โครงงานมะเขืออะไรเอ่ยสีแดง Flipbook PDF


97 downloads 114 Views 6MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

รายงาน เรื่อง มะเขืออะไรเอ่ยสีแดง เสนอ อาจารย์ อารยา บัววัฒน์ จัดทำโดย นางสาว ภัทรานิษฐ์ สิงห์ทองบุญ เลขที่ 20 นางสาว นรีกานต์ ฟักทอง เลขที่ 21 นางสาว ชญาภา ลู่ทางเจริญ เลขที่ 37 นางสาว พิชชานันท์ สาธุธรรม เลขที่ 42 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ รหัสวิชา I30202 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2


ก บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง มะเขืออะไรเอ่ยสีแดง มีจุดประสงค์เพื่อ (1)นำมะเขือเทศมาแปรรูปทำให้ สามารถรับประทานผักได้ง่ายขึ้น (2)ทำให้คนที่ไม่รับประทานมะเขือเทศสามารถหันมา รับประทานมะเขือเทศได้ (3)มะเขือเทศมีประโยชน์ต่อร่างกาย ในการทำชีสทาร์ตมะเขือเทศ คณะผู้จัดทำได้ใช้อุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำ ประกอบด้วย (1)แม่พิมพ์ทาร์ต (2)ตะแกรงอบมะเขือเทศ (3)บิสกิตบดละเอียด (4)เนยจืด ละลาย (5)เกลือ (6)ครีมชีส ()น้ำตาลทราย (8)วิปครีม (9)น้ำเลมอน (10)เจลาติน (11)มะเขือ เทศเนื้อ (12)มะเขือเทศราชินี โดยมีวิธีการทำดังนี้ (1)ทำฐานทาร์ตโดยการผสมบิสกิตบดละเอียดกับเนยจืดละลายเข้าด้วยกัน (2)ตักใส่แม่พิมพ์แล้วใช้ช้อนกด (3)ทำมะเขือเทศเพียวเรโดยการนำมะเขือเทศเนื้อไปต้ม (4)ปลอกเปลือกมะเขือเทศออกแล้วนำไปปั่นให้ละเอียด (5)นำไปเคี่ยวจนเนื้อมะเขือเทศมีความ ข้นและมีสีที่เข้มข้น (6)ทำตัวชีสเค้กโดยการตีครีมชีสแล้วนำไปผสมกับน้ำตาลทราย วิปปิ้งครีม น้ำเลมอน มะเขือเทศเพียวเรและเจลาตินที่ละลายแล้ว (7)เทส่วนผสมชีสเค้กลงในพิมพ์ทาร์ต แล้วนำเข้าตู้เย็น (8)ทำมะเขือเทศเชื่อมโดยการน้ำมะเขือเทศราชินีหั่นแว่น (9)นำน้ำตาล ทรายขาวมาต้มกับน้ำจนละลาย (10)ราดน้ำตาลทรายขาวละลายลงบนมะเขือเทศราชินีที่หั่น แว่นแล้วจากนั้นนำไปอบในเตาอบ (11)หลังชีสเค้กเช็ตตัวให้นำออกจากตู้เย็นแล้วนำมาตกแต่ง ด้วยมะเขือเทศราชินีหั่นแว่นเคลือบน้ำตาล จากการศึกษารวบรวมข้อมูล ส่วนผสมต่างๆและวิธีการทำ รวมถึงความเป็นมาของ วัตถุดิบที่ใช้พบว่า ชีสทาร์ตมะเขือเทศมีประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายอย่าง กิตติกรรมประกาศ


ข โครงงานวิจัยฉบับนี้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างยิ่งจากคุณครูอารยา บัววัฒน์ คุณครูที่ปรึกษา ที่ได้ให้คำแนะนำปรึกษา และให้ข้อมูลต่างๆ ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณคุณครู โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ที่ได้ให้คำแนะนำ ตลอดจนตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย อนึ่ง ผู้วิจัยหวังว่า งานวิจัยฉบับนี้จะมีประโยชน์อยู่ไม่น้อย จึงขอมอบส่วนดีทั้งหมดนี้ให้แก่ เหล่าอาจารย์ที่ได้ประสาทวิชา จนทำให้ผลงานวิจัยเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง และขอมอบ ความกตัญญูกตเวทีคุณแด่บิดา มารดา และผู้มีพระคุณทุกท่าน ตลอดจนเพื่อนๆ ที่คอยให้ความช่วย เหลือและกำลังใจตลอดมา


