รวมเล่มหนังสือธรรมมะใหม่ เสร็จสมบูรณ์ Flipbook PDF


74 downloads 116 Views 8MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript



สรุปย่อเป็นเค้าโครง ปยุ โต) ธรรมบรรยายของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยตฺ (ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์)

เรื่อง

จากจิตวิทยาสู่จิตภาวนา

โดย นายนิคม กิจเฉลา

เพื่อเป็นคู่มือประกอบการฟังธรรมบรรยายดังกล่าวในยูทูป ๕๑ ตอน สพฺทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ : การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง

คำนำ การบรรยายธรรม เรื่อ ง จากจิ ต วิ ท ยาสู่ จิต ภาวนา โดยพระพรหมคุ ณ าภรณ์ (ป.อ.ปยุ ตฺโต) (ปั จ จุ บั น ดำรงสมณศั ก ดิ์ ที่ ส มเด็ จ พระพุ ท ธโฆษาจารย์ ) วั ด ญาณเวศกวั น ตำบลบางกระทึ ก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม บรรยายเพื่อการถ่ายทำวีดิ ทัศน์สำหรับนิสิตในโครงการฝึกปฏิบัติทาง จิ ต ตามแนวพุท ธศาสน์ ภาควิ ช าจิ ต วิ ท ยาการศึ ก ษาและการแนะแนว มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ เริ่มบรรยายเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ณ สถานพำนักสงฆ์สายใจธรรม เขาสำโรงดงยาง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู ้ ร วบรวมในฐานะเป็ น ศิ ษ ย์ เ ก่ า จบปริ ญ ญาโท สาขาจิ ต วิ ท ยาการศึ ก ษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้พบวีดิทัศน์ชุดนี้เผยแพร่ใน YouTube ในปีนี้ คือ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ มีจำนวน ๕๑ ตอน ได้ฟังจนครบทุ ก ตอน พิจารณาเห็ นว่ า เป็น ธรรมบรรยายที่ ทรงคุณค่าอย่างสูงยิ่งที่พุทธศาสนิกชนทุกท่านควรศึกษาเรียนรู้ (ปริยัติธรรม) เพื่อนำไปฝึกปฏิบัติใน ชีวิตประจำวันในการพัฒนาจิต พัฒนาปัญญา (ปฏิบัติธรรม) อันจะส่งผลให้ทุกข์ลดลง เกิดความสงบสุข ในจิตใจเพิ่มขึ้น (ปฏิเวธธรรม) จึงได้ทำการสรุปย่ อเป็นเค้าโครงสำหรับให้ผู้สนใจใฝ่ในธรรมได้นำมาเป็ปนน คู่มือประกอบการฟังธรรมบรรยายชุดดังกล่าวโดยละเอียดต่อไป ในการจั ด ทำครั้ ง นี้ ผู ้ ร วบรวมได้ รั บ ข้ อ เสนอแนะอั น เป็ น ประโยชน์ อ ย่ า งยิ่ ง จากกั ล ยาณมิ ต ร คือ พล.ท.อัชฌา คงสมบูรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ว่าไม่ควรสรุปย่ อเป็นความเรียงต่อเนื่อง เพราะผู้ที่ยังใหม่ต่อการศึกษาธรรมอาจจะมีความรู้สึกว่าอ่านยาก ทำความเข้าใจยาก เนื่องจากมีคำบาลี ประกอบการบรรยายมากพอสมควรควรจัดทำสรุปเป็นแผนภูมิหรือแผนภาพ (Diagram) เพื่ออนุเคราะห์ แก่ผู้ที่ยังใหม่ต่อการศึกษาธรรมในการทำความเข้าใจจากสรุปย่อดังกล่าว ซึ่งผู้รวบรวมก็ได้พยายามจัดทำ ตามข้อเสนอแนะดังกล่าว จึงขอขอบพระคุณและอนุโมทนากับกัลยาณมิตรท่านดังกล่าว ไว้ ณ โอกาสนี้ ในส่ ว นของการจั ด พิม พ์ เพื่อ เผยแพร่ ผู ้ ร วบรวมได้ รั บ ความอนุ เ คราะห์ จากคณะครู แ ละบุ ค ลากรของ โรงเรี ย นวั ด ลำตะเคี ย น (วิ ริ ย ศึ ก ษา) อำเภอผั ก ไห่ สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา พระนครศรีอยุธยาเขต ๒ ประกอบด้วย ๑) นางสาวลัดดา ป่าใหญ่ รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียน ๒) นางณั ฐ าศิ ริ ตรี เ พ็ ญ มาลย์ ๓) นางสาวบุ ณ ยนุ ช ประมู ล มาก ๔) นายธี ร เดช คำสงค์ ๕) นางสาวรัชฎาภรณ์ กลั่นศรี ๖) นางสาวภัสสรมณฑน์ ศิริดาราภัทรากุล ๗) นางสาวนาถยา ทองคำสุข ๘) นางสาวบุษกร แสงคำจันทร์ ๙) นายเกษมศักดิ์ จันทร์เพ็ง ๑๐) นางสาววรรณภา

โทบุตร และ๑๑) นางสาวชลธิชา รักญาติ จึงขอขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลกรรมดังกล่าวไว้ ณ โอกาสนี้ ในส่วนของคำบาลีซึ่งมีมากพอสมควรในธรรมบรรยายดังกล่าว ผู้รวบรวมใคร่ขอเชิญชวนให้ผู้อ่าน ทุกท่านได้เปลี่ยนมุมมองจากภาษาบาลีหรือคำเกี่ยวกับพระศาสนา เป็นเรื่องยาก ไม่น่าสนใจ เป็นมุมมอง ใหม่ว่า ภาษาบาลี (ภาษามคธ) เป็นภาษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้เมื่อยังทรงพระชนม์ชีพ และ เผยแผ่หลักธรรมคำสอนเพื่อประโยชน์แก่มหาชนเป็ นอันมากในการก้าวล่วงจากกองทุกข์ จึงนับว่าเป็นบุญ ของเราอย่างยิ่งที่ในชาตินี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยนำพาเราไปสู่ นิพพานได้ในที่สุด อีกประเด็นหนึ่งคือ การศึกษาภาษาบาลีจากธรรมบรรยายจะช่วยให้พวกเราชาวพุทธได้ มีส่วนรักษาคำสอนอันทรงคุณค่ายิ่งแก่ชีวิตที่อยู่ในรูปภาษาบาลีให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน เพื่อประโยชน์ แก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป โดยในการจัดทำสรุปย่อครั้งนี้ ผู้รวบรวมได้อาศัยหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ขององค์บรรยายเป็นคู่มือประกอบด้วย ในการสรุป ย่ อ ครั้ง นี้ สำนวนการสรุ ป ตลอดจนข้ อ ความแทรกเพิ่ ม เติ มต่ า งๆเป็ น สำนวนของ ผู้รวบรวมซึ่งอาจสรุปผิดพลาดไปบ้างจากความหมายที่ถูกต้องของธรรมบรรยายต้นฉบับอันเนื่องจากความ ด้อยปัญญาของผู้รวบรวมเองซึ่งผู้รวบรวมขอน้อมรับความผิดพลาดดังกล่าว และพร้อมจะแก้ ไขให้ถูกต้อง ต่อไป พร้อมทั้งขอเชิญชวนทุกท่านได้หาโอกาสฟังธรรมบรรยายต้นฉบับจาก YouTube ทั้ง ๕๑ ตอน เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์ต่อไป ท้ายที่สุดนี้ขอกราบนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่งแด่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ.ปยุตฺโต) องค์บรรยายธรรมครั้งนี้ ขอขอบพระคุณและอนุโมทนากับคณาจารย์และคณะศิษย์ ภาควิชาจิตวิท ยา การศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ริเริ่มจัดทำโครงการนี้ ขอให้ผู้มีส่วนร่วมในการ จัดทำโครงการดังกล่าวข้างต้ น และผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำสรุปย่อครั้งนี้ ตลอดจนผู้ศึกษาเรียนรู้สรุปย่อ เป็นเค้าโครงเพื่อนำไปประกอบการฟังธรรมบรรยายจากต้นฉบับใน YouTube ทั้ง ๕๑ ตอน ทุกท่าน จงเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป จวบจนลุถึงนิพพานในอนาคตกาลอันใกล้ที่สุดนี้เทอญ นิคม กิจเฉลา : ผู้รวบรวม ข้าราชการครูบำนาญ ผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดลำตะเคียน (วิริยศึกษา) อำเภอผักไห่ สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕



ตอนที่ ๑ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑ ชั่วโมง ๒๐ นาที

จากจิตวิทยาสู่จิตภาวนา ในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ประเทศทางตะวันตก โดยเฉพาะอเมริกา ผู้คนหันมาสนใจพุทธศาสนากันมาก โดยเฉพาะเรื่องสมาธิอันเนื่องมาจาก สภาพปัญหาในจิตใจของคนในสังคมยุคอุตสาหกรรม และเทคโนโลยี ซึ่งเกินความสามารถของจิตวิทยาตะวันตกจะรับมือได้

จุดเริ่มต้นของจิตวิทยาตะวันตก และพุทธศาสนาต่อปัญหามนุษย์

จิตวิทยา

เริ่มจากการบำบัดผู้ป่วยโรคจิต จึงพัฒนาทฤษฎี ต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งต่อมานำมาใช้ในทางบวกด้วย เช่ น การสร้ า งแรงจู ง ใจ การปรั บ พฤติ ก รรม การนำมาใช้ในวงการศึกษา

พุทธศาสนา

ไม่เน้นคนไข้โรคจิตแต่เน้นที่มนุษย์ทุกคนที่ยังไม่ ไร้ ทุ ก ข์ คื อ ปั ญ หาของคนธรรมดาสามั ญ ในสังคมนั่นเอง



จิตวิทยา

พุทธศาสนา

ยังสับสนในการมองธรรมชาติมนุษย์ บางกลุ่มก็ให้ ความสำคั ญ เฉพาะด้ า นจิ ต ใจ บางกลุ ่ ม ก็ ใ ห้ ความสำคัญเฉพาะด้านพฤติกรรม

มองธรรมชาติมนุษย์ตามกฎธรรมชาติที่แยกย่อย ออกเป็น ๒ ด้าน คือ ๑) จิตนิยาม คือ ด้านจิตใจ ๒) กรรมนิ ย าม คื อ ด้ า นพฤติ ก รรม (กรรม) และผลของพฤติกรรม (วิบากกรรม)

ผลของการพัฒนาในยุคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

มนุษย์พรั่งพร้อมไปด้วยวัตถุ แต่จิตใจกับประสบปัญหามากขึ้น

เครียด แปลกแยก เบื่อหน่าย ว้าเหว่ ว่างเปล่าไร้ความหมาย (กลวงภายใน) คือ มีความทุกข์มากขึ้น เกิดภาวะสยบยอมในจิตใจ ไร้จุดหมาย ขาดนํ้าใจไมตรีต่อกัน ขยายจากคนป่วย (ในจิตใจ) เป็นสังคมป่วย

จิตวิทยาตะวันตกจึงมาบรรจบกับพุทธศาสนา อันเนื่องมาจาก การขยายกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว โดยสนใจเรื่อง สมาธิ ของพุทธศาสนา



การที่จิตวิทยาตะวันตก นำเพียงระดับวิธีการคือเรื่องสมาธิไปใช้ อาจไม่บรรลุเป้าหมายในการแก้ปัญหามนุษย์ เพราะพุทธศาสนา ศึกษาธรรมชาติมนุษย์ครอบคลุมทุกองค์ประกอบ ทั้งเรื่องพฤติกรรม (ศีล) จิตใจ (สมาธิ) และความเข้าใจความจริงของโลกและชีวิต (ปัญญา) ซึ่งทุกองค์ประกอบ จะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทัง้ ระบบ

จะเข้าใจพุทธศาสนาและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ต้องเข้าใจทฤษฎี ซึ่งทฤษฎีในที่นี้ไม่ใช่ความรู้เชิงเหตุผล แต่หมายถึงบันทึกประสบการณ์ของผู้เคยปฏิบัติมาแล้ว ได้แก่ พระพุทธเจ้า ซึ่งจะเรียกว่า ปริยตั ิ แล้วนำไปพิสูจน์ด้วยการ ปฏิบัติ (ภาวนา) เมื่อปฏิบัติได้ผลอย่างไรก็นำมาตรวจสอบกับ ปริยัติ ถ้าได้ผลตรงกันก็บรรลุเป้าหมาย คือ ปฏิเวธ

การปฏิบัติ (ภาวนา) จะเป็นการตรวจสอบทฤษฎี คือ ปริยัติไปด้วย ในขณะเดียวกัน การปฏิบัติก็ต้องมีปริยัติรองรับ มิฉะนั้นจะเขวออกไปนอกทางได้ ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้



ที่มาของปัญหาจิตใจของมนุษย์

คือความขัดแย้งระหว่างความเป็นจริงในชีวิตและสังคม กับสภาพจิตใจของมนุษย์ที่ไม่มีปัญญาที่จะรับมือกับสภาพความเป็นจริงนั้น

ตัวอย่างสภาพการณ์ของคนในปัจจุบัน

๑. ในขณะที่สังคมมีคนมากมายคับคั่ง คนกลับว้าเหว่เดียวดายมากขึ้น ๒. คนในปัจจุบันต้องการให้สังคมยอมรับตัวตน สังคมกลับปฏิบัติต่อบุคคลในลักษณะไม่เป็นตัวเป็นตน มากขึ้น ๓. ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทำให้คนมีวัตถุปรนเปรอพรั่งพร้อมเต็มบ้าน (วัตถุนิยม) แต่ในใจกลับว่างเปล่าเดียวดาย (กลวงภายใน) ๔. ในขณะที่คนกลวงภายในวิ่งหนีจากตนเองไปหาสิ่งเติมเต็มจากสังคมภายนอก แต่สังคมได้ทำให้ เขาอกหัก เพราะคนในสังคมขาดความจริงใจ ขาดไมตรีที่แท้จริง



ามารถมีคความสุ วามสุขขในการอยู ใจการอยูค่ นเดียวได วได้ ไมไม่สสามารถมี

การแก้ปัญหา

สังคมตะวันตก

ไม่ได้แก้ที่ต้นตอของปัญหา โดยให้มาอยู่ รวมกันเป็นหมู่คณะ กลายเป็นจากเหงา คนเดียว มาอยู่รวมกันเต็มหมู่ก็ยังเหงา

พุทธศาสนา

แก้ปัญหาที่ต้นตอ คือ เปลี่ยนความเหงาเปล่าเปลี่ยว ในการอยู่คนเดียว เป็นอยู่คนเดียวได้อย่างมีความสุข (วิเวกสุข) มีความเต็มในตัวไม่กลวงภายใน เมื่อไปสู่ สังคมต่างก็พร้อมที่จะเป็นผู้ให้ด้วยความจริงใจและไมตรี

เริ่มจากมีกัลยาณมิตร(คนที่เต็มภายใน) ช่วยในด้านจิตใจด้วยไมตรีจิต คนอ้างว้างจึงอยู่ในสังคม อย่างไม่อกหั ก แล้วยังช่วยด้านปัญญาที่รู้เ ข้าใจโลกและชีวิต ด้วย เพื่ อพั ฒ นาไปสู่อิสรภาพทางจิต ใจ หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ (ไร้ทุกข์) ได้ในที่สุด

จบตอนที่ ๑



ตอนที่ ๒ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑ ชั่วโมง ๔o นาที

ตำแหน่งของข้อปฎิบัติทางจิตใจ ในระบบพระพุทธศาสนา รูจ้ ักระบบพระพุทธศาสนา (มองได้ ๔ รูปแบบ)

ธรรมวินัย

สัทธรรม ๓

มองแบบแนวราบ คือ ธรรมกับวินัยวางไว้คู่กัน

มองแบบแนวตัง้ หรือ เป็นวงจรต่อเนื่อง

สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

พระรัตนตรัยและอริยสัจ ๔

๑. อิทัปปัจจยตา ปฎิจจสมุปบาท ๒. นิพพาน

๑. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๒. ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ธรรมวินัย

ธรรม/ธรรมะ

วินัย

หลักความจริงตามธรรมดา ตามกฏธรรมชาติ

แบบแผน ระเบียบที่บัญญัติขึ้น เพื่อให้สังคมอยู่กันอย่างเป็นระเบียบ เรียบร้อย

๑๐

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติ เมื่อพระองค์ปฏิบัติถูกต้องตามกฎธรรมชาตินั้น จนสามารถดับทุกข์สิ้นเชิงด้วยพระองค์เองเรียบร้อยแล้ว จึงนำมาเผยแผ่แก่มหาชนเพื่อดับทุกข์ได้ด้วย เมื่อมีผู้สมัครใจเข้ามาศึกษาตามดังกล่าว (บวช) จึงเกิดเป็นสังคมขึ้น (สังฆะ = สงฆ์) ดังนั้นพระพุทธองค์จึง ต้องบัญญัติวินัย คือ ระเบียบแบบแผน ข้อที่ปฏิบัติได้ ข้อที่ต้องงดเว้น สำหรับพระสงฆ์เหล่านั้นขึ้นมา (ปัจจุบันอยู่ในพระไตรปิฎก หมวดแรก คือ พระวินัยปิฎก) เพื่อช่วยให้สงฆ์เหล่านั้นเข้าถึงความจริง ตามกฎธรรมชาติดังกล่าว (บรรลุธรรม) ดับทุกข์ได้เช่นเดียวกับพระองค์

สรุป

ธรรมหรือธรรมะ

วินัย

พระพุทธองค์ทรงค้นพบ (ตรัสรู้) จึงใช้ คำว่า “ทรงแสดงธรรม”

พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้นจึงใช้คำว่า “ทรงบัญญัติวินัย”

การบัญญัติวินัยนั้นต้องนำธรรมมาเป็นพื้นฐานในการบัญญัติเพื่อให้พระสงฆ์สาวกไปบรรลุธรรมนั้น ดังนั้น ธรรม จึงเป็นทั้งฐานและเป้าหมายของวินัย คำอุปมาต่างๆ เช่น ธรรม เปรียบเหมือนเนื้อผลไม้ วินัยเหมือนเปลือกที่ช่วยห่อหุ้ม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์คือรับประทานได้ เป็นต้น ดังนั้นพระสงฆ์จึงต้อง ประพฤติซื่อสัตย์ต่อธรรมวินัยเพื่อเอื้อเฟื้อต่อการบรรลุธรรมดังกล่าว

๑๑

สัทธรรม ๓

ปริยัติ

ปฎิเวธ

ปฎิบัติ

คำสอนของพระพุทธเจ้า ที่จะต้องเล่าเรียน

การนำคำสอนของ พระพุทธเจ้าไปปฎิบัติ

ผลสำเร็จที่เกิดจากการปฎิบัติ คือ มรรค ผล นิพพาน

พระสัทธรรม ๓ ตั้งมั่น พุทธศาสนาก็ตั้งมั่น พระสัทธรรม ๓ มลายไป พุทธศาสนาก็มลายไป

สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ (ธรรมชาติ ๒ ฝ่าย)

อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท

หลักเป็นไปตามเหตุปัจจัยหรือหลักเหตุผล นั่นเอง กล่าวคือ ทุกสิ่ง(รูปนาม)ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตามเหตุปัจจัย เรียกฝ่ายนี้ ว่า สังขาร หรือ สังขตธรรม (ฝ่ายปรุงแต่ง)

นิพพาน

เป็นความจริงเกี่ยวกับฝ่ายที่ยุติการปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ จึงปรุงแต่งทุกข์ขึ้นมาไม่ได้(ภาวะไร้ทุกข์) ฝ่ายนี้ เรียกว่า วิสงั ขาร หรือ อสังขตธรรม (ฝ่ายไร้การปรุงแต่ง)

๑๒

พุทธดำริเมื่อครั้งหลังตรัสรู้ใหม่ๆ ก่อนเสด็จออกประกาศพระศาสนาซึ่งทรงน้อมพระทัยไปในทาง ที่จะไม่ทรงประกาศธรรม ดังความในพระไตรปิฏก

“ภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริเกิดขึ้นว่า ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้เป็นของลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้” “ก็แหละ หมู่ประชานี้ เป็นผู้เริงรมย์อยู่ด้วยอาลัย ยินดีอยู่ในอาลัย ระเริงอยู่ในอาลัย สำหรับหมู่ประชา ผู้เริงรมย์ รื่นระเริงอยู่ในอาลัย(เช่นนี้) ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ อิทัปปัจจยตา ปฎิจจสมุปบาท” “แม้ฐานะอันนี้ ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน” “ก็ถ้าเราพึงแสดงธรรม และคนอื่นไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา”

พุทธดำริตอนนี้ กล่าวถึงหลักธรรม ๒ อย่าง คือ ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน เป็นการยํ้าทั้งความยาก ของหลักธรรมข้อนี้ และความสำคัญของหลักธรรมนี้ ในฐานะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และจะทรงนำมาสั่งสอน แก่หมู่ประชา

ผู้รวบรวมนำข้อความข้างต้นมาจากหนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย พิมพ์ครั้งที่ ๓๒ พ.ศ. ๒๕๕๕ หน้า ๑๕๓ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งเป็นองค์บรรยายครั้งนี้

หมายเหตุ ๑. อิทัปปัจจยตา , ปฎิจจสมุปบาท , อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท คำทั้ง ๓ คำนี้ใช้แทนกันได้ ๒. อาลัย หมายถึง ความผูกพัน ความยึดติด สิ่งที่ติดเพลิน สภาพพัวพันอิงอาศัย ชีวิตที่ขึ้นต่อ ปัจจัยภายนอก (จากหนังสือ พุทธธรรม หน้า ๑๕๓ เช่นกัน)

๑๓

พระรัตนตรัย และอริยสัจ ๔

หลักศรัทธา

ศรัทธาในพระรัตนตรัยก่อน เพื่อก้าวสู่ปัญญารู้แจ้งอริยสัจ ๔

หลักปัญญา

พระรัตนตรัย

อริยสัจ ๔

พระพุทธเจ้า มนุษย์ที่ฝึกฝนตนเอง จนบรรลุ ศักยภาพสูงสุด (พุทธะ = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) เป็นแบบอย่าง แก่มนุษย์ทั่วไป

พระธรรม ความจริงตามกฎธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และทรงนำมาเผยแผ่เพื่อการดับทุกข์

ทุกข์

สมุทัย

(ผล)

(เหตุ)

นิโรธ

มรรค

(ผล)

(เหตุ)

๐ เริ่มจากนำปัญหาของมนุษย์(ทุกข์)ขึ้นมาพิจารณาก่อน ๐ แล้วสืบสาวลงไปหาเหตุของทุกข์นั้น (สมุทยั ) ๐ เมื่อทราบสาเหตุแล้วก็มีการตั้งจุดหมายหรือผลที่ต้องการคือ ภาวะไร้ทุกข์(นิโรธ) ๐ หาวิธีการหรือตัวเหตุเพื่อไปสู่เป้าหมายนัน้ (มรรค)

พระสงฆ์ บุคคลที่สามารถพัฒนาตน ตามแบบ พระพุทธเจ้าได้ จัดเป็นสังคมหรือชุมชน อุดมคติ อันเป็นสังคมดีงาม(สังฆะ=สงฆ์)

สรุป มรรค

ก็คือข้อปฎิบัติที่มนุษย์ จะต้องลงมือทำ เพื่อสู่เป้าหมายคือ นิโรธ หรือ นิพพาน

๑๔

มรรค

อริยสัจข้อที่ ๔ อันเป็นข้อปฏิบัติทั้งหมด ในพระพุทธศาสนา

อริยมรรคมีองค์ ๘ / มรรคมีองค์ ๘ มัชฌิมาปฏิปทา(ทางสายกลาง)

๑. ๓. ๕. ๗.

