ระบบบัญชีถือจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ Flipbook PDF

คู่มือการปฏิบัติงาน ระบบบัญชีถือจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ โครงการจ่ายตรงเงินเดือนกรมบัญชีกลาง จัดทำโดย นายสันติสุข โพ

102 downloads 107 Views 4MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

(1) คู่มือการปฏบิัติงาน เรื่อง ระบบบัญชีถือจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ นายสันตสิุข โพธิ์งาม ตำแหน่งบุคลากร งานบริหารงานบุคคล กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุร ี พ.ศ. 2564


(2) คำนำ คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง ระบบบัญชีถือจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติงานการบันทึกข้อมูลบัญชีถือจ่ายเงินเดือนข้าราชการ และค่าจ้างลูกจ้างประจำ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีในระบบการจ่ายตรงเงินเดือนของกรมบัญชีกลาง ซึ่งปัจจุบันมี เอกสารประกอบการปฏิบัติงานของโครงการจ่ายตรงเงินเดือน หลายเล่ม หลายหมวดหมู่เกี่ยวข้องกับ หลายส่วนราชการ และกระทรวงทั่วประเทศ ทำให้การปฏิบัติงานในแต่ละครั้งต้องใช้เอกสาร ประกอบการปฏิบัติงานจำนวนมาก ไม่สะดวกในการค้นหา เกิดความล่าช้า ผู้จัดทำจึงเลือกขั้นตอนการปฏิบัติงานใช้งานอยู่เป็นประจำ มาจัดทำเป็นคู่มือระบบบัญชีถือ จ่ายสำหรับการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีโดยเฉพาะ โดยได้มีการรวบรวมข้อมูล หลักเกณฑ์เงื่อนไขการปฏิบัติงาน การเตรียมความพร้อม ขั้นตอนการปฏิบัติงานในแต่ละเรื่อง และ สอดแทรกความรู้เทคนิคการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของผู้จัดทำมารวมไว้ ในคู่มือเล่มนี้ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่สนใจต้องการ ศึกษาเพื่อนำไปปฏิบัติโดยมีการจัดลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อลดความผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงานได้ในการจัดทำคู่มือเล่มนี้หากผู้อ่านพบ ข้อผิดพลาดใด ๆ ผู้จัดทำขอน้อมรับเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้มีความสมบูรณ์ในโอกาสต่อไป นายสันตสิุข โพธ์งามิ 3 พฤษภาคม 2564


(3) สารบญั หน้า คำนำ (2) สารบัญ (3) สารบัญแผนภูมิ (6) บทท 1 ี่ 1 บทนำ 1 ความเป็นมา และความสำคัญ 1 วัตถุประสงค์ 1 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1 ขอบเขตคู่มือ 2 นิยามศัพท์ 2 2 บทบาทหนาท้ ี่ความรับผดชอบิ 3 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน 3 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง 5 ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 6 โครงสร้างการบริหารจัดการ 8 โครงสร้างหน่วยงาน 8 โครงสร้างการบริหาร 9 บุคลากรสังกัดงานบริหารงานบุคคล 10 3 หลักเกณฑว์ ิธีการปฏิบัติงานและเงื่อนไข 13 หลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน 13 การจ่ายเงินเดือนและเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะเดียวกัน 13 การจ่ายเงินประจำตำแหน่ง 14 การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ 15 การจ่ายเงินค่าจ้างลูกจ้างประจำ 15 การเลื่อนขั้นค่าจ้างลูกจ้างประจำ 16 การจ่ายเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน 16 การใช้งานระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ 16 การใช้งานอุปกรณ์ Token key 19 วิธีการปฏิบัติงาน 21 ขอบเขตการปฏิบัติงาน 21


(4) หน้า บทที่ วิธีการปฏิบัติงาน 22 แนวคิด และสงทิ่ี่ควรคำนึงถึงในการปฏิบัติงาน 23 4 เทคนคในการปฏ ิ ิบัติงาน 25 กิจกรรม และแผนปฏิบัติงาน 25 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน 27 การติดตั้งโปรแกรมสำหรับการใช้งานระบบ 27 การเริ่มต้นใช้งานระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ 40 ระบบข้อมูลพื้นฐาน 42 ระบบทะเบียนประวัติข้าราชการและลูกจ้างประจำ 43 ระบบบัญชีถือจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ 47 1. เมนูการบรรจุโยกย้าย 48 1.1 การบันทึกคำสั่งเลื่อนระดับทั่วไป 49 1.2 การบันทึกคำสั่งแต่งตั้งย้อนหลัง 50 1.3 การบันทึกเงินประจำตำแหน่ง 52 1.4 การบันทึกเงินประจำตำแหน่งเมื่อพ้นวาระ 53 1.5 การบันทึกคำสั่งให้โอนข้าราชการ 53 1.6 การบันทึกคำสั่งให้รับโอนข้าราชการ 55 1.7 การบันทึกคำสั่งลาศึกษาและกลับจากลาศึกษา 57 1.8 การบันทึกคำสั่งพ้นจากราชการ 58 2. เมนูบัญชีถือจ่ายการเลื่อนเงินเดือนและค่าจ้างประจำ 59 2.1 การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ 60 2.2 การเลื่อนขั้นค่าจ้างประจำ 67 3. การสรุปยอดเงินงบประมาณตั้งอัตราเงินเดือนประจำปี (หมายเลข 1) 71 3.1 การสรุปยอดเงินงบประมาณตั้งอัตราเงินเดือนข้าราชการ 71 3.2 การสรุปยอดเงินงบประมาณตั้งอัตราค่าจ้างประจำ 75 4. การจัดทำรายงานข้อมูลประจำเดือน 79 4.1 การออกรายงานของข้าราชการ 80 4.2 การออกรายงานของลูกจ้างประจำ 82 วิธีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน 83 วิธีการติดตาม 83 การประเมินผลการปฏิบัติงาน 84


(5) หน้า บทที่ 5 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขและการพัฒนางาน 85 ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานและแนวทางการแก้ไข 85 1. ปัญหาอุปสรรคในการติดตั้งโปรแกรมและอปกรณุ์Token key 85 2. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการในระบบบัญชีถือจ่าย 87 แนวทางการพัฒนางาน 92 เอกสารอางอ้ ิง 93 ภาคผนวก ภาคผนวก ก วิธีการตรวจสอบวันหมดอายุ Token key 95 ภาคผนวก ข แบบฟอร์มการลงทะเบียนและขอต่ออายุToken key 99 ภาคผนวก ค การบันทึกอัตราว่างในวันสิ้นปีงบประมาณ 107 ภาคผนวก ง การแปลงข้อมลจากู Excel file เป็น Text file 109 ภาคผนวก จ ตารางรหัสตำแหน่งหน้าจอ การบรรจุโยกย้าย 113 ภาคผนวก ฉ กฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 131 ประวัติผจู้ัดทำ 153


(6) สารบญแผนภัูมิ หน้า แผนภูมิที่ 2.1 โครงสร้างหน่วยงานภายในสำนักงานอธิการบดี 8 2.2 โครงสร้างการบริหารสำนักงานอธิการบดี 9 2.3 บคลากรงานบรุิหารงานบุคคล 10 4.1 การดำเนินการในระบบบัญชีถือจ่าย 47 4.2 ขนตอนการเลั้ื่อนเงินเดือนและค่าจ้างประจำ 59 4.3 ขนตอนการจั้ัดทำสรุปยอดเงินงบประมาณตั้งอัตรา 71


บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมา และความสำคญั รัฐบาลและกระทรวงการคลังมีนโยบายที่จะผลักดันการใช้จ่ายงบประมาณผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เงินสด (National e-Payment) เพื่อลดการใช้ธนบัตรและช่วยอำนวยความ สะดวกให้กับทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ ด้วยการใช้ระบบ e-Payment เพื่อ เป็นกลไกสำคัญของการทำธุรกรรมทางการเงิน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับภาคธุรกิจของไทยและ นานาชาติกรมบัญชีกลางเป็นส่วนราชการที่มีบทบาทในฐานะหน่วยงานกลางที่มีหน้าที่ควบคุมดูแล การใช้จ่ายเงินของแผ่นดิน และของหน่วยงานภาครัฐ ได้กำหนดให้ส่วนราชการเป็นผู้รับผิดชอบดูแล บริหารจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ และค่าจ้างประจำของบุคลากรในสัดกัด ใน ระบบจ่ายตรงเงินเดือน (e-Paroll) รูปแบบเว็บไซต์ (Web Application) มีการทำงานบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต และใช้ Token Key เป็นอุปกรณ์ในการตรวจสอบ และพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้งานระบบ ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีได้เริ่มดำเนินการตามโครงการจ่ายตรงเงินเดือน และค่าจ้างประจำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 โดยงานบริหารการคลังรับผิดชอบในส่วนระบบเบิกจ่ายเงินเดือน และค่าจ้างประจำ งานบริหารงานบุคคลรับผิดชอบในส่วนของข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ระบบบัญชีถือจ่าย และระบบทะเบียนประวัติซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อมูลทะเบียนประวัติของบุคลากรของ มหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วยข้อมูลจำนวนมาก เพื่อให้ผู้รับผิดชอบสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่กรมบัญชีกลางกำหนด และลดการเดินทางไปกรมบัญชีกลางเพื่อสอบถาม และแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ ผู้จัดทำจึงได้จัดทำคู่มือการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำส่วนซึ่งเป็นงานที่ สำคัญงานหนึ่งของงานบริหารงานบุคคล วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้มีคู่มือการปฏิบัติงานด้านการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ 2. เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ และลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง 2. การเบิกจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำได้ทันตามกำหนดเวลาและเป็นปัจจุบัน


