แบบบันทึกการศึกษาดูงาน Flipbook PDF

แบบบันทึกการศึกษาดูงาน

2 downloads 111 Views

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

แบบบันทึกการศึกษาดูงาน ชื่อสถานประกอบการ....ศูนย์การเรียนรู้ การเลี้ยงโคนม สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด ........ ชื่อ-สกุล ผู้ฝึกประสบการณ์.........กิตติศักดิ์ ทรหด............. กลุ่มที.่ .....5.........เลขที่........135........... ประเด็นการศึกษาดูงาน ศูนย์การเรียนรู้ การเลี้ยงโคนม สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (สุรศักดิ์ แดรี่ ฟาร์ม)

1.ด้านการสร้างภาพลักษณ์องค์กร ภาพลักษณ์ (IMAGE) ของ เป็นฟาร์มที่มีมาตรฐานการเลี้ยงที่ได้คุณภาพและการจัดการที่ดี เป็นที่ ยอมรับของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพน้ำนม ทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเกตรกรและผู้สนใจในการเข้าศึกษาดู งาน การสร้างภาพลักษณ์ สุรศักดิ์ แดรี่ ฟาร์ม ได้ให้ทุกคนในองค์กรร่วมมือร่วมใจกัน พนักงานทุกคนใน องค์กร คิด และรู้สึกกับองค์กรได้เหมือนกับเป็นฟาร์มของตนเอง โดยมีวิธีการดังนี้ 1. เป็นผู้บริหารที่มุ่งมั่นทำตามคำมั่นสัญญา และบริหารงานอย่างเป็นระบบ รวดเร็ว 2. มีนโยบายด้านคูณภาพของนมที่ชัดเจนเหมาะสมกับขนาดขององค์กร 3. ใช้ทัศนคติส่วนตัวพนักงานในการให้บริการ เช่น บุคลิกภาพ กิริยาท่าทาง คำพูด และวิธีการสื่อสาร ที่เป็นอัตโนมัติจนกลายเป็น“พฤติกรรมการบริการ” 4. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ช่วยกันจัดขึ้น เช่น ความสะอาด สัดส่วนพื้นที่ 5. สร้างประสบการณ์ร่วมกันในการทำงาน และกิจกรรมที่ไปศึกษางานร่วมกันจากภายนอก 6. สร้างขวัญกำลังใจ ที่จะช่วยหล่อหลอมความเป็นหนึ่งเดียวกันในด้านจิตใจของพนักงงานในองค์กร

7. สร้างภาพลักษณ์ขององค์กรในด้านสังคม การที่องค์กรสร้างประโยชน์ต่อชุมชนรอบข้าง และสังคม อย่างสม่ำเสมอ สามารถสร้างความภูมิใจให้กับพนักงานในองค์กรได้อย่างมากมายพนักงานอยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่มีภาพแห่งการบริการด้วยใจ 2.ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของ สุรศักดิ์ แดรี่ ฟาร์ม ใช้เป็นการบริหารด้วยความสามารถในการ ปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล โดยมองเจตนาด้านทักษะ ด้านสุขภาพ และความรู้สึกนึกคิด โดยมีกรอบความคิด ดังนี้ 1. เลือกบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน ด้วยหลักที่ว่า จัดบุคลากรให้ตรงกับงาน 2. ช่วยพนักงานให้รู้จักการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานและลักษณะงานในระยะแรก เพื่อการสร้าง ความประทับใจให้กับพนักงานใหม่ เกิดความรู้สึกที่ดีเกิดบรรยากาศที่ดี 3. สร้างขวัญก าลังใจให้กับพนักงานจะเป็นแรงผลักดันให้พนักงานทุ่มเทกำลังกายกำลังใจใน การทำา งานให้กับองค์การ ด้วย คำชมเชย การยกย่อง และการให้เกียรติ แนะนำการมองเป้าหมายในอนาคต 4. ให้เขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมตามความเหมาะสม เพื่อให้พนักงานได้เกิด ความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการด้วย 3.ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหาร ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหารของ สุรศักดิ์ แดรี่ ฟาร์ม ใช้เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการ ควบคุมระบบฟาร์ม การเก็บน้ำเชื้อพ่อพันธ์ ดังนี้ 1.ระบบสเปร์น้ำลดอุณหภูมิ 2.ระบบรหัสหมายเลขประจำตัววัว ซึ่งการใช้ระบบการความคุมอุณหภูมิของฟาร์มด้วยระบบสเปร์ไอน้ำ เพื่ออุณหภูมิของอากาศลดลง จากความร้อนสูงให้ต่ำลง ซึ่งอุณหภูมิมีผลการผลิตคุณภาพน้ำนมของวัวนมจึงนำเอาระบบสเปร์ไอน้ำมาใช้ใน โอกาสที่มีอุณหภูมิร้อน ส่วนการติดรหัสหมายเลขประจำตัวที่วัว เพื่อสะดวกในการดูแลประจำวัน และทำข้อมูลประวัติของวัว ในการฉีดวัคซีน การให้ปริมาณนม อายุของวัว ขนาดน้ำหนัก อาการของวัว เพื่อมาทำการวิเคราะห์ และการ จัดการวัวต่อไป

