การประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ Flipbook PDF

การประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้

27 downloads 107 Views 9MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

ในการจัจั จั ด จั ดการเรีรี รี ยรี ยนรู้รู้รู้ใรู้ห้ห้ ห้ กั ห้ กั กั บ กั บผู้ผู้ผู้เผู้รีรี รี ยรี ยนได้ด้ ด้ด้ การประยุก ยุ ต์ใต์ ช้แ ช้ นวคิด คิ รประยุก ยุ ต์ใต์ ช้แ ช้ นวคิด คิ ปรัรั รั ชรั ชญาเศรษฐกิกิ กิ จ กิ จพอเพีพี พี ยพี ยง


คำ นำ ตำ ราเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นตำ ราประกอบการเรียนรายวิชา PC62501คุณธรรม จริยธรรมจรรยาบรรณ และจิตวิญญาณความเป็นครู ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียง จากตำ รา บทความ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และจิตวิญญาณความเป็นครู โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจน ประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งทางทฤษฎี และปฏิบัติพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เกิดความ เข้าใจยิ่งขึ้น เนื้อหาของตำ ราเล่มนี้มีขอบเขตโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น11เรื่องประกอบด้วยนิยาม ความพอเพียง ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง เงื่อนไขเพื่อให้เกิดความพอเพียง ความ สำ คัญของเศรษฐกิจพอเพียงวิถีเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมิติ ต่างประเทศ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำ ไปปฏิบัติได้จริง การจัดการเรียนรู้สู่ความ พอเพียง ผลกระทบระหว่างบริบททางเศรษฐกิจและการศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงด้านการศึกษา เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา ผู้เขียนขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรินทร์ งามแม้น ที่กรุณาให้ความ อนุเคราะห์อย่างดียิ่งในทุกขั้นตอน จนทำ ให้การจัดทำ ตำ ราประกอบการสอนเล่มนี้สำ เร็จลง ได้ด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารตำ ราเล่มนี้จะมีส่วนอย่างสำ คัญต่อความสำ เร็จในการ ศึกษาและการประกอบวิชาชีพของผู้เรียนต่อไป คณะผู้จัดทำ 28 พฤศจิกายน 2565 ก


ข เรื่อง คำ นำ ………………………………………………………………………………….……………………………………... สารบัญ……………………………………………………………………………….……………………………………... สารบัญภาพ……………………………………………………………………………………………..……………….... บทที่ 7 การประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ นิยามความพอเพียง………………………………………………………………………………………………………. ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง…………………………………………………………………………………… เงื่อนไขเพื่อให้เกิดความพอเพียง………………………………………………………………………………………. ความสำ คัญของเศรษฐกิจพอเพียง…………………………………………………………………………………… วิถีเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน…………………………………………………………………………………….. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมิติต่างประเทศ……………………………………………………………………..…… ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำ ไปปฏิบัติได้จริง…………………………………………………………… การจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียง…………………………………………………………………………………..…. ผลกระทบระหว่างบริบททางเศรษฐกิจและการศึกษา……………………………………………………..….. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา………………………………………………………..…….. เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา………………………………………………………………………………………… บทสรุป…………………………………………………………………………………………………………..…………….. คำ ถามทบทวน……………………………………………………………………………………………………………..… บรรณานุกรม…………………………………………………………………………………………………..…………….. สารบัญ หน้า ก ข ฌ 1 1 2 2 3 3 4 5 6 7 11 12 14 15 ญ


สารบัญภาพ ภาพประกอบที่ 1.เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2เงื่อนไข…………………………………………………………………………………. 2.หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา…………………………………………………..…………. หน้า 2 11 ฌ


บทที่ 7 การประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิดควบคู่กับการปฏิบัติที่ใช้ในการดำ เนินชีวิตของคนใน ทุกระดับ จึงเป็นสิ่งที่จำ เป็นที่ครูจะต้องปลูกฝังหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดกับผู้เรียน แต่การสร้างหลักคิดนี้ขึ้นอยู่กับบริบทภูมิสังคมของแต่ละสถาบัน ต้องจัดให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน และสภาพของโรงเรียน ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงสามารถ จัดได้อย่างหลากหลาย แต่ต้องจัดให้เหมาะสมกับวัยและบริบทสภาพภูมิสังคมของแต่ละโรงเรียน นิยามความพอเพียง ความพอประมาณ การดำ รงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้ และพอประมาณ ในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้ คือ ทำ งานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำ งานให้ เต็มความสามารถ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้ เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะเดียวกัน ก็ใช้จ่ายในการ ดูแลตนเอง และครอบครัวอย่างเหมาะสม ไม่อยู่อย่างลำ บาก และฝืดเคืองจนเกินไป ความมีเหตุผล การดำ รงชีวิตประจำ วันเราจำ เป็นต้องมีการตัดสินใจตลอดเวลาซึ่งการตัดสินใจที่ดี ควรตั้งอยู่บน การไตร่ตรองถึงเหตุรวมทั้งคำ นึงถึงผลที่อาจตามมาจากการตัดสินใจอย่างรอบคอบไม่ใช่ตัดสินใจตาม อารมณ์หรือจากสิ่งที่คนอื่นบอกมาโดยปราศจากการวิเคราะห์ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ทั้งสภาพลม ฟ้า อากาศที่ไม่เอื้ออำ นวยต่อการทำ เกษตร การเปลี่ยนแปลงในบริษัทคู่ค้า การเลิกจ้างพนักงานในบริษัท ใหญ่ หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลต่อการลงทุน เราจึง จำ เป็นต้องเรียนรู้ที่จะดำ รงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่ 1


ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำ รงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำ เนินไปใน ทางสายกลางโดย เฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ เงื่อนไขเพื่อให้เกิดความพอเพียง การตัดสินใจและการดำ เนินกิจกรรมต่างๆให้พอเพียงต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย มีความรอบรู้ เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านใช้ความรอบคอบที่ จะนำ ความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และมีความระมัดระวังใน ขั้นปฏิบัติทุกขั้นตอน เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างให้เป็นพื้นฐานทั้งด้านจิตใจ และการกระทำ ประกอบด้วยมีความตระหนักใน คุณธรรม ละอายในการทำ ความชั่ว การตั้งมั่นในความดี มีความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความ เพียร ใช้สติปัญญาในการดำ เนินชีวิต ภาพประกอบที่ 1 เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 2


