คู่มือใหม่ Flipbook PDF


35 downloads 123 Views 2MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

บริษัท อากิแบม ออยล์ จำกัด (เขตปลอดอากร)

คำนำ บริษัท อากิแบม ออยล์ จำกัด ได้ตระหนัก ถึง ความสำคัญ ของความปลอดภัยในการทำงาน ของพนักงานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการก้าวสู่ความสำเร็จสูงสุด ของบริษัท ดัง นั้นบริษัท จึงสนับสนุนให้ม ีกิจกรรมด้านความปลอดภัยควบคู่ก ับ กิจกรรมการเพิ่มผลผลิ ต ทั้ง นี้เ พราะความปลอดภัยช่วยลดความสูญเสีย ลดต้นทุนการผลิต และยัง เสริมสร้างสวัส ดิภาพอันดีแก่ พนักงานทุกคน เพื่อพัฒนาให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ และสามารถตอบสนองนโยบายด้านการผลิตได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้บ ริษัท อากิแบม ออยล์ จำกัด โดยคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามั ย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจึงจัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงานขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ และแนะนำ แนวทางในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย บริษัทฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือความปลอดภัยในการทำงานเล่มนีจ้ ะ มีส่วนเสริมสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับพนักงานบริษัท อากิแบม ออยล์ จำกัด ทุกคน

ด้วยความปรารถนาดีจาก คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

สารบัญ เรื่อง นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตาม กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน อุบัติเหตุจากการทำงาน ความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุ กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน - กฎความปลอดภัยในสำนักงาน - กฎความปลอดภัยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ - กฎความปลอดภัยเกี่ยวับการทำงานเสียงดัง - กฎความปลอดภัยในการทำงานบนที่สงู - กฎความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า - กฎความปลอดภัยเกี่ยวกับการขนส่งสารเคมีอันตราย - กฎความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี - กฎความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย การป้องกันและระงับอัคคีภัย ประเภทของไฟ เครื่องดับเพลิงที่ใช้กันทั่วไป อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ป้ายหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัย

หน้า 1 2 4 12 13 15 16 16 17 18 19 20 22 24 28 31 33 36 37 46

1

นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้วยบริษัท อากิ แบม ออยล์ จำกัด มีความห่วงใยต่อชีวิตและสุขภาพของพนัก งานทุก คน ดัง นั้นจึง เห็นสมควรให้มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานควบคู่ ไปกับ หน้าที่ประจำของพนักงาน จึงได้กำหนดนโยบายไว้ ดังนี้ 1. บริษัทฯ ถือว่าความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคน ทุกระดับที่จะร่วมมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งของตนเอง และผู้อื่น 2. บริษัทฯ จะส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และวิ ธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย ตลอดจนการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม รวมถึงการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ อนามัยที่ดีของ พนักงานทุกคน 3. บริษัทฯ กำหนดนโยบายให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทำงานให้สอดคล้องตามหน้าที่ของกฎหมายความปลอดภัย 4. ผู้บั งคับ บัญชาทุกคน ต้อ งมีหน้าที่ดูแล และรับผิดชอบ ในเรื่องความปลอดภัย ในการทำงานของ ผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามกฎระเบียบแห่งความปลอดภัยที่กำหนดขึ้นโดยเคร่งครัด 5. บริษัทฯ จะส่งเสริม และสนับสนุน การดำเนินกิจกรรมแห่งความปลอดภัย 6. บริษัทฯ จะจัดให้มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนา มัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

2

สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบั ญ ญั ต ิ ความปลอดภั ย อาชี วอนามั ย และสภาพแวดล้ อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 17 กำหนดให้นายจ้างติดประกาศข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูก จ้างตามที่อธิบ ดี กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประกาศกำหนด ดังต่อไปนี้ (1) นายจ้างและลูกจ้างมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 (2) นายจ้ างมี หน้ าที ่ จ ั ดและดู แลสถานประกอบกิ จการและลู กจ้ างให้ ม ี สภาพการทำงาน และ สภาพแวดล้อ มในการทำงานที่ปลอดภัยและถูก สุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของลูกจ้าง มิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย (3) นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ส่วนบุคคลที่ได้ มาตรฐาน ถ้าลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้หยุดการทำงานจนกว่าลูกจ้างจะสวมใส่อุปกรณ์นั้น (4) นายจ้างมีหน้าทีจ่ ัดให้ผบู้ ริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมให้สามารถบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัยก่อน การเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ (5) นายจ้างมีหน้าที่แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจเกิ ดขึ้นจากการทำงานและแจกคู่มื อ ปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน (6) นายจ้างมี ห น้าที่ ติดประกาศ คำเตือน คำสั่ง หรื อคำวินิจ ฉัยของอธิบ ดี กรมสวัสดิการและ คุ้ม ครองแรงงาน พนัก งานตรวจความปลอดภัย หรือคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน แล้วแต่กรณี (7) นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำ เนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงาน

3

สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง (ต่อ) (8) ลู ก จ้ า งมี ห น้ า ที่ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ กั บ นายจ้ า งในการดำเนิ น การและส่ ง เสริ ม ด้านความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยคำนึงถึงสภาพของงานและหน้าที่รับผิดชอบ (9) ลูก จ้างมีหน้าที่แจ้งข้อ บกพร่องของสภาพการทำงานหรือการชำรุดเสียหายของอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ ที่ไม่สามารถแก้ ไขได้ด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยใน การทำงาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร (10) ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่นายจ้างจัดให้และดูแล ให้ สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทำงาน (11) ในสถานที่ ที่ มี ส ถานประกอบกิ จ การหลายแห่ ง ลู ก จ้ า งมีห น้ า ที่ ป ฏิ บั ติ ตามหลัก เกณฑ์ เกี่ ยวกับความปลอดภัย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของนายจ้าง และสถานประกอบ กิจการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้างด้วย (12) ลูกจ้างมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการเลิกจ้าง หรือถูกโยกย้ายหน้าที่การงานเพราะเหตุที่ฟ้องร้อง เป็นพยาน ให้หลักฐาน หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานต่อ พนักงานตรวจความปลอดภัย คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือศาล (13) ลูกจ้างมีส ิทธิได้ร ับค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด ในระหว่างหยุดการทำงานหรือหยุด กระบวนการผลิตตามคำสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัย เว้นแต่ลูกจ้างที่จงใจกระทำการอันเป็นเหตุให้มี การหยุดการทำงานหรือหยุดกระบวนการผลิต

....................................................................................................

4

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พระราชบัญ ญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ประกอบด้วย 8 หมวด 74 มาตรา ดังนี้ หมวด 1 บททั่วไป ประกอบด้วยมาตรา 6 และมาตรา 7 หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบด้วยมาตรา 8 ถึงมาตรา 23 หมวด 3 คณะกรรมการความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้ อ มในการทำงาน ประกอบด้วยมาตรา 24 ถึงมาตรา 31 หมวด 4 การควบคุม กำกับ ดูแล ประกอบด้วยมาตรา 32 ถึงมาตรา 34 หมวด 5 พนักงานตรวจความปลอดภัย ประกอบด้วยมาตรา 35 ถึงมาตรา 43 หมวด 6 กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบด้วย มาตรา 44 ถึงมาตรา 51 หมวด 7 สถาบั น ส่ ง เสริ ม ความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้ อ มในการทำงาน ประกอบด้วยมาตรา 52 หมวด 8 บทกำหนดโทษ ประกอบด้วยมาตรา 73 และมาตรา 74 มาตราสำคัญที่ลูกจ้างควรทราบและต้องปฏิบัติ มีดังนี้ มาตรา 6 ให้นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการทำงานและ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของลูกจ้าง มิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และสุขภาพอนามัย ให้ลูกจ้างมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดำเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัยอาชีวอ นามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ

