ISเรา5คนต้องสู้ต่อไป-2-2 Flipbook PDF


98 downloads 103 Views 506KB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

โครงงานการศึกษาถ่านจากผักตบชวา จัดทำโดย นายฐิติพงษ์ โสพิน นางสาวชาริสา ดอกเทียน นางสาวณัฐกีรฏา สุนันทนาสุข นางสาวปัณฑิตา ปรางบาง

เลขที่ 5 เลขที่ 27 เลขที่ 28 เลขที่ 29

นางสาวภัทราภรณ์ น่วมเปรม

เลขที่ 30

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 เสนอ คุณครูอารยา บัววัฒน์

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ รหัสวิชา I30202 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒

บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง ถ่านจากผักตบชวา มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อนำผักตบชวามาใช้ให้เกิด ประโยชน์ (2) เพื่อลดจำนวนผักตบชวาในแม่น้ำ (3) เพื่อลดอัตราการตัดต้นไม้มาทำฟืน (4) เพื่อให้การไหลเวียนของน้ำในแม่น้ำลำคลองไหลต่อเนื่องไม่ค้างเน่าเสีย (5) เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการ ซื้อเชื้อเพลิง (6) เพื่อลดโลกร้อนจากการตัดต้นไม้ ในการทำถ่านจากผักตบชวา คณะผู้จัดทำได้ใช้ อุปกรณ์ในการทำโดยประกอบด้วย (1) ผักตบชวาตากแห้ง (2) ผงถ่าน (3) มีดหรือกรรไกร (4)ท่ออัดถ่าน (5) แป้ง โดยมีวิธีการทำดังนี้ (1) เก็บ ผักตบชวาในแม่น้ำลำคลอง (2) นำผักตบชวาที่เก็บได้มาตากแห้ง (3) นำผักตบชวาที่แห้งแล้วมาบดให้ ละเอียด (4) นำถ่านมาทำให้เป็นผงหรือทำให้ละเอียดมากที่สุด (5) ผสมผักตบชวากับถ่านให้เท่ากัน (6) ใส่แป้งมันตามลงไปพอประมาณและผสมให้เข้ากัน (8) เทน้ำลงไปและคนให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน (9) เมื่อผสมเข้ากันแล้วจึงนำมาอัดเป็นก้อนและนำไปตากแห้ง (10)เมื่อถ่านแห้งได้ที่แล้วจึงนำมาใส่ลง บรรจุภัณฑ์ จากการศึกษารวบรวมข้อมูล ส่วนผสมต่างๆ และวิธีการทำ รวมถึงความเป็นมาของ วัตถุดิบที่ใช้ พบว่า ถ่านจากผักตบชวานำมาใช้ได้จริงและผลลัพธ์ หลังจากใช้ถ่านจากผักตบชวาจุดไฟ แล้ว เทียบเท่ากับการทำงานของถ่านที่ทำมาจากไม้

กิตติกรรมประกาศ โครงงานวิจัยฉบับนี้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างยิ่งจากคุณครูอารยา บัววัฒน์ คุณครูที่ปรึกษา ที่ได้ให้คำแนะนำปรึกษา และให้ข้อมูลต่างๆ ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณคุณครู โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ที่ได้ให้คำแนะนำตลอดจน ตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย อนึ่ง ผู้วิจัยหวังว่า งานวิจัยฉบับนี้จะมีประโยชน์อยู่ไม่น้อย จึงขอมอบส่วนดีทั้งหมดนี้ให้แก่ เหล่าอาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาจนทำให้ผลงานวิจัยเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องและขอมอบ ความกตัญญูกตเวทิตาคุณแด่บิดา มารดา และผู้มีพระคุณทุกท่าน ตลอดจนเพื่อนๆ ที่คอยให้ความ ช่วยเหลือและกำลังใจตลอดมา

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ หน้า บทคัดย่อ............................................................................................................................................ ก กิตติกรรมประกาศ............................................................................................................................. ข สารบัญสาร........................................................................................................................................ ค สำรบัญตาราง..................................................................................................................................... ง สารบัญภาพ.................................................................................................................... .................... จ บทที่ 1 บทนำ................................................................................................................................. 1-2 ที่มาและความสำคัญ.......................................................................................................................... 1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา................................................................................................................ 1 ขอบเขตของการศึกษา....................................................................................................................... 1 สมมติฐานของการศึกษา.................................................................................................................... 1 ตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า........................................................................................................................ 2 บทที2่ เอกสารที่เกี่ยวข้อง……..........................................................................................................3-8 บทที่3 วิธีการดำเนินการ................................................................................................................9-14 บทที่4 การวิเคราะห์ข้อมูล...........................................................................................................15-17 บทที่5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ………………...........................................................18 บรรณานุกรม.....................................................................................................................................19 ภาคผนวก……………………………………………………………………………………………………………………...20-21

สารบัญตาราง หน้า ตารางที1่ ลักษณะทางกายภาพของถ่านจากผักตบชวา.....................................................................14 ตารางที่2ประสิทธิภาพถ่านจากผักตบชวา........................................................................................14 ตารางที่3ระดับความพึงพอใจประสิทธิภาพของถ่านจากผักตบชวา..................................................14 ตารางที่4แสดงข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม....................................................................16-17

สารบัญรูปภาพ หน้า ภาพที1่ แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 1...............................................................................................................................................................................20 ภาพที่ 2 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 2 ..........................................................................................................................................................................20 ภาพที่ 3 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 3............................................................................................................................................................................20 ภาพที่ 4 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 4............................................................................................................................................................................21 ภาพที่ 5 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 5............................................................................................................................................................................21 ภาพที่ 6 แสดงภาพสำเร็จของถ่านจากผักตบชวา..........................................................................................................................................21

