โรคในระบบประสาท Flipbook PDF


106 downloads 113 Views 27MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

โรคในระบบประสาท จัดทำโดย นางสาววันนิสา จิตรพล นำเสนอ อาจารย์อนนต์ ละอองนวล

คำนำ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา พยาธิวิทย เพื่อให้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง โรคระบบประสาท ได้ อย่างเข้าใจเพื่อใช้ประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ หากผิดพลาดประการ ใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย



ผู้จัดทำ วันนิสา จิตรพล

เรื่อง

สารบัญ

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

โรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ โรคน้ำคั่งในสมอง

โรคไมเกรน โรคเส้นประสาทกดทับ โรคสมองฝ่อ โรคลมชัก



โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคเนื้องอกในสมอง โรคปากเบี้ยว โรคสมองพิการ บรรณานุกรม

หน้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11

12

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

สาเหตุ 1. หลอดเลือดแดงในสมองเสื่อม หรือหลอดเลือดแดงตีบแข็ง (Atherosclerosis) เกิดจากการสะสมของไขมัน ที่ผนัง ชั้นใน หลอดเลือดแดงเสื่อมจากการสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารไข มันสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน 2. หลอดเลือดแดงสมองอุดตันจากลิ่มเลือด หรือชิ้นส่วนของไขมันที่ หลุดลอยมา ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การมีภาวะ หัวใจเต้นผิด จังหวะ โรคของลิ้นหัวใจ หรือภาวะหัวใจโต 3. หลอดเลือดแดงสมองแตก จากภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุม ไม่ได้ หรือควบคุมได้ไม่ดี หรือเส้นเลือดโป่งพอง เป็นต้น

อาการ 1. ชาหรืออ่อนแรง บริเวณแขนขา หรือใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง 2. ตามัวหรือเห็นภาพซ้อนทันทีทันใด 3. ปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ 4. มึนงง เวียนศรีษะ เดินเซ วิธีการรักษาทำอย่างไร

วิธีการรักษา การรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน การผ่าตัดสมอง ในกรณีที่เกิดจากหลอดเลือดโป่งพอง พิจารณาการรักษาด้วยการ สวนหลอเลือดและใส่ขดลวด (coiling) โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ (cerebral arteriovenous malformation) พิจารณาการรักษาด้วยการสวนหลอดเลือดและ ใช่สารอุดหลอดเลือดที่ผิดปกติ (transarterial/venous embolization) หรือ radiosurgery

รหัสICD:10

G83.9

โรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) สาเหตุ ความผิดปกติในเนื้อสมอง การอักเสบ Inflammatory สาร amyloid เมื่อสลายจะทำให้อนุมูล อิสระออกมา อนุมูลนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์สมอง กรรมพันธุ์ การอักเสบ Inflammatory สาร amyloid เมื่อสลายจะทำให้อนุมูล อิสระออกมา อนุมูลนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์สมอง กรรมพันธุ์

อาการ ระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะรับรู้ว่าขี้ลืม ลืมปิดเตารีด ลืมปิดประตู ลืมชื่อคน ลืมรับ ประทานยา ต้องให้คนช่วยเขียนรายการที่จะทำ ระยะที่สอง ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำ โดยเฉพาะความจำที่เพิ่งเกิดใหม่ๆ โดยอาจ จดจำเรื่องในอดีต เริ่มใช้คำพูดไม่ถูกต้อง อารมณ์ผันผวน ระยะที่สาม ผู้ป่วยจะสับสน ไม่รู้วัน รู้เดือน บางรายมีอาการหลงผิด หรือเกิดภาพ หลอน บางรายอาจจะก้าวร้าวรุนแรง ปัสสาวะราด ไม่สนใจตนเอง



วิธีการรักษา ควรจัดห้อง หรือบ้านให้น่าอยู่ ใช้สีสว่างๆ สดใส ถ้าในรายที่ชอบเดินไปมามากๆ ต้องใช้เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เก็บของมีคม หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มิดชิด ปิดวาล์วเตาแก๊สไว้เสมอ ในรายที่เริ่มจะดูแลยาก เช่น ก้าวร้าว เอะอะโวยวาย สับสนมาก หรือเดินออกนอก บ้านบ่อยๆ ควรพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบประสาท เนื่องจากอาจ จำเป็นต้องใช้ยาลดอาการดังกล่าวร่วมด้วย