มรรค

สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) สัมมาวาจา(การพูดจาชอบ) สัมมาอาชีวะ(การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาสติ(ความระลึกชอบ) ( ชอบ

๒. สัมมาสังกัปปะ(ความดำริชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ(การทำการงานชอบ) ๖. สัมมาวายามะ(ความพากเพียรชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ(ความตั้งใจมั่นชอบ) = ถูกต้อง )

เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า พรหมจริยะ หรือ พรหมจรรย์ อันหมายถึง การดำเนิน ชีวิตที่ประเสริฐ (พรหม = ประเสริฐ , จริยะ = การดำเนินชีวิต) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแผนการดำเนินชีวติ อันประเสริฐ เพือ่ ไปสูเ่ ป้าหมาย คือ ภาวะไร้ทุกข์ (นิโรธ/นิพพาน)

การตรัสถึงมรรคในรูปแบบต่างๆ

พุทธโอวาท ๓

ไตรสิกขา

๑. ไม่ทำชั่ว(ศีล) ๒. ทำดี(สมาธิ) ๓. ทำจิตผ่องใส(ปัญญา)

ตรัสแบบหลักกว้างๆ ของพระพุทธศาสนา

สรุป

๑. ศีล ๒. สมาธิ ๓. ปัญญา

เน้นการปฏิบัติของ พระภิกษุ

บุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือบุญสิกขา ๑. ทาน ๒. ศีล ๓. ภาวนา(สมาธิ+ปัญญา)

เน้นการปฏิบัติของฆราวาสผู้ ครองเรือน=ไตรสิกขา+ทาน

การพัฒนามนุษย์ตามระบบของพุทธศาสนาต้องพัฒนาให้ ครบทุกองค์ประกอบ คือ กาย วาจา และใจที่ดีงาม โดยกายและ วาจาเป็นเรื่องของ ศีล คือการปฏิบัติต่อตนเองและสังคมใน ลักษณะที่เอื้อเฟื้อไม่เบียดเบียนกัน โดยมีใจเป็นตัวควบคุมกายและ วาจานั้นซึ่งใจนั้นต้องผ่านการฝึกอบรมทางด้านคุณธรรม มีสติ มีสมาธิ อันเป็นเรื่องของ สมาธิ และใช้จิตใจที่มีสมาธินน้ั มา พิจารณาให้รู้เข้าใจโลกและชีวิตตรงตามความเป็นจริง อันเป็นเรื่อง ของ ปัญญา เพื่อดับกิเลส ดับทุกข์ สู่นิพพานในที่สุด

๑๕

ภาวนา ๔

๑. กายภาวนา (สำรวมอินทรีย์๕) ๒. ศีลภาวนา(ศีล) ๓. จิตภาวนา(สมาธิ) ๔. ปัญญาภาวนา (ปัญญา) อินทรีย์ ๕ = ตา หู จมูก ลิ้น กาย

ตรงกับหน้าที่ของมรรค คือการภาวนา=ปฎิบัต,ิ ทำให้เกิดขึ้น

๑๖

หน้าที่อันพึงปฏิบัติต่ออริยสัจทั้ง ๔ ประการ

ทุกข์

สมุทัย

นิโรธ

มรรค

ปริญญา

ปหาน

สัจฉิกิริยา

ภาวนา

กำหนดรู้คือรู้ว่านี่ คือทุกข์นะ

ละมันเสีย

ทำให้แจ้ง , เข้าถึง , บรรลุ

ทำให้เกิดขึ้นมา,ปฏิบัติ

สรุป ข้อปฏิบัติทางจิตใจในระบบพระพุทธศาสนาที่เรียกกว่า จิตภาวนา (การพัฒนาจิต) ซึ่งมีเป้าหมายคือ สมาธิ

พุทธโอวาท ๓

ไตรสิกขา

บุญกิริยาวัตถุ ๓

ภาวนา ๔

ข้อ๒. ทำดี (สมาธิ)

ข้อ๒. สมาธิ

ข้อ๓.ภาวนา (เฉพาะจิตภาวนา=สมาธิ)

ข้อ๓.จิตภาวนา (สมาธิ)

ในส่วนของปัญญา (ปัญญาภาวนา) แม้จะไม่ใช่เรื่องของจิตใจโดยตรง แต่ก็เป็น สิ่งที่เกี่ยวเนื่องอยู่กับจิตใจ และต้องอาศัยจิตใจที่เป็นสมาธิมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนา เพื่อให้รู้และเข้าใจโลกและชีวิตตรงตามความเป็นจริง

๑๗

การพัฒนาชีวิตตามหลักพุทธศาสนา จะสัมพันธ์กันและเกี่ยวเนื่องเอื้อเฟื้อกันไป ตลอดทั้ง ศีล (การควบคุมกาย และวาจาไม่เบียดเบียนกัน) สมาธิ (จิตใจที่ตั้งมั่น) และ ปัญญา (ความรู้เข้าใจโลกและชีวิตตรงตามความเป็นจริง)

ปัญญา

ปัญญา สมาธิ

ศีล

สมาธิ

ศีล

เกิดปัญญาเต็มเปี่ยม สู่นิพพาน

ถ้ามองในแง่ของการจัดระบบเพื่อฝึกฝนตนในไตรสิกขา

ขั้นแรก

ขั้นกลาง

ขั้นสุดท้าย

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

ศีลเป็นตัวเด่น สมาธิและปัญญาแฝงอยู่

สมาธิเป็นตัวเด่น ศีลและปัญญาแฝงอยู่

ปัญญาเป็นตัวเด่น ศีลและสมาธิแฝงอยู่

ศีล เป็นบาทฐานแก่สมาธิ และ สมาธิ เป็นบาทฐานแก่ปัญญา

จบตอนที่ ๒

๑๘

ตอนที่ ๓ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑ ชั่วโมง ๒๖ นาที

ความสัมพันธ์ระหว่างจิตภาวนา กับ ปัญญาภาวนา จิตภาวนา

การพัฒนาจิต

สมาธิ

ปัญญาภาวนา

การพัฒนาปัญญา

ปัญญา

คำที่ใช้แทนได้

จิตภาวนา ปัญญาภาวนา

สมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา

พุทธศาสนาแยกคำว่า จิต กับ ปัญญา ออกจากกันชัดเจนโดยพิจารณาจาก ๒ แง่

๑.สภาวธรรม (สิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ ตามธรรมดาของมัน) ปัญญาเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของจิตใจซึ่งคุณสมบัติ ของจิตใจนี้เรียกว่า “เจตสิก” มีทั้งส่วนที่เป็น กุศล อกุศล และกลางๆ ปัญญาเป็นกุศล

๒.กระบวนการพัฒนามนุษย์ ปัญญาเป็นเรื่องใหญ่ เป็นแกนกลางในการพัฒนา ชีวิต ดังนั้นในเชิงปฏิบัติการของพุทธศาสนาเพื่อพัฒนา มนุษย์จึงแยกเรื่อง จิตใจ กับ ปัญญา ออกจากกัน

๑๙

ดังกล่าวแล้วข้างต้น ทั้งจิตใจและปัญญา ต้องอิงอาศัยและสัมพันธ์กับศีลด้วย เช่น หากผิดศีลทางกายหรือ ทางวาจา จิตก็จะหวาดวิตกต่อความผิดที่กระทำ จิตก็ฟุ้งซ่านเกิดสมาธิไม่ได้ จะพิจารณาสิ่งที่เป็นประโยชน์ก็ไม่ได้ ปัญญาจึงเกิดไม่ได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าศีลบริสุทธิ์ จิตก็ปิติกับความดีงามนั้น จิตจึงสงบสุขเกิดสมาธิได้ง่าย เมื่อพิจารณา สิ่งต่างๆก็ราบรื่นดี คือ เกิดปัญญาเพื่อแก้ปัญหาต่อไป รู้เข้าใจโลกและชีวิตตรงตามความเป็นจริง

ปัญญา

พฤติกรรม(กาย) และ การพูดจา(วาจา)ที่ดีงาม ไม่เบียดเบียน

ศีล

สมาธิ

คุณภาพของจิตใจ คุณธรรมความดีงามต่างๆ และความตั้งมั่นของจิต

ดั ง นั้ น ทุ ก กิ จ กรรมในชี วิ ต ประจำวั น ควรจะประกอบด้ ว ยศี ล สมาธิ และปั ญ ญา ตลอดเวลา เช่น เบียดเบียนกันหรือไม่ (ศีล) จิตใจมีความสุขกับกิจกรรมนั้นไหม มีแรงจูงใจอย่างไร มีจุดมุ่งหมายดีไหม (สมาธิ) และในการกระทำนั้นๆ เข้าใจเหตุผล เข้าใจเหตุปัจจัย เข้าใจคุณและโทษอย่างไร (ปัญญา) เป็นต้น

๒๐

คำที่ใช้แทนกันได้

กัมมัฏฐาน/กรรมฐาน (นิยมใช้ กรรมฐาน)

ภาวนา

ที่ตั้งแห่งการทำงาน เพื่อพัฒนาจิต(สมถกรรมฐาน) และปัญญา(วิปัสสนากรรมฐาน)

การทำให้เกิดขึ้น,การเจริญ,การพัฒนา,การปฏิบัติ

จิตภาวนา ปัญญาภาวนา

สมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา

สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน

๔ ประการที่ควรรู้ก่อน

๑. คำที่ควรรู้เกี่ยวกับสมถะและวิปัสสนา

อารมณ์

สิ่งที่ถูกจิตรับรู้,สิ่งที่จิตรับรู้ เช่น ลมหายใจ เป็นต้น (ไม่เกี่ยวกับคำว่า อารมณ์ ซึ่งหมายถึง ความรู้สึก ในภาษาไทย)

๒๑

๒. เป้าหมาย

สมถะ

วิปัสสนา

การทำจิตให้อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เพียงหนึ่งเดียวได้

การมีปัญญารู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง หรือตามที่มันเป็น

สมาธิ

ปัญญา หรือ ญาณ (ยาน)

ฌาน (ชาน)

ซึ่งมีหลายระดับ ประณีตขึ้นไป จนถึง ปัญญาสูงสุดดับกิเลสสิ้นเชิง ๓. หลักปฏิบัติ

สมถะ

หาอารมณ์มาให้จิตกำหนด เรียกกันง่ายๆว่า “กรรมฐาน” จะเรียกว่า อารมณ์กรรมฐาน ๔๐ หรือ กรรมฐาน ๔๐ ก็ได้

วิปัสสนา

ให้ตามดูรู้ทันอารมณ์ทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันนั้น คือ รูป,เสียง,กลิ่น,รส,โผฏฐัพพะ (สิ่งสัมผัสกาย) และ ธัมมารมณ์ (เรื่องที่ใจนึกคิด) ที่เรียกว่า “สติปัฏฐาน” มี ๔ ประเภท คือ กาย(เรื่องของกาย) เวทนา(ความรู้สึก) จิต(ภาวะจิตต่างๆ) ธรรม(สิ่งที่อยู่ในจิต ทั้งกุศล อกุศล)

๒๒

๔. ทั้งสองอย่างต้องอาศัยสติ

สมถะ

วิปัสสนา

สติเป็นตัวนำ เพื่อทำงานควบคู่ไปกับปัญญา สติจับอารมณ์ไว้เพื่อให้ปัญญาพิจารณา

สติจะเป็นตัวนำเป็นเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่สมาธิ

ฌาน (ชาน)

ญาณ (ยาน)

ดับทุกข์ได้ชั่วคราว กดข่มไว้เหมือนหินทับหญ้า เมื่อออกจากฌานก็ทุกข์เหมือนเดิม

กำจัดอวิชชา ดับทุกข์ได้สนิทสิ้นเชิง (นิโรธ/นิพพาน)

• วิกขัมภนนิโรธ (ดับทุกข์ได้ชั่วขณะ) • สมยวิมุตติ (หลุดพ้นชั่วขณะ)

• สมุทเฉทนิโรธ (ดับทุกข์ได้สิ้นเชิง) • อสมยวิมุตติ (หลุดพ้นตลอดกาล)

ดังนั้นการเจริญสมถะ จะได้ฌานหรือไม่ได้ฌานก็ตาม จะใช้ผลของสมถะนั้น เป็นบาทฐานให้กับ วิ ป ั ส สนา เพื่ อ พิ จ ารณาให้ เ กิ ด ปั ญ ญาหรื อ ญาณเป็ น ลำดั บ ๆ ประณี ต ยิ่ ง ๆขึ้ น ไป จนถึ ง ปั ญ ญาขั้ น สู ง สุ ด ดับอวิชชาได้สนิทสิ้นเชิงสูอ่ ิสรภาพหรือนิพานในที่สุด

จบตอนที่ ๓

๒๓

ตอนที่ ๔-๗ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ๔ ตอน ประมาณ ๓๖ นาที

บุพภาคของการเจริญภาวนา สิ่งที่ควรทราบก่อนการลงมือ ปฏิบัติ ปริยัติ เนื้อหาความรู้ที่ควรทำ ความเข้าใจ

เรี ย นเท่ า ที่ จ ำเป็น หรื อ มอบความไว้ ว างใจให้ อาจารย์ เ ป็ น ผู ้ แ นะนำเลย เช่ น ท่ า นสอนให้ เ รา กำหนดสติ ต ามลมหายใจ พร้ อ มทั้ ง แนะนำเพิ่ ม เติ ม เป็นระยะๆ เป็นต้น

บุพกิจของภาวนา สิ่งที่จะต้องทำก่อนปฏิบัติ

มี ๓ ประการ ๑. ตัดปลิโพธ ตัดสิ่งที่ใจห่วงกังวล ๒. เข้าหากัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ผู้แนะนำ ๓. หาที่เหมาะสมในการปฏิบัติ สัปปายะ

พิธีกรรม การสมาทานกรรมฐาน

เ ป ็ น พิ ธี ก ร ร ม ซึ่ ง กระทำในวันเริ่มภาวนา เป็นการเตรี ยมกายใจให้ พร้ อ มมุ ่ ง เสริ ม ศรั ท ธา มุ ่ ง มั่ น มี วิ ริ ย ะ แต่ ล ะ ส ำ นั ก อ า จ ก ำ ห น ด รายละเอียดไว้แตกต่างกัน อย่ า ถื อ เป็ น สาระสำคั ญ ตายตัว

๒๔

บุพกิจของภาวนา ๓ ประการ

๑. ตัดปลิโพธ ๒. เข้าหากัลยาณมิตร (ครูบาอาจารย์)

๓. หาที่เหมาะสมแก่ การปฏิบัติ(สัปปายะ)

๑. ตัดปลิโพธ ปลิโพธ = เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยว เป็นเหตุให้ใจห่วงกังวล ๑๐ อย่าง (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ขององค์บรรยาย)

๑. อาวาสปลิโพธ : ห่วงบ้านเรือน

๒. กุลปลิโพธ : ห่วงตระกูล ครอบครัว

๓. ลาภปลิโพธ : ห่วงรายได้ผลประโยชน์

๔. คณปลิโพธ : ห่วงพวกพ้องหมู่คณะ

๕. กรรมปลิโพธ : ห่วงหน้าที่การงาน

๖. อัทธานปลิโพธ : ห่วงการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ

๗. ญาติปลิโพธ : ห่วงญาติพี่น้อง

๘. อาพาธปลิโพธ : ห่วงความเจ็บไข้ของตนเอง

๙. คันถปลิโพธ : ห่วงการศึกษาเล่าเรียนหาความรู้

๑๐. อิทธิปลิโพธ : ห่วงเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษา ไม่ให้เสื่อม (เป็นปลิโพธเฉพาะผู้เจริญวิปัสสสนาเท่านั้น) เท่านั้น) ควรดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนมาภาวนา หรือตัดใจให้ขาดเพื่อไม่ให้มารบกวนจิตใจ

๒๕

๒. เข้าหากัลยาณมิตร (ครูบาอาจารย์) กัลยาณมิตร = มิตรดีงาม กัลยาณมิตร มีคุณสมบัติที่เรียกว่า “กัลยาณมิตรธรรม” หรือธรรมของกัลยาณมิตร มี ๗ ประการ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ขององค์บรรยาย) ๑. ปิโย : น่ารักด้วยมีเมตตา เป็นที่สบายจิตสนิทใจ ชวนให้อยากเข้าหา ๒. ครุ : น่าเคารพ ด้วยความประพฤติหนักแน่นเป็นที่พึ่งอาศัยได้ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ ๓. ภาวนีโย : น่าเจริญใจ ด้วยความเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตน ควรเอาอย่างให้ระลึก และ เอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ ๔. วัตตา : รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงแนะนำ เป็นที่ปรึกษาที่ดี ๕. วจนกฺขโม : อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามตลอดจนคำเสนอแนะ วิพากษ์วิจารณ์ ๖. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา : แถลงเรื่องลํ้าลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจ และสอนให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ๗. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย : ไม่ชักนำในอฐาน คือไม่ชักจูงไปในทางเสือ่ มเสียหรือเรื่อง เหลวไหลไม่สมควร เมื่อเลือกกัลยาณมิตรหรือครูบาอาจารย์แล้วก็เข้าไปหาเพื่อเรียนรู้ปริยัติ แล้วรับกรรมฐาน มาปฏิบัติต่อไป

๒๖

การปฏิบัติจิตภาวนา(การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิต) ถ้าผู้ปฏิบัติได้กรรมฐานที่เหมาะกับจริต (พื้นนิสัยของตนเอง) ก็จะทำให้การปฏิบัตินั้นก้าวหน้าได้ดี แต่ข้อจำกัดในปัจจุบันคือ ครูบาอาจารย์แต่ละท่านอาจสอนได้เพียงกรรมฐานที่ท่านถนัดเท่านั้น

จริต ๖ พื้นนิสัยหรือพื้นเพจิตใจที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไป

๑. ราคจริต : รักสวยรักงาม

๒. โทสจริต : ใจร้อนขี้หงุดหงิด

๓. โมหจริต : เหงาซึมงมงาย

๔. สัทธาจริต : เชื่อง่ายซาบซึ้งใจ

๕. พุทธิจริต : ชอบคิดพิจารณา

๖. วิตกจริต : คิดจับจดฟุ้งซ่าน

บุคคลจะมีผสมกันหลายจริต เพียงแต่จริตใด เด่นชัดกว่าเพื่อน เรื่อง “จริต”นีเ้ ฉพาะการทำ สมถกรรมฐาน เท่านั้น ซึ่งมีให้เลือกถึง ๔๐ อย่าง สำหรับที่นิยม เป็นสากลที่สุด สะดวกที่สุด คือไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์ใดๆเลย ใช้เพียงลมหายใจของตนเองก็ปฏิบัติได้ นั่นคือ อานาปานสติ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๔๐ กรรมฐานนั้น

๒๗

สรุป

รับกรรมฐานจากครูบาอาจารย์

สมถะ กรรมฐานใดกรรมฐานหนึ่ง จาก ๔๐ กรรมฐาน

วิปสั สนา สติปัฏฐาน ๔

๓. หาที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ (สัปปายะ) โดยมากสำนักปฏิบัติหรือวัดที่จัดการภาวนาจะจัดเตรียมไว้ให้แล้ว สัปปายะ ๗ สภาวะที่เกื้อหนุนหรือเอื้ออำนวย

๑. อาวาส : ที่อยู่อาศัย

๒. โคจร : ที่บิณฑบาต/แหล่งอาหาร

๓. ภัสสะ : เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ

๔. บุคคล : ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว ช่วยให้จิตใจสงบมั่นคง

๕. โภชนะ : อาหาร

๖. อุตุ : อุณหภูมิและสภาพแวดล้อม ๗. อิริยาบถ : สะดวกในการเดิน ยืน นั่ง นอน (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ขององค์บรรยาย)

จบตอนที่ ๔-๗

ตอนที่ ๘-๑๐

๒๘

เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ๓ ตอน ประมาณ ๑ ชั่วโมง ๖ นาที

พิธีกรรม : การสมาทานกรรมฐาน

เป็นการเตรียมกาย เตรียมใจ เตรียมบรรยากาศ เพื่อมุ่งเสริมศรัทธาในพระรัตนตรัย เพื่อตัด สิ่งรบกวนในจิตใจ เกิดวิริยะมุ่งมั่นในการปฏิบัติ แต่ละสำนักอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง อย่าถือเป็น สาระสำคัญ จะแสดงพอเป็นตัวอย่างเป็นลำดับ ดังนี้

๑. บูชาพระรัตนตรัย

๒. สมาทานศีล

๓. ถวายตัวแด่พระพุทธเจ้า และครูบาอาจารย์

๔. ขอกรรมฐานจากครูบาอาจารย์

๕. ส่วนเสริมอื่นๆ(จะแสดงพอเป็นตัวอย่าง)

๕.๑ การตั้งสัตย์อธิษฐาน

๕.๒ ปฏิญาณตนต่อพระรัตนตรัย และครูบาอาจารย์

๕.๓ แผ่เมตตา

๕.๔ เจริญมรณสติ

๕.๕ ระลึกถึงบุญของตน

๕.๖ สวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย

๒๙

เริ่มปฏิบัติกรรมฐาน

บางสำนักอาจมีข้อกำหนด ซึ่งเป็น ข้อห้าม ข้อปฏิบัติ นำแสดงพอเป็นตัวอย่าง ดังนี้ ข้อกำหนด

ข้อห้าม

ข้อปฏิบัติ

๑. ห้ามหยุดพักการปฏิบัติ ๒. ห้ามนอนหลับกลางวัน ๓. ห้ามพูดคุยกับคนภายนอกหรือผู้ปฏิบัติ ด้วยกัน เว้นเมื่อจำเป็นเท่านั้นพูดโดยมีสติ ๔. ห้ามทำกิจที่ไม่จำเป็น เช่น อ่านหนังสือ ๕. ห้ามสิ่งเสพติดทุกชนิด

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖.

ไม่อยู่ปราศจากอาจารย์ พยายามรักษากรรมฐานที่อาจารย์ให้ ผูกจิตไว้ในกรรมฐาน การสำรวมอินทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) รู้ประมาณในการบริโภค การประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่หลับนอน

จบตอนที่ ๘-๑๐

๓๐

ตอนที่ ๑๑-๑๓ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ๓ ตอน ประมาณ ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที

วิธีทำจิตภาวนา โดยเลือกจากกรรมฐาน ๔๐ ทำความเข้าใจคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องก่อน ความหมายของ ภาวนา และ กรรมฐาน การเจริญ, การปฏิบัติ, การลงมือทำ, การพัฒนา, การฝึกอบรม

ภาวนา

เมื่อนำมาใช้ในความหมายจำกัดเฉพาะเรื่องจิต และปัญญา

จิตภาวนา

ปัญญาภาวนา

การพัฒนาจิต, การฝึกอบรมจิต

การพัฒนาปัญญา, การฝึกอบรมปัญญา

คำศัพท์หรือไวพจน์ที่ใช้แทนกันได้

คำศัพท์หรือไวพจน์ที่ใช้แทนกันได้

สมถภาวนา, สมาธิภาวนา, สมถะ

วิปัสสนาภาวนา, วิปัสสนา

เป้าหมาย คือ สมาธิ

เป้าหมาย คือ ปัญญา

ฌาน (ชาน)

ญาณ (ยาน)

กรรม

ฐาน

๓๑

กรรมฐาน การงาน (การทำภาวนา)

ที่ตั้ง

กรรมฐาน ๒ ความหมาย

๑. สิ่งที่เป็นที่ตั้งของการทำงานภาวนา

๒. การทำงานภาวนานั้นในฐานะที่เป็นฐาน ของการบรรลุธรรมขั้นสูง

จึงเป็นที่มาของคำว่า สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน มาแทน สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา ก็ได้ ในที่นี้จะใช้ตามความหมายที่ ๑ ที่เรียกว่า กรรมฐาน ๔๐ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ สมถภาวนา หรือ สมถกรรมฐาน เท่านั้น

หมายเหตุ : คำว่า ภาวนา เป็นคำศัพท์ดั้งเดิมตามพระไตรปิฎก ส่วนคำว่า กัมมัฏฐาน หรือ กรรมฐาน (นิยมใช้กรรมฐาน) เป็นคำในยุคหลัง ๆ คือยุคของอรรถกถาจารย์ (ทำหน้าที่ขยายความ คำศัพท์บางคำในพระไตรปิฏก) จึงมีการนำคำว่า กรรมฐาน มาใช้แทนคำว่า ภาวนา ก็ได้

ทำความเข้าใจ คำว่า อารมณ์

สิ่งที่จิตรับรู้มีทั้ง ๖ ทาง คือ ทางตา หู จมูก สิ้น กาย ใจ ดังนั้น อารมณ์ ก็ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งสัมผัสกาย) ธัมมารมณ์ (เรื่องที่ใจนึกคิด) เช่น รูป เป็นอารมณ์ของจิต ที่รับรู้ทางตานั้น เป็นต้น

๓๒

ในที่นี้ก็คือ การนำอารมณ์มาให้จิตรับรู้ ซึ่งเลือกมาจากกรรมฐาน ๔๐ ดังนั้น กรรมฐานที่เลือกมาจึงเป็น อารมณ์ มักเรียกว่า อารมณ์กรรมฐาน เช่น ลมหายใจ เป็นอารมณ์กรรมฐาน ในการเจริญอานาปานสติ เป็นต้น ทบทวนวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย

ปัญญาภาวนา, วิปัสสนาภาวนา, วิปัสสนากรรมฐาน (วิปัสสนา)

จิตภาวนา, สมถภาวนา, สมถกรรมฐาน (สมถะ)

กรรมฐาน ๔๐

อารมณ์ที่นำมาใช้จึงต่างกัน

สติปัฏฐาน ๔ (กาย, เวทนา, จิต, ธรรม)

สมาธิ ปัญญา

ในเบื้องต้นนี้ จะกล่าวถึงอารมณ์ของ สมถะ ซึ่งก็คือ กรรมฐาน ๔๐

๓๓

กรรมฐาน ๔๐

แบ่งเป็น ๗ กลุ่ม/หมวด

กสิณ ๑๐

อรูป ๔ ธาตุววัฏฐาน ๑ (ธาตุ ๔)

อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐

อัปปมัญญา ๔ (พรหมวิหาร)

อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑

๑๐ + ๑๐ + ๑๐ + ๔ + ๑ + ๑ + ๔ = ๔๐ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์

ฉบับประมวลศัพท์ ขององค์บรรยาย) ๑. กสิณ ๑๐

กสิณ = ทั้งหมด , ทั้งสิ้น , ล้วน วัตถุที่เป็นอารมณ์อย่างเดียวล้วนในการเจริญ สมถกรรมฐาน เช่น ถ้าใช้ ปฐวี คือ ดิน ก็เป็น ปฐวีอย่างเดียวล้วน ไม่มีอย่างอื่นปน จึงเรียกว่า ปฐวีกสิณ กสิณ มี ๑๐ อย่าง

