โครงงานผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ Flipbook PDF


23 downloads 118 Views 4MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

รายงานโครงงานโดยใช้กระบวนการวัฏจักรการสืบเสาะของเด็กปฐมวัย เรื่อง ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ ปีการศึกษา 2565

โรงเรียนวัดจันทร์นอก สำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร

คำนำ โครงงานประเภททดลองและโครงงานประดิษฐ์ เรื่อง“ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ” เป็นการทดลอง ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 และอนุบาล 1 บางคน ร่วมศึกษาทดลอง โดยเด็กๆ ต้องการศึกษาและค้นคว้าหา คำตอบว่า พืชชนิดใดที่ให้สีบ้าง ทำอย่างไรจึงจะได้สีของพืชออกมา และสีของพืชนำมาย้อมผ้าได้หรือไม่ ซึ่งพืชที่ ให้สีมีหลายชนิด เช่นขมิ้นสีเหลือง ดอกดาวเรืองสีเหลือง ดอกคำฝอยสีเหลือง ดอกเก๊กฮวย ดอกกุกลาบสีแดง กระเจี๊ยบสีแดง เฟื่องฟ้าแดง ดอกอัญชันสีน้ำเงิน ใบเตยสีเขียว เป็นต้น ส่วนวิธีการนำสีของพืชต่างๆ ออกมานั้น มีอยู่หลายวิธีซึ่งการทดลองนี้เลือกวิธีขยำกับน้ำ การตำ และการปั่น การต้ม ซึ่งการปั่นจะให้สีออกมามาก แต่การ ตำจะทำให้ได้สีตรงกับสีจริงของดอกไม้มากกว่า ส่วนการขยำนั้นสีจะออกมาน้อย หลังจากได้น้ำสีของพืชแล้ว ก็นำมาเป็นสีสำหรับทำผ้ามัดย้อม โดยเด็กๆเลือกโหวตสีเหลืองจากขมิ้น และสีน้ำเงินจากดอกอัญชัน สีของขมิ้น ติดผ้าสีสดและชัดเจน ส่วนสีจากดอกอัญชัน จะได้สีไม่ค่อยชัดเจนและติดไม่ทน

สารบัญ เรื่อง คำขอบคุณ ชื่อโครงงาน ที่มาของโครงงาน สรุปคำถามที่เด็กสงสัยอยากรู้เกี่ยวกับสีจากธรรมชาติ คำถามที่ 1 ต้นไม้และดอกไม้อะไรที่ให้สีบ้าง วัตถุประสงค์ ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติ ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดและข้อสันนิษฐาน ขั้นที่ 3 ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย ขั้นที่ 5 บันทึกข้อมูล ขั้นที่ 6 สรุปและอภิปรายผล การพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย คำถามที่ 3 ทำอย่างไรจึงจะได้สีจากธรรมชาติ วัตถุประสงค์ ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติ ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดและข้อสันนิษฐาน ขั้นที่ 3 ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย ขั้นที่ 5 บันทึกข้อมูล ขั้นที่ 6 สรุปและอภิปรายผล การพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย คำถามที่ 5 เราเอาสีของขมิ้น และอัญชันที่ได้ไปย้อมผ้าได้หรือไม่ วัตถุประสงค์ ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติ ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดและข้อสันนิษฐาน ขั้นที่ 3 ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย ขั้นที่ 5 บันทึกข้อมูล ขั้นที่ 6 สรุปและอภิปรายผล การพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย

หน้า ก 1 1 2 3 3 3 3 5 6 7 7 7 9 9 9 9 10 13 13 13 13 15 15 15 15 16 21 21 21 21



คำขอบคุณ คณะผู้ศึกษาเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 ขอขอบคุณ คุณครูนันทณา ตุ้นทัพไทย คุณครูจันทัปปภา หวังห้องกลาง ที่กรุณาเป็นที่ปรึกษา ขอขอบคุณ พ่อ แม่ ผู้ปกครองทุกท่านที่ช่วยเหลือแนะนำ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสกัดสีจากธรรมชาติ จนโครงงาน เรื่องผ้ามัดย้อมจาก สีธรรมชาติ สำเร็จลุลว่ งไปได้ด้วยดี

คณะเด็กอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดจันทร์นอก



ชื่อโครงงาน ผู้จัดทำโครงงาน

ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดจันทร์นอก สำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ครูที่ปรึกษา นางสาวนันทณา ตุ้นทัพไทย นางสาวจันทัปปภา หวังห้องกลาง ระยะเวลาในการจัดทำ 3 สัปดาห์ วันที่ 5 - 23 ธ.ค. 2565 ที่มาของโครงงาน (วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2565) จากแผนการจัดการเรียนรู้หน่วย ไม้ดอกไม้ประดับ และจากการที่เด็กได้ สำรวจต้นไม้ ดอกไม้รอบๆ บริเวณโรงเรียนและรอบๆบ้านของตนเอง เด็กให้ความสนใจ เกี่ยวกับต้นไม้ ดอกไม้ชนิดต่างๆ หลังจากนั้นครูและ นักเรียนช่วยกันอภิปรายเกี่ยวกับต้นไม้ ดอกไม้ที่ได้ไปสำรวจ โดยการตั้งคำถามดังนี้ ครู : ต้นไม้ ดอกไม้ที่เด็กสังเกตมีสีอะไรบ้าง ณัฐภูมิ : ดอกเข็มมีสีแดงค่ะ สักชัย : ใบเตยสีเขียวครับครู มณินทร : ดอกกุกลาบมีสีชมพูครับ กันธิชา : ขมิ้นสีเหลืองค่ะ พิศุทธ์ : หนูเห็นที่ตลาดมีดอกอัญชันขายค่ะ สีน้ำเงิน ครู : เด็กๆ มีคำถามที่อยากรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับต้นไม้และดอกไม้บ้างไหม ศรัณญา : ครูคะ ใบไม้ ดอกไม้ที่เราเห็นให้สีอะไรบ้างคะ วันนั้นหนูไปตัดใบตองโดนเสื้อ ไม่เห็นจะเป็นสีเขียวเลยค่ะ (ครูบันทึกคำถามลงบนกระดาษชาร์ท) อนุภัทร : ที่บ้านค่ะ มีเฟื่องฟ้าสีชมพู ภคิณ : ครูคะดอกไม้ หรือใบไม้กินได้ไหมคะ(ครูบันทึกคำถามลงบนกระดาษชาร์ท) ดอกไม้ : เราจะทำอย่างไรจึงจะได้สีจากธรรมชาติคะ หนูอยากได้สีจากดอกไม้มันสวยดี (ครูบันทึกคำถามลงบนกระดาษชาร์ท) ณัฐภูมิ : เราเอาสีจากต้นไม้ ดอกไม้ไปย้อมผ้าไม้ได้ไหมครับครู เกา แทด เมียด : สีของดอกไม้เอามาทำอะไรได้บ้างครับ (ครูบันทึกคำถามลงบนกระดาษชาร์ท) ครู : เด็กๆ มีคำถามอะไรอีกไหมที่อยากรู้ เด็กตอบไม่มี ครูจึงสนทนาร่วมกับเด็ก และสรุปคำถามที่เด็กอยากรู้ โดยใช้ชาร์ทที่ครูจดบันทึก ซึ่งได้คำถามที่เด็ก อยากรู้ 5 คำถาม



