พ้อย เครื่องมือ Flipbook PDF


99 downloads 111 Views 5MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

นิทานเวตาล เรือ่ งที่ 10

ผูแ้ ต่ง พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ - ประสูติเมื่อ 10 มกราคม พ.ศ. 2419 - สิ้นพระชนม์เมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 - ทรงใช้พระนามแฝงว่า "น.ม.ส." ย่อมาจากตัวอักษร ท้ายพระนามเดิม พระองค์เจ้ารัชนนีแจ่มจรัส - รับราชการในกระทรวงกรรมการ

ผูแ้ ต่ง(ต่อ) - เป็นปราชญ์ทางภาษา เป็นกวี เป็นนักหนังสือพิมพ์ - พระนิพนธ์ เช่น นิทานเวตาล พระนลคาฉันท์ กนกนคร สามกรุง จดหมายจางวางหร่า ฯลฯ

ความเป็ นมาของเรือ่ ง เวตาลมาจากวรรณคดีอินเดีย เรื่อง เวตาลปัญจวิงศติ หรือ (เวตาลปัญจวีสติ) แปลว่า นิทาน 25 เรื่องของเวตาล ซึ่งแต่งโดยกวีชื่อ ศิวทาส แต่งเป็นภาษาสันสกฤต จากนั้น “โสมเทวะ” ได้น ามาเรียบเรียงขึ้นใหม่และ รวมเข้าไว้ในหนังสือรวมนิทานโบราณของอินเดียเล่มสาคัญ คือ “กถาสริตสาคร”

ความเป็ นมาของเรือ่ ง เวตาลปั ญ จวิ ง ศติ สมั ย ที ่ อ ิ น เดี ย ตกเป็ น อาณานิ ค ม ของอั ง กฤษ จึ ง ได้ ม ี ก ารแปลนิ ท านเรื ่ อ งนี ้ เ ป็ น ภาษาอั ง กฤษ และอีกหลายสานวน ฉบั บ แปลเป็ น ภาษาอั ง กฤษที ่ ม ี ช ื ่ อ เสี ย ง คื อ ร้ อ ยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน แปลไว้ทั้ง 25 เรื่อง โดยใช้ช่อื ว่า... (Vikram and the Vampire or Tales of Hindu Devilry)

ความเป็ นมาของเรือ่ ง สาหรับฉบับภาษาไทยแปลโดย กรมหมื่นพิทยาลงกรณ (น.ม.ส) ไม่ได้แปลจากภาษาสันสกฤตโดยตรง แต่ แปลจาก ฉบับภาษาอังกฤษของ ร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน เป็นหลักในการเรียบเรียง โดยนามาเพียง 9 เรื่อง และจากสานวนของ ซี.เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง รวมเป็น ฉบั บ ภาษาไทยของกรมหมื ่ น พิ ท ยาลงกรณ 10 เรื ่ อ ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑

ต้นกาเนิด (อินเดีย) ➢ ฉบับเดิมชื่อว่า เวตาลปัญจวิงศติ มี 25 เรื่อง ➢ เป็นวรรณคดีสันสกฤตอินเดียโบราณ ➢ ผู้แต่งนิทานเวตาล ศิวทาส ➢ ต่อมาโสมเทวะรวบรวมนิทาน “กถาสริตสาคร”

สรุปความเป็ นมา ของนิทานเวตาล

ที่มาฝั่งไทย ➢ ผู้แปลคือพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงเป็นที่รู้จักในนามแฝง น.ม.ส. ➢ นามาจากเซอร์ ริชาด เอฟ. เบอร์ตัน 9 เรื่อง ➢ จากเอช ทอว์นีย์ 1 เรื่อง

ลักษณะคาประพันธ์ **ร้อยแก้วประเภทนิทาน ในรูปแบบนิทานซ้อนนิทาน** จุดประสงค์ : เพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ให้ข้อคิด รู้จักใช้ปัญญา รู้จักใช้คาพูด

ลักษณะการดาเนินเรื่องของนิทานเวตาล เรื่องหลัก

เวตาลเป็นผู้เล่าเรื่องย่อยทีละเรื่อง ซ้อนในเรื่องหลัก เรื่องย่อยที่

1

เวตาล

เรื่องย่อยที่

2

เรื่องย่อยที่ ...

