งานebook pdf Flipbook PDF


103 downloads 105 Views 4MB Size

Recommend Stories


Get Instant Access to ebook Magia Con Velas PDF at Our Huge Library MAGIA CON VELAS PDF. ==> Download: MAGIA CON VELAS PDF
Get Instant Access to eBook Magia Con Velas PDF at Our Huge Library MAGIA CON VELAS PDF ==> Download: MAGIA CON VELAS PDF MAGIA CON VELAS PDF - Are y

Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

Story Transcript

การเป็นแบบอย่างที่ดีและ เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

คำนำ ตำราเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่ อใช้เป็ นตำราประกอบการเรียนรายวิชา PC62501 คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและจิตวิญญาณ ความเป็ นครู ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงจากตำรา บทความ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะและเทคนิค การสอน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ อให้ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจน ประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งทางทฤษฎี และปฏิบัติ พร้อมทั้ง ยกตัวอย่างประกอบ เพื่ อให้เกิดความเข้าใจ ยิ่งขึ้น เนื้อหาของตำราเล่มนี้มีขอบเขต โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็ น 7 หัวข้อ ประกอบด้วย ความหมายของการ เป็ นแบบอย่างที่ดี ความ หมายของการเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง คุณลักษณะของ 9 ประการ ของครูที่ดี สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญที่มุ่งสร้างพลเมืองให้ เข้มแข็ง การปฏิบัติตนเป็ นแบบอย่างที่ดี วิธีการสร้าง พลเมืองที่ เข้มแข็ง และที่อุปสรรคของการเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง

22 มกราคม 2566



สารบัญ เรื่อง

หน้า

คำนำ



สารบัญ



ความหมายของการเป็ นแบบอย่างที่ดี

1

ความหมายของการเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง

2

คุณลักษณะของ 9 ประการของครูที่ดี

2

สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญที่มุ่งสร้าง พลเมืองให้เข้มแข็ง

4

การปฏิบัติตนเป็ นแบบอย่างที่ดี

11

วิธีการสร้างพลเมืองที่เข้มแข็ง

12

อุปสรรคของการเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง

14

บทสรุป

14

คำถามทบทวน

15

บรรณานุกรม



บทที่4

การเป็นแบบอย่างที่ดีและการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ความหมายของการเป็ นแบบอย่างที่ดี การปฏิบัติตนเป็ นแบบอย่างที่ดี หมายถึง การแสดงออก การประพฤติ และปฏิบัติในด้านบุคลิกภาพทั่วไป การแต่งกาย กิริยา วาจา และจริยธรรม ที่เหมาะสมกับความเป็ นครูอย่างสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใส ศรัทธา และถือเป็ นแบบอย่าง ระดับคุณภาพ

ระดับ 1 ปฏิบัติตนเป็ นแบบอย่างที่ดีในด้านต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ โดย พิ จารณาจาก 1.การแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะ 2.การใช้วาจาสุภาพ 3.มีความประพฤติเรียบร้อย 4.มีความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน 5.รับผิดชอบปฏิบัติงานอย่างขยันขันแข็ง ระดับ 2 ปฏิบัติตนเป็ นแบบอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ให้คำแนะนำและแก้ไขข้อ บกพร่องในลักษณะสร้างสรรค์ ตลอดจนสอดแทรกในกระบวนการเรียนการ สอน โดยพิ จารณาจาก 1.การให้คำแนะนำ 2.การเชิญชวนให้ปฏิบัติ 3.การแก้ไขข้อบกพร่อง 4.การสอดแทรกในกระบวนการเรียนการสอน ระดับ 3 ปฏิบัติตนเป็ นแบบอย่างที่ดีจนผู้เรียนเกิดศรัทธา และปฏิบัติตนตาม แบบอย่างที่เลือกสรรแล้วเป็ นปกตินิสัย โดยพิ จารณาจาก 1.เป็ นโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของครูในสถาน ศึกษา 2.เปิ ดโอกาสให้ผู้เรียนตัดสินใจเลือกพฤติกรรมของตนเอง 3.เสริมแรงทางบวกแก่ผู้เรียน 4.เผยแพร่วิธีการที่ถูกต้องในการสร้างคุณธรรม

ความหมายของการเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง การเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง หมายถึง การปฏิบัติตนอย่างรับผิดชอบใน ฐานะพลเมืองไทยและพลโลก รู้เคารพ สิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น เคารพใยกฎกติกาและกฎหมาย มีส่วนร่วมทางสังคมอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ร่วมกับผู้อื่นท่ามกลางความหลากหลาย เห็นคุณค่าของศักดิ์ศรีความเป็ น มนุษย์ มีบทบาทในการตัดสินใจและ สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดย ยึดมั่นในความเท่าเทียมเป็ นธรรม ค่านิยม ประชาธิปไตย และสันติวิธี องค์ประกอบ 1.พลเมืองรู้เคารพสิทธิ เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ตระหนักในสิทธิ เสรีภาพของตนเอง ช่วยเหลือ ให้ เกียรติ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่นบนพื้ นฐาน ของการพึ่ งพาอาศัยกัน โดยปราศจากอคติ ไม่เลือกปฏิบัติ เพื่ อการอยู่ร่วม กันอย่างสันติ 2.พลเมืองรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ ปฏิบัติตนตามกฎ กติกา ข้อตกลง กฎหมาย อย่างถูกต้องและ เหมาะสม รับผิดชอบบทบาทหน้าที่ตนเองใน ฐานะพลเมืองไทยและพลโลก 3.พลเมืองมีส่วนร่วมอย่างมีวิจารณญาณ ติดตามสถานการณ์และประเด็น ปัญหาของสังคมอย่างมี วิจารณญาณ มีส่วนร่วมทางสังคมด้วยจิต สาธารณะและสำนึกสากล 4.พลเมืองผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง มีความกระตือรือร้นในการสร้างการ เปลี่ยนแปลงเชิงบวกทางสังคม บนพื้ นฐานของความเท่าเทียมเป็ นธรรม ค่านิยม ประชาธิปไตย และสันติวิธี ความตระหนักในการเป็ น "พลเมือง" การมีจิตสำนึกร่วมในความเป็ นเจ้าของประเทศ สำนึกในสิทธิ หน้าที่ และ ความรับผิดชอบ ที่มีต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ เห็นแก่ ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ไม่เพิ กเฉยต่อประเด็น สาธารณะ ไม่มีใครเพิ กเฉยคิดว่าธุระไม่ใช่ หรือรอแต่จะรับความช่วยเหลือ จากรัฐบาลเท่านั้น แต่พร้อมที่จะมีส่วนช่วยเหลือสังคม ปกป้องอนุรักษ์ ฟื้ นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม มีความปรารถนามีส่วนร่วม รับผิดชอบ และเป็ นส่วนหนึ่งในการพั ฒนาประเทศ

