ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์ Flipbook PDF


20 downloads 103 Views 5MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

ส่วนประกอบและรูปแบบของวิทยานิพนธ์/ การค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์โดยทั่วไปมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ 1. ส่วนประกอบตอนต้น (Preliminaries) 2. ส่วนเนื้อเรื่อง (Content Part) 3. ส่วนประกอบตอนท้าย (Auxiliaries) ส่วนประกอบแต่ละส่วนดังกล่าวมีส่วนย่อยและรายละเอียดดังจะได้กล่าวต่อไปนี้ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนประกอบตอนต้น คือส่วนประกอบก่อนถึงส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ตามลำดับ ดังนี้ 1. ปกนอก ประกอบด้วย ปกหน้า ปกหลัง และสันปก 2. ใบรองปก 3. ปกในภาษาไทย หน้าแรก 4. หน้าที่สองแสดงลิขสิทธิ์ 5. ปกในภาษาไทย 6. ปกในภาษาอังกฤษ 7. หน้าอนุมัติ 8. บทคัดย่อภาษาไทย 9. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ 10. กิตติกรรมประกาศ 11. สารบัญ 12. สารบัญตาราง 13. สารบัญภาพประกอบ 14. คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ (ถ้ามี)

รูปแบบส่วนประกอบตอนต้น มีรายละเอียดดังนี้ 1. ปกนอกต้องเป็นปกแข็งที่ใช้ผ้าหรือกระดาษแล็กซีลหรือหนังเทียมสีน้ำเงินเข้มหุ้มกระดาษแข็งพิมพ์ข้อความ ด้วยอักษรทองใช้ตัวอักษรแบบ AngsanaUPC ขนาด 18 dpi ประกอบด้วยปกหน้า (Front cover) ปกหลัง (Back cover) และสันปก (Spine) ดังนี้ 1.1 ปกหน้าเป็นส่วนแสดงข้อมูลสำคัญของวิทยานิพนธ์ ได้แก่ 1.1.1 ชื่อวิทยานิพนธ์กําหนดให้อยู่ส่วนบนของปกจัดข้อความไว้กลางหน้าหากข้อความยาวให้จัดเป็น 2 หรือ 3 บรรทัดโดยบรรทัดแรก มีข้อความยาวกว่าบรรทัดล่างตามลำดับ 1.1.2 ชื่อและสกุลผู้เสนอวิทยานิพนธ์อยู่ตรงส่วนกลางของปกโดยไม่ระบุนําหน้านามนายนางหรือ นางสาวและไม่ต้องแจ้งคุณวุฒิใด ๆ ยกเว้นในกรณีมียศฐานันดรศักดิ์องใส่เช่นพัน ตำรวจโท, ม.ร.ว. 1.1.3 ส่วนสถานศึกษาหลักสูตรและปีการศึกษาประกอบด้วยข้อความ 4 บรรทัดวิทยานิพนธ์นี้เป็น ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา (ชื่อปริญญา ............. สาขา มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยาชื่อเดือน (เดือนที่ส่งเล่มสมบูรณ์) ปีที่จบการศึกษา 1.2 ปกหลัง เป็นหน้ากระดาษว่าง 1.3 สันปก ให้พิมพ์ข้อความตามลำดับดังนี้ชื่อผู้เสนอวิทยานิพนธ์ชื่อเรื่องของวิทยานิพนธ์ปีที่จบการศึกษาใช้ ตัวอักษรขนาด 18 dpi สำหรับชื่อเรื่อง ที่ต้องใช้เนื้อที่ 2 บรรทัดกรณีสันปกมีขนาดไม่หนาอาจใช้ตัวอักษร ขนาด 16 dpi ได้โดยบรรทัดที่สองเว้นจากอักษรตัวแรกของชื่อผู้เสนอขอวิทยานิพนธ์ 7 ตัวอักษรพิมพ์ตัวที่ 8 ถ้าชื่อเรื่องไม่สามารถจบใน 2 บรรทัดให้ติดตัวให้เหมาะสมไม่ยึดหลักภาษาแล้วใส่จุดไข่ปลา 3 จุดต่อท้ายชื่อ เรื่องส่วนปีที่จบการศึกษาให้พิมพ์เฉพาะตัวเลข พ.