ไอเอสที่ไฟนอลแล้วมั้ง Flipbook PDF


81 downloads 102 Views 8MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

โครงงาน เรื่อง Healthy Plants Automatic โดย นายภาคิน สุทธิ์ละออง ม.5/4 เลขที่ 6 นางสาวอณูทิพย์ พงษ์สีดา ม.5/4 เลขที่ 24 นางสาวชาลิสา วัชรภูมิพิพัฒน์ ม.5/4 เลขที่ 36 นางสาวศุภสรา ไตรพิทยากุล ม.5/4 เลขที่ 40 รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การสื่อสารและนำเสนอ รหัส I30202 ภาคเรียนที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510


ก บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง Healthy Plant Automatic มีจุดประสงค์เพื่อ 1.เพื่อป้องกันการลืมรดน้ำต้นไม้ 2.เพื่อต้นไม้รับน้ำได้เพียงพอ 3.เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกษตรกร ในการทำระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติคณะผู้จัดทำได้ใช้อุปกรณ์ในการทำโดยประกอบด้วย(1)ปั๊มน้ำ แบบแช่ 5 v (2)สายยางต่อปั๊ม (3)Relay 5v (4)ชุดเซนเซอร์วัดความชื้นในดิน (5)รากถ่าน AA 4 ก้อน (6)ชุด สายไฟ โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้ (1)นำสายไฟต่อเซนเซอร์วัดความชื้นเข้ากับ Relay 5v (2)นำปั๊มน้ำแบบแช่ 5vต่อเข้ากับ Relay 5v (3)นำสายยางต่อเข้ากับปั๊มน้ำแบบแช่ 5v (4)นำสายไฟต่อ Relay 5v กับ รางถ่าน AA 4 ก้อน (5)นำเซนเซอร์วัดความชื้นปักลงดินและนำปั๊มน้ำใส่ในถังน้ำจากนั้นเริ่มใช้งานได้ จากการศึกษารวบรวมข้อมูล วัสดุอุปกรณ์การทำต่างๆและวิธีการทำ รวมถึงการทดสอบระบบรด น้ำต้นไม้อัตโนมัติพบว่า ระบบรดน้ำต้นไม้ Healthy Plant Automatic นี้สามารถนำมาใช้งานได้จริง อีกทั้ง ต้นไม้ที่ได้รับน้ำไม่เพียงพอก็ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ รวมถึงการลืมรดน้ำต้นไม้ก็ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไปและยัง อำนวยความสะดวกให้เกษตรกร เกือบเทียบเท่ากับการใช้เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติทั่วไป


ข กิตติกรรมประกาศ โครงงานวิจัยฉบับนี้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างยิ่งจาก คุณครูอารยา บัววัฒน์ คุณครูที่ปรึกษา ที่ได้ให้คำแนะนำปรึกษา และให้ข้อมูลต่างๆ ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณคุณครู โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ที่ได้ให้คำแนะนำตลอดจนตรวจสอบ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย อนึ่ง ผู้วิจัยหวังว่า งานวิจัยฉบับนี้จะมีประโยชน์อยู่ไม่น้อย จึงขอมอบส่วนที่ทั้งหมดนี้ให้แก่เหล่า อาจารย์ที่ ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาจนทำให้ผลงานวิจัยเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องและขอมอบความกตัญญู กตเวทิตาคุณแล บิดา มารดา และผู้มีพระคุณทุกท่านตลอดจนเพื่อนๆ ที่คอยให้ความช่วยเหลือและกำลังใจ สำหรับ คณะผู้จัดทำ


ค สารบัญ หน้า บทคัดย่อ..........................................................................................................................................................ก กิตติกรรมประกาศ..........................................................................................................................................ข สารบัญสาร......................................................................................................................................................ค สารบัญตาราง..................................................................................................................................................จ สารบัญรูปภาพ................................................................................................................................................ง บทที่ 1 บทนำ................................................................................................................................................1-2 ที่มาและความสำคัญ ........................................................................................................................1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา..............................................................................................................1 ขอบเขตของการศึกษา.....................................................................................................................1-2 สมมติฐานของศึกษา.........................................................................................................................2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง............................................................................................................................3-8 บทที่ 3 วิธีการทดลอง...................................................................................................................................9-17 บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล.......................................................................................................................18-22 บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ................................................................................23-24 บรรณานุกรม...................................................................................................................................................25 ภาคผนวก


ง สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพจากผลิตภัณฑ์ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติและหุ่นยนต์รดน้ำ ต้นไม้อัตโนมัติ..........................................................................................................................................16 ตารางที่ 2 ระดับความพึงพอใจของระบบรดน้ำต้นไม้...........................................................................17 ตารางที่ 3 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม.....................................................................................19 ตารางที่ 4 การวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ..............................................21


จ สารบัญรูปภาพ หน้า ภาพที่1 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 1..............................................................................................................27 ภาพที่2 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 2..............................................................................................................27 ภาพที่3 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 3..............................................................................................................28 ภาพที่4 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 4..............................................................................................................28 ภาพที่5 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 5..............................................................................................................29 ภาพที่6 ตัวอย่าง Google Form แบบสอบถามความพึงพอใจ....................................................................30


