pdf_20220316_141547_0000 Flipbook PDF

pdf_20220316_141547_0000

62 downloads 104 Views 3MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ การเขียนโปรแกรม

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ หมายถึง ข้อมูล ที่แทนคุณลักษณะต่าง ๆ ของตัวแปรที่สามารถจำแนกนับตามกฎเกณฑ์ ใดกฎเกณฑ์หนึ่งได้เป็นจำนวนตัวเลขและมี ความหมายข้อมูลที่เป็นตัวเลขเหล่านี้ได้มาจาก การวัด ซึ่งข้อมูลการวัดนี้จะมีระดับการวัดแตก ต่างกันออกไป 4 ระดับ ซึ่งระดับการวัดที่แตก ต่างกันจะมีผลต่อการเลือกใช้วิธีการวิเคราะห์ที่ แตกต่างกันออกไปด้วย ระดับการวัดข้อมูลดัง กล่าว ประกอบด้วย

1.มาตรานามบัญญัติ ตัวเลขในระดับการวัดนี้ เป็นตัวเลขที่ได้รับการสมมุติขึ้นใช้แทนคุณ ลักษณะใด ๆ เพื่อจำแนกให้เห็นความแตกต่าง ระหว่างสิ่งนั้น ๆ เช่น ตัวเลขที่เป็นเบอร์ของ นักฟุตบอล เบอร์สาวงาม เป็นต้น ตัวเลข ประเภทนี้จึงไม่สามารถนำมาบวกกันได้

2.มาตราเรียงลำดับ เป็นตัวเลขที่ใช้แทน ลำดับที่ของสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่จัดเรียงไว้ ตามกฎเกณฑ์ใดกฎเกณฑ์หนึ่ง ดังนั้น ลำดับที่ที่แตกต่างกันจึงบอกหรือจำแนก สิ่งที่แตกต่างกันด้วย เช่น นักกีฬาที่วิ่ง ได้ที่ 1 2 และ 3 เป็นต้น 3.มาตราช่วงหรืออันตรภาคชั้น ตัวเลขใน ระดับนี้จะเริ่มต้นการวัดด้วยศูนย์สมมติ ซึ่งมิได้หมายถึงศูนย์จริงหากแต่สมมติให้มี ค่าเป็นศูนย์ เช่น อุณหภูมิ คะแนนที่ได้ จากการสอบ เป็นต้น 4.มาตราอัตราส่วน ตัวเลขในระดับการวัด นี้จะเริ่มต้นจากศูนย์แท้เสมอ และมี คุณสมบัติบอกระยะห่างระหว่างตัวเลข เป็นช่วงได้เท่า ๆ กัน สามารถนำมา บวก ลบ คุณ หารได้ทั้งสิ้น เช่น จำนวนเงิน จำนวนนักเรียน เป็นต้น

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ตาม ลำดับ ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบข้อมูล

ขั้นตอนที่ 2 การทำดัชนีข้อมูล

ขั้นตอนที่ 3 การทำข้อสรุปชั่วคราวและ การกำจัดข้อมูล

ขั้นตอนที่ 4 การสร้างบทสรุปและพิสูจน์ บทสรุป

ซึ่งหลังจากที่ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว สิ่งที่จะต้อง ดำเนินการ คือ การตรวจสอบข้อมูลและการวิเคราะห์ ข้อมูล ซึ่งสามารถทำไปพร้อมกับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ การตรวจสอบข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพที่นิยมใช้กัน เรียกว่า การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (triangulation) ได้แก่ การตรวจสอบสามเส้าด้าน ข้อมูล โดยพิจารณาจาก แหล่งเวลา แหล่งสถานที่และ แหล่งบุคคลที่แตกต่างกัน ถ้าข้อมูลต่างเวลากันจะ เหมือนกันหรือไม่ ถ้าข้อมูลต่างสถานที่จะเหมือนกันหรือ ไม่ และถ้าบุคคลผู้ให้ข้อมูลเปลี่ยนไปข้อมูลจะเหมือนเดิม หรือไม่ การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย โดยเปลี่ยนตัวผู้ สังเกต และการตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ กันเพื่อรวบรวมข้อมูล เรื่องเดียวกัน การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยนี้มักไม่ใช้สถิติ แต่นิยมใช้แนวคิดทฤษฎีเป็นกรอบในการวิเคราะห์โดยวิธี การหลักที่ใช้มี 2 วิธี คือ วิธีแรกเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ซึ่งได้จากการ สังเกตและการสัมภาษณ์ที่ได้จดบันทึกไว้จากสิ่งที่เป็นรูป ธรรมหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็น วิธีที่สอง เป็นการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งได้จากการศึกษา เอกสาร ในการวิเคราะห์เอกสารผู้วิจัยต้องคำนึงถึงบริบท หรือสภาพแวดล้อมของข้อมูลเอกสารที่นำมาวิเคราะห์ ประกอบด้วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ภาษาซี