สรุปคำถามที่เด็กๆสงสัยอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องสีจากธรรมชาติ จากการที่เด็กไปสำรวจต้นไม้ ดอกไม้ พืชในบริเวณโรงเรียนและนอกบริเวณโรงเรียน เด็กหลายคน สังเกตดอกไม้และพืชที่พบและชักชวนเด็กคนอื่นมาสังเกตด้วย เมื่อกลับเข้าห้องเรียนครูจึงสนทนาร่วมกับเด็ก ๆ และมีคำถามที่เด็ก ๆ สงสัยเกี่ยวกับสีของต้นไม้ ดอกไม้ 5 คำถาม ดังนี้ คำถามที่ ๑ ต้นไม้ ดอกไม้อะไรที่ให้สีบ้าง คำถามที่ ๒ ครูคะดอกไม้ หรือใบไม้กินได้ไหมคะ คำถามที่ 3 เราจะทำอย่างไรจึงจะได้สีจากต้นไม้และดอกไม้ คำถามที่ ๔ สีที่ได้เอามาทำอะไรได้บ้างคะ คำถามที่ 5 เราเอาสีของต้นไม้ ดอกไม้ไปย้อมผ้าไม้ได้ไหมครับครู จากการตั้งคำถามของเด็กสรุปจึงสรุปลงในแผนที่ความคิดได้ดังนี้

5.เราเอาสีของขมิ้น และอัญชันที่ได้ไปย้อมผ้า ไม้ได้หรือไม่

1.ต้นไม้และดอกไม้อะไรที่ให้สีบ้าง

ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ 4.สีที่ได้เอามาทำอะไร ได้บ้างคะ

3.เราจะทำอย่างไรจึงจะได้สีจากธรรมชาติ

2.ครูคะดอกไม้หรือใบไม้กนิ ได้ไหมคะ



คำถามที่ 1 ต้นไม้และดอกไม้อะไรที่ให้สีบ้าง จุดประสงค์ เพื่อศึกษาต้นไม้และดอกไม้ที่ให้สี ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ จากคำถามที่เด็กอยากรู้ ๕ คำถาม เด็กและครูสนทนาเพื่อเลือกคำถามที่จะนำมาสำรวจตรวจสอบ โดย การให้เหตุผลประกอบ ซึ่งเด็กเห็นว่า ต้องการเลือกคำถามที่ 1 คือ ต้นไม้ ดอกไม้อะไรที่ให้บ้าง เพราะจะได้รู้จัก ดอกไม้และพืช เด็กจะได้ไปสังเกตพืชที่อยู่ภายในและภายนอกบริเวณโรงเรียนรวมถึงที่บ้านของตนเองได้อีก โดยจะทำการสำรวจตรวจสอบ คำถามที่ 1 คือ “ต้นไม้ ดอกไม้อะไรที่ให้บ้าง” ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดและข้อสันนิษฐาน (วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2565) เด็กและครูสนทนาร่วมกัน โดยครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับชนิดและสีของ ดอกไม้หรือพืชที่เด็กๆ รู้จัก ครู : เด็กรู้จักดอกไม้อะไรบ้าง และมีลักษณะอย่างไร พิศุทธิ์ : ดอกกุหลาบสีแดงครับ คณิศ : ใบตำลึงสีเหลือง อนุภัทร : ดอกเข็มมีสีแดงครับ ศรัณญา : ฟักทองก็สีเหลืองค่ะ กันธิชา : ดอกเฟื่องฟ้ามีสีม่วง สีแดง แครอทให้สีส้มค่ะ มณินทร : ขมิ้นสีเหลือง ดอกทานตะวันสีเหลือง ณัฐภูมิ : อัญชันสีน้ำเงิน สักชัย : ใบเตยสีเขียว ใบไม้สีเขียว ต้นกล้วยในโรงเรียนเราก็มีสีเขียว ครูจึงชวนเด็ก ๆ สนทนาต่อเนื่องว่า นอกจากพืชทีเ่ ด็กรู้จักนี้ เด็กๆ คิดว่า ต้นไม้ ดอกไม้และพืชใดบ้างที่ ให้สีได้อีก และครูให้เด็กคาดคะเนคำตอบ จากนั้นครูและนักเรียนออกสำรวจภายในโรงเรียนและบริเวณชุมชน บ้านของนักเรียนและให้นักเรียนสอบถามจากผู้ปกครองแล้วทำใบงานสำรวจสีของพืชนั้นๆ



