พระมหากษัตริย์ไทย แห่งพระบรมราชจักกรีวงศ์ ๑๐ รัชกาล Flipbook PDF

เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรันตนโกสินทร์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐสุดของชาติ เพื่อให้เยาวชน ประชาชนตระหนักร

95 downloads 106 Views 36MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

กระทรวงวัฒนธรรม

พระมหากษัตริยไทยแหงพระบรมราชจักรีวงศ ๑๐ รัชกาล

พระมหากษั พระมหากษั ตริยตไริทย ยไทย

ฉบับการตูน

แหงแห พระบรมราชจั งพระบรมราชจั กรีวกงศรีวงศ

๑๐๑๐รัชกาล รัชกาล ฉบับการฉบั ตูนบการตูน

พระมหากษัตริย์ไทย แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ๑๐ รัชกาล ฉบับการ์ตูน

หนังสือการ์ตูน เรื่อง พระมหากษัตริย์ไทยแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ๑๐ รัชกาล ฉบับการ์ตูน ออกแบบปก - ศิลปกรรม : เรืองศักดิ์ ดวงพลา ลิขสิทธิ์ของ กระทรวงวัฒนธรรม เลขที่ ๑๐ ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทรศัพท์ ๐ ๒ - ๒๐๙ ๓๖๑๕ - ๑๘ โทรสาร ๐ ๒ - ๒๐๙ ๓๖๒๐ สำ�นักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ISBN 978-616-543-716-5 พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำ�นวนพิมพ์ ๒๓,๐๐๐ เล่ม พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด ๗๙ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ ๐ ๒ - ๕๖๑ ๔๕๖๗ โทรสาร ๐ ๒ - ๕๗๙ ๕๑๐๑ นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม สำ�นักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พระมหากษัตริย์ไทยแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ๑๐ รัชกาล ฉบับการ์ตูน.-- กรุงเทพฯ : สำ�นักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๔. ๒๔๐ หน้า. 1. กษัตริย์ผู้ครองนคร -- ไทย. I. เรืองศักดิ์ ดวงพลา, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. ๙๒๓.๑๕๙๓ ISBN 978-616-543-716-5

สัญลักษณ์ประจำ�พระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมราชจักรีวงศ์ มีที่มาจากนามบรรดาศักดิ์ “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์” ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงดำ�รงตำ�แหน่งสมุหนายก ในสมัยกรุงธนบุรี ครั้นเสด็จปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี และทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พุทธศักราช ๒๓๒๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ ๑ สำ�รับ กำ�หนดให้เป็นสัญลักษณ์ประจำ�พระบรมราชจักรีวงศ์ สืบมาจนปัจจุบัน คำ�ว่า “จักรี” นี้ พ้องเสียงกับคำ�ว่า “จักร” และ “ตรี” ซึ่งเป็นอาวุธของพระนารายณ์ สอดคล้องกับความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะสมมุติเทพ เห็นได้จากการเฉลิม พระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ จะมีค�ำ ว่า “รามา” ซึง่ หมายความถึงอวตารหนึง่ ของพระนารายณ์ รวมทัง้ การตัง้ นามเมืองหลวงเป็น “กรุงเทพ” อันหมายถึงเมืองแห่งเทพเทวา และการใช้สัญลักษณ์ของ “ครุฑ” ในพาหนะหรือ ทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์

คำ�ปรารภ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีสืบต่อมา จนถึงปัจจุบนั เป็นเวลา ๒๓๙ ปี มีพระมหากษัตริยเ์ สด็จขึน้ ครองราชย์สบื ราชสันตติวงศ์ ๑๐ รัชกาล สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยมายาวนาน พระมหากษัตริย์ไทย ทุกพระองค์ล้วนทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงเปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรม ทรงแผ่พระเมตตาธรรม สู ่ พ สกนิ ก รทุ ก หมู ่ เ หล่ า ทรงสร้างความเป็น ปึก แผ่น มั่น คงในบ้ า นเมื อ ง ขจั ด ภั ย ข้ า ศึ ก ศั ต รู ทีม่ ารุกราน ทรงทะนุบ�ำ รุงแผ่นดินให้อดุ มสมบูรณ์ ยกระดับคุณภาพชีวติ เพือ่ ให้อาณาประชาราษฎร์ กินดีอยู่ดี นอกจากนี้ ยังทรงบำ�รุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองเป็นหลักธรรมในการดำ�เนินชีวิต ทรงส่งเสริม สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมให้เจริญงอกงาม ปรากฏเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ บ้านเมืองจึงร่มเย็นเป็นสุขภายใต้รม่ พระบารมีของพระมหากษัตริยไ์ ทยมาทุกรัชกาล ชาวไทยทัง้ ปวง จึงเคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์ไว้เหนือเศียรเกล้า และจงรักภักดีอย่างแนบแน่นมั่นคงเสมอมา ด้วยสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ กระทรวงวัฒนธรรมจึงจัดทำ�หนังสือ “พระมหากษัตริย์ไทยแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ๑๐ รัชกาล ฉบับการ์ตูน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ให้ปรากฏแผ่ไพศาล และแสดงความจงรักภักดีตอ่ สถาบันพระมหากษัตริย์ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเป็นกตเวทิตาสักการะ โดยหวังว่าหนังสือเล่มนีจ้ ะเป็นประโยชน์ในการศึกษาเรียนรูใ้ ห้แก่เยาวชน และประชาชน เพิม่ พูนความรู้ ความเข้าใจในประวัตศิ าสตร์ของชาติ ตลอดจนสร้างความภาคภูมใิ จ ในความเป็ น ไทยและร่ ว มกั น เทิ ด ทู น สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย ์ ใ ห้ ส ถิ ต สถาพรเป็ น หลั ก ชั ย ของชาติสืบไป

(นายอิทธิพล คุณปลื้ม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

คํานํา พุทธศักราช ๒๕๒๕ ในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี รัฐบาลกำ�หนดให้ เฉลิมพระเกียรติถวายพระราชสมัญญา “มหาราช” แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และกำ�หนดให้วันที่ ๖ เมษายน ของทุกปีเป็น “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” เพื่อถวายเป็นราชสักการะ สืบมาตราบปัจจุบัน มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ในทุกด้าน ทรงสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าตามกาลสมัยทัดเทียม อารยประเทศอย่างต่อเนื่องมาถึง ๑๐ รัชกาล ยังความผาสุกร่มเย็นทั่วทั้งแผ่นดินตลอดมา พระมหากษั ต ริ ย ์ ก รุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ท ุ ก รั ช กาลนั ้ น มี พ ระราชปณิ ธ านอั น แน่ ว แน่ และพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล สุขุม ลุ่มลึกในการบําเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อความมั่นคง ไพบูลย์ ของอาณาประชาราษฎร์และประเทศชาติยามใดที่บ้านเมืองเกิดปัญหาหรือมีทุกข์ร้อนใด ๆ ทรงดับร้อน ผ่อนทุกข์ช่วยให้วิกฤตคลี่คลาย พสกนิกรทั่วหล้าต่างประจักษ์แจ้งและสำ�นึก ในพระมหากรุณาธิคุณ กระทรวงวัฒนธรรมตระหนักในความสำ�คัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ และเห็นสมควรที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้เยาวชน และประชาชนได้ศึกษาเรียนรู้พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจนานัปการของพระมหากษัตริย์ กรุงรัตนโกสินทร์ในแต่ละรัชกาล เพื่อสนอง พระมหากรุณาธิคุณที่ทุกพระองค์ทรงทะนุบำ�รุงบ้านเมือง และทรงสร้างสรรค์มรดกทางวัฒนธรรมไว้ ให้ชาวไทยได้ภาคภูมิใจในความเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรือง พัฒนาและก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ กระทรวงวั ฒ นธรรม ภาคภู ม ิ ใจที ่ ไ ด้ จ ั ด ทำ � หนั ง สื อ “พระมหากษั ต ริ ย ์ ไ ทยแห่ ง พระบรมราชจั ก รี ว งศ์ ๑๐ รั ช กาล ฉบั บ การ์ ต ู น ” เพื ่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระมหากษั ต ริ ย ์ แห่ ง กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ผู ้ ท รงพระคุ ณ อั น ประเสริ ฐ สุ ด ของชาติ เพื ่ อ ให้ เ ยาวชน ประชาชน ตระหนักรู้ถึงความเป็นชาติที่สืบทอดมั่นคงมาอย่างยาวนาน จักได้สมัครสมานสามัคคีร่วมกัน ธำ�รงรักษาสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้ยั่งยืนสืบต่อไป

(นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร) ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

สารบัญ รัชกาลที่ ๑ สร้างบ้านแปงเมือง ๙



รัชกาลที่ ๒ ฟูเฟื่องวรรณกรรม ๓๕

๓๕

รัชกาลที่ ๓ เลิศลำลํ้าเศรษฐกิจ ๕๓

๕๓

รัแนวคิชกาลที ่๔ ดอารยะ ๗๓

๗๓

รัชกาลที่ ๕ วัฒนะสูส่ ากล ๙๑

๙๑

สารบัญ รัชกาลที่ ๑๖ มากล้ กษาอง สร้ างบ้นาการศึ นแปงเมื ๑๑๑

๑๑๑๙

รัชกาลที่ ๗ รัประชาธิ ชกาลที ปไตย ่ ๒ ฟู๑๒๙ เฟื่องวรรณกรรม

๑๒๙ ๓๕

รัชกาลที่ ๓๘ นำา�ศไทยสามั คคี จ เลิ ลำ้าเศรษฐกิ ๑๔๙

๑๔๙ ๕๓

รัชกาลที่ ๔๙ พระบารมี เปี่ยมล้น แนวคิ ดอารยะ ๑๗๑

๑๗๑ ๗๓

รัชกาลที่ ๕๑๐ ๒๑๑ ๙๑ ประชาชนเปี ย ่ มสุ ข วัฒนะสูส่ ากล ๒๑๑



รัชกาลที่ ๑

สร้างบ้านแปงเมือง

พระราชลัญจกรประจำ�พระองค์รัชกาลที่ ๑ เป็นตรางา ลักษณะกลม รูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ อุ อยู่ตรงกลาง อุ มีลักษณะม้วนกลมคล้ายลักษณะความหมายของพระปรมาภิไธยว่า ด้วง จึงใช้อักขระ อุ เป็นมงคลแก่พระปรมาภิไธย ล้อมรอบด้วยกลีบบัว พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา

ตั้งใจจะอุประถัมภก ยอยกพระพุทธสาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสิมา รักษาประชาชนแลมนตรี...

กลอนเพลงยาวนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑

๑๐

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามเดิมว่า ด้วง หรือ ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

พระองค์เป็นบุตรลำ�ดับที่ ๔ ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก กับพระอัครชายาหยก หรือ ดาวเรือง ขณะเป็นพระอักษรสุนทร นามเดิม ทองดี

ครั้นเจริญวัย ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต

เมื่อพระชนมพรรษา ๒๑ พรรษา เสด็จออกทรงผนวชเป็นภิกษุ อยู่วัดมหาทลาย ๑ พรรษา หลังลาสิกขาแล้วกลับมารับราชการดังเดิม มีความเจริญก้าวหน้าเป็นลำ�ดับ กระทั่งถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้าย แห่งกรุงศรีอยุธยา ๑๑

เมื่อพระชนมพรรษา ๒๕ พรรษา ทรงดำ�รงตำ�แหน่ง หลวงยกกระบัตร เป็นข้าหลวงประจำ�การที่เมืองราชบุรี ทรงอภิเษกสมรสกับธิดาคหบดี ในตระกูลเศรษฐีมอญ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม นามว่า นาก คือ สมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี

ทรงประจำ�การที่เมืองราชบุรี จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๑๐

พระยาตาก (สิน) ที่ตีฝ่าวงล้อมพม่าก่อนกรุงศรีอยุธยาแตก ได้รวบรวมไพร่พลกลับมากอบกู้บ้านเมืองคืนได้ภายใน ๗ เดือน และเสด็จปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

๑๒

ทรงย้ายเมืองหลวงมาที่เมืองธนบุรี สถาปนาเป็นราชธานีแห่งใหม่ เรียกว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” เมื่อ พุทธศักราช ๒๓๑๑

หลวงยกกระบัตรย้ายครอบครัวมารับราชการในกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็น พระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำ�รวจนอกขวา

ทรงร่วมในสงครามครั้งสำ�คัญ ๆ หลายครั้ง ทรงได้รับการไว้วางพระราชหฤทัย จึงได้รับบำ�เหน็จความชอบเลื่อนบรรดาศักดิ์ตามลำ�ดับ เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระตำ�รวจหลวง พระยายมราช เจ้าพระยาจักรี ว่าที่สมุหนายก และ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ รับพระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม

๑๓

พุทธศักราช ๒๓๒๔ เกิดเหตุจลาจลในกรุงธนบุรี ขณะนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ฯ อยู่ระหว่างนำ�ทัพไปรบเขมร รีบนำ�ทัพกลับ ระงับเหตุการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้น

เมื่อปราบปรามจลาจลเรียบร้อย มุขมนตรีและราษฎรทั้งหลาย อัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ขณะพระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕

๑๔

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว มีพระราชดำ�ริ ที่จะฟื้นฟูพระราชอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรือง เหมือนเมื่อครั้ง “บ้านเมืองดี” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

รู้หรือไม่ พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ จะย้ายพระนคร จริงรึ ทำ�ไมล่ะ

มีพระราชดำ�ริว่า กรุงธนบุรีไม่เหมาะสม ที่จะเป็นเมืองหลวงถาวร เพราะคับแคบ พระราชวังมีวัดตั้งขนาบอยู่สองด้าน คือ วัดแจ้ง กับวัดท้ายตลาด ขยายออกได้ยาก

นอกจากนี้ กรุงธนบุรียังตั้งอยู่บนฝั่ง แม่นํ้าเจ้าพระยาที่มีนํ้าเซาะ นานไปอาจพังทลายได้ มันเป็นเหตุผลทางด้าน ยุทธศาสตร์ด้วยนะ

อย่างไรรึ ๑๕

จะย้าย ไปไหนรึ

เนื่องจากกรุงธนบุรี ตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่นํ้า ทำ�ให้การลำ�เลียงอาวุธยุทธภัณฑ์ และการรักษาพระนครเป็นไปได้ยาก

ฝั่งตะวันออกของ แม่นํ้าเจ้าพระยา โน่นแน่ะ

จริงสินะ บ้านเมืองเรา มีศึกสงคราม อยู่เนือง ๆ

ตรงนั้นเป็นที่อยู่ พระยาราชาเศรษฐี กับชาวจีนทำ�สวนพลู นี่นา

อ๋อ ตำ�บลบางกอก นั่นเอง

ใช่... พระองค์ทรงขอให้ย้าย ไปอยู่แถววัดสามเพ็ง (สำ�เพ็ง) ทรงชดเชยค่าเสียหายให้ อย่างเป็นธรรมแล้ว

ทรงเห็นว่า พื้นที่ฝั่งโน้น เป็นที่ราบขยายเมืองออกไปได้ มีแม่นํ้าเจ้าพระยาล้อมอยู่สองด้าน เสมือนเป็นคูเมืองป้องกันข้าศึกได้ เหมาะเป็นเมืองราชธานี ที่มั่นคงไพศาลสืบไป

ทรงมีสายพระเนตร ยาวไกลนัก

๑๖

ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕

ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ ใกล้คลองคูเมืองเดิมด้านตะวันออก

๑๗

สร้างพระราชมณเฑียรด้วยเครื่องไม้ พอเป็นที่ประทับ

เมื่อแล้วเสร็จ ทรงย้ายมาประทับแล้ว ทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษก ตามราชประเพณีอย่างสังเขป เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๒๕

จากนั้นเร่งการสร้างราชธานี มีพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย ปราสาทราชมณเฑียร สร้างหมู่พระที่นั่ง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ป้อมปราการ ประตูในพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

๑๘

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งอัญเชิญมาจาก พระราชวังเดิมกรุงธนบุรี

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นที่ประชุมและประกอบ พระราชพิธีสำ�คัญของแผ่นดิน โดยเฉพาะพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา

เกณฑ์แรงงานในเมืองและหัวเมือง ทำ�อิฐ บางส่วนรื้อมาจากกำ�แพงเมืองกรุงเก่า เพื่อสร้างกำ�แพงพระนคร

สร้างบ้านแปงเมืองนี่ ต้องใช้ช่างฝีมือ ใช้แรงงานมหาศาล

เร่งมือเถอะ

๑๙

เมื่อพระนครสร้างแล้วเสร็จ ในพุทธศักราช ๒๓๒๘ โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบการพระราชพิธีสมโภช เฉลิมฉลองพระนคร ๓ วัน แล้วประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษกอย่างสมบูรณ์ตามโบราณ ราชประเพณีอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่ ๒

ประกาศนามพระนครว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติย วิษณุกรรมประสิทธิ์” ต่อมา ในรัชกาลที่ ๔ ทรงแปลงสร้อยคำ� “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” สืบมาตราบปัจจุบัน

๒๐

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชดำ�ริทำ�นุบำ�รุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคง บางคราวยังต้องทำ�ศึกสงครามปกป้องพระราชอาณาจักร ไปพร้อมกัน พุทธศักราช ๒๓๒๘ ทำ�ศึกกับพม่า เป็นสงครามครั้งสำ�คัญและยิ่งใหญ่ คือ “สงครามเก้าทัพ”

เมื่อพระเจ้าปดุง บรมราชาภิเษก ขึ้นเป็นกษัตริย์พม่าแล้ว ทรงต้องการแสดงแสนยานุภาพ โดยทำ�สงครามรวบรวมหัวเมืองน้อยใหญ่ รวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น

จึงทรงยกกองกำ�ลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำ�สงคราม เพื่อทำ�ลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับ เหมือนกรุงศรีอยุธยา

สงครามนี้ พระเจ้าปดุง ทรงยกทัพมาถึง ๙ ทัพ รวมกำ�ลังพลมากถึง ๑๔๔,๐๐๐ นาย โดยแบ่งการโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ ออกเป็น ๕ ทิศทาง

๒๑

ทัพที่ ๑ ยกมาตีหัวเมืองทางปักษ์ใต้ ตั้งแต่เมืองระนองถึงเมืองนครศรีธรรมราช

ทัพที่ ๒ ยกมาตีราชบุรี เพื่อรวบรวมกำ�ลังพล เข้าสมทบกับกองทัพที่ตีหัวเมืองปักษ์ใต้ แล้วค่อยเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์

ทัพที่ ๓ เข้ามาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ตั้งแต่เชียงแสน เชียงใหม่ ลำ�พูน ลำ�ปาง ตีตั้งแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบ

ทัพที่ ๔ - ๗ ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ แล้วไปที่ทุ่งลาดหญ้า เมืองกาญจนบุรี มาสบทบกับทัพที่ ๘

๒๒

ทัพที่ ๘ เป็นทัพหลวงพระเจ้าปดุงทรงเป็นผู้คุมทัพ มีกำ�ลังพลมากที่สุดถึง ๕๐,๐๐๐ นาย ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เพื่อรอสมทบกับทัพเหนือและใต้

ทัพที่ ๙ ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อตีเมืองตาก กำ�แพงเพชร พิษณุโลก และนครสวรรค์

กองทัพไทยมีเพียง ๔ กองทัพ ทัพที่ ๑ ให้ยกไปรับทัพพม่าทางเหนือ ที่เมืองนครสวรรค์

๒๓

ทัพที่ ๒ ยกไปรับพม่าทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ทัพนี้เป็นทัพใหญ่ มีสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ฯ (พระอนุชา) เป็นแม่ทัพ คอยไปรับทัพหลวงของพระเจ้าปดุงที่เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์

ทัพที่ ๓ ยกไปรับทัพพม่า ที่มาจากทางใต้ที่เมืองราชบุรี

ทัพที่ ๔ เป็นทัพหลวง โดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงคุมทัพ คอยเป็นกำ�ลังหนุนเมื่อทัพใดเพลี่ยงพลํ้า

๒๔

กองทัพไทยได้ต้านทานการบุก และตัดการลำ�เลียงเสบียงอาหาร รวมถึงกระสุนปืนใหญ่ ของฝ่ายทัพพม่า

ทรงวางแผนให้ทพั ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท สกัดทัพพม่าทีบ่ ริเวณทุง่ ลาดหญ้าทำ�ให้พม่าต้องชะงัก ติดอยูบ่ ริเวณช่องเขา

ทรงใช้ยุทธศาสตร์แบบกองโจร ออกปล้นสะดม ทำ�ให้ทัพพม่า ขัดสนเสบียงอาหาร

ในที่สุดทัพพม่าที่นี่ก็แตกพ่ายไป สู้ไม่ไหว

เป็นทีเราแล้ว

๒๕

เมื่อทัพพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า แตกพ่าย สมเด็จพระบวรราชเจ้า ฯ จึงยกทัพไปช่วยทางอื่น ได้รับชัยชนะตลอดทุกทัพ ตั้งแต่เหนือจรดใต้

กว่าสงครามครั้งนี้จะยุติลงใช้เวลาทั้งสิ้น ๑๐ เดือน โดยทัพไทยเป็นฝ่ายชนะ และรักษาเอกราชของชาติไว้ได้ สงครามครั้งนี้จึงมีชื่อเรียกว่า สงคราม ๙ ทัพ

การสงครามในรัชสมัยมีอีกหลายครั้ง กล่าวได้ว่าตลอดรัชกาลไทยเป็นฝ่ายชนะศึกตลอด

๒๖

แม้ตลอดรัชสมัยจะมีการศึกสงคราม แต่การทำ�นุบำ�รุงบ้านเมืองจำ�ต้อง มีระเบียบแบบแผน เพื่อความเรียบร้อย และผาสุกแก่ราษฎร

ทรงยึดแบบอย่างการปกครองอย่างครั้ง กรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็น ฝ่ายทหารและพลเรือน

มีอัครมหาเสนาบดีเรียกว่า สมุหนายก ถือตราพระราชสีห์ บังคับบัญชากรมมหาดไทย ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหพระกลาโหม ถือตราพระคชสีห์ บังคับบัญชากรมพระกลาโหม ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ส่วนกรมท่า ถือตราบัวแก้ว ดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวันตก

ตราพระราชสีห์

ตราพระคชสีห์

ตราบัวแก้ว จตุสดมภ์ เรียกสั้น ๆ ว่าเยี่ยงไร

การปกครองภายในจัดเป็นแบบ “จตุสดมภ์” คือ หลักทั้งสี่ กรมเวียง มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร กรมวัง มีหน้าที่ดูแลพระบรมมหาราชวัง และพิจารณาตัดสินความ กรมพระคลัง มีหน้าที่ดูแลพระราชทรัพย์ และดูแลรับผิดชอบการค้าขาย กับต่างประเทศ กรมนา มีหน้าที่ดูแลที่นา

เวียง วัง คลัง นา ใช่ไหมเจ้าคุณตา

เออ สมองเอ็งดี ๒๗

โปรดให้ข้าราชการที่มีความรู้ในราชประเพณี และการบริหารราชการแผ่นดิน ร่วมกันชำ�ระกฎหมาย เพื่อใช้เป็นหลัก ในการควบคุมจัดระเบียบสังคม เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในบ้านเมือง

กฎหมายเดิม ใช้มาตั้งแต่สมัย อยุธยา บางทีก็ ไม่ถูกต้องคล้องกัน

ทรงให้นำ�กฎหมาย “กษัตริย์ผู้ดำ�รงแผ่นดินนั้น อาศัยซึ่งโบราณ ในหอหลวงมาชำ�ระใหม่ ราชนิติกฎหมายพระอัยการอันกษัตริย์แต่ก่อน มีพระราชปรารภ บัญญัติไว้เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งพิพากษาตราสิน ไว้ว่า... เนื้อความราษฎรทั้งปวงได้โดยยุติธรรม และ พระราชกำ�หนดบทอัยการนั้น ก็ฟั่นเฟือน วิปริตผิดซํ้า ต่างกันเป็นอันมาก ด้วยคนอัน โลภหลงหาความละอายมิได้ ดัดแปลง แต่งตามชอบใจไว้ พิพากษาให้เสียยุติธรรม สำ�หรับแผ่นดินไปก็มีบ้าง”

ชำ�ระเสร็จแล้วประทับตรา ๓ ดวง คือ พระราชสีห์ (มหาดไทย) พระคชสีห์ (กลาโหม) และบัวแก้ว (กรมท่า) เรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง”

กฎหมายตราสามดวง ถือเป็นการวางรากฐาน ในการชำ�ระกฎหมายต่อมา และมีการ บังคับใช้ในการปราบปรามทุจริตอย่างเคร่งครัด

๒๘

โปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎกให้สมบูรณ์ ตามพระธรรมวินัย ณ วัดนิพพานาราม (วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) โดยสมเด็จพระสังฆราช ทรงเลือกพระราชาคณะ จำ�นวน ๒๑๘ รูป ราชบัณฑิตจำ�นวน ๓๒ คน

ทรงทำ�นุบ�ำ รุงพระพุทธศาสนาให้เป็นหลักของ แผ่นดิน เพือ่ ราษฎรมีหลักธรรมยึดเหนีย่ วจิตใจ ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของบ้านเมือง

แล้วพระราชทานไปยังพระอารามหลวง และมีพระบรมราชานุญาตให้พระอารามต่าง ๆ คัดลอกเก็บไว้

โปรดให้จัดระเบียบพระสงฆ์ ตรากฎพระสงฆ์ ให้ประพฤติตนอยู่ในพระธรรมวินัย

ทรงทำ�นุบำ�รุงและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปชำ�รุด ตลอดจนพระอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนคร และหัวเมืองให้สมบูรณ์สง่างาม

โปรดให้บูรณะวัดโพธิ์ สร้างพระเจดีย์ ศรีสรรเพชญดาญาณ สร้างจารึกตำ�รายา และตำ�ราฤาษีดัดตน ให้ประชาชนมาศึกษาได้ เป็นวัดประจำ�รัชกาล พระราชทานนามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส” (รัชกาลที่ ๔ พระราชทานนามว่า วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม)

๒๙

ทรงห่วงใยราษฎร คราวนํ้าท่วม หรือไฟไหม้ ก็เสด็จ ฯ ไป เพื่อทรงรับทราบปัญหา และช่วยแก้ไขให้ผ่านพ้นไป

ทรงปูนบำ�เหน็จความชอบ ข้าราชการที่ซื่อสัตย์ตามสำ�คัญ

ทรงเข้มงวดข้าราชการที่เอารัดเอาเปรียบราษฎร เพื่อให้บ้านเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุข

๓๐

บ้านเมืองในรัชสมัยเต็มไปด้วยศึกสงคราม ทรงเป็นกษัตริย์นักรบ แต่ก็มิได้ทรงละเลย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมา ทรงฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งทรงส่งเสริมสร้างสรรค์ ด้านศิลปวัฒนธรรมใหม่ ๆ ตลอดจนวรรณคดีที่งดงาม

ทรงฟืน้ ฟูพระราชพิธสี �ำ คัญของแผ่นดิน ได้แก่ พระราชพิธบี รมราชาภิเษก พระราชพิธสี รงสนาน เมือ่ สร้างพระบรมมหาราชวังแล้วเสร็จสมบูรณ์ โปรดให้จดั การพระราชพิธตี ามราชประเพณี

พระราชพิธีโสกันต์ คือ พิธีโกนจุกพระราชโอรส พระราชธิดา ตามอย่างธรรมเนียมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา

การพระศาสนา ได้แก่ การบำ�เพ็ญ พระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐิน และวันสำ�คัญทางพระพุทธศาสนา

๓๑

โปรดให้รวบรวมช่างฝีมือมาเป็นช่างหลวง ร่วมสร้างพระบรมมหาราชวัง และบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามจำ�นวนมาก

ช่างสาขาอื่น ได้แก่ ช่างทำ�เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องอุปโภค ราชูปโภค และ ช่างสิบหมู่ อาทิ ช่างปูน ช่างไม้ ช่างหล่อ ช่างกลึง ช่างแกะ ช่างมุก ช่างเขียน และ ช่างปั้น

ผลงานอันงดงามของช่างฝีมือในรัชกาลที่ ๑ ยังปรากฏเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง เป็นมรดกของชาติสืบมาตราบจนปัจจุบัน

๓๒

ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีหลายเรื่อง อาทิ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท ดาหลัง และกลอนเพลงยาวนิราศเรื่อง รบพม่าที่ท่าดินแดง

เมือ่ กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย วรรณคดี ทีม่ มี าแต่โบราณก็สญ ู หายไปมาก โปรดให้รวบรวมงานวรรณคดีเก่า และส่งเสริม ให้มกี ารสร้างสรรค์ใหม่

กวีสำ�คัญในรัชสมัย คือ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งวรรณคดีหลายเรื่อง เช่น อิเหนาคำ�ฉันท์ เพลงยาวต่าง ๆ ร่ายยาวมหาชาติกัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มัทรี และบทร้องมโหรีกากี

โปรดให้ชำ�ระพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทย ได้แก่ สามก๊ก ไซ่ฮั่น และพงศาวดารมอญ เรื่องราชาธิราช

๓๓

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก มหาราช เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๕๒ พระชนมพรรษา ๗๓ พรรษา ทรงดํารงสิริราชสมบัติ ๒๗ ป

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๖ มีพระบรมราชโองการให วันที่ ๖ เมษายน เปนวันพระบรมราชานุสรณ แหงพระบรมราชจักรีวงศ เรียกวา วันจักรี

พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๗ โปรดใหจัดงานฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ป พุทธศักราช ๒๔๗๕ และสรางพระปฐมบรมราชานุสรณ ทรงบริจาคพระราชทรัพย รวมกับประชาชน สรางสะพานพระพุทธยอดฟาขามแมนํ้าเจาพระยา ที่เชิงสะพาน โปรดใหประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชไวสักการบูชา

พุทธศักราช ๒๕๒๕ รัฐบาลจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทรครบ ๒๐๐ ป และถวายพระราชสมัญญา “มหาราช” และกําหนดให วันที่ ๖ เมษายน เปนวัน “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช และ วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ” ๓๔

รัชกาลที่ ๒

ฟูเฟื่องวรรณกรรม

พระราชลัญจกรประจำ�พระองค์รัชกาลที่ ๒ เป็นตรางา ลักษณะกลม รูปครุฑจับนาค เป็นสัญลักษณ์ของพระปรมาภิไธยว่า ฉิม ตามความหมายของวรรณคดีไทย คือ พญาครุฑ เป็นเทพองค์หนึ่งที่ทรงมหิทธานุภาพยิ่ง ดังนั้น จึงนำ�รูปครุฑจับนาค มาเป็นเครื่องหมายแทนพระปรมาภิไธยในพระราชลัญจกร

... ทรงพระราชศรัทธาจะยกรื้อวิสาขบูชามหายัญพิธี อันขาดประเพณีมานั้น ให้กลับคืนเจียรฐิติกาล ปรากฏสำ�หรับแผ่นดินสืบไป จะให้เป็นอัตตัตถประโยชน์ และปรัตถประโยชน์ ทรงพระราชศรัทธาจะให้สัตวโลก ข้าขอบขัณฑเสมาทั้งปวง จำ�เริญอายุแลอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากทุกข์ภัยในชั่วนี้แลชั่วหน้า...

