การศึกษาจ้าา Flipbook PDF

การศึกษาจ้าา

65 downloads 100 Views 26MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

วิจัยพัฒนาสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ เรื่องการศึกษาประเทศญี่ปุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เสนอ

อาจารย์ราชการ

โดย นายดรัณภพ สอนสุภาพ ทำ

สังขวดี รหัส 64411260

วิจัยพัฒนาสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ เรื่องการศึกษาประเทศญี่ปุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เสนอ

อาจารย์ราชการ

โดย นายดรัณภพ สอนสุภาพ ทำ

สังขวดี รหัส 64411260

คำนำ หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา The Internet for Education อินเทอร์เน็ตเพื่อ การศึกษา จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาประเทศญี่ปุ่น และใช้ประกอบ การเรียนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพต่อไป ขอขอบคุณ อาจารย์ราชการ สังขวดี และเพื่อนๆ สาขาคอมพิวเตอร์ที่คอยให้คำปรึกษาและ คำแนะนำ เพื่อให้หนังสือเล่มนี้สำเร็วลุล่วงไปด้วยดี ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือฉบับนี้จะเป็น ประโยชน์แก่ผู้ที่อ่านหรือศึกษาหนังสือเล่มนี้ต่อไป หากผิดพลาดประการใดขอน้อมรับไว้และขออภัย มา ณ ที่นี่ด้วย ดรัณภพ สอนสุภาพ ผู้จัดทำ

การศึกษาประเทศญี่ปุ่น บทคัดย่อ บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บทที่ 4 บทที่ 5 ภาคผนวค สื่อ เนื้อหาการสอน

สารบัญ 1 2 3 6 7 9 10 11 12 20

1

การศึกษาประเทศญี่ปุ่น

บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ เรื่อง การศึกษาประเทศญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ 3. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. สื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ เรื่อง การศึกษาประเทศญี่ปุ่น 2. แบบประเมินคุณภาพ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4. แบบสอบถามความพึงพอใจ

2

บทที่ 1 การจัดการเรียนการสอนในวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การศึกษาประเทศญี่ปุ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการสังเกตและ สอบถามครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนการสอน พบว่านักเรียนในชั้นเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้เรียนที่ มีความสามารถทางการเรียนที่แตกต่างกันและการสอนนั้นเน้นการอธิบายอ้างอิงในหนังสือทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย ไม่สนใจการเรียน ส่งผลต่อการเรียนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลง ผู้วิจัยจึงยกตัวอย่างสื่อและนำมาเปรียบเทียบ ระหว่างการศึกษาประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถให้ผู้เรียนได้ มีโอกาสศึกษาจากสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ได้อย่างเท่าเทียม จากเหตุผลดังกล่าวทางผู้วิจัยได้พัฒนาสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ในรายวิชาสังคมศึกษา เรื่อง การศึกษาประเทศญี่ปุ่น ใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 2 โดยผู้วิจัยได้สรุปเนื้อหาสำคัญในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยข้อความ ภาพ นิ่ง วีดีโอหรือภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงบรรยาย เสียงซาวด์ เสียงดนตรี และเสียงเอฟเฟกต่างๆ ทำให้ผู้เรียนสามารถ เข้าใจความหมายเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น และส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปในทางที่ดีขึ้นอีกด้วย

3

วัตถุประสงค์ของการวิจัยและขอบเขตการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์เรื่อง การศึกษาประเทศญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมิเดียคอมพิวเตอร์เรื่อง การศึกษาประเทศ ญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน การเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์เรื่องการศึกษาประเทศญี่ปุ่น สำหรับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรคือนักเรียนระดับชันมัธยมศึกษาปีที่ 2 จํานวน 50 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้คือกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คัดเลือกโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลากได้นักเรียน 1 ห้องเรียน จํานวน 25 คนซึ่งจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย คือ การศึกษาประเทศญี่ปุ่นและระบบการศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ตามกลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

4

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ นักเรียนได้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ ในด้านการศึกษาในปัจจุบัน นักเรียนได้รู้จักเปรียบเทียบ ข้อดีข้อเสียของการศึกษาไทยและญี่ปุ่น นักเรียนมีพัฒนาการด้านความรู้ และได้อยู่กับการศึกษาประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น การใช้สื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์กับการศึกษาญี่ปุ่นมีการพัฒนาอยู่ในระดับดี มาก นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับ ดีมาก