ประวัติของภาษาซี ภาษาซีเกิดขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2512-2516 ที่แล็บส์ของเอ ทีแอนด์ที ชื่อว่าภาษาซีนั้นมาจากการพัฒนาภาษาที่ใช้ ก่อนหน้านี้คือ “บี” เรียงตามลำดับ จุดกำเนิดของภาษา ซีนั้นเกิดจากการนักพัฒนากำลังต้องการสร้างระบบ ปฏิบัติการยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการตัวนี้ใช้ภาษาแอส เซมบลีในการสร้างขึ้นมา แต่ภาษาดังกล่าวยังขาดความ ยืดหยุ่น และไม่ตอบสนองความต้องการบางอย่างเพื่อให้ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ทำได้ดั่งใจ หากต้องการพัฒนา คุณสมบัติยูนิกซ์ให้ดีขึ้น จึงต้องพัฒนาภาษาใหม่ด้วยจึง ออกมาเป็นภาษาซีอย่างที่เรารู้จักกัน

ลักษณะของภาษาซี เมื่อภาษาซีกำเนิดขึ้นมาปรากฏว่านอกจากจะทำให้การ สร้างระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เดินหน้าต่อไปได้แล้ว ภาษา ดังกล่าวกลับเป็นที่นิยมของนักพัฒนาโปรแกรม คอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลายในช่วงเวลานั้น ลักษณะของ ภาษาซีมีความเฉพาะตัวมากแต่ก็เป็นสิ่งที่นักพัฒนาชอบ มากด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ภาษาซีจะอำนวยความสะดวก ให้เราสร้างโปรแกรมเชิงโครงสร้างได้มากกว่า เรา สามารถกำหนดขอบเขต ตัวแปร และ คำสั่งได้มากกว่า ยืดหยุ่นกว่า ที่สำคัญมันเกิดบัคน้อยกว่าภาษาอื่นในตอน นั้นด้วย จึงทำให้ภาษานี้ถูกนำไปสร้างโปรแกรมออกมา อย่างต่อเนื่อง

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี โปรแกรมภาษาซีประกอบไปด้วยโครงสร้างภาษาดังนี้ อย่าง แรกจะเป็นการเขียนฟังก์ชั่นการทำงาน ตามด้วยการเขียน ตัวแปร ค่าคงที่ สุดท้ายประโยคคำสั่งอย่างประโยคเชิงซ้อน ประโยคนิพจน์ โดยการเขียนประโยคคำสั่งแต่ละครั้งจะ เป็นการใช้วงเล็บปีกกา เครื่องหมายเซมิโคลอน และอื่น เพื่อ ทำให้การอ่านคำสั่ง

ภาษาซี เป็นภาษากลาง จุดเด่นข้อต่อมาของภาษาซี ก็คือ มันเป็นภาษาที่กิน ประสิทธิภาพต่ำ น้อยกว่าภาษาอื่น นั่นทำให้การเอาไปใช้ งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณจะทำได้ดีกว่า เสถียร กว่า บางองค์กรนำภาษาซีเป็นพื้นฐานในการช่วยคำนวณ ทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ เช่น จีเอ็มพี ไลบรารี วิทยาศาสตร์ของนู เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้น ภาษาซี ยังทำ หน้าที่เป็นเหมือนภาษากลางของคอมพิวเตอร์อีกด้วย(คิดซะ ว่าเป็นภาษากลางของโลกอย่างอังกฤษ) ภาษาซียังสามารถ แปลผลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งได้ด้วย หรือจะแปล ภาษาอื่นเป็นภาษาซีได้ง่ายด้วย การทำหน้าที่ตรงนี้มี โปรแกรมช่วยแปลภาษาให้ด้วย(คล้ายกับการแปลภาษา แบบกูเกิ้ล) การแปลงภาษาแบบนี้จะทำให้งานของนัก พัฒนาง่ายขึ้นเยอะ

ตอบสนองต่อเครื่องมือ ระบบปฏิบัติการได้ ดีกว่า จุดเด่นข้อต่อไปของภาษาซี ก็คือ มันเป็น ภาษาพื้นฐานของโปรแกรมหลายอย่าง รวมถึงระบบปฏิบัติการด้วย นั่นทำให้การ เขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้จะตอบสนองต่อ ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันอยู่ในตอนนี้ได้หมด ไม่ว่าจะเป็นสายวินโดส์เกือบทุกรุ่น ตั้งแต่ windowNT, windowsXP, windows7 จนถึง windows10 ก็ใช้งานได้ ใครจะมา สายทางเลือกระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ภาษา ซีก็จัดให้ได้เหมือนกัน สุดท้ายใครมาสาย เครื่องแม็คภาษาซีก็สามารถเขียนโปรแกรม เพื่อใช้งานดังกล่าวได้ด้วย จากที่เล่ามา ทั้งหมดจึงไม่แปลกที่นักโปรแกรมเมอร์ นัก พัฒนาแอพพลิเคชั่นจะต้องมีการศึกษา เรื่องของภาษาซีเป็นพื้นฐานให้เข้าใจก่อน จากนั้นจะขยับไปทำภาษาคอมพิวเตอร์แบบ อื่นก็จะไม่ยากแล้ว

ตัวอย่าง

บรรณานุกรม https://www.gotoknow.org/posts/408178

จัดทำโดย นาย ณัฏฐชัย ฝอยทอง

เสนอ ครู อุษา โตแก้ว ครู รัตนาภรณ์ ผิวงาม

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.