รหัสICD:10

G30

โรคน้ำคั่งในสมอง สาเหตุ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้เองโดยไม่มีสาเหตุ หรือ เกิดขึ้นตามหลังสาเหตุอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยเส้นเลือดสมองโป่งพอง และ เกิดการแตก มีเลือดคั่งในโพรงสมอง มีเส้นเลือดสมองตีบ จนเกิด อาการคล้ายเป็นอัมพฤกษ์ จึงเริ่มพบภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองตามมา หรือเกิดภายหลังจากประสบอุบัติเหตุ ทางสมองอย่างรุนแรง ซึ่ง สามารถพบในผู้ป่วยอายุน้อยได้ หรือเกิดภายหลังจากการเป็นเนื้องอก ของสมอง แล้วรับการผ่าตัดซึ่งทำให้เกิดน้ำคั่งในโพรงสมองตามมาได้ หากผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที จะสามารถ ช่วยให้ผู้ป่วยหายกลับมาเป็นปกติได้

อาการ มักมีความคล้ายคลึงกับโรคสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ ซึ่งจะมีอาการหลงลืม พูดจาสับสน มีความคล้ายคลึงกับอาการของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยจะมีปัญหาเรื่องการ ก้าวเดิน ตอบสนองช้า ร่วมด้วย

วิธีการรักษา ่่่แพทย์จะทำการเจาะและใส่อุปกรณ์ถาวารเพื่อระบายน้ำที่คั่งในโพรงสมอง ซึ่งเป็น อุปกรณ์ที่สามารถปรับระดับแรงดันในการระบายให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย ได้ จากภายนอกร่างกาย ไม่ต้องผ่าตัดซ้ำใหม่เหมือนในอดีต อุปกรณ์ที่ใช้ปรับจะมี ขนาดเล็กๆ มาประกบที่ศีรษะแล้วส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปปรับแรงดันของอุปกรณ์ ภายใน ผู้ป่วยจะปลอดภัย ไม่เจ็บตัว ใช้เวลาในการปรับไม่เกิน 1 นาที จึงไม่จำเป็น ต้องนอน โรงพยาบาล ทำในลักษณะผู้ป่วยนอกได้

รหัสICD:10

G91.9

โรคไมเกรน สาเหตุ ความเครียด สภาพแวดล้อม เช่น แสงจ้าหรือแสงแฟลช เสียงดัง กลิ่นที่รุนแรง หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพ อากาศแบบฉับพลัน การใช้ยาบางชนิด การนอนหลับไม่ เพียงพอ หรือมากเกินไป

อาการ ปวดหัวตุ๊บ ๆ บริเวณขมับ อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตาหรือท้ายทอย และปวดหัวข้างเดียว (บางรายอาจพบว่าปวดหัวทั้งสองข้าง) มีอาการคลื่นไส้อาเจียน มีอาการแพ้แสงแพ้เสียง ปวดหัวเป็นครั้งคราว บางครั้งก็สัมพันธ์กับรอบเดือน บางครั้งมีอาการมองเห็นผิดปกตินำ หรือที่เรียกว่า อาการออร่า (migraine aura) ผู้ป่วยจะเห็นเป็นแสงไฟสีขาว ๆ มีขอบหยึกหยัก เป็น อาการเตือนนำมาก่อนที่จะเริ่มมีอาการปวดหัว

วิธีการรักษา การปวดศีรษะจากโรคไมเกรน (MIGRAINE) นี้ มักรักษาไม่หายด้วยยาแก้ ปวดพาราเซตามอลธรรมดา ยาที่ได้ผลดีคือ ยาแก้ปวดแอสไพริน ขนาด 2 เม็ด ในขณะปวด แต่ข้อระวัง ห้ามรับประทานแอสไพรินในขณะท้องว่าง และผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารห้ามรับประทานแอสไพรินเด็ดขาด เพราะอาจเกิดเลือดออกในกระเพาะได้มากๆ และอาจทำให้ถึงแก่กรรมได้ ใน ผู้ป่วยที่ไม่แน่ใจว่าจะมีโรคกระเพาะหรือไม่ ให้รับประทานยาเคลือบกระเพาะ อาหารหรือนมร่วมด้วย ก็จะป้องกันการระคายเคืองของแอสไพรินต่อเยื่อบุก ระเพาะอาหารได้

