pdf_20221123_135234_0000 Flipbook PDF

pdf_20221123_135234_0000

6 downloads 97 Views 32MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

รายวิชาโครงงานอาชีพ จัดทำโดย

น.ส.เกศรินทร์ น่วมพิพัฒน์

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงงานอาชีพชั้นม.3/1เพื่อให้ได้ ศึกษาหาความรู้ในเรื่องโครงงานอาชีพและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์ กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่ กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอ น้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

สารบัญ ความหมายของโครงงานอาชีพ ความสำคัญของโครงงานอาชีพ ตัวบ่งชี้การสอนผู้เรียนเป็นที่สำคัญ

โครงงานอาชีพ หมายถึงการจัดกิจกรรมอาชีพที่ตามความชอบ ของผู้เรียนความถนัดและความสนใจ

ความสำคัญของโครงงานอาชีพ ความสำคัญของโครงงาน

เสริมสร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ ลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลทำให้เกิดความ ริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำโครงงานใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่โลกของงานอาชีพและการ ศึกษา อีกทั้งโครงงานที่ตนเองสนใจยัง ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่กว้างขวาง เป็นการประสานงานทางวิชาการระหว่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ



ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนสำนักงานการศึกษาแห่งชาติ ได้พัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่เน้น



ตัวบ่งชี้การเรียนของผู้เรียน

1. ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจนค้นพบความถนัดและวิธีการของตนเอง

3. ผู้เรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม

4. ผู้เรียนฝึกคิดหลากหลายและสร้างสรรค์จินตนาการ ได้แสดงออกอย่างชัดเจนและมีเหตุผล

5. ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงให้ค้นคว้าหาคำตอบ แก้ปัญหาทั้งด้วยตนเองและร่วมกับเพื่อนๆ

6. ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้า รวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง

7. ผู้เรียนเลือกทำกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจอย่างมีความสุข

8. ผู้เรียนฝึกตนเองให้มีวินัยและมีความรับผิดชอบในการทำงาน

9. ผู้เรียนฝึกประเมิน ปรับปรุงตนเองและยอมรับผู้อื่น และสนใจใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง





หน่วยการเรียนรู้ที 3 เรือง การเตรียมตัวเพื่องานอาชีพ สาระการเรียนรู้ การเขียนเค้าโครงของโครงงานอาชีพถือว่าเป็นการเขียนแผนกำหนดกิจกรรมขั้นตอนปฏิบัติรวมทั้ง ระยะเวลา การจัดหาวัสดุอุปกรณ์หรือสิ่งของต่าง ๆ ตามความจำเป็นที่ช่วยให้การศึกษาเกี่ยวกับอาชีพที่ นักเรียนสนใจได้รับความสำเร็จ และเขียนตามรูปแบบที่กำหนดไว้ การเขียนเค้าโครงของโครงงาน อาชีพที่ดี จะต้องมีการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบเพื่อสามารถคิดวิเคราะห์และกำหนดทิศทาง การ ดำเนินงานได้อย่างถูกต้องและนำไปสู่ความสำเร็จเมื่อนักเรียนเขียนเสร็จ ต้องส่งให้ครูที่ปรึกษาโครง งาน ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบ หรืออนุมัติหลังจากที่ได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วก็ ลงมือ จัดทำโครงงานตามแผนที่กลุ่มของนักเรียนได้กำหนดไว้ระหว่างการปฏิบัติงานนักเรียนควรปฏิบัติงาน ด้วยความ รอบคอบ คำนึงถึงความประหยัดความปลอดภัย และอยู่ในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าหากเค้าโครงโครงงาน ไม่ได้ รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากครูที่ปรึกษาควรได้มีการศึกษาข้อมูลและคิดวิเคราะห์ใหม่อีกครั้ง ผลการเรียนรู้ 1. ใช้ทักษะกระบวนการกลุ่มวางแผนการทำงานอาชีพงานบ้านโดยใช้หลักการทำโครงงานอาชีพได้ 2. ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ได้อย่างเหมาะสมโดยนำหลักคุณธรรม 5 ห้องชีวิตเนรมิตนิสัยมา ประยุกต์ใช้ในการทำงาน เป๋าหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนรู้และปฏิบัติได้ 1. อธิบายหลักการเขียนโครงงานอาชีพได้ (K) 2. เขียนเค้าโครงของโครงงานอาชีพตามหลักการได้ (P) 3. ประยุกต์ใช้คุณธรรม 5 ห้องชีวิตเนรมิตนิสัยกับการเขียนเค้าโครงของโครงงานอาชีพได้ (P) 4. เห็นความสำคัญของการวางแผนโดยการเขียนเค้าโครงของโครงงานอาชีพ (A) เมื่อผู้เรียนศึกษาเอกสารประกอบการเรียนนี้แล้ว 1. ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการเขียนโครงงานอาชีพได้ 2. ผู้เรียนสามารถเขียนโครงงานอาชีพได้ 3. ผู้เรียนสามารถประยุกใช้คุณธรรม 5 ห้องชีวิตเนรมิตนิสัยกับการเขียนเค้าโครงของโครงงาน อาชีพได้ 4. ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการวางแผนโดยการเขียนเค้าโครงของโครงงานอาชีพ