4.ด้านอาคารสถานที่และการจัดสภาพแวดล้อม การบริหารจัดการฟาร์ม มีการจัดแบ่ง พื้นที่เป็นโรงเรือน สำหรับโคขนาดเล็ก และโคขนาดใหญ่ เนื่องจากการจัดการเรื่องตวามต้องการทางด้านสารอาหารในขนาดของโคไม่เท่ากัน จึงมีการจัดแยกเพื่อการลด ต้นทุน การดูแลโคให้มีความสมบูรณ์ตามวัย ในโรงเรือนมีการจัดการแบ่งพื้นที่สำหรับให้โคได้เดินออกกำลั ง และพื้นที่ควบคุมอุณหภูมิเพื่อผ่อน คล้ายความร้อนให้กับโคซึ่งมีผลต่อปริมาณและคุณภาพน้ำนมของโค ดังนั้นในการจัดการฟาร์มโคนมจำเป็นต้องจัดสัดส่อนพื้นที่และสภาพแวดล้อมความเป็นอยู๋ของโคให้โค มีสุขภาพที่สมบูรณ์ที่สุด

แบบบันทึกการศึกษาดูงาน ชื่อสถานประกอบการ....ศูนย์บริการอีซูซุ ชัยนาท............................................................................. ชื่อ-สกุล ผู้ฝึกประสบการณ์.........กิตติศักดิ์ ทรหด............. กลุ่มที่......5.........เลขที่........135........... ประเด็นการศึกษาดูงาน ศูนย์บริการอีซูซุ ชัยนาท

1.ด้านการสร้างภาพลักษณ์องค์กร ภาพลักษณ์ (IMAGE) ของ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ปนัดดา เจณณวาสิน กรรมการรองผู้จัดการ กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของแบรนด์ “เอกลักษณ์อันโดดเด่น ของเราตลอด 60 ปี คือการมีคุณค่าของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง สามารถสร้างการรับรู้ถึงคุณภาพในหมู่ผู้ใช้รถเพื่อ การพาณิชย์ของไทยได้ว่า ‘อีซูซุคือรถที่มีความคุ้มค่าเงินสูงสุด’ ซึ่งเกิดจากคุณภาพสินค้าที่ดีที่สุด ประหยัด น้ำมันมากที่สุด เครือข่ายโชว์รูม ศูนย์บริการ และศูนย์อะไหล่มีประสิทธิภาพสูง ตลอดจนยืนหยัดนโยบาย ‘ไม่ ร่วมสงครามราคา’ ซึ่งนโยบายดังกล่าวทำให้ราคาขายต่อของรถอีซูซุในตลาดรถมือสองดีที่สุด ส่งผลให้ลูกค้าที่ ตัดสินใจเลือกซื้อรถอีซูซุทำธุรกิจหารายได้และใช้ส่วนตัวรับรู้ได้ถึงความคุ้มค่าเงินสูงสุด” “การรักษา ‘ความเชื่อมั่นและไว้วางใจของลูกค้า’ ว่า อีซูซุคือแบรนด์พรีเมียมที่มีคุณค่าสูง เป็นปัจจัย สำคัญที่ทำให้อีซูซุยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงในตลาดรถยนต์เมืองไทย ปรับกลยุทธ์รับ “ชีวิตวิถีใหม่”ให้ ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้เกี่ยวข้อง

“การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งอีซูซุ เองก็ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของบริษัทให้สอดคล้องกับลักษณะ ‘ชีวิตวิถีใหม่’ โดยคำนึงถึงการทำธุรกิจและ ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ พนักงาน ลูกค้าอีซูซุ ผู้จำหน่ายอีซูซุทั่วประเทศ” กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด บอกเล่าถึงการทำธุรกิจในยุค New Normal ที่เน้นย้ำใน 3 มาตรการ โดยมีแกนหลักเป็นผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ประกอบด้วย 1.มาตรการสำหรับพนักงาน มาตรการด้านการจัดกิจกรรมพิเศษ มาตรการด้านสุขอนามัย มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม มาตรการหลีกเลี่ยงช่วงเวลาเร่งด่วนและลดความหนาแน่นของระบบขนส่งสาธารณะ 2.มาตรการสำหรับลูกค้าอีซูซุ มอบบริการหลังการขายสุดพิเศษให้กับลูกค้า โครงการ ‘อีซูซุ เคียงคู่สู้วิกฤติ 3.มาตรการสำหรับผู้จำหน่ายอีซูซุทั่วประเทศ ดำเนินการตามปกติทั้งโชว์รูมและศูนย์บริการ เพิ่มความเข้มงวดในเรื่องสุขอนามัยของทั้งพนักงานและลูกค้าผู้มาใช้บริการมากขึ้น ตาม คำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เน้นทำกิจกรรมออนไลน์สำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแต่ละประเภทให้มากยิ่งขึ้น ใช้การประชุมแบบออนไลน์ ในการหารือทั้งด้านการขายและบริการหลังการขายระหว่างผู้ จำหน่ายอีซูซุกับบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ หลีกเลี่ยงการเดินทางข้ามจังหวัด 2.ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในการบริหารทรพยากรมนุษย์ ศูนย์บริการอีซูซุชัยนาท มีการวางผังการจัดการคนในบริษัท เป็นฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายบุคคล ฝ่ายขาย ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายเคมประกัน และ ฝ่ายอะไหล่ ซึ่งในแต่ละฝ่ายก็จะมี หน้าความรับผิดชอบที่ต่างกันตามภาระกิจนั้น การจัดว่างกำลังคนจะพิจารณาถึงความสามารถของตัวบุคคลที่ มีความารถในด้านนั้นๆ เพื่อให้งานในด้านที่ต้องการออกมามีคูณภาพตามที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด และมีการ สอนงานกันในฝ่ายเพื่อสามารถทำงานทดแทนกันได้ในเวลาจำเป็น ซึ่งเป็น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