บทที่ 1 บทนำ 1.1 ทีม่ าและความสำคัญของโครงงาน ปัจจุบันประสบปัญหาผักตบชวาเต็มแม่น้ำลำคลองและวิกฤตด้านพลังงานได้ทวีความรุนแรง ขึ้น ในประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงานเนื่องจากไม่มีแหล่งพลังงานเพียงพอต่อ ความต้องการ ซึ่งหากมองในระดับชุมชนพบว่าชุมชนกำลังประสบปัญหาภาวะเช่นเดียวกัน เช่น โดย กิจกรรมในครัวเรือนของคนในชุมชนส่วนใหญ่คือถ่านลไม้ซึ่งได้มาจากการตัดไม้ทำลายป่า การหา แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงอย่างอื่นมาทดแทนถ่านหรือไม้เป็นอีกแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาการตัดไม้ ทำลายป่า ดังนั้นจึงมีแนวคิดในการนำผักตบชวามาผลิตเป็นเชื้อเพลิง เนื่องด้วยพื้นที่แหล่งน้ำต่างๆมี ผักตบชวาจำนวนมาก ทำให้เต็มไปด้วยผักตบชวาซึ่งทำให้ก่อเกิดปัญหาต่างๆ วัสดุที่ใช้ในการทำถ่านคือผักตบชวา โดยใข้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสานที่อัตราส่วน ต่างกัน แล้วนำมาอัดเป็นแท่ง จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผักตบชวาสามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง เขียวได้เป็นอย่างดี

1.2 วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1.2.1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพถ่ายจากผักตบชวากับถ่านจากไม้ 1.2.2 เพื่อประหยัดทุนในการซื้อ 1.2.3 เพื่อนำผักตบชวาในแม่น้ำจำนวนมากมาใช้ประโยชน์สูงสุด 1.2.4 เพื่อนำประโยชน์จากวัชพืชน้ำมาใช้ทดแทนการตัดไม้มาทำถ่าน 1.2.5 เพื่อลดการตัดไม้เเละโลกร้อน

1.3 ขอบเขตของการศึกษา 1.3.1 นำวัชพืชน้ำมาใช้ประโยชน์ 1.3.2 ประสิทธิภาพของถ่านจากผักตบชวา 1.3.3 ความสะดวกในการใช้งาน 1.3.4 ความพึงพอใจในกลิ่นเเละควัน

1.4 สมมุติฐานของการศึกษา 1.4.1 ประสิทธิภาพของถ่านจากผักตบชวาดีเยี่ยม 1.4.2 สามารถนำถ่านจากผักตอบชวามาทดแทนถ่านจากไม้ได้ 1.4.3 ถ่านจากผักตบชวามีกลิ่นที่ไม่แรงเเละไม่เป็นมลพิษต่ออากาศ 1.4.4 ถ่านจากผักตบชวาใช้ต้นทุนในการลงทุนไม่มาก

1.5 ตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า 1.5.1 ตัวแปรต้น - ผงถ่าน แป้งมันและผักตบชวา 1.5.2 ตัวแปรตาม - ถ่านจากผักตบชวาที่เป็นแท่ง 1.5.3 ตัวแปรควบคุม - ปริมาณของผักตบชวาผงถ่านและแป้งมัน

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัย ในปัจจุบันถ่านไม้ได้มีการใช้อย่างเเพร่หลายในหลายๆกลุ่มเช่น กลุ่มพ่อค้าเเม่ค้า กลุ่ม อุตสาหกรรม กลุ่มครัวเรือน กลุ่มเกษตรกร จึงทำให้เกิดบริษัทที่ผลิตเกี่ยวกับถ่านไม้มากขึ้น รวมไปถึง ได้พัฒนาคุณภาพของถ่านไม้ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่กลับละเลย เรื่องผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม โดยส่วนผสมส่วนมากมาจากไม้ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม คณะผู้จัดทำจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับถ่านที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติและปลอยภัยต่อธรรมชาติ เเละสิ่งเเวดล้อม คือ ผักตบชวา แป้งมัน ถ่านไม้ น้ำ โดยผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่ เกีย่ วข้องเพื่อเป็นพื้นฐานและสนับสนุนแนวคิดในการทำโครงงานดังนี้ หัวข้อที่ศึกษามีดังนี้ 1. ผักตบชวา 2. แป้งมัน 3. ถ่านไม้

