ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาษาและวัฒนธรรมอีสาน Flipbook PDF

ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาษาและวัฒนธรรมอีสาน

92 downloads 105 Views

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

1

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาษาและวัฒนธรรมอีสาน Local Wisdom in the Northeast language and culture อรัญญา แสนสระ (Aranya Saensra)*

บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏในภาษาและวัฒนธรรมของ ชาวอีสาน ผลการศึกษาพบว่าการตั้งชื่อลูกหลานของชาวอีสานมีลั กษณะการตั้งชื่อที่ เป็ น มงคลและการตั้ ง ชื่ อ แก้ เคล็ ด ค าเรี ย กเครื อ ญาติ แ สดงให้ เห็ น ถึ ง ลั ก ษณะของ ครอบครัวขยายในสังคมอีสาน คาวิเศษณ์ที่ปรากฏในภาษาอีสานมีลักษณะคล้องจอง เน้ น ภาพพจน์ ของค าอย่า งชั ด เจน วัฒ นธรรมการกิน สะท้ อนความเรียบง่ายใกล้ ชิ ด ธรรมชาติ คติความเชื่อของชาวอีสานมีลักษณะการผสานความเชื่อทางพุทธ ผี และ พราหมณ์ ฮีตสิบสองคอง สิบสี่แสดงให้เห็นจารีตประเพณีและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่มี แบบแผนอั น ดี ง าม ส่ ว นเรื อ นสามน้ าสี่ เป็ น ค าสอนกุ ล สตรี อี ส านให้ มี ค วามงามทั้ ง ภายนอกและภายใน ภาษาและวัฒนธรรมอีสานจึงสะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็น องค์ความรู้ที่ควรได้รับการถ่ายทอดแก่สังคมในวงกว้างต่อไป คาหลัก : ภูมิปัญญา, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภาษา, วัฒนธรรม Abstract The aim of this study is to investigate local wisdoms in Northeast language and culture. The results revealed that Northeasteners named their children as Names with favorable meanings or Names dispelling bad luck. Relative vocabulary of them reveale their families are extended family. Adverbs and adjectives of northeast language are obviously rhyme and figurative language. Eating habbits of Northeasteners revealed *

สาขาภาษาตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

2

the culture of eating as simplicity. Their Beliefs are syncretism of Buddhist, Animism and Brahmin. Heet 12 and Kong 14 (Heet-Kong) showed tradition and lifestyle of the locals related to goodness tradition. Reun Sam Nam Si are principles for teaching ladies to be charming and elegant women. Eastern languages and cultures show intellect and local acknowledge that should be to passed on to preserve Thai cultural heritage. Keywords : Wisdom, Local wisdom, Language, Culture บทนา ภู มิ ปั ญ ญาเป็ น องค์ ค วามรู้ ข องประชาชนในสั ง คมที่ แ สดงถึ ง ความรู้ ความสามารถและเอกลักษณ์ ของท้องถิ่น เป็นทุนทางวัฒ นธรรมที่สาคัญ ของชุมชน เนื่องจากภูมิปัญญาเกิดจากการสั่งสมวัฒนธรรมอันดีงาม สืบทอดเอกลักษณ์และองค์ ความรู้ต่างๆ ของชุมชนให้มีคุณค่า สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน และดาเนินไป เพื่อความเจริญงอกงามของวัฒนธรรม เอกวิทย์ ณ ถลาง (2541, หน้า 6) อธิบายว่าภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นสิ่งที่มี ขอบเขตกว้างขวางลึกซึ้ง หมายถึง คตินิยม ความรู้ ความสันทัด การรู้เท่าทันธรรมชาติ ของสรรพสิ่งรอบตัว และการเลือกเฟ้นความคิด วิธีการ มาใช้ใ นชีวิตประจาวันอย่าง ได้ผล เป็นเรื่องของการสั่งสมประสบการณ์มาหลายชั่วคน ประคอง นิมมานเหมิ นทร์ (2538, หน้า 47) กล่าวว่า ภู มิปัญ ญาหมายถึง ความรู้หรือระบบความรู้ที่มนุษย์ค้นพบหรือคิดค้นขึ้น เพื่อให้สามารถดารงชีวิตอยู่ได้ อย่ างมั่ น คง ปลอดภั ย มี ค วามสะดวกสบาย สุ ขสงบ และบั น เทิ งใจ อาจเป็ น ระบบ ความรู้ที่คิดขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนตนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาก่อน หรือเป็นระบบ ความรู้ที่คิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของกลุ่มชนก็ได้ เสรี พงศ์พิศ (2529, หน้า 147) กล่าวถึงลักษณะของภูมิปัญ ญาชาวบ้า น สรุปได้ว่า ภูมิปัญญาชาวบ้านมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่เป็นนามธรรม ได้แก่ โลกทัศน์ ชี วทั ศ น์ ปรัช ญาในการดาเนิ นชี วิต เรื่องเกี่ยวกับ การเกิ ด แก่ เจ็ บ ตาย คุ ณ ค่ าและ ความหมายของสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจาวัน และลักษณะที่เป็นรูปธรรม เป็นเรื่องเฉพาะ