ค สารบัญ บทคัดย่อ............................................................................................. ...................................ก กิตติกรรมประกาศ.................................................................................................................ข สารบัญสาร................................................................................................................ ............ค สารบัญตาราง........................................................................................................... .............ง สารบัญภาพ.............................................................................................................. ............จ บทที่ 1 บทนำ........................................................................................................... ...........1-2 ที่มาและความสำคัญ............................................................................................................1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา....................................................................................1 ขอบเขตของการศึกษา...........................................................................................1 สมมติฐานของการศึกษา........................................................................................2 ตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า...........................................................................................2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง.................................................................................................3-6 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ...................................................................................................7-13 บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล................................................................................................14-15 บทที่ 5 สรุปผล การอภิปราย และข้อเสนอแนะ.................................................................16 บรรณานุกรม.......................................................................................................................17 ภาคผนวก หน้า


ง สารบัญตาราง ตารางที่ 1 ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ชีสทาร์ต……………………………………………………….…..…13 ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพจากการรับประทานชีสทาร์ตมะเขือเทศและมะเขือเทศสด...13 ตารางที่ 3 การวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อชีสทาร์ตมะเขือเทศ..........................................................14


จ สารบัญรูปภาพ ภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 1 ...........................................................................................19 ภาพที่ 2 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 2 ...........................................................................................19 ภาพที่ 3 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 3 ...........................................................................................20 ภาพที่ 4 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 4 ...........................................................................................20 ภาพที่ 5 แสดงภาพสำเร็จของชีสทาร์ตมะเขือเทศ ......................................................................21 ภาพที่ 6 แสดงแบบสอบถามความพึงพอใจ..................................................................................21


๑ บทที่ 1 บทนำ 1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน มะเขือเทศอุดมไปด้วยไลโคปินท์มากไปด้วยประโยชน์ แต่ด้วยความเหม็นเขียวและมีกลิ่น เฉพาะตัวของมะเขือเทศสด จึงไม่ค่อยเป็นที่โปรดปราณของคนไม่กินผักเท่าไหร่นัก กลุ่มเราจึงนำมะเขือ เทศมารังสรรค์เป็นเมนูชีสทาร์ตเพื่อให้รับประทานง่ายขึ้น และไม่ลดคุณประโยชน์ของตัวผักแถมยังเพิ่ม สรรพคุณให้กับวัตถุดิบหลังจากนำไปประกอบอาหาร โดยการศึกษาและคิดค้นในครั้งนี้ได้ออกมาเป็นเม นุชีสทาร์ตที่ใช้มะเขือเทศมาเป็นวัตถุดิบหลัก กรรมวิธีการทำที่สำคัญ คือ ต้มมะเขือเทศ เพราะ จะช่วย ลดกลิ่นเหม็นเขียว อีกทั้งความร้อนยังทำให้การยึดจับของไลโคปินกับเนื้อเยื่อมะเขือเทศอ่อนตัวลง ร่างกายของผู้รับประทานเมนูนี้จะได้รับไลโคปินไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่ามะเขือเทศสด 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.2.1 เพื่อศึกษาวิธีการทำให้คนไม่กินผักสามารถมากินผักได้ง่ายขึ้น 1.2.2 เพื่อศึกษามะเขือเทศสามารถนำมาแปรรูปเป็นชีสทาร์ตได้ 1.2.3 เพื่อนำมะเขือเทศทุกส่วนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ 1.2.4 เพื่อศึกษากรกำจัดกลิ่นเหม็นเขียวจากวัตถุดิบทางธรรมาติ 1.2.5 เพื่อศึกษาการคงอยู่ของวิตามินต่างๆภายในผักแม้จะนำไปแปรรูป 1.3 ขอบเขตการศึกษา 1.3.1 ความพึ่งพอใจของกลิ่นผลิตภัณฑ์ 1.3.2 ความสะดวกต่อการบริโภคและพกพา 1.3.3 คุณประโยชน์คงเดิมหลังจากนำวัตถุดิบไปแปรรูป 1.3.4 ประหยัดต้นทุนในการทำชีสทาร์ต 1.4 สมมุติฐานของการศึกษา 1.4.1 มะเขือเทศ สามารถนำมาทำเป็นชีสทาร์ตได้


๒ 1.4.2 ผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศมีประสิทธิภาพที่ช่วยให้ทานผักง่าย 1.4.3 มะเขือเทศเมื่อนำไปต้มจะยังคงวิตามินต่างๆไว้ 1.4.4 การนำมะเขือเทศมาทำเป้นทารืตจะช่วยลดกลิ่นเหม็นเขียว 1.5 ตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า 1.5.1 ตัวแปรต้น - มะเขือเทศ 1.5.2 ตัวแปรตาม -ประสิทธิภาพที่ยังคงอยู่ของมะเขือเทศหลังจากแปรรูป 1.5.3 ตัวแปรควบคุม -ปริมาณของมะเขือเทศที่ต้มแล้ว -รูปร่างและปริมาณของภาชนะที่บรรจุ -ชนิดและปริมาณของครีมชีส -ปริมาณของบิสกิตบด -ปริมาณของมะเขือเทศเชื่อม -ปริมาณของตกแต่ง


