Rooru Rooru บัวกลม Flipbook PDF


11 downloads 105 Views 13MB Size

Recommend Stories


Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF
Get Instant Access to eBook Empresas Headhunters Chile PDF at Our Huge Library EMPRESAS HEADHUNTERS CHILE PDF ==> Download: EMPRESAS HEADHUNTERS CHIL

Story Transcript

Rooru Rooru บัวกลม จัดทำโดย นายธนกฤต จำเรียน เลขที่ 2 นางสาวจงภัค ประโยชน์ดี เลขที่ 21 นางสาวชลธิชา หอมจันทร์ เลขที่ 23 นางสาวเพชรรัตน์ เขียววงศ์ใหญ่ เลขที่ 25 นางสาวรัชนี บุญมี เลขที่ 28 นางสาวศิรประภา วงค์เมทา เลขที่ 29 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 เสนอ ครูอารยา บัววัฒน์ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสื่อสารและการนำสนอ รหัสวิชา I30202 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒


ก บทคัดย่อ โครงงานเรื่องRooru Rooru บัวกลม มีจุดประสงค์เพื่อ (1)เพื่อประยุกต์รูปร่าง รูปแบบ ของ บัวลอยให้ทันสมัยมากขึ้น (2)เพื่อปรับเปลี่ยนการรับประทานบัวลอยให้สะดวกมากขึ้น (3)เพื่อสร้าง รายได้ ในการทำขนม Rooru Rooru บัวกลม คณะผู้จัดทำได้ใช้วัตถุดิบในการทำโดยประกอบด้วย (1)แป้งข้าวจ้าว (2)แป้งข้าวเหนียว (3)น้ำเปล่า (4)น้ำตาลททรายขาว (5)มันไข่ส้ม (6)เผือก (7)กล้วย (8)อัญชัน (9)กะทิ โดยมีวิธีการทำดังนี้ (1)ผสมแป้งข้าวเหนียวและแป้งข้าวจ้าวด้วยน้ำเข้าด้วยกัน (2)ต้ม ผักที่เตรียมเอาไว้ประมาณ 5-10 นาที จึงค่อยนำขึ้นมา (3)ปอกเปลือกของผักกับผลไม้ที่เตรียมไว้ และ นำไปบด (4)นำแป้งที่ผสมน้ำไว้มาผสมกับผักกับผลไม้ที่เตรียมไว้ส่วนนึงมานวดเข้าด้วยกัน (5)นำแป้งที่ นวดไว้มาแผ่ออกแล้วนำนำผลไม้อีกส่วนที่เตรียมไว้มาตักใส่ลงบนนแป้ง แล้งปั้นปิดเป็นลูก (6)นำไปต้ม ไฟกลางรอจนบัวลอยขึ้นมาสัก 1-2 นาที จึงตักขึ้นใส่ถ้วยน้ำเปล่าอุณหภูมิห้องประมาณ 5 นาที (7)นำไม้ ที่เตรียมไว้มาเสียบบัวลอยไม้ละ 2-3 ลูก พร้อมราดน้ำที่เตรียมไว้ พร้อมใส่จานเสิร์ฟ จากการศึกษารวบรวมข้อมูล สามารถทำได้จริงเนื่องจากดัดแปลงเพียงลักษณะการรับประทาน และรูปลักษณ์ไม่มีการปรับเปลี่ยนวิธีทำบัวลอยจนไม่เหมาะสมหรือปรับเปลี่ยนจนรสชาติแย่ลง และ ไม่ได้ปรับเปลี่ยนจนสูญเสียความเป็นบัวลอย


ข กิตติกรรมประกาศ โครงงานวิจัยฉบับนี้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างยิ่งจาก คุณครูอารยา บัววัฒน์คุณครูที่ปรึกษา ที่ได้ให้คำแนะนำปรึกษาและข้อมูลต่างๆ ขอกราบขอบพระคุณ อย่างสูง ณโอกาสนี้ ขอขอบพระคุณคุณครู โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา๒ ที่ได้ให้คำแนะนำตลอดจน ตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย อนึ่ง ผู้วิจัยหวังว่า งานวิจัยฉบับนี้จะมีประโยชน์อยู่ไม่น้อย จึงขอมอบส่วนดีทั้งหมดนี้ให้แก่เหล่า อาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาจนทำให้ผลงานวิจัยเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง และขอมอบความ กตัญญูกตเวทิตาคุณแด่บิดา มารดา และผู้มีพระคุณทุกท่านตลอดจนเพื่อนๆ ที่คอยให้ความช่วยเหลือ และกำลังใจ สำหรับโครงงานเล่มนี้ให้สำเร็จลุล่วง คณะผู้จัดทำ