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

ด้านต่างๆ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น การทามาหากิน การเกษตร หัตถกรรม ศิลปะ ดนตรี และอื่นๆ จากแนวคิ ด เรื่อ งภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ข้ า งต้ น สามารถสรุป ได้ ว่า ภู มิ ปั ญ ญา ท้องถิ่น หมายถึง ความรู้ความสามารถของคนในท้องถิ่นในดารงชีวิตและสร้างสรรค์ สิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ภาษาถิ่นและวัฒนธรรมอีสานมีลักษณะที่สะท้อนภูมิปัญญาของคนในสังคม ได้อย่างเด่น ชั ด ในบทความนี้ จะยกตัวอย่างภู มิปั ญ ญาทางภาษาและวัฒ นธรรมที่ มี ลักษณะเด่น ได้แก่ การตั้งชื่อลูกหลานของชาวอีสาน คาเรียกเครือญาติ คาวิเศษณ์ วัฒนธรรมการกิน คติความเชื่อของชาวอีสาน ฮีตสิบสองคองสิบสี่ และเรือนสามน้าสี่ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. การตั้งชื่อลูกหลานของชาวอีสาน ชื่อเป็นคาเรียกแทนตัวของบุคคล การตั้งชื่อลูกหลานของชาวอีสานมีลักษณะ ที่ปรากฏชัดเจน มี 2 แบบ คือ การตั้งชื่อเป็นมงคล และการตั้งชื่อแก้เคล็ด ดังนี้ 1) การตั้งชื่อ เป็น มงคล เมื่อเด็ก เกิด มาปู่ย่า ตายายหรือพ่อ แม่มัก จะเป็น คนตั้งชื่อเล่น และให้พระที่วัดตั้งชื่อจริง เพราะเชื่อว่าจะเกิดสิริมงคลแก่ชีวิตของเด็ก ตลอดไป ชื่อที่เป็นมงคลมีที่มาจากสิ่งต่างๆ ดังนี้ 1. ตั้งชื่อตามธรรมชาติ เช่น ภู ผา เมฆ ฟ้า ฝน จันทร์ เดือน เกิ้ง (พระจันทร์) 2. ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ เช่น ดู่ (ประดู่) ขาม (มะขาม) ไผ่ หวาย 3. ตั้งชื่อตามสิ่งของมีค่า เช่น แก้ว แหวน เงิน ทอง คา นาก 4. ตั้งชื่อเป็นสีต่างๆ เช่น เขียว แดง ขาว ดา 5. ตั้งชื่อตามชื่อสัตว์ เช่น ไก่ อึ่ง หมู หมี เสือ ช้าง 2) การตั้งชื่อแก้เคล็ด เมื่อเด็กเกิดมาแล้วลักษณะไม่สมบูรณ์หรือพ่อแม่เกรง ว่าจะป่วยบ่อย ผู้ใหญ่มักจะตั้งชื่อที่ไม่ไพเราะเพราะเชื่อว่าถ้าชื่อไม่ดีผีจะไม่พาตัวไป ชื่อที่ตั้งหลอกผีจะแสดงลักษณะที่ไม่สวยงาม ดังนี้ 1. ตั้งชื่อเป็นของเสีย เช่น บูด เน่า 2. ตั้ ง ชื่ อ ไม่ ส มประกอบ เช่ น แหมบ (จมู ก บี้ ) หล่ อ ย (เป๋ ) ส่ อ ย (แหว่ง) เงี่ยง (เอียง)

3

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

4

3. ตั้งชื่อเป็นรูปร่างที่ไม่ดี เช่น จ่อย (ผอม) แห้ง (ผอมแห้ง) เหี้ยน (สั้น,เตี้ย) 4. ตั้งชื่อตามสีที่ไม่สวย เช่น แหล่ (คล้า) ชาวอี ส านเชื่ อ ว่ า ชื่ อ ดี มี ชั ย ไปตลอดชี วิ ต หากมี เหตุ ต้ อ งเปลี่ ย นชื่ อ อาจ เนื่องมาจากการถือโชคลาภ เชื่อว่าเมื่อเปลี่ยนชื่อแล้วจะโชคดี อีกกรณีคือเปลี่ยนชื่อเพื่อ แก้ เคล็ ด เรื่อ งความเจ็ บ ป่ วย ดั งนั้ น การตั้ งชื่ อ จึ ง มี อิ ท ธิพ ลต่ อ การใช้ ชี วิต บนพื้ น ฐาน ความคิดความเชื่อเรื่องสิริมงคลสืบเนื่องกันไป 2. คาเรียกเครือญาติ สภาพครอบครัวของชาวอีสานมีลักษณะเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ซึ่งมีทั้งปู่ ย่า ตา ยาย พ่ อ แม่ ลูก หลาน อยู่ในครอบครัวเดี ยวกัน หรือมี การสร้างบ้ านอยู่ใน บริเวณใกล้เคียงกัน ความสัมพันธ์แน่นแฟ้น ผู้ใหญ่จะให้ความรู้แก่เด็กๆ หรือลูกหลาน ตั้งแต่เล็กจนโตเป็นหนุ่มสาว ขัดเกลาให้เป็นผู้มีคุณธรรม สอนให้พึ่งพาตนเอง ยึดมั่น จารีตประเพณี ถ่ายทอดประสบการณ์และฝึก ฝนอาชีพจากรุ่นสู่รุ่น คาเรียกเครือญาติ ของชาวอีสานจึงมีความละเอียด ดังนี้ ทวด (ผู้ชาย) พ่อซ่น ทวด (ผู้หญิง) แม่ซ่น ปู่ ปู่, ตู้ปู่ ย่า ย่า, ตู้ย่า ตา พ่อตู้, พ่อใหญ่ ยาย แม่ตู้, แม่ใหญ่ พ่อ พ่อ, อีพ่อ แม่ แม่, อีแม่ ลุง ลุง, พ่อลุง ป้า ป้า, แม่ป้า น้า (ผู้ชาย) น้าบ่าว น้า (ผู้หญิง) น้าสาว น้าเขย น้าเขย น้าสะใภ้ น้านาง