3.ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหาร ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้จำหน่ายอีซูซุชัยนาท มีการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเขามาใช้ ในบริษัทเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าให้รวดเร็วที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการบริการลูกค้า เช่น ในฝ่าย งานการขายบริษัทได้นำเอาจอทัศกรีนขนาดใหญ่ มาใช้ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ในแบรนด์ ของอีซูซุ เพื่อดึงดูด ความหน้าสนใจและให้ลูกค้าได้เห็นภาพที่ชัดเจนในการบวนการใช้งาน และการคำนวณราคาจุดคุ้มทุนของ ลูกค้า ในฝ่ายอะไหล่มีการจัดเก็บอะไหล่ในโปรแกรมสต๊อกสินค้า เพื่อตราจสอบ และสะดวกในการเบิกจ่าย พร้อมทั้งการคาดเดาความจำเป็นในการสต๊อกสินค้า เป็นต้น ส่วนในการจัดกิจกรรมก็ เน้นทำกิจกรรมออนไลน์สำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแต่ละประเภทให้ม าก ยิ่งขึ้นและยังใช้ในการประชุมแบบออนไลน์ ในการหารือทั้งด้านการขายและบริการหลังการขายระหว่ างผู้ จำหน่ายอีซูซุกับบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ หลีกเลี่ยงการเดินทางข้ามจังหวัด 4.ด้านอาคารสถานที่และการจัดสภาพแวดล้อม ในการบริหารจัดการอาคารสถานที่และการจัดสภาพแวดล้อม สำหรับผู้จำหน่ายอีซูซุชัยนาท ได้มีการ วางผั ง ที ่ ต ั ้ ง แบบครบวงจรในสายงานเพื ่ อ ความสะดวกรวดเร็ ว ในการทำงาน และการจั ด การงานที ่ มี ประสิทธิภาพ เช่นในสายงานฝ่ายซ่อมบำรุง มีการจัดแยกหน้าที่ แบ่งพื้นที่ให้ชัดเจนในงานซ่อมบำรุงรักษาตาม ระยะ งานซ่อมหนักของรถขนาดเล็ก และงานซ่อมบำรุงรักษาตามระยะ งานซ่อมหนักของรถบบรทุกขนาด ใหญ่ ในส่วนของงานฝ่ายขายควรจะอยู่ในส่วนหน้าของโชว์รูม เพื่อให้เห็นเด่นชัด สดุดสายตาลูกค้าที่ผ่านไป มา ส่วนของงานเครมประกัน จะจัดพื้นแยกออกไปไว้ด้านหลัง ซึ่งในการวางวางผังอาคารและการจัดการสิ่งแวดล้อมจะสังเกตได้ว่า ศูนย์บริการจะมีความสะอาด การจัดภูมิทัศ สดุดตาลูกค้าและผู้เข้ามาเยี่ยมชม

แบบบันทึกการศึกษาดูงาน ชื่อสถานประกอบการ....ศูนย์บริการอีซูซุ ชัยนาท และ ศูนย์การเรียนรู้ การเลี้ยงโคนม สหกรณ์โคนมหนองโพ ราชบุรี จำกัด (สุรศักดิ์ แดรี่ ฟาร์ม)............................................................................ ชื่อ-สกุล ผู้ฝึกประสบการณ์.........กิตติศักดิ์ ทรหด............. กลุ่มที่......5.........เลขที่........135........................... 5.สรุปแนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาครอบคลุม 3 สมรรถนะหลัก จากการศึกษาดูงานทั้งสองแห่งได้สรุปและปรับประยุกต์ใช้ในระบบการศึกษาได้ดังนี้ สมรรถนะหลักที่ 1 การดำรงตนของรองผู้อำนวยการสถานศึกษาอาชีวศึกษายุคชีวิตวิถีอนาคต (Next Normal) จากการศึกษาดูงานเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกทำให้เกิดมิติของการพัฒนามากมาย ส่งผลทำให้สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย หากมองมาที่ภาคการศึกษาการพัฒนาจัดการเรียนรู้ ในยุ ค New Normal ที่ผ่านมา ส่งผลให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปรับตัวรับชีวิตวิถีใหม่ และปรากฏการณ์ ของโควิด-19 ส่งผลต่อการสอนที่เป็นหน้าที่หลักของครูซึ่งต้องมีบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป โดยครูไม่ได้มีหน้าที่ สอนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ครูควรเน้นการสอนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นอันจะส่งผลดีต่อนักเรียน และ เยาวชนของชาติอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของบุคลากรทางการศึกษาซึ่งไม่ได้มีหน้าที่ หลักในการสอนแต่จะต้อง สนับสนุนให้การจัดการเรียนการสอนมีคุณภาพ ซึ่งตำแหน่งรองผู้อำนวยการก็จำเป็นจะต้องหาวิธีการอำนวยความสะดวกให้ครูผู้สอนจัดการเรียนการ สอนอย่างมีคุณภาพในหลากหลายมิติให้แก่ผู้เรียนจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเช่นเดียวกันในปัจจุบัน การ เปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นอย่างพลิกผัน (Disruption) สถานการณ์เหล่านี้ เรียกว่า VUCA World ซึ่งเป็นลักษณะ ที่มีความผันผวน (V-Volatility) ความไม่แน่นอน (U-Uncertainty) ความซับซ้อน (C-Complexity) และความ คลุมเคลือ (A-Ambiguity) 1ส่งผลให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนตนเองพร้อมจะเรียนรู้และ เปิดกว้างสำหรับความท้าทายใหม่ ๆ อยู่เสมอ จึงจะสามารถเอาชนะและรับมือให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ จึง เป็นยุคของวิถีถัดไป (Next Normal) ที่จำเป็นต้องขับเคลื่อน ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้อ งเปลี ่ยน กระบวนทัศน์ในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนานาตนเองในยุค Next Normal ไปสู่การสร้างผู้เรียนที่ สามารถมีทักษะสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ดังนั้น ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรจะต้องพัฒนา ตนเองอย่างไรให้เป็นบุคลากรของภาครัฐในการจัดการศึกษาในยุค Next Normal ได้อย่างเหมาะสม