ค สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญสาร ค สารบัญตาราง ง สารบัญรูปภาพ บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ของการศึกษา ขอบเขตของการศึกษา สมมติฐานของการศึกษา ตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานทดลอง บทที่ 4 ผลการทดลอง บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย แและข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก


ง สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 2 การวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อบัวลอย


จ สารบัญรูปภาพ หน้า ภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 1 ภาพที่ 2 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 2 ภาพที่ 3 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 3 ภาพที่ 4 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 4 ภาพที่ 5 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 5 ภาพที่ 6 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 6 ภาพที่ 7 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 7 ภาพที่ 8 แสดงขั้นตอนการทำขั้นที่ 8 ภาพที่ 9 แสดงความสำเร็จของบัวลอย ภาพที่ 10 แสดงแบบสอบถามความพึงพอใจ


1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน เนื่องจากปัจจุบันความนิยมในการบริโภคขนมไทยลดลง วิธีรับประทานไม่สะดวก ร่างหน้าตา ธรรมดาไม่น่าสนใจมีรสชาติที่พบเจอได้ทั่วไปไม่แปลกใหม่เราจึงยกขนมบัวลอย มาปรับเปลี่ยนวิธีการ รับประทานรสชาติและรูปลักษณ์ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ถ้าสร้างรายได้เสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ตนสนใจให้ดียิ่งขึ้น 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.2.1 เพื่อประยุกต์รูปแบบ รูปร่าง ของบัวลอยให้ทันสมัยมากขึ้น 1.2.1 เพื่อปรับเปลี่ยนการรับประทานบัวลอยให้สะดวกมากขึ้น 1.2.3 เพื่อสร้างรายได้ 1.3 ขอบเขตการศึกษา 1.3.1 มีรูปร่างลักษณะน่าสนใจ 1.3.2 รสชาติของบัวลอย 1.3.3 ความสะดวกสบายในการรับประทาน 1.3.4 ปริมาณที่เหมาะสมกับราคา 1.3.5 สามารถสร้างรายได้ระหว่างเรียน 1.4 สมมติฐานของการศึกษา 1.4.1 สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่าง รูปแบบ ของบัวลอยให้ทันสมัยได้หรือไม่ 1.4.2 สามารถปรับเปลี่ยนการรับประทานบัว ได้สะดวกมากขึ้นได้จริงหรือไม่ 1.4.3 สามารถสร้างรายได้ได้จริงหรือไม่


2 1.5 ตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า 1.5.1 ตัวแปรต้น - ผลไม้ (กล้วย มันเทศไข่ เผือก ฟักทอง ) 1.5.2 ตัวแปรตาม - รสชาติของบัวลอย 1.5.3 ตัวแปรควบคุม - ปริมาณของแป้ง - ปริมาณของไส้ - ความเย็นของน้ำ - ความร้อนของน้ำที่ใช้ต้มบัวลอย


3 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากในปัจจุบันความนิยมในการบริโภคขนมไทยลดลง วิธีการรับประทานไม่สะดวก รูปร่างหน้าตาธรรมดาไม่น่าสนใจ มีรสชาติที่พบเจอนได้ทั่วไปไท่แปลกใหม่ เราจึงยกขนมบัวลอยขึ้นมา ปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทาน รสชาติ และรูปลักษณ์ ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างรายได้เสริม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สนใจให้ดียิ่งขึ้น หัวข้อที่ศึกษามีดังนี้ 1. มันเทศ 2. กล้วย 3. ฟักทอง 4. เผือก 5. อัญชัน 6. แป้งข้าวเหนียว 7. แป้งข้าวเจ้า 8. กะทิ