5

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

อา (ผู้ชาย) อา (ผู้หญิง) อาเขย/อาสะใภ้ พี่ชาย พี่สาว ลูกคนโต ลูกคนสุดท้อง ลูกเขย ลูกสะใภ้ พีเ่ ขย พี่สะใภ้ น้องชาย/น้องสาว น้องเขย น้องสะใภ้

-

อาว อา อา อ้าย เอื้อย ลูกกก ลูกหล่า ลูกเขย ลูกใภ้ พี่อ้าย พี่นาง น้อง น้องเขย น้องใภ้

กรณีที่พ่อหรือแม่แต่งงานใหม่ ลูกจะเรียกแม่เลี้ยงหรือพ่อเลี้ยง ดังนี้ แม่เลี้ยง แม่น้า พ่อเลี้ยง พ่อน้า ส่วนคาเรียกขาน แบ่งตามการใช้สรรพนาม ดังนี้ สรรพนามบุรุษที่ 1 ข้อย สัน (ฉัน) นาง (ผู้หญิง) กู แม่ซ่น พ่อซ่น ซ่น ปู่ ย่า พ่อตู้ แม่ตู้ พ่ อ แม่ อ้ า ย เอื้ อ ย ลุ ง ป้ า น้ า อา อาว ฯลฯ สรรพนามบุรุษที่ 2 เจ้า มึง นาง อีนาง (ลูกสาว/ หลานสาว) ท้าว อีท้าว (ลูกชาย/หลานชาย) สรรพนามบุรุษที่ 3 เพิ่น เลา มัน

6

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

3. คาวิเศษณ์ คาวิเศษณ์ คื อค าที่ท าหน้าที่ขยายคานาม ค าสรรพนาม ค ากริยา หรือค า วิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ในภาษาอีสานมีคาวิเศษณ์เป็นสร้อยคาที่ ทาให้ เห็ น ภาพได้ ชั ดเจน มีลัก ษณะเป็ น ค าคล้องจองไม่มีค วามหมายตายตัวแต่ รับ รู้ ความหมายได้จากการออกเสียงและตีความภาษา ดังนี้ 1) คาวิเศษณ์บอกชนิดสี เช่น แหล่กวดตวด สีคล้ามาก เช่น อีนางน้อยคนนั้นผิว แหล่กวดตวด แดงจึ่งขึ่ง แดงจัด เช่น ไฟลุกแดงจึ่งขึ่ง แดงจายวาย สีแดงกาลังสวย เช่น ผู้สาวคนนี้คอื งามแท้ ปากแดงจายวายเลย เหลืองเอ้อเฮ่อ สีเหลืองอ๋อย เช่น แข่ว (ฟัน) เหลืองเอ้อเฮ่อ ขาวจุนพุน ขาวสวย เช่น ผู้สาวงามหลาย ผิว ขาวจุนพุนเลย ขาวโอกโลก มอมแมม เช่น ไปล้างเนื้อล้างตัวซะ แขนขาขาวโอกโลกยุ ดาปิ๊ด ดาสนิท เช่น ขี้หมิ่นหม้อ (คราบ เขม่า) ติดมือดาปิ๊ดเลย ดาปี้ๆ ด ามาก เช่น เสื ้อ ผ้า ด าปี ้ๆ แท้ เอาไปซักหน่อยเถอะ 2) คาวิเศษณ์บอกขนาด เช่น - คาบอกขนาดรูหรือ ช่ อง เรียงลาดับจากขนาดใหญ่ไปหาเล็ ก ได้แ ก่ ฮูจ่างป่าง ฮูโจ่งโป่ง ฮูจ่องป่อง ฮูแจ่งแป่ง และฮูจิ่งปิ่ง - คาบอกขนาดของก้อนหินหรือสิ่งของในลักษณะคล้ายกัน เช่น โข่โหล่ (ก้อนใหญ่) ข่อหล่อ (ก้อนเล็ก) ข่อหล่อแข่แหล่ (เล็กๆ น้อยๆ) 3) คาวิเศษณ์บอกอาการ เช่น ยิงแข่วกีกซีก ยิ้มแฉ่ง, ยิงฟันกว้างๆ ปากบานเพ่อเว่อ ทาปากบาน

7

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

อ้าปากซอวอ ตาสวดโป้โล่ ส่องป้อล่อ ย่างมาโพ่โว่ ย่างเที่ยงที่ลี่ ขดกอซอ มิดซีลี ยิ้มปุ้ยๆ กรนสอดๆ กัดแข่วก้วดๆ หมุ่นอุ้ยปุ้ย แปนเอิดเติด เปิดอาดหลาด