3.1 หลักการเขียนเค้าโครงของโครงงานอาชีพ หัวข้อในการเขียนเค้าโครงของโครงงานอาชีพ เนื่องจากโครงงานมีหลายประเภท จึงทำให้มีรูปแบบการเขียนเค้าโครงของโครงงาน ที่แตกต่างกันตามลักษณะของโครงงาน สำหรับการเขียนเค้าโครงของโครงงานอาชีพ มี หัวข้อ ในการเขียน ดังนี้ 1. ชื่อโครงงาน . ชื่อผู้จัดทำโครงงาน ชื่อครูที่ปรึกษา 4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 5. วัตถุประสงค์ 1. ชื่อโครงงาน ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรกของการเขียนโครงงาน เพราะชื่อโครงงานจะเป็น จุดแรกที่ดึงดูดความสนใจผู้อ่านโครงงาน และช่วยโยงความคิดไปถึงวัตถุประสงค์ของ การทำโครงงาน หลักการตั้งชื่อโครงงานมี ดังนี้ ตรงกับเรื่อง เมื่ออ่านชื่อโครงงานแล้วสามารถบอกได้ว่าโครงงานนั้นคืออาชีพอะไรมี ลักษณะอย่างไร 2. สั้นกะทัดรัด ชื่อโครงงานไม่ควรยาวเกินไป ควรเขียนให้สั้นกะทัดรัด เข้าใจง่าย และ ได้ใจความ 3. ไม่ควรเป็นประโยคคำถาม เพราะไม่ใช่คำถาม หรือปัญหา 4. ควรมีลักษณะเร้าความสนใจ แต่ต้องไม่ทำให้ผิดเพี้ยนไปจากเนื้อเรื่องของโครงงาน ตัวอย่างชื่อโครงงานอาชีพ 1. โครงงานประดิษฐ์ดอกไม้จากเศษผ้า 5. โครงงานการเลี้ยงไก่พื้นเมือง 2. โครงงานประดิษฐ์ไม้แกะสลัก 6. โครงงานอาหารจานเดียวเพื่อสุขภาพ 3. โครงงานทำเรือจำลอง 7. โครงงานวุ้นกะทิหลากสี 4. โครงงานรดน้ำพืชด้วยอาศัยความชื้นในดิน 8. โครงงานไก่ทอดสมุนไพรฯลฯ 6. ระยะเวลา 7. สถานที่ดำเนินงาน 8. งบประมาณ 9. วิธีดำเนินงาน 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ระบุในหัวข้อนี้ได้ 2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน ชื่อผู้จัดทำโครงงาน เป็นการระบุชื่อนักเรียนทุกคนที่ทำโครงงาน ร่วมกันเพื่อจะได้ทราบว่า โครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของใครและสามารถติดตามที่ ใดเมื่อมีปัญหาจะได้ติดต่อประสานงานได้ ถูกต้องโดยปกติจะให้หัวหน้ากลุ่มเป็นคนแรกและตำแหน่ง เลขานุการกลุ่มจะอยู่ในลำดับสุดท้าย 3. ชื่อครูที่ปรึกษา การเขียนชื่อครูที่ปรึกษา เป็นการระบุชื่อครูที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ในการทำโครงงานอาชีพ ของนักเรียน ครูที่ปรึกษาจะทำหน้าที่ให้คำแนะนำ หรือช่วยอำนวย ความสะดวกในบางเรื่อง เช่น การติดต่อขอ อนุญาตใช้สถานที่ในโรงเรียนในการจำหน่ายครูที่ปรึกษาโครงงาน อาจมีมากกว่า 1 คนก็ได้หรือหากมี ผู้ประกอบการหรือบุคคลภายนอกที่เป็นวิทยากรท้องถิ่น เป็นที่ ปรึกษาให้คำแนะนำแก่นักเรียนด้วยก็สามารถ 4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ที่มาและความสำคัญของโครงงาน แสดงให้เห็นถึงที่มาและความ จำเป็นหรือความสำคัญในการจัดทำ โครงงาน ซึ่งผู้ทำโครงงานจะต้องระบุถึงเหตุผลและข้อมูลหรือ ทฤษฎีต่าง ๆ มาสนับสนุนว่าโครงงานของเรามี ความสำคัญ ชัดเจนสมเหตุผล เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงงานสนับสนุน และอนุมัติให้ดำเนินการได้ การเขียนความสำคัญในส่วนนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ 4.1 สภาพที่เป็นอยู่โดยทั่วไป 4.2 ปัญหาที่เกิดขึ้น 4.3 เหตุผลสำคัญที่ต้องจัดทำโครงงาน ทั้งนี้ การเขียนในส่วนต่าง ๆ ดังกล่าว ควรกระชับ ตรงประเด็น มี หลักฐานข้อมูลเหตุผลในรูป ของข้อเท็จจริงเชิงประจัษ์ และมีความเป็นไปได้

