ขุนนางและชาวต่างชาติ Flipbook PDF

ขุนนางและชาวต่างชาติ

39 downloads 122 Views

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

ขุนนางและชาวต่างชาติ ที่มีบทบาทในการ สร้างสรรค์ชาติไทย

-คำนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาประวัติศาตร์

(ส.31112) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คณะผู้จัดทำจัดทำขึ้นเพื่อให้ได้ศึกษาและแสวงหา

ความรู้เรื่องขุนนางและชาวต่างชาติที่มีบทบาทในการสร้างสรรค์ชาติไทย โดย

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ประวัติและผลงาน ของขุนนางและ

ชาวต่างชาติที่มีบทบาทในการสร้างสรรค์ชาติไทย คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะเป็นประโยชน์

แก่ผู้อ่าน คุณครู นักเรียน หรือผู้ที่กำลังศึกษาหรือมีความสนใจในเรื่องนี้ หาก

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้มีข้อเสนอแนะหรือข้อผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้

จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ คณะผู้จัดทำ

-สารบัญออกญาโกษาธิบดี(ปาน) ลาลูแบร์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ หมอบลัดเลย์ (ดร.แดน บีช บรัดเลย์) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบิ๊ ณ ระนอง) พระยากัลยาณไมตรี (ดร.ฟรานซิส บี. แซร์) ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

หน้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9

ออกญาโกษาธิบดี(ปาน)

01

ประวัติ ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) เดิมชื่อ ปาน เมื่ออายุ 20 ปี ได้เข้า รับราชการเป็นขุนนางในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลังจากนั้น 15 ปี ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นออกญาพระวิสุทธ สุนทร(ปาน) ได้เป็นหัวหน้าคณะทูตเดินทาง ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ใน พ.ศ.2229 ช่วยให้ความ สัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศสมีความใกล้ชิดและความเข้าใจ ต่อกันมากขึ้น

ผลงานสำคัญ

ด้านการต่างประเทศ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2229 ได้นำคณะทูตของไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระรา ชวังแวร์ซาย จนถึงได้รับคำยกย่องจากชาวฝรั่งเศสว่าเป็นทูตที่มีกิริยาท่าทางกิริยาท่าทางและ วาจาที่งดงาม การเดินทางไปสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสช่วยสร้างความสัมพันธ์ไทยกับฝรั่งเศสให้ แน่นแฟ้นขึ้นเป็นผลดีต่อการป้องกันการคุกคามของฮอลันดา ภายหลังได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาคลัง

ลาลูแบร์ ประวัติ ลาลูแบร์ หรือ ซิมง เดอ ลา ลูแบร์เป็น ชาว ฝรั่งเศสที่ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะราชทูต ฝรั่งเศสเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.2230 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเจรจาเกี่ยวกับศาสนาและการค้าของฝรั่งเศส ในอยุธยา

ผลงานสำคัญ ด้านการค้า

เป็นผู้แทนฝรั่งเศสในการเจรจากับอยุธยาเพื่อการ ค้าของฝรั่งเศส โดยลงนามในสัญญาการค้าที่เมือง ลพบุรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2230 ลาลูแบร์กลับ ไปฝรั่งเศสในเดือนมกราคม พ.ศ.2231 ฝรั่งเศสพอใจ กับสัญญาฉบับนี้มากแต่ไม่มีโอกาสได้ปฎิบัติเนื่องจา กอยุธากวาดล้างอำนาจและอิทธิพลของฝรั่งเศสเสีย ก่อน นอกจากจะเป็นหัวหน้าคณะทูตแล้ว เขายังได้รับคำสั่ง ให้สังเกตเรื่องราวต่างๆในอยุธยาเพื่อรายงานให้ราช สำนักฝรั่งเศส จากนั้นบันทึกเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นหลัก ฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าต่อการศึกษา ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา และมีการแปลออกมา เป็นภาษาไทยที่มีชื่อว่า จดหมายเหตุลาลูแบร์ ทำให้นัก ประวัติศาสตร์ได้รับรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอยุธยา ในสายตาชาวต่างชาติ