โครงเรื่อง นิทานเวตาล เป็ น เรื ่ อ งการโต้ ต อบเกี ่ ย วกั บ ปั ญ หา ระหว่ า งพระวิ ก รมาทิ ต ย์ กษั ต ริ ย ์ แ ห่ ง กรุ ง อุ ชเชยิน ี กั บ เวตาล ปี ศ าจที ่ ม ี ร ่ า งกาย กึ่งมนุษย์กับค้างคาวซึ่งจะน าเข้าไปสู่นิทาน ย่อยต่าง ๆ ที่แทรกอยู่ในเรื่องใหญ่

นิทานของเวตาลเป็นการเล่าเพื่อทดสอบปัญญาและ ความอดทนอดกลั้นของพระวิกรมาทิตย์

อมนุษย์ที่มีลักษณะ ของสัตว์หลายอย่างผสมกัน เรียกกันว่า

“เวตาล”

เวตาล คือ... เวตาลเป็นอมนุษย์จาพวกหนึ่งลักษณะคล้ายกับค้างคาว ในปรัมปราของฮินดูเป็นภูติที่อาศัยสิงอยู่ในซากศพผู้อื่น ในตอนกลางวัน ขณะที่เวตาลสิงอยู่ในซากศพนั้น ซากศพ จะไม่ เ น่ า เวตาลจึ ง ใช้ ร ่ า งเพื ่ อ การเดิ น ทางออกหากิ น และออกจากร่างเพื่อหากินในตอนกลางคืนที่บริเวณหนอง น้า พุ่มไม้ และป่ารกทึบ

ลักษณะของ

เวตาล

รูปคล้ายค้างคาว...สูงประมาณ 2 ถึง 3 ฟุต กว้างฟุตครึ่ง หน้าตั้งแต่อกถึงหลังครึ่งฟุตถึงหนึ่งฟุต ผมบนหัวยาวแลดูดก ขนที่ตัวยาวแลยืนเหยียด หัวกลม หน้ารูปไข่ ตากลมแลถลน จมูกยาวเป็นขอเหมือนปากเหยี่ยว ปากอ้า แก้มตอบ คางแลขา ตะไกรกว้ าง ฟั น เป็ น ซ่อ ม แขนแลมื อ สั ้ น ขาสั้ น ท้ องพลุ ้ ย เล็บคม ปีกมีแรงมาก

ต้นเรื่อง

มียักษ์ตนหนึ่งเตือน พระวิกรมาทิตย์ว่าจะโยคีปลอม ตัวมาฆ่าพระองค์ ดังนั้นจงระวัง ตัวไว้

โยคีศานติศีล ผู้ผูกอาฆาต พระบิดาของพระวิกรมาทิตย์ และประสงค์จะเอาชีวติ ของ พระองค์แทน โดยโยคีทา อุบายปลอมตนเป็นพ่อค้า นาผลไม้ที่ซ่อนทับทิมล้าค่า ไว้ภายในมาถวายพระราชา ทุกวันจนได้ทับทิมกอง ใหญ่

วันหนึ่งพระองค์ทาผลทับทิม ตกลงพื้นจึงพับว่าในผล ทับทิมมีทิบทิมมีค่ามากมาย

พระวิกรมาทิต ย์ให้สัญญาว่าจะกระท าการตอบ แทนตามที่พ่อค้าประสงค์ ศานติศีลจึงเผยตัวว่าเป็นโยคี กาลังทาพิธีอย่างหนึ่งอยู่ในป่าช้าริมแม่น้าโคทาวรีและ ต้องการให้พระราชาไปน าศพที่แขวนอยู่บนต้นอโศก ในป่ า ช้ า อี ก แห่ ง หนึ ่ ง มาเพื ่ อ ให้ ป ระกอบพิ ธ ี ส าเร็ จ พระวิ ศ กรมาทิ ต ย์ ท รงรั ก ษาสั ญ ญาแม้ จ ะทราบแม้ ว ่ า ศานติศีลกาลังตั้งพิธี จะทาร้ายพระองค์

เมื่อพระวิกรมาทิตย์และพระราชาบุตรไป ถึงต้นอโศกทรงเห็นศพที่แขวนบนกิ่งอโศก นั้นลืมตาโพรง ก็ทรงทราบทันทีว่าตัวที่ห้อยอยู่ นั่นคือเวตาลซึ่งเข้ามาสิงศพ

พระองค์ทรงปีนขึ้นไปฟันกิ่งไม้นั้นจนเวตาล ตกลงมา แต่ครั้งทรงจับตัวไว้และตรัสกับเวตาล เวตาลกับลอยขึ้นไปห้อยบนต้นไม้ดั้งเดิม

เป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้ง พระราชาก็มิได้ ทรงละความเพียร จนในครั้งที่เจ็ดเวตาลจึงยอม ให้พระองค์จับใส่ย่าม ก่อนจะออกเดินทางไปพบ โยคีศานติศีล เวตาลได้กล่าวกับ พระวิศกรมาทิตย์ว่า...

