การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลหนองโดน อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ด้วยชุดความรู้การบริหารจัดการแปลงร Flipbook PDF

โครงงานการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลหนองโดน อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ด้วยชุดความรู้การบริหารจัดก

74 downloads 128 Views 28MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

คำนำ การจัดทำโครงงาน “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลหนองโดน อำเภอ หนองโดน จังหวัดสระบุรีด้วยชุดความรู้การบริหารจัดการแปลงระบบเกษตรสมัยใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ถ่ายทอดองค์ความรู้แบบเฉพาะกลุ่ม ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว (ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต) ด้วยระบบ เทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรีและเพื่อขยาย ผลการดำเนินงานการเพิ่มประสิทธิภาพนาแปลงใหญ่ด้วยระบบเกษตรสมัยใหม่ สู่วิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ กลุ่มอื่น ๆ การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงงานนี้ประกอบด้วยการสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่หนอง โดน เพื่อประเมินประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการทำเกษตรแบบนาแปลงใหญ่การกำหนดแนวทางแก้ปัญหา โดยใช้เทคโนโลยีนาหยอดและองค์ความรู้ที่เหมาะสม และการจัดทำแปลงสาธิตเพื่อเปรียบเทียบผลของการทำ นาหยอดด้วยเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เหมาะสม กับนาหว่านที่เป็นวิธีดั้งเดิมของเกษตรกร และการสรุปผล การดำเนินงานต่อการเพิ่มรายได้-ลดรายจ่าย โดยสามารถเพิ่มรายได้-ลดรายจ่ายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ประมาณการจากการเจริญเติบโตของข้าวระยะแตกกอ ปริมาณฟางก้อนที่คาดว่าจะได้ และการลดอัตราการใช้ ปุ๋ยเคมี ขอขอบคุณ เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่หนองโดน นายรุจฒิชัย ลีมีชัย ผู้จัดการแปลง ใหญ่หนองโดน คณะวิทยากรบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 และสถานีพัฒนาที่ดินสระบุรี กรมพัฒนาที่ดิน และเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ. ก.ส.) ผู้ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้ท้ายที่สุด ขอขอบคุณ รศ.ดร.ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูน วิวัฒน์อาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่ม ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดทำโครงงานจนสำเร็จตามความ เป้าประสงค์ คณะผู้จัดทำโครงงานกลุ่ม 6 10 กันยายน 2565


(1) สารบัญ เรื่อง หน้า สารบัญ (1) สารบัญตาราง (2) สารบัญภาพ (3) ส่วนหลักที่ 1 : ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ 2 1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงการ 2 1.2 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 3 1.3 วัตถุประสงค์ 3 1.4 ขอบเขตของการทำโครงงาน 3 1.5 กระบวนการทำงาน 4 1.6 ประเด็นท้าทายในการดำเนินงาน 10 1.7 การประเมินผลสัมฤทธ์ของการจัดทำโครงงาน 11 ส่วนหลักที่ 2 : ผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบ 11 ส่วนหลักที่ 3 : การถอดบทเรียนและข้อเสนอแนะ 12 3.1 แผนงานและวิธีการดำเนินงาน 12 3.2 กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่หนองโดน 17 3.3 สรุปกิจกรรมแปลงสาธิตการทำนาหยอดน้ำตมและนาหว่านน้ำตม 36 3.4 การกำหนดประเด็นเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานแปลงสาธิต 44 3.5 ผลการดำเนินงานแปลงสาธิตนาหยอดน้ำตมและนาหว่านน้ำตม 45 3.6 ประเด็นเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจสาธารณะ 46 3.7 การประเมินผลสัมฤทธิ์ด้วย “แบบประเมินประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการรายแปลง” 47 เอกสารอ้างอิง 53


(2) สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า ตารางที่ 1 แผนและผลการดำเนินงานเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว วิสาหกิจชุมชน 14 นาแปลงใหญ่หนองโดน จังหวัดสระบุรีด้วยระบบเกษตรสมัยใหม่ ตารางที่ 2 การกำหนดอัตราการหยอดเมล็ดพันธุ์(กิโลกรัมต่อไร่) จากระยะห่างระหว่างกอ (ซม.) 19 และระยะช่องลูกหยอด (มม.) ตารางที่ 3 การประเมินคะแนนธาตุอาหารหลักในดิน จากผลวิเคราะห์NPK ของดิน 28 ตารางที่ 4 บัญชีรายจ่ายการบริหารจัดการแปลงปลูกข้าวพื้นที่ 18 ไร่ ในปีพ.ศ. 2563 33 (ก่อนวิกฤตปุ๋ยแพง) ตารางที่ 5 บัญชีรายจ่ายการบริหารจัดการแปลงปลูกข้าวพื้นที่ 18 ไร่ ในปีพ.ศ. 2564 34 (หลังวิกฤตปุ๋ยแพง) ตารางที่ 6 บัญชีฟาร์ม (รายจ่าย) ของแปลงสาธิตนาหยอดน้ำตมและนาหว่านน้ำตม 42


(3) สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า ภาพที่ 1 ภาพที่ 1 แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพกลุ่มนาแปลงใหญ่ตามแนวทาง PDCA 4 ภาพที่ 2 การศึกษาดูงานการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในการทำเกษตรสมัยใหม่ 5 ณ คูโบต้าฟาร์ม จ.ชลบุรี ภาพที่ 3 การระดมสมองของคณะทำงานกลุ่ม 6 ร่วมกับผู้จัดการวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ 6 หนองโดน และวิทยากรบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ภาพที่ 4 พิกัดพื้นที่แปลงสาธิตการปลูกข้าววิธีเกษตรกร (8 ไร่) และการปลูกข้าว 12 ด้วยเทคโนโลยีนาหยอด (10 ไร่) ภาพที่ 5 การลงพื้นที่ศึกษาของคณะทำงานกลุ่ม 6 ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ 13 หนองโดน จ.สระบุรี ภาพที่ 6 ปัญหาดินอัดแน่นไม่สามารถทำนาหว่านแห้งและนาหยอดแห้งได้ 17 ภาพที่ 7 ตัวอย่างวัชพืชที่สำรวจพบในแปลงนาสาธิต พื้นที่รวม 18 ไร่ 17 ภาพที่ 8 การไถกลบตอซังข้าวและหญ้าลงดิน ที่ระดับความลึกมากกว่า 15-20 เซนติเมตร 18 ภาพที่ 9 ตัวอย่างชิ้นส่วนที่สึกหรอหรือเสียหาย การตรวจสอบความพร้อมเครื่องหยอดข้าว 19 และการหยอดข้าวในแปลงสาธิตนาหยอดน้ำตม ภาพที่ 10 ลักษณะเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เตรียมอย่างเหมาะสมพร้อมปลูก 20 ภาพที่ 11 การเตรียมแปลงนาหยอดน้ำตมด้วยการใช้ผานพรวน รถไถเดินตาม และกระดานลูบ 21 ภาพที่ 12 ผังขั้นตอนการบริหารจัดการเครื่องจักรแบบรวมกลุ่ม 22 ภาพที่ 13 การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการประเมินสุขภาพดินนาปลูกข้าว และการขอรับ 23 บริการวิเคราะห์ดินด้วยระบบ e-Service ของคณะทำงานกลุ่ม 6 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดิน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน ภาพที่ 14 ตัวอย่างผลตรวจวิเคราะห์ดินแบบปุ๋ยสั่งตัด ของเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน 28 ภาพที่ 15 แบบประเมินสุขภาพดินสำหรับข้าว 29 ภาพที่ 16 ผลการประเมินสุขภาพดิน 29 ภาพที่ 17 การถ่ายทอดองค์ความรู้การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 35 โดยเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ภาพที่ 18 ปฏิทินการปลูกข้าวนาหยอดน้ำตม และนาหว่านน้ำตม (ข้าวมีอายุเฉลี่ย 120 วัน) 36


โครงงานกลุ่ม ๖ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลหนองโดน อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ด้วยชุดความรู้การบริหารจัดการแปลงระบบเกษตรสมัยใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปศส.) รุ่นที่ ๒๐ สถาบันพระปกเกล้า คณะผู้จัดทำโครงงาน 641-103-011 ดร. ชนิดา จรัญวรพรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์วิจัยดินทางกายภาพ กรมพัฒนาที่ดิน 641-103-012 ผศ.ดร. ชยกฤต อัศวธิตานนท์ คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 641-103-031 ผศ.ดร. ประสิทธิ์ นางทิน คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 641-103-033 นายปุณนะ วงศ์ธนาศิริกุล ผู้จัดการฝ่ายขายแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตร บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด 641-103-046 นายยุวพล วัตถุ ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายจัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 641-103-050 นางราณี โฆษิตวานิช รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 641-103-077 นายอัทธ์ เสมาพงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มแผนและงบประมาณ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์


2 ส่วนหลักที่ 1 : ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ 1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563 ได้อนุมัติโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตร สมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(กษ.) กรอบวงเงินรวม 13,904.50 ล้านบาท เพื่อ แก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม รวมทั้งเครือข่ายความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการ ร่วมบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ และยกระดับการผลิตไปสู่สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน สอดคล้องกับความ ต้องการของตลาดและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลังงาน และ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และยาที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการต้องจดทะเบียนเป็น วิสาหกิจชุมชน ประเภทนิติบุคคลตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 การดำเนินโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ในระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2654) ประสบปัญหาหลายด้าน ที่ทำให้โครงการไม่ได้รับผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ได้แก่ (1) หน่วยงาน ราชการขาดการวางแผนสร้างความเข้าใจกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้เกษตรกรไม่ทราบบทบาท หน้าที่ของตนเอง และมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การเข้าร่วมโครงการโดยการรวมกลุ่มเกษตรกรรายย่อยให้เป็น แปลงใหญ่ เพื่อขอรับการสนับสนุนเครื่องจักรสมัยใหม่จากภาครัฐ เมื่อได้รับเครื่องจักรแล้วก็ถือว่าจบโครงการ ทำ ให้เครื่องจักรที่ได้รับไปไม่เกิดการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ (2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและเกษตรกร เข้าไม่ถึง ข้อมูลที่จำเป็นและขาดแคลนความรู้และเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ขาดความรู้ในการคำนวณต้นทุน-กำไร และการวางแผนการผลิต, ขาดความรู้ด้านวางแผนการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างเป็นระบบ, ขาดความรู้ เรื่องการให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการให้ปุ๋ยตามความต้องการของพืช, ขาดความรู้ในการนำวัสดุเหลือใช้ทาง การเกษตรมาเพิ่มมูลค่าด้วยการสร้าง by-product, และขาดความรู้ในการวางแผนการผลิตและการเพิ่มช่องทาง การตลาด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดองค์ความรู้นั้น ๆ เป็นปัญหาแบบเฉพาะแปลง เฉพาะกลุ่ม ดังนั้น การจะแก้ปัญหาให้ได้ประสิทธิภาพจึงต้องตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะแปลง เฉพาะกลุ่ม เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ คณะจัดทำโครงงานกลุ่ม 6 จึงเกิดแนวคิดการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีคู่ความรู้แบบเฉพาะกลุ่ม เพื่อถ่ายทอดให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ โดยเน้นประเด็นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนั้น ๆ ขาดแคลน ดำเนินการยังไม่ครอบคลุมทั้งด้านเทคโนโลยีและความรู้ ซึ่งคาดหวังว่าการให้องค์ความรู้ครบถ้วนรอบด้าน ตรง ตามศักยภาพในมิติต่าง ๆ ที่สมาชิกกลุ่ม 6 สนับสนุนได้จะก่อให้เกิดการทำเกษตรแปลงใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้จริง


3 1.2 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง คณะจัดทำโครงงานกลุ่ม 6 ได้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยกำหนดให้เป็นกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ ได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลทางการเกษตร เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง พร้อมสำหรับการปรับปรุงการเพาะปลูกโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้วยเกณฑ์ดังกล่าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลง ใหญ่ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรีจึงเป็นกลุ่มที่เหมาะสมและได้รับการคัดเลือกให้เป็นกลุ่มตัวอย่างใน การศึกษาครั้งนี้ 1.3 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แบบเฉพาะกลุ่ม ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว (ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต) ด้วยระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่หนองโดน 2. เพื่อขยายผลการดำเนินงานการเพิ่มประสิทธิภาพนาแปลงใหญ่ด้วยระบบเกษตรสมัยใหม่ สู่วิสาหกิจชุมชน นาแปลงใหญ่กลุ่มอื่น ๆ 1.4 ขอบเขตของการทำโครงงาน 1. กำหนดความเหมาะสมของชุดความรู้สำหรับถ่ายทอดแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน - ประชุม หารือ ระหว่างคณะผู้จัดทำโครงงานกลุ่ม 6 ร่วมกับผู้จัดการวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ หนองโดน และวิทยากรบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อรับทราบประเด็นปัญหา ความต้องการข้อมูล และองค์ความรู้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อกำหนดความเหมาะสมของชุดความรู้สำหรับการบริหารจัดการแปลง ระบบเกษตรสมัยใหม่ ที่เหมาะสมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนี้ - กำหนดขอบเขตและวิธีการจัดทำแปลงสาธิต เพื่อสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์แสดง ประสิทธิภาพการปลูกข้าวด้วยเทโนโลยีนาหยอดน้ำตม เปรียบเทียบกับการทำนาหว่านน้ำตมซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมของ เกษตรกร 2. กำหนดเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา - ต้องเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีเครื่องจักรกลการเกษตร (รถแทรคเตอร์) ที่ใช้ในกลุ่มจาก โครงการยกระดับนาแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจัดทำชุดความรู้ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อ เพิ่มผลผลิต และ ลดต้นทุนให้กลุ่มได้ - ต้องมีผู้จัดการแปลง/ทีมผู้จัดการแปลงที่เข้มแข็ง มีความพร้อมรับเทคโนโลยี 3. คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่คัดเลือกในการดำเนินโครงงานครั้งนี้ คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลง ใหญ่ตำบลหนองโดน อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรีซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีความพร้อมในการดำเนินงาน ด้วยเครื่องจักรการเกษตร มีความพร้อมรับเทคโนโลยี และเป็นกลุ่มเกษตรกรหัวก้าวหน้า 4. กำหนดตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา - ผลตอบแทนที่ได้รับ - การยอมรับเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการ แปลง การบริหารจัดการเครื่องจักร