สมรรถนะหลักที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพอาชีวศึกษา ในการเป็นผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพอาชีวศึกษา จำเป็นต้องมีกระบวนการที่จะขับเคลื่อนบุคลากร ของสถานศึกษาให้มีการพัฒนาตนเอง โดยเปิดโอกาสทางวิชาชีพในยุค New Normal สามารถทำได้ ดังนี้ 1) ส่งเสริมและพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นผู้ชี้แนะ แนะนำและให้คำปรึกษา 3) ส่งเสริมและพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจในกฎหมายการศึกษา เพื่อการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา 4) ส่งเสริมและพัฒนาให้มี Mind Set ที่ต้องปรับกระบวนทัศน์ในการเรียนการสอน และการใช้ชีวิตใน โลกยุค Next Normal 5) ส่งเสริมและพัฒนาผ่านการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านโปรแกรมการเรียนรู้ทางสื่อออนไลน์ 6) ส่งเสริมและพัฒนาให้มีองค์ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์มีหลักเหตุและผลในการจัดการเรียนรู้ใ ห้แ ก่ ผู้เรียน 7) ส่งเสริมและพัฒนาให้ใช้โทรศัพท์มือถือในการจัดการเรียนรู้พัฒนาผู้เรียน มือถือจะเป็นเครื่องมือ เทคโนโลยีที่มีการอัพเดตนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลาซึ่งจะสร้างความสะดวกในการจั ดการ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง 8) ส่งเสริมและพัฒนาให้มีความตระหนักและใส่ใจเรื่องความปลอดภัยด้านสุขภาพ และให้ความสำคัญ ในการร่ ว มกั น รั ก ษาสิ ่ ง แวดล้ อ มและความสำคั ญ ของพลั ง งานทดแทนและพลั ง งานหมุ น เวี ย น และมี ข้อเสนอแนะในระดับนโยบายทางการศึกษาที่ควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความมีคุณภาพในการจัดการศึกษาในภาพรวมของประเทศ เสริมสร้างให้ครูและบุคลากร ทางการศึกษามีทักษะ ความรู้ สมรรถนะในวิชาชีพของตนเองได้อย่างเหมาะสม อันนำสู่การพัฒนาศักยภาพ ของผู้เรียนที่ต้องการในอนาคต

สมรรถนะหลักที่ 3 การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ในรูปแบบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัล ภายใต้สถานการณ์วิถีอนาคต (Next Normal) และสอดคล้องกับระเบียบข้องบังคับของกฏหมายในการบริหาร สถานศึกษาอาชีวศึกษา ได้แก่ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษา 2) การกำหนดโครงสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษาที่เหมาะสม 3) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนนวัตกรรมทางการศึกษาทุกมิติ 4) รูปแบบ กระบวนการ และการปฏิบัติที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา 5) การกำหนดโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เหมาะสมสำหรับการ บริการ 6) ทีมผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มุ่งมั่นไปสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ 7) ทีมงานมีนิสัยแห่งนวัตกรรมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมระดับอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพ 8) การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว 9) นวัตกรรมการจัดการความรู้ด้านทักษะอาชีพที่มีประสิทธิภาพ 10) การส่งเสริมบุคลากรในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างอิสระ 11) การสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของทั่วทั้งองค์กร 12) การสร้างทางเลือกใหม่เพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะอาชีพในยุคดิจิทัล

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.