วิจัย ชุดเเบบฝึกทักษะ Flipbook PDF


25 downloads 109 Views 4MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรือ่ ง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถ)ี

โดย นายอานัส ทิ้งผอม

รายงานการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 4 ระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีการศึกษา 2565

ชื่อวิจัย

ผู้วิจัย สาขาวิชา

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดแบบฝึกหัดเสริม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) นายอานัส ทิ้งผอม วิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะกรรมการที่ปรึกษา

…………………………………………………………….กรรมการ (อาจารย์ดร.ปัทมา พิศภักดิ์) (อาจารย์นิเทศก์ประจาหลักสูตร) …………………………………………………………….กรรมการ (นายจักรพงศ์ กูรพิศไตรย์) (ครูพี่เลี้ยง)

รายงานการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 4 ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีการศึกษา 2565



ชื่อวิจัย

ผู้วิจัย สาขาวิชา ปีการศึกษา

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดแบบฝึกหัดเสริมทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) นายอานัส ทิ้งผอม วิทยาศาสตร์ทั่วไป 2565

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกเสริมทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานที่ระดับ 80/80 2) เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นั กเรี ย นชั้น ประถมศึก ษาปี ที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) จั ง หวั ด ยะลา จ านวน 1 ห้ อ งเรี ย น นั ก เรี ย นทั้ ง หมด 34 คน ซึ่ ง ได้ ม าวิ ธี ก ารเลื อ กแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม และแบบประเมินความพึงพอใจต่อ ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ ผู้ วิจั ย ได้ใช้การทดลองแบบ one group pretest-posttest design สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test for dependent simples ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดแบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์คือ มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.47/81.47 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 หลังจากที่เรียนด้วยชุดแบบฝึกเสริมทักษกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดแบบฝึกเสริม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.37, S.D. = 0.74) คาสาคัญ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, ชุดแบบฝึกเสริมทักษะ



Title

science achievement study by using an additional set of exercisesScience process skills on living things and the environment of grade 5, Municipality 4 School (Thonwithi) Author Mr.Arnas Thingphom Degree General science education. Academic Year 2022 Abstract The objectives of this study were 1) to study the efficacy of a set of exercises to enhance skills in science processes on living organisms and the environment. According to the standard at level 80/80 2) To compare the achievement of science learning about living things and the environment. Between before and after school 3 ) To study the satisfaction of learning management by using the science process skillenhancing exercises on the subject of living organisms and the environment. In the development of science learning achievement, the sample group used in the research were Prathomsuksa 5 / 1 students in the first semester of the academic year 2 0 2 2 at Municipal 4 School (Thonwithi), Yala Province, totaling 34 students. Purposive Sampling The tools used in the study were a set of exercises to enhance skills in the scientific process on living organisms and the environment. Science achievement test on living things and the environment and the satisfaction assessment form for the science process skill training set. The researcher used a one group pretest-posttest design. The statistic used to analyze the data was t-test for dependent simples. The results of the research were as follows: 1 ) A set of exercises to enhance science learning skills on living things and the environment. Grade 5 / 1 effective according to the criteria are The efficiency value was 84.47/81.47. 2) The learning achievement of science subject matter on life and environment. Grade 5 / 1 after studying with a set of exercises to enhance the skills of science 3) The students' overall satisfaction with the science process skills training set was at a high level (mean = 4.37, S.D. = 0.74). Keywords: achievement, scientific process skills, A set of exercises to enhance skills



กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยฉบับนี้สาเร็จลุล่วงได้ด้วยดีเนื่องจากได้รับความกรุณาอย่างสูงจาก อาจารย์ดร.ปัทมา พิ ศ ภั ก ดิ์ อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษางานวิ จั ย ที่ ก รุ ณ าให้ ค าแนะน า ค าปรึ ก ษา ตลอดจนปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ข ข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่ง ผู้วิจัยตระหนักถึงความตั้ งใจจริงและความทุ่มเทของ อาจารย์และขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ ขอขอบคุณ โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จังหวัดยะลา ที่ได้ให้ความร่วมมือในการวิจัยในครั้งนี้ และขอขอบคุณคณะครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ ที่ให้ความร่วมมือ อนึ่งผู้วิจัยหวังว่างานวิจัย ฉบับนี้จะมีประโยชน์อยู่ไม่น้อยจึงขอมอบส่วนดีทั้งหมดที่มีให้แก่อาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้ความรู้ทา ให้ผลงานวิจัยเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ขอขอบคุ ณ นายจั ก รพงศ์ กู ร พิ ศ ไตรย์ ครู ป ระจ ากลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่กรุณาให้คาแนะนา และความอนุเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการทาวิจัย อนี่ ง ผู้ วิ จั ย หวั ง ว่ า งานวิ จั ย ฉบั บ นี้ จ ะมี ป ระโยชน์ แ ละคุ ณ ค่ า และขอขอบคุ ณ ทุ ก ท่ า นที่ เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้ผู้วิจัยได้มีโอกาสได้ศึกษา ทาให้ผู้วิจัยได้มีโอกาสทางานวิจัยฉบับนี้สาเร็จลุล่วงไป ด้วยดี สาหรับขอบกพร่องต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ผู้วิจัยขอน้อมรับ และยินดีที่จะรับฟังคาแนะนา จากทุกท่านที่เข้ามาศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัยต่อไป ชื่อผู้ทาวิจัย นายอานัส ทิ้งผอม กันยายน 2565



สารบัญ บทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญรูปภาพ บทที่ 1 บทนา 1. ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3. ขอบเขตของการวิจัย 4. ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 5. นิยามศัพท์เฉพาะ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3. กรอบแนวคิดการวิจัย 4. สมมติฐานการวิจัย บทที่ 3 วิธีการดาเนินการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. สถิติทีใช้ในการวิจัย บทที่ 4 ผลการวิจัย

หน้า ก ข ค ง ฉ ช 1 1 2 2 3 3 5 5 24 30 30 31 31 31 32 33 35 35 39



สารบัญ (ต่อ) บทที่ 5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ 1. สรุปผลการวิจัย 2. อภิปรายผลการวิจัย 3. ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ภาคผนวก ข รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ ภาคผนวก ค คุณภาพของเครื่องมือวิจัย ภาคผนวก ง ภาพแสดงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติผู้วิจัย

หน้า 45 45 46 47 49 53 54 72 74 85 89



สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 4.1 แสดงจานวนและร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จาแนกตามเพศ 40 4.2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละของคะแนนการทาชุดแบบฝึก 40 เสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 4.3 4.4 4.5

4.6

4.7

ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระ วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุด แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เปรี ย บเทีย บผลสั มฤทธิ์ทางการเรีย นสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่ งมีชีวิ ตกับ สิ่งแวดล้อมก่อนและหลังเรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ห าค่าระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ชุดแบบฝึ ก เสริม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

41 41 42

42

43



สารบัญภาพ ภาพที่ 3.1 กรอบแนวคิดการวิจัย

หน้า 30

1

บทที่ 1 บทนา 1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ ยนสังคม เข้ามามีอิทธิผลต่อ ระบบการศึกษาไทย มีการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เท่าทันเทคโนโลยี และนาเทคโนโลยีมา ประยุกต์พัฒนาระบบการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนรู้ของ นั กเรี ย นที่มีผ ลการเรี ย นรู้ตามสภาพจริงจากเนื้อหาสาระรายวิชานั้นๆ โดยมีธ รรมชาติรายวิชาที่ แตกต่างกันออกไปครูจาเป็นต้องหากระบวนการ และวิธีการต่างๆที่หลากหลาย ในการจัดการเรียน การสอนที่เน้นให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และพัฒ นาตนเองได้ ครูต้องคานึงถึงพัฒนาการทางด้าน ร่ างกายและสติปั ญญา วิธีการเรี ย นรู้ความสนใจ และความสามารถของนักเรียนเป็ นระยะอย่ า ง ต่อเนื่อง การจัดการเรียนรู้ในแต่ละชั้นควรใช้รูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย เน้นการจัดการเรียนการ สอนตามสภาพจริง การเรียนรู้ด้วยตนเองการเรียนร่วมกัน การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเรียนรู้จาก การปฏิบัติจริงและการเรียนรู้แบบบูรณาการ (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2552) การพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้เกิดทักษะกระบวนการและเจตคติ ทาง วิทยาศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นสามารถทาได้โดยจัดให้นักเรียนได้มีส่วนร่ว มใน กิจกรรมมากที่สุด และได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองครูจึงเป็นที่ผู้ที่มีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริม การเรียนรู้ และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีความสุขในการเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่หลักสูตรกาหนด ชุดแบบฝึกทักษะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นวิธีหนึ่งที่เหมาะสมที่จะช่วยให้นักเรียนได้ ฝึกฝน ทักษะการคิด เป็นสื่อช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมีการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างเป็นระบบ มีข้อชวนคิดและคาถามท้ายกิจกรรมให้นักเรียนฝึกคิดแล้วตอบ โดยมีการตรวจคาตอบให้ทราบผล ทันทีเป็นการช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เรียนรู้อ ย่างอิสระ เร้าความสนใจไม่ ก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย ส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน (อรทัย น้อยญาโณ, 2561) จากความสาคัญที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะใช้ชุดแบบฝึกหัดเสริมทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ทันสมัยสามารถพัฒนาทักษะกระบวนการทาง

2

วิ ท ยาศาสตร์ ร วมทั้ ง เพื่ อ ให้ นั ก เรี ย นสนใจเนื้ อ หาที่ เ รี ย นเกิ ด ความรู้ ความเข้ า ใจและมี ทั ก ษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้น มีความตื่ นตัวในการเรียน อีกทั้งยังเป็นสื่อการสอนที่ช่วยพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตลอดจนเพิ่มความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียน 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานที่ระดับ 80/80 2. เพื่อเปรี ย บเทีย บผลสั มฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่ งมีชีวิตกับสิ่ งแวดล้ อม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 1.3 ขอบเขตของการวิจัย 1.3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) จังหวัดยะลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จานวน 5 ห้อง รวม 165 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) จังหวัดยะลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จานวน 1 ห้อง รวม 34 คนใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) 1.3.2 เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยนี้ เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. การปรับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต 2. ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม 3. ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตในสิ่งแวดล้อม 4. โซ่อาหาร 5. ความสาคัญของสิ่งแวดล้อม

3

1.3.3 ตัวแปรที่ศึกษา 1) ตัวแปรต้น คือ ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2) ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประสิทธิภ าพทางการเรียนและ ความพึงพอใจต่อชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 1.3.4 ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จานวน 19 ชั่วโมง 1.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1. นักเรียนสามารถนาความรู้ที่ได้รับจากการใช้ ชุดแบบฝึกเสริมทักษะไปใช้ในการเรียนและ ใช้ชีวิตประจาวันได้ 2. เป็นแนวทางสาหรับครูในการพัฒนาแบบฝึก เสริมทักษะ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการเรียนการ สอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3. ได้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ให้มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 1. วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ และกระบวนการการค้นคว้า ความรู้ อย่างเป็นระบบ และมีขั้นตอน 2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดาเนินการค้นคว้าหา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ วิธีการทาง วิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ 3. ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ชุดแบบฝึกเสริมทักษะ กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนในการพัฒนา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการนาเอาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาฝึกควบคู่ กับไปกับการเรียนใน เนื้อหา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

4

4. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะทางสติปัญญา หรือทักษะที่ นักวิทยาศาสตร์ และผู้ที่นาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหา ใช้ในการศึกษาค้นคว้า สืบเสาะแสวงหา ความรู้และ แก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ทักษะการสังเกต และทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล 5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักเรียนได้จากการทาแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแบบทตสอบที่ผู้ศึกษาคันคว้าได้สร้างขึ้นมา เพื่อใช้วัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยครอบคลุมเนื้อหาด้านความรู้ ความจา ด้านความเข้าใจ และ ด้านการนาไปใช้

5

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาผลสั มฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดแบบฝึ กหั ด เรื่อง สิ่ งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) ผู้วิจัยได้ศึกษา ค้นคว้า เอกสารที่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางในการดาเนินการวิจัย ดังนี้ 1. เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3. กรอบแนวคิดการวิจัย 4. สมมติฐานการวิจัย 1) เอกสารที่เกี่ยวข้อง 1.1 ความหมายของวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มาจากคาศัพท์ภ าษาอัง กฤษ “science” ซึ่งมาจากภาษาลาติน “sientia” แปลว่า “ความรู้ทั่วไป” (knowledge) ซึ่งมีความหมายกว้างขวางมากสาหรับคาว่า “วิทยาศาสตร์” ได้ มีผู้ให้คาจากัดความไว้หลายๆ ทรรศนะ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการสังเกต และค้นคว้าจากการประจักษ์ทางธรรมชาติ แล้วนามาจัดให้เป็นระเบียบ หรือวิชาที่ค้นคว้าได้จากหลักฐานและเหตุผล และจัดเข้าเป็นระเบียบ (สุภา ยธิกุล และอรวรรณ ทิพย์มณี, (บก.), ม.ป.ป.) วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าความรู้ อย่างมีขั้นตอน มีระเบียบแบบแผน หรือหมายถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้สะสมไว้อย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือค้นหาความรู้ (พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ, 2553) วิทยาศาสตร์ หมายถึง วิธีที่สืบค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติที่ได้สะสมและรวบรวมไว้ อย่าง มีระเบียบแบบแผน โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และเจต คติทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป (บัญญัติ ชานาญกิจ, 2552)

6

จากความหมายของวิทยาศาสตร์ดังกล่าวพอสรุปได้ว่า เป็นความรู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ โดยผ่านวิธีการสืบค้น หาความจริงและรวบรวมไว้อย่างมีระเบียบ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ วิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป 1.2 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการที่มีระเบียบแบบแผน นาไปใช้ในการค้นคว้าความรู้ใหม่ หรือ เช้ในการทดสอบความถูกต้องของความรู้เดิม ตลอดจนนาไปใช้ในการแก้ปัญหาให้สาเร็จซึ่ง วิธีการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้ 1. การสังเกตและการตั้งปัญหา (Observation and Problem) 2. การตั้งสมมติฐาน (Formulation of Hypothesis) 3. การทดสอบสมมติฐาน (Test Hypothesis) 4. การรวบรวมข้อมูล (Gather Evidence) 5. การสรุปผล (Conclusion of Result) (สุภา ยธิกุล และอรวรรณ ทิพย์มณี, (บก.), ม.ป.ป.) 1.3 ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2552) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึกทักษะ สรุปได้ดังนี้ 1. ทาให้นักเรียนได้ฝึกทักษะจากแบบฝึกหัดที่ครูสร้างขึ้น ซึ่งตรงกับเนื้อหาที่ครูทาการสอน 2. นักเรียนสามารถนาความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนมาทดสอบการเรียนรู้ของตนเองว่า เกิด จากการเรียนรู้ 3. ใช้สาหรับประเมินผลการสอบเป็นรายบุคล หลังจากได้ร่มกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว โดยผลงานจากแบบฝึกหัดที่ทามาส่งครูทาให้ทราบว่านักเรียนเข้าใจมากน้อยเพียงใด 4. ใช้แบบฝึกหัดสาหรับทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้ว พรพรหม อัตตวัฒนากุล (2554) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึกไว้ว่า แบบฝึกทักษะเป็น เครื่องมือจาเป็นต่อการฝึกทักษะพัฒนาความสามารถของนักเรียนและการฝึกแต่ละทักษะนั้นควรมี หลาย แบบเพื่อนักเรียนจะได้ไม่เบื่อ และนอกจากนี้แบบฝึกทักษะยังมีประโยชน์สาหรับครูในการสอน ทาให้ ทราบพัฒนาการทางทักษะนั้นๆ ของเด็กและเห็นข้อบกพร่องในการเรียน เพื่อจะได้ แ ก้ ไข ปรับปรุงได้ ทันท่วงที ช่วยทาให้นักเรียนประสบผลสาเร็จในการเรียนได้ดี 1.4 ความหมายของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skill) ถ้าแยกคานี้ ก็จะได้ว่า ทักษะ กับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยคาว่า “ทักษะ” ตรงกับคาในภาษาอังกฤษว่า “skill” ซึ่งแปลว่า