5

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ต่อ) มาตรา 8 ให้ น ายจ้า งบริ ห าร จั ด การ และดำเนิ น การด้ า นความปลอดภั ย อาชี ว อนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง การกำหนดมาตรฐานตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดทำเอกสารหรือรายงานใด โดยมีการตรวจสอบหรือ รับรองโดยบุคคล หรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในวรรคหนึ่ง กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอ นามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มีดังต่อไปนี้ 1. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 2. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.2556 3. กฎกระทรวงการเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น และการเป็นหน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิ ง และฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ พ.ศ.2556 4. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ.2557 5. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2559 6. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 7. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ.2562 8. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ.2563

6

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ต่อ) มาตร 14 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจ ทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึง อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้า งจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้ปลอดภัย ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือ อุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรม ลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงาน การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศ กำหนด กรมสวั ส ดิ ก ารและคุ ้ ม ครองแรงงานได้ อ อกประกาศกรมสวั ส ดิ ก ารและคุ ้ ม ครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีสาระสำคัญคือ (1) นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทำงานได้อย่างปลอดภัยให้แก่ลูกจ้างระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคน กรณีล ูก จ้างเข้าทำงานใหม่ เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือ อุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัด ให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มงาน (2) หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้าง ระดับบริหาร ให้มีระยะเวลาการฝึกอบรม 12 ชั่วโมง

7

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ต่อ) (3) หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้าง ระดับหัวหน้างาน มีระยะเวลาการฝึกอบรม 12 ชั่วโมง (4) หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้าง ทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ มีระยะเวลาการฝึกอบรม 6 ชั่วโมง (5) หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้าง เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ซึ่งมีปัจจัยเสีย่ งแตกต่างไป จากเดิม มีระยะเวลาฝึกอบรม 3 ชั่วโมง มาตรา 17 ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลู กจ้าง ตามที่อธิบดีประกาศกำหนดในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ กรมสวั ส ดิก ารและคุ ้ม ครองแรงงานได้ อ อกประกาศกรมสวัส ดิ การและคุ ้ มครองแรงงาน เรื ่อง สัญลักษณ์เตือนอันตราย เครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ ทำงาน และข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง มีสาระสำคัญ คือ (1) ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เหมาะสมกับลักษณะและสภาพการทำงานในที่ที่เห็นได้ง ่าย ณ สถานประกอบกิจการ (2) ให้นายจ้างติดประกาศข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถาน ประกอบกิจการ ซึ่งต้องประกอบด้วยข้อความดังต่อไปนี้ 1) นายจ้างและลูกจ้างมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน 2) นายจ้ า งมี ห น้า ที ่จ ั ดและดู แลสถานประกอบกิจ การและลู ก จ้ า งให้ ม ี ส ภาพการทำงานและ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการ ปฏิบ ัติง านของลูก จ้างมิให้ลูก จ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย (มาตรา 6)

8

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ต่อ) 3) นายจ้างมีหน้าที่ดูแลจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ ได้ มาตรฐาน ถ้าลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้หยุดการทำงานจนกว่าลูกจ้าง สวมใส่อุปกรณ์นั้น (มาตรา 22) 4) นายจ้างมีหน้าที่จ ัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุ กคนได้รับการฝึกอบรมให้ส ามารถ บริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้อ ย่างปลอดภัยก่อ นการเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ (มาตรา 16) 5) นายจ้างมีห น้าที่แจ้ง ให้ลูก จ้างทราบถึง อั นตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและแจกคู่มื อ ปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน (มาตรา 14) 6) นายจ้างมีหน้าที่ติดประกาศ คำเตือน คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงาน พนั ก งานตรวจความปลอดภั ย หรือ คณะกรรมการความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน แล้วแต่กรณี (มาตรา 15) 7) นายจ้ า งเป็ น ผู ้ อ อกค่ า ใช้ จ ่ า ยในการดำเนิ น งานด้ า นความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มาตรา 7) 8) ลูกจ้างมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับ นายจ้างในการดำเนินการและส่ง เสริม ด้ านความปลอดภั ย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยคำนึงถึงสภาพของงานและหน้าที่รับผิดชอบ (มาตรา 6 และมาตรา 8) 9) ลูกจ้างมีหน้าที่แจ้งข้อบกพร่องของสภาพการทำงาน หรือการชำรุดเสียหายของอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร หืออุปกรณ์ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยใน การทำงาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร (มาตรา 21) 10) ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่นายจ้างจัดให้ และดูแลให้ สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทำงาน (มาตรา 22)

9

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ต่อ) 11) ในสถานที่ที่มีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของนายจ้าง และสถานประกอบกิจการ อื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้างด้วย (มาตรา 18) 12) ลูกจ้างมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการเลิกจ้าง หรือถูกโยกย้ายหน้าที่การงานเพราะเหตุที่ ฟ้อ งร้อ ง เป็นพยาน ให้ห ลัก ฐาน หรือให้ข้อมูล เกี่ยวกับ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานต่อพนัก งานตรวจความปลอดภัย คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือศาล (มาตรา 42) 13) ลู ก จ้ า งมี ส ิ ท ธิ ไ ด้ ร ั บ ค่ าจ้า งหรื อสิท ธิ ป ระโยชน์ อื ่ น ใดในระหว่ า งหยุ ด การทำงานหรือหยุด กระบวนการผลิตตามคำสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัย เว้นแต่ลูกจ้างที่จงใจกระทำการอัน เป็นเหตุให้มีการหยุดการทำงานหรือหยุดกระบวนการผลิต (มาตรา 39) มาตรา 18 ในกรณีท ี่ส ถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ให้นายจ้างทุก รายของสถาน ประกอบกิจการในสถานที่นั้น มีหน้าที่ร่วมกันดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกจ้างซึ่งทำงานในสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งลูกจ้างซึ่งทำงานในสถานประกอบ กิ จ การอื ่ น ที ่ ไ ม่ ใ ช่ ข องนายจ้ า ง ต้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ต ามหลั ก เ กณฑ์ เ กี ่ ย วกั บ ความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งใช้ในสถานประกอบกิจการนั้นด้วย มาตรา 21 ลูกจ้างมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ ออกตามาตรา 8 เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัยโดยคำนึงถึงสภาพของ งานและพื้นที่ที่รับผิดชอบ ในกรณีที่ลูกจ้างทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชำรุดเสียหาย และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ให้แจ้ง ต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร และให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการ ทำงาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหารแจ้งเป็นหนังสือต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า

10

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ต่อ) ในกรณีที่หัวหน้างานทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชำรุดเสียหายซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ต้องดำเนินการป้องกันอันตรายนั้นภายในขอบเขตที่รับผิดชอบหรือ ที่ได้รับมอบหมายทันทีที่ทราบ กรณีไม่อาจดำเนินการได้ให้แจ้งผู้บริหารหรือ นายจ้าง ดำเนินการแก้ไขโดยไม่ ชักช้า มาตรา 22 ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่งนบุคคลที่ได้รับ มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและดูแลรักษาอุปกรณ์ ตามวรรคหนึ่ง ให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทำงาน ในกรณีที่ลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดการทำงานนั้นจนกว่าลูกจ้าง สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว มาตรา 74 ในระหว่ างที ่ย ั ง มิ ไ ด้ ออกกฎกระทรวง ประกาศ หรื อ ระเบี ย บเพื ่ อปฏิ บ ั ติ ก ารตาม พระราชบัญ ญั ตินี้ให้นำกฎกระทรวงที่อ อกตามความในหมวด 8 แห่ง พระราชบัญ ญัติคุ้ม ครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาใช้บังคับโดยอนุโลม กฎกระทรวงที่ออกตามความในหมวด 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่ยังมีผล บังคับใช้อยู่ตามมาตรา 74 ได้แก่ (1) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริห ารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามั ย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับรังสีชนิดไอออน พ.ศ.2551 (2) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงาน ตรวจแรงงาน พ.ศ.2547 (3) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริห ารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีว อนามั ย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549 (4) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริห ารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามั ย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2551