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ พระนิพนธ์ของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ

๓๖

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าฉิม เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี

เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันพุธ ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๑๐ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ๑๐ เดือน ณ บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม นิวาสสถานเดิมของสมเด็จพระบรมราชชนนี ส่วนสมเด็จพระบรมชนกนาถขณะนั้น รับราชการเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราช และทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว หลวงยกกระบัตร เข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี ตั้งบ้านเรือนอยู่ ด้านใต้วัดบางหว้าใหญ่ คือ วัดระฆังโฆสิตารามในปัจจุบัน

๓๗

ทรงเข้าศึกษาเล่าเรียน ในสำ�นักพระวันรัต (ทองอยู่) ที่วัดบางหว้าใหญ่ หรือวัดระฆังปัจจุบัน จนมีความรู้เชี่ยวชาญแตกฉาน

ในราชการสงครามสมัยสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงร่วมในกองทัพ ที่พระราชบิดาไปรบตั้งแต่พระชนมพรรษา ๘ พรรษา

เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นปฐมกษัตริย์ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ ครั้งนั้นทรงได้รับพระราชทานพระอิสริยยศ เป็นเจ้าฟ้า ฯ ต่างกรม พระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวง อิศรสุนทร เมื่อพระชนมพรรษา ๑๖ พรรษา พุทธศักราช ๒๓๓๑ ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จ ฯ ไปจำ�พรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ครบสามเดือน จึงทรงลาสิกขา

สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวง อิศรสุนทร ประทับที่ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี

๓๘

สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้ทรงงานราชการใกล้ชิด สมเด็จพระบรมชนกนาถมากขึ้น ทรงเรียนรู้การบ้านการเมือง เรื่อยมา

พุทธศักราช ๒๓๔๙ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เสด็จสวรรคต

สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดให้ตั้งการพระราชพิธี อุปราชาภิเษก เป็นพระมหาอุปราช

วันพฤหัสบดี ที่ ๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางทั้งหลาย กราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

๓๙

การศึกสงครามของบ้านเมือง ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงรัชสมัยของพระองค์ ยังคงมีการรุกรานกันอยู่เนือง ๆ

โปรดให้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองก่อสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ที่ปากลัด (พระประแดง) สร้างป้อมปีศาจผีสิง ป้อมราหู และป้อม ศัตรูพินาศ แล้วให้อพยพครอบครัวมอญ จากปทุมธานีมาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์

โปรดให้พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นแม่กองสร้างป้อมปราการ ผีเสื้อสมุทร ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมกายสิทธิ์ ที่เมืองสมุทรปราการด้วย

ตลอดจนสร้างเมืองหน้าด่าน และป้อมปราการต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิให้ข้าศึก เข้ามาถึงพระนครโดยง่าย

๔๐

โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ ไปคุมงาน ก่อสร้างป้อมเพชรหึงส์ ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์

ทรงดูแลทุกข์สุข ราษฎร

การศึกในสมัยรัชกาลที่ ๒ มีขึ้นหลายครั้ง ตั้งแต่ทรงครองราชย์ได้ ๒ เดือน พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า แต่งตั้งอะเติ้งหงุ่น และสุเรียงสาระกะยอเป็นแม่ทัพมาทำ�ศึกกับไทย

อะเติ้งหงุ่นยกทัพเรือเข้ามาตีทางหัวเมืองชายทะเลตะวันตก คือเมืองตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า แล้วตรึงกำ�ลังล้อมเมืองถลางไว้

ส่วนแม่ทัพสุเรียงสาระกะยอ ยกกำ�ลังมาทางบก เข้าตีหัวเมืองด้านทิศใต้้ ยึดเมืองมะลิวัลย์ ระนอง และกระบี่

๔๑

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงส่งกองทัพลงไปช่วย ตีทัพพม่าแตกพ่ายทั้งสองทัพ

พุทธศักราช ๒๓๖๓ พระเจ้าปดุงสวรรคต พระเจ้าจักกายแมงได้สืบราชสมบัติ ยกทัพมาตีไทย สมคบกับพระยาไทรบุรีที่มีใจ เอนเอียงข้างพม่า พอทราบว่าไทยจัดเตรียม รับศึกเข้มแข็งก็กริ่งเกรงจะรบแพ้ จึงยุติไป อีก ๓ ปีต่อมาได้ชักชวนพระเจ้ามินมาง กษัตริย์ญวนร่วมรบ ญวนมิได้ร่วมด้วย เพราะเผชิญสงครามกับอังกฤษ จนต้องเสียอิสรภาพ จึงมิได้มาตีไทยอีกเลย

มีพระอัจฉริยภาพด้านการปกครอง เชี่ยวชาญการบริหารและการปกครอง

๔๒

ทรงแต่งตั้งมอบหมายข้าราชการ ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้รับหน้าที่ โดยทรงเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถ เป็นเลิศ ทั้งพระอนุชา พระราชโอรส และพระราชวงศ์ชั้นสูง

โปรดให้ พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ กำ�กับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำ�รวจว่าความฎีกา และว่าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ

ทรงให้จัดสำ�เภาทำ�การค้ากับจีน และ ชาติอื่น ๆ นำ�เงินเข้าพระคลังเป็นจำ�นวนมาก ยังทรงขานพระนามพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่น เจษฎาบดินทร์ว่า เจ้าสัว เพราะค้าขายเก่ง

เศรษฐกิจในรัชกาลที่ ๒ จึงเจริญรุ่งเรือง มีทูตของอังกฤษ ชื่อจอห์น ครอว์เฟิร์ด เดินทางเข้ามาเจรจาทางการค้า บันทึกว่า “...ประเทศเจริญรุ่งเรือง ในรัชกาลของพระองค์...”

ทูตการค้าของอังกฤษผู้นี้บันทึกสรรเสริญ กรมหมื่นเจษฎาบินทร์ว่า ...ทรงเป็นผู้ฉลาดที่สุดในบรรดาเจ้านายและขุนนาง...

๔๓

ั หาฝิน่ ด้วยการตราพระราชกำ�หนด ทรงห่วงใยราษฎร โปรดให้ตราพระราชบัญญัติ ทรงแก้ปญ ห้ามสูบฝิน่ ขายฝิน่ ซือ้ ฝิน่ พร้อมทรงกำ�หนด ห้ามเลี้ยงไก่ นก ปลากัด ไว้ชน ไว้กัด บทลงโทษสำ �หรับผูฝ้ า่ ฝืน เพราะฝิน่ เป็นสิง่ เสพติด เพื่อการพนัน ตายล่ะ ทำ�ให้คนเกียจคร้าน อ่อนแอ บ้างปล้นฆ่าหาเงิน อยากกินต้มไก่ มาเสพ เมือ่ ไม่ได้เสพถึงขัน้ ลงแดงถึงแก่ความตาย ท่านมิได้ห้าม จะทำ�เยี่ยงไร ก็มี ทำ�ให้ครอบครัวแตกแยกล่มสลาย เลี้ยงไว้กิน โอย.. ทรมาน เหลือเกิน

เรื่องภาษี โปรดให้จัดเก็บด้วยความเป็นธรรม เพราะการทำ�นุบำ�รุงบ้านเมืองให้เจริญ ส่วนหนึ่งมาจากภาษีอากรที่เก็บจากประชาชนด้วย หากเก็บมากจะก่อให้เกิดความเดือดร้อน คงเก็บแต่เฉพาะผู้มีรายได้ เช่น ภาษีโรงเหล้า ภาษีปากเรือจากการค้าขายกับต่างชาติ อากรค่านา ค่าสวน ค่าบ่อน ภาษีด่าน ภาษีตลาด

ส่วนภาษีเดินสวนเดินนา คือภาษีที่เก็บจาก ชาวสวนชาวนา กำ�หนดให้เก็บตามสภาพ ที่ทำ�จริง ถ้าปีไหนฝนฟ้าไม่ดี ผลผลิตเสียหาย ก็ให้เว้นเสีย ถ้าผลผลิตดีก็ให้เก็บไร่ละ ๒ สัดครึ่ง เรียกว่า ภาษีหางข้าว ให้ขนนำ�ส่งยุ้งฉางหลวงเองด้วย

สำ�หรับที่สวนที่นาที่ปล่อยให้รกร้างเกิน ๓ ปี จะถูกริบเป็นของหลวง เพื่อปันให้แก่ราษฎร ที่ไร้ที่ทำ�กินให้ได้ทำ�มาหาเลี้ยงชีพต่อไป

๔๔

สมัยสมเด็จพระบรมชนกนาถ มีการกำ�หนดใช้ธงไว้ว่า ทั้งเรือหลวงและเรือค้าขายของเอกชน ล้วนใช้ธงสีแดงเป็นเครื่องหมายเรือสยาม

ต่อมา ได้มีการนำ�สัญลักษณ์ต่าง ๆ มาประดับ บนพื้นธงสีแดงเพิ่มเติม ให้เพิ่มรูปจักรสีขาว ลงในธงแดง สำ�หรับใช้เป็นธงของเรือหลวง เพื่อแสดงความแตกต่างระหว่าง เรือพระมหากษัตริย์ กับเรือราษฎร

ในรัชสมัย มีช้างเผือกเอกมาสู่บารมี ๓ ช้าง คือ พระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ นับเป็นเกียรติยศและบุญบารมี ต่อแผ่นดิน ราษฎรทั้งหลาย จึงถวายพระนามพระองค์ว่า พระเจ้าช้างเผือก

โปรดให้เพิ่มรูปช้างเข้าภายในวงจักรสีขาวของธงเรือหลวง เรียกว่า “ธงช้างเผือก” มีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก (ธงนี้ใช้เฉพาะเรือหลวงเท่านั้น) ๔๕

พุทธศักราช ๒๓๖๓ เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ เรียกกันอย่างชาวบ้านว่า ห่าลงปีมะโรง ผู้คนล้มตาย เป็นจำ�นวนมาก ศพเกลื่อนกลาดไปทุกหนแห่ง เก็บเผาไม่หวาดไหวบ้างปล่อยให้ลอยในแม่นํ้าคูคลอง

ที่วัดสระเกศมีศพมากกว่าที่ใด กองสุมไว้ เหมือนกองฟืน ผู้คนหวั่นวิตกถ้วนหน้า บ้านเมืองยามนั้นวังเวงราวกับเมืองร้าง

โปรดให้จัดพิธีอาพาธพินาศที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีการยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดคืน

อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมสารีรกิ ธาตุออกแห่ และประพรมนํา้ พระพุทธมนต์ ตลอดเส้นทาง พระองค์ทรงศีล ปล่อยสัตว์และนักโทษทีจ่ องจำ�

๔๖

มีพระบรมราชานุญาตให้หยุดราชการ รับสั่งให้กลับไปบำ�รุงดูแลครอบครัวของตน ความว่า “ประเพณีสัตว์ทั้งหลาย ภัยมาถึงก็ย่อมรักชีวิตบิดามารดาภรรยาแลบุตรญาติพี่น้อง ก็เป็นที่รักเหมือนกันทั่วไป จะได้ไปรักษาพยาบาลกัน” โปรดให้จัดพิธีอาพาธพินาศ เป็นขวัญกำ�ลังใจแก่ราษฎร เมื่อ ๑๕ วันผ่านไป โรคระบาดก็ค่อยเบาบางลง ทั้งในและนอกพระนคร มีผู้เสียชีวิตกว่า ๓๐,๐๐๐ คน

ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาหลายด้าน

โปรดให้ แก้ไขการสอบ พระปริยัติธรรม

จากเปรียญตรี โท เอก เป็นประโยค ๑ - ๙ ผู้สอบได้ประโยค ๓ ขึ้นไปนับเป็นเปรียญ ทำ�ให้พระ เณรมีความแตกฉาน ในบาลียิ่งขึ้น

ทราบมาว่า มีการส่งสมณทูต ไปลังกาเพื่อเจริญ สัมพันธไมตรีและสืบ ข่าวพระศาสนา ด้วยมิใช่รึ

ใช่ขอรับ ๔๗

ทรงฟื้นฟูประเพณีวิสาขบูชา มีพระราชดำ�ริว่า เป็นวันสำ�คัญยิ่งทางพุทธศาสนา ที่มีมาแต่สมัยสุโขทัย

โดยห้ามล่าสัตว์ ๓ วัน ให้ทำ�ทาน รักษาศีล ถวายบิณฑบาต ปล่อยสัตว์ และฟังพระธรรมเทศนา ๓ วัน ๓ คืน

คุณพระ เห็นเป็นเช่นไร

จากนี้ไปถึงกาลข้างหน้า จะมีวันวิสาขบูชาสืบไป

โปรดให้ปฏิสังขรณ์และสร้างวัดขึ้นใหม่หลายวัด ได้แก่ วัดชัยพฤกษมาลา วัดโมลีโลกยาราม วัดหงสาราม ส่วนวัดสุทัศนเทพวราราม ทรงสร้างต่อจากที่รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างค้างไว้ รวมทั้งโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ วัดอรุณราชวราราม สร้างพระอุโบสถ พระปรางค์ (แต่ยังไม่แล้วเสร็จในรัชกาล) พระวิหารใหม่ ต่อมาวัดนี้เป็นพระอารามประจำ�รัชกาล

๔๘

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะหลาย สาขา ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม งานจำ�หลักไม้ ดนตรี และที่โดดเด่นคือ วรรณคดี

ทรงสร้างพระมณฑปน้อยสวมรอยพระพุทธบาท ประดิษฐานภายในพระมณฑปใหญ่ ซึ่งสร้างค้างไว้ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมชนกนาถ ณ วัดพระพุทธบาท ที่สระบุรี เมื่อแล้วเสร็จก็เป็นที่ชื่นชม

งานแกะสลักบานประตูวัดสุทัศนเทพวราราม นับเป็นงานแกะสลักไม้ที่งามเลิศเป็นที่ยกย่อง

ทรงแกะหน้าหุ่นหลวงด้วยไม้รัก เรียกว่า พระยารักใหญ่ พระยารักน้อย ได้งดงามเป็นที่ยอมรับในฝีพระหัตถ์

๔๙

ทรงสร้างสรรค์เพลงจากพระสุบินนิมิตทำ�นอง เพลงซอ ทรงตั้งชื่อว่า บุหลันลอยเลื่อน ซึ่งไพเราะอย่างยิ่ง

ทรงเชี่ยวชาญดนตรีไทย โดยเฉพาะซอสามสาย ทรงมีซอคู่พระทัยชื่อว่า ซอสายฟ้าฟาด

ทรงเป็นกวีเอก ทรงสร้างสรรค์วรรณคดีไว้จำ�นวนมาก ประเภทบทละครใน ได้แก่ รามเกียรติ์ อิเหนา บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน บทละครนอก ได้แก่ สังข์ทอง คาวี ไชยเชษฐ์ ไกรทอง บทพากย์โขน ตอนนาคบาศ นางลอย และบทเห่ชมเครื่องคาวหวาน

พระราชนิพนธ์ด้านการละครนั้น ชื่นชมกันว่ามีความโดดเด่นในถ้อยคำ�ภาษา ไพเราะงดงามสอดคล้องกับลีลาการแสดง ทรงสร้างมาตรฐานท่ารำ�นาฏศิลป์ ทั้งละครในและละครนอก

๕๐

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ วรรณคดีสโมสร ได้ประกาศยกย่องบทละครเรื่อง อิเหนา ให้เป็นยอดของบทละครรำ� เป็นวรรณคดี ที่มีแบบแผนที่ดี ทั้งการประพันธ์ และการแสดง

กล่าวได้ว่าในรัชกาลของพระองค์ เป็นยุคทองของวรรณคดี ทรงอุปการะ กวีสำ�คัญไว้มาก แม้พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ก็ทรงเป็นกวีคู่พระทัย

กวีเอกผูห้ นึง่ คือ พระสุนทรโวหาร (ภู)่ หรือสุนทรภู่ จัดเจนในด้าน กลอนแปด เป็นทีโ่ ปรดปราน คราวหนึง่ มีพระราชประสงค์ให้สนุ ทรภู่ ช่วยแก้ไขบทพระราชนิพนธ์ให้กระชับ สุนทรภูไ่ ด้แก้ไขถวายไว้ดงั นี้ จึงเอาผ้าผูกพันกระสันรัด ชายหนึ่ง ผูกศออรทัย บัดนั้น จึงเข้ามานบนอบยอบกาย

เกี่ยวกระหวัดกับกิ่งโศกใหญ่ แล้วทอดองค์ลงไปจะให้ตาย วายุบุตรแก้ได้ดั่งใจหมาย กราบถวายบังคมก้มพักตร์

๕๑

กล่าวกันว่าบทกวีที่สุนทรภู่ แก้ถวายนี้ เป็นที่ พอพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง

เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ ที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๖๗ พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา ทรงดำ�รงสิริราชสมบัติ ๑๕ ปี รัชสมัยของพระองค์ เป็นยุคทองแห่งงานศิลปกรรมทุกสาขาของชาติไทย ทรงสร้างแบบแผนให้เป็นเอกลักษณ์ประจำ�ชาติ ให้โลกได้เชิดชูเกียรติภูมิชาติไทยสืบไป พุทธศักราช ๒๕๑๑ ในโอกาสครบ ๒๐๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ประกาศยกย่องให้ทรงเป็นบุคคลสำ�คัญของโลกสาขาวรรณกรรม รัฐบาลเฉลิมพระเกียรติ กำ�หนดให้วันพระราชสมภพ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ เป็น “วันศิลปินแห่งชาติ” พุทธศักราช ๒๕๒๐ สร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ ตำ�บลอัมพวา อำ�เภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม น้อมรำ�ลึกถึงในฐานะปฐมศิลปินแห่งชาติ ที่ทรงพระปรีชาสามารถสร้างสรรค์ มรดกศิลปวัฒนธรรมไว้แก่ชาติไทย เป็นอเนกอนันต์ พุทธศักราช ๒๕๕๐ ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วัดอรุณราชวราราม วัดประจำ�รัชกาล อีกแห่งหนึ่ง

๕๒

รัชกาลที่ ๓

เลิศลํ้าเศรษฐกิจ

พระราชลัญจกรประจำ�พระองค์รัชกาลที่ ๓ เป็นตรางา ลักษณะกลม รูปพระมหาปราสาท เป็นสัญลักษณ์ของพระปรมาภิไธยว่า ทับ ความหมายคือ ที่อยู่ หรือ เรือน

สมเด็จพระนั่งเกล้า จวบสิ้นวาระ ภายในไทยสงบถ้วน เหมาะแท้แก่สมัย หลายสิ่งทรงสฤษดิ์ไว้ ที่สร้างอนุสสรณ์ฯ

ครองราษฐ์ปราศสิ่งเศร้า พระเอยฯ ทรงประศาสน์ราชกิจล้วน ท่านนาฯ เครื่องระลึกถึงไท้

พระราชนิพนธ์ เรื่อง สามกรุง พระนิพนธ์พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

๕๔

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ ๓ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม)

เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๓๐ ณ พระราชวังเดิม

ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จ ฯ ไปประทับจำ�พรรษา ณ วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) บางกอกใหญ่ ธนบุรี

ด้วยมีพระพักตร์ละม้ายเหมือนสมเด็จ พระบรมอัยกาธิราช (ปู่) พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงเป็นที่สนิทเสน่หา

๕๕

ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย ให้ดูแลราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ให้ว่าราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระคลังสินค้า และกรมพระตำ�รวจ ว่าความฎีกา

เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จ ดำ�รงสิริราชสมบัติแล้ว พุทธศักราช ๒๓๕๖ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

ทรงรอบรู้ในราชการบ้านเมือง เป็นแม่กองสร้างป้อมปราการ หัวเมืองชายทะเล สวนขวาในพระบรมมหาราชวัง และขัดตาทัพพม่าที่กาญจนบุรี

สมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงตรัสเรียกว่า “เจ้าสัว” หมายถึง เศรษฐีรา่ํ รวยจากการค้า นำ�เงินเข้าสูท่ อ้ งพระคลัง

ทรงส่งสำ�เภาไปค้าขายเมืองจีน เพือ่ นำ�เงิน มาแก้ไขความฝืดเคืองในราชการ

๕๖

ต่อมา วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต โดยมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดสืบราชสมบัติ

เสนาบดี พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ต่างเห็นพ้องว่า พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ว่าราชการต่างพระเนตรพระกรรณมาช้านาน จึงกราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ขณะนั้นพระชนมพรรษา ๓๗ พรรษา

ทรงตระเตรียมบ้านเมืองป้องกันข้าศึกทางทะเล แต่งตั้งพระประยูรญาติที่ปรีชาสามารถดำ�รงตำ�แหน่ง สำ�คัญ ๆ ช่วยราชการ มอบหมายหน้าที่ สร้างเมือง ป้อมปราการ เรือ และอาวุธยุทโธปกรณ์ สร้างปืนใหญ่ แสดงถึงแสนยานุภาพทางเรือในรัชสมัย

๕๗

สร้างปืนใหญ่จำ�นวนมาก เรียก ปืนรักษาพระศาสนา และ ปืนสัมมาทิฐิ โดยนำ�นายช่างหล่อเหล็กมาจากเมืองจีน เตรียมป้องกันราชอาณาจักรในช่วงเวลานั้น

โปรดให้ต่อเรือขนาดใหญ่สำ�หรับออกทะเล จำ�นวน ๘๐ ลำ� ใช้ในกรุงเทพ ฯ ๔๐ ลำ� อีก ๔๐ ลำ�ส่งไปตามหัวเมือง

ปีถัดมาโปรดให้ต่อเรือกำ�ปั่นอีก ๑๒ ลำ� เพื่อใช้ในการลาดตระเวน

ในการป้องกันข้าศึก โปรดให้สร้างป้อมเพิ่มเติม เช่น ป้อมไพรีพินาศ ป้อมพิฆาตปัจจามิตร ที่เมืองจันทบุรี

ป้อมคงกระพัน ป้อมเสือซ่อนเล็บ ที่เมืองสมุทรปราการ และป้อมพิฆาตข้าศึก ที่เมืองสมุทรสงคราม

นอกจากนี้ยังมีป้อมที่ตำ�บลปากแพรก เมืองกาญจนบุรี ตำ�บลเนินวง เมืองจันทบุรี และที่ตำ�บลท่าบ่อ เมืองสงขลา

๕๘

การปกครองในครั้งนั้น แบ่งเป็นหัวเมืองชั้นนอก ชั้นใน และหัวเมืองประเทศราช ได้แก่ ลาว เขมร และมลายู

พุทธศักราช ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ก่อกบฏ โปรดให้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นแม่ทัพไปปราบ

ยึดเมืองเวียงจันทน์ได้สำ�เร็จ ในพุทธศักราช ๒๓๗๐

ต้องสู้รบกับญวนในดินแดนเขมร เรียกการศึกว่า สถาปนานักองค์ด้วงขึ้นเป็นกษัตริย์กัมพูชา “อานามสยามยุทธ” ยืดเยื้อเป็นเวลา ๑๕ ปี ตามธรรมเนียมของไทย พระนามว่า ยุติในพุทธศักราช ๒๓๙๐ สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี เป็นผลให้ อิทธิพลวัฒนธรรมสยามหลายประการ เข้าไปงอกงามในกัมพูชา

๕๙

รายได้หลักของชาติอีกทางหนึ่ง ได้จากการส่งเสริมการค้า สนับสนุนให้มี การค้าขายกับนานาประเทศเพิ่มมากขึ้น

เนื่องจากกรุงเทพ ฯ เป็นเมืองท่าหลักการค้าสำ�เภาในทะเลจีนใต้ เป็นแหล่งอุตสาหกรรม ต่อเรือสำ�เภาเดินสมุทรแบบจีนที่นิยมใช้กัน จึงเป็นศูนย์กลางการค้าระดับภูมิภาคที่คึกคัก

การทำ�นุบำ�รุงประเทศ ต้องใช้จ่าย งบประมาณแผ่นดินจำ�นวนมาก แต่เนื่องจาก รายได้จากการค้าไม่เอื้อให้มีเงินเข้าสู่พระคลัง จึงเริ่มปรับปรุงการเก็บภาษี

โปรดให้เก็บภาษีเป็นเงินแทนสินค้าหรือแรงงาน บางอย่างให้ราษฎรจัดเก็บเรียกว่า ผูกภาษี และตั้งภาษีขึ้นใหม่ ๓๘ อย่าง อืม...

