อบรมความปลอดภัยพนักงาน Flipbook PDF


37 downloads 101 Views 38MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

ความปลอดภัยในการทำ งาน สำ หรับพนักงานใหม่ Safety Orientation For New Employee หน่วยงานความปลอดภัย บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำ กัด (มหาชน)


1. นโยบายความปลอดภัยของบริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำ กัด (มหาชน) 2. ทฤษฎีความปลอดภัย 3. ความปลอดภัยทั่วไปในการทำ งาน หัวข้อการฝึกอบรม 4. การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) 5. การป้องกันและระงับอัคคีภัย 6. อันตรายจากไฟฟ้าและการปฐมพยาบาล 7. การใช้รถโฟร์คลิฟท์ 8. อันตรายของสารเคมี ความปลอดภัย สำ หรับรัพนักนังานใหม่


ความรู้ ความเข้าใจ พื้นฐาน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำ งาน ปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่ วัตถุประสงค์ การอบรมความปลอดภัยในการทำ งาน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพนักงานของบริษัทฯ


เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยใน การทำ งาน คือใคร? เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำ งาน คือบุคคลที่ดำ เนินกิจกรรมต่างๆที่จะก่อให้เกิดความ ปลอดภัยในการทำ งานของลูกจ้างอย่างต่อเนื่องและ ตลอดเวลา หรือจะเรียกสั้นๆ ว่า“จป. หรือ Safety” ก็ได้ ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) ในโรงงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1.เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำ งาน โดยตำ แหน่ง -จป.หัวหน้างาน -จป.บริหาร 2.เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำ งาน โดยหน้าที่เฉพาะ -จป.เทคนิค -จป.เทคนิคขั้นสูง -จป.วิชาชีพ ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


คณะกรรมการความปลอดภัยฯ บริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำ กัด(มหาชน) ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


1. นโยบายความปลอดภัยของบริษัทฯ บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำ กัด(มหาชน) ได้ต ด้ ระหนักและให้ความสำ คัญในเรื่องของความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำ งาน (SHE : Safety, Health and Environment) ของพนักงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลสำ คัญที่ช่วยให้บริษัทสามารถ ดำ เนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย รวมทั้งใช้เป็นแนวปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้อง ตาม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำ งาน พ.ศ. 2554 บริษัทฯ จึงประกาศนโยบายดังต่อไปนี้ ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


1. นโยบายความปลอดภัยของบริษัทฯ บริษัทฯ ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำ งาน โดยเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย เพื่อ ให้พนักงานและสถานประกอบการปลอดจากเหตุอันจะทำ ให้เกิดภัย อันตรายจากการทำ งาน 1. 2. บริษัทฯ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสถานประกอบกิจการ ให้มีส มี ภาพ การทำ งานและสภาพแวดล้อมการทำ งานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมสนันสนุนการปฏิบัติงานของพนักงานให้มีความปลอดภัย ในทุกมิติ ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


1. นโยบายความปลอดภัยของบริษัทฯ 3. พนักงานทุกระดับมีหน้าที่ให้ความร่วมมือ ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อกำ หนด ของทางการ มาตรฐานเรื่องความปลอดภัย และนโยบาย ระเบียบของบริษัทฯ โดย เคร่งครัด ตลอดถึงมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำ งานตามมาตรฐานที่กำ หนด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย 4. ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำ สั่ง และมาตรฐานเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำ งานตามที่ทางราชการกำ หนดอย่างเคร่งครัด ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


1. นโยบายความปลอดภัยของบริษัทฯ 5. บริษัทฯ สนับสนุน ส่งเสริมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทำ งานอย่างต่อเนื่อง โดยจะจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอและมีความเหมาะสม 6. บริษัทฯ ส่งเสริมด้านความปลอดภัย โดยจะจัดให้มีการฝึกอบรมให้ความรู้ ทบทวน และฝึกซ้อม ตลอดจนจัดกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เพื่อเสริมสร้างจิตสำ นึกด้านความ ปลอดภัยให้กับพนักงานและสถานประกอบการอย่างต่อเนื่องและมีการเตรียมพร้อมอยู่ เสมอ 7. บริษัทฯ จัดเตรียม จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ให้พนักงานได้ใช้หรือสวม ใส่ป้องกันตามความเหมาะสมต่อลักษณะงานและการปฏิบัติงาน ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