๓ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มะเขือเทศอุดมไปด้วยไลโคปินท์ที่มากไปด้วยประโยชน์ แต่ด้วยความเหม็นเขียวและมีกลิ่น เฉพาะตัวของมะเขือเทศสด จึงไม่ค่อยเป็นที่โปรดปรานของคนไม่กินผัก คณะผู้จัดทำจึงได้ศึกษาคิดค้น เกี่ยวกับวิธีการนำมะเขือเทศมารังสรรค์และเพิ่มความแปลกใหม่เพื่อให้ผักสามารถรับประทานได้ง่ายขึ้น และไม่ลดคุณประโยชน์ของตัวผัก แถมยังสรรพคุณให้กับวัตถุดิบหลังจากนำไปประกอบอาหาร โดย การศึกษาและคิดค้นในครั้งนี้ได้ออกมาเป็นเมนูชีสทาร์ตที่ใช้มะเขือเทศมาเป็นวัตถุดิบหลัก โดยผู้จัดทำ ได้ศึกษาเอดสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นพื้นฐานและสนับสนุนแนวคิดในการโครงงานดังนี้ หัวข้อที่ศึกษามีดังนี้ 1. มะเขือเทศ 2. ชีสทาร์ต 3. ชีสทาร์ตมะเขือเทศ


๔ มะเขือเทศ https://th.wikipedia.org/wiki/มะเขือเทศ/ (2565) มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุกอายุเพียง 1 ปี ลำต้นตั้งตรง มีลักษณะเป็นพุ่ม มีขนอ่อน ๆ ปกคลุม ใบเป็นใบประกอบ ออกสลับกัน ใบย่อยมีขนาดไม่ เท่ากัน บางใบเล็กรียาว บางใบกลมใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยักลึกคล้ายฟันเลื่อยมีขนอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อหรือดอกเดี่ยว บริเวณซอกใบ ดอกมีสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียวประมาณ 5-6 กลีบ ผล เป็นผลเดี่ยว มีขนาดรูปร่างและสีต่างกัน ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 3 เซนติเมตร จนถึงใหญ่ประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างมีทั้งกลม กลมแบน หรือกลมรี ผิวนอกกลีบเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียว หรือเขียวอมเทา เมื่อสุกจะมีสีเหลือง สีส้ม หรือสีแดง เนื้อภายในฉ่ำด้วยน้ำมีรสเปรี้ยว มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก มะเขือเทศ มีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์สีดา พันธุ์โรมาเรดเพียร์ เป็นต้น 1. มะเขือเทศมีสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ดังนั้นจึงใช้เป็นยารักษาโรคที่ เกี่ยวกับปากที่เกิดจากเชื้อราได้ 2. มะเขือเทศมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ คือ ไลโคปีน ที่มีคุณสมบัติสามารถลดการเกิดมะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีบีตา-แคโรทีน และฟอสฟอรัสมาก 3. ในผลมะเขือเทศมีสารจำพวก แคโรทีนอยด์ ชื่อไลโคพีน ซึ่งเป็นสารสีแดง และวิตามินหลาย ชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินเค โดยเฉพาะวิตามินเอและวิตามินซี มีในปริมาณสูง มีกรดมาลิก กรดซิตริก ซึ่งให้รสเปรี้ยว และมีกลูตามิคซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยเพิ่มรสชาติให้ อาหาร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารบีตา-แคโรทีน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก เป็นต้น 4. มะเขือเทศมีสรรพคุณทางยาค่อนข้างสูง เพราะมะเขือเทศมี วิตามินพี (citrin) ซึ่งจะช่วย ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด มะเขือเทศยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะจึงสามารถแก้อาการความ ดันโลหิตสูง มะเขือเทศมีวิตามินเอจึงสามารถรักษาโรคตาได้ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือมีวิตามินซี มากทำให้สามารถป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ช่วยระบบการย่อยและช่วยการขับถ่าย อุจจาระอีกด้วย 5. ช่วยบำรุงผิวลดริ้วรอย ผิวพรรณไม่แห้งกร้าน ระบบการหมุนเวียนเลือดดีขึ้น และยังสามารถ ต้านมะเร็งได้ด้วย 6. ซอสมะเขือเทศสามารถนำมาใช้หมักผมได้ โดยจะช่วยป้องกันการเปลี่ยนไปของสีผมอัน เนื่องมาจากการว่ายในน้ำในสระที่มีคลอรีน และยังนำมาใช้ขัดเครื่องประดับเงินชิ้นให้เงางามได้ เหมือนเดิม