1 บทที่1 บทนำ 1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน เนื่องจากในปัจจุบันมีกลุ่มคนที่ชอบปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆและบ่อยครั้งมักจะประสบปัญหาไม่มี เวลารดน้ำต้นไม้ หรือบางครั้งรดน้ำต้นไม้ในปริมาณที่มากหรือน้อยจนเกินไปทำให้ต้นไม้ที่ได้รับน้ำมาก จนเกินไปรากเน่าแต่ต้นไม้ที่ได้รับน้ำน้อยจนเกินไปก็จะเหี่ยวเฉาและเจริญเติบโตได้อย่างไม่เต็มที่และตายลง ในที่สุด ต่อมาพวกเราจึงศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการประดิษฐ์ชิ้นงาน หลังจากศึกษาข้อมูล เสร็จแล้วจึงเริ่มต้นด้วยการจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์เมื่อได้อุปกรณ์ครบแล้วจึงเริ่มลงมือประดิษฐ์ ดังนั้นพวกเราจึงได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยจะประดิษฐ์ระบบที่สามารถรดน้ำ ต้นไม้เองได้เพื่อแก้ปัญหาการลืมรดน้ำต้นไม้ และแม้ว่าเราจะไม่อยู่บ้านต้นไม้ก้ยังคงได้รับการรดน้ำ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการรดน้ำที่มากหรือน้อยจนเกินไปได้อีกด้วย เนื่องจากระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัตินี้ มีเซนเซอร์คอยตรวจวัดความชื้นอยู่เสมอเพื่อให้ต้นไม้ได้รับน้ำในปริมาณที่พอดีและเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.2.1 เพื่อแก้ปัญหาการได้รับน้ำมากเกินไป 1.2.2 เพื่อป้องกันการลืมรดน้ำต้นไม้ 1.2.3 เพื่อความสะดวกสบายของเกษตรกร 1.3 ขอบเขตการศึกษา 1. ทำให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น 2. ช่วย ประหยัดเวลาในการรดน้ำต้นไม้ 3. ช่วยประหยัดน้ำที่ใช้การรดน้ำต้นไม้ 4. ป้องกันการลืมรดน้ำต้นไม้ 5. ทำให้ต้นไม้ได้รับน้ำใน ปริมาณที่เหมาะสม 6. ช่วยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี 7. ทำให้บุคคลทั่วไปหันมาสนใจในการปลูกต้นไม้


2 8. ช่วยในการทำการเกษตร 9. ประสิทธิภาพในการใช้งาน 1.4 สมมติฐานของการศึกษา รากต้นไม้จะไม่เน่าเนื่องจากต้นไม้ได้รับน้ำอย่างพอเหมาะ


3 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันผู้คนเริ่มสนใจการปลูกต้นไม้มากขึ้นแต่ยังมีผู้ประสบปัญหาไม่มีเวลาเลี้ยงดูจนทำให้ต้นไม้ ขาดน้ำได้รับปริมานน้ำไม่เพียงพอทำให้ต้นไม้เหี่ยวเฉาตายและยังประสบปัญหาการรดน้ำต้นไม้ที่ให้ปริมาณ น้ำเยอะเกินความต้องการของต้นไม้ทำให้มันแฉะเลยเกิดการรากเน่าและตายลงในที่สุดดังนั้นคณะผู้จัดทำจึง ได้ร่วมศึกษาหาความรู้ประดิษฐ์เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติที่สามารถทำเองได้ประหยัดเวลาประหยัดเงิน สาม รถควบคุมปริมาณในการรต้นไม้ได้โดยที่คณะผู้จัดทำได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ จึงได้นำข้อมูลที่ศึกษามาใช้ในเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นพื้นฐานและสนับสนุน แนวทางในการ ทำโครงงานดังนี้ หัวข้อที่ศึกษามีดังนี้ 1.เซ็นเซอร์วัดความชื่นในดิน Soil Moisture Sensor 2.รีเลย์ (Relay) 3.ถังน้ำ 4.สายไฟ 5.มอเตอร์ เซ็นเซอร์วัดความชื่นในดิน Soil Moisture Sensor https://www.princess-it-foundation.org/project/wp-content/uploads/tsr59/s15.pdf 1).ความหมาย ใช้วัดความชื่นในดินหรือใช้เป็นเซ็นเซอร์น้ำสามารถต่อใช้งานกับไมโครคอนโทรลเลอร์โดยใช้อนาล็อกอินพุต อ่านค่าความชื่นหรือเลือกใช้สัญญาณดิจิตอลที่ส่งมาจากโมดูลสามารถปรับความไวได้ด้วยการปรับ Trimpot https://sites.google.com/site/projectphysics122/hlak-kar-thangan-khxng-sensexrwad-khwamchun-ni-din 2).หลักการทำงาน


