pdf_20230123_131753_0000 Flipbook PDF


66 downloads 107 Views 7MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

โรค แพนิค (PANIC DISORDER)



คำนำ

อีบุ๊ก เรื่อง โรคแพนิค จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ศึกษา ความรู้เกี่ยวกับโรคแพนิค เนื่องจากสถานการณ์การในปัจจุบันอยู่ในการ ทำงานที่แข่งขัน ใช้ชีวิตอย่างจริงจัง ทำให้เกิดการสะสมความเครียดและ ความกดดัน ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะทางจิตใจ เช่น โรคแพนิค จนส่งผลก ระทบต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ ข้าพเจ้าจึงหยิบยก ความรู้เรื่องโรคแพนิค มา ให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรค อาการของโรค การรักษา และการดูแลตัวเอง โดยข้าพเจ้าศึกษาผ่านแหล่งความรู้เว็บไซต์ต่างๆ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อีบุ๊กเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษา ค้นคว้าเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทำ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

นันทกานต์ เด่นนภาคุณากร 14 ธันวาคม 2565



สารบัญ หน้า คำนำ



สารบัญ



แพนิคคืออะไร?

1

สาเหตุโรคแพนิค?

2

การประเมินโรคแพนิคเบื้องต้นจากอาการ

3

อาการโรคแพนิค

4-6

หากเป็นโรคแพนิคต้องรักษาอย่างไร

7-9

การปรับพฤติกรรมตนเองในการดูแลตัวเอง

10

การปฐมพยาบาลผู้มีภาวะแพนิค

11-12

คิดมากแค่ไหนถึงเรียกแพนิค

13

เทคนิคการเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้เป็นโรคแพนิค

14

อาหารที่ผู้ป่วยโรคแพนิคควรหลีกเลี่ยง

15

บรรณานุกรม

16

แพนิคคืออะไร?

1

“โรคตื่นตระหนก” มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษที่หลายคนคง เคยได้ยินบ่อยๆ ว่า “โรคแพนิค” (Panic Disorder) เป็นโรควิตก กังวลชนิดหนึ่งที่มีความวิตกกังวลสุดขีด หรือมีความกลัว ความอึดอัด ไม่ สบายอย่างรุนแรง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและถึงขีดสูงสุดในเวลา 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆ ทุเลาลง อาการมักหายในเวลาประมาณ

ครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการหายผู้ป่วยมักเพลีย และในช่วงที่ไม่มีอาการ แพนิก ผู้ป่วยจะกลัวว่าจะเป็นอีก ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเองโดย ไม่มีปัจจัยกระตุ้น พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ทำให้ความสามารถใน การประกอบอาชีพลดลง และความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด ตึงเครียด มากขึ้น ผู้ป่วยมักคิดว่าตนเองเป็นโรคหัวใจหรือ โรคร้ายแรง เวียนไป พบแพทย์บ่อยๆ ซึ่งการตรวจร่างกายและการทดสอบพิเศษจะไม่พบ ความผิดปกติ ทำให้ยิ่งกังวลไปกันใหญ่ สรุปแล้ว ฉันเป็นอะไรกันแน่?

สาเหตุโรคแพนิค?

2

สาเหตุทางกาย ได้แก่ ปัจจัยด้านพันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล มีโอกาสเกิดอาการได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในเครือญาติ ปัจจัยด้านฮอร์โมนในร่างกาย : ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง อาจทำให้ สารเคมีในสมองเสียสมดุลการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ไป เกิดเป็นโรคแพนิคได้

สาเหตุทางจิตใจ ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล พฤติกรรมหลายอย่างในชีวิตประจำวัน เป็น ส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคได้ เช่น การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ทำงาน กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออยู่กับมือถือเป็นเวลานาน พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย หรือต้องเผชิญกับสภาวะกดดัน เป็นต้น ผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง เช่น การสูญเสีย ผิดหวังรุนแรง

การประเมินโรคแพนิคเบื้องต้น จากอาการดังต่อไปนี้





1.ใจสั่น ใจเต้นแรง หรือใจเต้นเร็วมาก 2.เหงื่อแตก 3.ตัวสั่น มือเท้าสั่น 4.หายใจไม่อิ่ม หรือ หายใจขัด 5.รู้สึกอึดอัด หรือแน่นอยู่ข้างใน

6.เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก 7.คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน 8.วิงเวียน โคลงเคลง มึนตื้อ หรือเป็นลม 9.ครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวสั่น ร้อนวูบวาบ เหมือนจะเป็นไข้ 10.รู้สึกชา หรือรู้สึกซ่า ๆ (paresthesia) 11.รู้สึกเหมือนสิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงไป (derealization หรือ depersonalization) 12.กลัวคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวเป็นบ้า 13.กลัวว่าตนเองกำลังจะตาย

3

4

อาการของโรคแพนิค (Panic Disorder) มีอะไรบ้าง และอาการร่วมกับโรคอื่นมีอะไรบ้าง ?



ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค

จะมีอาการที่เรียกว่า “panic attack” นั่นก็ คือกลุ่มอาการตามที่ปรากฎอยู่ในแบบทดสอบข้างต้นตั้งแต่ 4 ข้อขึ้น ไป โดยเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างคาดการณ์ไม่ได้ และมีอาการอื่น ๆ ต่อ เนื่องจากอาการเหล่านั้น เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน (หรือมากกว่า) ดังต่อไปนี้

1. กังวลว่าจะเกิดอาการขึ้นอีกอยู่ตลอดเวลา 2. กังวลว่าอาจเกิดโรคร้ายแรงหรือกังวลเกี่ยวกับผลติดตามมา (เช่น คุมตัวเองไม่ได้ เป็นโรคหัวใจ เป็นบ้า เป็นต้น) 3. พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เช่น ไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวจะเกิดอาการขึ้น หรือไม่กล้าใช้ชีวิตประจำวันตาม ปกติที่เคยทำเป็นประจำ เนื่องจากการเกิดอาการอาจมีอาการคล้ายกับโรคอื่นได้หลายอย่าง เช่น อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น จึงจำเป็นต้องตรวจร่างกาย เพื่อค้นหาโรคทางด้านร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุให้มีอาการนั้น ๆ ก่อน เช่น ตรวจคลื่นหัวใจ หรือ ส่งเจาะเลือดวัดระดับไทรอยด์ เป็นต้น

5

อาการของโรคแพนิค (Panic Disorder) มีอะไรบ้าง และอาการร่วมกับโรคอื่นมีอะไรบ้าง ?



(ต่อ) แม้ว่าผลการตรวจร่างกายปกติดี ก็ยังไม่สามารถวินิจฉัย

ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) เนื่องจากว่ายัง มีโรคทางจิตเวชอื่นๆ สามารถเกิดอาการ panic attack ได้เช่นกัน ได้แก่ โรคกลัวที่ชุมชน หรือ Agoraphobia:กังวลต่อการเข้าไป เกี่ยวข้องหรือไปอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่อาจหลีกเลี่ยง

ได้ลำบาก หรืออาจไม่ได้รับการช่วยเหลือ เช่น การออกนอก บ้านตามลำพัง โรคกลัวเฉพาะอย่าง หรือ Specific Phobia: กังวลหรือหวาด กลัวอย่างรุนแรงต่อการอยู่ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง โดยเฉพาะ หรือมีอาการต่อสถานการณ์เพียงไม่กี่สถานการณ์ เท่านั้น เช่น การขึ้นลิฟท์ โรคกลัวสังคม หรือ Social Phobia: กังวลต่อการพบปะผู้คน อาจรู้สึกประหม่าหากต้องอยู่ในสถานการณ์ที่รู้สึกว่ามีคนจับ จ้องมาที่ตนเอง เช่น การพูดต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก

6

อาการของโรคแพนิค (Panic Disorder) มีอะไรบ้าง และอาการร่วมกับโรคอื่นมีอะไรบ้าง ?



ๆ เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessiveโรคทางจิตเวชอื่น Compulsive Disorder) เช่น บางคนหลีกเลี่ยงสิ่งสกปรก เนื่องจากหมกมุ่นกับการกลัวติดเชื้อโรค โรคเครียดภายหลังจากเหตุการณ์ร้ายแรง (Posttraumatic

Stress Disorder) เช่น หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับความ กดดันที่รุนแรงนั้น หรือ โรควิตกกังวลจากการพรากจาก (Separation Anxiety Disorder) เช่น หลีกเลี่ยงการห่างจากบ้านหรือญาติ รวมทั้ง โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า ก็สามารถเกิด panic attack ได้เช่นกัน

หากเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) ต้องรักษาอย่างไร ?

7



โรคแพนิค (Panic disorder) ไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง หรือทำให้มี

อันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้เกิดความกังวลกับผู้ที่เป็น และต้องรักษา หากกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้โดย ปกติ ซึ่งการรักษาแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ



1.การรักษาด้วยยา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองเป็นสาเหตุ หนึ่งของการเกิดโรคแพนิค ดังนั้นการรับประทานยา เพื่อไปปรับ สมดุลของสารสื่อประสาทในสมองจึงมีความจำเป็น และใช้เวลาใน การรักษาประมาณ 8-12 เดือน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นให้เกิด โรคของแต่ละบุคคล จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่ เป็นโรคนี้ สามารถหายขาดได้

หากเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) ต้องรักษาอย่างไร ?