ผักตบชวา 1) ลักษณะของผักตบชวา https://th.m.wikipedia.org/wiki/ผักตบชวา (2565) ผักตบชวา เป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู สามารถอยู่ได้ทุกสภาพน้ำ มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ มีดอก สีม่วงอ่อน คล้ายช่อดอกกล้วยไม้ และแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงในแหล่งน้ำทั่วไป มี ชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นดังนี้: ผักปอด, สวะ, ผักโรค, ผักตบชวา, ผักยะวา, ผักอีโยก, ผักป่อง 2) ประโยชน์ของผักตบชวา http://www.klonghaecity.go.th/networknews/detail/166835/data.html (2563) 2.1 ผักตบชวาในส่วนของลำต้นมีรสจืดมีสรรพคุณช่วยแก้พิษหรือขับพิษภายในร่างกาย ได้ ช่วยขับ ลม และรักษาแผลอักเสบด้วยการนำมาตำพอแหลกแล้วใช้ทาหรือพอกบริเวณแผล 2.2 ผักตบชวามีคุณสมบัติที่ช่วยระบายความร้อนในร่างกาย 2.3 ผักตบชวาเป็นยาตามหมอแผนโบราณใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเข่า ปวดข้อได้ เป็นอย่าง ดี โดยมีวิธีการใช้ผักตบชวาสะอาดมาล้าง หั่นเป็นชิ้นเล็ก ตากจนแห้งบดเป็นผง นำมาละลายกับน้ำให้ ข้นนิดหน่อย พอกตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีอาการปวด เช่น หัวเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อมือ ฯลฯ มีสรรพคุณลดอาการปวด ระบายลมที่คั่งค้างตามข้อได้ดี 2.4 ผักตบชวาประกอบด้วยสารอาหารทางโภชนาการที่มีประโยชน์และร่างกาย ต้องการ ได้แก่ พลังงาน น้ำ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และใยอาหาร 2.5 ผักตบชวาเป็นอาหารที่รสชาติอร่อยและมีคุณค่าทางสารอาหาร โดยส่วนที่นิยมนำมากิน คือ ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อน ซึ่งจะลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริก ใส่ลงในแกงอย่างแกง ส้มก็ได้ และยังพบว่าในประเทศญี่ปุ่นก็ชอบกินผักตบชวาเป็นอาหาร แต่ต้องมาจากสภาพแวดล้อมที่ดี 2.6 ผักตบชวามีประโยชน์ในการช่วยเพาะเห็ด เพราะผักตบชวามีคุณสมบัติช่วยให้ความชุ่ม ชื้นได้ดี เพียงนำผักตบชวาที่ตากแดดแห้งแล้วมาใช้เพาะเห็ดแทนฟางข้าวได้ ช่วยให้เราได้กินเห็ดที่มีประโยชน์ และผู้ผลิตก็มีรายได้ด้วย 2.7 ผักตบชวามีประโยชน์ใช้เป็นอาหารสัตว์ ผักตบชวามีสารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ตอ่ คนเราแล้ว ยังมีปประโยชน์ใช้เป็นอาหารของสัตว์ได้ อาทิ หมู ไก่ วัว ควาย แกะ หรือแพะ อย่างไรก็ดี ควรระวังผักตบชวาที่มาจากแหล่งน้ำสกปรกมีมลพิษ เพราะหากสัตว์บางชนิดกินเข้าไปก็อาจเกิดการ สะสมของสารพิษได้ 2.8 ผักตบชวาสามารถนำมาแปรรูปเป็นเครื่องใช้ต่างๆอย่างเครื่องจักสาน เปลญวน รองเท้า แตะ เสื่อ กระเป๋า ตะกร้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในด้านเชื้อเพลิงโดยใช้ผสมกับแกลบอัด

เป็นแท่งเชื้อเพลิง 3) ชนิดพันธุ์ของผักตบชวา https://th.m.wikipedia.org/wiki/ผักตบชวา (2565) ผักตบชวาจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาแพร่ระบาดรุกรานจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ ในประเทศไทย มีการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ใน 1 เดือนผักตบชวาเพียง 1 ต้นอาจขยายพันธุ์ได้ มากถึง 1,000 ต้น ถึงแม้น้ำจะแห้งจนต้นตายแต่เมล็ดของมันก็ยังมีชีวิตต่อไปได้นานถึง 15 ปีและ ทันทีที่เมล็ดได้รับน้ำที่เพียงพอมันก็จะแตกหน่อเป็นต้นใหม่ต่อไป จนกลายเป็นปัญหาทางน้ำและทวี ความรุนแรงจนเป็นปัญหาระดับประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการกำจัดผักตบชวา จำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น อีกกว่า 50 ประเทศทั่วโลกก็เจอปัญหาเช่นเดียวกัน เว้นแต่ประเทศในแถบยุโรปเท่านั้นที่ปลอดการรบกวน และบริเวณที่ถูกผักตบชวาคุกคามมากที่สุดคือ ทะเลสาบวิกตอเรีย ประเทศไทยเริ่มมีการกำจัดผักตบชวามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 มีการออกพระราชบัญญัติ สำหรับกำจัดผักตบชวา พ.ศ. 2456ปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้เข้ามาช่วยเหลือในการ กำจัด เช่น นำไปผลิตเป็นของใช้ อาหารสัตว์ ทำปุ๋ย ฯลฯ และมีการนำแมลงมวนผักตบจาก แหล่งกำเนิดที่ทวีปอเมริกาใต้ เข้ามาทดลองปล่อยในประเทศไทย เพื่อควบคุมจำนวนประชากรของ ผักตบชวา ผักตบชวาเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะช่วงฤดูฝนจึงมีปริมาณมากในช่วงนั้น สารเคมีที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น ผงซักฟอก ปุ๋ย เป็นธาตุอาหารของพืชน้ำโดยเฉพาะ ผักตบชวาเป็นอย่างดี แพผักตบชวาจะกีดขวางการเดินทางของน้ำ อัตราการไหลของน้ำจึงลดลง กีด ขวางการระบายน้ำของประตูน้ำ อีกทั้งยังทำให้ระบบนิเวศเสียหาย แม้ผักตบชวาจะสามารถดูดซึม ธาตุอาหารที่เป็นตัวการทำให้น้ำเสีย แต่เมื่อมีปริมาณมากเกินไปจะส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ กล่าวคือ สัตว์ใต้น้ำจะขาดออกซิเจนและตายลง รวมถึงการบดบังแสงแดดที่เป็นส่วนหนึ่งของการ สังเคราะห์แสงของพืชใต้น้ำจะทำให้พืชเหล่านั้นเน่าและตายไป ดังนั้นจึงเกิดน้ำเน่าเสียอย่างง่ายดาย แป้งมัน 1) ลักษณะของแป้งมัน http://www.flavorseasoning.com/vip/knowledge-detail.php?id=3301(2559) เป็นผงสีขาว เนื้อแป้งมีความละเอียด ลื่นมือ เมื่อถูกทำให้สุกแล้วตัวแป้งจะเหนียวหนืด มีสีใส 2) สรรพคุณของแป้งมัน https://www.ubonbioethanol.com/en/updates/company-news/317/(2559) ประโยชน์ของมันสำปะหลัง ทำให้อาหารเหนียว และสร้างลักษณะเงาวาวให้กับเนื้ออาหาร เมื่อผสม น้ำและให้ความร้อนจะเหนียวจนเป็นกาวใส หรืออาจเรียกได้ว่า ขาวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เหมาะสมมากเมื่อนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในอาหารจะไม่มีกลิ่นหรือรสแปลกปลอม