02

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

03

ประวัติ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เกิดเมื่อพ.ศ.2351 ในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นบุตรของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ได้เข้ารับราชการแผ่น ดินตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2-5 ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับชาติ ไทยนานัปการในด้านต่างๆ

ผลงานสำคัญ ด้านการเมือง

ด้านการต่างประเทศ มีส่วนร่วมในการเจรจาทำสัญญาการ ค้าและไมตรีกับประเทศมหาอำนาจตะวัน ตกเป็นผลสำเร็จ ด้านประเพณี เป็นผู้ริเริ่มประเพณีการทำบุญวันเกิด เป็นครั้งแรก ซึ่งได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนพระองค์จะเสด็จสวรรคต ได้ทรงมอบหน้าที่ รักษาแผ่นดินให้แก่เจ้าพระยาสุริยวงศ์ เมื่อสวรรคต ได้อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ขณะที่พระชนมายุ เพียง 14 พรรษา โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ เจ้าพระยาสุริยวงศ์ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ แผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวจะทรงชนมายุครบ 20 พรรษา ภายหลังเจ้าพระยาสุริยวงศ์พ้นจากตำแหน่ง ก็ทรงโปรดเกล้าฯ เลื่อนให้ขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ และยังเป็นผู้ตรากฏหมายลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่ง เป็นกฏหมายสำคัญที่ช่วยมิให้คนต้องกลายเป็นทาส และมีการออกกฏหมายพยานเมื่อ พ.ศ.2413 เพื่อ ป้องกันมิให้ถ่วงคดี

04

หม่อมราโชทัย ประวัติ หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่ายอิศรางกูร เกิดเมื่อ พ.ศ.2362 เป็นโอรสของกรมหมื่นเทวานุรักษ์ ได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงและได้เรียนภาษาอังกฤษจนได้ ดำรงตำแหน่งล่ามหลวงประจำคณะทูตไทยที่ไปเจริญ พระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก และดำรง ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลต่างประเทศเป็นคนแรก

ด้านการต่างประเทศ ได้ดำรงตำแหน่งล่ามหลวงประจำคณะทูตไทยไป เจริญสัมพันธไมตรีกับอังกฤษในรัชกาลที่ 4 ก่อให้ เกิดผลดีกับการต่างประเทศ ด้วยความสามารถด้าน ภาษาอังกฤษทำให้สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียสน พระทัยว่าเรียนภาษาอังกฤษมาจากที่ใด จึงสามารถใช้ ภาษาอังกฤษได้ดีเช่นนี้ ด้านวรรณกรรม หลังจากเดินทางกลับจากอังกฤษ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายบันทึก จดหมายเหตุเรื่องราชทูตไทยไป ลอนดอน แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้ แต่งกวีนิพนธ์เรื่อง นิราศลอนดอน และถูกตีพิมพ์ ในพ.ศ.2402 ภายหลังหมอบรัดเลย์ได้ซื้อกรรมสิทธิ์ หนังสือนิราศลอนดอนจากหม่อมราโชทัย นับว่า เป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์ครั้งแรกในไทย ด้านการศาล ใน พ.ศ.2401 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลต่างประเทศ อัน เกี่ยวข้องกับคดีความของชาวต่างชาติเป็นคนแรก

ผลงานสำคัญ

05

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ ประวัติ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ หรือ ฌัง บัปติสต์ ปาลเลอกัวซ์

เป็นบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมาเผยแผ่คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศ เมื่อ พ.ศ.2372 ต่อมาได้รับ ศาสนศักดิ์เป็นมุขนายกมิซซังแห่งมัลโลส์ โดยแบ่งเขตปกครอง คณะมิซซังในไทยกับมงเซาญอร์ กูรเวชี ต่อมาในพ.ศ.2385 จึงได้ปกครองคณะมิซซังในประเทศไทย เพียงผู้เดียว และยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศไทยกับสำนักวาติกันที่กรุงโรม กับราชสำนักของ ฝรั่งเศส