-

4) คาวิเศษณ์บอกสัณฐาน เช่น แหลมปี๊ด สูงโจ่นโท่น กองโจ้โก้ ซือคิ่งนิ่ง 5) คาวิเศษณ์บอกกลิ่น เช่น หอมฮวยๆ หอมฮินๆ เหม็นแหญด แหญดแต่งๆ 6) คาวิเศษณ์บอกรสชาติ เช่น ส้มปี๊ด ขมปี๊ด ขมอ่าหล่า -

อ้าปากค้าง ทาตาโต ตาถลน แอบส่องดู เดินโผล่มาพอดี เดินตัวตรง นั่งหรือนอนขดตัว เงียบสนิท ยิ้มน้อยยิม้ ใหญ่ กรนสนั่น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน เละตุ้มเป๊ะ โล่งมาก โกยอ้าว, เผ่นแนบ, หนีไปอย่าง รวดเร็ว แหลมมาก สูงมาก กองใหญ่ๆ ตรงมาก หอมมาก กลิ่นตุๆ เหม็นอับ เหม็นอับมาก เปรี้ยวมาก ขมจัด ขมแบบกลมกล่อม

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

8 หวานจ้อยๆ หวานจ้วยๆ

-

คาพูดหวานมาก น้าตาลหวานมากๆ

4. วัฒนธรรมการกิน วัฒนธรรมการกินของชาวอีสาน เป็นการทาอาหารที่เรียบง่าย ใช้ผักพื้นบ้าน และผักที่เก็บจากป่ามาประกอบอาหาร ส่วนเนื้อสัตว์มาจากสัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นอาหาร สัตว์น้า และสัตว์ป่าที่ล่ามาได้ มีลักษณะดังนี้ 1) ประเภทของอาหาร แบ่งตามลักษณะการปรุง ได้แก่ แกง อ่อม ต้ม ลาบ ก้อย ซอยห่าง เอาะ อุ หมก ปิ้ง ย่าง จี่ ทอด ผัด คั่ว แจ่ว ป่น ซุบ ซั่ว บอง เมี่ยง ฯลฯ 2) ผักพื้นบ้าน ผักพื้นบ้านที่ชาวอีสานนามาประกอบอาหารมีอยู่ทั่วไปตาม ท้องถิ่น ทั้งปลูกเป็นผักสวนครัวและเก็บมาจากป่า มีชื่อเรียกเป็นภาษาถิ่นชัดเจน เช่น ผักกาด - ผักกาด ผักซี - ผักชีลาว ผักหอมป้อม - ผักชี ผักบั่ว - หอม ผักเทียม - กระเทียม ผักแป้น - กุยช่าย ผักโหม - ผักโขม ผักอีเลิด – ชะพลู ผักติ้ว – ชะมวง หมากบวบ – บวบ หมากงูเหงี่ยว – บวบงู หมากหุ่ง, บักหุ่ง, บักกอ – มะละกอ หมากอึ, บักอึ - ฟักทอง หมากฟัก, บักฟัก - ฟัก หมากโต่น, บักโต่น - ฟัก หมากแฟง, บักแฟง - แฟง ผักอีตู่ลาว - แมงลัก ผักอีตู่ไทย - กะเพรา

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

ผักขะ - ชะอม ผักกะเดา - สะเดา ผักหนอก - บัวบก หมากมี,่ บักมี่ - ขนุน ยานาง - ย่านาง ผักอีฮุม, หมากอีฮุม – มะรุม หัวขิงไค - ตะไคร้ หมากพิก, บักพริก - พริก หมากเขือเคือ, บักเขือเคือ - มะเขือเทศ หมากเขือ, บักเขือ - มะเขือ หมากแตงจิง, บักแตงจิง - แตงไทย หมากแตงซ่าง, บักแตงซ่าง - แตงร้าน หมากถั่ว,บักถั่ว - ถั่วฝักยาว หมากถั่วดิน, บักถั่วดิน - ถั่วลิสง 3) ผลไม้ คาเรียกผลไม้ในภาษาอีสาน เช่น หมากนัด, บักนัด – สับปะรด หมากสีดา, บักสีดา – ฝรั่ง หมากต้อง, บักต้อง – กระท้อน หมากกอก, บักกอก – มะกอก หมากพ้าว, บักพ้าว – มะพร้าว หมากตาล, บักตาล – ลูกตาล หมากขิก, บักขิก – มะขวิด หมากเขียบ, บักเขียบ – น้อยหน่า หมากยม, บักยม – มะยม หมากขาม, บักขาม – มะขาม 4) เนื้อสัตว์ เนื้อที่นามาใช้ประกอบอาหารคนอีสานเรียกว่า “ซิ่น” แปลว่า เนื้อ มีลักษณะเป็นชิ้นๆ เช่น ซิ่นงัว – เนื้อวัว นามาทาอาหารประเภท ลาบ ก้อย แกง อ่อม ผัด คั่ว ปิ้ง ย่าง ส้ม หม่า และตากแห้ง