11

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ต่อ) (5) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริห ารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามั ย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2552 (6) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริห ารและการจัดการด้า นความปลอดภั ย อาชีวอนามั ย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553

12

กฎหมายทีเ่ กี่ยวข้องกับความปลอดภัย ในการทำงาน นอกจากพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ยังมี กฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความ ปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ (1) กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2541) เรื่อง งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของ ลูกจ้าง (2) กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2541) เรื่อง งานที่ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงาน (3) กฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) เรื่อง งานขนส่งทางบก (4) กฎกระทรวงกำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ (พ.ศ.2547) (5) กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ (พ.ศ.2547)

13

อุบัติเหตุจากการทำงาน จากนิยามคําว่าอุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดขึ้ นแล้วมีผลให้เกิดการ บาดเจ็บ เสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย ในที่ นี้จะกล่าวถึงอุบ ัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงานเท่านั้น เช่น ผู้ปฏิบัติงานตกจากที่สูงขณะทำงาน ผู้ปฏิบัติงานถูกสารเคมีกระเด็นเข้าตา อันตรายจากสารเคมีในน้ำยาขัดล้าง อันตรายจากการโบกรถหรือถูกโจรกรรม สาเหตุของอุบัติเหตุ การเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บและความเสียหายต่าง ๆ เป็นผลที่ สืบเนื่องโดยตรงมาจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย หรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย 1. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย เป็นการกระทำของผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ตัวอย่างเช่น 1) ใช้เครื่องจักร เครื่องกล เครือ่ งมือ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยพลการ หรือโดยไม่ได้รับมอบหมาย 2) ทำงานเร็วเกินสมควรและใช้เครื่องจักรในอัตราที่เร็วเกินกำหนด 3) ซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาในขณะที่เครือ่ งยนต์กําลังหมุน 4) หยอกล้อกันในขณะทำงาน 5) ทำงานในที่ที่ไม่ปลอดภัย 6) ใช้เครื่องมือที่ชํารุดหรือไม่ถูกวิธี 7) ยกหรือเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยท่าทางหรือวิธีการที่ไม่ปลอดภัย 8) ไม่สวมใส่อปุ กรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลทีจ่ ัดให้ 9) ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อห้าม ป้ายหรือสัญลักษณ์เตือนต่าง ๆ

14

อุบัติเหตุจากการทำงาน (ต่อ) 2. สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุ ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ตัวอย่างเช่น 1) ไม่มีที่ครอบหรือการ์ดปิดคลุมส่วนทีห่ มุนได้และส่วนส่งถ่ายกำลังของเครือ่ งจักร 2) ที่ครอบหรือการ์ดของเครือ่ งจักรไม่ปลอดภัยหรือไม่เหมาะสม 3) เครื่องจักร เครื่องมือที่ใช้มกี ารออกแบบที่ไม่เหมาะสม 4) บริเวณพื้นทีท่ ำงานลื่น ขรุขระ หรือสกปรก 5) บริเวณที่ทำงานมีการวางของไม่เป็นระเบียบ กีดขวางทางเดิน 6) การกองวัสดุสงู เกินไป หรือการซ้อนวัสดุไม่ถูกวิธี 7) การจัดเก็บสารเคมี สารไวไฟต่าง ๆ ไม่เหมาะสม 8) แสงสว่างไม่เหมาะสม เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือแสงจ้าเกินไป 9) ไม่มรี ะบบการระบายและถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม

15

ความสูญเสียจากการเกิดอุบัตเิ หตุ การเกิดอุบัติเหตุขึ้นแต่ละครั้งย่อมมีการสูญเสีย ได้แก่ การสูญเสียทางตรง เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็ง เหนือน้ำ และการสูญเสียทางอ้อม เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งใต้น้ำ ซึ่งเป็นความสูญเสียมหาศาลมากกว่าการ สูญเสียทางตรงที่มองเห็นชัดเจนดังภาพ การสูญ เสียทางตรง (Direct Cost) เช่น ค่ารัก ษาพยาบาล ค่าเงินทดแทน ค่าทำขวัญ ค่าทำศพ ค่าประกันชีวิต การสูญเสียทางอ้อม(Indirect Cost) เช่น การสูญเสียเวลาทำงานของผู้บาดเจ็บ หัวหน้างาน ค่าใช้จ่าย ในการซ่อมแซมอุปกรณ์ที่เสียหาย วัตถุดิบหรือสินค้าที่เสียหายต้องทิ้งหรือกำจัด ผลผลิตลดลงเนื่องจาก กระบวนการผลิตขัดข้อง การสูญเสียภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์กร ฯลฯ

16

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย ใ น ส ำ นั ก ง า น 1. ทำความสะอาดพื้นทีท่ ำงานให้แห้งอยู่เสมอ 2. เมื่อพบเห็นสิง่ ผิดปกติรบี แจ้งให้ผู้รบั ผิดชอบทราบ 3. หากต้องการยกของ ไม่ควรยกของสูงเกินไปจนมองไม่เห็นทาง 4. สวมรองเท้าให้รัดกุม ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป 5. เครื่องใช้ไฟฟ้าควรวางใกล้ปลั๊กไฟฟ้าให้มากที่สุด 6. สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ เดินบนพื้นต้องติดเทปกาวให้เรียบร้อย 7. ไม่ใช้เก้าอี้นั่งมารองยืนเพื่อหยิบหรือวางสิง่ ของ 8. กรณีที่หยิบสิ่งของที่สงู ๆ ให้ใช้แท่น หรือบันไดวางให้มั่นคงและมีคนช่วยจับด้วย 9. บริเวณมุมอับ หรือหัวมุมต้องเดินให้มุมกว้างชิดขวามือตนเอง อย่าเดินชิดหัวมุม 10. หาตู้เก็บเอกสารใส่แฟ้มเอกสาร เอกสารที่มีน้ำหนักมากควรเก็บไว้ในลิ้นชักล่าง 11. วางหรือยึดตูเ้ อกสารให้มั่นคง 12. ไม่เปิดตู้เอกสารทีละหลาย ๆ ชั้นพร้อมกัน ควรเปิดทีละชั้นเสมอ 13. ไม่ควรวางของเกะกะทางเดิน 14. ตรวจบริเวณทางเดินให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และสะอาดอยู่เสมอ 15. ต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานให้ปลอดภัยด้วยความระมัดระวัง 16. ถอดปลั๊กไฟฟ้า และปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้งานทุกครัง้ 17. พนักงานต้องรู้จกั วิธีการใช้ถังดับเพลิง และวิธีการอพยพหนีไฟตามแผนทีก่ ำหนดไว้

17

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย เ กี่ ย ว กั บ ค อ ม พิ ว เ ต อ ร์ 1. ไม่ปฏิบัตงิ านคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องนานเกิน 1 ชั่วโมง 2. ควรปฏิบั ติง านประเภทอื่ นสลับ กั บ งานคอมพิวเตอร์ เช่น ตรวจหรือเขียนเอกสาร พูดโทรศัพท์ เข้าประชุม เป็นต้น 3. ขณะพูดโทรศัพท์ไม่ควรปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ เช่น ไม่ใช้แป้นพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น แต่ถ้าจำเป็นต้อง ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ด้วย ก็ควรใช้อุปกรณ์หูฟังและไมโครโฟนในการพูดโทรศัพท์ 4. ถ้าต้องมองเอกสารขณะปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ควรวางเอกสารบนที่วางเอกสาร 5. ควรวางเอกสารตรงหน้าระหว่างแป้นพิมพ์และจอภาพ หรือวางข้างจอภาพ 6. ไม่ควรนั่งปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ควรลุกขึ้นแล้วเดินไป-มา และบริหารส่วนของ ร่างกายที่มีอาการปวดเมื่อย 7. ให้ปรับเบาะนั่งให้อยู่ ร ะดับที่เหมาะสม โดยให้ขาท่อนบนขนานกับพื้ น ขาท่อนล่างตั้ง ฉากกับ พื้ น และเท้าทั้งสองข้างวางราบบนพื้นหรือบนที่พักเท้า 8. ขณะนั่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ไม่นงั่ ไขว่ห้าง ขัดสมาธิ คุกเข่า พับเพียบ หรือพับขาบนเบาะนั่ง 9. ให้ปรับพนักพิงหลังให้ตั้งฉากหรือเอนไปด้านหลังเล็กน้อย นั่งพิงพนักพิงหลังอย่างเต็มแผ่นหลัง 10. ขณะปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ไม่ ควรวางแขนทั้งสองข้างบนที่พักแขน นอกจากจะสามารถปรับระดับ และระยะชิด-ห่างจากลําตัวให้เหมาะสมกับร่างกายได้