คุณลักษณะของ 9 ประการของครูที่ดี DR. MARIA ORLANDO เป็ นผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์มหาวิทยาลัย ด้านการบริหารการศึกษา จากประสบการณ์และการพู ดคุยกับผู้บริหาร โรงเรียนมากมาย เธอพบว่าการเป็ นครูที่ดี จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับทักษะการ สอน ทัศนคติที่มีต่อนักเรียนและวิชาชีพครูมากกว่าความรู้ทางวิชาการเสียอีก เธอจึงได้สรุปลักษณะของครูที่ดีไว้เป็ นข้อๆ ดังนี้ 1.ครูที่ดีต้องให้เกียรตินักเรียน ครูที่ดีควรรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนอย่างจริงใจ เพื่ อให้นักเรียนรู้สึก

ปลอดภัยที่จะพู ดความรู้สึกของ ตนเอง ในขณะเดียวกันก็เป็ นการสอนให้เด็กๆ รู้จักฟังความเห็นของคนอื่นด้วย ครูเช่นนี้จะสร้างบรรยากาศน่า เรียนรู้ให้กับ

ห้องเรียน 2.ให้นักเรียนผูกพั นและรู้สึกเป็ นส่วนหนึ่งของห้องเรียน ค รู ที่ จ ะ ส ร้ า ง ห้ อ ง เ รี ย น ที่ ป ร ะ ห นึ่ ง ชุ ม ช น เ ล็ ก ๆ ที่ มี ก า ร ช่ ว ย เ ห ลื อ เ กื้ อ กู ล แ ล ะ ร่ ว ม มื อ กั น ใ น ชุ ม ช น นี้ มี ก ฎ ร ะ เ บี ย บ ที่ ต้ อ ง เ ค า ร พ แ ล ะ มี ห น้ า ที่ ที่ แ ต่ ล ะ ค น ต้ อ ง ทำ นั ก เ รี ย น แ ต่ ล ะ ค น จ ะ รู้ สึ ก ว่ า ต น เ ป็ น ส่ ว น ป ร ะ ก อ บ ที่ สำ คั ญ ข อ ง ห้ อ ง เ รี ย น ซึ่ ง จ ะ ทำ ใ ห้ เ ด็ ก ๆ รู้ ว่ า น อ ก จ า ก ค รู แ ล้ ว พ ว ก เ ข า ยั ง มี เ พื่ อ น ๆ ที่ จ ะ พึ่ ง พ า อ า ศั ย กั น ไ ด้ ต ล อ ด เ ว ล า 3.มีความอารี กระตือรือร้น และเอาใจใส่ ครูที่ดีจะเปิ ดกว้างกับทุกคน ไม่ว่าจะเป็ นนักเรียนหรือเพื่ อนร่วมงาน ครูเช่น นี้จะเป็ นคนที่นักเรียนรู้ว่าสามารถ มาหาได้เมื่อพวกเขามีปัญหา หรือแม้แต่จะ มาเล่าเรื่องตลกให้ฟังเฉยๆ ก็ตาม พวกเขาจะเป็ นผู้ฟังที่ดี และ สามารถสละ เวลาอันยุ่งเหยิงมาให้คนที่กำลังเดือดร้อนได้เสมอ ถ้าครูมีปัญหาส่วนตัว นักเรียนจะดูไม่ออกเลย เพราะครูเหล่านี้จะเก็บปัญหาส่วนตัวไว้นอกโรงเรียน เสมอ 4.เชื่อมั่นในศักยภาพของนักเรียนทุกคน ครูคนนี้จะรู้ว่าความหวังของครูที่มีต่อนักเรียนส่งผลต่อความสำเร็จของ นักเรียนเสมอ ยิ่งครูคาดหวัง เชื่อมั่น ในศักยภาพของนักเรียนมากเท่าไหร่ นักเรียนก็มักจะประสบความสำเร็จในการเรียนมากขึ้น

7.สามารถพลิกแพลงได้ การสอนบางวิธีอาจใช้ไม่ได้ผลอย่างที่คิด ครูจึงต้องมีความยืดหยุ่นและ ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนได้ โดยการ ประเมินการสอนของตัวเองตลอดคาบ เรียน และค้นหาวิธีใหม่ๆ สื่อการสอนใหม่ๆ มาอธิบาย จนแน่ใจว่า นักเรียน ทุกคนเข้าใจคอนเซปต์ของบทเรียน 8.ทำงานร่วมกับเพื่ อนร่วมงานได้ ไม่อายที่จะถามความเห็นและขอความช่วยเหลือจากครูคนอื่น ครูเช่นนี้จะ มองการร่วมมือว่าเป็ นการเรียนรู้จากเพื่ อนร่วมสายอาชีพเดียวกัน พวกเขา รู้จักที่จะใช้คำวิจารณ์และคำแนะนำที่ได้มาในการพั ฒนาตัวเองต่อไป 9.มีความเป็ นมืออาชีพตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็ นรูปลักษณ์การแต่งกายไปจนถึงทักษะการจัดการและการเตรียม พร้อมในแต่ละวัน ทักษะการพู ด การเจรจาต้องเป็ นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น ไม่ ว่าจะเป็ นการพู ดกับผู้บังคับบัญชา นักเรียน หรือเพื่ อนร่วมงาน พวกเขาจะ เป็ นที่เคารพของคนรอบข้างเพราะบุคลิกที่เป็ นมืออาชีพ

สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญที่มุ่งสร้างพลเมืองให้เข้ม แข็ง