“พระองค์ผู้เป็นพระราชาทรงจาภาษิตโบราณว่า ลิ้นคนนั้น ตัดคอคนเสียมากต่อมากแล้ว... ในเวลาเดินทางนั้น ข้าพเจ้าจะ เล่านิทานเล่น ปราชญ์ผู้มีความรู้ยอ่ มใช้เวลาของตนกับหนังสือ มิใช่ใช้เวลาในการนอนแลการขี้เกียจอย่างคนโง่ ในเวลาเล่า นิทานนั้นข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาถามพระองค์ และพระองค์ตรัส สัญญาข้อนี้เสียก่อนข้าพเจ้าจึงจะยอมไปด้วย...

คือเมื่อข้าพเจ้าตั้งปัญหา ถ้าพระองค์ตอบจะเป็น ด้วยกรรมในปางก่อนบันดาลให้ตอบ หรือด้วยแพ้ความฉลาด ของข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าล่อให้ทรงแสดงความเย่อหยิ่งว่ามี ความรู้ก็ตาม ถ้าตรัสตอบปัญหาข้าพเจ้าเมื่อใดข้าพเจ้าจะกลับไป อยู่ของข้าพเจ้า...

ต่อเมื่อพระองค์ไม่ตอบ ปัญหา เพราะได้สติหรือด้วย ความโง่เขลาของพระองค์ก็ ตาม ข้าพเจ้าจึงจะยอมไป ด้วย ข้าพเจ้าขอทูลแนะนา เสียแต่ในบัดนี้ว่า ...

“พระองค์ จ งสงบความเห็ น ในพระหฤทัยว่าเป็นผู้มีความรู้ เมื ่อ เกิ ด มาเป็น คนโง่ แล้ วก็ จ ง ยอมโง่เสียเถิด มิฉะนั้นพระองค์ จะไม่ ไ ด้ ป ระโยชน์ ซ ึ ่ ง นอกจาก ข้ า พเจ้ า แล้ ว ไม่ ม ี ใ ครอ านวย ได้”

ฝ่ายพระราชาเมื่อได้ฟังคาดู หมิ่นของเวตาล แม้ทรงขัด เคือง แต่ก็อดกลั้นไว้มิได้ ตรัสตอบ เวตาลจึงเริ่มต้น เล่านิทานถวายโดยอ้างว่า เป็นเรื่องจริงทั้งสิ้น

ฝ่ายเวตาลหลังจากออกเดินทางได้สักครู่หนึ่ง ก็ทูลถาม ปัญหาสั้น ๆ กับพระวิกรมาทิตย์ แต่พระองค์ไม่ได้ตรัสตอบ เวตาล จึงทูลว่า “ข้าพเจ้าจะเล่านิทานซึ่งเป็นเรื่องจริงถวายในบัดเดี๋ยวนี้ พระองค์จงฟังเถิด”

เนื้อเรื่อง

“นิทานเวตาล เรื่องที่ 10”

เนื้อเรื่อง นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑๐ เวตาลกล่าวว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าให้เกิดกระเหม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง และตาก็มืดมัวเป็นลางไม่ดีเสียแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็เล่าเรื่องจริงถวายอีก เรื่องหนึ่ง แลเพราะเหตุข้าพเจ้าเบื่อหน่ายการถูกแบกสะพายไปมาเป็น หลายเที่ยวแล้ว แม้พระองค์ไม่ทรงเบื่อเป็นผู้แบบข้าพก็จริง ข้าพเจ้า จะตั้งปัญหาที่ยากทูลถามสักที ถ้าทรงตอบได้ พระปัญญาก็มากยิ่งกว่า ที่ข้าพเจ้าคิดว่าจะมีในพระราชาพระองค์ใด

ในโบราณกาลมีเมืองใหญ่เมืองหนึ่งชื่อกรุงธรรมปุระ พระราชาทรงนามท้าวมหาพล มีมเหสีซึ่งแม้มีพระราชธิดา จาเริญวัยใหญ่แล้วก็ยังเป็นสาวงดงาม ถ้าจะเปรียบกับพระราช บุตรีก็คล้ายพี่กับน้องยิ่งกว่าแม่กับลูก ที่เป็นเช่นนี้ไม่ใช่เพราะ พระราชธิดามีอาการแก่เกินอายุ ที่จริงเป็นด้วยพระราชมารดา เป็นสาวไม่รู้จักแก่แลความสาวของพระนางเป็นเครื่อง ประหลาดของคนทั้งหลาย