ภูตกสิณ ๔ (ธาตุ ๔) ๑. ปฐวี : ดิน ๒. อาโป : นํ้า

วรรณกสิณ ๔ (สี ๔ สี) ๕. นีลํ : สีเขียว ๗. โลหิตํ : สีแดง

๖. ปีตํ : สีเหลือง ๘. โอทาตํ : สีขาว

๓. เตโช : ไฟ ๔. วาโย : ลม

๙. อาโลโก : แสงสว่าง

๑๐. อากาโส : ที่ว่าง

เป็นของที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เป็นวัสดุอย่างเดียวล้วน และเรียบเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ คืบ ๔ นิ้ว (ประมาณ ๑ ฟุต) นำมาวางไว้ให้เห็นทั้งหมด เพื่อเป็นอามรมณ์ให้จิตเพ่งจนเกิดสมาธิ

๓๔

๒. อสุภะ ๑๐

อสุภ, อสุภะ = สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพทีไ่ ม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึง ซากศพในสภาพต่าง ๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง ดังนี้ ๑. อุทธุมาตกะ : ที่เน่าพอง

๖. วิกขิตตกะ : ที่มีมือเท้าศรีษะขาด

๒. วินีลกะ : ที่มีสีเขียวคลํ้า

๗. หตวิกขิตตกะ : ที่คนมีเวรเป็นข้าศึกกัน สับฟันเป็นท่อนๆ

๓. วิปุพพกะ : ที่มีนํ้าเหลืองไหล

๘. โลหิตกะ : ที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่

๔. วิจฉิททกะ : ที่ขาดกลางตัว

๙. ปุฬุวกะ : ที่มีตัวหนอนคลานคลํ่าไปอยู่

๕. วิกขายิตกะ : ที่สัตว์กัดกินแล้ว

๑๐. อัฏฐิกะ : ที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก

ดูซากศพแล้วพูดในใจถึงสภาพศพนั้น ๆ เพื่อกำกับจิตไม่ให้ล่องลอยไปที่อื่นจนเกิดสมาธิ ๓. อนุสติ ๑๐ อนุสติ = ความระลึกถึง, สิ่งดีงามที่ควรระลึกถึง, อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนือง ๆ มี ๑๐ อย่าง ดังนี้ (เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลี เป็น อนุสสติ)

๑. พุทธานุสติ : ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า

๖. เทวตานุสติ : ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา

๒. ธัมมานุสติ : ระลึกถึงคุณของพระธรรม

๗. มรณัสสติ : ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา

๓. สังฆานุสติ : ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์

๘. กายคตาสติ : ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม

๔. สีลานุสติ : ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา

๙. อานาปานสติ : ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก

๕. จาคานุสติ : ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว

๑๐. อุปสมานุสติ : ระลึกธรรมเป็นที่สงบ ระงับกิเลส และความทุกข์ คือ นิพพาน

๓๕

ข้อสังเกต อนุสติ ๑๐ ข้อ ๗, ๘, ๙ ลงท้ายด้วยคำว่า สติ เฉย ๆ เพราะเป็นของหยาบ เป็นรูปธรรม ก็เลยใช้แค่คำว่า สติ ไม่ต้องใช้คำว่า อนุสติ คือการตามระลึกถึง ซึ่งเป็นนามธรรม ๔. อัปปมัญญา ๔ (พรหมวิหาร ๔)

ธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณ หมายถึง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่แผ่ไปในมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายอย่างกว้างขวางเสมอกัน ไม่จำกัดขอบเขต

เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ความปรารถนาให้เขามีความสุข ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ ความพลอยยินดี เมื่อผูอ้ ื่นได้ดี ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้น โดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น ๕. อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑

กำหนดหมายความเป็นปฏิกลู ในอาหาร, ความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล (ของน่าเกลียด) พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียดโดยอาการต่าง ๆ เช่น ปฏิกูล โดยบริโภค, โดยประเทศที่อยู่ของอาหาร, โดยสั่งสมอยู่นาน เป็นต้น ๖. ธาตุววัฏฐาน ๑

กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วน ๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

๓๖

๗. อรูป ๔ ฌาน มีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน มี ๔

๑. ๒. ๓. ๔.

อากาสานัญจายตนะ กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ อากิญจัญญายตนะ กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

ข้อสังเกตเกี่ยวกับกรรมฐาน ๔๐ ในกรรมฐาน ๔๐ นั้น เราสามารถเลือกได้เพียง ๓๖ อย่างแรกเท่านั้น ส่วน ๔ อย่างใน อรูป ๔ ต้องทำรูปฌาน ๔ ให้ได้เสียก่อน อีกประเด็นหนึ่งในปัจจุบันกรรมฐาน ๔๐ เรานำมาใช้ กันไม่กี่อย่าง อันเนื่องจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนไปจากโบราณ ประกอบกับความชำนาญ ของครูบาอาจารย์ ที่ชำนาญในกรรมฐานเฉพาะอย่างเท่านั้น

จบตอนที่ ๑๑-๑๓

๓๗

ตอนที่ ๑๔ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๘ นาที

เกณฑ์ในการเลือกกรรมฐาน ๔๐ คำว่า กรรมฐาน

กับ

อารมณ์

ใช้แทนกันได้

กรรมฐาน ที่ตั้งของการทำงานภาวนา อารมณ์ สิ่งที่นำมาให้จิตรับรู้ บางครั้งเรียกรวมกันเป็น อารมณ์กรรมฐาน เลือกกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑. เลือกให้เหมาะกับจริตของตนเอง (ทบทวนจริต ๖) ๒. พิจารณากรรมฐานนั้นว่ามีขีดขั้นผลสำเร็จได้ระดับไหน ข้อสังเกต

ในกรรมฐานเดียวกัน เช่น การใช้ลมหายใจเป็นกรรมฐาน (อานาปานสติ) บางสำนักอาจมีคำบริกรรมว่า “พุทโธ” หรือ “นับเลข” เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็ นเทคนิคของอาจารย์ในรุ่นหลังๆ ดังนั้นอาจรู้สึกว่าแตกต่างกัน นำไปสู่การถกเถียงเปรียบเทียบ ดี -ไม่ดี ควรเข้าใจหลักการว่า ทำอย่างไรจะให้จิตอยู่กับอารมณ์เ ดียวได้ตลอด วิธีการหรือเทคนิคแตกต่างกันได้ ขอให้ไปสู่เป้าหมายดังกล่าวให้ได้ก็แล้วกัน

จบตอนที่ ๑๔

๓๘

ตอนที่ ๑๕ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๓ นาที

จริต ๖ และหลักการดูจริต จริต มาจากคำว่ า “จริ ย า” หมายถึ ง ความประพฤติ ข องบุ ค คลนั้ น ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำเป็นพื้นนิสัยของเขา บุคคลที่มีจริยาอย่างนั้นๆ เรียกว่า จริต มีจัดไว้ ๖ แบบ (ทบทวนจริต ๖ ในตอนที่ผ่านมา)

คนส่วนใหญ่มีจริตปนกันอยู่ แยกแบบพิสดารได้ ๖๓ จริต

วิธีดูจริต ๕. ดูพื้นใจของธรรมะ (มีธรรมระดับใด)

๑. ดูอิริยาบถ

๓. ดูโภชนะ (อาหาร) ๔. ดูทัศนะ (สิ่งที่พบเห็น)

๒. ดูการทำงาน

การเลือกกรรมฐาน ควรเลือกให้ตรงกับจริตที่เด่นชัดของเขา โดยครูบาอาจารย์และตนเองร่วมกันพิจารณา

จบตอนที่ ๑๕

๓๙

ตอนที่ ๑๖ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๘ นาที

การเลือกกรรมฐาน ราคะจริต

โทสะจริต

อสุภะ, กายคตาสติ

เมตตา (จากอัปปมัญญา ๔), กสิณประเภทสีหรือทั้งหมด

อานาปานสติ

โมหะจริต

ศรัทธาจริต

พุทธิจริต

อนุสติ ๖ ข้อแรก

มรณสติ, อุปสมานุสติ, ธาตุ๔, อาหาเรปฏิกูลสัญญา

วิตกจริต

อานาปานสติ, กสิณ

จบตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

๔๐

เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๐ นาที

ขีดขั้นของความสำเร็จที่กรรมฐานนั้น ๆ จะให้ได้ ที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕

ความสำเร็จ สมาธิขั้นต้นถึงฌานที่ ๔ ได้เฉพาะฌานที่ ๔ ได้ฌาน ๑ - ๓ ได้ฌาน ๑ ไม่ถึงฌาน (อุปจารสมาธิ)

กรรมฐานทีใ่ ช้ กสิณ๑๐ กับ อานาปานสติ อัปปมัญญา ข้ออุเบกขา อัปปมัญญา ๓ ข้อต้น คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อสุภะ ๑๐ กับ กายคตาสติ อนุสติ ๗ ข้อแรก, อุปสมานุสติ, อาหาเรปฏิกูลสัญญา, ธาตุ ๔



อรูปฌาน ๔

อรูป ๔ (หลังจากได้ ฌาน ๔ หรือ รูปฌาน ๔ แล้วจึงต่อด้วย อรูปฌาน ๔)

ข้อสังเกตพิเศษ

๑. กสิณ ๑๐ ให้ได้ผลสำเร็จได้สูงสุดเทียบเท่ากับ อานาปานสติ และได้ฌานเร็วด้วย ๒. กรรมฐานบางกรรมฐานให้ความสำเร็จได้ระดับหนึ่ง ถ้าต้องการสมาธิสูงขึ้นก็ต้องเปลี่ยนเป็นกรรมฐานอื่น ที่ให้ผลสำเร็จสูงกว่า

จบตอนที่ ๑๗

๔๑

ตอนที่ ๑๘ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๒ นาที

ผลสำเร็จของการทำจิตภาวนา จิตภาวนา / สมถภาวนา / สมถกรรมฐาน

ผลสำเร็จ

สมาธิ

จิตแน่วแน่อยู่กับอารมณ์หนึ่งเดียวมี ๓ ระดับ

๑. ขณิกสมาธิ

๒. อุปจารสมาธิ

สมาธิชั่วขณะ,สมาธิ ขั้ นต้นพอสำหรับใช้ในการ เล่ า เรี ย น ทำการงานให้ ได้ผลดี ให้จิตใจสงบสบาย ได้ พั ก ชั่ ว คราว และใช้ เ ริ่ม ปฏิบัติวิปัสสนาได้

สมาธิจวนจะแน่วแน่หรือขั้น จวนเจี ย นสมาธิ ที่ ยั ง ไม่ ดิ่ ง ถึ ง ที่ สุ ด เป็ น ขั้ น ทำให้ กิ เ ลส มี นิ ว รณ์ ๕ เป็ น ต้ น ระงั บ ลงก่ อ นจะเป็ น อั ป ปนา สมาธิ คือถึง ฌาน

๓. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่, จิตตั้งมั่น สนิทเป็นสมาธิในฌาน (สมาธิขั้น สูงสุด) หรือเรียกว่า สมาธิขั้นแนบ แน่น

๔๒

อัปปนาสมาธิ (สมาธิขั้นแนบแน่น)

สมาธิขั้นสูงสุด จิตสู่ภาวะฌานซึ่งมีหลายระดับ ตามความประณีต

สามารถใช้ฌานนั้นเป็นบาทฐานทำ อภิญญา ๕ ซึ่งเป็นผลได้พิเศษ

ผลสำเร็จสูงสุดของจิตภาวนาหรือสมาธิ

อภิญญา ๕ (เรื่องของฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์แต่ดับกิเลสไม่ได้)

ถ้าอยากไปต่อให้ถึงเป้าหมายสูงสุด คือ ดับกิเลสได้หมดสิ้น (นิพพาน) ต้องใช้ฌานเป็นบาทฐานเพื่อเจริญ วิปัสสนา

การเจริญวิปัสสนา ไม่จำเป็นต้องรอให้ได้ฌานก่อนใช้สมาธิขั้นต้น (ขณิกสมาธิ) และขั้นจวนเจียน (อุปจารสมาธิ) เพื่อน้อมจิตไปเจริญวิปัสสนาได้ทุกขั้นตอน

๔๓

อุปสรรคของสมาธิ

นิวรณ์ ๕

สิ่งที่กั้นขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้า, สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ปัญญาอ่อนกำลัง

กามฉันทะ

ความพอใจในกามอยากได้นนั่ ได้นี่

พยาบาท

มุ่งร้ายอาฆาตพยาบาท

ถีนมิทธะ

หดหู่ง่วงเหงา ซึมเซา ท้อแท้

อุจธัจจะกุกกุจจะ

ฟุ้งซ่านเดือดร้อนใจ กระวนกระวาย กลุ้มกังวล

วิจิกิจฉา

ลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ

นิวรณ์ ๕ สงบ

อุปจารสมาธิ (สมาธิขั้นจวนเจียนจะแน่วแน่) ทบทวนสมาธิ ๓ ระดับ

ขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ)

อุปจารสมาธิ (สมาธิขั้นจวนเจียน)

จบตอนที่ ๑๘

อัปปนาสมาธิ (สมาธิขั้นแนบแน่นได้ฌาน)

๔๔

ตอนที่ ๑๙ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๒๐ นาที

สมาบัติ ๘ อภิญญา ๖ เมื่อเจริญสมาธิถึงขั้นสูงสุด คือ อัปปนาสมาธิ ก็จะได้ฌาน

ฌาน ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์อย่างแน่วแน่, ภาวะที่ อัปปนาสมาธิ เป็นแกนในจิต

คุณสมบัติที่พ่วงในอัปปนาสมาธินั้น จะเป็นตัวกำหนดระดับฌาน รูปฌาน ๔ ระดับฌาน

คุณสมบัติในจิต

๑. ปฐมฌาน (ฌาน ๑)

วิตก, วิจาร, ปิติ, สุข, เอกัคคตา

๒. ทุติยฌาน (ฌาน ๒)

ปิติ, สุข, เอกัคคตา

๓. ตติยฌาน (ฌาน ๓)

สุข, เอกัคคตา

๔. จตุตถฌาน (ฌาน ๔)

อุเบกขา, เอกัคคตา (สุขเปลี่ยนเป็นอุเบกขา)

๔๕

เมื่อถึงฌาน ๔ ก็ต่อยอดไปสู่อรูปฌาน

รูปฌาน ➔ อรูปฌาน เอาจิตเพิกถอนจากอารมณ์ที่เป็นรูปธรรม(กรรมฐาน๔๐) มาเป็นอารมณ์ที่เป็นอรูปธรรม เพื่อให้ระดับฌานประณีตยิ่งขั้น ไปสู่ฌานประเภททีส่ องเรียกว่า อรูปฌาน

อรูปฌาน ๔ ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ ระดับ

ระดับฌาน

อารมณ์ที่ใช้กำหนด

๑. อากาสานัญจายตนะ

กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์

๒. วิญญาณัญจายตนะ

กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์

๓. อากิญจัญญายตนะ

กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์

๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

๔๖

รูปฌาน ๔ + อรูปฌาน ๔

สมาบัติ ๘ ใช้สมาธิในฌานสมาบัติ ๘ เป็นบาทฐานสู่อภิญญา

อภิญญา ๕ อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่าง

๑. อิทธิวิธี ➔ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ เช่น การเหาะ, การหายตัว, แปลงตัว เป็นต้น ๒. ทิพพโสต ➔ หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ➔ รู้ใจคนอื่นได้ ๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ➔ ระลึกชาติได้ ๕. ทิพพจักขุ ➔ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ➔ ญาณทำให้กิเลสหรืออาสวะสิ้นไป

อภิญญาลำดับ ๑-๕

โลกุตตรอภิญญา

อภิญญาลำดับ ๖ สมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา

โลกิยอภิญญา

สมาธิ ปัญญา

สมาบัติ ๘ โลกุตตรอภิญญา (ลำดับ ๖)

ยังดับกิเลส ดับทุกข์ไม่ได้ ดับกิเลสแล้ว ทุกข์จึงดับสนิท โลกิยอภิญญา ๕

ยังมีกิเลสเหมือนเดิม

สิ้นกิเลส ทุกข์ดับสนิท (นิพพาน)

๔๗

ข้อสังเกต

๑. ผลสำเร็ จ สู ง สุ ด ของ สมถภาวนา ก็ คื อ เกิ ด สมาธิ จ นถึ ง ระดั บ แนบแน่ น (อั ป ปนาสมาธิ ) ที่ เ รี ย กว่ า ได้ ฌ าน ซึ่ ง จะละเอี ย ดขึ้ น ไปเป็ น ลำดั บ ที่ เ รี ย กว่ า สมาบั ติ ๘ แล้ ว ใช้ ส มาบั ติ นั้ น ก้าวไปสู่ผลได้พิเศษ คือ อภิญญา ๕ ซึ่งเป็นเรื่องของฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ ๒. สรุ ป คื อ ผลสำเร็ จ สู ง สุ ด ของสมถภาวนาก็ คื อ อภิ ญ ญา ๕ ซึ่ ง คนส่ ว นใหญ่ ช อบตื่ น เต้ น กั น แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้ ท รงถือเป็น เรื่องสำคัญ ถ้าใครได้ ก็ย กย่องในแง่มี คุณ สมบัติ พิ เศษอย่ า งหนึ่ ง แต่ ก ่ อ นพุ ท ธกาลเขาก็ ท ำกั น ได้ อ ยู ่ แ ล้ ว จึ ง ไม่ ใ ช่ จุ ด วั ด ความสำเร็ จ ของพระพุ ท ธศาสนา เพราะได้อภิญญา ๕ แล้ว กิเลสก็ยังอยู่ครบเหมือนเดิม และอาจใช้ฤทธิ์นั้นไปทำความชั่วได้อีก เช่น พระเทวทัติ เป็นต้น ๓. การจะได้ อภิญญาข้อที่ ๖ คือ อาสวักขยญาณ (ญาณดับกิเลสสิ้นเชิง สู่ นิพ พาน) ต้องหันไป เจริญวิปัสสนา โดยเอาฌานที่ได้เป็นบาทฐานไปเจริญวิปัสสนาจนบรรลุผลสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ อาสวักขยญาณ ดังกล่าว ๔. คนที่จะได้อภิญญาข้อที่ ๖ นี้ ไม่จำเป็นต้อ งได้อ ภิญญา ๕ ก่อน ระหว่างที่ได้ สมาธิ ขั้ น ต้ น ๆ ก็สามารถหันไปเจริญวิปัสสนาได้ตลอด จนบรรลุจุดหมายดังกล่าวได้ ๕. บางท่านได้อภิญญาข้อที่ ๖ คือ บรรลุจุดหมายของพระพุทธศาสนา โดยไม่ได้บรรลุอภิญญา ๕ เลย ในกรณีนี้เราไม่เรียกว่า อภิญญา ๖ เพราะไม่รู้ว่าจะนำ ๕ ข้อแรกมาเรียงเข้าอย่างไร ก็เป็นเพียงได้ บรรลุ อ าสวั ก ขยญาณอั น เป็ น จุ ด หมายของพระพุ ท ธศาสนา คื อ หมดกิ เ ลสและความทุ ก ข์ แต่ถ้าได้อภิญญา ๕ มาด้วย และบรรลุจุดหมายของพระพุทธศาสนาด้วย ก็ถือเป็นคุณสมบัติเพิ่มเติม ก็จะช่วยให้มีความสามารถในการทำงานเพื่อพระศาสนาได้ดียิ่งขึ้น

เกร็ดแทรก รูปฌาน ๔ กับ ๕ ฌาน ๔ จัดตามพระสูตร

ฌาน ๕ ซอยย่อยไปอีก ซึง่ จัดตามพระอภิธรรม

เป็นเรื่องเดียวกัน

๔๘

แทรกโดยผู้รวบรวม

๑. บรรลุ จุ ด หมายของพระพุ ท ธศาสนา คื อ อาสวั ก ขยญาณ แล้ ว โดยไม่ ไ ด้ อ ภิ ญ ญา ๕ คื อ เจริญสมถะเล็กน้อย แล้วเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์ ➔ อรหันต์ไร้ฤทธิ์ ➔ สุกขวิปัสสก ๒. บรรลุจุดหมายของพระพุทธศาสนา พร้อม อภิญญา ๕ คือ เจริญสมถะมากได้ฌาน (สมาบัติ ๘) แล้วมาเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์ ➔ อรหันต์มีฤทธิ์ ➔ ฉฬภิญญะ = ผู้ได้อภิญญา ๖ ๓. เป้าหมายของพระพุทธศาสนา คือไปให้ถึง อรหันต์ จะมีฤทธิ์หรือไร้ฤทธิ์ก็ตามนั่นไม่ใช่สาระสำคัญ ถ้ามีฤทธิ์ด้วยก็ถือว่ามีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้นมา เพื่อใช้ทำประโยชน์เพื่อพระศาสนาตามความจำเป็ น เท่านั้น และจะเก็บปิดบังฤทธิ์นั้นไว้อย่างมิดชิด ไม่แพร่งพรายให้ปุถุชนได้ล่วงรู้ เพราะหากแพร่งพราย ดังกล่าวจะผิดวินัยสงฆ์ เนื่องจากพระพุทธเจ้าบัญญัติวินัยไว้ ห้ามภิกษุแสดงฤทธิ์ให้ปุถุชนดู ทรงบัญญัติ วินัยข้อนี้หลังเหตุการณ์ที่เศรษฐีผู้หนึ่งป่าวประกาศว่าผู้ใดเหาะขึ้นไปนำบาตรทำจากแก่นไม้จันทร์ซึ่งแขวนไว้ ที่ปลายไม้สูง ๑๕ วา (๓๐ เมตร) ลงมาได้จะยอมรับว่าเป็น อรหันต์ พระโมคคัลลานะ คิดว่าชาวเมือง กำลังดูหมิ่นพระพุทธศาสนา จึงต้องการแสดงให้ชาวเมืองได้รับรู้ว่าในโลกนี้มีพระอรหันต์จริง ทั้งๆที่ท่าน เป็ น ผู ้ มี ฤ ทธิ์ ม ากแต่ ก็ ใ จกว้ า ง จึ ง ได้ ม อบหมายให้ พ ระปิ ณ โฑลภารทวาชะเป็ น ผู ้ แ สดงฤทธิ์ ดั ง กล่ า ว พระพุทธองค์ทรงตำหนิ และบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ หากภิกษุฝ่าฝืนต้องอาบัติ ทุกกฎ (เป็นอาบัติเบา แต่พระอริยสงฆ์ย่อมไม่ ฝ่าฝืนวินัยเด็ดขาด) (คาดว่าที่ทรงบัญญัติดังกล่าวเพราะ ปุถุชนส่วนใหญ่เห็นฤทธิ์ แล้วย่อมสยบยอม เกิดอาการคลั่งฤทธิ์ จะสอนให้ก้าวหน้าทางปัญญาไม่ได้ : ผู้รวบรวม) ๔. พุทธศาสนิกชนปุถุชนบางส่วนมักหลงผิด คือนำเรื่องฤทธิ์มาเป็นเรื่องสำคัญและสำคัญผิดว่าต้องมีฤทธิ์ เท่านั้นจึงจะเป็นพระอรหันต์ หรือพระอริย ะชั้นรองๆ ลงมา (โสดาบัน , สกทาคามี , อนาคามี) จึงนำคำว่า อริ ยะ และ อรหันต์ ไปใช้อย่างฟุ่มเฟือยตามกิเลสของตนเอง เช่น แต่งตั้งพระรูปนั้น พระรู ป นี้ หรื อ ครู บ าอาจารย์ ที่ ต นศรั ท ธานั บ ถื อ ว่ า เป็ น พระอริ ย ะบ้ า ง เป็ น พระอรหั น ต์ บ ้ า ง ซึ่งการพยากรณ์ดังกล่าวมีเพียง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงพยากรณ์ได้ ๕. โปรดศึกษาเพิ่ มเติมประเภทของพระอรหันต์ เช่น จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ขององค์บรรยาย เป็นต้น

จบตอนที่ ๑๙

๔๙

ตอนที่ ๒๐ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๒๒ นาที

ความก้าวหน้าหรือขั้นตอนการปฏิบัติ ทำความเข้าใจคำว่า “นิมิต”

นิมิต เครื่องหมาย หรือ ภาพของสิ่งที่ใช้เป็นกรรมฐาน

นิมิต ๓

บริกรรมนิมิต

นิมิตขั้นตระเตรียม ก็คอื ภาพของจริง ที่เรานำมาใช้

อุคคหนิมิต

ภาพของจริงที่ติดตา มาเป็นภาพในใจ

ปฏิภาคนิมิต

นิมิตจำลองของจริง เป็นภาพ ในใจแต่ประณีตกว่าของจริง ขยายให้ใหญ่ หรือ ลดขนาดให้เล็กลง ขนาดไหนก็ได้

๕๐

ทำความเข้าใจคำว่า “ภาวนา”

ภาวนา การทำให้มีให้เป็น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ,

การบำเพ็ญ, การพัฒนา, การปฏิบัติ

ในที่นี้คือการทำจิตภาวนา / สมถภาวนา / สมถกรรมฐาน เพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น (ในส่วนของปัญญาภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนา จะกล่าวในตอนถัดไปเป็นต้นไป)