2 ขอบเขตคู่มือ 1. ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลบัญชีถือจ่ายเงินเดือนข้าราชการ และค่าจ้างลูกจ้างประจำของ งานบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 2. การเตรียมความพร้อม และการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานในระบบจ่ายตรงเงินเดือน และค่าจ้างประจำ นิยามศัพท์ “ข้าราชการ” หมายถึง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 “ลูกจ้างประจำ” หมายถึง ลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันอุดมศึกษา “ฐานในการคำนวณ” หมายถึง ตัวเลขที่จะนำไปคิดคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนของ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแต่ละประเภท แต่ละสายงาน และแต่ละระดับ “ค่ากลาง” หมายถึง ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดกับเงินเดือนสูงสุด ของข้าราชการพลเรือนใน สถาบันอุดมศึกษาแต่ละประเภท แต่ละสายงาน และแต่ละระดับ หารด้วยสอง “ช่วงเงินเดือน” หมายถึง ช่วงของเงินเดือนระหว่างขั้นต่ำถึงค่ากลาง หรือระหว่างค่ากลางถึง เงินเดือนขั้นสูง แล้วแต่กรณี “Token Key” หมายถึง CGD Direct Payment Token Key เป็นอุปกรณ์ในการตรวจสอบ และพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้งานสำหรับโครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำของกรมบัญชีกลาง “POSTYPE” หมายถึง รหัสที่ระบุถึงตำแหน่งของข้าราชการ เพื่อกำหนดฐานเงินเดือน การ เลื่อนขั้นเงินเดือน และเงินค่าตอบแทนต่าง ๆ


3 บทที่ 2 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ บทบาทหนาท้ความรี่ับผิดชอบของหน่วยงาน งานบริหารงานบุคคลเป็นหน่วยงานสนับสนุนระดับงานในกองกลาง สำนักงานอธิการบดีมี หน้าที่ขับเคลื่อนสนับสนุนการบริหารจัดการภารกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีให้ดำเนิน ภารกิจในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1. การสรรหาและบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ และ ลูกจ้างมหาวิทยาลัย 1.1 การสอบแข่งขันและการคัดเลือก 1.2 การทดลองการปฏิบัติงาน 1.3 การจัดทำสัญญาจ้างและคำสั่งแต่งตั้ง 1.4 การจัดทำกรอบอัตรากำลัง 2. งานพัฒนาฝึกอบรม 2.1 การจัดทำแผนและทำโครงการพัฒนาบุคลากร 2.2 การศึกษาต่อ การฝึกอบรม ดูงาน และจัดทำสัญญาของบุคลากรทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ 2.3 การขอรับทุนจากกองทุนพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย 2.4 การจัดเก็บข้อมูลการเบิกจ่ายเงินทุน 2.5 การขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก 2.6 การจัดเก็บข้อมูลการศึกษาต่อ 2.7 การติดตามสถานะภาพการศึกษา 2.8 การตรวจสอบคุณวุฒิ 3. งานการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3.1 การตรวจสอบและสรุปการลงชื่อปฏิบัติราชการของบุคลากร 3.2 การเลื่อนขั้นเงินเดือน เลื่อนขั้นค่าจ้าง และค่าตอบแทน 3.3 การแต่งตั้ง ถอดถอน การดำรงตำแหน่ง 3.4 การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร 3.5 การประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น 3.6 การต่อสัญญาจ้าง 4. งานสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ 4.1 การขอรับเงินบำเหน็จบำนาญ และการขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ 4.2 การขอรับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)


4 4.3 การขอรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำ (กสจ.) 4.4 การขอรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย 4.5 การประกันสังคมและการแจ้งออกจากประกันสังคม 4.6 การเสนอขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 4.7 โครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ โครงการจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล 4.8 การลาทุกประเภท 4.9 การขอรับเงินประกันการปฏิบัติงาน 4.10 การแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับผลประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง 4.11 กาคัดเลือกข้าราชการดีเด่น 4.12 การเสนอขอพระราชทานเพลิงศพ 4.13 การออกหนังสือรับรองการปฏิบัติงาน รับรองเงินเดือน และรับรองความประพฤติ ของบุคลากร 4.14 งานเลขานุการคณะกรรมการชุดต่าง ๆเกี่ยวข้องกับงานบริหารงานบุคคล 4.15 งานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5. งานทะเบียนประวัติ 5.1 การจัดทำทะเบียนประวัติบุคลากร 5.2 การเปลี่ยนแปลงข้อมูลประวัติ 5.3 การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือนและค่าจ้าง 5.4 การจัดทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐและบัตรประจำตัวผู้รับบำเหน็จบำนาญ 5.5 การจัดทำทะเบียนเงินประจำตำแหน่ง 5.6 การปรับวุฒิการศึกษา และเพิ่มวุฒิการศึกษา 5.7 การจัดทำฐานข้อมูล และเก็บข้อมูลบุคลากร 6. การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ งานพิจารณาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ 7. การติดต่อประสานงาน และอื่น ๆ 7.1 งานธุรการ 7.2 งานประกันคุณภาพการศึกษา 7.3 งานติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอก 7.4 งานให้คำปรึกษา ชี้แจง และให้ข้อเสนอแนะสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ 7.5 งาน ITA


5 บทบาทหนาท้ความรี่ับผิดชอบของตำแหน่ง นายสันติสุข โพธิ์งาม ตำแหน่งบุคลากร ระดับปฏิบัติการ สังกัดงานบริหารงานบุคคล กองกลาง สำนักงานอธิการบดีมีหน้าที่ความรับผิดชอบตามตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้ งานที่ 1 งานทะเบียนประวัติบุคลากร จัดทำทะเบียนประวัติบุคลากรรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลประวัติ การรับราชการของบุคลากร และรับผิดชอบปรับปรุงข้อมูลในระบบบัญชีถือจ่ายเงินเดือน งานที่ 2 งานบริการข้อมูลสารสนเทศบุคลากร รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลที่มีการใช้งานเป็นประจำ เพื่อนำมาจัดทำเป็นรายงาน สารสนเทศ และเผยแพร่ข้อมูลรูปแบบออนไลน์ที่เว็บไซต์งานบริหารงานบุคคล จัดทำข้อมูลต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานภายในและภายนอก ตามที่ได้รับมอบหมาย งานที่ 3 งานแผนและอัตรากำลังบุคลากร จัดเตรียมข้อมูลเพื่อใช้สนับสนุนการจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร และแผน ย่อยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลอัตรากำลัง วางแผนและปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินการด้าน อัตรากำลัง ของบุคลากรสายสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ งานที่ 4 งานหนังสือรับรองการปฏิบัติงาน จัดทำหนังสือรับรองการปฏิบัติงานและเงินเดือน หนังสือรับรองความประพฤติ หนังสือรับรองความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ งานที่ 5 งานบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ จัดทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ตรวจสอบความถูกต้อง และเสนอผู้บริหารพิจารณา งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย 1) ให้คำปรึกษา แนะนำเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำสัญญาจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยผู้ มีความรู้ความสามารถพิเศษ (อาจารย์ศักยภาพประจำหลักสูตร) 2) จัดเตรียมข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อใช้ประกอบการประเมิน คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) 3) จัดทำบัญชีผู้มีสิทธิลงสมัครและผู้มีสิทธิออกเสียง การเลือกตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย 4) รับผิดชอบดูแลเว็บไซต์งานบริหารงานบุคคล เผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ตามที่ได้รับมอบหมาย 5) จัดการประชุมทางไกลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