7

ความชานาญ ความเคยชิน และคาว่า กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แปลว่า วิธีการ หรือกิจกรรมที่ นักวิทยาศาสตร์นามาใช้ในการเสาะแสวงหาความรู้ หรือแก้ปัญหา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเลื อกใช้ และการใช้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งจนเกิดความคล่องแคล่ว และความชานาญ (แรมสมร อยู่สถาพร, 2552) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หมายถึง ความชานาญในการใช้ความคิดในการสังเกต การคานวณ การจัดกระทาข้อมูล การสื่อความหมาย การออกแบการทดลอง ตลอดจนการสรุปผลการ ทดลอง เป็นต้น (พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ, 2553) 1.5 ประเภทของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วรรณทิพา รอดแรงค้า และพิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2554) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกได้ 13 ทักษะ โดยยึดตามแนวของสมาคมเพื่อความพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (The America Association for the Advancement of Science: AAAS) บัญญัติ ชานาญกิจ (2552) ได้กล่าวว่า ทักษะที่ 1-8 เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน และทักษะที่ 9-13 เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง หรือขั้นผสม หรือขั้น บูรณาการ 1.6 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน (Basic Science Process Skills) มี 8 ทักษะ ได้แก่ 1. ทักษะการสังเกต (Observation) หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่าง ใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ โดยไม่ลงความเห็นของผู้สังเกต 2. ทักษะการวัด (Measuring) หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของ สิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม และความสามารถใน การอ่านค่าที่ได้จากการวัดได้ถูกต้องรวดเร็ว และใกล้เคียงกับความจริงพร้อมทั้งมีหน่วยกากับเสมอ 3. ทักษะการคานวณ (Using numbers) หมายถึง ความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร หรือจัดกระทากับตัวเลขที่แสดงค่าปริมาณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งได้จากการสังเกต การวัด การ ทดลอง โดยตรง หรือจากแหล่งอื่น ตัวเลขที่คานวณนั้นต้องแสดงค่าปริมาณในหน่วยเดียวกัน ตัวเลขใหม่ ที่ได้ จากการคานวณจะช่วยให้สื่อความหมายได้ตรงตามที่ต้องการ และชัดเจนยิ่งขึ้น 4. ทักษะการจาแนกประเภท (Classification) หมายถึง ความสามารถในการจัด จาแนก หรือเรียงลาดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดจาแนก

8

เกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดย จัด สิ่งที่มีสมบัติบางประการร่วมกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน 5. ทักษะการหาความสั มพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Space/Space Relationship and Space/Time Relationship) สเปส (Space) ของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างบริเวณที่ วัตถุนั้นครอบครองอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างและลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปสเปสของวัตถุจะมี 3 มิติ (Dimension) ได้แก่ ความกว้าง ความยาว ความสูง หรือความหนาของวัตถุ ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา หมายถึง ความสามารถ ในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่อไปนี้ คือ 1. ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มิติ กับ 3 มิติ 2. สิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงากับภาพที่ปรากฏ จะเป็นซ้ายขวาของกัน และกันอย่างไร 3. ตาแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง 4. การเปลี่ ย นแปลงต าแหน่ ง ที่ อ ยู่ ข องวั ต ถุ กั บ เวลา หรื อ สเปสของวั ต ถุ ที่ เปลี่ยนแปลง ไปกับเวลา 6. ทักษะการจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication) หมายถึง ความสามารถในการส่งข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และ จากแหล่งอื่นมา จัดกระทาใหม่โดยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดเรียงลาดับ การแยกประเภท หรือคานวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ ผู้อื่นเข้าใจมากขึ้น อาจนาเสนอในรูปของตาราง แผนภูมิ แผ่นภาพ กราฟ เป็นต้น 7. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการ อธิบายข้อมูล ที่มีอยู่อย่างเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลที่มีอยู่อาจได้มา จากการ สังเกตการวัด การทดลอง คาอธิบายนั้นได้มาจากความรู้ หรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตที่พยายาม โยงบางส่วนที่เป็นความรู้ หรือประสบการณ์เดิมให้มาสัมพันธ์กับข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ 8. ทักษะการพยากรณ์ (Prediction) หมายถึง ความสามารถในการทานาย หรือ คาดคะเน สิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้า ๆ หรือความรู้ที่เป็น หลักการ กฎ หรื อ ทฤษฎี ใ นเรื่ อ งนั้ น มาช่ ว ยในการท านาย ซึ่ ง การท านายอาจท าได้ ภ ายในขอบเขตข้ อ มู ล (Interpolating) และภายนอกขอบเขตข้อมูล (Extrapolating) 1.7 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน (Complex Science Process Skill) มี 5 ทักษะ ได้แก่ 1. ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis) หมายถึง ความสามารถใน การให้ คาอธิบาย ซึ่งเป็นคาตอบล่วงหน้าก่อนที่จะดาเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเป็นจริง ใน

9

เรื่องนั้น ๆ ต่อไป สมมติฐานเป็น ข้อความที่แสดงการคาดคะเน ซึ่งอาจเป็นคาอธิบายของสิ่ ง ที่ ไม่ สามารถตรวจสอบโดยการสังเกตได้ หรืออาจเป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ที่คาดคะเนว่า จะ เกิดขึ้น ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามข้อความของสมมติฐานนี้สร้างขึ้นโดยอาศัยการสังเกตความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน การคาดคะเนคาตอบที่คิดล่วงหน้านี้ยังไม่ทราบ หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน ข้อความของสมมติฐานต้องสามารถทาการตรวจสอบโดยการทดลอง และ แก้ไข เมื่อมีความรู้ใหม่ได้ 2. ทักษะการกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationaly) หมายถึง ความสามารถ ในการกาหนดความหมายและขอบเขตของตัวแปรต่างๆ ให้เข้าใจตรงกัน และ สามารถสังเกตและวัด ได้คานิยามเชิงปฏิบัติการ เป็นความหมายของศัพท์เฉพาะ และเป็นภาษาง่ายๆชัดเจนไม่กากวม ระบุ สิ่งที่สังเกตได้ และระบุการกระทาซึ่งอาจเป็น การวัด การทดสอบ การทดลองไว้ด้วย 3. ทักษะกาหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying And Controlling Variables) หมายถึง การชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมติฐานหนึ่ง การควบคุมตัวแปรนั้น เป็นการควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่จะทาให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนถ้าหากว่าไม่ ควบคุมให้เหมือนกัน 4. ทักษะการทดลอง (Experimenting) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคาตอบหรือ ทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในการทดลองจะประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1. การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนลงมือ ทดลองจริง เพื่อกาหนดวิธีการดาเนินการทดลองซึ่งเกี่ยวกับการกาหนด และ ควบคุมตัวแปร และวัสดุอุปกรณ์ที่ ต้องการใช้ในการทดลอง 2. การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การลงมือปฏิบัติการทดลองจริง ๆ 3. การบันทึกผลการทดลองหมายถึง การจดบันทึกข้อมูล ที่ได้จากการทดลอง ซึ่ง อาจเป็นผลของการสังเกต การวัด และอื่นๆ 5. ทักษะการตีความหมายข้ อมูล และลงข้ อสรุ ป (Interpretting Data and Conclusion) หมายถึง ความสามารถในการบอกความหมายของข้อมูลที่ได้จัดกระทา และอยู่ในรูปแบบ ที่ใช้ในการ สื่ อ ความหมายแล้ ว ซึ่ ง อาจอยู่ ใ นรู ป แบบตาราง กราฟ และแผนภู มิ ห รื อ รู ป ภาพต่ า ง ๆ รวมทั้ ง ความสามารถในการบอกความหมายข้ อ มู ล ในเชิง สถิ ติ ด้ ว ย และสามารถลงข้ อ สรุ ป โดยการเอา ความหมายของข้อมูลที่ได้ทั้งหมดสรุปให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องการ ศึกษาภายในขอบเขตของการทดลองนั้น ๆ

10

1.8 ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2552) กล่าวว่า “เมื่อครูได้สอนเนื้อหา แนวคิด หรือหลักการเรื่อง ใดเรื่องหนึ่งให้กับนักเรียน และนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นแล้ว ขั้นต่อไปควรจาเป็นต้อง จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกฝน เพื่อให้เกิดความชานาญ คล่องแคล่ว ถูกต้องแม่นยา และรวดเร็ว หรือ ที่ เรียกว่า ฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะ” นิตยา วิชัยดิษฐ์ (2553) ให้ความหมายแบบฝึ กเสริมทักษะไว้ว่า หมายถึง สื่อ หรือสิ่งเร้า ทางการเรียนที่สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างทักษะให้แก่นักเรียน มีลักษณะเป็นแบบฝึกหัดที่ มีกิจกรรมให้ นักเรียนกระทาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถของนักเรียนแบบฝึกจึงเป็นกิจกรรมที่มี ประโยชน์ในการเรียนการสอน เพราะช่วยให้นักเรียนได้แก้ไขข้อบกพร่องทางการเรียนด้วยการฝึกฝน จากแบบฝึกที่ครูสร้างขึ้น อ้อนน้อม เจริญธรรม (2553) ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะไว้ว่า หมายถึง แบบฝึกที่ช่วย ให้การสอนของครู และการเรียนของนักเรียนประสบผลสาเร็จเมื่อผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกหัดจนเกิด ความเข้าใจ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2556) ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะไว้ว่า หมายถึง สิ่งที่นักเรียนต้อง ใช้ความควบคู่กับการเรียน ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบฝึกที่ครอบคลุมกิจกรรมที่นักเรียนพึงกระทาอาจ กาหนดแยกเป็นแต่ละหน่วย หรืออาจรวมเล่มก็ได้ พนมวัน วรดลย์ (2552) ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะไว้ว่า หมายถึง งานกิจกรรม หรือ ประสบการณ์ที่ครูจัดให้นักเรียนฝึกทักษะเพื่อทบทวน ฝึกฝนเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ ที่ได้เรียนไปแล้วให้ เกิดความจาจนสามารถปฏิบัติได้ด้วยความชานาญ และให้ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ จากความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะที่มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ข้างต้น พอสรุปได้ ว่า แบบฝึ กเสริ มทักษะ หมายถึง สื่ อการสอนที่ครูนามาใช้กับนักเรียนในการฝึ กทักษะ และเป็น เครื่ องมือใน การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาหลังจากที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการทดสอบใน รูปแบบต่างๆ เพื่อให้ เกิดความรู้ความเข้าใจ และเกิดทักษะต่อเนื้อหาวิชาที่ทาการสอนจนเกิดความ ชานาญทาให้การสอนของครูและการเรียนของผู้เรียนประสบผลสาเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ 1.9 ลักษณะของแบบฝึกเสริมทักษะที่ดี การสร้างแบบฝึกทักษะให้ได้คุณภาพนั้น ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าลักษณะของแบบฝึกที่ ดีที่นักการศึกษาได้สร้างไว้ เพื่อนามาเป็นข้อมูลในการสร้างแบบฝึกทักษะ กุสยา แสงเดช (2555) ได้กล่าวแนะนาผู้สร้างแบบฝึกให้ยึดลักษณะแบบฝึกที่ดี ดังนี้

11

1. แบบฝึกที่ดีควรมีความชัดเจนทั้งคาสั่งและวิธีทาคาสั่งหรือตัวอย่างแสดงวิธีทาที่ใช้ไม่ควร ยากเกินไป เพราะจะทาความเข้าใจยาก ควรปรับให้ง่ายและเหมาะสมกับผู้ใช้ เพื่อนักเรียนสามารถ เรียนด้วยตนเองได้ 2. แบบฝึกที่ดีมีความหมายต่อผู้เรียนและตรงตามจุดหมายของการฝึกลงทุนน้อยใช้ได้นาน ทันสมัย 3. ภาษาและภาพที่ใช้ในแบบฝึกเหมาะสมกับวัยและพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน 4. แบบฝึกที่ดีควรแยกเป็นเรื่อง ๆ แต่ละเนื่องไม่ควรยาวเกินไปแต่ควรมีกิจกรรมหลายแบบ เพื่อเร้าความสนใจ และไม่น่าเบื่อในการทาแบบฝึกทักษะใดทักษะหนึ่งจนชานาญ 5. แบบฝึกที่ดีมีทั้งแบบกาหนดคาตอบในแบบและให้ตอบโดยเสรี การเลือกใช้คา ข้อความ รูปภาพในแบบฝึก ควรเป็นสิ่งที่นักเรียนคุ้นเคยและตรงกับความสนใจของนักเรียนก่อให้เกิดความ เพลิดเพลินและพอใจแก่ผู้ใช้ ซึ่งตรงกับหลักการเรียนรู้ว่า นักเรียนจะเรียนได้เร็วในการกระทาที่ทาให้ เกิดความพึงพอใจ 6. แบบฝึกที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ให้รู้จักค้นคว้ารวบรวมสิ่งที่พบ เห็นบ่อย ๆ หรือที่ตัวเองเคยใช้ จะทาให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องนั้นๆมากยิ่งขึ้น และรู้จักนาความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจาวันได้อย่างถูกต้อง มีหลักเกณฑ์และมองเห็นว่าสิ่งที่ได้ฝึกนั้นมีความหมายต่อเขาตลอดไป 7. แบบฝึกที่ดีควรตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่าง กันในหลายๆด้าน เช่น ความต้องการ ความสนใจ ความพร้อม ระดับสติปัญญา และประสบการณ์ เป็นต้น ฉะนั้นการทาแบบฝึกแต่ละเรื่องควรจัดทาให้มากพอและมีทุกระดับตั้งแต่ง่าย ปานกลาง จนถึง ระดับ ค่อนข้างยาก เพื่อว่านักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อนจะได้เลือกทาได้ตามความสามารถ ทั้งนี้ เพื่อให้ นักเรียนทุกคนได้ประสบความสาเร็จในการทาแบบฝึก 8. แบบฝึกที่จัดทาเป็นรูปเล่ม นักเรียนสามารถเก็บรักษาไว้เป็นแนวทางเพื่อทบทวนด้วย ตนเองต่อไป 9. การที่นักเรียนได้ทาแบบฝึก ช่วยให้ครูมองเห็นจุดเด่นหรือปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียน ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ครูดาเนินการปรับปรุงแก้ปัญหานั้นๆทันท่วงที 10. แบบฝึกที่จัดขึ้นนอกจากมีในหนังสือเรียนแล้วจะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกฝนอย่างเต็มที่ 11. แบบฝึกที่จัดพิมพ์ไว้เรียบร้อยแล้ว จะช่วยให้ครูประหยัดแรงงานและเวลาในการที่ จะต้องตรียมแบบฝึกอยู่เสมอ ในด้านผู้เรียนไม่ต้องเสียเวลาในการลอกแบบฝึกจากตาราเรียนหรือ กระดานดา ทาให้มีเวลาและโอกาสได้ฝึกฝนทักษะต่างๆได้มากขึ้น

12

12. แบบฝึกช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะการพิมพ์เป็นรูปเล่มที่แน่นอนลงทุนต่า การที่ใช้ พิมพ์ ลงกระกระดาษไขทุกครั้ งไป นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ที่ผู้เรียนสามารถบันทึกและมองเห็น ความก้าวหน้า ของตนได้อย่างมีร ะบบและมีระเบียบจึงสรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะที่ดีนั้นมีลั ก ษณะ ใกล้เคียงกัน ซึ่งครูต้องศึ กษาและนามาใช้ในการสร้าง เพื่อให้ได้แบบฝึกทักษะที่ดี เมื่อนาไปใช้กับ นักเรียนแล้วจะก่อให้เกิดผลสาเร็จได้เป็นอย่างดี 1.10 ขั้นตอนและหลักในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ วิ ไ ลลั ก ษณ์ บุ ญ ประเสริ ฐ (2551) ได้ ก ล่ า วถึ ง การสร้ า งแบบฝึ ก สรุ ป ได้ ว่ า ในการสร้ า ง แบบฝึกหัดต้องเรียบเรียงภาษาให้เหมาะสมกับนักเรียน คานึงถึงหลักจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้า และการ ตอบสนอง พัฒนาการของเด็ก และลาดับขั้นของการเรียน โดยพิจารณาให้ เหมาะสมกับวัย และ ความสามารถของนักเรียน การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพ สาหรับนาไปใช้กับนักเรียนนั้น ต้องอาศัยหลัก จิตวิทยาในการเรียนรู้ และทฤษฎีที่ถือว่าเป็นแนวความคิดพื้นฐานของการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะเข้า ช่วย เพื่อให้สอดคล้องกับความสนใจ และความสามารถของนักเรียน หลักการสร้างแบบฝึกมี หลักการ ดังต่อไปนี้ 1. ใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของเด็กแต่ละวัย เช่น แบบฝึกสาหรับ วัย 11-16 ปี ชอบอ่าน เรื่อง ยาว ๆ ต้องมีเนื้อหาสาระมากกว่ารูปภาพเหมาะสมกับวัย และความสามารถของผู้เรียน 2. ลาดับขั้นตอนจากง่ายไปหายาก 3. ใช้สานวนภาษาง่ายๆ โดยเฉพาะคาสั่งต้องกระชับและชัดเจน ไม่ใช้ศัพท์ยากเกินไป 4. มีความหมายต่อชีวิต หมายถึง แบบฝึกนั้นมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนฝึก เพื่ออะไร ให้ข้อคิดคติธรรมอะไรแฝงอยู่ 5. แบบฝึกที่ดีไม่ควรมากเกินไป จะทาให้ผู้เรียนเบื่อและไม่สนใจ และไม่ควรมีกิจกรรมซ้าๆ 6. ฝึกให้คิด และสนุกกับการเรียน โดยมีเกมหรือกิจกรรมที่หลากหลาย 7. กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนด้วยรูปภาพ และรูปแบบที่แปลกหลากหลาย และแตกต่าง จากที่ผู้เรียนเคยเห็น เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมพร้อมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 8. อาจศึกษาด้วยตนเองตามลาพัง พธู ทั่งแดง (2554) กล่าวว่า ในการสร้างแบบฝึก ต้องใช้ภาษาที่เหมาะสมกับนักเรียน วัย และความสามารถ ตลอดจนคานึงถึงหลักจิตวิทยาที่ใส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างแบบฝึกตามลาดับ ขั้น ตอน การสอนต้องมีคาชี้แจงมีห ลายรูปแบบ เกี่ยวข้องกับบทเรียนที่เรียนมาแล้ว และส่ งเสริม ความคิด สามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้