ปรับปรุงอย่างไรขอรับ

๖๐

ภาษีบางส่วนให้เอกชนประมูลรับเหมา ผูกขาดไป เรียกเก็บภาษีจากราษฎรเอง เรียกว่า เจ้าภาษี นายอากร ผู้ประมูลส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ด้วยวิธีการ นี้ทำ�ให้เก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นกอบเป็นกำ� ถึงเวลาต้องจ่าย เลี้ยวนะ

อีกส่วนหนึ่งยังมีภาษีเบิกร่อง ภาษีขาออก ได้จากการค้าขายกับชาวต่างประเทศ และการค้าแบบผูกขาดของพระคลังด้วย

ล่าย ๆ

ใช่แล้ว ไม่แพ้สมัยกรุงศรีอยุธยาดอก เราค้าขาย กับนานาชาติ เศรษฐกิจการค้าเจริญรุ่งเรือง ภาษีเข้าคลังก็เลยเก็บได้มากกว่ารัชกาลก่อน ๆ

บ้านเมืองในรัชกาลที่ ๓ นี้ มีสำ�เภาค้าขาย เข้า-ออกมิได้หยุดหย่อนเลยนะคุณหลวง

“เงินถุงแดง” เป็นพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์จากการค้าสำ�เภา ทรงบรรจุไว้ในถุงผ้าสีแดง เก็บไว้ข้างพระแท่นบรรทม เรียกว่า “เงินข้างที่” เป็นเหรียญทองคำ�ของสเปนผลิตในเม็กซิโก ใช้แลกเปลี่ยนซื้อขายกันในสมัยนั้น มีพระราชดำ�รัสว่า “เก็บไว้ให้ลูกหลานกู้แผ่นดิน”

๖๑

ขณะดำ�รงตำ�แหน่งพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อค้าขายมีกำ�ไร จะทรงแบ่งเงินส่วนพระองค์นี้ถวาย สมเด็จพระบรมชนกนาถ

ทรงขอไว้ หนึ่งหมื่นชั่ง (๑๐,๐๐๐ ชั่ง) เพื่อบำ�รุงวัดที่ทรงสร้างค้างไว้ให้แล้วเสร็จ ส่วนที่เหลือให้ถวายพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ใหม่ ตามแต่จะทรงใช้สอย

ปลายรัชกาล มีเงินในพระคลังข้างที่ เหลือจากใช้จ่ายในราชการแผ่นดิน สี่หมื่นชั่ง (๔๐,๐๐๐ ชั่ง)

ซึ่งต่อมาเป็นจริงดังที่ทรงกล่าวไว้ พุทธศักราช ๒๔๓๖ เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ในรัชกาลที่ ๕ ไทยต้อง เสียค่าปฏิกรรมสงคราม แก่ฝรั่งเศส ๓,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ ประมาณ ๑,๖๐๕,๒๓๕ บาท เงินที่ใช้เพื่อแลกกับอธิปไตย ส่วนใหญ่มาจาก “เงินถุงแดง” ๖๒

วันที่ ๒๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๘๒ โปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่องห้ามสูบฝิ่นและค้าฝิ่น โดยกำ�หนดโทษร้ายแรง ทั้งปรับ โบย หรือริบทรัพย์ แต่การสูบฝิ่นมิได้ลดน้อยลง

การที่ประชาชนติดฝิ่นเป็นเรื่องใหญ่ของแผ่นดิน ถือเป็นการบ่อนทำ�ลายชาติ เพราะผู้ติดฝิ่น จะเป็นบุคคลที่ไร้ทั้งกำ�ลังวังชาและไร้สติปัญญา เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากยิ่ง

ฝิ่นระบาดตามเมืองที่ชาวจีนอพยพมา ตั้งถิ่นฐานทำ�มาหากินจำ�นวนมาก ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสงคราม เพชรบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ถลาง

ทรงกวดขันกวาดล้างการค้าฝิ่นครั้งใหญ่ ริบได้ฝิ่นดิบ ๓,๗๐๐ หาบเศษ ฝิ่นสุก ๒ หาบ รวมเป็นนํ้าหนักฝิ่น ถึง ๒๒๒,๑๒๐ กิโลกรัม คิดเป็นราคาขาย ในขณะนั้น ๑๘,๕๙๐,๐๐๐.๐๐ บาท มากกว่างบประมาณแผ่นดินหลายเท่า โปรดให้รวมนำ�มาเผาทำ�ลาย ที่สนามไชย หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์

ทรงนำ�กลักฝิ่นจำ�นวนมาก มาหลอมแล้วหล่อเป็นพระพุทธปฏิมา ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ประดิษฐาน ณ ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อแรกผู้คนเรียกว่า “พระกลักฝิ่น”

ต่อมา พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ถวายพระนามว่า “พระพุทธเสรฏฐมุนี” ความหมายว่า “พระผู้ประเสริฐสุด”

๖๓

มีพระราชปณิธานในการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ให้รุ่งเรืองงดงามเหมือนอย่างพระนครศรีอยุธยา เพื่อบำ�รุงจิตใจชาวไทย สืบสานพระราชปณิธานในรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ทรงมุ่งมั่นแก้ไขเศรษฐกิจแผ่นดินที่ฝืดเคืองต่อเนื่อง เพื่อประเทศมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยการค้า จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการค้าไทย” สามารถสร้างบ้านเมือง วัดวาอารามใหญ่โตสูงเด่นเป็นสง่างดงามด้วยงานศิลปะและสถาปัตยกรรมตามพระราชนิยม ให้ชาวโลกชื่นชมตราบปัจจุบัน สะท้อนพระราชหฤทัยในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมเป็นสำ�คัญ

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสำ�เภาเจดีย์ ณ วัดคอกกระบือ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็น รูปแบบสำ�เภาซึ่งกำ�ลังจะหมดไปจากเมืองไทย แล้วพระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดยานนาวา”

๖๔

พระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก มีพระราชศรัทธาเลื่อมใสมั่นคงยิ่งใหญ่ ในพระพุทธศาสนา จึงทรงบำ�เพ็ญ พระราชกุศลอยู่เป็นเนืองนิจ มีคำ�กล่าวว่า ผู้ใดเอาใจใส่ทำ�นุบำ�รุงในพระพุทธศาสนา และสร้างพระอาราม “จะเป็นคนโปรด”

ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ทั้งในพระนคร และหัวเมือง สร้างใหม่ ๓ วัด คือ วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดาราม วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร และทรงบูรณปฏิสังขรณ์อีก ๓๕ วัด

วัดสำ�คัญที่บูรณปฏิสังขรณ์ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว งดงามราวกับทรงสร้างขึ้นใหม่ทั้งสิ้น

การสร้างหรือบูรณะพระอาราม ทรงนำ�ศิลปะไทย จีน และตะวันตก มาผสมผสาน กลมกลืนกันอย่างลงตัว เรียกว่า “ศิลปะแบบพระราชนิยม”

๖๕

โดยนำ�กระเบือ้ งเคลือบและกระเบือ้ งถ้วยชาม มาประดับลายปูนปั้นของสถาปัตยกรรม เช่น พระปรางค์ ซุ้มประตู หน้าต่าง ระเบียงคด จึงมีลักษณะโดดเด่นเป็นแบบเฉพาะของ รัตนโกสินทร์โดยแท้ กล่าวได้ว่าเป็นการ พัฒนาศิลปะครัง้ สำ�คัญ กว้างขวางและยิง่ ใหญ่

วัดราชโอรสาราม (เดิมชื่อวัดจอมทอง) เป็นวัดประจำ�รัชกาล ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อเสด็จ ฯ กลับจากขัดตาทัพที่กาญจนบุรี ครัง้ ทรงดำ�รงพระอิสริยยศกรมหมืน่ เจษฎาบดินทร์ ลักษณะการประดับ ตกแต่ง ตลอดจนจิตรกรรม เป็นการผสมผสานศิลปะจีนและไทย ที่งดงาม น้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ

ทรงสร้างพระธาตุเจดีย์ องค์สำ�คัญ คือ พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม สร้างมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ มาแล้วเสร็จสวยงามสง่า ในรัชกาลของพระองค์ ประดุจสัญลักษณ์ ความเป็นชาติไทย

ภายในวัดมีพระพุทธปฏิมาองค์ใหญ่ คือ พระพุทธไสยาส ตกแต่งลวดลายมุกที่ฝ่าพระบาท

โปรดให้สร้างพระเจดีย์ ๓ องค์ ต่อมา ในรัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้าง เพิ่มอีก ๑ องค์ แสดงสัญลักษณ์ พระมหากษัตริย์ กรุงรัตนโกสินทร์ ๔ พระองค์ ประดับกระเบื้องหลากสี งดงามมาก ในวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

บริเวณวัด มีรูปหล่อฤาษีดัดตน เป็นต้นแบบการนวดแก้เมื่อยล้า จำ�นวน ๘๐ ตน

๖๖

ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จ พระบรมอัยกาธิราช พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

โปรดให้ประชุมนักปราชญ์ ราชบัณฑิต รวบรวม ชำ�ระสรรพวิทยาความรู้ ทั้งตำ�รา กวีนิพนธ์ ตำ�ราแพทย์แผนโบราณ ตำ�รายา ตำ�รานวด แผนโบราณ ซึ่งเป็น ภูมิปัญญาที่ลํ้าค่า

แล้วจารึกสรรพวิชา เหล่านี้ลงแผ่นศิลา ประดับไว้ ตามสิ่งก่อสร้าง วิหาร ระเบียงคด ภายในพระอาราม และศาลารายต่าง ๆ

๖๗

แผ่นศิลาจารึกเหล่านีจ้ งึ เป็นตำ�รา สรรพความรูท้ กุ แขนงแก่มหาชน อย่างเสรี ได้รบั ยกย่องว่าเป็น มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของชาติ สะท้อนความเป็นนักการศึกษา ของพระองค์วา่ ทรงริเริม่ การให้ความรู้ อาชีพแก่ทวยราษฎร์ โดยถ้วนหน้ากัน ทรงสร้างความเสมอภาคในการเรียนรู้ ให้แผ่ ไพศาล นํ้าพระราชหฤทัยบริสุทธิ์ กว้างขวางนัก

แผ่นจารึกทั้ง ๑,๔๔๐ ชิ้น ได้รับการ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำ� แห่งโลก ในระดับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๔

พุทธศักราช ๒๕๕๑ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ประกาศยกย่องสรรพความรู้เหล่านั้น เป็นมรดกความทรงจำ�ของภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก

พุทธศักราช ๒๕๕๘ คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย”

๖๘

ทรงพระปรีชาด้านวรรณกรรม ทรงพระราชนิพนธ์ โคลงปราบดาภิเษกเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บทละครสังข์ศิลป์ชัย เพลงยาวสังวาส บทเสภาในขุนช้างขุนแผน (บางตอน)

กวีสำ�คัญในรัชสมัย คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และสุนทรภู่ ซึ่งมีชื่อเสียงมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ วรรณคดีสำ�คัญ ได้แก่ ลิลิตตะเลงพ่าย ปฐมสมโพธิกถา กฤษณาสอนน้องคำ�ฉันท์ ระเด่นลันได โคลงสุภาษิตโลกนิติ โปรดให้สร้างพระไตรปิฏก ๗ ฉบับ ได้แก่ ฉบับรดนํ้าเอก ฉบับรดนํ้าโท ฉบับทองน้อย ฉบับชุบย่อ ฉบับอักษรรามัญ ฉบับเทพชุมนุม และฉบับลายกำ�มะลอ

ทรงบำ�รุงการศึกษาพระปริยัติธรรม สร้างเสริมความรู้พระภิกษุ พระปริยัติธรรม ในรัชสมัยแพร่หลายรุ่งเรืองอย่างยิ่ง

โปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งหนังสือ “จินดามณี” เป็นหนังสือแบบเรียนเขียนอ่าน สำ�หรับเด็ก ๖๙

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงครองแผ่นดินดุจจะทรงรักษาพระราชสมบัติ ถวายแด่สมเด็จพระอนุชาธิราช มิได้ทรงสถาปนา พระสนมขึ้นเป็นพระมเหสี และไม่มีพระราชโอรส สืบราชสันตติวงศ์

พระองค์คือหัวใจของแผ่นดิน

๗๐

เนื่องจากมีพระราชประสงค์ จะถวายไอศูรย์ราชสมบัติแด่ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทวาวงษ์

เมื่อทรงพระประชวรใกล้จะเสด็จสวรรคต ได้มีพระราชดำ�รัส แสดงความห่วงใยบ้านเมืองไว้ว่า... ...การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใส ไปเสียทีเดียว...

๗๑

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๔ ทรงดำ�รงสิริราชสมบัติ ๒๗ ปี

วันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๐ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ถวายพระราชสมัญญา กำ�หนดให้ ออกพระนามพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รวม ๓ แบบ คือ “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว”“พระมหาเจษฎาราชเจ้า” และ “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหา เจษฎาราชเจ้า” มีความหมายว่า “พระมหาราชเจ้าผู้มีพระทัยตั้งมั่นในการบำ�เพ็ญพระราชกิจ” คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการค้าไทย” และกำ�หนดให้วันที่ ๓๑ มีนาคมของทุกปี เป็น “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” และเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๘ ถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย” และกำ�หนดให้วันที่ ๒๙ ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทยแห่งชาติ”

๗๒

รัชกาลที่ ๔ แนวคิดอารยะ

พระราชลัญจกรประจำ�พระองค์รัชกาลที่ ๔ เป็นตรางา ลักษณะกลมรี รูปพระมงกุฎ สัญลักษณ์พระปรมาภิไธยว่า มงกุฎ ศิราภรณ์สำ�คัญของพระมหากษัตริย์ อยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ มีฉัตรบริวารตั้งขนาบข้างที่ริมขอบทั้งสองข้าง มีพานทองสองชั้นวางพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรข้างหนึ่ง สมุดตำ�ราข้างหนึ่ง รูปพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรนี้มาจากฉายาเมื่อทรงผนวชว่า วชิรญาณ ส่วนสมุดตำ�รามาจากเหตุที่ได้ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทางอักษรศาสตร์และดาราศาสตร์

... อาวุธชนิดเดียว ที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อเราในอนาคต ก็คือวาจาและหัวใจของเราอันกอปรด้วยสติและปัญญา ... พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังพระยาสุรวงษ์ ไวยวัฒน์

๗๔

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๓๔๗ ณ พระราชวังเดิม

พุทธศักราช ๒๓๕๕ ขณะพระชนมพรรษา ๙ พรรษา มีการพระราชพิธีลงสรง ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์

มีพระอนุชาร่วมพระราชชนนี คือ สมเด็จ เจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว)

พระนามตามจารึก ในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงษ์ พงษ์อิศรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร

ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในศิลปะการเรือน การช่าง ทรงพระปรีชาสามารถในทุก ๆ แขนง ตามแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณี ในสมัยอยุธยา

๗๕

พุทธศักราช ๒๓๕๙ พระชนมพรรษา ๑๓ พรรษา ทรงรับการพระราชพิธีโสกันต์ เต็มตามพระอิสริยยศ ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ชั้นเจ้าฟ้า ตั้งเขาไกรลาสจำ�ลองและที่สรงสนาน บริเวณหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

พระราชพิธีโสกันต์ คือ พิธีโกนจุก ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ เป็นพระราชพิธีใหญ่และสำ�คัญ ตามโบราณราชประเพณี ถือเป็นพิธีก้าวผ่านวัยเยาว์ สู่วัยรุ่นพร้อมเป็นผู้ใหญ่ ที่มีความรับผิดชอบสูงขึ้น

เจ้าฟ้ามงกุฎทรงเริ่มศึกษาเล่าเรียน วรรณคดี กาพย์ กลอน ภาษาไทย พระราชพงศาวดารสยาม และพระราชประวัติ วีรกษัตริย์ไทย หลักพุทธศาสนาเบื้องต้น หลักทศพิธราชธรรม และภูมิศาสตร์ ทั้งยังทรงฝึกหัดการใช้อาวุธทั้งปวง ทรงช้าง ทรงม้า มีความชำ�นาญ คล่องแคล่วตามจารีต

๗๖

มีสถานที่ประทับต่างหาก มีข้าราชบริพาร และพระพี่เลี้ยงฝ่ายชาย เป็นผู้ดูแล

ขณะพระชนมพรรษา ๑๔ พรรษา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร เป็นเวลา ๗ เดือน ครั้นพุทธศักราช ๒๓๖๗ พระชนมพรรษา ๒๐ พรรษา ทรงผนวชเป็นภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระอริยวงษญาณ (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระฉายานามว่า “วชิรญาโณ” หรือ “วชิรญาณภิกขุ” จำ�พรรษา ณ วัดราชาธิวาส สมัยนั้นเรียกวัดสมอราย

เมื่อทรงผนวช ๑๕ วัน สมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคต มิได้ทรงมอบราชสมบัติ แก่พระราชวงศ์องค์ใด แต่พระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งหลาย เห็นว่าพระองค์ชนมพรรษาน้อย และยังไม่มีประสบการณ์การบริหารบ้านเมือง

เห็นควรอัญเชิญพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เสด็จเสวยราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓

เทียบกับพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ พระเชษฐาต่างพระมารดา ทรงรับ ราชการต่างพระเนตรพระกรรณมานาน และมีพระชนมพรรษาแก่กว่า ๑๗ พรรษา

เจ้าฟ้ามงกุฎทรงตัดสินพระทัย ดำ�รงอยู่ ในสมณเพศ ศึกษาเรียนรู้ สรรพวิชาให้แตกฉาน

๗๗

เมือ่ ทรงดำ�รงอยูใ่ นสมณเพศ ทรงตัง้ พระราชหฤทัย ศึกษาพระปริยัติธรรมและภาษามคธ (บาลี) แตกฉานเชี่ยวชาญ ทรงพระปรีชาสามารถ เป็นที่เลื่องลือ

ทรงศึกษาวิชา ปรัชญาศาสนา โหราศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ โบราณคดี วิทยาศาสตร์ (ทั้งสาขาฟิสิกส์ เคมี) ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์

ด้านภาษาศาสตร์ ได้แก่ บาลีสันสกฤต ลาว เขมร มอญ ญวน พม่า มลายู ฮินดี อังกฤษ และละติน

เฉพาะภาษาละติน ทรงฝึกฝนกับสังฆราช ชาวฝรัง่ เศส ชือ่ ปัลเลอกัวซ์ ทรงแลกเปลีย่ น ด้วยการสอนภาษาบาลี จึงคุน้ เคยกันฉันมิตร เป็นโอกาสให้รอบรูส้ ภาวะเหตุการณ์ทว่ั ไป ของโลกอย่างทันสมัย กว้างขวาง

ทราบมาว่า สมเด็จพระองค์นี้ ทรงศึกษาวิชาการ ต่าง ๆ หลายแขนง

เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๒ ทรงจัดระเบียบการปกครองสงฆ์ เรียกว่า “คณะธรรมยุติกนิกาย” ขึ้น เพื่อให้พระสงฆ์ มีวัตรปฏิบัติตามพุทธบัญญัติอย่างเคร่งครัด นับเป็นการปฏิรูปสงฆ์ครั้งสำ�คัญในประเทศ

ใช่แล้ว ทรงเคร่งครัด ในพระธรรมวินัยมาก มีความรู้แตกฉานในวิชา ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นอย่างดี

๗๘

เมื่อทรงดำ�รงอยู่ในสมณเพศ ทรงถือวัตรปฏิบัติ เช่นภิกษุทั้งหลาย เสด็จออกบิณฑบาต เคร่งครัดศึกษาพระธรรมวินัย มิได้เห็นเป็นความทุกข์ยาก

เสด็จธุดงค์ไปในท้องถิ่นเกือบทุกภาค บุกป่าฝ่าดง ขึ้นเขาลงห้วย ไปนมัสการ ปูชนียสถานตามหัวเมืองต่าง ๆ ทำ�ให้ เห็นชัยภูมิและสภาพความเป็นอยู่ทุกข์ยาก ของราษฎรในที่ห่างไกลอย่างถ่องแท้

เมือ่ พุทธศักราช ๒๓๗๖ เสด็จธุดงค์เมืองสุโขทัยเก่า ทรงพบศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำ�แหง จารึกสุโขทัยหลักที่ ๔ จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) ของพระยาลิไทและพระแท่นมนังศิลาบาตร โปรดนำ�มาด้วย

ด้วยพระปรีชาสามารถด้านอักษรศาสตร์ และสนพระราชหฤทัยประวัติศาสตร์ ทรงให้ พระผู้ใหญ่ที่รอบรู้ในภาษาโบราณอ่านจารึก นับว่าทรงวางรากฐานการศึกษา อักษรโบราณ ประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชาติไทย

พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบาลเมือง ...

๗๙

เมื่อ ๒๗ พรรษาผ่านพ้น พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงรอบรู้วิชาการต่าง ๆ อย่างแตกฉานเชี่ยวชาญ

อันเป็นวิถีทางแห่งการขึ้นครองแผ่นดิน ของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ อย่างงดงาม

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเชษฐา ทรงตระหนักว่า เจ้าฟ้ามงกุฎจะทรงเป็น ผู้ที่สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป แม้ตำ�แหน่ง สมเด็จพระบวรราชเจ้าว่าง ก็มิได้ทรงแต่งตั้งเจ้านาย พระองค์ใดแทน

เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อ ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ในหมู่ชาวต่างชาติขานพระนามว่า “คิงมงกุฎ” พระชนมพรรษา ๓๗ พรรษา โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สอง ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับ ณ พระราชวัง บวรสถานมงคล (วังหน้า) ๘๐

เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดให้ ประกอบพระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา โดยพระราชวงศ์ เสนาบดี ทหาร และพลเรือน ดื่มนํ้าพระพิพัฒน์สัตยาร่วมกับพระองค์ ด้วยมีพระราชประสงค์ให้ข้าราชบริพาร มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีต่อสถาบันและประชาชน มีความซื่อสัตย์

พุทธศักราช ๒๓๙๕ มีพระราชดำ�ริ ปรับเปลี่ยนประเพณีการเข้าเฝ้า ให้ข้าราชการ สวมเสื้อ แต่เดิมสวมเสื้อเฉพาะฤดูหนาว

บางคนเป็นกลากเกลื้อน ดูสกปรกไม่งาม จึงมีการดัดแปลงเสื้อแบบ “บาบ๋า” เป็นเสื้อคอตั้ง ตัวยาวมาใช้ อย่างนี้ ดูมี อารยธรรมขึ้น

ทรงฟื้นฟูประเพณีการตีกลองร้องฎีกา เพื่อให้ ทราบถึงทุกข์สุขของราษฎร โดยจะเสด็จออกมา รับฎีกาด้วยพระองค์เอง ทุกวันโกน เดือนละ ๔ ครั้ง

ทรงให้เสรีภาพแก่ประชาชน ในการเลือกนับถือศาสนา และการประกอบอาชีพ

๘๑

ในรัชสมัย เศรษฐกิจขยายตัว เนื่องจากมีการติดต่อค้าขาย กับต่างประเทศมากขึ้น ทำ�ให้ผู้คนมาอาศัยเป็นชุมชนเพิ่มขึ้น มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษม เป็นคูเมืองชั้นนอก ขยายเมือง ให้กว้างขึ้น โปรดให้ขุดคลองไปสู่ภูมิภาคเพิ่มจากรัชกาลก่อน โดยจ้างแรงงานชาวจีน ข้าราชการไทยควบคุมงาน ได้แก่ คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ คลองดำ�เนินสะดวก คลองเจดีย์บูชา เป็นต้น

ในรัชสมัย มีชาวยุโรปเดินทางเข้ามา สู่ประเทศไทยมากขึ้น

มีคลองใหม่ ไปไหนมาไหน คล่องตัว

คนย้ายมาอยู่ ตามริมคลอง มากขึ้นด้วย เท่ากับเป็นการ ขยายเมือง

เป็นการดีที่ชาวยุโรปแยกอยู่เป็นส่วนต่างหาก เพราะมีความเป็นอยู่ต่างจากคนไทย

๘๒

ทรงคำ�นึงถึงความสะดวกสบายของราษฎร โดยถ้วนหน้า เมื่อขุดคลองแล้ว ก็ให้สร้างสะพานข้ามคลองหลายแห่ง

เมื่อทรงทราบว่าพวกกงสุลฝรั่งบ่นว่า พระนคร ไม่มีถนนที่เหมาะสมสำ�หรับนั่งรถม้าท่องเที่ยว ผ่อนคลายในยามเย็น จึงโปรดให้สร้างถนนขึ้น เมื่อแล้วเสร็จจึงโปรดให้สร้างอาคารริมถนน ให้ราษฎรประกอบการค้า นับเป็น สิ่งแปลกใหม่ในรัชสมัย

ถนนที่สร้างขึ้น ได้แก่ ถนนเจริญกรุง ถนนบำ�รุงเมือง และถนนเฟื่องนคร ทำ�ให้การคมนาคมทางบกสะดวกขึ้น

นอกจากนี้ โปรดให้สร้างพระราชวังขึ้น ในภูมิภาค เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๓ ที่จังหวัดเพชรบุรี บนยอดเขามหาสมณะ (เขามหาสวรรค์) เรียกว่าพระนครคีรี รู้จักกันในชื่อเขาวัง

ทรงสถาปนาพระอาราม ๕ แห่ง คือ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งถือเป็น วัดประจำ�รัชกาล วัดบรมนิวาส วัดโสมนัสวิหาร วัดมกุฏกษัตริยาราม และวัดปทุมวนาราม

ณ พระนครคีรี ทรงสร้างหอชัชวาลย์เวียงชัย รูปวงกลมคล้ายกระโจมไฟ นักเดินเรือในทะเล จะมองเห็นแสงไฟจากหอนี้ เมื่อนำ�เรือ เข้าปากอ่าว และเชื่อว่าเป็นหอสังเกตการณ์ ทางดาราศาสตร์ของพระองค์ด้วย

๘๓

ในรัชสมัย อารยธรรมตะวันตกได้เข้ามามีบทบาท ในวงราชการไทยมาก กฎหมายตราสามดวง ที่ใช้มาเก่าก่อน ไม่สามารถนำ�มาใช้บังคับได้ทั้งหมด เนื่องจากชาวต่างชาติอ้างอยู่เสมอว่า กฎหมายไทยล้าสมัย บางข้อไม่ยุติธรรม มีบทลงโทษรุนแรงเกินกว่าเหตุ จึงได้มีข้อกำ�หนดขึ้นใหม่เกือบ ๕๐๐ ฉบับ

โปรดให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นเป็นครั้งแรก ในพระบรมมหาราชวัง ชื่อ โรงพิมพ์อักษร พิมพการ เพื่อใช้พิมพ์แถลงข่าวของราชการ เรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา”

ทรงให้ยกเลิกวิธีการพิจารณาพิพากษา ตามจารีตนครบาลอันมีลักษณะทารุณ

โปรดให้ตั้งศาลกงสุลขึ้นเป็นครั้งแรก อันเนื่อง มาจากการทำ�สนธิสัญญากับชาติตะวันตก เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างคนไทย กับคนในบังคับของชาวต่างชาติ เป็นส่วนที่ ทำ�ให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ในเวลาต่อมา

ประกาศลดภาษีอากร ลดหย่อนค่านา มิให้เก็บภาษี เป็นข้าวจากชาวนา ยกเลิกการเก็บอากรตลาด มาเก็บภาษีโรงร้านเรือนแพจากผู้ค้าขายรายใหม่ เมื่อมีการเวนคืนที่ดินให้ชดใช้ค่าที่ดิน เตือนให้ราษฎรรอบคอบ ในการทำ�นิติกรรมด้วย

๘๔

โปรดให้ยกเลิกกฎหมายการให้สทิ ธิบ์ ดิ า มารดา และสามีขายบุตรและภรรยา โดยให้การซือ้ ขายทาสเป็นสิทธิข์ องเจ้าตัว และห้ามมิให้ซอ้ื ขายทาสทีเ่ ป็นชาวต่างชาติ

พุทธศักราช ๒๔๐๔ มีการจัดตั้ง ตำ�รวจพระนครบาล หรือโปลิส (Polis) เป็นครัง้ แรก โดยว่าจ้างชาวยุโรป และชาวมลายูซึ่งเคย เป็นตำ�รวจมาก่อนมาเป็นครูฝึก ปฏิบัติงานครั้งแรก บริเวณตลาดสำ�เพ็ง

พุทธศักราช ๒๓๙๔ โปรดให้จัดระเบียบทหารบก ตามแบบตะวันตก โดยว่าจ้างร้อยเอกอิมเปย์ ซึ่งเป็นทหารนอกประจำ�การ ของกองทัพบกอังกฤษประจำ�ประเทศอินเดีย เข้ามาเป็นครูฝึก การเรียกชื่อยศ ตำ�แหน่ง ใช้ภาษาอังกฤษ ปลายรัชกาล จ้างชาวฝรั่งเศส ชื่อ ลามาส เข้ามาฝึกทหารรักษาพระองค์ตามแบบยุโรป

ทรงปรับปรุงการทหารเรือ โปรดให้เปลี่ยนแปลงเรือรบใหม่ จากเรือ กำ�ปั่นรบใช้ใบ มาเป็นเรือกำ�ปั่นรบกลไฟ เรือกลไฟลำ�แรกคือ เรือสยามอรสุมพล และต่อเรือรบเพิ่มเติมอีกหลายลำ� เช่น เรือราญรุกไพรี เรือศรีอยุธยาเดช เป็นต้น

ปลายรัชกาล โปรดให้ต่อเรือรบขนาดใหญ่ คือ เรือสยามูประสดัมภ์ แล้วโปรดให้ตั้ง กรมเรือกลไฟขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๑

๘๕

ด้านความสัมพันธ์ต่างประเทศ เนื่องจากทวีปเอเชียเป็นที่ปรารถนา ของนักล่าอาณานิคมตะวันตก ซึ่งได้แผ่ขยายอำ�นาจเข้าครอบครอง หลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ญวน และเขมร ตกเป็นของฝรั่งเศส ส่วนประเทศไทย หรือในขณะนั้น เป็นที่รู้จักกันในนาม สยาม เริ่มมีเค้ามาตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ ว่าเป็นที่ปรารถนาของ มหาอำ�นาจอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประเมินกำ�ลังของประเทศแล้ว จึงยอมผ่อนปรนนโยบายทางการทูต ยอมเสียสละผลประโยชน์ส่วนน้อย เพื่อรักษาเอกราชของประเทศ โดยทรงทำ�สนธิสัญญา กับประเทศตะวันตก พุทธศักราช ๒๔๐๐ และ พุทธศักราช ๒๔๐๔ ทรงส่งคณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรี กับอังกฤษ โปรดจัดเครื่องบรรณาการ เป็นของขวัญถวายแด่สมเด็จพระราชินีนาถ วิกตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร เป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้น

เริ่มจากอังกฤษได้ส่งราชทูต เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาใหม่ ในพุทธศักราช ๒๓๙๘ เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง

๘๖

โปรดให้ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เป็นกงสุลไทย ประจำ�กรุงลอนดอน พระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น “พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ”

สยามคงทำ�สนธิสัญญาในทำ�นองเดียวกันนี้ กับ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และประเทศในกลุ่ม สแกนดิเนเวีย เช่น สวีเดน และนอร์เวย์

การทำ�สนธิสัญญากับต่างประเทศนั้น แม้จะถูก บีบคั้นจากหลายด้าน แต่สยามก็พยายาม ให้ข้อตกลงเป็นคุณแก่ประเทศที่สุด ทำ�ให้รักษา ความเป็นเอกราชของประเทศได้ตลอดมา

การยกเลิกระบบการค้าผูกขาดมาเป็นการค้า แบบเสรี มีผลให้ราษฎรสามารถติดต่อค้าขาย กับต่างชาติได้โดยตรงด้วยเช่นกัน ทำ�ให้ เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว

การติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ ทำ�ให้ ภายหลังเปิดเสรีการค้าก็มีการผลิต อารยธรรมตะวันตกเข้ามาแพร่หลายในสยาม เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยม มีการนำ�วิทยาการใหม่ ๆ มาปรับปรุง มาใช้แลกเปลี่ยน และเงินพดด้วง และพัฒนาบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้า ที่ใช้อยู่ก็ใช้ต่อไป มากขึ้น แต่จะไม่ผลิตเพิ่มแล้ว ทราบขอรับ เห็นว่า มีการตั้งโรงกษาปณ์ พระราชทานนามว่า “โรงกษาปณ์์สิทธิการ” ในพระบรมมหาราชวัง ด้วย ๘๗