ความสำ คัญของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงมีความสำ คัญและมีคุณค่าต่อประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับประเทศ โดยเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางให้ประชาชน สามารถดำ รงชีวิตแบบพออยู่พอกินและสามารถพึ่งพาตนเองได้ เศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความสำ คัญ ต่อการพัฒนาประเทศ อันจะนำ ไปสู่สังคมที่มีคุณภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการนำ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ใน การพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ ชุมชนและสังคม ดังนี้ 1.ผู้คนในชุมชนดำ เนินชีวิตอย่างมีความสุข เพราะทุกคนพออยู่พอกิน ตามสมควรแก่อัตภาพ ไม่อด อยาก ไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถช่วยเหลือตนเองและยังช่วยเหลือผู้อื่นได้อีกด้วย 2.สมาชิกในชุมชนเกิดความสมัครสมานสามัคคี ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน 3.เศรษฐกิจชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เพราะประชาชนมีการประกอบอาชีพ มีรายได้ช่วยลด การพึ่งพาเศรษฐกิจจากภายนอก 4.ก่อให้เกิดความสมดุลในทุกๆด้าน ทั้งในการดำ รงชีวิตของสมาชิกในชุมชน การดำ เนิน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ความเจริญก้าวหน้าของสังคม และการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ ยั่งยืน วิถีเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง (2550, หน้า 40-43) การที่คน ๆ หนึ่งขวนขวายศึกษาหาความรู้ ทำ งาน หนัก สะสมทรัพย์สินเงินทอง ทำ ทุกอย่างชั่วชีวิต เพื่อสร้างฐานะของครอบครัวให้มั่นคงแสวงหา เกียรติยศชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ฯลฯ ก็เพื่อต้องการความสุขหรือความพึงพอใจที่หวังว่า จะได้รับจากสิ่งต่าง ๆ ที่ดิ้นรนแสวงหาเหล่านั้น อับราฮัม เอส. มาสโลว์ นักจิดวิทยาที่มีชื่อเสียง ได้สังเกตพฤติกรรมของมนุษย์และสรุปเป็น ทฤษฎีความต้องการตามลำ ดับขั้น (Hierarchy of Needs Theory) โดยอธิบายว่า มนุษย์จะมีความ ต้องการซึ่งสามารถจำ แนกเป็นลำ ดับขั้นได้ 5 ระดับ เมื่อชีวิตได้รับสิ่งตอบสนองความต้องการใน ลำ ดับขั้นตอนหนึ่งๆ อย่างพอเพียงแล้ว ก็จะเขยิบไปแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการในระดับขั้น ที่สูงขึ้นต่อๆ ไป ตามลำ ดับ คือ ก. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) เช่นต้องการอาหาร ที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่ง ห่ม และยารักษาโรคที่จำ เป็น ต่อความอยู่รอดของชีวิต เป็นต้น ข. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) เมื่อมีปัจจัยพื้นฐานที่จำ เป็นต่อการ ดำ รงชีวิตอย่างพอเพียงแล้วมนุษย์ก็จะเขยิบขึ้นมาแสวงหาหลักประกันความมั่นคงในชีวิต เพื่อให้ สามารถมีปัจจัยพื้นฐานสำ หรับการดำ เนินชีวิตอย่างยั่งยืนตลอดไป รวมทั้งแสวงหาหลักประกันความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยคุกคามต่างๆ 3


ค. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) เมื่อมีทรัพย์สินเงินทองสะสมมากพอที่จะสร้างหลักประกัน ความมั่นคงในชีวิตแล้ว มนุษย์ก็จะเริ่มแสวงหาเกียรติยศชื่อเสียง และการยอมรับยกย่องจากสังคมต่อไป ง. ความต้องการความภาคภูมิใจในตัวเอง (Self Esteem) เมื่อมีทั้งเงินทองและเกียรติยศชื่อเสียงอย่าง พอเพียงแล้ว มนุษย์จะเริ่มแสวงหาความท้าทายใหม่ ๆ ที่สร้างความรู้สึกภาคภูมิใจให้กับตัวเอง (เพื่อชดเชย ภาวะความรู้สึกอ้างว้างในจิตใจส่วนลึก) เศรษฐีบางคนก็เสี่ยงตายไปปืนภูเขาหิมาลัยบ้าง ไปท่องอวกาศบ้าง บางคนก็หันมาริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขต่อสังคมในด้านต่างๆ ฯลฯ จ. ความต้องการประจักษ์ถึงความจริงเกี่ยวกับชีวิตตัวเอง(Self Actualization) เมื่อได้รับสิ่งตอบสนอง ต้องการต่างๆครบหมดแล้ว มีทั้งทรัพย์สินเงินทอง มีเกียรติยศชื่อเสียง และมีความภาคภูมิใจในตัวเอง สุดท้ายคนผู้นั้นก็จะหันมาแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตที่กำ ลังจะต้องตายจากโลกนี้ไปในวันหนึ่งข้างหน้า เพื่อเตรียมตัวเองไปสู่อนาคตที่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเผชิญกับอะไรต่อไปภายหลังความตาย โดยหันมาศึกษา ประพฤติปฏิบัติธรรมตามหลักศาสนาต่าง ๆ หรือกระทำ สิ่งที่เป็นคุณความดีในชีวิต เป็นต้น ถ้าหากชีวิตแต่ละชีวิตสามารถแสวงหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อมาตอบสนองความต้องการตามลำ ดับขั้นได้อย่าง "พอเพียง" ครบถ้วนเป็นลำ ดับ ๆ ชีวิตก็จะได้รับการยกระดับพัฒนาการให้สูงขึ้น ๆ จากการหมกมุ่นอยู่กับ การแสวงทาทรัพย์สินเงินทองเพื่อตัวเองและครอบครัว ก็ยกระดับไปสู่การทำ งานเพื่อช่วยเหลือสังคมส่วน รวม การสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นอุดมคติในชีวิต ตลอดจนการแสวงหาสิ่งที่เป็นคุณธรรมความดีตามแนวคิดทาง ปรัชญาหรือหลักธรรมทางศาสนาต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ถ้าชีวิตใดยังติดปลักอยู่กับการแสวงหาสิ่ง ตอบสนองความต้องการในลำ ดับขั้นต้น ๆ จนไม่สามารถสอบผ่านขั้นตอนนั้น ๆ มาได้ พัฒนาการของชีวิตผู้ นั้นก็จะติดอยู่ในขั้นตอนดังกล่าว โดยไม่สามารถยกระดับให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ การที่เศรษฐีหรือมหาเศรษฐีบางคนไม่รู้จัก "ความพอเพียง"เข้าไม่ถึง "ความพอดีพอประมาณของชีวิต" และต้องจมปลักอยู่กับความทุกข์กังวลในการแก่งแย่งทรัพย์สมบัติไม่จบไม่สิ้น เป็นโรคเครียดจนนอนไม่หลับ หนักๆเข้าก็กลายเป็นโรคมะเร็ง (เนื่องจากร่างกายหลั่งสารพิษที่เกิดจากความเครียดออกมามาก) ก็เพราะ บุคคลผู้นั้นไม่รู้วิธีที่จะยกระดับพัฒนาการของชีวิตให้สูงขึ้นกว่าระดับที่จมปลักอยู่ กรณีเช่นนี้ กระบวนการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนตามแนวพระบรมราโชวาทคุณธรรม 4 ประการสู่วิถีแห่ง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือช่วยยกระดับพัฒนาการของชีวิตแต่ละคนให้สูงขึ้น ได้ อันถือเป็น "วิถีเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน" ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมิติต่างประเทศ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย (2550, หน้า 42-45) ในสายตาผม "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" นั้น เป็น "ปรัชญา" ความจริงแล้วเป็นปรัชญาซึ่งใช้กับการดำ เนินชีวิตได้ทุกอย่าง เพราะ 3 หลักที่สำ คัญ คือ 1.ความพอประมาณ 2.ความมีเหตุมีผลหรือสมเหตุสมผล 3.การสร้างภูมิคุ้มกันในเรื่องต่างๆที่เราดำ เนินการอยู่ 4