3) การผลิตแป้งมัน https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1806/tapioca-starch-แป้งมันสำปะหลัง (2560) 1. การเตรียมวัตถุดิบคือการทำความสะอาดหัวมันสำปะหลังและปอกเปลือก * ร่อนดินทราย ใช้รถตักป้อนหัวมันสำปะหลังสู่ถังป้อน ( root hopper ) สายพานลำเลียง (belt conveyor) จะพาหัวมันเข้าสู่ เครื่องร่อนดินทราย (root siever) เป็นการทำความสะอาด เพื่อทราย และหินที่ติดมากับมันสําปะหลัง ด้วยการร่อน (sieve) และทำให้ผิวหน้าของหัวมันหลุดออก * สับแยกเหง้า (chopping) เพื่อแยกเหง้าของหัวมันสําปะหลังออก * การปอกเปลือก (peeling) * ล้างทําความสะอาด (washing) โดยทั่วไปใช้น้ำพ่นฝอยฉีดที่หัวมัน 2. โม่หัวมัน (rasping) : หลังจากมันสําปะหลังผ่านกระบวนการทําความสะอาดแล้ว จะถูกนําเข้าสู่ เครื่องโม่หัวมัน ( root hopper ) ก่อนเพื่อสับเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว จากนั้นเข้าเข้า เครื่องโม่ ( rasper ) เพื่อบดหัวมันพร้อมเติมน้ำให้สามารถโม่ได้ง่ายขึ้น ได้มันบดมีลักษณะเป็น ของเหลวข้น ( middle fresh pulp ) ที่มีส่วนผสมของแป้ง น้ำ กากมัน และสารอาหรต่างๆ รวมทั้ง สิ่งเจือปนต่างๆ 3. เครื่องแยกกากหยาบ (coarse extractor) : เครื่องแยกกากจะทําการแยกกากมันสําปะหลังที่ ไม่ได้ใช้ในกระบวนการผลิตออกจากน้ำแป้ง โดยน้ำแป้งที่ได้จากเครื่องโม่หัวมัน จะมาผ่านเครื่อง แยกกากหยาบ 2 ครั้ง กากหยาบที่ได้จากกระบวนการผลิตนี้จะถูกส่งต่อไปยังโรงอัดกาก 4. เครื่องแยกกากละเอียด (fine extractor) : น้ำแป้งภายหลังจากผ่านเครื่องแยกกากหยาบ มาแล้ว นั้น ยังมีเยื่อของมันสําปะหลังหรือกากอ่อน รวมอยู่ในน้ำแป้ง ซึ่งจะทําให้น้ำแป้งที่ได้มีคุณภาพไม่ดี ดังนั้นน้ำแป้งภายหลังผ่านเครื่องแยกกากหยาบมาแล้ว จะถูกนํามาผ่านเครื่องแยก กากละเอียดอีก ครั้งหนึ่ง 5. น้ำแป้ง 20 โบเม่ : น้ำแป้งที่ผ่านกระบวนการแยกกากละเอียด จะถูกนํามาปรับความเข้มข้น และ ความบริสุทธิ์ โดยการผ่านเครื่องแยกน้ำ (separator) 2 ครั้ง ซึ่งจะทําให้น้ำแป้งที่ผ่านกระบวนการ นี้ จะมีความเข้มข้นประมาณ 20 โบเม่ 6. เครื่องสลัดแป้ง (centrifuge) : น้ำแป้งที่ได้จะไหลเข้าส่เครื่องสลัดแป้ง ซึ่งจะทําการแปรสภาพน้ำ แป้งเป็นแป้งหมาด โดยแป้งหมาดจะถูก ส่งเข้าไปใน 2 กระบวนการผลิตคือ การผลิตแป้งมัน สําปะหลังดิบ (native tapioca starch) 7. เครื่องอบแห้ง (flash dryer ) : แป้งหมาดจะถูกลําเลียงตามสายพานเข้าสู่เครื่องอบแป้ง เพื่อผ่าน ลมร้อน ทําให้แป้งหมาดมีความชื้นลดลง จากนั้นก็จะทําให้เย็นลง แล้วส่งผ่านไปตามไซโลไปยัง