บทพระราชนิพนธ์ที่สำ�คัญ ได้แก่ ชุมนุมพระบรมราโชบาย ๔ หมวด คือ หมวดวรรณคดี โบราณคดี ธรรมคดี และตำ�รา ต่าง ๆ เช่น ตำ�นานเรื่องพระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์

ทรงสนพระราชหฤทัยศึกษา สรรพวิชาการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะวิทยาการของชาวตะวันตก

ทรงกวดขันคนไทย ให้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ทรงสนับสนุนโรงเรียนของ หมอสอนศาสนาที่เข้ามา เปิดกิจการในประเทศไทย เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษา อรรถคดี และวิทยาการ ของชาติตะวันตกด้วย

หมอบรัดเลย์

ปัลเลอกัวซ์

โปรดให้ส่งข้าราชการไปศึกษางานที่จำ�เป็น สำ�หรับราชการไทย ณ ต่างประเทศ

มิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนา และวิทยาการตะวันตก

หมอเฮาส์

มีการตัง้ โรงเรียนชายขึน้ ทีต่ �ำ บลสำ�เหร่ (ปัจจุบนั คือโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย) ส่วนโรงเรียนสตรีแห่งแรกในไทย คือโรงเรียนกุลสตรีวงั หลัง (ปัจจุบนั คือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย)

๘๘

ทรงศึกษาวิชาดาราศาสตร์และวิทยาการ สมัยใหม่ของตะวันตกอย่างแตกฉาน

ทรงคำ�นวณ วัน เวลา และสถานที่เกิดสุริยุปราคา ก่อนล่วงหน้า ๒ ปี ว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในวันที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ เวลา ๑๑ นาฬิกา ๓๖ นาที ๑๓ วินาที ใช้เวลามืดเต็มดวง ๖ นาที ๔๗ วินาที

ปรากฏการณ์มองเห็นได้ชัดเจน ที่บริเวณคลองวาฬ ตำ�บลหว้ากอ เมืองประจวบคีรีขันธ์ ทรงเชิญนักดาราศาสตร์ต่างประเทศ มาร่วมศึกษาปรากฏการณ์นั้น ซึ่งมิได้คลาดเคลื่อน จากที่ทรงคำ�นวณไว้เลย พระอัจฉริยภาพจึงเป็นที่ประจักษ์ เลื่องลือในวงการดาราศาสตร์ทั่วโลก ภายหลังเสด็จ ฯ กลับจากทอดพระเนตร สุริยุปราคาครั้งนี้ ทรงพระประชวร ด้วยโรคไข้ป่ารุนแรง และเสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ พระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ทรงดำ�รงสิริราชสมบัติ ๑๘ ปี

๘๙

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอัจฉริยภาพเป็นเลิศในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ ถวายพระราชสมัญญา“พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ และกำ�หนดให้ วันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปี เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ”

พุทธศักราช ๒๕๔๗ ในโอกาสครบ ๒๐๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณ ให้ทรงเป็นบุคคลสำ�คัญของโลก ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสื่อสารมวลชน เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศถวายพระราชสมัญญา “พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏ วิทยมหาราช”

๙๐

รัชกาลที่ ๕ วัฒนะสู่สากล

พระราชลัญจกรประจำ�พระองค์รัชกาลที่ ๕ เป็นตรางา ลักษณะกลมรี รูปพระเกี้ยว ยอดมีรัศมี ประดิษฐานบนพานทองสองชั้น เป็นสัญลักษณ์ของพระปรมาภิไธยว่า จุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นศิราภรณ์ชนิดหนึ่งอย่างมงกุฎ เคียงด้วยฉัตรบริวาร ๒ ข้าง ที่ริมขอบทั้ง ๒ ข้างมีพานสองชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำ�รา ด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์เพชร เป็นการเจริญรอยจำ�ลองมาจากพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

“... การทำ�นุบำ�รุงความเจริญของบ้านเมือง กับทั้งการเลิกล้างความเสื่อมเสียให้หมดไป ที่เราได้พากเพียรจัดทำ�มาตลอดเวลา ๔๐ ปีนี้ก็ดี หรือที่จะจัดทำ�สำ�เร็จเปนคุณเปนประโยชน์ได้ต่อในภายน่าก็ดี ย่อมอาไศรยความสามัคคีพร้อมนํ้าใจกันในชาวเรา เพราะความสามัคคีได้มีมา บ้านเมืองของเราจึงได้มีความเจริญมาถึงปานนี้ ท่านทั้งหลายจงพร้อมใจกันรักษาความสามัคคีนี้ให้ถาวรสืบไป ...” พระราชดำ�รัสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พุทธศักราช ๒๔๕๑ ๙๒

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันอังคาร ที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ณ พระบรมมหาราชวัง

เฉพาะด้านรัฐศาสตร์ ราชประเพณีและโบราณคดี สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงฝึกสอนด้วยพระองค์เอง

ทรงได้รับการศึกษาศิลปวิทยาการทั้งปวง อันสมควรแก่ขัตติยราชกุมาร

ด้านภาษาต่างประเทศ ทรงศึกษา ภาษาอังกฤษกับนางแอนนา เลียวโนเวนส์ นายจอห์น เอช ชันด์เลอร์ หรือหมอจันดเล นายฟรานซิส จอร์จ แปตเตอร์สัน

๙๓

เมื่อมีพระราชกิจมากขึ้น ทรงศึกษาเพิ่มเติม ด้วยพระองค์เอง จนทรงชำ�นาญแตกฉาน

พุทธศักราช ๒๔๐๔ ขณะพระชนมพรรษา ๙ พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ

จากนั้น เสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำ�หนักสวนกุหลาบ เพื่อปรนนิบัติ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงรับฟังพระบรมราโชวาท ในเรื่องราชการ และราชประเพณี เตรียมพระองค์ เป็นพระมหากษัตริย์

วันพฤหัสบดี ที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดี ต่างพร้อมใจกันกราบบังคมทูลเชิญ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกจัดขึ้น เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๑ พระชนมพรรษา ๑๕ พรรษา ๙๔

ทรงประกอบพระราชพิธีโสกันต์ และทรงบรรพชาเป็นสามเณร ทรงจำ�พรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงศึกษาเล่าเรียนพุทธศาสนา และทรงฝึกการแสดงพระธรรมเทศนา เป็นเวลา ๖ เดือน จึงทรงลาสิกขา

พุทธศักราช ๒๔๑๐ ทรงได้รับการ สถาปนาพระราชอิสริยยศ เป็น กรมขุนพินิตประชานารถ ทรงรับหน้าที่บังคับบัญชา กรมมหาดเล็ก กรมทหารบกวังหน้า และ กรมพระคลัง มหาสมบัติ

ในช่วง ๕ ปีแรกของรัชกาล ยังไม่ทรงบรรลุพระราชนิติภาวะ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงรับหน้าที่ เป็นผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยา บำ�ราบปรปักษ์ ทรงรับหน้าที่ กำ�กับดูแลราชสำ�นัก

ทรงใช้เวลา ๕ ปีนี้ศึกษาศิลปวิทยาการ และราชการบ้านเมืองให้รอบรู้กว้างขวาง เพื่อการบริหารราชการแผ่นดินให้รุ่งเรือง

เสด็จฯ เยือนต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่อยู่ในปกครองของอังกฤษ ได้แก่ สิงคโปร์ พม่า และอินเดีย และที่อยู่ในปกครองของฮอลันดา ได้แก่ ปัตตาเวีย เพื่อทรงศึกษาแบบแผน การปกครองนำ�มาปฏิรูปบ้านเมือง

เมื่อทรงบรรลุพระราชนิติภาวะ ทรงพระผนวชเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ เมื่อทรงลาสิกขาแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ มีพระราชอำ�นาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน

๙๕

ช่วงต้นรัชกาล ลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก มีอังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นนักล่าอาณานิคมที่เข้มแข็ง ต่างแข่งขันกันแผ่อำ�นาจเพื่อยึดครองประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย

เหล่านักล่าอาณานิคมมักอ้าง ความชอบธรรมในการเข้ายึดครอง ดินแดนแถบนี้ว่าเป็นการทำ�ให้ บ้านเมืองเจริญก้าวหน้า อันเป็น “ภาระของคนขาว” ทรงเล็งเห็นถึงความจำ�เป็น ในการปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย ทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นสยามใหม่ พระราชกรณียกิจดังกล่าว เริ่มขึ้นตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๑๖

๙๖

พุทธศักราช ๒๔๑๗ ทรงปฏิรูปการปกครอง จากแบบเดิม คือจตุสดมภ์ มีสมุหนายก สมุหพระกลาโหม ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ซึ่งไม่ครอบคลุมงานราชการ

โปรดให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และองคมนตรี เป็นการนำ�รูปแบบ การปกครองแบบตะวันตกมาใช้เป็นครั้งแรก พุทธศักราช ๒๔๓๑ ตั้งกรมใหม่ เพิ่มเติม ๖ กรม รวมกับกรมเดิม ที่มีอยู่เป็น ๑๒ กรม พุทธศักราช ๒๔๓๕ โปรดให้ยกฐานะกรมเป็นกระทรวง และปรับลดเหลือ ๑๐ กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงวัง กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงธรรมการ ในส่วนภูมิภาค มีการแก้ไขการปกครอง แบบเดิมที่เรียกว่า “ระบบกินเมือง” เป็น “ระบบเทศาภิบาล” ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๓๕ เป็นต้นมา

ระบบกินเมืองปกครองโดยท้องถิ่น หรือสืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองสืบทอดกัน เก็บภาษีอากรส่งเข้าราชการส่วนกลาง ระบบเทศาภิบาล คือการรวมหัวเมือง หลายเมืองเป็นมณฑล โดยส่วนกลาง จะแต่งตั้งข้าหลวงออกไปปกครอง

๙๗

โปรดการเสด็จพระราชดำ�เนิน ไปประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ โดยไม่โปรดให้มีการจัดการ รับเสด็จอย่างเป็นทางการ บางคราวทรงปลอมพระองค์ เป็นสามัญชน เข้าไปปะปนกับชาวบ้าน เพื่อทรงสอดส่องดูแลทุกข์สุข ของราษฎรอย่างใกล้ชิด เรียกว่า “เสด็จประพาสต้น” พุทธศักราช ๒๔๑๗ ทรงประกาศ “พระราชบัญญัติ พิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย” ขณะนั้นไทยมีทาสกว่าหนึ่งในสาม ของพลเมืองในประเทศ เหตุเพราะพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดมาก็ตกเป็นทาส ต่อ ๆ กันเรื่อยไป เรียกว่า “ทาสในเรือนเบี้ย”

ทรงตระหนักว่า การที่คนชั้นสูงให้ทาสทำ�งานรับใช้หรือส่งทรัพย์สินให้โดยไม่มีกำ�หนดวันสิ้นสุด เป็นการกดขี่ราษฎร จึงทรงประกาศเลิกทาส เป็นพระราชกรณียกิจที่สำ�คัญยิ่ง ทรงออกประกาศ “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. ๑๒๔” เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๔๘ ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไท ยังความปีติยินดีแก่บรรดาทาสทั้งหลายถ้วนทั่ว เป็นไทแก่ตัวเสียที

๙๘

โปรดให้ประกาศเลิกไพร่ แต่เดิมมา ขนบไพร่นี้บังคับให้ราษฎร อายุตั้งแต่ ๑๕ - ๑๖ ปี จนถึง ๗๐ ปี ต้องทำ�งานรับใช้หรือส่งส่วย ให้แก่ชนชั้นปกครอง แบ่งออกเป็น ไพร่หลวง ไพร่สม และ ไพร่ส่วย ไพร่มีกำ�หนดรับราชการเดือนเว้นเดือน สมัยอยุธยา ปีละ ๖ เดือน สมัยรัชกาลที่ ๑ ปีละ ๔ เดือน และสมัยรัชกาลที่ ๒ ลดลงมาเหลือ ๓ เดือนต่อปี

พุทธศักราช ๒๔๔๘ โปรดให้แก้ไข ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ข้อกฎหมายที่มีมาแต่เดิม ยกเลิกขนบไพร่ เจ้าอยู่หัว โปรดงดการเกณฑ์แรงงาน เปลี่ยนมาเป็นการเกณฑ์ทหาร ให้ใช้วิธีเกณฑ์จ้างแทน ส่วนราษฎรที่ไม่ได้รับเกณฑ์ ตราบปัจจุบัน ให้เสียค่าราชการปีละ ๖ บาท

การยกเลิกขนบไพร่เป็นการปลดทุกข์ อย่างไรก็ดี การเสียเงินค่าราชการ และรัชชูปการ ของราษฎร ให้มีความผาสุกทั่วราชอาณาจักร (ภาษีรายหัว) ซึ่งใช้แทนการเกณฑ์แรงงานนั้น ราษฎรทำ�มาหากินได้เต็มที่ ส่งผลให้การค้า มาสิ้นสุดลงเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๒ การขายคล่องตัว เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง

๙๙

ในรัชสมัยมีการคบค้าสมาคมกับชาวตะวันตก นโยบายสำ�คัญในการรักษาเอกราช ของพระมหากษัตริยไ์ ทย คือ การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ด้วยเหตุน้ี จึงทรงเปลีย่ นแปลงขนบธรรมเนียมประเพณี ให้เหมาะสมกับกาลสมัย

โปรดให้ยกเลิกธรรมเนียมการหมอบคลาน เวลาข้าราชการเข้าเฝ้าฯ เปลี่ยนมาเป็น นั่งเก้าอี้ และยืนเฝ้าฯ แทน

โปรดให้ข้าราชการ เลิกไว้ผมทรงมหาดไทย ยังไว้ผมทรงนั้นอยู่รึ

ในปลายรัชกาล โปรดให้เลิกประเพณี โกนหัวไว้ทุกข์ทั้งเมือง เมื่อพระเจ้าแผ่นดิน เสด็จสวรรคต

โปรดให้ขา้ ราชการสวมเสือ้ คอตัง้ กระดุมห้าเม็ด แบบเสือ้ นอกทหาร และนุง่ ผ้าโจงได้ตามโอกาส

๑๐๐

ข้าราชการกินหมากฟันดำ� ก็โปรดให้ขัดเสียให้ขาว

ฟันขาว ดูงามตา จริง

โปรดให้ขา้ ราชการใช้ปฏิทนิ สุรยิ คติตามแบบสากล คือ นับวันที่ ๑ - ๓๑ และใช้ชื่อเดือน เช่น เดือนเมษายน พฤษภาคม ฯลฯ แทนการใช้ วันข้างขึ้น ข้างแรม และเดือนทางจันทรคติ ขึ้นห้าคํ่า เดือนอ้าย นี่อีกกี่วันหนอ

พุทธศักราข ๒๔๑๘ โปรดให้ตั้งสถานพยาบาล เรียกว่า “โรงหมอ” เพือ่ พัฒนาการแพทย์แผนใหม่ และให้ราษฎรคลอดบุตรอย่างปลอดภัย พระราชทานนามว่า “โรงศิริราชพยาบาล ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลศิริราช

ทรงพัฒนารูปแบบการรับประทานอาหาร ให้นั่งบนโต๊ะ และใช้ช้อนส้อมแทนการใช้มือ

พุทธศักราช ๒๔๓๖ เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ สืบเนื่องจากการขยายอำ�นาจของชาติตะวันตกในยุคจักรวรรดินิยม เมื่อฝรั่งเศสได้เวียดนามและ เขมรส่วนนอกด้านตะวันออกแล้ว ก็พยายามที่จะยึดครองลาว ซึ่งในขณะนั้นเป็นประเทศราช ของไทย เพื่อหวังใช้แม่นํ้าโขงที่ไหลผ่านลาวเป็นเส้นทางไปสู่จีน ซึ่งเป็นตลาดการค้าที่สำ�คัญ

๑๐๑

เหตุการณ์ร้ายแรงเริ่มต้นเมื่อเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๔๓๖ เมื่อฝรั่งเศสส่งกำ�ลังทหาร เข้ายึดเมืองเชียงแตง (สตรึงเตรง) ทางตอนใต้ ของเมืองจำ�ปาศักดิ์ และเมืองคำ�ม่วน ขณะนั้นเป็นเมืองประเทศราชของไทย มีการสู้รบอย่างหนักหน่วง ฝรั่งเศสใช้กำ�ลังเรือรบตีฝ่าป้อม และเรือรบที่ปากแม่นํ้าเจ้าพระยา ประกาศปิดอ่าว พร้อมยื่น ข้อเรียกร้อง ไทยอยู่ในฐานะเสียเปรียบจึงจำ�ยอมสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขง และเสียค่าปรับถึง ๓ ล้านฟรังก์ หรือประมาณ ๑,๖๐๕,๐๐๐ บาท ซึ่งได้นำ�เงินถุงแดงที่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเก็บไว้ มาสมทบจ่ายเป็นส่วนใหญ่

จากวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ มีทหารไทย บาดเจ็บล้มตายจำ�นวนมาก โปรดให้จัดตั้งสภา อุณาโลมแดง (ปัจจุบันคือสภากาชาดไทย) เป็นสภาการกุศล จัดหาทุนซื้อยาและเวชภัณฑ์ โปรดให้สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงดำ�รงตำ�แหน่งสภานายิกาพระองค์แรก ด้วยเหตุนี้ จึงมีพระราชดำ�ริดำ�เนิน พระบรมราชวิเทโศบายเจริญสัมพันธไมตรี กับนานาประเทศ

เสด็จพระราชดำ�เนินเยือนประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป รวม ๒ ครัง้ ในพุทธศักราช ๒๔๔๐ และพุทธศักราช ๒๔๕๐ กล่าวได้วา่ ทรงเป็นพระมหากษัตริยเ์ อเชีย พระองค์แรกทีเ่ สด็จเยือนทวีปยุโรป เพือ่ ให้เห็นว่า มีความเจริญและศิวไิ ลซ์เสมอกัน ซึง่ นอกจาก ได้ประโยชน์ดา้ นการเจริญสัมพันธไมตรีกบั ต่างประเทศ แล้ว ยังทรงนำ�ความเจริญก้าวหน้ามาพัฒนาประเทศ ด้านต่าง ๆ ด้วย

๑๐๒

พุทธศักราช ๒๔๑๖ โปรดให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อจัดเก็บรายได้ของแผ่นดินรวมไว้แห่งเดียวกัน ต่อมายกเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงกำ�หนดอัตราภาษีอากรให้เสมอภาคกัน ทำ�ให้เก็บภาษีอากรได้มากขึ้น

พุทธศักราช ๒๔๓๙ โปรดให้มีการ จัดทำ�งบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก ให้แยกจากเงินส่วนพระองค์ และมีการ เปลี่ยนแปลงระบบการเงินหลายประการ

พุทธศักราช ๒๔๓๙ มีการจัดตั้งธนาคารขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อ “บริษัท แบงก์สยาม กัมมาจล ทุน จำ�กัด” ได้พัฒนาเป็นระยะ ๆ ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน)

วันที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๔๕ ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ. ๑๒๑” โปรดให้จัดทำ� ตั๋วสำ�คัญที่ ใช้แทนเงิน เรียกว่า “ธนบัตร” รู้สึกแปลก ๆ ที่ ใช้กระดาษ แทนเงิน

พกพาได้สะดวก ง่ายต่อการตรวจนับ ๑๐๓

ด้านการเกษตรและคมนาคม ด้วยพระราชวิสัยทัศน์เพื่อบ้านเมือง ทรงพัฒนาสาธารณูปโภคทุกด้าน เพื่อการคมนาคมที่ทันสมัย เพื่อส่งเสริมอาชีพของราษฎร ให้กว้างขวาง มีความสะดวกสบายขึ้น

โปรดให้ขุดคลองเพื่อการพัฒนาการเกษตร มีหน่วยราชการและเอกชน ขุดคลองขึ้นเป็นจำ�นวนมาก มีพระราชดำ�ริเรื่องอนุญาตขุดคลองว่า “การขุดคลองเพื่อที่จะให้เป็นที่มหาชนทั้งปวงได้ไปมาอาศัย แลเป็นทางที่จะให้สินค้า ได้บรรทุกไปมาโดยสะดวก ซึ่งให้ผลแก่การเรือกสวนไร่นา ซึ่งจะได้เกิดทวีขึ้น ในพระราชอาณาจักร เป็นการอุดหนุนการเพาะปลูกในบ้านเมืองให้วัฒนาเจริญยิ่งขึ้น”

คลองเปรมประชากร คลองราชมนตรี คลองทวีวัฒนา คลองนครเนื่องเขต คลองนราภิรมย์ คลองประเวศบุรีรมย์ คลองอุดมชลจร และคลองประปา

มีการขุดคลองใหม่ ๆ และขุดลอกคลองเก่า เพื่อส่งเสริมการทำ�ไร่ทำ�นา และเป็นเส้นทาง สัญจร เช่น คลองรังสิต คลองพระโขนง คลองปทุมวัน คลองกระทุ่มแบน

๑๐๔

โปรดทำ�นุบำ�รุงการเกษตรด้านอื่น เช่น บำ�รุงพันธุ์ข้าว ยาสูบ ฝ้าย แจกจ่ายพืชพันธุ์แก่ราษฎร

สอนให้เลี้ยงหมู วัว ควาย อย่างถูกหลักอนามัย

พุทธศักราช ๒๔๔๒ เมื่อเสด็จฯ กลับจากยุโรปครั้งแรก โปรดให้สร้างถนนราชดำ�เนิน แบ่งเป็นช่วง มีถนนราชดำ�เนินนอก ถนนราชดำ�เนินกลาง ถนนราชดำ�เนินใน เป็นถนนที่กว้างขวางสวยงาม เลียนแบบ ถนนในยุโรป โดยมีพระราชประสงค์ ให้ประชาชนได้มีที่พักผ่อน

เดิมประชาชนนิยมสัญจรทางนํ้า การสร้างถนนใหญ่โตจึงมีการซุบซิบอยู่บ้าง ว่าใครจะมาเดิน ถ้าเล็ก ๆ ก็ยังพอว่า

มีถนนตัดขึ้นใหม่มากขึ้นในรัชสมัย

๑๐๕

จากนั้นก็มีรถลาก รถม้า รถยนต์ วิ่งกันดาษดื่น ประชาชนใช้สัญจรมากขึ้น เป็นดังพระราชประสงค์

ทำ�ให้มีร้านค้าเกิดขึ้นตามแนวถนน รวมทั้งห้างร้านหลายแห่ง

ในปีเดียวกันนี้ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก สำ�รวจเส้นทางรถไฟเป็นการเริ่มต้น

พุทธศักราช ๒๔๓๐ โปรดให้เดินรถราง เป็นครั้งแรก เพื่ออำ�นวยความสะดวก แก่ประชาชนในการเดินทาง

แต่สร้างยังไม่แล้วเสร็จถึงนครราชสีมา ก็เปิดให้เดินรถ ระหว่างกรุงเทพฯ อยุธยาก่อน ระยะทาง ๗๑ กิโลเมตร เปิดเดินรถเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙

รถไฟสายแรก เปิดเดินรถระหว่าง กรุงเทพฯ - นครราชสีมา

๑๐๖

พุทธศักราช ๒๔๔๐ ตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้น เพื่อดูแลรักษาความสะอาด กำ�จัดขยะมูลฝอย เพื่อควบคุมโรคติดต่อ แล้วขยายไปยังส่วน ภูมิภาค โดยทดลองเป็นครั้งแรกที่ ตำ�บลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๘

ครั้นกิจการสุขาภิบาลได้ผลดีน่าพอใจ พุทธศักราช ๒๔๕๑ จึงโปรดให้จัดการ สุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นทั่วไป แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ สุขาภิบาลเมือง และ สุขาภิบาลตำ�บล ต่อมาเป็นเทศบาล

ด้วยเหตุว่า ในรัชกาลเกิดการระบาดของ อหิวาตกโรค เพราะราษฎรดื่มนํ้าตามบ่อขุด หรือตามแม่นํ้าลำ�คลอง อันเป็นวิถีปกติ จึงมีพระราชดำ�ริให้จัดการเรื่องนํ้าดื่มนํ้าใช้

วันที่ ๑๓ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๔๕๒ โปรดให้จัดตั้ง “การประปา” ขึ้นในเขตพระนคร ภายหลังจึงขยายออกไปกว้างขวางขึ้น

พุทธศักราช ๒๔๒๓ โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มทดลองในเขตพระนคร และธนบุรี มีที่ทำ�การเรียกว่า “ไปรษณียาคาร” ต่อมาได้ควบรวมกับกรมโทรเลขซึ่งตั้งก่อน เรียกว่า “กรมไปรษณีย์โทรเลข”

โทรเลขด่วนขอรับ ๑๐๗

พุทธศักราช ๒๔๓๙ โปรดให้จัดตั้ง กรมป่าไม้ขึ้น เพื่อดูแลป่าไม้ โดยให้ มร. เอช เสลด เป็นเจ้ากรมป่าไม้คนแรก ต่อมา พุทธศักราช ๒๔๖๖ พระยาดรุพันธ์พิทักษ์ (สนิท พุกกะมาน) มารับหน้าที่ต่อ นับเป็นเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ คนไทยคนแรก

ในรัชสมัยมีการนำ�รูปแบบสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมแบบตะวันตกมาประยุกต์ ใช้ในงานก่อสร้างและประดับตกแต่งอาคารสถานที่ ตลอดจนพระราชวังสำ�คัญ ๆ หลายแห่ง อาทิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง วังบางขุนพรหม และวังวรดิศ รวมถึงงานจิตรกรรมฝีมือช่างชาวอิตาลีภายในโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น

ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พุทธศักราช ๒๔๓๑ โปรดให้สอบชำ�ระพระไตรปิฎก พุทธศักราช ๒๔๔๕ โปรดให้ตราพระราชบัญญัติ ปกครองคณะสงฆ์ โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ทั่วราชอาณาจักร โปรดให้สร้างวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม และวัดนิเวศธรรมประวัติ เมื่อสร้างพระราชวังดุสิตแล้ว โปรดให้สร้าง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทรงทำ�นุบำ�รุง อุปถัมภ์ทุกศาสนา ไม่ว่าจะเป็นคริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม และศาสนาอื่น ๆ ๑๐๘

ทรงปฏิรูปการศึกษาให้เป็นระเบียบแบบแผน โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เป็นแห่งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๔ เพื่อส่งเสริม การศึกษาแก่บรรดาเจ้านายและลูกหลานข้าราชบริพาร

พุทธศักราช ๒๔๒๗ โปรดให้ตั้ง โรงเรียนขึ้นที่วัดมหรรณพาราม เป็นแห่งแรกเพื่อขยายการศึกษา ออกสู่ประชาชน ตลอดรัชสมัย มีโรงเรียนเกิดขึน้ เป็นจำ�นวนมาก

พุทธศักราช ๒๔๔๘ โปรดให้รวมกิจการหอพระมณเฑียรธรรม หอพุทธศาสนสังคหะ และหอพระสมุดวชิรญาณ ซึ่งเป็นหอสมุดที่พระราชโอรสและพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งขึ้นสำ�หรับสมาชิกในราชตระกูล เป็นหอพระสมุดวชิรญาณสำ�หรับพระนคร เพื่อพระราชทานโอกาส ให้ปวงชนมีแหล่งศึกษาหาความรู้ ต่อมาได้พัฒนาเป็นหอสมุดแห่งชาติ

ทรงเป็นกวีที่มีพระปรีชาสามารถอย่างยิ่ง ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้หลายประเภท ทั้งวรรณคดี กวีนิพนธ์ วิชาการทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ศาสนา เป็นต้น ซึ่งบทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องนำ�มาใช้เป็นบทเรียนด้วย

๑๐๙

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา ทรงดำ�รงสิริราชสมบัติ ๔๒ ปี

พระองค์ทรงเป็นที่รักของพสกนิกร จึงทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน”

ในโอกาส คล้ายวันพระบรมราชสมภพครบ ๑๕๐ ปี วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๖ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงเป็นบุคคลสำ�คัญของโลก ด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มนุษยวิทยา การพัฒนาสังคมและการสื่อสาร

๑๑๐

รัชกาลที่ ๖

มากล้นการศึกษา

พระราชลัญจกรประจำ�พระองค์รัชกาลที่ ๖ เป็นตรางา ลักษณะกลมรี รูปวชิราวุธ มีรัศมี ประดิษฐานบนพานทองสองชั้นตั้งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรบริวาร ๒ ข้าง เป็นสัญลักษณ์ของพระปรมาภิไธยว่า วชิราวุธ หมายถึง ศัสตราวุธของพระอินทร์

รักราช จงจิตน้อม รักชาติ กอบกรณีย์ รักศาสน์ กอบบุญตรี รักศักดิ์ จงจิตให้

ภักดี ท่านนา แน่วไว้ สุจริต ถ้วนเทอญ โลกซร้องสรรเสริญฯ...