4 5. กิจกรรมในการดำเนินโครงงาน - การระดมสมองของคณะทำงานกลุม 6 รวมกับผูจัดการวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญหนองโดน และวิทยากรบริษัทสยามคูโบตาคอรปอเรชั่น จำกัด เพื่อทราบประวัติการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ หนองโดน ปญหาและอุปสรรคที่พบ องคความรูที่ตองการเพิ่มเติม - การดำเนินงานภาคสนาม การเยี่ยมชมพื้นที่นาแปลงใหญหนองโดน และการทำแปลงสาธิต - การจัดทำแนวทางขยายผลการดำเนินงานสวูิสหกิจชุมชนแปลงใหญกลุมอื่น ๆ - การสรุปผลการดำเนินงานและการถอดบทเรียน 1.5 กระบวนการทำงาน 1.5.1 การกำหนดชุดความรูที่เหมาะสมกับกลุมวิสาหกิจชมชนแปลงใหญ ุ คณะจัดทำโครงงานกลุม 6 ไดกำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตขาวกลุมนาแปลง ใหญ (กลุมตัวอยาง) ดวยชุดความรูการบริหารจัดการแปลงระบบเกษตรสมัยใหม โดยใชหลักการทำงานแบบ PDCA คือ การวางแผนดำเนินงานและเลือกกลุมตัวอยางที่เหมาะสม (P) ดำเนินงานเพื่อแกปญหาของกลุมตัวอยาง ดวยเทคโนโลย (ี D) ทดสอบความเหมาะสมของเทคโนโลยีในการแกปญหา (C) และปรับปรุงแกไขเทคโนโลยีหากยัง มีประเด็นที่แกไขปญหาไมไดทั้งนี้รูปแบบการดำเนินงานจะกำหนดตามเปาหมาย: การเพิ่มรายไดลดรายจาย เพิ่มการยอมรับเทคโนโลยีทดสอบความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่ถายทอดสูเกษตรกร และเทคโนโลยีที่สามารถ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของกลุมตัวอยางนี้สามารถถายทอดสูเกษตรกรกลุมอื่น ๆ ไดรายละเอียด PDCA แสดง ในภาพที่ 1 ภาพที่1 แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพกลุมนาแปลงใหญตามแนวทาง PDCA


5 วันที่ 1 กุมภาพันธ์2565 คณะผู้จัดทำงานโครงงานกลุ่ม 6 ได้เข้าศึกษาดูงานโครงการนาแปลง ใหญ่ ณ คูโบต้าฟาร์ม จังหวัดชลบุรี(ภาพที่ 2) เพื่อศึกษาดูงานการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในการทำเกษตรสมัยใหม่ การใช้เครื่องจักรการเกษตร (motor pool) เช่น เครื่องไถเกลี่ยดิน เครื่องปักดำกล้าข้าว และเครื่องอัดฟางข้าว เป็นต้น การควบคุมเครื่องจักรใช้ระบบควบคุมทิศทางอัตโนมัติด้วยสัญญาณดาวเทียม GNSS และปรับระดับดิน ด้วยเลเซอร์ควบคุมระดับน้ำในแปลงนาด้วยอากาศยานไร้คนขับ (UAV) และให้ปุ๋ยตามอายุและความต้องการของ ข้าว ด้วยเทคโนโลยีการเทียบสีใบข้าว เป็นต้น การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในการผลิต สามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่ม ผลผลิตข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง สามารถลดการใช้น้ำในนาข้าว ด้วยเทคโนโลยีการทำนาแบบเปียกสลับ แห้ง เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำทางการเกษตรได้อีกด้วย ภาพที่ 2 การศึกษาดูงานการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในการทำเกษตรสมัยใหม่ ณ คูโบต้าฟาร์ม จ.ชลบุรี


6 ภายหลังการศึกษาดูงานดังกล่าว คณะผู้จัดทำงานโครงงานกลุ่ม 6 ได้ประชุม หารือ และร่วมกัน แสดงความคิดเห็นถึงประเด็นปัญหาของโครงการนาแปลงใหญ่ ที่ส่งผลให้การดำเนินงานในเฟสแรกไม่ได้ผลสัมฤทธิ์ เท่าที่ควร ประเด็นสำคัญน่าจะมาจากการขาดองค์ความรู้ หรือการได้รับองค์ความรู้ที่ไม่เท่ากันของเกษตรกร รวมทั้งการไม่เปิดใจยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของเกษตรกรที่ยังยึดติดกับวิธีการทำนาแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังได้ ร่วมกันหารือในเรื่องของความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการดำเนินโครงงานกลุ่มในครั้งนี้ทั้งการประเมิน ประเด็นปัญหา และประเมินความเหมาะสมของแนวทางแก้ไขแบบรอบด้าน ซึ่งตรงตามศักยภาพในมิติต่าง ๆ ของ คณะจัดทำโครงงานกลุ่ม 6 การประชุมหารือดังกล่าว ดำเนินการร่วมกับผู้จัดการวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่หนอง โดน และวิทยากรบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ผ่านระบบออนไลน์ ดังแสดงในภาพที่ 3 ภาพที่ 3 การระดมสมองของคณะทำงานกลุ่ม 6 ร่วมกับผู้จัดการวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่หนองโดน และ วิทยากรบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด


7 1.5.2 การคัดเลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างศึกษา: กำหนดเกณฑ์ตาม แผนการดำเนินงาน จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ (1) ต้องเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีเครื่องจักรกลการเกษตร (รถแทรคเตอร์) ที่ใช้ในกลุ่มจาก โครงการยกระดับนาแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจัดทำชุดความรู้ในการใช้เทคโ นโลยีเพื่อ เพิ่มผลผลิต และ ลดต้นทุนให้กลุ่มได้ (2) ต้องมีผู้จัดการแปลง/ทีมผู้จัดการแปลงที่เข้มแข็ง มีความพร้อมรับเทคโนโลยี จากเกณฑ์การคัดเลือกดังกล่าว คณะผู้จัดทำงานโครงงานกลุ่ม 6 ได้เลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนา แปลงใหญ่ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ภายใต้การกำกับดูแลของผู้จัดการแปลง นายรุจฒิชัย ลีมีชัย เป็นกลุ่ม ตัวอย่างในการจัดทำโครงงาน 1.5.3 การกำหนดชุดความรู้การบริหารจัดการแปลงระบบเกษตรสมัยใหม่ (1) การกำหนดชุดความรู้การบริหารจัดการแปลงระบบเกษตรสมัยใหม่ : ดำเนินการโดยการ สัมภาษณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป้าหมาย เพื่อประเมินประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการแปลงของ เกษตรกร ที่ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารจัดการนาแปลงใหญ่ไม่ได้ผลตามเป้าหมายโครงการ จากนั้น จัดทำชุด ความรู้การบริหารจัดการแปลงด้วยระบบเกษตรสมัยใหม่ ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาเฉพาะจุด “เพิ่มรายได้ลด รายจ่าย” โดยเป็นชุดความรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป้าหมาย ที่สามารถแก้ปัญหาและตอบโจทย์ความ ต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป้าหมายนี้ได้ (2) การดำเนินกิจกรรมของคณะผู้จัดทำโครงงานกลุ่ม 6 ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนหนองโดน วันที่ 21 มีนาคม 2565 คณะผู้จัดทำโครงงานกลุ่ม 6 ได้ประชุมหารือผ่านระบบออนไลน์ กับ ผู้จัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน เพื่อรับฟังประวัติความเป็นมา ความต้องการและ Pain point ของกลุ่ม ใน การเข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2564) มีเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้ การบริหารจัดการนาแปลงใหญ่ ระยะที่ 1 การดำเนินงานกลุ่มนาแปลงใหญ่ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ระยะที่ 1 พ.ศ. 2563 - 2564 มีเกษตรกรสมาชิกเข้าร่วมในตอนเริ่มต้น จำนวน 36 ราย ภายใต้งบประมาณ 3 ล้านบาท ทำการจดทะเบียนนิติ บุคคล “ห้างหุ้นส่วนจำกัด แปลงใหญ่ข้าวหนองโดน” ด้วยทุนจดทะเบียน 30,000 บาท ได้รับการจัดสรรรถ แทรกเตอร์ และรถพ่นสารชีวภัณฑ์ ทำการปลูกข้าวจ้าวพันธุ์หอมปทุม ด้วยระบบบริหารจัดการแปลงภายใต้การ กำกับดูแลของผู้จัดการแปลง นายรุจฒิชัย ลีมีชัย ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 51 ราย มีพื้นที่ทำการเกษตร 1,280 ไร่ ประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่พบ และความต้องการแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนา ประสิทธิภาพการผลิตข้าวในระบบเกษตรสมัยใหม่ สามารถสรุปได้ดังนี้


8 ระบบบริหารจัดการแปลง ประเด็นปัญหาที่พบ 1. ระบบบริหารจัดการเครื่องจักร (1) มีเครื่องจักร ได้แก่ รถแทรกเตอร์ และรถพ่น สารชีวภัณฑ์ (2) มีการจัดตั้งทีมงานและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ (3) มีการจัดทำเอกสารควบคุมการใช้เครื่องจักร 1. เกษตรกรยังไม่ให้ความใส่ใจด้านการดูแลรักษา เครื่องจักร และยังไม่ใส่ใจในการทำเกษตรแบบ smart agriculture เท่าที่ควร 2. ต้องการเครื่องจักรใหม่เพิ่มเติม ได้แก่ เครื่องอัดฟาง เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้การปลูกข้าวมี ประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในกลุ่ม 3. ต้องการความรู้ด้านการดูแลรักษาเครื่องจักรใหม่ที่ ได้เพิ่มเติมเพื่อถ่ายทอดให้เกษตรกรในกลุ่ม 4. ต้องการข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อจูงใจให้เกษตกรใน กลุ่มหันมาทำเกษตรระบบเกษตรสมัยใหม่อย่างเป็น รูปธรรม และเกษตรกรใส่ใจในการทำนาแบบ smart agriculture 2. การใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการบริหารจัดการแปลง 1. ยังขาดการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาช่วยในการ บริหารจัดการแปลง เช่น การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย 2. ต้องการคำแนะนำการแก้ปัญหาแปลงใหญ่ ด้วยการ ใช้เทคโนโลยีเฉพาะจุด 3. คุณสมบัติและความพร้อมของผู้จัดการแปลง (1) มีความรู้ด้านการใช้เครื่องจักรทางการเกษตร และการดูแลรักษา (2) มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการ บริหารจัดการแปลง 1. ต้องการความรู้ด้านการใช้งานและการดูแลรักษา เครื่องจักรใหม่ ๆ ที่ต้องการเพิ่มเติม 2. ต้องการผู้สนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน การดูแลรักษาเครื่องจักร 4. รูปแบบการทำนาเป็นนาหว่านน้ำตม เป็นองค์ ความรู้เดิมของเกษตรกรในพื้นที่ โดยทำนา 3 ครั้ง/ปี ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 25 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตข้าว ประมาณ 700 กิโลกรัมต่อไร่ 1. การเจริญเติมโตของข้าวไม่สม่ำเสมอ ใช้เมล็ดพันธุ์ มาก และข้าวที่ปลูกไม่เป็นแถวเป็นแนว ทำให้ยากต่อ การกำจัดวัชพืช 2. ต้องการพัฒนารูปแบบการทำนาเป็นนาหยอด เพื่อ ลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ ไม่เกิน 10 กิโลกรัมต่อไร่ (ลด ต้นทุนการผลิต) และข้าวเจริญเติบโตสม่ำเสมอ มีการ ปลูกเป็นแนว เป็นระเบียบ ง่ายต่อการกำจัดวัชพืช 3. มุ่งเป้าเพิ่มผลผลิตข้าว 900 – 1,000 กิโลกรัมต่อไร่


9 ระบบบริหารจัดการแปลง (ต่อ) ประเด็นปัญหาที่พบ (ต่อ) 5. รูปแบบการกำจัดวัชพืช เกษตรกรนิยมฉีดพ่นยาทั่ว แปลงบนดินแห้ง 1. ประสิทธิภาพของยาที่ฉีดพ่นไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากยาไม่ซึมลงดิน ไม่สามารถลดการงอกของ วัชพืชได้ ใช้ยาปริมาณมาก เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม 2. ผู้จัดการแปลงมีองค์ความรู้ในการฉีดพ่นยาขณะดิน เปียก ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่า ต้องการผู้สนับสนุนการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการจัดทำหลักฐานเชิง ประจักษ์ให้กับเกษตรกรในกลุ่ม 6. การใส่ปุ๋ย (สำหรับดินเหนียวดำ) ใช้สูตร 46-0-0 แบ่งใส่ครั้งที่ 1 ในช่วง 2 สัปดาห์แรก (ระยะหว่านข้าว) 25 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวมีอายุ 1 เดือน ใส่ ปุ๋ย 25 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่ 3 (หากต้องใส่เพิ่ม สังเกตุ จากสีใบข้าว) สามารถใส่ปุ๋ยอีก 10 หรือ 25 กิโลกรัม ต่อไร่ นอกจากนี้ เกษตรกรบางแปลงใส่ปุ๋ยด้วย เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด แต่ประสบปัญหาใส่ปุ๋ยไม่ เหมาะสม 1. เกษตรกรขาดความรู้ในการเก็บตัวอย่างดิน ส่งผล ต่อค่าวิเคราะห์ดินและปริมาณปุ๋ยที่แนะนำ 2. การผสมปุ๋ยใช้เอง ตามวิธีปุ๋ยสั่งตัดเกษตกรต้องชั่ง ปุ๋ยให้ถูกต้อง แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือเกษตรกร ชั่งปุ๋ยผิด ทำให้ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ไม่เหมาะสมต่อการ เจริญเติบโตของข้าว และทำให้ผลผลิตลดน้อยลง 3. ต้องการองค์ความรู้ในการเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้อง เพื่อถ่ายทอดให้กับเกษตรกรในกลุ่ม 7. การจัดทำบัญชีครัวเรือน : ผู้จัดการแปลงมีองค์ ความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นอย่างดี และได้ จัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มวิสาหกิจ การจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตกรในกลุ่ม ยังไม่ได้ รับการยอมรับเท่าที่ควร ต้องการการถ่ายทอดองค์ ความรู้และการสร้างแรงจูงใจ 8. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน จดทะเบียนนิติบุคคล 1. รถแทรกเตอร์ที่ได้รับจัดสรร จดทะเบียนเป็น วิสาหกิจชุมชน 2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จดทะเบียนนิติบุคคล “ห้าง หุ้นส่วนจำกัด แปลงใหญ่ข้าวหนองโดน” 3. การจดทะเบียนแย้งกันในข้อ 1 และ 2 ทำให้ไม่ สามารถยื่นจดทะเบียนภาษีได้ 9. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน จำหน่ายผลผลิตข้าว ทั้งหมดให้โรงสี 1. เกษตรกรไม่สามารถกำหนดราคาข้าวให้สูงได้ ราคา ข้าวจะเป็นราคาจากโรงสีกำหนด แนวทางแก้ปัญหาการบริหารจัดการนาแปลงใหญ่ จากผลการประชุมหารือ วันที่ 21 มีนาคม 2565 เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรและเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตข้าวของวิสาหกิจชุมชนหนองโดน ด้วยระบบเกษตรสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาเฉพาะจุด “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย” คณะผู้จัดทำโครงงานกลุ่ม 6 ได้กำหนดชุดความรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หนองโดน โดยเป็นชุดความรู้ที่สามารถแก้ปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนี้ได้ มี องค์ประกอบ ดังนี้