เด็กสังเกตดอกไม้ ต้นพืชที่อยู่ภายในบริเวณโรงเรียน และที่บ้าน



ขั้นที่ 3 ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ ครูสนทนากับเด็ก โดยใช้คำถาม “ เด็กๆ มีวิธีการหาคำตอบโดยวิธีใดบ้าง ถึงจะทราบว่า พืชชนิดใดให้สี ได้บ้าง” ณัฐภูมิ : ไปดูสวนดอกไม้หน้าบ้าน คณิศ : อินเทอร์เน็ตดูรูปภาพ มณินทร และกันธิชา : ถามแม่หนูเองค่ะ แล้วมาบอกเพื่อน สักชัย : จะเก็บดอกไม้มาให้ครูดูที่โรงเรียน ศรัณญา : นำมาระบายบนกระดาษสีขาวค่ะ ทุบๆหรือบดๆค่ะ ครูให้เด็กออกแบบวิธีบันทึกผลและนำเสนองาน โดยถามเด็กว่า “ เมื่อได้รับความรู้เรื่องดอกไม้หรือพืช ชนิดใดให้สีได้บ้าง แล้ว เด็กมีวิธีบันทึกผลอย่างไรบ้าง และจะนำงานไปให้คนอื่นมีความรู้ด้วยจะทำอย่างไร” กันธิชา อนุภัทร สักชัย พิศุทธิ์

: : : :

วาดรูประบายสีดอกไม้หรือพืชที่ให้สี เล่าให้ครูฟัง แล้วให้ครูเขียนตาม ติดใบไม้ ดอกไม้บนกระดาษแล้วนำมาเล่าให้เพื่อนฟังครับ ให้ผู้ปกครองเขียนชื่อชนิดของพืชให้แล้วนำมาขยี้บนกระดาษขาว

เด็กๆสรุปลงใบงานสำรวจสีของพืชและเสนอผลงานหน้าชั้นให้เพื่อนฟัง



ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย (วันที่ 8 ธันวาคม 2565) ๑. ครูให้เด็กที่ไปถามพ่อแม่ หรือมีเอกสารจากพ่อแม่มาเล่าให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน จากการที่เด็กไป ถามพ่อแม่ เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปได้ว่า ดอกไม้ที่ให้สีได้ คือ อัญชัน ดาวเรือง กุหลาบแดง กระเจี๊ยบ ดอกคำฝอย ดอกเฟื่องฟ้าเขียนบันทึกที่แผ่นชาร์ท ๒. เด็กและครูไปหาคำตอบโดยดูอินเตอร์เน็ต โดยมีคุณครูช่วยอ่านให้ฟัง เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปได้ว่า ดอกไม้ที่ให้สีได้ มีดังนี้ 1. สีเหลือง ได้แก่ ขมิ้น ดอกคำฝอย ดอกกรรณิการ์ ดอกเก๊กฮวย ดอกทานตะวัน 2. สีเขียว ได้แก่ ใบเตยและมีกลิ่นหอม ใบบัวบก 3. สีน้ำเงิน ได้แก่ ดอกอัญชัน 4. สีแดง ได้แก่ ดอกกุหลาบสีแดง ดอกชบาแดง กระเจี๊ยบ 5. สีเขียว ได้แก่ ส่วนของใบ เช่นใบเตย



ขั้นที่ 5 บันทึกข้อมูล เด็กบันทึกผลตามวิธีการที่ออกแบบไว้ คือ ระบายสีกระดาษด้วยต้นไม้ หรือดอกไม้ ที่ให้สี เล่าให้ครูฟัง แล้วให้ครูเขียนตาม เล่าให้เพื่อนฟัง เอางานไปโชว์หน้าห้องเรียน ขั้นที่ 6 สรุปและอภิปรายผล (วันที่ 9 ธันวาคม 2565) เด็กและครูร่วมสนทนาถึงคำถามที่เด็กอยากรู้ “ต้นไม้และดอกไม้อะไรที่ให้สีบ้าง” ครูให้เด็กทบทวนโดย การให้เด็กออกมาเล่าว่า “เด็ก ๆ หาคำตอบได้โดยวิธีการอย่างไร” และได้ผลการศึกษาอย่างไร โดยครูใช้ชาร์ท ประกอบการสนทนากับเด็ก ๆ ครู : จากการที่เด็ก ๆ หาคำตอบ ว่า “ต้นไม้และดอกไม้อะไรที่ให้สีบ้าง” สรุปว่า มีอะไรบ้างที่ให้สี เด็กๆ ตอบว่า มีหลายชนิด คือ สีเหลืองได้จาก ขมิ้น ดอกดาวเรือง ดอกคำฝอย ดอกกรรณิการ์ ดอกเก๊กฮวย สีน้ำเงิน ได้จากดอกอัญชัน สีแดงได้จาก กระเจี๊ยบ มะเขือเทศ ดอกกุหลาบสีแดง ดอกชบาแดง เด็กคาดคะเน คำตอบได้ตรงบ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด ครูจดคำพูดเด็กบนกระดาษชาร์ท เด็ก ๆ : คาดคะเนคำตอบได้ตรงกับผลที่ได้แต่ไม่หลากหลาย เพราะ ต้นไม้ ดอกไม้บางชนิดเด็กๆ ยังไม่ รู้จัก ดังนั้น ครูจึงให้เด็กๆ สรุปร่วมกันว่า ต้นไม้หรือดอกไม้ที่ให้สีมีหลากหลายชนิด ที่นิยมนำสีมาใช้คือ ขมิ้น ดอกคำฝอย ดอกกรรณิการ์ ดอกดาวเรือง ดอกเก๊กฮวย ใบเตย ใบบัวบก ดอกอัญชัน ดอกกุกลาบแดง กระเจี๊ยบ ใบเตย และไม่ใช่แค่ส่วนดอกอาจใช้ส่วนอื่นที่มีสีสันที่เราต้องการก็ได้ นอกจากนี้ ครูได้ถามเด็ก ๆ เพิ่มเติมว่า จากการที่พวกเราปฏิบัติกิจกรรมจนได้คำตอบว่า “ต้นไม้และ ดอกไม้อะไรที่ให้สีบ้าง” เด็ก ๆ ยังมีคำถามที่อยากรู้อีกหรือไม่ เด็ก ๆ หลายคนยกมือ ครูถามว่าอยากรู้อะไร ณัฐภูมิ : เราจะทำอย่างไรจึงจะได้สีของต้นไม้ ดอกไม้ออกมา ณัฐวุฒิ : ทำอย่างไรสีของดอกไม้จึงจะมีสีเข้มที่สุด ครู : ถ้าอย่างนั้นเด็กๆ ลองกลับไปดูที่บ้าน ว่าที่บ้านมีดอกไม้อะไรที่ให้สีบ้าง นำมาบอกครูและ เพื่อน และนำพืชชนิดนั้นมาด้วยนะคะ ในวันพรุ่งนี้ ส่วนครูจะไปดูทตี่ ลาด หรือร้านดอกว่ามีดอกไม้หรือชนิดใดให้ สีได้บ้าง การพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย 1. ผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน 4 ด้าน 1.1 ด้านการเรียนรู้ - เด็ก ๆ สามารถเล่า/บอก วิธีการหาคำตอบของตนเองได้ - เด็กได้เรียนรู้ดอกไม้ที่ให้สี 1.2 ด้านภาษา - เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาจากการสนทนาโต้ตอบแสดงความคิดเห็น - ทักษะด้านภาษาจากการพูด บรรยาย เล่า สิ่งที่สังเกต 1.3 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - เด็กเคารพกฎกติกาและปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน 1.4 ด้านการเคลื่อนไหวและทักษะการรับรู้ประสาทสัมผัส - เด็กเคลื่อนไหวหยิบจับ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว - เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตด้วยตัวเองจนได้ข้อมูลที่ชัดเจน



2. ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2.1 ทักษะการสังเกต - การบอกลักษณะสิ่งที่สังเกตด้วยประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น หยิบ จับ สัมผัส ดอกไม้หรือพืชที่ให้สีที่หลากหลาย 2.2 ทักษะการจำแนกประเภท - เปรียบเทียบสีของดอกไม้แต่ละชนิด - จำแนกดอกไม้หรือพืชที่ให้สีเดียวกันและให้สีต่างกัน - คาดคะเนกับผลการศึกษา 2.3 ทักษะการพยากรณ์หรือการคาดคะเนคำตอบ - เด็กสามารถคาดคะเนคำตอบที่คิดว่ามีดอกไม้อะไรบ้างที่ให้สี 2.4 ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล - เด็กสามารถสรุปผลสิ่งที่สังเกตโดยการวาดภาพระบายสี เล่าให้ครูฟัง นำเสนอหน้าชั้นเรียน ให้เพื่อน ๆ เข้าใจได้ 2.5 ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล - เด็กสามารถให้เหตุผลเพิ่มเติมโดยใช้ความคิดเห็นส่วนตัว และประสบการณ์เดิม แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้



คำถามที่ ๓ ทำอย่างไรจึงจะได้สีจากธรรมชาติ ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ จากการที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เรื่อง เราจะนำดอกไม้ที่มีสีต่างๆ ได้จากที่ไหนและได้คำตอบว่า ดอกไม้ที่มีสี ต่างๆ ได้จากการสำรวจภายในบริเวณโรงเรียน ภายนอกโรงเรียน ตลาด บ้านและ ห้างสรรพสินค้า และมีเด็ก บางคนคือ ด.ช. ภูวเดช เคยถามครูว่า จะทำอย่างไรจึงจะได้สีของดอกไม้ ครูจึงถามเด็ก ๆ ว่า มีใครอยากรู้อย่างอื่นอีกไหม นอกจากอยากรู้ว่าจะเอาสีของดอกไม้ออกมาได้อย่างไร ศรัณญา : หนูเคยเห็นแม่ปั่นผลไม้ค่ะ เอาดอกไม้มาปั่นค่ะ อนุภัทร : แม่เอาดอกอัญชันมาคั้นๆทำเป็นน้ำอัญชันสีม่วงๆค่ะ กันธิชา : แม่ค้าเอาใบเตยมาตำๆ ทำขนมค่ะ ดังนั้น ครูจึงชวนเด็กๆ ตกลงว่าจะช่วยกันทดลองหาวิธีการ เพื่อจะนำเอาสีจากต้นไม้ ดอกไม้และพืช ต่างๆ ออกมาให้เป็นน้ำสี จุดประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการสกัดสีจากต้นไม้ ดอกไม้ ให้ได้สีที่ดีที่สุด ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดและข้อสันนิษฐาน วันที่ 12 ธันวาคม 2565 เด็กและครูสนทนาร่วมกัน โดยครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับชนิดและสีของ ต้นไม้ ดอกไม้ที่เด็กๆ รู้จัก ครู : เด็กรู้จักต้นไม้ ดอกไม้สีอะไรบ้าง กันธิชา : ดอกกุหลาบสีแดงครับ ศรัณญา : ขมิ้นสีเหลือง มณินทร : ดอกเข็มมีสีแดงค่ะ สักชัย : ใบเตย ใบคะน้า มีสีเขียว อนุภัทร : กระหล่ำปลีม่วงมีสีม่วง คณิศ : อัญชันสีน้ำเงิน ครู : แล้วเด็กๆคิดว่าเราจะมีวิธีการใดบ้างที่จะได้สีของดอกไม้ ณัฐภูมิ : เอามาใส่ครกแล้วตำครับ กันธิชา : หนูว่าเอาขยำๆค่ะครู พิศุทธิ์ : เอามาต้มค่ะ สักชัย : เอามาปั่นครับครู ภคิน : ผมก็คิดเหมือนพีปามครับ ผมเคยเห็นแม่ปั่น ครู : เอาล่ะค่ะเราได้วิธีการสกัดสีของดอกไม้มาหลายวิธีเลย แล้วเด็กคิดว่าวิธีการใดจะได้สี เข้มที่สุดคะ ณัฐภูมิ : วิธีการตำครับครู สักชัย : ครูครับผมว่าปั่นครับผมเคยเห็นร้านเค้าปั่นผลไม้ พิศุทธิ์ : หนูว่าต้มครับครูจะได้สีเข้มๆ ดอกไม้ : หนูก็คิดเหมือนพี่เอเจค่ะ สักชัย : เอามาปั่นสีเข้มที่สุดครับครู อนุภัทร : ผมว่าปั่นเหมือนปามเข้มที่สุดครับ มณินทร : หนูก็ว่าปั่นค่ะสีเข้มกว่า