1.การประกันและปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมือง จุดเด่นสำคัญ คือ การเพิ่ มและขยายสิทธิเสรีภาพของพลเมืองมากขึ้นกว่า รัฐธรรมนูญที่ผ่านมา การให้พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพในด้านต่าง ๆ อย่าง ชัดเจนทำให้เกิดการคุ้มครองและโอกาสที่จะเข้าถึงการพั ฒนาเท่า เทียมกัน ของพลเมือง โดยสรุปเนื้อหาเป็ นประเด็นสำคัญ ดังนี้ บุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็ นมนุษย์ มีเสรีภาพที่จะกระทำการใดและย่อม ใช้เสรีภาพของตนได้ การ จำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญ รับรองไว้จะกระทำมิได้(มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓) บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมี สิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติตามความแตกต่างของถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ เพศสภาพ อายุ ความพิ การ สภาพการ สุขภาพสถานะ ของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา อบรม ความคิดเห็น ทางการเมือง (มาตรา ๓๔)



สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ลงโทษอย่างโหดร้าย การ จับและคุมขัง การค้นตัวกระทำ ไม่ได้ เว้นทำตามกฎหมาย (มาตรา ๓๖ และ มาตรา ๓๗) สิทธิในครอบครัว และของบุคคลในการสมรส การคุ้มครองสิทธิใน เกียรติยศชื่อเสียง ข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา ๓๘) ครอบครัวมีสิทธิได้รับ ความคุ้มครองและช่วยเหลือจากรัฐให้อยู่ร่วมกันอย่างปึ กแผ่นและเป็ นสุขมี มาตรฐานการดำรงชีวิต มีปัจจัยสี่ ทั้ง มารดาและเด็กในครรภ์ เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุผู้พิ การ ทุพพลภาพ (มาตรา ๔๖) เสรีภาพในเคหสถาน การคุ้มครองในการอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดย ปกติสุข (มาตรา ๓๙) สิทธิในทรัพย์สิน การสืบมรดก การเว้นคืน อสังหาริมทรัพย์ ต้องระบุวัตถุประสงค์ ชัดเจนและมีการชดเชยที่เป็นธรรมเหมาะ สม (มาตรา ๔๓) เสรีภาพในการสื่อสาร การแสดงความคิดเห็น และการเผยแพร่ความคิด เห็น (มาตรา ๔๐ และมาตรา ๔๒) คุ้มครองเสรีภาพของสื่อมวลชนเพื่ อให้ ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและรอบด้าน (มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙) สิทธิของพลเมืองในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ (มาตรา ๖๑) พลเมืองมีเสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่ (มาตรา ๔๗) สิทธิเท่าเทียมของพลเมืองได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และหลากหลาย (มาตรา ๕๒) สิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็ นองค์กร สมาคม สหภาพสหพั นธ์ สหกรณ์ องค์กร เอกชน ฯลฯ (มาตรา ๕๔) พลเมืองมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่าง สงบ (มาตรา ๕๓) มีเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองหรือ กลุ่ม การเมือง (มาตรา ๕๕) เสรีภาพการประกอบกิจการ อาชีพหรือวิชาชีพ ไม่ก่อให้เกิดการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค (มาตรา ๕๖) สิทธิที่จะได้ค่าจ้างที่เป็ นธรรมมีหลัก ประกันความปลอดภัย สวัสดิภาพ การดำรงชีวิต (มาตรา ๕๗) สิทธิพลเมืองด้านสาธารณสุข ได้รับบริการที่เหมาะสมทั่วถึงอยู่ในสิ่ง แวดล้อมที่ดี มีข้อมูล (มาตรา ๕๘) พลเมืองมีสิทธิเข้าถึงและได้รับบริการสาธารณะของรัฐอย่างทั่วถึงและเท่า เทียม (มาตรา ๕๙ และ มาตรา ๙๑)

พลเมืองมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และมีส่วนร่วมในกระบวนพิ จารณา อันมีผลต่อ สิทธิเสรีภาพของ ตน มีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจงก่อนการดำเนิน โครงการที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใด และมีสิทธิแสดงความคิดเห็น รัฐต้องฟังความคิดเห็นของประชาชน ในการ วางแผนพั ฒนา การ กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ที่อาจมีผลกระทบ (มาตรา ๖๒) พลเมืองมีสิทธิรับรู้ และแสดงความคิดเห็นเพื่ อ ประกอบการทำนโยบาย สาธารณะกฎหมายและโครงการที่จะมีผลกระทบ (มาตรา ๖๕) พลเมืองมีสิทธิร่วมกับชุมชนในการปกป้อง ฟื้ นฟู อนุรักษ์ สืบสานและ พั ฒนา ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาอัน ดีงามร่วมบำรุงรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกับชุมชนและ ท้องถิ่น โครงการที่เกิดผลต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ต้องมีการประเมินผลกระทบ (มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๔)



2.การสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ชุมชนเป็ นสิ่งที่เชื่อมโยง ปัจเจกชนพลเมืองเข้าด้วยกัน สร้างจุดหมาย แนวทางและการจัดการสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน เป็ นพื้ นที่ ปกป้อง หล่อหลอม ส่ง เสริมแก้ปัญหา การพั ฒนาและจัดการร่วมกันของพลเมือง เกิด แนวทาง แนวคิด และวัฒนธรรมของกลุ่มที่ช่วยให้พลเมืองได้เรียนรู้ เข้าถึงสิทธิต่าง ๆ และเป็ นเกราะป้องกัน พลเมือง และระบบครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง ชุมชนเป็ นระบบสวัสดิการพื้ นฐานในการช่วยเหลือดูแลสมาชิก และผู้คนใน ชุมชน เป็ นโครงสร้างพื้ นฐานของพลเมืองในการอยู่ร่วมกันในสังคมไทย ทั้ง ชุมชนสังคม เกษตรกรรมที่ต้องพึ่ งพากันหรือแม้แต่ในชุมชนเมืองสมัยใหม่ การส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งมีบทบาทการพั ฒนาต่าง ๆ เท่ากับเป็ นการ สร้างโอกาสให้พลเมืองมีความ เข้มแข็ง สามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ ของปัจเจกบุคคลและส่วนรวมต่าง ๆ มีพลังร่วม พลังที่สามารถ ต่อรอง สามารถเข้าถึงสิทธิและการมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ



ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับสิทธิ รวมถึงการสร้างคุณภาพ ความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของ ชุมชนไว้เป็ นอย่างมาก มากที่สุดเท่าที่ เคยมีรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นในประเทศไทย ที่สำคัญ เช่น มาตรา ๘๓ แนวนโยบายพื้ นฐานแห่งรัฐ : รัฐต้องส่งเสริมความเข้มแข็ง ของชุมชน ท้องถิ่น 1.)มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย แผน งบประมาณในการพั ฒนาท้อง ถิ่น 2.)สงวน ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 3.)คุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ทางเศรษฐกิจ สังคมและความรู้รัก สามัคคีของคนในชุมชน และกับชุมชน อื่น 4.)ส่งเสริมและรักษาขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอันดี งามของชุมชน ท้องถิ่นและของชาติ 5.)คุ้มครองชนพื้ นเมืองและชนชาติพั นธุ์ให้ดำรงอัตลักษณ์ของตนอย่างมี ศักดิ์ศรี

ให้องค์การบริหารท้องถิ่น ชุมชน และเอกชน มีส่วนร่วมกับรัฐในการ คุ้มครองและพั ฒนาเด็กและเยาวชน ให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา คุณธรรมและจริยธรรม สร้างความเป็ นปึ กแผ่นของสถาบัน ครอบครัวจัดสวัสดิการให้คนทุกกลุ่มเพื่ อให้สามารถพึ่ งตนเอง (มาตรา ๘๕) รัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่น องค์กรบริหารท้องถิ่นเข้ามามี ส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมืองเพื่ อการ พั ฒนาเมืองและชนบทอย่างบูรณาการ และการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม ยั่งยืนและเป็ นธรรม (มาตรา ๙๒) พั ฒนาระบบสุขภาพที่ให้ความสำคัญ ต่อ การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เน้น พื้ นฐานที่เป็ นฐานและมีประชาชนเป็ น ศูนย์กลางเพื่ อนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนโดยให้ชุมชนและองค์กรบริหาร ท้อง ถิ่นมีส่วนร่วม (มาตรา ๒๙๔ การปฏิรูประบบสาธารณสุข)

รัฐต้องสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน องค์การบริหาร ท้องถิ่นและเอกชน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและ การผลิตพลังงานเพื่ อใช้เองและเพื่ อจำหน่ายด้วย (มาตรา ๙๓) ส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน และองค์การบริหารท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วม ในการ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมใน ทุกมิติ เพื่ อเป็ นรากฐานเอกลักษณ์ของ ชาติและท้องถิ่น และเพิ่ มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม (มาตรา ๙๔) ดำเนินการให้ประชาชนและองค์กรชุมชนมีความเท่าเทียมเชิงโอกาส มี ความรู้ พื้ นฐานการเงิน เข้าถึง บริการทางการเงินในรูปแบบกองทุนการ ออมชุมชน สหกรณ์ชุมชน ธนาคาร ตลาดทุน หรือรูปแบบอื่นจัดสรร งบ พั ฒนาพิ เศษเพิ่ มเติมเพื่ อพั ฒนาพื้ นที่ยากจนและกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เพื่ อให้ ชุมชนเข้มแข็งและลดความ เหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ (มาตรา ๒๙๒ เรื่อง การปฏิรูปเศรษฐกิจมหภาค) ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจสังคม สินค้า จากภูมิปัญญาชุมชนระบบสหกรณ์ (มาตรา ๘๘) ปฏิรูปกฎหมาย กฎ กติกาต่าง ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้ม แข็ง มีสิทธิที่จะดูแลจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและทุนชุมชนต่าง ๆ จัดทำ บริการสาธารณะและจัดสวัสดิการให้คนในชุมชน ปฏิรูประบบ สวัสดิการ สังคมโดยเน้นครอบครัวและชุมชนเป็ นฐาน มีระบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมเพื่ อ ขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็ นธรรมและทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ดี (มาตรา ๒๙๕ การปฏิรูปสังคม) การจัดทำบริการสาธารณะใดที่ชุมชน หรือบุคคลสามารถดำเนินการได้โดย มีมาตรฐาน คุณภาพและ ประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าองค์กรบริหารท้องถิ่นรัฐ หรือองค์กรบริหารท้องถิ่น ต้องกระจายภารกิจดังกล่าวให้ชุมชนหรือบุคคล ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสม (มาตรา ๒๑๑)

3.การกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการบริหารท้องถิ่น การกระจายอำนาจและบริหารท้องถิ่นเป็ นเรื่องที่มีความสำคัญ เนื่องจาก องค์กรท้องถิ่นเป็ นหน่วยงานรัฐที่ใกล้ชิดกับประชาชนและควรเป็ นอำนาจใน การจัดการตนเองและการพั ฒนาต่าง ๆ ในพื้ นที่ของพลเมืองให้มาก ที่สุดเนื่องจากระบบบริหารจัดการของไทยมีการรวมศูนย์อำนาจจัดการสู่ส่วน กลางโดยระบบ การเมือง ระดับชาติและหน่วยราชการกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆองค์กรท้องถิ่นและประชาชน พลเมืองในพื้ นที่จึงไม่มีอำนาจและไม่ สามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทั้งดิน ป่า น้ำ แร่ธาตุ รวมทั้งมีเศรษฐกิจระบบ การเงินการคลัง งบประมาณเพื่ อการพั ฒนาพื้ นที่ อย่างเพี ยงพอ ดังนั้น การที่องค์กรท้องถิ่นจะต้องมีความ เข้มแข็ง มี บทบาทหน้าที่ในการบริหารท้องถิ่นร่วมกับประชาชน พลเมืองในท้องถิ่นเอง ให้มากที่สุดเพื่ อทำให้พลเมืองมีบทบาทมีความเข้มแข็งไปด้วยจึงเป็ นเรื่องที่มี ความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็ นพื้ นฐานสำคัญของการทำ ให้พลเมืองเข้มแข็ง มีคุณภาพ และพึ่ งตนเองได้ ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปนี้ได้ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจเพื่ อ สร้างพลเมืองที่มีส่วนร่วมและมีความเข้มแข็งเป็ นอย่างมาก ดังจะยกประเด็น สำคัญเกี่ยวข้อง ดังนี้ รัฐต้องให้ความเป็ นอิสระแก่องค์กรบริหารท้องถิ่น (เปลี่ยนจากคำว่า ปกครองท้องถิ่น) ตามหลักแห่ง การปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของ ประชาชนในท้องถิ่นโดยให้มีรูปแบบ องค์กรบริหารท้องถิ่นที่หลากหลาย เหมาะสมกับการบริหารจัดการตามภูมิสังคมแต่ละพื้ นที่ รวมทั้งต้องกระจาย อำนาจหน้าที่และ ความรับผิดชอบ และต้องส่งเสริมให้องค์กรท้องถิ่นเป็ น หน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ ตลอดจน ให้ประชาชนมีส่วน ร่วมในการตัดสินใจแก้ปัญหาในพื้ นที่ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ (มาตรา ๒๑๑) องค์กรบริหารท้องถิ่นซึ่งเป็ นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ และสร้างความมั่นคงและ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสังคมเพื่ อประโยชน์ ของประชาชนในท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่ของตนเอง โดยเฉพาะ โดยอย่าง น้อยต้องมีอำนาจหน้าที่ในด้านการพั ฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้อง ถิ่น การ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพั ฒนาเศรษฐกิจพื้ นฐาน การ พั ฒนาอบรม และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น (มาตรา ๒๑๒)