13

จากหลั กการสร้ างแบบฝึ กเสริมทักษะดังกล่ าวพอสรุปได้ว่า การที่จะสร้างแบบฝึ กให้ดีมี ประสิทธิภาพครูจะต้องคานึงถึงตัวนักเรียนเป็นสาคัญ โดยดูความพร้อมระดับสติปัญญา ความสามารถ และความเหมาะสมในการใช้สานวนภาษา ตลอดจนเนื้อหาและระยะเวลาในการทาแบบฝึก ซึ่งจะทา ให้นักเรียนสนใจที่จะนาเอาแบบฝึกที่ครูสร้างขึ้นมาแก้ไขข้อบกพร่องหรือส่งเสริมทักษะทางภาให้ดี ยิ่งขึ้น 1.11 ข้อเสนอแนะในการสร้างแบบฝึก สุนันท์ พลับเที่ยง (2551) ได้กล่าวถึง ข้อเสนอแนะในการสร้างแบบฝึก ดังนี้ 1. ในแต่ละบทอาจมีเนื้อหาสรุปย่อ หรือเป็นหลักเกณฑ์ไว้ให้ผู้เรียนได้ศึกษาทบทวนก่อน 2. ต้องให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาก่อนใช้แบบฝึก 3. ควรสร้างแบบฝึกให้ครอบคลุมเนื้อหา และจุดประสงค์ที่ต้องการ และไม่ยากหรือง่าย จนเกินไป 4. คานึงถึงหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของเด็กให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะ และความแตกต่างของ ผู้เรียน 5. ควรศึกษาแนวการสร้างแบบฝึกให้เข้าใจก่อนปฏิบัติการสร้าง อาจนาหลักการผู้อื่นหรือ ทฤษฎี ก ารเรี ย นรู้ ข องนั ก การศึ ก ษา หรื อ นั ก จิ ต วิ ท ยามาประยุ ก ต์ ใ ห้ เ หมาะสมกั บ เนื้ อ หาและ สภาพการณ์ได้ 6. ควรมีคู่มือการใช้แบบฝึก เพื่อให้ผู้สอนคนอื่นนาไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง หากไม่มีคู่มือต้อง มีคาชี้แจงขั้นตอนการใช้ที่ชัดเจน 7. การสร้างแบบฝึกควรพิจารณารูปแบบให้เหมาะสมกับธรรมชาติของแต่ละเนื้อหาวิชา 8. การออกแบบชุดฝึกควรมีความหลากหลาย ไม่ซ้าซาก ไม่ใช้รูปแบบเดียว เพราะจะทาให้ ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย ควรมีแบบฝึกหลายๆ แบบ เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะอย่างกว้างขวาง และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย 9. การใช้ภาพประกอบเป็นสิ่งสาคัญที่จะช่วยให้แบบฝึกนั้นน่าสนใจ 10 แบบฝึกต้องมีความถูกต้อง อย่าให้มีข้อผิดพลาดโดยเด็ดขาด เพราะผู้เรียนจะจาในสิ่งที่ ผิด ๆ ตลอดไป 1.12 ประโยชน์ของแบบฝึกทักษะ ได้มีนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึก ไว้ดังนี้ เนาวรัตน์ ชื่นมณี (2554) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึกทักษะ สรุปได้ว่า แบบฝึกจาเป็น ต่อการเรียนทักษะทางภาษา เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น สามารถจดจาเนื้อหาใน

14

บทเรียน และคาศัพท์ต่าง ๆ ได้คงทน ทาให้เกิดความสนุกสนาน ในขณะเรียนทราบความก้าวหน้าของ ตนเอง สามารถนาแบบฝึกมาทบทวนเนื้อหาเดิมด้วยตนเองได้ และนาไปปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที ซึ่งจะมีผลทาให้ครู ประหยั ดเวลา ค่าใช้จ่าย และลดภาระได้มาก นอกจากนี้แล้วยังทาให้ นัก เรียน สามารถนาภาษา ไปใช้สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2552) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึกทักษะ สรุปได้ดังนี้ 1. ทาให้นักเรียนได้ฝึกทักษะจากแบบฝึกหัดที่ครูสร้างขึ้นมา ซึ่งตรงกับเนื้อหาที่ครูทาการสอน 2. นักเรียนสามารถนาความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอนมาทดสอบการเรียนรู้ของตนเอง ว่าเกิดจากการเรียนรู้ 3. ใช้สาหรับประเมินผลการสอบเป็นรายบุคคล หลังจากได้ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน แล้ว โดยผลงานจากแบบฝึกหัดที่ทามาส่งครูทาให้ทราบว่านักเรียนเข้าใจมากน้อยเพียงใด 4. ใช้แบบฝึกหัดสาหรับทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้ว 1.13 การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ โสภณ นุ่มทอง (2551) ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อผลิตสื่อขึ้นมาใช้ประกอบการเรียนการสอนไม่ว่าจะ เป็นชุดการสอน บทเรียนสาเร็จรูป หนังสือแบบหน่วยหรือชุดฝึกก็ตามควรจะได้ประเมินประสิทธิภาพ ของสื่อว่าเหมาะสมที่จะนาไปใช้ต่อไปหรือไม่ หรือสื่อนี้จะส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ ตามจุดประสงค์ที่กาหนดไว้หรือไม่ หรืออย่างไร จะได้หาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป การหา ประสิทธิภาพของสื่อมีขั้นตอนโดยทั่วไป ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นทดลองใช้กับนักเรียนคนเดียว พยายามคัดเลือกนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถ และมีผลการเรียนวิชานั้นอยู่ในระดับกลาง นามาทดลองใช้ก่อนเพื่อหาข้อบกพร่อง เกี่ยวกับถ้อยคา การใช้ภาษา ความชัดเจนของการนาเสนอ เนื้อหา และการสื่อความหมายต่างๆ เพื่อจะได้นาไป ปรับปรุงในเบื้องต้นก่อนที่จะนาไปทดลองใช้ในขั้นที่ 2 ขั้นที่ 2 เมื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่ได้จากการทดลองในขั้นที่ 1 แล้ว ควรจะนาไปทดลองอีกครั้ง กับนักเรียนที่มีความสามารถในการเรียนระดับกลาง จานวน 3-5 คน โดยให้นักเรียนได้ทดลอง เรียน จริง ๆกิจกรรมการเรียนการสอนเหมือนจริงทุกอย่าง เพียงแต่เป็นกลุ่มเล็กกว่าห้องเรียนจริงเท่านั้น เป็นการทดลองหาข้อบกพร่องในด้านต่าง ๆ ของสื่ออีกครั้งหนึ่งเพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป ขั้นที่ 3 เป็นขั้นการใช้สื่อในห้องเรียนจริง ๆ ตามปกติซึ่งเป็นการประเมินประสิทธิภาพ ของ สื่อว่าเชื่อถือได้หรือไม่ ซึ่งอาจดาเนินการได้ 2 วิธีคือ 1. โดยการทดสอบความแตกต่างของคะแนนจากก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ค่าที

15

2. ใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 หรือ 90/90 เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 หรือ 90/90 เป็นเกณฑ์ การเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการประเมินในกระบวนการเรียนการสอนกับ คะแนนที่ได้จากการ ทดลองสุดท้าย หลังจากเรียนจบบทเรียนหรือจบเรื่องแล้ว การตั้งเกณฑ์ 80/80หรือ 90/90 นั้นอยู่ใน ดุลยพินิจว่านักเรียนของเรานั้นมีความสามารถในการเรียนระดับใด และควรจะตั้ง เกณฑ์เท่าไร ถ้า นักเรียนดีมากจะตั้งเกณฑ์ 90/90 ก็ได้ แต่ถ้านักเรียนค่อนข้างดีอาจตั้งเกณฑ์ไว้ 80/80 อาจสูงพอก็ได้ แบบฝึกที่ใช้ในการสอนให้เกิดความแม่นยา รวดเร็ว และตรงจุดประสงค์ จะมีลักษณะคล้าย แบบทดสอบย่อยจะต่างกันที่ปริมาณของงานหรือข้อปัญหา แบบฝึกแต่ละแบบจะกาหนดข้อปัญหา มาก น้อยขึ้นอยู่กับจานวนเนื้อหาและระดับชั้นของผู้เรียนซึ่งแตกต่า งไป แบบฝึกหนึ่งอาจจะมีข้อ ปัญหา 10 20 หรือ 30 หรือ 40 แล้วแต่กรณี การฝึกจะต้องฝึกเป็นประจาโดยให้ ทาในเวลาสั้น ๆ อาจจะเริ่มจาก 30 วินาที 1 นาทีหรือ 2-3 นาที แล้วบันทึกผลที่ทาได้ถูกต้องและผิดพลาด เมื่อผู้เรียน สามารถทาได้ ถูกต้องและถึงเกณฑ์ที่กาหนดเมื่อไร ก็ให้เรียนในเรื่องอื่นต่อไปได้ ดังนั้น การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ ทาได้โดยนาแบบฝึกเสริมทักษะที่สร้างขึ้น ไปทดลองใช้กับนักเรียนเพื่อหาข้อบกพร่องของแบบฝึกและนาไปสู่การแก้ไข จากนั้นนาแบบฝึกที่ แก้ไขไปใช้จริงกับนักเรียนที่ต้องการแก้ไขปัญหา แล้วนาข้อมูลมาตรวจสอบเพื่อหาประสิทธิภาพโดย ใช้เกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 หรือ 90/90 ขึ้นอยู่กับความสามารถของนักเรียนที่เก็บข้อมูล 1.14 ผลสัมฤทธิ์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Achievement) เป็นความสามารถของนักเรียนในด้านต่างๆ ซึ่ง เกิด จากนักเรียนได้รับประสบการณ์ทั้งทางตรง และทางอ้อมจากกระบวนการเรียนการสอนของครู การ สร้างเครื่องมือวัดให้มีคุณภาพนั้น ได้มีนักการศึกษาให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ ดังนี้ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2555) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ขนาดของความสาเร็จที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอน ปราณี กองจินดา (2556) กล่าว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถหรือ ผลสาเร็จที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์ เรียนรู้ ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และยังได้จาแนกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตาม ลักษณะของ วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดจากกระบวนการเรียนการ สอนโดยใช้ ค วามสามารถทางสติ ปั ญ ญาด้ า นความรู้ ความจ า ความเข้ า ใจ ทั ก ษะกระบวนการ

16

วิทยาศาสตร์ และการนาไปใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาสาระวิชาวิทยาศาสตร์ สามารถวัดได้โดยการแสดง ออกมาทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย 1.15 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ภพ เลาหไพบูลย์ (2551) ได้จาแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสติปัญญา หรือความรู้ความคิด ตามแนวของลี โ อโพลด์ อี คลอฟเฟอร์ (Leopold E Klopfer) แห่ ง มหาวิ ท ยาลั ย พิ ต ส์ เ บอร์ ก (University of Pittsburgh) 1. ความรู้ความจา (knowledge) 2. ความเข้าใจ (comprehension) 3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process skills) 4. การนาความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ (application) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ด้านความรู้ความจา หมายถึง ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่เคยเรียนรู้มาแล้ว เกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง ศัพท์นิยาม มโนทัศน์ ข้อตกลง การจัดประเภท เทคนิควิธีการ หลักการ กฎ ทฤษฎี และ แนวคิดที่สาคัญ ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ นักเรียนที่มีความสามารถในด้านนี้ จะแสดงออก โดยสามารถให้คาจากัดความหรือนิยามเล่าเหตุการณ์ จดบันทึก เรียกชื่อ อ่านสัญลักษณ์ และระลึกถึง ข้อสรุปได้ การวัดพฤติกรรมด้านความรู้ความจาลักษณะของข้อสอบจะถามเกี่ยวกับความรู้ความจาไม่ เกินร้อยละยี่สิบของข้อสอบทั้งหมด 2. ด้านความเข้าใจ หมายถึง ความสามารถในการอธิบาย แปลความ ตีความ สร้าง ข้อสรุป ขยายความ นักเรียนที่มีความสามารถในด้านนี้จะแสดงออกโดยสามารถเปรียบเทียบแสดง ความสั ม พั น ธ์ อธิ บ าย ชี้ แ จง จ าแนกเข้ า หมวดหมู่ ยกตั ว อย่ า ง ให้ เ หตุ ผ ล จั บ ใจความ เขี ย น ภาพประกอบ ตัดสิ น เลื อก แสดงความคิดเห็น จัดเรียงล าดับ อ่ านกราฟแผนภูมิและแผนภาพได้ พฤติกรรมความเข้าใจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ 1. ความสามารถอธิบายความเข้าใจต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง 2. ความสามารถจาแนกหรือระบุความรู้ได้ เมื่อปรากฏอยู่ในรูปหรือสถานการณ์ใหม่ 3. ความสามารถแปลความรู้จากสัญลักษณ์หนึ่งไปสู่อีก สัญลักษณ์หนึ่ง การวัดพฤติกรรม ความเข้าใจลักษณะของข้อสอบจะถามให้นักเรียนอธิบายหรือบรรยายความรู้ ต่าง ๆ ด้วยคาพูดของ ตั ว เอง หรื อ ให้ ร ะบุ ข้ อ เท็ จ จริ ง มโนทั ศ น์ หลั ก การ กฎ หรื อ ทฤษฎี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สถานการณ์ ที่ กาหนดให้ หรื อให้ แปลความหมายสถานการณ์ที่กาหนดให้ ซึ่งอาจอยู่ในรูปข้อความ สั ญลั กษณ์ รูปภาพ หรือแผนภาพ เป็นต้น

17

3. ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สาหรับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ประกอบด้วยพฤติกรรมย่อย ดังต่อไปนี้ 1. การสังเกตและการวัด ประกอบด้วย การสังเกตสิ่งของและปรากฏการณ์ต่างๆ การ บรรยายสิ่งของที่สังเกตได้โดยใช้ภาษาที่เหมาะสม การวัดสิ่งของและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ การเลือกเครื่องมือวัดที่เหมาะสม การประมาณค่าจากการวัดและการยอมรับขีดจากัดของความ ถูกต้องของ เครื่องมือที่ใช้ 2. การมองเห็นปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา ประกอบด้วย การมองเห็นปัญหา การ ตั้งสมมติฐาน การเลือกวิธีทดสอบสมมติฐานที่เหมาะสม การออกแบบทดลองที่เหมาะสมสาหรับ ทดสอบสมมติฐาน 3. การตีความหมายข้อสรุปและการสรุป ประกอบด้วย การจัดกระทากับข้อมูลที่ได้ จากการทดลอง การนาเสนอข้อมูล การแปลความหมายของข้ อมูล ที่ได้จากการทดลอง และการ สังเกตต่างๆ การตีความและการขยายความจากข้อมูล การประเมินสมมติฐานภายใต้ขอบเขตของ ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จากการทดลอง การสร้ า งข้ อ สรุ ป กฎหรื อ หลั ก การที่ เ หมาะสมอย่ า งมี เ หตุ ผ ลตาม ความสัมพันธ์ที่พบ 4. การสร้างการทดสอบ และการปรับปรุงแบบจาลอง ประกอบด้วย การตระหนัก ถึง ความจาเป็นและประโยชน์ของแบบจาลอง การสร้างแบบจาลองเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อสรุ ป กับ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม การระบุปรากฏการณ์ และหลั กการต่าง ๆ ที่ สามารถ อธิบายได้ด้วยแบบจาลอง การสร้างสมมติฐานใหม่ ๆ จากแบบจาลอง การแปลความหมาย และการประเมินผลการทดลอง เพื่อตรวจสอบแบบทดลอง การปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมแบบจาลอง 5. ด้านการนาความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ หมายถึง ความสามารถ ในการนาความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ข้อสอบวัดพฤติกรรม ด้านการนาไปใช้ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะแบบยกสถานการณ์ใหม่ ๆ หรือปัญหาใหม่มาให้นัก เรียน แก้ปัญหา ซึ่งนักเรียนต้องมีความเข้าใจในแนวคิดหลักที่เกี่ยวกับปัญหาหรือสถานการณ์ รวมทั้งต้องใช้ ความสามารถระดับสูง ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่า ตลอดจนใช้ยุทธวิธี ต่างๆ ในการแก้ปัญหานั้น การประเมินผลการนาความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ด้วย ข้อสอบแบบเลือกตอบ ไม่สามารถวัดความสามารถที่แท้จริงของนักเรียนได้โดยทั่วไป ครูควรประเมิน จากการปฏิบัติกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ เช่น การทาโครงการวิทยาศาสตร์ กิจกรรมการแก้ปัญหา เป็นต้น