1. นโยบายความปลอดภัยของบริษัทฯ 8. จัดให้มีก มี ารสำ รวจตรวจตราในเรื่องความปลอดภัย และเข้มงวดกวดขันให้พนักงาน ปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัย ตลอดจนการเอาใจใส่ ควบคุมดูแลให้ พนักงานสวมใส่และใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามที่บริษัทฯ กำ หนดอย่าง เครงครัด 9. ยกระดับและพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในบริษัทฯ สถานที่ทำ งาน ความสะอาดโดย รอบบริเวณบริษัทฯ อยู่เสมอ เพื่อให้มีความปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมที่ดีถูก สุขลักษณะ มีคุณภาพชีวิตการทำ งานและสุขภาพที่ดี ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


1. นโยบายความปลอดภัยของบริษัทฯ 10. กำ หนดให้มีความปลอดภัยในการทำ งาน ตลอดจนมีวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและ ความปลอดภัยเป้นหน้าที่ของพนักงานและผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นที่ต้องถือปฏิบัติ และรับผิดชอบ 11. กำ หนดให้พ ห้ นักงานทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันอันตรายจากการทำ งาน และ รักษาสภาพแวดล้อมที่ดี โดยบริษัทฯ จะรับข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่างๆ ของพนักงาน และนำ ไปพิจารณาแก้ไขปรับปรุง จุดบกพร่องต่างๆตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดความ ปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่ดีแก่พนักงาน ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ความปลอดภัย คือ การปราศจากภัย หรืออันตราย การไม่มีอุบัติเหตุ ไม่มีโรคที่เกิดขึ้นจากการทำ งาน ความปลอดภัยในการทำ งาน คืออะไร คนไม่บาดเจ็บหรือตาย ทรัพย์สินไม่เสียหาย ผลผลิตสม่ำ เสมอ มีเวลาปรับปรุงงาน ความปลอดภัย สำ หรับรัพนักนังานใหม่


ประเภทของอุบัติเหตุ อุบัติเหตุขั้นรุนแรง (Major Accident) อุบัติเหตุเล็กน้อย (Minor Accident) อุบัติเหตุเกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near Miss) แบ่งออกเป็น ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


อุบัติเหตุจากการทำ งาน ชน กระแทก ครูด ถาก เสียดสี ของกระเด็นใส่ ดีดใส่ ฟาดใส่ ของตกใส่ หกล้ม ถูกบาด ตัด เฉือน ฟัน ถูกทับ หนีบ บีบ อัด ทับ สัมผัสกับ ไฟฟ้า,สารเคมี,ความร้อน, ตกจากที่สูง ความเย็น,เสียง,แสง ตัวอย่างอุบัติเหตุได้แก่ ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ แบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ 1. การกระทำ ที่ไม่ปลอดภัย (UNSAFE ACTS) 85% เป็นการกระทำ ที่ไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในขณะทำ งาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ - การกระทําไม่ถูกวิธีหรือไม่ถูกขั้นตอน - ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย - การมีนิสัยชอบเสี่ยง - การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน - การทํางานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล - การแต่งกายไม่เหมาะสม - การทํางานโดยสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น เมาค้าง ป่วย ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ แบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ 2. สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (UNSAFE CONDITIONS) 15% คือ สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบตัวของผู้ปฏิบัติงานขณะทำ งาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ - ส่วนที่เป็นอันตรายหรือส่วนที่เคลื่อนไหวไม่มีอุปกรณ์ ป้องกันอันตราย - การวางผังไม่ถูกต้อง วางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ - พื้นโรงงานมีเศษวัสดุ น้ำ มัน น้ำ บนพื้น - สภาพการทํางานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง อากาศร้อน ฝุ่น ละออง เป็นต้น - เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ชํารุด - ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชํารุด ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ไม่คิดจะป้องกันเลยหรือ ? ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ความสูญเสียและผลเสียจากการเกิดอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาล สินไหมทดแทน ค่าประกันภัย ค่าทำ ขวัญ ทำ ศพ ผลเสียทางตรง ผลเสียทางอ้อม การสูญเสียเวลาทำ งานของพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม เสียเวลาทำ งานเพราะต้องหยุดเครื่องจักร ผลผลิตลดลงเพราะขบวนผลิตหยุดชะงัก เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่ก่อให้เกิดงาน เสียชื่อเสียงและภาพพจน์ของโรงงาน อื่นๆ ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ขั้นตอนการรายงานอุบัติเหตุ ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานอุบัติเหตุ ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ข้้อปฏิบัติทั่วไปในการทำ งาน 1. ต้องแต่งกายให้ถูกระเบียบตามที่บริษัท กำ หนด 2. ห้ามสวมรองเท้าแตะ ให้สวมรองเท้าหุ้มส้น (เพื่อป้องกันอันตรายจากวัตถุหรือสิ่งของตกใส่เท้า) 3. ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายตามที่บริษัทกำ หนด 4. จัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ ให้เรียบร้อยหลังจากเสร็จงานทุกครั้ง 5. ปฏิบัติตามป้ายเตือนต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ความปลอดภัยทั่วไป ในการทำ งาน ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