๑๐

ครู

: เด็กส่วนใหญ่คิดว่าการปั่น จะสามารถสกัดสีของดอกไม้ได้เข้มที่สุด งั้นเราลอง มาทำการทดลองกัน โดยการต้ม และปั่นนะคะ (ครูคอยบันทึก)

วันที่ 13 ธันวาคม 2565 ๒. ครูให้เด็กที่ไปถามพ่อแม่ผู้ปกครอง ย่า ยาย ผู้ปกครองบางคนมีเอกสารให้ลูกมาเล่าให้เพื่อนฟังหน้า ชั้นเรียน จากการที่เด็กไปถามพ่อแม่ เด็กๆ ร่วมกันสรุปได้ว่า จะได้สีของดอกไม้ต้องนำมาต้ม บีบ คั้น ปั่น โดยครู นำภาพมาติดและเขียนข้อความลงในชาร์ท ๓. เด็กและครูนำดอกไม้ พืช ที่ช่วยกันนำมารวมกัน แล้วสังเกตดอกไม้ต่างๆ เด็กแยกประเภทดอกไม้ที่ เหมือนกันอยู่ด้วยกัน แล้วเลือกพืชที่มีจำนวนมากเพียงพอ เพื่อนำมาสกัดเอาน้ำโดยวิธีการที่เด็กได้รู้มาจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ย่า ยาย และข้อมูลที่ค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต โดยครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กสั งเกตโดยใช้ประสาท สัมผัสต่าง ๆ พร้อมทั้งให้เด็กบรรยายสิ่งที่พบ เด็กและครูตกลงกันว่าจะเลือกดอกไม้ที่นำมามีจำนวนมาก เพียงพอมาสกัดสี ได้แก่ กุหลาบ อัญชัญ ดาวเรือง โดยเด็กและครูช่วยกันปฏิบัติกิจกรรมการทดลองสกัดสีของ ดอกไม้แต่ละชนิด ขั้นที่ 3 ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ ครูสนทนากับเด็ก โดยใช้คำถาม “ เด็กๆ มีวิธีการหาคำตอบโดยวิธีใดบ้าง ถึงจะทราบว่า ทำอย่างไรจึง จะได้สีของต้นไม้ ดอกไม้และพืชนั้นๆ” มณินทร : อินเทอร์เน็ตดูรูปภาพให้ครูอ่านให้ฟัง พิศุทธิ์ : ถามย่าครับ ให้ย่าบอกวิธี กันธิชา : ถามพ่อแม่ ผู้ปกครอง ณัฐภูมิ : จะนำดอกไม้มาทดลองแยกสีน้ำออกมา ครูสนทนากับเด็กต่อ โดยใช้คำถาม “ เด็กๆ จะเลือกต้นไม้ ดอกไม้ชนิดไหนมาทำการทดลองกันดีคะ ศรัณญา : ขมิ้นกับฟักทองค่ะครูสีเหลืองสวยดี ดอกไม้ : หนูว่าดอกกุหลาบสีแดงค่ะครูสีจะได้เข้มๆ ภคิน : ผมก็ว่าดอกกุหลาบสีแดง คณิศ : ผมว่าดอกอัญชันครับครู อนุภัทร : ผมว่าดอกดาวเรืองก็ดีนะครับ ณัฐภูมิ : ผมว่าดอกกุหลาบครับครูสีสวย มณินทร : หนูก็ว่าดอกเฟื่องฟ้าสีแดงค่ะ ที่หลังโรงเรียนเราสีสวยมากค่ะ ครูให้เด็กๆเลือกชนิดของต้นไม้ ดอกไม้ที่จะนำมาทดลอง 2 ชนิด โดยเลือกจากการยกมือเห็นด้วยมาก ที่สุด ผลปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่เลือกขมิ้นสีเหลือง และดอกอัญชัน จากนั้นเด็กช่วยกันนำดอกอัญชัน และขมิ้น มาจากบ้าน เมื่อน้ำขมิ้นและอัญชันมาแล้วครูให้เด็กช่วยกันบอกวิธีการเพื่อให้ได้ปริมาณสีที่เท่ากันโดยช่วยเด็กๆนำ ดอกอัญชัน และขมิ้น ที่ได้มาชั่งน้ำ และควบคุมปริมาณการใส่น้ำ หนักโดยมีครูคอยช่วยเหลือเพื่อ ให้ได้ปริมาณ เท่ากันก่อนน้ำมาขยำ ตำและปั่น ตามวิธีที่เลือกไว้

๑๑

คัดแยก เลือกต้นไม้ ดอกไม้ที่เด็กๆนำมาจากบ้าน และโหวตเลือกต้นไม้ ดอกไม้ที่นำมา โดยเลือกมา 5 ชนิด และโหวตวิธีการสกัดสีออกมา โดยเลือกขมิ้นมาปั่นแล้วกรองสีออก ส่วนอัญชันเลือกวิธีต้ม