18

จากการวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ข้ า งต้ น สรุ ป ได้ ว่ า ผลที่ เ กิ ด จาก กระบวนการ เรียนการสอนที่จะทาให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือประสบการณ์จาก การเรียนรู้ สาหรับการวัดผลและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นคะแนนจากผล การเรียนรู้ของ นักเรียนที่ใช้ความสามารถทางสติปัญญา ได้แก่ ด้านความรู้ ความจา ความเข้าใจ การ นาไปใช้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 1.16 ความพึงพอใจ 1. ความหมายของความพึงพอใจ นักการศึกษาและนักวิชาการได้ให้ความหมายของความพึงพอใจ ไว้ดังนี้ จาปา วัฒนศิรินทรเทพ (2550) กล่าวว่าความพึงพอใจ หมายถึงความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ การแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยแสดงพฤติกรรมออกมา 2 ลักษณะ คือ ทางบวก ซึ่งแสดงในลักษณะความชอบ ความพึงพอใจ ความสนใจ เห็นด้วย ทาให้อยากทางาน หรือปฏิบัติ กิจกรรม อีกลักษณะหนึ่งคือ ทางลบ ซึ่งจะแสดงออกในลักษณะของความเกลียด ไม่พึงประสงค์ไม่ พอใจ ไม่ส นใจไม่เห็ น ด้ว ย อาจทาให้ บุคคลเกิดความเบื่อหน่า ย หรือต้องการหนีห่ าง จากสิ่ งนั้น นอกจากนี้ความพึงพอใจอาจจะแสดงออกในลักษณะความเป็นกลางก็ได้เช่น รู้สึกเฉยๆ ไม่รักไม่ชอบ ไม่น่าสนใจในสิ่งนั้นๆ เป็นต้น สมพิศ ไชยเสนา (2550) กล่าวว่าความพึงพอใจ คือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ความรู้สึกพึงพอใจเกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้รับสิ่งที่ตนต้องการและทาให้บุคคลมีพฤติกรรม ต่อสิ่งเร้านั้นใน เชิงบวกหรือเป็นไปตามเป้าหมายที่ตนเองต้องการ หรือไม่มีความรู้สึกขัดแย้งกับสิ่งเหล่านั้น และระดับ ความรู้สึกถ้ามีความเครียดมากจะทาให้เกิดความไม่พึงพอใจในการทางาน ความพึงพอใจเปลี่ยนแปลง ไปตามเวลาและสถานการณ์แวดล้อม จากความหมายของความพึงพอใจดังกล่าว พอสรุปได้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก นึกคิด ความเชื่อ การแสดงความรู้สึกความคิดเห็นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือทัศนคติของบุคคล ที่มีต่องาน หรือกิจกรรมซึ่งสามารถเป็นไปได้ทั้งทางบวกและทางลบ ระดับความพึงพอใจของแต่ละบุคคลย่อมมี ความแตกต่างกัน แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ นักการศึกษาในสาขาต่างๆ ทาการศึกษาค้นคว้าและ ตั้งทฤษฎีที่เกี่ยวกับการความพึงพอใจ ไว้ดังนี้ มาสโลว์ (Maslow, 1962, อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี , 2554) กล่าวว่า ความพึงพอใจ เป็น ทฤษฎีที่กล่าวถึง ความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์อย่างเป็นลาดับขั้นกล่าวคือ “มนุษย์ เรามีความต้องการอยู่เสมอ เมื่อความต้องการได้รับการตอบสนอง หรือมีความพึงพอใจต่อสิ่งใดสิ่ง

19

หนึ่งแล้ว ความต้องการด้านอื่นก็จะเกิดขึ้นอีก ความต้องการของคนเราอาจจะซ้าซ้อน ความต้องการ หนึ่งยังไม่หมดอาจจะเกิดความต้องการหนึ่งเกิดขึ้นอีกได้” หากความต้องการพื้นฐานของ มนุษย์ได้รับ การตอบสนองอย่างเพียงพอ ก็จะเกิดแรงจูงใจที่สาคัญต่อการเกิดพฤติกรรมที่ต้องการให้สังคมยอมรับ และสามารถพัฒนาตนไปสู่ขั้นสูงขึ้นได้ นาแนวคิดนี้มาจัดการเรียนในการสอน ดังนี้ 1. การเข้าใจถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์สามารถให้เข้าใจพฤติกรรมของบุค คลได้ เนื่องจากพฤติกรรมเป็นการแสดงออกของความต้องการของบุคคล 2. การจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีจาเป็นต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เขา ต้องการแสดงเสียก่อน 3. ในกระบวนการเรียนการสอน หากครูสามารถหาได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการ อยู่ ในระดับขั้นใด ครูสามารถใช้ความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนนั้นเป็นแรงจูงใจช่วยให้ผู้เรียนเกิด การ เรียนรู้ได้ดี 4. การช่วยให้ผู้เรียนได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนอย่างเพียงพอการให้ อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้จะช่วยส่งเสริม ให้ ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง แมคเกรเกอร์ ( McGreger, 1960,p. 33-58 อ้ า งถึ ง ใน เกริ ก ฤทธิ์ เส่ ง มู ล , 2554) ได้ ศึ ก ษา ธรรมชาติของมนุษย์และได้อธิบายลักษณะของมนุษย์ว่า มี 2 ประเภท คือ 1. คนประเภท เอกซ์ (x) มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1.1 มีสัญชาติญาณที่จะหลีกเลี่ยงการทางานทุกอย่างเท่าที่จะทาได้ 1.2 มีความรับผิดชอบน้อย 1.3 ชอบให้สั่งการ 1.4 ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการปรับปรุงองค์การ 1.5 มีความปรารถนาให้ตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายและความปลอดภัย 2. คนประเภท วาย (y) มีลักษณะดังต่อไปนี้ 2.1 ชอบทางาน เห็นว่าการทางานเป็นของสนุกเหมือนการเล่นหรือการพักผ่อน 2.2 มีความรับผิดชอบในการทางาน 2.3 มีความทะเยอทะยานและกระตือรือร้น 2.4 สั่งการตนเองและสามารถคุมตนเองได้ 2.5 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการปรับปรุงงานและองค์การพัฒนา

20

เฮอร์ ซ เบอร์ ก (HerZberg, 1959, p. 113-115 อ้ า งถึ ง ใน เกริ ก ฤทธิ์ เส่ ง มู ล , 2554) ได้ ทาการศึกษาค้น คว้า ทฤษฎี ที่ เป็ น ข้ อ มูล เหตุที่ ทาให้ เ กิด ความพึ ง พอใจ เรียกว่า the motivation hygiene theory ทฤษฎีนี้ได้กล่าวถึงปัจจัยที่ทาให้เกิดความพึงพอใจในการทางาน 2 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยกระตุ้น (motivation factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับการงานซึ่งมีผลก่อให้เกิด ความ พึงพอใจในการทางาน เช่น ความสาเร็จของงาน การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะของงาน ความ รับผิดชอบ ความก้าวหน้าในตาแหน่งการงาน เป็นต้น 2. ปัจจัยค้าจุน (hygiene factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในการทางานและ มี หน้าที่ให้บุคคลเกิดความพึงพอใจในการทางาน เช่น เงินเดือน โอกาสที่จะก้าวหน้าในอนาคต สภาพ การทางาน เป็นต้น จากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจที่กล่าวมาแล้วนั้น สรุปได้ว่า ความพึง พอใจ เป็นความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์เกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ซึ่งมนุษย์เรามีความ ต้องการอยู่เสมอไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อความต้ องการได้รับการตอบสนองหรือพึงพอใจอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้ ว ความต้องการสิ่ ง อื่น ๆ ก็จ ะเกิดขึ้นมาอี ก เมื่อนามาใช้ใ นการจั ด กิจ กรรมการเรีย นการสอน ผลตอบแทนภายในหรือรางวัลภายใน เป็นผลด้านความรู้สึกของผู้เรียนที่เกิดแก่ตัวผู้เรียนเอง เมื่อเกิด ความพึงพอใจจะเกิดผลที่ดีต่ อการเรียนรู้ผ ลดีห รือน่าพอใจ นาไปสู่ ความพึงพอใจทาให้ งานที่ทา ประสบผลสาเร็จ 2. องค์ประกอบของความพึงพอใจ นักการศึกษาได้กล่าวถึงองค์ประกอบของความพึงพอใจไว้ดังนี้ สุนันทา เลาหนันทน์ (2541, อ้างถึงใน ลัคณา ทองศรี, 2555) มีความเห็นว่า องค์ประกอบที่ มีส่วนในการจูงใจบุคคลให้มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ 1. การจัดงานที่ท้าทายความสามารถให้ทาแต่ต้องคานึงถึงอยู่เสมอว่า งานที่มีลักษณะ ท้า ทายต่อบุคคลหนึ่งอาจจะไม่เป็นสิ่งท้าทายความสามารถของอีกบุคคลหนึ่งได้ 2. การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการวางแผน หากบุคคลถูกขอร้องให้ช่วยในการวางแผน และกาหนดสภาวะแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ก็จะเป็นแรงจูงใจในการทางานทางหนึ่ง 3. การให้การยกย่องและสถานภาพ บุคคลทุกคนไม่ว่าอยู่ในฐานะอะไร ต้องการได้รับ การ ยอมรับจากกลุ่ม และจากผู้บังคับบัญชาเหมือนกันหมดทุกคน แต่การยกย่องชมเชยต้องทาด้วย ความ จริงใจ และผลของการปฏิบัติงานจะต้องสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย 4. การให้ความรับผิดชอบมากขึ้นและการให้อานาจเพิ่มขึ้น การได้เลื่อนขั้นเลื่อนตาแหน่ง การให้อานาจและการมอบหมายความรับผิดชอบ เป็นเครื่องมือในการจูงใจคนปฏิบัติงานได้อย่ างมี ประสิทธิภาพ

21

5. การให้ความมั่นคงและความปลอดภัย ความกลัวในสิ่งต่างๆ เช่น การไม่ให้งานทาการ สูญเสียตาแหน่ง เป็นสิ่งที่แฝงอยู่ภายในจิตใจของคนความต้องการในเรื่องความมั่นคงปลอดภัย จึง ส าคั ญ แต่ ต้ อ งค านึ ง ด้ ว ยว่ า ความมั่ น คงปลอดภั ย มากน้ อ ยเท่ า ใด จึ ง เป็ น ตั ว กระตุ้ น ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 6. การให้ความเป็นอิสระในการทางาน ทุกคนปรารถนาจะมีอิสระในการทางานด้วยตัวเขา เอง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง การบอกทุกอย่างว่าควรทาอย่างไรจะเป็นการทาให้ แรงจูงในต่าลงได้ 7. การเปิดโอกาสให้เจริญก้าวหน้าทางด้านส่วนตัว ความปรารถนาที่จะก้าวหน้าในทางด้าน อาชีพเป็นเป้าหมายของทุกคนในองค์การ การได้มีโอกาสเข้าร่วมการฝึกอบรมการศึกษาดูงาน การ หมุน เวีย นงาน และการสร้ างประสบการณ์จากการใช้เครื่ อ งมื อต่า งๆ ล้ ว นเป็นแรงจูงใจใน การ ปฏิบัติงาน 8. การให้ เ งิ น และรางวั ล ที่ เ กี่ ย วกั บ เงิ น การวิ จั ย ในปั จ จุ บั น ยั ง สรุ ป ได้ ไ ม่ ชั ด เจนเกี่ ย วกั บ ความสาคัญของเงินที่มีต่อแรงจูงใจ เพียงแต่ชี้แนะว่าเงินเป็นสิ่งที่ทาให้เกิดความไม่พอใจมากกว่าที่จะ เป็นแรงจูงใจ แต่คนส่วนมากก็ยังให้คุณค่าเงินไว้สูง 9. การให้โอกาสแข่งขัน การแข่งขันเป็นแรงจูงใจสาคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับผู้บริหาร ซึ่ง ต้องการความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน ทาให้เป็นแรงกระตุ้นที่จะแสวงหาแนวคิดใหม่ๆ มาใช้ใน การ ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ล็อค (Locke, 1976, อ้างถึงใน ลัคณา ทองศรี, 2555) ได้เสนอองค์ประกอบที่ส่งผล ต่อความ พึงพอใจไว้ 9 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. ตัวงาน ได้แก่ ความสนใจในตัวงาน ความแปลกของงาน โอกาสเรียนรู้หรือศึกษางาน ปริมาณงาน โอกาสที่จะทางานนั้นสาเร็จ การควบคุมการทางานและวิธีการทางาน 2. เงินเดือน ได้แก่ จานวนเงินที่ได้รับความยุติธรรมและความทัดเทียมกันของรายได้และ วิธีการจ่ายเงินขององค์การ 3. การเลื่อนตาแหน่ง ได้แก่ โอกาสในการเลื่อนตาแหน่งสูงขึ้น ความยุติธรรมในการเลื่ อน ตาแหน่งขององค์การ และหลักในการพิจารณาเลื่อนตาแหน่ง 4. การได้รับการยอมรับนับถือ ได้แก่ การได้รับคายกย่องชมเชยในผลสาเร็จของงาน การ กล่าววิจารณ์การทางาน และความเชื่อถือในผลงาน 5. ผลประโยชน์เกื้อกูล ได้แก่ บาเหน็จบานาญตอบแทน การให้สวัสดิการการรักษาพยาบาล การให้วันหยุดงาน และการได้รับค่าใช้จ่ายระหว่างลาพักผ่อน

22

6. สภาพการทางาน ได้แก่ ชั่วโมงการทางาน ช่วงเวลาพัก เครื่องมือเครื่องใช้ในการทางาน อุณหภูมิการถ่ายเทอากาศ ทาเลที่ตั้งและรูปแบบการก่อสร้างของอาคารสถานที่ทางาน 7. การนิ เทศงาน ได้แก่การได้รับความเอาใจใส่ ดูแลช่ว ยเหลื อแนะนาจากผู้ บังคับบัญชา ระดับสูงขึ้นไปด้วยการมีเทคนิคและกลวิธีที่ดีการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและการมีทักษะในการนิเทศ งาน ของผู้บริหาร 8. เพื่อนร่วมงาน ได้แก่การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการมีมิตรภาพอันดีต่อกัน ของเพื่อนร่วมงาน 9. องค์การและการบริ ห ารงาน ได้แก่ ความเอาใจใส่ บุคลากรในองค์การ เงินเดือนและ นโยบายในการบริหารงานขององค์การ จากองค์ประกอบของความพึงพอใจดังกล่าว พอสรุปได้ว่า องค์ประกอบของความพึงพอใจมี ความหลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างกันไป 3. การวัดความพึงพอใจ นักวิชาการได้กล่าวถึงการวัดความพึงพอใจ ไว้ดังนี้ ภณิดา ชัยปัญญา (2542, อ้างถึงใน ลัคณา ทองศรี, 2555) กล่าวว่า การวัดความพึงพอใจนั้น สามารถทาได้หลายวิธีดังต่อไปนี้ 1. การใช้แบบสอบถาม โดยผู้ ออกแบบสอบถาม ต้องการทราบความคิดเห็ นซึ่งสามารถ กระทาได้ในลักษณะกาหนดคาตอบให้เลือกหรือตอบคาถามอิสระ คาถามดังกล่าว อาจถามความ พอใจในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้ตอบทุกคนมาเป็นแบบแผนเดียวกัน มักใช้ในกรณีที่ต้องการข้อมูล กลุ่ม ตัวอย่างมากๆ วิธีนี้นับเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการวัดทัศนคติรูปแบบของแบบสอบถามจะใช้ มาตรวัดทัศนคติซึ่งที่นิยมใช้ในปัจจุบันวิธีหนึ่ง คือ มาตราส่วนแบบลิเคิร์ท ประกอบด้วยข้อความที่ แสดงถึงทัศนคติของบุคคลที่มี ต่อสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีคาตอบที่แสดงถึงระดับความรู้สึ ก 5 คาตอบ เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด 2. การสัมภาษณ์ เป็นวิธีการที่ผู้วิจัยจะต้องออกไปสอบถามโดยการพูดคุย โดยมีการเตรียม แผนงานล่วงหน้า เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด 3. การสังเกต เป็นวิธีวัดความพึงพอใจ โดยการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลเป้าหมายไม่ว่าจะ แสดงออกจากการพูดจา กิริยา ท่าทาง วิธีนี้ต้องอาศัยการกระทาอย่างจริงจัง และสังเกตอย่างมี ระเบียบแบบแผน วิธีนี้เป็นวิธีการศึกษาที่เก่าแก่และยังเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ชวลิต ชูกาแพง (2551) กล่าวว่า การวัดความพึงพอใจ หรือการวัดจิตพิสัย สามารถกระทา ด้วยวิธีการต่อไปนี้