ประชาชนหรือชุมชนย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์กร บริหารท้องถิ่น ในการกำหนด รูปแบบขององค์กรบริหารท้องถิ่นการ เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองท้องถิ่น การบริหารงานท้องถิ่น การออก เสียงประชามติระดับท้องถิ่น การตรวจสอบการดำเนินงาน การถอดถอน สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหาร ท้องถิ่น หรือการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น องค์กรบริหารท้องถิ่นมีหน้าที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนโดย อย่างน้อยต้องเปิ ดเผยข้อมูลข่าวสาร รายงานผลการดำเนินงาน และ รายงานงบการเงินและสถานการณ์การคลังท้องถิ่นให้ประชาชนทราบ ส่ง เสริม สมัชชาพลเมือง รวมทั้งต้องจัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจในการ ดำเนินงานที่มีผลกระทบต่อประชาชน ให้มีการปฏิรูปด้านการเงิน การคลัง และภาษีอากร โดยจัดระบบภาษีเป็ น สองระดับ คือ ระดับชาติและระดับท้องถิ่น และดำเนินการให้องค์กรบริหาร ท้องถิ่นมีรายได้ที่จำเป็ นแก่การใช้จ่ายของท้องถิ่น (มาตรา ๒๘๓) มาตรา ๒๘๕ เรื่องการปฏิรูป : ให้มีการปฏิรูปด้านการบริหารท้องถิ่น โดย 1.)ตรากฎหมายและจัดให้มีกลไกที่จำเป็ นสำหรับการจัดตั้งองค์กรบริหาร ท้องถิ่นเต็มพื้ นที่จังหวัดให้ สมบูรณ์ภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ และดำเนินการจัดตั้งองค์กรบริหารท้องถิ่นขึ้น ในพื้ นที่ที่มี ความพร้อมและเหมาะสมโดยเร็ว 2.)ให้มีคณะกรรมการกระจายอำนาจ เพื่ อขับเคลื่อนการกระจายอำนาจให้ เป็ นผลสำเร็จ



4.สมัชชาพลเมือง สมัชชาพลเมืองเป็ นเรื่องที่มีความสำคัญมากเรื่องหนึ่งที่จะช่วยสร้างพื้ นที่ และกลไกการมีส่วนร่วมของภาค พลเมืองที่กว้างขวาง เป็ นไปตามพลวัตร ของภาคพลเมืองเอง มีความหลากหลายตามความแตกต่างของแต่ละ ภูมิ สังคมและสามารถดำเนินการครอบคลุมทุกพื้ นที่เพื่ อเป็ นเวทีการเชื่อมโยง กลุ่มองค์กรที่มีอยู่ในพื้ นที่สู่การ เรียนรู้และการทำงานร่วมกัน สร้างความ สมานฉันท์ของภาคพลเมืองกลุ่มต่าง ๆ ในพื้ นที่ เพื่ อให้เกิดความ เข้มแข็ง และประสิทธิภาพในการพั ฒนาพื้ นที่ เศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม ทรัพยากร คุณภาพของคนชุมชนและ ท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานที่มีอยู่ และเพื่ อสร้าง ความเข้มแข็งของภาคพลเมืองเอง ในวรรคที่สอง สาม และสี่ ในมาตรา ๒๑๕ หมวด ๖ ของร่าง รัฐธรรมนูญ เรื่องการกระจายอำนาจและการ บริหารท้องถิ่น ได้กำหนด เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสมัชชาพลเมือง ดังนี้ “องค์กรบริหารท้องถิ่นมีหน้าที่ ต้องส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชน... ส่งเสริมสมัชชาพลเมือง รวม ทั้งต้องจัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจในการ ดำเนินงานที่มีผลกระทบ ต่อประชาชน เพื่ อประโยชน์ในการมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรานี้ พลเมืองอาจ รวมตัวกันเป็ นสมัชชาพลเมืองซึ่งประกอบด้วย สมาชิกที่มา จากองค์ประกอบที่หลากหลายจากพลเมืองใน ท้องถิ่นและมีความเหมาะสม กับภูมิสังคมของแต่ละพื้ นที่ มีภารกิจในการร่วมกับองค์การบริหารท้องถิ่น” 5.การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้พั ฒนาสาระเรื่องการร่วมตรวจสอบโดยพลเมืองใน รูปแบบต่าง ๆ อย่างมาก การที่ประชาชนพลเมืองมีส่วนร่วมในการตรวจ สอบนอกจากจะทำให้เกิดการตื่นรู้เฝ้าระวังในความถูกต้องของการ ดำเนิน โครงการต่างๆ แล้วยังทำให้พลเมืองเกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องงบ ประมาณ เกิดความรู้สึกเป็ นเจ้าของ และเรื่องการตรวจสอบโดยประชาชน

