45. โครงการออกกำลังกายเพื่อ -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ สุขภาพ ประจำปีงบประมาณ ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์และลีลาศ 2565 จำนวน 20 คนต่อวัน ทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 16.30-17.30 น. ณ สวนสาธารณะโขดปอ -มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง  46.โครงการรักสุขภาพ ด้วยการเต้น -สมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนที่สนใจ มีการ ไลน์แดนซ์ ประจำปีงบประมาณ ออกกำลังกายเต้นไลน์แดนซ์ จำนวน 13 คน 2565 ต่อวัน ทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 17.00-18.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนเทศบาล วัดปากน้ำ -มีการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้น จำนวน 2 ครั้ง รวม 28 โครงการ

ทธิ์ตามวัตถุประสงค์ ตถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ไม่บรรลุ

การเบิกจ่ายงบประมาณ อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท)

-

16 คนต่อวัน

50,100

50,100 (100%)

0

-

20 คนต่อวัน

42,400

42,400 (100%)

0

-

13 คนต่อวัน

32,100

28,500 (88.79%)

3,600 (11.21%)

2,040,975

1,718,575 (84.21%)

322,400 (15.79%)

ปัญหา/อุปสรรคใน การดำเนินงาน

ผลสัมฤท ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุตามวัต บรรลุ ประเภทกิจกรรม 3 : กิจกรรมการสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ศูนย์พัฒ  47. โครงการพัฒนาขีดความ 1.พ่อแม่ ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง เด็กเล็ก สามารถการดูแลและส่งเสริม ได้รับความรูค้ วามเข้าใจเรื่องพัฒนาการ พัฒนาการเด็กปฐมวัย พฤติกรรม และสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ได้อย่างเหมาะสมกับวัยของเด็ก จำนวน 122 คน 2.พ่อแม่ ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง เด็กเล็ก มีการสร้างกิจกรรม สานสัมพันธ์การเลีย้ งดูเด็ก ให้มีความสุขและมีการเจริญเติบโตทั้งด้าน ร่างกายและจิตใจที่ดี  48. โครงการเล่นเปลี่ยนโลกของ 1.เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่า เด็กปฐมวัย ประดู่ ได้รับการเรียนรูผ้ ่านการเล่น เพื่อ ป้องกันปัญหาเด็กติดสมาร์ทโฟน และส่งเสริม ให้เด็กมีพัฒนาการทีเ่ หมาะสมตามวัยครบ ทั้ง 4 ด้าน จำนวน 45 คน 2. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่า ประดู่ มีอุปกรณ์การเล่น การเรียนรู้ ในการจัด กิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ ได้อย่าง เหมาะสม เพียงพอ 3 .เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่า ประดู่ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการ ด้าน การฟ้ง การร้อง การเล่น การเต้น ตามรูปแบบ การเล่นของแต่ละท้องถิ่น เรียนรู้วธิ ีการเล่น ของเด็กไทยในแต่ละภูมิภาค จำนวน 45 คน จำนวน 2 โครงการ

ทธิ์ตามวัตถุประสงค์ ตถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ไม่บรรลุ ฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 122 คน

-

45 คน

การเบิกจ่ายงบประมาณ อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท) 41,280

34,080 (82.56%)

7,200 (17.44%)

28,576

28,576 (82.56%)

0

69,856

62,656

7,200

ปัญหา/อุปสรรคใน การดำเนินงาน

ชื่อโครงการ

ผลการดำเนินงาน

ประเภทกิจกรรม 4 : กิจกรรมการสนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ 49. โครงการสนับสนุนการ 1. มีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน ดำเนินงานและการบริหารจัดการ ฯ/คณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 13 กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาล ครั้ง นครระยอง ประจำปีงบประมาณ 2.มีการรายงานและบันทึกข้อมูลด้านการเงิน 2565 และข้อมูลแผนงาน/โครงการ ของกองทุนฯ ผ่านระบบออนไลน์ อย่างครบถ้วนทุกครั้ง 3. ประชาชนและหน่วยงานต่างๆได้รจู้ ัก กองทุนฯ จำนวน 180 คน 4. มีการประชาสัมพันธ์กองทุนฯ ผ่านสื่อต่างๆ ครบ 4 ช่องทาง 50. โครงการอบรมเชิงปฏิบตั ิการ 1.กลุม่ เป้าหมาย เข้าร่วมโครงการฯ รวมพลัง สร้างแผนสุขภาพกองทุน จำนวน 275 คน หลักประกันสุขภาพ เทศบาลนคร 2. กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนคร ระยองประจำปีงบประมาณ 2565 ระยอง มีแผนงานประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 1 ฉบับ 3. ประชาชนและหน่วยงานต่างๆได้รจู้ ัก กองทุนฯ จำนวน 180 คน รวม 2 โครงการ

ผลสัมฤท การบรรลุตามวัต บรรลุ 



(89.69%)

ทธิ์ตามวัตถุประสงค์ ตถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ไม่บรรลุ

(10.31%)

การเบิกจ่ายงบประมาณ อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท)

-

30 คน

215,000

67,742.40 (31.51%)

147,257.60 (68.49%)

-

275 คน

178,000

122,913.50 (69.05%)

55,086.50 (30.95%)

393,000

190,655.90 (48.51%)

202,344.10 (51.49%)

ปัญหา/อุปสรรคใน การดำเนินงาน

ชื่อโครงการ

ผลการดำเนินงาน

ประเภทกิจกรรม 5 : กิจกรรมการสนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ 51. โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและ นักเรียนและบุคลากรโรงเรียนระยองวิทยาคม ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ปากน้ำได้รับการตรวจคัดกรอง เพือ่ เฝ้าระวัง 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน ป้องกันและควบคุม มีวสั ดุอุปกรณ์ในการ ป้องกัน และมีความรู้ ความเข้าใจ ในการ ระยองวิทยาคมปากน้ำ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 861 คน 52. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและ นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนนครระยอง ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา วิทยาคม (วัดโขดใต้) มีวสั ดุอุปกรณ์ในการ 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ป้องกัน และมีความรู้ ความเข้าใจ ในการ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 1,205 คน 53. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

54. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

1. นักเรียน บุคลากร ผู้ปกครอง โรงเรียนสาธิต เทศบาลนครระยอง(วัดตรีรัตนาราม)ได้รับการ ส่งเสริมให้ความรู้ในการป้องกันตนเองจากเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 3,625 คน 2.ดำเนินการเฝ้าระวัง คัดกรอง สอบสวนและ ควบคุมผู้ป่วย/ผูส้ ัมผัส/ผูเ้ สีย่ งต่อเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ทุกราย ตลาดและศูนย์อาหารในความรับผิดชอบของ เทศบาลนครระยอง มีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม และมีทรัพยากรเพียงพอในการ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 5 แห่ง

ผลสัมฤท การบรรลุตามวัต บรรลุ 







ทธิ์ตามวัตถุประสงค์ ตถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ไม่บรรลุ

การเบิกจ่ายงบประมาณ อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท)

-

30 คน

215,000

67,742.40 (31.51%)

147,257.60 (68.49%)

-

1,205 คน

100,000

100,000 (100%)

0

-

3,625 คน

99,950

99,950 (100%)

0

-

5 แห่ง

57,400

49,880 (86.90%)

7,520 (13.10%)

ปัญหา/อุปสรรคใน การดำเนินงาน

ชื่อโครงการ

ผลการดำเนินงาน

ประเภทกิจกรรม 5 : กิจกรรมการสนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ (ต่อ) 55. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและ ประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง 20,000 ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ครัวเรือน ได้รับความรู้ในการป้องกันโรคและมี 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาล การดำเนินการเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ ระบาดของโรคติดต่อที่ได้รับการรายงานข้อมูล นครระยอง

ผลสัมฤท การบรรลุตามวัต บรรลุ 

56. โครงการจัดหาชุดตรวจคัด กรอง ATK (Antigen Test kit) ใน โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม

นักเรียน ครู และบุคลากร โรงเรียนเทศบาลวัด โขดทิมทาราม มีชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) และได้รับการตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 จำนวน 1,538 คน



57. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน เทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล

นักเรียน และบุคลากรในโรงเรียนเทศบาลวัด ลุ่มมหาชัยชุมพล ได้รับการคัดกรองเชิงรุกด้วย ชุดตรวจ ATK และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อ ลดความเสีย่ งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) จำนวน 914 คน



58. โครงการจัดซื้อชุดตรวจ นักเรียน ครู และบุคลากร โรงเรียนสาธิต Antigen Test kit (ATK) สำหรับใช้ เทศบาลนครระยอง (วัดตรีรตั นาราม) มีชุด ตรวจให้กับนักเรียนครูและบุคลากร ตรวจ Antigen Test Kit (ATK) และได้รับการ ตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 1,538 คน



ทธิ์ตามวัตถุประสงค์ ตถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ไม่บรรลุ

การเบิกจ่ายงบประมาณ ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท)

-

35,742 คน

819,500

11,976 (1.46%)

807,524 (98.54%)

-

1,538 คน

99,970

99,970 (100%)

0

-

914 คน

62,175

62,175 (100%)

0

-

1,538 คน

99,970

99,970 (100%)

0

เนื่องจากสถานการณ์โค วิด-19 ขณะนี้เริ่ม คลี่คลายลง ประชาชน ได้รับวัคซีนป้องกัน อัตราการตายจึงน้อยลง ความจำเป็นในการใช้ วัสดุอุปกรณ์ในการ ป้องกันน้อยลงด้วย

ชื่อโครงการ

ผลการดำเนินงาน

ประเภทกิจกรรม 5 : กิจกรรมการสนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ (ต่อ) 59. โครงการคัดกรองและค้นหาผูม้ ี 1. นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ความเสีย่ งในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง มีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกีย่ วกับ 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ใน เทศบาลบ้านปากคลอง โรงเรียนผ่านสื่อ จำนวน 2 ช่องทาง 2. นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลองมีอุปกรณ์ สำหรับการป้องกันโรคและได้รับการคัดกรอง เชิงรุกด้วยชุดตรวจ ATK จำนวน 321 คน 60. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและ เด็กปฐมวัยและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดป่าประดู่ ได้รับความรู้ในการป้องกันโรค ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา และมีอุปกรณ์สำหรับการป้องกันโรคติดเชื้อ 2019 (COVID-19) ในศูนย์พัฒนา ไวรัสโคโรนา (Covid-19) จำนวน 82 คน เด็กเล็กวัดป่าประดู่

ผลสัมฤท การบรรลุตามวัต บรรลุ 



61. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ตลาดและศูนย์อาหารในความรับผิดชอบของ เทศบาลนครระยอง มีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม และมีทรัพยากรเพียงพอในการ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 5 แห่ง



62. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนา เด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565

นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาใน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาล นครระยอง ได้รับความรู้การป้องกันโรค และมี อุปกรณ์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 5,600 คน



ทธิ์ตามวัตถุประสงค์ ตถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ไม่บรรลุ

การเบิกจ่ายงบประมาณ ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินงาน อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท)

-

321 คน

70,480

70,130 (99.50%)

350 (0.50%)

-

82 คน

41,740

41,740 (100%)

0

-

5 แห่ง

90,000

89,994 (99.99%)

6 (0.01%)

-

5,600 คน

200,000

199,300 (99.65%)

700 (0.35%)

ชื่อโครงการ

ผลการดำเนินงาน

ประเภทกิจกรรม 5 : กิจกรรมการสนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ (ต่อ) 63. โครงการค้นหาคัดกรองเชิงรุก นักเรียนและครูบุคลากรทางการศึกษา มี ด้วยชุดตรวจโควิด Antigen Test ทรัพยากรเพียงพอในการดำเนินงานเฝ้าระวัง Kit บุคลากรทางการศึกษา โรค COVID-19 สามารถลดความเสี่ยงการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แพร่ระบาดติดเชื้อโรค COVID-19 สู่ ประถมศึกษาระยอง เขต 1 สถานศึกษาและชุมชนและได้รับการตรวจคัด กรองเชิงรุกด้วยชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit รวม 13 โครงการ รวม 63 โครงการ

ผลสัมฤท การบรรลุตามวัต บรรลุ 

ทธิ์ตามวัตถุประสงค์ ตถุประสงค์ จำนวน ผู้เข้าร่วม ไม่บรรลุ -

1,350 คน

การเบิกจ่ายงบประมาณ อนุมัติ (บาท) เบิกจ่ายจริง เหลือส่งคืน (บาท) กองทุนฯ (บาท) 97,500

1,888,085

97,500 (100%)

0

1,071,985 816,100 (56.78%) (43.22%) 5,324,857 3,650,416.90 1,674,440.10 (68.55%) (31.45%)

ปัญหา/อุปสรรคใน การดำเนินงาน

-134-

การติดตามและประเมินผลโครงการที่ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565 1. รายชื่อคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล ( ณ ปัจจุบันมีคณะกรรมการ ดังนี้ ) 1. นางสาววทันยา โห้ประเสริฐ หน.ฝ่ายบริการการแพทย์และพยาบาล อนุกรรมการ 2. นางสาวภัทรานิษฐ์ อิ้ววัฒนกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ อนุกรรมการ 3. นางสาวอุไรวรรณ ทิศสลี นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ อนุกรรมการ/เลขานุการ 4. นางสาวสิญาพร นามสงสาร ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข ผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ 1. กำหนดเนื้อหา แบบฟอร์ม และรูปแบบการติดตามและประเมินผลโครงการที่ขอรับการสนับสนุน งบประมาณ เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ 2. วางแนวทางการลงพื้นที่ กำกับ ติดตามและประเมินผลโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ 3. สรุปผลการติดตามประเมินผลโครงการ เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ ทราบ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี 4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ มอบหมาย 2. การลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลโครงการที่ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ ตารางที่ 5 แสดงโครงการที่ลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลโครงการตามไตรมาส ไตรมาส โครงการ 1. โครงการคนรุ่นใหม่ห่างไกล อบายมุข 2. โครงการอบรมหลักสูตรผู้ ประกอบกิจการ ประจำปี งบประมาณ 2565 3. โครงการรวมพล คนรักษ์ สุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2565 4. โครงการสุขภาพกายและใจ แข็งแรงด้วยการเต้นไลน์แดนซ์ ชุมชนทุ่งโตนด 5. โครงการส่งเสริมการออก กำลังกายเพื่อสุขภาพกายและ ใจ ปีงบประมาณ 2565

ไตรมาสที่ 1 ต.ค.-ธ.ค. 64

ไตรมาสที่ 2 ม.ค.-มี.ค. 65

ไตรมาสที่ 3 เม.ย. –มิ.ย. 65

ไตรมาสที่ 4 ก.ค.-ก.ย. 65    

 ไตร...

ไตรมาส โครงการ 6. โครงการอบรมให้ความรู้ ด้านสุขภาพสำหรับอาสาสมัคร สาธารณสุข เทศบาลนคร ระยอง 7. โครงการรวมวัยผู้สูงอายุ เติมความสุขให้กันและกัน ประจำปีงบประมาณ 2565 8. โครงการรักสุขภาพ ด้วยการ เต้นไลน์แดนซ์ ประจำปี งบประมาณ 2565

-135ไตรมาสที่ 1 ต.ค.-ธ.ค. 64

ไตรมาสที่ 2 ม.ค.-มี.ค. 65

ไตรมาสที่ 3 เม.ย. –มิ.ย. 65 







9. โครงการหนูน้อยยิ้มสวย สุขภาพฟันดี 10.โครงการออกกำลังกายเพื่อ สุขภาพชุมชนปากน้ำ 1 ประจำปีงบประมาณ 2565

ไตรมาสที่ 4 ก.ค.-ก.ย. 65



การลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลได้ดำเนินการลงพื้นที่ติดตามคิดเป็นร้อยละ 15.38 ของ โครงการทั้งหมดที่ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2565 ซึ่งไม่เป็นไปตามแผนที่ กำหนดไว้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการระบาดอย่าง รุนแรงในช่วงไตรมาสที่ 1 – 3 ของปีงบประมาณ 2565 ทำให้ต้องลดการลงพื้นที่ลง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการ สัมผัสเชื้อ การรักษาระยะห่างระหว่างตัวเองและผู้อื่น จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น อีกทั้งโครงการส่วนใหญ่ไม่สามารถ ดำเนินการในช่วงไตรมาสดังกล่าวได้ เนื่องจากกิจกรรมเน้นการรวมกลุ่มคน จึงต้องปรับรูปแบบการดำเนิน กิจกรรมเป็นแบบออนไลน์แทน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และสถานการณ์ดังกล่าว เริ่มคลี่คลายลงช่วง เดือนพฤษภาคม 2565 ทำให้การลงพื้นที่ดำเนินการติดตามและประเมินผลจึงดำเนินการในช่วงไตรมาสที่ 4 เป็นส่วนใหญ่ การดำเนินการติดตามจึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ตามคณะอนุกรรมการติดตาม และประเมินผลจะมีการปรับแผนการลงพื้นที่ใหม่ในปีงบประมาณถัดไป เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ มากขึ้น

-136ภาพประกอบการลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลโครงการ

-137ภาพประกอบโครงการ (ผลงานเด่น) โครงการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร กิจกรรม ตรวจสารปนเปื้อนอาหารสดและอาหารแห้งในร้านจำหน่ายอาหารตลาดแม่แดงเอกชน

โครงการรวมพลังป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน กิจกรรม ให้ความรู้ เรื่องการใช้เกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน

-138-

โครงการตรวจคัดกรองโรคตาต้อกระจกในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 45 ปีขึ้นไป กิจกรรม ตรวจยืนยันความผิดปกติด้านการมองเห็น ความผิดปกติทางด้านสายตาอื่นๆโดยจักษุแพทย์

กิจกรรม ให้ความรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรค โดยทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

-139 การดำเนินงานหลัก ตารางแสดงรายงานผลการดำเนินงานโครงการด้านการบริหารและพัฒนากองทุนฯ ขอ ลำดับ

โครงการ

ผลก วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด

1.

โครงการสนั บ สนุ น การ ดำเนิน งานและการบริหาร จัดการกองทุนหลักประกัน สุขภาพ เทศบาลนครระยอง ประจำปีงบประมาณ 2565

เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน และการบริ ห ารจั ด การ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง ให้ มี ประสิทธิภาพ

1. มีการประชุม คณะกรรมการบริหาร กองทุนฯ/คณะอนุกรรมก กองทุนฯ 2. มีการรายงานและบันท ข้อมูลด้านการเงินและข้อ แผนงาน/โครงการ ของ กองทุนฯ ผ่านระบบ ออนไลน์ อย่างครบถ้วน 3. ร้อยละ 70 ของโครงก ที่ขอรับการสนับสนุน งบประมาณจากกองทุนฯ ได้รับการติดตามและ ประเมินผล 4. มีการประชาสัมพันธ์ กองทุนฯ ผ่านสื่อต่างๆ อย่างน้อย 4 ช่องทาง

9กประกันสุขภาพ องปีงบประมาณ 2564 จำนวน 2 โครงการ คือ

การดำเนินงาน ผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลผลิต 12 ครั้ง 13 ครั้ง

ร้อยละ 108.33

สรุป บรรลุ

100

บรรลุ

การ

ทึก อมูล

ทุกโครงการ

ทุกโครงการ (68 โครงการ)

การ

48 โครงการ

63 โครงการ

92.65

บรรลุ

4 ช่องทาง

4 ช่องทาง

100

บรรลุ

งบประมาณ งบประมาณ ที่อนุมัติ ที่ใช้ (บาท) (บาท) 215,000 67,742.40 (ร้อยละ 31.51)

-140ภาพประกอบการดำเนินงานโครงการด้านการบริหารและพัฒนากองทุนฯ ของปีงบประมาณ 2565 การดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ/คณะอนุกรรมการกองทุนฯ

การประชาสัมพันธ์กองทุนฯผ่านช่องทางสื่อต่างๆ และอำนวยความสะดวกในการเขียนโครงการให้กับกลุ่มภาคประชาชน -การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์อินโฟกราฟฟิก

-141-การประชาสัมพันธ์สื่อต่างๆ ได้แก่ เพจ facebook เทศบาลนครระยองและกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาล นครระยอง, สถานีวิทยุ, ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์

- อำนวยความสะดวกใน การเขียนโครงการให้กับ กลุ่มภาคประชาชน

ลำดับ

โครงการ

ผลกา วัตถุประสงค์

2.

โ ค ร ง ก า ร อ บ ร ม เ ชิ ง ปฏิ บ ั ต ิ ก ารรวมพลั ง สร้ า ง แ ผ น ส ุ ข ภ า พ ก อ ง ทุ น หลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง ประจำปีงบประมาณ 2565

ตัวชี้วัด 1. เพื ่ อ ให้ ป ระชาชนและ 1. ร้อยละ 90 ของ กลุ ่ ม เครื อ ข่ า ยสุ ข ภาพได้ กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม ตระหนั ก มี ส ่ว นร่ ว มในการ โครงการฯ สร้างสุขภาพที่ดีให้กับชุมชน 2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ของภาคี เ ครื อ ข่ า ยสุ ข ภาพ 2. มีแผนงานประจำปี ใ น ก า ร จ ั ด ท ำ แ ผ น ง า น งบประมาณ 2566 ขอ ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฯ ของกองทุนฯ 3. เพื ่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ ประชาชนและหน่ ว ยงาน 3. ร้อยละ 90 ของ ต่างๆ ได้รู้จักกองทุนฯ ประชาชนและหน่วยงา ต่างๆ ได้รู้จักกองทุนฯ

ารดำเนินงาน ผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลผลิต 200 คน 275

ร้อยละ 137.50

สรุป บรรลุ

งบประมาณ งบประมาณ ที่อนุมัติ ที่ใช้ (บาท) (บาท) 178,000 122,913.50 (ร้อยละ 69.05)

อง

1 ฉบับ

1 ฉบับ

100

บรรลุ

าน

200 คน

180 คน

105.5

บรรลุ

-143ภาพกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการรวมพลัง สร้างแผนสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง ประจำปีงบประมาณ 2565 ด1.กิจกรรม“ShoppingIdea เพื่อคนสุขภาพดี”

2.กิจกรรม“Backgrounddสุขภาพดี”

3

-124—124-144.3. กิจกรรม“รวมพลังดสร้างแผนสุขภาพ”

4.กิจกรรม“บ้านกองทุนฯดนครระยอง”

-145-

บทที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เทศบาลนครระยองไดกําหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร (Positioning) ภายใตวิสัยทัศน "นครสีเขียว และ รุ งเรือง ดวยความพอเพียง ภายในป พ.ศ.2565" โดยกายภาพเมืองและผังเมืองมีความเปนระเบียบ การ เดินทางสัญจรของประชาชนสะดวก ปลอดภัย สิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติมีความสมดุล เด็กและ เยาวชนเปนคนดี มีความสุขเศรษฐกิจเมืองมีความรุงเรือง ประชาชนมีสุขอนามัยที่ดี สังคมนาอยู อบอุน ภายใต การมีส วนรวมของประชาชนและเทศบาลนครระยองมีการบริห ารจัดการที่ดีนั้น จะต องดําเนินการตาม ยุทธศาสตรหลักทั้ง 8 ยุทธศาสตร และยุทธศาสตรยอยหรือแนวทางการพัฒนาหรือวัตถุ ประสงคตางๆ ควบคู กันไป สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ประกอบด้วย งานป้องกันเฝ้า ระวังและควบคุมโรคติดต่อ และงานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุ มโรคไม่ต ิดต่ อ ดำเนินการตาม มีห น้ า ที่ รับผิดชอบในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยุทธศาสตร์ ที่ 6 ยุทธศาสตรดานการเสริมสราง สุขภาวะที่ดีของประชาชน โดยดำเนินการตามแผนดำเนินงานส่วนส่งเสริมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนัก การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครระยอง ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 10 โครงการ 13 กิจกรรม ดังนี้ แผนงานโครงการของฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ 1. โครงการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง 2. โครงการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 3. โครงการเยาวชนรู้ทันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเดือนแห่งความรัก 4. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียนศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565 5. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโรนา 2019 (COVID-19) ในเขต เทศบาลนครระยอง งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อ 6. โครงการตรวจคัดกรองโรคตาต้อกระจกในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 45 ปีขึ้นไป 7. โครงการคนรุ่นใหม่ ห่างไกลอบายมุข 8. โครงการสุขภาพดีลดเสี่ยงลดโรค 9. โครงการนวดกดจุด หยุดบุหรี่ 10. โครงการสุขภาพดีในสวนสาธารณะ เขตเทศบาลนครระยอง แผนงานกิจกรรมของฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ 1.กิจกรรมป้องกันโรคติดต่อและแก้ไขเหตุรำคาญจากสัตว์และแมลงนำโรค 2.กิจกรรมควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในเขตเทศบาลนครระยอง 3.กิจกรรมสถานที่ราชการปลอดลูกน้ำ 4. กิจกรรมโรงเรียนปลอดลูกน้ำ 5. กิจกรรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แก่เด็กวัยเรียน 6.กิจกรรม...

-1466.กิจกรรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี เนื่องในวันตับอักเสบ โลกประจำปี 2565 7.กิจกรรมให้ความรู้พฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหารและน้ำ 8. กิจกรรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันเด็กวัยเรียน 9. กิจกรรมรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลในบุคลากรทางการแพทย์และ สาธารณสุข 10. กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 11. กิจกรรมเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและจัดทำข้อมูลทางระบาดวิทยา 12.กิจกรรมเผยแพร่ความรู้โรคติดต่อแก่ประชาชน 13.กิจกรรมให้ความรู้ เรื่องการป้องกันโรคติดต่อผ่านทางรายการวิทยุ

-147-

บทที่ 2 สรุปผลการดำเนินงานด้านบริการสาธารณสุขเชิงรุก ประจำปีงบประมาณ 2565 ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค ประกอบด้วย งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ และงานป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ได้ป ฏิบัติงานตามโครงการ/กิจกรรมตามแผนดำเนินงานส่วนส่งเสริม สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครระยอง ประจำปีงบประมาณ 2565 ดังนี้ 2.1 งานป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ปฏิบัติงานตามแผนฯ จำนวน 5 โครงการ 13 กิจกรรม 38 ตัวชี้วัด พบว่า ดำเนินการครบถ้วนทั้ง 5 โครงการ 13 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการ ดำเนินการตามตัวชี้วัดของโครงการ/กิจกรรม พบว่า บรรลุตามตัวชี้วัด จำนวน 37 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 97.37 ไม่บรรลุตามตัวชี้วัด 1 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 2.63 รายละเอียดดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานสาธารณสุขและตัวชี้วัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โครงการ/กิจกรรม

ตัวชี้วัด

ผลการ ดำเนินงาน

สรุปผลตาม ตัวชี้วัด บรรลุ

1.โครงการรณรงค์ป้องกัน 1. ร้อยละ 100 มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ โรคติดต่อนำโดยแมลง และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง ประชาสัมพันธ์ 2. ร้อยละ 100 ของจำนวนพื้นที่เสี่ยงใน ชุมชนมีกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ และจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นแหล่ง เสี่ยงต่อการเกิดการระบาดของโรคติดต่อ

ร้อยละ 100 (3 ช่องทาง)



ร้อยละ 100 (5 แห่ง)



2.โครงการรณรงค์ป้องกัน 1. จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ ควบคุ ม โรคเอดส์ แ ละ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2. ร้อยละ 80 ของชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม (เปลี ่ ย นจากดำเนิ น งาน สามารถตอบคำถามและมีความรู้เรื่องโรค จ า ก โ ค ร ง ก า ร เ ป็ น เอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวิธี กิจกรรม) ป้องกันโรค

ร้อยละ 100



3.โครงการเยาวชนรู้ทัน โรคเอดส์ แ ละโรคติ ด ต่ อ ทางเพศสัมพัน ธ์ในเดื อ น แห่งความรัก

ไม่ บรรลุ

(3 ช่องทาง) ร้อยละ 100



( 2 แห่ง)

ร้อยละ 90 1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย (จำนวน 90 คน) ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ 2. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วม ร้อยละ 100 ในการจัดกิจกรรม (จำนวน 50 คน)

  ตารางที่ 1...

-148ตารางที่ 1 ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานสาธารณสุขและตัวชี้วัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โครงการ/กิจกรรม

ตัวชี้วัด

ผลการ ดำเนินงาน

สรุปผลตาม ตัวชี้วัด บรรลุ

ร้อยละ 90 (5,580)



4 . โ ค ร ง ก า ร เ ฝ ้ า ร ะ วั ง ป้องกันและควบคุมโรคติด เชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ในโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ ก สั ง กั ด เทศบาลนคร ระยอง ปี ง บประมาณ 2565

1.นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาใน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด เทศบาลนครระยองได้รับความรู้ในการ ป้องกันโรคและมีอุปกรณ์ในการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร้อยละ 90

5 . โ ค ร ง ก า ร เ ฝ ้ า ร ะ วั ง ป้องกันและควบคุมโรคติด เช ื ้ อ ไว รั ส โ รนา 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาล นครระยอง

1.ครั ว เรื อ นเป้ า หมายในเขตเทศบาลนคร 14,000 ครัวเรือน  ระยองได้รับความรู้ในการป้องกันโรค ร้อยละ 70 (14,000 ครัวเรือน)

6 . ก ิ จ ก ร ร ม ป ้ อ ง กั น โรคติ ด ต่ อ และแก้ ไ ขเหตุ รำคาญจากสัตว์และแมลง นำโรค

1. มีกิจกรรมพ่นสารเคมีกำจัดยุงใน ศาสน สถาน/โรงเรียน จำนวน 48 ครั้ง 2. มีกิจกรรมพ่นสารเคมีกำจัดยุงในตลาด/ สถานที่ราชการ จำนวน 26 ครั้ง 3. มีการดำเนินงานพ่นสารเคมีกำจัดยุงแก้ไข เหตุรำคาญจากคำร้องทุกครั้ง

2.ดำเนินการเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดต่อที่ได้รับการรายงานข้อมูล

ร้อยละ 100



48 ครั้ง



26 ครั้ง

 

63 ครั้ง

7 . ก ิ จ ก ร ร ม ค ว บ คุ ม 1.มีการเข้าร่วมดำเนินการควบคุมโรคเร่งด่วน โรคติดต่อนำโดยแมลงใน ทุกครัง้ กรณีเกิดการระบาด เขตเทศบาลนครระยอง

ร้อยละ 100

8 . ก ิ จ ก ร ร ม ส ถ า น ที่ 1.จำนวนสถานที่ราชการกลุ่มเป้าหมายได้รับ ราชการปลอดลูกน้ำ การประเมินลูกน้ำและได้รับแจ้งรายงานผล 1 ครั้ง/เดือน

ไม่ได้ดำเนินการ

2.ร้อยละ 50 ของสถานที่ราชการที่เข้าร่วม กิจกรรมปลอดลูกน้ำในเดือน มิ.ย.-ส.ค.