เศรษฐกิจพอเพียงกับงานการต่างประเทศ จาก 3 หลักข้างต้น เมื่อผมได้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวลาที่เดินทางไปต่าง ประเทศ และแสดงสุนทรพจน์ตามเวที่ต่างๆ ก็มีหน้าที่ต้องอธิบายถึง “เศรษฐกิจของไทย" ความมั่นคงของ ไทย และแนวทางนโยบายต่างๆของประเทศ และทุกปีที่มีการจัดประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ในช่วง เดือนกันยายนผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็จะขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในฐานะตัวแทน ของประเทศไทยซึ่งจะมีการอธิบายถึง "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพี่ยง" อยู่ทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นเวทีความร่วมมือ เอเชียก็ดี (Asia Cooperation Dialogue : ACD) เวทีการประชุมเอเชีย และยุโรปก็ดี (Asia-Europe Meeting : ASEM) เวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปคก็ดี (Asia-pacific Economic Cooperation : APEC) ผมก็จะสอดแทรกเรื่องนี้ทุกครั้ง นอกเหนือจากเรื่องของเศรษฐกิจ มหภาคทั้งหลาย "เราได้น้อมนำ เอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ ทรงพระราชทานเอาไว้มาเป็นแนวทางในการดำ เนินนโยบายต่างๆ มีหลักของความพอประมาณ สมเหตุสม ผล และความมีภูมิคุ้มกันของตัวเองเอาไว้" ผมเรียนว่า ประเทศไทยจะเจริญเติบโต ต้องไม่ใช่ประเภท "หลับ หูหลับตาเจริญเติบโต"เพียงอย่างเดียว โดยไม่ดูว่าเราจะเสียหายขนาดไหน หรือคนบางกลุ่มจะได้รับการดูแล หรือไม่ ถ้าอย่างนั้น ก็แสดงว่าไม่สมเหตุสมผล ยังไม่พอประมาณ ยังไม่มีภูมิคุ้มกันตัวเองหวังแต่การเติบโต อย่างมากเข้าไว้เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อครั้นจะไม่เน้นในเรื่องการเติบโตเลยก็ไม่ใช่อีก เพราะไม่สมเหตุสมผล ซึ่งถ้าเศรษฐกิจไม่เติบโตเลย รายได้ต่างๆ ที่ประชาชนควรได้รับก็ไม่พอ ฉะนั้น ทุกอย่างต้องเดินตามแนวทางของปรัชญานี้ ถือเป็นแนวทางสำ คัญ ผมได้เคยแสดงสุนทรพจน์ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาอย่างมากมาย ดังปรากฎในหนังสือของกระทรวงการต่างประเทศ ที่รวบรวมสุนทรพจน์ ของผมในเวที่ต่างๆ เอาไว้ จำ นวน 2 เล่ม ทั้งในเวทีพหุภาคี และเวทีอื่นๆ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำ ไปปฏิบัติได้จริง ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา (2550. หน้า 89) โดยตร.จิรายุ ได้เล่าถึงเรื่องราวของแผนในการขับ เคลื่อนทีละขั้น คณะทำ งานบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ได้จัดทำ ตัวอย่างชุดหน่วยการ เรียนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ทั้ง 4ช่วงชั้น ตั้งแต่ช่วงชั้นที่1-4)หรือเทียบ เท่า รวมทั้งระดับอาชีวศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยได้มีการโยงสาระของ หน่วยงานเรียนการสอนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับองค์ประกอบของหลักปรัชญาฯ คือ หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มีจุดเน้นและความยากง่ายแตกต่างกันไปตามลำ ดับในแต่ละระดับ" สำ หรับการจัดแบ่งช่วงชั้นการบรรจุหลักสูตรการศึกษานั้น เราได้จัดแบ่งเป็น 4 ช่วงคือ ช่วงชั้นที่ 1 ( ป.1 -ป.3) เน้นให้รู้จักสร้างความพอเพียงให้กับตนเองและภายในครอบครัว โดยสอนให้รับผิดซอบต่อตนเอง ประหยัด และแบ่งปัน ส่วนช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6) สอนให้รู้จักเรียนรู้และใช้ชีวิตอย่างพอเพียงในระดับตนเองครอบครัว และ โรงเรียน 5