บทหนึ่งของโคลง “สยามานุสสติ” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

๑๑๒

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ ที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๔

พุทธศักราช ๒๔๓๑ โปรดเกล้า ฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี

ทรงศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นกับเจ้าพระยา พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว. เปีย มาลากุล) จากนั้นทรงศึกษาที่โรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง

ต่อมา พุทธศักราช ๒๔๓๖ สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดเกล้าฯ ให้เสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ

๑๑๓

ครั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเชษฐาธิราช ประชวรและเสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๓๗ จึงทรงได้รับการสถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๓๗ พระชนมพรรษา ๑๓ พรรษา ขณะทรงดำ�รงพระอิสริยยศสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในการเสด็จเยือนนานาประเทศ ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีสำ�คัญ ของพระราชวงศ์ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป

การศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ช่วงแรกได้แก่ เมื่อทรงสำ�เร็จการศึกษาแล้วเสด็จนิวัตพระนคร วิชาสามัญ จากนั้นทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อย เมือ่ วันที่ ๒๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๔๕ แซนด์เฮิร์สต์ ต่อมา ทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ ทรงดำ�รงพระยศเป็นนายพลเอก กฎหมายและการปกครอง ราชองครักษ์ จเรทหารบก บังคับบัญชา ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด กรมทหารมหาดเล็ก

๑๑๔

พุทธศักราช ๒๔๔๗ ทรงผนวช ตามขัตติยราชประเพณี ประทับจำ�พรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

ต่อมา เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๒ ในพุทธศักราช ๒๔๕๐ โปรดเกล้าฯ ให้ เป็นผู้สำ�เร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ทรงปฏิบัติพระราชกิจได้ดีเยี่ยม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

วันที่ ๑๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ ให้ตง้ั การพระราชพิธรี าชาภิเษกสมรสกับเจ้าจอมสุวทั นา (นามเดิม คุณเครือแก้ว อภัยวงศ์) ธิดาของ พระยาอภัยภูเบศร์ (เลือ่ ม อภัยวงศ์) และสถาปนาขึน้ เป็นพระนางเจ้าสุวทั นา พระวรราชเทวี ๑๑๕

ด้านการปกครอง โดยเฉพาะส่วนภูมิภาค โปรดเกล้าฯ ให้ตราข้อบังคับลักษณะ การปกครองหัวเมือง เพื่อการบริหารราชการ ส่วนภูมิภาค เปลี่ยนการเรียกชื่อเมือง ให้เป็นจังหวัด ส่วนมณฑลให้เป็นภาค ยังผลให้ การบริหารบ้านเมืองเป็นระเบียบมากขึ้น

โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนาน นามสกุลเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๖ เพื่อเป็น หลักการสืบสายสกุลฝ่ายบิดาผู้ให้กำ�เนิด และต่อมา พุทธศักราช ๒๔๖๐ เปลี่ยนสรรพนาม ผู้หญิงจากที่เคยเรียก อำ�แดง เป็น นาง หรือ นางสาว

ส่งจดหมาย เขียนที่อยู่ใหม่ ให้ถูกต้องด้วย

พระราชกรณียกิจสำ�คัญอีกประการหนึ่ง ทรงตั้ง “ดุสิตธานี” เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๑ เพื่อทดลองรูปแบบ ประชาธิปไตยขนาดเล็ก มีพระราชดำ�ริ ให้ทำ�อย่างค่อยเป็นค่อยไป

พุทธศักราช ๒๔๕๕ มีบุคคลคณะหนึ่ง คิดทำ�การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ทำ�การไม่สำ�เร็จ เรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า “กบฏ ร.ศ. ๑๓๐” มีผู้ถูกจับกุมลงโทษ ตามคำ�พิพากษาศาล จำ�นวน ๒๓ คน

๑๑๖

ต่อมา พระราชทานอภัยโทษ ซึ่งแสดงถึงแนวพระราชดำ�ริ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

วันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ มีพระราชดำ�ริให้จัดตั้งกองเสือป่า เพื่อฝึกอบรมข้าราชการพ่อค้าและพลเรือน ให้ได้รับการฝึกอย่างทหาร เป็นกำ�ลังประเทศ ในยามคับขัน มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย บ้านเมือง ปลูกฝังให้มีความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะส่งเสริมความกล้าหาญ เข้มแข็ง สามัคคี และเสียสละ

มีการตั้งกองเสือป่าในชื่ออื่น ๆ ตามกิจกรรม เช่น กองเสือป่ารักษาพระองค์ หรือ กองเสือป่าหลวง กองเสือป่ารักษาแผ่นดิน หรือ กองเสือป่า รักษาดินแดน

กองเสือป่าจึงเป็นที่รวมข้าราชการ สามัญชน และพลเรือนทั่วประเทศ แบ่งเป็น ๔ ภาค ดูแลตามกลุ่มจังหวัด ถือเป็นต้นแบบของ ตำ�รวจตระเวนชายแดนในเวลาต่อมา

ต่อมาจึงขยายกิจการไปตามโรงเรียนต่าง ๆ กำ�หนดให้ครูกำ�กับโดยตำ�แหน่ง บรรจุ วิชาลูกเสืออยู่ในหลักสูตรกระทรวงธรรมการ และพระราชทานคำ�ขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ”

วันที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองลูกเสือเป็นกิจการของ เยาวชนกองแรกขึ้น ณ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน

๑๑๗

เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๕๗ เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ในทวีปยุโรป ระหว่างกลุ่มมหาอำ�นาจกลาง ประกอบ ด้วยเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี เป็นผู้นำ� สงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย

ในชั้นต้น ทรงรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด ทรงติดตามสถานการณ์สงครามอย่างใกล้ชิด

พุทธศักราช ๒๔๖๐ มีพระราชดำ�ริ ให้ใช้ธงสามสี เพื่อความสง่างาม คือ ธงไตรรงค์ แทนธงช้างเผือก เป็นธงประจำ�ชาติไทยสืบมาตราบปัจจุบัน

ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๐ มีพระบรมราชโองการ ให้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร โปรดให้ประกาศ รับอาสาสมัครประมาณ ๑,๒๕๐ คน เพื่อเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรป เดินทางเมื่อ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๖๑

พุทธศักราช ๒๔๖๑ โปรดให้ส่งทหาร เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทำ�ให้ธงชัยเฉลิมพล ซึ่งนำ�รูปแบบธงไตรรงค์ มาเป็นพื้น ได้ไปโบกสะบัดปรากฏแก่สายตา ชาวโลกในสมรภูมิยุโรปเป็นครั้งแรก

๑๑๘

เมื่อสงครามยุติ ฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นฝ่ายชนะ ทหารไทยเดินทางกลับ ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๖๒ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสรณ์แห่งการ เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ คือ “วงเวียน ๒๒ กรกฎา” เขตป้อมปราบ ศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสถานที่ ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสงคราม และโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “อนุสาวรีย์ทหารอาสา” สำ�หรับบรรจุอัฐิของทหารอาสาที่เสียชีวิตในสมรภูมิ ณ บริเวณสนามสามเหลี่ยม มุมตะวันตกเฉียงเหนือ ของสนามหลวง ตรงข้ามกับโรงละครแห่งชาติ

การส่งกองทหารอาสาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ เช่น ได้รับเกียรติยกย่องเท่าเทียมนานาอารยประเทศ ความไม่เท่าเทียมที่เคยมีค่อย ๆ น้อยลง ทำ�ให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับชาติมหาอำ�นาจแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เช่น สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทั้งยังได้มีโอกาสเข้าร่วมลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ที่กรุงปารีส และได้รับเชิญให้เข้าร่วมก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ

๑๑๙

ด้านเศรษฐกิจ มีพระราชดำ�ริให้ประชาชนรู้จักการ ออมทรัพย์ เพื่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ ทรงตรา พระราชบัญญัติคลังออมสิน สำ�หรับเป็นที่ออมทรัพย์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๖ ปัจจุบันคือ ธนาคารออมสิน

ทรงริเริ่มงานด้านสหกรณ์ โดยตั้ง “สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำ�กัดสินใช้” ที่ตำ�บลวัดจันทร์ อำ�เภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นับเป็นสหกรณ์ แห่งแรกในประเทศ

โปรดให้ก่อตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพื่อสร้างพื้นฐานให้เศรษฐกิจมั่นคง ลดการนำ�เข้าจากต่างประเทศ

พุทธศักราช ๒๔๕๘ โปรดให้จัดตั้งกรมพาณิชย์ กรมสรรพากร กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมสถิติ พยากรณ์ เพื่อให้คำ�ปรึกษาแก่หน่วยงานต่าง ๆ ส่งเสริมสนับสนุนการพาณิชย์ของประเทศ

๑๒๐

พุทธศักราช ๒๔๕๙ ประกาศห้ามมีอบายมุข ลักษณะเสี่ยงทาย หวย ก ข เพราะทำ�ลาย เศรษฐกิจของชาติ ปีต่อมาให้เลิกการพนันบ่อนเบี้ย

โปรดให้ตั้งกรมรถไฟหลวง ปรับปรุงและขยายกิจการรถไฟ ต่อจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก และขยายเส้นทางเดินรถไฟสายเหนือ อีสาน ภาคใต้ และตะวันออก และเปิดใช้สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ สถานีหัวลำ�โพง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙

โปรดให้สร้างสะพานพระราม ๖ เชื่อมเส้นทางรถไฟภาคใต้ สู่ศูนย์กลางที่หัวลำ�โพง

พุทธศักราช ๒๔๖๓ ทรงวางรากฐาน การคมนาคมทางอากาศ ขนส่งไปรษณียภัณฑ์ ระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดนครราชสีมา ต่อมา จึงตั้งเป็นกรมอากาศยาน

พุทธศักราช ๒๔๕๖ โปรดให้ตั้งสถานีวิทยุโทรเลข ๒ สถานี คือ ตำ�บลศาลาแดงในกรุงเทพฯ และที่จังหวัดสงขลา ทรงบัญญัติศัพท์ภาษาไทยว่า “วิทยุ”

๑๒๑

เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๕๗ โปรดให้จัดตั้ง “กรมทดนํ้า” ต่อมา โปรดให้ สร้างเขื่อนพระราม ๖ เขื่อนทดนํ้าขนาดใหญ่่ แห่งแรกของประเทศไทย ที่ตำ�บลท่าหลวง อำ�เภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถช่วยขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ๖๘๐,๐๐๐ ไร่

พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ ๑๔๑ ไร่ ๔๘ ตารางวา สร้าง “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” ถวายเป็นพระอนุสรณ์ แด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ

ทรงก่อตั้ง “สถานเสาวภา”เป็นพระอนุสรณ์ แด่สมเด็จพระบรมราชชนนี (สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

รวมถึงพระราชทาน พระราชทรัพย์ สร้าง “วชิรพยาบาล” ที่ถนนสามเสน

๑๒๒

สถานเสาวภานี้ เป็นสถานที่ผลิตวัคซีน และเซรุ่ม สำ�หรับป้องกัน และรักษาโรคไข้ทรพิษ พิษสุนัขบ้า และพิษงู ที่ตั้งอาคารเป็นส่วนหนึ่ง ของสภากาชาดไทย

ทรงตระหนักถึงความสำ�คัญของการศึกษา จึงทรงสร้างโรงเรียนแทนการสร้างวัด พุทธศักราช ๒๔๕๓ พระราชทานที่ดินและพระราชทรัพย์ ก่อสร้างโรงเรียนมหาดเล็ก ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมา เปลี่ยนเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือน

พุทธศักราช ๒๔๕๓ ตั้งโรงเรียน พาณิชยการวัดมหาพฤฒาราม และวัด ราชบูรณะ เพื่อให้การอาชีวศึกษาเบื้องต้น แก่ราษฎร เป็นโรงเรียนอาชีวะแห่งแรก ในประเทศ

พุทธศักราช ๒๔๕๖ ตั้งโรงเรียน “เพาะช่าง”เพื่อฝึกฝน เยาวชนให้สืบทอดงานศิลปกรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

พุทธศักราช ๒๔๕๔ โอนช่างสิบหมู่มหาดเล็ก และกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการ รวมเป็น “กรมศิลปากร” เพื่อการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ศิลปกรรม โบราณคดี และโบราณสถานของชาติ

พุทธศักราช ๒๔๕๖ ตั้งโรงเรียนครูสตรี (ปัจจุบันคือ โรงเรียนเบญจมราชาลัย) เพื่อเลือกนักเรียนสตรี จากมณฑลต่าง ๆ มาอบรมฝึกหัดการเป็นครู ให้กลับไป เป็นครูที่บ้านเกิด และมีการเปิดโรงเรียนสตรี ประจำ�จังหวัดอย่างแพร่หลาย

๑๒๓

พุทธศักราช ๒๔๕๗ จัดตั้งโรงเรียน นางพยาบาลสภากาชาดแห่งแรกในสยาม เมื่อแรกดำ�เนินการ ขึ้นอยู่กับแผนกศึกษา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (กองพยาบาล ทหารบกกลาง กระทรวงกลาโหม)

พุทธศักราช ๒๔๖๐ จัดตั้งโรงเรียน ฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแห่งแรก ณ หอวังหรือบ้านสวนหลวงสระปทุม ให้การศึกษาด้านเกษตรกรรม

พุทธศักราช ๒๔๖๑ ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ ควบคุมให้การศึกษาภาคเอกชน มีประสิทธิภาพ

พุทธศักราช ๒๔๕๙ ยกฐานะโรงเรียนข้าราชการ พลเรือน สถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังผลให้เกิดประโยชน์ด้านการศึกษาของชาติ อย่างกว้างขวาง

ได้เรียนเกษตร อย่างมีวิชาการ

พุทธศักราช ๒๔๖๔ ตราพระราชบัญญัติ ประถมศึกษา บังคับให้เด็กทีอ่ ายุตง้ั แต่ ๗ ปีขน้ึ ไป เข้าเรียนหนังสือในโรงเรียนจนถึงอายุ ๑๔ ปี โดยไม่เสียค่าเล่าเรียน อายุ ๗ ขวบแล้ว ต้องไปโรงเรียน จะได้อ่านออก เขียนได้

๑๒๔

ทรงทำ�นุบำ�รุงวัดวาอารามต่าง ๆ ทรงปรับปรุงการปกครองสงฆ์ และ ขยายการศึกษา และทรงส่งเสริม สนับสนุนการเผยแผ่พุทธศาสนา อย่างกว้างขวาง

หากแต่มีพระราชดำ�ริว่าวัดนั้นมีจำ�นวนมากมายแล้ว โปรดให้สร้างโรงเรียนแทน จึงปรากฏมีโรงเรียน เกิดขึ้นเป็นอันมาก

ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับ พระพุทธศาสนาไว้หลายเรื่อง เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร แปล “เทศนามงคลวิเสสกถา” ที่ทรงไว้ เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งรัฐบาลพม่าขณะนั้น ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต นำ�ไปอบรมสอนทหารของตน โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูป ที่มีเพียงพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท จากเมืองศรีสัชนาลัย มาปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์งดงาม พระราชทานนามว่า “พระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร” ประดิษฐาน ณ ซุ้มประตูด้านเหนือองค์พระปฐมเจดีย์

๑๒๕

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีงานพระราชนิพนธ์ มากที่สุด ถึง ๑,๒๓๖ เรื่อง ด้วยทรงใฝ่พระราชหฤทัยในการประพันธ์ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงเชี่ยวชาญทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรองทุกประเภท ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

ทรงตั้งวรรณคดีสโมสร เพื่อยกย่อง งานที่มีคุณค่าของชาติ ส่งเสริมสนับสนุน ด้านวรรณกรรมอย่างเสรี เกิดกวี นักประพันธ์สำ�คัญ ๆ หลายท่าน

บทพระราชนิพนธ์ทั้งวรรณคดี กวีนิพนธ์ บทละครร้อง บทละครรำ� บางส่วนคือ พระนลคำ�หลวง นารายณ์สิบปาง มัทนะพาธา หัวใจนักรบ เวนิสวาณิช เทศนาเสือป่า นิทานทองอิน กฎหมายทะเล กันป่วย

โปรดเกล้าฯ ให้ออกหนังสือพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ทวีปัญญา และ ดุสิตสมิต เป็นหนังสือพิมพ์เฉพาะกลุ่ม ซึ่งแพร่หลายมากในขณะนั้น

ทรงพระราชนิพนธ์บทความลงในหนังสือพิมพ์ เป็นประจำ� พระบรมนามาภิไธยที่ทรงใช้ ในการประพันธ์นั้น มีทั้งพระนามจริง และ พระนามแฝง เช่น อัศวพาหุ ศรีอยุธยา รามจิตติ พันแหลม นายแก้วนายขวัญ น้อยลา และ สุครีพ

๑๒๖

ในรัชสมัย การละคร โขนนาฏศิลป์ และการดนตรี รุ่งเรืองสูงสุด

โปรดให้ตั้งกรมมหรสพ เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ให้มั่นคงยิ่งขึ้น ทรงตั้งโรงละครหลวงจัดแสดงนาฏศิลป์ และดนตรีไทย ให้เจริญวัฒนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

ทรงพระอัจฉริยภาพในด้านสถาปัตยกรรม ทรงประยุกต์สิ่งก่อสร้างไทย ผสมผสานกับศิลปกรรมแบบสากลได้อย่างกลมกลืนสง่างดงาม สะท้อนถึง การอนุรักษ์และฟื้นฟูในเวลาเดียวกัน รัชกาลนี้นับได้ว่าเป็นยุคฟื้นฟูศิลปะ ได้แก่ หอประชุมโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ตึกคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม พระราชวังพญาไท พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี ล้วนเป็นมรดก อันมีค่าของแผ่นดิน จิตรกรรม ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ วิหารทิศ พระปฐมเจดีย์ ผนังพระอุโบสถวัดระฆัง โฆสิตาราม ภาพเขียนที่ผนังโดมพระที่นั่ง อนันตสมาคม

จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม

๑๒๗

ในรัชสมัย วัฒนธรรมการแต่งกายสตรีไทย เริ่มพัฒนา นิยมไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวย หรือ ไว้ผมบ๊อบแบบตะวันตก สวมผ้าซิ่นเป็นผ้าถุง แทนนุ่งโจงกระเบน โปรดให้สตรีในราชสำ�นัก แต่งกายตามสมัยนิยมด้วย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระประชวรด้วยพระโรคโลหิตเป็นพิษ ในพระอุทร เสด็จสวรรคต ณ พระทีน่ ง่ั จักรพรรดิพมิ าน ในพระบรมมหาราชวัง วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ พระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา ทรงดำ�รงสิรริ าชสมบัติ ๑๕ ปี

ก่อนเสด็จสวรรคต ๒ ชั่วโมง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี มีพระประสูติการ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียว ในรัชกาลนี้

ทรงบำ�เพ็ญพระราชกรณียกิจ อันเป็นคุณอเนกอนันต์แก่ชาติและประชาชนชาวไทย ด้วยพระอัจฉริยภาพลํ้าเลิศ ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” หมายถึง มหาราชผู้ทรงเป็นจอมปราชญ์ และในวาระครบ ๑๐๐ ปี วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณ ให้ทรงเป็นบุคคลสำ�คัญของโลก ทรงเป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก

๑๒๘

รัชกาลที่ ๗ ประชาธิปไตย

พระราชลัญจกรประจำ�พระองค์รัชกาลที่ ๗ เป็นตรางา ลักษณะกลมรี เป็นรูปพระแสงศร ๓ องค์ คือ พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต พระแสงศรอัคนีวาต เป็นสัญลักษณ์ของพระปรมาภิไธยว่า ประชาธิปกศักดิเดชน์ เดชน์ แปลว่า ลูกศร เหนือราวพาดพระแสงเป็นดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพระแสง ตั้งบังแทรก มีลายกระหนกอยู่ตอนบนของดวงตรา

...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำ�นาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำ�นาจทั้งหลายของข้าพเจ้า ให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำ�นาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร ... พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗

๑๓๐

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปก ศักดิเดชน์ เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันพุธ ที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๓๖ ณ พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์ ในพระบรม มหาราชวัง มีพระนามอย่างไม่เป็นทางการว่า “ทูลกระหม่อมเอียดน้อย” สมเด็จพระราชชนนี โปรดให้เรียก “ทูลกระหม่อมฟ้าน้อย”

เมื่อเจริญพระชนมพรรษา ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นอันควร แก่ขัตติยราชกุมาร

ทรงถนอมเลี้ยงใกล้ชิด มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

ทูลกระหม่อมฟ้าน้อย ทรงเข้าเรียนนายร้อยพิเศษ ในโรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม มีพระอาจารย์ถวายอักษร ที่พระราชวังดุสิต

๑๓๑

วันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีโสกันต์ และทรงแสดงพระองค์ เป็นพุทธมามกะ ตามโบราณราชประเพณี ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สถาปนาเป็น “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา” ต่อมา เสด็จฯ ไปทรงศึกษาวิชาการ ที่วิทยาลัยอีตัน ประเทศอังกฤษ ขณะพระชนมพรรษา ๑๓ พรรษา

พุทธศักราช ๒๔๕๗ เมื่อเกิดภาวะ สงครามโลก ครั้งที่ ๑ ขึ้นในยุโรป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เสด็จนิวัตประเทศไทย

พุทธศักราช ๒๔๕๖ ทรงสำ�เร็จการศึกษาวิชาทหาร ปืนใหญ่มา้ จากโรงเรียนนายร้อย เมืองวูลชิ ประเทศอังกฤษ แล้วเสด็จฯ ไปประจำ�กรมทหาร ปืนใหญ่มา้ อังกฤษ เพือ่ ทรงศึกษาหน้าทีน่ ายทหาร ณ เมืองออลเดอชอต

ทรงเข้ารับราชการใน ตำ�แหน่งนายทหารคนสนิทของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภวู นาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก

๑๓๒

ทรงผนวชทีว่ ดั พระศรีรตั นศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปชั ฌาย์ เสด็จฯ ไป ประทับจำ�พรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระสมณฉายา “ปชาธิโป”

โปรดเกล้าฯ ให้นำ�แบบอย่างพิธีสมรส แบบตะวันตกมาปรับใช้บางขั้นตอน คือมีการถามความสมัครใจของคู่สมรส

วันที่ ๒๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๑ ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิง รำ�ไพพรรณี สวัสดิวัตน์

วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๙ โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

๑๓๓

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงสถาปนาพระวรราชชายา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี พระบรมราชินี

พระราชจริยวัตรทรงประหยัด และเรียบง่าย ทรงทุ่มเทพระสติปัญญา เพื่อความสุขของอาณาประชาราษฎร์ และบ้านเมืองอย่างเต็มที่

ทรงบำ�เพ็ญพระราชกรณียกิจ ด้วยการ เสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงเยี่ยม อาณาประชาราษฎร์ตามหัวเมืองต่าง ๆ ในถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล เป็นการ บำ�รุงขวัญเสริมสร้างกำ�ลังใจราษฎร

เสด็จฯ ไปเจริญพระราชไมตรีหลายประเทศ ทั้งยุโรปและเอเชีย อาทิ เยอรมนี สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา เพือ่ ทอดพระเนตร กิจการอันเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ

๑๓๔

พุทธศักราช ๒๔๗๔ เสด็จ ฯ พระราชดำ�เนิน ไปประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อรักษาพระเนตร

โปรดให้สร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อรำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ ๑ พระผู้ทรงสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์

พุทธศักราช ๒๔๗๕ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองพระนคร ครบ ๑๕๐ ปี อย่างยิ่งใหญ่

โปรดให้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า เชื่อมธนบุรีและพระนคร แล้วปรับถนนหนทางทั้งสองฝั่ง

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ประดิษฐาน ณ ซุ้มเชิงสะพาน

เสด็จพระราชดำ�เนินมาเปิดสะพาน โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

๑๓๕

วันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ คณะราษฎรยึดอำ�นาจก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย พระองค์ไม่มีพระราชประสงค์ให้มีการต่อสู้กันในหมู่คนไทย จึงทรงยอมตามข้อเรียกร้องของคณะราษฎร ที่จะให้พระองค์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

การสละพระราชอำ�นาจ ของพระองค์ คือความ องอาจกล้าหาญยิ่งใหญ่ ด้วยทรงคำ�นึงถึง ความสงบสุขของบ้านเมือง เป็นสำ�คัญ

ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ชั่วคราว เพื่อให้มีการตั้งรัฐสภา และจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรี คนแรก

โปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก สำ�หรับการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต

๑๓๖

ยุคเริ่มต้นระบอบประชาธิปไตยนั้น มีความ ขัดแย้งขึ้น ระหว่างรัฐบาลกับคณะราษฎร จึงนำ�ไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎร ในเวลาต่อมา

พระยาพหลพลพยุหเสนาจึงเข้ายึดอำ�นาจจากรัฐบาล และได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จากนั้น ได้มีการเปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรขึ้นอีกครั้ง

ความตึงเครียดยังไม่สิ้นสุด เมื่อมีความพยายาม ต่อต้านรัฐบาลของพระยาพหลฯ คณะบุคคล กลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันขึ้น เรียกตัวเองว่า “คณะกู้บ้านกู้เมือง”

เหตุการณ์ครั้งนั้นรัฐบาลได้ใช้กำ�ลัง ปราบปรามอย่างรุนแรง

นำ�โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช

ทรงเสียพระราชหฤทัยที่คนไทยสู้รบกันเอง จึงเสด็จฯ ไป ประทับ ณ พระตำ�หนักโนล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๗

๑๓๗

เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ทรงสละราชสมบัติ

เปิดทางให้ผู้มีความเหมาะสม ได้ปกครองบ้านเมืองตามยุคสมัย

ทรงลงพระปรมาภิไธยท้ายพระราชหัตถเลขา ประกาศสละราชสมบัติ ความตอนหนึ่งว่า... “...บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทศ โดยแท้จริงไม่เป็นผลสำ�เร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่า บัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ หรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ ออกจากตำ�แหน่งพระมหากษัตริย์ แต่บัดนี้เป็นต้นไป “ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้เสด็จนิวัตประเทศไทยอีกเลย ทรงดำ�เนินพระชนม์ชีพเรียบง่าย อย่างสามัญชนในประเทศอังกฤษ

๑๓๘

ขณะทรงดำ�รงสิริราชสมบัติ เป็นระยะเวลา ๙ ปี ทรงประกอบ พระราชกรณียกิจนานัปการ อันเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง ทรงเป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ทรงศึกษาหลักการปกครองแผ่นดิน ของนานาประเทศ ทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ทรงพระปรีชาสามารถ และพระวิสัยทัศน์กว้างไกล พระองค์ ทรงตระหนักว่าการปกครองบ้านเมือง ควรปรับให้เหมาะกับกาลสมัย ทรงตระหนักถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ว่าเหมาะกับอุปนิสัยคนไทย เพราะคนไทย รักในอิสรภาพ ไม่ชอบการกดขี่บังคับ จึงได้ทรง วางรากฐานการปกครองแบบใหม่นี้อย่างเป็นขั้นตอน

โปรดให้ตั้งอภิรัฐมนตรีสภาและองคมนตรีสภา ให้มีส่วนร่วมในการถวายคำ�ปรึกษาข้อราชการ สำ�คัญต่าง ๆ ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

การวางรูปแบบการปกครองดังกล่าว ถือเป็นการทดลองเรียนรู้การประชุม ออกกฎหมายแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นรากฐาน ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

๑๓๙

มีพระราชดำ�ริที่จะพระราชทาน การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อเป็นของขวัญให้แก่ราษฎร

ทรงตั้งที่ปรึกษาสำ�หรับการนี้ เช่น นายฟรานซิส บี แชร์ (ต่อมาคือ พระยากัลยาณไมตรี) นายเรย์มอลด์บี สตีเวนส์ และ พระยาศรีวิสารวาจา เป็นต้น

มีพระราชดำ�ริให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ๒ ครั้ง หากเเต่อภิรัฐมนตรีสภา และผู้มีส่วนร่วมในการร่าง รัฐธรรมนูญเห็นว่าราษฎรยังไม่มีความพร้อม สำ�หรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

๑๔๐

กระทั่งเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง การปกครอง ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕

จากผลของมหาสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า ส่งผลกระทบ มาสู่ประเทศไทย ตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อยมา กระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงหนักพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง

ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการ ควบคุมงบประมาณ ตัดทอนรายจ่าย ยุบหน่วยงานราชการซํ้าซ้อน ลดเงินเดือน ข้าราชการ รวมถึงปลดข้าราชการออก

ทรงปรับปรุงการเก็บภาษีี ตัดทอนงบประมาณแผ่นดินที่ไม่จำ�เป็น แม้แต่งบประมาณส่วนพระองค์ก็มิได้เว้น

หน่วยงานที่ไม่ถูกยุบก็ลดจำ�นวนข้าราชการลง เรียกว่าเป็น “สมัยดุลยภาพ” ใครถูกออก จากราชการ ก็เรียกว่า “ถูกดุล”

ทำ�ให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ ที่ได้รับผลกระทบ นำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลง การปกครองในเวลาต่อมา

เสียใจด้วย ที่ถูกดุล

๑๔๑

ทรงเห็นความสำ�คัญในการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง พระราชทานหนังสือส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มารวมไว้ที่หอพระสมุดวชิรญาณสำ�หรับพระนคร ณ อาคารถาวรวัตถุ พระราชทานนามว่า “หอพระสมุดวชิราวุธ” เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป เข้าศึกษาหาความรู้

ทรงส่งเสริมการศึกษา ให้กว้างขวางขึ้นในหมู่ราษฎร มีพระราชประสงค์ให้ราษฎร มีความรู้ทางการเมือง รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน

สืบเนื่องมาจากว่า พระองค์มีพระราชดำ�ริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทย

๑๔๒

ทรงเร่งรัดประกาศ พระราชบัญญัติประถมศึกษา ให้เกิดขึ้นในตำ�บลต่าง ๆ เพื่อให้การศึกษาเข้าถึงชุมชน

ยกเลิกการเก็บเงินการศึกษาพลี เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ราษฎร

ทรงก่อตั้งหน่วยงาน สำ�นักงานข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. เพื่อวางรากฐานการรับราชการ พลเรือนเข้าสู่ระบบราชการ