ไม่ บรรลุ





เนื่องจากสถานการณ์ โควิด

ร้อยละ 100 (11 แห่ง)

 ตารางที่ 1 ...

-149ตารางที่ 1 ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานสาธารณสุขและตัวชี้วัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โครงการ/กิจกรรม

ตัวชี้วัด

ผลการ ดำเนินงาน

สรุปผลตาม ตัวชี้วัด บรรลุ

9. กิ จ กรรมโรงเรี ย นปลอด 1. ร้อยละ 90 มีความรู้เกี่ยวกับโรค ลูกน้ำ ไข้เลือดออกและการป้องกัน 2.ร้อยละ 100 ของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีแกนนำแห่งละ 1 ทีม 3.มีการรายงานผลการดำเนินงาน 1 ครั้ง/ เดือน 10. กิจกรรมให้ความรู้ ในการป้องกันโรคเอดส์ และโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ แก่เด็กวัยเรียน 11.กิจกรรมให้ความรู้และ ตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส ตับอักเสบบีและซี เนื่องใน วันตับอักเสบโลก ประจำปี 2565

1.มีการดำเนินงานให้ความรู้นักเรียน ครบทุกโรงเรียนจำนวน 5 ครั้ง 2. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายสามารถ ตอบคำถามได้คะแนนมากกว่า ร้อยละ 80 1.ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับ ความรู้

2.ร้ อยละ 100 ของกลุ ่ มเสี ่ ยงได้รับการ ตรวจตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส ตับอักเสบบีและซี 1 2 . ก ิ จ ก ร ร ม ใ ห ้ ค ว า ม รู้ 1. มีแกนนำให้ความรู้ชาวต่างด้าวจำนวน พฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อ 5 คน ในระบบทางเดินอาหารและน้ำ 2.มีการดำเนินงานให้ความรู้ประชาชน จำนวน 15 แห่ง 3.ดำเนินการประชาสัมพันธ์ความรู้ครบ 4 ช่องทาง 13. กิจกรรมสร้างเสริม 1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ ความ ภูมิคุ้มกันเด็กวัยเรียน เข้ า ใจในเรื ่ องวั คซี น ป้ องกั น โรคและการ ปฏิบัติตัวก่อน/หลังฉีด 2. ร้ อ ยละ 100 ของนั ก เรี ย นชั ้ น ป.1 ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดครบ 2 เข็ม 3. ร้ อ ยละ 100 ของนั ก เรี ย นชั ้ น ป.6 ได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ครบ เข็ม

ร้อยละ 98.18



ร้อยละ 100



ร้อยละ 100



ร้อยละ 100



(5 แห่ง) ร้อยละ 99.32



(735 คน) ร้อยละ 100



(86 คน) ร้อยละ 100



(36 คน) 15 แห่ง

 

4 ช่องทาง



ร้อยละ 100 (834 คน)



ร้อยละ 100 (87 คน)



ร้อยละ 100 (608 คน)



17 คน

ไม่ บรรลุ

-150ตารางที่ 1 ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานสาธารณสุขและตัวชี้วัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โครงการ/กิจกรรม

ตัวชี้วัด

ผลการ ดำเนินงาน

สรุปผลตาม ตัวชี้วัด บรรลุ

14. กิ จ กรรมรณรงค์ ฉี ด 1. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการ วัคซีน ป้องกัน โรคไข้หวัด ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ใหญ่ตามฤดูกาลใน บุ ค ลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข 1. มีกิจกรรมให้ความรู้ประชาชนที่มาทำบุญ 15. กิจกรรมรณรงค์ ที่วัดในวันพระ จำนวน 4 แห่ง ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

ร้อยละ 100

ไม่ บรรลุ



(25 คน)

ร้อยละ 100



(4 แห่ง)

2. มีกิจกรรมให้ความรู้ประชาชนในชุมชน จำนวน 4 ชุมชน

ร้อยละ 100

3. มีการประชาสัมพันธ์ จำนวน 4 ช่องทาง

ร้อยละ 100



(4 ชุมชน) 

(4 ช่องทาง) 16. กิจกรรมเฝ้าระวังทาง 1. รับ-ส่ง-แก้ไข ข้อมูลรายงาน 506 ระบาดวิ ท ยาและจั ด ทำ (ทุกวันจันทร์,พุธ,ศุกร์ของทุกสัปดาห์) ข้อมูลทางระบาดวิทยา 2. มีการจัดทำรายงานการเฝ้าระวังโรค รายสัปดาห์ทุกสัปดาห์ 3. มีการจัดทำรายงานการเฝ้าระวังโรค รายเดือนทุกเดือน 17.กิ จ กรรมเผยแพร่ 1. ผลิตสื่อให้ความรู้แก่ประชาชน อย่างน้อย คว ามรู ้ โ รคติ ด ต่ อ แก่ 6 ครั้ง ประชาชน 2. เผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน ครั้งละ 3 ช่องทาง 18.กิ จ กรรมให้ ค วามรู้ 1. มีการดำเนินกิจกรรม ให้ความรู้ผ่านทาง เรื่องการป้องกันโรคติดต่อ วิทยุชุมชน จำนวน 12 ครั้ง

ร้อยละ 100



(52 ครั้ง) ร้อยละ 100



(52 สัปดาห์) 12 ครั้ง



16 ครั้ง



3 ช่องทาง



13 ครั้ง



ผ่านทางรายการวิทยุ

2.2 งาน…

-1512.2 งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ปฏิบัติงานตามแผนฯ จำนวน 5 โครงการ ตัวชี้วัด พบว่า ดำเนินการ 3 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 60 ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดของโครงการ พบว่าบรรลุตาม ตัวชี้วัด จำนวน 4 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 40 ไม่บรรลุตามตัวชี้วัด 6 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 60 รายละเอียด ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานสาธารณสุขและตัวชี้วัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โครงการ/กิจกรรม

ตัวชี้วัด

ผลการ ดำเนินงาน

สรุปผลตาม ตัวชี้วัด บรรลุ

1.โครงการตรวจคัดกรองโรค 1.กลุม่ เป้าหมายได้รับการตรวจค้นหาปัญหาโรคตา ตาต้ อ กระจกในประชาชน ต้อกระจกโดยจักษุแพทย์ ร้อยละ 100 กลุ่มเสี่ยงอายุ 45 ปีขึ้นไป 2.กลุม่ เป้าหมายได้รับความรูเ้ รื่องโรคตาต้อกระจก และการป้องกัน ร้อยละ 100 3.กลุม่ เป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติของตาจาก โรคต้อกระจกได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ร้อยละ 100 2 . โ ค ร ง ก า ร ค น ร ุ ่ น ใ ห ม่ 1.นักเรียนได้รับความรู้เกีย่ วโทษและพิษภัยของ ห่างไกลอบายมุข อบายมุข สุรา บุหรี่ และยาเสพติด มีทักษะ การ ปฏิเสธและป้องกัน ร้อยละ 90 (135 คน)

ร้อยละ 105



ร้อยละ 105



ร้อยละ 105



ร้อยละ 100 (150 คน)



ไม่ บรรลุ

ยกเลิกโครงการ เนื่องจาก สถานการณ์โควิด



4.โครงการนวดกดจุ ด หยุ ด 1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะ ยกเลิกโครงการ บุหรี่ การนวดกดจุดเลิกบุหรี่ เนื่องจากโควิด รร. ไม่เปิดการเรียน 2. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรูเ้ กี่ยวกับ การสอน โทษภัยของบุหรี่



5 . โ ค ร งกา ร สุ ขภ า พดี ใ น 1.จัดบริการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นให้กับ สวนสาธารณะ เขตเทศบาล ประชาชนที่มาออกกำลังกายในสวนสาธารณะไม่ นครระยอง น้อยกว่า 40 ครั้ง



3.โครงการสุขภาพดีลดเสี่ยง 1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ลดโรค เพิ่มขึ้น 2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีผลการตรวจ สุขภาพดีขึ้น





ไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจาก สถานการณ์โควิด

2.ประชาชนที่เข้ามารับการตรวจคัดกรองสุขภาพ เบื้องต้นได้รับความรู้และรับทราบสภาวะสุขภาพทุก ราย

 บท...

-152-

บทที่ 3 ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ 3.1 โรคติดต่อนำโดยแมลง ดำเนินการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้ การสร้างปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันติดต่อ ดำเนินงานพ่นสารเคมี/น้ำยาฆ่าเชื้อ และทำลายแหล่งเสี่ยงต่อการเกิด โรคแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับแมลงนำโรค ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ร่วมกับ โรงพยาบาลระยองและคลินิกหมอครอบครัวสาขาโรงพยาบาลระยอง โรคติดต่อนำโดยแมลงที่สำคัญ และเป็น ปัญหาในพื้นที่ ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) ในปี 2565 ไม่พบการระบาดของโรค ไข้เลือดออกและหรือโรคติ ดต่ อนำโดยแมลงอื่น ๆ ซึ่งแผนงานโรคติดต่อนำโดยแมลง มีการดำเนิน งาน ประกอบด้วย 1 โครงการ 4 กิจกรรม ดังนี้ 3.1.1 โครงการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ปีงบประมาณ 2565 ตามที่ ง านป้ อ งกั น เฝ้ า ระวั ง และควบคุ ม โรคติ ด ต่ อ ได้ ร ั บ การสนั บ สนุ น งบประมาณจากกองทุ น หลักประกัน สุขภาพเทศบาลนครระยอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเภทที่ 1 ค่าใช้ จ่ายเพื่อ สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณของหน่วยบริการ สถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข รายการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ปีงบประมาณ 2565 โดยผ่านมติการประชุมคณะกรรมการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครระยอง ในคราวการประชุมฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2565 และกองทุนฯได้โ อนงบประมาณ เข้าบัญชีเทศบาลนครระยอง ประเภทเงินอุดหนุ นระบุ วัตถุประสงค์/เฉพาะกิจ เป็นจำนวนเงิน 67,000 บาท บัดนี้ งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ได้ดำเนิน โครงการฯเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอสรุปผลการดำเนินโครงการ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ความรู้และประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง 2. เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำและจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน โรงเรียน ศาสนสถานในเขต เทศบาลนครระยอง 2. ตัวชี้วัด 1. ร้อยละ 100 มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ 2. ร้อยละ 100 ของจำนวนพื้นที่เสี่ยงในชุมชนมีกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำและจัดการ สิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเสี่ยงต่อการเกิดการระบาดของโรคติดต่อ 3. ผลผลิต 1. มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ จำนวน 3 แห่ง และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ จำนวน 4 ช่องทาง (รถวิ่งประชาสัมพันธ์/สื่อออนไลน์/ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์/ติดตั้งจุดประชาสัมพันธ์ความรู้ ฯและการเข้าถึงทรายกำจัดลูกน้ำ) 2.พื้นที่แหล่งเสี่ยงในชุมชน 5 แห่ง ได้มีกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำและจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเสี่ยงต่อการเกิดการระบาดของโรคติดต่อ

4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ…

-1534. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ประชาชนในเขตเทศบาลนครระยองได้รับความรู้และมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การ ป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์โรคและจัดการสิ่งแวดล้อม ช่วยในการลดพาหะ นำโรคและแหล่งเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค มีผลทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวส่งผลต่ อคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น 5. ผู้รับผิดชอบโครงการฯ นางสาวเยาวลักษณ์ สำเริง ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ 6. ผลการดำเนินโครงการฯ ผลการประเมินการปฏิบัติงานด้านการใช้จ่ายงบประมาณ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ปีงบประมาณ 2565 มีการดำเนินงานตาม แผนและขั้นตอนการดำเนินงานทุกขั้นตอน ด้านงบประมาณมีการใช้จ่ายงบประมาณในการจัดทำโครงการฯ ดังนี้ ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครระยอง เป็นเงินจำนวน 67,000 บาท ใช้จ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 50,510 บาท คิดเป็นร้อยละ 75.39 งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ จำนวน 16,490 บาท คิดเป็นร้อยละ 24.61 ผลการประเมินการปฏิบัติงานด้านประสิทธิผล โครงการรณรงค์ป ้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ปีงบประมาณ 2565 ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และรณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง โดยแบ่งกิจกรรม ย่อยเป็น 3 กิจกรรม ดังนี้ 1. ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง โดยมีเนื้อหาในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ นำโดยแมลง ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคชิคุนกุนยา รวมทั้งอาการของโรค การป้องกันโรค วิธีใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ เป็นต้น ในรูปแบบบรรยายและกิจกรรมกลุ่ม ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1) โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง วันที่ 20 สิงหาคม 2565 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน 2) โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล วันที่ 25 สิงหาคม 2565 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน 3) โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง วันที่ 1 กันยายน 2565 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน

ภาพกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง 2. ประชาสัมพันธ์...

-1542. ประชาสัมพัน ธ์เผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ช่องทาง ได้แก่ รถวิ่ง ประชาสัมพันธ์ สื่อออนไลน์ และป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 2.1 กิจกรรมวิ่งประชาสัมพันธ์ โดยรถพ่วงข้างพร้อมเครื่องเสียงวิ่งประชาสัมพันธ์ เรื่อง การ ป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ระหว่างวันที่ 13-19 มิถุนายน 2565 เวลา 08.30-16.30 น. จำนวน 29 ชุมชน ตารางวิ่งรถประชาสัมพันธ์ (รายละเอียดตามเอกสารแนบท้าย 1)

2.2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อออนไลน์ ได้แก่ Website, Facebook, Line@เรารักนครระยอง ใน เดือนมิถุนายน 2565

2.3 ติดป้าย...

-1552.3 ติดป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ เนื้อหาเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก อาการและการป้องกันโรค โรค โดยติดตั้ง ในตำบล 4 ตำบล ดังนี้ 2.3.1 ตำบลปากน้ำ บริเวณแยกสมุทรเจดีย์

2.3.2 ตำบลท่าประดู่ บริเวณถนนศรีเมืองเหนือ

2.3.3 ตำบลเนินพระ บริเวณวัดเนินพระ

2.3.4 ตำบลเชิงเนิน ถนนข้างอำเภอซอย 2

ถนนราษฎร์บำรุง ซอย 10

3. ติดตั้งจุดประชาสัมพันธ์ความรู้ฯและการเข้าถึงทรายกำจัดลูกน้ำ จำนวน 35 แห่ง ดังนี้ 3.1 ติดตั้งจุดประชาสัมพันธ์ความรู้ฯและการเข้าถึงทรายกำจัดลูกน้ำ เพื่อให้บริการทราย กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน จำนวน 29 ชุมชน โดยมีประธานศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนหรือผู้แทนเ ป็น ผู้รับผิดชอบ รายละเอียดดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงชุมชนและผู้รับผิดชอบจุดประชาสัมพันธ์ความรู้ฯและการเข้าถึงทรายกำจัดลูกน้ำในชุมชน ลำดับที่

ชุมชนที่ติดตั้ง

ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ

(ประธานศสมช.หรือผู้แทน) 1

ชุมชนพูนไฉ่

วันเพ็ญ สิทธิชัย

2

ชุมชนสนามเป้า

วีระ ยัญญะจันทร์

3

ชุมชนสองพี่น้อง

วรรณา แซ่เอี๊ยบ

4

ชุมชนเรือนจำ

พันวิภา การดี

5

ชุมชนก้นปึก-ปากคลอง

ผุสดี สามภิทักษ์ ตารางที่ 1...

-156ตารางที่ 1 แสดงชุมชนและผู้รับผิดชอบจุดประชาสัมพันธ์ความรู้ฯและการเข้าถึงทรายกำจัดลูกน้ำในชุมชน ลำดับที่

ชุมชนที่ติดตั้ง

ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ

(ประธานศสมช.หรือผู้แทน) 6

ชุมชนปากน้ำ 2

บุญญาพร สุคนธวารี

7

ชุมชนปากน้ำ 1

ประดับ วรรัตน์

8

ชุมชนสมุทรเจดีย์

ไสว สุขสำราญ

9

ชุมชนสัมฤทธิ์

วนิดา เกตุสุริยา

10

ชุมชนบ้านปากคลอง

วัชรินทร์ นาคสกุล

11

ชุมชนมุสลิม-ปากคลอง

วนิดา อำนวยพร

12

ชุมชนหลังวัดป่า 1

บุญส่ง มโนเลิศเทวัญ

13

ชุมชนหลังวัดป่า 2

เบญจา วิริยากรณ์ประภาศ

14

ชุมชนตีนเนิน-เกาะหวาย

อำเพย ธรรมานนท์

15

ชุมชนหนองสนม-ปักป่า

ซันหลง ตันเจริญ

16

ชุมชนชายกระป่อม

ประเทือง ชนากร

17

ชุมชนแขวงการทาง

ละเมียด เนินศิริ

18

ชุมชนทุ่งโตนด

จิตร์นีย์ สุวรรณรักษา

19

ชุมชนเนินพระ

พนัส บัวพรหม

20

ชุมชนสวนวัดโขด

พรรณิพา กิจเกตุกัลป์

21

ชุมชนหลังวัดโขด

อรวรรณ แย้มเย็นเจริญ

22

ชุมชนริมน้ำ-ท่าเกตุ

ฐานิตา ครุตานนท์

23

ชุมชนบางจาก

เพี้ยน เอี้ยมทัด

24

ชุมชนข้างอำเภอ-ทางไผ่

ปราณี ถีรเกียรติกุล

25

ชุมชนเกาะกลอย

อมรรัตน์ รมธ์สวัสดิ์

26

ชุมชนแหลมรุ่งเรือง

ขวัญพัฒน์ ทิพย์อุบล

27

ชุมชนตากสินฯ

ประสิทธิ์ แก้วไพฑูรย์

28

ชุมชนสะพานราษฎร์

วิยะดา ฑีมกาญจน์

29

ชุมชนศูนย์การค้า

นัทธี สุขสำราญ 3.3 ติดตั้ง...

-1573.3 ติดตั้งจุดประชาสัมพันธ์ความรู้ฯและการเข้าถึงทรายกำจัดลูกน้ำ เพื่อให้บริการทรายกำจัดลูกน้ำ ยุงลายกับประชาชนที่มาใช้บริการในสถานที่ราชการ จำนวน 6 แห่ง โดยมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ รายละเอียดดัง ตารางที่ 2 ลำดับ ที่

สถานที่ราชการ

เจ้าหน้าที่

หมายเหตุ

ผู้รับผิดชอบ

1

สำนักงานเทศบาลนครระยอง

นางสาวศรินญา สกุลนอก

2

คลินิกชุมชนอบอุ่น เทศบาลนครระยอง

นายสมภพ ตามภาค

3

ศูนย์บริการสาธารณสุขปากน้ำ

นางละออ สุกใส

4

ศาลแขวงระยอง

น.ส.อุไรวรรณ โชคสวัสดิ์

5

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2

น.ส.อัญญ์ชญาน์ ตันติเวชานนท์

6

ศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา พระเจดีย์ น.ส.ณัฐริกา ซื่อมาก กลางน้ำ

กิจกรรมที่ 2...

-158กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม“Big cleaning”ในชุมชนที่เป็นแหล่งเสี่ยงในเขตเทศบาลนครระยอง โดยมีกิจกรรม สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ รวมทั้งพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยในพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของ โรคไข้เลือดออก (ดำเนินการในเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2565 ) จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ถนนหลังวัดป่า ซอย 3, ถนนหลังวัดป่า ซอย 4, ถนนหลังวัดป่า ซอย 4/1, ถนนหลังวัดป่า ซอย 5 ชุมชนหลังวัดป่า 1 และถนนริมน้ำ ซอยนปพ. ชุมชนริมน้ำ -ท่าเกตุ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละแห่งประกอบด้วย แกนนำชุมชน, เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข, อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 75 คน

ภาพกิจกรรม“Big cleaning”ในชุมชนที่เป็นแหล่งเสี่ยงในเขตเทศบาลนครระยอง

ผลการ...

-159ผลการประเมินการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด ประเมินตามตัวชี้วัดของโครงการฯ จำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัด 1. ร้อยละ 100 มีการ จัดกิจกรรมให้ความรู้ และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ผ่าน ช่องทางประชาสัมพันธ์

ผลผลิต 1) จัดกิจกรรมให้ความรู้ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียน เทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล, โรงเรียนสาธิตเทศบาลนคร ระยอง และโรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง 2) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ช่องทาง ได้แก่ รถวิ่งประชาสัมพันธ์,สื่อ ออนไลน์,ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 3) ติดตั้งจุดการเข้าถึงทราย จำนวน 35 แห่ง ได้แก่ ใน ชุมชน จำนวน 29 แห่ง และในสถานที่ราชการ 6 แห่ง

ร้อย ละ 100

สรุปผลเทียบ กับตัวชี้วัด บรรลุ

ไม่บรรลุ



2.ร้อยละ 100 ของ - พื้นที่แหล่งเสี่ยงในชุมชน 5 แห่ง ได้มีกิจกรรมทำลาย 100  จำนวนพื้นที่เสี่ยงใน แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำและจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็น ชุมชนมีกิจกรรมทำลาย แหล่งเสี่ยงต่อการเกิดการระบาดของโรคติดต่อ แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ และจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเสี่ยง ต่อการเกิดการระบาด ของโรคติดต่อ ปัญหาและอุปสรรค 1. ในกิจกรรม“Big cleaning”ในชุมชนที่เป็นแหล่งเสี่ยงในเขตเทศบาลนครระยอง ในส่วนของการดำเนินการ พ่นสารเคมีกำจัดยุงภายในบ้านในบริเวณพื้นที่ที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก มีบางส่วนที่ประชาชนไม่ให้ความ ร่วมมือ และต้องการให้ฉีดพ่นสารเคมีบริเวณนอกบ้านและท่อระบายน้ำเท่านั้น 2. จุดประชาสัมพันธ์ความรู้ฯและการเข้าถึงทรายกำจัดลูกน้ำ ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ เนื่องจากเขตเทศบาลนคร ระยองมีพื้นที่อาณาเขตค่อนข้างกว้าง การติดตั้งจุดเข้าถึงทรายเพียงชุมชนละ 1 แห่งอาจไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะ 1. การสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์ในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ควรจัดทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่ประชาชนอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ เพื่อให้และรวมถึง ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง 2. ในการดำเนินงานในครั้งถัดไป ควรเพิ่มติดตั้งจุดประชาสัมพันธ์ความรู้ฯและการเข้าถึงทรายกำจัดลูกน้ำ เพิ่ม ในสถานศึกษาและศาสนสถานในเขตเทศบาลนครระยอง เพื่อบริการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 3. การจัดกิจกรรมในกลุ่มเด็กนักเรียน ได้ผลดี เนื่องจากนักเรียนสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการป้องกัน โรคติดต่อนำโดยแมลงภายในครอบครัวและโรงเรียนของตนเองได้ 3.1.2 กิจกรรม...

-1603.1.2 กิจกรรมป้องกันโรคติดต่อและแก้ไขเหตุรำคาญจากสัตว์และแมลงนำโรค งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อได้ดำเนินการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย เพื่อกำจัด พาหะนำโรคติดต่อที่มาจากยุงลายในบ้านเรือน ชุมชน และสถานที่ต่างๆ โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1) กิจกรรมป้องกันและแก้ไขเหตุรำคาญจากสัตว์และแมลงนำโรคตามแบบคำร้องทั่วไป จำนวนทั้งสิ้น เรื่อง โดยดำเนินการภายใน 3 วันทำการ จำนวน 63 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 100 รายละเอียดตามตารางต่อไปนี้ ตารางผลการดำเนินงานตามแบบคำร้องทั่วไป ปีงบประมาณ 2565 ผลการดำเนินงาน ลำดับ

เดือน

จำนวนคำ ร้อง

ระยะเวลา ดำเนินการ

สภาพผู้ร้อง บ้านเรือน

สถาน ประกอบการ

ชุมชน

ภายใน

เกิน

3 วัน

3 วัน

1

ตุลาคม 2564

1

0

1

0

1

2

พฤศจิกายน 2564

4

2

1

1

4

3

ธันวาคม 2564

4

1

0

3

4

4

มกราคม 2565

7

7

0

0

7

5

กุมภาพันธ์ 2565

5

1

2

2

5

6

มีนาคม 2565

7

1

4

2

7

7

เมษายน 2565

6

1

5

0

6

8

พฤษภาคม 2565

5

0

5

0

5

9

มิถุนายน 2565

4

1

2

1

4

10

กรกฎาคม 2565

3

0

2

1

3

11

สิงหาคม 2565

13

3

8

2

13

12

กันยายน 2565

4

0

4

1

4

63

17

33

13

63

รวม

2) กิจกรรมป้องกันและแก้ไขเหตุรำคาญจากสัตว์และแมลงนำโรคในสถานศึกษา ศาสนสถาน ตลาด และสถานที่ราชการ ทั้งหมด 36 แห่ง (ศาสนสถาน จำนวน 8 แห่ง , โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 25 แห่ง , ตลาดเทศบาล จำนวน 2 แห่ง, สำนักงานเทศบาลนครระยอง จำนวน 1 แห่ง) โดยดำเนินการ ทั้งหมด 156 ครั้ง (เนื่องจากมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถานศึกษาปิด การเรียนการสอน ในเดือนตุลาคม 2564 –เดือนพฤษภาคม 2565 จึงไม่ได้ดำเนินการฉีดพ่น ) รายละเอียด ตามตารางต่อไปนี้ ตาราง...

-161ตารางผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันและแก้ไขเหตุรำคาญจากสัตว์และแมลงนำโรค ในสถานศึกษา ศาสนสถาน ตลาด และสถานที่ราชการ ปีงบประมาณ 2565 สถานที่

ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย พ.ค มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. 64 64 64 65 65 65 65 65 65 65 65 65

รวม

ศาสนสถาน 1.วัดปากน้ำ

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

2

1

4

2.วัดตรีรัตนาราม

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

2

1

4

3.วัดลุ่มมหาชัยชุมพล

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

2

1

4

4.วัดป่าประดู่

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

1

4

5.วัดเกาะกลอย

0

0

0

0

0

0

0

0

1

0

1

1

3

6.วัดโขดทิมทารามและสำนักชี

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

1

4

7.วัดโขดใต้และสำนักชี

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

2

1

5

8.วัดเนินพระ

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

2

1

5

9.โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

3

10.โรงเรียนระยองวิทยาคมปากน้ำ

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

3

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

3

12.โรงเรี ย นสาธิ ต เทศบาลนคร ระยอง

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

3

13.วิทยาลัยเทคนิคระยอง

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

0

1

2

14.โรงเรียนระยองวิทยาคม

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

0

1

2

15.โรงเรียนอารีย์วัฒนา

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

3

16.โรงเรียนอนุบาลฝนทิพย์

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

3

17.โรงเรี ย นอนุ บ าลระยอง (ฝั่ ง ประถม)

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

3

18.โรงเรี ย นอนุ บ าลระยอง(ฝั่ ง อนุบาลระยอง)

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

3

19.โรงเรียนอนุบาลบ้านเด็กเล็ก

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

3

20.โฮมเนอสเซอรี่

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

3

โรงเรียน

11.โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง

ตาราง...

-162ตารางผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันและแก้ไขเหตุรำคาญจากสัตว์และแมลงนำโรค ในสถานศึกษา ศาสนสถาน ตลาด และสถานที่ราชการ ปีงบประมาณ 2565 สถานที่

ต.ค พ.ย ธ.ค. ม.ค ก.พ มี.ค เม.ย พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. .64 .64 64 .65 .65 .65 65 65 65 65 65 65

รวม

21.โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุม พล

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

3

22.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัด

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

1

4

23.โรงเรียนวัดป่าประดู่

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

1

4

24.โรงเรียนสมคิดวิทยา

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

1

4

25.โรงเรียนอนุบาลศรอารีย์

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

1

4

26.โรงเรียนกวงฮั้ว

0

0

0

0

0

0

0

0

1

0

1

1

3

27.วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร ะยอง บริหารธุรกิจ

0

0

0

0

0

0

0

0

1

0

1

1

3

28.โรงเรียนวัดเกาะกลอย

0

0

0

0

0

0

0

0

1

0

1

0

2

29.โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

1

4

30.โรงเรียนนครระยองวิทยาคม

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

0

3

31.โรงเรียนบ้านพัฒนาการ

0

0

0

0

0

0

0

0

1

0

1

0

2

32.โรงเรียนวัดเนินพระ

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

1

1

4

33.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเนินพระ

0

0

0

0

0

0

0

0

1

1

2

1

5

34.ตลาดแม่แดง

3

2

2

2

2

2

2

2

2

3

2

2

26

35.ตลาดวัดลุ่ม

1

0

1

0

1

0

1

0

1

0

1

0

6

36.สำนักงานเทศบาลนครระยอง

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

รวมทั้งหมด (ครั้ง)

5

3

4

3

4

3

4

3

21

32

41

33

156

ป่าประดู่

รูปกิจกรรม...