4 มันเทศ มันเทศ ชื่อสามัญ Sweet potato[2] มันเทศ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea batatas (L.) Lam. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Convolvulus batatas L.) จัดอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE) มันเทศ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่ามันแกว (ตาก), ยอดมันแกว (น่าน), ยอดมันเทศ (มุกดาหาร), มันหลา (ปัตตานี), ยอดมันหลอง (ภูเก็ต), มันแกว มันแก๋วแดง (ภาคเหนือ), มันเทศ (ภาคกลาง), หมัก อ้อย (ละว้า-เชียงใหม่), แตลอ (มลายู-นราธิวาส), มัน (ไทใหญ่), มันแก๋ว (ไทลื้อ), ฟั่นด้อย (เมี่ยน), ด่อมัง ปร้างเร่น (ปะหล่อง), ฮวงกั้ว (จีน) เป็นต้น มัน จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดหวานและชนิดไม่หวาน โดยชนิดหวานเราจะเรียกว่า “มันเทศ” (Sweet potato) ส่วนชนิดไม่หวานเราจะเรียกว่า “มันฝรั่ง” (Irish potato) 1.ลักษณะของมันเทศ ต้นมันเทศ มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเขตร้อนของทวีปอเมริกา โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันมีอายุ หลายปี มีความยาวได้ถึง 5 เมตร มีน้ำยางสีขาว ลำต้นทอดเลื้อย มีรากสะสมอาหารมีลักษณะเป็นรูป ทรงกระบอก รากมันเทศมีระบบรากเป็นแบบรากฝอย ซึ่งจะเกิดจากข้อของลำต้นที่ปลูก หรือเกิดจากลำ ต้นที่ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน รากมันเทศจะเป็นที่สะสมอาหาร และสามารถใช้รับประทานได้ เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยระบายน้ำดี และชอบแสงแดดจัด โดยพืชที่อยู่ในวงศ์นี้จะพบได้ มากในแถบเส้นศูนย์สูตรและภายใต้แถบศูนย์สูตร ส่วนในประเทศไทยมีปลูกกันทั่วไป แต่ส่วนใหญ่แหล่ง ปลูกจะเป็นจังหวัดในภาคกลาง โดยจังหวัดที่ปลูกมันเทศมาก ได้แก่ เชียงใหม่ เลย นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม เพชรบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา และตรัง 2.หัวมันเทศ มันเทศจะลงหัวในระดับความลึกไม่เกิน 9 นิ้วโดยหัวของมันเทศจะเกิดจากการขยายตัวของราก ซึ่งเนื้อเยื่อภายในรากที่เรียกว่า “พาเรนไคมา” (Parenchyma) เป็นส่วนที่สะสมแป้ง รากที่ขยายตัวเป็น หัวขึ้นมาอาจจะเกิดจากรากของลำต้นที่ใช้ปลูก หรืออาจเกิดจากรากที่เกิดจากข้อของลำต้นที่เลื้อยทอด ไปตามพื้นดินก็ได้ ดังนั้นต้นมันเทศหนึ่งต้นอาจจะมีหัวได้หลายหัว หรือมากกว่า 50 หัว โดยลักษณะของ หัวส่วนมากจะมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก หัวเรียว ท้ายเรียว ส่วนตรงกลางป่องออก และสีผิวของหัว และสีของเนื้อในหัวจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ โดยอาจจะเป็นสีแดง สีเหลือง สีขาว หรือสีนวล และ มักจะมีรากแขนงเกิดในร่องของหัว ผิวของหัวอาจจะเรียบหรือขรุขระ หัวมันเทศนอกจากจะให้อาหาร จำพวกแป้งแล้ว ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ (โดยเฉพาะในหัวสีเหลือง) วิตามินบี และวิตามินซีอีกด้วย


5 3.ใบมันเทศ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับบนข้อของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้างแกมรูปโล่ ใบจะมี ขนาดและรูปร่างต่างกันแม้จะอยู่ในต้นเดียวกันก็ตาม เพราะบางใบอาจมีขอบใบเรียบ บางใบอาจเป็นรูป หัวใจ หรือบางใบจะมีหลายแฉก โดยปกติแล้วขอบใบจะเว้าลึกเป็นแฉก 3-7 แฉก ใบมีขนาดกว้าง ประมาณ 3-11 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย และมักจะมี สีม่วงตามเส้นใบ ก้านใบอาจยาวหรือสั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ 4.ดอกมันเทศ ต้นที่ปลูกในเขตอบอุ่นมักจะไม่มีดอก ส่วนต้นที่ปลูกในเขตร้อนจะออกดอก แต่มักจะไม่ติด เมล็ด ออกดอกเป็นช่อ โดยดอกจะออกตามซอกใบ มีก้านช่อดอกแข็งแรง ซึ่งมักจะยาวกว่าก้านใบ โดยมี ความยาวประมาณ 3-18 เซนติเมตร เป็นสัน เกลี้ยงหรือมีขน ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 3-12 มิลลิเมตร มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีชมพูปนสีม่วง มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อม ติดกันเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 3-4.5 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับดอกผักบุ้ง ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน กลีบดอกนอกยาว 7-12 มิลลิเมตร ปกติแล้วกลีบจะแยกจากกันอย่าง อิสระหรืออาจจะเชื่อมกันที่โคน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้านและแยกจากกันอย่างอิสระ ก้านชูอับเกสรเพศ ผู้จะเรียกว่าก้านอับเกสร โดยจะมีความยาวไม่เท่ากันและเชื่อมติดกันอยู่กับฐานของกลีบดอก ส่วนรังไข่ มี 2 ส่วน บางดอกอาจมี 4 ส่วน ในแต่ละส่วนจะมีไข่ 1-2 อันที่รับละอองเกสรเพศผู้ มี 2 แฉกอยู่ที่ก้าน เชื่อมติดกับรังไข่ 5.ผลมันเทศ ผลแห้งและแตกได้แบบไม่เป็นระเบียบ ผลมีเปลือกแข็งหุ้ม ลักษณะของผลเป็นแบบแคปซูล มีช่อง 4 ช่องหรือน้อยกว่านั้น ภายในเปลือกแข็งจะมีเมล็ดขนาดเล็กสีดำ ลักษณะของเมล็ดค่อนข้างแบน ด้านหนึ่งของเมล็ดจะเรียบ ส่วนอีกด้านจะเป็นเหลี่ยม โดยทางด้านเรียบจะเห็นรอยที่เมล็ดติดกับผนังรัง ไข่ที่เรียกว่า “ไฮลัม” (Hilum) และมีรูเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “ไมโครไพล์” (Micropyle) ส่วนเปลือกของ เมล็ดค่อนข้างหนาและน้ำซึมผ่านได้ยาก