5

บทที่ 2 สื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ เรื่องการศึกษาประเทศญี่ปุ่น พัฒนาการสร้างบทเรียนด้วยโปรแกรม POWTOON สื่อมัลติดีเมียคอมพิวเตอร์ เรื่องการศึกษาประเทศญี่ปุ่น พัฒนาเนื้อหาสาระด้วย PowePoint, DIRECTOR, Canva แบบประเมินคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และด้าน เทคนิค โดยใช้แบบประเมินเป็นมาตราส่วนค่า 5 ระดับ (Rating Scale) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องการศึกษาประเทศญี่ปุ่น ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็น แบบทดสอบชนิดปรนัย จำนวน 20 ข้อ โดย Google Form แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ สามารถช่วยสอนพัฒนาขึ้นโดยใช้แบบประเมิน มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale)

6

บทที่ 3 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์เรื่อง การศึกษาประเทศญี่ปุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิ์ภาพแบ่ง เป็นขั้นตอนดังนี้ 3.1 วางแผนโดยกำหนดปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหาบท เรียนที่ครูได้ทำการสอน โดยวิธีการอธิบายเนื้อหาตามหนังสือเรียนทางผู้วิจัยจึงได้จัดทำสื่อมัลติมีเดีย คอมพิวเตอร์ เรื่อง การศึกษาประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถ เข้าใจในเนื้อหาบทเรียนได้ง่ายขึ้นและเกิดความสนุกสนานในการเรียน เช่น ผู้สอนออกแบบเนื้อหาการ สอนในโปรแกรม PowePoint เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายยิ่งขึ้น สามารถเพิ่มความน่าสนใจในการ ออกแบบเนื้อหาการสอนโดยโปรแกรม Canva สร้างอินโฟกราฟิกให้เนื้อหากระชับยิ่งขั้น น่าสนใจยิ่งขึ้น อีกทั้งสอดแทรกตัวละคร บทบาทสมมุติโดยใช้เว็ป POWTOON สร้างวิดีโอ ภาพ เสียง ให้ผู้เรียนได้คิด ตามคิดวิเคราะห์กับสื่อที่ได้เรียนรู้ ทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

7

บทที่ 3 3.2 การวิเคราะห์ผู้วิจัยกำหนดปัญหาโดยทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ภายในหนังสือเรียนเพื่อจัดสัดส่วนของ เนื้อหาให้เหมาะสมกับนักเรียน เพราะการสร้างสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเน้นที่ข้อมูลเชิงโต้ตอบกับ ผู้เรียน ซึ่งจะใช้ข้อความ เสียง รูปภาพ วิดีโอและคำถามจากเนื้อหาและการวิเคราะห์นักเรียน เพื่อให้นักเรียน ได้แสดงความเห็นของตนเอง มีส่วนรวมกับการเรียนมากขึ้น ลดช่องว่างระหว่างครูและนักเรียน ซึ่งให้นักเรียน กล้าแสดงออก โดยผู้วิจัยทำการศึกษาสังเกตข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ถึงระดับความรู้ความ เข้าใจพื้นฐาน ความสนใจต่อการเรียนรู้ 3.3 การออกแบบการจัดทำสื่อมัลติมีเดียช่วยสอนต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลักการทำงานของ คอมพิวเตอร์หลังจากได้ข้อมูลมาแล้วจัดทำโครงร่างสื่อวิดีโอ หรือวิดีโอบนสื่อดิจิทัล หรือทำอินโฟกราฟิก หรือ และสตอรี่บอร์ดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3.4 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ เรื่อง การศึกษาประเทศญี่ปุ่น ด้วยโปรแกรม POWTOON

8

บทที่ 4 ตารางที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพสื่อมัลติมิเดียคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น

จากตารางที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพสื่อมัลติมิเดียคอมพิวเตอร์ที่พัฒนา พบว่า มีคุณภาพโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก (x̅ = 4.78, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณารายด้านข้อคำถาม พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุดคือด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.68, S.D. = 0.47)รองลงมา คือ ด้านการใช้ ภาษาอยู่ในระดับมาก (x̅ =4.25, S.D. = 0.35) และต่ำที่สุด คือ ด้านการใช้ตัวอักษร และสีอยู่ในระดับ มาก (x̅ = 4.45, S.D. = 0.43)