๑. บริกรรมภาวนา

๒. อุปจารภาวนา

๓. อัปปนาภาวนา

ภาวนาขั้นตระเตรียม คือ กำหนดอารมณ์กรรมฐาน จนเกิดสมาธิขั้นต้น คือ บริกรรมสมาธิ (ขณิกสมาธิ)

ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เกิดอุปจารสมาธิ

ภาวนาขั้นแนบแน่น คือ เกิดอัปปนาสมาธิ เข้าถึงฌาน

เริ่มจากบริกรรมภาวนาก่อน ใช้บริกรรมนิมิตหรือภาพของจริงมากำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน

๑. บริกรรมภาวนา

ใช้บริกรรมนิมิต (กรรมฐานที่เลือก)

๒. อุปจารภาวนา

ใช้อุคคหนิมิต เป็นอารมณ์

๓. อัปปนาภาวนา

ใช้ปฏิภาคนิมิต เป็นอารมณ์

เกิดอุคคหนิมิต (ภาพในใจ)

ได้บริกรรมสมาธิ (ขณิกสมาธิ)

เกิดปฏิภาคนิมิต (ภาพจำลองของจริงแต่ประณีตกว่า) ได้อัปปนาสมาธิ (ได้ฌาน)

ได้อุปจารสมาธิ (นิวรณ์ ๕ ระงับ)

ทำให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ จนได้สมาบัติ ๘

๕๑

ข้อสังเกต

จากที่เคยกล่าวแล้วว่า ปัจจุบันมีการนำกรรมฐานมาใช้ไม่กี่ประเภท ดังนั้นในที่นี้ จะเลือกกรรมฐาน คือ อานาปานสติ ซึ่งถือว่าเป็นกรรมฐานที่เป็นสากล ไม่ยุ่งยากในการจัดเตรียมอุปกรณ์ เนื่องจากมีลมหายใจอยู่กับตัวอยู่แล้ว มีข้อพิเศษคือเป็นกรรมฐานที่ให้ผลสูงสุดทางสมถภาวนา และ เชื่อมโยงไปสู่วิปัสสนาได้เลย (อานาปานสติ ๑๖ ขั้น)

จบตอนที่ ๒๐

๕๒

ตอนที่ ๒๑ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๕๐ นาที

จากจิตภาวนาสู่ปัญญาภาวนา ด้วยสติปัฏฐาน ๔ ควรทำความเข้าใจเบื้องต้น แยกเป็น ๒ ตอน

๑. การเชื่อมโยงจากจิตภาวนาสู่ปัญญาภาวนา ๒. ปัญญาภาวนาในที่นี้คือตามวิธสี ติปัฏฐาน

การเชื่อมโยงจากจิตภาวนาสู่ปัญญาภาวนา

ทวนความเดิม

ที่ผ่านมาได้พูดถึงเรื่อง จิตภาวนา โดยเลือกจากกรรมฐาน ๔๐ มาฝึกปฏิบัติจนเกิดสมาธิ ได้ฌาน ซึ่งพูดจบไปแล้ว ต่อไปนี้ก็จะเข้าสู่เรื่อง ปัญญาภาวนา

๕๓

ความแตกต่างระหว่างจิตภาวนากับปัญญาภาวนา

๑. โดยชื่อ

๒. โดยหลักการ

๓. โดยผล

๔. โดยวิธีการ

๑. โดยชื่อ

จิตภาวนา

สมถภาวนา

การพัฒนาจิตใจ

เกิดสมาธิ

เรียกสั้น ๆ ว่า สมถะ ปัญญาภาวนา

การพัฒนาปัญญา

วิปัสสนาภาวนา

เกิดปัญญา

เรียกสั้น ๆ ว่า วิปัสสนา

จิตภาวนา นำสู่ สมาธิ : ปัญญาภาวนา นำสู่ ปัญญา ๒. โดยหลักการ

สมถะ

วิปัสสนา

เพื่อทำจิตให้อยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิง่ เดียว หรืออยู่กับอารมณ์หนึ่งเดียว เกิดสมาธิ เพื่อทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง หรือตามที่มันเป็น เกิดปัญญา

๕๔

๓. โดยผล

สมถะ

➔ ได้สมาธิ ประณีตไปตามลำดับ ➔ ได้ฌาน (ชาน) ➔ ประณีตไปตามลำดับ เรียกสมาบัติ ๘ ดังนั้น ฌาน จึงเป็นผลสำเร็จของสมถะ

วิปัสสนา ➔ ได้ปัญญา ได้ญาณ (ยาน) ➔ ประณีตขึ้นไปตามลำดับจนถึงสูงสุดดับทุกข์ ได้สนิทสิน้ เชิง ดังนั้น ญาณ จึงเป็นผลสำเร็จของวิปัสสนา

เพิ่มเติม สมถะ

➔ ก็นำไปสู่ญาณ (ยาน) ได้เหมือนกัน คือ จากสมาบัติ ๘ แล้วนำไปทำให้เกิดอภิญญา๕ ซึ่งก็จัดเป็นญาณประเภทหนึ่งเหมือนกัน (จาก ฌาน (ชาน) สู่ ญาณ (ยาน)) แต่เป็นญาณที่เกี่ยวกับ ฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นญาณที่ไม่รู้โลกและชีวิตตามความเป็นจริง กำจัดกิเลสไม่ได้ จึงดับทุกข์ไม่ได้ จัดเป็น โลกิยอภิญญา คือ ความรู้ที่ยังพาจมอยู่ในโลก ไม่พ้นโลก (จมอยู่ในทุกข์ ไม่พ้นทุกข์) วิปัสสนา ➔ ได้ญาณ (ยาน) อันเป็นผลสำเร็จสูงสุด ก็จัดเป็นอภิญญาเหมือนกัน เอาไปจัดต่ อจาก ฝ่ายอภิญญา ๕ เป็นอภิญญาข้อที่ ๖ เรียกว่า อาสวักขยญาณ คือ ความรู้หรือปัญญาที่ทำให้อาสวะกิเลส หมดสิ้น (นิพพาน) จัดเป็น โลกุตตรอภิญญา คือ ความรู้ที่พาเหนือโลก (เหนือทุกข์ , พ้นทุกข์)

๕๕

๔. โดยวิธีการ

จุดเริ่ม : ใช้สติเหมือนกัน

สมถะ ➔ ใช้สติจับกรรมฐานที่เลือกมาจากกรรมฐาน ๔๐ โดยเริ่มต้นสติคอยดึงไว้ เมื่อสงบนิ่งก็ส่งต่อ ให้สมาธิ (เมื่อสติหมดหน้าที่แล้ว ก็จะไม่เด่น) อุปมาผูกวัวกับหลัก เริ่มต้นวัวจะดิ้นรนเพื่อให้เป็นอิสระ เมื่อดิ้นไม่หลุดจึงยอมนอนสงบอยู่ใกล้ๆ หลัก ; วัว = จิต , หลัก = อารมณ อามรมณ์กรรมฐานที กรรมฐานที่น่นำมากำหนด ำมากำหนด , เชือก = สติ , วัวยอมสงบ = สมาธิ วิปัสสนา ➔ สติดึงจิตใจไว้กับอารมณ์ที่จะพิจารณา แล้วปัญญาก็ทำหน้าที่พิจารณา ปัญญาเฉพาะกิจที่ กำลังนำมาใช้พิจารณานั้น เรียกว่า สัมปชัญญะ สติจะต้องทำงานควบคู่ไปกับปัญญา คือ สัมปชัญญะนั้น สติจึงเด่นตลอดในเรื่องของวิปัสสนา ซึ่งขณะสติทำงานก็จะเกิดสมาธิควบคู่ไปด้วยเพื่อช่วยเหลือปัญญา

ทบทวนเรื่องสมถะ

เลือกกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งจากกรรมฐาน ๔๐ ให้สอดคล้องกับจริต หรือตามที่ ครูบาอาจารย์กำหนดให้ ➔ มีสติกำหนดอารมณ์กรรมฐานนั้น ➔ เกิดนิมิต ➔ บริกรรมนิมิต (ภาพหรื อ สิ่ ง ที่ ก ำหนดซึ่ งเป็น ของจริง ) ➔ เกิ ด อุ ค คหนิ มิ ต (ภาพของจริ ง ที่ ม าอยู ่ใ นใจ) ➔ ได้ บ ริ ก รรมสมาธิ ห รื อ ขณิ ก สมาธิ (สมาธิ ขั้ น ต้ น ) ➔ เกิ ด ปฏิ ภ าคนิ มิ ต (ภาพจำลองของจริ ง ซึ่ ง ประณี ต กว่ า ของจริ ง ) ➔ ได้ อุ ป จารสมาธิ (สมาธิ ขั้ น จวนเจี ย นนิ ว รณ์ ๕ ระงั บ ) ➔ ใช้ปฏิภาคนิมิต เป็นอารมณ์ ➔ ได้อัปปนาสมาธิ ➔ ได้ฌาน ➔ บำเพ็ ญ ฌาณให้ น# สูงไป ตามลำดับ ➔ สมาบัติ ๘ ➔ อภิญญา ๕ (ทบทวนภาวนา ๓ จากตอนที่ผ่านมา)

๕๖

โยงสมถะสู่วิปัสสนา

สมถะ ➔ วิปัสสนา ต้องการจิตที่เป็นสมาธิ จากสมถะมาเป็นบาทฐานแก่วิปัสสนา เพราะจิตที่มีสมาธิ จะประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ คือ ๑) มีกำลังมาก ๒) ผ่องใสบริสุทธิ์ ๓) นุ่มนวลควรแก่งาน ต้องใช้สมาธิขั้นไหนในสมาธิ ๓ เพื่อเจริญวิปัสสนา เป็นเรื่องยืดหยุ่น คือใช้ได้ตั้งแต่ขณิกสมาธิ (สมาธิที่ใช้ทำงานในชีวิตประจำวัน) อุปจารสมาธิ (สมาธิ ขั้นจวนเจียน) และอัปปนาสมาธิ (สมาธิขั้นแนบแน่น) ที่เรียกว่าได้ฌาน แต่เมื่อจะทำวิปัสสนาต้องออกจาก ฌานมาก่อน เพื่อพิจารณาอารมณ์เฉพาะหน้า (ใช้ฌานเป็นบาทฐานแก่วิปัสสนา) และในขณะเจริญวิปัสสนา ก็จะเกิดผลพลอยได้ คือเกิดสมาธิขึ้นมาด้วย ความยืดหยุ่นและความแตกต่าง ของแต่ละสำนักปฏิบัติธรรม

๑. บางสำนักปฏิบัติจะเน้นด้านสมถะก่อน ให้เกิดสมาธิได้ฌานแล้วจึงต่อด้วยวิปัสสนา จุดดีก็คือได้ฌาน เป็นบาทฐานให้แก่วิปัสสนา จุดอ่อนก็คือถ้ารอให้ได้ฌานก่อน ชีวิตนี้อาจไม่ได้ทำวิปัสสนาเลย เพราะว่า กว่าจะได้ฌานก็คงยากพอสมควร ๒. บางสำนักปฏิบัติ จึงไม่เน้นสมถะ เพียงใช้สมาธิขั้นต้น (ขณิกสมาธิ) ก็ทำวิปัสสนาได้เลย ซึ่งอาจไม่ค่อยมี สมาธิในการทำงานควบคู่กับปัญญา ๓. จะเลือกแนวทางของสำนักปฏิบัติไหน ก็ต้องยอมรับจุดอ่อนนั้นด้วย ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจหลักการ ดังกล่าว เพื่อไม่นำมาเป็นประเด็นถกเถียงกัน

๕๗

ความสัมพันธ์ของสมถะกับวิปัสสนา

๑. สมถะนำหน้าวิปัสสนาตามหลัง

สมถปุพพังคมวิปัสสนาภาวนา

๒. วิปัสสนานำหน้าสมถะตามหลัง

วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนา

๓. สมถะกับวิปัสสนาควบคู่กันไป

สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนา

หมายเหตุ : มี แ บบที่ ๔ อี ก แต่ ไ ม่ น ำมากล่ า วในที่ นี้ อธิ บ ายเพี ย ง ๓ แบบ ซึ่งผู้รวบรวมค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือพุทธธรรมขององค์บรรยาย คือ ๔. ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส คื อ วี ธี ป ฏิ บั ติ เ มื่ อ จิ ต ถู ก ชั ก ให้ เ ขวด้ ว ยธรรมุ ธั จ จ์ คื อ ความฟุ ้ ง ซ่ า นธรรม หรื อ ตื่ น ธรรม (ความเข้าใจผิด ยึดเอาผลที่ประสบในระหว่าง ว่าเป็นมรรค ผล นิพพาน)

จบตอนที่ ๒๑

๕๘

ตอนที่ ๒๒ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๐ นาที

ปัญญาภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนา

ความหมายของวิปัสสนา

การเห็นแจ้ง,ปัญญาที่เห็นแจ้งสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงหรือตามที่มันเป็น

ความหมายโดยกระชับ

เห็นแจ้งสังขาร หรือเห็นแจ้งอารมณ์(สิ่งที่ถูกรับรู้)โดยความเป็น นามรูป

๕๙

ความจริงแท้และความจริงโดยสมมติ

ในชีวติ ประจำวัน เราเรียกขานกันตามสมมติบัญญัติ เช่น เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นนาย ก. นาย ข. เป็นรัฐมนตรี เป็นคนขับรถ เป็นต้น เหล่านี้เป็นสมมติบัญญัติ (ความจริงโดยสมมติ) คือ มนุษย์บัญญัติ หรือ กำหนดขึ้น แล้วก็ใช้เรียกขานกันตามนั้น แต่ตัวความจริง (ความจริงแท้) ก็เป็น เพียงรูปธรรม นามธรรม เท่านั้นเอง หรือเรียกว่า รูปนาม หรือ นามรูป เห็นแจ้งอารมณ์ ( รูป,เสียง,กลิ่น,รส,โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสกาย), ธัมมารมณ์(เรื่องที่ใจนึกคิด) ) ทั้งหลายเป็นเพียง นามรูป ไม่เห็นเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ก็คือรู้เท่าทัน ไม่หลงยึดติด สมมติบัญญัติ คือรู้เข้าไปถึง ปรมัตถสัจจะ คือ ความจริงแท้หรือความจริงสุงสุด ว่าสิ่งเหล่านั้น เป็นเพียง นามรูป

หรือใช้คำพูดแบบร่วมสมัย

เห็นแจ้งโลกและชีวิตตามเป็นจริง เป็นเพียงนามธรรม รูปธรรม ไม่หลงสมมติบัญญัติ หรือแบบเห็นไตรลักษณ์

เห็นแจ้งอารมณ์ทั้งหลาย หรือขันธ์ ๕ ทั้งหลาย โดยอาการที่มันเป็น อนิจจัง ไม่เที่ยงไม่คงที่ ทุกขัง คงอยู่สภาพเดิมไม่ได้ และ อนัตตา ไม่เป็นตัวเป็นตน เป็นไปตามเหตุปัจจัย รวมเรียกว่า เห็นไตรลักษณ์ หรือกล่าวว่า การบำเพ็ญวิปัสสนา ทำให้เห็น ไตรลักษณ์

๖๐

อารมณ์ของวิปัสสนาหรือกรรมฐานของวิปัสสนา รูปนาม/นามรูป/รูปธรรมนามธรรม (อะไรก็ได้เพราะเป็นรูปธรรมนามธรรมทั้งสิ้น) ต้องเป็นรูปนามที่เป็นปัจจุบันหรือเรียกว่า ปัจจุบันธรรม สรุป : อารมณ์กรรมฐานของสมถะกับวิปัสสนา

สมถะ ใช้กรรมฐาน ๔๐เป็นอารมณ์

วิปัสสนา ใช้รูปนามที่เป็นปัจจุบันเป็นอารมณ์ (รูป,เสียง,กลิ่น,รส,โผฏฐัพพะ, ธัมมารมณ์ ซึ่งรวมเรียกว่า รูปนาม ทั้งสิ้น)

สมาธิ ปัญญา

จบตอนที่ ๒๒

๖๑

ตอนที่ ๒๓ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๔๕ นาที

วิปัสสนาภูมิ ๖ นำรูปธรรม นามธรรม หรือ รูปนาม นามรูป มาจัดเป็นหมวดหมู่สำหรับใช้เป็น อารมณ์ ในการเจริญ วิปัสสนา เรียก วิปัสสนาภูมิ ๖ มี ๖ หมวด อารมณ์ของวิปัสสนา ขันธ์ ๕

อายตนะ ๑๒

วิปัสสนาภูมิ ๖

ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔

ปฏิจจสมุปบาท

๑. ขันธ์ ๕ ขันธ์

กอง,หมวดหมู่,ประเภท ร่างกาย ๑ กอง

ขันธ์ ๕

๕ กอง

รูปนาม จิตใจ ๔ กอง

เวทนา

สัญญา

ความรู้สึก สุข,ทุกข์,เฉยๆ สรุป

รูป

ความจำ

ขันธ์ ๕

ชีวิต

นาม

สังขาร

วิญญาณ

ความคิด การรับรู้ได้ทั้ง ๖ทาง (ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ)

รูป,เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ

รูปนาม

นาม ต้องอาศัย รูป เป็นที่อาศัยเพื่อทำงาน

ชีวิต

๖๒

ตัวอย่างการทำงานของขันธ์ ๕ ในชีวิตประจำวัน

ตา เป็น รูปขันธ์ การเห็น เป็น วิญญาณขันธ์ ความรู้สึกชอบ ชัง เฉย เป็น เวทนาขันธ์ กำหนดหมายจดจำไว้ เป็น สัญญาขันธ์ เกิดลูกโซ่เป็นความคิดตามมา เป็น สังขารขันธ์ ทั้ง ๕ กอง จะทำงานสัมพันธ์ อิงอาศัยกันและกัน และทำงานร่วมกันตลอดเวลา เวทนา มีอิทธิพลต่อมนุษย์ และโลกอย่างมาก เช่น การเกิดสงครามก็มาจากเวทนา คือ การแสวงหา สุขเวทนา หลีกหนีทุกขเวทนา เวทนาเกิดต่อจากการรับรู้คือ วิญญาณขันธ์ ๒. อายตนะ ๑๒ อายตะนะ

แดนเชื่อมต่อ,แดนต่อความรู้ มี ๖ แดน

อายตนะภายใน ๖

อายตนะภายนอก ๖ (อารมณ์)

ตา

รูป

หู

เสียง

จมูก

อายตนะ ๑๒

กลิ่น

ลิ้น

รส

กาย ใจ

โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์

โลกทั้งหมดอยู่ที่อายตนะ คนตาบอดแดนความรู้ก็หายไป ๑ แดน ขันธ์ ๕ จะทำงานได้ต้องอาศัย อายตนะ กิจกรรมของมนุษย์จะเริ่มที่อายตนะ

๖๓

๓. ธาตุ ๑๘ ธาตุ

สิ่งที่ทรงสภาวะลักษณะของมันอยู่ตามธรรมดาตามกฎธรรมชาติ มีรูปลักษณะเป็นไปตามเหตุปัจจัย ทำให้ไม่หลงผิดว่ามีผู้สร้าง ผู้บันดาล ไม่หลงผิดว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มละ ๖ ทาง รวม ๑๘ ธาตุ อายตนะภายใน ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

อายตนะภายนอก ๖ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์

วิญญาณ ๖ (การรับรู้) วิญญาณทางตา(เห็น) วิญญาณทางหู(ได้ยิน) วิญญาณทางจมูก(ได้กลิ่น) วิญญาณทางลิ้น(รู้รส) วิญญาณทางกาย(รู้สิ่งสัมผัสกาย) วิญญาณทางใจ(รู้เรื่องในใจ)

๕ อย่างแรกเป็นรูป ใจเป็นนาม ๕ อย่างแรกเป็นรูป ธัมมารมณ์เป็นนาม

นาม

กระบวนการรับรู้ (ผัสสะ) เวทนา ความรู้สึก สุข,ทุกข์,เฉยๆ อายตนะหรือสฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ (ความรู้สีกว่าตัวกู) ชรา,มรณะ ฯลฯ (กองทุกข์ทั้งปวงของกู) : ควรศึกษาเพิ่มเติมเกีย่ วกับรายละเอียดของ ปฏิจจสมุปบาท

๖๔

๔.อินทรีย์ ๒๒ อินทรีย์

สิ่งที่เป็นใหญ่ในกิจของตน สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยต้องทำตามมันหมด ตัวเจ้าการมี ๒๒ แบ่งเป็น ๕ หมวด หมวด ๑

ระบบประสาท ซึ่งเป็นเรื่องของการรับรู้ มี ๖ ๑. จักขุนทรีย์

อินทรีย์คือ ประสาทตา

๒. โสตินทรีย์

อินทรีย์คือ ประสาทหู

๓. ฆานินทรีย์

อินทรีย์คือ ประสาทจมูก

๔. ชิวหินทรีย์

อินทรีย์คือ ประสาทลิ้น

๕. กายินทรีย์

อินทรีย์คือ ประสาทกาย

๖. มนินทรีย์ หมวด ๒

ทุกข์

เพศภาวะ และความมีชีวิต มี ๓

๗. อิตถินทรีย์

อินทรีย์ คือ ภาวะเพศหญิง

๘. ปุริสินทรีย์

อินทรีย์ คือ ภาวะเพศชาย

๙. ชีวิตินทรีย์

อินทรีย์ คือ ชีวิต

หมวด ๓ ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔.

อินทรีย์คือ ใจ

สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์

เวทนา คือ ความรู้สึก มี ๕ อินทรีย์ อินทรีย์ อินทรีย์ อินทรีย์ อินทรีย์

คือ คือ คือ คือ คือ

สุขกาย ทุกข์กาย สุขใจ ทุกข์ใจ ความรู้สึกเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์

๖๕

หมวด ๔

เป็นเจ้าการในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม มี ๕

๑๕. สัทธินทรีย์

อินทรีย์ คือ ศรัทธา

๑๖. วิริยินทรีย์

อินทรีย์ คือ วิริยะ

๑๗. สตินทรีย์

อินทรีย์ คือ สติ

๑๘. สมาธินทรีย์

อินทรีย์ คือ สมาธิ

๑๙. ปัญญินทรีย์

อินทรีย์ คือ ปัญญา

หมวด ๕

ปัญญาสู่ความสำเร็จของอริยบุคคล มี ๓

๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์

อินทรีย์ คือ ปัญญาให้สำเร็จโสดาปัตติมรรค

๒๑. อัญญินทรีย์

อินทรีย์ คือ ปัญญาให้สำเร็จโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตตมรรค

๒๒. อัญญาตาวินทรีย์

อินทรีย์ คือ ปัญญาให้สำเร็จอรหัตตผล

๖๖

เพิ่มเติมโดยผูร้ วบรวม มรรค

ผล

กำลังเดินทาง,กำลังปฏิบัติ

ถึงจุดหมาย,บรรลุผล

๑. ๓. ๕. ๗.