จัดตั้งทุน ก.พ. เพื่อส่งนักเรียน ไปศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศ สร้างมาตรฐานสืบมาจนถึงปัจจุบัน

๑๔๓

พุทธศักราช ๒๔๖๙ ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา มีหน้าที่จัดการและรักษาวัตถุสถานต่าง ๆ รวมทั้งทำ�นุบำ�รุงรักษาวิชาช่าง และสอบสวนพิจารณาวิชาอักษรศาสตร์ อันเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่

ทรงส่งเสริมสร้างสรรค์วรรณกรรมรุ่นใหม่ด้วยการ ประกวดเรียบเรียงบทประพันธ์ทง้ั ร้อยแก้วและร้อยกรอง โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นรางวัล แก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และพระราชทานทุน ให้นักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศ

พุทธศักราช ๒๔๗๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครอง วรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช ๒๔๗๖ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการพิมพ์ อันเป็นต้นแบบของพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน

นอกจากนั้น โปรดให้ยุบรวมกรมธรรมการเข้ากับกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยทรงพิจารณาเห็นว่า การศึกษาไม่ควรแยกจากวัดซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจแก่ศาสนิกชน

๑๔๔

มีพระราชศรัทธาเคร่งครัดในพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง โดยเฉพาะวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดประจำ�รัชกาลของสมเด็จพระบรมชนกนาถ

โปรดให้ชำ�ระพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับสยามรัฐ โดยหนึ่งชุดมีจำ�นวน ๔๕ เล่ม เพื่อเชิดชูพระเกียรติยศของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อแล้วเสร็จ โปรดให้แจกจ่ายไปยัง มหาวิทยาลัยและหอสมุด ทั้งในประเทศ และไปยังต่างประเทศ

ด้วยมีแนวพระราชดำ�ริว่าศาสนาเป็นยาบำ�รุงกำ�ลัง บำ�รุงนํ้าใจ ให้ทนความลำ�บากได้ ให้มีแรง ที่จะทำ�งานของตนเป็นผลสำ�เร็จได้ และยังเป็นยา ที่จะสมานหัวใจให้หายเจ็บปวดยามทุกข์ได้ด้วย

๑๔๕

โปรดให้ราชบัณฑิตยสภาจัดประกวด แต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำ�หรับเด็ก เพือ่ พระราชทานในงานพระราชพิธวี สิ าขบูชา เป็นประเพณีสบื มาถึงรัชกาลปัจจุบนั กล่าว ได้วา่ ทรงเป็นพระมหากษัตริยท์ ท่ี รงเห็น ความสำ�คัญของการสอนศาสนาสำ�หรับเด็ก

ทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยไว้ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้ เพราะทรงสนพระราชหฤทัย ในวิชาดนตรีไทย ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เข้าถวายการฝึกสอน จนสามารถทรงดนตรีได้เป็นอย่างดี

ทรงพระราชนิพนธ์ทำ�นองเพลงไทย ไว้ ๓ เพลง คือ เพลงราตรีประดับดาว (เถา) เพลงเขมรลออองค์ (เถา) และเพลงโหมโรง คลื่นกระทบฝั่ง

ทางด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ปฏิสังขรณ์ วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โปรดให้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง พงศาวดารสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้ที่พระวิหาร

โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายลักษณะผัวเมีย พุทธศักราช ๒๔๗๓ ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร กฎหมายนีด้ มี ากนะ คุณหลวง

สำ�หรับฉัน คงไม่ทันแล้ว

๑๔๖

ทรงสร้างค่านิยมแบบใหม่ โดยทรง ปลูกฝังทีละน้อย และตามความสมัครใจ

โปรดการถ่ายภาพนิ่ง และถ่ายภาพยนตร์ที่มีเนื้อหา ทั้งที่เป็นสารคดีและให้ความบันเทิง ทรงสะสมกล้องถ่ายภาพนิ่ง และกล้องถ่ายภาพยนตร์ ไว้เป็นจำ�นวนมาก

ภาพยนตร์เรื่อง “แหวนวิเศษ” ถือเป็น พระเกียรติประวัติ เนื่องจากทรงสร้างโครงเรื่อง กำ�กับภาพ ลำ�ดับฉาก และอำ�นวยการแสดง ด้วยพระองค์เอง

ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างโรงภาพยนตร์ “ศาลาเฉลิมกรุง” เป็นโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัยในเวลานั้น และสามารถจัดแสดงสมโภชพระนคร ครบ ๑๕๐ ปี โรงมหรสพ แห่งแรกในเอเชียเลยนะ ที่มีเครื่องปรับอากาศ ระบบไอนํ้า

๑๔๗

นับได้ว่าทรงเป็นผู้บุกเบิก วงการภาพยนตร์ไทยในยุคต้น

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี พระบรมราชินี จนกระทั่งเสด็จสวรรคต เมื่อวันศุกร์ ที่ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ พระชนมพรรษา ๔๘ พรรษา ทรงดำ�รงสิริราชสมบัติ ๙ ปี ต่อมา ได้มีพิธีอัญเชิญพระบรมอัฐิ เสด็จนิวัตประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๑

พุทธศักราช ๒๕๕๖ ในโอกาส ๑๒๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ และในโอกาส ครบ ๑๐๐ ปี การเสด็จนิวตั พระนคร เมือ่ ทรงสำ�เร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณให้ทรงเป็นบุคคล สำ�คัญของโลก ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่น ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อมวลชน คณะรัฐมนตรีกำ�หนดให้ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคต เป็น “วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัฐสภาไทยได้ก่อตั้งสถาบันพระปกเกล้า เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ประชาธิปไตย พิพิธภัณฑ์ เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาล

๑๔๘

รัชกาลที่ ๘ นำ�ไทยสามัคคี

พระราชลัญจกรประจำ�พระองค์รัชกาลที่ ๘ เป็นตรางา ลักษณะกลม เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับบนบัลลังก์ดอกบัว ห้อยพระบาทขวาเหนือบัวบาน หมายถึงแผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วด้านหลังแทนรัศมี และมีแท่นรองรับตั้งฉัตรบริวารทั้งสองข้าง เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระปรมาภิไธยว่า อานันทมหิดล แปลว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดิน ประหนึ่งพระโพธิสัตว์เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ทวยราษฎร์

...ท่านทั้งหลายคงเห็นอยู่ว่า แม้ว่าสงคราม จะสิ้นสุดไปแล้ว ความทุกข์ยากก็ยังมีอยู่ทั่วไปในโลก ซึ่งรวมถึงบ้านเมืองไทยที่รักของเราด้วย แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า คนไทยทุกคนถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดี ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถูกต้องตามทำ�นองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมืองก็จะผ่านพ้นไปได้... พระราชดำ�รัส พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ เมื่อคราวเสด็จนิวัตพระนคร พุทธศักราช ๒๔๘๘ ๑๕๐

พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี พระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล

เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี เวลานั้น สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงศึกษาวิชาการแพทย์อยู่ที่นั่น

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทานพระนามว่า“อานันทมหิดล” หมายความว่า “ผู้เป็นที่รักของแผ่นดิน”

๑๕๑

พระองค์มีพระเชษฐภคินี คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ สมเด็จพระอนุชา คือ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙

พุทธศักราช ๒๔๖๙ สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา

ทัง้ ๓ พระองค์ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี ไปประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา

๑๕๒

พุทธศักราช ๒๔๗๑ สมเด็จพระบรม ราชชนกเสด็จนิวัตประเทศไทย ขณะนั้นพระชนมพรรษา ๓ พรรษา ได้เสด็จฯ ไปประทับ ณ วังสระปทุม

ต่อมา สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงพระประชวร และสิน้ พระชนม์ เมือ่ วันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒

นับแต่นั้นมา สมเด็จพระบรมราชชนนี จึงอภิบาลพระโอรส และพระธิดาทั้งสามพระองค์ เพียงลำ�พังสืบมา

ทรงเริ่มการศึกษาชั้นต้น ที่โรงเรียนมาแตร์เดอี และชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์

พุทธศักราช ๒๔๗๕ ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย

เหตุการณ์บ้านเมืองขณะนั้นยังไม่เรียบร้อยนัก สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า มีพระราชดำ�ริให้พระนัดดา ทั้งสามพระองค์เสด็จไปต่างประเทศ

๑๕๓

สมเด็จพระบรมราชชนนี พร้อมพระโอรส และพระธิดา เสด็จไปประทับที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษา และรักษาพระพลานามัย

วันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ และทรงสละพระราชสิทธิ์ ในการแต่งตั้งผู้สืบราชสมบัติตามกฎมณเฑียรบาล

สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ กราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ขณะพระชนมพรรษา ๘ พรรษา ๕ เดือน ๑๑ วัน ทรงยังไม่บรรลุพระราชนิติภาวะ เป็นยุวกษัตริย์ที่ประทับอยู่ต่างประเทศ เพื่อทรงศึกษาเล่าเรียน ๑๕๔

ทั้งสามพระองค์ทรงเข้าศึกษาที่ โรงเรียนเมียร์มองต์ ใกล้ที่ประทับ

ขณะนั้นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อานันทมหิดลทรงอยู่ในลำ�ดับที่ ๑ แห่งการสืบราชสันตติวงศ์

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะผู้สำ�เร็จราชการ แทนพระองค์ ประกอบด้วย พลเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ นาวาตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) พุทธศักราช ๒๔๗๘ พระองค์ทรงย้าย ไปศึกษาที่ เอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออีส โรมองด์

ทรงศึกษาภาษาไทย ณ ที่ประทับ โดยมีพระอาจารย์ตามเสด็จมาจากกรุงเทพฯ และทรงศึกษาภาษาอื่นอีก ๕ ภาษา ได้แก่ ภาษาละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และสเปน

สมเด็จพระบรมราชชนนี ถวายการอภิบาลยุวกษัตริย์ทั้งสุขอนามัย และการศึกษา ทรงปลูกฝังการทรงงาน พระราชจริยวัตรของพระมหากษัตริย์ และจารีตราชประเพณีของไทย เพื่อทรงเตรียมพระองค์สู่ภาระหน้าที่ อันใหญ่หลวง

๑๕๕

นับตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญ เสด็จนิวัตประเทศไทย เพื่อให้ ประชาชนได้ชื่นชมพระบารมี หลายครั้ง แต่ทรงขัดข้อง ด้วยพระพลานามัยไม่แข็งแรง จึงยังไม่สามารถเสด็จกลับ เมืองไทยได้

พุทธศักราช ๒๔๘๑ พระชนมพรรษา ๑๓ พรรษา ได้เสด็จนิวัตประเทศไทย โดยทางเรือ พร้อมสมเด็จพระราชชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอ และสมเด็จพระอนุชา

ในระหว่างที่เสด็จนิวัตประเทศไทย ทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่าง ๆ โดยมีประชาชนมาเฝ้าฯ รับเสด็จเนืองแน่น ด้วยปรารถนาจะได้ชื่นชมพระบารมี เพราะประเทศไทยห่างเหินพระมหากษัตริย์มานาน ครั้นเมื่อเห็นพระราชอิริยาบถแล้ว ก็ยิ่งปีติโสมนัส ต่างเคารพรักพระมหากษัตริย์พระองค์น้อยเป็นล้นพ้น

๑๕๖

ยุวกษัตริยป์ ระทับในราชอาณาจักร พระองค์ทรงปฏิบตั ิ พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เท่าทีเ่ วลาจะอำ�นวย

ทรงเยี่ยมราษฎร วัดวาอาราม และสถานที่สำ�คัญต่าง ๆ ทั่วประเทศ

เสด็จฯ ประทับอยู่เป็นมิ่งขวัญชาวไทย ๕๙ วัน ก่อนเสด็จฯ กลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ แม้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ แต่ปวงชนชาวไทยล้วนชื่นชมในพระราชจริยวัตร ที่งดงามอย่างยิ่ง

๑๕๗

หลังจากเสด็จนิวัตครั้งแรก ได้เกิดวิกฤต สงครามโลกครั้งที่สอง การติดต่อสื่อสาร กับต่างประเทศไม่สะดวก จึงมิได้ เสด็จนิวัตประเทศไทยอีกเป็นเวลานาน

ชาวไทยว้าเหว่ที่ประเทศขาดองค์พระประมุข มีพระราชสาส์นอำ�นวยพรให้ชาวไทย รอดพ้นความทุกข์

พุทธศักราช ๒๔๘๘ เมื่อทรงบรรลุพระราชนิติภาวะ พระชนมพรรษา ๒๐ พรรษา รัฐบาลกราบบังคมทูลเชิญเสด็จ นิวัตพระนคร แต่มีพระราชประสงค์ จะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ให้สำ�เร็จเสียก่อน

แต่ ในที่สุดทรงตัดสินพระทัย เสด็จนิวัตพระนครเป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘

๑๕๘

พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นเวลาที่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาอยู่ในเมืองไทย เพื่อปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่น ในฐานะผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ ๒

อนาคตของไทยในขณะนั้น ขึ้นอยู่กับ การดำ�เนินนโยบายของรัฐบาล โดยฝ่ายสัมพันธมิตร ที่มาจากหลายชาติหลายภาษา

ที่เห็นใจไทยก็มี ที่ข่มขู่เอาเปรียบก็มี ไม่น้อย ไทยต้องขมขื่น อดทน อดกลั้น

๑๕๙

ทรงตรวจพลสวนสนามกองทัพสัมพันธมิตร ในฐานะประมุขของชาติไทย เคียงคู่ลอร์ด หลุยส์ เมานต์แบตเทน แห่งกองทัพอังกฤษ ผู้บัญชาการทหาร ฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างสง่างามสมพระเกียรติ ณ ท้องสนามหลวง และถนนราชดำ�เนิน เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๙

ทรงนำ�เกียรติภูมิชาติไทยกลับคืนสู่ดวงใจคนไทยทั้งชาติ

ทรงบำ�รุงขวัญประชาชนให้ชุ่มชื่นแข็งแกร่ง และเพิ่มพูนความจงรักภักดี อย่างประมาณมิได้

๑๖๐

เสด็จพระราชดำ�เนินเยี่ยมพสกนิกรทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง เช่น สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี พระประแดง ปากเกร็ด ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร

ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ราษฎรอย่างใกล้ชิด มีพระราชปฏิสันถารถึงความเป็นอยู่ของราษฎร ด้วยพระเมตตา

พระราชทาน “เงินก้นถุง” ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นนํ้าใจตอบแทนความจงรักภักดี เป็นที่ปลาบปลื้มในหมู่ราษฎร ที่มารอเฝ้ารับเสด็จเป็นล้นพ้น

๑๖๑

การเสด็จเยือนหัวเมืองนอกกรุงเทพฯ ได้ทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรแล้ว ยังทรงศึกษาลักษณะการบริหารบ้านเมือง ของหน่วยราชการต่าง ๆ ไปด้วย เสด็จประทับบัลลังก์ ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ ณ บัลลังก์ศาลจังหวัดนครปฐม ครัง้ ที่ ๒ ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน ทีศ่ าลประจำ�จังหวัดฉะเชิงเทรา ทรงร่วมพิจารณาคดีลกั ทรัพย์ จำ�เลยเป็นหญิงแม่ลกู อ่อน ซึง่ ตามคำ�ฟ้องของอัยการ จำ�เลยได้ขโมย ห่วงกุญแจนากของโจทก์ มีผเู้ ห็น และจับได้ของกลาง จำ�เลยรับสารภาพ ว่ากระทำ�ไปเพราะยากจน ไม่มเี งิน เลีย้ งดูบตุ ร ศาลพิจารณาจำ�คุก ๖ เดือน

มีพระบรมราชวินจิ ฉัยตามสำ�นวนฟ้องแล้ว มีพระราชดำ�รัสว่า โทษจำ�คุกนัน้ ให้รอลงอาญา เพราะจำ�เลยไม่เคยกระทำ�ผิดมาก่อน จำ�เลยก้มกราบ ไปทีบ่ ลั ลังก์ดว้ ยความซาบซึง้ ในพระเมตตา พระราชทานพระราชทรัพย์แก่หญิงแม่ลกู อ่อน ผูเ้ ป็นจำ�เลย เป็นบำ�เหน็จความซือ่ สัตย์ ทีม่ ตี อ่ อาญาของแผ่นดิน

๑๖๒

ประชาชนทีเ่ ฝ้าฟังการพิจารณาคดี ต่างสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ เป็นล้นพัน

ในพิธีเปิดสมัยการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงลงพระปรมาภิไธย ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ และมีพระราชดำ�รัสกับประชาชนชาวไทย ทางวิทยุกระจายเสียง ในวันรัฐธรรมนูญ

ทรงตระหนักถึงคุณค่า และความสำ�คัญของการศึกษา ที่เสริมสร้างภูมิปัญญาแก่เยาวชน ผู้เป็นอนาคตของชาติ เสด็จฯ ทอดพระเนตรกิจการของ หอสมุดแห่งชาติ ซึ่งเป็นแหล่งรวม ตำ�ราความรู้ต่าง ๆ

ทรงเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนอัสสัมชัญ

ทรงเยี่ยมโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ทรงศึกษา เมื่อครั้งทรงพระเยาว์

๑๖๓

เสด็จพระราชดำ�เนินไป พระราชทานปริญญาบัตร ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๙

ทรงเล็งเห็นความสำ�คัญของการสาธารณสุข และสุขภาพอนามัยของราษฎร พระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างตึกอำ�นวยการโรงพยาบาลประจำ�กรมแพทย์ทหารบก จังหวัดลพบุรี และพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า “อานันทมหิดล”

เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ เสด็จพระราชดำ�เนินไป พระราชทานปริญญาบัตร ณ หอประชุมราชแพทยาลัย ศิริราชพยาบาล

๑๖๔

มีพระราชปรารภให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์แห่งที่ ๒ จึงได้กำ�เนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน

เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๑ เมื่อเสด็จนิวัตพระนครครั้งแรก ทรงประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้วยมีพระราชศรัทธา ในพระพุทธศาสนาลึกซึ้ง ทรงตั้งพระราชหฤทัย จะทรงผนวชไว้

เสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูป ในพระอารามที่สำ�คัญหลายแห่ง เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดสระเกศ วัดอรุณราชวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดเทพศิรินทราวาส ทรงบำ�เพ็ญพระราชกุศล และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ บำ�รุงวัดวาอารามต่าง ๆ ด้วยพระราชศรัทธาที่มั่นคง ๑๖๕

ณ วัดสุทัศนเทพวราราม มีพระราชดำ�รัสว่า “ที่นี่สงบเงียบน่าอยู่จริง” เมื่อเสด็จสวรรคต จึงได้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารมาประดิษฐาน ณ บริเวณผ้าทิพย์ พระศรีศากยมุนี ภายในพระวิหารแห่งนี้

พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยว่า จะทรงพระผนวชในพระพุทธศาสนา โดยเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ มีพระราชหัตถเลขาแจ้งพระราชประสงค์ถึง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ในการศึกษา ตำ�ราทางพระพุทธศาสนา เพือ่ เตรียมพระองค์ ในการทีจ่ ะทรงพระผนวช

สืบเนื่องมาจากหลังยุติสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวไทยและชาวจีน อย่างรุนแรง

ในย่านเยาวราช มีการทำ�ร้ายร่างกายคนไทย ที่เรียกว่า “เลียะพะ” ที่เข้าไปในบริเวณนั้น

๑๖๖

สาเหตุเพราะญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เวลานั้นชาวจีนบางกลุ่มเข้าใจว่าชาวจีนได้ชนะสงคราม กับไทยด้วย เพราะไทยเข้าพวกกับญี่ปุ่น ชาวจีนจึงลุกฮือเพราะชิงชังญี่ปุ่นที่กดขี่ข่มเหง พี่น้องในเมืองจีน

สถานการณ์นี้เกิดขึ้นในกลาง พุทธศักราช ๒๔๘๘ มีความรุนแรงเกือบจะเป็นสงครามกลางเมือง แม้รัฐบาลจะควบคุมความรุนแรงในพื้นที่เยาวราชได้ แต่สถานการณ์พร้อมคุกรุ่นได้ตลอดเวลา

กระทั่งวันที่ ๒๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ รัฐบาลโดย ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้สถาปนาความสัมพันธ์ กับสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานการณ์ก็เริ่มคลี่คลายลงบ้าง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า จะปล่อยให้ขุ่นข้องหมองใจเช่นนั้นไม่ได้ เพราะไทยจีนเคยอยู่กันฉันพี่น้องมาช้านาน และสำ�เพ็งเป็นพื้นที่ที่พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานให้เป็นที่อยู่แก่ชาวจีน ด้วยเหตุนี้ วันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ พระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชา จึงเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎร ที่เยาวราชและสำ�เพ็ง ๑๖๗

ชาวจีนจัดซุ้มแสดงความจงรักภักดีต่อทั้งสองพระองค์ด้วยความปีติยินดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระดำ�เนินโดยไม่รีบเร่ง ทรงทักทายด้วยพระเมตตาอ่อนโยน ทรงรับของที่พ่อค้าถวาย บางร้านกราบบังคมทูลเชิญประทับเพื่อความเป็นสิริมงคล ยังความปลาบปลื้มต่อชาวเยาวราชเป็นล้นพ้น

การเสด็จฯ เยี่ยมสำ�เพ็งเป็นเวลานานกว่า ๔ ชั่วโมง สร้างความประทับใจ ที่องค์พระประมุขเสด็จฯ มา ทุกคนต่างชื่นชมและสรรเสริญในพระมหากรุณาธิคุณ ความบาดหมางระหว่างคนไทยกับคนจีนค่อยเลือนหาย นับได้ว่าพระราชกรณียกิจครั้งนี้เป็นเรื่องสำ�คัญอย่างยิ่งในบ้านเมือง

๑๖๘

ทอดพระเนตรการทำ�นาและกิจการ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทรงหว่านข้าวในพื้นที่ทุ่งบางเขน

วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ เสด็จพระราชดำ�เนินพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชา ปฏิบัติพระราชกรณียกิจสุดท้าย

วันอาทิตย์ ที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ เวลาประมาณ ๙ โมงเช้า ประชาชนชาวไทยได้รับข่าวสะเทือนใจทั้งแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน พระชนมพรรษา ๒๑ พรรษา ทรงดำ�รงสิริราชสมบัติ ๑๒ ปี

ในรัชกาลต่อมา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อน้อมรำ�ลึกถึงพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร หลายแห่ง ได้แก่ วัดสุทัศนเทพวราราม โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย โรงพยาบาลอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสวนหลวงพระราม ๘ ๑๖๙

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๘ กำ�หนดให้วันที่ ๒๐ กันยายน ของทุกปีเป็น “วันเยาวชนแห่งชาติ” เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงดำ�รงสิริราชสมบัติเมื่อพระชนมพรรษายังไม่ทรงบรรลุพระราชนิติภาวะ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ วันที่ ๙ มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันอานันทมหิดล” วันที่ระลึกคล้ายวันเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร กำ�หนดให้เป็นวันรัฐพิธี มีการวางพวงมาลาถวายราชสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ เชิงสะพานพระราม ๘ และวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นประจำ�ทุกปี

๑๗๐

รัชกาลที่ ๙

พระบารมีเปี่ยมล้น

พระราชลัญจกรประจำ�พระองค์รัชกาลที่ ๙ เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น “อุ” หรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร ๗ ชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน

...การทำ�ดีนั้นทำ�ยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำ�เป็นต้องทำ� เพราะหาไม่ความชั่วซึ่งทำ�ได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่ และจะพอกพูนอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว บุคคลแต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำ�ลัง ในการสร้างเสริมและสะสมความดี... พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พระราชทานแก่ผู้สำ�เร็จการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำ�รวจ ณ สวนอัมพร วันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕

๑๗๒

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็นพระนามที่พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระราชทาน มีความหมายว่า พลังของแผ่นดินเป็นอำ�นาจที่ หาใดเปรียบมิได้

เป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

มีพระเชษฐภคินี คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ ๑๗๓

พุทธศักราช ๒๔๗๑ โดยเสด็จ สมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จนิวัตพระนคร ประทับ ณ วังสระปทุม

วันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะนั้นมีพระชนมพรรษาไมถึง ๒ พรรษา

พุทธศักราช ๒๔๗๕ ทรงเขาศึกษาในโรงเรียนมาแตรเดอี และในปตอมา จึงเสด็จฯ พรอมดวย สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ไปประทับ ณ เมืองโลซานน ประเทศสวิตเซอรแลนด

ทรงศึกษาในโรงเรียนเมียรมองต เชนเดียวกับ สมเด็จพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นยายไปทรงศึกษาตอที่ เอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออีส โรมองด

พุทธศักราช ๒๔๘๑ ทรงสําเร็จการศึกษา จากโรงเรียนยิมนาส กลาซีค กังโตนาล แหงเมืองโลซานน ทรงรับประกาศนียบัตร ดานอักษรศาสตร ตอมาทรงเขาศึกษา ดานวิทยาศาสตร ในมหาวิทยาลัยโลซานน

๑๗๔

เมื่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ทรงได้รับสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช”

เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๑ โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา อานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นเวลา ๒ เดือน ประทับ ณ พระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต แล้วเสด็จฯ กลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ดังเดิม พุทธศักราช ๒๔๘๘ โดยเสด็จพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จนิวัตประเทศไทย ครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จฯ ไปทรงเยือนสำ�เพ็ง ย่านธุรกิจของคนจีน ทรงปฏิบัติหน้าที่ช่างภาพส่วนพระองค์

๑๗๕

วันที่ ๙ มิถนุ ายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ชาวไทยต้องประสบ ความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง เมือ่ พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสวรรคต

รัฐสภาลงมติเป็นเอกฉันท์กราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์ สืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

ขณะนั้น พระชนมพรรษา ๑๙ พรรษา ยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงมีพระราชดำ�รัสอำ�ลาประชาชน ทางวิทยุกระจายเสียงว่า

ข้าพเจ้ามีความจำ�เป็น ที่จะต้องจากประเทศไทย และพวกท่านทั้งหลายเพื่อไปศึกษาต่อ ให้มีความรู้ด้านใหม่

ทรงพระเจริญ

พระเจ้าอยู่หัว พระองค์ใหม่

พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ๑๗๖

จากนั้นเสด็จพระราชดำ�เนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ สวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ขณะรถยนต์พระที่นั่งเคลื่อนผ่านฝูงชนที่มาส่งเสด็จ ณ ถนนราชดำ�เนินกลาง ใครคนหนึ่งตะโกนขึ้นว่า

ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน

การศึกษาต่อครัง้ นีท้ รงเปลีย่ นสาขา เหตุการณ์์นี้ทรงบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิสเซอร์แลนด์” จากวิทยาศาสตร์เป็นสังคมศาสตร์ นิตศิ าสตร์ และรัฐศาสตร์ เพือ่ เตรียมพระองค์ ความว่า “ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้า ในฐานะพระประมุขของประเทศ จะละทิ้งอย่างไรได้”

ทรงมุ่งมั่นที่จะศึกษา เพื่อนำ�ความรู้มาพัฒนา ประเทศชาติ และความ อยู่ดีกินดีของประชาชน

๑๗๗

พุทธศักราช ๒๔๙๓ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกอบพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ระหว่างวันที่ ๒๘-๒๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓

วันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

๑๗๘ ๑๗๖

ทรงรับพระบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ มีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

๑๗๙

วันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระสมณฉายา “ภูมิพโลภิกขุ” และประทับ ณ พระตำ�หนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน

ทรงออกรับบิณฑบาต จากประชาชนทั่วไป

ระหว่างนี้ โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อทรงลาสิกขาแล้ว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธย เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชโอรสและพระราชธิดา ๔ พระองค์ ๑. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ๒. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ๓. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๔. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ๑๘๐

ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ ๗๐ ปี ทรงบำ�เพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ ทรงแก้ปัญหาความเดือดร้อนของบ้านเมือง และทรงสร้างสันติสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ด้านต่าง ๆ ๔,๘๑๐ โครงการ ล้วนเป็นประโยชน์ แก่การพัฒนาความเจริญของชาติ และแนวทางการดำ�รงชีวิต ของปวงชนชาวไทย

ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๙๕ - ๒๔๙๙ เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรทุกภูมิภาค

ทรงรับทราบถึงปัญหาความยากจน

๑๘๑

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ทรงเน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน มีความ สมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ โครงการในพระราชดำ�ริจึงครอบคลุม ทุกด้าน ได้แก่ เกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ ทรัพยากรนํ้า และการคมนาคม

โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ โครงการแรกเริ่มขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๙๕ เมื่อครั้งเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรที่บ้านห้วยคต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รถพระที่นั่งตกหล่ม จึงมีพระราชดำ�ริให้ตัดถนน สายหัวหิน-ห้วยมงคล เพื่ออำ�นวยความสะดวก แก่ราษฎร รถบูลโดเซอร์ พระราชทานสำ�หรับเกลี่ยดิน ในการสร้างถนนครั้งนั้น

๑๘๒

มีพระราชดำ�ริ ให้สร้างอ่างเก็บนํ้าเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนํ้า ของราษฎรในหน้าแล้ง

อ่างเก็บนํ้าเขาเต่า นับเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการนํ้า