6 6.สรรพคุณของมันเทศ 6.1 หัวมันเทศช่วยลดไขมันในเลือดได้ ด้วยการนำผลมาปรุงเป็นอาหารรับประทาน (หัว) 6.2 หัวใช้ชงกับน้ำดื่มช่วยแก้กระหายน้ำ (หัว) 6.3 หัวใช้ชงกับน้ำดื่มช่วยแก้เมาคลื่นได้ (หัว) 6.4 รากเป็นยาระบาย (ราก) 6.5 หัวเป็นยาแก้บิด (หัว) 6.6 หัวใช้ชงกับน้ำดื่มช่วยบำรุงม้ามไต 6.7 น้ำคั้นจากหัวใช้เป็นยาทาแก้แผลไฟไหม้ได้ (หัว) 6.8 ใบใช้ตำพอกรักษาฝีได้ หรือจะใช้ใบตำผสมกับเกลือใช้พอกฝีก็ได้ ส่วนตำรับยาพื้นบ้านล้านนา จะ6.9 ใช้ยอดและใบมันเทศนำมาตำผสมกับยอดและใบผักขมใบแดงเป็นยาพอกฝี (ยอดและใบ) 6.10 ตำรายาไทยจะใช้หัวนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกแผล รักษาเริม และงูสวัด (หัว) 6.11 ทั้งต้นและหัวมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา (ทั้งต้น, หัว) 6.12 หัวใช้ตำพอกเป็นยาถอนพิษรักษาแผล ช่วยเร่งการสมานแผล (หัว) 6.13 รากและใบใช้ตำพอกบาดแผล แก้พิษแมลงป่อง (รากและใบ) 6.14 เถาใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไขข้ออักเสบ (เถา) ข้อมูลอ้างอิง https://medthai.com/%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97 %e0%b8%a8/ | Medthai


7 กล้วย กล้วยหอมอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆที่ร่างกายควรได้รับ และให้พลังงานมากถึง 100 กิโลแคลอรี ต่อหน่วย เพราะในกล้วยหอมมีน้ำตาลอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ ซูโครส ฟรุกโตส และกลูโคส รวมทั้งเส้นใยอาหาร ดังนั้นร่างกายเราจะได้รับพลังงาน และนำไปใช้ได้ทันทีแค่กล้วยหอม 2 ลูกก็ให้ พลังงานได้ถึง 90 นาที และยังมีสรรพคุณอื่นๆ อีกดังนี้ • คลายเครียด กล้วยหอมมีสาร Tryptophan เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายแปลงเป็น Serotonin ได้ ซึ่งเป็นสาร กระตุ้นทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุข • ลดอารมณ์หงุดหงิด อาการปวดหัว ปวดท้องของคุณผู้หญิงในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน • เพิ่มพลังสมอง สารอาหารที่อยู่ในกล้วยหอมสามารถกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมองได้ การทานกล้วย หอมเป็นอาหารเช้าช่วยให้สมองทำงานได้อย่างเต็มที่ และทานอีกในช่วงกลางวันจะทำให้รู้สึกสดชื่น และตื่นตัวได้ • ลดการเกิดแผลในกระเพาะและลำไส้กล้วยหอมมีใยอาหารอยู่มากจึงช่วยให้ลำไส้เล็กย่อยอาหารได้ ดีขึ้น และช่วยเคลือบกระเพาะอาหารไม่ให้เกิดแผลในกระเพาะ ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง และช่วยลด ท้องผูกอีกด้วย • ลดโรคโลหิตจางกล้วยหอมอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮีโมโกลบิน ให้กับเม็ดเลือดแดง จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจางได้ • ลดความดันโลหิต ในกล้วยหอมมีโพแทสเซียม ผลวิจัยยืนยันว่าโพแทสเซียมในผลไม้ช่วยลด ความดันโลหิตได้ จึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองจากความดันโลหิตสูงได้ •ลดการเกิดตะคริวคนที่กล้ามเนื้อเป็นตะคริวส่วนหนึ่งมาจากการขาดหรือมีโพแทสเซียมในร่างกายต่ำ การทานกล้วยหอมเป็นประจำจะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ • บำรุงระบบประสาทวิตามินบีในกล้วยหอมจะช่วยบำรุงระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพและมีความสมดุลมากขึ้น ข้อมูลอ้างอิง https://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/healtharticles/health/banana?fbclid=IwAR2- lploBIZANRvN2cTUdeupFZKiExuNe6Ur_NRK4bDv47ibgvplQ6wTROU