รหัสICD:10

G43

โรคเส้นประสาทกดทับ สาเหตุ เส้นประสาทมีเดียนคือเส้นประสาทหลักที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อที่ช่วย เคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ และยังทำหน้าที่รับความรู้สึกบริเวณนิ้วหัวแม่มือถึง นิ้วต่างๆ เช่น นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง แต่ไม่รวมนิ้วก้อย การระคายเคือง หรือการกดทับที่บริเวณเส้นประสาทมีเดียน อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ สาเหตุอื่นๆที่เป็นต้นเหตุในการเกิด โรคนี้คือ กระดูกข้อมือหัก (wrist fracture) และ โรคข้ออักเสบรูมา ตอยด์ (rheumatoid arthritis) ซึ่งโรคเหล่านี้อาจก่อให้เกิดการบวม และการอักเสบ แต่ไม่พบวสาเหตุจำเพาะที่ก่อให้เกิดโรคการกดทับเส้น ประสาทบริเวณข้อมือ เพราะอาจจะเกิดจากปัจจัยหลายๆด้านรวมกัน

อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการชา เหน็บหรือปวดแสบเหมือนถูกเข็มทิ่มบริเวณนิ้วหัว แม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง มีอาการปวดบริเวณมือ บางรายอาจมีอาการนิ้ว หัวแม่มืออ่อนแรง ซึ่งทำให้หยิบจับสิ่งของล่าช้า กำมือได้ไม่แน่น หยิบ จับอะไรก็จะหล่นจากมือทันที ส่วนมากก็จะปวดมากหรือมีอาการมาก ในช่วงเวลากลางคืน

วิธีการรักษา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ใช้ข้อมือเพื่อลดการอักเสบของรอบๆ เนื้อเยื่อเส้นประสาทข้อมือ การใช้ยาต้านอักเสบ ใส่ Splint เพื่อพักข้อมือ การฉีดยา เข้าโพรงประสาทควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ การผ่าตัดจะกระทำเมื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษา ด้วยยาแล้วไม่ได้ผล

รหัสICD:10

G55

โรคสมองฝ่อ สาเหตุ เกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหลายๆ เส้น เกิดการตายของเซลล์สมองหลายๆ ตำแหน่ง สูดดมสารระเหย เช่น ทินเนอร์ แลคเกอร์ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก

อาการ ขี้หลงขี้ลืม ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น สมองด้านการรับรู้ ความเข้าใจและมีเหตุผลเสื่อมลง ขาดความสนใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมรอบ ๆ ตัวเอง ในกรณีที่อาการหนักจะทำให้บุคลิกภาพของผู้สูงอายุเสียไป บางรายอาจมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขาทำให้ เคลื่อนไหวลำบาก

วิธีการรักษา 1. สำหรับการรักษาโรคสมองฝ่อนั้น จะเห็นได้ว่าสาเหตุบางอย่างสามารถแก้ไขได้ เช่น สภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองลดน้อยลงในระยะเริ่มต้น และได้รับการรักษาทัน ท่วงที ก็อาจป้องกันการเกิดโรคสมองฝ่อได้ หรือการรับประทานยาบางอย่าง เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ก็อาจมีส่วนทำให้มีอาการโรคสมองฝ่อได้ 2. ส่วนโรคสมองฝ่อที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ทราบสาเหตุ การรักษาคงเป็นการรักษาตาม อาการ 3. สำหรับวิธีการชะลอความเสื่อมที่ เป็นที่ยอมรับและ ได้ผลดีตามวิถีธรรมชาติ ก็คือ หลัก 5 อ ได้แก่ อาหารดี อากาศดี ออกกำลังกายดี อุจจาระ (ขับถ่ายดี) และ อารมณ์ (จิตใจ) ดี

รหัสICD:10 G31.0

โรคลมชัก สาเหตุ 1. ความผิดปกติทางด้านโครงสร้างสมอง สาเหตุจากรอยโรคในสมองได้แก่ แผลเป็นที่ฮิปโปแคมปัส (สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ), เนื้องอกสมอง, เส้นเลือดสมองผิดปกติ, หลังการได้รับบาดเจ็บทางสมอง, การขาดอ็อกซิ เจนหลังคลอดจากการคลอดลำบาก 2. พันธุกรรม ได้แก่ กลุ่มอาการที่เด่นชัดและเริ่มเกิดโรคลมชักตามอายุ, ความผิดปกติทางระบบประสาทร่วมกับผิวหนัง, เซลล์สมองพัฒนาผิดรูป บางชนิด 3. สาเหตุจากโรคติดเชื้อ เช่น ไข้สมองอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส, แบคทีเรีย, การติดเชื้อโปรโตซัวหรือพยาธิในสมอง