6 ลักษณะงานทปฏี่ิบัติ ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งสายงานบริหารงานบุคคล ที่กำหนดโดยคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553 ได้กำหนดมาตรฐาน กำหนดตำแหน่งสายบุคลากร ระดับปฏิบัติการไว้ดังนี้ หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคล ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ลักษณะงานทปฏี่ิบัติในแต่ละด้าน 1. ด้านการปฏิบัติงาน 1.1 ปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารงานทรัพยากรบุคคล เช่น การกำหนดตำแหน่ง และ อัตราเงินเดือน การรับรองคุณวุฒิการจัดระบบงาน การสรรหา การสอบ การบรรจุแต่งตั้ง โอน ย้าย การจัดทำทะเบียนประวัติการจัดหา แก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับประวัติการรับราชการ การเลื่อน เงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง การส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร การจัดสรรทุน การดำเนินการ เรื่องการขอรับบำเหน็จบำนาญและเงินทดแทน การพิจารณาดำเนินการทางวินัย เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กฎ มติคณะรัฐมนตรีและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 1.2 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ปัญหา ในการ สรรหาและพัฒนาบุคลากร รวบรวมรายละเอียดข้อมูล เพื่อประกอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรบุคคล และประกอบการวางระบบ การจัดทำมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน 1.3 ให้บริการวิชาการด้านต่าง ๆ เช่น ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการปฏิบัติงานแก่ เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และแก่นักศึกษาที่มาฝึกปฏิบัติงาน ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และปฏิบัติหน้าท่ีอื่นที่ เกี่ยวข้อง 2. ด้านการวางแผน วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด 3. ด้านการประสานงาน 3.1 ประสานการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานหรือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้


7 3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย 4. ด้านการบริการ 4.1 ให้คำปรึกษา แนะนำเบื้องต้น เผยแพร่ถ่ายทอดความรู้ทางด้านการบริหารงาน ทรัพยากรบุคคล รวมทั้งตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่เพ่อให ืผู้้รับบริการ ได้รับทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ 4.2 จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น และให้บริการข้อมูลทางวิชาการ เกี่ยวกับด้านการบริหารงาน ทรัพยากรบุคคล เพื่อให้บุคลากรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน นักศึกษา ตลอดจนผู้รับบริการ ได้ ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์สอดคล้อง และสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์มาตรการต่าง ๆ 5. คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1) ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ 2) ได้รับปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ 3) ได้รับปริญญาเอก หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้


8 โครงสร้างการบริหารจดการั กองกลาง สำนักงานอธิการบดีตั้งอยู่ที่อาคาร 9 ชั้น 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีเป็น หน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดีจัดตั้งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการและในกองกลางมีงานที่อยู่ ในความดูแลจำนวน 10 งาน ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีเรื่องการแบ่งส่วนราชการระดับ งานในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีพ.ศ. 2550 และที่เพิ่มเติม ดังนี้ โครงสร้างหน่วยงาน แผนภูมิที่ 2.1 โครงสร้างหน่วยงานภายในสำนักงานอธิการบดี


9 โครงสร้างการบริหารของกองกลาง สำนักงานอธิการบดี แผนภูมิที่ 2.2 โครงสร้างการบริหารสำนักงานอธิการบดี


10 บุคลากรสังกัดงานบริหารงานบุคคล แผนภูมิที่ 2.3 บุคลากรงานบริหารงานบุคคล


11 จากแผนภูมิที่ 2.3 มีรายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. นางสาวธันย์ธณิภา พูลสวัสดิ์ ตำแหน่งบุคลากร ระดับปฏิบัติการ หัวหน้างานบริหารงานบุคคล 2. นางสาวศิราพร โพธิ์ศรีทอง ตำแหน่งพนักงานธุรการ ระดับ 3 รองหัวหน้างานบริหารงานบุคคล - สรรหา ทดลองงาน บรรจุแต่งตั้ง - การเลื่อนเงินเดือน - การจัดทำสัญญาจ้าง - การคัดเลือกข้าราชการดีเด่น - โครงการจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล - การประเมินผลการปฏิบัติราชการ - กรอบอัตรากำลัง 3. นางสาวอรนุช สมณฑาุตำแหน่งบุคลากร ระดับปฏิบัติการ - การลงชื่อปฏิบัติราชการ สถิติวันลา - บำเหน็จบำนาญ กองทุน กบข. และกองทุน กสจ. - การเสนอขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ - การเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น - งานทะเบียนประวัติข้าราชการ ก.พ.7 4. นางวนิดา มลิผล ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป - การเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ 5. นายสันติสุข โพธิ์งาม ตำแหน่งบุคลากร ระดับปฏิบัติการ - ฐานข้อมูลทะเบียนประวัติ - โครงการจ่ายตรงเงินเดือน กรมบัญชีกลาง - บริการข้อมูลสารสนเทศด้านบุคลากร - หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน และบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ - แผนบริหารและพัฒนาบุคลากร - งานประกันคุณภาพ 6. นางสาวอัญชลิตา อึ๊งพานิช ตำแหน่งบุคลากร ระดับปฏิบัติการ - งานธุรการ - ประกันสังคม - กองทุนพัฒนาบุคลากร - กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานมหาวิทยาลัย - งานคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวทยาลิ ัย


12


13 บทที่ 3 หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติงานและเงื่อนไข หลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน การดำเนินการเบิกจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำในปัจจุบัน กรมบัญชีกลางกำหนดให้ส่วน ราชการเบิกจ่ายผ่านระบบจ่ายตรงเงินเดือนของกรมบัญชีกลาง (Direct Payment) โดยจะดำเนินการ โอนเงินเดือนค่าจ้างประจำ ค่าตอบแทนและเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะเดียวกับเงินเดือนเข้าบัญชีเงินฝาก ธนาคารของผู้มีสิทธิโดยตรง แต่ก่อนที่จะดำเนินการเบิกจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำได้นั้น ส่วน ราชการผู้เบิกจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องที่มีรายละเอียดอีกเป็นจำนวนมาก ในบทนี้จะกล่าวถึง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำโดยสรุปเพียงบางประเด็น ดังนี้ การจ่ายเงินเดือนและเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะเดียวกัน ตามพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปีบำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเดือนข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนไม่เต็มเดือนให้จ่าย ตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในเดือนนั้น การจ่ายเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่หรือ กลับเข้ารับราชการใหม่ ให้จ่ายตั้งแต่วันที่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ราชการ การจ่ายเงินเดือนกรณีที่มีการเล่ือน ขั้น เลื่อนระดับหรือเลื่อนขั้นเงินเดือนให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน การจ่าย เงินเดือนประจำเดือนให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ สำหรับกรณีที่ ต้องเบิกเงินจากธนาคารให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้นสามวันทำ การ ทั้งนี้กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันที่จ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้ เมื่อข้าราชการถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการ ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าของ เงินเดือนเต็มเดือนในเดือนที่ถึงแก่ความตาย ทั้งนี้ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาโดย ทำเป็นหนังสือยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด หากข้าราชการผู้ตายไม่ได้แสดงเจตนาไว้หรือบุคคลซึ่ง ข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาไว้ตายก่อนก็ให้แก่ทายาทตามกฎหมายได้แก่คู่สมรส บุตร บิดามารดา และผู้อุปการะเลี้ยงดู


14 การจ่ายเงินประจำตำแหน่ง ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่ใช่ข้าราชการ พ.ศ. 2539 กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประจำตำแหน่ง ของข้าราชการและของผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ซึ่งไม่ได้เป็นข้าราชการ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่เริ่มเข้า ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ถ้าปฏิบัติงานในตำแหน่งไม่เต็มเดือน ให้ จ่ายตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งในเดือนนั้น ถ้าได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรง ตำแหน่งใหม่ที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ให้ขาดจากเงินประจำตำแหน่งเดิม ซึ่งต้องไม่ก่อนวันที่ เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งใหม่และถ้าโอนไปดำรงตำแหน่งอื่นที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ให้จ่ายทางสังกัดใหม่และงดเบิกทางสังกัดเดิมตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่ง ถ้ามีการเบิกล่วงล้ำไป ให้เบิกเงิน ประจำตำแหน่งสังกัดใหม่ใช้สังกัดเดิม โดยวิธีการเบิกหักผลักส่ง แล้วให้สังกัดใหม่แจ้งการเบิกหักผลัก ส่งให้สังกัดเดิมทราบ ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใดได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่งในระหว่างวันที่ผู้นั้นมิได้ปฏิบัติหน้าที่ หลัก การจ่ายเงินเดือนและเงินที่จ่ายควบกันของผู้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งในกรณีต่าง ๆ ให้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. กรณีลาออก ให้จ่ายถึงวันก่อนวันลาออก 2. กรณีให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันที่ระบุในคำสั่ง 3. กรณีเกษียณอายุราชการ ให้จ่ายได้ถึงวันสิ้นปีงบประมาณ (30 กันยายน) 4. กรณีลาป่วย ให้จ่ายระหว่างลาไม่เกิน 60 วันทำการ 5. กรณีลาคลอดบุตร ให้จ่ายระหว่างลา ไม่เกิน 90 วัน 6. กรณีลากิจส่วนตัว ให้จ่ายระหว่างลา ไม่เกิน 45 วันทำการ แต่ถ้าในปีที่เริ่มรับราชการ ระหว่างลากิจส่วนตัวให้จ่ายเงินประจำตำแหน่ง ไม่เกิน 15 วันทำการ 7. กรณีลาพักผ่อนประจำปีให้จ่ายระหว่างลา ไม่เกินระยะเวลาที่ผู้นั้นมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปี 8. กรณีอุปสมบท ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และไม่เคยอุปสมบท ให้จ่าย ไม่เกิน 60 วัน 9. กรณีลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้จ่ายไม่เกิน 60 วัน 10. กรณีเสียชีวิต ให้จ่ายจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย 11. กรณีละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้งดจ่ายตั้งแต่วันที่ผู้จ่ายนั้นละทิ้งหน้าที่ราชการ 12. กรณีลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ให้งดจ่าย 13. กรณีลาติดตามคู่สมรส ให้งดจ่าย