๕ ชีสทาร์ต 1) วิธีการทำชีสทาร์ต 1.1ทำแป้งทาร์ตโดยผสมแป้งเค้ก น้ำตาลไอซิ่ง เนย ไข่แดง และนมสด ในอ่างผสม ถูเนยกับแป้ง ให้เข้ากันจนมีลักษณะเหมือนเม็ดทราย นวดส่วนผสมแป้งให้เข้ากันและจับตัวเป็นก้อนห่อก้อน แป้งด้วยพลาสติกแร็ป นำเข้าแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดานานประมาณ 1 ชั่วโมง 1.2อุ่นเตาอบที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส พักไว้ 1.3ทำชีสคัสตาร์ดโดยตั้งหม้อน้ำบนไฟกลาง ผสมครีมชีส มัสคาร์โพเนชีส พาร์มีซานชีส เนย และ นมสด 50 กรัม ลงในอ่างผสม ยกขึ้นตั้งบนหม้อน้ำ ใช้ตะกร้อมือคนจนส่วนผสมเข้ากัน ยกลง จากเตา จากนั้นผสมนมสดที่เหลือ น้ำตาลไอซิ่ง และแป้งข้าวโพด ในถ้วย คนให้ส่วนผสมแป้ง ละลายเข้ากันดี เทส่วนผสมแป้งลงในอ่างชีส ยกขึ้นตั้งไฟอีกครั้ง คนจนส่วนผสมเข้ากัน จากนั้นใส่ไข่ไก่ กลิ่นวานิลลา และเกลือ คนให้เข้ากันและข้นขึ้น ปิดไฟ ยกลงจากเตา (ถ้า ส่วนผสมชีสคัสตาร์ดเป็นเม็ดให้กรองด้วยกระชอนตาถี่) ปิดด้วยพลาสติกแร็ปให้แนบสนิทไป กับหน้าชีสคัสตาร์ด พักในตู้เย็นช่องธรรมดานานประมาณ 1 ชั่วโมง 1.4นำแป้งทาร์ต ที่ครบกำหนดแล้วมาพักให้คลายเย็นลง รีดแผ่นแป้งให้มีขนาดหนาตามต้องการ กรุแผ่นแป้งลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ ใช้ส้อมจิ้มให้ทั่วแผ่นแป้งด้านฐาน พักไว้ประมาณ 5 นาที นำเข้าอบในเตาอบที่อุ่นไว้อบนานประมาณ 10 นาที พอครบกำหนด นำออกมาพักให้หาย ร้อนนำออกจากพิมพ์ ปรับอุณหภูมิเป็น 230 องศาเซลเซียส พักไว้ 1.5นำชีสคัสตาร์ดใส่ถุงบีบและหัวบีบเตรียมไว้ พอแป้งทาร์ตหายร้อน บีบชีสคัสตาร์ดใส่ลงในแป้ง ทาร์ตให้ทั่ว ทาด้วยไข่แดงละลายน้ำให้ทั่ว นำเข้าเตาอบที่อุ่นไว้ อบนานประมาณ 7 นาที หรือ จนหน้าชีสเหลือง นำออกจากเตา พักไว้บนตะแกรง จัดใส่จาน เสิร์ฟ ชีสทาร์ตมะเขือเทศ มะเขือเทศอุดมไปด้วยไลโคปินท์ที่มากไปด้วยประโยชน์ แต่ด้วยความเหม็นเขียวและ กลิ่นเฉพาะตัวของมะเขือเทศสด จึงไม่ค่อยเป็นที่โปรดปรานของคนไม่กินผักเท่าไรนัก เมนูชีส ทาร์ตนี้ใช้มะเขือเทศมาต้มและปั่นผสมกับครีมชีส การต้มมะเขือเทศจะช่วยลดกลิ่นเหม็นเขียว อีกทั้งความร้อนยังทำให้การยึดจับของไลโคปินท์กับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศอ่อนตัวลง ร่างกาย จึงนำไลโคปินท์ไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่ามะเขือเทศสด



๗ บทที่ ๓ วิธีการดำเนินการทดลอง การค้นคว้าศึกษาเรื่องการแปรรูปของมะเขือเทศให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถรับประทานได้ง่าย มากยิ่งขึ้นและยังคงสรรพคุณของมะเขือเทศไว้ ในการศึกษาค้นคว้าที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับบุคคลจำพวกที่ รับประทานมะเขือเทศได้ยากและการแปรรูปอาหารมีทั้งหมด 7 ด้าน 1) ด้านรสชาติของชีสทาร์ต 2) ด้านคุณประโยชน์ของชีสทาร์ต 3) ด้านความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ 4) ด้านคุณภาพของชีสทาร์ต 5) ด้านผลลัพธ์ของชีสทาร์ตหลังรับประทาน 6) ด้านกลิ่นของชีสทาร์ต 7) ด้านภาพรวมของชีสทาร์ต ศึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปมะเขือเทศโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินความพึงใจจากความคิดเห็น ของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ด้านการแก้ไขปรับปรุงพัฒนาในจุดบกพร่องของชีสทาร์ตมะเขือเทศ เพื่อให้ ชีสทาร์ตมะเขือเทศที่จัดทำมีคุณภาพมากที่สุด ทำการศึกษาค้นคว้าโดยมีวิธีการและขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในการศีกษาค้นคว้า 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 5. สถิติใช้ในการวิเคราะห์ 6. วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 สังกัด สำนักงานการศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร จำนวน 54 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า วิธีการสร้างเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้นเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งผู้ศึกษาได้สร้างแบบสอบถามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ องค์การศึกษาและขอบเขตของการศึกษาซึ่งประกอบด้วยคำถาม 2 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็น แบบสอบถามปลายปิด (Close Ended Respmonse question) ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับคุณภาพของชีสทาร์ตที่มีส่วนผสมหลักจากมะเขือเทศ ตามความเห็นของได้แก่ นักเรียน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร มีลักษณะคำถามเป็นคำถามมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับตาม


๘ วิธีของลิเคิร์ท (Likert) คือ น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก และมากที่สุด โดยมีเกณฑ์การให้ คะแนนและเกณฑ์การให้คะแนนและเกณฑ์การจัดระดับดังนี้ ระดับความคิดเห็น ค่าน้ำหนักคะแนนของตัวเลือกตอบ น้อยที่สุด กำหนดค่าเท่ากับ 1 คะแนน น้อย กำหนดค่าเท่ากับ 2 คะแนน ปานกลาง กำหนดค่าเท่ากับ 3 คะแนน มาก กำหนดค่าเท่ากับ 4 คะแนน มากที่สุด กำหนดค่าเท่ากับ 5 คะแนน เกณฑ์ในการแปลความหมายค่าร้อยละของคะแนนระดับความเห็นเพื่อจัดระดับคะแนน การศึกษา สภาพการดำเนินกิจกรรมต่างๆกำหนดเป็นช่วงคะแนนดังต่อไปนี้ ช่วงคะแนนร้อยละ 79 คะแนนขึ้นไป = ดีมาก ช่วงคะแนนร้อยละ 70-79 คะแนน = ดี ช่วงคะแนนร้อยละ 60-69 คะแนน = ปานกลาง ช่วงคะแนนร้อยละ 50-59 คะแนน = พอใช้ ช่วงคะแนนร้อยละ 40-49 คะแนน = ปรับปรุง


๙ 3. เก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ ขอความร่วมมือจากนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา๒สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ในการทำแบบสอบถามเพื่อจัดเก็บข้อมูลรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนโรงเรียนนวมินท ราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ ผู้ศึกษานำแบบสอบถามไปแจกด้วยตนเองทั้งหมดในระหว่างวันที่ ๒-๓ พฤษจิกายน ๒๕๖๕ จำนวน ๕๔ ชุด ชุดเมื่อถึงกำหนดวันนัดหมายผู้ศึกษาไปขอรับและแบบสอบถามคืนตนเองพร้อมตรวจสอบ ถูกต้องความเรียบร้อยความสบบูรณ์ของข้อมูลในการตอบแบบสอบถามในแต่ละชุดและจำนวนข้อมูลที่ ได้รับจำนวน ๕๔ ชุด ผู้ศึกษานำแบสอบถามหรือข้อมูลที่เก็บรวบรวมในสถานศึกษาเพื่อนำไปวิเคราะห์และแปล ผลข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับและ ศึกษาค้นคว้านำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้ความถี่ร้อยละ ตอนที่ 2 ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับชีสทาร์ตมะเขือเทศ จำแนกตามสถานภาพ ได้แก่ นักเรียน ครู/ อาจารย์ และเพศ ได้แก่ ชาย หญิง 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาค้นคว้าได้วิเคราะห์และประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จด้วย ระบบคอมพิวเตอร์สถิติที่ใช้ คือ สถิติพรรณนาการหาค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการหา ค่าความถี่โดยวิธีนับคำนวณ สูตรการหาค่าร้อยละ = 100


๑๐ ๖. วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ๖.๑.๑ อุปกรณ์และเครื่องมือหลักที่ต้องใช้ ชนิดอุปกรณ์ จำนวน หม้อ ๒ ใบ ทัพพี ๒ อัน ไมโครเวฟ ๑ เครื่อง ช้อน ๓ คัน ถ้วย ๓ ใบ ตะกร้อ ๑ ด้าม จาน ๑ ใบ ถ้วยพลาสติก ๔๕ ถ้วย เตา ๑ เครื่อง 6.1.2 วัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องจัดหา ชนิดอุปกรณ์ จำนวน บิสกิตบทละเอียด ๒๗๐ กรัม เนยสดชนิดจืดละลาย ๑๔๐ กรัม มะเขือเทศเนื้อ ๑ กิโลกรัม เกลือสมุทร ๑ ส่วน ๔ ช้อนชา ครีมชีสพักให้นุ่ม ๑๒๐ กรัม น้ำตาลทรายขาว ๖๐ กรัม วิปปิ้งครีม ๑ ส่วน ๒ ถ้วย น้ำเลม่อน ๓ ช้อนโต๊ะ มะเขือเทศเพียวเร ๒๐๐ กรัม เจลาตินขนาด 3x9 นิ้ว ๑ ส่วน ๒ แผ่น