โสดาปัตติมรรค ๒. โสดาปัตติผล(บรรลุโสดาบัน) สกทาคามิมรรค ๔. สกทาคามิผล(บรรลุสกทาคามี) อนาคามิมรรค ๖. อนาคามิผล(บรรลุอนาคามี) อรหัตตมรรค ๘. อรหัตตผล(บรรลุอรหันต์) (อริยบุคคล=บุคคลผูป้ ระเสริฐมี ๔ ลำดับ เรียงจากปัญญาตํ่าสุดไปสูงสุด คือ ๑. โสดาบัน ๒. สกทาคามี ๓. อนาคามี ๔. อรหันต์)

“คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ” ในบทสวดสังฆานุสติ ดังนั้น หมวด ๕

สรุป อินทรีย์ ๒๒

มรรค ๔ ผล ๔

ข้อ ๒๐

บุรุษตามข้อ ๑

ข้อ ๒๑

บุรุษตามข้อ ๒-๗

ข้อ ๒๒

บุรุษตามข้อ ๘

หมวด ๑ + หมวด ๒ + หมวด ๓ + หมวด ๔ + หมวด ๕ (๖) ๒๒

(๓)

(๕)

(๕)

(๓)

๖๗

๕. อริยสัจ ๔ อริยสัจ/อริยสัจจ์

ความจริงอย่างประเสริฐ,ความจริงของพระอริยะ,ความจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ มี ๔ อย่าง

๑. ทุกข์ หรือ ทุกขสัจจ์

ตัวปัญหาชีวิตที่ประสบ

๒. สมุทัย หรือ สมุทัยสัจจ์

สืบสาวลงไปหาเหตุของปัญหานั้น

๓. นิโรธ หรือ นิโรธสัจจ์

ภาวะไร้ปัญหา,ไร้ทุกข์

๔. มรรค หรือ มรรคสัจจ์

วิธีทำให้ไร้ทุกข์

๒. เป็นเหตุ

๑. เป็นผล

๔. เป็นเหตุ

๓. เป็นผล

พระพุทธเจ้าจะนำผลมาสอนก่อน แล้วสืบสาวลงไปหาสาเหตุ หรือที่มาของผลนั้น ๖. ปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

๑๒ ปัจจัย เวทนา

อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน

กระบวนการที่สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย, การอาศัยกันและกันแล้วเกิดขึ้นพร้อม, ปัจจัยพรั่งพร้อมจึงเกิดขึ้น

วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ(อายตนะ) ผัสสะ ภพ ชาติ ชรา,มรณะ ฯลฯ(กองทุกข์ทั้งปวง)

๖๘

สัมพันธ์กับอริยสัจ ทุกข์

เกิดขึ้นตามกระบวนการของปฏิจจสมุปบาท

นิโรธ

ดับไปตามกระบวนการของปฏิจจสมุปบาท

การเข้าใจอริยสัจให้ลึกซึ้งต้องไปดูที่ปฏิจจสมุปบาท สรุป

ทั้ง ๖ หมวด ของวิปัสสนาภูมิ ๖ ก็คือ รูปนาม นั่นเอง เราอาจใช้ ขันธ์ ๕ เพียงหมวดเดียวแล้วโยงไปสู่อีก ๕ หมวด ได้หมดเลย

จบตอนที่ ๒๓

๖๙

ตอนที่ ๒๔ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๔๓ นาที

โพธิปักขิยธรรม ธรรมที่เป็นฝ่ายของการตรัสรู้

โพธิปักขิยธรรม

ทบทวนความตอนที่แล้ว อารมณ์หรือสิ่งที่นำมาพิจารณาในการเจริญวิปัสสนา ก็คอื วิปัสสนาภูมิ ๖ รูปนาม

อะไรเป็นผู้พิจารณา ? สติ กับ ปัญญา เป็นตัวกระทำต่ออารมณ์นั้น คือ สติจับอารมณ์ไว้ เพื่อให้ปัญญาพิจารณา ผู้ช่วยรองลงมาก็คือ วิริยะ กับสมาธิ ปํญญา เฉพาะกิ จ นี้ เ รี ย กว่ า สั ม ปชั ญ ญะ จึ ง มั ก ได้ ยิ น คำว่ า สติ สั ม ปชัญ ญะ คือ สติกับปัญญาทำงานร่วมกันในการเจริญวิปัสสนา

ตัวทำงานของวิปัสสนา แบบครบกระบวนการทั้งหมด ก็คอื โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

๗๐

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

ธรรมที่เป็นฝ่ายของการตรัสรู้ ธรรมะต่างๆที่เกื้อหนุน การตรัสรู้ มีทั้งตัวนำ ตัวประกอบ มี ๓๗ ประการ

การปฏิบัติธรรม อุปมาเหมือนกองทัพสู้กับกิเลส โพธิปักขิยธรรม เหมือนนายพลทั้ง ๓๗ คน ทำหน้าที่ในการรบแตกต่างกันไป จัดเป็น ๗ หมวด ๓๗ ประการ

๑. สติปัฏฐาน ๔

ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ

๒. สัมมัปปธาน ๔

ความเพียรสมบูรณ์แบบ

๓. อิทธิบาท ๔

ธรรมสู่ความสำเร็จ

๔. อินทรีย์ ๕

ธรรมเป็นใหญ่ในกิจหน้าที่ของตน

๕. พละ ๕

ธรรมอันเป็นกำลัง

๖. โพชฌงค์ ๗

ธรรมที่เป็นองค์ของการตรัสรู้

๗. อริยมรรคมีองค์ ๘

ทางดำเนินสู่ความดับแห่งทุกข์

๔ + ๔ + ๔ + ๕ + ๕ + ๗ + ๘ = ๓๗

๗๑

๑. สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน

ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน

โดยปัญญารู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความ ยินดี ยินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่าง

กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (กาย)

เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน (เวทนา)

จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน (จิต)

ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน (ธรรม)

การมีสติกำกับดูรู้เท่าทัน ๑) กายและเรื่องของกาย ๒) เวทนา(ความรู้สึก) ๓) จิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔) ธรรม (สิ่งที่อยู่ในจิต) เรียกสั้นๆว่า กาย - เวทนา - จิต - ธรรม ๒. สัมมัปปธาน ๔ สัมมัปปธาน,ปธาน

ฝ่ายอกุศล ๑. เพียรระวังบาปอกุศล ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น สังวรปธาน ๒. เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ปหานปธาน

ความเพียร,ความเพียรชอบมี ๔ อย่าง

ฝ่ายกุศล ๓. เพียรเจริญทำกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ภาวนาปธาน ๔. เพียรรักษากุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้ เสื่อมไป และให้เพิ่มไพบูลย์ อนุรกั ขนาปธาน

๗๒

๓. อิทธิบาท ๔

ธรรมที่ทำให้ถึงความสำเร็จมี ๔ ประการ

๑. ฉันทะ ความพอใจ รักใคร่สิ่งนั้น

๒. วิริยะ ความพยายาม ทำสิ่งนั้น

๓. จิตตะ ความเอาใจ ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น

๔. วิมังสา การพิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผลในสิ่งนั้น การทดลอง ตรวจสอบ

มีใจรัก - พากเพียรทำ - เอาจิตฝักใฝ่ - ใช้ปัญญาสอบสวน ๔. อินทรีย์ ๕ ธรรมเป็นใหญ่ในกิจหน้าที่ของตน มี ๕ ประการ

๑.ศรัทธา (สัทธินทรีย์)

๒.วิริยะ (วิริยินทรีย์)

๓. สติ (สตินทรีย์)

๔. สมาธิ (สมาธินทรีย์)

๕. ปัญญา (ปัญญินทรีย์)

ความศรัทธา

ความเพียร

ความระลึกได้

ความตั้งมั่นใน ฌานทั้ง๔

ความเข้าใจใน อริยสัจ ๔

๕. พละ ๕

ธรรมอันเป็นกำลังให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง มี ๕ ประการ

๑. ศรัทธา

๒. วิริยะ

๓. สติ

๔. สมาธิ

๕. ปัญญา

๗๓

ข้อสังเกต อินทรีย์ ๕ กับ พละ ๕ อินทรีย์ ๕ กับ พละ ๕ มีธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกัน เรียกชื่อต่างกัน ๒ อย่าง ตามหน้าที่ทที่ ำ

อินทรีย์

พละ

เรียกชื่อนี้โดยความหมายว่าเป็น เจ้าการในการครอบงำเสียซึ่ง ธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่าง

เรียกชื่อนี้ โดยความหมายว่าเป็นกำลัง ให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ ธรรมที่ตรงข้าม ตามลำดับ

๑. ๒. ๓. ๔. ๕.

ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

ความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน ความหลงงมงาย

๗๔

๖. โพชฌงค์ ๗ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ มี ๗ ประการ ๑. สติ (สติสัมโพชฌงค์)

ความระลึกได้,ใจอยู่กับกิจจิตอยู่กับเรื่อง

๒. ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์)

ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม

๓. วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์)

ความเพียร

๔. ปิติ (ปิติสมั โพชฌงค์)

ความอิ่มใจ

๕. ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ )

ความสงบกายใจ

๖. สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์)

ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์

๗. อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์)

ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง ๗. อริยมรรคมีองค์ ๘

ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ มี ๘ ประการ ๑. สัมมาทิฏฐิ

ความเห็นชอบ

๒. สัมมาสังกัปปะ

ความดำริชอบ

๓. สัมมาวาจา

เจรจาชอบ

๔. สัมมากัมมันตะ

ทำการชอบ

๕. สัมมาอาชีวะ

เลี้ยงชีพชอบ

๖. สัมมาวายามะ

เพียรชอบ

๗. สัมมาสติ

ระลึกชอบ

๘. สัมมาสมาธิ

ตั้งจิตมั่นชอบ

ปัญญา

ศีล

สมาธิ

ไตรสิกขา

๗๕

ข้อสังเกต โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ๑. ในธรรม ๓๗ ประการนี้มีชื่อซํ้ากันหลายหมวด เช่น สติ เหตุผลคือ เช่น บุคคลเดียวกัน แต่ทำงานหลายตำแหน่ง หลายหน้าที่ หรือหน่วยงานองค์กรต่างๆ แต่มักจะมี ตำแหน่งเหมือนกันไปทำหน้าที่ เช่น ธุรการ จะมีทุกองค์กร เช่น สติ อยู่ในหมวดธรรมต่างกัน ก็จะทำหน้าที่แตกต่างกัน ๒. สติในสติปัฏฐาน ๔ จะเป็นตัวหลักในการทำงานวิปัสสนา โดยมีองค์ธรรม อื่นๆจะมาเป็นตัวเสริม ทำหน้าที่ประสานสอดคล้องกัน

จบตอนที่ ๒๔

๗๖

ตอนที่ ๒๕ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๒๕ นาที

ความก้าวหน้าในการปฏิบัติ เป้าหมายของวิปัสสนา

ปั ญ ญาที่ เ จริ ญ ขึ้ น ไป ที่ เ รี ย กว่ า ญาณ (ยาน) ซึ่ ง มี ห ลายระดั บ ในสมั ย พุ ท ธกาล มีการแบ่งลำดับความก้าวหน้าในการเจริญวิปัสสนา เรียกว่า วิสุทธิ ๗ คือ ความบริสุทธิ์ ๗ ขั้น (อุปมารถ ๗ ผลัด ) ซึ่งจัดโดย พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ซึ่ง เป็นพระภิกษุสาวก เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ) ของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์สำคัญในพระพุทธศาสนา ซึ่งท่านเป็นเอตทัคตะด้านผู้เป็นธรรมกถึก(นักเทศน์)

๗๗

วิสุทธิ ๗ ความบริสุทธิ์ที่สำเร็จด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆไป โดยลำดับ จนบรรลุจุดหมาย คือ พระนิพพาน มี ๗ ขั้น

๑. สีลวิสุทธิ

ความหมดจดแห่งศีล

๒. จิตตวิสุทธิ

ความหมดจดแห่งจิต คือ เกิดสมาธิขั้นอุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ

๓. ทิฏฐิวิสุทธิ

ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ มีความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้องตรง ตามความเป็นจริง ตามสภาวะที่มันเป็น คือ เห็นเป็นเพียงรูปนาม ไม่หลงไปตามสมมติบัญญัติ

๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ

ญาณก้าวพ้นความสงสัยได้ คือ รู้ภาวะที่นามรูปทั้งหลายนี้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย จึงหมดความสงสัย ในความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย

๕. มัคคามัคญาณทัสสนวิสทุ ธิ

ญาณแยกได้ว่า อะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทาง เพื่อสู่ความพ้นทุกข์ เริ่มเห็น ไตรลักษณ์

๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

ญาณอันทำให้แน่วแน่ไปในทางที่ถูกต้อง คือ อริยมรรคมีองค์ ๘

๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ

เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์อย่างสมบูรณ์ สำเร็จพระโสดาบัน เป็นต้น

ข้อ ๑ เป็น ศีล ข้อ ๒ เป็น สมาธิ ข้อ ๓-๗ เป็น ปัญญา จบตอนที่ ๒๕

๗๘

ตอนที่ ๒๖ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๒ นาที

วิปัสสนาญาณ ๙ มีการนำวิสุทธิข้อ ๖ คือ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ได้แก่ ญาณอันทำให้แน่วแน่ไปในทางที่ถูกต้อง คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ จากวิสุทธิ ๗ มาแบ่งย่อยเป็นลำดับญาณ เรียกว่า วิปัสสนาญาณ ๙ มี ๙ อย่าง ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ

ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป

๒. ภังคานุปัสสนาญาณ

ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา

๓. ภยตูปัฏฐานญาณ

ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว(เห็นนามรูป เป็นภัย)

๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ

ญาณคำนึงเห็นโทษ(ว่าสภาวธรรมทั้งหลายไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น)

๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ

ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย(หยั่งรู้แล้วเกิดความหน่ายใน นามรูปทั้งหลาย)

๖. มุญจิตุกัมยตาญาณ

ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย

๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ

ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง

๘. สังขารุเปกขาญาณ

ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ วางใจอย่างถูกต้องต่อสังขาร(นามรูป)ทั้งหลาย

๙. สัจจานุโลมิกญาณ

ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์

จบตอนที่ ๒๖

๗๙

ตอนที่ ๒๗ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๔ นาที

ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรค ผล นิพพาน มิใช่เป็นหมวดธรรมที่มาครบชุดในพระบาลีเดิมโดยตรง แต่พระอาจารย์ปางก่อนได้ประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์และวิสุทธิมัคค์แล้วสอนสืบกันมา บางทีเรียกให้เป็นชื่อชุด เลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือเรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส (โสฬส = สิบหก) ท่านตั้ง วิปัสสนาญาณ ๙ เป็นหลักอยู่ตรงกลาง แล้วเติมญาณขั้นต้น ๆ ที่ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ เพิ่มเข้าก่อนข้างหน้า ๓ ญาณ และเติมญาณขั้นสูงที่เลยวิปัสสนาญาณไปแล้วเข้ามาต่อท้ายอีก ๔ ญาณ ให้เห็นกระบวนการปฏิบัติตลอดสายตั้งแต่ต้นจนจบ จึงเป็นความปรารถนาดี ที่เกื้อกูลแก่การศึกษาไม่น้อย ๓ ญาณก่อนหน้า วิปัสสนาญาณ ๙ ๔ ญาณต่อท้าย ญาณ ๑๖

๘๐

ญาณ ๑๖ จัดแยกเป็น ๓ ช่วงเพื่อความสะดวกในการศึกษา ช่วงแรก : ก่อนวิปัสสนาญาณ ๓ ญาณ ๑.นามรูปปริเฉทญาณ

ญาณกำหนดแยกนามรูปได้

๒.ปัจจยปริคคหญาณ

ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป คือ มองเห็นเหตุปัจจัยที่ทำให้นามรูปไหลไป

๓.สัมมสนญาณ

ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์ คือ พิจารณาเห็นไตรลักษณ์ในภาพรวม ยังไม่เห็นความเกิดดับที่ดับจริง ๆ

ช่วงสอง : วิปัสสนาญาณ ๙ (ย้อนดูทบทวน) เรียงลำดับญาณเป็น ๔-๑๒

ช่วงสาม : เหนือวิปัสสนาญาณ ๔ ญาณ

๑๓. โคตรภูญาณ

ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล

๑๔.มัคคญาณ

ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ทำให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น

๑๕. ผลญาณ

ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลขั้นนั้น ๆ

๑๖.ปัจจเวกขณญาณ

ญาณที่พิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้ มรรค ผล กิเลสที่ละได้แล้ว กิเลสที่ เหลืออยู่ และ นิพพาน เว้นแต่พระอรหันต์ ไม่มกี ารพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่

๘๑

ความสัมพันธ์ของวิสุทธิ ๗ - วิปัสสนาญาณ ๙ - ญาณ ๑๖

วิสุทธิ ๗

๑… ๒… ๓… ๔… ๕… …









๖.ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

๗… …

นำมาซอยย่อย อีก ๙ ข้อ วิปัสสนาญาณ ๙

เพิ่ม ๓ ญาณก่อนหน้า และ ๔ ญาณต่อท้ายของวิปัสสนาญาณ ๙

ญาณ ๑๖

จบตอนที่ ๒๗

๘๒

ตอนที่ ๒๘ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๘ นาที ปริญญา ๓ ปริญญา

การกำหนดรู,้ การทำความเข้าใจโดยครบถ้วน,การรู้ทั่วรอบ ปริญญา ๓ ความก้าวหน้าในวิปัสสนา

๑. ญาตปริญญา

๒. ตีรณปริญญา

๓. ปหานปริญญา

กำหนดรู้ขั้นรู้จัก

กำหนดรู้ขั้นพิจารณา

กำหนดรู้ถึงขั้นละได้

กำหนดรู้ตามที่มันเป็นตามสภาวะ คือ รู้นามรูป (รู้ว่าคืออะไร?)

พิจารณาเห็นไตรลักษณ์ (รู้ว่าเป็น อย่างไร?) (อนิจจัง,ทุกขัง,อนัตตา)

วิสุทธิ ข้อ ๓,๔

วิสุทธิ ข้อ ๕

รู้ขั้นให้เกิดผล คือ ละกิเลสได้ ละความหลงผิดความเข้าใจผิดต่างๆได้ วิสุทธิ ข้อ ๖,๗

วิสุทธิ ข้อ ๑ และ ๒ คือ ศีล กับ สมาธิ ยังไม่จัดเป็นปริญญาในที่นี้ (โปรดทบทวนวิสุทธิ ๗) สาระสำคัญของการปฏิบัติ คือ การหยั่งรู้ความเป็นจริง ซึ่งไม่จำเป็นต้องนับขั้นก็ได้ว่าได้ญาณขั้นไหนแล้ว เพราะเมื่อปฏิบัติถูกต้องก็จะก้าวหน้าไปตามลำดับญาณ โดยไม่รู้ชื่อญาณนั้นๆก็ได้

จบตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

๘๓

เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๒ นาที

อนุปัสสนา ๓ การตามดูรู้ทัน หรือรู้เห็น ๓ ประการ

๑.อนิจจานุปัสสนา

๒.ทุกขานุปัสสนา

๓.อนัตตานุปสั สนา

ตามดูรู้เห็นภาวะอนิจจัง

ตามดูรู้เห็นภาวะทุกขัง

ตามดูรู้เห็นภาวะอนัตตา

รู้เห็นเนือง ๆ ในความ ไม่เที่ยงของรูปนาม เป็น การเห็นถึงความเกิดขึ้น และดับไปของรูปนาม

พิจารณาเห็น ความทน อยู่ไม่ได้ของรูปนามโดย อาการเกิดขึ้นแล้วดับไป ติดต่อกันอย่างไม่ขาดสาย

พิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่เป็น ไม่มีตัวตน

จบตอนที่ ๒๙

๘๔

ตอนที่ ๓๐ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๐ นาที

ตัวอุปสรรคในกระบวนการปฏิบัติ วิปัลลาส ๔ และวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ความรู้เห็นคลาดเคลื่อน,ความรู้เข้าใจผิดเพีย้ นจากความเป็นจริง มี ๔ ประการ

วิปัลลาส,วิปลาส

๑.วิปลาสในสิง่ ที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง

นิจจสัญญาวิปัลลาส

๒.วิปลาสในสิ่งทีเ่ ป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข

สุขสัญญาวิปัลลาส

๓.วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน

อัตตสัญญาวิปัลลาส

๔.วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม

สุภสัญญาวิปลาส

เพิ่มเติมจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ขององค์บรรยาย คือ สมเด็จ ฯ ป.อ.ปยุตฺโต วิปลาส มี ๓ ระดับ ๑.สัญญาวิปลาส

สัญญาคลาดเคลื่อน,หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนตกใจเห็นเชือกเป็นงู

๒.จิตตวิปลาส

จิตคลาดเคลื่อน,ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนบ้า คิดเอาหญ้าเป็นอาหาร

๓.ทิฏฐิวิปลาส

ทิฏฐิคลาดเคลื่อน,ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง โดยเฉพาะเชื่อถือไปตาม สัญญาวิปลาส หรือจิตตวิปลาสนั้น เช่น มีสัญญาวิปลาสเห็นเชือกเป็นงู แล้ว เกิดทิฏฐิวิปลาสเชื่อหรือลงความเห็นว่าที่บริเวณนั้นมีงูชุม หรือมีจิตวิปลาสว่าทุกสิ่ง เกิดขึ้นต้องมีผู้สร้างจึงเกิดทิฏฐิวิปลาสว่าแผ่นดินไหวเพราะเทพเจ้าบันดาล

๘๕

วิปลาส ๓ ระดับนี้ เป็นพื้นฐานเพื่อเป็นไปในวิปลาส ๔ ด้าน ข้างต้นนั้น วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ทบทวนวิสุทธิ ๗ ในข้อ ๖ ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

ญาณอันทำให้แน่วแน่ไปในทางที่ถูกต้องคือ อริยมรรคมีองค์ ๘

จากวิสุทธิข้อที่ ๖ นี้เอง มีการแบ่งย่อยเป็นญาณต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขั้นนี้อีก ๙ ขั้นย่อย ทีเ่ รียกว่า วิปัสสนาญาณ ๙ (ย้อนดูเพื่อทบทวน) ในวิปัสสนาญาณ ๙ นี้ ญาณลำดับที่ ๑ คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ คือ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป ซึ่งจัดเป็นผลของวิปัสสนา อย่างอ่อน ๆ (ตรุณวิปัสสนา) ในขั้นนี้เองที่จะเกิด วิปัสสนูปกิเลส เข้ามาแทรก วิปัสสนูปกิเลส คืออะไร? ผู้รวบรวมนำคำตอบจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ขององค์บรรยาย คือ สมเด็จ ฯ ป.อ.ปยุตฺโต มาเป็นคำตอบ ดังนี้ วิปัสสนูปกิเลส

อุปกิเลสของวิปัสสนา,สภาวะที่ทำให้วิปัสสนามัวหมองข้องขัด,สภาพน่าชื่นชม ซึ่งเกิดแก่ ผู้เจริญวิปัสสนาในขั้นที่เป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน ๆ (ตรุณวิปัสสนา) แต่กลายเป็นโทษ เครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาโดยทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้วจึงชะงักหยุดเสีย ไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ อย่าง

๘๖

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐

๑.โอภาส

๒.ปิติ

๓.ญาณ

(แสงสว่าง)

(ความอิ่มใจปลาบปลื้ม เป็นไปทั้งตัว)

(ความรู้ที่คมชัด)

๔.ปัสสัทธิ

๕.สุข

๖.อธิโมกข์

(ความสงบเย็นกายใจ)

(ความสุขฉํ่าชืน่ ทั่วทั้งตัวที่ ประณีตอย่างยิ่ง)

(ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ ใจผ่องใสอย่างยิ่ง)

๗.ปัคคาหะ

๘.อุปัฏฐาน

๙.อุเบกขา

(ความเพียรที่พอดี)

(สติชัด)

(ความวางจิตเป็นกลางที่ลงตัวสนิท)

๑๐.นิกันติ (ความติดใจพอใจ)

ธรรมทั้งหมดนี้ เว้นข้อ ๑๐ ที่เป็นตัณหาอย่างสุขุม นอกนั้นในข้อ ๑-๙ โดยตัวมันเอง มิใช่เป็นสิ่ง เสียหาย มิใช่เป็นอกุศล แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตลํ้าเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน จึงเกิดโทษ เนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเองว่าเป็นการบรรลุมรรคผล วิปัสสนูปกิเลสนี้จะไม่เกิดขึ้นแก่ใครบ้าง? ๑.ผู้ที่บรรลุมรรคผลแล้ว ๒.ผู้ที่ปฏิบัติผิดทาง ๓.ผู้ที่เกียจคร้าน ทอดทิ้งกรรมฐาน กรรมฐาน แต่จะเกิดขึ้นเฉพาะแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้องเท่านั้น

๘๗

เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น

๑.ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาน้อย

จะฟุ้งซ่านเขวไป และเกิดกิเลสอื่น ๆ ตามมาด้วย

๒.ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาปานกลาง

ก็ฟุ้งซ่านเขวไป แม้จะไม่เกิดกิเลสอื่น ๆ แต่จะสำคัญผิด

๓.ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้า

ถึงจะฟุ้งซ่านเขวไป แต่จะละความสำคัญผิดได้ และ เจริญวิปัสสนาต่อไป

๔.ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้ามาก

จะไม่ฟุ้งซ่านเขวไปเลย แต่จะเจริญวิปัสสนาก้าวต่อไป

เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร ?