ขณะที่ ช่วงชั้นที่ 3 (ม. 1-ม. 3) เน้นให้รู้จักชุมชนที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ และร่วมเรียนรู้ร่วมพัฒนาชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6) จะเน้นสอนให้เด็กรู้ เข้าใจ ตระหนักและวิเคราะห์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง ในระดับ ชุมชน องค์กร ประเทศ และการดำ รงอยู่ของชาติภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์...." โดยการดำ เนินการในขั้นต่อไปคือ จะมีการจัดตั้งคณะบรรณาธิการตรวจสอบหน่วยการเรียนรู้ และนำ หน่วยการเรียนรู้ไปทดลองใช้ในสถานศึกษาที่อาสาสมัครร่วมเป็นเครือข่ายวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วน ร่วม เพื่อจะได้ปรับปรุงหน่วยการเรียนรู้ดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์และเหมาะสมสำ หรับเยาวชนมากที่สุด ขยายสู่โรงเรียน 50,000 แห่ง การใช้เยาวชนเป็นตัว "จุดระเบิด" ให้กระแสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ทำ ให้ประชาชนที่อยู่ในสังคม ทั่วประเทศ เกิดการรับรู้และเข้าถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็น รูปธรรมมากยิ่งขึ้น ดร.จิรายุ ขยายความในเรื่องนี้ "การทำ งานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอ เพียงได้มีการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดย แบ่งการทำ งานออกเป็น 8 คณะ ได้แก่ ผู้นำ ทางความคิด วิชาการ สถาบันการศึกษา เยาวชน สถาบันการเมือง องค์กรภาครัฐ สื่อมวลชน ประชาชน องค์กรภาคเอกชน และประชาสังคม" การจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียง แนวทางการประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้ และการดำ เนินชีวิตดังนี้ 1.รูปแบบการจัดกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 เป็นรูปแบบสำ หรับโรงเรียน หรือบ้านเรือนของนักเรียนที่มีพื้นที่สำ หรับการทำ นา และ การเกษตร มีแหล่งน้ำ พอเพียง สามารถจัดกิจกรรมโดยการจัดแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน ตามแนวทางของเกษตร ทฤษฎีใหม่ตามขั้นตอนที่ 1 เต็มรูปแบบ รูปแบบที่ 2 เป็นรูปแบบสำ หรับโรงเรียน หรือบ้านเรือนของนักเรียนที่มีพื้นที่ไม่มากนัก ไม่มีพื้นที่ในการทำ นา โรงเรียนสามารถจัดแบ่งพื้นที่ให้นักเรียนปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกพืชสมุนไพร ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ และเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ โรงเรียนอาจมอบหมายให้นักเรียนไปทำ กิจกรรมนี้ที่บ้านของนักเรียนได้ด้วย รูปแบบที่ 3 เป็นรูปแบบสำ หรับโรงเรียนที่มีพื้นที่น้อย โรงเรียนควรส่งเสริมให้นักเรียนทำ การเกษตรแบบใช้ พื้นที่แคบ เช่น กะลามะพร้าว กะละมัง ล้อยางรถยนต์ การปลูกพืชสวนครัวรั้วกินได้ เป็นต้น นอกจากนั้น โรงเรียนยังสามารถส่งเสริมให้นักเรียนประดิษฐ์ชิ้นงานจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น การสานเสื่อ การทำ เครื่องใช้จากกะลามะพร้าว เป็นต้น ในการจัดกิจกรรมทั้ง 3 รูปแบบ สามารถฝึกนิสัยในการประหยัด การลดรายจ่าย การมีผักปลอดสารพิษ ไว้รับประทาน โรงเรียนควรจัดกิจกรรมช่วยเหลือด้านการตลาด เช่น จัดตลาดนัดจำ หน่ายผลผลิตของ นักเรียน หรือจัดกิจกรรมสหกรณ์ เป็นต้น 2.การนำ แนวคิดด้านทักษะในการทำ งานเป็นกรอบในการปฏิบัติงาน เช่น การทำ งานเป็นการมีนิสัยรัก การทำ งาน การรู้จักวิเคราะห์งาน การวางแผนการทำ งาน และการรู้จักปรับปรุงงานอยู่เสมอ 6


3.การนำ แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำ เนินชีวิต ดร.ทิศนา แขมมณี (2546 : 2 - 7) ได้วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีใหม่พบว่า ทฤษฎีใหม่นี้มีศักยภาพที่จะนำ ไปประยุกต์ใช้ในศาสตร์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มีหลักสำ คัญอยู่หลายประการดังนี้ 1. รู้จักพึ่งพาตนเอง 2. ดำ รงชีวิตอยู่อย่างมีอิสรภาพ 3. มีความสามารถในการบริหารจัดการ รู้จักคิด รู้จักระบบ 4. ความขยัน อดทน ไม่ท้อถอย 5. มีความสามัคคี มีการแสวงหาความร่วมมือ และให้ความร่วมมือ มีการรวมกลุ่มและมีความสามารถในการ ทำ งานร่วมกันเป็นกลุ่มคณะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย 6. มีการศึกษาหาข้อมูล ข้อความรู้ และนำ มาใช้ในการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ 7. รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน 8. รู้จักพัฒนาตนเองขึ้นตามลำ ดับ 9. สามารถนำ ความรู้ หลักการ แนวคิด หรือทฤษฎีต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม แนวทางที่นำ เสนอนี้เป็นส่วนน้อยที่พอจะเป็นแนวทาง เป็นตัวอย่าง หากได้นำ ไปปฏิบัติแล้วจะทำ ให้ทุก คนมีการดำ รงชีวิตในสังคมอย่างเรียบง่าย พอมี พอกิน และช่วยเหลือตนเอง เป็นหลักการของทฤษฎี เศรษฐกิจพอเพียง ผลกระทบระหว่างบริบททางเศรษฐกิจและการศึกษา บริบททางเศรษฐกิจที่เน้นความเป็นทุนนิยม ทำ ให้การจัดการศึกษาต้องรับผลกระทบของทุนนิยมรวม ทั้งต้องมีการจัดการศึกษาตามแนวทางทุนนิยม ขณะเดียวกันการศึกษามีบทบาทสำ คัญในการผลิตบุคลากร ทางเศรษฐกิจที่จะไปดำ เนินการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงของประเทศมากยิ่งขึ้น 1.ผลกระทบของบริบททางเศรษฐกิจต่อการศึกษา บริบททางเศรษฐกิจมีผลกระทบที่สำ คัญต่อการศึกษาดังนี้ (รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ 2544 ก. 15-45) 1.1 ผลกระทบของการแข่งขันทางเศรษฐกิจต่อการศึกษา เนื่องจากการแข่งขันเป็นหัวใจของระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี และการศึกษาได้กลายเป็นสินค้าสำ คัญประเภทหนึ่งของภาคบริการ การ แข่งขัน ทางการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนั้นการที่การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนา บุคคลและ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำ ให้คนที่วิ่งเข้าสู่สู่การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ก็ต้องวิ่งเข้าสู่สู่การ แข่งขันทางการ ศึกษาด้วย จึงเกิด World Education League ในลักษณะการแข่งขันกีฬาฟุตบอล ผู้ปกครองส่วนใหญ่ ยินยอมเสียค่าใช้จ่ายจำ นวนมากโดยมีเจตคติว่าการศึกษาเป็นการลงทุนและเป็น เครื่องมือที่ช่วยยกฐานะ ทางเศรษฐกิจและสังคมของบุตรหลาน ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานนักทุนนิยมตั้งแต่ เยาว์วัย แต่การแข่งขัน ทางการศึกษาที่ผ่านมาอาจไม่เป็นธรรมเนื่องจากสาเหตุหลายประการ ดังนั้นจึงควรปรับแนวทาง ดำ เนิน การที่จะส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม เช่น 7