10 ชุดความรู้ที่ 1 : การใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต (การทำนาหยอดและการบริหารฟางข้าว หลังการเก็บเกี่ยว) ชุดความรู้ที่ 2: การวางแผนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีอย่างง่ายผ่าน application การปลูกข้าวตาม ปฏิทินการปลูก (crop calendar) ของบริษัทสยามคูโบต้า ชุดความรู้ที่ 3: คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและการตรวจสอบสุขภาพดินอย่างง่าย และ คำแนะนำการใช้ปุ๋ยอย่างง่ายผ่าน application ชุดความรู้ที่ 4: การวางแผนการผลิตอย่างแม่นยำด้วยการจัดทำบัญชีฟาร์ม (ข้าวนาปี) (ต้นทุน รายได้) 1.5.4 แผนการดำเนินกิจกรรมเชิงรุกร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน (1) กำหนดแปลงสาธิตการทำเกษตรสมัยใหม่ เพื่อสร้างความเข้าใจและการยอมรับเทคโนโลยี ของเกษตรกร แปลงสาธิตที่ 1 : พื้นที่ 8 ไร่ ปลูกข้าวด้วยวิธี “นาหว่านแห้ง” เป็นวิธีของเกษตรกร ใช้องค์ความรู้ของ เกษตรกรทั้งหมด ดังนี้ - การไถพรวนดิน : ใช้รถไถกลบแบบเดียวกันทั้งแปลง (มักพบปัญหาดินอัดแน่น จากน้ำหนักรถไถ) - การปลูกข้าว : นาหว่านแห้ง (มักพบปัญหาการงอกไม่สม่ำเสมอ และใช้ปริมาณเมล็ดพันธุ์มาก) - การจัดการปุ๋ย : ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือ ปุ๋ยสั่งตัด ที่ดำเนินการโดยเกษตรกร - การกำจัดวัชพืช : วิธีเกษตรกร (มักพบปัญหาใช้สารกำจัดวัชพืชมากเกินไป สารกำจัดวัชพืชลอยอยู่บน ผิวน้ำ และไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร) แปลงสาธิตที่ 2 : พื้นที่ 10 ไร่ ปลูกข้าวด้วยวิธี “นาหยอด” เป็นวิธีเกษตรสมัยใหม่ ใช้องค์ความรู้ ทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ และองค์ความรู้จากชุดความรู้ที่จัดทำ - การไถพรวนดิน : เครื่องจักรที่เหมาะสมกับขนาดแปลง และเหมาะสมต่อการปลูกข้าว - การปลูกข้าว : นาหยอด ด้วยเครื่องจักรที่เหมาะสม (ลดปัญหางอกไม่สม่ำเสนอ และลดปริมาณเมล็ดพันธุ์) - การจัดการปุ๋ย : ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและการตรวจสอบสุขภาพดินอย่างง่าย และคำแนะนำการใช้ ปุ๋ยอย่างง่ายผ่าน application เกษตรกรดำเนินการ ตามความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจาก คณะทำงานกลุ่ม 6 - การกำจัดวัชพืช : ปรับเปลี่ยนวิธีการใส่สารกำจัดวัชพืช โดยใส่ขณะดินแห้งก่อนการขังน้ำ เป็นการบูร ณาการความรู้แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน และความรู้ตามหลักวิชาการ เพื่อลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม 1.6 ประเด็นท้าทายในการดำเนินงาน 1. การเปลี่ยนความคุ้นชินทั้งกระบวนการเพาะปลูก ที่เคยทำแต่นาหว่านมาแต่ดั้งเดิม 2. การเผาฟางข้าวและตอซังเนื่องจากความสะดวกและคิดว่าประหยัดกว่า 3. ความสัมพันธ์เรื่องการได้รับเครดิตปัจจัยการผลิตอาทิพันธ์ข้าว ปุ๋ย สารเคมียาฆ่าแมลง ฯลฯ ทำให้ต้อง ใช้ปัจจัยการผลิตเฉพาะที่ได้รับเครดิต ซึ่งมีความจำเป็นกับแต่ละพื้นที่ต่างกัน แต่ร้านอยากขายให้แบบ เดียวกันทุกสถานการณ์ ทำให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อสิ่งที่เหมาะสมลดลง 4. เพาะปลูกตามใจตามฤดูกาล เปลี่ยนเป็นการวางแผนการจัดการล่วงหน้า


11 5. การใช้จ่ายตามความเคยชินและไม่บันทึกข้อมูล เปลี่ยนเป็นการจัดทำบัญชีฟาร์ม (รายรับ-รายจ่ายแปลง) 6. ทัศนคติเรื่องการรับความช่วยเหลือจากรัฐอย่างต่อเนื่อง 1.7 การประเมินผลสัมฤทธ์ของการจัดทำโครงงาน 1.7.1 การกำหนดแนวทางการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน กำหนดแนวทางการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตร แบบเดิมเป็นทำเกษตรด้วยเทคโนโลยี ได้แก่ - วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ การใช้เทคโนโลยีนาหยอดแทนนาหว่าน - วิเคราะห์ผลการลดรายจ่าย จากการลดปัจจัยการผลิตที่เกินความจำเป็น เช่น ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เกิน ลดการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช และลดอัตราเมล็ดพันธุ์ - คาดการณ์การเพิ่มรายได้จากผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้น การอัดฟางเพื่อจำหน่าย 1.7.2 การประเมินผลสัมฤทธิ์ด้วยแบบประเมินประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการรายแปลง จัดทำแบบประเมินประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการรายแปลง สำหรับกลุ่มตัวอย่างนาแปลงใหญ่ ตำบลหนองโดน อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ทั้งก่อนและหลังการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม 6 ในการประเมิน ความคุ้มค่าของการดำเนินกิจกรรม และความเป็นไปได้ในการใช้เป็นแนวทางประเมินประสิทธิภาพระบบบริหาร จัดการรายแปลงของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอื่น ๆ ประกอบการเสนอของบประมาณดำเนินกิจกรรมแปลงใหญ่เฟสที่ 2 ส่วนหลักที่ 2 : ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ ผลผลิต (Output) 1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่หนองโดนมีความรู้ความเข้าใจ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวด้วย เทคโนโลยีนาหยอดน้ำตม ตามองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอด 2. คาดการณ์การเพิ่มรายได้-ลดรายจ่าย จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าว การลดต้นทุนค่าปุ๋ยและสารเคมี และการขายฟาง แปลงสาธิตเทคโนโลยีนาหยอดน้ำตมสูงกว่าแปลงนาหว่านน้ำตมด้วยวิธีเกษตรกร ไม่ น้อยกว่า 20% ผลลัพธ์ (Outcome) เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอื่น ๆ สามารถเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงระบบเกษตรสมัยใหม่ และ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ มีเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้การบริหารจัดการแปลงระบบเกษตรสมัยใหม่ อย่างถูกต้องและครบวงจร เพื่อให้โครงการนาแปลงใหญ่เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย ผลกระทบ (Impact) เกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลหนองโดน สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ สามารถพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนต้นแบบ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตระบบเกษตรสมัยใหม่ให้กับวิสาหกิจ ชุมชนกลุ่มอื่น ๆ


12 ส่วนหลักที่ 3 : การถอดบทเรียนและข้อเสนอแนะ 3.1 แผนงานและวิธีการดำเนินงาน โครงงาน “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลหนองโดน อำเภอหนองโดน จังหวัด สระบุรีด้วยชุดความรู้การบริหารจัดการแปลงระบบเกษตรสมัยใหม่” ดำเนินการโดยคณะทำงานกลุ่ม 6 มี วัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวด้วยชุดความรู้การบริหารจัดการแปลงระบบเกษตร สมัยใหม่ ดำเนินการโดยการทำแปลงสาธิตเปรียบเทียบ 2 แปลง ระหว่างแปลงปลูกข้าวด้วยวิธีเกษตรกร พื้นที่ 8 ไร่และแปลงปลูกข้าวด้วยเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่การทำนาหยอด พื้นที่ 10 ไร่ (ภาพที่ 4) เพื่อสรุปเป็นหลักฐาน เชิงประจักษ์ให้เกษตรกรเห็นถึงความสามารถในการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ของเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ ยอมรับเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าว และเปิดใจรับเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เพื่อให้การจัดการนาแปลง ใหญ่เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดตามเป้าประสงค์ของโครงการต่อไป ภาพที่ 4 พิกัดพื้นที่แปลงสาธิตการปลูกข้าววิธีเกษตรกร (8 ไร่) และการปลูกข้าวด้วยเทคโนโลยีนาหยอด (10 ไร่) การประชุมหารือผ่านระบบ Zoom Webinar และการลงพื้นที่ศึกษาของคณะทำงานกลุ่ม 6 ร่วมกับ ผู้จัดการวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่หนองโดน นายรุจฒิชัย ลีมีชัย ระหว่างเดือน เมษายน - พฤษภาคม 2565 (ภาพที่ 5) ซึ่งตรงกับช่วงการเตรียมการปลูกและการเริ่มปลูกข้าวจ้าวพันธุ์หอมปทุม


13 ภาพที่ 5 การลงพื้นที่ศึกษาของคณะทำงานกลุ่ม 6 ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่หนองโดน จ.สระบุรี จากการลงพื้นที่ศึกษาและได้มีการประชุมหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับทราบประเด็นปัญหาและ อุปสรรค พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขเพื่อให้ได้วิธีการดำเนินงานที่เหมาะสม สำหรับแปลงสาธิตทั้ง 2 แปลง และเพื่อ ให้ผลการศึกษาสามารถแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ความแตกต่างของการปลูกข้าวด้วยวิธีเกษตรกร และการปลูก ข้าวด้วยเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่อย่างเด่นชัด จึงได้จัดทำตารางแผนและผลการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ


14 การผลิตข้าว โดยการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้เหมาะสมต่อการแก้ปัญหาการผลิตข้าว ของวิสาหกิจชุมชน แปลงใหญ่หนองโดน ดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แผนและผลการดำเนินงานเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว วิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่หนองโดน จังหวัดสระบุรีด้วยระบบเกษตรสมัยใหม่ แผนการดำเนินงาน ปัญหา/อุปสรรค ผลการดำเนินงาน (ปรับปรุงตามแนวทาง แก้ปัญหา) 1 กำหนดชุดความรู้การบริหารจัดการ แปลงระบบเกษตรสมัยใหม่ และ จัดทำคู่มือ 1. คู่มือชุดความรู้ที่ 1-4 เป็นเอกสาร ควบคุมของแต่ละหน่วยงาน ไม่ สามารถนำมาดัดแปลงได้ 2. สัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่เสถียรใน การใช้ปฏิทินการปลูกแบบออนไลน์ 3. การศึกษาปัจจัยหลายปัจจัยพร้อม กันทำให้ไม่สามารถสรุป ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการทำ นาหยอดได้ชัดเจน 4. วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่หนอง โดน ได้เข้าร่วมโครงการปุ๋ยสั่งตัด และได้รับคำแนะนำการจัดการปุ๋ย ตามค่าวิเคราะห์ดินแล้ว 5. เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หนองโดนยังไม่ยอมรับการทำบัญชี ครัวเรือน เนื่องจากความยุ่งยากใน การกรอกรายการรับ-จ่ายใน ชีวิตประจำวัน แต่ยอมรับการทำ บัญชีฟาร์ม ที่กรอกเฉพาะรายการ รับ-จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก เท่านั้น จ ัด ท ำคำแนะนำเ ป็นแนว ทางการบริหารจัดการแปลง ระบบเกษตรสมัยใหม่ ชุดความรู้ที่ 1: การใช้เทคโนโลยีเพื่อ ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต (การทำนา หยอดและการบริหารฟางข้าวหลัง การเก็บเกี่ยว) 1. คำแนะนำเทคโนโลยีการทำ นาหยอดน้ำตม 2. ปลูกข้าวตามปฏิทินการปลูก ข้าวของเกษตรกรทั้ง 2 แปลง เพื่อลดปัจจัยศึกษา 3. ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำปุ๋ยสั่งตัด 4. อบรมการประเมินสุขภาพดิน อย่างง่าย และแนะนำการขอรับ บริการวิเคราะห์ดินด้วยระบบ e-Service 5. ทำบัญชีบริหารจัดการแปลง เพื่อให้เกษตรกรคุ้นชินกับการ ทำบัญชี และสามารถต่อยอด เป็นบัญชีครัวเรือนในเฟสต่อไป 6. ใช้เอกสารอ้างอิงซึ่งเป็น เอกสารเผยแพร่ของแต่ละ หน่วยงาน - สมุดบริหารเครื่องจักร - คู่มือใช้งานเครื่องหยอดข้าว และชุดฉีดพ่นยา ชุดความรู้ที่ 2: การวางแผนการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีอย่างง่ายผ่าน application การปลูกข้าวตามปฏิทิน การปลูก(crop calendar) ของบริษัท สยามคูโบต้า ชุดความรู้ที่ 3: คำแนะนำการใช้ ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและการ ตรวจสอบสุขภาพดินอย่างง่าย และ คำแนะนำการใช้ปุ๋ยอย่างง่ายผ่าน application ชุดความรู้ที่ 4: การวางแผนการ ผลิตอย่างแม่นยำด้วยการจัดทำ บัญชีฟาร์ม (ข้าวนาปี) (ต้นทุน รายได้)