15 การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนใน สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับ เงินเดือน พ.ศ. 2554 ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการเลื่อนเงินเดือนของ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2554 หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ ศธ 0509 (2) /ว 1 ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554 เรื่อง การประเมินผลการปฏิบัติราชการและการ เลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยให้เลื่อนไม่เกินวงเงินที่ส่วนราชการได้รับ จัดสรรให้ใช้ในการเลื่อนเงินเดือน การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการแต่ละคนในแต่ละครั้ง ให้เลื่อนได้ในอัตราไม่เกินร้อยละหกของ ฐานในการคำนวณ และให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน การคำนวณจำนวนเงินสำหรับการเลื่อนเงินเดือน ถ้ามีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปัดเป็นสิบบาทการ เลื่อนเงินเดือนข้าราชการโดยปกติให้เลื่อนปีละสองครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 การเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีแรก เลื่อนวันที่ 1 เมษายน ครั้งที่ 2 การเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีหลัง เลื่อนวันที่ 1 ตุลาคม ผลการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการแต่ละคนในแต่ละครั้ง ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน เงินเดือนจัดให้มีการแจ้งให้ข้าราชการทราบเป็นข้อมูลเฉพาะของแต่ละคน การแจ้งผลการเลื่อน เงินเดือนให้ประกอบไปด้วย 1. อัตราร้อยละที่ได้รับการเลื่อน 2. ฐานในการคำนวณ 3. จำนวนเงินที่ได้รับการเลื่อน 4. เงินเดือนที่พึงได้รับเมื่อได้รับการเลื่อนตามผลการเลื่อนแล้ว การจ่ายเงินค่าจ้างลูกจ้างประจำ ตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 กำหนด หลักเกณฑ์การรจ่ายค่าจ้างลูกจ้างประจำในวันทำการปกติแบบรายเดือน ให้เป็นไป ดังนี้ 1. กำหนดให้จ่ายค่าจ้างเดือนละครั้งตามเดือนปฏิทินปกติให้เริ่มจ่ายในวันทำการสุดท้ายของ เดือน ส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่จะกำหนดวันเริ่มจ่ายค่าจ้างเป็นวันอื่นของเดือนถัดไป ก็ให้ กระทำได้แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 วัน 2. กำหนดวันทำการให้เป็นไปตามเวลาการทำงานของทางส่วนราชการ ส่วนราชการใดมีเหตุ พิเศษจะกำหนดเวลาทำงานปกติไว้เกินกว่านั้นก็ให้กระทำได้แต่ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง


16 3. การปฏิบัติงานนอกเวลาทำงานปกติหรือปฏิบัติงานในวันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุด พิเศษ แล้วแต่กรณีให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทนการ ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการโดยอนุโลม ถ้ามีกรณีนอกเหนือไปจากระเบียบดังกล่าว ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนด การเลื่อนขั้นค่าจ้างลูกจ้างประจำ การเลื่อนขั้นค่าจ้างประจำให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 31 (2) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเลื่อนขั้น ค่าจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2544 และหนังสือกระทรวงการคลังที่กค 0428/ว 47 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้ 1. ให้หัวหน้าส่วนราชการในส่วนกลาง หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้น 2. การเลื่อนขั้นค่าจ้างลูกจ้างประจำให้เลื่อนปีละสองครั้ง ดังนี้ ครั้งที่หนึ่ง สำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีแรก เลื่อนวันที่ 1 เมษายน ครั้งที่สอง สำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีหลัง เลื่อนวันที่ 1 ตุลาคม การจ่ายเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2547 กำหนดหลักเกณฑ์การรจ่ายเงินข้าราชการ ซึ่งได้รับเงินประจำตำแหน่งให้ได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนเท่ากับเงินประจำตำแหน่ง เว้นแต่ ข้าราชการซึ่งได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ การใช้งานระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ กระทรวงการคลังได้พัฒนาระบบจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ เป็นระบบการจ่ายเงินเข้า บัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่ข้าราชการ และลูกจ้างประจำโดยตรงจากกรมบัญชีกลาง (e-Payment) ประกอบกับกระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้างประจำตามโครงการ จ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากของข้าราชการ/ลูกจ้างประจำโดยตรง (โครงการจ่ายตรง) และกำหนดให้ เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจากส่วนราชการ บันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับข้าราชการและลูกจ้าง แต่ละรายในระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำของกรมบัญชีกลาง (e-Payroll) โดยผู้จัดทำได้ สรุปประเด็น สำคัญ ๆ ดังนี้


17 1. เงินที่กรมบัญชีกลางจะดำเนินการโอนตามโครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ จ่ายตรงฯ ในแต่ละเดือน มีดังนี้ 1.1 งบบุคลากร ได้แก่เงินเดือน ค่าจ้างประจำ เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่าย ควบคู่กับเงินเดือน ยกเว้นเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ 1.2 งบดำเนินงาน ได้แก่เงินตอบแทนพิเศษ ผู้ได้รับเงินเดือน หรือค่าจ้างสูงของอันดับ หรือตำแหน่ง (เต็มขั้น) 1.3 งบกลาง ได้แก่เงินสมทบและเงินชดเชยในกรณีที่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำเป็น สมาชิก กบข./กสจ. หรือเงินอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้หักและส่วนราชการประสงค์ที่จะเบิกจ่ายผ่าน ระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ 2. เงินที่หักจากเงินเดือน ค่าจ้างก่อนโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของข้าราชการและ ลูกจ้างประจำ ประกอบด้วยเงิน 2 ประเภท คือ 2.1 เงินที่กฎหมายกำหนดให้หักจากเงินเดือน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินสะสม เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 2.2 เงินที่ไม่มีกฎหมายกำหนดให้หักจากเงินเดือน ส่วนราชการผู้เบิกจะหักเงินเดือน ค่าจ้างประจำที่เบิกจากคลังไว้เพื่อการใด ๆ มิได้เว้นแต่จะมีหนังสือยินยอมจากข้าราชการหรือ ลูกจ้างประจำ 3. ให้กรมบัญชีกลางใช้บัญชีถือจ่ายของส่วนราชการที่กรมบัญชีกลางอนุมัติแล้วเป็น ฐานข้อมูลในการเบิกจ่ายเงินเดือน และค่าจ้างประจำ ซึ่งกรมบัญชีกลางจะดำเนินการตามโครงการจ่าย ตรงในเดือนแรกของการเริ่มโครงการฯ 4. การเบิกเงินเดือน ค่าจ้างประจำเข้าบัญชีธนาคารให้ดำเนินการ ดังนี้ 4.1 การเบิกเงินเดือน ค่าจ้างประจำ ในเดือนแรกของการเริ่มโครงการฯ ให้ส่วนราชการ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ บันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับข้าราชการและลูกจ้างประจำ แต่ ละรายในระบบฐานข้อมูลของกรมบัญชีกลาง 4.2 หนี้ที่แจ้งให้กรมบัญชีกลางหักต้องมีเงื่อนไข ดังนี้ 4.2.1 กรณีเป็นหนี้ที่ต้องชำระให้แก่ทางราชการ ส่วนราชการเจ้าสังกัดจะต้องแจ้ง ให้กรมบัญชีกลางดำเนินการหักจากเงินเดือน และเมื่อกรมบัญชีกลางโอนเงินเข้าบัญชีส่วนราชการแล้ว ให้ส่วนราชการนำเงินดังกล่าวส่งคืนคลัง 4.2.2 กรณีจำนวนหนี้เกินวงเงินที่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ มีสิทธิได้รับ กรมบัญชีกลางจะไม่หักหนี้ให้แต่จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่ข้าราชการ หรือ ลูกจ้างประจำรายนั้นเต็มจำนวนที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ 4.2.3 เมื่อหักหนี้ของข้าราชการและลูกจ้างประจำแล้ว จะต้องมียอดเงินคงเหลือ ในบัญชีเงินฝากของผู้นั้นเพียงพอที่จะหักค่าธรรมเนียมธนาคาร (ถ้ามี) 4.3 การเบิกจ่ายเงินเดือนค่าจ้างในเดือนถัดไป 4.3.1 ให้ส่วนราชการมอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการออกคำสั่งบันทึก ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบ และไม่มีผลกระทบกับการเบิกจ่ายเงินเดือนในคอมพิวเตอร์เช่น