1.1.1การกระจายโอกาสในการเป็นผู้จัดการศึกษา ในอดีตรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาในลักษณะ ที่เป็นผู้ผูกขาด หรือกึ่งผูกขาด แต่ในเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี ผู้บริโภคต้องการความหลากหลายของสินค้า ซึ่งภาครัฐไม่ สามารถสนองความต้องการนี้ได้เพียงพอ สาเหตุหนึ่งเนื่องจากการจัดการศึกษาของรัฐต้อง มุ่งประโยชน์ของ สังคมส่วนรวมมากกว่าความต้องการของบุคคลที่หลากหลาย จึงควรส่งเสริมให้เอกชน มีส่วนร่วมในการ ระดมทุนและเป็นผู้จัดการศึกษามากขึ้น 1.1.2 การส่งเสริมการแข่งขันป็นธรรม ในอดีตรัฐมีข้อกำ หนดที่ทำ ให้เอกชนสามารถแข่งขันกับภาครัฐได้ จำ กัด เช่น การจำ กัดค่าลงทะเบียน ทำ ให้ภาครัฐมีความได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถเลือกนักเรียนได้ ก่อนซึ่งจัดเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม (imperfect competition) แนวทางการเพิ่มความเป็นธรรม แนวทางหนึ่งคือการลดการอุดหนุนค่าเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาของรัฐ เนื่องจากการอุดหนุนอาจกลาย เป็นการอุดหนุนแอบแฝงให้แก่ผู้ที่มีฐานะที่ช่วยเหลือตนเองได้แต่เลือกมาศึกษาที่สถานศึกษาของรัฐ จึงมิใช่ เป็นการอุดหนุนผู้ขาดแคลนที่แท้จริง นอกจากนั้นรัฐควรมีการจัดสรรทุนการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ หลากหลาย สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย 1.1.3 การแบ่งหน้าที่ในการจัดการศึกษาโดยยืดกลุ่มเป้าหมาย คือ การแบ่งความรับผิดชอบในการจัดการ ศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ 1) ภาครัฐ จัดการศึกษาสำ หรับคนเก่ง เพื่อเป็นแกนหลักในการพัฒนาประเทศและการแข่งขันระหว่าง ประเทศ และจัดการศึกษาสำ หรับคนจนเพื่อการสร้างโอกาสและความเป็นธรรมทางการศึกษา เนื่องจากใน ระบบทุนนิยมนี้ ผู้ไม่มีอำ นาจซื้อจะถูกทอดทิ้ง รัฐจึงต้องทุ่มทรัพยากรการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลกลุ่มนี้ให้ เป็นกำ ลังคนของประเทศ แต่หากรัฐบาลส่งเสริมเอกชนมากเกินไป รัฐจะสูญเสียฐานะการเป็นผู้จัดบริการ การศึกษาชนิดให้เปล่าหรือกึ่งให้เปล่าแก่ประชาชนด้วย 2) ภาคธุรกิจและภาคประชาชน จัดการศึกษาสำ หรับคนฐานะปานกลาง หรือคนที่มีฐานะดีแต่ไม่เก่งโดย การกำ หนดค่าเล่าเรียนด้วยการใช้ระบบตลาดและกลไกราคา เพื่อให้สถาบันการศึกษาเอกชนสามารถดำ รง อยู่และได้เติบโต 1.2 ผลของการควบคุมคุณภาพต่อการศึกษา บริการการศึกษามีลักษณะที่แตกต่างจากสินค้าอื่นคือ สินค้าอื่นนั้นถ้ามีระบบควบคุมคุณภาพที่ดี ไม่ว่าจะผลิตที่โรงานใด ในประเทศใด จะมีคุณภาพและมาตรฐาน เดียวกัน การจัดการศึกษาจึงประสบปัญหาความยากลำ บากในการควบคุมคุณภาพ ถ้ายิ่งเป็นบริการการ ศึกษาที่คนมีความต้องการมาก มีการแข่งชันที่เข้มข้น การควบคุมคุณภาพยิ่งเป็นสิ่งจำ เป็นและมีความ สำ คัญ การควบคุมคุณภาพยังเป็นการส่งเสริมการจัดอันดับซึ่งเป็นการกดดันสถาบันการศึกษา ให้ปรับปรุง คุณภาพการศึกษาเพื่อการรักษาอันดับหรือการไต่อันดับขึ้นไปอันนำ ไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ดังนั้น แม้ว่าจะมีการวิพากษ์เกี่ยวกับวิธีการและเกณฑ์การจัดอันดับก็ตาม แต่ผลของการแช่งชันก็ถูกใช้เป็น พื้นฐานในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศต่างๆ 1.3 ผอของระบบตลาดที่มีต่อการศึกษา ตลาดในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมอาจแบ่งเป็นตลาดแรงงานและ ตลาดสินค้า ตลาดของการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ที่สำ คัญ คือ 8