เครื่องร่อนแป้ง ซึ่งปัจจุบันเครื่องอบแป้งใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงในการอบแป้ง 8. เครื่องร่อนแป้ง (sieve) : แป้งที่ผ่านเครื่องอบแห้งมานั้น จะถูกนํามาผ่านเครื่องร่อนแป้ง เพื่อคัด ขนาดเม็ดแป้ง ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ 9. เครื่องบรรจุแป้ง : แป้งที่ผลิตได้จะถูกนํามาบรรจุใส่ถุงขนาด 25, 50, 500 หรือ 1,000 กิโลกรัม แล้วแต่ คําสั่งของลูกค้าการใช้ประโยชน์ของแป้งมันสำปะหลังในอาหาร ถ่านไม้ 1) ความหมายของถ่านไม้ https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=35303 (2560) ถ่านไม้ คือ ไม้หรือฟืนที่ผ่านกระบวนการไล่ ความชื้นในเนื้อไม้ออกไป ถ่านไม้แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการเป็นเชื้อเพลิง ให้ความร้อน หรือใช้ งานในด้านอื่นๆ แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของไม้ เนื่องจากความหนาแน่นและองค์ประกอบทางเคมี ของไม้มีความแตกต่างกัน อาทิเช่น ไม้ที่มีความหนาแน่นมาก เมื่อเป็นถ่านจะให้พลังงานความร้อนที่ สูงและอยู่ได้นานกว่าถ่านที่มีความหนาแน่นน้อย นอกจากนี้ถ่านยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้าน ต่างๆ ได้อีกมากมาย 2) ประโยชน์ของถ่านไม้ https://home.kapook.com/view190748.html (2561) 2.1) ช่วยดูดซับกลิ่น 2.2) ป้องกันความชื้น 2.3) ปกปิดรอบขีดข่วน 2.4) ยืดอายุดอกไม้สด 2.5) บำรุงต้นไม้ 3) ชนิดของถ่าน https://farm.vayo.co.th/blog/how-are-charcoal-different/# (2562) น้ำส้มควันไม้ เก็บที่อุณหภูมิเตาที่ 150-400 องศา จะมีกรดน้ำส้ม ไม่เกิน 10-20% ที่เหลือ 80-90% เป็นน้ำ มีฮอโมนที่เป็นประโยชน์กับการเจริญเติบโตของพืช ในร่างกายเหม็นตรงไหนฉีดตรงนั้น แก้รังแค ถ่านธรรมดา (Charcoal) ใช้อุณหภูมิเฉลี่ย 300 – 600 องศาเซลเซียส ถ่านไบโอชาร์ (Biochar) ใช้อุณหภูมิเฉลี่ย 300 – 600 องศาเซลเซียส ใช้วัตถุอินทรีย์จากธรรมชาติเป็นตัวผลิต เช่น ไม้ไผ่ ใบไม้ ต้นไม้ กะลามะพร้าว ซังข้าวโพด แกลบดิบ เป็นต้น เป็นถ่านเกรดต่ำสุด ใช้สำหรับบำรุง ดิน

การเผาถ่านแบบไบโอชาร์ ( Biochar ) จะเน้นที่การผลิตใช้พลังงานสะอาด ไม่ใช้สารเคมี ส่วนใหญ่มักใช้กับการเผาบำรุงดินเกษตรอินทรีย์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน เป็นการเผาถ่านทั่วไปที่ อุณหภูมิ 400 องศาขึ้นไป แต่ไม่เกิน 700 องศา ถ่านปิ้ง-ย่าง ที่ปลอดภัย (Green Charcoal) ควรใช้ความร้อนในการเผาไหม้ 700 องศา เซลเซียสขึ้นไป เพื่อให้น้ำมันดิน หรือสารทาร์ ( Tar ) ถูกเผาไหม้จนหมดเหลือแต่ถ่านบริสุทธิ์

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการทดลอง การศึกษาค้นคว้าเรื่อง ถ่านจากผักตบชวา เป็นการศึกษาที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการศึกษา ประสิทธิภาพและประโยชน์ด้านเชื้อเพลิงของผักตบชวา 5 ด้านดังนี้ 1) ด้านความนานในการจุดไฟ 2) ด้านการดัดแปลงเชื้อเพลิง 3) ด้านความร้อนจากผักตบชวา 4) ด้านผลลัพธ์ของความร้อนจากการเผา ถ่านจากผักตบชวา 5) ด้านภาพรวมของผลิตภัณฑ์ความนานในการเผาและความยากง่ายในการจุด ศึกษาเกี่ยวกับความต้องการและพึงพอใจในการใช้ถ่านจากผักตบชวา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการ ประเมิณความพอใจจากความคิดเห็นของพ่อค้าและแม่ค้าในระแวกชุมชน แนวทางแก้ไขปรับปรุง พัฒนาในจุดบกพร่องของถ่านจากผักตบชวา เพื่อให้ถ่านจากผักตบชวาที่จัดทำมีคุณภาพมากที่สุด ทำการศึกษาค้นคว้าโดยมีวิธีการและขั้นตอนตามลำดับดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ 6. วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ พ่อค้าและแม่ค้าในระแวกชุมชน จำนวน 69 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า วิธีการสร้างเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้แบบสอบถามทีผ่ ู้ศึกษาจัดทําขึ้นเป็น เครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งผู้ศึกษาได้สร้างแบบสอบถามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ องค์การศึกษา และขอบเขตของการศึกษาซึ่งประกอบด้วยคาถาม 2 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูล ปัจจัย ด้านบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะแบบสอบถามปลาย ปิด ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพของถ่านจากผักตบชวาตามความเห็นของได้แก่ พ่อค้า และแม่ค้าระแวกชุมชนมีลักษณะคําถามเป็น คําถามมาตรส่วนประมาณค่ํา 5 ระดับตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) คือ น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก และมากที่สุด โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนและเกณฑ์การ ให้คะแนนและเกณฑ์การจัดระดับ ดังนี้ ระดับความคิดเห็น น้อยที่สุด น้อย

ค่าน้าหนักคะแนนของตัวเลือกตอบ กำหนดค่าเท่ากับ 1 คะแนน กำหนดค่าเท่ากับ 1 คะแนน

ปานกลาง มาก มากทีส่ ุด

กำหนดค่าเท่ากับ 1 คะแนน กำหนดค่าเท่ากับ 1 คะแนน กำหนดค่าเท่ากับ 1 คะแนน

เกณฑ์ในการแปลความหมายค่าร้อยละของคะแนนระดับความเห็นเพื่อจัดระดับคะแนน การศึกษา สภาพการดําเนินกิจกรรมต่างๆกําหนดเป็นช่วงคะแนนดังต่อไปนี้ ช่วงคะแนนร้อยละ 80 คะแนนขึ้นไป ช่วงคะแนนร้อยละ70-79คะแนน ช่วงคะแนนร้อยละ60-69คะแนน ช่วงคะแนนร้อยละ50-59คะแนน ช่วงคะแนนร้อยละ40-49คะแนน