6.พลเมืองมีสิทธิเสนอกฎหมายและถอดถอนนักการเมืองได้โดยตรง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เพิ่ มสิทธิของภาคพลเมืองในการเสนอ กฎหมายและถอดถอนนักการเมืองได้โดยตรง เพิ่ มเติมจากรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ เพื่ อให้ภาคพลเมืองสามารถเป็ นผู้ริเริ่มเสนอกฎหมายที่มีความ สำคัญสู่การ พิ จารณาของรัฐสภาได้โดยตรง ไม่ต้องรอกลไกทางการ เมืองผูกขาดการทำหน้าที่นี้เพี ยงอย่างเดียว ทำให้เรื่อง การเสนอกฎหมายเป็ นเรื่องที่เปิ ดกว้างของประชาชนอย่างแท้จริงเช่น เดียวกับเรื่องการถอดถอนนักการเมืองทั้ง ระดับชาติและระดับท้องถิ่น เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในรัฐธรรมนูญ มีดังนี้ พลเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนย่อมมีสิทธิร่วมเข้าชื่อกัน เสนอร่างกฎหมายโดย หน่วยงานต้องให้ความสนับสนุน และพลเมืองที่ เสนอมีสิทธิชี้แจงและร่วมเป็ นกรรมาธิการพิ จารณาจำนวนไม่น้อยกว่า หนึ่งในสาม

พลเมืองมีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อ ร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่ อให้รัฐสภามีมติให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองหรือตำแหน่งอื่น หรือตัดสิทธิทางการเมือง หรือสิทธิใน การ ดำรงตำแหน่งอื่นตามมาตรา ๒๕๓ โดยต้องระบุพฤติกรรมที่กล่าวหาให้ ชัดเจน (มาตรา ๗๒ ) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนมีสิทธิเข้าชื่อ ร้องขอให้ถอดถอนบุคคลตามมาตรา ๕๓ คือ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และการบริหารที่มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อ ว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งราชการและบทบัญญัติตามกฎหมาย หรือผิด จริยธรรมร้ายแรง ออกจากตำแหน่งได้

7.พลเมืองมีสิทธิในการเลือกและส่งตัวแทนเป็ นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ในส่วนที่เกี่ยวกับการเมืองระดับชาติซึ่งโดยปกติพลเมืองทั่วไปจะมีโอกาส เข้าถึงได้น้อย ส่วน ใหญ่เป็ นได้เพี ยง ผู้ลงคะแนนเลือกตั้งหรือสมาชิก พรรคการเมืองเท่านั้น แต่ในร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้เปิ ดโอกาสให้ภาคพลเมือง สามารถมีโอกาสเลือกมากขึ้น และสร้างกลุ่มการเมือง รวมทั้งเลือกตัวแทน กลุ่มอาชีพเป็ นสมาชิกวุฒิสภาได้โดยตรง

การที่ร่างรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาสร้างพลเมืองให้เป็ นใหญ่ดังกล่าวจะทำให้ ภาคพลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้เกิดความเข้มแข็ง เท่าเทียมเป็ นธรรม ในการพั ฒนาด้านต่าง ๆ มากขึ้นและเป็ นเนื้อหา สำคัญที่ จะนำไปสู่การสร้างดุลยภาพใหม่ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพมั่นคง สร้างสรรค์ และกระจายการมีส่วน ร่วมการพั ฒนาและจัดการอย่างทั่วถึง สู่พื้ นที่ท้องถิ่นและประชาชนอย่างแท้จริงมากขึ้น

การปฏิบัติตนเป็ นแบบอย่างที่ดี

การปฏิบัติตนเป็ นแบบอย่างที่ดี หมายถึง การแสดงออก การประพฤติ และปฏิบัติในด้านบุคลิกภาพทั่วไป การแต่งกาย กิริยา วาจา และจริยธรรม ที่เหมาะสมกับความเป็ นครูอย่างสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใส ศรัทธา และถือเป็ นแบบอย่าง

1. ความอุตสาหะ ขยัน อดทน มุ่งมั่นและรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของ งานโดยยึดหลักประหยัด คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทั้งงานในด้านการสอน งานตามคำสั่งที่ได้รับมอบ หมาย ด้วยความ อุตสาหะ ขยัน อดทน มุ่ง มั่นและรับผิดชอบงานสอน อย่างเต็มความรู้ ความสามารถ ดูแล เอาใจใส่นักเรียนใน ด้านการเรียน และความประพฤติให้นักเรียนเป็ นผู้ที่มีความรู้ ความประพฤติที่ดี สามารถอยู่ ในสังคมได้อย่างมีความสุข รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างตั้งใจให้ เสร็จทันเวลา พร้อมทั้งประพฤติ ปฏิบัติตนอย่างเรียบ ง่าย และประหยัด โดยใช้ทรัพยากรในหน่วยงานอย่างประหยัดและคุ้มค่าช่วยลดค่าใช้จ่ายใน โรงเรียนด้วยการ ปิ ดน้ำปิ ดไฟทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน รวมถึงการรณรงค์และ ปลูกจิตสำนึกนักเรียนในการช่วยกันประหยัดน้ำ ประหยัดไฟฟ้าทุกครั้งก่อน ออกจากห้องเรียน หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่ใช้น้ำ หรือไฟ เสร็จ เช่น การจัด ทำสติกเก อร์รณรงค์ประหยัดไฟไปติดในทุกห้องเรียน และห้องพั กครู

2.การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความศรัทธาและปฏิบัติตนตามหลัก ศาสนา ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในหลักของพุ ทธศาสนา หลีกเลี่ยงอบายมุขทุกชนิด ปฏิบัติตนเป็ น แบบอย่างที่ดีต่อเพื่ อนร่วมงานและนักเรียน รวมทั้งการเข้า ร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางพุ ทธศาสนา การทำบุญตักบาตร ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็ นนิสัย แนะนำตักเตือนผู้ร่วมงาน และนักเรียนให้หลีกเลี่ยงอบายมุข ทุกชนิด ปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรมต่อเพื่ อนร่วมงานและนักเรียนเสมอ

การกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็ น 3.การยึดมั่นในหลักนิติธรรม ยืนหยัด ธรรม และชอบด้วยกฎหมาย ประพฤติปฏิบัติตน กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม ชอบด้วยกฎหมาย โดยการไม่กระทำในสิ่ง ที่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ประเพณีและ วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ช่วยรักษาและทะนุบำรุงพุ ทธ ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม ตามสมควร ให้ความสำคัญในการดูแล อบรมสั่ง สอนนักเรียนในการประพฤติปฏิบัติตนเป็ นคนดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด การกระทำผิดกฎหมาย สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ร่วมรณรงค์ ส่งเสริมให้และความรู้ ในกิจกรรมรณรงค์วันต่อต้านยาเสพติด กิจกรรม อนุรักษ์พลังงานที่โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัด

4.การยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็ นประมุข และวางตัว เป็ นกลางทางการเมือง ข้าพเจ้าได้ประพฤติปฏิบัติตน ในการใช้สิทธิและหน้าที่ตามระบอบ ประชาธิปไตย โดยการ ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งต่างๆ ที่เรามีสิทธิในการ เลือกตั้ง ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็ นการเลือกตั้ง สมาชิกผู้แทนราษฎร สมาชิก องค์การบริหารส่วนตำบล การเลือกตั้งครู หรือตัวแทนครูในการเข้าไปทำ หน้าที่ หรือหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเช่น ให้ความร่วมมือกับทาง คณะกรรมการ สำนักงาน เลือกตั้ง โดยได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้งถึง 5 ครั้ง และเป็ นกรรมการ นับคะแนน 3 จนกระทั่งคณะกรรมการสำนักงาน เลือกตั้งได้มอบเกียรติบัตรในระดับโรงเรียนได้ให้ความร่วมมือ ในการเลือก ตั้งสภานักเรียน หรือแม้แต่การเลือกหัวหน้าห้องเรียนในที่ปรึกษา โดยวางตัว เป็ นกลาง และยึดถือ ระบอบระชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็ นประมุข



5.การมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนและชุมชนในการการอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทย และสิ่ง แวดล้อม โดยการ เข้าร่วมกิจกรรมแห่เทียนพรรษา ประจำปี ของชุมชน กิจกรรมวันลอยกระทง กิจกรรมวันพ่ อ วันแม่แห่งชาติ และกิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน ที่โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลและ ชุมชนร่วมกันจัด เพื่ อเป็ นการ ส่งเสริมและช่วยกันรักษาประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามร่วมทั้งปลูกจิตสำนึกที่ดีกับนักเรียนในการดูแลรักษา สิ่งแวดล้อมในชุมชนและท้องถิ่น และยังร่วมขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้าง การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทาง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น

วิธีการสร้างพลเมืองที่เข้มแข็ง

1.เสริมสร้างแรงบันดาลใจ เพื่ อให้มีชีวิตอยู่อย่างมีเป้าหมาย เปลี่ยนจาก การเรียนรู้แบบเฉื่อยชา เป็ นการ เรียนรู้แบบกระตือรือร้น หรือ การ เปลี่ยนจากการเรียนแบบภาคบังคับ เป็ นการเรียนรู้ด้วยความอยาก รู้ และระบบการศึกษาแบบเดิมจะต้องเปลี่ยนให้เหมาะกับเฉพาะบุคคล 2.บ่มเพราะความคิดสร้างสรรค์ หยุดการใช้แนวคิดในการใช้กรอบเข้ามา ควบคุม สนับสนุนให้มีการ ทำงานนอกห้องเรียน มีสิทธิที่จะเห็นต่าง คิด ต่าง และทำต่างจากผู้อื่น 3.ปลูกฝังจิตสาธารณะ ด้วยการฝึ กเด็กให้รู้จักการพึ่ งพาตนเองเป็ น สำคัญ ให้มีความซื่อสัตย์ มีวินัยต่อ ตนเอง มีคุณธรรมและจริยธรรม มี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนและสังคม 4.มุ่งเน้นการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เปลี่ยนการเรียนรู้เชิงทฤษฎีให้ เป็ นการวิเคราะห์ เพื่ อที่จะใช้ในการ แก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เปลี่ยน แนวคิดการเรียนเพื่ อวุฒิการศึกษา เป็ นการเรียนเพื่ อนำไปประกอบ อาชีพ



สภาพแวดล้อมที่ดี คือ… สภาพแวดล้อมที่เป็ นกัลยาณมิตร ปรารถนาดีต่อกัน ให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ซึ่งพ่ อแม่มักเข้าใจผิด คิดว่า การเป็ นกัลยาณมิตรกับลูกคือการ ต้องพยายามให้สิ่งที่ดีสำหรับลูก ช่วยเหลือลูกทุกอย่าง ในความเป็ นจริง แล้ว เป็ นการทำร้ายลูกมากกว่า เพราะทำให้เด็กไม่รู้จักตัวเอง พ่ อแม่และ ครูควรเป็ นสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กได้รู้จัก ตัวเอง รู้จักกำกับควบคุมตัวเอง ให้เด็กได้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย สอนเรื่องอารมณ์และการควบคุม อารมณ์ อย่างเข้าใจและมีเมตตา ไม่ใช่ด้วยการบังคับเคี่ยวเข็ญ หรือทำให้ ลูกทุกอย่าง สภาพแวดล้อมที่เป็ นวิถี คงเส้นคงวา ทำซ้ำๆ ทำทุกวัน จึงจะหล่อหลอม คุณลักษณะที่ดีต่างๆ และมีผล ทางด้านความมั่นคงทางจิตใจของเด็ก เพราะเด็กคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่ไม่ใช่ด้วยการบังคับ อุปสรรคของการเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง บ้านเรายังเป็ นประเทศที่มีประชาชนยากจนอยู่เยอะ เราจะเข้าสู่ยุคสังคม พลเมืองเข้มแข็งไม่ได้หากไม่กำจัด วงจรแห่งความยากจนเหล่านี้เสียก่อน โดยเราสามารถแก้ไขปัญหาให้คนไทยสามารถพั ฒนาตนเองได้ดังนี้ ได้แก่ การเติมเต็ม (REFILL) ให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มประชาชนที่ขาดรายได้จาก การไม่มีอาชีพ และ การปฏิรูป (REFORM) เป็ นการพั ฒนาไปสู่คุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น โดยเน้นการพั ฒนาทักษะให้เกิดความเท่าเทียมทางสังคม สิ่ง ที่ จะช่วยให้ทั้งสองอย่างสัมฤทธิ์ผลต้องอาศัยนโยบายเป็ นแรงสนับสนุนดังนี้ 1.นโยบายในการสร้างภูมิคุ้มกัน เพิ่ มพู นความรู้ในการประกอบอาชีพ ให้ สามารถนำไปต่อยอดทำรายได้ ในชุมชน ออกมาตรการในการคุ้มครอง คุณภาพชีวิตประชาชน รักษาระดับค่าครองชีพให้มีความ เหมาะสม ลด ความเสี่ยงในการกู้หนี้ยืมสิน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่กำลังเป็ นปัญหาใหญ่ ใน สังคมไทย