เมื ่ อ ท้ า วมหาพลจะสิ ้ น บุ ญ นั ้ น เกิ ด ศึ ก ขึ ้ น ที ่ ก รุ ง ธรรมปุ ร ะ ข้ า ศึ ก มี ก าลั ง มากและช านาญการศึ ก ใช้ ท ั ้ ง ทองค าแลเหล็ ก เป็ น อาวุ ธ คื อ ใช้ ท องค าซื ้ อ น ้ า ใจนายทหารและไพร่ พ ลของ พระราชาให้เอาใจออกห่างจากพระองค์ แลใช้เหล็กเป็นอาวุธฆ่า ฟันคนที่ซื้อน้าใจไม่ได้

ข้าศึกใช้ทองคาบ้างเล็กบ้างเป็นอาวุธดังนี้ จนในที่สุด ลี้พลของท้าวมหาพลหรอร่อยย่อยยับไป ท้าวมหาพลเห็นจะ รักษาชีวิตพระองค์ไว้ไม่ได้ด้วยวิธีรบก็คิดจะรักษาด้วยวิธีหนี จึ่งพาพระมเหสีและพระราชธิดาออกจากกรุงไปในเวลาเที่ยง คืนจ าเพาะสามพระองค์ พระราชาทรงพานางทั้งสองเล็ดรอด พ้นแนวทับข้าศึกไป แล้วก็ตั้งพระพักตร์มุ่งไปยังเมืองซึ่งเป็น เมืองเดิมของพระมเหสี

วันรุ่งขึ้นพระราชาทรงนานางทั้งสองเดินไปจนเวลา สาย ถึงสองทุง่ เห็นหมู่บ้านหมูห่ นึ่งแต่ไกล ไม่ทรงทราบว่า เป็นหมู่บ้านโจร แต่สงสัยไม่วางพระหฤทัย จึงตรัสให้พระ มเหสีแลพระราชธิดาหยุดนั่งกาบังอยู่ในแนวไม้ พระองค์ทรง ถืออาวุธเดินตรงเข้าไปสูห่ มู่บ้าน เพื่อจะหาอาหารเสวยแลสู่ นางทั้งสอง

ฝ่ายพวกภิลล์ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านนั้นประพฤติตัวเป็นโจร อยู่โดยปกติ ครั้นเห็นชายคนเดียวแต่งตัวด้วยของมีค่าเดิน เข้าไปเช่นนั้น ก็คุมกันออกมาจะเข้าชิงทรัพย์ในพระองค์ พระราชาท้าวมหาพลทรงเห็นดังนั้น ก็ทรงพระแสงธนูยิงพวก โจรล้มตายลงเป็นอันมาก ฝ่ายนายโจรได้ทราบว่าผู้มีทรัพย์มา ฆ่าฟันพวกตนลงไปเป็นอันมากดังนั้น - ภิลล์ แปลว่า ชาวป่า อาศัยอยูต่ ามแถบเขาวินธัยในอินเดีย - คุมกัน แปลว่า รวมกลุ่มกัน

ก็กระทาสัญญาเรียกพลโจรออกมาทั้งหมดแล้วเขาล้อมรอบ พระราชาท้าวมหาพลองค์เดียวเหลือกาลังจะต่อสู้ป้องกันอาวุธพวก โจรได้ ก็ส้นิ พระชนม์ในที่นั่น พวกภิลล์ก็ช่วยกันเข้าปลดเรื่องของ มีค่าออกจากพระองค์ แล้วพากันคืนเข้าสู่บ้านแห่งตน สัญญา คือ สัญญาณ

ฝ่ายพระมเหสีแลพระราชธิดาทรงแอบอยู่ในแนวไม้ เห็นพวกโจรเข้ากลุ้มรุมรบพระราชาก็ตกใจเป็นกาลังแต่ไม่รู้จะทา อย่างไรได้ ครั้นเห็นพวกภิลล์ทาลายพระชนม์พระราชาลงไปแล้ว สองนางพระองค์สั่นพากันหนีหา่ งออกไปจากหมู่บ้านโจร ทางจะ ไปทางไหนหาทราบไม่ ความมุ่งมาดมีอยูแ่ ต่ว่าจะหนีให้พ้นมือพวก ภิลล์ซึ่งเป็นคนชาติต่าช้าเท่านั้น นางทั้งสองทรงกาลังน้อยแต่ อานาจความกลัวพาให้เสด็จไปทางเป็นทาง 4 โกรศ อ่อนเพลีย พระกาลังทรงดาเนินต่อไปไม่ได้ ก็หยุดนั่งพักอยู่ใต้ร่มไม้ริมทาง โกรศ อ่านว่า โกรด มาตราวัด ความยาวเท่ากับ 500 คันธนูเรียงต่อกัน