15 ตารางที่ 1 (ต่อ) แผนการดำเนินงาน ปัญหา/อุปสรรค ผลการดำเนินงาน (ปรับปรุงตามแนวทาง แก้ปัญหา) ชุดความรู้ที่ 4: (ต่อ) - คู่มือใช้งานและบำรุงรักษา เครื่องอัดฟาง - สมุดบัญชีครัวเรือน (รายรับรายจ่าย) - แบบฟอร์มประเมินสุขภาพดิน ดี 2 แปลงสาธิตที่1: พื้นที่ 8 ไร่ ปลูกข้าว ด้วยวิธี“นาหว่านแห้ง” เป็นวิธีของ เกษตรกร ใช้องค์ความรู้ของเกษตรกร ทั้งหมด เปลี่ยนเป็นการทำนาหว่านน้ำ ตม - การไถพรวนดิน : ใช้รถไถกลบแบบ เดียวกันทั้งแปลง (มักพบปัญหาดินอัด แน่น จากน้ำหนักรถไถ) ดินในแปลงนาเป็นดินเหนียวจัด ไม่ สามารถไถเตรียมแปลงเพื่อทำนา หว่านแห้งและนาหยอดแห้งได้(ภาพ ที่ 6) รถแทรกเตอร์ต่อพ่วงชุดตัดหญ้า หรือขลุบปั่นดิน - การปลูกข้าว : นาหว่านแห้ง (มัก พบปัญหาการงอกไม่สม่ำเสมอ และใช้ ปริมาณเมล็ดพันธุ์มาก) - การจัดการปุ๋ย : ใช้ปุ๋ยตามค่า วิเคราะห์ดิน หรือ ปุ๋ยสั่งตัด ที่ ดำเนินการโดยเกษตรกร 1. เกิดปัญหาปุ๋ยเคมีแพง และไม่ สามารถหาซื้อแม่ปุ๋ยได้ 2. การผสมปุ๋ยด้วยเครื่องผสมเกิด ปัญหาความไม่สม่ำเสมอ ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ - การกำจัดวัชพืช : วิธีเกษตรกร (มัก พบปัญหาใช้สารกำจัดวัชพืชมาก เกินไป สารกำจัดวัชพืชลอยอยู่บนผิว น้ำ และไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร) สารชีวภัณฑ์ไล่แมลง พด.7 ทน แทนสารเคมี 3 แปลงสาธิตที่ 2: พื้นที่ 10 ไร่ ปลูก ข้าวด้วยวิธี“นาหยอดแห้ง” เป็นวิธี เกษตรสมัยใหม่ ใช้องค์ความรู้ ทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ และองค์ ความรู้จากชุดความรู้ที่จัดทำ ดินในแปลงนาเป็นดินเหนียวจัด ไม่ สามารถไถเตรียมแปลงเพื่อทำนา หว่านแห้งและนาหยอดแห้งได้(ภาพ ที่ 6) เปลี่ยนเป็นเทคโนโลยีการทำนา หยอดน้ำตม


16 ตารางที่ 1 (ต่อ) แผนการดำเนินงาน ปัญหา/อุปสรรค ผลการดำเนินงาน (ปรับปรุงตามแนวทาง แก้ปัญหา) - การไถพรวนดิน : เครื่องจักรที่ เหมาะสมกับขนาดแปลง และ เหมาะสมต่อการปลูกข้าว รถแทรกเตอร์ต่อพ่วงชุดตัดหญ้า หรือขลุบปั่นดิน - การปลูกข้าว: นาหยอด ด้วย เครื่องจักรที่เหมาะสม (ลดปัญหางอก ไม่สม่ำเสนอ และลดปริมาณเมล็ด พันธุ์) - การจัดการปุ๋ย : ใช้ปุ๋ยตามค่า วิเคราะห์ดินและการตรวจสอบ สุขภาพดินอย่างง่าย และคำแนะนำ การใช้ปุ๋ยอย่างง่ายผ่าน application เกษตรกรดำเนินการ ตามความรู้ที่ ได้รับการถ่ายทอดจาก คณะทำงาน กลุ่ม 6 1. เกิดปัญหาปุ๋ยเคมีแพง และไม่ สามารถหาซื้อแม่ปุ๋ยได้ 2. การผสมปุ๋ยด้วยเครื่องผสมเกิด ปัญหาความไม่สม่ำเสมอ ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ - การกำจัดวัชพืช : ปรับเปลี่ยน วิธีการใส่สารกำจัดวัชพืช โดยใส่ขณะ ดินแห้งก่อนการขังน้ำ เป็นการบูรณา การความรู้แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน และความรู้ตามหลักวิชาการ เพื่อลด การใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม สารชีวภัณฑ์ไล่แมลง พด.7 ทดแทนสารเคมี


17 ภาพที่ 6 ปัญหาดินอัดแน่นไม่สามารถทำนาหว่านแห้งและนาหยอดแห้งได้ 3.2 กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่หนองโดน 3.2.1 เทคโนโลยีการทำนาหยอดน้ำตม เพื่อการดำเนินกิจกรรมแปลงสาธิตนาหยอดน้ำตมกับนาหว่านน้ำตม ภายใต้ความร่วมมือของ คณะทำงานกลุ่ม 6 ร่วมกับวิทยากรบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ถ่ายทอดแนวทางการใช้เทคโนโลยี การทำนาหยอดน้ำตม ให้แก่ผู้จัดการและเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่หนองโดน จังหวัดสระบุรี โดยมี ขั้นตอนการดำเนินงานอย่างง่าย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1: การสำรวจแปลงนา ขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบประเภทเนื้อดินว่าเป็นดินประเภทใด เช่น เนื้อดินเหนียว ดินเหนียว ปนทราย ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว เป็นต้น เพื่อการเตรียมเครื่องมือและเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมใน การเตรียมดิน และเป็นการสำรวจประเภทของหญ้าที่ขึ้นในแปลงนาว่ามีหญ้าประเภทใดบ้าง พบว่ามีหญ้าหลาย ชนิดในแปลงนาทั้งแบบใบแคบ ใบกว้าง และเครือเถา โดยเฉพาะหญ้าดอกขาวหรือหญ้าลิเกซึ่งจัดเป็นวัชพืชดื้อยา การสำรวจนี้เพื่อการเตรียมการกำจัดวัชพืชที่เหมาะสม ตัวอย่างวัชพืชที่สำรวจพบในแปลงนาแสดงในภาพที่ 7 วัชพืชหลายชนิด/หญ้าแห้วหมู หญ้าดอกขาว (หญ้าลิเก) วัชพืชใบกว้าง ภาพที่ 7 ตัวอย่างวัชพืชที่สำรวจพบในแปลงนาสาธิต พื้นที่รวม 18 ไร่


18 การทำแปลงสาธิตครั้งนี้ เลือกการกำจัดวัชพืชก่อนการทำนา ได้แก่ การใช้เครื่องตัดหญ้า การไถ กลบตอซังข้าวและหญ้าลงไปในดิน ให้ได้ความลึกมากกว่า 15-20 เซนติเมตร (ภาพที่ 8) และการฉีดยาฆ่าหญ้าคัน นา โดยหลีกเลี่ยงการเผาตอซังที่ก่อให้เกิดการสูญเสียอินทรีย์วัตถุธาตุอาหารในดิน และก่อให้เกิดมลพิษหมอกควัน ภาพที่ 8 การไถกลบตอซังข้าวและหญ้าลงดิน ที่ระดับความลึกมากกว่า 15-20 เซนติเมตร ขั้นตอนที่ 2: การตรวจสอบเครื่องหยอดข้าวเบื้องต้นก่อนใช้งาน เทคโนโลยีการทำนาหยอดด้วยเครื่องหยอดข้าว เกษตรกรผู้ใช้เครื่องจักรต้องคำนึงถึงความ ปลอดภัยในการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ ดังนั้น ก่อนใช้งานเครื่องหยอดข้าว เกษตรกรต้องอ่านและทำความเข้าใจ "คู่มือใช้งานเครื่องหยอดข้าวและชุดฉีดพ่นยา" (เอกสารอ้างอิง-01) สามารถประกอบ ถอด และติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องหยอดข้าวกับรถดำนาได้ตามคู่มือ ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของเครื่อง และภายหลังการใช้งาน สามารถ ถอดเครื่องหยอดข้าวออกจากรถดำนา และวางเครื่องหยอดข้าวบนพื้นที่แข็งและราบเรียบตามคำแนะนำจากคู่มือ อย่างถูกต้อง ข้อสำคัญที่ต้องตรวจสอบเสมอ คือ ชิ้นส่วนที่สึกหรอหรือเสียหาย ส่งผลโดยตรงถึงประสิทธิภาพ ของการหยอดข้าว ได้แก่ แปรงปัดข้าว, แผ่นควบคุมเมล็ดข้าว, ลูกหยอดข้าว, และพินล็อก หากสึกหรอหรือ แตกหักเสียหายให้ทำการเปลี่ยนใหม่ ทั้งนี้ผู้ใช้งานควรตรวจสอบเครื่องหยอดข้าวรวมถึงรถดำนาทุก ๆ ครั้งก่อน การใช้งาน ภาพที่ 9 แสดงตัวอย่างชิ้นส่วนที่สึกหรอหรือเสียหาย การตรวจสอบความพร้อมเครื่องหยอดข้าว และ การหยอดข้าวในแปลงสาธิตนาหยอดน้ำตม การกำหนดอัตราการหยอด (กิโลกรัมต่อไร่) สามารถกำหนดจากระยะห่างระหว่างกอ (เซนติเมตร) และระยะช่องลูกหยอด (มิลลิเมตร) ดังแสดงในตารางที่ 2


19 ตารางที่ 2 การกำหนดอัตราการหยอดเมล็ดพันธุ์ (กิโลกรัมต่อไร่) จากระยะห่างระหว่างกอ (ซม.) และระยะช่อง ลูกหยอด (มม.) ระยะห่างระหว่างกอ (ซม.) ระยะช่องลูกหยอด (มม.) 12 (A) 14 (B) 16 (C) 18 (D) 21 (E) 10 (X) 8.1 7.0 6.1 5.4 4.6 15 (Y) 11.5 9.9 8.6 7.7 6.6 20 (Z) 15.5 13.3 11.6 10.3 8.8 แหล่งที่มา : เอกสารอ้างอิง-01 ภาพที่ 9 ตัวอย่างชิ้นส่วนที่สึกหรอหรือเสียหาย การตรวจสอบความพร้อมเครื่องหยอดข้าว และการหยอดข้าวใน แปลงสาธิตนาหยอดน้ำตม ขั้นตอนที่ 3: การเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนการปลูก เนื่องจากพื้นที่แปลงนาสาธิตมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด จึงเหมาะสมต่อการทำนาหยอดน้ำตม มี ขั้นตอนการเตรียมเมล็ดพันธุ์ดังนี้ 1. คัดแยกสิ่งเจือปน แช่เมล็ดพันธุ์แล้วทำการคัดแยกเมล็ดที่ลอยนํ้าออก 2. ระยะเวลาการแช่เมล็ดพันธุ์ในนํ้าสะอาด 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ที่แช่ขึ้นมาบ่ม ประมาณ 12 ชั่วโมง เมื่อบ่มเสร็จสังเกตเมล็ดพันธุ์จะมีตุ่มตางอกขึ้นมายาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร (ภาพที่ 10)


ชักร่อง 1ครั้ง ขั้นตอนสุดท้าย: ปล่อยนํ้า ออก1คืน จนกระทั่งพื้นที่หมาด ก่อนทำ การหยอด(ปริมาณนํ้าใน แปลง 0-1 เซนติเมตร) ข้อควรระวัง: 1. เครื่องหยอดข้าวนี้ไม่สามารถทำงานได้ในพื้นที่ดินทรายหรือพื้นที่ที่ไม่สามารถกักเก็บนํ้าได้ซึ่งจะ ทำให้ไม่สามารถใช้งานประสิทธิภาพสูงสุด ในกรณีพื้นที่ยังปล่อยนํ้าออกไม่หมดหรือมีบางพื้นที่ มีนํ้าขัง ประสิทธิภาพของเครื่องหยอดข้าวจะลดลง 2. เครื่องหยอดข้าวนี้ไม่สามารถทำงานในพื้นที่ดินที่มีก้อนหินปะปนในชั้นดิน อาจทำให้ชิ้นส่วน เสียหายได้


21 ภาพที่ 11 การเตรียมแปลงนาหยอดน้ำตมด้วยการใช้ผานพรวน รถไถเดินตาม และกระดานลูบ อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิต เพื่อให้เกิดความยั่งยืนจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องบริหารจัดการเครื่องจักรอย่างเหมาะสม บำรุงรักษาเครื่องจักรอยู่เสมอตามคำแนะนำของบริษัทผู้ขาย หรือ วิทยากรที่มีความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องหยอดข้าวตามการใช้งาน โดยเฉพาะชุด แปรง และลูกหยอดข้าว รวมทั้งตารางชั่วโมงการบำรุงรักษาและสารหล่อลื่น เกษตรกรจำเป็นต้องทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามคำแนะนำในคู่มือ "เครื่องหยอดข้าวและชุดฉีดพ่นยา DS10" (เอกสารอ้างอิง-01) หรือตามเอกสาร คู่มือประจำเครื่องหยอดข้าวที่เกษตรกรเลือกใช้ นอกจากนี้ วิสาหกิจชุมชนหนองโดน ยังได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องการจัดทำ "สมุด บริหารเครื่องจักร" (เอกสารอ้างอิง-02) จากวิทยากรบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ในด้านการบันทึก ข้อมูลเครื่องจักรและสมาชิกที่ดูแล, การบันทึกลงทะเบียนใช้งานเครื่องจักร (จองคิว), การบันทึกการทำงานและ รายรับ, การบันทึกรายจ่าย, การสรุปบัญชีรายรับรายจ่ายประจำปี, และการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องจักร ซึ่ง การดำเนินงานนี้เป็นการบริหารเครื่องจักรแบบรวมกลุ่ม ตามแนวทางเกษตรแปลงใหญ่ ผังขั้นตอนการบริหาร จัดการเครื่องจักรแบบรวมกลุ่ม แสดงในภาพที่ 12


22 ภาพที่ 12 ผังขั้นตอนการบริหารจัดการเครื่องจักรแบบรวมกลุ่ม (ที่มา: เอกสารอ้างอิง-02) 3.2.2 เทคโนโลยีการประเมินสุขภาพดินอย่างง่ายและการขอรับบริการวิเคราะห์ดินด้วยระบบ eService จากการดำเนินกิจกรรมของคณะผู้จัดทำโครงงานกลุ่ม 6 ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน ทำให้ได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน ได้เข้าร่วมโครงการปุ๋ยสั่งตัด และได้รับผลวิเคราะห์ดินพร้อมคำแนะนำปุ๋ยแล้ว สำหรับฤดูกาลปลูกข้าวนาปี (2565) ดังนั้น คณะผู้จัดทำโครงงาน กลุ่ม 6 จึงได้ปรับแผนการดำเนินงาน โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 และสถานีพัฒนาที่ดิน สระบุรี กรมพัฒนาที่ดิน ทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการประเมินสุขภาพดินนาปลูกข้าว และการขอรับบริการ วิเคราะห์ดินด้วยระบบ e-Service ให้แก่เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่หนองโดน ดังแสดงในภาพที่ 13 ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางการส่งตัวอย่างดินวิเคราะห์ด้วยระบบออนไลน์ในฤดูกาลปลูกครั้งต่อ ๆ ไป