๑๑ น้ำตาลทรายขาว ๑ ส่วน ๒ ถ้วย น้ำ ๑ ส่วน ๒ ถ้วย มะเขือเทสเชอร์รี่สีแดงหั่นแว่นหนา 0.5 มม. ๑ ถ้วย วิธีการทดลอง ๑. ทำฐานทาร์ตโดยผสมไดเจสทีฟบิสกิตบดละเอียดกับเนยสดชนิดจืดละลายให้เข้ากัน ตักใส่ พิมพ์ทาร์ตใช้นิ้วมือหรือช้อนอัดฐานให้เรียบเสมอกันใช้มือกรุขอบด้านข้างพิมพ์ให้แน่น และความ หนาของบิสกิตประมาณ ๑ ซม.นำเข้าตู้เย็นช่องธรรมดา พักไว้ ๒. ทำมะเขือเทศเพียวเรโดยใช้มีดกรีดที่ก้นมะเขือเทศให้เป็นรูปกากบาท ใส่น้ำในหม้อประมาณ ๒/๓ ของหม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง ใส่เกลือสมุทร พอน้ำเริ่มเดือดใส่มะเขือเทศลงต้มจนเปลือก เริ่มล่อนออกจากเนื้อ ตักขึ้นใส่อ่างน้ำเย็น พักให้คลายร้อน ลอกเปลือกมะเขือเทศและผ่าเอาเม็ด ด้านในออกให้เหลือแต่เนื้อ


๑๒ ๓. ทำตัวชีสเค้กโดยใช้ตระกร้อมือตีครีมชีสจนเนื้อเนียนไม่เป็นก้อน ค่อยๆใส่น้ำตาลทรายทีละ น้อยจนหมด ตีต่อจนเนื้อครีมชีสเนียน ใส่วิปปิ้งครีม น้ำเลมอน และมะเขือเทศเพียวเรคนให้ ส่วนผสมเข้ากันดี ละลายเจลาตินในไมโครเวฟจนได้ลักษณะน้ำใสๆ ค่อยๆเทเจลาตินเหลวลงใน ส่วนผสมครีมชีสคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน ตักส่วนผสมชีสเค้กใส่พิมพ์ทาร์ตที่เตรียมไว้ให้พอดีกับขอบ นำเข้าตู้เย็นช่องธรรมดาประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง หรือจนชีสเค้กเซ็ตตัว ๔. ทำมะเขือเทศเชื่อมโดยอุ่นเตาอบไฟบนล่างที่อุณหภูมิ ๑๐๐ องศาเซลเซียส เตรียมไว้ ใส่ น้ำตาลทรายขาวและน้ำลงในกระทะ ตั้งบนไฟกลาง รอจนน้ำเชื่อมเดือดและข้น ลดเป็นไฟอ่อน ใส่มะเขือเทศเชอร์รีทั้งสองสีหั่นแว่นลงไป เคี่ยวจนสังเกตเห็นว่ามะเขือเทศเริ่มใสจึงปิดไฟ ตักชิ้น มะเขือเทศขึ้นพักไว้บนตะแกรงตาถี่ นำเข้าอบประมาณ ๑๕ นาที พักไว้ให้เย็น ๕. เมื่อชีสเค้กเซ็ตตัว นำออกจากตู้เย็น ตกแต่งด้วยมะเขือเทศเชื่อมและใบไธม์ เสิร์ฟ


๑๓ ผลการทดลอง ๑ ผลการศึกษาชีสทาร์ตมะเขือเทศ ตารางที่ ๑ ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ชีสทาร์ต ชีสทาร์ตมะเขือเทศ ลักษณะผิวเนื้อ สี รสชาติ มะเขือเทศ ผิวเรียบ แดงส้ม เปรี้ยว บิสกิต ผิวขรุขระ สีน้ำตาล หวาน ตารางที่ ๒ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพจากการรับประทานชีสทาร์ตมะเขือเทศและมะเขือเทศสด ผลิตภัณฑ์ ประสิทธิภาพ ก่อนรับประทาน หลังจากรับประทาน ชีสทาร์ตมะเขือเทศ ชีสทาร์ตมะเขือเทศมีหน้าตาน่า รับประทานมากขึ้น สามารถทานมะเขือเทศได้ง่ายขึ้น มะเขือเทศสด มะเขือเทศสดมีกลิ่นที่เหม็นเขียว รับประทานมะเขือเทศได้ยาก บทที่ 4 ผลการทดลอง


