วิจัยในชั้นเรียน Flipbook PDF


1 downloads 121 Views 467KB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

วิจัยในชั้นเรียน เรือ่ ง การใช้แบบฝึกทักษะและการเสริมแรง การบวก-ลบจำนวนเต็ม ระดับชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้น ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

นายจตุรงค์ กุลนอก

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโนนสูง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด นครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

วิจยั ในชัน้ เรียน เรือ่ ง การใช้แบบฝึกทักษะและการเสริมแรง การบวก-ลบจำนวนเต็ม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากการเรียนคณิตศาสตร์นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ค่อนข้างขาดทักษะการคิดคำนวณ ทางเลือกที่คาดว่าจะแก้ปัญหา นักศึกษามีทักษะการคิดคำนวณและแก้ปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นเรียนคณิตศาสตร์อย่างมี ความสุข จุดมุ่งหมาย 1. เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 2. เพื่อแก้ปัญหานักศึกษาไม่ตั้งใจเรียน ตัวแปรที่ศึกษา 1. แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ที่มีความยากง่ายพอเหมาะ 2. การเสริมแรงด้วยการให้คำชมเชยระหว่างเรียน กรอบแนวคิดในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถ ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 คน ผู้วิจัยได้จัดทำแบบฝึกทักษะเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่มีความยากง่ายพอเหมาะและใช้ การเสริมแรงด้วยการให้คำชมเชยระหว่างเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รบั 1. ได้แบบฝึกทักษะเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่จะช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 2. ได้แนวทางในการกระตุ้นและเสริมแรงนักเรียนระหว่างเรียนวิชาคณิตศาสตร์

ขอบเขตของการวิจยั ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการสร้างแบบฝึกทักษะเกี่ยวกับคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการ เขียนคำตอบ การบวก-ลบจำนวนเต็ม เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นและได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี้ 1.ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนักศึกษา กศน.ตำบลตะเคียน ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 คน 2. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา เป็นเนื้อหาคณิตศาสตร์ การบวก-ลบจำนวนเต็ม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

วิธีดำเนินการวิจัย ระยะเวลาในการดำเนินงาน ธันวาคม 2565 – มีนาคม 2566 วัน เดือน ปี ธันวาคม 2565 ธันวาคม 2565

มกราคม 2566 มกราคม 2566 กุมภาพันธ์ 2566

กิจกรรม

หมายเหตุ

- ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์หาแนวทาง แก้ปัญหา - เขียนเค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน - ศึกษาหลักสูตรเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ - วิเคราะห์ผู้เรียนและวิเคราะห์เนื้อหา - ออกแบบเครื่องมือที่จะใช้ในงานวิจัย - นักศึกษาทำแบบฝึกที่ 5 การบวกจำนวนเต็ม ผู้วิจัยบันทึกคะแนน - นักศึกษาทำแบบฝึกที่ 2 การลบจำนวนเต็ม - เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล - สรุปและอภิปรายผล - จัดทำรูปเล่ม

เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ที่มีความยากง่ายพอเหมาะ 2. การให้การเสริมแรงระหว่างเรียน

ขัน้ ตอนการดำเนินการ ในการดำเนินการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้กิจกรรมการเขียนคำตอบ แบบฝึกทักษะเกี่ยวกับการบวก-ลบจำนวนเต็ม ผู้วิจัยได้วางแผนการดำเนินการศึกษา สร้างแบบฝึกทักษะและได้ดำเนินการซึ่งมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นวิเคราะห์ ( Analysis) 1.1 วิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์ผู้เรียนได้ก ำหนดไว้ดังนี้ ประชากร คือนักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2565 กศน.ตำบลตะเคียน จำนวน 3 คน ทีค่ ่อนข้างอ่อนในวิชาคณิตศาสตร์ 1.2 วิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนดำเนินการมีดังนี้ เนื้อหาที่จะใช้สร้างแบบฝึกทักษะ โดยใช้เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดย เนื้อหาในการทดลองเป็นการบวก-ลบจำนวนเต็ม โดยผู้วิจัยเป็นผู้คัดเลือกแบบฝึกทักษะ 2 ชุด 2. ขั้นออกแบบ (Design) ขั้นออกแบบแบบฝึกทักษะมีขั้นตอนดังนี้ 2.1 แบบฝึกทักษะ จำนวน 2 ชุด ชุดละ 10 ข้อ เนื้อหาเกี่ยวกับการบวก-ลบ จำนวนเต็ม