23 ภาพที่ 13 การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการประเมินสุขภาพดินนาปลูกข้าว และการขอรับบริการวิเคราะห์ดินด้วย ระบบ e-Service ของคณะทำงานกลุ่ม 6 ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน การประเมินสุขภาพดินอย่างง่าย คำนิยาม จากคู่มือการประเมินสุขภาพดินดีสำหรับเกษตรกร (version 01: 2564) กรมพัฒนา ที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์(เอกสารอ้างอิง-04) “สุขภาพดิน (Soil Health)” คือ ความสามารถของดินใน การทำหน้าที่เป็นระบบนิเวศที่มีชีวิต เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตและคุณภาพของ พืช ดินที่มีสุขภาพดีนั้นมักสัมพันธ์กับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน “การประเมินสุขภาพดิน” คือ การประเมินสุขภาพดินในแปลงเกษตรกรด้วยวิธีการอย่างง่าย สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสมบัติดินในระดับเกษตรกร โดยไม่ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มพูน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรดิน และเป็นเครื่องมือในการสร้างความตระหนักให้เกษตรกรจัดการดินและ บำรุงรักษาดินให้ดีขึ้น การประเมินสุขภาพดิน เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตรวจสอบลักษณะของดินที่ทำงาน ได้ดีให้แก่เกษตรกร เป็นการตรวจสอบอย่างง่ายแต่ครอบคลุมสภาพของดินที่เกิดจากการผสมผสานอย่างเหมาะสม


24 ระหว่างสมบัติทางเคมี(ธาตุอาหารพืช) สมบัติทางกายภาพ (น้ำและอากาศ) และสมบัติทางชีวภาพของดิน (สิ่งมีชีวิตในดิน) การที่สมบัติทั้ง 3 ด้านนี้อยู่ในลักษณะที่สมดุล สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดถึงสุขภาพดินได้ การประเมินสุขภาพดิน นับเป็นกิจกรรมที่ท้าทายและกระตุ้นการพัฒนาเกษตรกรให้เข้าสู่การเป็น smart farmer ได้อย่างเต็มตัว เพราะการประเมินอาศัยลักษณะจำเพาะของดินมาอธิบายกระบวนการต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นในดิน เป็นรูปแบบการประเมินที่ไม่ยุ่งยาก แต่สามารถบอกถึงสภาพของดินที่เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของ ดินเอง ความไม่เหมาะสมของการจัดการดิน และความไม่เหมาะสมจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน หากเกษตรกรฝึก ประเมินสุขภาพของดินร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรจะสามารถพัฒนา ให้ประเมินสุขภาพดินเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง สามารถประเมินได้ว่าสุขภาพดินของตนเองอยู่ในระดับใด มีผลกระทบ ต่อกำลังการผลิตของดินมากน้อยเพียงใด ความสำคัญของการจัดการดินที่ดี ดินมีหน้าที่ ผลิตพืชและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม, รักษาและหมุนเวียนธาตุอาหาร, สนับสนุน การเจริญเติบโตของพืช, กักเก็บคาร์บอน, กรองนํ้าและเก็บนํ้าไว้ในดิน, และสนับสนุนการผลิตอาหารคน อาหาร สัตว์เส้นใย และเชื้อเพลิง เป็นต้น หากดินทำหน้าที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลในระยะยาวต่อผลผลิตที่ยั่งยืน คุณภาพสิ่งแวดล้อม และผลกำไรสุทธิของเกษตรกร ดังนั้น การจัดการดินที่ดีจะส่งผลต่อปริมาณผลผลิต รายได้ ของเกษตรกร ธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานอาหารและการเกษตร และรายได้ของประเทศ เมื่อดินมีสุขภาพดีแล้วผลิต ภาพของดินก็จะดีด้วย ความเสี่ยงจากการสูญเสียผลผลิตก็จะน้อยลง สามารถลดต้นทุนการผลิต เพราะดินไถพรวน ง่ายขึ้น (ลดค่าน้ำมันเชื้อเพลิง), ลดการสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และสารกำจัดวัชพืช (ลดต้นทุนค่าปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และสารกำจัดวัชพืช) วิธีประเมินสุขภาพดินอย่างง่าย 1. การเลือกเวลาที่เหมาะสมในการประเมินสุขภาพดิน - เกษตรกรควรประเมินสุขภาพดินในช่วง ที่ดินมีความชื้น แต่ไม่แฉะ เช่น หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 1 เดือน ดินยังไม่ถูกรบกวนมากนัก และไม่ ประเมินสุขภาพดินทันทีหลังจากการใส่ปุ๋ย หรืออินทรียวัตถุ ทั้งนี้เกษตรกรควรประเมินสุขภาพดินที่จุดเดียวกัน เป็นประจำทุกปีหลังจากที่มีการปรับปรุงดินตามคำแนะนำ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเปรียบเทียบผลของการ ปรับปรุงดิน และวางแผนการปรับปรุงดินในรอบปลูกถัดไป 2. การเลือกพื้นที่ในการประเมินสุขภาพดิน – พื้นที่ที่มีสภาพเหมือนหรือต่างกันจะเป็น ตัวกำหนดจำนวนจุดที่ต้องประเมินสุขภาพดิน ดังนี้


25 (1) พื้นที่มีความสม่ำเสมอดี- ดินมีลักษณะเหมือนกัน ทั้งแปลง และปลูกพืชชนิดเดียวกัน ประเมินสุขภาพ ดิน 1 จุด (2) พื้นที่ไม่สม่ำเสมอ - พื้นที่มีความลาดชัน ประเมิน สุขภาพดินตามระดับความลาดชัน ประเมิน 3 จุด (3) พื้นที่มีสีดิน หรือเนื้อดินที่แตกต่างกัน เกษตรกร ควรประเมินสุขภาพดินตามสีดิน หรือเนื้อดินที่ แตกต่างกัน เช่น ต่างกัน 2 จุด ประเมินสุขภาพดิน 2 จุด (4) พื้นที่ที่ปลูกพืชต่างชนิดกัน - เกษตรกรควร ประเมินสุขภาพดินตามชนิดของพืชที่แตกต่างกัน กรณีนี้ประเมิน 3 จุด (5) พื้นที่ที่พืชแสดงอาการผิดปกติมีการเจริญเติบโต ไม่สมํ่าเสมอ - เกษตรกรควรประเมินสุขภาพดินตาม ลักษณะของพืช กรณีนี้ประเมิน 3 จุด พร้อมทั้งระบุให้ ชัดเจนว่าดินมีปัญหา


26 3. ทำความเข้าใจวิธีประเมินคะแนน – ประเมินจากองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยร่วม ได้แก่ ชนิด พืชที่ปลูก, ลักษณะของพืช, ลักษณะดิน, การจัดการดิน ปุ๋ย น้ำ และการใช้ผลิตภัณฑ์ของกรมพัฒนาที่ดิน, และผล วิเคราะห์ดินเพื่อประเมินสถานะธาตุอาหารพืช ต่อไปนี้คือตัวอย่างแนวทางประเมินคะแนน การประเมินลักษณะพืช ลักษณะพืช/คะแนน 0 1 2 การเจริญเติบโตของพืช/ คะแนน 0 1 2 ศักยภาพการให้ผลผลิต/ คะแนน 0 1 2 เมื่อประเมินลักษณะพืชทั้ง 3 ข้อแล้ว ให้รวมคะแนนลักษณะพืช และนำผลคะแนนที่ได้ไปประเมินสุขภาพดินปลูก ข้าว ตามแบบประเมินสุขภาพดินสำหรับข้าว


27 การประเมินลักษณะทางกายภาพของดิน สีดินโดยรวม แดง เหลือง น้ำตาล เทา ดำ เนื้อดิน ดินทราย ดินร่วน ดินเหนียว สำหรับการประเมินสถานะธาตุอาหารพืช กลุ่มวิสหกิจชุมชนหนองโดน ได้เข้าร่วมโครงการปุ๋ยสั่ง ตัด ก่อนเข้าร่วมโครงงานกับคณะทำงานกลุ่ม 6 ซึ่งเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการประเมินสถานะ ธาตุอาหารพืชจากดิน โดยวิทยากร อาจารย์ประทีบ วีระพัฒนนิรันดร์เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับผลวิเคราะห์ดินและ ได้รับคำแนะนำการจัดการปุ๋ยแล้ว ตัวอย่างผลตรวจวิเคราะห์ดินแบบปุ๋ยสั่งตัด ของเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หนองโดน ลำดับที่ 1 นายกำธร จิตตะโน แสดงในภาพที่ 14 พบว่า ปริมาณไนโตรเจน (N) ต่ำ ปริมาณฟอสฟอรัส (P) ต่ำ และปริมาณโพแทสเซียม (K) ปานกลาง ดังนั้น เกษตรกรจึงไม่จำเป็นต้องตรวจวิเคราะห์ดินใหม่ สามารถใช้ ผลวิเคราะห์ดินจากผลการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว ในการประเมินคะแนนของธาตุอาหารหลัก (NPK) ได้ดังตารางที่ 3


28 ภาพที่ 14 ตัวอย่างผลตรวจวิเคราะห์ดินแบบปุ๋ยสั่งตัด ของเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน ตารางที่ 3 การประเมินคะแนนธาตุอาหารหลักในดิน จากผลวิเคราะห์NPK ของดิน ระดับประเมิน ไนโตรเจน1/ (N) ระดับประเมิน ฟอสฟอรัส1/ (P) ระดับประเมิน โพแทสเซียม1/ (K) 0 คะแนน ต่ำมาก 0 คะแนน ต่ำมาก 0 คะแนน ต่ำมาก 1 คะแนน ต่ำ 1 คะแนน ต่ำ 1 คะแนน ต่ำ 2 คะแนน ปานกลาง สูง 2 คะแนน ปานกลาง สูง สูงมาก 2 คะแนน ปานกลาง สูง สูงมาก 1/ ผลวิเคราะห์ด้วยชุดตรวจสอบดินอย่างง่าย (soil test kit) เมื่อประเมินคะแนนธาตุอาหารหลักในดินจากผลวิเคราะห์ NPK แล้ว ให้นำผลคะแนนที่ได้ไป ประเมินสุขภาพดินร่วมกับผลคะแนนลักษณะพืช ตามแบบประเมินสุขภาพดินสำหรับข้าว ดังแสดงในภาพที่ 15 เกษตรกรจะสามารถอ่านผลการประเมินสุขภาพดินของตนเองได้ว่า ดินของเกษตรกรรายนั้น ๆ มีสุขภาพดีมาก (4 คะแนน) ดี (3 คะแนน) ดีพอใช้ (2 คะแนน) หรือยังไม่ดี (0-1 คะแนน) ดังแสดงในภาพที่ 16


29 ภาพที่ 15 แบบประเมินสุขภาพดินสำหรับข้าว (ที่มา: เอกสารอ้างอิง-04) ภาพที่ 16 ผลการประเมินสุขภาพดิน (ที่มา: เอกสารอ้างอิง-04) เมื่อทราบคะแนนประเมินสุขภาพดิน สำหรับดินปลูกข้าว ควรดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามคำแนะนำ ดังนี้ คะแนนอยู่ในระดับ ยังไม่ดี(0-1 คะแนน): ข้าวมีการเจริญเติบโตและผลผลิตไม่ดีธาตุอาหารพืชหลัก (อย่างน้อย 1 ธาตุอยู่ในระดับต่ำมาก) เกษตรกรต้อง ปรับปรุงโดยการเพิ่มธาตุอาหารพืชหลักอย่างเร่งด่วน เลือกชนิดปุ๋ยและอัตราปุ๋ยที่ใส่ให้เหมาะกับพันธุ์ข้าวและเนื้อ ดิน ใส่ตรงตามระยะเวลาที่ข้าวต้องการตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ปรึกษาเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินใน พื้นที่ของท่าน คะแนนอยู่ในระดับ ดีพอใช้(2 คะแนน): ควรใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เช่น ไถกลบตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว ไถกลบลงใน ดินก่อนปลูกข้าว 2-3 สัปดาห์ใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่น มูลสัตว์ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ต้องใส่ระยะเตรียมดิน


30 เพื่อให้เวลาปุ๋ยอินทรีย์ย่อยสลายลงในดินก่อนการหว่านข้าวหรือปักดำ กำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ วัชพืชขึ้นมาแย่งอาหารกับต้นข้าว โดยเฉพาะเมื่อต้นข้าวยังเล็ก คะแนนอยู่ในระดับ ดี(3 คะแนน): เพิ่มธาตุอาหารพืชเฉพาะธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในระดับต่ำ คำนวณปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้ถูกต้อง ใส่ปุ๋ยให้เพียงพอกับ ความต้องการของต้นข้าวเท่าที่จำเป็นตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ควรใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เพิ่ม อินทรียวัตถุในดิน เช่น ไถกลบตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว หรือใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่น มูลสัตว์ปุ๋ย หมัก ปุ๋ยอินทรีย์ต้องใส่ระยะเตรียมดินเพื่อให้เวลาปุ๋ยอินทรีย์ย่อยสลายลงในดินก่อนการหว่านข้าวหรือปักดำ คะแนนอยู่ในระดับ ดีมาก (4 คะแนน): ดินของท่านมีธาตุอาหารหลักที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าว ให้คุณใช้วิธีการจัดการดินที่ ปฏิบัติอยู่ การขอรับบริการวิเคราะห์ดินด้วยระบบ e-Service กรมพัฒนาที่ดิน ให้บริการวิเคราะห์ดินผ่านระบบออนไลน์โดยขยายขอบข่ายการให้บริการ ครอบคลุมทั้งหน่วยงานส่วนกลางและสำนักงานพัฒนาที่ดินเขตทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจ สามารถส่งตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ได้ทั่วถึง อีกทั้งสามารถรับคำแนะนำปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินได้แบบออนไลน์ เป็นการเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ของการให้บริการ และผลวิเคราะห์สามารถใช้ได้ทันต่อฤดูการปลูก การขอรับ บริการทำได้ดังนี้ 1. เข้าเว็บไซต์กรมพัฒนาที่ดิน : https://www.ldd.go.th/eService/index.html เลือก บริการตรวจวิเคราะห์ดินเพื่อการเกษตร 2. ลงทะเบียนสมัครสมาชิกเข้าใช้งานระบบ e-Service ตรวจสอบดินเพื่อการเกษตร : https://osd101.ldd.go.th/osdlab/ https://osd101.ldd.go.th/osdlab/register.php