23

1. การสังเกต (observation) โดยการสังเกตคาพูด การกระทา การเขียนของนักเรียนที่มีต่อ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ครูต้องการวัด 2. การสั มภาษณ์ (interview) โดยการพูด คุยกันนักเรียนในประเด็นที่ครูอยากรู้ อาจเป็ น ความรู้สึก ทัศนคติของนักเรียน เพื่อนาสิ่งที่นักเรียนพูดออกมาเกี่ยวกับลักษณะจิตพิสัยของนักเรียนได้ 3. การใช้แบบวัดมาตราส่ว นประมาณค่า (rating scale) ในการวัดความพึงพอใจนิยมใช้ แบบวัดของลิเคิร์ท (likert’s method) เพราะสร้างได้ง่าย มีความเชื่อมั่นสูงและสามารถพัฒนาเพื่อ วัดความรู้สึกได้หลากหลาย โดยการสร้างเครื่องมือวัดเจตคติแบบนี้เป็นวิธีประเมินน้าหนักความรู้สึก ของข้อความ หลังจากที่นาเครื่องมือไปสอบถามแล้วการสร้างข้อความที่แสดงความรู้สึกต่อเป้าเจตคติ จะต้องให้ครอบคลุ มและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อความจะเป็นไปในทางบวกหมดหรือลบหมด หรือ ผสมกันก็ได้โดยมีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้ 3.1. เลือกชื่อเป้าเจตคติ เช่น เจตคติต่ออาชีพครูโดยเป้าของเจตคติอาจจะเป็นคน วัตถุ สิ่งของ องค์กร สถาบัน อาชีพ วิชา ฯลฯ แล้วแต่จะเลือก ยิ่งแคบยิ่งดียิ่ งกาหนดช่วงเวลาก็จะ ส่งผลให้ การแปลผลมีความหมายดีขึ้น 3.2. เขียนข้อความแสดงความรู้สึกต่อเป้าเจตคติโดยวิเคราะห์ให้ครอบคลุมลักษณะ ข้อความที่แสดงความเชื่อและความรู้สึกต่อเป้าที่ต้องการ ไม่เป็นการแสดงถึงความจริง มีความชัดเจน สั้น ให้ข้อมูลพอตัดสินได้ไม่คลุม ทั้งทางบวกและทางลบ ควรหลีกเลี่ยงคาปฏิเสธซ้อน ข้อความเดียว ควรมีความเชื่อเดียว 3.3. การตรวจสอบข้อความ เป็นการตรวจสอบเพื่อดูให้แน่ชัดว่า ข้อความนั้นเขียน ได้ เหมาะสมหรือไม่ การตอบให้ตอบว่า ชอบ-ไม่ชอบ ดี-ไม่ดีเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย ควรใช้ 3 มาตรา 4 มาตรา หรือ 5 มาตรา เช่น ชอบมาก ดีมาก เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่ชอบ ไม่ดีไม่แน่ใจ เป็นต้น 3.4. การให้ น้ าหนั ก มี 3 วิ ธี คื อ วิ ธี ห าค่ า น้ าหนั ก ซิ ก มา วิ ธี ห าค่ า น้ าหนั ก คะแนน มาตรฐาน วิธีหาค่าน้าหนักแบบพลการ แต่ในระยะหลังลิเคิร์ทแนะให้ใช้วิธีกาหนดตัวเลขได้เลย โดย ให้ตัวเลข เรียงค่าตามลาดับความสาคัญของตัวเร้า จะใช้ 0 1 2 3 4 หรือ 1 2 3 4 5 หรือ -2 -1 0 1 2 ก็ได้ทั้ง 3 แบบนี้ความสัมพันธ์เป็น 1.00 คือตัวเดียวนั่นเอง 3.5. การตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น โดยต้องนาข้อความไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง เมื่อ ทดสอบเสร็จแล้วนามาตรวจให้คะแนนแต่ละข้อแล้วนามาหาค่าสัมพันธ์ (rxy) ระหว่างคะแนน รายข้อ กับคะแนนรวม และทดสอบนัยสาคัญทางสถิติโดยกาหนด α = .05 หรือ α = .01 3.6. การ จัดทาแบบสอบถาม เมื่อได้ข้อคาถามที่มีอานาจจาแนกเข้าเกณฑ์แล้วพิจารณา ว่าจะกาหนดกี่ข้อตาม หลักการถ้าข้อความมีคุณภาพสูงมากจะใช้ 10–15 ข้อ แต่โดยทั่วไปแล้ว จะมี ตั้งแต่ 20 ข้อขึ้นไป

24

เพราะถ้าจานวนน้อยข้อ ความเชื่อมั่นมักจะมีค่าน้อยความเที่ยงตรงก็ไม่ดีอาจ เป็นเพราะข้อความ แสดงความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นต่อเป้าไม่ครอบคลุมทุกอย่างในเป้า แบบสอบถามบางฉบับจึงมีเป็น 100 ข้อ การให้จานวนข้อควรคานึงถึง กลุ่มตัวอย่าง ระดับอายุและความสามารถ ในการอ่าน ระดับ เด็กเล็ก จึงไม่ควรมีมากข้อเกินไป 3.7. การตรวจให้คะแนน การให้คะแนนให้ตามมาตราที่กาหนดแต่ละข้อ ถ้าเป็นข้อความ ให้ เปลี่ ย นมาเป็ น ตั ว เลข ถ้ า เป็ น ตั ว เลขแล้ ว ก็ น าตั ว เลขที่ ผู้ ต อบเลื อ กมารวมกั น กรณี ข้ อ ความเป็ น ความรู้สึกทางลบจะต้องกลับตัวเลขกันกับข้อที่ข้อความเป็นทางบวก การแปลคะแนนจะแปลจาก ผลรวมของทุกข้อก็ได้ เช่น แบบทดสอบมี 10 ข้อ มี 4 มาตรา สอบเสร็จแล้วหาคะแนนเฉลี่ย ได้ 25.0 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 5.514 คะแนน จะต้องเทียบคะแนนจากคนได้ต่าสุด 10 คะแนน สูงสุด 40 คะแนน แต่ถ้าอยากแปลผลให้เป็นตัวเลขมาตรา 4 ระดับ ก็ให้เอาจานวนข้อไป หารคะแนนเฉลี่ยและคะแนนส่วนเบี่ ยงเบนมาตรฐาน ผลออกมาจะเหมือนกับคะแนนของคนสอบ เพียงข้อเดียว นั่นคือ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้ได้คะแนนเฉลี่ย 2.50 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.5514 คะแนน 3.8. การหาคุณภาพอื่นๆ เช่น การหาความเชื่อมั่น หาได้โดยสอบซ้า (test-retest) แบบสอบคู่ ข นาน (parallel forms) แบบหาความคงเส้ น คงวาภายใน (internal consistency) สาหรับการหาค่าความเชื่อมั่นแบบหาความคงเส้นคงวาภายในนั้นจะสอบเพียงครั้งเดียว แล้วหาค่า ความแปรปรวนของแต่ละข้อและความแปรปรวนทั้งฉบับ โดยหาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ แอลฟา (alpha coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) จากการวัดความพึงพอใจดังกล่าว พอสรุปได้ว่า การวัดความพึ ง พอใจของบุ ค คล คือการตรวจสอบความรู้สึ ก ของบุ ค คลที่มี ต่ อสิ่ งใดสิ่ ง หนึ่ ง การ ตรวจสอบต้องมีระบบแบบแผนที่เตรียมไว้ ล่วงหน้าใช้เครื่องมือวัดหลายแบบ จะสังเกตว่านักวิชาการ ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงวิธีการใช้ เครื่องมือ ที่ใกล้เคียงกันคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบ สังเกต 2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อัมพร พลสิทธิ์ สุธี พรรณหาญ และศักดิ์ สุวรรณฉาย (2556) ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บูรณาการกับเทคนิคการรู้คิด ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ย นเปรี ย บเที ย บกั บ เกณฑ์ร้ อ ยละ 70 พบว่า ผลสั มฤทธิ์ทางการเรียนของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่

25

.05 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บูรณาการ กับเทคนิคการรู้คิดมีการพัฒนาสูงขึ้น โดยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรี ยนสูงกว่าก่อน เรียนและระหว่างเรียน พรเพ็ญ จันทรัตน์ (2556 : บทคัดย่อ) ได้ทาการศึกษา การพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระ การ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงาน โดยใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สาหรับ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดอ่าวบัวการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้าง และหา ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพลังงานของนักเรียนทั้งก่อนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรี ย นวัดอ่าวบัว จานวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึ กษาครั้งนี้ คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงาน (2) แบบฝึกทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงาน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงาน (3) แบบ วั ด ความพึ ง พอใจของ นั ก เรี ย นที่ มี ต่ อ แบบฝึ ก ทั ก ษะกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ เป็ น แบบ มาตราประมาณค่า 5 ระดับ และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาประสิทธิภาพของแบบฝึก ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธี E1/E2 การเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละและการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก ทักษะกระบวนการทางวิท ยาศาสตร์ โดยใช้ค่าเฉลี่ ย (X) ส่ ว นเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลของ การศึกษา พบว่า (1) ประสิทธิภาพของแบบฝึก ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียน ชั้น ประถมศึกษาปี ที่ 3 มีป ระสิ ทธิภ าพเท่ากับ 84.09/83.33 (2) ผลสั มฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการ สอนโดยใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 25.75 (3) นักเรียนมีความพึงพอใจที่ดีต่อแบบฝึก ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงาน อยู่ใน ระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42 นภัสสร ชะปูแสน ทัศนา ประสานตรี และมนตรี อนันตรักษ์ (2557) ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับ การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และศึกษาความคงทน ในการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและสารอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียน

26

ที่ เ รี ย นแบบสื บ เสาะหาความรู้ 7 ขั้ น ตอน มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น และทั ก ษะกระบวนการ วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความคงทนในการเรียนรู้ด้วยการเรียนทั้ง 2 รูปแบบ ชัยศักดิ์ นาดี (2556 : บทคัดย่อ) ได้ทาการศึกษาเรื่อง การยกระดับผลสัมฤทธิ์กลุ่มสาระการ เรี ย นรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องระบบสุ ริยะ โดยใช้แบบฝึ กทักษะ เพื่อยกระดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบสุริยะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการ ก่อน เรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนของนักเรียน และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์หลังการใช้แบบฝึกทักษะ วิทยาศาสตร์ เทีย บกับ เกณฑ์ป ระสิ ทธิภ าพของแบบฝึ ก ทัก ษะ (E1/E2) 75/75 เครื่องมือที่ใช้ ใ น การศึกษาค้นคว้า คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน-หลังเรียนที่ได้วิเคราะห์หาค่าความเที่ยง ของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.78 และแบบฝึกทักษะ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ย น เรื่ อ งระบบสริ ย ะ ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 6 จากคะแนนความสามารถในการท า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน ชุดแบบฝึกทักษะ 11 ชุด 25 แบบฝึก ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 35.12 (2) คะแนนพัฒนาการก่อน เรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน โดยเฉลี่ยจากแบบ ฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 43.83, 77.03 และ 79.13 ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจาก การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ ทาให้นักเรียนมีพัฒนาการ สูงขึ้น (3) ผลสัมฤทธิ์หลังการใช้แบบฝึก ทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะ สูงขึ้นในทุกแบบฝึกทักษะ และเมื่อสรุปทุกชุดเทียบกับเกณฑ์ ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ (E1/E2) 75/75 โดยเฉลี่ยมีค่าสูงกว่า เกณฑ์ประสิทธิภาพ เท่ากับ 77.03 79.59 วษุนี วรรณลือชา (2558) ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง ดินและการใช้ประโยชน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ส าหรั บ นั กเรี ย นชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิ ทธิภ าพของชุ ด กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้ นพื้นฐาน เรื่อง ดินและการใช้ ประโยชน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 83.84/82.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง ดินและการใช้ประโยชน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง ดิน

27

และการใช้ประโยชน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลั ง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น พื้ น ฐาน เรื่ อ ง ดิ น และการใช้ ป ระโยชน์ กลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ ส าหรั บ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 0.43 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน คือ ด้าน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = 4.91, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.29) ด้านเนื้อหา (ค่าเฉลี่ย = 4.84, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.46)ด้านสื่อการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = 4.68, ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน = 0.49) และด้านการวัดและประเมินผล (ค่าเฉลี่ย = 4.67, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.54) ตามลาดับ กัณฐาภรณ์ พานเงิน (2559) ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาความสามารถในการใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องชุมชนริมน้าจันทบูร กลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรี มารดาพิทักษ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม เรื่ องชุมชนริมน้าจันทบูร กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีประสิทธิภาพเท่ากั บ 81.59/87.91 สูงกว่ าเกณฑ์ 80/80 2) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียน มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่ าก่อนเรียนอ ยางมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ธรรญชนก ทองอ่ า (2559) ศึ ก ษางานวิ จั ย เกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาชุ ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ วิทยาศาสตร์ โ ดยใช้วิจั ย เป็ น ฐาน เรื่อง แรงและความดัน ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เรื่อง แรงและความดัน สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 5 ชุด มีความเหมาะสมขององค์ประกอบตามความคิดเห็น ของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 76.07/75.89 ซึ่งเป็นไปตาม เกณฑ์ 75/75 ที่กาหนดไว้ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้วิจัยเป็น ฐาน เรื่อง แรงและความดัน สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เรื่อง แรงและความดัน สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พรรณนิภา ทับทิมเมือง และอัญชลี ทองเอม (2560) ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การทดลองทางวิทยาศาสตร์

28

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและพลังงานของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีทักษะกระบวนการเรียนวิทยาศาสตร์ระดับดี จานวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 90.90 และดีมากจานวน 4 คนคิดเป็นร้อยละ 9.09 2) นักเรียนมีคะแนนพฤติกรรม การเรียนรู้อยู่ในระดับดีจานวน 18 คนคิดเป็นร้อยละ 40.90 และดีมากจานวน 26 คนคิดเป็นร้อยละ 59.09 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญที่ ระดับ .05 (t=35.06, sig=0.000) 4) ความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การทดลองทางวิทยาศาสตร์ภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ช่อทิพย์ มารัตนะ และวาสนา กีรติจาเริญ (2560) ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาผลการ เรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการ เรียนรู้สะเต็มศึกษา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน โดยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สาหรับการ ประเมินคุณภาพชิ้นงานของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา พบว่าคะแนนคุณภาพชิ้นงาน ของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 81.06 และมีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 15.75 ถึง 16.75 คะแนน ฉั ต รลดา สั พ โส และคณะ (2561) ศึ ก ษางานวิ จั ย เกี่ ย วกั บ การพั ฒ นากระบวนการทาง วิทยาศาสตร์เรื่อง วัสดุในชีวิตประจาวันโดยการจัดการเรียนรู้โมเดลซิปปาร่วมกับแผนผังความคิดของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้โมเดลซิปปาร่วมกับแผนผัง ความคิด เรื่องสมบัติทางกายภาพของวัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.41/76.34 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กาหนด 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนการจัดการเรียนรู้โมเดลซิปปา ร่วมกับแผนผังความคิดหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติระดับ .01 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่เรียนการจัดการเรียนรู้โมเดลซิปปาร่วมกับแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติ .01 4) จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนการจัดการเรียนรู้ โมเดลซิปปาร่วมกับแผนผังความคิดอยู่ในระดับมาก อรทัย น้ อยญาโณ (2561) ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาผลการจั ดการเรียนด้ว ยชุ ด กิ จ กรรมพั ฒ นาการเรี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ ที่ มี ต่ อ ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น เรื่ อ งวั ส ดุ ข องสาร วิ ช า วิ ท ยาศาสตร์ ร ะดั บ ชั้ น ประถมประถมศึ ก ษาปี ที่ 3 ผลการวิ จั ย พบว่ า ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาการ

29

เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง “วัสดุของสาร” นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน กนกวรรณ หาญกาย (2561) ได้ทาการวิจัยเรื่องผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาลที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ผลการวิชัย พบว่า ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ ร 2.65 /88.7ร สู งกว่ าเกณฑ์ที่กาหนด 80 /80 ดัช นีประสิ ทธิผ ลของวิช าวิทยาศาสตร์ เท่ากับ 061 นักเรียนที่ได้รับการสอน โดยใช้ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรือนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก ดรุณตรีย์ เหลากลม (2561) ได้ทาการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โมเมนตัม และการชน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ผลการศึกษาค้นพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องโมเมนตัมและการชน มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 78.63/76.20 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ และ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยชุดกิจกรรม การเรียนรู้เชิงรุกในระดับมาก อาพิศรา ดวงธนู และจิตตรี พละกุล (2562) ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาชุดกิจกรรม การเรี ย นรู้ เ รื่ อ งสมบั ติ ท างกายภาพของวั ส ดุ ส าหรั บ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 โรงเรี ย น ชลประทานอนุเคราะห์ อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการ เรียนรู้มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 89.96/80.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ กาหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อชุด กิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด วนิภา ตรีแจ่มจันท (2562) ได้ทาการศึกษาเรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์และความสามารถในการทาโครงงานของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการ เรียนรู้แบบโครงงาน พบว่า 1) ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องแรงและการ เคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสูงกว่าก่อนการ จัดการเรียนรู้อย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมี ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก 3) ผลการพัฒนาความสามารถใน การทาโครงงานระหว่างการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมี ความสามารถในการทาโครงงาน อยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการประเมิน ความคิดเห็นของนักเรียน

30

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานหลังการจัดการเรียนรู้ พบว่านักเรียนมี ความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด 3. กรอบแนวคิดการวิจัย

ตัวแปรต้น ชุดแบบฝึกหัดเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม

ตัวแปรตาม 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ประสิทธิภาพทางการเรียน 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ - ทักษะการสังเกต - ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล 3. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดย ใช้ชุดแบบฝึกหัดเสริมทักษะ