9

บทที่ 5 ผลการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ พบว่า สื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ให้ ความเห็นว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เนื่องจากผู้วิจัยมีการดำเนินการสื่อมัลติมีเดียอย่างเป็นระบบและเป็นไปตาม ขั้นตอนที่ได้วางเอาไว้ และผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างเป็นลำดับขั้นตอนและได้ผ่านการปรับปรุงตามข้อ แนะนำของผู้เชี่ยวชาญที่เน้นในเรื่องเนื้อหาและกราฟิก มีทั้งภาพภาพเคลื่อนไหว ข้อความ และเสียงบรรยาย ประกอบ เพื่อสร้างสื่อมัลติมีเดียให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นจึงทำให้สื่อมัลติมีเดียที่ได้ถูกปรับปรุงแก้ไขนั้น มี คุณภาพที่มากยิ่งขึ้น 1. การสร้างสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ที่ดี ผู้สอนควรมีการจัดบทเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียนทั้งด้าน เนื้อหาที่ควรสอดคล้องกับระดับความรู้ ความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนมีการประเมินผลการเรียนอย่างเหมาะสม เลือกใช้คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์อย่างชาญฉลาดสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้มากที่สุด 2. ควรนำสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์เรื่องการศึกษาประเทศญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 2 ที่ผู้วิจัยสร้าง ขึ้นไปทดลองหาค่าประสิทธิภาพสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์กับกลุ่มนักเรียนกลุ่มอื่นเพื่อใช้ผลการวิจัยให้กว้างขวาง มากขึ้น

10

11

ภาคผนวก

PowToon

12

PowToon

13

PowePoint

14

V-DIRECTOR

15

V-DIRECTOR

16

V-DIRECTOR

17

Canva

18

Canva

19

20

เนื้อหาการสอน

การจัดระบบการศึกษาประเทศญี่ปุ่น +

Top 5 เอเชีย

=

0-6 ขวบ สำคัญต่อการพัฒนา

การใช้ชีวิตประจำแก่เด็กนักเรียน คือ การมีระเบียบวินัย ความอดทน การทำงานเป็นทีม ความอ่อนน้อมถ่อมตน การมีจิตสาธารณะ มากกว่าความรู้ทางด้านวิชาการ

21

ปรัชญาการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น

+

=

เพื่อปลูกฝังเยาวชนให้มีความรับผิดชอบใน อนาคตของประเทศ

เน้นคุณค่าของการระลึกถึงเพื่อนมนุษย์และการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในสังคมนานาชาติ

22

นโยบายการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น 1. โดยให้

วัฒนธรรมประเพณี เพื่อให้ระลึกถึง คุณภาพของการศึกษาและเพิ่มพูนชีวิต

2. ก่อตั้งสังคมที่มุ่งสู่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสนับสนุนงานวิจัยวิทยาศาสตร์เบื้องต้นและขั้นสูง และการ พัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มุมที่จะทำให้ญี่ปุ่นเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและศูนย์ข่าวสาร

23

ระบบบริหารการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ส่วนกลาง

ท้องถิ่น ได้แก่

หน่วยงานมีอำนาจหน้าที่ในการบริการอย่างกว้างขวาง รวมถึงโรงเรียนประถมและมัธยม การช่วยทำงานให้เป็นมาตรฐานการศึกษาแม้ว่าพื้นที่ชนบทจะได้รับโอกาสและมาตรฐาน ใกล้เคียงกัน ระบบการบริหารที่เป็นระบบสั่งการอยู่เบื้องบนสู่เบื้องล่าง

24

ระบบการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น

25

แบ่งออกได้ 3 ระดับคือ

+

+

+

ระบบการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น โรงเรียนอนุบาลรัฐและเอกชน มุ่งฝึกให้เด็กเกิดการรับรู้ตามธรรมชาติ พัฒนาให้จิตใจตื่นอยู่เสมอ ต้องมี ร่างกายแข็งแรง ปลูกฝังความหนักแน่นของอารมณ์ทั้งฝึกให้ใช้ภาษาท่าทางที่สุภาพ หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ มีเป้าหมายเน้นในเรื่องความยืดหยุ่น ความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มโอกาสให้เด็กได้ แสดงออกในสิ่งที่ตนชอบ ในระบบการศึกษาญี่ปุ่น ผลการเรียนที่สูงจึงไม่ได้ชี้วัดหรือสะท้อนความสามารถ ที่แท้จริงของนักเรียน เน้นการเรียนนอกห้องเรียน เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง มักจะปล่อยให้เด็กทำอะไรได้อย่างอิสระ เรียนด้วย ความสุข สนุก ครูจะไม่มีการดุด่าว่ากล่าวนักเรียน ครูจะให้เด็กเป็นคนคิดเอง ตัดสินใจด้วยตนเอง