31 3. เมื่อสมัครสมาชิกแล้ว เกษตรกรสามารถส่ง ตัวอย่างดิน ตามขั้นตอนที่แสดงรายละเอียดใน เว็บไซต์ประกอบด้วยขั้นตอนคร่าว ๆ ดังนี้ - เลือกห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน สำนักงาน พัฒนาที่ดินเขตใกล้บ้าน (สพข. 1-12) - เลือกบริการวิเคราะห์ดินสำหรับเกษตรกร (ยกเว้นค่าธรรมเนียม) - กรอกรายละเอียดตัวอย่าง - ดำเนินการส่งตัวอย่าง - รับผลวิเคราะห์พร้อมคำแนะนำปุ๋ย การขอรับบริการวิเคราะห์ดินผ่านระบบ e-Service เกษตรกรสามารถเลือกขอรับ Token Key สำหรับรับการแจ้งเตือนผ่าน Application Line ได้ เช่น แจ้งการอนุมัติการขอรับบริการ แจ้งการได้รับผลวิเคราะห์ เป็นต้น 1 2 3 4 การดำเนินการส่งตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ผ่านระบบ e-Service มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียง เกษตรกรสมัครสมาชิกผ่านระบบ และดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในระบบ หรือ เกษตรกรสามารถขอการ ช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดิน ทั้งที่หน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานส่วนภูมิภาคทุกแห่ง (เขตพัฒนา ที่ดินและสถานีพัฒนาที่ดิน ทุกแห่ง) ด้วยการขอรับบริการผ่านระบบออนไลน์นี้ เกษตรกรจะได้รับคำแนะนำปุ๋ยที่ เหมาะสมกับพืชที่ปลูก เช่น ข้าวนาปี หรือข้าวโพด เป็นต้น และคำแนะนำปุ๋ยนั้น ๆ ทันท่วงที่ต่อฤดูปลูก ตัวอย่าง บางส่วนจากการขอรับบริการวิเคราะห์ดินผ่านระบบออนไลน์


32 1. การสร้างใบส่งตัวอย่าง 2. เลือกรายการวิเคราะห๋สำหรับเกษตรกร (ไม่คิดค่าธรรมเนียม) 3. เลือกห้องปฏิบัติการใกล้บ้าน และมีจำนวน คิวน้อย 4. ระบบคำนวณอัตราปุ๋ย 3.2.3 เทคโนโลยีการจัดทำบัญชีฟาร์ม จากการสัมภาษณ์ผู้จัดการแปลง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน ทำให้ทราบว่าเกษตรกรยังไม่ ยอมรับการทำบัญชีครัวเรือน เนื่องจากความยุ่งยากในการกรอกรายการรับ-จ่ายในชีวิตประจำวัน ที่มีความ ละเอียดมาก เพราะต้องบอกที่มาของรายได้และที่ไปของรายจ่ายทั้งหมด ดังนั้น การทำบัญชีฟาร์มจึงเป็นทางเลือก ที่ดีสำหรับการแสดงให้เกษตรกรเห็นถึงความสำคัญของการทำบัญชีที่แสดงต้นทุนการผลิตทั้งหมด (รายจ่าย) ต้นทุนการผลิตที่ลดลงจากการบริหารจัดการแปลงด้วยเทคโนโลยีนาหยอด และรายรับจากผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้น


33 รวมทั้งจากการขายฟางซึ่งเป็น byproduct การทำบัญชีฟาร์มมีรายละเอียดของรายการที่ต้องกรอกน้อยกว่าบัญชี ครัวเรือน โดยกรอกเฉพาะรายการรับ-จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก อีกทั้ง ผู้จัดการแปลง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน ได้เคยทำบัญชีฟาร์ม (รายจ่าย) ของพื้นที่ ปลูกข้าว 18 ไร่ (พื้นที่แปลงสาธิตนาหยอดน้ำตมและนาหว่านน้ำตม ปี พ.ศ. 2565) ในปี พ.ศ. 2563 และ 2564 ไว้ แล้ว ดังนั้น การทำบัญชีฟาร์มสำหรับการบริหารจัดการแปลงด้วยเทคโนโลยีนาหยอด จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่คณะ ผู้จัดทำโครงงานกลุ่ม 6 เห็นชอบร่วมกันว่าจะสามารถใช้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ แสดงให้เกษตรกรในกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนหนองโดนเห็นได้ว่า การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตช่วยลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ได้อย่างไร ตารางที่ 4 และ 5 แสดงบัญชีรายจ่ายการบริหารจัดการแปลงปลูกข้าวในปี พ.ศ. 2563 และ 2564 สำหรับบัญชีฟาร์มแสดงรายจ่ายของแปลงสาธิตการใช้เทคโนโลยีนาหยอดน้ำตม และการใช้วิธี เกษตรกรนาหว่านน้ำตม และการประมาณการรายได้ของเกษตรกร ในปี 2565 จะแสดงในหัวข้อที่ 3 กิจกรรมการ ทำแปลงสาธิตและผลการดำเนินงาน ตารางที่ 4 บัญชีรายจ่ายการบริหารจัดการแปลงปลูกข้าวพื้นที่ 18 ไร่ ในปี พ.ศ. 2563 (ก่อนวิกฤตปุ๋ยแพง) ลำดับที่ รายการ ก่อนปุ๋ยขึ้นราคา (2563) ราคา/ปริมาณ ราคารวม (บาท) 1 ค่าพันธุ์ข้าว หอมปทุมฯ 25 กก./ไร่ 500*18 9,000 2 ค่าแรงหว่านข้าว 70*8 70*18 1,260 3 ค่าปุ๋ยไนโตรเจนสูตร 46-0-0 รอบที่ 1 690*9 6,210 4 ค่าแรงหว่านปุ๋ย 25 กก./ไร่ 70*9 630 5 ค่าปุ๋ย 16-20-0 รอบที่ 2 690*9 6,210 6 ค่าแรงหว่านปุ๋ย 25 กก./ไร่ 70*9 630 7 ค่าปุ๋ยไนโตรเจนสูตร รอบที่ 3 แต่งหน้า 690*5 3,450 8 ค่าแรงหว่านปุ๋ย 14 กก./ไร่ 70*5 350 9 ค่าตัดหญ้าข้าวปนในแปลงนา 400*5 2,000 รวมเป็นเงิน 29,740


34 ตารางที่ 5 บัญชีรายจ่ายการบริหารจัดการแปลงปลูกข้าวพื้นที่ 18 ไร่ ในปี พ.ศ. 2564 (หลังวิกฤตปุ๋ยแพง) ลำดับที่ รายการ หลังปุ๋ยขึ้นราคา (2564) ราคา/ปริมาณ ราคารวม (บาท) 1 ค่าพันธุ์ข้าว หอมปทุมฯ 25 กก./ไร่ 520*18 9,360 2 ค่าแรงหว่านข้าว 70*8 70*18 1,260 3 ค่าปุ๋ยไนโตรเจนสูตร 46-0-0 รอบที่ 1 1,450*9 13,050 4 ค่าแรงหว่านปุ๋ย 25 กก./ไร่ 70*9 630 5 ค่าปุ๋ย 16-20-0 รอบที่ 2 1,450*9 13,050 6 ค่าแรงหว่านปุ๋ย 25 กก./ไร่ 70*9 630 7 ค่าปุ๋ยไนโตรเจนสูตร รอบที่ 3 แต่งหน้า 1,450*5 7,250 8 ค่าแรงหว่านปุ๋ย 14 กก./ไร่ 70*5 350 9 ค่าตัดหญ้าข้าวปนในแปลงนา 400*5 2,000 รวมเป็นเงิน 47,580 จะเห็นได้ว่าวิกฤตปุ๋ยเคมีราคาแพงในปี 2564 ทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้นกว่าในปี 2563 ถึงเกือบ 2 เท่า ยิ่งเป็นการสนับสนุนถึงความเหมาะสมในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่สามารถลดต้นทุนและ เพิ่มผลผลิตได้ มาส่งเสริมให้กับเกษตรกรแทนที่วิธีการผลิตของเกษตรกรแบบเดิม ๆ ที่ต้นทุนสูงและผลผลิตต่ำ นอกจากการทำบัญชีฟาร์มแล้ว การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในครั้งนี้ยังได้รับความ อนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาถ่ายทอดองค์ความ รู้ “โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่” ให้แก่เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองโดน ซึ่งเป็นองค์ความรู้ด้านการกู้เงินดอกเบี้ยต่ำ ทำให้กลุ่มเกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับนำมาพัฒนาการเกษตร แบบแปลงใหญ่ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. แสดงในภาพที่ 17


35 ภาพที่ 17 การถ่ายทอดองค์ความรู้การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่โดยเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. “โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่” ที่เสนอโดยกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ได้รับการอนุมัติจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 โดยให้การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อ พัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 2,000 แปลง วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 23,000 ล้านบาท ระยะเวลา โครงการตั้งแต่ พฤศจิกายน 2559 – เมษายน 2570 วงเงินสินเชื่อ แปลงละไม่เกิน 10 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี และมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการ โดยให้ยกเลิกโครงการสนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มชาวนาผู้ผลิต ข้าวแบบแปลงใหญ่ ปี2559/2560 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 และโครงการสนับสนุน สินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2559 (เอกสารอ้างอิง-06) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินงานส่งเสริม การเกษตร แบบแปลงใหญ่ และกำหนดให้ทุกหน่วยงานบูรณาการลงทำงานในพื้นที่เดียวกัน (แปลงใหญ่) เพื่อ สนับสนุนเกษตรกรตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานและความต้องการของเกษตรกร มุ่งหวังในการพัฒนาให้ เกษตรกรรายย่อยซึ่งเป็นสมาชิกแปลงใหญ่สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย การออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ถือเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรแปลงใหญ่มีเงินทุน สามารถนำไปพัฒนากิจกรรม


36 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการผลิต และการตลาด ที่จะนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการที่ เข้มแข็งต่อไป ทั้งนี้ เอกสารข้อมูลสำคัญของผลิตภัณฑ์ “โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลง ใหญ่” (ขยายกรอบระยะเวลา) ระยะเวลาของ “โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่” 1 พฤศจิกายน 2559 - 30 มิถุนายน 2575 ระยะเวลาการจ่ายเงินกู้1 ธันวาคม 2559 - 31 ธันวาคม 2569 ระยะเวลาการชดเชย ดอกเบี้ยภายใน 5 ปีนับแต่วันกู้ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2574 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.01 ต่อปีโดยผู้กู้ รับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปีธ.ก.ส. รับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 0.125 ต่อปีและรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยร้อย ละ 2.875 ต่อปีตลอดระยะเวลาโครงการ 5 ปีทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2574 3.3 สรุปกิจกรรมแปลงสาธิตการทำนาหยอดน้ำตมและนาหว่านน้ำตม การทำแปลงสาธิตเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการปลูกข้าวด้วยเทคโนโลยีนาหยอดน้ำตม พื้นที่ 10 ไร่กับการปลูกข้าวด้วยวิธีนาหว่านน้ำตมซึ่งเป็นวิธีของเกษตรกร พื้นที่ 8 ไร่ ดำเนินงานตามปฏิทินการปลูกข้าว ของเกษตรกร ดังแสดงในภาพที่ 18 ภาพที่ 18 ปฏิทินการปลูกข้าวนาหยอดน้ำตม และนาหว่านน้ำตม (ข้าวมีอายุเฉลี่ย 120 วัน) พ.ค. 26 แช่ข้าว 27 บ่มข้าว 28 หยอดข้าว 29 30 31 มิ.ย. 1 2 3 4 5 สูบน ้าราด 6 7 ใส่ปุ๋ยอินฯ 1 8 ฉีดพ่น ฮอร์โมนฯ 1 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 9 10 ฉีดยาฆ่า หญ้า 11 12 13 17 18 19 11 20 21 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 22 23 24 ฉีดพ่น ฮอร์โมนฯ 2 25 26 27 28 29 30 ก.ค. 1 2 3 4 5 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 6 7 8 9 7 ใส่ปุ๋ยสั่งตัด 11 12 13 14 15 16 ใส่ปุ๋ยอินฯ 2 17 18 19 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 20 21 22 23 24 25 24 ฮอร์โมนฯ 3 27 28 29 30 31 ส.ค. 1 2 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 31 ก.ย. 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 99 100 101 102 103 104 105 106 107 108 109 110 111 112 22 เกี่ยวข้าว 113 114 115 116 117 118 119 120 121 122 ตารางการท้านาหยอดน ้าตม 10 ไร่ นาหว่านน ้าตม 8 ไร่ วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 วันที่ 13 ถึง 22 กันยายน ปล่อยน ้าออกจากแปลง 14-16 สูบน ้าเข้านา