พลเมืองเข้มแข็งเริ่มจากรู้จักตัวเอง กำกับควบคุมตัวเองได้ เด็กที่เข้มแข็งเป็ นเด็กที่รู้จักตัวเองดี และ “เพราะรู้จักตัวเอง จึงรักตัว เอง” เห็นคุณค่าในตัวเอง เมื่อรู้จัก ตัวเอง ไม่ว่าในแง่บวกหรือแง่ลบ SELF หรือตัวตนจะแข็งแรง ถ้าเด็กไม่มี SELF-AWARENESS หรือรู้จัก ตัวเองมา ตั้งแต่ปฐมวัย เมื่อมาถึงชั้นประถม จะไม่สามารถสร้าง SELFESTEEM ให้เกิดขึ้นได้ เพราะเด็กยังไม่รู้จัก ไม่เห็น คุณค่าตัวเอง ไม่ศรัทธา ไม่เคารพตัวเอง SELF-AWARENESS กับ SOCIAL-AWARENESS หรือจิตสำนึกทาง สังคม จะพั ฒนาไปด้วยกัน เพราะถ้า SELF แข็งแรง ก็จะมีสามัญสำนึก หรือรู้ผิดชอบ เมื่อเคารพตัวเองก็จะเคารพผู้อื่น อยู่กับคนอื่นได้ จะพั ฒนาขึ้น เป็ น RELATIONSHIP ที่ดีในสังคม เด็กคนใดมี SELF แข็งแรงหรือไม่ ดู ได้จากว่ามีสุขภาพจิต (MENTAL HEALTH)ดีหรือไม่ และมีการแสดงออก ทางอารมณ์ในสังคมอย่างไร พลเมืองเข้มแข็งจะกำกับตนเองได้ รู้ว่าควรทำอะไรหรือไม่ควรทำอะไร เป็ น คนที่รู้เวลา รู้หน้าที่ จัดการตัวเอง เป็ น เมื่อจัดการตัวเองเป็ น ก็จะเคารพ กฎกติกามารยาท รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์

สภาพแวดล้อมที่สร้างพลเมืองเข้มแข็ง การจะพั ฒนาไปสู่ความเป็ นพลเมืองเข้มแข็งได้ ต้องมีกระบวนการไปสู่ ปลายทาง ได้แก่ การพั ฒนาทางด้าน ร่างกายให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็ง แรง การพั ฒนาทางด้านจิตใจและอารมณ์ คือรู้จัก เข้าใจอารมณ์ตัวเอง และ ผู้อื่น สามารถจัดการตัวเองได้และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ การพั ฒนา ทางด้านสังคม การเรียนรู้ การปรับตัวใน การใช้ชีวิตในสังคม การอยู่ร่วม กับเพื่ อนหรือกับสถานการณ์ต่างๆ โดยการพั ฒนาเหล่านี้อาศัยสภาพ แวดล้อม ที่ดีเป็ นตัวกระตุ้น เป็ นต้นแบบในด้านต่างๆ ให้เด็ก เช่น การส่ง เสริมคุณธรรมด้านวินัย การเคารพผู้อื่น เคารพ กฎกติกา ฯลฯ

2.นโยบายด้านการเงิน เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เงินเยียวยาด้านต่างๆ จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางสังคม ทำ โครงการช่วยเหลือซ่อมแซมที่พั กพิ งแก่ ผู้ยากจน ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิและบริการ ของรัฐได้ อย่างเท่าเทียมกัน 3.นโยบายส่งเสริมโอกาสทางสังคม สนับสนุนให้ประชาชนมีทักษะในการ ประกอบอาชีพ เพื่ อที่จะมี รายได้ในการดูแลครอบครัว มอบความช่วยเหลือ ด้านต่างๆ เพื่ อให้ผู้ด้อยโอกาสสามารถกลับมามีแรง บันดาลใจในการใช้ ชีวิต ก่อนที่จะพลักดันให้เป็ นพลเมืองที่เข็มแข็งต่อไป 4.นโยบายการพั ฒนา กระตุ้นให้คนไทยสามารถมีส่วนรวมในสังคม เช่น ส่งเสริมการพั ฒนาอาชีพ หรือ การกระตุ้นให้ชุมชนเกิดการพั ฒนา

บทสรุป

การเป็ นแบบอย่างที่ดีและการเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีความสำคัญต่อการ ศึกษาของผู้เรียนเป็ นอย่าง มาก เพราะถือได้ว่าเป็ นแบบอย่างและแนวทาง การปฏิบัติตน วิธีการปฏิบัติตนในด้านต่างๆตามบรรทัดฐานของ สังคม เพื่ อให้เกิดผลดีต่อผู้เรียนในด้านต่างๆ

คำถามทบทวน

1.ผลเมืองที่เข้มแข็งหมายความว่าอย่างไร จงอธิบาย 2.การเป็ นแบบอย่างที่ดีหมายความว่าอย่างไร และมีอะไรบ้าง จงอธิบาย 3.การสร้างลเมืองที่เข้มแข็งมีกี่ข้อ อะไรบ้าง 4.นักเรียนสามารถนำวิธีการเป็ นแบบอย่างที่ดีไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างไร 5.นักเรียนคิดว่าการเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็งพึ งจะปฏิบัติตนอย่างไรเพื่ อ ช่วยพั ฒนาสังคมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.