๑๔ การศึกษาค้นคว้าการประดิษฐ์กระดาษสาดอกไม้หอมจากการกระดาษที่ไม่ใช้แล้วนำกลับมาทำ ใหม่คณะผู้จัดทำนำกระดาษหล่านี้มาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชน การศึกษา ค้นคว้าครั้งนี้เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมมูลเพื่อนำมาจัดทำเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ โดย ภายหลังจากที่ทำผลิตภัณฑ์เสร็จสมบูรณ์แล้ว ทำงคณะผู้จัดทำจึงได้นำสิ่งประดิษฐ์มาให้นักเรียนและ บุคลากรภายในโรงเรียนนวมินทรำชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ได้ทดลองใช้ และทำแบบประเมิณความพึงพอใจ ต่อคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์และร่วมกันเสนอข้อเสนอแนะ ซึ่งประชากรในการค้นคว้าครั้งนี้มี นักเรียน จำนวน 54 คน และบุคลากรภายนอกโรงเรียนจำนวน 1 คน รวมทั้งหมด 55 คน ได้รับแบบประเมิณ กลับคืนมาจำนวน 55 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 ในการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล มีหัวข้อ ดังต่อไปนี้ 4.1 วิเคราะห์คะแนนความพึงพอใจต่อชีสทาร์ตมะเขือเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ๔.๑วิเคราะห์คะแนนความพึงพอใจต่อชีสทาร์ตมะเขือเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๘ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ตารางที่ ๓.๑การวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อชีสทาร์ตมะเขือเทศ ระดับความพึงพอใจ


๑๕ ลำดับ รายการประเมิณ มาก ที่สุด (5) มาก (4) ปาน กลาง (3) น้อย (2) น้อย ที่สุด (1) ร้อยละ แปลผล ๑ ทาร์ตรสชาติดีหรือไม่ ๑๕ ๒๒ ๑๖ ๒ ๐ ๘๘ มาก ๒ ทาร์ตมีหน้าตาน่ารับประทาน ๑๓ ๒๖ ๑๒ ๒ ๒ ๘๙ มาก ๓ ทาร์ตช่วยให้ทานมะเขือเทศง่ายขึ้น ๑๑ ๑๘ ๑๕ ๙ ๒ ๘๖ มาก ๔ ทาร์ตช่วยเรื่องการขับถ่าย ๑๓ ๒๔ ๑๖ ๒ ๐ ๘๖ มาก ๕ การจัดการกลิ่นเหม็นเขียวของมะเขือเทศ ๒๓ ๑๔ ๑๔ ๑ ๐ ๙๑ มาก ๖ ทาร์ตมีผลข้างเคียงที่ดีต่อผู้บริโภค ๑๘ ๒๔ ๑๑ ๒ ๐ ๘๕ มาก ๗ ทาร์ตทำให้ผู้บริโภคหันมารับประทานผัก ๑๗ ๒๓ ๑๒ ๓ ๐ ๘๕ มาก ๘ ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากทาร์ต ๑๖ ๒๒ ๑๔ ๑ ๑ ๘๙ มาก ๙ ภาพรวมบรรจุภัณฑ์น่าดึงดูดหรือไม่ ๑๖ ๒๒ ๑๒ ๒ ๓ ๘๕ มาก รวม ๘๗ มาก เกณฑ์การให้คะแนน ช่วงคะแนนร้อยละ ๘๐ คะแนนขึ้นไป = มากที่สุด ช่วงคะแนนร้อยละ ๗๐-๗๙ คะแนน = มาก ช่วงคะแนนร้อยละ ๖๐-๖๙ คะแนน = ปานกลาง ช่วงคะแนนร้อยละ ๕๐-๕๙ คะแนน = น้อย ช่วงคะแนนร้อยละ ๔๙-๔๙ คะแนน = น้อยที่สุด จากตารางการวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อชีสทาร์ตมะเขือเทศ ทั้ง ๙ ข้อ พบว่าภาพรวมของ ผลิตภัณฑ์อยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยด้านที่มีคะแนนมากที่สุด คือ การจัดการกลิ่นเหม็นเขียวของมะเขือเทศ มีค่าร้อยละ ๙๑รองลงมาคือ ทาร์ตมีหน้าตาน่ารับประทาน และผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากทาร์ต มีค่า ร้อยละ ๘๙ และด้านที่เหลือมีระดับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นส่วนใหญ่แนะนำให้ปรับปรุงด้านบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามและดึงดูดสายตาผู้บริโภคให้ มากขึ้น เพื่อสามารถเพิ่มมูลค่าและความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์