-163รูปกิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย พ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย ปีงบประมาณ 2565

3.1.3 กิจกรรม...

-1643.1.3 กิจกรรมควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในเขตเทศบาลนครระยอง การดำเนินงานควบคุมการพ่นสารเคมีฯผ่านมาตรฐาน พบผู้ป ่ว ยไข้เลือดออกและผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก จำนวน 44 ราย ดำเนินการตามมาตรฐาน 2 ครั้ง รวม 88 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 และทุกรายสามารถควบคุมโรคครั้งแรกภายใน 24 ชม.หลังจากรับ แจ้งเคส (ข้อมูลจากสมุดทะเบียนรับแจ้งผู้ป่วยโรคติดต่อนำโดยแมลงของงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ) เดือน จำนวนผู้ป่วย/สงสัย (ราย) รวม (ราย) จำนวนที่ ดำเนินงานควบคุม ผู้ป่วย สงสัย โรค (ครั้ง) (1,7 วัน) ตุลาคม 2564 2 0 2 4 พฤศจิกายน 0 0 0 0 2564 ธันวาคม 2564 0 0 0 0 มกราคม 2565 0 0 0 0 กุมภาพันธ์ 2565 1 0 1 2 มีนาคม 2565 0 1 1 2 เมษายน 2565 0 0 0 0 พฤษภาคม 2565 2 0 2 4 มิถุนายน 2565 5 1 6 12 กรกฎาคม 2565 6 2 8 16 สิงหาคม 2565 9 1 10 20 กันยายน 2565 12 2 14 28 รวม 37 7 44 88

พบผู้ป่วย...

-165พบผู้ป่วยไข้ชิคุนกุนยาหรือสงสัยไข้ชิคุนกุนยา จำนวน 2 ราย ดำเนินการตามมาตรฐาน 2 ครั้ง รวม 4 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 และทุกรายสามารถควบคุมโรคครั้งแรกภายใน 24 ชม.หลังจากรับแจ้งเคส เดือน จำนวนผู้ป่วย/สงสัย (ราย) รวม (ราย) จำนวนที่ ดำเนินงานควบคุม ผู้ป่วย สงสัย โรค (ครั้ง) (1,7 วัน) ตุลาคม 2564 0 0 0 0 พฤศจิกายน 0 0 0 0 2564 ธันวาคม 2564 0 0 0 0 มกราคม 2565 0 1 1 2 กุมภาพันธ์ 2565 0 0 0 0 มีนาคม 2565 0 0 0 0 เมษายน 2565 0 0 0 0 พฤษภาคม 2565 0 1 1 2 มิถุนายน 2565 0 0 0 0 กรกฎาคม 2565 0 0 0 0 สิงหาคม 2565 0 0 0 0 กันยายน 2565 0 0 0 0 รวม 0 2 2 4

ภาพกิจกรรม...

-166ภาพกิจกรรมควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในเขตเทศบาลนครระยอง

3.1.4 กิจกรรม...

-1673.1.4 กิจกรรมสถานที่ราชการปลอดลูกน้ำ ผลการดำเนินงานตามตัวชีวัดของกิจกรรม กิจกรรม

ตัวชี้วัด

ผลงาน

1.จำนวนสถานที่ราชการกลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมิน ลูกน้ำและได้รับแจ้งรายงานผล 1 ครั้ง/เดือน

12

-

2.ร้อยละ 50 ของสถานที่ราชการที่เข้าร่วมกิจกรรมปลอด ลูกน้ำในเดือน มิ.ย.-ส.ค.

5

11

ผลการดำเนินงาน บรรลุ

ไม่บรรลุ 



สถานที่ราชการที่เข้าร่วมกิจกรรมสถานที่ราชการปลอดลูกน้ำ จำนวน 11 แห่ง ได้แก่ ลำดับ

สถานที่ราชการ

1

อำเภอเมืองระยอง

2

สถานีตำรวจภูธรเมืองระยอง

3

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1

4

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2

5

สำนักงานที่ดินจังหวัดระยอง

6

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง

7

การประปาส่วนภูมิภาคสาขาระยอง

8

การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดระยอง

9

เกษตรจังหวัดระยอง

10

แขวงทางหลวงระยอง

ตัวชี้วัดในสถานที่ราชการ ปลอดลูกน้ำ 1. มีบุคลากรในการจัดการสิ่งแวดล้อมและกำจัดลูกน้ำยุงลายทั้งภายในและบริเวณโดยรอบอาคาร โดยสำรวจ ภาชนะใส่น้ำ กำจัดลูกน้ำตามแหล่งน้ำขังต่างๆ ดำเนินการกำจัดขยะ ต่อเนื่องทุก 7 วัน 2. มีการประชาสัมพันธ์ความรู้ในการป้องกันโรคสำหรับบุคลากรในหน่วยงาน และผู้มารับบริการในสถานที่ ราชการ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 3. มีมาตรการให้บ ุคลากรในหน่ว ยงานดำเนิน การกำจัดแหล่ งเพาะพันธุ์ยุ งลายในบ้ านตนเองรวมทั ้ ง ให้ คำแนะนำหากพบบุคลากรในหน่วยงาน มีอาการสงสัยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ได้แก่ มีไข้สูงเกิน 38 องศา เซลเซียส ประมาณ 2 วัน ทานยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดงพบจุดเลือดออกตาม ผิวหนังให้รีบไปพบแพทย์ทันที 11

ศาลแขวงระยอง

3.1.5 กิจกรรม...

-1683.1.5 กิจกรรมโรงเรียนปลอดลูกน้ำ ตามที่ ป ้ อ งกั น เฝ้ า ระวั ง และควบคุ ม โรคติ ด ต่ อ ได้ ด ำเนิ น กิ จ กรรมโรงเรี ย นปลอดลู ก น้ ำ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างแกนนำในการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ และร่วมเป็นทีมในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงในสถานศึกษา โดยดำเนินการจัดกิจกรรมตามวันและสถานที่ วันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง วันที่ 25 กรกฎาคม ๒๕65 ณ โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่ม วันที่ 26 กรกฎาคม ๒๕65 ณ โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ วันที่ 1 สิงหาคม 2565 ณ โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง วันที่ 2 สิงหาคม 2565 ณ โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม จึงขอสรุปผลการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแกนนำในการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำในโรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนแกนนำลูกน้ำในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง จำนวน 5 แห่ง จำนวน 110 คน ได้แก่ 1. โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จำนวน 21 คน 2. โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล จำนวน 30 คน 3. โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ จำนวน 15 คน 4. โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม จำนวน 21 คน 5. โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง จำนวน 23 คน ตัวชี้วัด 1. ร้อยละ 90 มีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและการป้องกัน 2. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายมีแกนนำแห่งละ 1 ทีม 3. มีการรายงานผลการดำเนินงาน 1 ครั้ง/เดือน ผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรม นางสาวเยาวลักษณ์ สำเริง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ทีมร่วมดำเนินงาน ประกอบด้วย 1. นางสาววาณิชา โคกโพธิ์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 2. นางสาวศรินญา สกุลนอก ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข ระยะเวลาดำเนินงาน เดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน 2565 ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ประสานครูอนามัยโรงเรียน ในการประชุมงานอนามัยโรงเรียนเพื่อแจ้ง วัตถุประสงค์ นัดหมายวัน เวลา และสถานที่ในการดำเนินการ 2. จัดทำบันทึก ขอความร่วมมือจัดกิจกรรมโรงเรียนปลอดลูกน้ำ 3. อบรมแกนนำฯ โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 3.1 ให้ ค วามรู ้ เ กี ่ ย วกั บ โรคไข้ เ ลือ ดออก การป้ อ งกั น โรคไข้ เ ลื อ ดออก การสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำในโรงเรียน 3.2 ทดสอบความรู้แกนนำหลังการอบรม 3.3 แบ่งทีมและแบ่งพื้นที่ในการดำเนินการลงสำรวจลูกน้ำตามพื้นที่ที่ รับผิดชอบภายในบริเวณโรงเรียน 3.4 สรุปผลการลงพื้นที่/แจ้งปัญหาอุปสรรคแต่ละทีม 4. สรุปผล...

-1694. สรุปผลการดำเนินงานและติดตามผลการสำรวจผ่านทางคุณครูผู้รับผิดชอบแต่ละ โรงเรียน โดยครูผู้รับผิดชอบส่งผลทาง QR Code และ Application line มีการคัดเลือกแกนนำจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-5

การคัดเลือกแกนนำ สรุปผลการอบรมแกนนำ 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และการป้องกัน รวมถึงวิธีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะ พันธ์ลูกน้ำยุงลาย แกนนำที่เข้าร่วมอบรมเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 อายุระหว่าง 9-12 ปี ผลการประเมิน ความรู้ พบว่า หลังการเข้าร่วมอบรมฯ แกนนำฯมีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและการป้องกัน อยู่ใน ระดับดี ร้อยละ 98.18 ตารางที่ 1 แสดงจำนวน ร้อยละ จำแนกตามระดับความรู้หลังการเข้าร่วมโครงการฯ หลังการอบรม

ระดับความรู้

จำนวน (คน)

ร้อยละ

108

98.18

ระดับปานกลาง (6-7 คะแนน)

2

1.82

ระดับต่ำ (น้อยกว่า 6 คะแนน)

0

0

ระดับดี (8-10 คะแนน)

N=110, Max= 10, Min=7 ผลการประเมินความรู้รายข้อ พบว่า หลังการเข้าร่วมอบรม แกนนำฯตอบถูกมากที่สุดในข้อที่ 1 พาหะนำโรคไข้เลือดออก คือ ยุงลาย, ข้อที่ 2 ยุงลายชอบวางไข่ในภาชนะน้ำใส นิ่ง , ข้อที่ 3 แหล่งที่ยุงลาย ชอบอยู่ คือ บริเวณน้ำขัง เช่น กระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่า ฯ, ข้อที่ 6 ยุงลายชอบกัดคนในเวลากลางคืน , ข้อ ที่ 8แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนอยู่ในห้องน้ำเท่านั้น, ข้อที่ 9 เมื่อเป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว สามารถ เป็นซ้ำได้อีก และวิธีทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ได้แก่ การเปลี่ยนแจกันน้ำทุก 7 วัน ฯ ร้อย ละ 100 ตอบผิดมากที่สุด ข้อที่ 7 เมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกห้ามกินยาแอสไพรินและและไอบูโพรเฟ่น ร้อย ละ 9.09 รายละเอียดดังตารางที่ 2 ตารางที่ ๒ แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลแยกเป็นราย ข้อที่ 1 2 3

คำถาม พาหะนำโรคไข้เลือดออก คือ ยุงลาย ยุงลายชอบวางไข่ในภาชนะน้ำใส นิ่ง แหล่งที่ยุงลายชอบอยู่ คือ บริเวณน้ำขัง เช่น กระถางต้นไม้ ยางรถยนต์ เก่า ถ้าเป็นในบ้านมักจะอยู่ในที่มึดทึบ อับชื้น เช่น ฝาผนังหลังตู้ หลัง เฟอร์นิเจอร์

หลังอบรม(ร้อยละ) ถูก

ผิด

110

0

(100)

(0)

110

0

(100)

(0)

110

0

(100)

(0)

-170ตารางที่ ๒ แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลแยกเป็นราย (ต่อ) ข้อที่

คำถาม

หลังอบรม(ร้อยละ) ถูก

4 5 6 7 8 9

ผิด

อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ไข้สูง 38-41 องศา ไข้สูง 106 ลอยเกิน 2 วัน ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย มีผื่น อาจมีภาวะช็อค ร่วมด้วย (96.36) การพ่นสารเคมีกำจัดยุง เป็นวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ดีที่สุด ยุงลายชอบกัดคนในเวลากลางคืน เมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกห้ามกินยาแอสไพรินและและไอบูโพรเฟ่น แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนอยู่ในห้องน้ำเท่านั้น เมื่อเป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว สามารถเป็นซ้ำได้อีก

10 วิธีทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ได้แก่ การเปลี่ยนแจกัน น้ำทุก 7 วัน, ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ เทน้ำทิ้ง เป็นต้น

4 (3.64)

107

3

(97.27)

(2.73)

110

0

(100)

(0)

100

10

(90.91)

(9.09)

110

0

(100)

(0)

110

0

(100)

(0)

110

0

(102)

(0)

2. กิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 2.1 การกำหนดพื้นที่รับผิดชอบของแกนนำในโรงเรียน แกนนำเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 รับผิดชอบ จำนวน 110 คน ดังนี้ 1.1 โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 รับผิดชอบ จำนวน 21 คน กำหนดพื้นที่รับผิดชอบ ดังนี้ พื้นที่ จำนวนแกนนำที่ดูแล (คน) หมายเหตุ - บริเวณภายนอกอาคารและสวนเกษตร 6 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 1 - อาคารเรียน 1 5 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 2 - อาคารเรียน 2

5

ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 3

- อาคารเรียน 3

5

ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 4 1.2 โรงเรียน...

-1711.2 โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รับผิดชอบ จำนวน 30 คน กำหนดพื้นที่รับผิดชอบ ดังนี้ พื้นที่ จำนวนแกนนำที่ดูแล (คน) หมายเหตุ - อาคารเรียน 1 6 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 1 - อาคารเรียน 2 6 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 2 - อาคารเรียน 3 6 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 3 - อาคารเรียน 4 6 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 4 - โรงยิม และบริเวณหน้าเสาธง 6 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 5 1.3 โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 รับผิดชอบ จำนวน 15 คน กำหนดพื้นที่ รับผิดชอบ ดังนี้ พื้นที่ จำนวนแกนนำที่ดูแล (คน) หมายเหตุ - อาคารเรียน 5 3 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 1 - อาคารเรียนอนุบาล 3 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 2 - อาคารเรียน 3 3 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 3 - อาคารเรียน 2 3 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 4 - โรงอาหารและอาคารเอนกประสงค์ 3 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 5 1.4 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 รับผิดชอบ จำนวน 23 คน กำหนดพื้นที่รับผิดชอบ ดังนี้ พื้นที่ จำนวนแกนนำที่ดูแล (คน) หมายเหตุ - อาคารเรียน 4 5 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 1 - อาคารเรียน 6 5 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 2 - อาคารเรียน 7 5 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 3 - อาคารเรียน 3 4 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 4 - อาคารอนุบาล 4 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 5 1.5 โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 รับผิดชอบ จำนวน 21 คน กำหนดพื้นที่รับผิดชอบ ดังนี้ พื้นที่ จำนวนแกนนำที่ดูแล (คน) หมายเหตุ - อาคารเรียน 7 4 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 1 - อาคารเรียน 8 4 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 2 - อาคารเรียน หน้าเสาธงและอาคาร 3 4 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 3 - หน้าอาคารอนุบาล และห้องพยาบาล 5 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 4 - สวนเกษตร 4 ทีมรับผิดชอบ ทีมที่ 5 ผลการ...

-172ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ประเมินตามตัวชี้วัดของกิจกรรม จำนวน 3 ตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัด

ผลผลิต

ร้อยละ

สรุปผลเทียบ กับตัวชี้วัด บรรลุ

1. ร้ อ ยละ 90 มี ค วามรู้ แกนนำมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและการ 98.18 เกี ่ ย วกั บ โรคไข้ เ ลื อ ดออก ป้องกัน และการป้องกัน



2 . ร ้ อ ย ล ะ 1 0 0 ข อ ง โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายมีแกนนำแห่งละ 4-5 ทีม โรงเรี ย นกลุ ่ ม เป้ า หมายมี แกนนำแห่งละ 1 ทีม



100

ไม่ บรรลุ

3.มี ก ารรายงานผลการ มีการรายงานผลการดำเนินงาน 1 ครั้ง/เดือน อยู่ระหว่าง ดำเนินงาน 1 ครั้ง/เดือน ดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค 1. ในการสำรวจลูกน้ำในโรงเรียนโดยแกนนำนักเรียน ยังขาดไฟฉายในการส่องดูลูกน้ำ ทำให้การดำเนินงาน อาจเกิดความผิดพลาดได้ 2. ในการดำเนินงานในบางโรงเรียนไม่ครอบคลุม เนื่องจากมีพื้นที่ที่เป็นเขตก่อสร้าง หากให้แกนนำนักเรียน ดำเนินการสำรวจเกิดอันตรายได้ 3. ในวันที่ได้อบรมแกนนำ ในบางโรงเรียนมีสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยเนื่องจากฝนตก จึงไม่สามารถพาแกนนำ นักเรียนสำรวจนอกสถานที่ได้ไม่ทั่วถึง ข้อเสนอแนะ 1.ในการดำเนินงานในครั้งถัดไป ควรมีการจัดเป็นโครงการซึ่งจะทำให้สามารถเบิกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการ สำรวจลูกน้ำภายในโรงเรียน เช่น ไฟฉาย เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการสำรวจลูกน้ำ 2.ในพื้นที่ที่เป็นเขตก่อสร้าง ให้ครูผู้ดูแลแกนนำ รับผิดชอบในการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ เพื่อให้มีการดำเนินงานที่ครอบคลุม 3.ควรมีการเพิ่ม เนื้อหาในการอบรม เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะลูกน้ำยุง โดยนัก กีฏวิทยาเพื่อให้แกนนำ รู้จักลักษณะของยุงแต่ละประเภท , การใช้ภูมิปัญญาไทยในการกำจัดยุงภายในบ้าน,นวัตกรรมเกี่ยวกับการ กำจัดลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น

ภาพกิจกรรม...

-173ภาพกิจกรรมโรงเรียนปลอดลูกน้ำ ประจำปีงบประมาณ 2565

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง

โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล

โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ

-174ภาพกิจกรรมโรงเรียนปลอดลูกน้ำ ประจำปีงบประมาณ 2565 (ต่อ)

โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง

โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม

3.2 โรคติดต่อ...

-1753.2 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีการดำเนินงานประกอบด้วย 1 โครงการ 3 กิจกรรม ดังนี้ 3.2.1 โครงการรักเราปลอดภัยในเดือนแห่งความรัก ตามที่ป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ได้ดำเนินโครงการรักเราปลอดภัยในเดือนแห่งความรัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้เยาวชนและประชาชนได้รับความรู้เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ วิธีการป้องกันโรค โดยมีกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม ดังต่อไปนี้ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมบรรยายความรู้เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันโรค แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนระยองวิทยาคมปากน้ำ กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ความรู้เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ณ ชายหาดแหลมเจริญ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16.00 - 17.30 น. กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทางช่องต่างๆ จำนวน 3 ช่องทาง จึงขอสรุปผลการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ วัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนได้รับความรู้เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวิธีการป้องกันโรค กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมหลักที่ 1 -นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 90 คน กิจกรรมหลักที่ 2 -ประชาชนทั่วไป จำนวน 50 คน กิจกรรมหลักที่ 3 -รณรงค์ ป ระชาสั ม พั น ธ์ เ ผยแพร่ ค วามรู ้ ผ ่ า นช่ อ งทาง ประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ช่องทาง ตัวชี้วัด 1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์ประเมินความรู้ 2. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรม นางสาววาณิชา โคกโพธิ์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ และทีมร่วมดำเนินงาน ประกอบด้วย 1. นางสาวเยาวลักษณ์ สำเริง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ 2. นางสาวศรินญา สกุลนอก ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข ระยะเวลาดำเนินงาน วันที่ 11 – 25 กุมภาพันธ์ 2565 ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. วางแผนเขียนโครงการเสนอกองทุน 2. ขออนุมัติดำเนินงานตามโครงการและจัดซื้อจัดจ้าง 3. ประสานสถานที่เพื่อจัดกิจกรรม และ ประสานทีมวิทยากร 4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สื่อให้ความรู้ 5. ดำเนินโครงการตามกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม 6. ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงาน

สรุปผล...

-176สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมบรรยายความรู้เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันโรค แก่นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนระยองวิทยาคมปากน้ำ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้โรงเรียนระยองวิทยาคมปากน้ำงดการเรียนการสอนแบบในสถานที่กระทันหัน กิจกรรมการบรรยายความรู้จึงได้จัดแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 14.00 – 16.00 น. โดยบรรยายในหัวข้อดังต่อไปนี้ 1.1. แลกน้ำกัน มันส์ดี 1.2. กงล้อความรู้มหัศจรรย์ 1.3. โรงเรียนของเราปลอดภัย ห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 1.4. วัยใส ใส่ถุงกัน กิจกรรมมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เข้าร่วมอบรม จำนวน 90 คน โดยให้ความสนใจในเนื้อหาและ สามารถทำแบบทดสอบความรู้หลังอบรมผ่านเกณฑ์ทุกคน ซึ่งถือว่าผ่านตัวชี้วัด กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ความรู้เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ณ ชายหาดแหลมเจริญ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16.00 - 17.30 น. โดยมีการจัดบูธนิทรรศการความรู้ แจกใบปลิว และแจกถุงยาง อนามัย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 55 ราย ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทางช่องต่างๆ จำนวน 3 ช่องทาง 3.1. ประชาสัมพันธ์ความรู้สื่ออินโฟกราฟิกและคลิปวิดีโอ ผ่านทางสื่อโซเชี่ยลมิเดียของเทศบาลฯ ได้แก่ เพสบุ๊ค ยูทูป 3.2. ประชาสัมพันธ์ด้วยเสียงตามสาย ผ่านทางสถานีวิทยุประชาคมระยอง FM ๙๗.๒๕ MHz 3.3. ประชาสัมพันธ์ด้วยเสียงประกาศรถพ่วง ใน 29 ชุมชน ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ประเมินตามตัวชี้วัดของกิจกรรม จำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

ผลผลิต

ร้อยละ

สรุปผลเทียบกับ ตัวชี้วัด บรรลุ

1.ร้อยละ 80 ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์ประเมิน ความรู้

100 คน นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่ เข้าร่วมอบรมความรู้ ทำแบบประเมินหลัง เรียนผ่านเกณฑ์ที่ กำหนด จำนวน 90 คน

90

/

2.ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

50 คน ประชาชนทั่วไป จำนวน 50 คน มีส่วน ร่วมในการจัดกิจกรรม

100

/

ไม่บรรลุ

ปัญหา...

-177ปัญหาอุปสรรค สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระบาดเพิ่มขึ้นในกลุ่มนักเรียนโรงเรียนระยอง วิทยาคมปากน้ำ วันที่ 12 - 13 กุมภาพันธ์ 2565 ทำให้โรงเรียนปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นระบบ ออนไลน์ จึงไม่สามารถจัดอบรมความรู้ภายในโรงเรียนได้ จึงได้ปรับรูปแบบโครงการฯเป็นการอบรมความรู้ ระบบออนไลน์ผ ่านโปรแกรม Google Meet และประเมินความรู้ห ลังเรียน ซึ่งจากการปรับรูปแบบการ ดำเนินการ จึงไม่ได้เบิกจ่ายในส่วนของค่าสมนาคุณวิทยากร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม แนวทางการแก้ไข (ระบุ).....ปรับรูปแบบโครงการฯเป็นการอบรมความรู้ระบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Google Meet และประเมินความรู้ด้วยแบบทดสอบหลังเรียนในวันที่โรงเรียนเปิดการเรียนการสอน On-site (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป) ภาพโครงการรักเราปลอดภัยในเดือนแห่งความรัก ประจำปีงบประมาณ 2565 กิจกรรมที่ 1 อบรมความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวิธีป้องโรคที่ถูกต้อง แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 - 3 จำนวน 100 คน ผ่านระบบ Google Meet ในวันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 14.40 – 16.00 น.

การให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ผ่านระบบ Google Meet

การประเมินความรู้หลังอบรมในวันที่เปิดเรียน

รายชื่อผู้เข้าร่วมระบบ Google Meet กิจกรรมที่ 2 ...

-178กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ความรู้เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16.00 - 17.30 น. ณ ชายหาดแหลมเจริญ

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทางช่องต่างๆ จำนวน 3 ช่องทาง ได้แก่ คลิปวิดีโอทางเฟสบุ๊ค ยูทูป และ ประชาสัมพันธ์ด้วยเสียงประกาศรถพ่วงใน 29 ชุมชน

ประชาสัมพันธ์คลิปวิดีโอผ่านเฟศบุ๊ค และยูทูป กิจกรรมที่ 3...

-179กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทางช่องต่างๆ จำนวน 3 ช่องทาง ได้แก่ คลิปวิดีโอทางเฟสบุ๊ค ยูทูป และ ประชาสัมพันธ์ด้วยเสียงประกาศรถพ่วงใน 29 ชุมชน (ต่อ)

การวิ่งรถพ่วงประชาสัมพันธ์ความรู้ใน 29 ชุมชนเขตเทศบาลนครระยอง

3.2.2 กิจกรรม...

-1783.2.2 กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเดือนธันวาคม 2564 ปัญหาโรคเอดส์นับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญและส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจทั่วโลก และยังมียอดสะสมของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นวันเอดส์โลกเพื่อระลึก และตระหนักถึงปัญหาโรคเอดส์พร้อมกันทั่วโลก และเพื่อให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ จึงได้ดำเนินกรรมกรรมดังกล่าวในที่สาธารณะและจุดเสี่ยงต่างๆ โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ข่าวสารในการป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2. เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักต่อโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รูปแบบกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้ และ ถาม-ตอบ ปัญหากับประชาชน เรื่อง โรคเอดส์ โรคติด ต่อทาง เพศสัมพันธ์ และวิธีการป้องกันโรค โดยการลงพื้นที่จัดกิจกรรม จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ลานกิจกรรมตลาดนัดสตาร์ และ สนามกีฬาสวนศรีเมือง กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ เรื่อง โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวิธีการป้องกัน โรค ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทใบปลิว ในตลาด สวนสาธารณะ บขส. จำนวน 4 แห่ง กิจกรรมที่ 3 ประสานให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ระยอง และศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล สเตล่ามาริส ระยอง ตำบลปากน้ำ เพื่อช่วยสื่อสารกับชาวต่างด้าว กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมหลักที่ 1 จำนวน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ลานกิจกรรมตลาดนัดสตาร์ และ สนามกีฬาสวนศรีเมือง กิจกรรมหลักที่ 2 จำนวน 29 ชุมชนในเขตเทศบาลนครระยอง ตัวชี้วัด 1. ร้อยละ 80 ของชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ประชาชนสามารถตอบคำถามความรู้เรื่องโรคและการ ป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง 2. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ในชุมชนเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 29 ชุมชน ผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรม นางสาววาณิชา โคกโพธิ์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ และทีมร่วมดำเนินงาน ประกอบด้วย 1. นางสาวศรินญา สกุลนอก ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข 2. นางฐิตาภา ขุนทอง พนักงานจ้างทั่วไป 3. นายอเนก ทองคล้าย พนักงานจ้างทั่วไป 4. นายจิณณวัตร สีดา พนักงานจ้างทั่วไป 5. นายณัฐนนท์ สรการ พนักงานจ้างทั่วไป 6. นายบุญส่ง ด่านกลาง พนักงานจ้างทั่วไป ระยะเวลาดำเนินงาน เดือนธันวาคม 2564

สรุปผล...

-181สรุปผลการดำเนินงาน การดำเนินงานสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินตาม PM มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัด (เชิงคุณภาพ) ประเมินตามตัวชี้วัดของกิจกรรม จำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

1.ร้ อ ยละ 80 ของชุ ม ชนที ่ เ ข้ า ร่ ว ม กิจกรรม ประชาชนสามารถตอบคำถาม ความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคได้ อย่างถูกต้อง

23 ชุมชน

ผลผลิต

ร้อย ละ

- วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ดำเนินการให้ความรู้และ 100 ถามตอบปัญหากับประชาชน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ตลาดสดสตาร์ และสนามกี ฬ าสวนศรี เ มื อ ง มี ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน โดยผู้ที่เข้าร่วม เล่นเกม สามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง

สรุปผลเทียบกับ ตัวชี้วัด บรรลุ ไม่บรรลุ 

- วันที่ 2 - 30 ธันวาคม 2564 (เฉพาะวันทำการ) วิ่งรถประชาสัมพันธ์ใน 29 ชุมชน - วันที่ 16 ธันวาคม 2564 ประสานให้ความรู้กับ เจ้ า หน้ า ที ่ ม ู ล นิ ธ ิ เ ครื อ ข่ า ยส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพชี วิ ต แรงงาน (LPN) และ ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล สเต ล่ามาริส 2.จั ด กิ จ กรรมประชาสั ม พั น ธ์ แ ละให้ ความรู้ในชุมชนเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 29 ชุมชน

29 ครั้ง

ผลการดำเนิ น งานนอกเหนื อ ตั ว ชี ้ วั ด (เพิ่มเติม)

3 ช่องทาง

3. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ทางช่องทาง ต่างๆ 3.1. ผ่ า นช่ อ งทางประชาสั ม พั นธ์ ข อง เทศบาลทางโซเซี ย ลมี เ ดี ย ได้ แ ก่ Facebook,Line@ 3.2. ผ่านช่องทางจัดรายการวิทยุชุมชน ณ สถานีวิทยุประชาคมระยอง 97.25 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2564

- ดำเนินการประชาสัมพันธ์ความรู้ในการป้องกันโรค 100 เกี่ยวกับโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดย วิ่งรถประชาสัมพันธ์ รถยนต์หมายเลขทะเบียน ผข 4717 ระยอง โดยใช้เสียงอัดประชาสัมพันธ์ ใน 29 ชุมชน จำนวน 29 ครั้ง



100



- มีการเผยแพร่ความรู้ 3 ช่องทาง ได้แก่ 1. ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ของเทศบาลทางโซเซียล มีเดีย ได้แก่ Facebook,Line@ 2. ผ่านช่องทางจัดรายการวิทยุชุมชน ณ สถานีวิทยุ ประชาคมระยอง 97.25 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 3. ผ่านใบปลิวประชาสัมพันธ์ในที่สาธารณะ

3.3. แจกใบปลิวความรู้ในที่สาธารณะ เช่น ตลาด สวนสาธารณะ สรุปผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด

2. ผลสัมฤทธิ์...