18 คำสั่งบรรจุแต่งตั้ง โยกย้าย การเลื่อนระดับ การปรับวุฒิการเลื่อนเงินเดือน การลาออก เสียชีวิต รวม ไปถึงการลงโทษทางวินัย เช่น การตัดเงินเดือน ปลดออก ฯลฯ โดยบันทึกผ่านระบบบัญชีถือจ่าย และ ให้ส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่ง 4.3.2 ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเบิกเงินเดือน ทำการบันทึกรายการเบิกและ หักหนี้พร้อมทั้งประมวลผลเพื่อออกรายงาน 4.4 การจ่ายเงินเดือน ค่าจ้างประจำ และเงินอื่น ๆ ล่วงล้ำในทุกกรณีให้ส่วนราชการเจ้า สังกัดใหม่เบิกเงินดังกล่าวชดใช้คืน และแจ้งให้ส่วนราชการเดิมทราบ 4.5 การจ่ายเงินเดือน ค่าจ้างประจำ และเงินอื่น ๆ เกินสิทธิทุกกรณีให้ส่วนราชการ เรียกเงินส่วนที่เกินคืน แล้วนำเงินส่งคืนคลังตามกฎหมาย 4.6 ให้ส่วนราชการตรวจสอบรายได้รวมพึงประเมินทั้งปีและการหักภาษีณ ที่จ่ายของ ข้าราชการและลูกจ้างประจำ เมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้วให้ออกใบรับรองภาษีณ ที่จ่ายและรายงาน ภงด. 1 ก (พิเศษ) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 4.7 กรณีมีการเปลี่ยนแปลงเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ให้ส่วนราชการบันทึกการเปลี่ยนแปลงในคอมพิวเตอร์โดยผ่านระบบการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้าง ประจำของกรมบัญชีกลาง และตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมแจ้งกรมบัญชีกลางภายในวันที่ 15 ของ เดือนที่มีการบันทึกการเปลี่ยนแปลง 5. เมื่อกรมบัญชีกลางได้รับแจ้งรายละเอียดการขอเบิกเงินเดือน ค่าจ้างประจำจากส่วน ราชการตามข้อ 4 แล้ว กรมบัญชีกลางจะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยและดำเนินการ โอนเงินเข้าบัญชีต่าง ๆ ตามแต่กรณี 6. ในกรณีที่ข้อมูลไม่ถูกต้องตรงกัน กรมบัญชีกลางจะแจ้งให้ส่วนราชการทราบเพื่อแก้ไขให้ ถูกต้อง และส่งกลับถึงกรมบัญชีกลางภายในวันที่ 20 ของเดือน 7. กรมบัญชีกลางจะจัดส่งข้อมูลเงินเดือน ค่าจ้างสุทธิเงินสะสม เงินสมบทเงินชดเชย เงิน กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ในรูปแบบของสื่อคอมพิวเตอร์ให้กับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8. กรมบัญชีกลางจะนำส่งใบแนบใบโอนแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (แบบ 4113) ให้กรมสรรพากรเป็นรายเดือน 9. กรณีศาลพิพากษา หรือมีคำสั่งบังคับคดีให้อายัดเงินเดือน และค่าจ้างประจำ หรือเงินอื่น ใดที่อยู่ในความรับผิดแห่งคดีเพื่อจะชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพในคดีเยาวชน และ ครอบครัว


19 การใช้งานอุปกรณ์ Token key Token key หรือ CGD Direct Payment Token key คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบหรือ พิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้งาน การเข้าใช้งานระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำของกรมบัญชีกลางใน แต่ละครั้ง ผู้ใช้งานระบบต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์ Token key ดังรูปภาพที่ 3.1 ผ่านพอร์ต USB ของ เครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน และพิสูจน์ตัวตนเพื่อเป็นการตรวจสอบหลักฐานว่าเป็นบุคคลนั้นจริง ด้วย รหัสผ่านที่เรียกว่า Passphrase รูปภาพที่ 3.1 อุปกรณ์ Token key กรมบัญชีกลางได้จัดสรรอุปกรณ์ Token key ให้หัวหน้าส่วนราชการที่เข้าร่วมโครงการจ่าย ตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ โดยส่วนราชการสามารถขอรับการจัดสรรอุปกรณ์ Token key จาก กรมบัญชีกลางเพิ่มเติมได้ด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้ 1. มีการจัดตั้งเป็นส่วนราชการรับเงินงบประมาณประเภทงบบุคลากร หมวดเงินเดือนและ ค่าจ้างขึ้นใหม่ 2. หน่วยเบิกงบประมาณ หน่วยถืองบประมาณใหม่มีความจำเป็นต้องกำหนดเป็นหน่วย ประมวลผลย่อยในระบบ 3. ชำรุด หรือสูญหาย 4. ขอใช้งานเป็นการชั่วคราว


20 การขอรับจัดสรรอุปกรณ์ Token key จากกรมบัญชีกลาง ให้หัวหน้าส่วนราชการแจ้ง กรมบัญชีกลางเป็นหนังสือโดยให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ขอรับอุปกรณ์ซึ่งประกอบด้วย ชื่อ สกุล และหมายเลขประจำตัวประชาชน ของผู้ขอรับหรือผู้ถือครองอุปกรณ์หากผู้มาติดต่อ กรมบัญชีกลางมิใช่ผู้ขอรับอุปกรณ์ให้ระบุชื่อ สกุล และหมายเลขประจำตัวประชาชน ของ ผู้ดำเนินการแทนประกอบในหนังสือเพื่อความปลอดภัยแก่การรับอุปกรณ์กลับคืน พร้อมแนบเอกสาร หลักฐานประกอบการขอรับจัดสรรส่งให้กรมบัญชีกลาง ตามกรณีดังนี้ 1. แบบฟอร์มการขอ / ยกเลิก รหัสผู้ใช้งาน รหัสผ่าน 2. แบบลงทะเบียนผู้มีสิทธิขอใช้งาน Token key 3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 4. กรณีเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ให้มหาวิทยาลัยจัดทำรายละเอียดข้อมูลอัตรา และผู้ ครองพร้อมส่งไฟล์ข้อมูลอัตราและผู้ครองดังกล่าวทางอีเมล [email protected] อุปกรณ์ Token key จะกำหนดสิทธิให้มีอายุการใช้งานได้เพียง 3 ปีการต่ออายุสามารถต่อ ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 6 เดือน โดยให้หัวหน้าส่วนราชการแจ้งกรมบัญชีกลางเป็นหนังสือ ซึ่งในหนังสือให้มี รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ขอรับบริการซึ่งประกอบด้วย ชื่อ สกุล หมายเลขประจำตัวประชาชน และหมายเลขอุปกรณ์ Token key พร้อมทั้งส่งอุปกรณ์มาด้วย หากผู้มาติดต่อกรมบัญชีกลางมิใช่ผู้ ขอรับอุปกรณ์ให้ระบุชื่อ สกุล และหมายเลขประจำตัวประชาชน ของผู้ดำเนินการแทนประกอบใน หนังสือเพื่อความปลอดภัยแก่การรับอุปกรณ์กลับคืน เมื่อส่วนราชการหมดความจำเป็น หรือไม่ประสงค์จะใช้อุปกรณ์ Token key ด้วยเหตุใดก็ตาม ให้หัวหน้าส่วนราชการ แจ้งกรมบัญชีกลางเป็นหนังสือเพื่อส่งคืนอุปกรณ์ Token key โดยให้มี รายละเอียดของผู้ใช้งาน แนบพร้อมอุปกรณ์มาด้วย สำหรับวิธีการตรวจสอบวันหมดอายุ Token key สามารถดูได้ที่ภาคผนวก ก และแบบฟอร์ม ข้อมูลเพื่อการลงทะเบียน และต่ออายุ Token key สามารถดูได้ที่ภาคผนวก ข