6. ห้ามหยอกล้อหรือเล่นกันในขณะปฏิบัติงาน 7. ห้ามนำ อุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดเข้าไปในพื้นที่การผลิต 8. ห้ามปฏิบัติงานในขณะมึนเมาหรืออยู่ภายใต้ฤทธิ์ยาที่ทำ ให้ง่วงซึม 9. หากพบสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยหรือประสบอุบัติเหตุจากการทำ งานให้ รายงานหัวหน้างานทันที 10. ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณโรงงาน ความปลอดภัยทั่วไป ในการทำ งาน (ต่อ) ข้้อปฏิบัติทั่วไปในการทำ งาน ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ข้อปฏิบัติในการขนย้ายวัสดุ 1. การขนย้ายวัสดุจากที่สูงห้ามโยนหรือทิ้งลงมา 2. การยกสิ่งของที่มีน้ำ หนักมากกว่า 40 กก. ต้องใช้คนยก มากกว่า 2 คนหรือมีอุปกรณ์ ช่วยในการขนย้าย 3. ห้ามกองวัสดุหรือซ้อนวัสดุสูงเกินไปหรือไม่มั่นคงและไม่เรียบร้อย 4. การยกสิ่งของในแต่ละครั้ง ควรยกในท่าที่ถูกวิธี เพื่อป้องกัน อาการปวดหลัง ความปลอดภัยทั่วไป ในการทำ งาน (ต่อ) ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่ การยศาสตร์ ศาสตร์ ที่เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน หรือเป็นการปรับปรุงสภาพการ ทำ งานอย่างเป็นระบบ กฎหมายกำ หนดน้ำ หนักสำ หรับการยกสิ่งของ ดังนี้ ชาย ยกสิ่งของได้ น้ำ หนักไม่เกิน 50 กิโลกรัม หญิง ยกสิ่งของได้ น้ำ หนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม หมายเหตุ ในกรณีของหนักเกินอัตรากำ หนด ให้นายจ้างจัดให้มี/ ใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม และ ไม่เป็นอันตรายต่อลูกจ้าง