-1822. ผลสัมฤทธิ์ตามขั้นตอนการดำเนินงาน (เชิงประโยชน์) ประเมินตามขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน และระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา

ผลการดำเนินการ บรรลุ ไม่บรรลุ 

1. ประสานงานกับสถานศึกษา/จัดทำหนังสือ/ พฤศจิกายน 2564 จัดทำบันทึกขออนุญาตจัดกิจกรรม  2. จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ พฤศจิกายน 2564  3. ดำเนินกิจกรรมฯ ธันวาคม 2564  4. ประเมินผลกิจกรรมฯ มกราคม 2564 ปัญหาและอุปสรรค เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่งดการรวมตัวกันของ ผู้คน ทำให้ไม่สามารถจัดกลุ่มอบรมให้ความรู้แก่วัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา อาจทำให้ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายไม่ได้ปริมาณที่มากนัก แต่เน้นการประชาสัมพันธ์ทางสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อให้เข้าถึง กลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ภาพกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเดือนธันวาคม 2564 - กิจกรรมให้ความรู้และถามตอบปัญหากับประชาชน ณ ตลาดสดสตาร์ และ สนามกีฬาสวนศรีเมือง

ภาพกิจกรรม...

-183- กิจกรรมประชาสัมพันธ์ความรู้ในการป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการจากใบปลิวในที่สาธารณะ วิ่งรถประชาสัมพันธ์ใน 29 ชุมชนเขตเทศบาลนครระยอง ประชาสัมพันธ์สื่อโซเชียลมีเดีย และ การจัดรายการวิทยุ

- กิจกรรมประสานให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) และ ศูนย์ อภิบาลผู้เดินทางทะเล สเตล่ามาริส เพื่อให้ความรู้แก่ชาวต่างด้าว

3.2.3.กิจกรรม...

-1843.2.3 กิจกรรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่เด็กวัยเรียน ประจำปี งบประมาณ 2565 ปัจจุบันสังคมของประเทศไทย ก้าวเข้าสู่โลกโลกาภิวัตน์ ข้อมูลข่าวสารของโลกสมัยใหม่แพร่กระจาย เข้าสู่สังคมต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เด็กและเยาวชนไทย อาจมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในเรื่องเพศ เช่น การมี เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร จนทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา เกิดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ งานป้องกันเฝ้า ระวังและควบคุมโรคติดต่อจึงดำเนินกิจกรรม โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวิธีการป้องกันโรคอย่างถูกต้อง รูปแบบกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในหัวข้อ “วัยเรียนปลอดภัย เข้าใจ เพศศึกษาและการป้องกันโรค” แก่เด็กวัยเรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลฯ กิจกรรมที่ 2 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ในการป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ผ่านช่องทาง สื่อต่างๆ ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ความรู้แก่ครูอนามัยและผู้ปกครองผ่านไลน์แอปพลิเคชัน และ ประชาสัมพันธ์ ความรู้ผ่านทางระบบประชาสัมพันธ์ของเทศบาลฯ กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมที่ 1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลฯ จำนวน 735 ราย กิจกรรมที่ 2 ประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง ตัวชี้วัด 1. มีการดำเนินงานให้ความรู้นักเรียนครบทุกโรงเรียนจำนวน 5 ครั้ง 2. กลุ่มเป้าหมายสามารถตอบคำถามได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 80 ระยะเวลาดำเนินงาน ระหว่างวันที่ 8 – 29 สิงหาคม 2565 สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ ในหัวข้อ “วัยเรียนปลอดภัย เข้าใจเพศศึกษาและการป้องกันโรค” โดยมี เนื้อหาเกี่ยวกับโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันโรคที่เหมาะสมตามช่วงวัย และทักษะการ ปฏิเสธ ในระหว่างวันที่ 8 – 29 สิงหาคม 2565 แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในสังกัด มี รายละเอียดการดำเนินงานดังนี้ โรงเรียน วันที่ เวลา จำนวนเด็กนักเรียน (คน) 1.โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทา วันที่ 8 สิงหาคม 2565 09.20 – 11.20 น. 65 ราม วันที่ 9 สิงหาคม 2565 09.20 – 12.20 น. 73 วันที่ 10 สิงหาคม 2565 09.20 – 11.20 น. 70 2. โรงเรียนบ้านปากคลอง วันที่ 15 สิงหาคม 2565 09.30 – 10.30 น. 32 3. โรงเรียนสาธิตเทศบาลนคร วันที่ 25 สิงหาคม 2565 13.30 – 14.30 น. 120 ระยอง วันที่ 29 สิงหาคม 2565 13.30 – 14.30 น. 119 4. โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่ม วันที่ 19 สิงหาคม 2565 14.30 – 15.30 น. 67 มหาชัยชุมพล วันที่ 29 สิงหาคม 2565 13.30 -14.30 น. 60 5. โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ วันที่ 23 สิงหาคม 2565 13.30 – 14.30 น. 129 รวม 5 โรงเรียน 9 ครั้ง 735 คน

-185การประเมินผลดำเนินการโดยการทำแบบทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังเรียน พบว่าก่อนการให้ ความรู้ นักเรียนสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องทุกข้อ จำนวน 650 คน คิดเป็นร้อยละ 88.44 และหลังการให้ ความรู้ นักเรียนสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องทุกข้อเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 730 คน คิดเป็นร้อย ละ 99.32 รายละเอียดตามตารางที่ 1 โดยคำถามที่นักเรียนตอบถูกน้อยที่สุด คือ ข้อ 3 ถ้าถูกแฟนล่วงเกิน ลวนลาม ควร ทำอย่างไรอันดับแรก จำนวน 730 คน คิดเป็น 99.32 โดยนักเรียนส่วนมากเลือกที่ขอความช่วยเหลือจาก ผู้ป กครองในการแก้ ไ ขปั ญหา ซึ่งแท้จ ริง แล้ว อั น ดั บแรกนั กเรีย นสามารถบอกปฏิ เสธ และหลีกหนี จ าก สถานการณ์เสี่ยงได้ก่อนเป็นอันดับแรก อาจสื่อได้ว่าเด็กในวัยนี้ยังมีภาวะที่ต้องพึ่งพาผู้ปกครองมากกว่าพึ่งพา ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง โดยทางผู้จัดทำได้สอนได้ให้ความรู้เรื่องเทคนิคการปฏิเสธ การหลีกหนี หรือวิ่งหนีจากสถานการณ์เสี่ยง ตามหลักปฏิบัติ “บอกปฏิเสธ-หลีกหนี-ขอความช่วยเหลือ” (No-Go-Tell) เรียบร้อยแล้ว ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลการทำแบบทดสอบความรู้แต่ละข้อ ก่อนและหลังเรียน จำนวนนักเรียนที่ตอบคำถามถูกต้อง (คน) ข้อ คำถาม ก่อน ร้อยละ หลัง ร้อยละ เรียน เรียน 1 โรคเอดส์เกิดจากเชื้ออะไร? 670 91.16 735 100 2 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดจากอะไร? 735 100 735 100 3 ถ้าถูกแฟนล่วงเกิน ลวนลาม ควรทำอย่างไรอันดับแรก? 650 88.44 730 99.32 4 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย 715 97.28 735 100 อันควร? 5 วิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุด 730 99.31 735 100 สำหรับช่วงวัยเรียนคือ? นักเรียนที่ตอบคำถามถูกทั้ง 5 ข้อ 650 88.44 730 99.32 ภาพกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ในโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง

-186โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม

โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล

โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ในการป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ดังนี้ 2.1. ประชาสัมพันธ์ความรู้ แก่ครูอนามัยโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียน เรื่อง “สอนรู้อย่างไร ให้รู้ทัน เพศสัมพันธ์” ผ่านทางไลน์แอพพลิเคชั่นกลุ่มครูอนามัยโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียน

2.2. ประชาสัมพันธ์...

-1872.2. ประชาสัมพันธ์ความรู้ผ่านทางระบบประชาสัมพันธ์ของเทศบาลฯ ได้แก่ Facebook page เทศบาล นครระยอง และ Line@เรารักเทศบาลนครระยอง เรื่อง “วัยเรียนปลอดภัย เข้าใจเพศศึกษาและการป้องกันโรค”

การดำเนินงานสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินตาม PM มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัด (เชิงคุณภาพ) ประเมินตามตัวชี้วัดของกิจกรรม จำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้ สรุปผลเทียบ กับตัวชี้วัด ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลผลิต ร้อยละ ไม่ บรรลุ บรรลุ 1.มีการดำเนิน งานให้ 5 โรงเรียน -ระหว่างวันที่ 8 – 29 กันยายน 2565 100  ความรู้นักเรียนครบทุก ดำเนินการให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อ โรงเรียนจำนวน 5 ครั้ง ทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันโรค ทักษะการ ปฏิเสธ “No-Go-Tell” และพฤติกรรมทาง เพศที่เหมาะสม ณ โรงเรียนสังกัดเทศบาล นครระยอง จำนวน 5 โรงเรียน 2.กลุ่มเป้าหมาย มากกว่า - ดำเนินการประเมินความรู้ก่อนและหลังการ 99.32  สามารถตอบคำถามได้ ร้อยละ ดำเนินกิจกรรม โดยมีคำถามเกี่ยวกับ คะแนนมากกว่าร้อยละ 80 ความหมายของโรค การป้องกันโรค และ 80 ทักษะการปฏิเสธ ก า ร ด ำ เ น ิ น ง า น 2 ช่องทาง - มีการเผยแพร่ความรู้การป้องกันโรคเอดส์ 100  นอกเหนือตัวชี้วัด และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ด้วยอินโฟ 3 . เ ผ ย แ พ ร่ กราฟิกหัวข้อ “สอนลูกอย่างไร ให้รู้ทัน ประชาสัมพันธ์ความรู้ เพศสัมพันธ์” และ “วัยเรียนปลอดภัย เข้าใจ ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เพศศึกษาและการป้องกันโรค” จำนวน 2 ช่องทาง ได้แก่ 1. ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ของเทศบาล ทางโซเซียลมีเดีย ได้แก่ Facebook และ Line@เรารักนครระยอง 2. ผ่านไลน์แอปพลิเคชั่นของกลุ่มครูอนามัย โรงเรียน สรุปผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ข้อเสนอแนะ...

-188ข้อเสนอแนะ จากการดำเนินกิจกรรมพบว่า เด็กนักเรียนให้ความสนใจและตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงร่างกายเข้าสู่วัยเจริญ พันธุ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ขอเสนอให้ควรมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ครั้งต่อไป โดยเพิ่มเกม การละเล่นที่สอดแทรกเนื้อหาความรู้เพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับช่วงวัย

3.2.3.กิจกรรม...

-1893.2.3 กิจกรรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีเนื่องในวันตับอักเสบโลก (World Hepatitis Day) ประจำปี 2565 ด้วยองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้ วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ของทุกปี เป็นวันตับอักเสบ โลก (World Hepatitis Day) เพื่อให้ทุกประเทศร่วมกันรณรงค์และมีเป้าหมายการดำเนินงานป้องกันและ ควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบ โดยเฉพาะโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี ซึ่งยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ กรมควบคุมโรค โดยกองโรค เอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้รณรงค์และสนับสนุนชุดตรวจคัดกรองให้ กรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการตรวจคัดกรองหาเชื้อในกลุ่มพนักงานรักษาความสะอาดและ พนักงานเก็บมูลฝอยติดเชื้อ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นการให้ความรู้เรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีและการป้องกันโรค 2. เพื่อเป็นการตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีในกลุ่ม พนักงานรักษาความสะอาดและพนักงาน เก็บมูลฝอยติดเชื้อ รูปแบบกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีและการป้องกันโรค กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพและประเมินความเสี่ยงการติดโรค กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมคัดกรองตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ด้วยชุดตรวจไวรัสตับอักเสบบี First Response HBsAg Card Test และชุดตรวจไวรัสตับอักเสบซี Standard Q HCV Ab Test สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมที่ 1 พนักงานรักษาความสะอาดและพนักงานเก็บมูลฝอยติดเชื้อ จำนวน 86 ราย กิจกรรมที่ 2 พนักงานรักษาความสะอาดและพนักงานเก็บมูลฝอยติดเชื้อ จำนวน 36 ราย กิจกรรมที่ 3 พนักงานรักษาความสะอาดและพนักงานเก็บมูลฝอยติดเชื้อ ที่มีความเสี่ยงสูงจากการคัดกรอง และประเมินความเสี่ยงของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ อปท. จำนวน 36 ราย ตัวชี้วัด 1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีและการป้องกันโรค 2. ร้อยละ 100 ของกลุ่มที่สุ่มตรวจ (36 ราย) ได้รับการคัดกรองด้วยแบบประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคและ ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ด้วยชุดตรวจไวรัสตับอักเสบบี First Response HBsAg Card Test และชุด ตรวจไวรัสตับอักเสบซี Standard Q HCV Ab Test ผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรม นางสาววาณิชา โคกโพธิ์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ และทีมร่วมดำเนินงาน ประกอบด้วย 1. นางปาริชาติ ตันสุธิกุล หัวหน้าฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค 2. นางปภัสฉัฐ คำอาจ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ 3. นางชไมพร เอื้อศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ 4. นางสาวเยาวลักษณ์ สำเริง นักวิชาการสาธารณสุขฯ 5. นางสาวศรินญา สกุลนอก ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุขฯ ผลการ...

-190ระยะเวลาดำเนินงาน วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.30 – 11.30 น. ผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีและการป้องกันโรค มีการให้ความรู้เรื่อง โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี สาเหตุ อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกันโรค แก่พนักงานรักษา ความสะอาดและพนักงานเก็บมูลฝอยติดเชื้อ จำนวน 86 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.6 ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด

ภาพประกอบกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพและประเมินความเสี่ยงการติดโรค มีการซักประวัติ ตรวจคัดกรอง และประเมินความเสี่ยงเพื่อตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี แก่ พนักงานรักษาความสะอาดและพนักงานเก็บมูลฝอยติดเชื้อ จำนวน 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งถือว่าผ่าน เกณฑ์ตัวชี้วัด

แบบฟอร์มการตรวจคัดกรองสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ อปท. แบบฟอร์มการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคใช้ปัจจัยดังนี้ (ผู้เข้ารับการ ตรวจสามารถมีปัจจัยเสี่ยงได้มากกว่า 1 ข้อ) 1. เกิดก่อน ปี พ.ศ. 2535 2. ใช้สารเสพติดวิธีฉีดเข้าเส้น แม้ว่าจะทดลองใช้เพียงครั้งเดียว 3. เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 4. เคยได้รับเลือด หรือสารเลือดก่อนปี 2535

-1915. เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ก่อนปี 2535 6. เคยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 7. เคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย 8. เคยมีคนในครอบครัว เช่น คู่สมรส บิดา มารดา เป็นผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี 9. เคยสักผิวหนัง เจาะหู ฝังเข็ม ในที่ที่ไม่ใช่สถานพยาบาล 10. เคยได้รับการฉีดยา หรือผ่าตัดเล็ก ด้วยแพทย์พื้นบ้าน 11. เคยถูกเข็มหรือของมีคมตำขณะปฏิบัติหน้าที่ 12. เคยใช้อุปกรณ์บางชนิดร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ เข็มฉีดยา เป็นต้น จากการซักประวัติและสอบถามความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบบีพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีปัจจัยเสี่ยงใน ด้านการเกิดก่อน ปี พ.ศ. 2535 มากเป็นลำดับที่หนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 91.67 ลำดับที่สองคือการมีเพศสัมพันธ์โดย ไม่ใช้ถุงยางอนามัย คิดเป็นร้อยละ 52.78 และลำดับที่สามคือการใช้อุปกรณ์ของมีคมร่วมกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 36.11 โดยพบว่าผู้ที่ติดเชื้อมีปัจจัยเสี่ยงทั้งสามข้อ รายละเอียดดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ตารางแสดงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบบีและจำนวนผู้ที่มีความเสี่ยง จำนวนผู้ที่มี ความเสี่ยงต่อโรคไวรัสตับอักเสบบี ปัจจัยเสี่ยง ร้อยละ 1. เกิดก่อน ปี พ.ศ. 2535 33 91.67 2. ใช้สารเสพติดวิธีฉีดเข้าเส้น แม้ว่าจะทดลองใช้เพียงแค่ครั้งเดียว 0 0.00 3. เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 1 2.78 4. เคยได้รับเลือด หรือสารเลือด ก่อนปี พ.ศ. 2535 1 2.78 5. เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ก่อนปี พ.ศ. 2535 0 0.00 6. เคยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 0 0.00 7. เคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย 19 52.78 8. เคยมีคนในครอบครัว เช่น คู่สมรส บิดา มารดา เป็นผู้ป่วยไวรัส ตับอักเสบ บี 2 5.56 9. เคยสักผิวหนัง เจาะหู ฝังเข็ม ในที่ที่ไม่ใช่สถานพยาบาล 12 3.33 10.เคยได้รับการฉีดยา หรือผ่าตัดเล็ก ด้วยแพทย์พื้นบ้าน 1 2.78 11.เคยถูกเข็มหรือของมีคมตำขณะปฏิบัติหน้าที่ 3 8.33 12.เคยใช้อุปกรณ์บางชนิดร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ เข็มฉีดยา เป็นต้น 13 36.11 แบบฟอร์มการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคใช้ปัจจัยดังนี้ (ผู้เข้ารับการ ตรวจสามารถมีปัจจัยเสี่ยงได้มากกว่า 1 ข้อ) 1. ใช้สารเสพติดวิธีฉีดเข้าเส้น แม้ว่าจะทดลองใช้เพียงครั้งเดียว 2. เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 3. เคยได้รับเลือด หรือสารเลือดก่อนปี 2534 4. เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ก่อนปี 2534 5. เคยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 6. เคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย 7. เคยมีคู่สมรสเป็นผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี

-1928. เคยสักผิวหนัง เจาะหู ฝังเข็ม ในที่ที่ไม่ใช่สถานพยาบาล 9. เคยได้รับการฉีดยา หรือผ่าตัดเล็ก ด้วยแพทย์พื้นบ้าน 10. เคยถูกเข็มหรือของมีคมตำขณะปฏิบัติหน้าที่ 11. เคยใช้อุปกรณ์บางชนิดร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ เข็มฉีดยา เป็นต้น จากการซักประวัติและสอบถามความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบซีพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีปัจจัยเสี่ยงใน ด้านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยมากเป็นลำดับที่หนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 50.00 ลำดับที่สองคือคือการใช้ อุปกรณ์ของมีคมร่วมกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 38.89 และลำดับที่สามคือเคยถูกเข็มหรือของมีคมตำขณะปฏิบัติ หน้าที่ คิดเป็นร้อยละ 36.11 รายละเอียดดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ตารางแสดงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบซีและจำนวนผู้ที่มีความเสี่ยง จำนวนผู้ที่มี ความเสี่ยงต่อโรคไวรัสตับอักเสบซี ปัจจัยเสี่ยง ร้อยละ 1. ใช้สารเสพติดวิธีฉีดเข้าเส้น แม้ว่าจะทดลองใช้เพียงแค่ครั้งเดียว 0 0.00 2. เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 1 2.78 3. เคยได้รับเลือด หรือสารเลือด ก่อนปี พ.ศ.2534 0 0.00 4. เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ก่อนปี พ.ศ.2534 0 0.00 5. เคยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 0 0.00 6. เคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย 18 50.00 7.เคยมีคู่สมรสเป็นผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี 1 2.78 8. เคยสักผิวหนัง เจาะหู ฝังเข็ม ในที่ที่ไม่ใช่สถานพยาบาล 12 33.33 9. เคยได้รับการฉีดยา หรือผ่าตัดเล็ก ด้วยแพทย์พื้นบ้าน 0 0.00 10. เคยถูกเข็มหรือของมีคมตำขณะปฏิบัติหน้าที่ 13 36.11 11. เคยใช้อุปกรณ์บางชนิดร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ เข็มฉีดยา เป็นต้น 14 38.89

ภาพกิจกรรมที่ 2

กิจกรรมที่3...

-193กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมคัดกรองตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ด้วยชุดตรวจไวรัสตับอักเสบบี First Response HBsAg Card Test และชุดตรวจไวรัสตับอักเสบซี Standard Q HCV Ab Test สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดโรค จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ในกลุ่มเสี่ยง 36 ราย พบผู้ติดเชือ้ ไวรัสตับอักเสบบี 1 ราย และไม่พบผู้ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี รายละเอียดดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 ตารางแสดงผลการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ผลการคัดกรองไวรัสตับอักเสบ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี จำนวนผู้ที่ได้รับ จำนวนผู้ที่ได้รับ การคัดกรอง Positive Negative ร้อยละ การคัดกรอง Positive Negative ร้อยละ 36 1 35 2.78 36 0 36 0 ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ได้ดำเนินการส่งต่อข้อมูลผู้ ติดเชื้อแก่กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลระยอง สาขาเกาะหวาย เพื่อรับการตรวจเชื้อซ้ำเพื่อยืนยันผล จากห้องแลปปฏิบัติการ และเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ผู้ติดเชื้อได้เข้า รับการตรวจเชื้อซ้ำและรับยาเพื่อรักษาอย่างต่อเนื่อง เรียบร้อยแล้ว

3.3 โรคติดต่อ...

-1943.3 โรคติดต่อโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ การดำเนินงานประกอบด้วย 2 โครงการ ดังนี้ 3.3.1 โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนคร ระยอง ด้ว ยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหลายประเทศทั่วโลกได้ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและทวีความรุนแรงขึ้น จากปรากฏกรณีไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์สายพันธุ์ โอมิครอน (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายได้ไวและมีโอกาสทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ขณะนี้ ประเทศไทยเริ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวมากขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับคำสั่งศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 3/2565 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ตามข้อกำหนดออกตามความใน มาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 21 มกราคม 2565 กำหนดให้จังหวัดระยองเป็นพื้นที่ควบคุม ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2565 และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศระดับการเตือนภัยจากโรคโควิด -19 เป็นระดับ 4 ทั่วประเทศไทย เนื่องจากพบสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่าง รวดเร็วและต่อเนื่อง มากกว่าวันละ 20,000 คน ซึ่งในขณะนี้จังหวัดระยองมีผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 56,347 คน และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป พบ ข้อมูลผู้ป่วยระลอกใหม่ จำนวน 9,913 คน และยังคงพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันมีจำนวนสูงเป็นหลักร้อย คนอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มที่มีการรวมตัวของเครือญาตที่เดินทางกลับภูมิลำเนา หรือ ท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลต่างๆ นอกจากนี้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดระยอง ได้พิจาณาอนุมัติ ให้โรงเรียนใน จังหวัดระยองที่มีความพร้อมในการเปิดเรียน สามารถเปิดเรียนได้ตั้ งแต่วันที่ 17 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ซึ่ง นักเรียนในกลุ่มอายุ 5-11 ปี ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฯ ดังนั้นในการดำเนินงานป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคติดต่อที่รวดเร็วในพื้นที่เกิดโรคระบาด ต้องมีการดำเนินงานเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบ มีการ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน การจัดทีม และลงพื้นที่ดำเนินงาน การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่ ถูกต้องรวดเร็วเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อที่ขยายเป็น วงกว้าง และป้องกันการตื่นตระหนกของ ประชาชนในพื้นที่ เทศบาลนครระยอง โดยสำนั ก สาธารณสุ ข และสิ ่ง แวดล้ อ ม ซึ ่ ง เป็ น หน่ ว ยงานที ่ ม ีบ ทบาท ตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 56(1) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และพระราชบัญญัติกำหนด แผนและขั้น ตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) การ สาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างความรู้และ จัดทำระบบในการเฝ้าระวังโรค ซึ่งอาจทำให้สามารถดำเนินการควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ที่มีการระบาด ตลอดจนลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไปยังชุมชนหรือโรงเรียนอื่นๆในพื้นที่ ทำให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยใน พื้นที่เทศบาลนครระยองไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ อและมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครระยอง ขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวัง คัดกรอง การป้องกันและ ควบคุมโรค 2.เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอต่อการสนับสนุนในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม การแพร่ระบาดของโรค กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง 20,000 ครัวเรือนในเขตเทศบาลนครระยอง ตัวชี้วัด ...

-195ตัวชี้วัด 1.ร้อยละ 70 ของครัวเรือนเป้าหมายในเขตเทศบาลนครระยองได้รับความรู้ในการป้องกันโรค 2. ดำเนินการเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทุกรายที่ได้รับการรายงานข้อมูล ระยะเวลาในการดำเนินงาน เดือนมีนาคม – เดือนกันยายน 2565 ในชุมชนเขตเทศบาลนครระยอง รูปแบบโครงการ ดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 คัดกรอง/รณรงค์ประชาสัมพันธ์/อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการและการ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ดำเนินการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชน รับทราบข้อมูลและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อสำหรับประชาชน กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการ/สนับสนุนการเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดต่อโดยการจัดหา วัสดุอุปกรณ์ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ทีมดำเนินงาน 1.ทีมดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และกลุ่มเสี่ยง โดยแบ่งทีมดำเนินงาน ตามเขตการเลือกตั้ง 4 เขต โดยใช้รถยนต์หมายเลขทะเบียน กอ 1764 ระยอง,ขก 7014 ระยอง, กธ 650 ระยอง ประกอบด้วย หัวหน้าทีม นางปุญยาพร แสนศรีจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เขต 1 รับผิดชอบทั้งหมด 11 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนชายกระป่อม, ชุมชนเรือนจำ, ชุมชนหลังวัดป่าประดู่ 1, ชุมชนหลังวัดป่าประดู่ 2, ชุมชนทางหลวง-พูนไฉ่, ชุมชนศูนย์การค้า, ชุมชนเกาะ กลอย, ชุมชนตีนเนิน-เกาะหวาย, ชุมชนสองพี่น้อง, ชุมชนหนองสนม-ปักป่า และชุมชนแขวงการทาง มีผู้รับผิดชอบ ดำเนินงาน ดังนี้ 1.น.ส.วิภูษิตา มั่นเกษตรกิจ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ 2.น.ส.ศรินญา สกุลนอก ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข 3.น.ส.สิญาพร นามสงสาร ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข 4.นายศิริพงษ์ โปสันรังค์ พนักงานขับรถยนต์ 5.นางวรรณา สรการ พนักงานจ้างทั่วไป เขต 2 รับผิดชอบทั้งหมด 3 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนริมน้ำ-ท่าเกตุ, ชุมชนข้างอำเภอ-ทาง ไผ่ และชุมชนก้นปึก-ปากคลอง มีผู้รับผิดชอบดำเนินงาน ดังนี้ 1.นางวันดี สาคะรังค์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ 2.น.ส.วาณิชา โคกโพธิ์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 3.น.ส.อุไรวรรณ ทิศลี่ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัตการ 4.น.ส.ดวงพร เจริญชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข เขต 3 รับผิดชอบทั้งหมด 7 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนทุ่งโตนด, ชุมชนสวนวัด, ชุมชนหลัง วัดโขด, ชุมชน บางจาก, ชุมชนเนินพระ, ชุมชนตากสิน และชุมชนสะพานราษฎร์ มีผู้รับผิดชอบดำเนินงาน ดังนี้ 1.นางปาริชาติ ตันสุธิกุล หัวหน้าฝ่ายป้องกันฯ 2.น.ส.ศิริจิตร์ วรรณวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ 3.นางปภัสฉัฐ คำอาจ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ 4.น.ส....

-1964.น.ส.ศิริลักษณ์ โพธิ์วิเศษ นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ 5.นายณัฐวัฒน์ รัตนบุรี ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข 6.นายจีรศักดิ์ ชนะพจน์ พนักงานขับรถยนต์ 7.นายชัชพงษ์ ชุ่มชื่น พนักงานจ้างทั่วไป เขต 4 รับผิดชอบทั้งหมด 8 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนบ้านปากคลอง, ชุมชนสมุทรเจดีย์, ชุมชนสนามเป้า, ชุมชนสัมฤทธิ์, ชุมชนปากน้ำ 1, ชุมชนปากน้ำ 2, ชุมชนมุสลิม-ปากคลอง และ ชุมชนแหลม รุ่งเรือง มีผู้รับผิดชอบดำเนินงาน ดังนี้ 1.นางชไมพร เอื้อศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ 2.น.ส.กัลยา อนุสาสนนันท์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 4.น.ส.เยาวลักษณ์ สำเริง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ 3.นายพรต ศิริทรัพย์ พนักงานขับรถยนต์ 4.นางฐิตาภา ขุนทอง พนักงานจ้างทั่วไป 2.ทีมตรวจประเมินและกำกับตามมาตรการป้องกัน ควบคุม การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในตลาดและสถานประกอบการ โดยใช้รถยนต์หมายเลขทะเบียน ขค 6332 ระยอง, กอ 1762 ระยอง ดังนี้ หัวหน้าทีม นายดุสิต ธรรมศิริรักษ์ ผู้อำนวยการส่วนบริการฯ -ตลาดในความรับผิดชอบ จำนวน 15 แห่ง ประกอบด้วย ตลาดแม่แดง,ตลาดแม่แดงเอกชน, ตลาด สตาร์,ตลาดสตาร์ไนท์บาร์ซ่า,ตลาดเทศบันเทิง, ตลาดวัดลุ่ม (เช้า,เย็น), ตลาดเก่า,ตลาด Flick, ตลาดโต้รุ่งหมอ สาโรจน์,ตลาดทีการ์เด้น, ตลาดปากน้ำ,ตลาดลุงแป๊ะ,ตลาดร่มเอียง,ตลาดเก้ายอด,ศูนย์แสดงสินค้าปากน้ำ มี ผู้รับผิดชอบดำเนินงาน ดังนี้ ทีม 1 ประกอบด้วย 1.น.ส.วิลาวรรณ นาถาบำรุง หัวหน้าฝ่ายบริการสิ่งแวดล้อม 2.น.ส.สมฤทัย หุนมาตรา นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ 3.น.ส.ปาริชาติ ฤกษ์พิพัฒน์พงศ์ นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ 7.น.ส.ปาริชาติ เจนจบ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ 4.นายวุฒิพงษ์ สรสิทธิ์ พนักงานขับรถยนต์ 5.น.ส.โชษิตา ศรีษะเกษ พนักงานจ้างทั่วไป ทีม 2 ประกอบด้วย 1.น.ส.ณัฐริกา ซื่อมาก หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมฯ 2.น.ส.พรรณนา บำรุง นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ 3.นายชัยพฤกษ์ ชูเชิด นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ 4.น.ส.อารียา สอนเสนา ผู้ช่วยนักวิชาการสุขาภิบาล 5.นางเดือนเพ็ญ อาษากิจ พนักงานจ้างทั่วไป 6.นางจรรยา ดิษยพงษ์ พนักงานจ้างทั่วไป 7.น.ส.ประกามาศ สุดสุข พนักงานจ้างทั่วไป 8.นายณรงค์เดช ศรีสง่า พนักงานขับรถยนต์ 3.ทีมควบคุม...