18

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย เ กี่ ย ว กั บ ก า ร ท ำ ง า น เ สี ย ง ดั ง 1. สวมใส่ปลั๊กลดเสียงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ที่กำหนด 2. ตรวจสอบอุปกรณ์ควบคุมเสียง และอุปกรณ์ลดเสียงเป็นประจำ เพื่อดูแลให้มีสมรรถนะในการลดเสียง อย่างสม่ำเสมอ 3. ห้ามมิให้ถอดถอนอุปกรณ์ควบคุมเสียงและอุปกรณ์ลดเสียง และห้ามมิให้ดำเนินการใด ๆ ที่จะทำให้ สมรรถนะของอุปกรณ์ลดลง 4. พนักงานที่ทำงานอยู่ในที่ที่มีเสียงดัง จะต้องได้รับการตรวจสมรรถภาพการได้ยินเป็นประจำ

19

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย ใ น ก า ร ท ำ ง า น บ น ที่ สู ง กฎหมาย กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามั ย และ สภาพแวดล้อ มในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔ ข้อ 2 นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับ และขั้นตอนกำรปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย ในการทำงานในที่สูง ที่ลาดชัน ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของ และที่อาจทำให้ ลูกจ้ำงพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บ หรือรองรับวัสดุ ซึ่งอย่ำงน้อยต้องประกอบด้วย การระบุอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน การวางแผนกำร ปฏิบัติงาน และ การป้องกั น และ ควบคุมอันตราย รวมทั้ง ต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างได้รับทราบก่อนเริ่ม ปฏิบัติงาน และ ควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงาน ตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ ความปลอดภัยในการทำงานบนทีส่ ูง ควรปฏิบัติดังนี้ • • • • • • •



การทำงานบนที่สูงเกิน 2 เมตรขึ้นไป จะต้องมีการป้องกั นการตกหล่น และมีการติดตั้งนั่งร้าน การทำงานบนที่สูงเกิน 4 เมตรขึ้นไป ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่เข็มขัดนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต ต้องมีตาข่ายนิรภัยรอง และมีราวกั นตก ช่องเปิดหรือปล่องต่างๆ ต้องมีฝาปิด หรือรั้วกั้นความสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ทำงานบนที่ลาดชันเกิน 15 องศา ต้องมีการติดตั้งนั่งร้าน อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้บนที่สูง ต้องมีการผูกยึด ไม่ให้ตกลงมาด้านล่าง การใช้บันไดแบบเคลื่อนย้ายได้ มุมบันไดที่อยู่ตรงข้ามกับผนังที่พิง จะต้องวางทำมุม 75 องศา การใช้รถเครน ต้องมีแผ่นเหล็กรองขาช้าง เพื่อป้องกันการวางไม่ได้ระนาบหรื ออ่อนตัว ซึ่ง คนขับรถเครนและผู้ให้สัญญาณต้องผ่านการอบรม และรถเครนต้องผ่านการตรวจสอบจาก เจ้าหน้าที่บำรุงรักษาที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเข้าใช้งานในเขตหวงห้ามทุกครั้ง คนที่ปฏิบัติงานจะต้องผ่านการฝึก อบรมที่สูงก่อนเริ่มงาน

20

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย เ กี่ ย ว กั บ ไ ฟ ฟ้ า 1. อย่าเข้าใกล้หรือจับต้องอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีป้ายห้ามใช้โดยไม่จำเป็น 2. ผู้ไม่มี่หน้าที่เกี่ยวข้อง ห้ามเข้าบริเวณติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันสูง 3. หากตัวเปียกชื้น ห้ามจับต้องอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า 4. ห้ามวางวัตถุไวไฟใกล้กับเต้ารับ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า 5. ต้องปิดสวิทซ์ก่อนทำความสะอาดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้ง 6. การซ่อมบํารุงต้องทำโดยช่างไฟฟ้าเท่านั้น 7. การเสียบหรือถอดเต้าเสียบต้องจับที่ตัวเต้าเสียบ ห้ามใช้วิธีดึงหรือจับที่สายไฟ 8. ห้ามคลุมหลอดไฟฟ้าด้วยกระดาษหรือผ้า เพราะอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ 9. การติดตั้งสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องใช้สายและอุปกรณ์ที่เหมาะสมและติดตั้งอย่างถูกต้อง 10. ควรระวังอย่าวางสายไฟฟ้าสอดไว้ใต้พรมปูพื้น ใต้บานประตู หน้าต่างหรือขวางทางเดิน เพราะเมื่อถูก เหยียบย่ำหรือกดทับนานเข้า ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าจะชํารุดฉีกขาดอันตรายย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย 11. อย่าให้หลอดไฟฟ้าซึ่งมีความร้อนสูงอยู่ติดกับวัตถุซึ่งเป็นเชื้อเพลิงติดไฟง่าย เช่น ผ้า หรือกระดาษ 12. อย่าเข้าใกล้บริเวณที่มีการใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูง หม้อแปลง หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงอื่ นๆ เพราะเมื่อ เข้าใกล้ก็อาจเกิดอันตรายได้โ ดยไม่สัมผัส หากจุดที่ปฏิบัติงานอยู่ ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง ต้องทราบ อันตรายและแนวทางป้องกัน และอยู่ห่างในระยะที่ปลอดภัย 13. เมื่อประสบเหตุไฟไหม้อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือมีลูกจ้างถูกไฟฟ้าช็อต ให้ดำเนินการดังนี้ • ปิดสวิทซ์ไฟ ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้แจ้งช่างไฟฟ้าทันที • กรณีไม่ส ามารถปิดสวิท ซ์ไฟได้ทันที เมื่อพบเห็นเหตุพบผู้ถูกไฟฟ้าช็อ ต ให้พยายามช่วยเหลือผู้ ประสบอันตรายออกจากกระแสไฟฟ้า โดยใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้าแห้ง ไม้แห้ง เชือกแห้ง สายยางแห้ง เป็นต้น เขี่ยสายไฟออกจากร่างกายผู้ประสบภัย อย่าช่วยเหลือด้วยการจับต้องตัว ผู้กำลังถูกไฟฟ้าช็อตโดยตรง เพราะจะถูกไฟฟ้าช็อตด้วย

21

วิธีปฏิบัติเมื่อประสบอันตรายจากไฟฟ้า

1.1 ตั้งสติ อย่าตกใจ พึงสังเกต

2.1 แตะตัว เรียกขาน ตอบรับ

1.2 ตัดกระแสไฟฟ้า

2.2 เปิดปาก ช่วยหายใจ

1.3 สำรวจตัวเอง พร้อมช่วยเหลือ 1.4 ใช้ไม้หรือฉนวนช่วยดึงตัว

1.5 โทร.แจ้ง 1669 (เร็วที่สุด)

3.1 หัวใจหยุดเต้น อย่าตกใจ 3.2 CPR เร็วไว (ฝึกสม่ำเสมอ) พึงสังเกตอันตราย ก่อนการช่วยเหลือ