ความปลอดภัยทั่วไป ในการทำ งาน(ต่อ) ข้อปฏิบัติในการทำ งานกับเครื่องจักร 1.ศึกษาคู่มือหรือถามหัวหน้างานผู้ชำ นาญการก่อนใช้งานหรือควบคุมเครื่องจักร 2.ผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้นที่จะอนุญาตให้ทำ งานเกี่ยวกับเครื่องจักร 3.ตรวจสภาพเครื่องจักรให้เรียบร้อยก่อนเดินเครื่องทุกครั้ง 4.ถ้าพบเครื่องจักรชำ รุดหรือมีอาการผิดปกติต้องรีบแจ้งผู้รับผิดชอบหรือหัวหน้าทันที 5. ก่อนที่จะกดปุ่ม เริ่มสตาร์ท หรือหยุดเครื่องจักร ต้องกระทำ ด้วยความปลอดภัย โดยการตรวจดูให้มั่นใจว่า ไม่มีใครอยู่ใกล้บริเวณเครื่องจักรนั้น ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ความปลอดภัยทั่วไป ในการทำ งาน(ต่อ) ข้อปฏิบัติในการทำ งานกับเครื่องจักร(ต่อ) 6.ห้ามถอด ปรับ หรือเคลื่อนย้ายการ์ดป้องกันอันตรายทุกชนิด เว้นแต่ ได้รับอนุญาต และต้องติดตั้งให้เข้าที่ทุกครั้ง ก่อนเดินเครื่อง 7. ห้ามปรับแต่งเครื่องจักร ทำ ความสะอาด หรือกระทำ การใด ๆ ที่เสี่ยง ต่ออันตรายในขณะเครื่องจักรกำ ลังทำ งาน 8. จัดเก็บเศษวัสดุที่เกิดจากเครื่องจักรใส่ภาชนะให้เรียบร้อย 9. ห้ามสวมถุงมือผ้าทำ งาน กับงานที่ต้องการสัมผัสกับจุดหมุน เช่น เครื่องเจาะ เครื่องกลึง เป็นต้น 10. กรณีมีชิ้นโลหะ ให้ใช้แปรงทำ ความสะอาดเครื่องจักร ห้ามใช้ลมเป่า 11. ขณะซ่อมเครื่องจักรต้องแขวนป้ายเตือนและล็อคเครื่องจักรทุกครั้ง ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ความปลอดภัยทั่วไป ในการทำ งาน(ต่อ) ข้อปฏิบัติในการทำ งานกับเครื่องจักร(ต่อ) 12. ผู้ไม่มีหน้าที่ ห้ามซ่อมเครื่องจักร 13. อย่าปล่อยให้เครื่องจักรทำ งานโดยไม่มีผู้ดูแล 14. ห้ามฝ่าฝืนข้อปฏิบัติและคำ แนะนำ ต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามคู่มือ การทำ งานอย่างเคร่งครัด ตามขั้นตอนที่กำ หนดทุกขั้นตอน 15. ต้องแต่งกายให้รัดกุม ไม่ผูกเนคไท ใส่แหวน กำ ไล สร้อยข้อมือ สร้อยคอ 16. ห้ามยื่นอวัยวะใด ๆ หรือวัสดุอื่นใดเข้าไปในเครื่องจักรที่กำ ลังทำ งาน 17. ห้ามปีนป่าย เครื่องจักร หรืออยู่บนเครื่องจักรขณะเครื่องจักรกำ ลังทำ งาน ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


มือ : ใช่หรือไม่ ? ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


สีสัญลักษณ์ความปลอดภัย สีเพื่อความปลอดภัย ความหมาย ตัวอย่างการใช้งาน สีตัด สีแดง ห้าม 1) ห้ามสูบบุหรี่ 2) ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต 3) ห้ามทำ ให้เกิดประกายไฟ สีขาว ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


สีสัญลักษณ์ความปลอดภัย สีเพื่อความปลอดภัย ความหมาย ตัวอย่างการใช้งาน สีตัด สีน้ำ เงิน บังคับให้ต้องปฏิบัติ 1) สวมใส่รองเท้านิรภัย 2) สวมหน้ากากกันสารเคมี สีขาว ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


สีสัญลักษณ์ความปลอดภัย สีเพื่อความปลอดภัย ความหมาย ตัวอย่างการใช้งาน สีตัด สีเขียว แสดงภาวะความปลอดภัย 1) ทางหนีไฟ 2) ทางออกฉุกเฉิน 3) ฝักบัวชำ ระล้างฉุกเฉิน 4) หน่วยปฐมพยาบาล 5) หน่วยกู้ภัย 6) เครื่องหมายสารนิเทศแสดง ภาวะ สีขาว ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