4 การใช้งานจะต้องเสียบแผ่น PCB สำหรัลวัดลงดินเพื่อให้วงจรแบ่งแรงดันทำงานได้ครบวงจร จากนั้นจึงใช้วงจรเปรียบเทียบแรงดันโดยใช้ไอซีออปแอมเบอร์ LM393 เพื่อวัดเปรียบเทียบกันระหว่าง แรงดันดันที่วัดได้จากความชื้นในดินกับแรงดันที่วัดได้จากวงจรแบ่งแรงดันปรับค่าโดยใช้ Trimpot หาก แรงดันที่วัดได้จากความชื้นของดิน มีมากกว่า ก็จะทำให้วงจรปล่อยลอจิก1ไปที่ขาD0แต่หากความชื้นในดินมี น้อยลอจิก0จะปล่อยไปที่ขาD0 รีเลย์ (Relay) https://www.princess-it-foundation.org/project/wp-content/uploads/tsr59/s15.pdf 1).หน้าที่ เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแม่เหล็กเพื่อใช้ในการดึงดูดน่าสัมผัสของคอน แทคให้เปลี่ยนสภาวะโดยการป้อนกระแสไฟฟ้าให้กับขดรวดเพื่อทำการปิดหรือเปิดหน้าสัมผัสคล้ายกับสวิตช์ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเราสามารถนำรีเลย์ไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมวงจรต่างๆในงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ มากมาย http://www.psptech.co.th/%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0 %B8%A2%E0%B9%8Crelay%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8% B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-15696.page 2). ประโยชน์ 2.1) ทำให้ระบบส่งกำลังมีเสถียรภาพ (Stability) สูงโดยรีเลย์จะตัดวงจรเฉพาะส่วนที่เกิดผิดปกติ ออกเท่านั้นซึ่งจะเป็นการลดความเสียหายให้แก่ระบบน้อยที่สุด 2.2) ลดค่าใช้จทายในการซ่อมแซมส่วนที่เกิดผิดปกติ 2.3) ลดความเสียหายไม่เกิดลุกลามไปยังอุปกรณ์อื่นๆ 2.4) ทำให้ระบบไฟฟ้าไม่ดับทั้งระบบเมื่อเกิดฟอลต์ขึ้นในระบบ นายวิชัย กาญจนาพัฒนา.( 2557 ).เครื่องมือวัดเมคาทรอนิกส์. ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 3).ความหมาย รีเลย์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ตัดต่อวงจรคล้ายกับสวิตซ์รีเลย์จะใช้แม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อกลไกหน้าสัมผัสทำงาน รีเลย์จะประกอบด้วยขดลวดเล็กๆพันรอบแกนเหล็กอ่อนและแกนอาร์มาเจอร์ ติดตั้งกับก้ามปูมีลักษณะเป็นบานพับ มีสปริงยืดและมีหน้าสัมผัส1ชุดรือมากกว่าติดตั้งอยู่ปลายด้านหนึ่ง


5 ถังน้ำ https://th.misumi-ec.com/th/pr/recommend_category/plastic_bucket201908/ 1).ลักษณะทั่วไป ถังน้ำคือภาชนะที่ใช้สำหรับบรรจุน้ำ ของเหลว สารเคมี ของหมักดอง หรือใช้เป็นถังขยะ ผลิตจาก วัสดุพลาสติกโพลีเอทิลีนที่มีผิวภายในเรียบ โครงสร้างแข็งแรง น้ำหนักเบา ทนทานต่อความร้อนและการกัด กร่อน ไม่แตกหักง่าย และช่วยป้องกันสิ่งสกปรกจากภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบันถังพลาสติกได้มีการ ผลิตและออกแบบให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบทั้งถังพลาสติกทรงกลม ถังพลาสติกทรงสี่เหลี่ยม ถัง พลาสติกทรงกระบอก ถังพลาสติกแบบมีฝาปิดครอบ ถังพลาสติกแบบพกพาพับได้ พร้อมกับมีหูหิ้วที่ ด้านข้างเพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น สายไฟ https://www.pdcable.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B%AB%E% B8%%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A%E0%B9 %84%E0%B8%9F/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B 8%B0%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0% B9%84%E0%B8%9F/ 1).ลักษณะ ลักษณะของสายไฟ เป็นสายไฟที่มีตัวนำทองแดง ฉนวนเป็น PVC แรงดันที่ใช้งานไม่เกิน450/750V อุณหภูมิใช้งานที่ 70 ํC เช่น สาย 60226 IEC01 (THW),VCT ,VAF, NYY 1.1) 60227 IEC 01 (THW) เป็นสายไฟฟ้าที่รับแรงดันไฟฟ้าได้ 450/750VฉนวนทำจากPVC ตัวนำ ทองแดง เป็นสายนิยมใช้อย่างกว้างขวางสำหรับเดินสายภายในอาคาร วิธีการติดตั้งและการใช้งาน ใช้เดิน บนราง wire-way เดินร้อยท่อเดินใต้ฝ้าอาคาร หรือร้อยท่อฝังผนังคอนกรีต 1.2) VCT เป็นสายไฟฟ้าที่รับแรงดันไฟฟ้าได้ 450/750V ฉนวนและเปลือกทำจาก PVC ตัวนำทำ จากทองแดงฝอยเส้นเล็กๆมัดรวมกันเป็นแกน มีทั้งแบบ 1 แกน 2 แกน 3 แกน และ 4 แกน ข้อดีของตัวนำ ทองแดงที่เป็นเส้นฝอยคือมีความอ่อนตัวและทนต่อสภาพการสั่นสะเทือนได้ดี นอกจากนี้ยังมีสาย VCT-G เป็นสาย VCT ที่มีสายดินเดินรวมไปด้วยอีกเส้นหนึ่ง เพื่อให้เหมาะกับการใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องต่อลงดิน การใช้งานเดินบนรางเคเบิล ร้อยท่อฝังดิน หรือฝังดินโดยตรงก็ได้