ผลงานสำคัญ ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์กลับฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาฝาก บาทหลวงถวายพระสันตะปาปาปิโอที่ 9 เมื่อบาทหลวง ปาลเลอกัวซ์กลับประเทศไทยก็ได้นำสาส์นของ พระสันตะปาปาปิโอที่ 9 ทูลถวาย นอกจากนี้ ยังได้อนุญาตให้บาทหลวงลูวิสเป็นล่ามของ คณะทูตไทยเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการ เจริญพระราชไมตรีแด่จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ณ กรุงปารีส ด้านวรรณกรรม บาทหลวงปาลเลอกัวซ์เป็นผู้สนใจขนบธรรมเนียมประเพณี ไทย จึงได้เขียนหนังสือ Description du Royaume Thai ou Siam หรือ เล่าเรื่องกรุงสยาม เป็นหนังสือว่าด้วย เมืองไทยโดยเขียนออกเป็นภาษาต่างประเทศหลายเล่ม และได้จัดทำพจนานุกรมสี่ภาษา สัพะ พะจะนะ พาสาไท ได้แก่ ภาษาไทย ฝรั่งเศส อังกฤษ ละติน

หมอบรัดเลย์

06

ประวัติ หมอบรัดเลย์ หรือ ดร.แดน บีช บรัดเลย์ เป็นหัวหน้าคณะมิชชันนารีรุ่นที่ 3 จาก สหรัฐอเมริกาที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ และยังเป็นผู้นำวิทยาการสมัยใหม่มาเผยแพร่ใน ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2378 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

ผลงานสำคัญ ด้านการพิมพ์ ในปี พ.ศ.2389 ได้คิดหล่อตัวพิมพ์อักษรไทย และยังได้ออกหนังสือพิมพ์รายเดือนบางกอกรีคอร์เดอร์ นับเป็น หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย ใน พ.ศ.2397 ได้จัดตั้งโรงพิมพ์หนังสือไทยเป็นคนแรก และยังคิดค้นเครื่องพิมพ์ด้วยไม้ รัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯจ้าง โรงพิมพ์พิมพ์หมายประกาศห้ามสูบฝิ่ น นับเป็นหนังสือราชการ ชิ้นแรกที่ใช้การพิมพ์

ด้านการแพทย์ นำเอาวิชาการแพทย์แผนใหม่มาเผยแพร่ในไทยเป็น คนแรก โดยเริ่มผ่าตัดครั้งแรกในไทย และยังได้นำ เอาวิธีการรักษาโรคแบบใหม่โดยใช้วัคซีนป้องกันไข้ ทรพิษ

พระยารัษนุประดิษฐ์มหิศรภักดี

07

ประวัติ พระยารัษฏานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นบุตรของพระยารัตนเศรษฐี ได้เฝ้าถวายตัวเป็น มหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 และในภายหลังได้ดำรงตำแหน่ง เป็นองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผลงานสำคัญ ด้านเกษตรกรรม เป็นผู้นำพันธุ์ยางจากประเทศเพื่อนบ้าน มาปลูกและแจกจ่ายให้กับราษฎรเพาะปลูก จนแพร่หลายกลายเป็นอาชีพสำคัญ

ด้านเศรษฐกิจ ได้ติดต่อบริษัทเหมืองแร่ในต่างประเทศให้เปิด มาทำเหมืองแร่ในภูเก็ต โดยให้ผลประโยชน์ แก่ทางราชการแทนการเรียกร้องค่าธรรมเนียม

ด้านการศึกษา ได้ทำการคัดเลือกบุตรหลานของข้าราชการ ในภูเก็ตส่งไปเรียนภาษาอังกฤษ บุคคลเหล่านี้ ต่อมาได้กลับมาทำคุณประโยชน์ให้แก่ทาง ราชการ

พระยากัลยาณไมตรี(ดร.ฟรานซิส บี. แซร์)