21 วิธีการปฏิบัติงาน ขอบเขตการปฏิบัติงาน ขอบเขตในการปฏิบัติงานในระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำมีส่วนประกอบหลัก และมีความสมพั ันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนี้ 1. ระบบข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ระบบข้อมูลพื้นฐานเป็นส่วนหนึ่งของระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ที่ผู้ใช้งาน สามารถค้นหาดูได้ซึ่งระบบนี้จะเป็นระบบที่รวมรหัสต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันภายใต้ระบบจ่ายตรงเงินเดือน และค่าจ้างประจำ เช่น ฐานภาษีรหัสธนาคาร หรือใช้ในกรณีแก้ไข เปลี่ยนปีงบประมาณเนื่องจากรหัส เบิกจ่ายในระบบ GFMIS เปลี่ยนแปลง เช่น รหัสกิจกรรมหลัก เป็นต้น 2. ระบบบัญชีถือจ่าย เป็นระบบงานที่สำคัญระบบงานหนึ่ง ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวข้อมูล หรือ รายการตามคำสั่งที่มีผลกระทบกับอัตราหรือตัวคน ซึ่งเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์และสำคัญกับระบบ การจ่ายเงินเดือนอย่างมาก เนื่องจากภายใต้การลงคำสั่งบนระบบถือจ่ายนั้น จะถูกนำมาใช้ในการ ประมวลสร้างรายการการจ่ายของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ประกอบไปด้วย เงินเดือนหรือค่าจ้าง ประจำ และเงินเพิ่มอื่น ๆ เงินหักต่าง ๆ เป็นต้น 3. ระบบทะเบียนประวัติ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับงานการออกคำสั่งอัตโนมัติการออกรายงาน ก.พ.7 หรือข้อมลู ส่วนบุคคลอื่น ๆ ซึ่งในระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจ่ายเป็นบางส่วน เช่น ปรับปรุงรายการลดหย่อนภาษี ในรายการข้อมูลครอบครัว และที่อยู่ฯลฯ 4. ระบบจ่ายตรงเงินเดือน หรือค่าจ้างประจำ เป็นระบบที่ใช้สำหรับสร้างรายการเพื่อการเบิกจ่ายพร้อมเข้าบัญชีเงินฝากให้กับ ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในแต่ละเดือน โดยระบบจะประมวลผลข้อมูลจากทุกระบบงานที่ เกี่ยวข้องมาสร้างเป็นรายการที่เกิดขึ้น จะเป็นรายการที่เกิดจากการลงคำสั่ง ณ เวลาที่หยุดคำสั่งตามที่ กำหนดกันระหว่างงานบริหารงานบุคคล และงานบริหารการคลัง เพื่อให้เครื่องประมวลผลสร้างบัตร เงินเดือนในแต่ละเดือน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มการทำงานอยู่ 4 ส่วนการทำงาน ดังนี้ 4.1 กลุ่มการทำงานสำหรับส่วนราชการที่ส่วนกลาง 4.2 กลุ่มการทำงานสำหรับส่วนราชการในลักษณะกระจายการทำงาน หรือแบบมี หน่วยงานประมวลผลย่อย 4.3 กลุ่มการทำงานสำหรับกรมบัญชีกลาง เพื่อตรวจสอบและเบิกจ่ายอนุมัติในระบบ GFMIS 4.4 กลุ่มการทำงานสำหรับกรมบัญชีกลาง เพื่อตรวจสอบและสั่งจ่าย โอนเงินเข้าบัญชี เงินฝากข้าราชการ และลูกจ้างประจำ


22 วิธีการปฏิบัติงาน การดำเนินการในระบบของโครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ในส่วนที่งาน บริหารงานบุคคลรับผิดชอบ มีวิธีการปฏิบัติที่ผู้รับผิดชอบต้องทราบ มีดังนี้ 1. การดำเนินการบันทึกข้อมูลในระบบบัญชีถือจ่ายในกรณีต่าง ๆ เช่น มีคำสั่งแต่งตั้ง บรรจุ โยกย้าย และการเลื่อนเงินเดือนต้องดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อย และจัดทำสรุปรายงานให้งานบริหาร การคลังทราบ ภายในวันที่ 5 ของเดือนที่จะเบิกจ่าย 2. การบันทึกข้อมูลเงินประจำตำแหน่งวิชาการ ตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะและเชี่ยวชาญเฉพาะ ให้บันทึกหลังจากได้รับอนุมัติทะเบียนตำแหน่งแล้วเท่านั้น 3. การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการให้ตรวจสอบเงินเดือนเต็มขั้นก่อน และหากมีข้าราชการ เงินเดือนเต็มขั้น ให้ตรวจสอบข้อมูลการได้เงินเดือนข้ามแท่งตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ที่ศธ 0509 (5)/ว887 เรื่อง กฎ ก.พ.อ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนใน สถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 และแก้ไข POSTYPE ให้ถูกต้องก่อนเลื่อน เงินเดือน 4. บันทึกอัตราว่างในวันสิ้นปีงบประมาณ (30 กันยายน ของทุกปี) 5. กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำเสียชีวิต เกษียณ ลาออก ถ้ามีเงินตกเบิก งาน บริหารงานบุคคลไม่ต้องดำเนินการใด ๆ โดยงานบริหารการคลังจะดำเนินการเอง 6. การจัดทำบัญชีถือจ่ายประจำปี (บัญชีหมายเลข 1 ) ให้จัดทำหลังจากเลื่อนเงินเดือนรอบ 1 ตุลาคม เรียบร้อยแล้วเท่านั้น 7. Token key มีอายุการใช้งาน 3 ปีหากใกล้ครบกำหนดให้ติดต่อศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศ กรมบัญชีกลาง เพื่อขอต่ออายุการใช้งาน


23 แนวคิด และสงทิ่ี่ควรคำนึงถงในการปฏ ึ ิบัตงานิ จากประสบการณ์ของผู้จัดทำคู่มือ ซึ่งได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการบันทึกข้อมูลใน โครงการจ่ายตรงเงินเดือนฯ ในส่วนของงานบริหารงานบุคคลต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน) สรุปข้อควรระวัง และสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. เพื่อป้องกันการความเสียหายขณะบันทึกข้อมูล ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่สภาพดีติดตั้ง โปรแกรมรักษาความปลอดภัย และไม่เปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานบ่อย 2. หลีกเลี่ยงการทำงานในช่วงที่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่เสถียรภาพ เพราะการ ดำเนินการข้อมูลอาจผิดพลาด ทำซ้ำซ้อน หรือสูญหายได้ 3. ถอด Token key ออกจากคอมพิวเตอร์ทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และไฟกระชากจากช่อง USB ของคอมพิวเตอร์ 4. เก็บรักษา Token key ไว้ในที่มิดชิด ห้ามเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง ห้ามวางของที่มี น้ำหนักมากทับ 5. ไม่ควรเก็บเอกสารรหัสการใช้งานและ Token key ไว้คู่กัน และหาก Token key ชำรุด หรือสูญหายให้รีบดำเนินการแจ้งกรมบัญชีกลางเพื่อระงับการใช้งานในทันที 6. การกรอกรหัสผ่าน Passphrase เพื่อเข้าใช้งานระบบ ต้องกรอกด้วยความระมัดระวัง เพราะหากกรอกรหัสผิดเกิน 10 ครั้ง อุปกรณ์ Token key จะถูกระงับการใช้งานทันทีและไม่สามารถ ใช้งานได้อีก จนกว่าผู้รับผิดชอบ Token key จะนำไปแก้ไขที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมบัญชีกลาง เพื่อตั้งค่าและกำหนดรหัสให้ใหม่จึงจะสามารถกลับมาใช้งานได้ 7. เปลี่ยนรหัสผู้ใช้งาน (password) อย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน และจดบันทึกประวัติการ เปลี่ยนแปลงรหัสไว้ทุกครั้ง โดยรหัสที่กำหนด ต้องเป็นทั้งตัวเลขและตัวอักษรที่คาดเดาได้ยาก รวมกัน อย่างน้อย 12 ตัว 8. หากผู้รับผิดชอบมี Token key ใช้งานมากกว่า 1 อัน หรือมี Token key สำรอง ให้นำมา สลับกันใช้เสมอ เพราะหากกรมบัญชีกลางพบกว่า Token key ใด ไม่มีการเชื่อมต่อใช้งานในระบบ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี Token key นั้น จะถูกระงับการใช้งาน 9. ทุกการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ ในหน้าจอบรรจุโยกย้ายของระบบ ต้องมีเอกสารประกอบ หรือแหล่งข้อมูลอ้างอิงได้เป็นไปตามข้อเท็จจริง และระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และต้องระบุ ข้อมูลลงในช่องหมายเหตุเสมอ 10. ตรวจสอบอายุการใช้งาน Token key และดำเนินการต่ออายุให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ (ขอต่ออายุล่วงหน้าได้ 6 เดือน) 11. การกรอก POSTYPE เป็นส่วนสำคัญของหน้าจอบรรจุโยกย้าย จึงต้องศึกษาให้เข้าใจ และจดบันทึกกรณีต่าง ๆ ไว้เพื่อสะดวกในการดำเนินการในครั้งต่อไป


24 12. การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างประจำ สามารถทำร่างคำสั่งในระบบบัญชีถือ จ่าย และนำมาใช้ตรวจสอบกับคำสั่งของมหาวิทยาลัย เพื่อทบทวนความถูกต้องก่อนการเลื่อน เงินเดือนจริง เช่น การตรวจสอบค่าตอบแทนพิเศษ การตรวจสอบเงินเดือนเต็มขั้น และฐานในการ คำนวณการเลื่อนขั้น 13. ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ในระบบตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยใช้รหัสกระทรวง 23 รหัสกรม 037 รหัสประเภทบุคลากร 41 แต่หากต้องการค้นหาข้อมูล หรือพิมพ์รายงานก่อน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ให้ใช้รหัสเดิมที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ คือ รหัสกระทรวง 20 รหัสกรม 124 รหัสประเภทบุคลากร 41 14. การเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ ในหน้าบัญชีถือจ่ายให้ตรวจเช็คอย่างละเอียด และ ระมัดระวังที่สุด อย่าลัดขั้นตอนหรือลองผิดลองถูกในระบบ หากไม่แน่ใจข้อมูลใดให้ติดต่อสอบถาม เจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง หมายเลขโทรศัพท์ 02-270-6400 หรืออีเมล [email protected] เพราะหากผิดพลาดจะแก้ไขยาก หรืออาจต้องเดินทางไปแก้ไขที่กรมบัญชีกลาง