ตัวอย่าง ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ขนมหวานจัดเป็นอาหารว่างที่ทุกคนชอบรับประทานมาก ขนมหวานแบบไทย ๆ มีอยู่หลายชนิด เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ วุ้นกะทิ ขนมหม้อแกงซึ่งขนมเหล่า นี้ มีน้ำตาลและมีสีสารเคมีเป็นส่วนผสมอยู่มาก ส่งผลให้เกิดความอ้วนและไม่เป็นที่นิยมของเยาวชนใน ปัจจุบันที่ห่วงใยสุขภาพทางกลุ่มของเราจึงสนใจศึกษา การทำขนมไทยที่มีรสหวานน้อยแต่รสชาติดีและน่ารับ ประทานคำนึงถึงสุขภาพผู้บริโภคและเลือกศึกษาการทำ วุ้นหลากสี โดยใช้สีจากพืชสมุนไพร เช่น อัญชัน กระเจี๊ยบ ใบเตย มาผสมกับเนื้อวุ้น ใส่สลับสีให้เกิดความ สวยงาม น่ารับประทาน มีประโยชน์ต่อสุขภาพและสามารถ จำหน่ายเพื่อหารายได้ระหว่างเรียนอีกด้วย ข้อสังเกต ส่วนแรก เป็นสภาพทั่วไป ที่กล่าวถึงขนมหวานว่า เป็นสิ่งที่ชื่นชอบ และยกตัวอย่างขนมหวานแบบไทย ที่รู้จักกันดี ส่วนที่สอง เป็นปัญหาหรือความต้องการที่เกิดขึ้น คือขนม ส่วนมากมีน้ำตาล ทำให้อ้วน เยาวชน ที่ห่วงใยสุขภาพไม่นิยม ส่วนที่สาม จะเป็นข้อความที่แสดงให้ผู้อ่านทราบเหตุผลที่ เราจัดทำโครงงานนี้ ว่า เลือกทำวุ้นหลากสี ที่มีรสหวานน้อยและใช้สีจากพืชสมุนไพร อันเป็นประโยชน์ ต่อสุขภาพ และเนื่องจาก เราเป็นโครงงานอาชีพจึงมีการจำหน่ายเพื่อหารายได้ ระหว่างเรียน