-1973.ทีมควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตเทศบาลนครระยองโดยใช้ รถยนต์หมายเลขทะเบียน ผข 4717 ระยอง ประกอบด้วย หัวหน้าทีม นางปาริชาติ ตันสุธิกุล หัวหน้าฝ่ายผ้องกันและควบคุมโรค แบ่ง 2 ทีม 3.1.ทีมกำจัดแหล่งเพาะเชื้อในชุมชน ประกอบด้วย 1.น.ส.เยาวลักษณ์ สำเริง นักวิชาการสาธารณสุขฯ 2.น.ส.ศรินญา สกุลนอก ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข 3.นางฐิตาภา ขุนทอง พนักงานจ้างทั่วไป 4.นายอเนก ทองคล้าย พนักงานจ้างทั่วไป 5.นายจิณณวัตร สีดา พนักงานจ้างทั่วไป 6.นายณัฐนนท์ สรการ พนักงานจ้างทั่วไป 7.นายบุญส่ง ด่านกลาง พนักงานขับรถยนต์ 3.2.ทีมกำจัดแหล่งเพาะเชื้อในสถานที่กักตัวที่รัฐจัดให้ ประกอบด้วย 1.นายไกรศักดิ์ หงษ์หิรัญรัตนา พนักงานจ้างทั่วไป 2.นายอภิชาติ กิ่งนอก พนักงานจ้างทั่วไป 4.ทีมจัดการขยะติดเชื้อภายในสถานที่กักกันรูปแบบต่างๆและสถานที่รักษาผู้ป่วยติดเชื้อ (HI) โดยใช้รถยนต์หมายเลขทะเบียน ผข 2372 ระยอง ประกอบด้วย หัวหน้าทีม น.ส.วิลาวรรณ นาถาบำรุง หัวหน้าฝ่ายบริการสิ่งแวดล้อม 1.นายเทพเทพา เจริญดี นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ 2.น.ส.ณัฐทิชา กาญจนาวาณิช นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ 3.น.ส.ปิยธิดา เลี้ยงหิรัญ ผู้ช่วยนักวิชาการสุขาภิบาล 4.นายราชัน สรสิทธิ พนักงานขับรถยนต์ 5.น.ส.สโรชา ขวัญนัทธี พนักงานจ้างทั่วไป

ผลการ...

-198ผลการปฏิบัติงานโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโรนา 2019 (COVID-19) ในเขต เทศบาลนครระยอง 1.เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่ต้องดำเนินการกักตัว 14 วัน HQ เพื่อให้คำแนะนำการกักตัว+การจัดการขยะ ติดเชื้อภายในบ้าน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 จำนวนทั้งสิ้น 2,026 ราย แยกรายตำบล ตำบลท่าประดู่ 577 ราย ตำบลเชิงเนิน 601 ราย ตำบลเนินพระ 357 ราย ตำบลปากน้ำ 491 ราย แยกรายเขตเลือกตั้ง เขต 1 352 ราย เขต 2 441 ราย เขต 3 562 ราย เขต 4 671 ราย แยกรายชุมชน ชุมชนก้นปึก-ปากคลอง 196 ราย ชุมชนเกาะกลอย 20 ราย ชุมชนข้างอำเภอ-ทางไผ่ 151 ราย ชุมชนแขวงการทาง 51 ราย ชุมชนชายกระป่อม 39 ราย ชุมชนตีนเนิน-เกาะหวาย 36 ราย ชุมชนทุ่งโตนด 64 ราย ชุมชนเนินพระ 213 ราย ชุมชนบางจาก 52 ราย ชุมชนบ้านปากคลอง 60 ราย ชุมชนปากน้ำ 1 65 ราย ชุมชนปากน้ำ 2 91 ราย ชุมชนพูนไฉ่ 15 ราย ชุมชนมุสลิม-ปากคลอง 49 ราย ชุมชนริมน้ำ-ท่าเกตุ 87 ราย ชุมชนเรือนจำ 32 ราย ชุมชนวัดป่าประดู่ 1 38 ราย ชุมชนวัดป่าประดู่ 2 20 ราย ชุมชนศูนย์การค้า 31 ราย ชุมชนสนามเป้า 114 ราย ชุมชนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 41 ราย ชุมชน...

ชุมชนสมุทรเจดีย์ ชุมชนสวนวัดโขด ชุมชนสองพี่น้อง ชุมชนสะพานราษฎร์ ชุมชนสัมฤทธิ์ ชุมชนหนองสนม-ปักป่า ชุมชนหลังวัดโขด ชุมชนแหลมรุ่งเรือง

-199103 75 52 83 179 18 34 17

ราย ราย ราย ราย ราย ราย ราย ราย

2.ตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของผู้ป่วยโควิท เข้าสู่กระบวนการดูแลตนเองที่บ้าน HI โดย ประสานด้านสนับสนุนอาหารและการเก็บขยะติดเชื้อ ยอดสะสม 1,204 ราย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 (ยกเลิกระบบ HI วันที่ 1 มิถุนายน 2565) แยกรายตำบล ตำบลท่าประดู่ 278 ราย ตำบลเชิงเนิน 473 ราย ตำบลเนินพระ 287 ราย ตำบลปากน้ำ 166 ราย แยกรายเขตเลือกตั้ง เขต 1 323 ราย เขต 2 209 ราย เขต 3 408 ราย เขต 4 264 ราย แยกรายชุมชน ชุมชนก้นปึก-ปากคลอง 57 ราย ชุมชนเกาะกลอย 44 ราย ชุมชนข้างอำเภอ-ทางไผ่ 96 ราย ชุมชนแขวงการทาง 25 ราย ชุมชนชายกระป่อม 44 ราย ชุมชนตีนเนิน-เกาะหวาย 38 ราย ชุมชนทุ่งโตนด 54 ราย ชุมชนเนินพระ 186 ราย ชุมชนบางจาก 49 ราย ชุมชนบ้านปากคลอง 30 ราย ชุมชนปากน้ำ 1 36 ราย ชุมชนปากน้ำ 2 23 ราย ชุมชนพูนไฉ่ 21 ราย ชุมชนมุสลิม-ปากคลอง 4 ราย ชุมชน...

-200ชุมชนริมน้ำ-ท่าเกตุ 55 ราย ชุมชนเรือนจำ 29 ราย ชุมชนวัดป่าประดู่ 1 26 ราย ชุมชนวัดป่าประดู่ 2 28 ราย ชุมชนศูนย์การค้า 23 ราย ชุมชนสนามเป้า 71 ราย ชุมชนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 24 ราย ชุมชนสมุทรเจดีย์ 41 ราย ชุมชนสวนวัดโขด 33 ราย ชุมชนสองพี่น้อง 35 ราย ชุมชนสะพานราษฎร์ 35 ราย ชุมชนสัมฤทธิ์ 55 ราย ชุมชนหนองสนม-ปักป่า 13 ราย ชุมชนหลังวัดโขด 29 ราย ชุมชนแหลมรุ่งเรือง 0 ราย 3.ติดตามการกักตัวผู้ป่วยหลังการรักษาโควิดหายเพื่อไปพักฟื้นที่บ้าน 14 วัน และให้คำแนะนำกลับสู่ ชุมชนยอดติดตาม 281 ราย (เนื่องจากศูนย์พักคอย CI โรงเรียนนครระยองวิทยาคม ปิดทำการในวันที่ 24 ตุลาคม 2564) 4.ดำเนินการสอบสวนโรคติดเชื้อ ณ โรงพยาบายระยองสาขาเกาะหวาย ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2564 ถึง วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 306 ราย (ในเขต 276 ราย, นอกเขต 30) มีรายละเอียด ดังนี้ ในเขต(รวม) 263 นอกเขต (รวม) 30 ตำบลท่าประดู่ 107 ตำบลเชิงเนิน 15 ตำบลเชิงเนิน 91 ตำบลเนินพระ 13 ตำบลเนินพระ 46 ตำบลทับมา 1 ตำบลปากน้ำ 32 ตำบลบ้านฉาง 1 5.การดำเนินงานเชิงรุกในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ปีงบประมาณ 2565 5.1 วันที่ 12 และ 14 ตุลาคม 2564 ร่วมดำเนินการฉีดวัคซีนต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(Astrazeneca) เข็มที่ 2 ให้กับประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง ณ โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ

5.2 วันที่...

-2015.2 วันที่ 14 , 15 และ 18 ตุลาคม 2564 ร่วมดำเนินการคัดกรองโควิดเชิงรุกและสอบสวนโรคผู้มี

ผล ATK Positive ณ ชุมชนก้นปึก-ปากคลอง ชุมชนบ้านปากคลอง และชุมชนสัมฤทธิ์

5.3 การดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร่วมกับงานคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลระยองสาขาเกาะหวาย,สาขาเนินพระ และสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดระยอง ดำเนินการคัดกรองเชิงรุก ในวันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.00 น. – 12.00 น. โดยการตรวจ ATK ในกลุ่มผู้ประกอบการตลาดสตาร์และตลาดสตาร์ไนท์พลาซ่า มีผู้เข้ารับการ ตรวจจำนวน 304 ราย ผล ATK Positive จำนวน 3 ราย และผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จำนวน 1 ราย ส่งยืนยัน PRPCR 4 ราย ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงร่วมบ้านเข้ารับการตรวจและประสานติดตามเข้า SQ ต่อไป

5.4 ดำเนินการป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ ถนน อารีย์ราษฎร์ ซอย 13 ชุมชนปากน้ำ 2 ในวันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 11.00 น. – 14.00 โดยลง พื้นที่ดำเนินการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว เพื่อระหว่างการกักตัว เพื่อป้องกัน การติดโรคและแพร่กระจายโรคด้ว ยหลักการป้องกันการติดเชื้ อแบบ ครอบจักรวาล (Universal Prevention)

5.5 ดำเนินการคัดกรองเชิงรุกร่วมกับงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาล ระยองสาขาเกาะหวายสาขาเนิ นพระ ในวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2564 เวลา 13.00 น. – 15.30 น. โดย ดำเนินการควบคุมโรคเชิงรุกตามระบบ Active Case Finding และSurveillance เนื่องจากพบผู้ป่วยโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 2 ราย ในกลุ่มผู้ประกอบการตลาดวัดลุ่ม มีผู้เข้ารับการตรวจจำนวน 108 ราย ผล ATK Positive จำนวน 1 ราย พร้อมทั้งติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงร่วมบ้านเข้ารับการตรวจและ ประสานเข้ากักตัวใน SQ ต่อไป 5.6 ดำเนินการ...

-2025.6 ดำเนินการคัดกรองเชิงรุกร่วมกับคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลระยองสาขาเกาะหวาย และ สาขาเนินพระ ณ ศาลาชุมชนหลังวัดป่า 2 มีผู้เข้ารับการตรวจ จำนวน 60 ราย พบผลเป็นลบ

5.7 วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ความรู้ เรื่องหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) ประชาสัมพันธ์การตรวจหาเชื้อแบบเชิงรุก ตามระบบ Active Case Finding และ Surveillance กับไปรษณีย์สาขาระยอง ดำเนินการคัดกรองเชิงรุกร่วมกับคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาล ระยองสาขาเกาะหวาย และสาขาเนินพระ ณ ที่ทำการไปรษณีย์สาขาระยอง โดยดำเนินการควบคุมโรคเชิงรุก ตามระบบ Active Case Finding และSurveillance เนื่องจากพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) จำนวน 5 ราย ในที่ทำการไปรษณีย์สาขา มีผู้เข้ารับการตรวจจำนวน 125 ราย ผลเป็นลบ

5.8 ดำเนินการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 เชิงรุก ร่วมกับกองการแพทย์ ณ ตลาดวัดลุ่ม เนื่องจากพบ การระบาดของโรคในกลุ่มผู้ค้า ดำเนินการ 3 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 1 มีนาคม 2565 มีผู้เข้ารับการตรวจ 487 ราย ผลเป็นบวก 30 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยง สูง 32 ราย - ครั้งที่ 2 วันที่ 8 มีนาคม 2565 มีผู้เข้ารับการตรวจ 451 ราย ผลเป็นบวก 25 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยง สูง 24 ราย - ครั้งที่ 3 วันที่ 16 มีนาคม 2565 มีผู้ เข้ารับการตรวจ 298 ราย ผลเป็นบวก 6 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยง สูง 8 ราย โดยผู้ที่มีผ ล ATK บวก ได้แนะนำให้เข้าระบบการรักษาแบบ Home Isolation ของโรงพยาบาล ระยอง หรือ เจอ-แจก-จบ ของคลินิกชุมชนอบอุ่น และเฝ้าติดตามการกักตัวของผู้สัมผัสเสี่ยงสูง เข้าระบบ Home Quarantine ของสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

5.9 ลงพื้นที.่ ..

-2035.9 ลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เนื่องจากได้รับข้อร้องเรียนจากประชาชนกรณีพบผู้ป่วยติดเชื้อแล้วยังเปิดร้านตามปกติ ณ ร้านครัว ป้าแมว จากการตรวจสอบพบว่า ผู้ติดเชื้อกลุ่มแรกได้รักษาตัวหายนาน 2 สัปดาห์ ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อราย ล่าสุด และทางร้านได้ปิดให้บริการตั้งแต่วันที่19 เม.ย. 65 ยัง ไม่มีกำหนดการเปิดร้าน พร้อมทั้งได้ทำการทำ ความสะอาดฆ่าเชื้อภายในร้านเรียบร้อยแล้ว

5.10 วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ดำเนินการคัดกรองอุณหภูมิผู้เข้าร่วมพิธีเปิดตลาดผลไม้ ณ ตลาด ผลไม้สี่แยกเกาะกลอย จำนวน 250 คน 6.จัดประชุมคณะกรรมการ WARROOM ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อวัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลนครระยอง ทุกวันพุธของสัปดาห์ ตั้งแต่วันพุธที่ 17 กันยายน 2564 ถึงวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 จำนวนทั้งสิ้น 18 ครั้ง 7.ดำเนินการเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาโรค ด้วยเบอร์โทร 080-636-9427 และเบอร์กลางสำนัก สาธารณสุข ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกรกฏาคม 2565 โดยมีผู้ติดต่อผ่านช่องทาง จำนวน 219 ราย และมีประเด็นข้อคำถาม จำนวน 11 ข้อ มีรายละเอียด ดังนี้ 7.1.การลงทะเบียนวันซีนโควิท 7.2.การอนุญาตเข้า-ออกพื้นที่จังหวัดระยอง 7.3.ขั้นตอนการแจ้งผลการตรวจเชื้อโควิทผู้ที่เสี่ยง 7.4.ขั้นตอนการทำความสะอาดบ้านของผู้ป่วยติดเชื้อโควิท และการพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อภายในบ้าน 7.5.ช่องทางการรายงานตัวเมื่อมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดจังหวัดอื่น 7.6.การกักตัว/การรับใบกักตัว เมื่อต้องกักตัว 14 วัน 7.7.การลงทะเบียนขอรับวัคซีนเข็มกระตุ้น 7.8.การพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในบ้านเรือน 7.9.ช่องทางการรักษา เมื่อตรวจพบ ATK เป็นบวก 7.10.การเข้ารับวัคซีนแบบ Walk-in ที่คลินิกอบอุ่น 7.11.การตรวจสอบมาตรการป้องกันโรคติดต่อในสถานศึกษา 8.จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิท ดังนี้ 8.1.วิ่งรถประชาสัมพันธ์ความรู้ในชุมชน จำนวน 29 ชุมชน 8.2.ประชาสัมพันธ์ของเทศบาล คือ จอ LED สำนักงานเทศบาล, Website, Facebook, Line@ เรา รักนครระยอง 8.3.เสียงตามสายของเทศบาลนครระยองทุกวัน 10.จัดทำรายงานข้อมูลผู้ติดเชื้อรายชุมชน ส่งสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดระยอง และบันทึก ข้อมูลลงระบบ Thai QM 2021 (ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ เริ่มตั้งแต่วันที่พุธที่ 18 สิงหาคม 2564 ถึงวัน เสาร์ที่ 24 กันยายน 2565) จำนวน 407 ฉบับ 9. ดำเนินการ...

-2049. ดำเนินการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ 9.1 กิจกรรมฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) - โดยเครื่องพ่นสะอองฝอย จำนวนทั้งสิ้น 207 เรื่อง โดยดำเนินการภายใน 3 วันทำการ จำนวน 207 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 100 รายละเอียดตามตารางต่อไปนี้ ตารางผลการดำเนินงานตามแบบคำร้องทั่วไป ปีงบประมาณ 2565 ผลการดำเนินงาน ลำดับ

เดือน

จำนวนคำ ร้อง

ระยะเวลา ดำเนินการ

สภาพผู้ร้อง บ้านเรือน

สถาน ประกอบการ

ชุมชน

ภายใน

เกิน

3 วัน

3 วัน

1

ตุลาคม 2564

23

19

4

0

23

0

2

พฤศจิกายน 2564

15

11

4

0

15

0

3

ธันวาคม 2564

9

4

4

1

9

0

4

มกราคม 2565

14

7

7

0

14

0

5

กุมภาพันธ์ 2565

24

7

16

1

25

0

6

มีนาคม 2565

75

40

30

5

75

0

7

เมษายน 2565

29

19

10

0

29

0

8

พฤษภาคม 2565

6

4

2

0

6

0

9

มิถุนายน 2565

3

2

1

0

3

0

10

กรกฎาคม 2565

4

2

2

0

4

0

11

สิงหาคม 2565

4

3

1

0

4

0

12

กันยายน 2565

1

1

0

0

1

0

207

119

81

7

207

0

รวม

- โดยเครื่อง...

-205- โดยเครื่องพ่นติดรถยนต์ จำนวนทั้งสิ้น 336 ครั้ง โดยดำเนินการภายในชุมชน ตามแผนพ่นน้ำยาฆ่า เชื้อในชุมชนเขตเทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565 และตามคำร้อง ชุมชน

ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 64 64 64

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย 65 65 65 65

พ.ค 65

มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. 65 65 65 65

รวม

ชุมชนสองพี่น้อง

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนพูนไฉ่

0

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

11

ชุมชนตีนเนิน-เกาะหวาย

0

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

11

ชุมชนเรือนจำ

0

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

11

ชุมชนหลังวัดป่า 1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนหลังวัดป่า 2

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนศูนย์การค้า

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนชายกระป่อม

0

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

11

ชุมชนเกาะกลอย

0

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

11

ชุมชนแขวงการทาง

0

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

11

ชุมชนหนองสนมปักป่า

0

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

11

ชุมชนตากสินฯ

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนสะพานราษฎร์

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนหลังวัดโขด

0

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

11

ชุมชนสวนวัด

0

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

11

ชุมชนบางจาก

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนทุ่งโตนด

0

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

11

ชุมชนเนินพระ

0

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

11

ชุมชนข้างอำเภอ-ทางไผ่

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนก้นปึก-ปากคลอง

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนริมน้ำ-ท่าเกตุ

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนสนามเป้า

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนสัมฤทธิ์

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนมุสลิม-ปากคลอง

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนบ้านปากคลอง

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนสมุทรเจดีย์

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนปากน้ำ1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนปากน้ำ 2

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

12

ชุมชนแหลมรุ่งเรือง

0

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

11

-206ภาพกิจกรรมฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยเครื่องพ่นละอองฝอย

ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนโดยเครื่องพ่นติดรถยนต์

10. การสนับสนุน...

-20710. การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้ 11.1 สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ได้แก่ เครื่องวัด อุณหภูมิ แอลกอฮอล์ล้างมือ เป็นต้น ดังนี้ - ชุมชนเรือนจำ จำนวน 1 ชุด - ศาลเจ้าแม่ทับทิม จำนวน 3 ชุด 11.2 ส่งมอบหน้ากากอนามัยที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆให้กับพนักงาน ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป ในสำนักเทศบาลนครระยอง จำนวน1,474 กล่อง

11.3 วันที่ 11 สิงหาคม 2565 งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อร่วมกับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)ดำเนินการรณรงค์การแยกทิ้งขยะติดเชื้อและสนับสนุนถุงแดงแยกขยะแก่ทุกครัวเรือน จำนวน 77 หลังคาเรือน ณ ชุมชนแหลมรุ่งเรือง

11.4 สนับสนุนน้ำยาฆ่าเชื้อ ให้โรงเรียนอนุบาลระยอง จำนวน 5 ลิตร

3.3.2 โครงการ...

-2083.3.2 โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนา เด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565 ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ในประเทศไทยมีแนวโน้ม ของสถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ประกอบกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัส โคโรนา 2019(COVID-19) ได้มีคำสั่งที่ 8/2565 ลงวันที่ 29 เมษายน 2565 กำหนดให้ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ให้ปรับสถานการณ์พื้นที่ทั่วราชอาณาจักรเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด (สีเหลือง) 65 จังหวัด และพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (สีฟ้า) 12 จังหวัด ซึ่งจังหวัดระยองถูกกำหนดอยู่ในเขตพื้นที่นำร่องด้านการ ท่องเที่ยวด้วย และตามคำสั่งจังหวัดระยอง ที่ 6694/2565 เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและควบคุม การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) (ฉบับที่ 31) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ข้อ 4 โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภทให้สามารถใช้อาคารหรือสถานที่จัดการเรียนการสอบ การสอบ การ ฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใดๆได้ตามปกติ โดยให้ถือปฏิบัติตามแนวทางและมาตรการป้องกันโรคที่ทาง ราชการกำหนด และคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด และตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราช กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37) ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 กำหนดหลักเกณฑ์ 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 มาตรการรองรับการเปิดภาคการศึกษาที่ 1/2565 ของ สถานศึกษา เพื่อจัดการเรียนการสอนแบบ on site จำแนกตามพื้นที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ส่วนที่ 2 ข้อกำหนดของ 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC), 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) และแนวทาง 7 มาตรการเข้ม สำหรับสถานศึกษา ส่วนที่ 3 หลักเกณฑ์พิจารณาเตรียมการใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนของ สถานศึกษา ส่วนที่ 4 แนวปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุตามมาตรการป้องกันการแพร่ ระบาดของโรคดควิด-19 ของสถานศึ ก ษา ส่ว นที่ 5 หลักเกณฑ์ ก ารพิจ ารณาสำหรับ การใช้ อาคารหรื อสถานที ่ ข องโรงเรี ย นหรื อ สถาบันการศึกษา เพื่อการสอบ การฝึกอบรม หรือ การทำกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก โดยให้ทุกโรงเรียนและสถาบันการศึกษาเตรียมความพร้อมในการเปิ ดเรียนของภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 สำนักงานเทศบาลนครระยองมีโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่อยู่ ในสังกัดเทศบาลนครระยอง จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ โรงเรียนเทศบาลบ้าน ปากคลอง โงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล โรงเรียนสาธิตเทศบาลนคร ระยอง โรงเรียนนครระยองวิทยาคม และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่า มีจำนวนนักเรียนและบุคลากรมากกว่า 6,000 คน จึงมีความจำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับ กลุ่มบุคคลดังกล่าวในการป้องกันและควบคุมโรคการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ประเมินมาตรการป้องกันโรคในสถานศึกษา และจัดเตรียมวัสดุในการป้องกันโรคสำนักสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม ฝ่ายป้องกันและวบคุมโรค ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างความรู้ ตรวจประเมินมาตรฐาน และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ป้องกัน การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งอาจทำให้ สามารถดำเนินการควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษาที่มีการระบาด ตลอดจนลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไป ยังชุมชนหรือโรงเรียนอื่นๆในพื้นที่ ทำให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่เทศบาลนครระยองไม่เจ็บป่วยด้วย โรคติดต่อและมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัด โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565 วัตถุประสงค์...

-209วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ได้รับความรู้ คำแนะนำ ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2. เพื่อให้มีอุปกรณ์ในการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 6,200 คน ที่อยู่ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กสังกัดเทศบาลนครระยอง ตัวชี้วัด ร้อยละ 90 ของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด เทศบาลนครระยอง ได้รับความรู้ในการป้องกันโรคและมีอุปกรณ์ในการป้องกันการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะเวลาในการดำเนินงานเดือนมิถุนายน – เดือนกันยายน 2565 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง จำนวน 6 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง รูปแบบโครงการ ดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 3 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์โรค วิธีปฏิบัติ/ดูแลตนเองในการป้องกันการแพร่ ระบาดของโรคติดต่อฯลฯ สำหรับนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อนำไปปฏิบัติในการ ป้องกันตนเอง บุคคลที่ใกล้ชิด รวมถึงบุคลคลภายในครอบครัวได้อย่างต่อเนื่อง กิจกรรมที่ 2 ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการ/สนับสนุนในการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ โดยการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ผลการดำเนินงาน สถานศึกษา 1.โรงเรียนนครระยองวิทยาคม

วันที่/เวลา

กิจกรรม

วันที่ 29 มิถุนายน 2565 1.ให้ความรู้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน เวลา 08.00 เป็นต้นไป

743 คน

2.สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อ ประเภทสเปรย์ แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ จำนวน 1,235 ขวด 3.ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามมาตรการฯ

2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่า

วันที่ 30 มิถุนายน 2565 1.ให้ความรู้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน เวลา 08.00 เป็นต้นไป

72 คน

2.สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อ ประเภทสเปรย์ แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ จำนวน 50 ขวด 3.ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามมาตรการฯ

3.โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 1.ให้ความรู้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน เวลา 08.00 เป็นต้นไป

400 คน

2.สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อ ประเภทสเปรย์ แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ จำนวน 438 ขวด 3.ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามมาตรการฯ

สถาน...

-210สถานศึกษา

วันที่/เวลา

กิจกรรม

4.โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง วันที่ 4 กรกฏาคม 2565 1.ให้ความรู้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน เวลา 12.30 เป็นต้นไป

230 คน

2.สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อ ประเภทสเปรย์ แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ จำนวน 300 ขวด 3.ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามมาตรการฯ

5.โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทา วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 1.ให้ความรู้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 1,390 คน ราม เวลา 08.00 เป็นต้นไป

2.สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อ ประเภทสเปรย์ แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ จำนวน 1,420 ขวด 3.ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามมาตรการฯ

6.โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัย วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 1.ให้ความรู้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 815 คน ชุมพล เวลา 08.00 เป็นต้นไป

2.สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อ ประเภทสเปรย์ แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ จำนวน 800 ขวด 3.ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามมาตรการฯ

7.โรงเรียนสาธิตเทศบาลระยอง

วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 1.ให้ความรู้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน เวลา 08.00 เป็นต้นไป

1,950 คน

2.สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อ ประเภทสเปรย์ แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ จำนวน 1,950 ขวด 3.ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามมาตรการฯ

จากตารางข้างต้น ดำเนินสามารถสรุปการดำเนินงานดังนี้ กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์โรค วิธีปฏิบัติ/ดูแลตนเองในการป้องกันการแพร่ ระบาดของโรคติดต่อฯลฯ สำหรับนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 แห่ง ดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2565 – วันที่ 7 กรกฎาคม 2565มีผู้เข้ารับความรู้ทั้งหมด 5,600 คนคิดเป็นร้อยละ 90.32 (บรรลุตามตัวชี้วัดร้อยละ 90) กิจกรรมที่ 2ตรวจเยี่ยมการการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยอง จำนวน 7 แห่ง (ขณะนี้อยู่ระหว่าง ดำเนินเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน 2565) กิจกรรมที่ 3 สนับสนุน/จัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ให้กับนักเรียนและ บุคลากรทางการศึกษา เป็นแอลกอฮอล์ชนิดสเปรย์ (ขนาด 60 ml) จำนวน 6,200 ขวด

ปัญหา...

-211ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน 1.ในการดำเนินงานโครงการฯเนื่องจากสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงฝนตกช่วงเช้า ทำให้ไม่สามารถ เข้าดำเนินงานตามวันที่ระบุในแผนได้ 2.นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีอายุน้อยกว่า 7 ปี ต้องมีการสื่อสารความรู้ในรูปแบบอื่น 3.การตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยองเน้นการทำแผนเผชิญเหตุในโรงเรียน ซึ่งบางแห่งเริ่มปรับการ เรียนการสอนแบบ New-normal แนวทางการแก้ไข 1.ประสานทางโรงเรียนขอเปลี่ยนแปลงวันดำเนินงาน และปรับรูปแบบกิจกรรมใช้ห้อง/อาคารห้อง ประชุม แทนกิจกรรมหน้าเสาธง และปรับรูปแบบให้นักเรียนเป็นผู้สื่อสารให้กับนักเรียนด้วยกันผ่านเสียงตาม สายของโรงเรียน 2.ปรับรูปแบบการสอนเป็นการแต่งกายด้วยชุดสัตว์ (ชุดสุนัขลายจุดและชุดแมวเหมียว) เพื่อสร้างจุด สนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของเด็ก 3.ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แผนเผชิญเหตุในโรงเรียนในการจัดระบบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยองโดยให้ นักเรียนที่ป่วยหรื อเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการเรียนจากทางโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบเรียน Online เฉพาะกลุ่ม หรือมีใบงานรายบุคคล

ภาพ...