๑๖ บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ การศึกษาการทำชีสทาร์ตจากมะเขือเทศ มีวัตถุประสงค์ 5 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาความคงอยู่ของสรรพคุณในมะเขือเทศเมื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ 2) เพื่อ ศึกษามะเขือเทศสามารถนำไปทำเป็นชีสทาร์ต 3) เพื่อนำมะเขือเทศนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด 4) เพื่อศึกษาสรรพคุณของมะเขือเทศ 5) เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยให้คนได้ รับประทานผักได้ง่ายขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่เราใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรี วิทยา2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามความคิดเห็นความพึงพอในใจชีสทาร์ ตจากมะเขือเทศ โดยแบบสอบถามคือ Google Form ซึ่งเรามีคำถามสำรวจจำนวน 9 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติที่ใช้ในการศึกษานี้คือ การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สรุปผลการทดลอง จากการศึกษาทดลองการทำชีสทาร์ตมะเขือเทศ สามารถสรุปได้ว่า ชีสทาร์ตมะเขือ เทศสามารถทานได้ง่าย ไม่ลดคุณประโยชน์ของตัวผักแถมยังเพิ่มสรรพคุณให้กับวัตถุดิบ หลังจากนำไปประกอบอาหาร อภิปราย จากการศึกษาค้นคว้าเรื่องการทำชีสทาร์ตมะเขือเทศตามความคิดเห็นจากนักเรียนภายใน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ สามารถอภิปรายได้ดังนี้ จากการสอบถามความคิดเห็นความพึงพอใจของนักเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ในเรื่องการทำ ชีสทาร์ตมะเขือเทศพบว่าอยู่ในระดับดีมาก ข้อเสนอแนะ จาการศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากผลกํารสำรวจมีข้อเสนอแนะดังนี้ ๑.ความคิดเห็นส่วนใหญ่แนะนำให้ปรับปรุงด้านกลิ่นของผลิตภัณฑ์ ๒.ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามมากขึ้น บรรณานุกรม


๑๗


๑๘ ภาคผนวก


๑๙ ๑. ทำฐานทาร์ตโดยผสมไดเจสทีฟบิสกิตบดละเอียดกับเนยสดชนิดจืดละลายให้เข้ากัน ตักใส่พิมพ์ ๒. ทำมะเขือเทศเพียวเรโดยใช้มีดกรีดที่ก้นมะเขือเทศให้เป็นรูปกากบาท


๒๐ ๓. ทำตัวชีสเค้ก และคนให้ส่วนผสมเข้ากันดีตักส่วนผสมชีสเค้กใส่พิมพ์ทาร์ตที่เตรียมไว้ ให้พอดีกับขอบ ๔. ทำมะเขือเทศเชื่อมโดยอุ่นเตาอบไฟบนล่างที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส


๒๑ ๕. เมื่อชีสเค้กเซ็ตตัว นำออกจากตู้เย็น ตกแต่งด้วยมะเขือเทศเชื่อมและใบไธม์ เสิร์ฟ ๖. ตัวอย่าง Google Form แบบสอบถามความพึงพอใจ


๒๒ ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล นางสาว ภัทรานิษฐ์ สิงห์ทองบุญ วันเดือนปีเกิด ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ ที่อยู่ปัจจุบัน ๕๔/๕๘ หมู่ที่ ๔ ตำบล บึงคำพร้อย อำเภอ ลำลูกกา จังหวัด ปทุมธานี ตำแหน่งหน้าที่การงาน นักเรียนในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตริทยา ๒ สถานที่ศึกษาปัจจุบัน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตริทยา ๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยม เขต ๒ ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเฟื่องฟ้าวิทยา ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ๑๒๑๕๐


๒๓ ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล นางสาว นรีกานต์ ฟักทอง วันเดือนปีเกิด ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๘ ที่อยู่ปัจจุบัน ๔๘/๑๐๐ หมู่บ้านบุญฑริก ถนนสุขาภิบาล๕ ซอย๔๗ แขวง ออ เงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ ตำแหน่งหน้าที่การงาน นักเรียนในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตริทยา ๒ สถานที่ศึกษาปัจจุบัน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตริทยา ๒ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยม เขต ๒ ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนผ่องสุวรรณวิทยา ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒


๒๔ ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล นางสาว ชญาภา ลู่ทางเจริญ วันเดือนปีเกิด ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๘ ที่อยู่ปัจจุบัน ๔๗/๔๐ หมู่บ้านเคซีการ์เด้นโฮม ซอย ๕ ถนนนิมิตใหม่๔๐ แขวงสามวะตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ ๑๐๕๑๐ ตำแหน่งหน้าที่การงาน นักเรียนในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตริทยา ๒ สถานที่ศึกษาปัจจุบัน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตริทยา ๒ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยม เขต ๒ ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนมีนประสาทวิทยา ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล นางสาว พิชชานันท์ สาธุธรรม


๒๕ วันเดือนปีเกิด ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ที่อยู่ปัจจุบัน ๗๘/๑๙๓ หมู่บ้านเปี่ยมภิรมย์รีสอร์ท ซอย๑๐ ถนนมิตรไมตรี แขวง หนอง จอก กรุงเทพฯ ๑๐๕๓๐ ตำแหน่งหน้าที่การงาน นักเรียนในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตริทยา ๒ สถานที่ศึกษาปัจจุบัน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตริทยา ๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยม เขต ๒ ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.