6 1.3) NYY เป็นสายไฟที่รับแรงดันไฟฟ้าได้ 450/750V เช่นเดียวกับสาย VCT ต่างกันตรงที่ โครงสร้างของสายไฟ คือสาย NYY จะมีเปลือกสองชั้น คือ เปลือกชั้นในและเปลือกชั้นนอก แต่สาย VCT มี เปลือกชั้นเดียว ทำให้สาย NYY มีความแข็งแรง คงทนต่อสภาพแวดล้อมมากกว่าสาย VCT มีตั้งแต่ 1 แกน ถึง 4 แกน และยังมี NYY-G ที่มีสายดินเดินรวมไปด้วย การใช้งานสามารถฝังดินโดยตรงได้ เดินลอยใน อากาศ ร้อยท่อฝังดิน ร้อยท่อฝังผนังคอนกรีต ร้อยท่อเดินใต้ฝ้าอาคาร เดินบนรางเคเบิล เดินในช่องเดินสาย wire-way 1.4) 60227 IEC 10 เป็นสายไฟฟ้าที่มีลักษณะโครงสร้างเหมือนสาย NYY มาก ทำให้ผู้ใช้มักสับสน อยู่บ่อยๆ ความแตกต่างระหว่างสายไฟสองชนิดนี้คือ สาย 60227 IEC 10 มีเปลือกที่บางกว่า และทนแรง ไฟฟ้าได้เพียง 300/500V และไม่สามารถเดินสายฝังดินได้ การใช้งานสามารถเดินลอยในอากาศ ร้อยท่อฝัง ผนังคอนกรีต ร้อยท่อเดินใต้ฝ้าอาคาร เดินเกาะผนัง เดินบนรางเคเบิล เดินในช่องเดินสายwire-way 1.5) VAF เป็นสายไฟฟ้าที่รับแรงดันได้ 300/500V ตัวนำเป็นทองแดง ฉนวนและเปลือกทำจาก PVC นิยมใช้เดินตามฝาผนังแล้วรัดด้วยเข็มขัดรัดสาย (clip : กิ้บ) หรือเดินในช่องเดินสาย แต่ห้ามร้อยท่อ และห้ามเดินฝังดิน นอกจากนี้ยังมีสาย VAF-G ที่มีสายดินเดินรวมไปด้วยอีกเส้นหนึ่ง ผศ. ประสิทธิ์พิฒยพัฒน์.(2554). คู่มือการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า.บริษัท เซจำ อินเตอร์ เนชันแนล จำกัด 2).ความหมาย สายไฟชนิดนี้จะมีตัวนำเป็นอลูมิเนียมแบบตีเกลียวไม่อัดแน่นหรือแบบตีเกลียวอัดแน่นและหุ้มด้วย ฉนวน PVC สามารถใช้ได้กับแรงดันไม่เกิน 750 V สายไฟชนิดนี้จะเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.293-2541 สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมหุ้มด้วยฉนวน PVC สามารถใช้งานในระบบ จำหน่ายแรงดันต่ำ เดินภายนอกอาคาร เป็นสายประธาน (Main) หรือสายป้อน (Feeder) โดยจะใช้เดินในอากาศเหนือพื้นดิน ทางการไฟฟ้านคร หลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ใช้สายชนิดนี้เป็นสายประธานแรงต่ำ เดินมาจาก หม้อแปลงจำหน่าย (Distribution Transformers) พาดบนลูกถ้วยตาม เสาไฟฟ้าหรือใต้ชายคาบ้านหรือตึกแถว เพื่อจ่ายไฟฟ้า ให้กับผู้ใช้สายชนิดนี้มีราคาถูกและรับแรงดึงได้พอควร


7 https://www.wazzadu.com/article/5696#:~:text=%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8 %A2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%20%E0%B9%80%E ผ่านได้น้อย 3).ประโยชน์ สายไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้า จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยกระแสไฟฟ้าจะเป็นตัวนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟทำด้วยสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ เรียกว่าตัวนำไฟฟ้าและตัวนำไฟฟ้าที่ใช้ทำสายไฟเป็นโลหะที่ ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี ลวดตัวนำแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ต่างกัน ตัวนำไฟฟ้าที่ยอมให้ กระแสไฟฟ้าผ่านได้มากเรียกว่ามีความนำไฟฟ้ามากหรือมีความต้านทานไฟฟ้าน้อยลวดตัวนำจะมีความ ต้านทานไฟฟ้าอยู่ด้วยโดยลวดตัวนำที่มีความต้านทานไฟฟ้ามากจะยอมให้กระแสไฟฟ้า มอเตอร์ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E 0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C 1).ลักษณะทั่วไป เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลการทำงานปกติของมอเตอร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กในตัวมอเตอร์ และสนามแม่เหล็กที่เกิดจาก กระแสในขดลวดทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กทั้งสอง ในการใช้งานตัวอย่างเช่น ใน อุตสาหกรรมการขนส่งใช้มอเตอร์ฉุดลาก เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว มอเตอร์ไฟฟ้ายังสามารถทำงานได้ถึงสอง แบบ ได้แก่ การสร้างพลังงานกล และการผลิตพลังงานไฟฟ้า https://sites.google.com/site/khormulmorter/ 2).หลักการทำงาน เมื่อมีกระแสไหลในขดลวดตัวนำที่พันอยู่บนแกนอาร์เมเจอร์ จะเกิดสันแรงแม่เหล็กรอบ ๆ ตัวนำ และทำ ปฏิกิริยากับเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดจากขั้วแม่เหล็กของมอเตอร์ ทำให้เกิดแรงผลักขึ้นบนตัวนำทำให้อาร์ เมเจอร์หมุนไปได้ขดลวดที่มีกระแสไฟฟ้าไหลและวางอยู่บนแกนของอาร์เมเจอร์ โดยวางห่างจากจุด ศูนย์กลางเป็นระยะ r กำหนดให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าขดลวดที่ปลาย A และไหลออกที่ปลาย B จาก คุณสมบัติของเส้นแรงแม่เหล็กจะไม่ตัดผ่านซึ่งกันและกัน ดังนั้นปริมาณของเส้นแรงแม่เหล็กจะมีจำนวนมาก ที่ด้านบนของปลาย A จึงทำให้เกิดแรง F1 กดตัวนำ A ลงด้านล่างและขณะเดียวกันที่ปลาย B นั้น เส้นแรง แม่เหล็กจะมีปริมาณมากที่ด้านหน้าทำให้เกิดแรง F2 ดันให้ตัวนำ B เคลื่อนที่ด้านบนของแรง F1 และ F2