-212ภาพประกอบการดำเนินงาน โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565 กิจกรรม ให้ความรู้และตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยอง

โรงเรียนนครระยองวิทยาคม

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง

โรงเรียนเทศบาลวัดลุม่ มหาชัยชุมพล

-213-

โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง

โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่าประดู่

โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม

กิจกรรม...

-214กิจกรรม ดำเนินการ/สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อ

โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่าประดู่ โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง

โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล

โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง

โรงเรียนนครระยองวิทยาคม

โรงเรียนนครระยองวิทยาคม

3.4 โรคติดต่อ...

-2153.4 โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ มีการดำเนินงานประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ 3.4.1 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหารและน้ำ ปีงบประมาณ 2565 (รอบ 1) วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในการป้องกันโรคติดต่อระบบ ทางเดินอาหารและน้ำ ผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรม นางสาวศรินญา สกุลนอก ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาในการดำเนินงาน ธันวาคม 2564 – เดือนมกราคม 2565 กิจกรรมในการดำเนินงาน มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อในระบบ ทางเดินอาหารและน้ำทั้งหมด 4 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 ติดตามแกนนำกลุ่มเดิมและจัดหาและตั้งแกนนำชาวต่างด้าวเพื่อช่วยในการ สื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพในการป้องกันโรคสำหรับชาวต่างด้าว กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการประชาสัมพันธ์ความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร และน้ำผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ กิจกรรมที่ 3 ประสานขอความร่วมมือศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล สเตล่ามาริส ระยอง ตำบล ปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นล่ามในการให้ความรู้กลุ่มแรงงานข้ามชาติ กิจกรรมที่ 4 ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำแก่ชาวต่างด้าว ผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 ติดตามแกนนำกลุ่มเดิมและจัดหาและตั้งแกนนำชาวต่างด้าวเพื่อช่วยในการสื่อสารข้อมูลด้าน สุขภาพในการป้องกันโรคสำหรับชาวต่างด้าว ดังนี้ 1.1 ได้ติดตามแกนนำชาวต่างด้าวกลุ่มเดิม จำนวน 2 คน (จาก 8 คน) 1.2 จัดหาและตั้งแกนนำชาวต่างด้าวกลุ่มใหม่ จำนวน 8 คน (เพศชาย 1 คน และเพศหญิง 7 คน) เป็นเด็กกัมพูชาอายุระหว่าง 5 -16 ปีของมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ระยอง (การดำเนินงาน เป็นไปตามตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้ 5 คน) 1.3 จัดทำฐานข้อมูลเป็นล่ามช่วยในการสร้างความรู้ในการป้องกันโรคฯ จำนวน 10 คน กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการประชาสัมพันธ์ความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำผ่าน ช่องทางประชาสัมพันธ์ ดังนี้ 2.1 ดำเนินการสนับสนุนเอกสารประชาสัมพันธ์ ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมป้ องกันโรคติดต่อในระบบ ทางเดินอาหารและน้ำสำหรับลูกเรือประมงซึ่งเป็นชาวต่างด้าว(ระบบ 2 ภาษา) ผ่านด่านตรวจเรือประมงระยอง จำนวน 200 แผ่น

2.2 นำรถ...

-2162.2 นำรถประชาสัมพันธ์ออกให้บริการประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2564 ถึง วันที่ 11 มกราคม 2565 เวลา 15.00 – 16.00 น. บริเวณแพปลาใน 3 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชน ปากน้ำ 1 ,ชุมชนปากน้ำ 2, ชุมชนก้นปึกปากคลอง และอีก 26 ชุมชนในเขตเทศบาลนครระยอง โดยใช้ เสียงพูดของแกนนำอัดเสียงประชาสัมพันธ์เป็นภาษาต่างด้าว และใช้รถยนต์หมายเลขทะเบียน ผข 4717 ระยอง เป็นพาหนะในการปฏิบัติงานพร้อมพนักงานขับรถ โดยใช้เสียงประชาสัมพันธ์เป็น 3 ภาษา (ไทย, กัมพูชา, พม่า) ซึ่งได้รับความร่วมมือประชาสัมพันธ์เสียงภาษากัมพูชาโดยมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริม คุณภาพชีวิต แรงงาน(LPN) ระยอง 2.3 สนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย ใบปลิว เรื่อง โรคระบบทางเดินอาหารและน้ำ และ ใบปลิว (ระบบ 2 ภาษา) เรื่อง อุจจาระร่วง จำนวน 3 แห่ง คือ มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริม คุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ระยอง, ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล สเตล่ามาริส ระยอง และด่านตรวจเรือประมงระยอง 2.4 จัดทำบทความผ่านเสียงตามสาย และรูปอินโฟกราฟิก ให้กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ของเทศบาล ได้แก่ LED สำนักงาน, website และ Facebook ใน วันที่ 29 มกราคม 2565 2.5 ประชาสัมพันธ์ผ่านรายการวิทยุ ทางสถานีวิทยุประชาคมระยอง FM. 97.25 MHz เรื่องการป้องกัน โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำผ่าน วันที่ 12 มกราคม 2565 เวลา 13.00 – 14.00 น. กิจกรรมที่ 3 ประสานขอความร่วมมือศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล สเตล่ามาริส ระยอง ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นล่ามในการให้ความรู้กลุ่มแรงงานข้ามชาติ ได้ลงพื้นที่เป็นล่ามประชาสัมพันธ์ ความรู้ ทางเดินอาหารและน้ำ ในภาษากัมพูชา ในพื้นที่บริเวณแพปลาใน 3 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนปากน้ำ 1 ,ชุมชนปากน้ำ 2 และชุมชนก้นปึกปากคลอง กิ จ กรรมที ่ 4 ให้ ค วามรู ้ ใ นการป้ อ งกั น โรคติ ด ต่ อ ระบบทางเดิ น อาหารและน้ ำ แก่ ช าวต่ า งด้ า ว (อายุ 5-16 ปี) ดังนี้ ให้ความรู้เด็กต่างด้าว (อายุ 5-15 ปี) ที่มาเรียนหนังสือในมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ระยอง ตั้งแต่เวลา 09.30 – 10.30 น. จำนวน 17 คน เป็นเพศชาย จำนวน 4 คน เป็นเพศหญิง จำนวน 13 คน โดยดำเนินการทั้งหมด 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 13 มกราคม 2565 ให้ความรู้เรื่องการล้างมือ 7 ขั้นตอนช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเดิน อ า ห า ร แ ล ะ น ้ ำ แ ละ โ ร ค อ า ห า ร เป ็ นพ ิ ษ แ ล ะ ก า ร ห ล ี ก เ ลี ่ ยง อ า หา ร ที ่ ไ ม ่ ค ว ร รั บ ปร ะทาน ครั้งที่ 2 วันที่ 27 มกราคม 2565 ให้ความรู้เรื่อง โรคอุจจาระร่วงและการผสมเกลือแร่ ORSและ ทบทวนความรู้ การล้างมือ 7 ขั้นตอน พร้อมทดสอบโดยเครื่องสาธิตการล้างมือ

ปัญหาและอุปสรรค…

-217ปัญหาและอุปสรรค 1.เด็กนักเรีย นบางรายได้ย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานจึงทำให้แกนนำบางรายไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมได้แต่ได้ฝากเอกสารเพื่อนำไปให้ความรู้ ประชาชนในชุมชนต่อไป 2.สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ทำให้งดการรวมตัว ของชาวต่างด้าวและต้องปรับการให้ความรู้เป็นการสอนระบบออนไลน์ในครั้งต่อไปหากสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ยังไม่ดีขึ้น 3.เนื่องจากเด็กของมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ระยอง เป็นเด็กใหม่ที่ รับเข้ามาและอายุน้อยบางรายไม่สามารถสื่อสารภาษากับทางเจ้าหน้าที่ได้ จึงได้ปรับรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อการ สอนเป็นรูปภาพเพื่อสร้างความเข้าใจ ภาพกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหารและน้ำ ปีงบประมาณ 2565 กิจกรรมที่ 1 ติดตามแกนนำกลุ่มเดิมและจัดหาและตั้งแกนนำชาวต่างด้าว

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการ

ประชาสัมพันธ์ความรู้ผ่านช่องทาง ประชาสัมพันธ์

กิจกรรม…

-218กิจกรรมที่ 3 ประสานประสานขอความร่วมมือศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล สเตล่ามาริส ระยอง เป็นล่าม ในการให้ความรู้กลุ่มแรงงานข้ามชาติ

กิจกรรมที่ 4 ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำแก่ชาวต่างด้าว

3.4.2 กิจกรรม…

-2193.4.2 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหารและน้ำ ปีงบประมาณ 2565 (รอบ 2) วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม

ให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหาร และน้ำ

ผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรม

นางสาวศรินญา สกุลนอก ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนสิงหาคม 2565

กิจกรรมในการดำเนินงาน

มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อในระบบ ทางเดินอาหารและน้ำทั้งหมด 4 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้นักเรียนระดับชั้นอนุบาล ในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครระยอง จำนวน 6 แห่ง ระหว่างวันที่ 2 – 17 สิงหาคม 2565 กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 200 คน ในวันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 ณ ศาลาการเปรียญวัดลุ่มมหาชัยชุมพล กิจ กรรมที่ 3 ให้ความรู้และประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ด้วยระบบ Google from ตอบแบบสอบถามจำนวน 10 ข้อ แก่ประชาชนที่มาใช้บริการแหล่งท่องเที่ยว ณ หาดแหลมเจริญ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน ระหว่างวันที่ 5- 26 สิงหาคม 2565 กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อแก่ประชาชน ผ่านทางระบบประชาสัมพันธ์ของเทศบาล ตัวชี้วัดกิจกรรม 1. มีการให้ความรู้นักเรียนในสังกัดฯ จำนวน 6 แห่ง 2. มีการดำเนินงานให้ความรู้ประชาชน จำนวน 200 คน 3. ความรู้และประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ด้วยการตอบแบบสอบถาม จำนวน 10 ข้อ 4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ความรู้ครบ 4 ช่องทาง ผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคทางเดินอาหารและน้ำและการล้างมือ 7 ขั้นตอน กับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง จำนวน 6 แห่ง ทั้งหมด 561 ราย รายละเอียดดังนี้ 1.1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่าประดู่

วันที่ 2 สิงหาคม 2565 จำนวน 22 คน

1.2 โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ

วันที่ 3 สิงหาคม 2565 จำนวน 50 คน

1.3 โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง

วันที่ 9 สิงหาคม 2565 จำนวน 102 คน 1.4 โรงเรียน…

-2201.4 โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม

วันที่ 10 สิงหาคม 2565 จำนวน 160 คน

1.5 โรงเรียนเทศสาธิตเทศบาลนครระยอง วันที่ 16 สิงหาคม 2565 จำนวน 167 คน 1.6 โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล วันที่ 17 สิงหาคม 2565 จำนวน 60 คน กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 200 คน งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ เทศบาลนครระยอง ร่วมกับ คลินิกหมอ ครอบครัว โรงพยาบาลระยอง สาขาเกาะหวาย ได้ดำเนินการให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 200 คน เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำพร้อมสาธิตการล้างมือ 7 ขั้นตอน ในวัน พุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.30 – 10.00 น ณ ศาลาการเปรียญวัดลุ่มมหาชัยชุมพล กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้และประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ด้วยระบบ Google from ตอบ แบบสอบถามจำนวน 10 ข้อ แก่ประชาชนที่มาใช้บริการแหล่งท่องเที่ยว ณ หาดแหลมเจริญ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน ระหว่างวันที่ 5- 26 สิงหาคม 2565 เวลา 09.30 – 10.00 น สรุปรายละเอียดดังนี้ ให้ ความรู ้ และประเมิ นพฤติ กรรมการดู แลสุ ขภาพ ด้ วยระบบ Google from ตอบ แบบสอบถามจำนวน 10 ข้อ แก่ประชาชนที่มาใช้บริการแหล่งท่องเที่ยว ณ หาดแหลมเจริญ ทั้งหมด 45 คน เป็นเพศชาย 17 คน และเพศหญิง 28 คน กลุ่มอายุ 15 ปี – 29 ปี จำนวน 13 คน, กลุ่มอายุ 30 ปี – 45 ปี จำนวน 24 คน, กลุ่มอายุ 46 ปี – 60 ปี จำนวน 6 คน และกลุ่มอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 2 คน ประชาชนที่มา ใช้บริการแหล่งท่องเที่ยว ณ หาดแหลมเจริญ มีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 73.34 รายละเอียดดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงจำนวน ร้อยละ จำแนกตามคะแนนรวมการประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ระดับความรู้

คะแนนรวม จำนวน (คน)

ร้อยละ

ระดับดี (9 – 10 คะแนน)

33

73.34

ระดับปานกลาง (7 – 8 คะแนน)

10

22.22

ระดับพอใช้ (5 – 6 คะแนน)

1

2.22

ระดับต่ำ (น้อยกว่า 4 คะแนน)

1

2.22

ผลการแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลแยกเป็นรายข้อ ประชาชนที่มาใช้บริการแหล่ง ท่องเที่ยว ตอบถูกมากที่สุดคือ ข้อที่ 3 อาหารที่เน่าเสียมีลักษณะอย่างไร, ข้อที่ 9 แม่ครัวคนใดที่มีความเสี่ยงเป็น แหล่งพาหะของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารมากที่สุด และข้อที่ 10 ข้อใดเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้มีสุขภาพดี ร้ อ ยละ 100 และตอบผิ ด มากที ่ ส ุ ด คื อ ข้ อ ที ่ 4 การป้ องกั นโรคทางเดิ นอาหารและน้ ำที ่ง ่ ายและดี ท ี ่ สุ ด ร้อยละ 40.00 รายละเอียดดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2…

-221ตารางที่ 2 แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลแยกเป็นรายข้อ ข้อที่ 1.

คำถาม จุลินทรีย์ชนิดใดที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาหารเน่าเสีย

คะแนนรวม (ร้อยละ) ถูก

ผิด

36

9

(80.00) (20.00) 2.

การล้างมือมีกี่ขั้นตอน

39

6

(86.67) (13.33) 3. 4.

อาหารที่เน่าเสียมีลักษณะอย่างไร การป้องกันโรคทางเดินอาหารและน้ำที่ง่ายและดีที่สุด

45

0

(100)

(0.00)

27

18

(60.00) (40.00) 5.

ข้อใดไม่ใช่วิธีการป้องกัน และลดอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค 36 9 อาหารเป็นพิษสำหรับผู้บริโภค (80.00) (20.00)

6.

ถ้าต้องการเก็บปลาให้อยู่ในสภาพสดมากที่สุดควรเลือกวิธีการเก็บแบบใด

7.

ควรปรุงอาหารให้สุกโดยมีความร้อนประมาณกี่องศาเซลเซียส

42

3

(93.33)

(6.67)

34

11

(75.56) (24.44) 8. 9.

จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนอาหาร มาจากแหล่งใดบ้าง แม่ครัวคนใดที่มีความเสี่ยงเป็นแหล่งพาหะของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารมาก ที่สุด

10. ข้อใดเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้มีสุขภาพดี

42

3

(93.33)

(6.67)

45

0

(100)

(0.00)

45

0

(100)

(0.00)

กิจกรรมที่ 4…

-222กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์ให้ ความรู้ ในการป้องกันโรคติดต่อแก่ประชาชน ด้วยภาพอินโฟกราฟิก และ บทความประชาสัมพันธ์ผ่านทางระบบประชาสัมพันธ์ของเทศบาล เช่น จอLED สำนักงานเทศบาล, Website, Facebook, Line@เรารักนครระยอง และเสียงตามสาย ดังนี้ 4.1 ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหาร และน้ำ ในวันพุธที่ 20 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 - 14.00 น. ผ่านรายการวิทยุทางสถานีวิทยุประชาคมระยอง FM. 97.25 MHz. 4.2 ประชาสัมพันธ์ให้ ความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อแก่ประชาชนผ่านทางระบบ ประชาสัมพันธ์ของเทศบาล เช่น จอLED สำนักงานเทศบาล, Website, Facebook, Line@เรารักนครระยอง และเสียงตามสาย ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ประเมินตามตัวชี้วัดของกิจกรรม จำนวน 4 ตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัด

ผลผลิต

ร้อยละ

สรุปผลเทียบกับ ตัวชี้วัด บรรลุ

1. ให้ความรู้นักเรียนในสังกัดฯ จัดกิจกรรมการให้ความรู้นักเรียนในสังกัดฯ 100 จำนวน 6 แห่ง จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดป่าประดู่ , โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง, โรงเรียน เทศบาลวัดโขดทิมทาราม, โรงเรียนเทศ สาธิ ต เทศบาลนครระยองและโรงเรี ย น เทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล



2. ให้ความรู้ประชาชน จำนวน ให้ความรู้ อาสาสมัครสาธารณสุ ขประจำ 100 200 คน หมูบ่ ้าน จำนวน 200 คน



3. ประเมินความรู้และประเมิน พฤติ ก รรมการดู แ ลสุ ข ภาพ ประชาชน จำนวน 30 คน ด้วย การตอบแบบสอบถาม จำนวน 10 ข้อ

มี ก ิ จ กรรมประเมิ นความรู ้ แ ละประเมิ น 100 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ประชาชน จำนวน 45 คน ด้วยการตอบแบบสอบถาม จำนวน 10 ข้อ



4. ดำเนิน การประชาสัมพัน ธ์ มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ความรู้ครบ 100 ความรู้ครบ 4 ช่องทาง 4 ช่ อ งทาง ได้ แ ก่ Website, Facebook, Line@เรารักนครระยอง และเสียงตามสาย



ไม่บรรลุ

ปัญหา…

-223ปัญหาและอุปสรรค 1.สื่อการเรียนการสอนที่เตรียมไปเปิดใช้งาน ไม่สามารถเปิดได้เนื่องจากอุปกรณ์ของทางโรงเรียน ชำรุด ทำให้บางโรงเรียนไม่สามารถดูสื่อที่เตรียมไปได้ครบทุกโรงเรียน ข้อเสนอแนะ 1.การดำเนินงานครั้งถัดไป ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ไปเองหรือประสานทางโรงเรียนเพื่อเข้าไปทดสอบ ก่อนเตรียมเปิดใช้งานจริง หรือปรับกิจกรรมในรูปแบบใหม่ 2.เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำควรดำเนินการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ นักเรียนสามารถการเฝ้าระวังและตรียมความพร้อมในการป้องกันโรค ภาพกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหารและน้ำ ปีงบประมาณ 2565 (รอบ 2) กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้นักเรียนระดับชั้นอนุบาล ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง จำนวน 6 แห่ง

โรงเรียนเทศบาล บ้านปากคลอง

โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม

ศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กวัดป่ าประดู่

โรงเรียนเทศบาลวัดลุม่ มหาชัยชุมพล

โรงเรียนเทศบาลวัดปากนา้

โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 200 คน

กิจกรรมที่ 3…

-224กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้และประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ด้วยระบบ Google from ตอบแบบสอบถาม แก่ ประชาชนที่มาใช้บริการแหล่งท่องเที่ยว ณ หาดแหลมเจริญ

กิจกรรมที่ 4 ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ความรู้ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์

จัดรายการวิทยุฯ MHz. ประชาสัมพันธ์ผ่านระบบของเทศบาลฯ ประชาสัมพันธ์ความรู้ผ่าน อสม. 2.5 โรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วย (ตัง)

3.5 โรคติดต่อ…

-2253.5 โรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน มีการดำเนินงานประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ 3.5.1 กิจกรรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันเด็กวัยเรียน ประจำปีการศึกษา 2565 ด้ ว ยกระทรวงสาธารณสุ ข ฯ กำหนดให้ ม ี ก ารฉี ด วั ค ซี น สร้ า งเสริ ม ภู ม ิ ค ุ ้ ม กั น โรคในนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึกษาปีที่ 1 และ 6 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายได้รับภูมิคุ้มกันโรคและป้องกันการระบาดของ โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในสถานศึกษาตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข และด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ทำให้ไม่มีการฉีดวัคซีนในโรงเรียน จึงได้ทำการ สำรวจประวัติการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ มัธยมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มเติมด้วย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดต่อตามมาตรฐานวัคซีน รูปแบบกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องวัคซีนป้องกันโรคและการปฏิบัติตัวก่อน/หลังฉีด กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฉีดวัคซีนป้องกันโรคขั้นพื้นฐานในเด็กนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมที่ 1 นักเรียนชั้น ป.1 จำนวน 200 คน และนักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 700 คน กิจกรรมที่ 2 นักเรียนชั้น ป.1 จำนวน 200 คน และนักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 700 คน ตัวชี้วัด 1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวัคซีนป้องกันโรคและการปฏิบัติตัวก่อน/หลังฉีด 2. ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้น ป.1 ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดครบ 3. ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้น ป.6 ได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยักครบ ผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรม นางสาววาณิชา โคกโพธิ์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ และทีมร่วมดำเนินงาน ประกอบด้วย 1.นางปาริชาติ ตันสุธิกุล หัวหน้าฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค 2.นางวันดี สาคะรังค์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ 3.นางชไมพร เอื้อศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ 4.นางสาวกัลยา อนุสาสนนันท์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 5.นางสาวเยาวลักษณ์ สำเริง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ 6.นางสาวศรินญา สกุลนอก ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข ระยะเวลาดำเนินงาน ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน – 4 ตุลาคม 2565 ผลการดำเนินงาน ก่อนการดำเนินการฉีดวัคซีนงานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ได้ทำการสำรวจประวัติการ ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน โดยการตรวจสมุดสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ของโรงเรียนใน สังกัดเทศบาลนครระยองทุกราย ในระหว่างวันที่ 23 – 30 มิถุนายน 2565 พบว่ามีนั กเรียนได้รับวัคซีน ขั้นพื้นฐานครบตามมาตรฐาน จำนวน 744 คน คิดเป็นร้อยละ 82.67 มีนักเรียนที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด ครบสองเข็มตามมาตรฐาน จำนวน 813 คน คิดเป็นร้อยละ 90.33 และมีนักเรียนที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอ ตีบ-บาดทะยักและโปลิโอครบห้าครั้งตามมาตรฐาน จำนวน 764 คน คิดเป็นร้อยละ 84.56 รายละเอียดดัง ตารางที่ 1 ,2 และ 3 ตารางที่ 1...

-226ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลการดำเนินการตรวจสอบประวัติวัคซีนขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้น ป.1 และ ป.2 โรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ ความ ผลการตรวจประวัติการได้รับวัคซีน ทั้งหมด (คน) ส่งสมุดตรวจ ครอบคลุมใน ครบ ไม่ครบ ความ (คน) การสำรวจ (คน) (คน) ครอบคลุม ร้อยละ ของวัคซีน ร้อยละ เทศบาลวัดปากน้ำ 107 82 76.6 64 18 74.05 เทศบาลบ้านปากคลอง 88 60 68.2 45 15 75.00 เทศบาลวัดโขดทิมทาราม 275 235 85.45 194 41 82.56 เทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล 172 143 83.14 113 30 79.02 สาธิตเทศบาลนครระยอง 467 380 81.40 328 52 86.32 รวม 1,109 900 81.15 744 156 82.67 ตารางที่ 2 ตารางแสดงความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคหัดของนักเรียนชั้น ป.1 และ ป.2 โรงเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ ผลการตรวจประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรค ส่งสมุดตรวจ หัด (คน) ครบ ไม่ครบ ความครอบคลุม (คน) (คน) ของวัคซีนร้อยละ เทศบาลวัดปากน้ำ 82 67 15 81.71 เทศบาลบ้านปากคลอง 60 53 7 88.33 เทศบาลวัดโขดทิมทาราม 235 214 21 91.10 เทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล 143 126 17 88.11 สาธิตเทศบาลนครระยอง 380 353 27 92.90 รวม 900 813 87 90.33 ตารางที่ 3 ตารางแสดงความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยักและโปลิโอของนักเรียนชั้น ป.1 และ ป.2 โรงเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ ผลการตรวจประวัติการได้รับวัคซีนป้องกัน ส่งสมุดตรวจ โรคคอตีบ-บาดทะยักและวัคซีนโปลิโอ (คน) ครบ ไม่ครบ ความครอบคลุม (คน) (คน) ของวัคซีนร้อยละ เทศบาลวัดปากน้ำ 82 67 15 81.71 เทศบาลบ้านปากคลอง 60 45 15 75.00 เทศบาลวัดโขดทิมทาราม 235 199 36 84.68 เทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล 143 115 28 80.42 สาธิตเทศบาลนครระยอง 380 335 45 88.16 รวม 900 761 139 84.56 รูปการ...

-227รูปกิจกรรมการสำรวจประวัติการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนป้องกันโรคและการปฏิบัติตัวแก่นักเรียนก่อนฉีดวัคซีน ก่อนการดำเนินกิจกรรมฉีดวัคซีน ได้ทำการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ โรค คอตีบ-บาดทะยัก โรคหัด และโรคโปลิโอ ความหมาย สาเหตุ และอาการของโรค รวมทั้งให้ความรู้การปฏิบัติ/ เตรียมตัวก่อนการฉีดวัคซีน และการดูแลตนเองหลังได้รับวัคซีน โดยนักเรียนทุกคนรับฟังและสามารถตอบ คำถามปากเปล่าได้ทุกราย คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด รูปกิจกรรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนป้องกันโรคและการปฏิบัติตัวแก่นักเรียนก่อนฉีดวัคซีน

กิจกรรมที่ 2 …

-228กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฉีดวัคซีนป้องกันโรคขั้นพื้นฐานและวัคซีนเข็มกระตุ้น งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ และการสนับสนุนบุคลากรจากงานส่งเสริมสุขภาพและงาน เวชปฏิบัติ ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก -คอตีบ วัคซีนป้องกันโรคหัด และหยอดวัคซีนป้องกัน โรคโปลิโอชนิดรับประทาน ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 เฉพาะในรายที่ไม่ได้รับ และฉีดวัคซีน ป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก เข็มกระตุ้น ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยได้วางแผนดำเนินการในวัน พฤหัสบดีและวันศุกร์เพื่อให้เด็กนักเรียนได้สังเกตอาการ และพักผ่อนต่อในวันหยุด ซึ่งจะไม่กระทบต่อการเรียน ของเด็ก มีผลการดำเนินงานดังนี้ 2.1. กิจกรรมฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในรายที่ได้รับไม่ครบเมื่อ ช่วงอายุ 1 ปี 6 เดือน มีเป้าหมายจำนวนทั้งหมด 87 ราย ดำเนินการฉีดวัคซีน 87 ราย คิ ดเป็นร้อยละ 100 มีผลการดำเนินงานดังนี้ โรงเรียน ผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมายที่ต้อง นักเรียนที่ ความครอบคลุม ได้รับวัคซีน (คน) ดำเนินการฉีด ร้อยละ วัคซีน (คน) เทศบาลวัดปากน้ำ 15 15 100 เทศบาลบ้านปากคลอง 7 7 100 เทศบาลวัดโขดทิมทาราม 21 21 100 เทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล 17 17 100 สาธิตเทศบาลนครระยอง 27 27 100 รวม 87 87 100 2.2. กิจกรรมฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก เข็มที่ 5 เฉพาะรายที่ได้รับไม่ครบ ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ -บาดทะยัก เข็มที่ 5 ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในรายที่ได้รับไม่ครบเมื่อช่วงอายุ 4 ปี มีเป้าหมายจำนวนทั้งหมด 139 ราย ดำเนินการฉีดวัคซีน 139 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 มีผลการดำเนินงานดังนี้ โรงเรียน ผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมายที่ต้อง นักเรียนที่ ความครอบคลุม ได้รับวัคซีน (คน) ดำเนินการฉีด ร้อยละ วัคซีน (คน) เทศบาลวัดปากน้ำ 15 15 100 เทศบาลบ้านปากคลอง 15 15 100 เทศบาลวัดโขดทิมทาราม 36 36 100 เทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล 28 28 100 สาธิตเทศบาลนครระยอง 45 45 100 รวม 139 139 100 2.3. กิจกรรม…

-2292.3. กิจกรรมหยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน ดำเนินการหยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ครั้งที่ 5 ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในรายที่ ได้รับไม่ครบเมื่อช่วงอายุ 4 ปี มีเป้าหมายจำนวนทั้งหมด 139 ราย ดำเนินการฉีดวัคซีน 139 ราย คิดเป็น ร้อยละ 100 มีผลการดำเนินงานดังนี้ โรงเรียน ผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมายที่ต้อง นักเรียนที่ ความครอบคลุม ได้รับวัคซีน (คน) ดำเนินการฉีด ร้อยละ วัคซีน (คน) โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ 15 15 100 โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง 15 15 100 โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล 36 36 100 โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม 28 28 100 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง 45 45 100 รวม 139 139 100 2.4. กิจกรรมฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก เข็มกระตุ้น ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก เข็มกระตุ้น ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อ อายุครบ 12 ปี มีเป้าหมายจำนวนทั้งหมด 608 ราย ดำเนินการฉีดวัคซีน 608 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 มี ผลการดำเนินงานดังนี้ โรงเรียน ผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมายที่ต้อง นักเรียนที่ ความครอบคลุม ได้รับวัคซีน (คน) ดำเนินการฉีด ร้อยละ วัคซีน (คน) โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ 53 53 100 โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง 32 32 100 โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล 97 97 100 โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม 212 212 100 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง 214 214 100 รวม 608 608 100 ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้โรงเรียนระงับการสอน ในสถานศึกษา (On-site) เพื่อลดการรวมกลุ่ม ส่งผลให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของปีการศึกษา 2564 ทางผู้จัดทำจึงได้สำรวจกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บตกวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ -บาดทะยัก เข็มกระตุ้น ของเด็ก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ไม่ได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคของโรงเรียนนครระยองวิทยาคม โดยทำการ สำรวจจากแบบสอบถามส่งให้ผู้ปกครองตอบคำถาม และขออนุญาตฉีดวัคซีน จากการ...