8

การรักษาด้วยยา

ยารักษากลุ่มอาการตื่นตระหนกแบ่งตามการออกฤทธิ์ได้ ดังนี้ 1. ยากลุ่มออกฤทธิ์เร็ว ยากลุ่มนี้ควบคุมอาการของโรคได้เร็ว แพทย์จึงมักให้ยากลุ่มนี้ใน ระยะแรกหรือให้ในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อควบคุมอาการ เช่น ยากลุ่ม

ช่วยคลายเครียดและนอนหลับ (Benzodiazepines) 2. ยากลุ่มออกฤทธิ์ช้า ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ต้องใช้ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ เนื่องจากยาไป เปลี่ยนแปลงระดับสารสื่อประสาทในสมอง ผู้ป่วยจึงต้องรับประทาน ยาติดต่อกันอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ จึงเริ่มเห็นผล แพทย์มักพิจารณาให้ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์เร็วและออกฤทธิ์ช้าร่วมกัน ในระยะแรก การรักษาผู้ป่วยโดยการใช้ยาครั้งแรกอาจต้องทำการ รักษาต่อเนื่อง 8-12 เดือน แพทย์จึงพิจารณาหยุดยา ดังนั้น ผู้เข้า รับการรักษาควรรับประทานยาต่อเนื่องตามคำสั่งของแพทย์อย่าง เคร่งครัด



หากเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) ต้องรักษาอย่างไร ?

9

2.การรักษาทางใจ

คือการทำจิตบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม ซึ่งมีหลายวิธี เช่น ฝึกหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจเข้า – ออก ลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการ โดยหายใจ

เข้าให้ท้องป่องและหายใจออกให้ท้องยุบในจังหวะที่ช้า ซึ่งจะ ทำให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับตัว หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มผ่อน คลายและอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ตั้งสติ บอกกับตัวเองว่าอาการที่เกิด ขึ้นเป็นแค่เรื่องชั่วคราว สามารถหายได้และไม่อันตรายถึงแก่ ชีวิต การฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ หรือ ปวดตึงกล้ามเนื้อ การฝึกสมาธิ การฝึกคิดในทางบวก



ปรับพฤติกรรมเพื่อการดูแลตนเอง อย่างไรให้เหมาะสม ?



10

พักผ่อนให้เพียงพอและมีสุขลักษณะการนอนที่ดี หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติดและกลุ่มยา ที่ มีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดอาการใจสั่น เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นปัจจัย กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิกได้ ลดหรืองด เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชู

กำลัง น้ำอัดลม ออกกำลังกายพอเหมาะสม ตามความสามารถ

การปฐมพยาบาลผู้มีภาวะแพนิค



11

เมื่อพบเห็นผู้ที่มีอาการตื่นตระหนกหรือแพนิค ใครๆ ก็สามารถให้การ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้โดยปฏิบัติตามขั้นตอนง่ายๆ ที่เรียกว่า “ALGEE” ดังนี้ A (Aware and Assess) ตั้งสติ ประเมินสถานการณ์ การช่วยเหลือผู้มีภาวะแพนิค จากนั้นผู้ช่วยเหลือควรประเมินว่าเขาเคย มีอาการเช่นนี้มาก่อนหรือไม่ ผู้ช่วยเหลือควรพาเขาออกจากสิ่งแวดล้อม

ที่มีผู้คนพลุกพล่านไปนั่งในบริเวณที่สงบ ลองเสนอให้เขาดื่มน้ำสัก เล็กน้อยอาจช่วยให้ผ่อนคลายลงและอาการลดลง L (Listen non-judgmentally) รับฟังโดยไม่ตัดสิน แม้ผู้ช่วย เหลือรู้ดีว่าอาการแพนิคไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตแน่นอน ในขณะ ที่ผู้ป่วยแพนิคที่หวาดกลัวอย่างมากว่าตนใกล้จะตาย ผู้ช่วยเหลือก็ควร รับฟังสิ่งที่เขาพูดด้วยท่าทีใส่ใจ หลีกเลี่ยงคำพูดที่เป็นการดูถูกหรือ ตัดสินเขา G (Give reassurance) ให้ความมั่นใจว่าเขาจะปลอดภัย เช่น พูดว่า “คุณจะไม่เป็นไรค่ะ เดี๋ยวมันก็ผ่านไป”

การปฐมพยาบาลผู้มีภาวะแพนิก



12

E (Encourage slow breathing) แนะนำให้เขาหายใจช้าลง โดยหายใจเข้าทางจมูกและหายใจออกทางปากช้าๆ (เนื่องจากผู้มี ภาวะแพนิคมักหายใจเร็วและตื้น ทำให้ได้รับออกซิเจนมากเกินไปจึง ต้องทำให้ร่างกายเกิดภาวะสมดุลโดยการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์) ผู้ ช่วยเหลืออาจใช้วิธีนำจังหวะการหายใจ เช่น ยกมือขึ้นเพื่อนำการ