๑๒

ครูให้เด็กออกแบบวิธีบันทึกผลและนำเสนองาน โดยถามเด็กว่า “ เมื่อได้รับความรู้เรื่องทำอย่างไรจึงจะ ได้สีของดอกไม้และพืช แล้ว เด็กมีวิธีบันทึกผลอย่างไรบ้าง และจะนำงานไปให้คนอื่นมีความรู้ด้วยจะทำอย่างไร” ศรัณญา : เล่าให้ครูฟัง แล้วให้ครูเขียนตาม พิศุทธิ์ : เล่าให้เพื่อนฟังครับ สักชัย : เอางานไปโชว์หน้าห้องเรียน ณัฐภูมิ : วาดรูประบายสีผลการทดลอง อนุภัทร : เอามาระบายสีในกระดาษครับ

เด็กๆเปรียบเทียบน้ำสีของดอกไม้จากการปั่น และต้ม ด้วยตาเปล่าและบันทึกผลด้วยการ วาดภาพระบายสี นำน้ำสีของขมิ้น และดอกอัญชันมาหยดสีลงบนระดาษกรองเพื่อ เปรียบเทียบสีว่าวิธีการใดให้สีที่เข้มที่สุด

๑๓

ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย (วันที่ 13 ธันวาคม 2565) จากการที่เด็กสอบถามผู้ปกครอง และเด็กๆสืบค้นจากอินเตอร์เน็ตโดยครูและผู้ปกครองเป็นคนอ่านให้ ฟัง เด็กๆร่วมกันสรุปได้ว่า ทำอย่างไรบ้างถึงจะได้สีของต้นไม้ หรือดอกไม้ออกมา 1. ใช้มือขยำให้ละเอียกเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำไปละลายน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำออกมา 2. นำไปตำในครกให้ละเอียดแล้วน้ำละลายในน้ำแล้วกรองเอาแต่น้ำออกมา 3. นำไปปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้าให้ละเอียด 4. นำมาต้มในน้ำร้อนจนเดือดจะได้น้ำสีออกมา 5. ดอกไม้บางชนิดต้องนำไปตากแห้ง แล้วนำมาต้มจึงจะได้สีออกมา ดังนั้นเด็กๆจึงเลือกวิธีการปั่นจาดเครื่องปั่นไฟฟ้า และการต้ม ขั้นที่ 5 บันทึกข้อมูล จากการสังเกตสีของขมิ้น และดอกอัญชันจากการด้วยตาเปล่าเด็กส่วนใหญ่บอกว่าการต้มสีจะจากกว่า การปั่นจะให้ได้สีที่เข้มที่สุดโดยเด็กใช้วิธีการบันทึกโดยการวาดภาพและระบายสีตามความเข้มของสีที่ได้ ขั้นที่ 6 สรุปและอภิปรายผล หลังจากนั้นครูได้นำกระดาษกรองมาให้เด็กๆหยดสีของน้ำขมิ้นที่ปั่น และดอกอัญชันที่ต้มลงไปบน กระดาษด้วยจำนวนหยดที่เท่ากันเป็นระยะจากหนึ่งหยด สองหยด สามหยดและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วสังเกตสี ที่ได้บนกระดาษเมื่อแห้งแล้วพบว่าการสีอัญชันที่ต้มเมื่อกระดาษแห้งสีจะจางกว่าสีของขมิ้นที่ปั่น ครูได้ถามเด็ก ๆ จากการที่พวกเราปฏิบัติกิจกรรมเด็กมีความสุขไหม สนุกสนานหรือเปล่า แล้วเด็ก ๆ อยากรู้ อยากทำอะไรอีกไหม กันธิชา : สีน้ำที่ได้จากขมิ้น และดอกอัญชันนี้ เอาไปทำอะไรได้บ้าง ณัฐภูมิ : สีที่ได้มาเอาไปย้อมผ้าได้ไหมครับ เหมือนในกิจกรรมที่เราเคยทดลองระบายสีกระดาษ ถ้าอย่างนั้น เด็ก ๆ กลับไปบ้านอย่าลืมไปถามคุณพ่อ คุณแม่ คุณย่า คุณยายนะคะว่า สีจากขมิ้น และ อัญชัน จะเอาไปทำอะไรได้บ้าง และใช้ย้อมผ้าได้หรือไม่ การพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย 1. ผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน 4 ด้าน 1.1. ด้านการเรียนรู้ - เด็กๆสามารถบอก เล่า ประสบการณ์เดิม และวิธีการหาคำตอบของตนเองได้ - เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีของดอกไม้ และวิธีการนำสีออกมาจากกลีบดอกไม้ 1.2. ด้านภาษา - เด็กมีพัฒนาการทางภาษาจากการสนทนาและการแสดงความคิดเห็น - ฝึกการฟัง การพูด การเล่า การบรรยาย การเล่าเรื่อง การตอบคำถามร่วมกับครูและ เพื่อน 1.3. ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเอง และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นได้ - เด็กเคารพกติกา และปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันได้

๑๔

1.4.