โปรดให้สร้างเขื่อน อ่างเก็บนํ้า ตามแนวพระราชดำ�ริทั่วประเทศ เกิดไฟฟ้าพลังนํ้าทุกเขื่อน ประดุจแสงสว่างจากสายนทีสู่ประชาชน และสู่โรงงานอุตสาหกรรมที่พัฒนาให้ชาติเจริญก้าวหน้า

๑๘๓

พระราชทานพระราชดำ�ริในการทำ�ฝนเทียม หรือที่เรียกว่า “ฝนหลวง” ในพื้นที่แห้งแล้งและฝนทิ้งช่วง ตลอดจนการสร้างอ่างเก็บนํ้า เหมือง ฝาย สร้างโรงงานพลังนํ้าขนาดเล็กในชุมชน และการผันนํ้าจากแหล่งธรรมชาติ สู่แหล่งแก้มลิง ชะลอนํ้ามิให้ท่วมล้นและทำ�ความเสียหายก่อนระบาย ออกสู่ทะเล

ทรงใส่พระราชหฤทัย ในเรื่อง การบริหารจัดการนํ้าอย่างสมํ่าเสมอ ทรงให้ความสำ�คัญว่า “นํ้าคือชีวิต” มีพระราชดำ�รัสว่า “หลักสำ�คัญ ต้องมีนํ้าบริโภค นํ้าใช้ นํ้าเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าสิ่งมีชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีนํ้าคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีนํ้าคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีนํ้า คนอยู่ไม่ได้” นอกจากการสร้างเขื่อน ยังมีโครงการพัฒนาลุ่มนํ้าอีกหลายแห่ง ได้แก่ โครงการพัฒนาลุ่มนํ้ากํ่า จังหวัดสกลนคร-นครพนม โครงการพัฒนาลุ่มนํ้าบางนรา จังหวัดนราธิวาส โครงการพัฒนา พื้นที่ลุ่มนํ้าปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา รวมถึงอ่างเก็บกักนํ้าขนาดย่อม เหมือง หรือฝายเล็กฝายน้อยที่เรียกว่า “ฝายแม้ว” เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผืนป่าและบรรเทาการขาดแคลนนํ้าในฤดูแล้ง

๑๘๔

ทรงสร้างศูนย์พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ เสมือนพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตในทุกภูมิภาค เพื่อให้ความรู้และแก้ปัญหาด้านเกษตรกรรม ตามสภาวะของแต่ละภูมิภาค ได้แก่ ดิน นํ้า พืช เมล็ดพันธุ์ วิธีการอื่น ๆ อย่างครอบคลุมครบวงจรแก่ทุก ๆ ปัญหาที่เข้าไปศึกษา ณ ศูนย์นั้น ๆ ตราบปัจจุบัน

พุทธศักราช ๒๕๒๒ ทรงริเริ่มโครงการพัฒนา ด้านเกษตรกรรมโครงการแรก ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา เขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ อำ�เภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่อง มาจากพระราชดำ�ริ อำ�เภอชะอำ� จังหวัด เพชรบุรี ดำ�เนินการป้องกันไฟป่่าด้วยระบบ ป่าเปียก และใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดาน

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ อำ�เภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นการอนุรักษ์ป่าชายเลน และการบำ�บัดนํ้าเสีย จากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ�

๑๘๕

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ อำ�เภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ทดลองเรื่องพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ข้าวหอมมะลิ ๑๐๕ เห็ดภูพาน และสุกรภูพาน ภาคเหนือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ อำ�เภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ดำ�เนินการสร้างฝายชะลอนํ้า เพิ่มความชุ่มชื้นเพื่อรักษาป่าต้นนํ้า การปลูกป่า ๓ อย่าง ได้ประโยชน์ ๔ อย่าง

ภาคใต้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ อำ�เภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ดำ�เนินการปรับปรุงดินเปรี้ยวด้วยทฤษฎีแกล้งดิน และพัฒนาพื้นที่ป่าพรุ

๑๘๖

นอกจากนี้ ยังมีโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ เพื่อพัฒนาการประกอบอาชีพ อีกจำ�นวนมาก นับแต่พื้นราบ ไปจนถึงบนดอยสูงทางตอนเหนือ ภูมิประเทศเป็นภูเขา หุบเขา สูงกว่า ระดับนํ้าทะเล ๕๐๐-๕,๒๖๕ เมตร อากาศหนาวเย็นตลอดปี

โครงการพัฒนาเกษตรที่สูง “โครงการหลวง” ตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๒ เพื่อช่วยเหลือ ชาวไทยภูเขาที่ทำ�ไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่น

ทรงส่งเสริมให้ชาวเขาหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจ ทดแทน และให้ทำ�กินเป็นที่เป็นทาง แก้ปัญหา การบุกรุกแผ้วถางป่า ซึ่งเป็นป่าต้นนํ้า และรับซื้อผลผลิต

นอกจากแก้ปัญหาป่าต้นนํ้าแล้ว ยังแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นด้วยสันติ

๑๘๗

ทรงตั้งสถานีทดลองปลูกพืชเมืองหนาว แทนการปลูกฝิ่น ได้แก่ สถานีวิจัยเกษตรหลวงอ่างขาง อำ�เภอฝาง สถานีเกษตรหลวงปางดะ อำ�เภอสะเมิง และสถานีเกษตรหลวงดอยอินทนนท์ อำ�เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โครงการวิจัยการปลูกพืชในที่สูง เช่น ปลูกไม้ดอก ไม้ผล กาแฟ พืชผักเมืองหนาว เลี้ยงสัตว์ โดยตั้งศูนย์เพื่อการพัฒนา ๓๔ แห่ง นำ�ผลงานวิจัยไปสู่ราษฎร ๕ จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำ�พูน แม่ฮ่องสอน และพะเยา มีการจัดการหลังเก็บเกี่ยว การขนส่ง การคัดบรรจุ การแปรรูป และวิจัยการตลาด ส่วนโครงการพัฒนาเกษตรในชนบททรงริเริ่มทดลอง ณ พื้นที่โดยรอบพระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ผลิตแล้ว มีที่ขาย

อยู่ดีกินดี ชีวิตมั่นคง

พุทธศักราช ๒๕๐๓ โปรดให้ฟื้นฟู พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หลังจากยกเลิกไปเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๙ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำ�ลังใจแก่เกษตรกร

๑๘๘

ทรงริเริ่มโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มีวัตถุประสงค์หลักในการดำ�เนินงาน ๓ ประการ ๑. เป็นโครงการศึกษาทดลอง ๒. เป็นโครงการตัวอย่าง ให้ผู้สนใจ สามารถเข้ามาศึกษา เพื่อสามารถ นำ�กลับไปดำ�เนินการเองได้ ๓. เป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำ�ไรเชิงธุรกิจ ทรงนำ�ข้าวชื่อ “นางมล” มาทดลองปลูก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๔ แล้วพระราชทาน ในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

ต่อมา จึงทดลองปลูกพันธุ์ข้าวให้เหมาะกับพื้นที่ ทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวไร่ ที่ปลูกในพื้นที่ ที่มีนํ้าน้อย รวมทั้งปลูกพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วเหลือง และพืชอีกหลายชนิด เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชไร่

ทรงขยายพันธุ์ข้าว และเมล็ดพันธุ์พืชอื่น ๆ พระราชทานแก่ราษฎรทั่วประเทศ

๑๘๙

ทรงตั้งโรงสีข้าวตัวอย่าง ใช้เครื่องจักรที่ผลิต ในประเทศ รวมถึงยุ้งฉางแบบต่าง ๆ ที่สร้างด้วยไม้ ด้วยเหล็ก และคอนกรีต เพื่อเก็บรักษาข้าวเปลือกสำ�หรับการศึกษาวิจัย

ทรงเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล ที่สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ เมื่อครั้งดำ�รง พระอิสริยยศมกุฎราชกุมาร แห่งญี่ปุ่น ทูลเกล้าฯ ถวาย โปรดให้กรมประมงขยายพันธุ์แล้วแจกจ่าย จนกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจแพร่หลายทั่วประเทศ

ส่วนแกลบหรือเปลือกข้าวจากการสี นำ�ไปผสมกับสารเคมีสูตรต่าง ๆ ทำ�ปุ๋ย หรืออัดแท่งทำ�เป็นเชื้อเพลิง สำ�หรับใช้แทนฟืนได้

สร้างโรงโคนมทดลองสำ�หรับเลี้ยงโคนม ที่มีผู้นำ�มาถวาย ๖ ตัว เมื่อโคนมตกลูก ได้นํ้านม ที่เหลือจากลูกโคมาจำ�หน่ายแก่ข้าราชบริพาร เป็นการวางแนวทางเพื่อการผลิตให้สมบูรณ์

ต่อมาทรงตั้งโรงงานผลิตนมผง พระราชทานชื่อว่า “นมผงสวนดุสิต” ภายหลังได้จัดตั้ง “ศูนย์รวมนมสวนจิตรลดา”

๑๙๐

รับนํ้านมดิบจากสหกรณ์โคนมมาผลิต ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว นำ�ออกจำ�หน่าย ในโรงเรียน เสริมสร้างให้เด็กมีสุขภาพ ร่างกายแข็งแรง

แก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ทรงพัฒนาพลังงาน ๔ ประเภท ได้แก่ พลังงานชีวภาพ ผลิตพลังงานแก๊สและนํ้ามัน จากพืช เช่น ปาล์มนํ้ามัน อ้อย มันสำ�ปะหลัง ได้แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลเป็นพลังงาน ทดแทนนํ้ามันจากฟอสซิล

พลังงานแสงอาทิตย์ ทรงนำ�ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ใช้ในที่ห่างไกล ที่สายไฟฟ้าไปไม่ถึง สามารถมีไฟฟ้าสำ�หรับ วิทยุสื่อสารขนาด ๑๐๐ วัตต์ ใช้ประโยชน์ ในการสูบนํ้าซึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าปราศจากมลพิษ

พลังงานลม เป็นพลังงานธรรมชาติที่นำ�มาใช้ประโยชน์ โดยการใช้กังหันลมสูบนํ้าขึ้นมาใช้ในการบริโภค และใช้สร้างกระแสไฟฟ้า ดังเช่น ทุ่งกังหันลมใน โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำ�ริ อำ�เภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

พลังงานนํ้า ทรงให้ความรู้ในการผลิตไฟฟ้าไว้สองแบบ แบบแรกได้จากนํ้าไหลจากที่สูงมาพัดกังหันเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้า แบบที่สองได้จากนํ้าไหลทางราบ เมื่อไหลอยู่ตลอดเวลา ทำ�ให้กังหันเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าหมุนได้เช่นกัน มีพระราชดำ�ริด้านชลประทานทั่วทุกภูมิภาค การสร้างพลังงานทั้ง ๔ ประเภท ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย” ๑๙๑

พุทธศักราช ๒๕๓๑ ทรงคิดค้น “เกษตรทฤษฎีใหม่” เพื่อเป็นทางเลือกให้ราษฎร สามารถพึ่งตนเองได้อย่างเข้มแข็ง หลักการคือ ใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งที่ดินออกเป็น ๔ ส่วน สำ�หรับแหล่งนํ้า นาข้าว ไร่ สวน และที่อยู่อาศัย

เกษตรทฤษฎีใหม่แบ่งออกเป็น ๓ ขั้น ๑ ) เป็นการพึ่งตนเอง ใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ๒ ) รวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์เพื่อเพิ่มผลผลิต ๓ ) ประสานความร่วมมือกันให้กลายเป็นภาคธุรกิจ พุทธศักราช ๒๕๓๒ ทรงริเริ่มโครงการนี้ ณ บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี เป็นแห่งแรก

พุทธศักราช ๒๕๔๐ ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกตํ่า จึงทรงนำ� “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ที่มีพระราชดำ�ริไว้ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๗ อันมีคุณลักษณะ ๓ อย่าง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว การนำ�ปรัชญานี้มาประยุกต์ใช้ในชีวิต จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาสังคม และทรัพยากรบุคคลอย่างมั่นคง ยั่งยืน และสงบสุข ๑๙๒

โปรดให้จัดตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕ เพื่อช่วยเหลือราษฎร ที่ประสบภัยพิบัติจากเหตุการณ์วาตภัย และอุทกภัย ที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำ�ให้สูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำ�นวนมาก พระราชทานพระราชทรัพย์ และช่วยเหลือราษฎรโดยเร่งด่่วน

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนประชาบาล ที่ถูกพายุแฮเรียตพัดเสียหาย ๑๒ โรงเรียน ใน ๒ จังหวัดภาคใต้ พระราชทานชื่อว่า “โรงเรียนราชประชานุเคราะห์” จากลำ�ดับที่ ๑ ถึง ๑๒ ตามลำ�ดับ ในระยะต่อมา ได้เพิ่มขึ้นถึง ๕๘ แห่ง

๑๙๓

พุทธศักราช ๒๕๓๑ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติ ที่ต้องการความรวดเร็วทันเหตุการณ์และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม

มูลนิธิชัยพัฒนา จะเน้นกิจกรรมเพื่อการพัฒนา ที่ไม่ซํ้าซ้อนกับโครงการของรัฐ แต่จะพยายาม สนับสนุน ส่งเสริม และประสานงาน ให้โครงการต่าง ๆ เกิดความสมบูรณ์ และสามารถดำ�เนินการได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับสถานการณ์

ทรงประดิษฐ์กังหันชัยพัฒนา สำ�หรับเติมออกซิเจนในนํ้าเพื่อบำ�บัดนํ้าเสีย ซึ่งสมาพันธ์นักประดิษฐ์นานาชาติ ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัล ในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งประดิษฐ์รายการแรก ที่ได้รับสิทธิบัตร จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ๑๙๔

โปรดให้ตัดถนนขึ้นรวม ๑๒ สาย ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ อันแสดงถึงสายพระเนตรอันกว้างไกล โดยเริ่มต้นโครงการในพุทธศักราช ๒๕๑๔

เมื่อทรงครองราชย์ครบ ๒๕ ปี โปรดให้สร้างถนนรัชดาภิเษก (วงแหวนรอบใน) และเมื่อทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี โปรดให้สร้างถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอก) รวมถึงสร้างโครงข่ายจตุรทิศ ทิศเหนือ-ทิศใต้ และทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก เพื่อรองรับปริมาณ การจราจรที่นับวันจะหนาแน่นในกรุงเทพมหานคร อำ�นวยความสะดวกในการเล่ี่ยงใจกลางเมือง ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เป็นเส้นทางบรรทุกสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรมสมุทรปราการ เชื่อมท่าเรือคลองเตย การเชื่อมโยงของถนนเหล่านี้ ช่วยแก้ปัญหาการจราจร เป็นประโยชน์ต่อการคมนาคมตราบปัจจุบัน

๑๙๕

ทรงตระหนักถึงการจราจรที่ติดขัด ในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๖ จึงมีพระราชดำ�ริให้มีหน่วยจราจรเคลื่อนที่เร็ว เพื่อแก้ไขในจุดที่คับคั่ง

ต่อมา จราจรหน่วยนี้ได้มีภารกิจเพิ่มขึ้น ได้แก่ การช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น ช่วยทำ�คลอดฉุกเฉิน

ช่วยเหลืออุบัติเหตุ อำ�นวยความสะดวก แก่ผู้ป่วยที่เร่งด่วน

หน่วยจราจรเหล่านี้ได้แบ่งเบาภาระฉุกเฉินจากภยันตรายบนท้องถนน ช่วยเหลือประชาชนให้ถึงมือแพทย์โดยเร็วเป็นจำ�นวนมาก

๑๙๖

มีพระมหากรุณาธิคุณแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของประเทศไทย ทรงตระหนักถึงความสำ�คัญด้านสุขอนามัยของราษฎร เมื่อเสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ในภูมิภาคต่าง ๆ โปรดให้หน่วยแพทย์หลวงตามเสด็จเพื่อดูแลราษฎรที่เจ็บป่วย เรียกว่า “หน่วยแพทย์พระราชทาน” ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ที่ขาดแคลนสถานพยาบาล

หน่วยแพทย์พระราชทานเหล่านี้ ตรวจรักษาประชาชน ที่ป่วยไข้ ทั้งรักษาโรคทั่วไป และทันตกรรม ในรายที่อาการหนัก ทรงรับเป็นคนไข้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้การรักษาในโรงพยาบาลจนหายปกติ

ทรงกำ�หนดให้มี “หมอหมู่บ้าน” สอนความรู้การดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น เช่น การปฐมพยาบาล การทำ�คลอด โภชนาการ อาหารเสริมในท้องถิ่น การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ การส่งผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล เป็นความรู้สาธารณสุขมูลฐานในการดำ�รงชีวิต

๑๙๗

ทรงจัดตั้งสถาบันราชประชาสมาสัย เป็นโครงการทดลองควบคุมและบำ�บัดโรคเรื้อน ของกระทรวงสาธารณสุข ทรงรับเป็นโครงการในพระราชดำ�ริ และโปรดให้ดูแล ลูกของผู้ป่วยโรคเรื้อน มีพระราชดำ�รัสเกี่ยวกับ ราชประชาสมาสัยว่า หมายถึง “พระราชาและประชาชนย่อมพึ่งพาอาศัยกัน” ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น ต่อผู้ป่วยโรคเรื้อน

ทรงกำ�จัดโรคร้ายแรงที่เป็นภัยให้หมดไปจากประเทศ ได้แก่ อหิวาตกโรค โรคเรื้อน โปลิโอ และวัณโรค นอกจากนี้ ยังโปรดให้ผลิตเกลือไอโอดีน แจกจ่ายแก่ราษฎรในถิ่นทุรกันดาร เพื่อป้องกันโรคคอพอก

พุทธศักราช ๒๔๙๘ พระราชทานเรือ “เวชพาหน์” ออกบรรเทาทุกข์และรักษาผู้ป่วยที่อาศัย ตามริมแม่นํ้า เมื่อการคมนาคมยังไม่เจริญ ได้แก่ แม่นํ้าเจ้าพระยา บางปะกง ท่าจีน สะแกกรัง เป็นเวลานานกว่า ๒๐ ปี ในเรือมีอุปกรณ์เหมือนโรงพยาบาล แล้วขยายการรักษาไปสู่ภาคใต้

๑๙๘

ทรงพัฒนาการสาธารณสุข ด้วยการยกระดับศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ โดยจัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนไปศึกษาในต่างประเทศ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๒

ทรงห่วงใยความทุกข์ยากของราษฎร และทหารที่ได้รับบาดเจ็บและทุพพลภาพ โดยทรงสร้างเครื่องมือในการดำ�รงชีวิต เช่น ทำ�ขาเทียม แขนเทียม และก่อตั้ง หน่วยงานช่วยเหลือในการประกอบอาชีพ เช่น มูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สงเคราะห์ครอบครัว และทหารผ่านศึก เป็นต้น

ทรงห่วงใยทหารที่ทำ�หน้าที่รั้วของชาติ ปกป้องแผ่นดินให้พ้นภัยจากผู้ก่อการร้าย โดยเฉพาะลัทธิคอมมิวนิสต์ เสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์ เยี่ยมทหาร ตำ�รวจ ที่รักษาประเทศในชายแดน พระราชทานขวัญ และกำ�ลังใจ ทุกฐานที่ตั้งหน่วยทหาร และตำ�รวจตระเวนชายแดน

๑๙๙

ทรงอุปถัมภ์การศึกษาด้านต่าง ๆ เช่น พระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือ ทรงให้คำ�แนะนำ� รวมทั้งเสด็จพระราชดำ�เนินเยี่ยม และพระราชทานพระบรมราโชวาท สนับสนุน เป็นกำ�ลังใจแก่ครู และนักเรียนของโรงเรียน ทรงส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียน และการศึกษา ตามพระราชอัธยาศัย

โปรดให้สร้าง โรงเรียนจิตรลดา ในเขตพระราชฐาน สำ�หรับพระราชโอรส พระราชธิดา และบุตรธิดาของข้าราชบริพาร โปรดให้สร้าง โรงเรียนราชวินิตในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยพระราชทานที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ณ บริเวณราชตฤณมัยสมาคม สำ�หรับบุตรหลานข้าราชบริพารและประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ โปรดให้เริ่มสร้างในเขตภาคเหนือ เพื่อให้ความรู้และการศึกษา แก่ชาวไทยภูเขา

๒๐๐

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เพื่อเด็กกำ�พร้าและเด็กยากจนที่เดือดร้อนจากภยันตรายต่าง ๆ ทุกประเภท เริ่มสร้างครั้งแรกในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อช่วยเหลือเด็กที่พ่อแม่เสียชีวิต จากมหาวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๕ ต่อมา ขยายเป็น ๕๘ แห่ง เกือบทุก จังหวัด มีทั้งนักเรียนประจำ�และไปกลับ สอนการฝึกอาชีพเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

โรงเรียนราชประชาสมาสัย สร้างขึ้นสำ�หรับ บุตรหลานผู้เป็นโรคเรื้อนที่ไม่ได้ติดโรคเรื้อน และนักเรียนปกติ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๖ ที่อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

โรงเรียนร่มเกล้า สร้างในพื้นที่ชายแดนห่างไกล คมนาคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ต่อมาได้ขยายไปทั่วทุกภูมิภาค

โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน สร้างขึ้นสำ�หรับเด็กขาดที่พึ่ง มีคณะสงฆ์อุปถัมภ์ช่วยสอน

โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม เป็นโรงเรียนต้นแบบ จากโรงเรียนประจำ� ของอังกฤษ สำ�หรับเด็กชายอยู่ประจำ�

๒๐๑

ทรงรื้อฟื้น “ทุนเล่าเรียนหลวง” ที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ สำ�หรับนักเรียนที่สำ�เร็จมัธยม สอบชิงทุนการศึกษาพระราชทาน และ “ทุนมหิดล” สำ�หรับผู้ที่ จบระดับอุดมศึกษาแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำ�หนังสือ “สารานุกรมไทย” สำ�หรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ละเล่ม จัดแบ่งเนื้อหา เพื่อให้เยาวชนสามารถศึกษาเรียนรู้ ได้ด้วยตนเอง โรงเรียนพระดาบส เปิดสอนวิชาช่างอาชีพ ระยะแรก คือ วิชาช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ ต่อมา เพิ่มเติม ช่างเครื่องยนต์ ช่างประปา และอื่น ๆ ไม่จำ�กัดวุฒิการศึกษาผู้เข้าเรียน เป็นหลักสูตรระยะสั้น ๑ ปี จบแล้วประกอบอาชีพได้

ทรงริเริ่มการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ณ โรงเรียนวังไกลกังวล อำ�เภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ โดยทำ�เป็นแม่ข่ายกระจายการศึกษาครอบคลุมการเรียนการสอนทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน เริ่มออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ เรียน ครูตู้หมายถึง การศึกษาทางไกล โทรทัศน์ กับครูตู้นะพวกเรา

๒๐๒

พุทธศักราช ๒๕๐๒ - ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เสด็จพระราชดำ�เนินเยือนประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย รวม ๒๗ ประเทศ เป็นการเจริญทางพระราชไมตรีกับมิตรประเทศเหล่านั้น สร้างความสัมพันธ์แน่นแฟ้น โดยเสด็จฯ เยือนประเทศเวียดนามใต้เป็นประเทศแรก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น มีผู้เฝ้าชมพระบารมี กว่า ๗๕๐,๐๐๐ คน เป็นเกียรติภูมิยิ่งใหญ่ ที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์

พุทธศักราช ๒๕๑๐ เสด็จฯ เยือนประเทศ แคนาดา จากนั้นก็เว้นการเสด็จฯ เยือนต่าง ประเทศยาวนาน กระทั่ง พุทธศักราช ๒๕๓๗ ได้เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว เพื่อเปิดสะพาน มิตรภาพไทย-ลาว นับเป็นการ เสด็จฯ เยือนต่างประเทศครั้งสุดท้าย ๒๐๓

มีพระราชศรัทธาในบวรพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทรงบำ�เพ็ญพระราชกุศลตามราชประเพณี เนื่องในวันสำ�คัญทางพระพุทธศาสนาเป็นนิจ ตลอดรัชสมัย

ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก นอกจากพระพุทธศาสนา ทรงอุปถัมภ์บำ�รุงทุกศาสนา ทั้งคริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู และซิกข์ ทำ�ให้พสกนิกรทุกศาสนา อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เมื่อเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาค โปรดเสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงนมัสการ และสนทนาธรรมกับพระอริยสงฆ์ในถิ่นนั้น ๆ สร้างขวัญกำ�ลังใจแก่ราษฎร ที่มาเฝ้าฯ รับเสด็จด้วยความจงรักภักดี อย่างไม่เสื่อมคลาย พุทธศักราช ๒๕๓๘ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก มีพระราชประสงค์เน้นความเรียบง่าย ประหยัด และประโยชน์ใช้สอย มีพระราชดำ�ริให้ บ้าน วัด โรงเรียน (บ-ว-ร) ทำ�กิจกรรมร่วมกัน อันเป็นแบบอย่างของการประหยัด และพอเพียง ๒๐๔

ทรงพระปรีชาสามารถในการช่าง และงานประดิษฐ์อย่างยิ่ง ทรงจำ�ลองเรือรบหลวงศรีอยุธยา พระราชทานออกประมูล เพื่อนำ�รายได้สมทบทุน ในการรณรงค์ต่อต้านวัณโรคแห่งชาติ ของสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงออกแบบเรือมด หรือ เรือใบมด และทรงต่อ ด้วยพระองค์เอง ได้จดลิขสิทธิ์เป็นสากล ประเภท International Moth Class ที่ประเทศอังกฤษ

ทรงเรือใบมด เข้าทดลองแข่งขันที่ประเทศ อังกฤษ ทรงได้อันดับที่หนึ่งในบรรดาเรือ ขนาดเดียวกัน เรือใบมดแปลงมาจาก เรือใบ “ม็อธ” ซึ่งที่มาของชื่อ ทรงมีรับสั่งว่า “ที่ชื่อมดนั้น เพราะมันกัดเจ็บ ๆ คัน ๆ ดี”

ทรงพัฒนาเรือแบบต่อ ๆ มาอีก โดยได้พระราชทานชื่อว่าเรือใบซุปเปอร์มด และเรือใบไมโครมด เรือใบซุปเปอร์มด เคยเข้าร่วมแข่งขัน กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ ๑๓ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๑ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี (พระยศขณะนั้น) ทรงได้รับรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันเรือใบ ประเภทโอเค ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง หรือซีเกมส์ ครั้งที่ ๔ ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ทรงเรือใบ “ไมโครมด” ในการแข่งขัน ๒๐๕

พุทธศักราช ๒๕๒๙ ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” ด้วยทรงเปี่ยมด้วย พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะหลายสาขา ทรงเชี่ยวชาญในดนตรีแจ๊สเป็นอย่างยิ่ง เครื่องดนตรี ที่ทรงโปรด ได้แก่ แซกโซโฟน คลาริเน็ต ทรัมเป็ต กีตาร์ และเปียโน ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นทำ�นองเพลงไว้ถึง ๔๘ เพลง ซึ่งล้วนเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่ไพเราะและคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เช่น แสงเทียน ชะตาชีวิต ใกล้รุ่ง ยามเย็น พรปีใหม่ ยิ้มสู้ เราสู้ เป็นต้น

ทรงศึกษางานจิตรกรรมด้วยพระองค์เอง ทรงสร้างสรรค์จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ ๓ ลักษณะ คือ ภาพแบบเหมือนจริง คตินิยมแบบลัทธิ เอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์ และศิลปะแบบนามธรรม เทคนิคที่ทรงโปรดมากที่สุด คือ การวาดภาพด้วยสีนํ้ามันบนผืนผ้าใบ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ การถ่ายภาพ เป็นงานศิลปะอีกแขนงที่ทรงชำ�นาญและโปรดมากเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายภาพยนตร์ และการถ่ายภาพสไลด์ ทรงพระอัจฉริยภาพ ในการถ่ายภาพมาตัง้ แต่ทรงพระเยาว์ เมือ่ เสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงปฏิบตั พิ ระราชกรณียกิจต่าง ๆ จะทรงบันทึกภาพเพื่อประโยชน์ในโครงการพระราชดำ�ริทุกแห่ง ตลอดรัชสมัยของพระองค์

๒๐๖

ทรงพระราชนิพนธ์บทความ แปลหนังสือ เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต หนังสือเรื่อง พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน คุณทองแดง เป็นต้

ทรงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงต่าง ๆ ทั้งภาษาไทย ประวัติศาสตร์ไทย สถาปัตยกรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ การดนตรีและศิลปะอื่น ๆ เช่น พระราชทานประกอบพิธีครอบครูโขนละคร เพื่อถ่ายทอดวิชา นาฏดุริยางคศิลป์แก่ศิษย์ ตามจารีตประเพณีโบราณ ให้เป็นแบบแผน ในแผ่นดิน

พุทธศักราช ๒๕๔๑ โปรดให้กรมศิลปากรเขียนภาพจิตรกรรม บริเวณช่องหน้าต่างในพระอุโบสถ พระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวัง จำ�นวน ๘ ช่อง แทนจิตรกรรมเดิมที่ชำ�รุด บอกเล่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธรัตนสถาน ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๙ มีพระบรมราชวินิจฉัยแบบร่างจิตรกรรม ให้มีลักษณะเหมือนจริง จนกล่าวได้ว่า เป็นรูปแบบศิลปกรรมในรัชกาลที่ ๙ พุทธศักราช ๒๕๕๕ ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย”