8 นี้เองทำให้อาร์เมเจอร์ของมอเตอร์เกิดการเคลื่อนที่ไปได้ดังนั้นการทำงานของมอเตอร์จึงขึ้นอยู่กับหลักการ ที่ว่า เมื่อเอาตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปวางในสนามแม่เหล็ก พิชัย ลีละวัฒนะ.(มปป). เทคนิคกลไก.บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจํากัด 3).ความหมาย มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นเครื่อง จักรกลชนิดหนึ่งที่เปลี่ยน พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลในรูปของ การหมุน ซึ่ง สามารถนำไปใช้งานได้มอเตอร์ไฟฟ้าโดยทั่วไปประกอบด้วย ขดลวดสองชุดมอเตอร์ชนิดนี้มักพบใน เครื่องมือและเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่พบเห็นกันตามบ้าน ได้แก่สว่านไฟฟ้า เครื่องปั่นน้ำผลไม้เครื่อง ผสม อาหาร เครื่องขัดกระดาษทราย เป็นต้น มอเตอร์ชนิดนี้ใช้ได้ทั้งกระแสไฟฟ้าสลับและกระแส ไฟฟ้าตรง และ ใช้ให้กับอุปกรณ์ที่ใช้แบตเตอรี่ทั้งหมด


9 บทที่ 3 วิธีดำเนินการทดลอง การศึกษาค้นคว้าเรื่อง ประสิทธิภาพของระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ เป็นการศึกษาค้นคว้าที่มุ่งศึกษา เกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ 5 ด้านดังนี้ 1)ด้านวิธีการแก้ปัญหาต้นไม้รับน้ำได้ไม่ เพียงพอ 2)ด้านอำนวยความสะดวกให้เกษตรกร 3)ด้านช่วยป้องกันการลืมรดน้ำต้นไม้ 4)ด้านความแข็งแรง 5)ด้านการต่อยอดในอนาคต โดยเก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินความพึงพอใจจากความคิดเห็นของนักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 2ทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาในจุดบกพร่องของระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ เพื่อให้ระบบรดน้ำ ต้นไม้อัตโนมัติที่จัดทำมีคุณภาพมากที่สุดในการทำการศึกษาค้นคว้าโดยมีวิธีการศึกษาค้นคว้ามีวิธีการและ ขั้นตอนตามลำดับดังนี้ 1.ประชากรกลุ่มตัวอย่าง 2.เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า 3.การเก็บรวบรวมข้อมูล 4.การวิเคราะห์ข้อมูล 5.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ 6.วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ 1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินู ทิศสตรีวิทยา๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร


10 2.เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า วิธีการสร้างเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้ Google Form (แบบสอบถาม ออนไลน์) ที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลข้อมูลซึ่งผู้ศึกษาได้ได้สร้างแบบสอบถาม ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์องค์การศึกษาและขอบเขตของการศึกษาซึ่งประกอบด้วยคำถาม 2 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัย ด้านบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามถามปลายปิด (Close Ended Respmonsequestion) ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพของระบบรดน้ำต้นไม้ อัตโนมัติตามความเห็นของได้แก่ นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร มีลักษณะคำถามเป็น คำถามมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) คือ น้อยที่สุด น้อย ปาน กลาง มาก และมากที่สุด โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนและเกณฑ์การให้คะแนนและเกณฑ์การจัดระดับ ดังนี้ ระดับความคิดเห็น ค่าน้ำหนักคะแนนของตัวเลือกตอบ น้อยที่สุด กำหนดค่าเท่ากับ 1 คะแนน น้อย กำหนดค่าเท่ากับ 2 คะแนน ปานกลาง กำหนดค่าเท่ากับ 3 คะแนน มาก กำหนดค่าเท่ากับ 4 คะแนน มากที่สุด กำหนดค่าเท่ากับ 5 คะแนน เกณฑ์ในการแปลความหมายค่าร้อยละของคะแนนระดับความเห็นเพื่อจัดระดับคะแนนการศึกษา สภาพการดำเนินกิจกรรมต่างๆกำหนดเป็นช่วงคะแนนดังต่อไปนี้ ช่วงคะแนนร้อยละ 80 คะแนนขึ้นไป = ดีมาก ช่วงคะแนนร้อยละ 70-79 คะแนน = ดี ช่วงคะแนนร้อยละ 60-69 คะแนน = ปานกลาง ช่วงคะแนนร้อยละ 50-59 คะแนน = พอใช้ ช่วงคะแนนร้อยละ 40-49 คะแนน = ปรับปรุง