9

10

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

ซิ่นควาย – เนื้อควาย นามาทาอาหารเช่นเดียวกับเนื้อวัว ซิ่นกวง – เนื้อกวาง นามาทาอาหารประเภท ลาบ ก้อย ย่าง ต้ม และตากแห้ง ซิ่นฟาน – เนื้อทราย นามาทาอาหารเช่นเดียวกับเนื้อกวาง ซิ่นแลน – เนื้อตะกวด นามาทาเป็นผัด ปิ้ง ย่าง และหมก จากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่า และการหาอาหารจากธรรมชาติ ทาให้ภาคอีสานมีอาหารที่หลากหลาย มีการจับสัตว์ หรือไข่ของสัตว์มาประกอบอาหาร เช่น นก – นก น ามาท าอาหารประเภท ปิ้ ง ย่ า ง ผัด คั่ว และนาไข่นกมาต้มกิน หนูนา น ามาท าอาหารประเภท ปิ้ ง ย่ า ง ผัด และคั่ว ไข่มดแดง นามาทาอาหารประเภท ก้อย แกง หมก และเอาะ นอกจากนี้ยังมีสัตว์น้าที่นามาประกอบอาหารอีกหลายอย่าง สัตว์ น้าที่นามาประกอบอาหารมักจะเป็นแกง ทอด หมก เอาะ และต้ม เช่น อึ่ง – อึ่ง น ามาท าอาหารประเภท ปิ้ ง ย่ า ง ต้ม ทอด กบ – กบ นามาทาอาหารลักษณะเดียวกับอึ่ง เขียด – เขียด นามาทาอาหารลักษณะเดียวกับอึ่ง และกบ ฮวก – ลูกอ๊อด นามาหมกใส่เกลือและใบแมงลัก บักหอยโข่ง – หอยโข่ง นามาทาแกง และก้อย บักหอยจูบ – หอยขม นามาทาแกง ปลากระแยง – ปลาแขยง มั ก จะแกงใส่ ผั ก หรื อ หน่ อ ไม้ ด อง และคลุกเกลือปิ้งกินกับข้าวเหนียว ปลาข่อ – ปลาช่อน มักจะนามาต้ม แกง หมก และตากแห้ง เอี่ยน – ปลาไหล มักจะนามาต้ม และปิ้ง

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

5) แมลงที่นามาใช้ประกอบอาหาร เช่น แมงดา – แมงดา กุดจี, แมงจีนูน – กุดจี่ แมงหน้างา – ตัวอ่อนของแมลงปอ จุดจี่หรีด, จี่หรีด – จิ้งหรีด ตั๊กแต๋น – ตั๊กแตน 6) การถนอมอาหาร เช่น หม่า – เป็ น เนื้ อ สั ต ว์ ที่ ห มั ก จนมี ร สเปรี้ ย ว ทาจากเนื้ อ หมู ห รื อ เนื้ อ วั ว สั บ ละเอียด รวมกับตับม้าม คลุกข้าวเหนียวนึ่ง กระเทียมบด เกลือ แล้วยัดใส่กระเพาะ หรือไส้หมู ไส้วัว มัดเป็นสาย ทิ้งไว้จนเนื้อหม่าแห้งจึงนามารับประทานได้ หม่าเป็น อาหารที่มีชื่อเสียงอย่างหนึ่ง มีจาหน่ายมากในภาคอีสาน สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นเดือน ยิ่งเนื้อหม่าแห้งจนข้างในเป็นขุยยิ่งมีรสชาติอร่อย ไส้กรอก – เป็นอาหารรสเปรี้ยวทาจากเนื้อผสมกับมันของหมูหรือวั ว มี ส่วนประกอบสาคัญคือข้าวเหนียว กระเทียม และเกลือ คลุกให้เข้ากัน ยัดใส่ไส้หมูหรือ วัวแล้วมัดเป็นปล้องเล็กๆ กลมๆ มักนาไปทอดหรือย่างกินกับข้าวเหนียว สามารถเก็บ ไว้ได้นานเป็นสัปดาห์โดยการแขวนไส้กรอกผึ่งลมไว้ ไส้กรอกอีสานมีจาหน่ายอยู่เป็น จานวนมากในภาคอีสานและภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทย ส้ม (เนื้อ) – เป็นเนื้อสัตว์ที่มีรสเปรี้ยว ใช้เนื้อสัตว์ เช่น หมู วัว ควาย กวาง สับให้ละเอียด คลุกกับข้าวเหนียว กระเทียม และเกลือ ใช้ใบตองห่อหลายชั้น เก็บไว้ ประมาณ 3 วันจะมีรสเปรี้ยว หากเป็นส้มหมูจะหั่นหนังหมูบางๆ ใส่รวมกับเนื้ อหมูสับ ด้วย นิยมกินทั้งแบบดิบและทาให้สุก สามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ส้ม (ผัก) – เป็นการดองผักกับเกลือและข้าวเหนียว ใช้วิธีการหั่นผักเป็นชิ้น พอคา ขยาหรือคั้นให้น้าผักออก เนื้อผักนิ่ม จากนั้นนาไปคลุกกับเกลือและข้าวเหนียว ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 วัน ผักจะมีรสเปรี้ยว นาไปกินคู่กับแจ่วหรือน้าพริกต่างๆ จ่อม – ทาจากกุ้งหรือปลา เรียกว่า กุ้งจ่อม ปลาจ่อม มีการนาเนื้อกุ้งหรือ ปลามาตาให้ละเอียดหมักกับเกลือ ข้าวคั่ว และกระเทียม ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 วัน รสชาติของกุ้งจ่อมปลาจ่อมจะเริ่มมีรสเปรี้ยว ไม่เหม็นคาว เวลาจะกินให้หั่นพริก หอม ตะไคร้ และมะเขือใส่เพื่อเพิ่มรสชาติของจ่อมให้อร่อยยิ่งขึ้น