1.3.1 ตลาดแรงงาน การมีอาจารย์ที่มีคุณภาพหรือเป็นบุคคลที่ผู้บริโภคต้องการเป็นวิธีการหนึ่งในการแข่งขันหรือ การจัดอันดับทางการศึกษา ในบางประเทศการซื้อตัวอาจารย์จึงเป็นเรื่องปกติเนื่องจากตลาดอาจารย์มหาวิทยาลัย นับเป็นตลาดแรงงานประเภทหนึ่ง อาจารย์ของมหาวิทยาลัยจึงมีบทบาทในการหาตลาดและขยายตลาดการศึกษา ของสถาบัน เช่น การเดินทางไปยังประเทศต่างๆ และสร้างความต้องการบริโภคในประเทศนั้น นอกจากนั้นการ เคลื่อนย้ายแรงงานโดยอิสระทำ ให้มีแรงงานที่มีทักษะทางการศึกษาเคลื่อนย้ายไปยังประเทศต่างๆ จึงเป็นการเพิ่ม ทางเลือกของผู้บริโภคในตลาดการศึกษาในปัจจุบันผู้รับบริการการศึกษาจึงมีโอกาสเลือกบุดลากรทางการศึกษาที่มี คุณลักษณะที่พึงสงค์ได้มากขึ้น ขณะเดียวกันรัฐบาลและหน่วยงานที่เที่ยวข้องก็จำ เป็นต้องมีกฎระเบียบและ แนวทางการดูแลควบคุมแรงงานต่างชาติในวงการศึกษา ตลอดจนต้องมีนโยบายในการพัฒนาบุคลากรทางการ ศึกษาของไทยให้สามารถอยู่ในตลาดแรงงานได้ ทั้งตลาดในประเทศและตลาดระหว่างประเทศ ผลกระทบประการ หนึ่งของการจัดการศึกษาในระบบตลาดทุนนิยมคือ ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์กันด้วยเอกสารสัญญา บริการ และสินค้า ทำ ให้การปฏิบัติต่อกันตามจารีตเดิมลดน้อยลง ความสัมพันธ์ลักษณะนี้อาจเริ่มต้นจากการศึกษาระดับ อุดมศึกษาแล้วขยายตัวในแนวดิ่งสู่การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประถมศึกษา ขณะเดียวกันก็ขยายตัวในแนวนอน จากในเมืองไปสู่ชนบทด้วย อย่างไรก็ดี ตลาดแรงงานทางการศึกษาจะมีความสำ คัญในอนาคตเนื่องจากสัดส่วนการ จ้างงานที่เพิ่มชื้นจะอยู่ในประเทศกำ ลังพัฒนาแถบเอเชียประมาณหนึ่งในสามของการจ้างงานทั้งหมดในโลก 1.3.2 ตลาดสินค้า การที่บริการทางการศึกษาได้แปรสภาพกลายเป็นสินค้า ทำ ให้ความต้องการของผู้บริโภคและ กลไกราคากลายเป็นปัจจัยสำ คัญในการกำ หนดโครงสร้างการผลิตในภาคการศึกษา และเข้ามาแทนที่บทบาทของ ภาครัฐที่เคยเป็นผู้กำ หนดแนวทางการจัดการศึกษาตามที่รัฐเห็นว่าเหมาะสม การผลิตตามความต้องการของตลาด จะทำ ให้ไม่สนับสนุนการผลิตด้านที่มีความต้องการของตลาดจะทำ ให้ไม่สนับสนุนการผลิตด้านที่มีความต้องการต่ำ ในปัจจุบันผู้ผลิตจึงต้องลงทุนผลิตตามความต้องการของตลาด เช่น ผลิตผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์มากกว่าด้าน สังคมศาสตร์ เน้นการศึกษาของเมืองมากกว่าชนบท เนันการศึกษาด้านอุตสาหกรรมมากกว่าการเกษตร เน้นการ ศึกษาของชนชั้นสูงและชนชั้นกลางมากกว่ารากหญ้า ตัวอย่างหนึ่งของการจัดการศึกษาเพื่อสนองอุปสงค์ของตลาด เช่น การสอนภาษาต่างประเทศซึ่งเป็นภาษาสากลที่จำ เป็นสำ หรับทุกคน ทำ ให้เกิดตลาดและธุรกิจการศึกษาขนาด ใหญ่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น โครงการเรียนภาษาภาคฤดูร้อน ณ ต่างประเทศ ธุรกิจการหาสถานศึกษาในต่าง ประเทศ การสอนภาษาในโรงเรียน สถาบันสอนภาษาเอกชน โครงการศึกษานานาชาติในมหาวิทยาลัยและสถาน ศึกษา ในปัจจุบันการลงทุนทางการศึกษาไม่ใช่การลงทุนของทุนภายในประเทศเท่านั้น แต่มีการลงทุนของทุนต่างชาติ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติจะตัดสินใจโดยใช้หลักการลงทุนเหมือนการผลิตสินค้าอื่นๆ โดยมีลำ ดับการลงทุนจากน้อยไป หามากดังนี้ 1) การขายบริการการศึกษาเป็นสินค้าส่งออก เช่น การทำ หลักสูตรการศึกษาระหว่างประเทศ (sandwich course) ซึ่งผู้เรียนต้องศึกษาที่สถาบันในประเทศไทยและสถาบัต่างประเทศในหลักสูตรเดียวกัน การจัดหลักสูตร ลักษณะนี้เป็นสินค้าออกที่ทำ รายได้อย่างสำ คัญให้แก่ประเทศมหาอำ นาจ อุตสาหกรรมเก่าเนื่องจากมีสถาบันการ ศึกษาที่ดีในประเทศตนเอง กอปรกับคนในประเทศอื่นมีค่านิยมที่จะรับการศึกษาจาก 9