ศ. โดยตัวเลขสุดท้ายให้ห่างจากสันปกตอนล่าง 0.5 นิ้ว 2. ใบรองปกเป็นกระดาบหน้าว่าง 3. ปกในภาษาไทยหน้าแรกแสดงข้อความภาษาไทยเหมือนปกหน้า 4. ปกในภาษาไทยหน้าที่สองเพิ่มข้อความแสดงลิขสิทธิ์ 5. ปกในภาษาอังกฤษใช้แสดงข้อความภาษาอังกฤษที่เหมือนปกในภาษาไทย 6. หน้าอนุมัติเป็นหน้าแสดงข้อความอนุมัติหรือรับรองผลงานวิทยานิพนธ์โดยคณะกรรมการ สอบและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตามความจำเป็น 7. บทคัดย่อภาษาไทยบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ภาษาไทยเป็นส่วนสรุปสาระสำคัญของ วิทยานิพนธ์ซึ่งต้องพิมพ์ให้จบภายใน 1 หน้า 7.1 ส่วนข้อมูลบรรณานุกรมประกอบด้วยบรรณานุกรมของปริญญานิพนธ์ฉบับนั้นและชื่อของคณะกรรมการ ควบคุม 7.2 ส่วนเนื้อหาบทคัดย่อประกอบด้วย

7.2.1 ส่ ว นแรกให้ ก ล่ าวถึงวัต ถุป ระสงค์ของการวิจัยจํ านวนและลั กษณะของประชากรหรือ กลุ่ ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลค่าสถิติต่างๆที่ใช้ ในการวิเคราะห์ ข้อมูล 7.2.2 ส่วนที่สองเป็นส่วนของผลการวิจัยให้สรุปผลที่สำคัญที่ได้จากการวิจัยโดยสรุปตามลำดับข้อตาม ความมุ่งหมายของการวิจัยอาจเขียนบรรยายต่อเนื่องกันไปหรือเขียนแยกเป็น รายข้อตามวัตถุประสงค์การวิจัย ข้อสรุปของการวิจัยต้องไม่มีคำวิจารณ์หรืออภิปรายผลแทรกอยู่ 7.2.3 ส่วนที่สามเป็นข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัยอาจกล่าวเฉพาะข้อเสนอแนะที่สําคัญ ที่จะเป็น ประโยชน์แก่ผู้อ่าน มีส่วนประกอบ 8. บทคัดย่อภาษาอังกฤษแปลจากบทคัดย่อภาษาไทยบเหมือนบทคัดย่อภาษาไทย 9. กิตติกรรมประกาศเป็นหน้าที่ที่ผู้เสนอวิทยานิพนธ์กล่าวแสดงความขอบคุณผู้ ที่ให้ความช่วยเหลือ ในการทําวิทยานิพนธ์การกล่าวถึงชื่อบุคคลให้กล่าวถึงชื่อและนามสกุลจริงคำนําหน้าของผู้มีตำแหน่งต่างๆให้ ลงเป็น คำเต็มเช่นศาสตราจารย์ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์พลตำรวจโทสําหรับบุคคลทั่วไปอาจใช้คำว่านาย หรือคุณนําหน้าชื่อก็ได้นอกจากกล่าวถึงชื่อบุคคลที่มีส่วนช่วยเหลือแล้วอาจบอกถึงตำแหน่งต่อท้ายด้วยเพื่อให้ ทราบว่าบุคคล นั้นอยู่ในสถานะใดมามีส่วนช่วยเหลือในการทําวิทยานิพนธ์พิมพ์“ กิตติกรรมประกาศ "ตรง กลางหน้ากระดาษตอนบนด้วยตัวอักษร Angsana UPC ขนาด 18 dpi ตัวหนาไม่ต้องขีดเส้นใต้และเมื่อจบ ข้อความกิตติกรรมประกาศแล้วให้เว้น 1 บรรทัดว่างแล้วพิมพ์ชื่อผู้เสนอวิทยานิพนธ์ไว้ในตำแหน่งด้านขวาของ หน้ากระดาษ 10. สารบัญ เป็นส่วนแสดงหัวข้อเรื่องและเลขหน้า พิมพ์“ สารบัญ” ตรงกลางหน้ากระดาษตอนบน ถัดลงไปให้เว้น 1 บรรทัดว่าง (กด Enter 2 ครั้ง) ขวามือสุดมีคำว่าหน้าบรรทัดถั ดลงไปเป็นส่วนประกอบของ วิทยานิพนธ์โดยระบุหน้าเป็นวอักษร บรรทัดถัดลงไปซ้ายมือสุดมีคำว่าบทที่และต่อด้วยเลขของบทโดยพิมพ์ เว้นระยะจากแนวกั้นหน้า 3 ตัวอักษรไม่ต้องมีมหัพภาคตามหลังแล้วเว้น 