ภาพที่ 3.1 กรอบแนวคิดการวิจัย 4. สมมติฐานการวิจัย 4.1 ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 4.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หลังเรียนโดยชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อน เรียน 4.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดแบบฝึกหัดเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อยู่ ในระดับสูงขึ้นไป

31

บทที่ 3 การวิจั ย ครั้ งนี้ เป็ น การวิจั ยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) การศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) จังหวัดยะลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ผู้วิจัยได้ดาเนินการดังนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.3 การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1) ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) จังหวัดยะลา ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565 จานวน 5 ห้อง รวม 165 คน 2) กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) จังหวัดยะลา ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565 จานวน 1 ห้องเรียน รวม 34 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ 1.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลั งเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม แบบชนิดเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ 1.2 ชุดแบบฝึกส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้ อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จานวน 5 ชุด

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

32

2.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกเพื่อเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ 2.2 ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ชุด ประกอบด้วย ชุดแบบฝึกเสริมทักษะ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชุดแบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 1 การสังเกต ชุดแบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 2 การสังเกต ชุดแบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 3 การสังเกต , การลงความเห็นจากข้อมูล ชุดแบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 4 การสังเกต ชุดแบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 5 การสังเกต , การลงความเห็นจากข้อมูล 2.3 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการ ใช้ชุดแบบฝึกเพื่อเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) จานวน 10 ข้อ 3.3 การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ 1. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1. ศึกษาทฤษฎีและวิธีการสร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ เกณฑ์การตรวจให้คะแนนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้ 3. สร้างแบบทดสอบตามจุดประสงค์ที่กาหนดไว้ โดยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งใช้ทดสอบนักเรียนทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน จานวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ 4. นาแบบทดสอบที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ จานวน 3 ท่าน ตรวจสอบความ เที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบใช้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (IOC) 5. นาข้อสอบที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับ นั กเรี ย นชั้น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จานวน 34 คน หลั งจากนั้ น น า กระดาษคาตอบมาตรวจให้คะแนน ข้อที่ตอบถูกให้ 1 คะแนน ข้อที่ตอบผิดให้ 0 คะแนน

33

6. จั ด พิ ม พ์ แ บบทดสอบวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นสาระการเรี ย นรู้ วิท ยาศาสตร์ เรื่ อ ง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เป็นแบบทดสอบฉบับสมบูร ณ์ สาหรับทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป 2. การสร้างชุดชุดแบบฝึกเสริมทักษะ 1. ศึกษาทฤษฎีและรู ปแบบของการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะจากเอกสาร และงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาจุ ดมุ่ ง หมายการเรี ยนรู้วิ ทยาศาสตร์เ รื่ อง สิ่ งมีชีวิตกับสิ่ ง แวดล้ อ ม เพื่อก าหนด ขอบเขต สาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 3. ดาเนินการสร้างชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในการทดลอง 4. น าชุดแบบฝึ กเสริ มทั ก ษะที่ส ร้า งขึ้น ไปให้ ผู้ เชี่ยวชาญตรวจสอบ จานวน 3 ท่าน เพื่ อ ตรวจสอบรูปแบบ และความสอดคล้องด้านเนื้อหา ความครอบคลุมจุดมุ่งหมาย และความเหมาะสม ด้านเวลา (IOC) 5. นาชุดแบบฝึกเสริมทักษะที่ตรวจสอบแล้วมาแก้ไขปรับปรุงตามคาแนะนาของผู้เชี่ยวชาญ 6. นาชุดชุดแบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ไป ทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จานวน 34 คน 7. นาผลที่ได้จากการทดลองชุดแบบฝึกเสริมทักษะมาคานวณหาค่าประสิทธิภาพของชุดแบบ ฝึกเสริมทักษะ โดยการหาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และหาค่าประสิทธิภาพของ ผลลัพธ์ (E2) 3. การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ การสร้ า งแบบสอบถามความพึ ง พอใจของนั ก เรี ย นที่ มี ต่ อ ชุ ด แบบฝึ ก เพื่ อ เสริ ม ทั ก ษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 1. ศึกษารูปแบบการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ 2. กาหนดโครงสร้างของแบบสอบถามความพึงพอใจ ประกอบด้วย เนื้อหาสาระ รูปแบบของ สื่อ และประโยชน์ที่ได้รับ 3. สร้ า งแบบสอบถามความพึ ง พอใจของนั ก เรี ย นที่ มี ต่ อ ชุ ด แบบฝึ ก เพื่ อ เสริ ม ทั ก ษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จานวน 10 ข้อ

34

4. นาแบบวัดความพึงพอใจให้ผู้เชี่ยวชาญ จานวน 3 คน ตรวจสอบความสอดคล้อง (IOC) แล้วนาข้อมูลมาหาค่ าดัชนีความสอดคล้อง IOC (index of Item-objective congruence) (อนุวัติ คูณแก้ว, 2555, หน้า 199-200) ซึ่งใช้เกณฑ์การให้คะแนน คือ +1 คือ แน่ใจว่าข้อคาถามนั้นวัดได้ตรงตามรายการ 0 คือ ไม่แน่ใจว่าข้อคาถามนั้นวัดได้ตรงตามรายการ -1 คือ แน่ใจว่าข้อคาถามนั้นวัดได้ไม่ตรงตามรายการ 5. พิจ ารณาความเหมาะสมของแบบสอบถามความพึ ง พอใจของนั ก เรี ยน จากค่า เฉลี่ ย ความเห็น ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป จึงถือว่าแบบสอบถามนั้นมีความเที่ยงตรง 6. น าแบบสอบถามความพึ ง พอใจของนั ก เรี ย นไปทดลองใช้ (Try out) กั บ นั ก เรี ย นที่ มี ลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง 7. นาแบบสอบถามมาหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบัค (cronbach’s alpha coefficient) 8. จั ด พิ ม พ์ แ บบสอบถามความพึ ง พอใจของนั ก เรี ย นที่ มี ต่ อ ชุ ด แบบฝึ ก เพื่ อ เสริ ม ทั ก ษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จานวน 10 ข้อ เพื่อนาไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบเครื่องมือ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อาเภอเมือง จังหวัดยะลา จานวน 1 ห้อง รวม 34 คน 3.4 วิธีดาเนินการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดาเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. ผู้วิจัยทาการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) จานวน 30 ข้อ เวลา 30 นาที 2. ดาเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ จานวน 5 ชุด 3. บันทึกคะแนนระหว่างเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อนาไปวิเคราะห์ข้อมูล 4. เมื่อทาชุดแบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เสร็ จ แล้ ว จากนั้ น ให้ นั กเรีย นทาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจานวน 30 ข้อหลั งเรียน (Post-test) โดยแบบทดสอบหลังเรียนเป็นชุดเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนเรียน 5. เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบเรียบร้อยแล้วผู้วิจัยได้นาข้อมูลไปวิเคราะห์ผล ต่อไป

35

3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนาผลการทดสอบมาดาเนินการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสาเร็จรูป ผู้วิจัยได้นาเสนอผล การ วิเคราะห์ข้อมูลตามลาดับต่อไปนี้ 1. วิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังนี้ 1. หาค่ า ความเที่ ย งตรงเชิ ง เนื้ อ หา (Content Validity) ของแบบทดสอบวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียนโดยใช้สูตรดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 2. วิ เ คราะห์ ห าค่ า ประสิ ท ธิ ภ าพ (E1/E2) โดยใช้ แ บบฝึ ก เสริ ม ทั ก ษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนที่ได้รับจากผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. หาค่าระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทาการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าระดับความพึงพอใจ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย นาแบบสอบถามความพึงพอใจมาตรวจให้คะแนน ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถึง ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50 หมายถึง ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50 หมายถึง ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50 หมายถึง ระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถึง ระดับน้อยที่สุด 3.6 สถิติที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสาหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ 1. สถิติพื้นฐาน 1.1 การหาค่าเฉลี่ย สามารถหาได้จากสูตร ∑ 𝑋̅ = 𝑋 𝑁

เมื่อ

x แทน ค่าเฉลี่ย ∑ X แทน ผลรวมทั้งหมดของคะแนนทั้งหมด N แทน จานวนคนทัง้ หมด

36

1.2 การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สามารถหาได้จากสูตร S.D =√ เมื่อ

S.D X N Σ

N ∑ X2 -(∑ X)2 n(n-1)

แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แทน คะแนนของนักเรียนแต่ละคน แทน จานวนคนทั้งหมด แทน ผลรวม

2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคุณภาพเครื่องมือ 2.1 การหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคาถามแต่ละข้อกับจุดประสงค์หรือเนื้อหา (Index of Item-Objective Congruence หรือ IOC) สามารถหาได้จากสูตร IOC =

∑𝑅 𝑁

เมื่อ (IOC) แทน ดั ช นี ค วามสอดคล้ อ งระหว่ า งจุ ด ประสงค์ กั บ เนื้ อ หาหรื อ ระหว่ า ง ข้อสอบกับจุดประสงค์ ∑R n

แทน ผลรวมระหว่างคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด แทน จานวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

2.2 ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของการวัด โดยใช้สูตรของคูเดอร์และริชาร์ดสัน (Kuder and Richardson: KR-20) สามารถหาได้จากสูตร KR-20 rtt =

เมื่อ

rtt k p

q S2

k   pq  1 −  k −1  S2 

แทน ความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ แทน จานวนของแบบทดสอบทั้งฉบับ แทน อัตราส่วนของผู้ตอบถูกในข้อนั้น แทน อัตราส่วนของผู้ตอบผิดในข้อนั้น (1 − p ) แทน ความแปรปรวนของคะแนนทั้งหมด

37

2.3 การหาความเชื่ อ มั่ น แบบสั ม ประสิ ท ธิ์ แ อลฟ่ า ของครอนบาค (Cronbach's Coefficient alpha) สามารถหาได้จากสูตร α= เมื่อ

𝐾 𝐾−1

1-∑

𝑠𝑖2 𝑠𝑡2

α k

แทน ค่าสัมประสิทธิความเชื่อมั่น แทน จานวนข้อของเครื่องมือวัด

∑𝑠𝑖2

แทน ผลรวมของความแปรปรวนของแต่ละข้อ

𝑠𝑡

แทน ความแปรปรวนของคะแนนรวม

2.2 หาค่าความยากง่าย (difficulty) ของข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสามารถ หาได้จากสูตร P=

เมื่อ

P

R

N

R N

แทน ค่าความยากของคาถามแต่ละข้อ แทน คือ จานวนคนที่ตอบถูกในแต่ละข้อ แทน จานวนผูเ้ ข้าสอบทั้งหมด

2.3 หาค่าอานาจจาแนก (discrimination) ของข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สามารถหาได้จากสูตร r=

เมื่อ

r Ru

Re N

Ru − Re N 2

แทน ค่าอานาจจาแนกเป็นรายข้อ แทน จานวนนักเรียนที่ตอบถูกในข้อนั้นในกลุ่มเก่ง แทน จานวนนักเรียนที่ตอบถูกในข้อนั้นในกลุ่มอ่อน แทน จานวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

38

3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน 3.1 การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยใช้สูตร E1/E2 = 80/80 𝐸1 = เมื่อ E1 ΣX N A

∑𝒙𝟏 𝑵 𝑩

× 100

แทน ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนรู้ แทน ผลรวมของคะแนนกิจกรรมระหว่างเรียนของผู้เรียนทุกคน (N คน) แทน จานวนผู้เรียนที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพครั้งนี้ แทน คะแนนเต็มของกิจกรรมระหว่างเรียน และ 𝐸2 =

เมื่อ

E2 ΣF N B

แทน แทน แทน แทน

∑𝒙𝟐 𝑵 𝑩

× 100

ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ผลรวมของคะแนนกิจกรรมระหว่างเรียนของผู้เรียนทุกคน จานวนผู้เรียนที่ใช้ในการประเมิน คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน

3.2. การวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สูตร t- test แบบ dependent sample สามารถหาได้จากสูตร ∑D N ∑ D2 -(∑ D)2 √ 𝑡= (n-1)

เมื่อ

D ∑D ∑D n

แทน ต่างระหว่างข้อมูลแต่ละคู่ แทน ผลรวมทั้งหมดของผลต่างระหว่างข้อมูลแต่ละคู่ แทน ผลรวมทั้งหมดของผลต่างระหว่างข้อมูลแต่ละคู่ยกกาลังสอง แทน จานวนกลุ่มตัวอย่าง หรือจานวนคู่

39

บทที่ 4 ผลการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ดาเนินการเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลาดับดังนี้ 1) สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 2) การวิเคราะห์ข้อมูล 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ̅ X แทน ค่าเฉลี่ย S.D. แทน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t แทน ค่าสถิติที่คานวณจาก t-test E1 แทน ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนรู้ E2 แทน ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์การเรียนรู้ 2. การวิเคราะห์ข้อมูล 2.1 ข้อมูลทั่วไป 2.2 การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2.3 การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 ข้อมูลทั่วไป ผลการเก็บรวมรวมข้อมูลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จานวน 34 คน ได้จาแนกการจัดตัวแปรตามเพศ ปรากฏตามตารางที่ 4.1 ดังนี้

40

ตารางที่ 4.1 แสดงจานวนและร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จาแนกตามเพศ ได้ดังนี้ เพศ

จานวน (คน)

ร้อยละ

ชาย

14

41.18

หญิง

20

58.82

รวม

34

100

จากตารางที่ 4.1 จะเห็นได้ว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล๔ (ธนวิถี) ระหว่างเพศชายและเพศหญิงมีจานวน 14 ต่อ 20 คน และมีค่าร้อยละ 41.18 ต่อ 58.82 ตามลาดับ 3.2 การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ตารางที่ 4.2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละของคะแนนการทาชุดแบบฝึกเสริม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จานวนชุดแบบฝึกเสริมทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

คะแนนเต็ม

X

S.D.

E1

5

50

42.24

2.28

84.47

จากตารางที่ 4.2 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทาชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมมีค่าเท่ากับ 42.24 คิดเป็นร้อยละ 84.47

41

ตารางที่ 4.3 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ̅ คะแนนเต็ม S.D. E2 𝐗 30

24.44

2.44

81.47

จากตารางที่ 4.3 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หลังการเรียนโดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 24.44 คิดเป็นร้อยละ 81.47 ตารางที่ 4.4 ประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม จานวนนักเรียน 34

ประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) ประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) 84.47

81.47

จากตารางที่ 4.4 พบว่า จากการทาชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 84.47 และมีคะแนนจากการทาแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 81.47 ดังนั้น ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จึงมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.47/81.47

42

3.3 การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดแบบฝึกเสริมทัก ษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ตารางที่ 4.5 ค่ า เฉลี่ ย และส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน ของคะแนนผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรีย นสาระ วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดแบบฝึกเสริม ทัก ษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม

30

คะแนนก่อนเรียน

คะแนนหลังเรียน

̅ X

S.D.

̅ X

S.D.

13.50

3.02

24.44

2.44

จากตารางที่ 4.5 พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อมจากการทดสอบก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 13.50 (S.D. = 3.02) และหลังเรียนมี คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 24.44 (S.D. = 2.44) ตารางที่ 4.6 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ก่อนและหลังเรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม

จานวนนักเรียน

̅ 𝐗

S.D.