ประเทศมหาอำ นาจ โดยมหาวิทยาลัยเอกชนจะเริ่มเป็นตลาดสินค้าลักษณะนี้ก่อนเพื่อการแข่งขันกับสถาบัน อื่น 2) การร่วมทุน การร่วมทุนส่วนมากเป็นการร่วมทุน (ointventure) โดยประเทศเจ้าบ้านลงทุนสิ่งอำ นวย ความสะดวกที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางวิซาการ เช่น ตึก ห้องสมุด ห้องทดลอง ส่วนนักลงทุนต่างชาติจะทำ หน้าที่จัดการเรียนการสอนและกำ หนดมาตรฐานการศึกษา ผู้ลงทุนฝ่ายไทยมักเป็นกลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ ได้รับประโยชน์จากที่ดินรอบสถานศึกษา จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ ให้มีสถาบัน ความร่วมมือเกิดขึ้นใน ประเทศไทยเร็วกว่าในประเทศอื่น 3) การตั้งโรงงานผลิตบริการทางการศึกษา วิธีสุดท้ายของการลงทุนจากต่างชาติคือการตั้งสถาบันเอง โดยนักลงทุนจะตัดสินใจเสมือนการตั้งโรงงานผลิต ซึ่งจะทำ เมื่อตลาดมีขนาดใหญ่และต้องใช้ทุนสูงมาก รวม ทั้งต้องอาศัยการลงทุนสะสมเป็นเวลายาวนาน ดังนั้น จะเห็นว่าบริบททางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ทำ ให้การศึกษามีลักษณะเป็นสินค้าและภาค การ ศึกษาเป็นภาคเศรษฐกิจที่ไร้พรมแดน เป็นการศึกษาที่สนองผู้มีอำ นาจซื้อ เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง จาก ปัจจัยภายนอกและปัจจัยที่อาจควบคุมไม่ได้ เช่น ราคาน้ำ มัน ภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมือง ระหว่าง ประเทศ องค์กรเหนือรัฐที่เข้ามาแทรกแซงการกำ หนดนโยบายภายใน ประเทศผู้ผลิตจึงมีภาระ ทั้งการสร้าง สินค้าคุณภาพและการดูแลระบบเศรษฐกิจ การเมืองสังคม ให้มีเสถียรภาพด้วย 2. ผลกระทบของการศึกษาต่อบริบททางเศรษฐกิจ การศึกษาสามารถช่วยพัฒนาบริบททางเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพทางเศรษฐ กิจโดย การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน มาตรฐานการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ เจตคติ และ ทักษะทาง เศรษฐกิจที่สำ คัญ เช่น 2.1 การพัฒนาความรู้ทางเศรษฐกิจ การศึกษาอาจจัดให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจที่สำ คัญ ใน กระแสโลกปัจจุบันอย่างเพียงพอสำ หรับการประกอบอาชีพเพื่อลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อม ใน การกระจายรายได้ มีความรู้ในการผลิตสินค้าใหม่ตามสภาพการณ์ของสังคม เข้าใจการเปลี่ยนแปลง ทาง เศรษฐกิจ ตลอดจนสามารถวิพากษ์การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลได้อย่างมีเหตุผลบนฐานของ ประโยชน์ส่วนรวม 2.2 การพัฒนาเจตคติทางเศรษฐกิจ การศึกษาสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีเจตคติในการดำ เนิน กิจกรรม ทางเศรษฐกิจเพื่อส่วนรวมบนฐานของคุณธรรมจริยธรรม มีเจตคติที่ดีในการเป็นนักคิดและยอม ปรับเปลี่ยน เรียนรู้อย่างทันการณ์และรู้เท่าทัน เคารพความแตกต่างของบุคคลและสังคม ตลอดจนดำ เนิน กิจกรรมทาง เศรษฐกิจโดยรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง 2.3 การพัฒนาทักษะทางเศรษฐกิจ การศึกษาสามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในการประกอบ อาชีพเพื่อ การรับผิดชอบตนเองและสังคม มีทักษะความชำ นาญการเฉพาะทางตามความต้องการของตลาด แรงงาน มี ทักษะในการผลิตสิ่งใหม่เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดและการแข่งขันระหว่างประเทศ นอกจาก นั้นการศึกษา ควรเน้นการพัฒนาทักษะใหม่ตามความต้องการของสังคม เช่น ทักษะการบริหารจัดการ ทักษะการทำ งาน แบบสากล ทักษะการเชื่อมโยงเศรษฐกิจทุนนิยมในกระแสโลกและเศรษฐกิจพอเพียงตาม วิถีไทย 10


ดังนั้น การศึกษาจึงช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งระดับฐานรากและระดับอื่นๆ ให้เป็นกำ ลังคนที่สนอง ระบบ เศรษฐกิจของชาติ สามารถสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงมั่งคั่ง และสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ให้แก่การ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว อนึ่ง การพัฒนาผู้เรียนในฐานะกำ ลังคนหรือทุนมนุษย์นั้น เป็นการ มองมนุษย์ในฐานะที่เป็นทุนอย่างหนึ่งในการผลิตเท่านั้น ทำ ให้อาจละเลยบุคคลที่มีความสามารถแตกต่างจาก คุณลักษณะของกำ ลังคนที่กำ หนดไว้ รวมทั้งอาจละเลยการพัฒนาคุณค่าของมนุษย์ที่แท้จริงของมนุษย์ทุกคน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เริ่มมาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ได้น้อมนำ เนื้อหาเกี่ยวกับ “หลักการปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง”ตามคำ นิยามที่สำ นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ รับพระราชทานเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เข้าสู่หลักสูตร โดยระบุไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้ของ สาระการเรียนรู้กลุ่มสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ กำ หนดให้นักเรียนทุกระดับชั้น เมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตรนี้แล้ว จะต้องเข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรการผลิตและการ บริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำ กัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของ เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำ รงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ ส่งผลให้เกิดการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ “หลักเศรษฐกิจ พอเพียง” อย่างแพร่หลายในโรงเรียนทั่วไป ภาพประกอบที่ 2 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา 11


แต่ก็พบว่ายังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ไม่ถูกต้องชัดเจน เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการ ศึกษา เนื่องจากการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรที่กำ หนดไว้ดังกล่าว มักมุ่งเน้นที่กิจกรรมเกษตร การปลูกพืช ผักสวนครัวในโรงเรียน หรือกิจกรรมการออมทรัพย์ เป็นส่วนมาก แต่ยังไม่ได้มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นหลักคิด หลักปฏิบัติในการประพฤติตน และการทำ กิจกรรมต่างๆ ตาม มาตรฐานตัวชี้วัดในหลักสูตรการศึกษามุ่งหวังให้เกิดขึ้น ใน ปี พ.ศ. 2549 คณะทำ งานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ภายใต้คณะ อนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ สำ นักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำ นักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จัดการ ประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำ ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนการสอนสำ หรับครูที่สอนแต่ละสาระการ เรียนรู้ และระดับชั้นต่างๆ เพื่อนำ ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่ กำ หนดไว้ในหลักสูตรการศึกษา โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร และครูจากทั่วประเทศร่วมกันทำ งาน จนได้ กรอบเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ “หลักเศรษฐกิจพอเพียง” ของแต่ละช่วงชั้น และตัวอย่างแผนการ จัดการเรียนรู้ที่บูรณาการ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ทุกระดับชั้น และทุกสาระการเรียนรู้ โดยเผยแพร่ ไปทั่วประเทศเมื่อต้นปี พ.ศ. 2550 ต่อมาสำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ปรับปรุง หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ให้มีความชัดเจนในเป้าหมายและคุณภาพของผู้เรียน และ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 โดยประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ซึ่ง ได้กำ หนด 1 ใน 5 เป้าหมายของหลักสูตร คือ “การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึง ประสงค์ มีวินัย และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง” และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Character) หรือจุดเน้นคุณภาพผู้เรียน 8 ประการ ได้แก่ รักชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำ งาน รักความ เป็นไทย มีจิตสาธารณะ การกำ หนดมาตรฐานตัวชี้วัดในหลักสูตร พ.ศ. 2551 จึงเป็นไปในทิศทางการปลูกฝัง และบ่มเพาะผู้เรียนให้ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการคิด การวางแผน และการปฏิบัติตน พร้อม กับคุณลักษณะอื่นๆ ที่จำ เป็นในการดำ เนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา หมายถึง การดำ เนินการส่งเสริมและ สนับสนุนให้บุคลากรในภาคการศึกษาทุกระดับ น้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำ วันและการปฏิบัติภารกิจ เช่น การบริหารการศึกษา การบริหารจัดการงบประมาณการศึกษา การจัดสถาน ศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดกิจกรรมนักเรียน เป็นต้น เพื่อที่ท้าย ที่สุดแล้วเกิดกระบวนการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิถีปฏิบัติ จนเป็นวิถีชีวิต เพื่อผลให้เกิดการปลูกฝังและบ่ม เพาะผู้เรียน เด็ก และเยาวชน ให้มีจิตสำ นึกและอุปนิสัย “พอเพียง” (Sufficiency Mindset and Behavior) เพื่อจะได้สามารถดำ รงตน และดำ เนินชีวิตให้เจริญก้าวหน้าไปได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ จุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อน เนื่องมาจากกระแสพระราชดำ รัส “เศรษฐกิจพอเพียง” 12