อาการ อาการชักเฉพาะที่ (ทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว) โดยกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติอาจ รบกวนสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานแห่งใดแห่งหนึ่งในร่างกาย ทำให้เกิด อาการต่างๆ โดยที่ยังไม่รู้ตัว เช่น อาการชา หรือกระตุกของแขนขาหรือ ใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งเป็นซ้ำๆ โดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้อาจมี อาการคลื่นไส้ ปวดท้อง หวาดกลัวความรู้สึกแปลกๆ ความรู้สึกเหมือนฝัน หู แว่ว เห็นภาพหลอน หรือหัวใจเต้นผิดปกติ

วิธีการรักษา

ควรใช้หลักการทั้งดูแลตนเองทั่วไป เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พัก ผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายและดูแลตนเองเฉพาะโรคลมชัก ซึ่งมีสิ่งที่ต้อง เฝ้าระวังและต้องหลีกเลี่ยง คือไม่ดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่อดนอน ไม่เครียด การออกกำลังกายอย่างหักโหมหรือทำงานหนักจนเหนื่อยล้า หากไม่สบายมีไช้ สูง ควรรีบรักษาให้หายให้เร็วที่สุด ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีโอกาสทำให้อาการชัก กำเริบได้ กรณีที่โรคลมชักยังไม่สงบยังอยู่ในช่วงของการปรับยากันชัก ผู้ป่วย ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองเมื่อมี อาการชักกำเริบเช่น ขับรถ ว่ายน้ำ การปีนขึ้นที่สูง การใช้ของมีคม เป็นต้น

รหัสICD:10

G40.0

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สาเหตุ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจาก เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและ ไขสันหลังจนทำให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม ทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ปวดศีรษะ คอแข็งขยับไม่ได้ และเป็นไข้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบพบมากใน เด็กอ่อน เด็กเล็ก วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ และบางชนิดอาจเป็นอันตรายร้าย แรงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

อาการ

คอแข็ง มีอาการสับสน ไม่มีสมาธิในการจดจ่อ ไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ชัก แพ้แสงหรือไวต่อแสง ไม่มีความกระหายหรืออยากอาหาร ปวดหัวอย่างรุนแรงผิดปกติ

วิธีการรักษา

การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้และบรรเทา อาการปวด ยากันชัก การให้น้ำเกลือในรายที่อาเจียนมากหรือกินไม่ได้ การให้อาหารทางสายยางในรายที่กินไม่ได้ การเจาะคอช่วยหายใจใน รายที่หมดสติ การเจาะหลังเพื่อลดความดันน้ำไขสันหลัง เป็นต้น ใน รายที่มีโรคลมชักแทรกซ้อน จำเป็นต้องให้ยากันชัก เช่น ฟีโนบาร์บิทั ล (Phenobarbital), เฟนิโทอิน (Phenytoin) รักษาอย่างต่อ เนื่อง



รหัสICD:10

G02.1

โรคเนื้องอกในสมอง สาเหตุ อายุ เนื้องอกในสมองเกิดได้กับคนทุกวัย แต่เกิด ขึ้นบ่อยที่สุดกับคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เพศ เนื้องอกในสมองเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง การสัมผัสกับกัมมันตรังสีหรือสารเคมีบางชนิดในที่ ทำงาน

อาการ ปวดหัวเรื้อรัง มีอาการปวดหัวมากกว่า 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน คลื่นไส้หรืออาเจียน โดยเฉพาะการอาเจียนในตอนเช้า ค่อยๆ สูญเสียความรู้สึกหรือการเคลื่อนไหวแขนหรือขา ชา อัมพาตบางส่วน ปัญหาในการทรงตัวหรือเดิน สับสน สูญเสียความทรงจำ หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนไป หูอื้อ วิงเวียน กล้ามเนื้อใบหน้าชาหรือเป็นเหน็บ