11 3.เก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ ขอความร่วมมือจากนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา๒สังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ในการทำแบบสอบถามเพื่อ การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทางสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัด ผู้ศึกษานำ Link Google Form (แบบสอบถามออนไลน์) ไปแชร์ด้วยตนเองในระหว่างวันที่ 16 – 19 กันยายน 2565 จำนวน 56 ชุด เมื่อถึงกำหนดวันนัดหมายผู้ศึกษาปิดรับแบบฟอร์มพร้อมตรวจสอบถูกต้องความเรียบร้อยความ สมบูรณ์ของข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม จำนวน 56 ชุด ผู้ศึกษานำแบบสอบถามหรือข้อมูลที่เก็บรวบรวมในแต่ละกลุ่มเพื่อนำไปวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล 4.การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับและผู้ศึกษา ค้นคว้านำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้สถิติวิเคราะห์ ดังนี้การ วิเคราะห์ข้อมูลตอนที่ 1 สถานภาพ เพศ ระดับชั้น ห้องของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้ความถี่ร้อยละ ตอนที่ 2 ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาค้นคว้าได้วิเคราะห์และประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้วยระบบ คอมพิวเตอร์สถิติที่ใช้คือ สถิติพรรณนาการหาค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการ หาค่าความถี่โดยวิธีนับคำนวณ สูตรการหาค่าร้อยละ = X × 100 N


12 6.วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ 6.1.1 อุปกรณ์และเครื่องมือหลักที่ต้องใช้ อุปกรณ์ จำนวน ถังน้ำ 1 ใบ ต้นไม้ในกระถาง 1 ต้น 6.1.2 วัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องจัดหา อุปกรณ์ จำนวน ปั้มน้ำแบบแช่ขนาด 5v 1 ตัว สายยางต่อปั๊มสำหรับรดน้ำต้นไม้ 1 เส้น Relay 5v 1 ตัว ชุดเซนเซอร์วัดความชื้นในดิน 1 ชุด รางถ่าน AA 4ก้อน มีฝาปิดและสวิทซ์ 1 ตัว ชุดสายไฟ 1 ชุด


13 วิธีการประดิษฐ์ 1.ประกอบชุดเซนเซอร์วัดความชื้น 2.ต่อชุดเซนเซอร์วัดความชื้นเข้ากับ Relay 5v


14 3.ต่อปั๊มเข้ากับ Relay 5v และต่อสายยางเข้าปั๊ม 4.ต่อรางถ่าน AA 4ก้อนเข้ากับ Relay 5v


15 5.นำเซนเซอร์ปักลงดินและเปิดสวิทซ์ใช้งานได้


16 ผลการทดลอง 1.ผลการศึกษาเรื่องระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพจากผลิตภัณฑ์ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติและหุ่นยนต์รดน้ำต้นไม้ อัตโนมัติ ชนิดระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ประสิทธิภาพ ก่อนใช้ หลังใช้ ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ต้นไม้ต้นหนึ่งเหี่ยว เฉา ใกล้ตาย ต้นไม้ได้หนึ่งต้นได้รับน้ำอย่าง เพียงพอ หุ่นยนต์รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ต้นไม้ต้นหนึ่งเหี่ยวเฉา ใกล้ตาย ต้นไม้ได้หนึ่งต้นได้รับน้ำไม่ เพียงพอ เพราะเป็นการให้น้ำหลายต้น พร้อมกัน


17 2.ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ โดยใช้แบบประเมินความพึง พอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ระบบต้นไม้อัตโนมัติ ตารางที่ 2 ระดับความพึงพอใจของระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ผลิตภัณฑ์ รายละเอียด ระดับความพึง พอใจ แปลค่าความพึงพอใจ ระบบรดน้ำต้นไม้ อัตโนมัติ ทำให้เกิดความสะดวกสบาย มากขึ้น 90.00 มากที่สุด ช่วยประหยัดเวลาในการรด น้ำต้นไม้ 85.40 มากที่สุด ช่วยประหยัดน้ำที่ใช้ในการ รดน้ำต้นไม้ 85.70 มากที่สุด ป้องกันการลืมรดน้ำต้นไม้ 85.30 มากที่สุด ทำให้ต้นไม้ได้รับน้ำใน ปริมาณที่เหมาะสม 89.30 มากที่สุด ช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ ดี 87.90 มากที่สุด ทำให้บุคคลทั่วไปหันมามา สนใจการปลูกต้นไม้ 87.50 มากที่สุด ช่วยในการทำเกษตร 87.14 มากที่สุด ผลิตภัณฑ์ รายละเอียด ระดับความพึง พอใจ แปลค่าความพึงพอใจ ระบบรดน้ำต้นไม้ อัตโนมัติ ประสิทธิภาพในการใช้งาน 86.80 มากที่สุด ความพึงพอใจในภาพรวม 89.3 มากที่สุด รวม 87.4 มากที่สุด