08

ประวัติ

พระยากัลยาณไมตรี หรือ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ ชาวอเมริกัน ศาสตราจารย์ทางด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ เข้ามาดำรง ตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศของ ไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และยัง ได้ทำคุณประโยชน์ให้กับไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลไทยได้นำ บรรดาศักดิ์ของท่าน มาตั้งชื่อถนนข้างกระทรวงการต่าง ประเทศว่า “ถนนกัลยาณไมตรี” และได้รับ พระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็น“พระยากัลยาณไมตรี”

ผลงานสำคัญ ด้านการต่างประเทศ ได้แก้ไขข้อผูกพันที่ไทยมีต่อประเทศต่างๆ ตามสนธิสัญญาที่ทำไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่องที่คนในบังคับต่างชาติไม่ต้องขึ้นศาลไทยและไทยจะเก็บภาษีขาเข้าจากต่างประเทศได้ ไม่เกินร้อยละ3 ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ยินยอมยกเลิกข้อกำหนดอัตราภาษีและ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ภายหลังที่ไทยประกาศและบังคับใช้ประมวลกฎหมายที่ได้แก้ไขตาม มาตรฐานตะวันตก แล้ว 5 ปี นอกจากนี้ท่านได้เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยไปเจรจากับประเทศต่างๆ ในยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2469 ทำให้ ประเทศยุโรปต่างๆ จำนวน 10 ประเทศ ต่างตกลงยินยอมลงนามใน สนธิสัญญาทางไมตรีและการพาณิชย์ ฉบับใหม่กับไทย ด้านการเมือง เป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองไทย เสนอข้อแก้ไข เกี่ยวกับปัญหาการคลัง อำนาจของอภิรัฐมนตรีสภา การมีสภานิติบัญญัติ การร่าง รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มี 12 มาตรา

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

09

ประวัติ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า “คอร์ราโด เฟโรจี” เกิดพ.ศ.2435 เป็นชาวนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ท่านสนใจและได้ศึกษา วิชาการด้านศิลปะ จนมีความสามารถด้านประติมากรรมและจิตรกรรม จนได้รับ ตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์

ผลงานสำคัญ ด้านศิลปกรรม ศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี เข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งช่างปั้ น กรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อ พ.ศ.2466 ต่อมาในพ.ศ.2469 ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ช่างปั้ นหล่อ แผนกศิลปากรสถาน แห่งราชบัณฑิตยสภา แล้วย้ายมาเป็นช่าางปั้ นสังกัดในกองประณีตศิลปกรรม กรมศิลปากร กระทรวงธรรมการ พ.ศ.2477 ท่านได้เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาด้านศิลปะของไทยให้มีมาตรฐานทัดเทียมกับ โรงเรียนศิลปะในยุโรป โดยเริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้น โดยในระยะแรกใช้ ชื่อ “โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง” ใน พ.ศ.2480 ต่อมาในพ.ศ.2486 ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี ได้ขอโอนสัญชาติจากสัญชาติ อิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น “นายศิลป์ พีระศรี” ได้ใช้ชีวิตเป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากรจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต

จัดทำโดย 1. นายชิษณุชา 2. นายณฐรักษ์ 3. นายรัฐศาสตร์ 4. นางสาวกนกพิชญ์ 5. นางสาวจิราภรณ์ 6. นางสาวพุทธรักษ์ 7. นางสาวรักษิณา 8. นางสาวอภิสรา 9. นางสาวนริศรา

นามวา ประสานสงฆ์ จันทรโสภา ธนูทอง คงนิล สีลามน จำปี จันละคล ลูกหยี

เลขที่ เลขที่ เลขที่ เลขที่ เลขที่ เลขที่ เลขที่ เลขที่ เลขที่

2 3 4 11 12 18 25 29 30

ชั้ยมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 เสนอ คุณครูกนกพร สุขสาย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้เป็นส่วนประกอบของ รายวิชาประวัติศาสตร์ (ส31112) โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อำเภออุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.