ตัวอย่าง หรือ 5. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เป็นส่วนที่แสดงให้ทราบว่า เมื่อทำโครงงานอาชีพนี้แล้วนักเรียน จะได้อะไรบ้าง อาจเป็นด้านความรู้ด้านทักษะและเจตนคติ หรือการนำไปใช้มีหลักการเขียน คือ 5.1. ต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่องและความสำคัญของโครงงาน 5.2. ควรกำหนดเป็นข้อ ๆ ไม่นิยมเขียนเป็นความเรียง 5.3. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ใช้ภาษาเข้าใจง่าย 5.2. เขียนเรียงลำดับจาก วัตถุประสงค์ข้อแรกๆ เป็นลักษณะทั่ว ๆ ไป เช่น 1. เพื่อศึกษาแนวทาง. 2. เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์... จนสุดท้ายเป็นการนำไปใช้ประโยชน์ หรือจะเรียงลำดับเริ่มต้นจาก 1. เพื่อศึกษา.. (ด้านความรู้) 2. เพื่อฝึกทักษะ. (กระบวนการทำงาน) 3. เพื่อเกิดเจตนคติ (ความคิดเห็น,คุณลักษณะที่ดี) ก็ได้ เพื่อศึกษาแนวทางและความรู้ในการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ - เพื่อเป็นการหารายได้ระหว่างเรียน - เพื่อศึกษาแนวทางและความรู้ในการประกอบอาชีพ เพื่อฝึกทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อสร้างเสริมเจตนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต จะพบว่า วัตถุประสงค์คือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อทำโครงงานอาชีพนี้ ซึ่ง เป็นทั้งด้านความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และเจตนคติในการประกอบอาชีพที่สุจริต

6.ระยะเวลา การเขียนระยะเวลาในการดำเนินงานอาชีพเป็นการระบุวันที่เริ่มทำโครงงาน วันสิ้นสุด โครงงานและกำหนดวันเวลาที่ปฏิบัติงาน เป็นแผนงานรายสัปดาห์ซึ่งควรกำหนดระยะ เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ของกิจกรรมแต่ละกิจกรรม การกำหนดระยะเวลาจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนงาน ตลอดจนประเมินผล สำเร็จของงานว่าเป็นไปตามกำหนดหรือไม่หากการทำงานไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่ กำหนด จำเป็นต้อง ปรับปรุงแก้ไขเพื่อไม่ให้ล่าช้าจนงานเสร็จไม่ทันเวลา การกำหนดระยะเวลาทำงานเป็นราย สัปดาห์ทำให้เรา สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการดำเนินงานถึงขั้นตอนใดแล้วในแต่ละสัปดาห์ และจะเสร็จสิ้นได้ทันตามกำหนดหรือไม่ หากล่าช้า จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที

7. สถานที่ดำเนินงาน ในการทำงานแต่ละครั้งต้องกำหนดขอบเขตด้านสถานที่ให้แน่นอนเพื่อสะดวกในการติดต่อ ปฏิบัติงานและการจำหน่ายในการเลือกสถานที่ปฏิบัติงานอาจเป็นบ้าน โรงเรียน ตลาดหรือ แหล่งประกอบการ เพื่อให้นักเรียนสามารถทำงานได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเหมาะสม กับการปฏิบัติงาอาชีพ ตัวอย่าง โครงงานวุ้นหลากสี กำหนดสถานที่ปฏิบัติงานไว้ที่บ้านของนางสาวสมใจ ทองประดิษฐ์ เลขที่ 108/1 ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง และจะนำไปจำหน่ายที่โรงอาหารของโรงเรียน มาบตาพุดพันพิทยาคาร ในการเขียนสถานที่ดำเนินงานจึงเขียนดังนี้ สถานที่ดำเนินงาน 1. บ้านเลขที่ 108/1 ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง 2. โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร อ.เมือง จ.ระยอง ข้อสังเกต สถานที่แรกคือ สถานที่ปฏิบัติงาน ส่วนสถานที่โรงเรียน คือสถานที่จำหน่ายผล งานซึ่งควรเขียนระบุ ที่ตั้งสถานที่ ให้ชัดเจน 8. งบประมาณ ในการจัดทำโครงงานทุกครั้งต้องมีการประมาณการค่าใช้จ่ายไว้ล่วงหน้า เพราะงบประมาณ เป็นตัวช่วยให้งานสำเร็จลงได้ถ้าขาดงบประมาณแล้วทุกอย่างก็อาจล้มเหลวได้การตั้งงบ ประมาณควรคำนึง ความประหยัด คุ้มค่า และพอเพียงจะช่วยให้เราใช้จ่ายอยู่ในขอบเขตที่จำเป็นและเป็นการ เตรียมตัวเพื่อหาทุน มาดำเนินงานให้พร้อมควรคิดคำนวณงบประมาณให้รอบคอบกำหนดตามรายจ่ายที่จำเป็น และเผื่อจำนวนหนึ่ง ไว้สำหรับเป็นเงินทุนสำรองสำหรับการเขียนในโครงงานนั้นอาจไม่ต้องแจกแจงรายละเอียด เพียงเขียนเป็น งบประมาณที่เป็นยอดรวมและแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายกับเงินทุนสำรองสำหรับที่มาของงบ ประมาณนั้นมาจาก สมาชิกร่วมกันลงทุนหรือมาจากผู้อื่นเช่น ครูที่ปรึกษาผู้ปกครอง ซึ่งสนใจร่วมลงทุนก็ได้

บันทึก ตัวอย่าง 1. โครงงานวุ้นหลากสี คิดค่าใช้จ่ายในการทดลองทำวุ้นครั้ง แรก เป็นเงิน 90 บาท 2. ค่าใช้จ่ายในการลงทุนทำวุ้นเพื่อจำหน่ายจริง 195 บาท 3. ค่าใช้จ่ายสำหรับการตกแต่งหน้าร้านจำหน่าย เป็นเงิน 65 บาท 4. ค่าใช้จ่ายสำหรับภาชนะบรรจุวุ้น และถุงสำหรับใส่วุ้นให้ ลูกค้า 80 บาท 5. ในการดำเนินงานตามโครงงานนี้ ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ คือ 90+195+65+80 = 430 บาท ถ้ากำหนด เงินทุนสำรองไว้ 70 บาท รวมเงินทุนสำรองแล้วงบประมาณที่ ใช้สมควรเป็น 500 บาท เมื่อเขียน ในโครงงาน จะเป็นดังนี้ งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 500 บาท แบ่งเป็น 1. ค่าใช้จ่าย 430 บาท 2. ทุนสำรอง 70 บาท สรุปได้ว่า งบประมาณ ควรกำหนดคำาใช้จ่ายตั้งแต่การ ทดลองทำครั้งแรกก่อนจำหน่ายจริงและ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการผลิตแต่ละครั้ง รวมทั้งค่าใช้จ่าย อื่น 1 ด้วย แล้วจึงรวมเงินทุนที่กำหนดเป็น เงินทุนสำรองจะเป็นงบประมาณที่ใช้ทั้งหมด อย่าลืม คำนวณ ให้รอบคอบตามค่าใช้จ่ายที่แท้จริงและจำเป็นโดย คำนึงถึงความประหยัด คุ้มค่า และพอเพียงกับการดำเนินงาน