18 บทที่ 4 ผลการทดลอง การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทำระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติซึ่งช่วยลดปัญหาการเหี่ยวเฉาของต้นไม้ เนื่องจากได้รับน้ำน้อยเกินไป และปัญหารากเน่าในต้นไม้ที่ได้รับน้ำมากจนเกินไป คณะผู้จัดทำจึงประดิษฐ์ ระบบรดน้ำอัตโนมัตินี้ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ โดยภายหลังจากที่ผลิตภัณฑ์เสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางคณะ ผู้จัดทำจึงได้นำมาให้นักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒ ได้ทดลองใช้และทำ แบบประเมินความพึงพอใจต่อคุณภาพของระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติและร่วมกันเสนอข้อเสนอแนะ ซึ่ง ประชากรในการค้นคว้าครั้งนี้มีนักเรียนจำนวน 49 คน และบุคลากรภายในโรงเรียนจำนวน 7 คน ได้รับ แบบประเมินกลับมาจำนวน 56 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100ในการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล มีหัวข้อดังต่อไปนี้ 4.1 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ 4.2 วิเคราะห์คะแนนความพึงพอใจต่อระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติของนักเรียนและบุคลากรภายใน โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒


19 4.1 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ ตารางที่ 4.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม รายการ ข้อมูลส่วนตัว จำนวน ร้อยละ นักเรียน 49 90.7 อาชีพ อาจารย์ 7 9.3 รวมทั้งสิ้น 56 100 หญิง 31 55.4 เพศ ชาย 22 39.3 อื่นๆ 3 5.3 รวมทั้งสิ้น 56 100 มัธยมศึกษาปีที่ 1 1 3.6 มัธยมศึกษาปีที่ 2 0 0 มัธยมศึกษาปีที่ 3 3 5 ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 7 11.7 มัธยมศึกษาปีที่ 5 30 53.5 มัธยมศึกษาปีที่ 6 8 13.7 รวมทั้งสิ้น 49 87.5


20 จากตารางที่ 1 พบว่าข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียน มีดังนี้ 1. อาชีพ ผู้ทำแบบสอบถามส่วนมากเป็นนักเรียน ร้อยละ 90.7 และรองลงมาคืออาจารย์ร้อยละ 9.3 2. เพศ ผู้ทำแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.5 และรองลงมาคือเพศชาย ร้อยละ41.5 3. ระดับชั้น ผู้ทำแบบสอบถามส่วนมากเป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 5 ร้อยละ 53.5 รองลงมาเป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 13.7 รองลงมาคือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 11.7 รองลงมาเป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 5.0 และน้อยที่สุดคือ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 3.6


21 4.2 วิเคราะห์คะแนนความพึงพอใจต่อระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติของนักเรียนและบุคลากร ภายในโรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒ ตารางที่ 4.2 การวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ระดับ ความพึง พอใจ ลำดับ รายการประเมิน ดีมาก ดี ปานกลาง พอใช้ ปรับปรุง ร้อยละ แปลผล (5) (4) (3) (2) (1) 1 ทำให้เกิดความสะดวกสบาย มากขึ้น 31 22 3 0 0 90 ดีมาก 2 ช่วยประหยัดเวลาในการรด น้ำต้นไม้ 22 27 7 0 0 85.4 ดีมาก 3 ช่วยประหยัดน้ำที่ใช้ในการ รดน้ำต้นไม้ 23 28 3 2 0 85.7 ดีมาก 4 ป้องกันการลืมรดน้ำต้นไม้ 26 22 6 1 1 85.3 ดีมาก 5 ทำให้ต้นไม้ได้รับน้ำใน ปริมาณที่เหมาะสม 30 22 4 0 0 89.3 ดีมาก 6 ช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ เต็มที่ 30 18 8 0 0 87.9 ดีมาก 7 ทำให้บุคคลทั่วไปหันมาสนใจ การปลูกต้นไม้ 34 18 1 3 0 87.5 ดีมาก 8 ช่วยในการทำการเกษตร 27 22 7 0 0 87.14 ดีมาก 9 ประสิทธิภาพในการใช้งาน 24 27 5 0 0 86.8 ดีมาก 10 ความพึงพอใจในภาพรวม 29 24 3 0 0 89.3 ดีมาก รวม 87.4 ดีมาก


22 เกณฑ์การให้คะแนน ช่วงคะแนนร้อยละ 80 คะแนนขึ้นไป = ดีมาก ช่วงคะแนนร้อยละ 70-79 คะแนน = ดี ช่วงคะแนนร้อยละ 60-69 คะแนน = ปานกลาง ช่วงคะแนนร้อยละ 50-59 คะแนน = พอใช้ ช่วงคะแนนร้อยละ 40-49 คะแนน = ปรับปรุง จากตารางการวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติทั้ง 10 ข้อ พบว่าภาพรวม ของผลิตภัณฑ์อยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยด้านที่มีคะแนนมากที่สุด คือด้านการทำให้เกิดความสะดวกสบายมาก ขึ้น มีค่าร้อยละ 90.0 รองลงมาคือการทำให้ต้นไม้ได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมและความพึงพอใจใน ภาพรวม มีค่าร้อยละเท่ากันคือ ร้อยละ 89.3 และด้านที่เหลือมีระดับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นส่วนใหญ่แนะนำให้ปรับปรุงด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าใช้และมีความ แข็งแรงทนทานมากขึ้น เพื่อสามารถดึงดูดให้คนสนใจผลิตภัณฑ์ได้มากยิ่งขึ้น