3 ระยะตัวอักษะงพิมพ์หัวข้อของบท นั้นเมื่อจบข้อความ ให้จุดไข่ปลาละไปจนเกือบถึ งคำว่าหน้าให้ระยะห่างประมาณ 4 ตัวอักษรจึงพิมพ์อยหน้า เป็นเลยวเดียวตัวเองต้องตรงกับกระดาของคำว่าหน้าเป็นเลขมากกว่า 1 ตัว แนวคั่นหน้า 3 ตัวอักษรไม่ต้องมีมหัพภาคตามหลังแล้วเว้น 3 ระยะตัวอักษะจึงพิมพ์หัวข้อของบทนั้นเมื่อจบ ข้อความให้จุดไข่ปลาละไปจนเกือบถึงคำว่าหน้าให้ระยะห่างประมาณ 4 ตัวอักษรงพิมพ์เลขหน้าถ้า เป็นเลขตัว เดียวตัวเลขต้องตรงกับสระอาของคำว่าหน้าถ้าเป็นเลขมากกว่า 1 ตัวเลขตัวสุดท้ายต้องตรงกับสระอาของคํา ว่าหน้า

ถ้ามีหัวข้อย่อยให้พิมพ์บรรทัดถัดลงไปโดยเว้นระยะจากอักษร ตัวแรกของหัวข้อที่อยู่ข้างบน 3 ตัวอักษรจบ หัวข้อแล้วพิมพ์จุดไข่ปลาตามรูปแบบของสารบัญ ระหว่างหัวข้อบทที่ 1, 2, 3 4, 5 และหัวข้อสําคัญอื่น ๆ เช่นบรรณานุกรม, ภาคผนวกหเว้นบรรทัดว่าง (กด Enter 2 ครั้ง) ส่วนหัวข้อในแต่ละบทให้เว้นบรรทัดตามปกติ กรณีหัวข้อยาวเกินขอบพิมพ์ให้พิมพ์ตอบรรทัดล่างลงมาโดยเว้นระยะเยื่องจากขอบบรรทัดแรก 3 ตัวอักษร สารบัญายาวเกินกว่า 1 หน้า ต้องต่อในหน้าถัดไปบรรทัดแรกของหน้าถัดไปต้องพิมพ์คําว่าสารบัญ (ต่อ) ไว้ กลางหน้ากระดาษเว้น 1 บรรทัดว่าง (กด Enter 2 ครั้ง) พิมพ์หัวข้อเช่นเดียวกับในหน้าแรกหากหัวข้อย่อย ของบทท้ายในหน้า แรกนั้นยังไม่จบเมื่อไปต่อหน้าถัดไปต้องระบุเลขบทและคำว่าต่อในวงเล็กเช่น 4 (ต่อ) การ ใช้จุดไข่ปลาและการพิมพ์เลขหน้าให้ปฏิบัติดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในสารบัญให้ระบุหน้าของบรรณานุกรม ภาคผนวกและดรรชนี (ถ้ามี) ภาคผนวกหากมีหลายส่วนให้ระบุชื่อของภาคผนวกย่อยต่างๆพร้อมทั้งเลขหน้าไว้ด้วย 11. สารบัญตารางเป็นส่วนแสดงชื่อตารางและ เลขหน้าของตารางที่มีในวิทยานิพน์ให้อยู่ต่อ จากสารบัญหลักเกณฑ์การพิมพ์สารบัญตารางใช้แนวเดียวกับการพิมพ์สารบัญ 12. สารบัญภาพประกอบเป็นส่วนแสดงชื่อภาพหรือแผนภูมิและเลขหน้าที่ปรากฏใน วิทยานิพนธ์อยู่ต่อจากสารบัญตารางหลักเกณฑ์การพิมพ์สารบัญภาพประกอบใช้แนวเดียวกับการ พิมพ์สารบัญ ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่องของวิทยานิพนธ์โดยทั่วไปประกอบด้วยบท 5 บทดังนี้ 1. บทที่ 1 บทนำ (Introduction) ประกอบด้วยหัวข้อหลักดังนี้ 1.1 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหาความเป็นมาและความสําคัญของปัญหาจะกล่าวถึงที่มาของปัญหา ที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาความจําเป็นที่จะต้องศึกษาวิจัยในปัญหานั้น (Need of the study) ตลอดจนสาเหตุ หรือมูลเหตุจูงใจที่ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาเรื่องนี้ในการเขียนควรจะอ้างอิงเอกสารข้อความทางวิชาการข้อความ ที่เป็นที่ยอมรับแนวคิดทฤษฎีหรือผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักและ ความสำคัญให้กับโครงการวิจัยของเรา