= ดีมาก = ดี = ปานกลาง = พอใช้ = ปรับปรุง

3. เก็บรวบรวมข้อมูล ในการดําเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดําเนินการตามลําดับขั้นตอน ดังนี้ ขอความร่วมมือจากพ่อค้าและแม่ค้าระแวกชุมชน ในการทําแบบสอบถามเพื่อการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูลจากพ่อค้าและแม่ค้า ผู้ศึกษานําแบบสอบถามไปแจกด้วยตนเองทั้งหมดในระหว่างวันที่ 15 - 22 กันยายน 2565 จํานวน 69 ชุด เมือ่ ถึงกําหนดวันนัดหมายผู้ศึกษาได้ตรวจสอบถูกต้อง ความเรียบร้อยความสมบูรณ์ของ ข้อมูลในการตอบแบบสอบถามในแต่ละชุดและจํานวนข้อมูลท่ีได้รับ จํานวน 69 ชุด ผู้ศึกษานําแบบสอบถามหรือข้อมูลที่เก็บรวบรวมในแต่ละสถานศึกษาเพื่อนําไปวิเคราะห์และ แปลผลข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาค้นคว้าดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลตามลําดับและผู้ ศึกษา ค้นคว้านําข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติโดยใช้สถิติ วิเคราะห์ ดังนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้ความถี่ร้อยละ ตอนที่ 2 ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับถ่านจากผักตบชวาตามสถานภาพ ได้แก่ เพศ ได้แก่ ชาย หญิง 5.สถิตทีใ่ ช้ในการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาค้นคว้าได้วิเคราะห์และประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปด้วย ระบบคอมพิวเตอร์สถิติที่ใช้ คือ

สถิติพรรณนาการหาค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐานการหา ค่าความถี่โดยวิธีนับคํานวณ สูตรการหาค่าร้อยละ = 6.วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ 6.1.1 อุปกรณ์และเครื่องมือหลักที่ต้องใช้ ชนิดอุปกรณ์ ท่อPVC กะละมัง ไม้พาย มีด

จำนวน 1 เส้น 1 ใบ 1 อัน 1 เล่ม

6.1.2 วัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องจัดหา ชนิดอุปกรณ์ ผักตบชวา ถ่านไม้ แป้งมันสำปะหลัง น้ำ

จำนวน 2 กิโลกรัม 100 กรัม 30 กรัม 100 มิลลิลิตร

วิธีการทดลอง 1. เก็บผักตบชวาจากแม่น้ำลำคลอง

2. นำผักตบชวามาหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆและนำไปตากแห้งประมาณ2-3วัน

3. นำถ่านมาบดให้เป็นผงหรือละเอียดที่สุด

4.นำผักตบชวา ถ่านไม้ แป้งและน้ำมาผสมให้เข้ากัน

5. เมื่อผสมเข้ากันแล้วนำมาอัดในท่อPVCและนำไปตากแห้ง

6. เมื่อนำไปตากจนแห้งดีแล้วจึงเตรียมใส่ลงบรรจุภัณฑ์

ผลการทดลอง 1. ผลการศึกษาถ่านจากผักตบชวา ตารางที่ 1 ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ถ่านจากผักตบชวา ถ่านจากผักตบชวา ลักษณะเนื้อผิว สี กลิ่น ผักตบชวา ผิวเรียบ เขียว ไม่มีกลิ่น ถ่านไม้ ผิวขรุขระ ดำ ไม่มีกลิน่

ทนความร้อน ไม่ทน ทน

ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพจากผลิตภัณฑ์ถ่านจากผักตบชวาและถ่านที่ทำจากไม้ตาม ท้องตลาด ประสิทธิภาพ ชนิดผลิตภัณฑ์ถ่านจากผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาในการเผาไหม้ ถ่านจากผักตบชวา ถ่านไม้จากท้องตลาด

1 ชั่วโมง 30 นาที 1 ชั่วโมง

2. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ถ่านจากผักตบชวา รองเท้าจากท้องตลาด โดยใช้ แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ครีมขัดรองเท้า ตารางที่ 3 ระดับความพึงพอใจประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ครีมขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้ ชนิดผลิตภัณฑ์ รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ร้อยละความพึงพอใจ ถ่านจากผักตบชวา ค่าเฉลี่ย แปลความ ของผู้บริโภค ระดับ มากถึงมากที่สุด ลักษณะเนื้อผิว 4.34 มาก 83.47 ถ่านจาก สี 4.55 มากที่สุด 86.76 ผักตบชวา กลิ่น 3.84 ปานกลาง 79.71 ทนความร้อน 3.52 ปานกลาง 75.65 ลักษณะเนื้อผิว 2.56 น้อย 71.89 ถ่านไม้ สี 3.63 ปานกลาง 77.12 จากท้องตลาด กลิ่น 4.37 มาก 84.07 ทนความร้อน 4.58 มากที่สุด 87.58