25 บทที่ 4 เทคนิคในการปฏิบัติงาน กิจกรรม และแผนปฏิบัติงาน ในการดำเนินการเกี่ยวกับโครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ มีกิจกรรมที่ต้อง ดำเนินการตามคำสั่ง ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมที่ต้องดำเนินการเป็นประจำทุกปีงบประมาณ ดังตารางที่ 4.1 กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 1. ยุบอัตราว่างของ ข้าราชการที่ออกจาก ราชการในปีงบประมาณ ที่ผ่านมา 2. เลื่อนเงินเดือน ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2.1 เตรียมข้อมูลและ จัดทำร่างคำสั่งในระบบ 2.2 เลื่อนเงินเดือน 3. จัดทำบัญชถีือจ่าย เงินเดือนและค่าจ้าง (บัญชีหมายเลข 1) และ จัดส่งให้กรมบญชั ีกลาง 4. เลื่อนเงินเดือน ณ วันที่ 1 เมษายน 4.1 เตรียมข้อมูลและ จัดทำร่างคำสั่งในระบบ 4.2 เลื่อนเงินเดือน ตารางที่ 4.1 แสดงกิจกรรมทตี่้องดำเนินการเป็นประจำ


26 2. กิจกรรมที่ดำเนินการเมื่อมีคำสั่ง มีดังนี้ 2.1 การบันทึกคำสั่งการดำรงตำแหน่ง การบันทึกการดำรงตำแหน่ง เช่น - ประเภทวิชาการ เช่น เปลี่ยนจากตำแหน่งอาจารย์เป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ - ประเภทผู้บริหาร เช่น เปลี่ยนจากตำแหน่งผู้อำนวยการกอง เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานอธิการบดี - ลูกจ้างประจำ เช่น เลื่อนระดับจากระดับ 2 เป็นระดับ 3 2.2 การบันทึกเงินประจำตำแหน่ง เงินประจำตำแหน่งจะอยู่ในหมวดรายการเงินเพิ่ม กรณีเป็นตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะและเชี่ยวชาญเฉพาะ ต้องได้รับการอนุมัติทะเบียนตำแหน่งจากคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ก่อนจึงจะสามารถบันทึกเงินประจำตำแหน่งใน ระบบได้ 2.3 การบันทึกเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหารเมื่อพ้นวาระ กรณีมีตำแหน่งบริหารที่มีวาระการดำรงตำแหน่ง เช่น อธิการบดีคณบดีรองคณบดี พ้นวาระ จะต้องบันทึกคำสั่งพ้นจากตำแหน่ง และลบรายการเงินประจำตำแหน่งออก เพื่อหยุดเบิกเงิน ประจำตำแหน่ง 2.4 การบันทึกคำสั่งให้ข้าราชการโอนไปสังกัดหน่วยงานอื่น เมื่อได้รับคำสั่งให้โอน จะต้องติดต่อประสานกับต้นสังกัดปลายทางที่จะรับโอนก่อน แล้วจึงค่อยบันทึกข้อมูลในระบบโดยวันที่ให้โอนกับวันที่รับโอนจะต้องตรงกัน 2.5 การบันทึกคำสั่งรับโอนข้าราชการมาจากหน่วยงานอื่น เมื่อได้รับคำสั่งรับโอน จะต้องติดต่อประสานกับต้นสังกัดที่จะให้โอนก่อนแล้ว จึงค่อย บันทึกข้อมูลในระบบ โดยต้องตรวจสอบเงินเดือน อัตราที่ว่าง และวันที่รับโอนกับวันที่ให้โอนต้อง ตรงกัน 2.6 การบันทึกคำสั่งลาศึกษาและกลับจากลาศึกษา กรณีมีการลาศึกษาต่อโดยใช้เวลาราชการจะมีผลต่อการได้เลื่อนขั้นเงินเดือนของ ข้าราชการด้วย จึงต้องบันทึกคำสั่งลาศึกษาและกลับจากลาศึกษาทุกครั้ง 2.7 การบันทึกข้อมูลกรณีพ้นจากราชการ การพ้นจากราชการมีได้หลายกรณีกรณีเกษียณอายุราชการ ลาออกและปลดออกให้ บันทึกโดยอ้างอิงเลขประกาศหรือคำสั่ง กรณีเสียชีวิตให้ใช้เลขที่ใบมรณะบัตรบันทึกแทนเลขที่คำสั่ง หรือประกาศ


27 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การติดตั้งโปรแกรมสำหรับการใช้งานระบบ การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนการเข้าใช้งานระบบ เป็นการเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์และ ปรับสภาพแวดล้อมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้พร้อมสำหรับการใช้งานระบบจ่ายตรงเงินเดือนและ ค่าจ้างประจำของกรมบัญชีกลาง โดยรายการโปรแกรมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต้องติดตั้งโปรแกรม ดังต่อไปนี้ 1. Java Runtime Environment 2. ชุดติดตั้ง Driver Token Key 3. โปรแกรมสำหรับสนับสนุนการพิมพ์เอกสาร 4. Internet Explorer Version 8 ขึ้นไป (แนะนำ Version 11) สามารถเข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th เมื่อ ดาวน์โหลดโปรแกรมทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการตรวจสอบคุณสมบัติเครื่องคอมพิวเตอร์ และลำดับการติดตั้งโปรแกรม ดังนี้ 1. ตรวจสอบระบบปฏิบัติการและรุ่นของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการติดตั้งโปรแกรมที่ใช้สนับสนุนการใช้งานระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ของกรมบัญชีกลางจำเป็นต้องทราบถึงระบบปฏิบัติการ และรุ่นที่ใช้เพื่อเลือกติดตั้งโปรแกรมสนับสนุน ให้สอดคล้องกับระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้สามารถตรวจสอบได้โดยให้ไปที่ my computer หรือ This PC ให้คลิกขวาจะปรากฏ ดังรูปที่ 4.1 เลือก Properties รูปที่ 4.1 เมนูตรวจสอบระบบปฏิบัติการและรุ่นของเครื่องคอมพิวเตอร์


28 จากนั้นจะปรากฏชื่อระบบปฏิบัติการและรายละเอียดอื่น ๆ ดังรูปที่ 4.2 ระบบปฏิบัติการ windows 7 และรูปที่ 4.3 กรณีเป็นระบบปฏิบัติการ Windows 10 รูปที่ 4.2 รายละเอียดระบบปฏิบัติการ Windows 7 แบบ 64–bit รูปที่ 4.3 รายละเอียดระบบปฏิบัติการ windows 10 แบบ 64–bit


29 2. ดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับใช้งานระบบ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th โดยคลิกเลือกจ่ายตรงเงินเดือน ดังรูปที่ 4.4 และเลือกหน้าเมนู Download ดังรูปที่ 4.5 รูปที่ 4.4 แสดงลิงก์เว็บไซต์โครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำจ่ายตรงเงินเดือน รูปที่ 4.5 แสดงหน้าเมนู Download


30 จะแสดงรายการโปรแกรมทตี่้องติดตั้ง ดังรูปที่ 4.6 โดยให้เลือกดาวน์โหลดรุ่นของ โปรแกรมให้ตรงกับรุ่นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ รูปที่ 4.6 แสดงหน้าเมนู Download เมื่อดาวน์โหลดโปรแกรมลงเครื่องคอมพิวเตอร์เสร็จแล้ว ให้ติดตั้งโปรแกรมทั้งหมด โดยมี รายละเอียดขั้นตอนการติดตั้ง ดังนี้ 2.1 ชุดติดตั้ง Driver Token Key คลิกเลือกไฟล์ที่จะติดตั้ง TokenDriverB.exe คลิกเม้าปุ่มขวา เลือก run as administrator จะปรากฏหน้าต่าง WinRAR self-extracting archive ดังรูปที่ 4.7 ให้กดปุ่ม Install รูปที่ 4.7 หน้าต่าง WinRAR self-extracting archive


31 จะปรากฏหน้าต่าง Setup ดังรูปที่ 4.8 ให้กดปุ่ม Next รูปที่ 4.8 หน้าต่าง SafeNet Authentication Client Setup จะปรากฏหน้าต่างเลือกภาษา ดังรูปที่ 4.9 ให้เลือก English และกดปุ่ม Next รูปที่ 4.9 หน้าต่างเลือกภาษาที่ใช้งาน