-230จากการสำรวจพบว่าจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนทั้งหมด 297 คน มีผู้ที่ยังไม่ได้รับ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก เข็มกระตุ้น จำนวน 159 คน งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อได้ ดำเนิน การประสานงานโรงพยาบาลระยองเพื่อขอเบิกวัคซีนป้ องกันโรคพร้ อมกับวัค ซี นขั้น พื้นฐานของ กลุ่มเป้าหมาย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ต่อมาในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 งานป้องกันเฝ้าระวังและ ควบคุมโรคติดต่อได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลระยองว่า ไม่สามารถให้เบิกวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ -บาดทะยักแก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ เนื่องจากวัคซีนไม่ เพียงพอ งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อจึงได้ ประสานชี้แจงไปทางครูอนามัยโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนเพื่อแจ้งว่าไม่สามารถดำเนินการฉีดวัคซีนเข็ม กระตุ้นดังกล่าวได้ในโรงเรียน และได้ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก เข็มกระตุ้น ให้แก่ผู้ปกครอง และรณรงค์ให้ผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานไปรับวัคซีนได้ตามสถานพยาบาลใกล้บ้านหรือ โรงพยาบาลที่รักษาตามสิทธิ์ รวมทั้งได้ติดตามประเมินผลสอบถามจากครูอนามัยอนามัยโรงเรียนพบว่า กลุ่มเป้าหมายได้ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นมาแล้ว 96 คน จาก 159 คน คิดเป็นร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมาย รูปกิจกรรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2565 การจัดเตรียมวัคซีน

การดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง

โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ

-231การดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล

โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม

โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง อัตราการสูญเสียวัคซีน การดำเนินการฉีดวัคซีนเป็นการดำเนินงานตามสถานศึกษา การจัดเตรียมวัคซีนจะถูกคำนวณตาม จำนวนกลุ่มเป้าหมายของแต่ละโรงเรียน วัคซีนที่ถูกเปิดแล้วจะถูกใช้วันต่อวัน ไม่เก็บค้างไว้ จึงอาจมีการสูญเสีย วัคซีนไปบางส่วน วัคซีนชนิดที่ยังควบคุมการสูญเสียได้ไม่ดี คือ วัคซีนป้ องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก ในชั้น ป.2 ป.6 และวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอในชั้น ป.2 รายละเอียดตามตาราง รายการวัคซีน สายชั้น ขนาดบรรจุ โด๊ส อัตราการสูญเสียไม่เกินร้อยละ อัตราการสูญเสียที่คำนวณได้

OPV ป.1 20 10 10

ป.2 20 10 16.25

ป.1 10 10 20

dT ป.2 10 10 16.25

MR ป.6 10 10 20

ป.1 1 1 0

ป.2 1 1 0

ปัญหา...

-232ปัญหาและอุปสรรค การดำเนินการฉีดวัคซีนขั้นพื้นฐานในปีการศึกษา 2565 ผู้จัดทำมีความประสงค์ที่จะเก็บตกวัคซีน ป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยักในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แต่ไม่สามารถลงดำเนินการฉีดได้เนื่องจากทาง โรงพยาบาลระยองแจ้งว่าวัคซีนไม่เพียงพอในกรณีที่จะขยายกลุ่มเป้าหมาย จึงทำได้ทำการให้ความรู้และ กระตุ้นผู้ปกครองในการนำบุตรหลานไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นแทน ซึ่งทำให้เก็บกลุ่มเป้าหมายไม่ได้ทั้งหมด 3.5.2 กิ จ กรรมรณรงค์ฉ ีด วั ค ซีน ป้อ งกัน โรคไข้ ห วั ดใหญ่ ตามฤดู กาลในบุ ค ลากรทางการแพทย์แ ละ สาธารณสุข ดำเนินการกิจกรรมรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวั ดใหญ่ตามฤดูกาลในบุคลากรทางการแพทย์และ สาธารณสุข จำนวน 25 ราย โดยภายหลังการฉีดวัคซีนไม่มีผู้มีอาการข้างเคียงร้ายแรง รูปกิจกรรมฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้บุคลากร

3.6 โรคติดต่อ...

-2333.6 โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีการดำเนินงานประกอบด้วย 1 กิจกรรม ดังนี้ 3.6.1 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า กรมปศุสัตว์จังหวัดระยองและโรงพยาบาลระยอง รายงานว่าในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2565 พบประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง ถูกสุนัขกัด จำนวน 9 ราย อาศัยอยู่ในชุมชนเนินพระ และ ชุมชนริมน้ำท่าเกตุ โดยตรวจพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข จำนวน 35 ตัว และแมว 5 ตัว ซึ่งโรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มีความอันตราย เพราะหากคนหรือสัตว์ได้รับเชื้อแล้วจะเสียชีวิตทุกราย เพื่อเป็น การป้องกันการเสียชีวิตของคนด้วยโรคพิษสุนัขบ้า จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการรณรงค์เพื่อให้ประชาชนเห็น ความสำคั ญ และปฏิ บ ั ต ิ ต ามหลั ก 5 ย. (อย่ า แหย่ อย่ า เหยี ย บ อย่ า แยก อย่ า หยิ บ อย่ า ยุ ่ ง ) อย่างต่อเนื่อง งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ จึงขอดำเนินกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปีงบประมาณ 2565 วัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รูปแบบกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วยหลัก 5 ย. กิจกรรมที่ 2 การประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่อง การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามหลักปฏิบัติ 5 ย ผ่านช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมที่ 1 ประชาชน ที่มาทำบุญในวันพระ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ วัดลุ่มมหาชัยชุมพล, วัดป่าประดู่, วัดปากน้ำ, วัดตรีรัตนวนาราม กิจกรรมที่ 2 ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 4 ตำบล จำนวน 4 แห่ง ดังนี้ 1. สนามกีฬาโรงเรียนวัดปากน้ำ ชุมชนปากน้ำ 1 , 2 2. ศาลาริมน้ำท่าเกตุ ชุมชนริมน้ำท่าเกตุ 3. ลานน้ำพุตลาดเทศบันเทิง ชุมชนหลังวัดป่า 1 , 2 4. วันเนินพระ ชุมชนวัดเนินพระ กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการผ่านผ่านช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 4 ช่องทาง ได้ แก่ Facebookเทศบาลนครระยอง, Line@เรารั ก นครระยอง, เสียงตามสายเทศบาลนครระยอง, สถานีวิทยุประชาคมระยอง 97.25 เมกะเฮิรตซ์ ตัวชี้วัด มีการดำเนินกิจกรรมครบทุกกิจกรรม ผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรม นางสาวศรินญา สกุลนอก ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมีนาคม-เมษายน 2564

ผลการดำเนินงาน…

-234ผลการดำเนินงาน การดำเนินงานสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมิน PM มีผลการดำเนินงานดังนี้ 1.ผลสัมฤทธิ์ตามตัวชีวัด (เชิงคุณภาพ) ประเมินตามตัวชี้วัดของกิจกรรม จำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

1.จ ั ด ก ิ จ ก ร ร ม ใ ห้ ความรู้ฯในการ ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฯ แก่ประชาชน

4 แห่ง

ร้อย ละ

ผลผลิต

จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชน ที่มาทำบุญในวัน พระ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1.วัดลุ่มมหาชัยชุมพล 2.วัดป่าประดู่ 3.วัดปากน้ำ 4.วัดตรีรัตนาราม 2.จัดกิจกรรมให้ 4 ชุมชน 1. สนามกีฬาโรงเรียนวัดปากน้ำ ชุมชนปากน้ำ 1 , 2 ความรู้ฯในการ 2. ศาลาริมน้ำท่าเกตุ ชุมชนริมน้ำท่าเกตุ ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 3. ลานน้ำพุตลาดเทศบันเทิง ชุมชนหลังวัดป่า 1 , 2 ฯ แก่ประชาชน ใน 4 4. วันเนินพระ ชุมชนวัดเนินพระ ชุมชน 3.ประชาสัมพันธ์ 4 ช่องทาง ได้เผยแพร่ความรู้ผ่าน 4 ช่องทาง ได้แก่ ความรู้ผ่านช่องทาง 1.Facebook เทศบาลนครระยอง ประชาสัมพันธ์ 2.Line@เรารักนครระยอง 3.เสียงตามสายเทศบาลนครระยอง 4.สถานีวิทยุประชาคมระยอง 97.25 เมกะเฮิรตซ์ 2.ผลสัมฤทธิ์ตามขั้นตอนการดำเนินงาน (เชิงประโยชน์) ประเมินตามขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน และระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้ ขั้นตอนการดำเนินงาน

ระยะเวลา

1.ประสานศาสนสถานที่จะดำเนินการ 2.จัดทำหนังสือส่งหนังสือขอความร่วมมือ ดำเนินการ 3.จัดเตรียมอุปกรณ์และสื่อการให้ความรู้ 4.ดำเนินกิจกรรมฯ จำนวน 3 กิจกรรม 5.ประเมินผลกิจกรรม

มีนาคม 2565

100

สรุปผลเทียบกับ ตัวชี้วัด ไม่ บรรลุ บรรลุ √

100



100



ผลการดำเนินการ บรรลุ ไม่บรรลุ √

มีนาคม 2565



มีนาคม 2565 มีนาคม - เมษายน 2565 พฤษภาคม 2565

√ √ √

ผลการ…

-235ผลการดำเนินกิจกรรม 1.กิจกรรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วยหลัก 5 ย. ประชาชน ที่มาทำบุญในวันพระ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1.วัดลุ่มมหาชัยชุมพล บรรลุผลการดำเนินการ 2.วัดป่าประดู่ บรรลุผลการดำเนินการ 3.วัดปากน้ำ บรรลุผลการดำเนินการ 4.วัดตรีรัตนาราม บรรลุผลการดำเนินการ 2.จัดกิจกรรมให้ความรู้ฯในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าฯ แก่ประชาชน ใน 4 ชุมชน จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ 1. สนามกีฬาโรงเรียนวัดปากน้ำ ชุมชนปากน้ำ 1 , 2 บรรลุผลการดำเนินการ 2. ศาลาริมน้ำท่าเกตุ ชุมชนริมน้ำท่าเกตุ บรรลุผลการดำเนินการ 3. ลานน้ำพุตลาดเทศบันเทิง ชุมชนหลังวัดป่า 1 , 2 บรรลุผลการดำเนินการ 4. วันเนินพระ ชุมชนวัดเนินพระ บรรลุผลการดำเนินการ 3.ประชาสัมพันธ์ความรู้ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ 4 ช่องทาง ได้แก่ 1.Facebook เทศบาลนครระยอง บรรลุผลการดำเนินการ 2.Line@เรารักนครระยอง บรรลุผลการดำเนินการ 3.เสียงตามสายเทศบาลนครระยอง บรรลุผลการดำเนินการ 4.สถานีวิทยุประชาคมระยอง 97.25 เมกะเฮิรตซ์ บรรลุผลการดำเนินการ ข้อเสนอแนะ 1.ควรเพิ่มเติมข้อมูลของจุดที่ให้บริการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า แนบพร้อมกับแผ่นประชาสัมพันธ์ 2.ประชาชนให้ความสนใจและอยากให้มาให้ความรู้บ่อยๆ 3.การวิ่งรถประชาสัมพันธ์ประชาชนให้ความสนใจน้อยเนื่องจากบ้านปิด ปรับเปลี่ยนวิธีการโดยการจอดรถ แล้วเปิดเสียงประชาสัมพันธ์ในย่านชุมชน เช่น ตลาด หน้าโรงเรียน สวนสาธารณะ เป็นต้น

ภาพ...

-236ภาพกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปีงบประมาณ 2565 กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วยหลัก 5 ย. กับประชาชนที่มาทำบุญในวันพระ จำนวน 4 แห่ง

วัดลุ่มมหาชัยชุม พล

วัดป่าประดู่

วัดปากน้ำ

วัดตรีรัตนราม

กิจกรรมที่ 2 การให้ความรู้ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วยหลัก 5 ย. กับประชาชนที่ใน 4 ชุมชน จำนวน 4 ตำบล

ชุมชนปากน้ำ 1 , 2

ชุมชนเนินพระ

ชุมชนหลังวัดป่า 1 , 2

สนามกีฬาโรงเรียนวัดปากน้ำ

วัดเนินพระ

ชุมชนริมน้ำท่าเกตุ

ลานน้ำพุตลาดเทศ บันเทิง

ศาลาริมน้ำท่าเกตุ

กิจกรรมที่ 3 การประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่อง การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามหลักปฏิบัติ 5 ย.ผ่านช่องทางสื่ อ ประชาสัมพันธ์

3.7 กิจกรรม...

-2373.7 กิจกรรมเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและจัดทำข้อมูลทางระบาดวิทยา งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ดำเนินการ รับ -ส่งข้อมูล (รง506) แก้ไขข้อมูล (รง 507) การรับรายงานโรคติดต่อทางโทรศัพท์ , จัดทำรายงานเฝ้าระวังโรคประจำสัปดาห์ , จัดทำรายงานเฝ้าระวังโรค ประจำเดือน แจ้งสถานการณ์การระบาดของโรคติ ดต่ อที่ส ำคัญหรือโรคติดต่ อ ที่ระบาดในพื้ นที่ โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์โรคติดต่อ และแนวโน้มการเกิดโรคของกลุ่มประชากรต่างๆในเขต เทศบาลนครระยอง เพื่อให้ในการวางแผนแก้ไขและป้องกันปัญหาด้านโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในพื้นที่เทศบาล นครระยองอย่างมีประสิทธิภาพ 3.7.1 เฝ้าระวังโรคติดต่อในศูนย์บริการสาธารณสุข สถานการณ์โรคติดต่อเขตเทศบาลนครระยอง จากศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนคร ระยอง ทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ คลินิกชุมชนอบอุ่นฯ และศูนย์บริการสาธารณสุขปากน้ำ จากการเฝ้าระวังโรคทาง ระบาดวิทยา ด้วยระบบรายงานโรคแบบ รง. ๕๐๖ พบว่า ปี พ.ศ. 2565 (ข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 ธันวาคม 2565) ได้รับรายงานผู้ป่วยในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 294 ราย โดยโรคที่มีอัตราป่วยมาก ที่สุด 10 อันดับแรก ดังนี้ ภาพที่ 1 10 อันดับโรคที่พบในศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลนครระยอง

2.7.2 สถานการณ์...

-2382.7.2 สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในเขตเทศบาลนครระยอง สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง 10 อันดับแรก จากการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา ด้วยระบบรายงานโรคแบบ รง. ๕๐๖ จาก Cup เมืองระยอง ในปี พ.ศ.2565 (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 ธันวาคม 2565) ได้รับรายงานผู้ป่วยในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 1,867 ราย โดยโรคที่มีอัตราป่วยมาก ที่สุด 10 อันดับแรก ดังนี้ ภาพที่ 2 10 อันดับโรคที่พบในเขตเทศบาลนครระยอง

2.7.3 สถานการณ์โรคติดต่อที่สำคัญในเขตเทศบาลนครระยอง 1. โรคไข้เลือดออก สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครระยอง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 ธันวาคม 2565 พบรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ เทศบาลนครระยอง (ทุกรหัสโรค) จำนวน 76 ราย เป็นเพศ ชาย 41 ราย เพศหญิง 35 ราย อายุระหว่าง 7 ปี ถึง 69 ปี อยู่ในตำบลเนินพระ จำนวน 32 ราย ตำบลท่า ประดู่ จำนวน 24 ราย ตำบลเชิงเนิน จำนวน 16 ราย และตำบลปากน้ำ จำนวน 4 ราย ชุมชนที่พบผู้ป่วยมาก ที่สุดได้แก่ ชุมชนเนินพระ จำนวน 17 ราย (รายละเอียดดังภาพที่ 3, 4 และ 5) ภาพที่ 3 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก เขตเทศบาลนครระยอง จำแนกรายเดือน ปี 2565 และ 2564 เปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี (2560-2564) แหล่งข้อมูล รายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (รง 506 ) งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ เทศบาลนครระยอง

ภาพที่ 4…

-239ภาพที่ 4 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ปี 2565 ในเขตเทศบาลนครระยอง จำแนกตามกลุ่มอายุ

ภาพที่ 5 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ปี 2565 ในเขตเทศบาลนครระยอง จำแนกรายชุมชน

2. โรคอุจจาระ…

-2402. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ในเขตเทศบาลนครระยอง ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – 15 ธันวาคม 2565 เทศบาลนครระยอง ได้รับรายงานพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ในเขตเทศบาลนคร ระยอง จำนวน 654 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต ไม่พบการระบาดของโรค อัตราป่วยน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี รายละเอียดตามรูปที่ 6 ภาพที่ 6 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เขตเทศบาลนครระยอง จำแนกรายเดือน ปี 2565 และ 2564 เปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี (2560-2564)

แหล่งข้อมูล รายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (รง 506 ) งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ เทศบาลนครระยอง

2. โรคมือเท้าปาก…

-2413. โรคมือเท้าปาก สถานการณ์โรคมือเท้าปาก ในเขตเทศบาลนครระยอง ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – 15 ธันวาคม 2565 เทศบาลนครระยอง ได้รับรายงานพบผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก ในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 215ราย ไม่พบ ผู้เสียชีวิต พบการระบาดของโรค ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2565 โดยมีอัตราป่วยมากกว่าค่ามัธยฐาน ย้อนหลัง 5 ปี รายละเอียดตามรูปที่ 7 ภาพที่ 7 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมือเท้าปากเขตเทศบาลนครระยอง จำแนกรายเดือน ปี 2565 และ 2564 เปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี (2560-2564)

4.โรคปอดอักเสบ…

-2424.โรคปอดอักเสบ สถานการณ์โรคโรคปอดอักเสบ ในเขตเทศบาลนครระยอง ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – 15 ธันวาคม 2565 เทศบาลนครระยอง ได้รับรายงานพบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 118 ราย ไม่พบ ผู้เสียชีวิต พบการระบาดของโรค ไม่พบการระบาด มีอัตราป่วยน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี รายละเอียด ตามรูปที่ 8 ภาพที่ 8 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบ เขตเทศบาลนครระยอง จำแนกรายเดือน ปี 2565 และ 2564 เปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี (2560-2564)

5.โรคติดต่อ…

-2435.โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในเขตเทศบาลนครระยอง ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – 15 ธันวาคม 2565 เทศบาลนครระยอง ได้รับรายงานพบผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในเขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 57 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต พบการระบาดของโรค ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2565 โดยมีอัตราป่วย มากกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี รายละเอียดตามรูปที่ 9 ภาพที่ 9 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เขตเทศบาลนครระยอง จำแนกรายเดือน ปี 2565 และ 2564 เปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี (2560-2564)

แหล่งข้อมูล รายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (รง 506 ) งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ เทศบาลนครระยอง

3.8 กิจกรรม...

-2443.8 กิจกรรมเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดต่อ งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ดำเนินงานสอบสวนโรคกรณีเกิดโรคระบาดใน พื้นที่เขตเทศบาลนครระยองปีงบประมาณ 2565 ดังนี้ 1.โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดำเนินการสอบสวนโรคกรณีมีการระบาด จำนวน 9 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ วันเวลาที่ดำเนินการ กลุ่มการระบาด สถานที่ 1

11 ตุลาคม 2565

ผลการสอบสวนโรค

การดำเนินการควบคุมโรค

สอบสวนโรค 10 ราย

แผนกทะเบียน

-เช็ดทำความสะอาด พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ บริ เ วณจุ ด บริ ก ารประชาชนและโต๊ ะ เก้าอี้เจ้าหน้าที่

พบผู้ป่วย 1 ราย

-ให้คำแนะนำการสังเกตอาการตนเอง ตรวจหาเชื้อวันที่ 0-3-7

เจ้าหน้าที่ เทศบาลฯ

สำนักงาน เทศบาลฯ

พบ LR 10 ราย

-ทำงานได้ ป กติ แต่ ก ำชั บ ให้ แ ยกตั ว (Isolation) เว้นระยะห่าง ใส่หน้ากาก อนามัย ล้างมือบ่อยๆ งดทานอาหาร ร่วมกัน 2

1-5 พฤศจ ิ กายน สนับสนุน 2565 บุคลากรในการ สอบสวนโรค ทางโทรศัพท์ ของผู้ติดเชื้อใน เขตเทศบาล นครระยอง

โรงพยาบาล ระยอง สาขา เกาะหวาย

ดำเนินการสอบสวนโรค จำนวน 58 ราย แยกเป็น รายตำบลดังนี้ -ท่าประดู่ 15 ราย

-ให้คำแนะนำผู้สัมผัสร่วมบ้านตรวจหาเชื้อ แยกตัวจากผู้ป่วย ใส่หน้ากากอนามัย แยก ทิ้งขยะติดเชื้อ และหมั่นสังเกตอาการของ ตน

-เชิงเนิน 24 ราย -เนินพระ 9 ราย -ปากน้ำ 10 ราย

3

9 พฤศจิกายน 2565

เจ้าหน้าที่ เทศบาลฯ

สำนักงาน เทศบาลฯ

สอบสวนโรค 9 ราย

สำนักงาน เทศบาลฯ

สอบสวนโรค 9 ราย

พบ LR 9 ราย

แผนกทะเบียน พบผู้ป่วยเพิ่ม 1 ราย 4

26 พฤศจิกายน 2565

เจ้าหน้าที่ เทศบาลฯ กองยุทธศาสตร์ และกอง สวัสดิการสังคม

พบ LR 9 ราย

-เสนอแนะให้ทำการปิดการให้บริการ ประชาชน เป็นเวลา 3 วัน เพื่อทำการ Deep Cleaning แผนกทะเบี ย นและ จุดบริการประชาชน -ให้ ค ำแนะนำการตรวจหาเชื ้ อ และ ปฏิ บ ั ต ิ ง านโดยแยกตั ว จากเพื ่ อ น ร่วมงานตามมาตรการ D-M-H-T-T เป็น เวลา 14 วัน

พบผู้ป่วย 1 ราย

1.โรคติด…

-2451.โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดำเนินการสอบสวนโรคกรณีมีการระบาด (ต่อ) ครั้งที่ 5

วันเวลาที่ ดำเนินการ

กลุ่มการระบาด

8 กุมภาพันธ์ 2565

เจ้าหน้าที่ เทศบาลฯ กอง การศึกษา

สถานที่

ผลการสอบสวนโรค

คลินิกชุมชน อบอุ่น

สอบสวนโรค 23 ราย พบ HR 21 ราย

พบผู้ป่วย 3 ราย

6

9 กุมภาพันธ์ 2565

เจ้าหน้าที่ เทศบาลฯ

พบ LR 2 ราย

คลินิกชุมชน อบอุ่น

สอบสวนโรค 13 ราย พบ HR 13 ราย

กองการ เจ้าหน้าที่

7

8

11 กุมภาพันธ์ 2565

13 กุมภาพันธ์ 2565

เจ้าหน้าที่ เทศบาลฯ

-ให้ ค ำแนะนำเคส LR ในการตรวจหาเชื้ อ และปฏิบัตงิ านโดยแยกตัวจากเพื่อนร่วมงาน ตามมาตรการ D-M-H-T-T เป็นเวลา 14 วัน -ประสานส่งตัวเคส HR เข้าสถานที่กักกันโรค ของรัฐ State Quarantine (SQ) เพื่อกักตัว และสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน -ประสานส่งตัวเคส HR เข้าสถานที่กักกันโรค ของรัฐ State Quarantine (SQ) เพื่อกักตัว และสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน 12 ราย -ให้คำแนะนำและติดตาม 1 ราย เพื่อทำการ กักตัวที่บ้าน (Home Quarantine) เนื่องจาก ต้องดูแลบุตรที่มีโรคหัวใจ

สำนักงาน เทศบาลฯ

สำนัก สาธารณสุขฯ

นักกีฬาทีมฟุต ซอล รุ่นอายุ 14 ปี

การดำเนินการควบคุมโรค

สอบสวนโรค 5 ราย พบ HR 2 ราย พบ LR 3 ราย

โรงเรียนนคร ระยองวิทยาคม

สอบสวนโรค 36 ราย

โรงเรียนสาธิต เทศบาลนคร ระยอง

สอบสวนโรค 14 ราย

พบ HR 36 ราย

-ประสานส่งตัวเคส HR เข้าสถานที่กักกันโรค ของรัฐ State Quarantine (SQ) เพื่อกักตัว และสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน -ให้ ค ำแนะนำเคส LR ในการตรวจหาเชื้ อ และปฏิบัตงิ านโดยแยกตัวจากเพื่อนร่วมงาน ตามมาตรการ D-M-H-T-T เป็นเวลา 14 วัน -ประสานส่งตัวเคส HR เข้าสถานที่กักกันโรค ของรัฐ State Quarantine (SQ) เพื่อกักตัว และสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน

พบผู้ป่วย 11 ราย 9

30 พฤษภาคม 2565

นักเรียนและครู ชั้น ป.1 พบผู้ป่วย 12 ราย

พบ LR 14 ราย

-ให้คำแนะนำสถานศึกษาในการระงับการ เรียนแบบ On-site เป็นเวลา 10 วัน -เช็ดถูทำความสะอาดและฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ บริเวณห้องเรียนและลานอเนกประสงค์ของ โรงเรียน -ให้นักเรียนและครูที่ยังเป็นเคส LR กักตัว สังเกตอาการที่บ้าน และตรวจหาเชื้อ -กำชับสถานศึกษาในมาตรการตรวจคัดกรอง และ การปฏิบัติตนตามหลัก D-M-H-T-T

รูปกิจกรรม…

-246รูปกิจกรรมการสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

2.โรคอาหารเป็นพิษดำเนินการสอบสวนโรคกรณีมีการระบาดดังนี้ ครั้ง ที่

วันเวลาที่ กลุ่มการระบาด ดำเนินการ

สถานที่

1

8 มิถุนายน นักเรียนชั้นป.6 2565 พบผู ้ ม ี อ าการ ท้ องเสี ย 1 ราย หลั งการดื ่ มนม โรงเรียน

โรงเรียน เทศบาลวั ด โขดทิมทา ราม

ผลการสอบสวนโรค

การดำเนินการควบคุมโรค

สอบสวนโรค 7 ราย พบว่า -ตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียน และการจัดเก็บ มี อ าการปวดเกร็ ง ในช่ อ ง -ให้ ค ำแนะนำการปฏิ บ ั ต ิ ต นเพื ่ อ ป้ อ งกั น โรค ท้ อ ง 7 ราย ถ่ า ยเหลว 1 ทางเดินอาหารและน้ำ ราย คลื่นไส้ 2 ราย

รูปกิจกรรมการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ

3.โรค...

-2473.โรคมือเท้าปากดำเนินการสอบสวนโรคกรณีมีการระบาด 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่

วันเวลาที่ ดำเนินการ

1

23 สิงหาคม 2565

กลุ่มการ ระบาด นักเรียนชั้น อนุบาล พบผู้ป่วย 10 ราย

สถานที่

ผลการสอบสวนโรค

การดำเนินการควบคุมโรค

โรงเรียน เทศบาลวัด โขดทิมทา ราม

สอบสวนโรค 30 ราย -ให้คำแนะนำการทำความสะอาดพื้นผิ ว ไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติม ของใช้ ของเล่น ให้ถี่ขึ้น อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง -ให้งดการใช้สนามเด็กเล็กส่วนกลาง อย่าง น้อย 7 วัน -ให้งดกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ -กำชับมาตรการในการตรวจร่างกายและ คัดกรองเด็กเบื้องต้นก่อนเข้าเรียน

2

26 สิงหาคม 2565

นักเรียนชั้น อนุบาล พบผู้ป่วย 2 ราย

โรงเรียน เทศบาลวัด ปากน้ำ

สอบสวนโรค 20 ราย พบเด็กที่มีไข้สูง เข้า ข่ า ยอาการของโรค มื อ เท้ า ปาก เพิ ่ ม 1 ราย

-เช็ดตัวลดไข้ สังเกตอาการชักเกร็ง แก่ เด็กที่มีไข้สูง และแจ้งครูให้แจ้งผู้ปกครอง รับกลับบ้าน -ให้คำแนะนำการทำความสะอาดพื้นผิ ว ของใช้ ของเล่น ให้ถี่ขึ้น อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง -ให้งดการใช้สนามเด็กเล็กส่วนกลาง อย่าง น้อย 7 วัน -ให้งดกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่

3

23 กันยายน 2565

นักเรียนชั้น อนุบาล พบผู้ป่วย

โรงเรียน สอบสวนโรค 15 ราย -ให้คำแนะนำการทำความสะอาดพื้นผิ ว สาธิตเทศบาล ไม่พบผู้ป่วยเพิม่ เติม ของใช้ ของเล่น ให้ถี่ขึ้น อย่างน้อยวันละ นครระยอง 1 ครัง้ -ให้งดการใช้สนามเด็กเล็กส่วนกลาง อย่าง น้อย 7 วัน

2 ราย

-ให้งดกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ รูปกิจกรรมการสอบสวนโรคมือเท้าปาก

3.9 กิจกรรม…

-2483.9 กิจกรรมเผยแพร่ความรู้โรคติดต่อแก่ประชาชน งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ดำเนินการจัดทำสื่ออินโฟกราฟิก แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับ ความหมายของโรค อาการ และการป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ประชาสัมพันธ์ในช่วงการระบาดของโรคผ่าน ช่องทางโซเชียลมีเดียของเทศบาลนครระยอง ได้แก่ เฟสบุ๊ค ไลน์ @เรารักนครระยอง และเว็บไซต์เทศบาลฯ จำนวน 16 ชิ้นงาน ดังนี้ หัวข้อประชาสัมพันธ์

วันที่ประชาสัมพันธ์

1. แปดโรคที่พัดผ่านมากับฤดู หนาว

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565

ชิ้นงาน

2. รวมเรื ่ อ งน่ า รู ้ เ กี ่ ย วกั บ โรค วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เอดส์

3.โอไมครอน สายพันธุ์ใหม่ น่า วันที่ 30 ธันวาคม 2564 กังวล

หัวข้อ...