เผอิญมีพระราชาอีกพระองค์หนึ่งทรงนามท้าวจันทรเสน เสด็จออกยิงสัตว์ป่ากับพระราชบุตรจาเพาะสองพระองค์ กษัตริย์ ทั้งสองทรงม้าไปตามแนวป่า เห็นรอยเท้าหญิงสองคนก็ทรงชัก ม้าหยุดดู พระราชบิดาตรัสว่า “รอยเท้าหญิงสองคนทาไมมีอยูใ่ นป่าแถบนี้” พระราชบุตรทูลว่า “รอยเท้าเหล่านี้เป็นรอยเท้าหญิงสองคน

รอยเท้าชายคง จะโตกว่านี”้

พระราชาตรัสว่า “เจ้าของรอยเท้าเหล่านี้หญิงจริงอย่าง

เจ้าว่า แลน่าประหลาดที่มหี ญิงมาเดินอยู่ในป่า แต่ถ้าจะพูด ตามเรื่องในหนังสือ หญิงที่พระราชาพบในป่ามักจะงามกว่า หญิงที่จะหาได้ในกรุง เหมือนดอกไม้ในป่าที่งามกว่าดอกไม้ ในสวน เราจะตามนางทั้งสองนี้ไปถ้าพบนางงามจริงดังว่า เจ้า จงเลือกเอาเป็นเมียคนหนึ่ง” หนังสือ ในเรื่องแปลว่าวรรณคดี

พระราชบุตรทูลตอบว่า “รอยเท้านางทั้งสองนี้มีขนาด

ไม่เท่ากันแม้เท้ามีขนาดย่อมทั้งสองนางก็ยังใหญ่กว่ากันอยู่ คนหนึ่ง ข้าพเจ้าจะเลือกนางเท้าเล็กเป็นภริยาข้าพเจ้า เพราะ คงจะเป็นสาวน้อยตามขนาดแห่งเท้า ส่วนนางเท้าเขื่องนั้นคง จะเป็นสาวใหญ่ขอพระองค์จงรับไปไว้เป็นราชฉายา” เขื่อง แปลว่า ใหญ่

จันทรเสนตรัสว่า “เหตุไฉนเจ้าจึงกล่าวดังนั้น

พระราชมารดาของเจ้าสิ้นพระชนม์ไปไม่กี่วัน เจ้าจะ อยากมีแม่เลี้ยงเร็วเท่านี้เจียวหรือ

พระราชบุตรทูลตอบว่า “ขอพระองค์อย่ารับสั่งเช่นนั้น

เพราะบ้านของผู้เป็นใหญ่ในครอบครัวนั้น ถ้าไม่มีแม่เรือนก็เป็น บ้านที่ว่าง อนึ่งพระองค์ย่อมจะทรงทราบคาถาซึ่งมูลเทวะบัณฑิต แต่งไว้ มีความว่าชายผู้ไม่ใช่คนโง่ไม่ยอมคืนสู่เรือนซึ่งไม่มีนางที่ รักผู้มีรูปงามคอยรับรองในขณะที่กลับถึงเรือนนั้น แม้เรียกว่า เรือนก็ไม่ใช่อื่น คือคุกซึ่งไม่มีโซ่เท่านั้นเอง...

พระองค์ย่อมทรงทราบด้วยพระองค์เองว่า ความสุขแห่ง บ้านซึ่งอยูเ่ ดี่ยวโดดนั้นมีไม่ได้ในบ้าน แลมีไม่ได้นอกบ้านเพราะ ไม่มีหวังจะได้ความสุขเมือ่ กลับมาสู่เรือนของตน” ท้าวจันทรเสน ทรงนิ่งตรองอยู่ครู่หนึ่ง แล้วตรัสตอบพระ ราชบุตรว่า “ถ้านางเท้าเขื่องมีลักษณะเป็นที่พึงใจ ข้าก็จะทาตาม

เจ้าว่า”