บทที่ 4 ผลการทดลอง การศึกษาค้นคว้าการทําถ่านจากผักตบชวา ซึ่งเป็นพืชที่ทุกคนต่างมองข้ามและไม่เห็นคุณค่า คณะผู้จัดทําจึงนําพืชชนิดนี้มาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มรายได้ ให้แก่คนในชุมชน การศึกษา ค้นคว้าคร้ังนี้เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมมูลเพื่อนํามําจัดทําเป็นโครงงาน ประเภทสิ่งประดิษฐ์ โดยภายหลังจากการที่ทําผลิตภัณฑ์เสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางคณะผู้จัดทําจึงได้นําผลิตภัณฑ์ มาให้พ่อค้า และเเม่ค้าในระเเวกชุมชนได้ทดลองใช้ และทําแบบประเมิณ ความพึงพอใจต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และร่วมกันเสนอข้อเสนอแนะ ซึ่งประชากรในการค้นคว้าครั้งนี้มี นักเรียนจํานวน 5 คน และบุคลากร ภายในโรงเรียนจํานวน 1 คน รวมทั้งหมด 6 คน ได้รับแบบ ประเมิณกลับคืนมาจํานวน 69 ชุด คิด เป็นร้อยละ 100 ในการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล มีหัวข้อ ดังต่อไปนี้ 4.1 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของพ่อค้าและเเม่ค้าในระเเวกชุมชน 4.2 วิเคราะห์คะแนนความพึงพอใจต่อถ่านจากผักตบชวาของพ่อค้าและเเม่ค้าใน ระเเวกชุมชน

4.1 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของพ่อค้าและแม่ค้าในระแวกชุมชน ตารางที่ 4.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม รายการ

ข้อมูลส่วนบุคคล ชาย หญิง

เพศ

จำนวน 13 56 69

รวม

ร้อยละ 18.8 81.2 100

จากตารางที่ 1 พบว่าข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนแลบะบุคลากรภายในโรงเรียน มีดังนี้ 1. เพศ ผู้ทำแบบทดสอบส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.2 รองลงมาคือ เพศชาย ร้อยละ 18.8 4.2 วิเคราะห์คะแนนความพึงพอใจต่อถ่านจากผักตบชวาของพ่อค้าและแม่ค้าในระแวกชุมชน ตารางที่ 4.2 การวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อถ่านจากผักตบชวา ลำดับ ความคิดเห็น ระดับความพอใจ ค่าร้อย แปรผล ดีมาก5 ดี 4 ปาน พอใช้ ปรับปรุง ละ กลาง 3 2 1 1 ลักษณะ 28 25 16 0 0 83.47 ดีมาก 2

ใช้งานได้จริง

31

23

13

1

1

83.76

ดีมาก

3

ลดรายจ่ายได้ดี

35

22

10

1

1

85.79

ดีมาก

4

กลิ่นและเนื้อ สัมผัส ความสะดวกใน การใช้งาน ประสิทธิภาพใน การใช้งาน

25

24

14

6

0

79.71

ดี

33

29

5

1

1

86.66

ดีมาก

25

18

12

14

0

75.65

ดี

ลดโลกร้อนจาก การตัดไม้ การลดจำนวน พืชในน้ำ

30

15

18

4

2

79.42

ดี

38

29

2

0

0

90.43

ดีมาก

5 6

7 8

9 10

ราคาของลิต ภัณฑ์ ความพอใจใน ภาพรวม

20

12

15

20

2

68.11

12

20

25

10

2

68.69

รวม

80.16

ปาน กลาง ปาน กลาง ดีมาก

เกณฑ์การให้คะแนน ช่วงคะแนนร้อยละ 80 คะแนนขึ้นไป = ดีมาก ช่วงคะแนนร้อยละ 70-79 คะแนน = ดี ช่วงคะแนนร้อยละ 60-69 คะแนน = ปานกลาง ช่วงคะแนนร้อยละ 50-59 คะแนน = พอใช้ ช่วงคะแนนร้อยละ 40-49 คะแนน = ปรับปรุง จากตารางการวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อถ่านจากผักตบชวาทั้ง 10 ข้อ พบว่าภาพรวม ของผลิตภัณฑ์อยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยด้านที่มีคะแนนมากที่สุด คือ การลดจำนวนพืชในน้ำ มีค่าร้อยละ 90.43 รองลงมาคือ ด้านความสะดวกในการใช้งาน มีค่าร้อยละ 86.66 และด้านที่เหลือมีระดับ คะแนนอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดีมาก ข้อเสนอเเนะ ความคิดเห็นส่วนใหญ่แนะนําให้ควรเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ เช่น กาบมะพร้าว เเละควรที่จะปรับ จากการตากเเดดมาเป็นการอบเเทนเเละควรปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มี ความสวยงามและดึงดูดสายตา ผู้บริโภคให้มากขึ้น เพื่อสามารถเพิ่มมูลค่าและยอดขายของผลิตภัณฑ์

บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ การศึกษาการทำถ่านจากผักตบชวา มีวัตถุประสงค์ 5 ข้อ คือ (1)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพถ่าย จากผักตบชวากับถ่านจากไม้ (2)เพื่อประหยัดทุนในการซื้อ (3)เพื่อนำผักตบชวาในแม่น้ำจำนวนมาก มาใช้ประโยชน์สูงสุด (4)เพื่อนำประโยชน์จากวัชพืชน้ำมาใช้ทดแทนการตัดไม้มาทำถ่าน (5)เพื่อลด การตัดไม้เเละโลกร้อน และสามารถประมวลผลได้ ดังนี้ กลุม่ เป้าหมายที่เราใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นพ่อค้าและแม่ค้าระแวกชุมชน เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษาคือ แบบสอบถามความคิดเห็นความพึงพอใจในการใช้ถ่านจากผักตบชวาโดยแบบสอบถาม คือ Google Form ซึ่งเรานั้นให้สแกน QR Code โดยมีคำถามสำรวจจำนวน 8 ข้อ การวิเคราะห์ ข้อมูลผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติที่ใช้ในการศึกษาครัง้ นี้คือการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการศึกษาทดลอง จากการศึกษาทดลองการทำถ่านจากผักตบชวาสามารถสรุปได้ว่าถ่านที่ทำจากผักตบชวาจะ ให้ความร้อนได้น้อยกว่าถ่านที่ทำจากไม้ อภิปราย การศึกษาการทำถ่านจากผักตบชวา ตามความคิดเห็นจากพ่อค้าและแม่ค้าระแวกชุมชน สามารถอภิปราย ได้ดังนี้ จากการสอบถามความคิดเห็นความพึงพอใจของพ่อค้าและแม่ค้าระแวกชุมชน ในเรื่องจาก ทำถ่านจากผักตบชวาพบว่าอยู่ในระดับดีมาก ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากผลสำรวจมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. การทำถ่านจากผักตบชวาควรเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ เช่น กาบมะพร้าว 2. ถ่านจากผักตบชวาต้องใช้เวลาในการตากแดดประมาณ 2-3 วัน ควรที่จะปรับจากการ ตากแดดมาเป็นการอบแทน 3. ควรปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มี ความสวยงามและดึงดูดสายตาผู้บริโภคให้มากขึ้น