ได้มากขึ้น 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research objectives) วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือข้อความที่ผู้วิจัยกำหนดว่า จะต้องทำอะไรเพื่อหาคำตอบในการศึกษาวิจัยคำสำคัญที่ใช้บ่อยๆในการเขียนวัตถุประสงค์เช่นอธิบาย / บรรยายสําร วจศึกษา / ศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ / วิเคราะห์สังเคราะห์สร้าง / พัฒนา / ประเมิน / ตรวจสอบ / วัดความเที่ยงตรงเป็นต้น

1.3 ข้อตกลงเบื้องต้น (Basic assumption) ข้อตกลงเบื้องต้นคือความคิดพื้นฐานบางประการซึ่งผู้วิจัยต้องการ ทําความเข้าใจกับผู้ อ่านเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยหากมีความจำเป็นต้องชี้แจง 1.4 ความสําคัญของการวิจัย (Significance of the study) ความสําคัญของการวิจัยคือข้อความที่ชี้ให้เห็นถึง คุณค่าของผลงานวิจัยที่จะได้รับและจะต้องเขียนให้ผู้อ่านได้เห็นความสำคัญของการวิจัยนั้นด้วยเป็นการเขียน โดยการคาด คะเนผลที่จะได้รับจากการทำวิจัยว่ามีอะไรบ้างการคาดคะเนนี้อาจมองในแง่ของความรู้ที่ได้รับ และการนำผลการวิจัยไปใช้ได้อย่างไรข้อความให้เขียนแบบไม่ต้องแยกข้อ 1.5 ขอบเขตของการวิจัย (Scope and delimitation of the studly) ขอบเขตของปัญหาหรือขอบเขตของ การวิจัยคือการกําหนดวงจํากัดให้ชัดเจนว่าการวิจัยครั้งนั้นจะทํากับใครหรือสิ่งใดโดยต้องมีการกําหนด ขอบเขตสถานที่คุณสมบัติให้แน่นอน โดยทั่วไปจะกล่าวถึงประชากรที่ใช้ในการศึกษาคืออะไรจํานวนเท่าใดถ้ามี มากจะมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างมาด้วยวิธีใดตัวแปรที่จะศึกษามีอะไรบ้างทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตาม 1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ (Definitions) เป็นการเขียนบอกความหมายของคำสำคัญ ๆ บางคำที่ใช้เฉพาะในการ วิจัยเรื่องนั้น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความหมายของคำที่ผู้วิจัยใช้ได้อย่างถูกต้องและตรงกัน 1.7 สมมุติฐานการวิจัย (ถ้ามี ) (Research hypothesis) สมมติฐานการวิจัยคือการคาดคะเนผลของการ ศึกษาวิจัยซึ่งสอดคล้องกับการตอบคำถามของการศึกษาวิจัย แต่ส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องมีทุกครั้งในงานวิจัยบาง ลักษณะถ้าผู้วิจัยยังไม่มีแนวคิดหรือผลการวิจัยว่าควรจะเป็นอย่างไร 1.8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในด้านใดบ้างประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นส่วนที่ผู้วิจัยคาดหวังว่างานวิจัย นั้นจะเป็นประโยชน์หัวข้อต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นนี้ บางหัวข้ออาจไม่จำเป็นต้องมีในการศึกษาวิจัยบาง เรื่อง เช่น ข้อตกลงเบื้องต้น นิยามศัพท์เฉพาะ และสมมุติฐานการวิจัย เป็นต้น 2. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review of related literature and research) ในบทนี้ผู้วิจัยจะ นำเสนอทฤษฎี แนวคิดต่างๆ จากเอกสารและงานวิจัยต่างๆ ที่มี ความสัมพันธ์กับปัญหาหรือเรื่องที่ ทำการศึกษา ดังที่ได้มา วาละเอียดไว้เช้าใน องการ เขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ มีข้อที่จะกล่าวเพิ่มเติมคือการ นำเสนอเนื้อหาในบทที่ 2 นั้นอาจทำได้ 2 แนวทางคือ ในบทที่ 1 และ 2 อาจมีการอ้างถึงตารางหรือ ภาพประกอบ ถ้าอ้างถึงตารางให้เสนอ อมูลในรูปแบบตารางโรคีดอกหรือ มูลเฉพาะที่ต้องการแสดงจากตาราง ดินแบบตามความ เหมาะสม แต่ต้องใส่เลขตารางหรือภาพประกอบตามลำดับและบอกแหล่งที่มาของข้อมูลใน ตาราง หรือภาพประกอบนั้น โดยพิมพ์คำว่า ที่มา : ชิดขอบพิมพ์ด้านซ้ายตามด้วยข้อมูลแหล่งอ้างอิง เช่น กรม วิชาการ, 2557, หน้า 5 ภาพประกอบที่นำมาจากหนังสือหรือวัสดุสารนิเทศที่เป็นผลงานของผู้อื่น ต้องกล่าว น่าแหล่งที่นำมานั้นในรูปของการอ้างอิงแทรกไว้ในเนื้อหาก่อนที่จะแสดงภาพประกอบดังกล่าว ภาพประกอบ ควรห่างจากข้อความด้านบน 1 บรรทัดว่าง ชื่อภาพประกอบให้อยู่กึ่งกลางหน้าและห่างจากภาพประกอบ :

บรรทัดว่าง กรณีชื่อภาพประกอบยาวเกิน 1 บรรทัด ให้พิมพ์ต่อ บรรทัดล่างโดยบรรทัดบนมีข้อความยาวกว่า บรรทัดล่างตามลำดับ 3. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย (Research methodology) วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการนำเสนอกระบวนการ ศึกษาวิจัยตามลำดับขั้นตอน โดยทั่วไป ประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ดังนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (Population/Sample) เป็นการกำหนดลักษณะของประชากรและกลุ่มคิว อย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Research instrument) เป็นการกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา วิจัย 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection) เป็นการอธิบายขั้นตอนและรายละเอียด การเก็บ รวบรวมข้อมูลว่าค่าเนินการช่างไร 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เป็นการระบุถึงการจัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลที่รวบรวมได้ ว่าทำอย่างไรบ้าง และใช้สถิติใดในการวิเคราะห์ข้อมูล ในบทที่ 3 ของวิทยานิพนธ์ประเด็นต่างๆ จะต้องเขียนตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้วที่ผู้วิจัยได้กระทำผ่านมา สำนวนภาษาที่ใช้เป็นการบอกเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้วิจัยเมื่อดำเนินการวิจัยควรบันทึกเหตุการณ์ไว้ในสมุด บันทึกเป็นระยะๆ เช่น วันไปพบอาจารย์ที่ควบคุมวิทยานิพนธ์อาจารย์ให้คำแนะนำอย่างไร วันที่ส่ง แบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง จำนวนเท่าไร ได้รับกลับมาบับแรกเมื่อไร เมื่อครบเวลากำหนดตามที่ตั้งไว้รับ แบบสอบถามกลับมา ฉบับ ขาดอยู่อีก ฉบับวันที่จัดส่งไปรอบสอง ได้รับมาครบถ้วน วันไหน เหล่านี้เป็นต้น 4. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Results) เป็นการเสนอผลของการวิเคราะห์ข้อมูลหรือผลของการ ศึกษาวิจัยเพื่อตอบคำถามของการศึกษาวิจัย ในบทนี้จะเป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบ ตารางซึ่งปกติแล้วถ้าเป็นการวิจัยเชิงปริมาณจะเสนอตามลำดับดังนีh 4.1 ตารางข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามหรือกลุ่มตัวอย่างตามปกติแล้วผู้วิจัยจะวิเคราะห์ จากแบบสอบถามตอนที่ 1 การนำเสนอส่วนนี้จะเป็นค่าความถี่ ค่าร้อยละในการออกแบบนำเสนอข้อมูลส่วนนี้ ผู้วิจัยควรออกแบบตารางที่สามารถนำเสนอข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลเหล่านั้น 4.2 ตารางนำเสนอข้อมูลที่ใช้ค่าสถิติเป็น ค่าเฉลี่ย คำส่วนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ต้องทำการแปล ผลของค่าเฉลี่ยที่คำนวณได้ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยตั้งไว้ 4.3 ตารางเสนอผลการเปรียบเทียบตามตัวแปรต่างๆ ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ ซึ่งค่าสถิติที่นิยมใช้ เปรียบเทียบก็มี ค่า X, ค่า t-test, F-test และ ค่า X (ไคสแควร์) การนำเสนอตารางผู้วิจัยต้องแสดงผลใน

ตารางให้ถูกต้องมีการแสดงค่าสถิติที่จำเป็นให้ครบถ้วน โดยอาจเลือกรูปแบบการเสนอรูปแบบใดก็ได้ตามความ เหมาะสม แต่สามารถสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ เมื่อเลือกรูปแบบการเสนอตารางการเปรียบเทียบรูปแบบใดแล้ว ให้ นำเสนอรูปแบบนั้นๆ ตลอดไปทุกตาราง 4.4 ชื่อตารางให้เริ่มพิมพ์ชิดขอบซ้ายสุด โดยเริ่มด้วยคำว่า ตาราง ต่อด้วยเลขตาราง เช่น ตาราง 1 อย่าใช้ว่า ตารางที่ 1 ระหว่างคำว่าตารางกับเลขตารางให้เว้น 1 ระยะตัวอักษร หลังเลขตารางวัน 2.ระยะ ตัวอักษรแล้วใส่ชื่อตาราง หากชื่อตารางลาวเกินกว่า 1 บรรทัดให้ตัดคำท้ายสุดของบรรทัดแรกให้เหมาะสม แล้วนำข้อความที่เหลือไปพิมพ์ต่อในบรรทัดถัดไปโดยวันจากขอบซ้ายเข้ามา 3 อักษร 4.5 ใต้ชื่อตารางเว้น 1 บรรทัดว่าง ก่อนพิมพ์ตาราง 4.6 พิมพ์ดารา โดยตีเส้นคู่ขนาด 2 ปิดส่วนบน - ล่าง เส้นทีใ่ ช้ขั้นส่วนต่างๆ ในตารางให้ใช้เส้นเดี่ยว 4.7 เส้นแนวตั้งไม่จําเป็นต้องใช้ การเสนอตัวเลขหากสามารถจัดตัวเลขเป็นส่วนๆ ให้อยู่เป็นแถวหรือ แนวเดียวกันได้ก็จะทำให้ตารางดูสวยงาม แต่ถ้าหากตัวเลขมีจำนวนมากต้อง พิมพ์เกือบชิดติดกัน ถ้าต้องการ ใช้เส้นแนวตั้งขีดแบ่งให้เห็นชัดเจนก็กระทำได้ แต่ไม่ต้องมีเส้นแนว ตั้งปิดขอบตารางซ้าย - ขวา 4.8 ได้ตารางที่เป็นการเปรียบเทียบค่าสถิติต่างๆ นั้น ให้แสดงค่าระดับนัยสำคัญที่ใช้ ว่ามีค่าเท่า ใดบ้าง ค่าสถิติบางค่าต้องบอกตัวเลขที่เป็นชั้นของความเป็นอิสระ (Degree of freedom) ด้วย สำหรับค่า ระดับนัยสำคัญและระดับขั้นความเป็นอิสระให้พิมพ์ในวงเล็บเป็นตัวห้อยกำกับที่ ค่าสถิติตัวนั้นๆ 4.9 สําหรับเครื่องหมายดอกจัน 1 ดอก หรือ 2 ดอกนั้นให้ใส่กำกับไว้ที่ตัวเลขที่เป็น ค่าสถิติซึ่งมีความ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ปรากฏในตัวตาราง 4.10 คำอธิบายใต้ตาราง ให้เว้น 1 บรรทัดว่าง ก่อนพิพม์คำอธิบาย การอธิบายให้อ่าน ผลที่เด่นหรือ ด้อยที่ควรเน้นไม่ควรอ่านผลทุกข้อจนตารางยาวเกินความจำเป็น พึงระลึกว่าข้อมูลใน ตารางนั้นก็คือผลที่ ผู้วิจัยนำเสนอต่อผู้อ่านแล้ว คำอ่านตารางเป็นเพียงส่วนประกอบที่ต้องการชี้ให้ ผู้อ่านได้เห็นเป็นพิเศษเท่านั้น ซึ่งจะมีผลไปถึงการเขียนสรุปผลการวิจัยในบทที่ 5 โดยจะเป็นการ นำเอาคำอ่านตารางไปสรุปอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีผลไปถึงการอภิปรายผลในตอนท้ายอีกด้วย นายที่สำคัญของการวิจัยของจนได้ เพื่อจะได้อ่าน ตารางได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 5. บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Conclusion) บทนี้จะเป็นการสรุป งานวิจัยทั้งหมด ซึ่ง ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้ 5.1 กล่าวนำโดยอธิบายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ สมมุติฐาน และวิธีการดำเนินการวิจัย ให้เขียนเป็น ความเรียง 1 – 2 ย่อหน้า สำหรับวิธีดำเนินการวิจัยนั้นให้สรุปเฉพาะสาระสำคัญจาก บทที่ 3 โดยบอกว่ากลุ่ม ตัวอย่างในการวิจัยคือใคร มีจำนวนเท่าไร ได้มาอย่างไร เครื่องมือในการ วิจัยคืออะไร มีลักษณะอย่างไร สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติอะไรบ้าง

5.2 สรุปผลการวิจัย (Conclude the research)สรุปผลการวิจัยนั้นให้เขียนแยกผลวิจัยเป็นข้อๆ ตาม ความมุ่งหมายของการวิจัยว่าผล เป็นอย่างไร สอดคล้องหรือขัดแย้งกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ คำบรรยายในส่วน สรุปผลการวิจัยนี้ ส่วนใหญ่แล้วก็จะเรียบเรียงมาจากคำอ่านตารางต่างๆ ในบทที่ 4 นั่นเอง แต่อาจจะปรับเอา มา เจาะพรที่สำคัญน่าสนใจมาสรุปไว้ 5.3 อภิปรายผล (Debateส่วนนี้มีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นส่วนที่จะแสดงถึงความรู้ ความสามารถของ ผู้วิจัยว่ามีทักษะ ความรู้หรือความสามารถในการวิเคราะห์ การอ้างเหตุผลต่อการวิจัยได้ แหลมคม ลึกซึ้งเพียงใด สามารถสร้างสรรค์ความรู้ที่ได้มานั้นให้ขยายวงกว้าง เป็นประโยชน์อย่างไรได้บ้าง การ อภิปรายผลอาจต้องอ้างอิงหลักวิชา ทฤษฎี หรือผลงานวิจัยของผู้อื่นประกอบผู้วิจัยจึงต้องอ่าน วรรณกรรม ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้กว้างเพื่อจะได้อภิปรายผลการวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ 5.4 ข้อเสนอแนะ (Recommendation)ข้อเสนอแนะเป็นการเสนอหรือชี้แนะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ผลการวิจัยหรือ กระบวนการศึกษาวิจัยที่พึงปฏิบัติให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะ ต้องเป็นผลมากงานวิจัยค้นพบเท่านั้น จัดเสนอแนะจะไม่ใช่มาจากความรู้สึกส่วนตัว ดังนั้นก่อน เสนอแนะควรกล่าวนำว่าผลการวิจัยที่ได้เป็นอย่างไร ผู้วิจัยจึงเสนอแนะอย่างไร ข้อเสนอแนะอีกส่วนหนึ่ง คือ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ข้อเสนอแนะนี้อาจมีได้ในกรณีที่ผู้วิจัยพบประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ ที่ควรศึกษาต่อหรือพบความผิดพลาดในการ ควบคุมตัวแปรในบางประเด็น จึงเสนอแนะให้ศึกษาต่อเพื่อผลการวิจัยที่ชัดเจนสมบูรณ์ในเรื่องนั้นต่อไป ส่วนประกอบตอนท้าย (Auxiliaries) ส่วนประกอบตอนท้าย เป็นส่วนที่ต่อจากส่วนเนื้อหา ประกอบด้วยแต่ละส่วนตามลำดับ คือ บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ (ถ้ามี) และประวัติย่อผู้วิจัย 1. บรรณานุกรม คือ ที่รวมรายการวัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยได้นำมาประกอบการ เรียบเรียง ยา ตน ดังนั้นราชที่ปรากฏในเชิงการหรือการอ้างอิงรูปแบบที่กล่าวไว้น ส่วนเนื้อหา จนปรากฏรายกะเพียงอย่างสมบูร ในกรณานุกรม 2. ภาคผนวก คือ ส่วนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องในตัววิทยานิพนธ์ที่ผู้วิจัยนำมา แสดงประกอบไว้ เพื่อให้เนื้อหาของวิทยานิพนธ์นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ภาคผนวกจะมีหรือไม่นั้น แล้วแต่ความจำเป็น ถ้ามีให้พิมพ์ต่อ จากบรรณานุกรม และมีหน้าบอกตอนด้วยเนื้อหาในภาคผนวก สำหรับวิทยานิพนธ์นั้น อาจจะเป็น แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย จดหมายที่ใช้ติดต่อกับหน่วยงาน ต่างๆ รายชื่อโรง หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ใช้เป็น แหล่งข้อมูล ชื่อของผู้เขียน 1000บ คุณภาพเครื่องมือ ค่าสถิติบางส่วนที่ไม่จำเป็นต้องแสดงไว้ในส่วนเนื้อหา แต่อาจจะมีผู้อ่านบางคนอาจต้องการข้อมูลเหล่านั้น ผู้วิจัยนำมาเสดงไว้ในผนวก

3. อภิธานศัพท์ คือ ความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่ปรากฏในบทนิพนธ์ ซึ่งเป็น ความหมายเฉพาะหรือ เป็นคำศัพท์ที่ผู้วิจัยเกรงว่าผู้อ่านจะไม่เข้าใจตรงกันกับผู้วิจัย เพื่อไม่ต้อง เสียเวลาในการค้นผู้วิจัยถึงนำมา อธิบายไว้ท้ายเล่ม หากคำศัพท์ที่ต้องอธิบายนั้นมีไม่มากอาจกล่าว ไว้เป็นบันทึกเพิ่มเติมก็ได้ 4. ประวัติย่อผู้วิจัย คือ ส่วนที่แสดงรายละเอียดส่วนตัวบางประการของผู้วิจัย เช่น ประวัติส่วนตัว ประวัติและประสบการณ์เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อช่วยทำ ให้ผู้อ่านไดิโน งาน ชวนคุณ สมมีความสามารถและประสบการณ์ของจีน แต่ละส่วนให้คั่นหน้าด้วย ใบบอกตอน โดยพิมพ์ชื่อตอนไว้กลาง หน้ากระดาษ ใช้อักษา Angsana UPC ขนาด 18 point หนา - ดำ ได้แก่ บรรณานุกรม, ภาคผนวก ภาคผนวก ก, ภาคผนวก

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.