ครั้นกษัตริย์ทั้งสององค์ทรงกระทาสัญญาแบ่งนางกันดังนี้ แล้วก็ทรงชักม้าตามรอยเท้านางเข้าไปในป่า สักครู่หนึ่งเห็นสอง นางนั่งพักอยู่ใต้ร่มไม้กษัตริย์สององค์ก็เสด็จลงมาจากม้าเข้าไป ถามนาง ทั้งสองนางก็เล่าเรื่องให้ทรงทราบทุกประการ พระราชา กับพระราชบุตรก็เชิญนางทั้งสองขึ้นหลังม้าองค์ละองค์ นางพระ บาทเขื่องคือพระราชธิดาขึ้นทรงม้ากับท้าวจันทรเสน นางพระบาท เล็กคือพระมเหสีขึ้นทรงม้ากับพระราชบุตร สี่องค์ก็เสด็จเข้ากรุง

กล่าวสั้น ๆ ท้าวจันทรเสนและพระราชบุตรก็ทาการวิวาหะ ทั้งสองพระองค์ แต่กลับคู่กันไป คือพระราชบิดาทรงวิวาหะกับ พระราชบุตรี พระราชบุตรทรงวิวาหะกับพระมเหสี แลเพราะเหตุที่ คาดขนาดเท้ า ผิ ด ลู ก กลั บ เป็ น เมี ย พ่ อ แม่ ก ั บ เป็ น เมี ย ลู ก ลูกกับเป็นแม่เลี้ยงของผัวแม่ตัวเองแลแม่กลับเป็นลูกสะใภ้ของ ผั ว แห่ ง ลู ก ตน แลต่ อ มาบุ ต รและธิ ด าก็ เ กิ ด จากนางทั ้ ง สอง แลบุตรแลธิดาแห่งนางทั้งสองก็มีบุตรแลธิดาต่อ ๆ กันไป

เวตาลเล่ามาเพียงนี้ก็อยู่ครู่หนึ่ง แล้วกล่าวต่อไปว่า บัดนี้ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาทูลถามพระองค์ว่า ลูกท้าวจันทรเสนที่ เกิดจากธิดาท้าวมหาพลแลลูกมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราช บุตรท้าวจันทรเสนนั้น จะนับญาติกันอย่างไร

พระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังปัญหาเวตาลก็ทรงตรึกตรอง เอาเรื่องพ่อกับลูกแม่กับลูก แลพี่กับน้องมาปนกันยุ่ง แลมิหนาซ้ามีเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่ตัวแลลูกสะใภ้กับลูกตัวอีกเล่า พระราชาทรงตีปัญหายังไม่ทันแตก พอนึกขึ้นได้ว่าการพาเวตาล ไปส่งให้แก่โยคีนั้น จะสาเร็จได้ก็ด้วยไม่ทรงตอบปัญหา จึงเป็น อันทรงนิ่งเพราะจาเป็นแลเพราะสะดวก ก็รีบสาวก้าวทรงดาเนิน เร็วขึ้น ครั้นเวตาลทูลเย้าให้ตอบปัญหาด้วยวิธีกล่าวว่าโง่ จะรับสั่งอะไรไม่ได้ ก็ทรงกระแอม

เวตาลทูลถามว่า “รับสั่งต่อปัญหาแล้วไม่ใช่หรือ” พระราชาไม่ทรงตอบว่ากระไร เวตาลก็นิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วทูลถามว่า ”บางทีพระองค์จะโปรดฟังเรื่องสั้น ๆ อีกสัก เรื่องหนึ่งกระมัง”

ครั้งนี้แม้กระแอมพระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ทรงกระแอม เวตาลจึงกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า “เมื่อพระองค์ทรงจนปัญญาถึง

เพียงนี้ บางทีพระราชบุตรซึ่งทรงปัญญาเฉลียวฉลาดจะทรง แก้ปัญหาได้บ้างกระมัง” แต่พระธรรมธวัชพระราชบุตรนิ่ง สนิททีเดียว

(เมื่อพระวิกรมาทิตย์ทรงนิ่ง เวตาลได้พยายามกล่าวยั่วจะ ให้พระองค์รับสั่งแต่ไม่สาเร็จ เวตาลจึงกล่าวเตือนพระราชาว่า โยคีศานติศีลต้องการลวงพระองค์ไปสังหาร โดยให้พระองค์ กระทาอัษฎางคประณตต่อหน้าเทวรูป จากนั้นเวตาลก็ออกจาก ศพที่สงิ อยู่ พระวิกรมาทิตย์รีบเสด็จไปที่ป่าช้านาศพไปมอบให้ โยคี...