บรรณานุกรม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 5./(2559 ).//คู่มือ การจัดการผักตบชวา./ สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565,จาก http://lib.mnre.go.th/index.php/2012-04-30-03-12-18/351-2013-04-2609-06-40 คุณปู (2560) ทำถ่านอัดแท่ง.สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาค2565 จาก https://www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/book.php อัมพา คำวงชา./(2555).// คู่มือการปลูกมันสำปะหลังยุคใหม่./สืบค้น 28 ธันวาคม 2565, จาก https://m.se-ed.com/product/Detail/9786167466323 ลักษณะของผักตบชวา./(2565).// สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565, จาก https://th.m.wikipedia.org/wiki/ผักตบชวา ประโยชน์ของผักตบชวา./(2563).// สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565, จาก http://www.klonghaecity.go.th/networknews/detail/166835/data.html ลักษณะและสรรพคุณของแป้งมัน./(2559).// สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 จาก http://www.flavorseasoning.com/vip/knowledge-detail.php?id=3301 การผลิตแป้งมัน./(2560).// สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 จาก https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1806/tapioca-starch-แป้ง มันสำปะหลัง ความหมายของถ่านไม้./(2560).// สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 จาก https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=35303 ประโยชน์ของถ่านไม้./(2561).// สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาค2565 จาก https://home.kapook.com/view190748.html ชนิดของถ่าน./(2562).// สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม2565 จาก https://farm.vayo.co.th/blog/how-are-charcoal-different/#

ภาคผนวก

ภาพที่ 1 เก็บผักตบชวาจากแม่น้ำลำคลอง

ภาพที่ 2 นำผักตบชวามาหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆและนำไปตากแห้งประมาณ2-3วัน

ภาพที่ 3 นำถ่านมาบดให้เป็นผงหรือละเอียดที่สุด

ภาพที่ 4 นำผักตบชวา ถ่านไม้ แป้งและน้ำมาผสมให้เข้ากัน

ภาพที่ 5 เมื่อผสมเข้ากันแล้วนำมาอัดในท่อPVCและนำไปตากแห้ง

ภาพที่ 6 เมื่อนำไปตากจนแห้งดีแล้วจึงเตรียมใส่ลงบรรจุภัณฑ์

ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล

นายฐิติพงษ์ โสพิน

วันเดือนปีเกิด

18 พฤษภาคม 2549

ที่อยู่ปัจจุบัน

299/177ม.เต็มสิริเเกรนด์ซ.6 ถ.สามวา เเขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510

ตำแหน่งหน้าที่การงาน

นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒

สถานที่ศึกษาปัจจุบัน

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมเขต 2

ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสุดใจวิทยา ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒

ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล

นางสาวชาริสา ดอกเทียน

วันเดือนปีเกิด

30 มกราคม 2549

ที่อยู่ปัจจุบัน

69/21 ซอยนิมิตใหม่ 49 แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510

ตำแหน่งหน้าที่การงาน

นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒

สถานที่ศึกษาปัจจุบัน

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 2

ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา

โรงเรียนทรงวิทย์ศึกษา

ระดับมัธยมศึกษา

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒

ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล

นางสาวณัฐกีรฏา สุนันทนาสุข

วันเดือนปีเกิด

30 มีนาคม 2549

ที่อยู่ปัจจุบัน

29 ซอยรามอินทรา117 ถนนเจริญพัฒนา แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กทม 10510

ตำแหน่งหน้าที่การงาน

นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒

สถานที่ศึกษาปัจจุบัน

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมเขต 2

ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนภูมิสมิทธ์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ระดับมัธยมศึกษา

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒

ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล

นางสาวปัณฑิตา ปรางบาง

วันเดือนปีเกิด

24 กุมภาพันธ์ 2549

ที่อยู่ปัจจุบัน

38 ซอย นิมิตใหม่63 เเขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กทม 10510

ตำแหน่งหน้าที่การงาน

นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒

สถานที่ศึกษาปัจจุบัน

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมเขต 2

ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา

โรงเรียนพระวิสุทธิวงศ์

ระดับมัธยมศึกษา

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒

ประวัติผู้ศึกษาค้นคว้า ชื่อ-นามสกุล

นางสาวภัทราภรณ์ น่วมเปรม

วันเดือนปีเกิด

18 ตุลาคม 2548

ที่อยู่ปัจจุบัน

538 ซ.ไมตรีจิต7 ถนนไมตรีจิต แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510

ตำแหน่งหน้าที่การงาน

นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒

สถานที่ศึกษาปัจจุบัน

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมเขต 2

ประวัติการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสุเหล่าคลองสี่ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.