37 สรุปการดำเนินกิจกรรมรายเดือน ปัญหาและอุปสรรคที่พบและแนวทางแก้ไข ดังนี้ เมษายน 2565 • ไถกลบดินครั้งที่ 1: แปลงนาหยอดน้ำตมและนาหว่านน้ำตม ดำเนินการตัดหญ้าในแปลงนา โดยใช้รถ แทรกเตอร์ต่อพ่วงชุดตัดหญ้าด้านหลัง ตัดหญ้าทั่วทั้งแปลงและทิ้งให้แห้งกรอบ และไถกลบพร้อมตอซัง ข้าว การไถกลบตอซังข้าวและหญ้าลงไปในดิน ให้ได้ความลึกมากกว่า 15-20 เซนติเมตร ปัญหาและอุปสรรค: ฝนทิ้งช่วง ประกอบกับพื้นที่นาเป็นดินเหนียวจัด เมื่อความชื้นไม่เพียงพอทำให้การไถ กลบล่าช้าเพราะดินแข็งยากต่อการไถกลบ พลิกดิน แนวทางการแก้ปัญหา: ไถกลบตอซังและเศษหญ้าที่ตัด เป็นการพลิกกลับหน้าดินให้ดินด้านล่างถูก แสงแดดและอากาศ ความร้อนจากแสงแดดจะช่วยเร่งการย่อยสลาย ตอซังและ เศษรากหญ้า รวมทั้งเมล็ดหญ้าให้แห้งตาย เป็นการลดปริมาณหญ้าปนในนา ข้าวเบื้องต้น และเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินทำให้ดินร่วนซุยขึ้น การไถ กลบจะต้องให้ได้ความลึกมากกว่า 15-20 เซนติเมตร เพื่อให้หญ้าที่แห้งถูกพลิก กลับลงไปในดิน เมื่อขังน้ำจะย่อยสลายได้ดีและไม่เกิดเป็นต้นหญ้าขึ้นมาใหม่ พฤษภาคม 2565 • ไถกลบดินครั้งที่ 2: 2 สัปดาห์หลังไถกลบหญ้าและตอซัง ครั้งที่ 1 แปลงนาหยอดน้ำตมและนาหว่านน้ำตม (1) ดำเนินการไถกลบ พลิกดิน เพื่อให้เศษซากหญ้าและตอซังย่อยสลายดีขึ้น ปัญหาและอุปสรรค: ฝนตกก่อนกำหนด ดินเปียก ความชื้นสูง จะทำให้หญ้างอกเร็ว และต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการตัดหญ้าเพิ่มขึ้น ต้องไถกลบเร็วขึ้น แต่จะทำให้หญ้าแห้งตายไม่ดีเท่าที่ควร แนวทางการแก้ปัญหา: ปกติการไถกลบครั้งที่ 2 จะห่างจากครั้งที่ 1 อย่างน้อย 1 เดือน แต่กรณีนี้ ฝนตก ก่อนกำหนดทำให้หญ้างอกเร็ว จึงต้องไถกลบครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งที่ 1 เพียง 2 สัปดาห์ เพื่อพลิกดินให้หญ้าและตอซังถูกแสงแดดและย่อยสลายดีลดการงอก ของหญ้า (2) ผันน้ำเข้านา: เพื่อหมักดินให้ดินนุ่ม ให้น้ำท่วมดินที่ไถกลบและขังน้ำทิ้งไว้2 ถึง 3 วัน (3) ขลุบปั่นดิน: หลังขังน้ำ 2-3 วัน ใช้รถแทรกเตอร์ติดขลุบปั่น ปั่นดินให้เละเป็นโคลนเลน และหมักทิ้งไว้ 7 วัน เพื่อให้เศษซากหญ้าและตอซังข้าวเกิดการย่อยสลาย ปัญหาและอุปสรรค: ดินลึกและไม่สม่ำเสมอ เกิดหลุมดิน หล่มดิน แนวทางการแก้ปัญหา: การไถด้วยรถแทรกเตอร์ติดขลุบปั่นดิน ลดปัญหาหลุมดิน หล่มดิน เพราะเป็นการ พลิกดินให้เศษซากพืชจมอยู่ในดินง่ายต่อการย่อยสลาย (4) เตรียมเมล็ดพันธ์ข้าวจ้าวพันธ์หอมปทุม: ทำการแช่ข้าว บ่มข้าว นำกระบะขนาดใหญ่ ใส่น้ำผสมไตรโค เดอร์มา คนให้เข้ากัน แล้วนำเมล็ดพันธุ์ข้าวลงแช่ในกระบะให้น้ำท่วมเมล็ดพันธุ์คนเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วรอ จนกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ลอยขึ้นใช้เวลาประมาณ 30 นาที แล้วตักออก ให้เหลือแต่เมล็ดพันธุ์ที่


38 สมบูรณ์แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำไว้12 ชั่วโมง เมื่อครบ 12 ชั่วโมงแล้วให้นำเมล็ดข้าวขึ้นจากน้ำใส่กระสอบตั้ง ไว้กลางแจ้ง ไม่ต้องใช้วัสดุคุมทับกระสอบ ใช้เวลา 12 ชั่วโมงเช่นกัน เมล็ดพันธุ์จะงอกเหมาะสมต่อการ หยอดและหว่าน ดังแสดงในภาพที่ 10 (5) การเตรียมดินพร้อมหยอดหรือหว่าน: ใช้รถไถนาเดินตามย่ำปรับพื้นนาที่เป็นเลนหรือโคลนให้เรียบ ทิ้งหมักไว้12 ชั่วโมง แล้วทำการชักร่องระบายน้ำ ที่มีระยะห่างระหว่างร่อง 3.50 เมตร จนทั่วแปลงนา ปัญหาและอุปสรรค: ฝนตกเป็นช่วง ๆ ตลอดเดือน ไม่สามารถทำนาหว่านแห้ง หรือนาหยอดแห้ง ตาม แผนปฏิบัติงานเดิมได้ แนวทางการแก้ปัญหา: ปรับแผนการปลูกข้าวเป็นนาหว่านน้ำตม และนาหยอดน้ำตม • การหว่านและการหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว: แปลงนาหยอดน้ำตม (1). ปล่อยน้ำ/ผันน้ำออกจากแปลงนาจนเกือบแห้ง (2) เตรียมรถหยอดข้าวให้ พร้อม (3) นำเมล็ดข้าวใส่ลงในถังบรรจุข้าว (4) ดำเนินการหยอดเมล็ดพันธุ์อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมี ระยะการหยอดระหว่างแถว 30 เซนติเมตร ระหว่างกอ 18 เซนติเมตร (5) ระหว่างที่ทำการหยอดเมล็ด พันธุ์ผสมน้ำยาคุมเลน (ให้เมล็ดหญ้าฝ่อ) ในถังบรรจุบนตัวรถหยอด ปริมาณ 160 ลิตร ทำการฉีดยาคุม เลนในขั้นตอนเดียวกันกับการหยอด ปัญหาและอุปสรรค: (1) การเว้นระยะระหว่างแถว (ร่องปลูก) 3.50 เมตร ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวลดลง จึงใช้ เมล็ดพันธุ์ลดลง ลดอัตราเมล็ดพันธุ์เป็น 7 กิโลกรัมต่อไร่ (2) การทำงานของตัวรถ หยอดบางช่วงเมล็ดพันธุ์ไม่ลงดิน ทำให้เกิดระยะห่างของแถวและกอเป็นบางช่วง แนวทางการแก้ปัญหา: (1) ตามแผนกำหนดอัตราเมล็ดพันธุ์8 - 12 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ลดเหลือ 7 กิโลกรัม ต่อไร่ เพราะพื้นที่ปลูกลดลง (2) ใช้ต้นกล้ามาปักดำซ่อมเพิ่มเติมในจุดที่เกิด ระยะห่างของแถวและกอจากการหยอด แปลงนาหว่านน้ำตม (1) ปล่อยน้ำ/ผันน้ำออกจากแปลงนาจนเกือบแห้ง (2) เตรียมคนและเครื่องพ่น เมล็ดพันธุ์ (3) เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวกระจายวางในจุดที่พร้อมถ่ายเข้าถังบรรจุในตัวเครื่องพ่น จนทั่วแปลง นา (4) ทำการพ่น/หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามคันร่องที่ได้ทำการชักร่องน้ำไว้โดยใช้เมล็ดพันธุ์25 กิโลกรัม ต่อไร่จนทั่วแปลง (5) ปล่อยน้ำหรือผันน้ำออกจากแปลงนาให้หมด อย่าให้มีน้ำขังภายในแปลงหลงเหลือ อยู่ (เมล็ดข้าวจะเน่าเสีย) (6) หลังจากนั้น 12 ชั่วโมงให้ฉีดยาคุมเลน (ยาให้เมล็ดหญ้าฝ่อ) จนทั่วแปลง นาอีกครั้ง ปัญหาและอุปสรรค: ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฉีดยาคุมวัชพืชซ้ำอีก 1 รอบ (70 บาทต่อไร่) การหว่านเมล็ด พันธุ์มากเกินไป จะทำให้ข้าวแน่นและแย่งอาหาร เจริญเติบโตไม่ดีข้าวอ่อนแอ แนวทางการแก้ปัญหา: แปลงสาธิตนี้ใช้เมล็ดพันธุ์อัตราที่เกษตรกรใช้คือ 25 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ข้อสังเกต คือ สามารถลดปริมาณเมล็ดพันธุ์โดยใช้ไม่เกิน 15 กิโลกรัมต่อไร่ได้เป็นการ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าว 10 กิโลกรัมต่อไร่ (ลดต้นทุนการผลิต)


39 • การดูแลแปลงนาหลังการหยอดหรือหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว: (1) สำรวจภายในแปลงไม่ให้มีน้ำหลงเหลืออยู่ ในแปลงเป็นแอ่งหรือจุด หากพบแอ่งน้ำให้ระบายน้ำออก โดยทำร่องเชื่อมต่อแอ่งน้ำกับร่องน้ำในแปลงนา จากนั้นไหลหรือสูบน้ำออกจากร่องน้ำในแปลงนาทางคลองทิ้งน้ำ จนน้ำแห้งทั่วทั้งแปลง (2) ดูแลคอยไล่ นกพิราบที่จะลงมาจิกกินเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่าน โดยใช้สัญญาณผ้าสีเข้มพลิ้วไหว หรือเคาะเสียงสัญญาณ ต่าง ๆ หรือใช้ประทัดที่เป็นลูกบอลจุดให้มีเสียงดังเพื่อไล่นกพิราบที่บินมาลงจิกกินเมล็ดข้าว (วิธีที่ เกษตรกรนิยมใช้) (3) ต้องคอยดูแลเอาใจใส่จนกว่าข้าวจะงอกเป็นต้นมีใบสีเขียว ประมาณ 4 ถึง 5 วัน หรือจนกว่านกพิราบจะไม่ลงจิกกิน ปัญหาและอุปสรรค: นกพิราบลงมาจิกกินเมล็ดข้าวที่หยอดหรือหว่านในแปลงนา นี่คืออีกเหตุผลที่ชาวนา ต้องใช้เมล็ดพันธุ์จำนวนมากเกินจำเป็น เพื่อชดเชยการสูญเสียเมล็ดพันธุ์จากนกหรือ หนู แนวทางการแก้ปัญหา: ใช้ลูกบอลหรือประทัดจุด ให้มีเสียงดังเพื่อไล่นกพิราบ มิถุนายน 2565 • การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ระยะข้าว 10 วัน (7 มิถุนายน 2565): แปลงนาหยอดน้ำตมและนาหว่านน้ำตม (1) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ดอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใช้เครื่องพ่นสะพายหลัง เนื่องจากเกิดฝนตกมาเป็น ระยะ ทำให้หน้าดินในแปลงเปียกเหมาะต่อการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปัญหาและอุปสรรค: (1) เกิดวิกฤตปุ๋ยเคมีราคาแพง ไม่สามารถใส่ปุ๋ยเคมีอัตราตามค่าวิเคราะห์ดินได้(2) เกิดฝนตกเป็นระยะ ทำให้ดินชุ่มน้ำ หญ้าสามารถงอกใหม่ได้ไว แนวทางการแก้ปัญหา: (1) เกษตรกรเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อลดต้นทุน (2) ปรับเวลาใส่ปุ๋ย ให้เหมาะกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ระยะข้าวอายุ10 วัน แทนการใส่ ปุ๋ยเคมีที่อายุข้าว 15-20 วัน เพื่อให้ปุ๋ยอินทรีย์มีเวลาในการย่อยสลายปลดปล่อย ธาตุอาหาร (3) ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินครึ่งอัตราของคำแนะนำ (2) ฉีดยาฆ่าหญ้าปนในนาข้าว (ยาเก็บกวาด) ระยะข้าว 14 วัน (10 มิถุนายน 2565 ): a) เตรียมยาฉีดฆ่าหญ้าสำหรับหญ้าทุกประเภท โดยเฉพาะหญ้าลิเก ให้เพียงพอต่อจำนวนแปลง นา b) จ้างผู้รับจ้างฉีดแบบปั้มแรงดันสายลาก c) ผสมยาทุกชนิดที่เตรียมมาตามเอกสารกำกับการใช้ลง ในถังผสมให้เรียบร้อย ด้วยความระมัดระวัง d) ผู้รับจ้างฉีดลากสายยางทำการฉีดพ่นตามรงที่ทำไว้โดย จะกดหัวฉีดพ่นลงต่ำให้มากที่สุด และเดินฉีดพ่นจนทั่วทั้งแปลง e) หลังจากฉีดพ่นแล้ว ต้องเฝ้าระวังผล การฉีดอย่างน้อย 3 วัน หญ้าที่มีในแปลงเหี่ยวเฉาและตายหรือไม่ ข้าวได้รับผลกระทบจากยาที่ฉีดหรือไม่ f) หลังระยะเฝ้าระวัง 3 วัน พบว่า หญ้าที่มีในแปลงนาแห้งตายทั้งแปลง โดยเฉพาะหญ้าลิเก แต่ต้นข้าว ไม่ได้รับผลกระทบจากยาที่ฉีด ไม่เฉา ไม่หลือง ไม่เหี่ยว และต้นแข็งแรงดี ปัญหาและอุปสรรค: การบินโดรนฉีดพ่นยาฆ่าหญ้า ระยะบินสูงจากพื้นต่ำสุด 1.5 หรือ 2 เมตร ทำให้ ละอองยาฟุ้งกระจายเข้าแปลงข้างเคียง ลงสู่พื้นดินไม่เต็มที่ เป็นการสิ้นเปลืองยา และยาที่ฉีดได้ผลไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงไม่ใช้การบินโดรนฉีดพ่นยา