11

12

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

ปลาร้า – ทาจากปลาต่างๆ ที่มักจะได้มาจากการลากอวน ใส่ไซ ดักลอบ เมื่ อ ปลาเหลื อ จากการน าไปปรุงอาหารแล้ ว ชาวบ้ า นจะผ่ า พุ ง ควัก ไส้ ล้ า งปลาให้ สะอาดแล้วนาไปหมักกับเกลือ เมื่อเนื้อปลาเริ่มนิ่มจะนาไปตาผสมกับข้าวคั่ว ราข้าว เกลือ แล้วหมักไว้ในไห ใช้ผ้าสะอาดปิดปากไหไว้ หมักนานเป็นปีจึงจะมีรสชาติอร่อย สามารถนาไปประกอบอาหารอย่างอื่นได้ การตากแห้ง – เมื่ออาหารเหลือจากการต้มแกงหรือปิ้งย่างแล้ว การตากแห้ง เป็นวิธีการถนอมอาหารที่สาคัญอย่างหนึ่ง เนื้อแห้ง หมูแห้ง ปลาแห้ง จึงเป็นอาหารที่ ชาวบ้านทาเก็บไว้กินในทุกฤดู หากมีเป็นจานวนมากก็จะนาไปจาหน่ายตามร้านค้าหรือ ตลาดชุมชน จากวัฒนธรรมการกินของชาวอีสานดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่าอีสานมีวิถี การดารงชีวิตที่เรียบง่าย มีการพึ่งพาธรรมชาติ ด้วยทรัพยากรอั นอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ ทาให้มีการประกอบอาหารที่หลากหลาย และมีการถนอมอาหารเพื่อรักษาคุณค่าและ เก็บไว้กินได้เป็นเวลานาน 5. คติความเชื่อของชาวอีสาน คติความเชื่อของชาวอีสานได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นการผสาน ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ากับความเชื่อเรื่องผี และพิธีกรรมของพราหมณ์ สังเกต ได้จากการทาพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต นิ ศ ารั ต น์ หวานชะเอม (2558, หน้ า 118) กล่ า วถึ ง ความเชื่ อ ในการตั้ ง หมู่บ้านของชาวอีสานไว้ว่าชาวอีสานนับถือบ้าน แถน ผีฟ้า มีการเซ่นสรวงดวงวิญญาณ บรรพบุรุษเพื่อให้ช่วยปกป้องรักษาลูกหลาน มีการตั้ง “ศาลเจ้าปู่” หรือ “ศาลตาปู่” ไว้ ที่ดอนปู่ตา ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นโคก น้าท่วมไม่ถึง มีต้นไม้ใหญ่หนาทึบ มีการก่อสร้าง “ตูบ ” เป็น ที่ส ถิต ของเจ้า ปู่ทั้ง หลาย ตลอดจนการตั้ง “บือ บ้า น” (หลัก บ้า น) เพื่อ เป็นสิริมงคลของหมู่บ้าน และมีการเซ่น “ผีอาฮัก” คือเทพารักษ์ให้ดูแลคุ้มครองผู้คน ในหมู่บ้านให้อยู่ดีมีสุขตลอดไป จากความเชื่อดังกล่าวทาให้เห็นว่าชาวบ้านอีสานมีการนับถือผี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผีบรรพบุรุษ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยปกปักรักษา ปกป้องคุ้มครองลูกหลานให้อยู่อย่าง ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป นอกจากผีบรรพบุรุษแล้ว ยังมีความเชื่อเรื่องชนิดต่างๆ อีกมากมาย เช่น