4.1 สัญญาณชีพ กู้คืนได้

แจ้งเหตุ ด่วนเร็วไว รีบโทร. 1669

4.2 พลิกคว่ำไว้ สังเกตอาการ

สัญญาณชีพขาดหาย เร่งรีบให้ CPR

22

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย เ กี่ ย ว กั บ ก า ร ข น ส่ ง ส า ร เ ค มี อั น ต ร า ย พนักงานขับรถ • • •

ลักษณะการขับรถมีความชำนาญและมีความระมัดระวังสูง รวมทั้งผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาต ขับขี่สำหรับรถประเภทนี้และผ่านการขับรถประเภทนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เชื่อฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยจากผู้ควบคุมงาน

สภาพรถ



• •

กรณีรถขนส่งสารเคมีที่เป็นของแข็งหรือของเหลวแบบแบ่งบรรจุใส่ภาชนะขนาดเล็ก เช่น ถัง 200 ลิตร ถังแกลลอน ต้องเป็นรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ และที่ข้างถังบรรจุสารเคมี ต้องมีฉลากแสดง รายละเอียด เกี่ยวกับสารเคมีชนิดนั้น ๆ ติดอยู่ รถต้องมี Twist Lock ที่ยึดระหว่างตัวถังกับตู้คอนเทนเนอร์ที่แน่นหนา กรณีรถขนส่งสารเคมีที่เป็นของเหลวระเบิดได้ , ของเหลวกัดกร่อนหรือของเหลวไวไฟที่บรรจุใน Bulb เช่น Propane, NGL, กรด, ต่างชนิดต่าง ๆ ต้องมีป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมี อันตรายชนิดนั้น ๆ เป็นไปตามมาตรฐานของ NFPA, HAZCHEM Code, ADR, RID หรือ มาตรฐานอื่นที่เป็นที่ยอมรับ และติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน

23

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย เ กี่ ย ว กั บ ก า ร ข น ส่ ง ส า ร เ ค มี อั น ต ร า ย ( ต่ อ ) สภาพรถ (ต่อ) • • • • • • • •

ต้องระบุชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้ผลิตและผูป้ ระกอบการขนส่งทีข่ ้างตัวรถหรือข้างประตูรถด้วย สภาพคันชัก คันส่ง ห้ามล้ อ ตัวรถ เครื่องยนต์ ยางรถยนต์ หัวโยงรถพ่วง แผงเหล็กกันภัย และ เครื่องดับเพลิง อยู่ในสภาพใช้งานได้ ปลั๊กไฟ สาย Load และหน้าแปลน Load อยู่ในสภาพดีและสามารถใช้งานได้ ควันดำจากท่อไอเสีย และเสียงของเครื่องยนต์ ต้องไม่มาก/ดัง จนสังเกตได้ชัดเจนว่าผิดปกติ ระบบสัญญาณไฟ หน้าและหลัง มีความสว่างชัดเจน ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เสียงสัญญาณแตรของรถ ต้องได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตรและไม่เป็นเสียงไซเรนหรือเสียง สัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงแตกพร่า กระจกหน้า-หลัง, กระจกส่องด้านข้างตัวรถ กระจกอื่นภายในรถ ต้องมีความใสสะอาดและไม่มี รอยการแตกร้าวจากอุบัติเหตุ จะต้องจัดให้มีสมุดประจำรถเพื่อการตรวจสอบตลอดเวลา

24

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย เ กี่ ย ว กั บ ส า ร เ ค มี 1. ศึกษาเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีที่ใช้ทุกชนิด เพื่อทราบอันตรายและวิธีการปฏิบัติเพื่ อ ความปลอดภัยต่าง ๆ 2. สวมใส่อ ุป กรณ์ คุ้ม ครองความปลอดภัยตามความเหมาะสมกับ งาน มีก ารดูแลทำความสะอาด บำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี 3. ทำความสะอาดทุกครั้งที่มีสารเคมีหกรั่วไหล 4. ให้ความร่วมมือในการตรวจสุขภาพประจำปี 5. ไม่ปฏิบัติงานตามลำพังหรือไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง 6. ไม่ใช้ปากดูดสารเคมีแทนลูกยาง 7. ไม่ทดสอบสารเคมีโดยการสูดดม หรือกินสารเคมี 8. สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลทุกครั้งที่ปฏิบัติงานกับสารเคมี เช่น ถุงมือ รองเท้า ชุดป้องกันสารเคมีหน้ากาก แว่นป้องกันสารเคมี 9. เมื่อต้องการขนถ่ายสารเคมีจำนวนมาก ควรใช้รถเข็นในจำนวนที่ไม่มากจนเกินกําลังบรรทุก 10. หลังปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายตนเอง และพื้นที่ที่ปฏิบัติงานให้สะอาดทุกครั้ง 11. จัดเก็บสารเคมีให้เข้าที่ (ชั้นจัดเก็บ) อย่างเป็นระเบียบและเก็บในพื้นที่หรือบริเวณให้เก็บอย่างถูกต้อง

25

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย เ กี่ ย ว กั บ ส า ร เ ค มี ( ต่ อ ) ป้ายสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี สารเคมีที่ใช้ในสารประกอบกิจการโดยทั่วไป เช่ น เป็นสารประเภทกรด ด่าง สารฆ่าเชื้ อ สารตัวทำ ละลาย สารทำสี โลหะหนัก เป็นต้น ซึ่งอาจอยู่ ในรูปของแข็ง ของเหลว ไอ ฟูม ฝุ่ น ก๊าซ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และความดัน สารเคมีสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ทำให้เกิดโรคจาการทำงาน หรืออาจก่อ ให้ เกิดอันตรายร้ายแรง เช่น การระเบิดและอัคคีภัย การเก็บสารเคมีมี ทั้งบรรจุอยู่ในถุง ในถังพลาสติก หรือถังความดันต่างๆ และรถบรรทุกสารเคมีโดยที่ภาชนะบรรจุ จะติดฉลากเคมีภัณฑ์แสดงข้อมูลเกี่ ยวกับ อันตรายของสารเคมีและวิธีป้องกัน รวมทั้งมีภาพสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายซึ่งจําแนกไว้ 9 แบบติดไว้ การเรียนรู้ท ำความเข้า ใจเกี ่ย วกับ สั ญ ลัก ษณ์ต่ างๆ จะช่วยให้พนัก งานตระหนัก ภัยที ่อ าจเกิด ขึ ้น หาก ไม่ระมัดระวังในการเข้าไปเกี่ยวข้อง

26

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย เ กี่ ย ว กั บ ส า ร เ ค มี ( ต่ อ ) การปฏิบัติเมื่อสารเคมีรั่วไหล กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือของเสียอันตรายรั่วไหล ให้รีบปิดประตู และหน้าต่างอาคารให้มิดชิด หากได้รับแจ้งว่าสารเคมีที่รั่วไหล เสี่ยงต่อการจะเกิดการ ระเบิดให้ปิดมู่ลี่ และผ้าม่านที่หน้าต่าง เพื่อป้องกันสะเก็ดระเบิด ปิดระบบระบายอากาศภายในอาคารทั้งหมด เช่น พัดลมและเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความร้อน เป็นต้น จากนั้นให้เข้าไปหลบอยู่ในพื้นที่ด้านในสุดของ อาคาร ที่มีประตู และให้นำถุงพลาสติกหรือผ้าชุบน้ำ อุดปิดช่องประตู หรือถ้าเป็นไปได้ให้ใช้เทปและแผ่น พลาสติกปิดคลุมหน้าต่างและช่องระบายอากาศ พร้อมโทรแจ้งหน่วนงานที่รับผิดชอบ หรือให้ความช่วยเหลือ กรณีอยู่ในพื้นที่ ที่เกิดสารเคมีรั่วไหล ให้รีบอพยพออกจากพื้นที่ที่มีสารเคมีรั่วไหลโดยเร็วที่สุด ใช้ผ้าสะอาดปิดจมูก เพื่อป้องกันการสูดดม สารเคมีเข้าสู่ร่างกาย พยายามหนีออกไปอยู่ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวก โดยให้วิ่งไปทางด้านเหนือลม หรือที่สูง จากนั้นเมื่อปลอดภัยแล้ว ให้รีบแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อทำการกำจัดหรือจัดเก็บสารเคมีทเี่ กิด การรั่วไหล