เมื่อโยคีนาพระองค์ไปที่หน้าเทวรูปและ ขอให้ ทรงกระท าอัษ ฎางคประณต พระราชา ทรงราลึกได้ถึงคาเตือนของเวตาล จึงรับสั่งแก่ โยคีขอให้กระทาอัษฎางคประณตให้พระองค์ดู เพื่อจะได้ทรงทาตาม เมื่อโยคีกระทา พระวิกร มาทิตย์ก็ทรงชักพระแสงดาบออกมาฟันศีรษะ โยคีขาดกระเด็นไป

บทวิเคราะห์

เป็นมนุษย์ชนิดหนึ่งคล้ายค้างคาวผี เป็นวิญญาณร้ายที่ วนเวียนอยู่ตามสุสานและคอยเข้าสิงในซากศพต่าง ๆ มันจะทา ร้ายมนุษย์ที่เข้าไปรบกวน เหยื่อของเวตาล เมื่อถูกเข้าสิงทาให้ มือและเท้าหันไปข้างหลังเสมอ เวตาลยังทาให้ผู้คนเป็นบ้า ฆ่า เด็ก และแท้งลูก แต่เวตาลยังมีข้อดีคือมันจะคอยดูแลหมู่บ้าน ของมันเอง

ลักษณะของเวตาล จะลูกตาสีเขียวเรือง ๆ ผมสีน้าตาล หน้าสีน้าตาล ตัวผอม เห็นซี่โครงเป็นซี่ ๆ ห้อยหัวลงมาทานอง ค้างคาวแต่เป็นค้างคาวตัวใหญ่ที่สุด เมื่อจับถูกตัวจะเย็นซีดเหนี่ยว ๆ เหมือนงูปรากฏเหมือนไม่มชี ีวติ แต่หางซึ่งเหมือนหางแพะนั้น กระดิกได้ เวตาลเป็นอมนุษย์ที่ชา่ งพูดและมีความสามารถสูง ในการใช้โวหารเพื่อเสียดสี เยาะหยันและยั่วยุอารมณ์ของผู้ฟัง

พระราชาพระองค์นี้ส่วนใหญ่จะรู้จักในนาม “พระวิกรมา ทิตย์” หรือ “พระเจ้าจันทรคุปต์ วิกรมาทิตย์” พระนาม “วิกรมาทิตย์” เป็นพระสมัญญานามที่เรียกขานกษัตริย์หลาย พระองค์ อย่างไรก็ตามพระนามนี้เป็นที่รู้จักกันดีเนื่องจาก วรรณกรรมภาษาสันสกฤตอันโด่งดัง เรื่องนิทานเวตาลได้ใช้ พระนามนี้เป็นตัวละครหลักในเรื่อง

ทรงเป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งครองราชย์อยู่ กรุงอุชเชยินี เป็นกษัตริย์ที่ทรงพระนามเลื่องลือ มีความสามารถ ทางด้านการศึกษาและการปกครองไพร่ฟ้าประชาชนให้มีความสุข อีกทั้งเป็นคนที่เอื้อเฟื้อต่อการเรียนรู้ “รัชกาลของพระวิกรมาทิตย์ เป็นช่วงเวลาที่วิชารุ่งเรืองที่สุด”

นิทานทุกเรื่องที่ต้องมีประเด็นปัญหาให้ตัดสินใจหรือ แก้ไข แต่ในนิทานเรื่องที่ ๑๐ อันเป็นนิทานเรื่องสุดท้าย นิทานเรื่องนี้เกี่ยวกับการเลือกคูค่ รอง โดยมีรอยเท้าเป็น อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดสินใจ ปรากฏว่าคาดขนาดรอยเท้าผิด...

“ทาให้ลูกกลับเป็นเมียพ่อ แม่กับเป็นเมียลูก” ซึ่งเป็น พฤติกรรมอันเบี่ยงเบนไปจากขนบธรรมเนียมที่สังคมกาหนดไว้ เกี่ยวกับการแต่งงาน และนาไปสู่ปัญหาว่าถ้ามีบุตรจะนับญาติกัน อย่างไร

นี่จึงแสดงโทษของการไม่ใช้ปัญญาให้รอบคอบในการ พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ทาให้เกิดการตัดสินใจผิดพลาดซึ่งมีแนวคิด เดียวกับนิทานอีก 9 เรื่องที่ให้แนวคิดว่า “การใช้ปัญญาในการ แก้ไขปัญหาเป็นเรื่องสาคัญ” และด้วยความกล้าความ มุ่งมั่น เพียรพยายาม ความมีสติและความอดกลั้นทาให้พระวิกรมาทิตย์ สามารถเอาชนะเวตาลได้ในที่สุด