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

- ผีเป้า เชื่อว่าเป็นผีกินคน - ผีโพง เชื่อว่าเป็นผีป่าที่จะคอยทาร้ายคนที่เดินในป่ายามค่าคืน - ผีปอบ เชื่อว่าเป็นวิญญาณของผีดุร้ายที่จะทาให้คนเสียสติได้ - ผีกองกอย เชื่อว่าเป็นผีเจ้าชู้และรักสนุก คนที่นอนไม่เรียบร้อย จะถูกผีกองกอยจัดหัวจัดเท้าเล่น - ผีอีซิ่นเหี้ยน เชื่อว่าเป็นผีแม่หม้ายที่หลอกผู้ชายไปเป็นสามี และฆ่าทิ้ง ความเชื่อที่มักจะปรากฏในพิธีกรรมของชาวอีสานอีกอย่างหนึ่งคือ ความเชื่อ เรื่องการขอฝน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศอีสานมีความแห้งแล้ง การทาพิธีขอฝนจาก พญาแถน (เทวดา) จึงเกิดขึ้นในรูปแบบของ “บุญบั้งไฟ” และ “การแห่นางแมว” เชื่อว่า การทาเช่นนี้จะทาพญาแถนปล่อยให้ฝนตกลงมายังโลกมนุษย์ เมื่อฝนตกตามฤดูกาล แล้วชาวบ้านจะได้เตรียมหว่านไถทานา นอกจากนี้คนอีสานยังมีความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” ซึ่งหมายถึง “วิญญาณ” รวมกับ คาว่า “มิ่ง” ซึ่งหมายถึง “ชีวิต” มิ่งขวัญจึงหมายถึงชีวิตและวิญญาณ เมื่อใดที่ขวัญหาย แสดงว่าวิญญาณออกจากร่าง จะทาให้เจ้าของร่างไม่สบายหรือเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต วิธีการแก้ไขคือการทาพิธี “ช้อนขวัญ”โดยนาเอาสวิงและข้องเป็นเครื่องมือประกอบ พิธีกรรม หมอขวัญจะนาสวิงไปช้อนขวัญบริเวณที่มีคนประสบอุบัติเหตุแล้วเทขวัญ ใส่ข้อง เอาผ้าขาวคลุมไว้ไม่ให้ขวัญหายไปอีก ความเชื่อและพิธีกรรมเช่นนี้จะทาให้ผู้ที่ เสียขวัญมีกาลังใจและหายป่วยในเร็ววัน 6. ฮีตสิบสองคองสิบสี่ ฮีต หมายถึง จารีตประเพณี คอง หมายถึง แนวทาง รอยทาง คาว่า ฮีตคอง จึงหมายถึงจารีตประเพณีหรือวิถีปฏิบัติของชาวบ้านในการรักษาขนมธรรมเนียม ประเพณีของท้องถิ่นเอาไว้อย่างยั่งยืน ฮีตสิบสอง คือประเพณี 12 เดือนของไทยอีสาน ได้แก่ ฮีตที่ 1 เดือนเจียงหรือเดือนอ้าย ให้ทาบุญเข้ากรรม หรือให้ พระภิกษุสงฆ์เข้าปริวาสกรรม ฮีตที่ 2 เดือนยี่ ให้ทาบุญคูนลาน ฮีตที่ 3 เดือนสาม ให้ทาบุญข้าวจี่ ฮีตที่ 4 เดือนสี่ ให้ทาบุญผะเหวด

13

14

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

ฮีตที่ 5 เดือนห้า ให้ทาบุญสรงน้าและขึ้นปีใหม่ (สงกรานต์) ฮีตที่ 6 เดือนหก ให้ทาบุญบั้งไฟ ฮีตที่ 7 เดือนเจ็ด ให้ทาบุญซาฮะ ฮีตที่ 8เดือนแปด ให้ทาบุญเข้าวัดสา (เข้าพรรษา) ฮีตที่ 9 เดือนเก้า ให้ทาบุญข้าวประดับดิน ฮีตที่ 10 เดือนสิบ ให้ทาบุญข้าวสาก (กระยาสารท) ฮีตที่ 11 เดือนสิบเอ็ด ให้ทาบุญออกวัดสา (ออกพรรษา) ฮีตที่ 12 เดือนสิบสอง ให้ทาบุญกฐิน คองสิบสี่ เป็นแนวปฏิบัติตนให้ดีงาม ดังนี้ คองที่ 1 เมื่อได้ข้าวใหม่ หรือผลผลิตใหม่ ผู้เป็นเจ้าของอย่าเพิ่งกิน ต้องนาไปทาทานให้ผู้มีศีลก่อน แล้วตนเองค่อยกินภายหลัง และให้นาผลผลิตนั้นไป แจกจ่ายญาติพี่น้องด้วย คองที่ 2 อย่าโกงตาชั่ง อย่าปล่อยเงินกู้ อย่าปลอมแปลงเงินตรา และอย่ากล่าววาจาหยาบช้ากล้าแข็งต่อกัน คองที่ 3 ให้ พ ร้ อ มกั น ท ารั้ ว หรื อ ก าแพงล้ อ มวั ด วาอารามและ บ้านเรือนของตน แล้วปลูกหอเทวดาไว้ 4 มุมของหมู่บ้าน และ 4ด้านของเรือนตน คองที่ 4 ให้ล้างเท้าก่อนขึ้นเรือนทุกครั้ง คองที่ 5 เมื่อถึงวันพระ 7 ค่า 8 ค่า 14 ค่า 15 ค่า ไม่ว่าข้างขึ้นหรือ ข้างแรม ให้สมมา (ขอขมา) ก้อนเส้า เรือนไฟ แม่บันได และประตูเรือน คองที่ 6 ให้ล้างเท้าก่อนเข้านอนตอนกลางคืนทุกครั้ง คองที่ 7เมื่อถึงวันพระวันศีลให้ภรรยาจัดดอกไม้ขอขมาสามี และให้ นาดอกไม้ธูปเทียนไปถวายพระสงฆ์ คองที่ 8 เมื่อถึงวันศีลดับ (วันแรม 14 ค่าเดือนคี่ หรือ 15 ค่าเดือน คู่ ) ศี ล เพ็ ง (วั น ขึ้ น 15 ค่ าของทุ ก เดื อ น) ให้ นิ ม นต์ พ ระสงฆ์ เจริ ญ พระพุ ท ธมนต์ ที่ บ้านเรือนของตน แล้วทาบุญเลี้ยงพระ คองที่ 9 เมื่อภิกษุมาบิณ ฑบาตอย่าปล่อยให้ท่านยืนคอย เวลาใส่ บาตร (ตักบาตร) อย่าให้มือถูกบาตรและถูกตัวภิกษุสามเณร ขณะใส่บาตรนั้นอย่าสวม รองเท้า กางร่ม เอาผ้าคลุมศีรษะ อุ้มหลาน หรือถืออาวุธต่างๆ