พึงรู้เท่าทันด้วยปัญญาตามเป็นจริงว่า สภาวะนี้ (เช่นว่า โอภาส) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดมีขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วก็จะต้องดับสิ้นไป เมื่อรู้เท่าทันก็ไม่หวั่นไหว ไม่ฟุ้งไปตามมัน คือกำหนดได้ว่ามันไม่ใช่มรรคไม่ใช่ทาง แต่วิปัสสนาที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลส เหล่านี้ซึ่งดำเนินไปตามวิถีนนั่ แหละเป็นมรรค เป็นทางที่ถูกต้อง

จบตอนที่ ๓๐

๘๘

ตอนที่ ๓๑ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๘ นาที

ความจริงที่ถูกเปิดเผยโดยวิปัสสนา ญาณ ๑.รู้เห็นสภาวธรรมของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงว่า เป็นเพียง รูปธรรมนามธรรม (รูปนาม/นามรูป) เกิดดับไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ๒.ขณะรู้เห็นตามความจริงดังกล่าว ก็จะรู้เท่าทันสมมติบัญญัติหรือ สมมติสัจจะ (จริงโดยสมมติ) ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ ตกลงกัน แล้วก็เรียกขานกันไปตามนั้น เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น เมื่อกล่าวตาม สภาวะ หรือโดย ปรมัตถสัจจะ (ความจริงแท้) ก็เป็นเพียงสังขาร หรือ นามรูป หรือ ขันธ์ ๕ เท่านั้น ๓.เห็น ไตรลักษณ์ (ลักษณะสาม) คือ อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความ จริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้น ๆ ๓ ประการ ไตรลักษณ์ (ลักษณะสาม)

๑.อนิจจตา

ความเป็นของไม่เที่ยง

๒.ทุกขตา

ความเป็นทุกข์ หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้

คนไทยนิยมพูดสั้น ๆ ว่า อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา และแปลง่าย ๆ ว่า ไม่เที่ยง-เป็นทุกข์-เป็นอนัตตา

๓.อนัตตตา

ความเป็นของมิใช่ตัวตน

๘๙

ทำความเข้าใจความจริงหรือ สัจจะ ๒ ระดับ

๒.ปรมัตถสัจจะ

๑.สมมติสัจจะ

จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลง หมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือ โดยปรมัตถ์(สภาวะที่จริงแท้)แล้วก็เป็นเพียงสังขาร หรือ นามรูป หรือ ขันธ์ ๕ เท่านั้น (ตรงข้าม กับปรมัตถสัจจะ)

สภาวะตามความหมายสูงสุด, สภาวะ ที่มีในความหมายที่แท้จริง (ความจริงแท้หรือ ความจริงสูงสุด) ก็คือเรื่อง ของ รูป นาม และนิพพาน นั่นเอง (นามแยกย่อยเป็นจิต กับเจตสิก จึงรวมเป็น จิต - เจตสิก - รูป -นิพพาน) นักศึกษาอภิธรรม นิยมใช้คำย่อว่า “จิ - เจ - รุ - นิ”

ผลที่หมายของวิปัสสนา ๒ ประการ

๑.วิชชา

๒.วิมุตติ

รู้แจ้งความจริงของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น (รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ) หลุดพ้นจากกิเลส จากความทุกข์ คือ เมื่อรู้แจ้ง อริยสัจ ๔ แล้ว ก็หลุดพ้น อยู่ในโลก แต่ไม่ติดโลก คือ เข้าถึง โลกุตตรธรรม คือ สภาวะพ้นโลก ซึ่งก็คือ มรรค ผล นิพพาน นั่นเอง

จบตอนที่ ๓๑

๙๐

ตอนที่ ๓๒ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๗ นาที

หลักการทั่วไปของสติปัฏฐาน ย้อนทบทวนไปตอนที่ ๒๑ ซึ่งแยกเป็น ๒ ตอนย่อย คือ ตอนที่ ๑ เรื่อง การเชื่อมโยงจากจิตภาวนาสู่ ปัญญาภาวนา ซึ่งได้กล่าวจบไปแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นตอนที่ ๒ เรื่อง ปัญญาภาวนาในที่นี้ คือ ตามวิธีสติปัฏฐาน ข้อสังเกต เรื่องเดิม ความหมายเดิม คือ จิตภาวนา หรือ สมถะ จบแล้ว ก็มาสู่เรื่อง ปัญญาภาวนา ตามวิธีสติปัฏฐาน กล่าวคือ สติปัฏฐานจะเป็นเรื่องของปัญญาภาวนา หรือ วิปัสสนา เท่านั้น

ความหมายใหม่ คือ สติปัฏฐาน ใช้ได้กับทั้งจิตภาวนา(สมถะ) และปัญญาภาวนา(วิปัสสนา) หรือ จะใช้ควบคู่กันไปเลย ดังนั้น เราอาจตั้งหัวข้อใหม่ว่า “ตั้งแต่จิตภาวนาจนถึงปัญญาภาวนาโดยวิธสี ติปัฏฐาน”

๑. จิตภาวนา ๒. ปัญญาภาวนา

ใช้สติปัฏฐานเพื่อทำจิตให้สงบ ใช้สติปัฏฐานเพื่อให้รู้ความจริง

สมาธิ ปัญญา

ดังนั้น สติปัฏฐาน จึงทำให้เราสัมผัสชีวิตจิตใจของตนเองด้วยสมถะ และรู้จักความจริงของ ชีวิตจิตใจตนเองด้วยวิปัสสนา เมื่อเรียนรู้ที่ตนเองก็เท่ากับรู้ชีวิตจิตใจของผู้อื่น และสิ่งทั้งปวงไปด้วย กล่าวคือ ได้รู้จักโลกและชีวิตทั้งหมดด้วย คือ รู้อริยสัจ ๔

จบตอนที่ ๓๒

๙๑

ตอนที่ ๓๓ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๑ นาที

ความหมายของสติปัฏฐาน การตั้งสติ

สติปัฏฐาน

คือมีสติกำกับอยู่ด้วยกับอารมณ์นั้นๆ หรือเอาสติมาเป็นประธานแล้วธรรมะ อื่นๆก็มาช่วยเสริมการทำงาน สติ มาตั้งเป็นประธาน แต่ตัวทำงานที่แท้จริง คือ ปัญญา ที่เรียกว่า อนุปัสสนา เป็นการทำงานคู่กัน คือ สติจับอารมณ์ไว้ เพื่อให้ปัญญาพิจารณา ถ้าปัญญาไม่มาทำงาน สติก็ช่วยให้เกิดสมาธิ ก็กลายเป็นเรื่องของสมถะไป ถ้าเป็นเรื่องของวิปัสสนาต้องเกี่ยวข้องกับ ปัญญาดังกล่าวข้างต้น โดยมีสมาธิเป็นพื้นฐานช่วยเหลือด้วย อนุปัสสนา

เป็นตัวปัญญาที่ทำหน้าที่ตามดู หรือ ตามเห็นตลอดเวลา หรือเรียกว่า ตามดูรู้ทันใน ๔ ด้าน หรือ ๔ ส่วนของชีวิต คือ กาย,เวทนา,จิต และ ธรรม ดังชื่อเต็มด้านล่างนี้ ๑. ๒. ๓. ๔.

กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปสั สนา

สติปัฏฐาน สติปัฏฐาน สติปัฏฐาน สติปฏั ฐาน

กาย เวทนา จิต ธรรม

+ + + +

อนุปัสสนา อนุปัสสนา อนุปัสสนา อนุปัสสนา

+ + + +

สติปัฏฐาน สติปัฏฐาน สติปัฏฐาน สติปัฏฐาน

๙๒

เรียกสั้นๆว่า กาย,เวทนา,จิต,ธรรม อนุปัสสนา ตามดูรู้ทันอะไร? ตามดูรู้ทันใน กาย,เวทนา,จิต,ธรรม ทำให้รู้เข้าใจชีวิตจิตใจครบทั้ง ๔ ด้าน

จบตอนที่ ๓๓

๙๓

ตอนที่ ๓๔ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๘ นาที

อารมณ์ของสติปัฏฐาน สติปัฏฐาน ๔

๑. ๒. ๓. ๔.

กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปสั สนา

สติปัฏฐาน สติปัฏฐาน สติปัฏฐาน สติปฏั ฐาน

การตั้งสติตามดูรู้ทันกาย การตั้งสติตามดูรู้ทันเวทนา การตั้งสติตามดูรู้ทันจิต การตั้งสติตามดูรู้ทันธรรม(เรื่องราวที่เราระลึกนึกคิดอยู่ในใจ) อารมณ์ของสติปัฏฐาน

ทั้งในส่วนของสมถะ และวิปัสสนา ก็ใช้ชีวิตจิตใจทั้งหมดของเรานี่เอง คือ กาย, เวทนา,จิต,ธรรม เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน โดยเริ่มจากตัวเราออกไป แล้วก็สู่คนอื่น สิ่งอื่น ด้วย ซึ่งล้วนเป็นรูปนามเหมือนกัน ดังนั้นเรียนรู้เรื่องตัวเรา ก็เท่ากับเรียนรู้เรื่องคนอื่น และ สิ่งอื่นไปด้วย รายละเอียดของสติปัฏฐานทั้ง ๔ ด้าน

๙๔

๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน

๑.๑ อานาปานบรรพ ๑.๒ อิริยาปถบรรพ ๑.๓ สัมปชัญญบรรพ ๑.๔ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ๑.๕ ธาตุมนสิการบรรพ ๑.๖ นวสีวถิกาบรรพ

การพิจารณาลมหายใจ การพิจารณาอิริยาบถหลัก(ยืน,เดิน,นั่ง,นอน) การพิจารณาสัมปชัญญะ(รู้สึกตัวทั่วพร้อมในการเคลื่อนไหวทุกอย่างทั้งอิริยาบถ หลักและย่อย) การพิจารณากายเป็นของปฏิกูล(สกปรก,น่ารังเกียจ ที่เรียกว่าอาการ ๓๒) การพิจารณากายประกอบด้วยธาตุ ๔ (ดิน,นํ้า,ไฟ,ลม) การพิจารณาซากศพ (ที่เน่า ผุสลาย ตามธรรมชาติ ๙ ขั้น)

๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน

สุข ทุกข์ เฉยๆ

จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ จิตหดหู่ จิตเป็นมหรคต (เข้าถึงฌาน) จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า(จิตของปุถุชน) จิตเป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นแล้ว

ตามดู รู้ทัน ความรู้สึก

อาศัยอามิส หรือเจือด้วยกามคุณ (รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัสกายที่น่าพอใจ) ไม่อาศัยอามิสหรือไม่เจือด้วยกามคุณ

๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฎฐาน

๓.๑ ๓.๓ ๓.๕ ๓.๗ ๓.๙ ๓.๑๑ ๓.๑๓ ๓.๑๕

ตามดูรู้ทันกาย ๖ ส่วน

ตามดูรู้ทันภาวะจิตต่างๆ (๘ คู่ ๑๖ ภาวะ)

๓.๒ ๓.๔ ๓.๖ ๓.๘ ๓.๑๐ ๓.๑๒ ๓.๑๔ ๓.๑๖

จิตไม่มีราคะ จิตไม่มโี ทสะ จิตไม่มีโมหะ จิตฟุ้งซ่าน จิตไม่เป็นมหรคต (ยังไม่เข้าถึงฌาน) จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า (จิตของพระอริยะ) จิตไม่เป็นสมาธิ จิตยังไม่หลุดพ้น

๙๕

๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฐาน

๔.๑ ๔.๒ ๔.๓ ๔.๔ ๔.๕

ตามดูรู้ทันเรื่องที่ใจนึกคิด (ทั้งกุศลและอกุศล) ๕ เรื่อง

นิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ (ภายใน ๖ และ ภายนอก ๖) โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔

จบตอนที่ ๓๔

๙๖

ตอนที่ ๓๕ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๒๗ นาที ๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน ๖ ส่วน

๑.๑ อานาปานสติ ตามดูรู้ทันลมหายใจเข้า ออก ทั้งยาวและสั้น, ศึกษาว่า (ฝึก) ให้รู้ทั่วตลอดทั้งกายเนื้อ และกายลม(กายทั้งปวง)ขณะหายใจเข้าออก,ฝึกให้กายทั้งปวงสงบระงับ ขณะหายใจเข้าออก ๑.๒ อิริยาบถ มีสติรู้ชัดอิริยาบถหลักทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่เป็นปัจจุบัน,สติจะเป็นตัวเด่น ๑.๓ สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมในอิริยาบถหลักทั้งสี่ และกิจกรรมการเคลื่อนไหวทุกอย่างของชีวิต สัมปชัญญะจะเป็นตัวเด่น เน้นปัญญามากขึ้น ๑.๔ ปฏิกูล ดูองค์ประกอบทุกอย่างของร่างกาย(อาการ๓๒) เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ฯลฯ ว่าเป็นของไม่สะอาด,พิจารณาแบบวิเคราะห์แยกแยะจากองค์รวมเป็นรายละเอียดย่อยๆ ๑.๕ ธาตุ ๔ ดูองค์ประกอบทุกอย่างของร่างกายเป็นเพียงธาตุ ๔ คือ ดิน,นํ้า,ไฟ,ลม,พิจารณาแบบ สังเคราะห์จากรายละเอียดย่อยๆ เป็นองค์รวม ๑.๖ ซากศพ ดูซากศพตั้งแต่ตายใหม่ๆ เน่า สัตว์แทะกิน ผุสลายไปตามธรรมชาติจนกระดูกละเอียด เป็นผงธุลี รวมทั้งหมด ๙ ลักษณะ (๙ ป่าช้า) เพื่อน้อมเข้ามาสู่กายของตนเองว่าเมื่อตายแล้วก็เป็นเช่นนั้น เหมือนกัน

จบตอนที่ ๓๕

๙๗

ตอนที่ ๓๖ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๘ นาที

๒-๔. เวทนา..., จิตตา..., ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน ๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน ตามดูรู้ทันความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตใจ ทั้ง ๓ ประเภท

สุขเวทนา(สุข)

ทุกขเวทนา(ทุกข์)

อทุกขมสุขเวทนา(เฉยๆ)

เวทนาแต่ละประเภทแยกย่อยได้อีกประเภทละ ๒ ลักษณะ

อาศัยอามิส (เจือด้วยกามคุณห้า)

กามคุณห้า

ไม่อาศัยอามิส (ไม่เจือด้วยกามคุณห้า)

รูป,เสียง,กลิ่น,รส และโผฏฐัพพะ(สัมผัสกาย)ที่น่าหลงไหลพอใจ

๙๘

๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฐาน ตามดูรู้ทันภาวะของจิต ๘ คู่ ๑๖ ภาวะ ซึ่งมีทั้งกุศลและอกุศล ย้อนดูรายละเอียดตอนที่ ๓๔ ๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฐาน ตามดูรู้ทันสิ่งที่อยู่ในจิต ซึ่งมีทั้งกุศลและอกุศล รวม ๕ เรื่อง ๑. นิวรณ์ ๕ ๒. อุปาทานในขันธ์ ๕ ๓. อายตนะ๑๒(ภายใน ๖ ภายนอก ๖) ๔. โพชฌงค์ ๗ ๕. อริยสัจ ๔ ๑. นิวรณ์ ๕ ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี,สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม,อกุศลธรรมที่กดทับจิต ปิดกั้นปัญญา มี ๕ อย่าง (จะสงบระงับเมื่อเจริญสมาธิไปถึงอุปจารสมาธิ(สมาธิขั้นจวนเจียน))

๑. กามฉันทะ (พอใจใฝ่กามคุณ)

๒. พยาบาท (แค้นเคืองคิดร้ายเขา)

๓. ถีนมิทธะ (หดหู่ซึมเซา)

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ฟุ้งซ่านรำคาญใจ)

๕. วิจิกิจฉา (ลังเลสงสัย)

ตามดูรู้ทันนิวรณ์ทั้งห้าว่า เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นในจิต และตามดู ๓ วาระคือ ๑) ขณะที่นิวรณ์เริ่มเกิดขึ้น ๒) ขณะที่เกิดขึ้นแล้วดับลงไป ๓) เมื่อดับไปแล้วก็ยังตามดูว่าจะไม่เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร

๙๙

๒. อุปาทานในขันธ์ ๕ (ความยึดมั่นขันธ์ ๕ ว่าเป็นตน) ตามดูรู้ทันการเกิดและดับของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพื่อพิจารณาเห็นเป็นเพียงรูปนาม ละความยึดมั่นว่าเป็นตัวเรา - ของเรา ๓. อายตนะ ๑๒ (ภายใน ๖ ภายนอก ๖) ตามดูรู้ทันอายตนะ(แดนเชื่อมต่อ) ทั้งภายในและภายนอก ๖ คู่ ว่าก่อให้เกิดสังโยชน์(กิเลสเครื่องมัดใจสัตว์)ขึ้นมา ภายใน ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ภายนอก ๖ สังโยชน์, สัญโญชน์ กระทบกันแล้วเกิดสังโยชน์ ตามดูรู้ทันสังโยชน์ ๓ วาระ คือ ๑) ขณะเริ่ม เกิดขึ้น ๒) ขณะที่ดับลงไป ๓) ขณะที่ดับไป แล้วและยังไม่เกิดขึ้นมาอีก

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัสทางกาย) ธัมมารมณ์(สิ่งที่ใจนึกคิด)

๑๐๐

๔. โพชฌงค์ ๗ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรูม้ ี ๗ ประการ ๑. สติ ความระลึกได้ ๒. ธัมมวิจยะ ความเฟ้นธรรม,ความสอดส่องสืบค้นธรรม ๓. วิริยะ ๔. ปิติ ความอิ่มใจ ๕. ปัสสัทธิ ความสงบกายใจ ๖. สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น ๗. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง

ความเพียร

ตามดูรู้ทันโพชฌงค์ ๒ วาระ คือ ๑) ขณะเริ่มเกิดขึ้น ๒) ขณะเจริญและบริบูรณ์ยิ่งขึ้น ๕. อริยสัจ ๔ ความจริงอย่างประเสริฐ,ความจริงของพระอริยะ,ความจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ มี ๔ อย่าง คือ ทุกข์ , สมุทัย , นิโรธ , มรรค ๑. ทุกข์ (ทุกขสัจจะ) ได้แก่ ภาวะเหล่านี้ คือ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ (กายใจ)ว่าเป็นตน เป็นทุกข์ (อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์)

๒. สมุทัย (สมุทัยสัจจะ)

คือ เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา (ความอยาก) ทั้ง ๓ ประการ คือ ๑) กามตัณหา (ความอยากในกามคุณห้า) ๒) ภวตัณหา (ความอยากในความมีความเป็น) ๓) วิภวตัณหา (ความอยากในความไม่มีไม่เป็น)

๑๐๑

๓. นิโรธ (นิโรธสัจจะ)

คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาทั้ง ๓ ประการ ดับสนิทโดยไม่มีส่วนเหลือ หรือเรียกว่า นิพพาน ๔. มรรค (มัคคสัจจะ)

คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ มี ๘ ประการ หรือ ๘ องค์ประกอบ คือ ๑) สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) ๒) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) ๓) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) ๔) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) ๕) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) ๖) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) ๗) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) ๘) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)

ชอบ = ถูกต้อง ตามดูรู้ทันตามความเป็นจริงว่า นี้คือทุกข์ , นี้คือเหตุให้เกิดทุกข์ , นี้คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ , นี้คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ หมายเหตุจากผู้รวบรวม : สติปัฏฐานทั้ง ๔ ประการนี้ ควรฟังจากต้นฉบับการ บรรยายและศึกษาเพิ่มเติม เช่น จากบทสวดมนต์แปล มหาสติปัฏฐานสูตร เนื่องจากมี รายละเอียดที่ควรทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีกพอสมควร

จบตอนที่ ๓๖

๑๐๒

ตอนที่ ๓๗ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๘ นาที

ข้อสังเกต และ ความแตกต่างเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ข้อสังเกตทั่วไป

๑. กายานุปัสสนาฯ เป็นการดูชีวิตในส่วนร่างกายทั่วตลอดทั้งหมด ๒. เวทนานุปัสสนาฯ จิตตานุปัสสนาฯ ธัมมานุปัสสนาฯ เป็นการตรวจพิจารณาชีวิตที่ต่อเนื่องจากกาย ไปถึงทุกส่วนของชีวิตหมดเลย ตั้งแต่ความรู้สึก(เวทนานุปัสสนา) ที่เกี่ยวเนื่องกับกาย แล้วตามดูไปถึงจิตใจ(จิตตานุปัสสนา) ตลอดจนตามดูไปถึงสิ่งที่อยู่ในจิตใจด้วย(ธัมมานุปัสสนา) ซึ่งการตามดูทั้ง ๔ ส่วนนี้เกี่ยวเนื่องกัน

ตัวอย่าง

เริ่มจากมีสติสัมปชัญญะ ดูกายเคลื่อนไหว(กายานุปัสสนา) แล้วเกิดความรู้สึกคือเวทนาขึ้น เช่น เกิดความพอใจ ซึ่งเป็นสุขเวทนา(เวทนานุปัสสนา) ต่อจากนั้นดูสภาพจิตใจที่เกี่ยวเนื่องกับสุขเวทนานั้น เช่น จิตเกิดความโลภขึ้นมา(จิตตานุปัสสนา)แล้วตามดูโลภะที่อยู่ในจิตนั้น(ธัมมานุปัสสนา)

๑๐๓

ระบบสติปัฏฐาน ๑. มองในแง่การเริม่ จาก สมถะ ด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก ในหมวดอานาปานสติ จนเกิดสมาธิ ต่อจากนั้นก็ใช้สมาธิ เพื่อทำงาน วิปัสสนา ต่อไป ๒. มองในแง่จากเรือ่ งทีห่ ยาบ คือ ร่างกาย(กายานุปัสสนา) ไปสู่เรื่องที่ละเอียดขึ้นตามลำดับ คือ ความรู้สึก(เวทนานุปัสสนา) สภาพจิตใจ(จิตตานุปัสสนา) และสิ่งที่อยู่ในจิตใจนั้น(ธัมมานุปัสสนา)

ความแตกต่างระหว่างจิตตานุปัสสนากับธัมมานุปัสสนา

จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน

ธัมมานุปสั สนา สติปัฏฐาน

ดูภาวะหรือสภาพจิต เช่น มีความชอบ - ชัง

ดูสิ่งที่อยู่ในจิต เช่น ดูตัว ชอบ - ชัง ที่อยู่ในจิตนั้น

สรุปเกี่ยวกับสติปัฏฐาน

๑. ทำให้รู้จักตัวเอง รู้จักชีวิตตนเอง ทั้งสัมผัสมันและรู้จักมันด้วย ๒. เป็นการนำชีวิตของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ คือ ทำให้เกิดปัญญาจนบรรลุธรรม เป็นอริยบุคคลไปตามลำดับ จนถึงขั้นสูงสุด คือ อรหันต์

จบตอนที่ ๓๗

๑๐๔

ตอนที่ ๓๘ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๒ นาที

หลักการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๑. ความมุ่งหมาย จากพุทธพจน์

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖.

เอกายะโน อะยัง ภิกขะเว มัคโค (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก) สัตตานัง วิสุทธิยา (เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย) โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ (เพื่อความก้าวล่วง ซึ่งความโศกและความรํ่าไรรำพัน) ทุกขะโทมะนัสสานัง อัฏฐังคะมายะ (เพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์ และโทมนัส) ญายัสสะ อธิคะมายะ (เพื่อบรรลุญายธรรม) นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ (เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง)

นิพพาน หมายเหตุ : คำแปลจากพุทธพจน์ข้างต้น ผู้รวบรวมนำมาจากหนังสือบทสวดมนต์แปลมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ผู้รวบรวมจัดทำไว้ ซึ่งสำนวนแปลอาจแตกต่างจากต้นฉบับการบรรยายบ้าง แต่ความหมาย เดียวกัน

๑๐๕

หรือพิจารณาจากพุทธพจน์อีกบทหนึ่ง (เฉพาะคำแปล)

๑. สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบรู ณ์ ๒. โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์

วิชชาและวิมุตติ นิพพาน สรุป : ความมุ่งหมายของการปฏิบัติสติปัฏฐาน ก็คือ นิพพาน ๒. หลักการปฏิบัติ ตัวทำงาน โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ (ดูทบทวน) พุทธพจน์ ตัวอย่างด้านกาย

๑. กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ (ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ) ๒. อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา,วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง (มีความเพียรเครื่องเผากิเลส,มีสัมปชัญญะ มีสติ,ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้)

๑๐๖

ด้านเวทนา จิต และธรรม ก็พิจารณาเห็นเนืองๆ เช่นเดียวกับด้านกาย ตัวเด่นในการทำงาน ๓ ตัว

อาตาปี (ความเพียร)

สัมปะชาโน (สัมปชัญญะ)

สติมา (สติ)

เป็นความเพียร(วิริยะ)ซึ่งเป็น ตัวให้การปฏิบัติรุดหน้าไป

เป็นตัวปัญญา ซึ่งเป็นตัววิปัสสนาที่จะ นำไปสู่ผลที่แท้จริง คือ รู้ชัดตามเป็นจริง, ตามที่มันเป็น ก็คือเป็นรูปนาม

เป็นตัวจับอารมณ์นั้นไว้เพื่อให้ตา คือ ปัญญา(สัมปชัญญะ)ได้ดู, พิจารณา สติเป็นสมถะ สัมปชัญญะเป็นวิปัสสนา

ทำงานเอื้อเฟื้อสัมพันธ์กัน โดยมีสมาธิเป็นพื้นฐานหรือรองรับการทำงานดังกล่าว

อาการที่เป็นผลพ่วง คือ กำจัดความพอใจ และความไม่พอใจต่างๆ (ยินดี - ยินร้าย) ได้ด้วย คือ กำจัดกิเลสได้ชั่วคราวขณะปฏิบัติ (กุศลเกิดอยู่ อกุศลจึงเกิดไม่ได้)

๑๐๗

ข้อสังเกต ในแต่ละหมวดจะมีการตามดูรู้ทัน กายในกาย , เวทนาในเวทนาทั้งหลาย,จิตในจิต,ธรรมในธรรมทั้งหลาย

จากหนังสือระดับอรรถกถา (ระดับทำหน้าที่ขยายความคำบางคำในพระไตรปิ ฎกอีกทอดหนึ่ ง) มี ก ล่ า วถึ ง คำดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ไว้ ๔-๕ นั ย ในที่ นี้ จ ะนำเสนอสั ก ๒ นั ย โดยยกตั ว อย่ า งด้ า นกาย เป็นแนวทางพิจารณา ๑. กายในกาย รู้ทันตรงสภาวะ รู้ตามเป็นจริง คือ รู้ในกายว่าเป็นกาย ไม่หลงไปใน สมมติบัญญัติว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เช่น มีคำกล่าวไว้ว่า “สิ่งที่ดูไม่เห็น กลับไปเห็น สิ่งที่ไม่ได้ด”ู หมายความว่ามองดูกายแต่ไม่เห็นตามภาวะความเป็นจริง คือ เห็นรูปนาม แต่ไปเห็นตาม สมมติบัญญัติ เช่น เห็น นาย ก. เป็นต้น ๒. กายในกาย การรู้กายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่ คือ ดูส่วนประกอบของร่างกายที่แยกเป็น อวัยวะต่างๆ ที่ประชุมกันเป็นกายส่วนใหญ่ ซึ่งเมื่อแยกย่อยไปเรื่อยๆ ก็จะไม่มีอะไรเหลือ คือ ไม่เหลือ ตัวสมมติบัญญัตินั้น อุปมาเหมือนการลอกกาบกล้วยไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็จะไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย

จบตอนที่ ๓๘

๑๐๘

ตอนที่ ๓๙ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๒๗ นาที

วิธีกำหนดและวางใจในการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๑. มองสิ่งทั้งหลายตามที่มนั เป็นตามภาวะความเป็นจริง ไม่มีการประเมินค่า วินิจฉัย ตัดสินดีชั่ว ไม่ใส่ความรู้สึกชอบชังลงไป เหมือนดูละครโดยเราไม่ไปเล่นละครด้วย ๒. มองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา คือเห็นภาวะรูปธรรม นามธรรม หรือเห็นชีวิตจิตใจ ก็เป็นอย่างนี้ ไม่มองเป็นบวก เป็นลบ ๓. มองให้ทันความจริงที่เป็นไป คือ เห็นการเกิดดับ ของรูปธรรม นามธรรม อย่างต่อเนื่อง เห็นความไม่คงที่ (อนิจจัง) เห็นการที่คงอยู่สภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขัง) เห็นสภาพที่ ไม่เป็นตัวเป็นตนคงที่ ซึ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัยเท่านั้น (อนัตตา) คือเห็น ไตรลักษณ์ นั่นเอง

ดูตั้งแต่ตัวเองทั้งร่างกาย (กาย) ความรู้สึก (เวทนา) สภาพจิตใจ (จิต) และสิ่งที่อยู่ในจิตใจ (ธรรม) ตลอดจนการดูสิ่งภายนอกต่างๆ ล้วนเป็นเพียง รูปธรรม นามธรรม ที่เกิดดับไหลเวียนไปตามเหตุปัจจัย เป็นการมองให้เกิดปัญญา ไม่เกิดปัญหา การพิจารณาอีก ๔ ข้อย่อย ๑. ดูรู้ทัน กายภายใน (กายตนเอง) กายภายนอก (กายผู้อื่น) คือเมื่อศึกษารู้จากกายตนเอง ก็จะรู้ผู้อื่นไปด้วย คือเข้าใจโลกและชีวิตทั้งหมด (เวทนา,จิต,ธรรม ก็เช่นเดียวกัน) ๒. รู้ความเกิดขึ้น ความดับสลายไป และทั้งความเกิดขึ้นความดับสลายไป ของทั้งกาย, เวทนา, จิต, ธรรม ก็คือ เห็นรูปนามเกิดดับต่อเนื่อง คือ เห็นไตรลักษณ์นั่นเอง ๓. มีสติปรากฏชัดว่าเป็นกาย, เวทนา, จิต, ธรรม เพียงเพื่อให้เกิดความรู้หรือปัญญา คือรู้เท่าทัน สมมติบัญญัติ (จริงโดยสมมติ) และรู้ในระดับปรมัตถ์ (ความจริงแท้) ว่ามีแต่เพียงรูปนาม ๔. เป็นอยู่อย่างไม่ขึ้นต่ออะไร คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดๆ ในโลก เป็นอิสระในจิตใจ

จบตอนที่ ๓๙

๑๐๙

ตอนที่ ๔๐ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๗ นาที

กระบวนวิธีปฏิบัติและเทคนิค

ข้อสังเกต

๑. ครูบาอาจารย์แต่ละสำนักปฏิบัติ อาจนำเทคนิคที่แตกต่างกันเพิ่มเข้ามา เช่น การกำหนดคำว่า “หนอ” ในขณะปฏิบัติ หรือกำหนดการซอยเท้าในการเดินจงกรมเป็นจังหวะละเอียดขึ้นจากปกติ ซึ่งเป็น เทคนิคของครูอาจารย์ จะไม่นำมากล่าวในที่นี้แต่จะกล่าวตามพระไตรปิฎกเป็นหลัก ๒. การกำหนดในสติปัฏฐาน จะเหมือนการส่งต่อกันไปเป็นลำดับ จากกาย เวทนา จิต ธรรม เช่น กายเคลื่อนไหว (กาย) แล้วเกิดความรู้สึกชอบ - ไม่ชอบ (เวทนา) ดูภาวะจิตที่ ชอบ - ไม่ชอบนั้น (จิต) และพิจารณาสิ่งที่อยู่ในจิต คือ ความชอบ - ไม่ชอบนั้น (ธรรม) ๓. ใน มหาสติปัฏฐานสูตร จะพูดถึงแบบกว้างๆ เป็นกลางๆ ตามธรรมชาติ แต่จะมีอีกวิธีหนึ่งเป็น การจงใจทำให้เกิดขึ้น เช่น เกี่ยวกับลมหายใจ ซึ่งเป็นเทคนิคการจงใจทำตั้งแต่กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเรียกว่า อานาปานสติสูตร มี ๑๖ ขั้น อันเป็นการโยงสู่สติปัฏฐาน ซึ่งจะได้กล่าวใน ภายหลังต่อไป

จบตอนที่ ๔๐

๑๑๐

ตอนที่ ๔๑ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๔ นาที

การใช้อานาปานสติโยงสู่สติปัฏฐาน ทบทวนความเดิม

๑. ในเรื่องของจิตภาวนา (สมถะ) เพื่อให้เกิด สมาธิ อานาปานสติ เป็น กรรมฐานหนึ่ง ใน กรรมฐาน ๔๐ อย่าง นั้น ๒. ในเรื่องของปัญญาภาวนา (วิปัสสนา) เพื่อให้เกิด ปัญญา ในสติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติ เป็นหมวดแรกของ กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน ๓. ในสติปัฏฐาน ๔ มีการเชื่อมโยงกันจาก จากกาย เวทนา จิต ธรรม ดังที่เคยยกตัวอย่างมาแล้ว เช่น กายเคลื่อนไหว (กาย) แล้วเกิดสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา (เวทนา) จากนั้นเกิดราคะหรือโทสะในจิตต่อเวทนานั้น (จิต) แล้วพิจารณา ราคะ, โทสะในจิต นั้น (ธรรม)

ในครั้งนี้จะชี้ให้เห็นถึงการใช้ อานาปานสติ เพื่อโยงสู่สติปัฏฐานครบทั้ง ๔ ด้าน คือ กาย, เวทนา, จิต, ธรรม ซึ่งเป็นลักษณะจงใจทำ อันเป็นวิธีปฏิบัติที่ได้ผลดี และน่าทำ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องนี้ไว้ใน อานาปานสติสูตร มี ๑๖ ขั้น

๑๑๑

จึงพอแยกออกได้เป็น ๒ วิธี

๑. แบบกว้างๆ หรือแบบทั่วไป ตามธรรมชาติ

๒. แบบจงใจจัดสรรควบคุม

ตรัสไว้ใน มหาสติปัฏฐานสูตร

ตรัสไว้ใน อานาปานสติสูตร

สติปัฏฐาน ๔ (กาย - เวทนา - จิต - ธรรม)

ความจริงก็เป็นธรรมชาติทั้ง ๒ ฝ่าย โดยฝ่ายหลัง คือ อานาปานสติสูตร ใช้ความรู้ของกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ดังนั้นอาจเรียก ฝ่ายแรก (มหาสติปัฏฐานสูตร) ว่า แบบทั่วไป ไม่ควบคุม และเรียกฝ่ายหลัง (อานาปานสติสูตร) ว่า แบบเจาะจง ควบคุม

มหาสติปัฏฐานสูตร

แบบทั่วไปกว้างๆ เช่น มีเวทนา (ความรู้สึก) เกิดขึ้น

ก็พิจารณารู้ชัดในเวทนานั้น อานาปานสติสูตร

นำแบบทั่วไปมาเจาะจงทำเพื่อควบคุมไปในวิถีที่

ต้องการ เช่น เจาะจงทำให้เกิดเวทนาขึ้น แล้วจับเวทนานั้นมาพิจารณากำหนดรู้

จบตอนที่ ๔๑

๑๑๒

ตอนที่ ๔๒ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๑ นาที

ลำดับการปฏิบัติในการเจริญอานาปานสติสูตร (อานาปานสติ ๑๖ ขั้น)

กายานุปัสสนา ๔ ขั้น + เวทนานุปัสสนา ๔ ขั้น + จิตตานุปัสสนา ๔ ขั้น + ธัมมานุปสั สนา ๔ ขัน้ รวม ๑๖ ขัน้

หาที่สัปปายะ

นั่งสมาธิ

หายใจเข้าออกอย่างมีสติ

๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน

๑. หายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า ๒. หายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า ๓. ศึกษาว่า จักรู้ทั่วกายทั้งหมด ศึกษาว่า จักรู้ทั่วกายทั้งหมด ๔. ศึกษาว่า จักผ่อนระงับกายสังขาร ศึกษาว่า จักผ่อนระงับกายสังขาร

หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก

หมายเหตุ ตั้งแต่ขั้นที่ ๓ - ๑๖ จะมีคำว่า ศึกษาว่า

๑๑๓

๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน

๕. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๖. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๗. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๘. ศึกษาว่า ศึกษาว่า

จักรู้ชัดปิติ จักรู้ชัดปิติ จักรู้ชัดสุข จักรู้ชัดสุข จักรู้ชัดจิตตสังขาร จักรู้ชัดจิตตสังขาร จักผ่อนระงับจิตตสังขาร จักผ่อนระงับจิตตสังขาร

หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก

๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน

๙. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๑๐. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๑๑. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๑๒. ศึกษาว่า ศึกษาว่า

จักรู้ชัดจิต จักรู้ชัดจิต จักทำจิตให้บันเทิง จักทำจิตให้บันเทิง จักตั้งจิตมั่น จักตั้งจิตมั่น จักเปลื้องจิต จักเปลื้องจิต

หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก

๑๑๔

๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน

๑๓. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๑๔. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๑๕. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๑๖. ศึกษาว่า ศึกษาว่า

จักตามเห็นว่าไม่เที่ยง จักตามเห็นว่าไม่เที่ยง จักตามเห็นความคลายออก จักตามเห็นความคลายออก จักตามเห็นความดับไป จักตามเห็นความดับไป จักตามเห็นความสลัดคืน จักตามเห็นความสลัดคืน

อานาปานสติ บริบูรณ์

สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์

โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์

วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์

บรรลุจุดหมาย คือ มรรค ผล นิพพาน

จบตอนที่ ๔๒

หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก

๑๑๕

ตอนที่ ๔๓-๔๕ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ๓ ตอน ประมาณ ๑ ชั่วโมง ๗ นาที

ข้อควรทราบในการปฏิบัติอานาปานสติ ๑๖ ขั้น ๑. ตั้งแต่ขั้นที่ ๓ - ๑๖ ใช้คำว่า ศึกษาว่า (สิกฺขติ) ซึ่งหมายถึง การพยายามฝึก หรือทำ ให้เป็นไปอย่างนั้น ซึ่งเป็นการควบคุมจัดสรรให้เป็นไปในวิถีที่ต้องการ (ทบทวนตอนที่ ๔๑ ที่ว่าการ เจริญวิปัสสนา (ปัญญาภาวนา) ซึ่งพอแยกออกได้เป็น ๒ วิธี คือ ๑) แบบกว้างๆ หรือแบบทั่วไปตาม ธรรมชาติ คื อ ตามหลั ก มหาสติ ป ั ฏ ฐานสู ต ร และ ๒) แบบจงใจจั ด สรรควบคุ ม คื อ ตามหลั ก อานาปานสติสูตร) ๒. ทำความเข้าใจ คำว่า กายสังขาร ในหมวดแรก คือ กายานุปัสสนาฯ และคำว่า จิตตสังขาร ในหมวดที่สอง คือ เวทนานุปัสสนาฯ

สังขาร การปรุงแต่ง, เครื่องปรุงแต่ง, สิ่งปรุงแต่งหรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง

ความหมายพิเศษในที่นี้คือ สังขาร ๓

สังขาร ๓

กายสังขาร (ปรุงแต่งกาย)

ลมหายใจ เป็นสิ่งปรุงแต่งกาย

วจีสังขาร (ปรุงแต่งวาจา)

วิตก(ตรึก) วิจาร (ตรอง) คือ นึกคิดไตร่ตรองจากใจก่อนแล้ว ปรุงแต่งออกมาทางวาจา

จิตตสังขาร (ปรุงแต่งจิตใจ)

เวทนา (ความรู้สึก) และสัญญา (ความจำได้หมายรู้) ทั้ง ๒ อย่างนี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อการปรุงแต่งจิตใจอย่างมาก

๑๑๖

๓. อานาปานสติ ๑๖ ขั้น เป็นการเจริญจากสมถะไปสู่วิปัสสนา สมถะ เมื่อกำหนดลมหายใจจนเกิดสมาธิขั้น อุปจารสมาธิ (สมาธิขั้นจวนเจียน) สิ่งร้าย ๕ อย่างจะถูกกำจัดออกไปนั่นคือ นิวรณ์ ๕ อันเป็นอกุศลธรรมที่ขัดขวางสมาธิ และปัญญา (โปรดทบทวน เรื่องนิวรณ์ ๕ จากตอนที่ ๓๖) และเมื่อสมาธิก้าวหน้า ไปจนถึงขั้น อัปปนาสมาธิ (สมาธิขั้นแนบแน่น) ที่เรียกว่า ได้ฌาน สิ่งดี ๕ อย่างจะเกิดขึ้นตามมา เข้าสู่ ปฐมฌาน (ฌาน๑) ซึ่งคุณสมบัติหรือองค์ประกอบที่เกิดขึ้นขณะที่จิตอยู่ในฌาน จะเรียกว่า องค์ฌาน ซึ่งจะประณีตขึ้นไป ตามลำดับฌาน ดังนี้ ระดับฌาน

คุณสมบัตหิ รือองค์ประกอบในฌาน (องค์ฌาน)

ปฐมฌาน (ฌาน ๑) ทุติยฌาน (ฌาน ๒) ตติยฌาน (ฌาน ๓) จตุตถฌาน (ฌาน ๔)

๑.วิตก ๒.วิจาร ๓.ปิติ ๔.สุข ๕.เอกัคคตา ๑.ปิติ ๒.สุข ๓.เอกัคคตา ๑.สุข ๒.เอกัคคตา ๑.อุเบกขา ๒.เอกัคคตา

หมายเหตุ

สิ่งดี ๕ อย่างทีเ่ กิดขึ้น วิตก วิจาร หายไป ปิติ หายไป เปลี่ยนจากสุขเป็นอุเบกขา

๑.วิตก

การยกจิตขึ้นสู่สงิ่ ที่กำหนด (อารมณ์)

๒.วิจาร

การเอาจิตคลอเคล้าอยู่กับอารมณ์นั้น

๓.ปิติ

ความอิ่มใจ ความปลื้มใจ

๔.สุข

ความชื่นใจ คล่องใจ สะดวกใจ ไร้สิ่งบีบคั้นรบกวน

๕.เอกัคคตา

ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว หรือรวมจุดที่เดียวยอดเดียว ซึ่งก็คือ ตัวสมาธิ นั่นเอง ซึ่งจะเป็นตัวยืนโรงอยู่ในองค์ฌาน

หมายเหตุ

:

เอกัคคตา (สมาธิ) จะยืนโรง คุณสมบัติอื่นๆ จะลดหายไป ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว จะใช้เป็นตัวกำหนดระดับฌาน

๑๑๗

ความแตกต่างและความสัมพันธ์ ของปิติ กับ สุข

ปิติ สุข

ปลื้มใจ เป็นอาการตื่นเต้นโลดโผน (หยาบ) สะดวกใจ ไม่มีสิ่งบีบคั้นรบกวน สงบระงับลงไป (ละเอียด) ข้อแตกต่าง ๓ ประการ

๑. ปิติ เกิดก่อนสุข ๒. ปิติ เป็นความยินดีในการได้สิ่งที่ต้องการ หรืออารมณ์ที่ต้องการ (ยินดีเมื่อสมปรารถนา) ส่วนสุขเป็นความยินดีในการเสวยรสของอารมณ์ที่ได้มา (อภิรมย์สมใจ) ๓. ปิติ เป็นอาการพลุ่ง โลดแรง ฟูพอง (หยาบ) ส่วนสุขเป็นความสงบระงับ (ประณีต)

ตัวคั่นระหว่างปิติกับสุข ปิติ

ปัสสัทธิ

สุข

ความผ่อนคลาย ระงับลง ตัวอย่างปิติกับสุข เรื่องที่ ๑ ๑. ๒. ๓.

คนเดินทางมาในท่ามกลางภูมิภาคแห้งแล้ง แดดร้อน กระหายนํ้า ไปเจอคนบอกว่า เดินต่อไปข้างหน้าจะมีสระนํ้าใหญ่ จึงเกิดความหวังมีความดีใจ เดินไปถึงสระนํ้า ปลื้มใจยิ่งขึ้น ปิติ แรงขึ้น ได้ดื่มนํ้า อาบนํ้าในสระ สุข

ปิติ

๑๑๘

เรื่องที่ ๒ ๑. ๒. ๓.

คุณแม่ตามหาลูกที่หายไป มีคนแจ้งข่าวว่าพบลูก ปิติ ไปพบลูก ปิติ ยิ่งแรงขึ้น กอดลูก สุข

ในสภาพสังคมปัจจุบัน คนมีความเครียด ความทุกข์มาก ดังนั้นในพุทธศาสนา จึงให้ฝึกบังคับจิตให้เกิด ปิติ สุข ด้วยการฝึ กอานาปานสติ ซึ่งสภาพจิตเหล่านี้อาจ เรียกว่า จิตใจของชาวพุทธ ดังนั้นพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาแห่งความสุข บางคนอาจ มองพุทธศาสนาผิดไปว่า พูดแต่เรื่องทุกข์ แต่ในความเป็นจริงคือ สอนให้รู้เท่าทันทุกข์ แล้วฝึกเพื่อลดละทุกข์ แม้ยังละไม่หมด ก็ให้สร้างสุขขึ้นมา ๕ อย่าง ดังนี้

๑. ปราโมทย์

ความร่าเริง เบิกบานใจ

๒. ปิติ

ความอิ่มใจ ความปลื้มใจ

๓. ปัสสัทธิ

ความผ่อนคลาย ระงับลง

๔. สุข

ความชื่นใจ คล่องใจ สะดวกใจ ไร้สิ่งบีบคั้นรบกวน

๕. สมาธิ

ตั้งมั่น ผ่องใส นุ่มนวลควรแก่งาน

ไม่ติดในสุขข้างต้น ต้องก้าวหน้าไปในความประณีตยิ่งขึ้น คือเมื่อถึง ฌาน ๔ จะมีองค์ฌาน คือ อุเบกขา กับ เอกัคคตา จิตลงตัว ทุกอย่างเข้าที่สมบูรณ์ ก็เดินหน้าต่อไปในทางปัญญา คือรู้แจ้งสภาวะทั้งหลาย ตามความเป็นจริง สูอ่ ิสรภาพทางจิตใจ คือ มรรค ผล นิพพาน ในที่สุด

จบตอนที่ ๔๓-๔๕ ๔๕

๑๑๙

ตอนที่ ๔๖ - ๔๗ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ๒ ตอน ประมาณ ๔๐ นาที

ลำดับการปฏิบัตอิ านาปานสติ ๑๖ ขั้น และกายานุปัสสนา สติปัฏฐาน ทบทวนอานาปานสติ ๑๖ ขั้น จากตอนที่ ๔๒

ข้อสังเกต

ตามหลักการใหญ่ใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” เป็นการมองชีวิตจิตใจหรือเอาชีวิตจิตใจของตนเองมาเป็นข้อศึกษา เพื่อเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง ( ทบทวนมหาสติปัฏฐานสูตรจากตอนที่ ๓๒ - ๓๙ ) แต่ในที่นี้เราสามารถ นำการปฏิบัติจาก “อานาปานสติสูตร” มาปฏิบัติได้เลยให้ครอบคลุมทะลุไปเลยทั้ง ๔ ด้าน อย่างต่อเนื่องกัน คือ

“กาย

เวทนา

จิต

ธรรม”

การเตรียมตัว แต่ละสำนักปฏิบัติ อาจมีพธิ ีกรรมแตกต่างกันไป เป็นการเตรียมกายและใจให้พร้อมเท่านั้น (ไม่มใี นพระสูตรโดยตรง)

มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ตลอดเวลาที่หายใจเข้าออกระลึกรู้เห็นสภาพความเป็นจริงใน ชีวิตไปด้วยว่าอาจเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ (กาย,เวทนา,จิต,ธรรม)

๑๒๐

๑. กายานุปสั สนาฯ ระลึกนึกรู้เห็นสิ่งที่ปรุงแต่งสภาพกาย คือ ลมหายใจและฝึกให้มัน เป็นไปในทางที่ประณีตดีงาม เกิดผลดีแก่ชีวิตด้วย ๒. เวทนานุปัสสนาฯ ระลึกนึกรู้เห็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิตใจ คือ เวทนาและฝึกให้มีแต่เวทนา ที่ดีงามปรุงแต่งจิตใจให้ประณีตเกิดผลดี ๓. จิตตานุปสั สนาฯ ระลึกนึกรู้เห็นสภาพจิตใจของตนที่แท้จริงและฝึกให้เป็นสภาพจิตใจ ที่ดีงามเป็นไปในทางพัฒนา ๔. ธัมมานุปัสสนาฯ ระลึกนึกรู้เห็นสิ่งที่จิตใจรู้และรู้สึกนึกคิดและฝึกให้เข้าถึงความรู้แจ้งจริง จนประจักษ์ษแจ้จงอิสรภาพอย่ รภาพอยาางสมบรู งสมบูรณณ์ (นิพพาน)

ข้อสังเกต : หนังสือที่แตกต่างกัน บางเล่ม หายใจเข้าก่อนแล้วหายใจออก บางเล่ม แปลสลับกัน เป็นหายใจออกก่อนแล้วหายใจเข้า ที่มา คือ ฝ่ายวินัย แปล หายใจออกก่อน ส่วนฝ่ายพระสูตร แปล หายใจเข้าก่อน “อย่ายึดติดเป็นเรือ่ งสำคัญ”

หมวดแรกของอานาปานสติ ๑๖ ขัน้

กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน ๔ ขัน้

๑. ๒. ๓. ๔.

หายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หายใจเข้าสัน้ ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสัน้ ศึกษาว่า จักรู้ทั่วกายทั้งหมด หายใจเข้า ศึกษาว่า จักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจเข้า

หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น ศึกษาว่า จักรูท้ ั่วกายทั้งหมด หายใจออก ศึกษาว่า จักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจออก

๑๒๑

เกริน่ นำเกีย่ วกับอานาปานสติ ผู้เริ่มปฏิบัติอาจใช้เทคนิคของครูบาอาจารย์รุ่นหลังๆ (เทคนิคเหล่านี้ไม่มีในพระไตรปิฎก) เช่น นับเลข , ท่องคำว่า “พุทโธ” หรือคำอื่นๆก็ได้ที่มีความหมายดีๆ (คำบริกรรม = พูดในใจ) มาท่องในใจ ขณะกำหนดสติตาม ลมหายใจเข้าออกไปด้วยก็ได้ เพื่อให้จิตเกิดสมาธิได้ดีขึ้น

เมื่อจิตเริ่มเป็นสมาธิ จะเริ่มเกิดนิมิต ซึ่งเป็นภาพจำลอง เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต” ซึ่งภาพนิมิตของแต่ละ คนอาจแตกต่างกันไปหลากหลาย เช่น เป็นภาพปุยนุ่น ปุยฝ้าย สายลม เปลวควัน ใยแมงมุม แผ่นเมฆ ล้อรถ วงพระจันทร์ เป็นต้น ขณะนี้จิตเป็นสมาธิขั้นจวนเจียน คือ “อุปจารสมาธิ”

ทีนี้ย้ายจากการกำหนดสติที่ลมหายใจมาอยู่กับนิมิต จนเกิดเป็นสมาธิขั้นแนบแน่น คือ “อัปปนาสมาธิ” ที่เรียกว่าได้ “ฌาน” แล้วก็จะได้นำ “ปิติและสุข” ที่เกิดในฌานนั้น ไปใช้พิจารณาในขั้นเวทนานุปัสสนาฯ ต่อไป แม้ไม่ถึงฌานก็ใช้ปิติและสุขที่ได้มาใช้พิจารณาได้

อธิบายแต่ละขั้นของกายานุปัสสนา สติปัฏฐาน

ขั้นที่ ๑

หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว

ก็รู้ชัดว่า ก็รู้ชัดว่า

หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว

ขั้นที่ ๒

หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น

ก็รู้ชัดว่า ก็รู้ชัดว่า

หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น

๑๒๒

ใน ๒ ขั้นต้นนี้ เป็นเรื่องของการกำหนดรู้ลมหายใจโดยตรง ตามที่ลมหายใจปรากฏ ยังไม่มีการฝึกหรือบังคับให้เป็นไป

ขั้นที่ ๓

ศึกษาว่า ศึกษาว่า

จักรู้ทั่วกายทั้งหมด จักรู้ทั่วกายทั้งหมด

หายใจเข้า หายใจออก

ในขั้นที่ ๓ นี้ เป็นการฝึกขณะหายใจเข้าออกให้รู้ชัดกายทั้งหมดซึ่งประกอบด้วย กายส่วนย่อย อันหมายถึง ลมหายใจ และกายส่วนรวม อันหมายถึง ร่างกายทั้งหมด ว่ามีความสัมพันธ์กัน

ขั้นที่ ๔

ศึกษาว่า ศึกษาว่า

จักผ่อนระงับกายสังขาร จักผ่อนระงับกายสังขาร

หายใจเข้า หายใจออก

ในขั้นที่ ๔ นี้ เป็นขั้นต่อเนื่องมาจากขั้นที่ ๓ (รู้ความสัมพันธ์ของกายส่วนย่อยกับกายส่วนรวม) ว่าถ้าลมหายใจหยาบ กายก็หยาบ ลมหายใจละเอียดประณีต กายก็ประณีต ดังนั้นในขั้นที่ ๔ นี้ เป็นการ ฝึกบังคับลมหายใจให้ละเอียดอ่อนประณีตขึ้น โดยให้เป็นไปตามต้องการอย่างชำนาญ

จบตอนที่ ๔๖ - ๔๗

๑๒๓

ตอนที่ ๔๘ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๑ นาที

หมวดที่สองของอานาปาสติ ๑๖ ขั้น เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน ๔ ขั้น

๕. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๖. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๗. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๘. ศึกษาว่า ศึกษาว่า

จักรู้ชัดปิติ จักรู้ชัดปิติ จักรู้ชัดสุข จักรู้ชัดสุข จักรู้ชัดจิตตสังขาร จักรู้ชัดจิตตสังขาร จักผ่อนระงับจิตตสังขาร จักผ่อนระงับจิตตสังขาร

หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก

เมื่อเราปฏิบัติ อานาปานสติก้าวหน้าขึ้น จนถึงระดับฌานก็จะเกิดองค์ฌาน คือ ปิตแิ ละสุข หรืออาจไม่ถึงขัน้ ฌาน แต่มีปิติและสุข เกิดขึ้นจากการปฏิบัตินั้น

ในขั้นที่ ๕ และ ๖ ก็เป็นการฝึกหรือศึกษาเพื่อให้รู้ชัดในปิติและสุขที่เกิดขึ้นนั้น โดยนำมาเป็น วัตถุหรืออารมณ์พิจารณา เป็นขั้นที่ต่อเนื่องมาจากขั้นที่ ๔ ของหมวดแรกคือ กายานุปัสสนาฯ โดยเมื่อ ผ่อนระงับกายสังขารแล้ว ปิติก็เกิดขึ้นจึงโยงเข้าสู่หมวดที่สอง คือ เวทนานุปัสสนาฯ คือ นำปิติที่เกิดขึ้น นั้นมาพิจารณาในขั้นที่ ๕ ต่อจากปิติก็เป็นเรื่องของสุข ก็พิจารณาต่อเนื่องกันไปในขั้นที่ ๖

๑๒๔

ในขั้นที่ ๗ นี้ ก็ศึกษาเพื่อให้รู้ชัดในจิตตสังขาร คือ การปรุงแต่งจิตซึ่งดังที่เคยกล่าวแล้วว่า ตัวที่ปรุงแต่งจิตก็คือ เวทนาในที่นี้ก็คือ ปิติและสุข ดังนั้นในขั้นนี้ก็เป็นการรู้ชัดสภาพความเป็นไปของ เวทนา (ปิ ติ แ ละสุ ข ) รู ้ อ าการ รู ้ ร สของมั น ว่ า มั น มี อ ำนาจ มี อิ ท ธิ พ ลในการปรุ ง แต่ ง จิ ต อย่ า งไร มีคุณมีโทษอย่างไร คือรู้ว่ามันยังเป็นของหยาบ และกีดกั้นไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปได้ โดยศึกษาให้รู้ชัดอย่างนี้ จนจัดเจนชำนาญแล้วก็ก้าวไปสู่ขั้นที่ ๘ ต่อไป

ในขั้นที่ ๘ นี้ ก็เป็นการฝึกบังคับควบคุมเวทนา (ปิติและสุข) ให้ละเอียดอ่อน ให้พอเหมาะพอดี เอื้อต่อการปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไป

จบตอนที่ ๔๘

๑๒๕

ตอนที่ ๔๙ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาน ๑๕ นาที

หมวดที่สามของอานาปานสติ ๑๖ ขั้น จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน ๔ ขั้น

๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒.

ศึกษาว่า ศึกษาว่า ศึกษาว่า ศึกษาว่า ศึกษาว่า ศึกษาว่า ศึกษาว่า ศึกษาว่า

จักรู้ชัดจิต จักรู้ชัดจิต จักทำจิตให้บันเทิง จักทำจิตให้บันเทิง จักตั้งจิตมั่น จักตั้งจิตมั่น จักเปลื้องจิต จักเปลื้องจิต

หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก

ในขั้นที่ ๙ เป็นการฝึกรู้ชัดภาวะจิตตามที่เป็นอยู่ ว่าเป็นอย่างไร เช่น ในภาวะจิต ๘ คู่ ๑๖ ภาวะ (ทบทวนจิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร ตอนที่ ๓๔)

๑๒๖

ในขั้นที่ ๑๐ ฝึกควบคุมบังคับจิตใจให้อยู่ในสภาพที่ดี (ปราโมทย์) ซึ่งเป็นต้นทางของสุขภาพจิต ที่ดอี ีกหลายอย่าง คือ ปิติ , ปัสสัทธิ , สุข , สมาธิ

ในขั้นที่ ๑๑ ฝึกควบคุมบังคับจิตใจให้ตั้งมั่น (สมาธิ) คือ อยูใ่ นสภาพสงบ นุ่มนวล ควรแก่งาน

ในขั้นที่ ๑๒ ฝึกการปล่อยวาง เพื่อให้จิตเป็นอิสรภาพจากสิ่งยึดถือทั้งหลาย

จบตอนที่ ๔๙

๑๒๗

ตอนที่ ๕๐ เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๑๓ นาที

หมวดที่สี่ของอานาปานสติ ๑๖ ขั้น ธัมมานุปสั สนา สติปฏั ฐาน ๔ ขัน้

๑๓. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๑๔. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๑๕. ศึกษาว่า ศึกษาว่า ๑๖. ศึกษาว่า ศึกษาว่า

จักตามเห็นความไม่เที่ยง จักตามเห็นความไม่เที่ยง จักตามเห็นความคลายออก จักตามเห็นความคลายออก จักตามเห็นความดับไป จักตามเห็นความดับไป จักตามเห็นความสลัดคืน จักตามเห็นความสลัดคืน

หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก

เป็นการตามดูสภาพความเป็นจริงสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจ

ในขั้ น ที่ ๑๓ เป็ น การตามเห็ น การเกิ ด และการดั บนั้ น คื อ เห็ น อนิ จ จั ง จากนั้ น ก็ เห็ น ทุกขัง และ อนัตตา ตามไปด้วย คือ เห็น “ไตรลักษณ์”

๑๒๘

ในขั้ น ที่ ๑๔ เป็ น การตามเห็ น ”ความคลายออก” คื อ เมื่ อ เห็ น ไตรลั ก ษณ์ จิตก็พร้อมที่จะคลายออกจากความยึดติดถือมั่นต่างๆ ค่อยๆจางคลายไป

ในขั้นที่ ๑๕ เป็นการตามเห็ น ความดับหมด คือ เมื่อจางคลายจนหมดของ สภาพความยึดติดถือมั่นต่างๆ ก็ “เห็นความดับหมดไปของกิเลส”

ในขั้ น ที่ ๑๖ เป็ น การตามเห็ น ”ความสลั ด คื น ” คื อ เมื่ อ กิ เ ลสคลายออกไป ในขั้นที่ ๑๔ จนดับหมดในขั้นที่ ๑๕ ในขั้นที่ ๑๖ นี้ก็ลอยตัวเป็นอิสระ (ความสลัดคืน) เป็นอิสรภาพที่แท้จริง (นิพพาน)

ข้อสังเกต

การบังคับจิตให้หลุดพ้น มีตั้งแต่ขั้นสุดท้ายของ “จิตตานุปัสสนาฯ” (๑๒. ศึกษาว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า/หายใจออก) และพัฒนามาเรื่อยๆจนหลุดพ้นสิ้นเชิงในขั้นสุดท้ายของ “ธัมมานุปสั สนาฯ” (๑๖. ศึกษาว่า จักตามเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า/หายใจออก)

จบตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

๑๒๙

เวลาที่ใช้ในการบรรยายจากต้นฉบับ ประมาณ ๒๒ นาที

ความสำเร็จของการปฏิบัติ อานาปานสติ บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตติ บริบรู ณ์ (บรรลุนิพพาน)

ข้อสังเกต : ขยายความองค์ธรรมโพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ โพชฌงค์ คือ องค์ธรรมที่ทำให้เกิดการตรัสรู้โดยองค์ธรรม ในโพชฌงค์ ๗ จะมาประชุมพร้อมกัน ๑. เริ่มจากสติในสติปัฏฐานจะกลายเป็น “สติสัมโพชฌงค์” ๒. ถัดจากนั้นก็เป็นตัวปัญญา คือ “ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ” ตามด้วยความเพียร คือ “วิริยสัมโพชฌงค์ ” เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงมากขึ้นที่จะก้าวหน้าไปในการกำจัดอกุศลต่างๆ มุง่ กระทำกุศลและรักษาไว้ ษาไวใให้หบบริริบบรููรณณ์ ๓. ปิติความอิ่มใจที่มีอยู่แล้ว ก็จะกลายเป็น “ปิติสัมโพชฌงค์” ช่วยหล่อเลี้ยงการทำงานของจิตใจให้ได้ผลดี จากนั้ น ความผ่ อ นคลายระงั บ ก็ ต ามมา คื อ “ปั ส สั ท ธิ สั ม โพชฌงค์ ” เกิ ด สุ ข ตามมาและนำสู ่ ส มาธิ คือ “สมาธิสัมโพชฌงค์” ต่อจากนั้นก็เกิด “อุเบกขาสัมโพชฌงค์” ทุกอย่างลงตัว กำลังก้าวสู่เป้าหมาย ๔. เมื่อสภาพจิต ครบองค์ของโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ สมบู ร ณ์แล้ว นิวรณ์ ๕ จะถูก ขจัดโดยเด็ดขาด (ส่วนฌานเพียงกดข่มนิวรณ์ ๕ ไว้ได้เพียงชั่วคราว) จากนั้น วิชชาและวิมุตติ จึงบริบูรณ์ บรรลุ มรรค ผล นิพพาน

๑๓๐

วิชชา

ปัญญาที่รู้เข้าใจแจ่มแจ้งโลกและชีวิตตามความเป็นจริง (รู้แจ้งอริยสัจ ๔)

วิมุตติ

เมื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ จึงหลุดพ้นจากกิเลส บรรลุ มรรค ผล นิพพาน

จบตอนที่ ๕๑

เพิ่มเติมโดยผู้รวบรวม

๑๓๑

รายละเอียดของอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องนำไปปฏิบัติให้เป็นวิถชี ีวิต

ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ มี ๘ ประการ องค์ที่ ๑ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) มีความรู้ความเข้าใจถูกต้องในอริยสัจ ๔ อย่างชัดเจน คือ รู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้มรรค เป็นเพียงขั้นรู้เข้าใจในอริยสัจ ๔ (ปัญญาเบื้องต้น) ยังไม่ใช่ขั้นรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ (ปัญญาขั้นสูงสุดสู่นิพพาน) ซึ่งสัมมาทิฏฐินี้ต้องเกิดขึ้นก่อน จึงจะทำให้มรรคอีก ๗ องค์ที่เหลือเป็นสัมมามรรค (สัมมา = ชอบ,ถูกต้อง) ทั้งหมด เพื่อก้าวไปสู่นิพพาน แต่ถ้าสัมมาทิฏฐิยังไม่เกิด แต่เกิดมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) มรรคอีก ๗ องค์ก็จะเป็นมิจฉามรรคทั้งหมด ย่อมก้าวไปสู่นิพพานไม่ได้

ทำความเข้าใจอริยสัจ ๔ ๑. ทุกข์ ประกอบด้วยภาวะเหล่านี้ คือ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ มีความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น กล่าวโดยสรุป ความยึดมั่นในร่างกายและจิตใจ (ขันธ์ ๕) ว่าเป็นตน นั่นแหละเป็นทุกข์ (อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์) ๒. สมุทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์ ถ้าตรัสโดยย่อเมื่อครั้งแสดงปฐมเทศนาให้ปัญจวัคคีย์ฟังทรงยกตัณหา คือ ความอยากทั้ง ๓ ประการ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (ถ้าตรัสโดยละเอียดในปฏิจจสมุปบาท ก็ต้องเริ่มที่ อวิชชา (ความไม่รู้แจ้งอริยสัจ ๔) เป็นเหตุให้เกิดทุกข์) , ตัณหา ๓ ประกอบด้วย ๑) กามตัณหา ความอยากในกามคุณห้า คือ รูป , เสียง , กลิ่น , รส และโผฏฐัพพะ (สิ่งสัมผัสกาย) อันน่าเพลิดเพลินหลงใหล ๒) ภวตัณหา ความอยากในความมี ความเป็น เช่น อยากหล่อ สวย รวย เก่ง มีตำแหน่ง หน้าที่ การงานอันทรงเกียรติ มีคนนับหน้าถือตา เป็นต้น ๓) วิภวตัณหา ความอยากในความไม่มี ไม่เป็น หรือไม่อยากมีไม่อยากเป็น เช่น ขี้เหร่ พิการ ขี้โรค ยากจน โง่เขลา ไม่มียศ ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีคนนับหน้าถือตา รวมทั้งอยากตาย เมื่อต้องประสบ ภาวะดังกล่าว หรือความล้มเหลวในชีวิต เป็นต้น

๑๓๒

๓.นิโรธ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ก็คือ ภาวะที่ ตัณหา๓ ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ หรือเรียกว่า นิพพาน ๔.มรรค คื อ ทางดำเนิ น ให้ ถึ ง ความดั บ ไม่ เ หลื อ แห่ ง ทุ ก ข์ ประกอบด้ ว ย อริ ย มรรคมี อ งค์ ๘ หรื อ เรี ย กสั้ น ๆว่ า มรรคมีองค์ ๘ หรือเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) (โปรดทบทวนอริยมรรคมีองค์ ๘)

องค์ ที่ ๒ สั ม มาสั ง กั ป ปะ (ความดำริ ช อบ) คื อ มี ค วามดำริ หรื อ ตั้ ง ความปรารถนาในการดำเนิ น ชี วิ ต ไว้ ๓ ประการ คือ ๑) ออกจากกาม (ไม่ตกเป็นทาสของกามคุณห้า) ๒) ไม่มงุ่ ร้าย (ไม่อาฆาตพยาบาท) ๓) ไม่เบียดเบียน

องค์ที่ ๓ สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) เว้นวจีทุจริต ๔ = วจีสุจริต ๔ ประกอบด้วย ๑) เว้นจากการพูดไม่จริง ๒) เว้นจากการพูดส่อเสียด(เว้นพูดยุยงให้แตกความสามัคคี) ๓) เว้นจากการพูดหยาบ ๔) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ (เว้นพูดสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ไม่เป็นประโยชน์)

องค์ที่ ๔ สัมมากัมมันตะ(การทำการงานชอบ) เว้นกายทุจริต๓ = กายสุจริต๓ ประกอบด้วย ๑) เว้นจากการฆ่า ๒) เว้นจากการถือเอาสิ่งของ ทีเ่ จ้าของยังไม่ได้ให้ ๓) เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย (ไม่ละเมิดของรักของผู้อื่น)

๑๓๓

องค์ ที่ ๕ สั ม มาอาชี ว ะ (การเลี้ ย งชี วิ ต ชอบ) เลี้ ย งชี วิ ต ด้ ว ยอาชี พ สุ จ ริ ต ถู ก ต้ อ งตามทำนองคลองธรรม (เพิ่มเติมโดยผู้รวบรวม พุทธศาสนิกชนควรศึกษาเรื่อง มิจฉาวณิชชา ประกอบด้วย) มิจฉาวณิชชา การค้าขายไม่ชอบธรรม, การค้าขายที่ผิดศีลธรรม หมายถึง อกรณียวณิชชา (การค้าขายที่อุบาสก ไม่ควรทำ) ๕ อย่าง คือ ๑) สัตถวณิชชา ค้าอาวุธ ๒) สัตตวณิชชา ค้ามนุษย์ ๓) มังสวณิชชา ค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร ๔) มัชชวณิชชา ค้าของเมา ๕) วิสวณิชชา ค้ายาพิษ (ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต) (พิมพ์ครั้งที่๓๑) พ.ศ.๒๕๖๑ , หน้า๓๔๗)

องค์ ที่ ๖ สั ม มาวายามะ(ความพากเพี ย รชอบ) มี ค วามเพี ย รสมบู ร ณ์ แ บบ ๔ ประการ ที่ เ รี ย กว่ า สัมมัปปธาน ๔ คือ เพียรเกี่ยวกับอกุศลและกุศล ดังนี้ ก) ด้านอกุศล ๑) เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขี้น (สังวรปธาน : กัน) ๒) เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน : แก้) ข) ด้านกุศล ๓) เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น (ภาวนาปธาน : ก่อ) ๔) เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป และให้เพิ่มไพบูลย์ (อนุรักขนาปธาน : เก็บ) สรุป กัน - แก้ - ก่อ - เก็บ

๑๓๔

๑) ๒) ๓) ๔)

องค์ที่ ๗ สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตามดูรู้ทัน กายในกาย เวทนาในเวทนาทั้งหลาย จิตในจิต ธรรมในธรรมทั้งหลาย เรียกสั้นๆว่า มีสติตามดูรู้ทันใน กาย-เวทนา-จิต-ธรรม อยู่เนืองๆ เห็นเป็นเพียง รูปนาม (ทบทวนมหาสติปัฏฐานสูตร)

องค์ที่ ๘ สัมมาสมาธิ (ความตั้ งใจมั่นชอบ) เจริ ญสมาธิจนถึงระดับแนบแน่น (อัป ปนาสมาธิ) ที่เรียกว่า ได้ฌาน ในที่นี้ คือ รูปฌาน ๔ (ทบทวนรูปฌาน ๔)

๑๓๕

โยนิโสมนสิการ พิ จารณาโดยละเอียดลึกซึ้งแยบคาย จนรู ้และเข้าใจความจริ งตามธรรมชาติ ทั้ง ๔ ประการอย่างชัดเจน (ทุ ก ข์ , สมุ ทั ย , นิ โ รธ , มรรค) เกิ ด เป็ น สั ม มาทิ ฏ ฐิ ซึ่ ง เปรี ย บเสมื อ นหั ว รถจั ก รที่ จ ะลากจู ง อี ก ๗ โบกี้ (มรรคองค์ที่ ๒-๘) ไปถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการในที่สุด (นิพพาน) จากนั้นนำมรรคทั้ง ๘ องค์ ไปประพฤติ ปฏิบัติ อยู ่ในชีวิต ประจำวันนั่นเอง จนก้าวหน้าเกิดปัญญาประณี ต ขึ้ นไปเป็นลำดับ กระทั่งเกิดปัญญาสูงสุด คือ รู ้ แ จ้ ง แทงตลอดในอริยสั จ ๔ อวิ ช ชา จึ ง ดั บ สนิ ท อาสวะกิ เ ลสทั้ ง ปวงจึง ดั บ สนิ ท สู่ ป ั ญ ญา คื อ อาสวั ก ขยญาณ หรือสู่ภาวะนิพพาน พระพุทธองค์จึงทรงอุปมาสัมมาทิฏฐิว่าดุจแสงเงินแสงทองหรือรุ่งอรุณแห่งนิพพาน “ประตูสู่นิพพาน” ขอทุกท่านจงเกิด สัมมาทิฏฐิ เป็นเบื้องต้นก้าวล่วงมิจฉาทิฏฐิทั้งปวง นำปริ ยั ติ ธรรมตามที่องค์บรรยาย ได้บรรยายไว้ทั้ง ๕๑ ตอนไปลงมือปฏิบัติ (ภาวนา) เพื่อพัฒนาจิต (จิตภาวนา) และพัฒนาปัญญา (ปัญญาภาวนา) โดยมี ท าน และศี ล อั น บริ สุ ท ธิ์ เป็ น พื้ น ฐานที่ มั่ น คงรองรั บ การพั ฒ นาดั ง กล่ า วข้ า งต้ น เพื่ อ ก้ า วสู่ ป ั ญ ญา คื อ อาสวักขยญาณ กระทำนิพพานให้แจ้งได้ในที่สุดเทอญ

จบบริบูรณ์ ผู้รวบรวม ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

๑๓๖

เพิ่ ม เติ ม พิ เ ศษ : ผู ้ ร วบรวมได้ พ บบทความของ พลเรื อ ตรี ท องย้ อ ย แสงสิ น ชั ย ในเฟสบุ ๊ ค ซึ่ ง เขี ย นไว้ เมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเขียนเรื่องที่ชาวพุทธควรทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ๓ เรื่ อง คือ ๑) สังฆทาน ๒) ธุดงค์ ๓) การปฏิบัติธรรม ซึ่งมีสาระ และมีประโยชน์ ผู้รวบรวมจึงยกเฉพาะเรื่องที่ ๓ คือ การปฏิบัติธรรม มาให้กัลยาณมิตรทุกท่านได้อ่าน และพิจารณาต่อไป ขออนุโมทนากับเจ้าของบทความ และกัลยาณมิตรทุกท่านครับ.

เรื่อง การปฏิบัตธิ รรม คนไทยเข้ า ใจว่ า “ปฏิ บั ติ ธ รรม” ก็ คื อ ต้ อ งไปที่ วั ด หรื อ สำนั ก ที่ มี กิ จ กรรมปฏิ บั ติ ธ รรม แต่ ง ชุ ด ขาว กินตามเวลา นอนตามเวลา ปฏิบัติกิจต่างๆ ตามวิธีและตามรูปแบบที่วัดหรือสำนักนั้นกำหนด ๓ วัน ๕ วัน หรือ ๗ วัน หรือกี่วันก็แล้วแต่ ครบกำหนดแล้วก็กลับบ้านได้ แล้วก็เข้าใจว่า แบบนั้นแหละคือ “ปฏิบัติธรรม” ปฏิบัติธรรมที่คนไทยเข้าใจ คือ แบ่งเวลาออกจากชีวิตประจำวัน ข้อเท็จจริง : ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา คือปฏิบัติอยู่ในชีวิตจริงชีวิตประจำวัน กล่าวโดยรวบยอด คือ ทำพูดคิดทุกอย่างโดยมีสติกำกับจิตตลอดเวลา รู้เท่าทันสภาวะต่างๆ ตามความเป็นจริง จะแต่งชุดขาวหรือไม่ขาวก็ ปฏิบัติได้ จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ก็ปฏิบัติได้ เมื่อฝึกจนรู้วิธีปฏิบัติแล้ว ➢ ขออธิบายเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้ ปฏิบัติธรรมตามวัด หรือตามสำนัก ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน นั่นคือ แบบฝึกเพื่อให้รู้วิธีปฏิบัติ แบบฝึกเป็น สิ่งจำเป็น ต้องฝึกทำให้ถูก แต่เมื่อทำถูกทำเป็นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปทำแบบฝึกอีก หากแต่ทำจริงๆ ในชีวิตจริง กันเลย และไม่ต้องแยกออกจากชีวิตประจำวัน ปฏิบัติได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ในชีวิตประจำวัน แบบฝึกเหมือน ห่วงยาง จำเป็นสำหรับคนที่ยังว่ายนํ้าไม่เป็น ว่ายนํ้าเป็นแล้ว ไม่ต้องใช้ห่วงยาง คนไทยปฏิบัติธรรมเหมือนคนที่ยัง ว่ายนํ้าไม่เป็นตลอดกาล หัดว่ายนํ้าเพื่อจะได้ว่ายนํ้าเป็น ไม่ใช่หัดว่ายนํ้าตลอดชีวิต กิจกรรมปฏิบัติธรรม ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน ยังจำเป็นต้องมี เพราะคนที่ไม่รู้วิธีปฏิบัติธรรมยังมีอยู่ อุปมาเหมือนวิธีหัดว่ายนํ้า ไม่ว่าจะหัด หรือ สอนด้วยวิธีใดๆ ยังจำเป็นต้องมีเพื่อฝึกสอนคนที่ว่ายนํ้าไม่เป็นให้ว่ายนํ้าเป็น แต่ต้องมีเป้าหมายที่สอนให้ว่ายนํ้าเป็น แล้วไม่ต้องมาหัดว่ายนํ้าอีก ไปว่ายจริงๆ เลย กิจกรรมปฏิบัติธรรม ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน ยังจำเป็นต้องมี เพื่อฝึกสอนคนที่ยังปฏิบัติไม่เป็นให้ปฏิบัติเป็น แต่ต้องมีเป้าหมายที่สอนให้ปฏิบัติเป็นแล้วไม่ต้องมาฝึกปฏิบัติอีก ไปปฏิบัติจริงๆ ได้เลย

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.