26

แนวโน้มการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ระบบการผลิตและพัฒนาครู ครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีสถานะทางสังคมสูง เป็นผลมาจากการที่ กฎหมายญี่ปุ่นและสังคมคาดหวังว่าครูจะช่วยปลูกฝังทัศนคติของสังคมลงในตัว มุ่งเน้นการสอนศีลธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การผลิตครู เป็นการจัดการศึกษาโดยคณะศึกษาศาสตร์ / ครุศาสตร์ในมหาวิทยาลัยและระดับวิทยาลัย มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 48 แห่ง ระบบการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตร 4 ปี และมี การฝึกสอนในสถานศึกษาจำนวน 12 สัปดาห์

27

ระบบการผลิตและพัฒนาครูของประเทศญี่ปุ่น

ภาระงานของครู ครูระดับอนุบาล ส่วนมากจะถูกกำหนดให้รับผิดชอบดูแลชั้นรวมทั้งสอนแบบเหมารวม ครูระดับประถมศึกษา จะต้องใช้ความสมารถพิเศษเฉพาะทาง สอนวิชาที่ถนัด ได้แก่ ดนตรี ศิลปะ งาน ฝีมือ พลศึกษาและงานบ้าน ครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จะได้รับมอบหมายให้สอนคนละ 1-2 รายวิชา และต้องสอนในหลายห้อง ครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จะสอนวิชาเฉพาะตนถนัดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

28

การฝึกอบรมและการออกใบประกอบวิชาชีพครู

ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ถูกฝึกมาจากมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ซึ่่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลโดยกระทรวงศึกษา วัฒนธรรม กีฬาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครูระดับประถมศึกษาจะต้องเรียน 4 ปีในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประถมศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ ครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถูกฝึกและผลิตโดยมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน ครูระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ครูจะถูกฝึกและพัฒนามาจากระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับ บัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยของรัฐระดับท้องถิ่นและมหาวิทยาลัยเอกชน

29

จุดเด่นของระบบการศึกษาประเทศญี่ปุ่น

30

จุดเด่นของระบบการศึกษาประเทศญี่ปุ่น

31

จุดเด่นของระบบการศึกษาประเทศญี่ปุ่น

32

จุดเด่นของระบบการศึกษาประเทศญี่ปุ่น

33

จุดเด่นของระบบการศึกษาประเทศญี่ปุ่น

34

จุดเด่นของระบบการศึกษาประเทศญี่ปุ่น

35

จุดเด่นของระบบการศึกษาประเทศญี่ปุ่น

36

จุดเด่นของระบบการศึกษาประเทศญี่ปุ่น

37

จุดเด่นของระบบการศึกษาประเทศญี่ปุ่น

38

จุดอ่อนของระบบการศึกษาประเทศญี่ปุ่น เด็กนักเรียนญี่ปุ่นเครียดเกินไป สถิติการฆ่าตัวตายของเยาวชนอายุ 15-24 ปี ของญี่ปุ่นสูงที่สุดในโลก เด็กนักเรียนญี่ปุ่นเลิกเรียน 11.00 น. ก็ไปกวดวิชาต่อ จนถึง 22.00 น. หรือบางวันก็ทำการบ้านจนถึง เที่ยงคืน นักเรียนญี่ปุ่นต้องอยู่ใต้ระเบียบวินัยเข้มข้น ห้ามเดทกับเพื่อนต่างเพศ ห้ามทำกิจกรรมจิตอาสาที่โรงเรียนโดยไม่ได้อนุมัติ ห้ามทำงานหารายได้ไปด้วย ยกเว้นมีหนังสือ อนุญาตจากผู้ปกครอง ครูประจำชั้น และครูใหญ่ ห้ามพบปะพูดคุยกับเพื่อนต่างเพศ ยกเว้นในการเรียน ต้องแจ้งเส้นทางเดินทางจากบ้านไปโรงเรียนให้ โรงเรียนทราบ ต้องแต่งเครื่องแบบ ห้ามนำเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ไปโรงเรียน ห้ามนำสมาร์ทโฟนไปโรงเรียน

39

Thang You ขอขอบคุณ....

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.