ก่อนเรียน

34

13.50

3.02

t

25.70 หลังเรียน

34

24.44

2.44

*มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตารางที่ 4.6 พบว่ า คะแนนเฉลี่ ย การทดสอบวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นสาระ วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หลังเรียนโดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

43

3.4 ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจต่อการใช้ ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตารางที่ 4.7 การวิเคราะห์ ห าค่าระดับความพึ งพอใจของนักเรียนที่มีต่ อ ชุดแบบฝึ กเสริม ทั ก ษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม รายการ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน ระดับความ มาตรฐาน (S.D) พึงพอใจ 𝑥̅ 1. ด้านเนื้อหา 1. เนื้อหาในการจัดการเรียนการสอนเรื่อง วัสดุใน 4.03 0.85 มาก ชีวิตประจาวัน ช่วยให้นักเรียนเกิดความสนใจ กระตือรือร้น สนุกสนานต่อการเรียน 2. เนื้อหามีความยากง่าย เหมาะสมกับนักเรียน 4.13 0.82 มาก 3. เนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน มีสาระการ เรียนรู้ที่เหมาะสม รวม 2. ด้านการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ 4. รูปแบบในการจัดการเรียนการสอนและสื่อการ สอนมีความสวยงาม น่าสนใจ 5. รูปแบบในการจัดการเรียนการสอนเรื่อง วัสดุใน ชีวิตประจาวัน เปิดโอกาสให้นักเรียนทากิจกรรม อย่างเป็นขั้นตอน 6. กิจกรรมในการจัดการเรียนการสอนมีคาสั่งและ คาอธิบายที่ชัดเจน 7. การจัดการเรียนการสอนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รวม 3. ด้านการวัดและการประเมินผล

3.93

0.74

มาก

4.03

0.80

มาก

4.50

0.68

มาก

4.07

0.83

มาก

4.13

0.73

มาก

4.40

0.67

4.64

0.72

มาก

44

8. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม แสดงความ คิดเห็น และร่วมกันตอบคาถามขณะจัดการเรียน การสอน 9. ครูคอยอานวยความสะดวก และช่วยเหลือเมื่อ นักเรียนมีข้อสงสัยและมีปัญหา 10. ครูใช้วิธีวัดและการประเมินผลที่หลากหลาย เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและบริบท ของผู้เรียน รวม

4.13

0.78

มาก

4.37

0.72

มาก

4.50

0.68

มาก

4.44

0.72

มาก

เกณฑ์การประเมินระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถึง ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50 หมายถึง ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50 หมายถึง ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50 หมายถึง ระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถึง ระดับน้อยที่สุด จากตารางที่ 7 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.37, S.D. = 0.74) เมื่อพิจ ารณาเป็นด้าน ดังนี้ ด้านสื่ อการเรียนรู้ มีความพึงพอใจในระดั บ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.03, S.D. = 0.80) ด้านเนื้อหา มีความพึงพอใจในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.64, S.D. = 0.72) ด้านการวัดและการประเมินผล มีความพึงพอใจในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.44, S.D. = 0.72)

45

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และได้ให้ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ดังรายละเอียดดังนี้ 1. สรุปผล 2. อภิปรายผล 3. ข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการวิจัย การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้ชุด แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียน เทศบาล ๔ (ธนวิถี) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ คือ มีค่า ประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.47/81.47 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พบว่าก่อน เรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.50 ส่วนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ก่อนและหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 3.02 และ 2.44 ตามลาดับ และ มีค่าสถิติ t-test เท่ากับ 25.70 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนนักเรียนก่อนและหลังเรียนปรากฏว่าโดยชุดแบบฝึ กเสริ มทักษกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ ปรากฏว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.03, S.D. = 0.80)

46

5.2 อภิปรายผลการวิจัย การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้ชุด แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียน เทศบาล ๔ (ธนวิถี) สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้ 1. ประสิ ทธิภ าพของแบบฝึ กเสริมทักษะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่ งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 84.47/81.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้ง ไว้นั้น 1.1 ประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) ซึ่งได้จากการทาแบบทดสอบหลังจากเรียน ด้วยชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่ งแวดล้ อม เมื่อรวม คะแนนทดสอบ ได้นามาหาค่าเฉลี่ย และคิดเป็นร้อยละ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 84.47 แสดงให้เห็นว่าชุดแบบ ฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ (E1) ที่ตั้งไว้ร้อยละ 80 1.2 ประสิ ท ธิ ภ าพด้ า นผลลั พ ธ์ (E2) ซึ่ ง ได้ จ ากการท าแบบทดสอบวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียน หลังจากเรียนด้วยชุดแบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม ครบ 5 ชุด โดยได้นาคะแนนมาหาค่าเฉลี่ย และคิดเป็นร้อยละ 81.47 แสดงให้ เห็นว่า ชุดแบบฝึ กเสริ มทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่ งมีชีวิ ตกับสิ่ งแวดล้ อม ที่ส ร้างขึ้นมี ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ (E2) ที่ตั้งไว้ร้อยละ 80 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนได้เรียนด้วยชุดแบบฝึก เสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ทาให้มีความรู้มากขึ้น เมื่อทา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจึงทาให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาผลการศึกษาประสิ ทธิภาพของชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 84.47/81.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 จะเห็นได้ว่าผลการศึกษาในประเด็นนี้สอดคล้องกับงานวิจัย กรกาญจน์ (2555) ได้ศึกษาการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าแบบฝึกที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 77.96/78.50 ซึ่งแบบ ฝึกมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่ตั้งไว้ 70/70 2. คะแนนแบบทดสอบวัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.50 ส่วนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.44 เมื่อนาคะแนนมาเปรียบเทียบพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการ

47

จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ .05 แสดง ว่า ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพในการ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สิริวรรณ และคณะ (2555) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้เกม วิ ท ยาศาสตร์ พบว่ า นั ก เรี ย นที่ เ รี ย นโดยใช้ เ กมวิ ท ยาศาสตร์ มี ค ะแนนทั ก ษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.03, S.D. = 0.80) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ภัทรวดี ทองจินดา (2554) เนื่องจากผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมเน้นให้ ผู้เรียนได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติเป็นขั้นตอนอย่างชัดเจนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ส่งเสริมให้นักเรียนได้ ทางานครบทุกบทบาทหน้าที่ นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นักเรียนที่เก่งเกิดความ ภาคภูมิใจที่ได้ช่วยแนะนาให้เพื่อนที่เรียนอ่อนกว่าให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ส่วนนักเรียนที่อ่อนไม่เกิด ความรู้ สึ กอับ อาย หรื อในการถามเพื่อนสมาชิกในกลุ่ ม ระยะเวลาที่ใช้ในการทากิจกรรมมีความ เหมาะสม ทาให้นักเรียนไม่รู้สึกเบื่ อหน่ายหรือต้องเร่งรีบในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยเหตุผล ดังกล่าว นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มีระดับความพึงพอใจในระดับมาก 5.3 ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ และการศึกษาค้นคว้าดังนี้ ข้อเสนอแนะทั่วไป 1. เนื้อหาในการและรูปแบบในการสอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ต้องเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ 2. ในขั้นตอนต่าง ๆ ของรูปแบบกิจกรรมสามารถยืดหยุ่นได้ โดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับ เนื้อหา 3. ครูผู้สอนต้องเข้าใจลักษณะของแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้น ทักษะด้านต่าง ๆ

48

ข้อเสนอแนะสาหรับกาวิจัยครั้งต่อไป 1. กระบวนการสร้างและพัฒ นาชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้ ครอบคลุม เนื้อหาอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาการเรียนให้กับนักเรียน 2. ควรศึกษาเพิ่มเติม ในการนากระบวนการจัด การเรียนรู้โ ดยใช้ ชุ ดแบบฝึ กเสริ ม ทั ก ษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับเทคนิคอื่นๆ เพราะในบางสถานการณ์ แค่เทคนิคเดียวอาจไม่ เพียงพอ เมื่อนาหลายๆเทคนิคมารวมกันอาจทาให้ผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม

49

บรรณานุกรม กรกาญจน์ เรื่องขจรไพโรจน์ (2555). สร้างแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. กุสยา แสงเดช. (2555). แบบฝึกคู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญระดับ ประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : แม็ค ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). สื่อการสอน. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์การพิมพ์ ชัยวัฒน์ สุทริรัตน์ (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ.กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น. ชัยศักดิ์ นาดี. (2556). การยกระดับผลสัมฤทธิ์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 เรื่อง ระบบสุริยะ โดยใช้แบบฝึกทักษะ โรงเรียนบ้านโนนสาโรง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้ จาก : http://test.vcharkarn.com/journal/5499. (20/11/2562). นิตยา วิชัยดิษธ์ (2553). การศึกษาเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ กับการเรียนตามแผนการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ. เนาวรัตน์ ชื่นมณี. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทยการสะกดคายาก เรื่องเป็ดหาย ส าหรั บ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 2. วิ ท ยานิ พ นธ์ สาขาวิ ช าการประถมศึ ก ษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. บัญญัติ ชานาญกิจ. (2552). กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์. นครสวรรค์. สถาบัน ราชภัฏนครสวรรค์ ปราณี กองจินดา. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการคิด เลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรู ปแบบซิปปา โดยใช้แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะ การคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู, วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรการสอน)พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศรีอยุธยา.

50

ปริยทิพย์ บุญคง. (2546). การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิ ต ศาสตร์ ข องนั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 1. ปริ ญ ญานิ พ นธ์ ก ารศึ ก ษามหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิชา การวิจัยและสถิติทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. พธู ทั้งแดง. (2554) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคา ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกและไม่ใช้แบบฝึก. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พนมวัน วรดลย์. (2552). การสร้างแบบฝึกหัดการเขียนสะกดคาของนักเรียนชั้นประถมศึ กษา ปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. พรพรหม อัตตวัฒนากุล. (2554). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 2. ปริ ญ ญานิ พ นธ์ ศึ ก ษามหาบั ณ ฑิ ต (การมั ธ ยมศึ ก ษา). กรุ ง เทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. พรเพ็ญ จันทรัตน์. (2556). การพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงาน โดยใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สาหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดอ่าวบัว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://www.kruwandee.com /web boardid 3322.htmL (15/11/2562). พิมพัน ธ์ เดชะคุป ต์ และคณะ สถาบันพัฒ นาคุณภาพวิช าการ (พ.ว.). (2553). กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์. พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2555). วิธีวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป, กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พ.ว.). พิ ม พั น ธ์ เตชะคุ ป ต์ . (2548). การเรี ย นการสอนที่ เ น้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น ศู น ย์ ก ลาง, กรุ ง เทพฯ: เดอะ มาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์. พิสณุ ฟองศรี. (2551) วิจัยชั้นเรียน : หลักการและเทคนิคการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ ภพ เลาหไพบูลย์. (2551). แนวการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชย์. แรมสมร อยู่สถาพร. (2552). เทคนิคและวิธีการสอนในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาศาสตร์. ลักขณา สริวัฒน์. (2554). จิตวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ สุวีริยาสาส์น.

51

วรรณทิพา รอดแรงค้า และพิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2554). การพัฒนาการคิดของครูด้วยกิจกรรม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจ เม้นท์. วิไลลักษณ์ บุญประเสริฐ. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะกระบวนการฟังภาษาไทย โดยใช้แถบบันทึกเสียง และไม่ใช้แถบบันทึกเสียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์ จังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สมนึก ภัททิยธนี. (2556). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์. สาลี รักสุทธิ์. (ม.ป.ป.) คู่มือการจัดทาสื่อนวัตกรรมและแผนการเรี ยนรู้ประกอบสื่อนวัตกรรม. นนทบุรีเพิ่มทรัพย์การพิมพ์. สิ ริ น ภา คาชนะ. (2555). ผลการใช้ แ บบฝึ กทั ก ษะกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ ที่ มี ต่ อ ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษา มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สิ ริ ว รรณ ใจกระเสน จั น ตรี คุ ป ตะวาทิ น และจิ น ตนา ธนวิ บู ล ย์ ชั ย . (2555). การพั ฒ นาทั ก ษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้เกมวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 โรงเรี ย น บ้ า นหนองบั ว จั ง หวั ด ล าพู น . ใน การประชุ ม เสนอผลงานวิ จั ย ระดั บ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้ง 2 วันที่ 4-5 กันยายน พ.ศ. 2555 (หน้า 1-9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สิ ริ ว รรณ ใจกระเสน จั น ตรี คุ ป ตะวาทิ น และจิ น ตนา ธนวิ บู ล ย์ ชั ย . (2555). การพั ฒ นาทั ก ษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้เกมวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองบัว จังหวัดลาพูน . ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดั บบัณฑิตศึกษา มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช ครั้ ง 2 วั น ที่ 4-5 กั น ยายน พ.ศ. 2555 (หน้า 1-9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สุ จ ริ ต เพีย รชอบ และสายใจ อิน ทรัมพรรย์. (2553). วิธี การสอนภาษาไทยระดับ มัธ ยมศึ ก ษา. กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช. สุนันท์ พลับเที่ยง. (2551). ข้อเสนอแนะในการสร้างแบบฝึก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/203236. (15/11/2562). สุ นั น ทา สุ น ทรประเสริ ฐ (2551). การเขี ย นแผนการสอนแนวปฏิ รู ป การศึ ก ษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ. ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.

52

_________________. (2552). การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนการสร้างแบบฝึก เล่ม 2. ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย. สุภา ยธิกุล และอรวรรณ ทิพย์มณี. (บรรณาธิการ). (ม.ป.ป). เอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาคุ ณภาพชีวิต. คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. สุวิมล ติรกานนท์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โสภณ นุ่มทอง. (2551). การหาประสิทธิภาพของสื่อ. วารสารวิทยาจารย์. 96(6): 84-86. อ้อนน้อม เจริญธรรม. (2553). เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงร้อยแก้วภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกกับการสอนปกติ. ปริญญานิพนธ์ศึกษา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา. อาภรณ์ อ่อนคง. (2551). รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยใช้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. นครศรีธรรมราช โรงเรียนวัดทางพูน อาเภอเฉลิมพระเกียรติ.

53

ภาคผนวก

54

ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์ - ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ - แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน - แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์

55

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รหัสวิชา ว15101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เวลา 19 ชั่วโมง เรื่อง การปรับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต เวลา 2 ชั่วโมง ครูผู้สอน นายอานัส ทิ้งผอม 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว1.1 ป.5/1 บรรยายโครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับการดารงชีวิตซึ่งเป็น ผลมาจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่ 2. สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์มีโครงสร้างและลักษณะที่เหมาะสมในแต่ละแหล่งที่อยู่ ซึ่งเป็นผลมา จากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อดารงชีวิตและอยู่รอดได้ในแต่ละแหล่งที่อยู่ 3. สาระการเรียนรู้ อธิบายโครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมต่อการดารงชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่ 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนสามารถบรรยายโครงสร้างหรือลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมต่อการดารงชีวิต ในแหล่งที่อยู่ได้ (K) 2. นักเรียนสามารถสารวจและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างหรือลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ เหมาะสมต่อการดารงชีวิตในแหล่งที่อยู่ได้ (P) 3. นักเรียนแสดงความสนใจและมีความกระตือรือร้นในการสืบค้นข้อมูล (A) 5. สมรรถนะของผู้เรียน 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทางาน

56

7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Active learning) รูปแบบ 5 E

ชั่วโมงที่ 1 ขั้นที่ 1 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน (Engagement Phase) 1. ทักทายกับครูนักเรียน แล้วแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ที่จะเรียนในวันนี้ให้นักเรียนทราบ 2. ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนก่อนที่จะเรียนในวันนี้ โดยให้นักเรียนดูภาพช้างที่อาศัย อยู่ในป่า และปลาที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังจาก PowerPoint 3. ครูตั้งคาถามเพื่อกระตุ้นความคิดให้กับนักเรียน เช่น 1) โครงสร้างลักษณะของช้างและปลาว่าเป็นอย่างไร 2) ช้างและปลามีลักษณะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร (แนวตอบ แตกต่างกัน เพราะช้างอาศัยอยู่บนบก ใช้ขาในการวิ่งหรือเดิน แต่ปลา อาศัยอยู่ใน น้า ใช้ครีบในการว่ายน้าหรือเคลื่อนที่ เป็นต้น) 4. ครู อธิบ ายเพิ่มเติมว่า จากสิ่ งที่นักเรียนสังเกตเห็ นนั้น คือ โครงสร้างและลั กษณะของ สิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน ขั้นที่ 2 ขั้นสารวจและค้นหา (Exploration Phase) 1. ครูให้นักเรียนอ่านสาระสาคัญและดูภาพจากหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 หน้า 20 จากนั้นถามนักเรียนว่า นักเรียนรู้จักสิ่งมีชีวิตในภาพ หรือไม่ และสิ่งมีชีวิตในภาพอาศัยอยู่ที่ใด แล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบคาถามอย่างอิสระ (แนวตอบ เป็ด อาศัยอยู่บนบก แต่มีเท้าเป็นพังผืดใช้สาหรับว่ายน้าได้ และมีปีกสาหรับบิน หนีอันตรายได้) 2. นั กเรี ย นดูภ าพในหน้ าบทที่ 1 ชีวิตสั มพันธ์ จากหนังสื อเรียน หน้า 21 จากนั้นครู ถาม คาถามสาคัญประจ าบทว่า สิ่งมีชีวิตต่างๆ ดารงชีวิตอยู่ในสิ่ งแวดล้ อมได้อย่างไร แล้วให้นักเรียน ช่วยกันอธิบายคาตอบ โดยครูอธิบายเพิ่มเติมและช่วยเสริมความรู้บางส่วนให้กับนักเรียน (แนวตอบ สิ่ ง มี ชี วิ ต จะปรั บ โครงสร้ า งและลั ก ษณะของตนเองให้ มี ค วามเหมาะสมกั บ สิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อให้สามารถดารงชีวิตและอยู่รอดได้) 3. ครูให้นักเรียนเรียนรู้คาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในบทที่ 1 โดยสุ่มตัวแทนนักเรียน 1 คน ตามเลขที่ให้เป็นผู้อ่านนาและให้นักเรียนที่เหลืออ่านตาม ดังนี้ Habitat Food Chain Producer Consumer

(‘แฮ็บบิแท็ท) (ฟูด เชน) (พรึ‘ดิวเซอ) (คอนซูเมอ)

แหล่งที่อยู่ โซ่อาหาร ผู้ผลิต ผู้บริโภค

57

4. นักเรียนแต่ละคนทากิจกรรมนาสู่การเรียนจากหนังสือเรียน หน้า 22 แล้วบันทึกลงในสมุด ประจาตัวนักเรียนหรือทาในแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 5. นักเรียนศึกษาเนื้อหาและดูภาพจากหนังสือเรียน หน้า 23 และช่วยกันตอบตอบคาถามว่า สิ่งมีชีวิตในภาพมีโครงสร้างหรือมีลักษณะที่เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่อย่างไรบ้าง (แนวตอบ เช่น ตระบองเพชรเปลี่ยนใบเป็นหนามเพื่อลดการคายน้า โกงกางมีรากค้าจุนเพื่อ ป้องกันไม่ให้ต้นโค่นล้มเมื่อน้าสูง หมีขั้วโลกมีขนหนาและมีชั้นไขมันใต้ผิวหนังมากเพื่อป้องกันความ หนาว อูฐมีหนอกสะสมไขมันและมีขนตายาวป้องกันฝุ่นทราย สุนัขพันธ์เซนต์เบอร์นาร์ดอยู่ในประเทศ เขตหนาวจึงมีขนยาวหนาเพื่อป้องกันความหนาวเย็น)