27

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย เ กี่ ย ว กั บ ส า ร เ ค มี ( ต่ อ ) การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสารเคมีรั่วไหล หากสารเคมีสัมผัสโดนผิวหนัง ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดสารเคมีนั้นออกจากผิวหนัง และรีบล้างออกทันทีด้วยการล้างน้ำสะอาดในลักษณะ ไหลผ่านบริเวณที่ถูกสารเคมีอย่างน้อย 15 นาที หรือทำการถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีออก และให้ทำการ อาบน้ำ ชำระร่างกายด้วยการฟอกสบู่และน้ำจำนวนมากๆ เพื่อเจือจางสารเคมีที่ได้รับจากการสัมผัส หากกระเด็นโดนดวงตา ให้รีบล้างออกโดยพยายามลืมตาโดยให้น้ำไหลผ่านอย่างน้อย 15 นาที และระวังไม่ให้น้ำที่ไหลผ่าน กระเด็นหรือไหลไปโดนดวงตาอีกข้างหนึ่ง ห้ามขยี้ตา หรือใช้แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาล้างตาอย่างเด็ดขาด ซึ่ง อาจจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น หลังจากทำความสะอาดเสร็จให้ใช้ผ้าก๊อซปิดดวงตาและนำส่งแพทย์ หากสูดดมเข้าไป ให้รีบนำผู้ที่ได้รับสารเคมีออกไปอยู่ในที่โล่งแจ้ง และมีอากาศถ่ายเทสะดวก โดยต้องอยู่ทางด้านเหนือ ลม ห่างจากที่เกิดเหตุไม่ต่ำกว่า 100 เมตร หรือถ้าเคลื่อนย้ายไม่ได้ใ ห้ทำการเปิดประตูหน้าต่าง เพื่อระบาย อากาศและลดความเข้มข้นของสารเคมีที่รั่วไหล ถ้ามีการหายใจไม่สะดวก ให้ใช้การผายปอดเพื่อกระตุ้นระบบ ทางเดินหายใจ และรีบนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด หากมีการรับประทานเข้าไป ให้ปฐมพยาบาลด้วยการทำให้อาเจียน แต่ต้องแน่ใจว่าผูป้ ระสบเหตุจะต้องไม่ได้รับสารพิษทีเ่ ป็นกรด เพราะการทำให้อาเจียนจะทำให้ทางเดินอาหารและอวัยวะต่างๆได้รับสารพิษมากขึ้น แต่หากตรวจสอบแน่ชัด แล้วว่าไม่ได้เป็นสารเคมีทเี่ ป็นกรด ให้ทำการล้วงคอเพื่อให้อาเจียน แล้วให้ดื่มนม หรือกินไข่ขาว หรือน้ำเปล่า ทันที ซึ่งจะช่วยลดอัตราการดูดซึมสารเคมีของร่างกายได้ แต่ห้ามทำในกรณีที่ผปู้ ่วยหมดสติ หรือไม่รสู้ ึกตัว เพราะการกลืนอาหารโดยไม่รู้สกึ ตัวจะทำให้อาหารไปติดในหลอดลมทำให้เสียชีวิตได้

28

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย เ กี่ ย ว กั บ อั ค คี ภั ย 1. ในบริเวณที่มีป้าย "ระวังสารไวไฟ” ห้ามจุดไฟ สูบบุหรี่หรือมีแหล่งกำเนิดความร้อน ใกล้บริเวณ ดังกล่าว 2. ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ เช่น เผาหญ้า ขยะ ในบริเวณที่มีน้ำมันเชื้อเพลิงเด็ดขาด หากจําเป็นให้เลือก สถานที่ปลอดภัยและทำในวันที่ลมสงบเท่านั้น และหลังจากภารกิจเสร็จสิน้ แล้วต้องตรวจดสภาพทันที 3. สูบบุหรี่ในสถานที่กำหนดหรืออนุญาตให้สูบเท่านั้น และหลังจากภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว ตรวจดูให้แน่ใจ ว่าไฟดับจริง ๆ 4. ไม่ทิ้งเศษน้ำมัน ขี้เลื่อย หรือวัสดุเป็นเชื้ อเพลิงได้ง่ายไว้กลางแจ้ง ให้ทิ้งในภาชนะที่จัดเตรียมไว้ให้ เท่านั้น และปิดฝาให้เรียบร้อย 5. เมื่อได้กลิ่นเหม็นไหม้หรือพบควันไฟผิดปกติให้แจ้งเหตุทันที 6. เครื่องดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ห้ามโยกย้ายหรือเปลี่ยนตำแหน่งที่ติดตั้ง โดยไม่ได้รับอนุญาต 7. ดูแลรักษาเครื่องดับเพลิงให้มีสภาพพร้อมใช้งาน และไม่วางสิ่งของกีดขวางทางเข้าถึงเครื่องดับเพลิง 8. ไม่วางสิ่งของกีดขวางเส้นทางหนีไฟ ประตู บันได และทางออกฉุกเฉิน

29

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย เ กี่ ย ว กั บ อั ค คี ภั ย ( ต่ อ ) 9. เมื่อพบเหตุเพลิงไหม้ - รีบรายงานผู้รับผิดชอบโดยเร็ว - ปิดสวิทซ์ไฟฟ้าทั้งหมด - ดับเพลิงภายใต้การควบคุมของหัวหน้างานจนกว่าพนักงานดับเพลิงมาถึง - หากเพลิงเกิดจากวัสดุอันตราย หรือมีวัสดุอันตรายอยู่ใกล้เคียง ให้ยกเคลื่อนย้ายวัสดุเหล่านัน้ ตามคำแนะนําของผู้มีความรู้และรีบดำเนินการดับเพลิงทันที - ถ้าไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าหรือยัง ห้ามใช้นำ้ ในการดับเพลิง - หากน้ำมันเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ให้ใช้เครื่องดับเพลิงที่กำหนดไว้ แต่หากไม่มีให้ใช้ แผ่นใยสังเคราะห์ปิดคลุมกองไฟ แล้วจึงดับไฟด้วยน้ำ - เมื่ อ น้ำมันในภาชนะเกิดการลุก ไหม้ให้ปิดภาชนะด้วยแผ่นเหล็ก หรือแผ่นใยสังเคราะห์ ห้ามใช้ทรายเทลงในภาชนะ เพราะจะทำให้นำ้ มันไหลออกมาและเพลิงจะขยายไปทั่วได้ 10. แจ้งให้พนักงานทุกคนรู้ถึงข้อควรปฏิบัติเวลาเกิดเพลิงไหม้ 11. พนักงานทุกคนทราบว่าอุปกรณ์ดับเพลิงอยู่ที่ใด สายฉีดน้ำดับเพลิงที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่จุดใดในสำนักงาน ตลอดจนเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือดับเพลิงอย่างถูกต้อง 12. มีการตรวจสภาพเครื่องมือดับเพลิงให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้เสมอ 13. ติดตั้งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในที่มองเห็นได้ง่าย สะดวกแก่การรใช้งาน 14. แจ้งพนักงานทุกคนให้รู้เส้นทางหนีไฟที่พึงใช้เมื่อเวลาเกิดเพลิงไหม้ 15. มีป้ายเตือนที่เห็นได้ชัดเจน ห้ามใช้ลิฟต์ในขณะเกิดเพลิงไหม้การละเลยในสิ่งที่เห็นว่ายากที่จะเกิดขึ้น หรือไม่เคยเกิดขึ้นเลยในสถานที่ท ำงาน อาจทำให้เกิดความสูญเสียอย่างสูงเมื่อเหตุการณ์น้นั เกิดขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันสำนักงานส่วนใหญ่จะได้รับการออกแบบให้ปลอดภัยจากการเกิดเพลิงไหม้แต่สิ่งที่ อยู่ ภายในสำนักงาน เช่น กระดาษ โต๊ะไม้ เฟอร์นิเจอร์และสารเคมีต่างๆ ฯลฯ เป็นสิ่งที่ติดไฟได้ง่าย ดังนั้น จึงไม่ควรละเลยในจุดนี้

30

กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) ก ฎ ค ว า มป ล อ ด ภั ย เ กี่ ย ว กั บ อั ค คี ภั ย 16. กำหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้สบู บุหรี่ เช่น ห้ามทิ้งไม่ขีดไฟ เถ้าบุหรี่หรือก้นบุหรี่ลงในตะกร้าทิ้งขยะ บนพืน้ ใกล้กับเครื่องงจักรหรือใกล้สารเคมีซึ่งไวไฟ ควรจัดที่เขี่ยบุหรี่ไว้ส ำหรับผู้สูบบุหรี่ นอกจากนั้ น ควรห้ามสูบบุหรี่บริเวณห้องเก็บของหรือห้องเก็บสารเคมี ทั้งนี้สารเคมีที่เก็บควรบรรจุในภาชนะของ บริษัทผู้ผลิตจนกว่าจะมีการเปิดออกใช้ หากพบว่าภาชนะที่บรรจุเกิดรอยรั่วก็ ต้องเปลี่ยนภาชนะ ที่บรรจุเสียใหม่ทันที 17. เศษผ้าหรือ กระดาษที่ ใ ช้เ ช็ ดทำความสะอาด ถ้าเปื้ อ นน้ำมันหรือสารติด ไฟ ควรทิ้ง ในภาชนะ ที่ปดิ มิดชิด อย่าทิ้งไว้ใต้เครื่องจักรหรือในถังขยะ 18. เก็บกระดาษ กล่องกระดาษ หรือสิ่งที่ติดไฟได้ไว้ให้ห่างจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า เพราะอาจจะ เป็นได้ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าจะเกิดการลัดวงจรหรือเครื่องจักรเกิดความร้อนมาก จะทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้น 19. ตรวจสายไฟหม้อต้มน้ำร้อนหรือหม้อต้มกาแฟว่ามีชำรุดหรือไม่ ถ้าชํารุดควรรีบซ่อม อย่าใช้ต่อไป 20. กำหนดกฎข้อบังคับในการดูแลและทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้ดับเพลิง การดำเนินการอาจทำโดยตั้งกลุ่ม ผู้รับผิดชอบขึ้นในแต่ละหน่วยงานให้มีหน้าที่ตรวจตราอุปกรณ์ต่าง ๆ รับผิดชอบในการแจ้งเหตุเพลิง ไหม้แก่พนักงานและผู้มาติดต่องาน รวมทั้งแจ้งสถานีดับเพลิงด้วย ดูแลการอพยพคนออกจากอาคาร ช่วยเหลือคนพิการและทำหน้าที่ดับเพลิงในระยะแรก

31

การป้องกันและระงับอัคคีภยั ไฟ คือ กระบวนการทางเคมีที่ทำให้เกิดความร้อน ทำให้ไอระเหยของสารเข้ารวมตัวกับออกซิเจน อย่างรวดเร็ว เป็นผลทำให้เกิดเปลวไฟความร้อน โดยปฏิกริ ยิ าเคมีระหว่างเชื้อเพลิง ความร้อน และออกซิเจน

หลักในการดับไฟ 1. การลดอุณหภูมิหรือความดัน เช่น การใช้น้ำลดอุณหภูมิ 2. การกำจัดเชื้อเพลิง เช่น นำเชื้อเพลิงที่ยังไม่ติดไฟออกจากบริเวณที่ติดไฟ 3. ทำให้อับอากาศ เช่น ใช้ผ้าห่มหนาคลุม ใช้ทรายกลบ

32

33

ประเภทของไฟ ประเภทของไฟ มี 5 ประเภท 1. ไฟประเภท A สัญลักษณ์ ตัวอักษร A อยู่ในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า พื้นสีเขียว ตัวอักษรสีดำ สัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ จะเป็นรูปถังขยะ และท่อนไม้ที่ติดไฟ

เป็นไฟทีเ่ กิดจากเชื้อเพลิง ไม้ กระดาษ ผ้า ยาง และพลาสติก เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับใช้ในการดับไฟ คือ เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดัน เครื่องดับเพลิง ชนิดโฟมสะสมแรงดัน เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABC เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหยที่ไม่ทำลาย มลภาวะ 2. ไฟประเภท B สัญลักษณ์ ตัวอักษร B อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า พื้นสีแดง ตัวอักษรสีดำ สัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ จะเป็นรูปถังใส่น้ำมัน ที่ติดไฟ

เป็นไฟทีเ่ กิดจากเชื้อเพลิงเหลวติดไฟ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล สี สารละลาย เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับใช้ดับไฟ คือ เครื่องดับเพลิงชนิดโฟมสะสมแรงดัน เครื่องดับเพลิงชนิด ผงเคมีแห้ง ABC เครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหยที่ไม่ทำลาย มลภาวะ

34

ประเภทของไฟ (ต่อ) 3. ไฟประเภท C สัญลักษณ์ ตัวอักษร C อยู่ในรูปวงกลม พื้นสีฟ้า ตัวอักษรสีดำ สัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ จะเป็นรูปปลั๊กไฟที่ลุกติดไฟ

เป็นไฟทีเ่ กิดจากเชื้อเพลิงที่มกี ระแสไฟฟ้า เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับไฟ คือ เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABC เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหยที่ไม่ทำลายมลภาวะ 4. ไฟประเภท D สัญลักษณ์ ตัวอักษร D อยู่ในรูปดาวห้าแฉก พื้นสีเหลือง ตัวอักษรสีดำ สัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ จะเป็นรูปเฟืองโลหะติดไฟ

เป็นไฟทีเ่ กิดจากเชื้อเพลิงที่เป็น โลหะลุกติดไฟ เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับไฟ คือ เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมี โซเดียม คลอไรด์

35

ประเภทของไฟ (ต่อ) 5. ไฟประเภท K สัญลักษณ์ ตัวอักษร K อยุ่ในรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า พื้นสีดำ ตัวอักษรสีขาว สัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ จะเป็นรูปกระทะทำอาหารทีล่ ุกติดไฟ

เป็นไฟทีเ่ กิดจากเชื้อเพลิงน้ำมันทำอาหาร น้ำมันพืช น้ำมันจากสัตว์ และไขมัน เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับไฟ คือ เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำผสมสารโปตัสเซี่ยมอะซิเตท

36

เครื่องดับเพลิงที่ใช้กันทั่วไป เครื่องดับเพลิงที่ใช้กันทั่วไป ชนิดผงเคมีแห้ง

ชนิดเคมีสูตรน้ำ

ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)

37

อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น อั น ตรายส่ ว นบุ ค คล PPE/PPD = Personal Protective Equipment/Devices (อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานสวมใส่/ใช้ขณะทำงาน เพื่อป้องกันหรือบรรเทาอันตราย ที่อาจ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมการทำงาน

อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ

อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและ ดวงตา

อุปกรณ์ป้องกันระบบการได้ยิน อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ

อุปกรณ์ป้องกันมือ

อุปกรณ์ป้องกัน ลำตัว

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง

อุปกรณ์ป้องกันเท้า

38

อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น อั น ตรายส่ ว นบุ ค คล (ต่ อ )

หมวกนิรภัย

อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ ช่วยป้องกันการกระแทก การเจาะทะลุของวัสดุที่ตกลงมากระทบกับศี รษะ และป้องกันการถูกจับตึง ด้วยเครื่องจักร การบำรุงรักษา • • •

เช็ดทำความสะอาดทุกวันหลังใช้งาน ไม่ควรทาสีลงบนหมวก ไม่ควรเก็บไว้ในทีร่ ้อนหรือถูกทิ้งไว้กลางแดด

39

อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น อั น ตรายส่ ว นบุ ค คล (ต่ อ )