ด้านการเคลื่อนไหวและทักษะการรับรู้ประสาทสัมผัส - เด็กเคลื่อนไหว หยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ เช่นหยิบจับสัมผัสดอกไม้ ใบไม้ อุปกรณ์สำหรับ การทดลองได้อย่างคล่องแคล่ว - เด็กสามารถใข้ประสาทสัมผัสในการสังเกตด้วยตนเองจนได้ข้อมูลที่ชัดเจน 2. ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2.1 ทักษะการสังเกต - การบอกลักษณะสิ่งที่สังเกตด้วยประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น หยิบ จับ สัมผัส ดอกไม้หรือพืชที่ให้สีที่หลากหลาย 2.2 ทักษะการจำแนกประเภท - เปรียบเทียบสีของดอกไม้และพืชแต่ละชนิด - จำแนกดอกไม้หรือพืชที่ให้สีเดียวกันและให้สีต่างกัน - คาดคะเนกับผลการศึกษา 2.3 ทักษะการพยากรณ์หรือการคาดคะเนคำตอบ - เด็กสามารถคาดคะเนคำตอบที่คิดว่ามีดอกไม้และพืชอะไรบ้างที่ให้สี 2.4 ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล - เด็กสามารถสรุปผลสิ่งที่สังเกตโดยการวาดภาพระบายสี เล่าให้ครูฟัง นำเสนอหน้าชั้นเรียน ให้เพื่อน ๆ เข้าใจได้ 2.5 ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล - เด็กสามารถให้เหตุผลเพิ่มเติมโดยใช้ความคิดเห็นส่วนตัว และประสบการณ์เดิม แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้

๑๕

คำถามที่ 5 เราเอาสีของขมิ้น และอัญชันที่ได้ไปย้อมผ้าได้หรือไม่ เริ่มต้นโครงงาน (วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565) ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ จากการที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เรื่อง ทำอย่างไรจึงจะได้สีของต้นไม้ ดอกไม้ พืชต่างๆออกมา และวิธีการใดทำ ให้ได้สีของต้นไม้ ดอกไม้ออกมาเข้มที่สุด เด็กๆได้ทำการทดลองโดยเลือกวิธีการ วิธีการปั่น และต้ม นั้นทำให้ได้ น้ำสีของดอกไม้ออกมา ครูจึงถามเด็ก ๆ ว่า มีใครอยากรู้อย่างอื่นอีกไหม นอกจากอยากรู้ว่าจะเอาสีของพืชที่ ออกมาได้อย่างไร และจากการทดลองนี้ เด็กชายณัฐภูมิ ถามว่าเราสามารถนำสีของขมิ้นที่ปั่น และอัญชันที่ต้ม มาย้อมผ้าได้ไหม ครู : สีที่ได้จากขมิ้น และอัญชัน ที่เด็กๆสังเกตมีลักษณะอย่างไร สักชัย

: สีขมิ้นเหลืองสด และสวยด้วยครับ

คณิศ

: สีของขมิ้นมีลักษณะเป็นน้ำข้นๆครับ

ครู : จากที่มีเพื่อนถามว่า น้ำสีที่ได้จากดอกอัญชัน และขมิ้นสามารถนำมาย้อมผ้าได้ หรือไม่ เด็ก ๆ ได้สอบถามผู้ปกครองมาว่าอย่างไรบ้างคะ อนุภัทร

: ย่าบอกว่าได้ครับ ย่าเคยย้อมผ้า

กันธิชา

: ได้คะ่ แม่บอก

มณินทร

: ได้ค่ะ เหมือนเราหยดใส่กระดาษค่ะครู

ภคิน

:

ผมว่าไม่ได้ครับ สีมันไม่เข้มเหมือนสีโปสเตอร์

ดังนั้นครูจึงชวนเด็กๆ ทดลองนำน้ำสีของดอกอัญชัน และขมิ้นมาย้อมผ้า โดยให้เด็กๆกลับไปสอบถาม ผู้ปกครองถึงวิธีการย้อมผ้ามานะคะ จุดประสงค์ เพื่อศึกษาว่าสีที่ได้จากดอกไม้สามารถนำมาย้อมผ้าได้หรือไม่ ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อคิดและข้อสันนิษฐาน (วันที่ 20 ธันวาคม 2565) จากการที่เด็กไปสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครอง การค้นอินเตอร์เน็ต และการไปเวิร์คช็อปการทำผ้ามัด ย้อมของครู ดังนี้ ครู : แล้วเด็กๆคิดว่าเราจะมีวิธีการย้อมผ้าอย่างไรคะ อนุภัทร

: ถามวิธีย้อมจากย่าครับ ย่าบอกเอาไปต้มให้เดือดครับ

ดอกไม้

: แม่บอกว่าต้องใช้ผ้าสีขาวค่ะครู

คณิศ

: ผมดูจากยูทูปครับครู ไม่ต้องต้มผ้า แต่ต้มน้ำสีก่อนครับ

ณัฐภูมิ

: ต้มน้ำสีก่อนเหมือนไลอ้อนครับ แต่ใส่เกลือด้วยนะครับแม่บอก

ครู

: งั้นเรามาทดลองกัน ให้เด็กๆนำผ้า และอุปกรณ์มาจากบ้านนะคะ

๑๖

ขั้นที่ 3 ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ ครูสนทนากับเด็ก โดยใช้คำถาม “ เด็กๆ มีวิธีการหาคำตอบโดยวิธีใดบ้าง ถึงจะทราบว่า ทำอย่างไรจึง จะได้สีของดอกไม้และพืช” คณิศ : อินเทอร์เน็ตดูรูปภาพให้พ่ออ่านให้ฟัง อนุภัทร

:

ถามย่าครับ ให้ย่าบอกวิธี

พิศุทธิ์

:

ถามพ่อแม่ ผู้ปกครอง

ศรัณญา

:

ดูจากยูทูป

หลังจากดูยูทูป และสอบถามวิธีการทำผ้ามัดย้อมแล้ว และทุกคนเตรียมอุปกรณ์ในการทำมาจากบ้านแล้ว ครูและเด็กช่วยกันเตรียมการทำผ้ามัดย้อมเป็นขั้นตอนดังนี้ 1. ครูพาเด็กๆ ทุกคนมาเตรียมผ้าโดยใช้หนังยางรัดแกง และไม้ไอศกรีมรัดผ้าเพื่อให้ผ้าเกิดลวดลายต่างๆ

ครูและเด็กร่วมกันดูวิธีการย้อมผ้า ทำผ้ามัดย้อมจากยูธูป จากนั้นนำผ้าที่จะมัดย้อมมัดกับไม้ไอศกรีม เพื่อทำลายผ้ามัดย้อม ตามที่ได้ดูมาเพื่อให้ผ้าเกิดลวดลาย