ชั่วโมงที่ 2 ขั้นที่ 2 ขั้นสารวจและค้นหา (Exploration Phase)ต่อ 1. ครูเปิด PowerPoint หรือคลิปวิดีโอเกี่ยวกับโครงสร้างพืชและสั ตว์ที่เหมาะสมต่ อการ ดารงชีวิตในแหล่งที่อยู่ให้นักเรียนดู จากนั้น ถามคาถามกระตุ้นความคิดโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม อภิปรายและหาคาตอบร่วมกัน เช่น พืชหรือสัตว์ช นิดใดบ้างที่มีการปรับโครงสร้างให้เหมาะสมกับ แหล่งที่อยู่ (แนวตอบ ผักตบชวาปรับโครงสร้างให้ลาต้นเป็นโพรง ทาให้น้าหนักเบา จึงลอยน้าได้ดี ปลา อาศัยอยู่ในน้าจึงพัฒนาครีบอกแทนขา เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ในน้า) ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้ (Explain) 1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายประเด็นที่นักเรียนไม่เข้าใจ ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Elaborate) 1. ครูขออาสามาสมัครนักเรียน 2 คน ให้ยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่มีการโครงสร้างพืชและสัตว์ที่ เหมาะสมต่อการดารงชีวิตในแหล่งที่อยู่ ดังนี้ คนที่ 1 ให้ยกตัวอย่างพืช 2 ตัวอย่าง คนที่ 2 ให้ยกตัวอย่างสัตว์ 2 ตัวอย่าง 2. นักเรียนแต่ละคนทากิจกรรมหนูตอบได้จากหนังสือเรียน หน้า 25 ลงในสมุดประจาตัว นักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 3. ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนนากิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 จากหนังสือเรียน หน้า 28 ไปทาเป็นการบ้าน โดยให้ทาลงในสมุดประจาตัวนักเรียน หรือให้นักเรียนทาในใบงาน เรื่อง การ ปรับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ครูแจกให้ แล้วนามาส่งในชั่วโมงถัดไป

58

4. นักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้จากการเรียนหัวข้อ เรื่อง โครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิต ในแหล่งที่อยู่ตามที่ตนเองเข้าใจจนได้ข้อสรุปร่วมกันว่า สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์มีโครงสร้างและลักษ ระทีเ่ หมาะสมในแต่ละแหล่งที่อยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อดารงชีวิตและอยู่รอด ได้ในแต่ละแหล่งที่อยู่ ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate) 1. ครูประเมินผลนักเรียน โดยการสังเกตพฤติกรรมการตอบคาถาม พฤติกรรมการทางาน รายบุคคล 2. ครูตรวจสอบผลการทากิจกรรมหนูตอบได้ในสมุดประจาตัวนักเรียน หรือใน แบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 3. ครูตรวจสอบผลการทากิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 ในสมุดประจาตัวนักเรียน หรือในใบ งาน เรื่อง การปรับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต 8. สือ่ และแหล่งการเรียนรู้ 1. หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 2. แบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3. ใบงาน เรื่อง การปรับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต 4. PowerPoint 5. สมุดประจาตัวนักเรียน 9. การวัดและการประผลการเรียนรู้ ประเด็น 1. นักเรียนสามารถบรรยาย โครงสร้างหรือลักษณะของ สิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมต่อการ ดารงชีวิตในแหล่งที่อยู่ได้ (K)

วิธีการ - ตรวจความถูกต้อง ใบงาน เรื่อง การปรับ โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต - ตรวจความถูกต้อง แบบฝึกหัด

เครื่องมือ เกณฑ์ - ใบงาน เรื่อง การปรับ ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต - ตรวจความถูกต้อง แบบฝึกหัด

59

2. นักเรียนสามารถสารวจ และสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ โครงสร้างหรือลักษณะของ สิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมต่อการ ดารงชีวิตในแหล่งที่อยู่ได้ (P)

- ตรวจความถูกต้อง ใบงาน เรื่อง การปรับ โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต -ตรวจความถูกต้อง แบบฝึกหัด

3. . นักเรียนแสดงความสนใจ - สังเกตพฤติกรรม และมีความกระตือรือร้นใน รายบุคคล การสืบค้นข้อมูล (A)

- ใบงาน เรื่อง การปรับ ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต - ตรวจความถูกต้อง แบบฝึกหัด

- แบบสังเกตพฤติกรรม ระดับคุณภาพ ดี ผ่านเกณฑ์ รายบุคคล

60

ความเห็นครูพี่เลี้ยง ............................................................................................................................. ................................... ................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................. ................................... ลงชื่อ..................................................ครูพี่เลี้ยง (นายจักรพงศ์ กูรพิศไตรย์) ความเห็นหัวหน้าสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................. ................................... ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ..................................................หัวหน้าสาระการเรียนรู้ (นางสาวนูรีดา ยูโซะ) ความเห็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ............................................................................................................................................ .................... ................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................. ................................... ลงชื่อ……………….………………………….หัวหน้าฝ่ายวิชาการ (นางบุษยาพร จันทร์พิศาล) ความเห็นผู้บริหาร ❏ อนุมัติ ❏ ไม่อนุมัติ................................................................................................................................... ลงชื่อ……………….………………………….รองผู้อานวยการสถานศึกษา (นายอิสเรศ บูหา)

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

แบบประเมินความพึงพอใจต่อการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดแบบฝึก เสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม คาชี้แจง ให้นักเรียนตอบแบบประเมินความพึงพอใจให้ครบทุกข้อ โดยให้ทาเครื่องหมาย  ในช่อง ระดับความพึงพอใจที่เลือกนั้น โดยมีเกณฑ์ในการให้คะแนน ดังนี้ รายการประเมิน

ระดับคะแนน 5

4

3

2

1.ด้านเนื้อหา 1. เนื้อหาในการจัดการเรียนการสอนเรื่อง สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ช่วยให้นักเรียนเกิดความสนใจ กระตือรือร้น สนุกสนานต่อการเรียน 2. เนื้อหามีความยากง่าย เหมาะสมกับนักเรียน 3. เนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน มีสาระการเรียนรู้ทเี่ หมาะสม

2. ด้านการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ 4. รูปแบบในการจัดการเรียนการสอนและสื่อการสอนมีความสวยงาม น่าสนใจ 5. รูปแบบในการจัดการเรียนการสอนเรื่อง วัสดุและสสาร เปิดโอกาสให้ นักเรียนทากิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอน 6. กิจกรรมในการจัดการเรียนการสอนมีคาสั่งและคาอธิบายที่ชัดเจน 7. การจัดการเรียนการสอนช่วยให้เกิดการเรียนรู้และทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์

3. ด้านการวัดและการประเมินผล 8. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม แสดงความคิดเห็น และร่วมกันตอบ คาถามขณะจัดการเรียนการสอน 9. ครูคอยอานวยความสะดวก และช่วยเหลือเมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยและมี ปัญหา 10. ครูใช้วิธีวัดและการประเมินผลที่หลากหลาย เหมาะสมกับกิจกรรม การเรียนการสอนและบริบทของผูเ้ รียน

ข้อเสนอแนะ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………….

1

72

ภาคผนวก ข รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ

73

รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) 1. นายจักรพงศ์ กูรพิศไตรย์ ครู วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) วุฒิการศึกษา ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา ศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน 2. นางสาวนูรีดา ยูโซ๊ะ ครู วิทยฐานะ ครูชานาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) วุฒิการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป 3. นางสาววิไลลักษณ์ แซ่เลี้ยว ครู โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) วุฒิการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ฟิสิกส์

74

ภาคผนวก ค คุณภาพของเครื่องมือวิจัย

75

ตาราง ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชิตและสิ่งแวดล้อม ของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การแปร ข้อที่ รวม IOC ความหมาย คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 2 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 3 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 4 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 5 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 6 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 7 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 8 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 9 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 10 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 11 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 12 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 13 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 14 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 15 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 16 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 17 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 18 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 19 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 20 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 21 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 22 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 23 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้ 24 +1 +1 +1 3 1.00 ใช้ได้

76

ตาราง ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน (ต่อ) ข้อที่

คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

รวม

คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 25 +1 +1 +1 3 26 +1 +1 +1 3 27 +1 +1 +1 3 28 +1 +1 +1 3 29 +1 +1 +1 3 30 +1 +1 +1 3 *คาถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5-1.0 ถือว่า มีความเที่ยงตรง สามารถนาไปใช้ได้

IOC

การแปร ความหมาย

1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00

ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้

ตาราง ค่าดัช นี ความสอดคล้ อง (IOC) ของชุดแบบฝึ กเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน รายการ คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การแปร รวม IOC ข้อที่ ความหมาย คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1 +1 +1 +1 3 1.00 2 +1 +1 +1 3 1.00 3 +1 +1 +1 3 1.00 4 +1 +1 +1 3 1.00 5 +1 +1 +1 3 1.00 *คาถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5-1.0 ถือว่า มีความเที่ยงตรง สามารถนาไปใช้ได้

ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้

77

ตาราง ค่ า ความยากง่ า ย (p) ค่ า อ านาจจ าแนก (r) ของแบบวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นวิ ช า วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม การแปร ข้อที่ ค่าความยากง่าย (p) ค่าอานาจจาแนก (r) ความหมาย 1 0.65 0.30 ใช้ได้ 2 0.65 0.30 ใช้ได้ 3 0.65 0.30 ใช้ได้ 4 0.60 0.40 ใช้ได้ 5 0.70 0.20 ใช้ได้ 6 0.60 0.40 ใช้ได้ 7 0.65 0.30 ใช้ได้ 8 0.65 0.30 ใช้ได้ 9 0.70 0.20 ใช้ได้ 10 0.60 0.20 ใช้ได้ 11 0.65 0.30 ใช้ได้ 12 0.55 0.30 ใช้ได้ 13 0.65 0.30 ใช้ได้ 14 0.60 0.40 ใช้ได้ 15 0.65 0.30 ใช้ได้ 16 0.70 0.20 ใช้ได้ 17 0.60 0.20 ใช้ได้ 18 0.55 0.50 ใช้ได้ 19 0.55 0.30 ใช้ได้ 20 0.55 0.30 ใช้ได้ 21 0.60 0.40 ใช้ได้ 22 0.60 0.40 ใช้ได้ 23 0.55 0.30 ใช้ได้ 24 0.55 0.30 ใช้ได้

78

ตาราง ค่ า ความยากง่ า ย (p) ค่ า อ านาจจ าแนก (r) ของแบบวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นวิ ช า วิทยาศาสตร์ สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (ต่อ) การแปร ข้อที่ ค่าความยากง่าย (p) ค่าอานาจจาแนก (r) ความหมาย 25 0.65 0.30 ใช้ได้ 26 0.65 0.30 ใช้ได้ 27 0.60 0.40 ใช้ได้ 28 0.60 0.20 ใช้ได้ 29 0.60 0.40 ใช้ได้ 30 0.60 0.20 ใช้ได้

79

ตาราง ค่าความเชื่อมั่น ของแบบวัดผลสั มฤทธิ์ทางการเรียนวิช าวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่ งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อมทั้งฉบับ จากผลการสอบครั้งเดียว โดยใช้สูตร (KR-20) ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ข้อที่

p

q

pq

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23

0.79 0.66 0.59 0.76 0.66 0.69 0.90 0.72 0.83 0.79 0.76 0.72 0.76 0.72 0.38 0.66 0.72 0.72 0.76 0.69 0.72 0.83 0.79

0.21 0.34 0.41 0.24 0.34 0.31 0.10 0.28 0.17 0.21 0.24 0.28 0.24 0.28 0.17 0.34 0.28 0.28 0.24 0.31 0.28 0.17 0.21

0.17 0.22 0.24 0.18 0.22 0.21 0.09 0.20 0.14 0.17 0.18 0.20 0.18 0.20 0.06 0.22 0.20 0.20 0.18 0.21 0.20 0.14 0.17

80

ตาราง ค่าความเชื่อมั่น ของแบบวัดผลสั มฤทธิ์ทางการเรียนวิช าวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่ งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม ทั้งฉบับ จากผลการสอบครั้งเดียว โดยใช้สูตร (KR-20)ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (ต่อ) ข้อที่

p

q

pq

24 25 26 27 28 29 30

0.66 0.72 0.72 0.72 0.72 0.72 0.79

0.34 0.28 0.28 0.28 0.28 0.28 0.21

0.22 0.20 0.20 0.20 0.20 0.20 0.17 5.68

∑ 𝑝𝑞

การวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง หิน และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richason) ∑pq = 5.68∑X = 642 ∑X2 = 14786 N = 34 n = 30 จากสูตร

S2x

=

∑ X2 N

∑X 2

-( ) N

14786

642 2

= -( ) 34 34 = 19.88 จากสูตร rxx =

n n-1 30

[1 −

∑ pq

5.68

S2x

= [1- ] 30-1 19.77 = 0.74

]

81

ตาราง คะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อ ม โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) ก่อนเรียน หลังเรียน ผลต่าง ผลต่าง2 คนที่ ความก้าวหน้า (30 คะแนน ) (30 คะแนน) (D) (D) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21

10 13 14 14 16 13 13 15 14 9 9 16 19 14 17 15 10 15 15 11 19

22 25 23 23 24 25 23 25 23 19 21 25 26 24 27 28 20 26 23 28 27

12 12 9 9 8 12 10 10 9 10 12 9 7 10 10 13 10 11 8 17 8

144 144 81 81 64 144 100 100 81 100 144 81 49 100 100 169 100 121 64 289 64

12 12 9 9 8 12 10 10 9 10 12 9 7 10 10 13 10 11 8 17 8

82

ตาราง คะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อ ม โดยใช้ชุดแบบฝึก เสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) ต่อ 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 ผลรวม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าร้อยละ t

7 14 10 19 14 16 9 14 13 12 16 9 15 459 13.50

23 25 20 27 27 26 21 23 26 27 28 24 27 831 24.44

16 11 10 8 13 10 12 9 13 14 12 14 12 372 10.94

256 121 100 64 169 100 144 81 169 196 144 195 144 4262 125.35

23 25 20 27 13 10 12 9 13 14 12 14 12 422 12.41

3.02

2.44

2.29

53.59

4.72

45

81.47

25.70

-

-

83

คนที่

ชุดแบบฝึกทักษะที่ 1

ชุดแบบฝึกทักษะที่ 2

ชุดแบบฝึกทักษะที่ 3

ชุดแบบฝึกทักษะที่ 4

ชุดแบบฝึกทักษะที่ 5

คะแนนรวม

ตาราง คะแนนการเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี)

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19

9 9 10 9 10 8 9 8 9 7 8 8 10 9 10 10 9 9 9

8 8 8 8 9 8 8 9 8 8 7 7 9 8 9 9 8 8 8

8 8 9 9 8 7 9 8 9 9 9 8 9 9 10 9 9 9 9

7 9 8 8 9 8 10 9 8 7 8 9 8 8 9 9 9 10 8

8 8 9 7 9 7 9 8 9 8 7 8 9 9 9 9 8 9 9

40 42 44 41 45 38 45 42 43 39 39 40 45 43 47 46 43 45 43

84

ตาราง คะแนนการเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) ต่อ 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 ∑𝐱 ̅ 𝐗 S.D. ร้อยละ

8 9 8 9 8 9 9 8 8 8 8 9 8 9 8 296 8.71 0.75 87.05

8 8 7 8 7 8 9 9 9 9 8 8 9 8 8 278 8.18 0.62 81.76

9 9 8 9 8 9 8 8 8 8 7 9 8 9 9 291 8.56 0.65 85.58

8 8 9 8 9 8 9 8 8 9 8 10 9 8 8 288 8.47 0.74 84.70

8 9 7 9 7 9 8 9 9 8 7 9 8 9 8 283 8.32 0.76 83.23

41 43 39 43 39 43 43 42 42 42 38 45 42 43 41 1436 42.24 2.28 84.47

85

ภาคผนวก ง ประมวลภาพกิจกรรมในชั้นเรียน

86

87

88

89

ประวัติผู้วิจัย ชื่อ – สกุล วัน เดือน ปี เกิด ที่อยู่ปัจจุบัน อีเมล์ ประวัติการศึกษา

นายอานัส ทิ้งผอม 9 มิถุนายน 2542 103/2 ม.1 ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง [email protected]

ระดับการศึกษา

สถานศึกษา

ปีที่จบการศึกษา

ประถมศึกษา

ร.ร.บ้านคลองใหญ่

2554

มัธยมศึกษาตอนต้น

ร.ร.ดารุลอูลูม

2557

มัธยมศึกษาตอนปลาย

ร.ร.ดารุลอูลูม

2560

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.