แว่นครอบตา

หน้ากากเชื่อม

หน้ากากกรองอนุภาค

อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จากวัตถุ หรือสารเคมีกระเด็นเข้าตา ใบหน้า หรือป้องกันรังสีที่อาจ เป็นอันตรายต่อดวงตา การบำรุงรักษา • • •

ทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งทั้งก่อนและหลังใช้งาน อย่าวางเลนส์สัมผัสกับผิวพื้นต่างๆ เก็บในที่ไม่อบอ้าว ไม่ร้อน ไม่มีฝุ่น

40

อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น อั น ตรายส่ ว นบุ ค คล (ต่ อ )

หน้ากากกรองผสม

หน้ากากป้องกันแก๊สพิษ

หน้ากากกรองอนุภาค

อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ ช่วยป้องกันอันตรายจากมลพิษ สารพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านทางปอด ซึ่งเกิดจากการหายใจเอามลพิษ สารพิษ เช่น อนุภาค ก๊าซ และไอระเหยสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ เข้าสู่ร่างกาย หรือเกิดจากปริมาณ ออกซิเจนในอากาศไม่เพียงพอต่ำกว่า 19% การบำรุงรักษา • • • •

ล้างน้ำสะอาดและสบู่ ควรทำการทดสอบความกระชับก่อนทำงาน ก่อนการจัดเก็บ ต้องทำการตรวจเช็คความสะอาด ปล่อยให้แห้งสนิท และตรวจเช็คครั้งสุดท้าย จัดเก็บในกล่องหรือถุงมีซิบล็อค

41

อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น อั น ตรายส่ ว นบุ ค คล (ต่ อ )

ที่ครอบหู (Ear muff)

ที่อุดหู (Ear plug)

อุปกรณ์ป้องกันระบบการได้ยิน สวมใส่เพื่อลดความดังของเสียงที่จะมากระทบต่อแก้วหู กระดูกหู ซึ่งเป็นการป้องกันหรือลดอันตราย ที่ มีต่อระบบการได้ยิน และผลพลอยได้ ยังสามารถป้องกันเศษวัสดุที่จะกระเด็นเข้าหูได้อีก การบำรุงรักษา • •

ทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งานโดยใช้น้ำอุ่น สบู่อ่อน แล้วใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง ยกเว้นแบบโฟม จำเป็นต้องทิ้ง ไม่เก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง

42

อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น อั น ตรายส่ ว นบุ ค คล (ต่ อ ) วิธีการสวมใส่ Ear Plugs

1. เมื่อจะใส่เข้าไปในหูขวา ให้ใช้มือซ้าย ผ่านด้านหลังศีรษะ ดึงใบหูขวาขึ้น

2. ใช้มือขวาหยิบอุปกรณ์ป้องกันหูสอดเข้าไปในรูหู ค่อยๆ หมุนใส่เข้าไปจนกระชับพอดี

วิธีการสวมใส่ Ear Muffs

43

อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น อั น ตรายส่ ว นบุ ค คล (ต่ อ )

ถุงมือยางกันสารเคมี

ถุงมือแสตนเลสกันบาด

ถุงมือหนังกันไฟ

อุปกรณ์ป้องกันมือและแขน ป้องกัน อันตรายที่เกิดจากสิ่ง แวดล้อมรอบตัว ได้แ ก่ การตัด ขัด ข่วน ถูก สารเคมี ไฟฟ้าดูด ถูกความร้อน หรือไฟไหม้ การบำรุงรักษา • • •

ทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน ใช้สบู่ผงซักฟอก และน้ำสะอาด สำหรับถุงมือที่ซักล้างได้ ส่วนถุงมือประเภทอื่นๆ ให้ทำความสะอาด ตามคู่มือ เก็บไว้ในที่ไม่ร้อน ไม่มีฝุ่น และสารเคมี

44

อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น อั น ตรายส่ ว นบุ ค คล (ต่ อ )

ชุดกันสารเคมี

ชุดดับเพลิง

อุปกรณ์ป้องกันลำตัว ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของร่างกายโดยอาจปกคลุมทั้งหมดหรือเฉพาะบางส่วน ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกัน หน้าอก ท้อง ลำตัว การบำรุงรักษา • •

ทำความสะอาดทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เก็บในบริเวณที่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิพอเหมาะ ปราศจากฝุ่น และสารเคมีรบกวน

45

อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น อั น ตรายส่ ว นบุ ค คล (ต่ อ )

รองเท้านิรภัย

รองเท้าบูธ

อุปกรณ์ป้องกันเท้า ช่วยป้องกันส่วนของเท้า นิ้วเท้า ตลอดจน หน้าแข้ง ไม่ให้สัมผัสกับอันตรายจากการปฏิบัติงาน เช่น การตกกระแทก ทับ หนีบ อัด ทิ่ม แทงจากวัตถุต่างๆ รวมทั้งป้องกันความร้อนและสารเคมี การบำรุงรักษา • •

ทำความสะอาดทุกวันหลังใช้งานโดยการปัดฝุ่น เช็ดฝุ่น ห้ามเหยียบส้นรองเท้าเด็ดขาด

เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว

เข็มขัดนิรภัย

เชือกช่วยชีวิต

อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง ช่วยป้องกันการพลัดตกจากการทำงานในที่สูง การบำรุงรักษา •

เก็บรักษาอุปกรณ์ไว้ในที่แห้งห่างจากแสงอาทิตย์ หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ทำให้เกิดการกัดกร่อน

46

ป้ า ยหรื อ สั ญ ลั ก ษณ์ ค วามปลอดภั ย •

เครื่องหมายห้าม



• •

ห้ามทั่วไป



(General prohibition)

• • • •

ห้ามสูบบุหรี่



(No smoking)

• • • • •

ห้ามจุดไฟและก่อประกายไฟ ห้ามทำให้เกิดประกายไฟ ห้ามสูบบุหรี่ (No open flame; fire, open ignition source and smoking prohibited)

ห้ามเดินหรือยืนบริเวณนี้ (Do not walk or stand here)

47

เครื่องหมายเตือน ระวังมีอันตราย (Danger)

เครื่องหมายเตือนทั่วไป (General warning sign)

ระวังศีรษะ (Beware overhead hazard)

ระวังอันตรายจากพื้นลื่น (Beware slippery surface)

ระวังอันตรายจากเครื่องจักร (Beware moving machinery)

48

เครื่องหมายเตือน ระวังวัตถุไวไฟ (Beware flammable)

ระวังอันตรายจากกระแสไฟฟ้า (Beware electricity)

ระวังอันตรายจากสารเคมี (Beware toxic chemical)

ระวังอันตรายจากกรดเคมี (Beware acid)

49

เครื่องหมายบังคับ บังคับให้ต้องปฏิบัติ

สวมหมวกนิรภัย (Wear head protection)

สวมใส่อปุ กรณ์ปกป้องหู

(Wear ear protection)

สวมปลั๊กลดเสียง (Wear earplugs)

สวมใส่อปุ กรณ์ปกป้องตา (Wear eye protection)

สวมเข็มขัดกันตกจากที่สงู (Wear safety harness)

50

เครื่องหมายบังคับ สวมถุงมือนิรภัย (Wear hand protection)

สวมรองเท้านิรภัย

(Wear foot protection)

สวมหน้ากากกันฝุ่น (Wear mask)

สวมกระบังหน้านิรภัย (Wear mask)

สวมหน้ากากเชื่อม (Wear welding helmet)

51

เครื่องหมายสื่อถึงความปลอดภัย เครื่องหมายสารนิเทศเกี่ยวกับ ภาวะปลอดภัย

ปลอดภัยไว้ก่อน (Safety first)

ปฐมพยาบาล

(First aid)

จุดรวมพล (Assembly point)

ทางออกฉุกเฉิน (Emergency exit)

ทิศทางตรงสูท่ ี่ปลอดภัย (Direction safe condition)

52

คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน บริษัท อากิแบม ออยล์ จำกัด

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.