หายใจเข้าและเอามือลงเพื่อนำการหายใจออก พร้อมให้กำลังใจเป็น ระยะว่าเขาทำได้ดีแล้ว E (Encourage professional help) แนะนำให้เขาพบแพทย์เพื่อ การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ในกรณีที่เขามีอาการครั้งแรกหรือไม่เคยพบ แพทย์มาก่อน ควรแนะนำให้เขาพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง บางคนมีอาการแพนิคมากกว่า 1 ครั้ง แต่ไม่ต้องการพบแพทย์เพราะ กลัวถูกตีตราว่าเป็นผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากอาการแพนิคเกิดขึ้นได้กับทุกคนแม้ในคนปกติ การปฐมพยาบาลผู้มีภาวะแพนิคนั้นไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป เพียงปฏิบัติตามขั้นตอนง่ายๆ ที่เรียกว่า “ALGEE” ข้างต้นนี้ ก็ สามารถช่วยเหลือให้ผู้ที่มีอาการแพนิกอาการทุเลาลงได้

13

คิดมากแค่ไหนถึงเรียกแพนิค





เทคนิคการเลือกรับประทานอาหาร สำหรับผู้ที่เป็นโรคแพนิค



14

1. กินอาหารให้มีความสมดุลของ น้ำตาล คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เพื่อการทำงานที่ทำให้มีสุขภาพดี 2. กินอาหารที่อุดมด้วยสังกะสี เช่น ธัญพืช หอยนางรม ผักคะน้า บรอกโคลี ถั่ว พืชตระกูลถั่ว 3. กินอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม เช่น ปลา อะโวคาโด ผักใบ เขียวเข้ม

4. กินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ อะโวคาโด 5. กินอาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมกเคอเรล ปลาซาร์ดีน ถั่วเหลือง 6. กินอาหารที่อุดมด้วยโปรไบโอติก เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว



15

อาหารที่ผู้ป่วยโรคแพนิคควรหลีกเลี่ยง



โรคแพนิค คือโรคทางจิตใจซึ่งอาจจะไม่ได้มีข้อจำกัดในการรับ ประทานอาหารที่เคร่งครัดเหมือนกับโรคอื่นๆ แต่ก็ใช่ว่าจะ

สามารถทานอาหารได้ทุกประเภท เพราะอาจจะไปกระตุ้นสาร ในสมองให้เกิดความวิตกกังวล และทำให้อาการของโรคแพนิค กำเริบได้ ซึ่งอาหารที่ผู้ป่วยแพนิคควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ 1.กาแฟ การได้รับคาเฟอีนอาจทำให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล และอาจทำให้ผู้ป่วยโรคแพนิคมีอาการกำเริบขึ้น 2.แอลกอฮอล์ สิ่งที่ตามมาหลังจากดื่มก็คือ ความวิตกกังวล กระ สับกระส่าย และนอนไม่หลับมากกว่าเดิม 3.ลูกอมขนมหวาน อาหารที่มีน้ำตาลสูงอาจส่งผลให้รู้สึก อ่อนเพลียหลังจากรับประทานได้ 4.อาหารแปรรูปและครีมเทียม เช่น ไส้กรอก เค้ก ซึ่งอาจ กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวลได้เช่นกัน

บรรณานุกรม

16





พญ.พรทิพย์ ศรีโสภิต. (2564). โรคแพนิค (Panic Disorder) คืออะไร มีเกณฑ์ การวินิจฉัยอย่างไร (ออนไลน์). https://www.praram9.com/panic-disorder/, 13 ธันวาคม 2565. โรงพยาบาลมนารมย์. (2561). โรคแพนิก - โรคตื่นตระหนก (Panic disorder) (ออนไลน์). https://www.manarom.com/blog/panic.html, 14 ธันวาคม 2565

สื่อสารองค์กร ธรรมศาสตร์. (2561). คิดมากแค่ไหนถึงเรียกโรคแพนิค (ออนไลน์). https://www.facebook.com/thammasat.pr/posts/1909214582460407/? paipv=0&eav=AfZ1mO6SQS4_1SJ95uF0cQY1u0edfELjgqcfYl1cxasOeN4xRoOmcZUpt9gN5m_Ll0&_rdr, 15 ะันวาคม 2565 Allwell. (2563). โรคแพนิคคือ อะไร และเมื่ออาการกำเริบส่งผลเสียต่อการดำเนิน ชีวิตของผู้ป่วยจริงหรือไม่ (ออนไลน์). https://allwellhealthcare.com/panicsymptoms/#section5, 15 ธันวาคม 2565

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.