32 จะปรากฏหน้าต่างเงื่อนไขการใช้โปรแกรม ดังรูปที่ 4.10 เลือก I accept the license agreement และกดปุ่ม Next รูปที่ 4.10 หน้าต่างเงื่อนไขการใช้โปรแกรม จะปรากฏหน้าต่างเลือกประเภทโปรแกรม ดังรูปที่ 4.11 เลือก Standard และกด ปุ่ม Next รูปที่ 4.11 หน้าต่างเลือกประเภทโปรแกรม


33 จะปรากฏหน้าต่างเลือกที่จัดเก็บไฟล์ดังรูปที่ 4.12 ให้กดปุ่ม Next หลังจากนั้น โปรแกรมจะเริ่มทำการติดตั้ง รูปที่ 4.12 หน้าต่างเลือกที่จัดเก็บไฟล์ จะใช้เวลาติดตั้งโปรแกรมโดยประมาณ 1 นาทีเมื่อติดตั้งโปรแกรมสำเร็จจะแสดง หน้าต่าง ดังรูปที่ 4.13 ให้กดปุ่ม Finish เป็นการสิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรม รูปที่ 4.13 หน้าต่างการสิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรม


34 2.2 Java Runtime Environment คลิกเลือกไฟล์ที่จะติดตั้ง JavaRuntime32.exe หรือ JavaRuntime64.exe คลิก เม้าปุ่มขวา เลือก run as administrator จะปรากฎหน้าจอโปรแกรมดังรูปที่ 4.14 รูปที่ 4.14 หน้าจอการติดตั้งโปรแกรม Java Runtime Environment กดปุ่ม Install โปรแกรมจะเริ่มติดตั้ง และเมื่อติดตั้งโปรแกรมสำเร็จให้กดปุ่ม Close ดังรูปที่ 4.15 เป็นการสิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรม รูปที่ 4.15 หน้าจอแสดงการติดตั้งโปรแกรมสำเร็จ


35 2.3 โปรแกรมสำหรับสนับสนุนการพิมพ์เอกสาร คลิกเลือกไฟล์ที่จะติดตั้ง ScriptX.exe คลิกเม้าปุ่มขวา เลือก run as administrator จะปรากฏหน้าต่างแจ้งเตือนลิขสิทธิ์โปรแกรม ดังรูปที่ 4.16 ให้กดปุ่ม Yes จะแสดง หน้าต่างยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลงการใช้โปรแกรม ดังรูปที่ 4.17 ให้กดปุ่ม Yes อีกครั้งโปรแกรมจะ เริ่มติดตั้งอย่างรวดเร็ว รูปที่ 4.16 หน้าต่างแจ้งเตือนลิขสิทธิ์โปรแกรม รูปที่ 4.17 หน้าต่างยอมรับเงื่อนไข และขอตกลงการใช ้ ้โปรแกรม


X จะปรากฏหน้าจอดังรูปที่ 28 ให้คลิกเลือก About Internet Explorer ดังรูปที่ 4.19 รูปที่ 4.19 หน้าจอ About Internet Explorer


X ใหคล้ ิกเลือก Internet option จะปรากฏหน้าต่าง Internet option ดังรูปที่ 4.21 รูปที่ 4.21 หนาต้ ่าง Internet option


38 เลือกแทบเมม Privacy ูให้เอาเครื่องหมาย ✓ หน้ารายการ Turn on Pop-up Blocker ออก ดังรูปที่ 4.22 รูปที่ 4.22 แทบเมมู Privacy เลือกแทบเมม Advancedูให้เอาเครื่องหมาย ✓ หน้ารายการ Use TLS 1.2 ออก และ กดปุ่ม OK ดังรูปที่ 4.23 รูปที่ 4.23 แทบเมมู Advanced


X ให้คลิกเลือก Compatibility View settings จะปรากฏหน้าต่าง Compatibility View ดังรูปที่ 4.24 รูปที่ 4.24 หน้าต่าง Compatibility View พิมพ์ cgd.go.th ช่อง Add this website ถ้าเปิดเว็บของกรมบัญชีกลางอยู่ cgd.go.th จะปรากฏขึ้นมาเองโดยไม่ต้องพิมพ์จากนั้นกดปุ่ม Add และกดปุ่ม close เป็นการเสร็จสิ้นการตั้งค่า Internet explorer


40 การเริ่มตนใช ้งานระบบจ้ายตรงเง่นเดิ ือนและคาจ่ ้างประจำ การใช้งานระบบทุกครั้งผู้ใช้งานจะต้องพิสูจน์ตัวตน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้ 1. เสียบอุปกรณ์ Token Key ตรงช่อง USB Port ที่เครื่องคอมพิวเตอร์และรอให้ไฟที่ Token Key หยุดกระพริบ 2. เปิดโปรแกรม Internet explorer และเข้าไปที่เว็บไซต์ระบบการจ่ายตรงเงินเดือนฯ กรมบัญชีกลาง www.epayroll.cgd.go.th ให้คลกทิ ี่เมนู Direct Payment ดังรูปที่ 4.25 รูปที่ 4.25 หน้าจอเว็บไซต์ระบบจ่ายตรงเงินเดือน 3. จะปรากฏหน้าต่างแจ้งเตือนการใช้งาน Token key ดังรูปที่ 4.26 ให้กดปุ่ม OK รูปที่ 4.26 หน้าต่างแจ้งเตือนการใช้งาน Token key


41 4. จะปรากฏหน้าต่างพิสูจน์ตัวตนของ Token key ดังรูปที่ 4.27 ให้ใส่รหัส Passphrase และกดปุ่มตกลง รูปที่ 4.27 หน้าต่างพิสูจน์ตัวตนของ Token key ข้อควรระวัง การกรอกรหัสผ่าน Passphrase ต้องกรอกด้วยความระมัดระวัง เพราะหาก กรอกรหัสผิดสะสมต่อเนื่องกันครบ 10 ครั้งอุปกรณ์ Token key นั้นจะถูก Lock ทันทีและไม่สามารถ ใช้งานได้อีก จนกว่าผู้ใช้งานจะนำ Token key นั้นไปไขที่กรมบัญชีกลางโดยการล้างและให้รหัสใหมจ่งึ จะสามารถใช้งานได้ 5. จะปรากฏหน้าต่างกรอกรหัสผ่านผู้ใช้งาน (Password) ดังรูปที่ 4.28 ให้กรอกรหัสผ่าน ผู้ใช้งาน และกดปุ่ม Sign In รูปที่ 4.28 หนาต้ ่างกรอกรหัสผ่านผู้ใช้งาน


42 6. จะปรากฏหน้าจอเมนูหลักของระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ดังรูปที่ 4.29 รูปที่ 4.29 หน้าจอเมนูหลักของระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ระบบข้อมูลพนฐานื้ เมนูแรกของหน้าจอระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ คือ เมนูระบบข้อมูลพื้นฐาน ซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ที่ผู้ใช้งานสามารถ ค้นหาดูได้ซึ่งระบบนี้จะ เป็นระบบที่รวมรหัสต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันภายใต้ระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ เช่น ฐานภาษี รหัสธนาคาร หรือใช้ในกรณีแก้ไข เปลี่ยนปีงบประมาณเนื่องจากรหัสเบิกจ่ายในระบบ GFMIS เปลี่ยนแปลงเช่น รหัสกิจกรรมหลัก เป็นต้น ดังรูปที่ 4.30 รูปที่ 4.30 หน้าจอเมนูระบบข้อมูลพื้นฐาน


43 เมนูระบบข้อมูลพื้นฐานจะใช้ในการดำเนินการเริ่มเข้าโครงการจ่ายตรงครั้งแรก เพื่อนำเข้า ข้อมูลส่วนราชการ ข้าราชการ และลูกจ้างประจำ แต่ปัจจุบันส่วนนี้จะเป็นการเรียกดูรายงานข้อมูล ทั่วไปและไม่มีการดำเนินการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ระบบทะเบียนประวัติขาราชการและลู้กจ้างประจำ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับงานการออกคำสั่งอัตโนมัติการออกรายงาน ก.พ.7 หรือข้อมูลส่วน บุคคลอื่น ๆ ซึ่งในระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเป็นบางส่วน เช่น ปรับปรุงรายการลดหย่อนภาษี ในรายการข้อมูลครอบครัว และที่อยู่ฯลฯ ดังรูปที่ 4.31 รูปที่ 4.31 หน้าจอเมนูระบบทะเบียนประวัติข้าราชการและลูกจ้างประจำ หน้าที่หลักของเมนูระบบทะเบียนประวัติข้าราชการและลูกจ้างประจำ คือ การบันทึกข้อมูล ประวัติส่วนตัวของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่งมีหน้าจอการใช้งานเหมือนกัน ผู้จัดทำจึงขออธิบาย ด้วยการใช้เมนูของข้าราชการเป็นตัวอย่างประกอบ โดยมีเมนูสำคัญ ดังนี้


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.