สีสัญลักษณ์ความปลอดภัย สีเพื่อความปลอดภัย ความหมาย ตัวอย่างการใช้งาน สีตัด สีเหลือง ระวังมีอันตราย 1) ชี้บ่งว่ามีอันตราย เช่น ไฟ วัตถุระเบิด 2) ชี้บ่งถึงเขตอันตราย ทางผ่านที่มีอันตราย เครื่องกีดขวาง เครื่องหมายเตือน สีขาว ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ความปลอดภัยทั่วไป ในการทำ งาน(ต่อ) ข้อปฏิบัติในการทำ งานในสำ นักงาน 1.ควรนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงเพื่อป้องกันการเมื่อยล้าและนั่งตัวตรงพิงพนัก 2.เก้าอี้ควรเป็นแบบปรับระดับได้เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้ 3.ไม่ควรนั่งทำ งานอย่างต่อเนื่องควรมีการเปลี่ยนอริยาบถ เช่น ยืน เดิน 4.ไม่ควรจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ควรพักสายตาโดยการมอง ไปยังพื้นที่สีเขียวหรือที่ไกล ๆ ทุก 15 นาที 5.จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ เพื่อง่ายต่อการหยิบจับ 6.ควรมีการปรับแสงสว่างให้เหมาะสมกับการทำ งาน โดยเฉพาะการทำ งาน กับคอมพิวเตอร์ต้องใช้แสงสว่างค่อนข้างมาก 7.ห้ามสวมรองเท้าแตะ ควรสวมรองเท้าหุ้มส้น และแต่งกายให้รัดกุม เมื่อเดินออกไปในสายการผลิต ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ความปลอดภัย สำ หรับรัพนักนังานใหม่


ข้อปฏิบัติทั่วไปในสำ นักงาน ควรเดินชิดซ้าย ไม่ควรวิ่งในสำ นักงาน ไม่ควรยืนออ ที่บันได ชานบันได หรือบานประตูใกล้บันได ไม่ยืนหน้าประตู ในรัศมีที่บานประตูเปิด ไม่แบกของขึ้นบันได และของไม่ควรเกินระดับสายตา ถ้าพื้นร่อนหรือเปิดออก ให้ซ่อมแซมทันที การขึ้น-ลงบันได ควรจัดแถวเรียงหนึ่ง กรณีที่แสงไม่พอให้จับราวบันได ระวังอย่าให้พื้นลื่น ความปลอดภัยในสำ นักงาน ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ความปลอดภัยในสำ นักงาน ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ตู้เอกสาร ระวังอย่าให้นิ้วมือวางบนลิ้นชักขณะเปิดตู้และปิดทันทีเมื่อใช้เสร็จ ควรเปิดลิ้นชักตู้ทีละ 1 ช่อง ผู้ปฏิบัติงานเก็บเอกสารเข้าที่ ควรใส่ยางหุ้มนิ้วมือ เลือกซื้อตู้เอกสารที่ขนาดเหมาะกับผู้ใช้ และป้องกันการเปิด-ปิดค้างไว้ ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


ความปลอดภัย สำ หรับรัพนักนังานใหม่


ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 9 ประเภท ดังนี้ 1. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ 2. อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง 3. อุปกรณ์ป้องกันหู 4. อุปกรณ์ป้องกันมือ 5. อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา 6. อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ 7. อุปกรณ์ป้องกันเท้า 8. อุปกรณ์ป้องกันลำ ตัว 9. อุปกรณ์ป้องกันเฉพาะงาน ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


1.หมวกนิรภัย (SAFETY HAT OR HELMET) ประเภท A ใช้งานทั่วไป ป้องกันการกระแทกและสามารถ ต้านทานไฟฟ้าได้ประมาณ 2,000 VOLTS ประเภท B ใช้ทำ งานสาธารณูปโภค ป้องกันการกระแทก เช่นเดียวกับแบบ A แต่สามารถต้านทานไฟฟ้าได้ประมาณ 20,000 VOLTS ประเภท C ใช้ในงานขุดเจาะน้ำ มัน แก๊ส ป้องกันการกระแทก และการเจาะมักทำ ด้วยโลหะ ประเภท D ใช้กับงานดับเพลิงหรือผจญเพลิง 2.เครื่องป้องกันผม (HAIR PROTECTION) ใช้ป้องกันผมไม่ให้ถูกจับดึง โดยชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่กำ ลังเคลื่อนไหว หรือป้องกันฝุ่น “อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ” (HEAD PROTECTION) ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


“อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง” (FALL PROTECTION) การทำ งานบนที่สูงหรือทำ งานต่างระดับที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูง ตัวอย่าง เช่น งานก่อสร้าง งานสายส่ง งานบำ รุง รักษา และทำ ความสะอาด เป็นต้น งานที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูงหรือตกต่างระดับนี้ จำ เป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันตกจากที่ สูง(FULL HARNESS) ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


“อุปกรณ์ป้องกันหู” (EAR PROTECTION) 1.ปลั๊กอุดหู (EAR PLUG) สามารถลดเสียงได้ประมาณ 10 - 15 DB. เหมาะสำ หรับที่มีเสียงอยู่ระดับประมาณ 115 - 120 DB. และมีความถี่ต่ำ 2.ที่ครอบหู (EAR MUFF) สามารถลดเสียงได้ประมาณ 25 - 30 DB. เหมาะสำ หรับสถานที่มีเสียงประมาณ 130 - 135 DB. มีความถี่สูง ๆ ประโยชน์ของการใช้อุปกรณ์ป้องกันหู คือการช่วยไม่ให้การรับสัมผัสการได้ยินเสื่อม ก่อให้เกิด ปัญหาต่อการทำ งาน และการใช้ชีวิตประจำ วัน ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


“อุปกรณ์ป้องกันมือและแขน” (HAND AND ARM PROTECTIONS) การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในงานอุตสาหกรรม การบาดเจ็บที่มือและแขนคิดเป็น 25% ของการบาดเจ็บ ทั้งหมด ซึ่งอันตรายที่เกิดขึ้นนั้นมีทุกรูปแบบ ตั้งแต่ ถูกตัด ขีดข่วน ถูกสารเคมี ไฟฟ้าดูด ถูกความร้อนหรือ ไฟไหม้ การใช้ถุงมือนิรภัย จะช่วยลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


“อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา” (EYES AND FACE PROTECTIONS) 1.แว่นตานิรภัย (SPECTACLE) 2.แว่นครอบตา (GOGGLE) 3.หน้ากากป้องกันใบหน้า (FACE SHIELD) 4.หน้ากากเชื่อม (WELDING HELMETS) 5.ครอบป้องกันใบหน้า ประโยชน์ของการใช้อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานที่จะสามารถกระเด็นถูกใบหน้าและดวงตาก่อให้เกิดอันตราย ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


“อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ” (RESPIRATION PROTECTION) 1.อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจชนิดกรองอากาศ (AIR PURIFYING RESPIRATOR) 1.1 หน้ากากกรองอากาศ (FILTER MASK) 1.2 หน้ากากป้องกันแบบไส้กรองสารเคมี (CHEMICAL CARTRIDGE RESPIRATOR) 1.3 หน้ากากกรองแก๊ส (GAS MASK) 2.อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจชนิดหมุนเวียน 2.1 แบบมีถังอากาศ (SELF-CONTAINED BREATHING APPARATUS) 2.2 แบบท่ออากาศ (AIR LINE RESPIRATOR) ประโยชน์ของการสวมอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอม เช่นฝุ่นละออง สารเคมี เข้าทำ ลายระบบทางเดินหายใจ เพราะสิ่งเหล่านั้น อาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยหรือโรคระบบทางเดินหายใจขึ้นได้ ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


“อุปกรณ์ป้องกันเท้า” (FOOTS PROTECTION) อุปกรณ์ป้องกันเท้า มีไว้สำ หรับป้องกันส่วนของเท้า นิ้วเท้า เพื่อไม่ให้สัมผัสกับอันตรายจากการปฏิบัติงาน เช่น การตกกระแทก ทับหนีบ อัด ทิ่ม แทงจากวัตถุต่าง ๆ รวมทั้งป้องกันความร้อนและสารเคมี ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


“อุปกรณ์ป้องกันลำ ตัว” (BODY PROTECTION) 1.ชุดป้องกันสารเคมี 2.ชุดป้องกันความร้อน 3.ชุดป้องกันการติดไฟ 4.เสื้อคลุมตะกั่ว ประโยชน์ของการใช้อุปกรณ์ป้องกันลำ ตัว เพื่อป้องกันอันตรายจากสารเคมีที่อาจหกรดหรือ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมจากการทำ งานที่อาจกระเด็นถูกร่างกายได้รับอันตราย ความปลอดภัย สำ หรับ พนักงานใหม่


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.