1. อมนุษย์ที่มีคุณธรรมต่าแม้จะมีฤทธิ์อย่างไรก็ย่อมแพ้ผู้มี คุณธรรมสูง 2. คาพูดที่กล่าวโดยไม่ใช้สติและปัญญาไตร่ตรองก่อน อาจนา ความหายนะหรือปัญหาซึ่งแก้ไขยากมาสู่ตนเองได้ 3. การใช้ทั้งสติและปัญญาควบคู่กันคือหลักสาคัญในการนา มนุษย์ไปสูค่ วามสาเร็จ 4. ความอดทน ความอดกลั้นนาไปสู่ชัยชนะและความสาเร็จได้

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10 สะท้อนค่านิยมในสังคม อินเดียในสมัยนั้นว่า การเลือกคู่ครองต้องพิจารณาความ เหมาะสมตามกฎบัญญัตทิ างสังคมและทางศาสนาด้วย (โดยเฉพาะเรื่องวรรณะ)

1. เนื้อหาของนิทานสอนคติในการดาเนินชีวิต 2. ทาให้ทราบเรื่องราวของนิทานจากวรรณคดีสันสกฤต 3. นิทานเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่านิทานที่แสดง คติธรรมก็สามารถให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินได้

4. คาถามที่เป็นปริศนาชวนให้คิดของเวตาลช่วยเพิ่ม สติปัญญาและไหวพริบของผู้อา่ น 5. ตัวละครเอกทั้งสองของนิทานเวตาลเป็นตัวละครที่ น่าสนใจและมีความสมจริงเป็นอย่างยิ่ง

1. ให้แง่คิดเกี่ยวกับความมุ่งมั่น อดทน อดกลั้นและ ความเพียรพยายาม 2. ให้แง่คิดเกี่ยวกับการใช้สติปัญญาควบคู่กันไปในการ แก้ปัญหาต่าง ๆ 3. ให้แง่คิดเกี่ยวกับผลเสียของการพูดโดยไม่ไตร่ตรอง

1. เนื้อเรื่องสนุกสนานแปลกใหม่สาหรับคนไทยแตกต่างจาก นิทานทั่วไป 2. การดาเนินเรื่องเป็นไปตามลาดับเวลาไม่สับสน ทาให้ ผู้อ่านอยากติดตามเรื่องและเข้าใจเรื่องได้ง่าย 3. การใช้สานวนภาษาใช้คาง่าย ๆ มีการอธิบายอย่างชัดเจน แฝงข้อคิดและคาคมที่นา่ สนใจ

4. (น.ม.ส.) ทรงใช้ภาษาแสดงอารมณ์ของตัวละครใน ลักษณะเยาะหยัน เสียดสี ยั่วยุอารมณ์ โดยแทรกอารมณ์ขัน ได้เป็นอย่างดี แสดงลีลาการเขียนที่ไม่เลียนแบบใครและไม่มี ใครเลียนแบบได้ เป็นลักษณะเฉพาะที่เรียกกันว่า “สานวน น.ม.ส.” ทาให้นิทานเวตาล มีสีสันน่าอ่านมากขึ้น

1. ปราชญ์ผู้มีความรู้ย่อมใช้เวลาของตนในเรื่องหนังสือ มิใช่ใช้เวลาในการนอนแลการขี้เกียจอย่างคนโง่ 2. ลิ้นคนนั้นตัดคอคนเสียมากต่อมากแล้ว 3. ความสุขแห่งพ่อบ้านซึ่งอยู่เดี่ยวโดดนั้นมีไม่ได้ ในบ้าน แลมีไม่ได้นอกบ้านเพราะไม่มหี วังจะได้ความสุข เมื่อกลับสู่เรือนแห่งตน

4. ข้าศึกมีกาลังมากและชานาญการศึก ใช้ทั้งทองคาแล

เหล็กเป็นอาวุธคือใช้ทองคาซื้อน้าใจนายทหารและ ไพร่พลของพระราชาให้เอาใจออกห่างจากพระองค์ แลใช้เหล็กเป็นอาวุธฆ่าฟันคนที่ซื้อน้าใจไม่ได้ ข้าศึกใช้ ทองคาบ้างเหล็กบ้างเป็นอาวุธดังนี้ จนในที่สุดลี้พลของ ท้าวมหาพลหรอร่อยย่อยยับไป

สวัสดี

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.