ที่ปวงชนชาวไทยได้เริ่มรับรู้และเรียนรู้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชดำ รัส พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ความตอนหนึ่งว่า “...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่น น้อยถ้าทุกประเทศมีความคิด ‘อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ’ มีความคิดว่าทำ อะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอ ประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำ อะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็ พอเพียง ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ ก็แปลว่า ความพอประมาณ และความมีเหตุผล...” จึงเป็นที่มาของความ เข้าใจว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นหลักคิดหลักปฏิบัติในการดำ เนินชีวิตที่ทุกคน ทุกประเทศสามารถนำ ไปใช้ ในทุกกิจกรรม ทุกสาขาอาชีพ และทุกระดับ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน แนวทางการสอนแบบบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1.สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 1 : ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ㆍยึดมั่นในหลักศีลธรรม การกระทำ ความดีมีค่านิยมที่ดีงาม ㆍ การพัฒนาตน บำ เพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข สาระที่ 2 : หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำ เนินชีวิตในสังคม การดำ รงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข วิถีชีวิตประชาธิปไตย (คารวะธรรม สามัคคีธรรม ปัญญาธรรม) สาระที่ ๓ : เศรษฐศาสตร์ การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่จำ กัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ㆍ เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำ รงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ สาระที่ ๔ : ประวัติศาสตร์ ㆍ ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผล มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆอย่างเป็น ระบบ ㆍ วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย มีความภูมิใจและรักษาความเป็นไทย สาระที่ ๕ : ภูมิศาสตร์ ㆍ ระบบธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อม ㆍ การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ จิตสำ นึกอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2.วิทยาศาสตร์ ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 3.คณิตศาสตร์ 13


ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์, การแก้ปัญหา, การให้เหตุผล, และเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทาง คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆได้ 4.ภาษาไทย ฟัง พูด อ่าน เขียน, สำ นวนไทย, การแสดงความคิดเห็น, บทร้อยแก้ว, คำ ขวัญ, การคัดลายมือ, การสรุป ใจความ และการทำ หนังสือเล่มเล็ก/ เล่มใหญ่ 5.ภาษาต่างประเทศ ภาษาเพื่อการสื่อสาร, ภาษาและวัฒนธรรม และภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 6.ศิลปะ คุณค่างานศิลปะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาไทยและภูมิ และปัญญาท้องถิ่น 7.การงานอาชีพและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการ, การจัดการ,การทำ งานเป็นกลุ่ม, การแสวงหาความรู้ และการแก้ไขปัญหา ฯลฯ ㆍ มีคุณธรรม มีจิตสำ นึกในการใช้พลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 8.สุขศึกษา และพลศึกษา เข้าใจและเห็นคุณค่าของชีวิตและมีทักษะในการดำ เนินชีวิต บทสรุป การประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน คือ การทำ ให้เด็กรู้จัก ความพอเพียง ปลูกฝัง อบรม บ่มเพาะให้เด็กมีความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยสอดแทรกแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร สาระเรียนรู้ต่างๆเพื่อ สอนให้เด็กรู้จักการใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆ รู้จัก อยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำ นึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมค่า นิยม ความเป็นไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รู้ว่าตนเองเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสิ่งแวดล้อมและ วัฒนธรรมของโลก การกระทำ ของตนย่อมมีผลและเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมในโลกที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ ด้วย ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น สำ คัญคือครูจะต้องรู้จักบูรณาการการเรียนการสอนให้เด็กและ เยาวชนเห็นถึงความเชื่อมโยงในมิติต่างๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งความเป็น องค์รวมนี้จะเกิดขึ้นได้ ครูต้องโดยใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อน 14


15 คำ ถามทบทวน 1.นิยามความพอเพียงคือ 2.แนวทางการประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงและการดำ เนินชีวิตมีกี่รูปแบบพร้อมอธิบายสั้นๆ 3.อธิบายผลกระทบของบริบททางเศรษฐกิจต่อการศึกษา 4.เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษามีความสำ คัญอย่างไรบ้าง 5.3ห่วง 2เงื่อนไขประกอบด้วยอะไรบ้าง


บรรณานุกรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2551). พื้นฐานวิชาชีพครู Foundation of teaching Profession (พิมพ์ครั้งที่2). นนทบุรี : สำ นักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. (2550). แนวทางปฏิบัติ 7 ขั้นสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง จากแนวปฏิบัติสู่แนวคิดทาง ทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียง (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ : ออกแบบ สบายใจ จำ กัด. เอก อนันต์. (2550). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Road to Sustainable Economy (พิมพ์ครั้งแรก). กรุงเทพฯ : หจก.เม็ดทรายพริ้นติ้ง. ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2565. จาก https://sites.google.com แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจที่ทำ ได้จริง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2565. จาก https://www.krungsri.com เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2565. จาก https://greenshopcafe.com เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2565. จาก https://www.bodin.ac.th เศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการเรียนการสอนและการดำ เนินชีวิต. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2565. จาก https://www.kroobannok.com ญ


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.