วิธีการรักษา

เพิ่มการผ่าตัดผ่านกล้องกำลังขยายสูง (Microscopic) เป็นกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยาย สูง และมีลำแสงที่สามารถส่งลงไปในจุดที่ลึกๆ ได้ จึงให้รายละเอียดในการผ่าตัดที่สูงขึ้น ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ ชัดเจน มีความปลอดภัยมาก และลดอัตราการบาดเจ็บต่ออวัยวะสำคัญขนาดเล็กโดยรอบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (Endoscopic) กล้องที่มีลักษณะเป็นแท่ง สอดเข้าไปใน บริเวณสมองที่ต้องการผ่าตัดมีความละเอียดสูงทำให้มองเห็นในจุดที่ลึกได้อย่างชัดเจน โดยเครื่องมือชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการผ่าตัดบางอย่าง เช่น การผ่าตัดระบายน้ำคั่งใน สมอง และการผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง หัวเรื่องย่อย

รหัสICD:10

C71

โรคสมองพิการ สาเหตุ โรค Cerebral Palsy เกิดขึ้นเมื่อเซเรบรัลคอร์เทกซ์ (Cerebral Cortex) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวได้รับความเสียหายหรือมี พัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ มักเกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ แต่ก็อาจเกิดขึ้นใน ระหว่างคลอดหรือหลังคลอดได้เช่นกัน แม้ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ ชัดเจนแต่ก็มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกได้

อาการ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น ความตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้จนทำให้เสียการทรงตัว เคลื่อนไหวน้อย น้ำลายไหลมาก กลั้นปัสสาวะไม่ได้แม้ถึงวัยที่ควรทำได้ เป็นต้น อาจมีความบกพร่องทางสติปัญญาและการเรียนรู้ ปัญหาทางการมองเห็นและการได้ยิน หรืออาจมีอาการตาเหล่ร่วมด้วย ปัญหาทางการสื่อสาร การพูดและการใช้ภาษา การรับรู้ความรู้สึกผิดปกติ อย่างความรู้สึกเจ็บ

วิธีรักษา กิจกรรมบำบัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายส่วนบน ปรับปรุงท่าทาง และ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ เช่น การแต่งตัว การเข้าห้องน้ำ การไป โรงเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ กิจกรรมบำบัดยังช่วยให้ผู้ป่วยเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น เห็น คุณค่าในตัวเอง และสามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตนเองในอนาคต นันทนาการบำบัด เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และกิจกรรมอื่น ๆ ที่ได้ใช้ทักษะทางร่างกาย สติปัญญา และความสามารถ ของตนเอง ซึ่งผู้ปกครองหรือคนรอบข้างอาจสังเกตได้ถึงความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้ง การพูด ความมั่นใจ และอารมณ์ของผู้ป่วยที่เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น

รหัสICD:10

Q048

โรคปากเบี้ยว สาเหตุ ภาวะที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ โดยมีสาเหตุมาจากเส้น ประสาทบนใบหน้า หรือเส้นประสาทสมอง (Cranial Nerve) คู่ที่ 7 ที่ไป เลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดความผิดปกติ โดยอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไวรัส เช่น เชื้อเริม (Herpes simplex virus) งูสวัด (Herpes zoster) ที่ แฝงอยู่ในปมประสาท หากร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลงจะทำให้เกิดโรคนี้ได้

อาการ



มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ใบหน้าชา ไม่สามารถยักคิ้วได้ ตาปิดไม่สนิท หนังตา และมุม ปากตก รับประทานน้ำแล้วไหลออกมาจากมุมปาก บางรายอาจมีอาการปวดบริเวณหลังใบหู มีอาการระคายเคืองที่ตา รู้สึกตาแห้ง หรือมีน้ำตา ไหล รับรสชาติได้น้อยลง

วิธีรักษา เพิ่มใช้ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท ควรเริ่มใช้ หลังจากเกิดอาการภายใน 72 ชั่วโมง โดยจะต้องรับประทาน ประมาณ 2 สัปดาห์อย่างต่อเนื่อง และจะมีการปรับยาตามที่แพทย์ แนะนำ ใช้ยาฆ่าเชื้อไวรัส จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิด โรคเริม และงูสวัด

รหัสICD:10

G51.0

อ้างอิง https://www.freepik.com/ : https://ph02.tcithaijo.org/index.php/gskku/article/view/229442/1561 49)

สมิติเวช สุขุมวิท

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.