23 บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ การศึกษาการทำเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติจากการวัดค่าความชื้นในดิน มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1)เพื่อแก้ปัญหาการได้รับน้ำมากเกินไปของต้นไม้ (2)เพื่อป้องกันการลืมรดน้ำต้นไม้ (3)เพื่อความ สะดวกสบายของเกษตรกร และสามารถประมวลผลได้ดังนี้ กลุ่มเป้าหมายที่เราใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ และบุคลากรภายในโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจในการใช้เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติจากการวัดค่าความชื้นใน ดิน โดยแบบสอบถามคือ Google Form ซึ่งเรานั้นได้ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านการส่งลิงก์ โดยมีคำถาม สำรวจจำนวน ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการทดลอง จากการศึกษาทดลองการทำเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติจากการวัดค่าความชื้นในดิน สามารถสรุป ได้ว่าเมื่อนำระบบไปใช้งานจริงปรากฎว่า ระบบนี้สามารถทำงานเปิดปิดน้ำได้จริงตามอุณหภูมิของดิน โดย เมื่อนำเครื่องรดน้ำต้นไม้ไปใส่ลงดิน เซนเซอร์ในแปลงปลูกพืชกำหนดค่าความชื้นในดิน และทำการทดลอง ส่งค่าความชื้นไปให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลตามคำสั่งที่ได้กำหนดไว้ เมื่อดินมีความชื้นมากๆ จะไม่มีการรดน้ำใดๆทั้งสิ้น และเมื่อดินนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นเครื่องรดน้ำจะทำการรดน้ำต้นไม้ในปริมาณที่ เหมาะสม อภิปราย จากการศึกษาค้นคว้าเรื่องการทำเครื่องรดน้ำอัตโนมัติจากการวัดค่าความชื้นในดินตามความเห็น จากนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ สามารถอภิปรายได้ดังนี้ จากการสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนนวมินท ราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ ในเรื่องการทำเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติจากการวัดค่าความชื้นในดินพบว่าอยู่ใน ระดับดี


24 ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการสำรวจมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ควรปรับปรุงระบบเซนเซอร์ในการวัดค่าความชื้นของดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่สามารถนำมาใช้แทนเซนเซอร์เพื่อให้มีความหลากหลาย 3. พัฒนาระบบของเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ


(ม.ป.ป.).Mini Pump Motor 5v. สืบค้น 4 กรกฎาคม 2565,จาก https://www.gravitechthai.com


26 ภาคผนวก


27 ภาพที่ 1 ประกอบชุดเซนเซอร์วัดความชื้น ภาพที่ 2 ต่อชุดเซนเซอร์วัดความชื้นเข้ากับ Relay 5v


28 ภาพที่ 3 ต่อปั๊มเข้ากับ Relay 5v และต่อสายยางเข้าปั๊ม ภาพที่ 4 ต่อรางถ่าน AA 4ก้อนเข้ากับ Relay 5v


29 ภาพที่ 5 นำเซนเซอร์ปักลงดินและเปิดสวิทซ์ใช้งานได้


30 ภาพที่ 6 ตัวอย่าง Google Form แบบสอบถามความพึงพอใจ


31 ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล นายภาคิน สุทธิ์ละออง วันเดือนปีเกิด 2 ธันวาคม 2548 ที่อยู่ปัจจุบัน 51 ซอยนิมิตใหม่ 20 แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10510 ตำแหน่งหน้าที่การงาน นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมเขต 2 สถานที่ศึกษาปัจจุบัน โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมเขต 2 ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดบัวแก้ว ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒


32 ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล นางสาวอณูทิพย์ พงษ์สีดา วันเดือนปีเกิด 13 พฤศจิกายน 2548 ที่อยู่ปัจจุบัน หมู่บ้านเดอะคอนเนค 22 รามอินทรา-มีนบุรี 95/251 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510 ตำแหน่งหน้าที่การงาน นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมเขต 2 สถานที่ศึกษาปัจจุบัน โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมเขต 2 ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนคันนายาว(ธารินเจริญสงเคราะห์) ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒


33 ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล นางสาวชาลิสา วัชรภูมิพิพัฒน์ วันเดือนปีเกิด 8 กรกฎาคม 2548 ที่อยู่ปัจจุบัน หมู่บ้านRK2 282/97 ถนนเลียบคลองสอง แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร10510 ตำแหน่งหน้าที่การงาน นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมเขต 2 สถานที่ศึกษาปัจจุบัน โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมเขต 2 ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนภูมิสมิทธิ์ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒


34 ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล นางสาวศุภสรา ไตรพิทยากุล วันเดือนปีเกิด 1 มิถุนายน 2548 ที่อยู่ปัจจุบัน 46/84 ซอยประชาร่วมใจ17 แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510 ตำแหน่งหน้าที่การงาน นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมเขต 2 สถานที่ศึกษาปัจจุบัน โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมเขต 2 ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนมีนบุรี ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา๒


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.