9. วิธีดำเนินงาน หมายถึงการกำหนดกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่จะต้องจัดทำขึ้นในโครงงานโดย จัดเรียงลำดับก่อนหลังคำนึงถึง กระบวนการในการทำโครงงานตามขั้นตอนการดำเนินงานแบ่งกิจกรรม เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การเตรียมการ 2. การเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ 3. การดำเนินงาน 4. การสรุปและประเมินผล การเตรียมการ หมายถึง การเตรียมดำเนินงานโครงงานตั้งแต่ต้น คือ การ ศึกษาสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การเลือกหัวข้อโครงงาน การเขียนโครงงานอาชีพเพื่อขออนุมัติการเตรียม จัดหาทุน และ ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบ การเตรียมสถานที่และวัสดุ อุปกรณ์ หมายถึง การเตรียมด้านสถานที่ทำงานและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินโครงงานและ การจำหน่าย การดำเนินงาน หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ การจัดซื้อวัสดุ การลงมือทำ การ จำหน่าย การทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์และพื้นที่หลังการจำหน่ายซึ่งควรมี การ สับเปลี่ยนหน้าที่การทำงานกันให้เหมาะสม การสรุปและประเมินผล หมายถึง การสรุปผลการทำงานและประเมินผลการ ทำงานว่าเป็นไป ตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการหรือไม่ ได้ผลอย่างไร โดยมีการประเมิน ระหว่างการ ทำงาน และประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงงาน และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา โครงงานสู่ อาชีพจริงในอนาคต

ตัวอย่างการเขียนวิธีดำเนินงานของโครงงานวุ้นหลากสี วิธีดำเนินงาน 1. การเตรียมการ 1.1 ศึกษาสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 1.2 เขียนโครงงานอาชีพที่เลือก 1.3 ขออนุมัติโครงงานอาชีพ 1.4 เตรียมหาทุน 1.5 ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าเป้าหมายทราบ 2. การเตรียมสถานที่/วัสดุอุปกรณ์ 2.1 จัดตกแต่งสถานที่ 2.2 เตรียมวัสดุอุปกรณ์และภาชนะต่าง ๆ 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 ลงมือทำวุ้นหลากสีและจำหน่าย โดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ ชื้อวัสดุ /จัดตกแต่ง / ทำความสะอาดร้าน /ล้างภาชนะ/ บริการลูกค้า / เก็บเงิน ทำบัญชี 4. ขั้นตอนการสรุปและประเมินผล 4.1 ประเมินระหว่างการปฏิบัติงาน 4.2 ประเมินสรุปเมื่อปฏิบัติงานเสร็จสิ้น 4.3 เสนอแนะแนวทางการพัฒนาอาชีพ จากตัวอย่างจะพบว่า มีการกำหนดกิจกรรมย่อย 1 โดยใช้ขั้นตอนการดำเนิน งาน 4 ขั้นตอน จะทำให้เราวางแผนการดำเนินงานได้อย่างละเอียดและชัดเจน ทุกคนในกลุ่ม จะเข้าใจการทำงานได้ตรงกัน สามารถทำงานและตรวจสอบตามขั้นตอนการดำเนินงานได้ร่วมกัน 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ การเขียนผลที่คาดว่าจะได้รับเป็นการเขียนผลของการคาดคะเนว่าถ้าหาก โครงงานนี้สำเร็จเรียบร้อย แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในอนาคต เช่น เกิดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในด้าน งานอาชีพการมีผลผลิตที่ เกิดขึ้นจากการทำงาน หรือทรัพย์สินที่เกิดขึ้นเพิ่มเติมเช่นอาจซื้อวัสดุอุปกรณ์ ในการทำงานเพิ่มรายได้หรือ กำไรที่คาดว่าจะได้รับเมื่อสิ้นสุดโครงงน เจตคติหรือคุณลักษณะที่ดี ที่มีต่อ การทำงาน การเขียนผลที่คาดว่า จะได้รับ นิยมเขียนเป็น ข้อ ๆ เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์และควรเขียนให้ สอดคล้องกัน