-249หัวข้อประชาสัมพันธ์ 4.คำแนะนำเพื่อป้องกัน “ไข้หวัดนก” ในช่วงเทศกาล ตรุษจีน

วันที่ประชาสัมพันธ์

ชิ้นงาน

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565

5. ไม่มียารักษา แต่ป้องกั น ได้ วันที่ 21 มีนาคม 2565 “โรคพิษสุนัขบ้า” ภัยร้ายใกล้ตัว คุณ

6.วัน วัณโรคสากล รู้เร็ว - รี บ วันที่ 24 มีนาคม 2565 รักษา - ยุติปัญหาวัณโรค

7 . อ า ก า ศ ร ้ อ น ต ้ อ ง ร ะ วั ง วันที่ 1 เมษายน 2565 โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ

หัวข้อ...

-250หัวข้อประชาสัมพันธ์ 8.ลองโควิด

วันที่ประชาสัมพันธ์

ชิ้นงาน

วันที่ 2 พฤษภาคม 2565

9.การฟื้นฟูร่างกายหลังป่วยเป็น วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 โรคโควิด-19

10.เฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง

วันที่ 25 พฤษภาคม 2565

11.เจ็ดโรคติดต่อที่มากับฤดูฝน วันที่ 8 มิถุนายน 2565

หัวข้อ...

-251หัวข้อประชาสัมพันธ์

วันที่ประชาสัมพันธ์

12.มือเท้าปาก โรคระบาดยอด ฮิต

วันที่ 20 มิถุนายน 2565

13. ตระหนั ก แต่ ไ ม่ ต ระหนก วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 โควิดสายพันธุ์ย่อยBa.4 Ba.5

14.วั ย เรี ย นปลอดภั ย เข้ า ใจ วันที่ 8 สิงหาคม 2565 เพศศึกษาและการป้องกันโรค

15.โรคติดต่อที่มากับน้ำท่วม

วันที่ 19 กันยายน 2565

ชิ้นงาน

-252หัวข้อประชาสัมพันธ์ 16.เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องกับ โรค มือเท้าปาก

วันที่ประชาสัมพันธ์

ชิ้นงาน

วันที่ 30 กันยายน 2565

3.10 กิจกรรม…

-2533.10 กิจกรรมให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันโรคติดต่อผ่านทางรายการวิทยุ งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ผ่านทางสถานีวิทยุประชาคม ระยอง FM 97.25 MHz จำนวน 13 ครั้ง ดังนี้ 1.การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 วันพุธที่ 20 ตุลาคม 2564 2.เตรียมตัวป้องกันโรคติดต่อที่มากับฤดูหนาว วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2564 3.รณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ในสัปดาห์วันเอดส์โรค วันพุธที่ 15 ธันวาคม 2564 4.โรคไข้หวัดนกในช่วงเทศกาลตรุษจีน วันพุธที่ 19 มกราคม 2565 5.รักปลอดภัยห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 6.วัณโรคสากล/รณรงค์ป้องกันพิษสุนัขบ้า วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 7. 6 โรคติดต่อที่มากับหน้าร้อน วันพุธที่ 20 เมษายน 2565 8.รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก/วัคซีนป้องกันโรค วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2565 9.โรคที่มากับฝน/รณรงค์วันไข้เลือดออกอาเซียน วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2565 10.6 โรคที่มากับน้ำท่วม วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 11.โรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็กเล็ก วันพุธที่ 17 สิงหาคม 2565 12.โรคมือเท้าปาก วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 13.โรคติดต่อที่มากันน้ำท่วม วันพุธที่ 14 กันยายน 2565 ภาพกิจกรรมให้ความรู้ เรื่องการป้องกันโรคติดต่อผ่านทางรายการวิทยุ

3.11 การป้องกัน

-2543.11 การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ 3.11.1 โครงการตรวจคัดกรองโรคตาต้อกระจกในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 45 ปีขึ้นไป วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคตาต้อกระจกได้รับการตรวจคัดกรองโดยจักษุแพทย์ 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคตาต้อกระจกได้รับความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรค กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาต้อกระจกอายุ 45 ปีขึ้นไป จำนวน 200 คน (2 ครั้ง/ ปี) ครัง้ ละ 100 คน ตัวชี้วัด 1.ร้อยละ 100 ของเป้าหมายได้รับการตรวจค้นหาปัญหาโรคตาต้อกระจกโดยจักษุแพทย์ 2.ร้อยละ 100 ของเป้าหมายได้รับความรู้เรื่องโรคตาต้อกระจกและการป้องกันโรค 3.ร้อยละ 100 ของเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติของตาจากโรคต้อกระจกได้รับการ รักษาที่ถูกต้อง ระยะเวลาในการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2565 รูปแบบโครงการ ดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1ตรวจยืนยันความผิดปกติด้านการมองเห็น ความผิดปกติทางด้านสายตาอื่นๆโดย จักษุแพทย์ -ตรวจวัด V/A (ระดับสายตาที่สามารถมองเห็น) -ตรวจวัดแรงดันลูกตา -ตรวจจอประสาทตาพร้อมถ่ายภาพ -ตรวจวัดสายตา ตรวจสุขภาพตาอื่นๆ เช่น ต้อเนื้อ ต้อกระจก -แปรผลการตรวจสุขภาพตา กิจกรรมที่ 2ให้ความรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรค (จัดบอร์ด,ให้ความรู้รายกลุ่ม) กิจกรรมที่ 3ส่งต่อผู้ป่วยโรคตาต้อกระจกเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ผลการดำเนินงาน วั น อั ง คารที ่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.00 – 12.00 น. ณอาคาร เอนกประสงค์ โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรคได้จัดโครงการตรวจคัดกรองโรคตาต้อ กระจกในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 45 ปีขึ้นไปมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตรวจยืนยันความผิดปกติด้านการมองเห็น ความผิดปกติทางด้านสายตาอื่นๆโดยจักษุแพทย์ ทั้งหมด 105 คน เพศชาย 29 คน เพศหญิง 76 คน มีอายุ ระหว่าง 45 – 84 ปี อาศัยอยู่ในตำบลท่าประดู่ 41 คน ตำบลเชิงเนิน 37 คน ตำบลปากน้ำ 21 คน ตำบลเนินพระ6 คน โดยพบผลการตรวจ ปกติ จำนวน 6 คน คิ ดเป็นร้อยละ 5.71 ผิดปกติ จำนวน 99 คน คิดเป็นร้อยละ 94.29 ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

ผลการตรวจ...

-255ผลการตรวจ

จำนวน เพศ ตำบล ทั้งหมด ท่าประดู่ เชิงเนิน ปากน้ำ (คน) ชาย หญิง

เนินพระ

1.สายตาปกติ

6

2

4

1

2

2

1

2.สายตาสั้น (ไม่มีภาวะอื่นร่วมด้วย)

12

4

8

4

4

2

2

3.สายตายาว (ไม่มีภาวะอื่นร่วมด้วย)

38

8

30

15

14

9

0

4.ตาต้อกระจก50%(ไม่มีภาวะอื่นร่วมด้วย)

3

1

2

2

1

0

0

5.ตาต้อกระจก (มีภาวะอื่นร่วมด้วย)

19

7

12

8

8

3

0

5.1.ตาต้อกระจก 30% ร่วมกับสายตาสั้น

1

1

0

0

0

1

0

5.2.ตาต้อกระจก 30% ร่วมกับสายตายาว

14

4

10

8

5

1

0

5.3.ตาต้อกระจก 50% ร่วมกับสายตายาว

4

2

2

0

3

1

0

6.ตาต้อเนื้อ(ไม่มีภาวะอื่นร่วมด้วย)

2

0

2

1

1

0

0

6.1.ต้อเนื้อขนาดใหญ่

1

0

1

1

0

0

0

6.2.ต้อเนื้อขนาดเล็ก

1

0

1

0

1

0

0

11

4

7

4

3

2

2

7.1.ตาต้อเนื้อขนาดเล็กร่วมกับสายตายาว

9

4

5

4

3

1

1

7.2.ตาต้อเนื้อขนาดกลางร่วมกับสายตายาว

1

0

1

0

0

0

1

7.3.ตาต้ อ เนื ้ อ ขนาดเล็ ก (ตรวจไม่ พ บ เบาหวานขึ้นจอประสาทตา)

1

0

1

0

0

1

0

8.ตาที่มีภาวะผิดปกติอื่นๆ

14

3

11

6

4

2

2

8.1.ตรวจพบเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

2

1

1

0

1

1

0

8.2.ตรวจพบวุ้นตาเสื่อม

1

0

1

0

1

0

0

8.3.สายตายาว (ตรวจไม่พบเบาหวานขึ้นจอ ประสาทตา)

11

2

9

6

2

1

2

รวมทั้งหมด

105

29 76

41

37

21

6

7.ตาต้อเนื้อ (มีภาวะอื่นร่วมด้วย)

ข้อแนะนำ...

-256ข้อแนะนำเพิ่มเติมโดยจักษุแพทย์ 1.ผู้ที่พบการตรวจตามีภาวะผิดปกติ ด้วยอาการดังนี้ ที่ตรวจพบเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ต้อเนื้อขนาดใหญ่ ตรวจพบวุ้นตาเสื่อมจำนวน 5 คน คำแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดหรือเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล เพิ่มเติม 2.ผู้ที่พบการตรวจตามีภาวะผิดปกติอื่นๆหรือภาวะปกติ จำนวน 100 คน ต้องได้รับการตรวจคัดกรองสายตา เป็นประจำทุกปี ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน 1.ดัวยโครงการตรวจคัดกรองโรคต้อกระจกในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 45 ปี ขึ้นไป มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน ดำเนินการ 2 ครั้ง/ปี ครั้งละ 100 คน ครั้งที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ครั้งที่ 2 เดือน กรกฎาคม 2565 ซึ่งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรั สโคโรนา 2019 (COVID19)ไม่สามารถดำเนินการได้ 2.งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ไม่ได้ดำเนินการคัดกรอง/ติดตามกลุ่มเป้าหมายใน ชุมชนมาคัดกรองสายตา เนื่องจากช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 (COVID-19) ไม่ให้มีการ รวมกลุ่ม และไม่มีกลุ่มเปราะบางเข้าร่วมกิจกรรม 3.ในวันจัดโครงการกลุ่มเป้าหมายที่ประสานงานทางโทรศัพท์ไม่มาเข้ารับบริการการตรวจสายตา 4.สถานที่ใช้ในการจัดโครงการมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เหมาะสมกับการตรวจสายตา 5.ในการลงทะเบียนข้อมูลชื่อจะเรียงจากพยัญชนะ ก-ฮ แต่ในการตรวจจะเรียงตามบัตรคิวที่ได้รับ ซึ่ง ผลการตรวจต้องลงผลให้ตรงกับบัตรคิว เพื่อป้องกันความผิดพลาดของข้อมูล แนวทางการแก้ไข 1.ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค จึงงดการจัดโครงการในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และในช่วงเดือน มิถุนายน 2565 สถานการณ์โรคเริ่มคลี่คลาย จึงได้ดำเนินการจัดโครงการในวันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม จำนวน 105 คน และได้ส่งเงินคืนกองทุนฯตามระเบียบ เป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท 2.ใช้กลุ่มเป้าหมายเดิมของปีงบประมาณ 2564 โดยการประสานติดตามทางโทรศัพท์ และให้ กลุ่มเป้าหมายช่วยประชาสัมพันธ์กลุ่มประชาชนที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในบ้านหรือบ้านข้างเคียงมารับ บริการ 3.ให้ทีมฝ่ายป้องกันและควบคุมโรคติดตามทางโทรศัพท์เพื่อกระตุ้นกลุ่มเดิมโดยมีผู้เข้ารับบริการ จำนวน 49 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.67 และประสานได้กลุ่มใหม่เพิ่ม 56 ราย คิดเป็นร้อยละ 53.33 4.ทีมต้องเปลี่ยนแปลงหันเก้าอี้นั่งให้ตรงกับทีมตรวจสายตาโดยจักษุแพทย์ จากเดิมนั่งแถวละ 10 คน ลดเหลือ 5 คน พร้อมเปลี่ยนป้ายติดเก้าอี้ที่ติดเลขที่นั่งจากด้านหลังมาไว้ด้านหน้าเพื่อให้ประชาชนสามารถ มองเห็นเก้าอีน้ ั่งตนเองได้สะดวกขึ้น 5.ทีมลงทะเบียนจึงได้ดำเนินการเขียนเลขบัตรคิวไว้เพิ่มในช่องของที่อยู่ และจัดพิมพ์ข้อมูลใหม่เพื่อง ส่งไฟล์ให้จักษุแพทย์ลงผลการตรวจ

ภาพกิจกรรม...

-257ภาพกิจกรรม โครงการตรวจคัดกรองโรคตาต้อกระจกในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 45 ปีขึ้นไป วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ กิจกรรม ตรวจยืนยันความผิดปกติด้านการมองเห็น ความผิดปกติทางด้านสายตาอื่นๆโดยจักษุแพทย์ (ตรวจวัด V/A, ตรวจวัดแรงดันลูกตา, ตรวจจอประสาทตาพร้อมถ่ายภาพ, ตรวจวัดสายตา, ตรวจสุขภาพตาอื่นๆ เช่น ต้อ เนื้อ ต้อกระจก, แปรผลการตรวจสุขภาพตา)และส่งต่อผู้ป่วยโรคตาต้อกระจกเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

ลงทะเบียน+รับบัตรคิว

ทีมงานคลินิกแพทย์รังสรรค์พร้อมอุปกรณ์

กลุ่มประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ ตรวจวัด VA

ตรวจจอประสาทตา/ถ่ายภาพ

ตรวจวัดแรงดันลูกตา

พบจักษุแพทย์ ตรวจสุขภาพตาอื่นๆ กิจกรรม…

-258กิจกรรม ให้ความรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรค โดยทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนส่งเสริมสุขภาพ สำนัก สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ -การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

-มะเร็งระบบสืบพันธุ์

-ไอโอดีนเพื่อสุขภาพ

-การเตือนภัยในโลกปัจจุบัน

-การระวังแก๊งค์คอลเซนเตอร์

-ความสำคัญของตัวเลขหลังบัตรประชาชน

-การดูแลสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์

3.12 การป้องกัน…

-2593.12 การป้องกันยาเสพติด 3.12.1 โครงการคนรุ่นใหม่ ห่างไกลอบายมุข กลุ่มเด็กและเยาวชนขณะนี้กำลังเผชิญกับความเสี่ยงมากมาย อันเกิดจากสังคมสิ่งแวดล้อ มและ วัฒนธรรมอันตรายที่รอบตัว เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จำนวนมากซึมซับพฤติกรรมรุนแรง สื่อสารลามกอนาจาร มี พฤติกรรมอยู่ในแหล่งมั่ว สุ่มเสี่ยงต่อยาเสพติด พบว่ามีการเสพยาบ้า สารระเหย กัญชา และ 4x100มี พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนเหล่านี้จะนำไปสู่ปัญหาต่างๆเพิ่ม มากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหากับตนเอง ครอบครัว และสังคมตามมา หากได้รับการปลูกฝังเรียนรู้เกี่ยวกับพิษภัยที่ เกิดจากอบายมุขด้านบุหรี่ สุรา และยาเสพติด ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็จะลดลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องให้ความรู้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชนให้มีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจมีทักษะและวิธีการหลีกเลี่ยงยาเสพติดและมีพฤติกรรมที่ ห่างไกลจากยาเสพติด ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากบุหรี่ สุรา อาทิ โรคมะเร็งตับ โรคถุง ลมโป่งพอง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น และปัญหาสังคมที่เกิดจากอบายมุข รวมถึงสร้างภูมิคุ้มกันให้ นักเรียนไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครระยอง โดยฝ่ายป้องกันและ ควบคุมโรค จึงได้จัด โครงการคนรุ่นใหม่ห่างไกลอบายมุข วัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของอบายมุข เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติด และมีทักษะการ ปฏิเสธและป้องกัน กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 150 คน ตัวชี้วัด ร้อยละ 90 ของนักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของอบายมุข เช่น สุราบุหรี่ ยาเสพติด และมีทักษะการปฏิเสธและป้องกัน ระยะเวลาในการดำเนินงาน วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2565 เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีระยองบริหารธุรกิจ รูปแบบโครงการ 1.บรรยายความรู้ เรื่อง -สถานการณ์ความรุนแรงของยาเสพติดและอบายมุขกับเด็กและเยาวชน -ความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของอบายมุข สุรา บุหรี่ และยาเสพติด -ทักษะการปฏิเสธและป้องกัน 2.แบ่งกลุ่มตามฐานการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จำนวน 3 ฐาน ได้แก่ -ฐานที่ 1 รู้ทันพิษร้ายภัยบุหรี่ -ฐานที่ 2 รู้ทันพิษร้ายภัยสุรา -ฐานที่ 3 ยาเสพติดภัยร้ายใกล้ตัว 3.ประเมินความรู้(ก่อน-หลัง)และความพึงพอใจในการจัดโครงการ ผ่านระบบGoogle From ผลการดำเนินงาน1.มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 150 คน เป็นผู้ชาย 20 คน เป็นผู้หญิง 130 คน มีรายละเอียด ดังนี้ -นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1/4 จำนวน 2 คน -นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2/1 จำนวน 25 คน -นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2/2 จำนวน 31 คน -นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2/4 จำนวน 26 คน นักศึกษา...

-260-นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2/5 -นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2/7 -นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3/4 2.ประเมินความรู้และความพึงพอใจในการจัดโครงการ 2.1.ประเมินความรู้ก่อน-หลังดำเนินโครงการ ข้อคำถาม

จำนวน 32 คน จำนวน 33 คน จำนวน 1 คน

ก่อน

หลัง

ถูก

ร้อยละ

ผิด

ร้อยละ

ถูก

ร้อยละ

ผิด

ร้อยละ

1.ยาเสพติด หมายถึงอะไร

150

100

0

0

150

100

0

0

2.อันตรายที่ร้ายแรงที่สุดของสารเสพติด คืออะไร

126

84.00

24

16.00

146

97.33

4

2.67

3.มอร์ฟีนและเฮโรอืนเป็นสิ่งเสพติดที่ออก ฤทธิ์ทางประสาทอย่างไร

80

53.33

70

46.67

129

86.00

21

14.00

4.ข้อใดไม่ใช่สารเสพติดธรรมชาติ

114

76.00

36

24.00

144

96.00

6

4.00

5.ข้อใดคือสาเหตุการติดยาเสพติด

145

96.67

5

3.33

149

99.33

1

0.67

6.กัญชา กัญชง ห้ามขายในบุคคลใด

138

92.00

12

8.00

148

98.67

2

1.33

7.โทษของการสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคใด

115

76.67

35

23.33

143

95.33

7

4.67

8.สารพิษในบุหรี่จะอยู่ที่ใดมากที่สุด

112

74.67

38

25.33

131

87.33

19

12.67

9.มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินเท่าไร กฎหมายห้ามขับรถยนต์

82

54.67

68

45.33

136

90.67

14

9.33

10.โทษของการเมาแล้วขับ

81

54.00

69

46.00

120

80.00

30

20.00

2.1.1. จากข้อคำถาม จำนวน 10 ข้อ พบว่านักศึกษาสามารถตอบข้อคำถามถูกทุกคน คือ ข้อคำถาม ที่ 1 (ยาเสพติด หมายถึงอะไร) ส่วนข้อคำถามที่ประเมินหลังให้ความรู้แล้วสามารถตอบถูกไม่ถึงร้อยละ 90 มี 2 ข้อ คือ ข้อคำถามที่ 8 (สารพิษในบุหรี่จะอยู่ที่ใดมากที่สุด) และข้อคำถามที่ 10 (โทษของการเมาแล้วขับ) 2.1.2.จากการรวบรวมและสรุปคะแนนการประเมินความรู้ จำนวน 150 คน นักศึกษาสามารถตอบ ข้อคำถามได้ถูกต้องไม่น้อยกว่า 8 ข้อ จำนวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 91.57 มีรายละเอียดดังนี้ -มีผู้ทำข้อสอบถูก 10 ข้อ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อย 27.33 -มีผู้ทำข้อสอบถูก 9 ข้อ จำนวน 38คน คิดเป็นร้อย25.33 -มีผู้ทำข้อสอบถูก 8 ข้อ จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อย38.00 -มีผู้ทำข้อสอบถูก 7 ข้อ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อย 2.67 -มีผู้ทำข้อสอบถูก 6 ข้อ จำนวน6 คน คิดเป็นร้อย4.00 -มีผู้ทำข้อสอบถูก 5 ข้อ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อย2.67

2.2.ประเมิน...

-2622.2.ประเมินความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ การประเมินความพึงพอใจ

ระดับคะแนน น้อย

พอใช้

ปานกลาง

มาก

มากที่สุด

(1)

(2)

(3)

(4)

(5)

1.เนื้อหาในการอบรม

3

5

14

20

108

2.ระยะเวลาในการอบรม

3

3

15

15

114

3.รูปแบบและวิธีการฝึกอบรมมีความเหมาะสม

1

4

10

18

117

4.สามารถนำสิ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน

1

4

10

18

117

5.วิ ท ยากรสามารถถ่ า ยทอด/สื ่ อ สาร เนื ้ อ หา ความรู้ ได้ดี

2

1

12

16

119

รวม (คะแนนเต็ม 750 คะแนน)

10

17

61

87

575

1.33

2.27

8.13

11.60

76.67

ร้อยละ

จากตารางนักศึกษาประเมินคะแนนความพึงพอใจในการดำเนินโครงการภาพรวม พบว่าระดับคะแนน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 76.67 ระดับคะแนนมาก คิดเป็นร้อยละ 11.60 ตามลำดับ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน 1.ในการดำเนินงานโครงการฯเปลี่ยนการประเมินแบบทดสอบก่อนและหลังดำเนินโครงการ รวมทั้ง แบบประเมินความพึงพอใจในรูปแบบ goggle from ทำให้เกิดความสะดวก ทราบผลได้เร็ว ลดปริมาณการใช้ กระดาษ ลดการสัมผัสร่วม นอกจากนี้แบบทดสอบยังเฉลยข้อคำตอบที่ถูกต้อง และบอกคะแนนที่ได้ของตนเอง ซึ่งทำให้สามารถประเมินความรู้ความสามารถของตนเองช่วยในการพัฒนาศักยภาพได้ แต่ข้อมูลการรายงานที่ ได้มีจำนวนผู้ตอบแบบทดสอบไม่ตรงกับจำนวนผู้เข้ารับการอบรม 2.เนื่องจากสถานที่ในการจัดโครงการของวิทยาลัยที่เป็นห้องปิดมีการซ่อมแซม แนวทางการแก้ไข 1.ประสานครูส่ง Link หรือ QRcode แบบทดสอบเข้ากลุ่ม Line ห้องเรียน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ ตอบแบบทดสอบ และประสานครูประจำชั้นติดตามกรณีที่ได้รับการตอบกลับไม่ครบถ้วน 2.ทางวิทยาลัยได้จัดเตรียมสถานที่ใหม่คือลานกิจกรรมด้านล่างของวิทยาลัย ซึ่งเป็นลานโล่ง ทำให้ทีม วิทยากรต้องปรับรูปแบบกิจกรรมที่ต้องมีการใช้สื่อของวิดิโอ เป็นการใช้เสียงจากเครื่องดนตรีช่วยในกาสร้าง บรรยากาศ

ภาพกิจกรรม…

-263ภาพกิจกรรม โครงการคนรุน่ ใหม่ห่างไกลอบายมุข

บท...

-264บทที่ 4 สรุปการใช้จ่ายปีงบประมาณ 2565 งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ในปีงบประมาณ 2565 ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนคร ระยอง จำนวน 5 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 1,149,890บาท ใช้จ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 284,688 บาท คิด เป็นร้อยละ 24.76 และงบประมาณคงเหลือ 865,202 บาท คิดเป็นร้อยละ 75.24 และตั้งงบประมาณตามแผนสาธารณสุข งานบริการสาธารณสุขและงานสาธารณสุขอื่น ประจำปี งบประมาณ 2565 จำนวน 561,700 บาท ใช้จ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 373,614.10 บาท คิดเป็นร้อย ละ 66.51 และงบประมาณคงเหลือ 188,085.90 บาทคิดเป็นร้อยละ 33.49 รายละเอียดดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 รายงานการใช้จ่ายงบประมาณการดำเนินงานของงานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2565 แหล่งที่มาของงบประมาณที่ตั้งไว้ โครงการกิจกรรม/

เทศบัญญัติ (บาท)

กองทุน หลักประกัน

ใช้จ่ายจริง

คงเหลือ

(บาท)

(บาท)

สุขภาพฯ (บาท) 1. โ ครงการรณรงค์ ป ้ อ ง กั น โรคติดต่อนำโดยแมลง

-

67,000

50,510

16,490

2.โครงการรณรงค์ป้องกันควบคุม โรคเอดส์ แ ละโรคติ ด ต่ อ ทาง เพศสัมพันธ์

-

24,700

-

24,700

3.โครงการรั ก เราปลอดภั ย ใน เดือนแห่งความรัก

-

38,690

22,902

15,788

4.โครงการเฝ้าระวังป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ในโรงเรี ย นศู น ย์ พ ั ฒ นา เด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครระยอง ปีงบประมาณ 2565

-

200,000

199,300

700

5.โครงการเฝ้าระวังป้องกันและ ควบคุ ม โรคติ ด เชื ้ อ ไวรั ส โรนา 2019 (COVID-19) ในเข ต เทศบาลนครระยอง

-

819,500

11,976 807,524

(ยกเลิก โครงการ)

หมาย เหตุ

-265ตารางที่ 1 รายงานการใช้จ่ายงบประมาณการดำเนินงานตามโครงการกิจกรรม/ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แผนงานโครงการ/

แหล่งที่มาชองงบประมาณที่ตั้ง ไว้ เทศบัญญัติ (บาท)

กองทุน หลักประกัน

ใช้จ่ายจริง

คงเหลือ

(บาท)

(บาท)

สุขภาพฯ (บาท) 6. งบดำเนินการ (ค่าตอบแทน) 6.1 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอก เวลาราชการ

57,200

-

23,870

33,330

7.1 จ้างทำสื่อโฆษณาและเผยแพร่

30,000

-

29,980

20

7.2 ค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม

25,000

-

2,200

22,800

3,000

-

3,000

0.00

8.1 วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น

112,500

-

85,064.10

27,435.90

8.3 วัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์

300,000

-

199,600

100,400

8.4 วัสดุการเกษตร

14,000

-

13,900

100

8.5 วัสดุเครื่องแต่งกาย

20,000

-

16,000

4,000

รวมงบประมาณที่ตั้งไว้

561,700

1,149,890

658,302

1,053,288

1,711,590 บาท

(67.18)

(32.82)

(38.46)

(61.54)

การใช้จ่ายแยกงบประมาณ 658,302 บาท

373,614

284,688

คงเหลือแยกงบประมาณ

188085.90

865,202

7. ค่าใช้สอย (รายจ่ายเพื่อให้ได้ มาซึ่งบริการ)

8. ค่าวัสดุ 8.1 ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ

1053287.9 บาท งานป้องกัน...

หมาย เหตุ

-266งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ในปีงบประมาณ 2565 ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนคร ระยอง จำนวน 5 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 162,700 บาท ใช้จ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 57,925 บาท คิดเป็นร้อยละ 35.60 และงบประมาณคงเหลือ 104,775 บาท คิดเป็นร้อยละ 64.40 รายละเอียดดัง ตารางที่ 2 ตารางที่ 2 รายงานการใช้จ่ายงบประมาณการดำเนินงานตามโครงการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แหล่งที่มาของงบประมาณที่ตั้งไว้ โครงการกิจกรรม/

เทศบัญญัติ (บาท)

กองทุน หลักประกัน

ใช้จ่ายจริง

คงเหลือ

(บาท)

(บาท)

หมายเหตุ

สุขภาพฯ (บาท) 1.โครงการตรวจคัดกรองโรคตา ต้อกระจกในประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุ 45 ปีขึ้นไป

-

75,000

35,000

40,000

2.โครงการคนรุ่ น ใหม่ ห่างไกล อบายมุข

-

14,000

11,425

2,575

3.โครงการสุขภาพดีลดเสี่ย งลด โรค

-

10,000

-

10,000

ย ก เ ลิ ก โครงการ เนื่องจาก สถานการณ์ โควิด

4.โครงการนวดกดจุด หยุดบุหรี่

-

10,000

-

10,000

ย ก เ ลิ ก โครงการ เนื่องจาก สถานการณ์ โควิด

5.โครงการสุขภาพดีใน สวนสาธารณะ เขตเทศบาลนคร ระยอง

-

53,700

11,500

42,200

รวมงบประมาณที่ตั้งไว้ 162,700 บาท

-

162,700

57,925

104,775

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.