๒๐๗

พุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นมหามงคลสมัย ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มีพระประมุขและผู้แทนพระประมุข จาก ๒๙ ประเทศทั่วโลก เสด็จฯ มาร่วมงาน ยังความปลื้มปีติเป็นล้นพ้น มาสู่ปวงพสกนิกรชาวไทย

๒๐๘

ตลอดระยะเวลากว่า ๗๐ ปีแห่งการครองราชย์ ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญาในการพัฒนา ประเทศ ทรงเป็นต้นแบบของ “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา” จนเป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวางใน พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพ ยังผลให้หน่วยงานต่าง ๆ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลระดับโลก มากมายหลายแขนง เพื่อเทิดพระเกียรติในพระปรีชาญาณและพระเกียรติคุณ ที่สำ�คัญคือ พุทธศักราช ๒๕๓๐ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองเฉลิมพระเกียรติคุณในการนำ�ชนบทให้พัฒนา” พุทธศักราช ๒๕๓๙ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญสดุดพี ระเกียรติคณุ ด้านการพัฒนาการเกษตร” พุทธศักราช ๒๕๔๓ คณะกรรมการจัดงานบรัสเซลส์ ยูเรก้า แห่งสมาคมส่งเสริม และคุ้มครองนักประดิษฐ์ของราชอาณาจักรเบลเยียม ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลบรัสเซลส์ ยูเรก้า ๒๐๐๐ จากผลงาน “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวนํ้าหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันนํ้าชัยพัฒนา” และพุทธศักราช ๒๕๔๔ จากผลงาน นํ้ามันไบโอดีเซล และฝนหลวง พุทธศักราช ๒๕๔๙ สำ�นักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลความสำ�เร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” จากการที่ได้ทรงอุทิศกำ�ลังพระวรกาย และ ทรงพระวิริยอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ น้อยใหญ่นานัปการ พุทธศักราช ๒๕๕๑ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ทูลเกล้าฯ ถวาย รางวัล “ผู้นำ�โลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา” จากการที่ ทรงส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ ของพสกนิกรชาวไทย ให้ดีขึ้นอย่างโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ แก่สายตาชาวโลก พุทธศักราช ๒๕๕๕ สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences-IUSS) ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (The Humanitarian Soil Scientist) ฯลฯ ๒๐๙

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคตในวันพฤหัสบดี ที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๕๒ น. ขณะพระชนมพรรษา ๘๙ พรรษา ทรงดำ�รงสิริราชสมบัติ ๗๐ ปี วันอาทิตย์ ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เฉลิมพระปรมาภิไธย พระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมชนกนาถตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ๒๑๐

รัชกาลที่ ๑๐

ประชาชนเปี่ยมสุข

พระราชลัญจกรประจำ�พระองค์รัชกาลที่ ๑๐ เป็นตรางารูปวชิราวุธ หมายถึง สายฟ้าอันเป็นเทพศาสตราของพระอินทร์ ตามแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านบนมี พระเกี้ยว ตามแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนคำ�ว่า “อลงกรณ์” ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย “มหาวชิราลงกรณ” เปล่งรัศมีเป็นสายฟ้า ประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้า พร้อมด้วยฉัตรบริวาร

“…ประเทศชาติจะเป็นปึกแผ่นมั่นคงได้ ก็ด้วยคนไทยทุกหมู่เหล่า พร้อมเพรียงกันปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยมีอุดมคติและจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือ “ประโยชน์สุขของทุกคนในชาติ…” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ในพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณของทหาร-ตำ�รวจ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และวันกองทัพไทย พุทธศักราช ๒๕๖๒ ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร อำ�เภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี วันที่ ๑๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๓ ๒๑๒

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา ๑ เดือน ๑๘ วัน โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชเดือน และขึ้นพระอู่ ในวันที่ ๑๔ และวันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

๒๑๓

เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา ๑ พรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระนามตามที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น สุจิตโต) ทรงประพันธ์ถวายตามดวงพระชะตาว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธํารงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศรวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร มีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์ คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระกนิษฐภคินี ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิรา ลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ทรงรับการศึกษาเบื้องต้น ณ โรงเรียนจิตรลดา ในพระราชวังดุสิต ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จากนั้นเสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ สหราชอาณาจักร

๒๑๔

วันที่ ๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๙ ทรงอำ�ลาประชาชนทางวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เพื่อไปทรงศึกษา ณ โรงเรียนคิงส์ มีด เมืองซีฟอร์ด แคว้นซัสเซกส์ สหราชอาณาจักร จากนั้น เสด็จฯ ไปทรงเข้าศึกษาต่อ ที่โรงเรียนมิลล์ฟิลด์ เมืองสตรีท แคว้นซอมเมอร์เซท สหราชอาณาจักร

เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ ถึงเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔ ทรงเข้ารับการศึกษาระดับเตรียมทหาร ที่โรงเรียนคิงส์ เขตพารามัตตา นครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย

เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทหารชั้นสูง ที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน กรุงแคนเบอร์รา หลักสูตรของวิทยาลัยการทหารแห่งนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ภาค คือ ภาควิชาการทหาร รับผิดชอบโดยกองทัพบกออสเตรเลีย ภาคการศึกษาวิชาสามัญ หลักสูตรปริญญาตรี รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ทรงเลือกศึกษาในสาขาวิชาอักษรศาสตร์ ทรงสำ�เร็จการศึกษาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๙ ๒๑๕

พุทธศักราช ๒๕๑๙ ทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติม และทรงศึกษางานด้านการทหาร ในประเทศออสเตรเลีย ทรงประจำ�การ ณ กองปฏิบตั กิ ารทางอากาศพิเศษ ที่นครเพิร์ท รัฐออสเตรเลียตะวันตก ประเทศออสเตรเลีย ทรงรับการฝึกอบรมหลักสูตรทางการทหารและการบิน ได้แก่ หลักสูตรวิชาอาวุธพิเศษ การทำ�ลายและยุทธวิธี การรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวน และหลักสูตรส่งทางอากาศ

พุทธศักราช ๒๕๒๗ – ๒๕๓๐ ทรงศึกษาด้านกฎหมาย และทรงได้รับ ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พุทธศักราช ๒๕๒๐ - ๒๕๒๑ ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียน เสนาธิการทหารบกหลักสูตรประจำ� ชุดที่ ๕๖

พุทธศักราช ๒๕๓๓ ทรงเข้ารับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร แห่งสหราชอาณาจักร

๒๑๖

นอกจากทรงผ่านการฝึกอบรมเครื่องบินรบ จนมีพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งแล้ว ต่อมา ได้ทรงศึกษาหลักสูตรนักบินพาณิชย์ จากสถาบันการบินพลเรือน ทรงสอบได้ ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี

พุทธศักราช ๒๕๔๗ ทรงเข้าศึกษาหลักสูตร นักบินพาณิชย์เอก จากบริษัท การบินไทย จำ�กัด ทรงสำ�เร็จการศึกษาและการบิน ด้วยเครื่องบิน พาณิชย์ แบบ Boeing 737 - 400 ทรงได้รับ ใบอนุญาต เป็นกัปตันเครื่องบินรุ่นดังกล่าว

ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๒๐ พรรษา ทรงบรรลุพระราชนิติภาวะตามกฎหมาย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยยศ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” ตามโบราณขัตติยราชประเพณี เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต

๒๑๗

เป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ปรากฏพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธ สยามมกุฎราชกุมาร

วันที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑ ทรงผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน) ขณะทรงดำ�รงสมณศักดิ์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ขณะทรงดำ�รงสมณศักดิ์ สมเด็จพระญาณสังวร เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ทรงได้รับพระสมณฉายา “วชิราลงกรโณภิกขุ” ประทับ ณ พระตำ�หนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน จึงทรงลาสิกขา

๒๑๘

มีพระราชธิดาและพระราชโอรส ดังนี้ ๑. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ๒. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร วันที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต พระองค์ทรงรับราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ ตามกฎมณเฑียรบาล แต่มีพระราชประสงค์ จะทรงร่วมทุกข์โศกกับปวงชนชาวไทย จนกว่า จะผ่านพ้นพระราชพิธีพระบรมศพไประยะหนึ่งก่อน ในการนี้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี จึงเป็นผู้สำ�เร็จราชการ แทนพระองค์โดยตำ�แหน่งไปพลางก่อน โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ ปวงชนชาวไทยร่วมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยความรักและอาลัย

๒๑๙

วันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบการพระราชพิธบี รมราชาภิเษก ณ พระทีน่ ง่ั ไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสนิ ทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมพิ ลราชวรางกูร กิตสิ ริ สิ มบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยูห่ วั ” มีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพือ่ ประโยชน์สขุ แห่งอาณาราษฎรตลอดไป”

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระราชินสี ทุ ดิ า เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทดิ า พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

๒๒๐

วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เสด็จพระราชดำ�เนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

วันที่ ๑๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เสด็จพระราชดำ�เนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

๒๒๑

ทรงบำ�เพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์แก่บ้านเมือง และประชาชนชาวไทย ตั้งแต่ ทรงพระเยาว์ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปทรงเยี่ยมราษฎรในชนบทที่ห่างไกลทั่วทุกภูมิภาค ครั้นทรงดำ�รงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระรัชทายาท แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงตั้งพระราชหฤทัยสนองพระราชปณิธาน แห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี อย่างสุดกำ�ลังความสามารถ

ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ และพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทรงนำ�พา ราชอาณาจักรไปสู่ความไพบูลย์รุ่งเรือง สืบสานแนวพระราชดำ�ริ แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

พร้อมทั้งสืบสานพระราชปณิธาน ที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ทรงยึดถือมั่นคง ตลอดมาว่า “ความทุกข์สุขของราษฎร คือ ความทุกข์สุขของพระองค์” ในการจะเกื้อกูล ประโยชน์สุขแห่งอาณาประชาราษฎรสืบไป

๒๒๒

เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทย กระทรวงกลาโหม ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระยศ ทั้งสามเหล่าทัพ ดํารงพระยศสูงสุด คือ พลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านการทหารด้วย เต็มพระกำ�ลังความสามารถ แม้เป็นพระราชภารกิจที่เสี่ยงอันตราย

ทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบ เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงคุ้มกัน พื้นที่บริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่หนีภัยจากประเทศของตน เข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิสมภารเป็นจำ�นวนนับล้านคน ณ เขาล้าน อำ�เภอโป่งนํ้าร้อน จังหวัดตราด เพื่อมนุษยธรรม แก่ผู้ลี้ภัยที่ประสบ ความทุกข์ยากแสนสาหัส ให้ดำ�รงอยู่ได้อย่างปลอดภัย ทรงตระหนักถึงความสำ�คัญของการศึกษาเพือ่ พัฒนาศักยภาพทางการทหาร ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการศึกษา ทัง้ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบตั แิ ก่บรรดาทหารใต้บงั คับบัญชา ทัง้ สามเหล่าทัพ ปรับปรุงการฝึกทหารทัง้ ด้านความรูแ้ ละเทคนิคการฝึกอย่างสากล ทรงทดสอบ ความรูข้ องผูเ้ รียนเป็นระยะ ๆ พระราชทานคำ�แนะนำ�แก่นายทหารนักเรียนทำ�ให้การฝึกสอน ได้ผลสมบูรณ์ยง่ิ ขึน้ ด้วยพระปรีชาสามารถในวิทยาการทหารทีเ่ ข้มแข็ง จริงจัง กล้าหาญ เฉียบขาด เคร่งครัดในระเบียบวินยั อย่างยิง่ สมศักดิศ์ รีของทหารเป็นทีป่ ระจักษ์

๒๒๓

ทรงบำ�เพ็ญพระราชกรณียกิจที่มีคุณูปการยิ่ง แก่การศึกษาของชาติทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษาสายวิชาชีพ ด้านการแพทย์ สาธารณสุขและการเกษตร และอื่น ๆ

พระราชทานสถานทีก่ รมทหารมหาดเล็ก ราชวัลลภรักษาพระองค์ เขตดุสติ กรุงเทพฯ เป็นทีต่ ง้ั โรงเรียนอนุบาลทหารมหาดเล็ก ราชวัลลภ ต่อมาย้ายไปตัง้ ณ วัดกลางบางซือ่ ตำ�บลบางกระสอ จังหวัดนนทบุรี พระราชทาน นามโรงเรียนใหม่วา่ “โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ ” ปัจจุบนั ดำ�เนินการสอนระดับอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย

พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ก่อสร้างโรงเรียนมัธยม ในถิ่นทุรกันดาร ๖ แห่ง คือ โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา จังหวัดนครพนม กำ�แพงเพชร และสุราษฎร์ธานี โรงเรียนมัธยม สิริวัณวรี จังหวัดฉะเชิงเทรา อุดรธานี และสงขลา

ระดับอุดมศึกษาพระราชทาน ปริญญาบัตรแก่ผู้สำ�เร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๓๖ แห่งทั่วประเทศ ยกระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั่วประเทศในการพัฒนา คุณภาพครูและพัฒนาท้องถิ่น ๒๒๔

พระราชทานทุนการศึกษาแก่เยาวชนที่เรียนดี ประพฤติดี ฐานะยากจน โดยไม่ผูกพันใช้ทุน ครอบคลุมถึงการศึกษาสายอาชีพอื่น ๆ เช่น การแพทย์ พยาบาล และเกษตร

พระบรมราโชบายด้านการศึกษา การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ๔ ด้าน ๑. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ๑) มีความรู้ความเข้าใจต่อชาติบ้านเมือง ๒) ยึดมั่นในศาสนา ๓) มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ ๔) มีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชน ๒. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง - มีคุณธรรม ๑) รู้จักแยกแยะสิ่งที่ผิด - ชอบ / ชั่ว - ดี ๒) ปฏิบัติสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ดีงาม ๓) ปฏิเสธสิ่งที่ผิด สิ่งที่ชั่ว ๔) ช่วยกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง ๓. มีงานทำ� - มีอาชีพ ๑) การเลี้ยงดูลูกหลานในครอบครัว หรือการฝึกอบรมในสถานศึกษาต้องมุ่งให้เด็ก และเยาวชนรักงาน สู้งาน ทำ�จนงานสำ�เร็จ ๒) การฝึกอบรมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร ๓) ต้องสนับสนุนผู้สำ�เร็จหลักสูตรให้มีอาชีพ มีงานทำ� จนสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ๔. เป็นพลเมืองดี ๑) การเป็นพลเมืองดี เป็นหน้าที่ของทุกคน ๒) ครอบครัว - สถานศึกษาและสถานประกอบการ ทำ�หน้าที่เป็นพลเมืองดี ๓) การเป็นพลเมืองดีคือ “เห็นอะไรที่จะทำ�เพื่อบ้านเมืองได้ก็ต้องทำ�” เช่น งานอาสาสมัคร งานบำ�เพ็ญประโยชน์ งานสาธารณกุศลให้ทำ�ด้วยความมีนํ้าใจและเอื้ออาทร ๒๒๕

พุทธศักราช ๒๕๓๔ พระราชทานแนวพระราชดำ�ริ ด้านการชลประทาน คือ โครงการอ่างเก็บนํ้าบ้านไทยประจัน อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ตําบลยางหัก อำ�เภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้ง และอุทกภัยในฤดูนํ้าหลาก วันที่ ๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ เสด็จฯ ไปเปิดโครงการอ่างเก็บนํ้านฤบดินทรจินดาอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ (เขื่อนห้วยโสมง) ตำ�บลแก่งดินสอ อำ�เภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี

อ่างเก็บนํ้าแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำ�ริให้พัฒนาต้นนํ้าลำ�ธารปราจีนบุรี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๑ โปรดให้สร้างเขื่อนเก็บกักนํ้า ๓ เขื่อน ได้แก่ เขื่อนห้วยพระปรง เขื่อนห้วยยาง และเขื่อนห้วยโสมง เพื่อจัดหานํ้าให้ราษฎรใช้ทำ�การเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้ง และมีนํ้าเพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดปี พระราชทานชื่อว่า “อ่างเก็บนํ้านฤบดินทรจินดา” เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙

๒๒๖

พระราชกรณียกิจด้านการเกษตร ได้แก่ โครงการพัฒนาองค์ประกอบของเกษตรกรรม ครอบคลุมงานหลายด้าน ทั้งที่ดิน นํ้า การอาชีพ โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ และเสด็จ พระราชดำ�เนินไปโดยพระองค์เอง ทอดพระเนตร ความก้าวหน้าในโครงการตามพระราชดำ�ริ อย่างสมํ่าเสมอ

พุทธศักราช ๒๕๒๙ ทรงทำ�ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา และวัชพืชอื่น ๆ ณ บ้านแหลมสะแก อำ�เภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เฉพาะปุ๋ยหมักเป็นที่เข้าใจต่อมาว่าคือ “ปุ๋ยหมักสูตร พระราชทาน” พร้อมพระราชทานอุปกรณ์การทำ�นา พันธุ์ข้าวปลูก ปุ๋ยหมัก ทรงปลูกข้าวตาม กระบวนการผลิตครบทุกขั้นตอน ทรงหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว และปุ๋ยหมัก ณ ตำ�บลดอนโพธิ์ทอง อำ�เภอเมืองสุพรรณบุรี

เสด็จพระราชดำ�เนินไปในการ พระราชพิธพี ชื มงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึง่ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงฟืน้ ฟูขน้ึ ให้เป็นพระราชพิธศี กั ดิส์ ทิ ธิย์ ง่ิ ใหญ่ สร้างขวัญและกำ�ลังใจแก่เกษตรกร

๒๒๗

ทรงให้ความสำ�คัญในการพัฒนาชนบท ทรงค้นหาหมู่บ้านที่ยากจนที่สุดในแต่ละภูมิภาค แม้ในถิ่นทุรกันดาร ทรงหาข้อมูลว่า ราษฎรในท้องถิ่นเหล่านั้น มีปัญหา หรือมีความต้องการสิ่งใดบ้าง

เสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงรับทราบ และทรงแก้ปัญหา พระราชทาน โครงการพัฒนา ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การชลประทาน การส่งเสริมและพัฒนา อาชีพ จำ�นวนกว่า ๕๐ โครงการ

มีพระราชดำ�ริบำ�บัดทุกข์ บำ�รุงสุขเกษตรกรและครอบครัว ดังเช่นที่หมู่บ้านกูแบซีรา ตำ�บลกอลำ� อำ�เภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ราษฎรแร้นแค้นมาก ไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปแก้ไข ทรงเข้าไปช่วยเหลือ มีพระราชดำ�รัสเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๑ ความว่า “ข้าพเจ้ามีใจผูกพันอยู่กับประเทศชาติและกับท่านทั้งหลายมาก เพราะข้าพเจ้าเป็นพลเมืองคนหนึ่ง และท่านทั้งหลาย ต่างแสดงนํ้าใจไมตรีต่อข้าพเจ้าตลอดมา ข้าพเจ้าจึงตระหนักว่า ในกาลข้างหน้า ข้าพเจ้ามีหน้าที่จะต้องทำ�งานให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองและประชาชนให้ได้”

๒๒๘

ทรงเจริญทางพระราชไมตรี กับนานาประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป อเมริกา และอัฟริกา ทรงนำ�เกียรติภูมิของชาติให้ปรากฏ ในฐานะผู้แทนพระองค์ และในส่วนพระองค์ สมํ่าเสมอทุกโอกาส

แต่ละครั้ง นอกจากจะทรงเจริญทางพระราชไมตรี ให้สนิทแน่นแฟ้นแล้ว ยังทรงแสวงหาความรู้ ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ อุตสาหกรรม การเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม

รวมทั้งการพัฒนาทางทหารนำ�กลับมา เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง และสร้าง ความผาสุกก้าวหน้าแก่อาณาประชาราษฎร์

๒๒๙

ทรงตระหนักว่าสุขภาพพลานามัยของประชาชน เป็นปัจจัยและพลังสำ�คัญในการพัฒนาประเทศ โปรดให้สร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ๒๑ แห่ง ทั่วประเทศ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๐ เพื่อให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในถิ่นทุรกันดาร

ทรงจัดระเบียบการบริหาร โดยตั้งมูลนิธิโรงพยาบาล สมเด็จพระยุพราช สนับสนุนกิจการ พระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ที่ทันสมัย พัฒนาความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลรักษา เยียวยาราษฎรที่เจ็บป่วยรวมทั้งทหาร ตำ�รวจ และอาสาสมัครที่ปฏิบัติหน้าที่ เสี่ยงอันตราย

พุทธศักราช ๒๕๓๘ ทรงรับโครงการสถานรับผู้ป่วย โรคมะเร็งธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

ทรงเป็นองค์ประธานการจัดตั้งมูลนิธิกาญจนบารมี ศูนย์บำ�บัดรักษาผู้ป่วยมะเร็งครบวงจรแห่งแรก ในประเทศไทย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี

๒๓๐

ในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ พระราชทานรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุข นำ�ไปใช้ประโยชน์ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ในการเก็บตัวอย่างโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งพระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำ�เป็นอีกเป็นจำ�นวนมาก

ทรงพระปรีชาสามารถในกระบวนการยุติธรรม เสด็จพระราชดำ�เนินประทับบัลลังก์ศาลสถิตยุติธรรม ณ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และศาลจังหวัดพระนคร เพื่อพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาร่วมกับผู้พิพากษา ทรงพิจารณาอรรถคดีด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม และพระราชทานคติธรรมแก่คู่กรณี ก่อให้เกิดความสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง

ทรงร่วมเป็นตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ณ กระทรวงกลาโหม ทรงบำ�รุงขวัญและกำ�ลังใจ เหล่าคณะผู้พิพากษา ตลอดทั้งผู้ปฏิบัติงาน ในกระบวนการยุติธรรมอย่างสมํ่าเสมอ มีพระมหากรุณาธิคุณรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ แห่งเนติบัณฑิตยสภา ทรงรับมูลนิธิ ปกเกล้าตุลาการไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๒๓๑

ทรงตระหนักถึงความสำ�คัญของการรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันลํ้าค่าของชาติ ในงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๒๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ ทรงแสดงบทของทศกัณฐ์ ด้วยลีลาท่วงท่าแข็งขัน สง่างดงาม พระวรกายสูงใหญ่ท่าทางเข้มแข็ง และพระอิริยาบถร่าเริง เป็นที่ประทับใจผู้ที่ไปชมการแสดงวันนั้นมาก เมื่อการแสดงจบลง ผู้แสดงต้องเข้ารับพระราชทาน ของที่ระลึกจากสมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี พระบรมราชินี ต่างต้องถอดศีรษะโขนออก จึงทราบว่า ผู้แสดงเป็นทศกัณฐ์ คือ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพระปรีชาสามารถ ด้านนาฏศิลป์และดนตรี มาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์

๒๓๒

ทรงอุปถัมภ์บำ�รุงพระพุทธศาสนา ด้วยพระราชศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ทรงแน่วแน่ ในการอุทิศพระองค์ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ ของพระพุทธศาสนาเป็นอเนกประการ ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ ทรงผนวชตามขัตติยราชประเพณี

ทรงใฝ่พระราชหฤทัยศึกษาธรรม ในพระพุทธศาสนา มีพระบรมราชูปถัมภ์ แก่พระภิกษุและสามเณรเป็นนิตย์ และเสด็จพระราชดำ�เนินไป ทรงปฏิบัติพระราชกิจ ทางพระศาสนา อย่างสมํ่าเสมอ

โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวดมนต์ ในวันสำ�คัญ จัดพิมพ์บทสวดมนต์เผยแพร่ ทุกโอกาส ณ พระลานพระราชวังดุสิต

ในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาอิสลาม คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู ซิกข์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกื้อกูลทุกศาสนา อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม

๒๓๓

ทรงห่วงใย ดูแลทุกข์สุขของราษฎร เมื่อครั้งที่เยาวชน ๑๓ คน ติดอยู่ในถํ้าหลวง-ขุนนํ้านางนอน จังหวัดเชียงราย ได้พระราชทานแนวทางการช่วยเหลือ ตลอดจน ทรงมีส่วนช่วยสนับสนุนการทำ�งาน และอุปกรณ์ที่จำ�เป็น ทำ�ให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้อย่างปลอดภัย อันแสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นที่ชื่นชมของ นานาประเทศทั่วโลก

ทรงตระหนักในความสำ�คัญของการออกกำ�ลังกาย และดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน มาโดยตลอด โดยสนับสนุนกิจกรรมการกีฬา และการออกกำ�ลังกายประเภทต่าง ๆ ทรงริเริ่มกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ ปั่นเพื่อแม่ (BIKE FOR MOM) เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๘๓ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘ และกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ ปั่นเพื่อพ่อ (BIKE FOR DAD) เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘

๒๓๔

พระราชทานโครงการ จิตอาสาพระราชทานพระราชทานโครงการ “เราทำ�ความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” จิตอาสาพระราชทาน เพื่อส่งเสริมให้คนไทยสมัครสมานสามัคคี สร้างสรรค์ เพื่อเพืประโยชน์ แก่ประเทศชาติ “เราทำค�วามดี ความดี ่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” เพื่อส่งเสริมให้คนไทยสมัครสมานสามัคคี โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน สร้างสรรค์ความดีเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

ทรงห่วงใยและตระหนักถึงความอยู่ดีมีสุขของพสกนิกร จึงมีพระราช ปณิธานที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำ�ริของสมเด็จพระบรมชนกนาถ

ทรงห่วงใยและตระหนักถึงความอยู่ดีมีสุขของพสกนิกร จึงมีพระราชปณิธานที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ

๒๓๕

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำ�เพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ อันทรงคุณประโยชน์ แก่ประเทศชาติและประชาชน ด้วยพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความสมบูรณ์พูนสุข ให้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาค เพื่อสืบสานพระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช เพื่อความเจริญไพบูลย์และความมั่นคงของชาติ ธำ�รงรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ และพระปรีชาชาญในวิทยาการด้านต่าง ๆ พระเกียรติคุณเป็นที่ประจักษ์ทั่วพระราชอาณาจักร และขจรไกลไปนานาประเทศ หน่วยงานและสถาบันการศึกษา ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายปริญญากิตติมศักดิ์ เหรียญ และรางวัลเพื่อเทิดพระเกียรติ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๒๓ สืบมาตราบปัจจุบัน ๒๓๖

บรรณานุกรม ณรงค์ อิ่มเย็น และสิบตำ�รวจตรี พีรพัฒน์ คงเพชร.(๒๕๒๕). วรรณกรรมไทย เรื่องสองร้อยปีจักรีวงศ์ มูลนิธิธนาคารกรุงเทพ. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดการพิมพ์พระนคร. วงเดือน นาราสัจจ์และคณะ.(๒๕๕๕).ศึกเก้าทัพ ธำ�รงรัฐ พิพัฒน์สยาม.กรุงเทพฯ:บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน). วัฒนธรรม, กระทรวง. (๒๕๖๓). ทศรัชบรมราชจักรีวงศ์. นครปฐม : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำ�กัด. ศิลปากร, กรม. (๒๕๕๙). นพรัชบรมราชจักรีวงศ์.นครปฐม : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำ�กัด. _________.(๒๕๔๕).พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑. เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ� บุนนาค) เรียบเรียง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ ตรวจชำ�ระและทรงพระอธิบายเพิ่มเติม กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา. ___________.(๒๕๔๖). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพเรียบเรียง. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดไอเดียสแควร์. สมบัติ จำ�ปาเงิน. (๒๕๕๖). คนและเหตุการณ์ของไทยที่ยูเนสโกยกย่อง. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์. สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๕๗). หนังสืออ่านนอกเวลา วิชาประวัติศาสตร์ไทย ระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชุด พระมหากษัตริย์ไทย ๙ รัชกาล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว. ___________.(๒๕๖๑). หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

๒๓๗

คณะผู้จัดทำ� ที่ปรึกษา นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ (ภาษา เอกสาร และหนังสือ) บรรณาธิการ นางเบญจมาส แพทอง นางจุฑาทิพย์ โคตรประทุม นางสาวศุกลรัตน์ ธาราศักดิ์ คณะทำ�งาน นางโชติกา อัครกิจโสภากุล นางสุภัทร กิจเวช นางสาวเบญจวรรณ ไชยบัณฑิตย์ นายฐปนัท วงศ์ศานติบูรณ์ นางสาวอุษา แย้มบุบผา นางสาวจารุภา ตวงสิทธินันท์ นางสาวทิพา ผาพิมพ์ นางสาวนิชนันท์ สัมปทาวนิช นางสาวมณีรัตน์ เครื่องพนัส นางสาวปิ่นอนงค์ อภิวงค์งาม ผู้เรียบเรียง ออกแบบรูปเล่ม นายเรืองศักดิ์ ดวงพลา ผู้วาดภาพ นายเรืองศักดิ์ ดวงพลา นายประมิตร ดวงพล นายคาริญย์ หึกขุนทด นายมนัส หัสดำ� นายสมวุฒิ รัตนสุรางค์ นายเฉลิมพล จั่นระยับ นายธนาดล อมราภรณ์กุล นางสาวพาณี อิทธิบำ�รุงรักษ์ นางสาวพรณภา แซ่โง้ว

กระทรวงวัฒนธรรม

พระมหากษัตริยไทยแหงพระบรมราชจักรีวงศ ๑๐ รัชกาล

กระทรวงวั กระทรวงวั ฒนธรรมฒนธรรม

ฉบับการตูน

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.