การเขียนผลที่คาดว่าจะได้รับ อาจระบุเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้ ด้านความรู้และประสบการณ์ 2. ด้านผลผลิต ทรัพย์สิน กำไร 3. ด้านเจตคติ และเขียนรายละเอียดผลที่คาดว่าจะได้รับให้ตรงตาม หัวข้อก็จะชัดเจนมากขึ้น แต่จะเขียนผลที่คาดว่าจะได้รับโดยเขียนเรียงไปเป็นข้อ ๆ โดยไม่ยก เป็นด้านต่าง ๆ ก็ได้ ตัวอย่าง 1. โครงงนอาชีพวุ้นหลากสีได้เขียนผลที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ด้านความรู้และประสบการณ์ 1.1 สมาชิกมีความรู้และประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ 1.2 สมาชิกเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพในอนาคต ด้านผลผลิต ทรัพย์สิน กำไร 2.2 สมาชิกสามารถจำหน่ายวุ้นหลากสีได้อย่างน้อย วันละ 20 ถ้วย 2.3 มีกำไรจากการดำเนินงานทั้งสิ้น ประมาณ 200 บาท ด้านเจตคติ 3.1 ทำให้สมาชิกเห็นคุณค่าของการประกอบอาชีพอิสระ 3.2 สมาชิกมีนิสัยรักการทำงาน 2. โครงงานบัตรอวยพร เขียนผลที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 2.1 ได้รับความรู้และประสบการณ์ในการประกอบอาชีพทำบัตรอวยพร 2.2 สามารถจัดทำและจำหน่ายบัตรอวยพรได้อย่างน้อย 100แผ่น 2.3 สามารถมีกำไรจากการดำเนินงาน ประมาณ 250บาท 2.4 สมาชิกมีนิสัยที่ดีในการทำงานอาชีพร่วมกัน 2.5 สมาชิกเห็นคุณค่าของการประกอบอาชีพสุจริต ซึ่งเป็นการเขียนผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อสิ้นสุดโครงงานได้อย่าง เหมาะสมทั้งสองโครงงาน

ความสำคัญของการเขียนเค้าโครงของโครงงานอาชีพ การเขียนเค้าโครงของโครงงานอาชีพคือการวางแผน ซึ่งเปรียบ เสมือนสมองของมนุษย์ การวางแผนจึงมีความสำคัญ เพราะถ้าสมองไม่ทำงานส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขาก็จะทำ อะไรไม่ได้ การวางแผนมีประโยชน์ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น 1. ช่วยลดการสูญเสียจากการทำงานซ้ำซ้อนในการทำงานของ สมาชิกในกลุ่ม 2. ทำให้มีการกำหนดขอบเขตในการทำงานที่แน่นอน และมีนโยบายที่ ชัดเจนสมาชิกทุกคนรับทราบ 3. ช่วยให้หัวหน้ากลุ่มสามารถเตรียมรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และ ความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนป้องกันการขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในการทำงานกลุ่มได้ 4. การวางแผนเป็นเครื่องมือในการบริหารของผู้นำ เพื่อให้การ ดำเนินงานประสบผลสำเร็จอย่างมี ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดเวลา และทรัพยากร 5. การวางแผนจะช่วยให้เกิดการประสานสัมพันธ์ภายในองค์กร ทำให้ การปฏิบัติเป็นไปด้วยความราบรื่น และสามารถตรวจสอบความสำเร็จของเป้าหมายได้ 6. คุณภาพของการวางแผนจะมีมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการ วิเคราะห์ความถูกต้องของสิ่งต่างๆ 6.1 รู้ว่ากิจการมีทรัพยากรที่แท้จริงอยู่มากหรือน้อยเพียงใด 6.2 เคยประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวมาอย่างไรบ้างและเกิดขึ้น เพราะเหตุใด 6.3 รู้สถานการณ์รอบ ๆ ตัว ในขณะที่ทำงานวางแผนว่ามีสภาพเป็น อย่างไรโครงงานมี จุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร สถานการณ์ภายนอกจะก่อให้เกิดผลได้ผล เสียต่อโครงงานอย่างไร 6.4 สามารถทำนายสถานการณ์ในอนาคตได้อย่างถูกต้อง หรือมี ความใกล้เคียงความจริงมาก หรือน้อยเพียงใด

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.