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

คองที่ 10 เมื่อภิกษุเข้ามาอยู่ปริวาสกรรม ให้จัดดอกไม้ ธูป เทียน และเครื่องอัฐบริขารไปถวายท่าน คองที่ 11 เมื่อเห็นภิกษุสงฆ์เดินผ่านมา ให้นั่งลงยกมือไหว้ก่อนแล้ว จึงเจรจา คองที่ 12 อย่าเหยียบเงาภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ คองที่ 13 อย่านาอาหารที่ตนหรือผู้อื่นกินแล้วไปถวายพระสงฆ์หรือ เอาไว้ให้สามีกิน คองที่ 14 อย่าเสพกามคุณในวันศีลหรือวันพระ วันเข้าพรรษา วัน ออกพรรษา วันมหาสงกรานต์ และวันเกิดตน ฮีตสิบสองคองสิบสี่นับว่าเป็นจารีตประเพณีที่ชาวอีสานให้ความสาคัญในการ ปฏิ บั ติ ต าม ทั้ งการท าบุ ญ ตามประเพณี และการยึ ด วิถี ป ฏิ บั ติ เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ วัฒนธรรมอันดีงามของสังคมที่ได้สั่งสมและสั่งสอนสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน 7. เรือนสามน้าสี่ เรือนสามน้าสี่เป็นแนวทางการอบรมสั่งสอนกุลสตรีไทย ชาวอีสานได้สืบทอด คาสอนนี้ไว้สอนลูกสาว โดยถือว่าหญิงดีต้องมีเรือนสามน้าสี่ จึงจะเป็นแม่ศรีเรื อน เป็น ภรรยาและแม่ที่ดี เรือนสาม ได้แก่ เรือนผม เรือนกาย เรือนนอน ดังนี้ - เรือนผม หมายถึง ผมสะอาดงดงาม - เรือนกาย หมายถึง ร่างกายสะอาดการแต่งกายดี - เรือนนอน หมายถึง ที่อยู่อาศัย เป็นผู้ดูแลรักษาบ้านเรือนสะอาด สวยงาม น้าสี่ ได้แก่ น้ามือ น้าใช้ น้าใจ น้าคา ดังนี้ - น้ามือ หมายถึง มีฝีมือในการทาอาหาร และการเย็บปักถักร้อย - น้าใช้ หมายถึง น้าดื่มน้าใช้ ดูแลให้มีพร้อมอยู่เสมอ โอ่งต้องไม่แห้ง โบราณหมายถึง “น้าเต้าปูน” ด้วย น้าเต้าปูนคือน้าหล่อเต้าปูนที่ ใช้กินกับหมาก ประเพณีเดิมของไทย เวลาแขกไปใครมาจะต้องต้อนรับด้วยการเชิญ กินหมาก น้าในข้อนี้จึงมีความหมายครอบคลุมถึงการมีกิริยามารยาทในการต้อนรับ แขกได้เป็นอย่างดี เป็นแม่บ้านที่มีความรอบคอบดูแลทุกสิ่งทุกอย่างได้ดี

15

วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560

16

- น้าใจ หมายถึง เป็นผู้มีจิตใจอันประเสริฐ - น้าคา หมายถึง เป็นผู้มีวาจาอันไพเราะ ทั้งเรือนสามและน้าสี่ เป็นคาสอนที่ปลูกฝังลูกสาวชาวอีสานให้มีคุณสมบัติ ของแม่ศรีเรือน รักษาความงามทั้งภายนอกและภายใน จึงกล่าวได้ว่า “เรือนสามน้าสี่” เป็นคาสอนกุลสตรีอีสานจากรุ่นปู่ย่าตายายสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน บทสรุป ภูมิปั ญ ญาคื อภู มิรู้ ความรู้ และแนวทางการดาเนิ นชี วิตที่ดี งามของคนใน สังคม ภูมิปัญญาในภาษาและวัฒนธรรมอีสานได้สะท้อนเอกลักษณ์ทางภาษา ความคิด ความเชื่ อ วิถี ชี วิต ที่ เรีย บง่ ายแต่ งดงามของชาวอี ส าน การเรีย นรู้ภู มิ ปั ญ ญาจึ งเป็ น การศึกษารากเหง้าทางวัฒนธรรมเพื่อนาไปพัฒนาสู่ความเป็นสังคมที่มีความเข้มแข็ง ทางวัฒนธรรม สามารถสร้าง “คุณค่า” และ “มูลค่า” จากองค์ความรู้ต่างๆ ของชุมชน รวมถึงใช้เป็นแนวทางในการอบรมสั่งสอนเยาวชนให้สานึกรักถิ่นฐานบ้านเกิด ภูมิใจใน เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และมีภูมิคุ้มกันทางสังคมเป็นอย่างดี รายการอ้างอิง นิศารัตน์ หวานชะเอม. (2558). ภูมิปัญญาไทยกับการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง. ประคอง นิมมานเหมินทร์. (2538). ภูมิปัญญาไทยในวิถีชีวิตไทย. ใน การสัมมนาทาง วิชาการเรื่องภูมิปัญญาไทยในภาษาและวรรณคดี . กรุงเทพฯ: สานักงาน ส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ และมหาวิทยาลัยสยาม. เสรี พงศ์พิศ. (2529). ภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2541). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค : วิถีชีวิตและกระบวนการ เรียนรู้ของชาวบ้านไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.