40 แนวทางการแก้ปัญหา: จ้างผู้รับจ้างฉีดยาฆ่าหญ้าแบบใช้ปั้มแรงดันสายลากเดินฉีด แทนการใช้โดรน ละอองที่พ่นลงสู่พื้นดินได้เต็มที่เพราะระยะต่ำ ไม่ฟุ้งกระจาย อย่างไรก็ตาม การ ฉีดพ่นยาวิธีนี้ต้องจ้างผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์ฉีดพ่นยาอยู่เป็นประจำ เพื่อไม่ให้ เกิดปัญหาการฉีดพ่นยาไม่สม่ำเสมอ ละอองยาที่ฉีดพ่นลงบนต้นหญ้าและพื้นนาไม่ สม่ำเสมอ • การสูบน้ำหรือผันน้ำเข้านา และใส่ปุ๋ย หลังจากฉีดยาฆ่าหญ้า 3 วัน (17 มิถุนายน 2565 ): แปลงนาหยอดน้ำตม สูบน้ำ/ผันน้ำเข้าแปลงนาจนท่วมพื้นดินในแปลงทั่วทั้งแปลง สูงประมาณ 5 เซนติเมตร ปัญหาและอุปสรรค: ช่วงที่สูบน้ำเข้านา ได้1 วัน มีปริมาณฝนตกลงมาเติม ทำให้น้ำในแปลงเยอะเกินไป มีผลต่อการระบาดของหอยเชอรี่ มากัดกินต้นข้าวที่ยังอ่อนไม่แข็งแรง แนวทางการแก้ปัญหา: ปล่อยน้ำออกจากแปลงได้เพียงบางส่วน เพราะน้ำล้นคลองน้ำทิ้งเนื่องจากฝนตก และใช้ยากำจัดหอยเชอรี่ จำนวน 2 กิโลกรัม โรยตามจุดที่มีหอยอยู่ แปลงนาหว่านน้ำตม (1) สูบน้ำ/ผันน้ำเข้าแปลงนาจนท่วมพื้นดินในแปลงทั่วทั้งแปลง สูงประมาณ 5 เซนติเมตร (2) ใส่ปุ๋ย ไนโตรเจน (ยูเรีย) สูตร 46-0-0 จำนวน 12 กิโลกรัมต่อไร่ ปัญหาและอุปสรรค: ช่วงที่สูบน้ำเข้านา ได้1 วัน มีปริมาณฝนตกลงมาเติม ทำให้น้ำในแปลงเยอะเกินไป มีผลต่อการระบาดของหอยเชอรี่ มากัดกินต้นข้าวที่ยังอ่อนไม่แข็งแรง แนวทางการแก้ปัญหา: ปล่อยน้ำออกจากแปลงได้เพียงบางส่วน เพราะน้ำล้นคลองน้ำทิ้งเนื่องจากฝนตก และใช้ยากำจัดหอยเชอรี่ จำนวน 2 กิโลกรัม โรยตามจุดที่มีหอยอยู่ กรกฎาคม 2565 • การจัดการดูแลต้นข้าว ช่วงข้าวอายุ 20 ถึง 30 วัน: แปลงนาหยอดน้ำตม (1) สำรวจหญ้าปนในนาข้าว พบว่า มีหญ้าน้อยมาก (2) สำรวจข้าวในแปลง พบว่า มีจุดที่ข้าวไม่เต็มพื้นที่หลายจุด จึงปักดำเพื่อทำการซ่อมข้าวให้เต็มแปลง (3) สำรวจการแตกกอของข้าว พบว่า ข้าวไม่แตกกอ แก้ไขโดย ฉีดพ่นฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของพืชควบคู่สารไร่แมลง พบว่า หลัง ฉีดพ่น 2 วันต้นข้าวมีใบสีเขียวเข้ม และเริ่มแตกกอ ดินในแปลงมีความนุ่มไม่แข็งแต่ยังไม่เละเป็นเลน ปัญหาและอุปสรรค: (1) ข้าวไม่แตกกอ และดินในแปลงแข็งตัวไม่หล่มเป็นเลน เมื่อเทียบกับแปลงนา หว่านน้ำตม (2) มีจุดที่ต้นข้าวไม่เต็มพื้นที่หลายจุด ต้องซ่อมแซม แนวทางการแก้ปัญหา: (1) นำต้นกล้าข้าวมาปักดำซ่อมแซมบริเวณที่ข้าวไม่เต็ม (2) ผสมฮอร์โมนเร่งการ เจริญเติบโตของพืช 4 ลิตรต่อไร่ ผสมร่วมกับสารไล่แมลง 150 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นด้วยโดรน (วันที่ 5 กรกฎาคม 2565) แปลงนาหว่านน้ำตม (1) สำรวจหญ้าปนในนาข้าว พบว่า มีหญ้าน้อยมาก (2) สำรวจการแตกกอของต้น ข้าว พบว่า แตกกอดี (3) ดินเป็นเลน ดินนิ่ม เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเข้าว ปัญหาและอุปสรรค: ข้าวแตกกอมาก เนื่องจากการหว่านเมล็ดมากเกินไป


41 • ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (ปุ๋ยสั่งตัด) ช่วงข้าวอายุ44 วัน (10 กรกฎาคม 2565): แปลงนาหยอดน้ำตมและนาหว่านน้ำตม (1) เตรียมแม่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคาระห์ดินของปุ๋ยสั่งตัด โดยผสมแม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) Diammonium Phosphate (18-46-0) และ Potassium Chloride (0-0-60) ตามสูตรที่กำหนดให้มีN 6 กิโลกรัมต่อไร่, P 5 กิโลกรัมต่อไร่, และ K 4 กิโลกรัมต่อไร่ (2) ทำการหว่านปุ๋ยสั่งตัดโดยใช้เครื่องพ่นสะพายหลัง ปริมาณ 14 กิโลกรัมต่อไร่ (ลดลงครึ่งอัตรา) (3) ติดตามการเจริญเติบโตของข้าวหลังการหว่านปุ๋ย 3 วัน พบว่า ข้าวทั้ง 2 แปลงเจริญเติบโตดีใบสี เขียวเข้มขึ้น และแตกกอดี ปัญหาและอุปสรรค: (1) ราคาแม่ปุ๋ยมีราคาแพงมาก และไม่มีจำหน่าย (2) ความไม่สม่ำเสมอและทั่วถึง ของการฉีดพ่นปุ๋ยโดยใช้เครื่องพ่นสะพายหลัง แนวทางการแก้ปัญหา: (1) ใส่ปุ๋ยครึ่งอัตราตามคำแนะนำปุ๋ยสั่งตัด (อัตราแนะนำคือ 28 กิโลกรัมต่อไร่) (2) จ้างคนฉีดพ่นปุ๋ยที่มีความชำนาญ • การใส่ปุ๋ยอินทรีย์รอบที่ 2 ช่วงข้าวอายุ50 วัน (16 กรกฎาคม 2565): แปลงนาหยอดน้ำตมและนาหว่านน้ำตม (1) ควบคุมระดับน้ำในแปลงทั่วทั้งแปลงให้สูงประมาณ 5 เซนติเมตร (2) หว่านปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ดลงในแปลง 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใช้เครื่องพ่นสะพายหลัง (3) ติดตามการเจริญเติบโตของข้าวทุกวันหลังการหว่านปุ๋ย • การเจริญเติบโตของข้าวอายุ55 วัน (21 กรกฎาคม 2565): สุ่มพื้นที่ 1 ตารางเมตร ประเมินผลแปลงนาหยอดน้ำตม (1) ข้าวมีใบสีเขียวเข้มมาก , ลำต้นแข็งแรง , มีการแตกกอเต็มที่ (2) พื้นที่ 1 ตารางเมตร ต้นข้าวแตกกอ 32 กอ มีต้นข้าวเฉลี่ย 37-38 ต้นต่อกอ (3) ต้นข้าวมีกาบใบแข็งแรง มีความสูงปลายใบเฉลี่ย 60 เซนติเมตร (4) ดินในแปลงนุ่ม เละ เหมาะแก่การเจริญเติบโตของข้าว ประเมินผลแปลงนาหว่านน้ำตม (1) ข้าวมีใบสีเขียวอ่อนและปลายใบเหลือง , ลำต้นไม่แข็งแรง , มีการแตกกอไม่เต็มที่ (2) พื้นที่ 1 ตารางเมตร ต้นข้าวแตกกอ 70 กอ มีต้นข้าวเฉลี่ย 3-4 ต้นต่อกอ (3) ต้นข้าวมีกาบใบเรียวดูไม่แข็งแรง ลำต้นตั้งตรง มีความสูงปลายใบเฉลี่ย 60 เซนติเมตร (4) ดินในแปลงออกนุ่มยังไม่เละ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของข้าว ปัญหาและอุปสรรค: นาหว่านใช้เมล็ดมากเกินไป จึงมีต้นข้าวขึ้นแน่นแปลงและต้นข้าวแตกกอมาก ต้น ข้าวไม่แข็งแรงเพราะขาดไนโตรเจน (ใบเหลืองชัดเจน) การจัดทำบัญชีฟาร์มของแปลงสาธิต การลดต้นทุนการผลิตของแปลงสาธิตทั้ง 2 แปลง ดูจากการลดปัจจัยการผลิตที่สำคัญ 3 ประเภท ได้แก่ การลดการใช้ปุ๋ยเคมี, การลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, และการลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ การประเมินรายจ่ายการ


42 บริหารจัดการแปลงเทคโนโลยีนาหยอดน้ำตม (10 ไร่) และแปลงวิธีเกษตรกรนาหว่านน้ำตม (8 ไร่) ประเมินจาก บัญชีฟาร์ม (บัญชีรายรับ-จ่าย) พบว่า ค่าใช้จ่ายโดยประมาณของทั้งสองแปลงใกล้เคียงกันคือ ประมาณ 3,700 บาทต่อไร่ รายละเอียดบัญชีรายจ่ายแสดงในตารางที่ 6 การที่รายจ่ายค่าปุ๋ยเคมีของแปลงทดสอบทั้งสองแปลงใกล้เคียงกัน เนื่องจาก เกษตรกรวิสาหกิจชุมชน หนองโดน เป็นกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ที่เคยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ “การให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน” มาแล้ว จากการเข้าร่วมโครงการปุ๋ยสั่งตัด ดังนั้น จึงไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น อีกทั้ง การทำแปลงสาธิต ครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงให้เกษตรกรเห็นประสิทธิภาพของการใช้เทคโนโลยีนาหยอดน้ำตม ต่อการลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตข้าว จึงจำกัดปัจจัยศึกษาเฉพาะที่ได้รับอิทธิพลจากวิธีนาหยอดน้ำตมและวิธีนาหว่านน้ำตม ได้แก่ ปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ผลของการใช้สารชีวภัณฑ์กำจัดแมลง/ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ความสม่ำเสมอของการ เจริญเติบโตของข้าว การคาดการณ์ผลผลิตและจำนวนฟางอัดก้อน (by product) ดังนั้น การลดรายจ่ายจึงเกิด จากการลดค่าเมล็ดพันธุ์ และการเพิ่มรายได้จากการคาดการณ์ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น การขายฟาง และการลด การใช้ปุ๋ยเคมี ตารางที่ 6 บัญชีฟาร์ม (รายจ่าย) ของแปลงสาธิตนาหยอดน้ำตมและนาหว่านน้ำตม ลำดับที่ รายการจ่าย หยอดน้ำตม 10 ไร่ หว่านน้ำตม 8 ไร่ ว/ด/ป 1 ค่าน้ำมันรถแทรกเตอร์ตัดหญ้า 800 640 4 เม.ย. 65 2 ค่ายาฉีดฆ่าหญ้าคันนา 600 480 3 ค่าแรงฉีดยาฆ่าหญ้าคันนา 300 240 25 เม.ย. 65 4 ค่าอาหารเครื่องดื่ม 300 240 5 ค่าไถกลบครั้งที่1 1,800 1,440 2 พ.ค. 65 6 ค่าไถกลบครั้งที่2 1,800 1,440 9 พ.ค. 65 7 ค่าน้ำขลุบครั้งที่ 3 1,000 800 24 พ.ค. 65 8 ค่าน้ำมันสูบน้ำ 400 320 9 ค่าลูบเทือกชักล่อง 1,000 800 26 พ.ค. 65 10 ค่าพันธุ์ข้าว หอมปทุมฯ 520*3 1,560 - 11 ค่าพันธุ์ข้าว หอมปทุมฯ 520*7 - 3,640 12 ค่าน้ำมันรถหยอดข้าว 300 - 28 พ.ค. 65 13 ค่าอาหารเครื่องดื่ม 1,500 - 14 ค่าแรงหว่านข้าว 70*8 - 560 15 ค่ายาคุมเลน 350*3 1,050 - 16 ค่าแรงฉีดยาคุมเลน 0 - 17 ค่ายาคุมเลน 350*2 - 700 29 พ.ค. 65 18 ค่าแรงฉีดยาคุมเลน 70*8 - 560


ฮอร์โมนบำรุงพืช 70 บาทต่อไร่ 700 560 26 ก.ค. 65 รวมเป็นเงิน 37,450 29,976 เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อไร่ 3,745 3,747 ผลการจัดทำแปลงสาธิตในปีแรก ค่าใช้จ่ายของนาหยอดน้ำตมและนาหว่านน้ำตม ยังไม่เห็นความแตกต่าง กันอย่างชัดเจน แต่คาดการณ์ผลจะเด่นชัดขึ้นในปีที่ 2 ในด้านการใช้ปุ๋ยเคมีลดลง 50% (ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน


44 ลดการใช้ปุ๋ยเกิน) การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี (แก้ปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพง) ปริมาณเมล็ดพันธุ์ลดลง 70% และ การใช้ยาปราบศัตรูพืชลดลง (ใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต และใช้สารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช) สำหรับการเพิ่ม รายได้ คาดการณ์ผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 200 กิโลกรัมต่อไร่ (เดิม 600 – 700 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มเป็น 900 – 1,000 กิโลกรัมต่อไร่) และรายได้จากการขายฟางก้อนคาดการณ์ เป็นจำนวนเงิน 1,200 บาทต่อไร่ (ฟาง 30 ก้อนต่อไร่ ก้อนละ 40 บาท) 3.4 การกำหนดประเด็นเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานแปลงสาธิต การกำหนดประเด็นในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานแปลงสาธิต โดยการเปรียบเทียบวิธีการจัดการดิน และวิธีการจัดการแปลงนาหว่านน้ำตมของเกษตรกร ซึ่งเป็นวิธีแบบดั้งเดิม กับวิธีการจัดการดินและวิธีการจัดการ แปลงนาด้วยเทคโนโลยีนาหยอดน้ำตม เพื่อแยกให้เห็นประเด็นที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าว ด้วยการ ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตอย่างเด่นชัด ดังนี้ การทำเกษตรแบบเดิม การทำเกษตรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำนาหว่าน (อัตราเมล็ดพันธุ์มาก ข้าวขึ้นกระจัด กระจาย วัชพืชขึ้นมาก จัดการยาก) ⚫ ทำนาหยอด (ใช้เครื่องหยอด อัตราเมล็ดน้อย, ระยะ ปลูกข้าวเป็นระเบียบ วัชพืชขึ้นน้อย จัดการง่าย ลด รายจ่าย) ไม่ปรับระดับพื้นที่ (การกระจายของปุ๋ยไม่สม่ำเสมอ, บริหารจัดการน้ำยาก) ⚫ ปรับระดับพื้นที่ (การกระจายของปุ๋ยสม่ำเสมอ, บริหาร จัดการน้ำง่าย) ใช้ปุ๋ย ยา สูตรปรกติที่มีตามท้องตลาด (ปุ๋ยเกิน ยาเกิน) ⚫ ใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (ลดการใช้ปุ๋ยเกิน, ลด รายจ่าย) ⚫ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี (วิเคราะห์คุณภาพปุ๋ย อินทรีย์ ลดการใช้ปุ๋ยปลอม) ⚫ ใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต (ผลิตฮอร์โมนใช้เองได้ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี) ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ⚫ กำจัดวัชพืชด้วยสารชีวภัณฑ์ (ลดการใช้ยาปราบวัชพืช) เผาตอซังและฟางข้าวเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จ ⚫ อัดฟางข้าวเพื่อจำหน่าย (เพิ่มรายได้) ⚫ ไถกลบตอซังและใส่ EM เพื่อให้เป็นปุ๋ยธรรมชาติ ไม่ทำบัญชีฟาร์ม (รายรับ-รายจ่ายแปลง) ⚫ ทำบัญชีฟาร์ม (รายรับ-รายจ่ายแปลง) เพาะปลูกตาม/ล่าช้า กว่าฤดูกาล ⚫ เพาะปลูกตรงฤดูกาล (Crop Calendar) ใช้เครดิตเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา จากร้านค้า ⚫ ใช้แหล่งทุนแยกจากการใช้ Credit จากผู้ขาย ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ⚫ คาดการณ์ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.