๑๗

วันที่ 21 ธันวาคม 2565 2. นำน้ำสีที่ได้จากขมิ้นและดอกอัญชันมาต้มจนเดือด ผสมเกลือเล็กน้อย จากนั้นพักไว้

3. นำผ้าที่มัดแล้วจุ่มลงในน้ำเกลือที่เตรียมไว้ โดยแช่ผ้าลงในน้ำสีให้ท่วมผ้า ทิ้งไว้ประมาน 15 นาที

๑๘

4. นำผ้าที่มัดแล้วจุ่มลงในน้ำสีที่เตรียมไว้ โดยแช่ผ้าลงในน้ำสีให้ท่วมผ้า ทิ้งไว้ประมาน 1 ชั่วโมง

๑๙

5. นำผ้าที่จุ่มสีแล้วใส่ถุง แล้วนำเข้าช่องฟิตเพื่อให้สีเซ็ตตัว

6. นำผ้าออกมาจากตู้เย็น ตัดยางรัดแกง นำไม้ไอศกรีมออก ล้างน้ำสีออก แล้วผึ่งให้แห้ง จะได้ผ้ามัด ย้อมที่มีลวดลายสวยงาม

๒๐

7. นำผ้าที่ล้างสีและซักน้ำเปล่าจนสีหลุดออกหมดไปตาก จะได้ผ้ามัดย้อมที่มีลวดลายที่สวยงาม

๒๑

ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย จากการทำผ้ามัดย้อมจากสีของขมิ้น และดอกอัญชัน ปรากฏว่าสีเหลืองของขมิ้นติดผ้าที่นำมาย้อมได้ดี สีสดใส เกิดลวดลายชัดเจน และสีของดอกอัญชันก็สามารถย้อมผ้าได้เช่นกัน แต่สีจะอ่อนกว่าสีของขมิ้น แต่ก็ สามารถย้อมผ้าได้จริง แต่ได้สีที่ไม่สด และเข้มมาก สีที่ได้ติดแต่ไม่ทนเท่าไร และให้ลายที่ไม่ชัดเจน ขั้นที่ 5 บันทึกข้อมูล สีเหลืองที่ได้จากขมิ้นเมื่อนำมาต้มและเคี่ยวจะยิ่งข้นและสีเข้มข้น เมื่อนำผ้ามัดลงไปย้อมจะซึมเข้าในผ้า ได้ดี เมื่อนำขึ้นมาล้างออกสีก็ยังคงสดและติดทน สีสันสดใส ให้ลวดลายที่ชัดเจน สามารถย้อมผ้าออกมาได้ สวยงาม สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เมื่อต้มและเคีย่ วให้ข้น จากนั้นนำผ้ามาย้อมสีซึมเข้าผ้าได้ดีเช่นกัน แต่เมื่อนำมา ล้าง สีก็ออกไปด้วย ทำให้ผ้าที่ย้อมลวดลายไม่ชัดเจน สีไม่สดใส

ขั้นที่ 6 สรุปและอภิปรายผล สีเหลืองจากขมิ้น และสีน้ำเงินจากดอกอัญชัน สามารภนำมาย้อมผ้าได้ทั้งคู่ แต่สีเหลืองจากขมิ้นนั้นจะ ให้สีสดและติดเนื้อผ้ามากกว่า เพราะมีลักษณะเหนียวๆ มีน้ำมันออกมา เนื้อสีเข้มข้น ส่วนสีน้ำเงินจากดอก อัญชันจะไม่มียางหรือน้ำมันออกมา ทำให้สีติดเนื้อผ้าได้ไม่ชัดเจน เมื่อซักน้ำสีก็หลุดออกมาด้วยทำให้สีที่ผ้ามี ลักษณะจาง ไม่สด จึงเกิดลวดลายไม่ชัดเจน การพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย 1. ผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน 4 ด้าน 1.1. ด้านการเรียนรู้ - เด็กๆสามารถบอก เล่า ประสบการณ์เดิม และวิธีการหาคำตอบของตนเองได้ - เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีของดอกไม้ และวิธีการทำผ้ามัดย้อม - เกิดความคิดสร้างสรรค์ เช่นการมัดลายผ้ามัดย้อม 1.2. ด้านภาษา - เด็กมีพัฒนาการทางภาษาจากการสนทนาและการแสดงความคิดเห็น - ฝึกการฟัง การพูด การเล่า การบรรยาย การเล่าเรื่อง การตอบคำถามร่วมกับครู และเพื่อน 1.3. ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเอง และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นได้

๒๒

- เด็กเคารพกติกา และปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันได้ 1.4. ด้านการเคลื่อนไหวและทักษะการรับรู้ประสาทสัมผัส - เด็กเคลื่อนไหว หยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ เช่นหยิบจับผ้า และอุปกรณ์ในการทำผ้ามัดย้อม - เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตด้วยตนเองจนได้ข้อมูลที่ชัดเจน 2. ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2.1 ทักษะการสังเกต - การบอกลักษณะสิ่งที่สังเกตด้วยประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น หยิบ จับ สัมผัส อุปกรณ์ การสังเกตลวดลายของผ้า การสังเกตสีในการย้อมผ้า 2.2 ทักษะการจำแนกประเภท - เปรียบเทียบสีของดอกไม้ - การรู้จักการเรียงลำดับขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อม 2.3 ทักษะการพยากรณ์หรือการคาดคะเนคำตอบ - เด็กสามารถคาดคะเนคำตอบที่คิดว่าสีของดอกไม้จะสามารถย้อมสีผ้าได้หรือไม่ 2.4 ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล - เด็กสามารถบอกและทำตามขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมได้ 2.5 ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล - เด็กสามารถให้เหตุผลเพิ่มเติมโดยใช้ความคิดเห็นส่วนตัว และประสบการณ์เดิม แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.