3. ขั้นดำเนินการ มีการดำเนินการดังนี้ 3.1 ทำการทดสอบกับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 กศน.ตำบลตะเคียน จำนวน 3 คน โดยให้นักศึกษาแบบฝึกทักษะทั้ง 2 ชุดและทำการ บันทึกผลคะแนน 3.2 การให้การเสริมแรงระหว่างเรียนโดยการให้คำชมเชยและกำลังใจแก่นักศึกษา 4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 วิเคราะห์ข้อมูล - วิเคราะห์ผลจากคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกทักษะ ทั้ง 2 ชุด 4.2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล - การหาค่าร้อยละ ค่าร้อยละ = คะแนนที่ได้ x 100 คะแนนเต็ม 5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษาวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาความสามารถในการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ โดยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2565 กศน.ตำบลพลสงคราม จำนวน 3 คน ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบโดยให้นักศึกษาทำแบบฝึก ทักษะเกี่ยวกับการบวก-ลบจำนวนเต็ม จำนวน 2 ชุดโดยให้นักศึกษาทำสัปดาห์ละ 1 ชุดสลับกัน จากนั้น ผู้วิจัยทำการบันทึกผลคะแนน โดยสามารถวิเคราะห์ผลได้ดังนี้ 5.1 ผลการวิเคราะห์คะแนนแบบฝึกทักษะทั้ง 2 ชุด ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูล ตารางแสดงผลคะแนนแบบฝึกหัดทั้ง 3 ฉบับ ตารางแสดงการเปรียบเทียบคะแนนแบบฝึกทักษะ ชุดที่ 1- 2 แบบฝึกทักษะ นายณัฐกิตติ์ ประสิทธิ์พันธ์ นายสยาม แสนขยัน นางสาวแพรวา สุลินทาบูรณ์ ชุดที่ 1 8 7 9 ชุดที่ 2 9 9 10 รวม 17 16 19 ร้อยละ 85.00 80.00 95.00 จากตาราง แสดงให้เห็นว่าหลังจากที่นั กศึกษาทั้ง 3 คนได้ทำแบบฝึกทักษะทั้ง 2 ชุดแล้ว นักศึกษา แต่ละคนมีผลคะแนนแตกต่างกันไปเมื่อเปรียบเทียบคะแนนของแต่ละชุดและแต่ละคน คะแนนการทำแบบ ฝึกทักษะ 2 ชุดโดยเฉลี่ยของนักศึกษาทั้ง 3 คน ค่อนข้างสูง คือ มีนักเรียน 1 คน ได้คะแนน 95 เปอร์เซ็นต์ และคนสุดท้ายได้คะแนนถึง 80 เปอร์เซ็นต์

สรุปผลการศึกษาวิจัย จากการศึกษาและวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากผลการทำแบบฝึกทักษะ เกี่ยวกับการบวก-ลบจำนวน เต็ม ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้ง 3 คน นั้นแสดงให้เห็นว่า คะแนนเฉลี่ยของแต่ละคนสูง และ คะแนนในแต่ละฉบับของนักศึกษาก็เพิ่มขึ้นจากเดิม

อภิปรายผลการศึกษา จากการสร้างแบบฝึกทักษะการบวก-ลบจำนวนเต็ม เพื่อช่วยพัฒนา ความสามารถในการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้ง 3 คน ในครั้งนี้ สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้ 1. พบว่าแบบฝึกฝึกทักษะการเขียนเกี่ยวกับการบวก-ลบจำนวนเต็ม ที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นนี่ สามารถ ช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้ง 3 คน ได้ เป็นอย่างดี โดยดูได้จากผลคะแนนของนักศึกษาซึ่งค่อนข้างสูง 3. จะเห็นได้ว่าการที่ครูให้การเสริมแรงด้วยการให้คำชมเชยทำให้นักศึกษามีกำลังใจและทำคะแนน ได้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะ 1.ในการสร้างแบบฝึกทักษะเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อาจจะใช้รูปแบบอื่นที่นอกไปจากการบวก-ลบ จำนวนเต็ม อย่างเดียว อาจใช้วิธี การคูณ หรือการหาร และเพิ่มมากขึ้น 2.ในการวิจัยครั้งต่อไปอาจเพิ่มปริมาณของกลุ่มตัวอย่างขึ้นและอาจเจาะจงทำการวิจัย กลุ่มนักศึกษาที่เรียนอ่อนมากๆ เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือและแก้ไขต่อไป

ภาคผนวก

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.