8 กล้วยหอมเป็นพืชล้มลุก ผลกลมเรียวยาว มีเหลี่ยมเห็นชัดเจน หนึ่งหวีมีประมาณ 8-16 ผล ผลเรียงตัวเป็น 2 ชั้นอย่างมีระเบียบ ผิวเปลือกเรียบ นุ่มและขาดง่าย ผลดิบเปลือกสีเขียว เนื้อแข็ง สี ขาว รสฝาด ผลสุกเปลือกสีทอง หรือสีเขียวอมเหลือง เนื้อนิ่ม สีเหลือง รสหวาน กลิ่นหอม กล้วยหอม สุกกินเป็นผลไม้ กินกับไอศกรีม กินกับเนยแข็ง ปลูกได้ทุกภาค กล้วยหอมขยายพันธุ์ด้วยหน่อ (ขนาด ของผลโดยประมาณ เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร ยาว 20-25 เซนติเมตร) ข้อมูลเพิ่มเติม กล้วยมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Mesa sapientum Linn. ถิ่นกำเนิดของกล้วยหอม อยู่ในทวีป เอเชีย กล้วยหอมเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเทียมประกอบด้วยกาบซ้อนกันเครือหนึ่งมี 2.5-3.5 เมตร ใบใหญ่ ยาวรี กล้วยหอมมีดอกเรียกว่า “หัวปลี" สีแดงอมม่วง เครือหนึ่งมี 6-7 ทวี หวีละ 8-16 ผล ผลเรียงตัว 2 ชั้นเป็นระเบียบ กล้วยหอมพันธุ์ที่ ได้รับความนิยม คือ กล้วยหอมทองและกล้วยหอมเขียว กล้วยหอม ทอง เมื่อดิบเปลือก สีเขียว เนื้อแข็ง สีขาว รสฝาด เมื่อเปลือกสีเหลืองทอง เนื้อแน่น สีเหลือง รสหวาน กล้วยหอมเขียว เมื่อตับเปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อแข็ง ขาว รสฝาด เมื่อสุกเปลือกสีเขียว อมเหลือง เนื้อนุ่ม สีเหลือง รสหวาน กลิ่นหอมแรงกว่ากล้วยหอมทอง กล้วยหอม ให้ผลผลิตตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ กล้วยหอมปลูกมากแถบภาคกลางโดยเฉพาะ กรุงเทพฯ ปทุมธานีและจังหวัดใกล้เคียง กล้วยหอมนมกิน เป็นผลไม้ กินกับไอศกรีม หรือเนยแข็ง ชุบแป้งทอดราดด้วยน้ำเชื่อม ทำน้ำกล้วยหอม สรรพคุณของ กล้วยหอม ช่วยระบายท้อง ลดความดันโลหิต ปรับสภาพของกระเพาะและ ลำไส้ให้ปกติ เปลือกกล้วย หอมสุกด้านในถูสันเท้าวันละ 3-4 ครั้ง ช่วยรักษา ส้นเท้าแตก กล้วยหอมให้พลังงานสูง ข้อมูลอ้างอิง ระพีพรรณ ใจภักดี. ผลไม้ชุดที่2. กรุงเทพ; สำนักพิมพ์: แสงแดดเพื่อนเด็ก 2545. พิมพ์ครั้งที่ 2


9 ฟักทอง ประโยชน์ของฟักทอง “ฟักทอง” ถือเป็นพืชที่เป็นทั้งผักและผลไม้ มีสีเหลืองน่ารับประทาน ประกอบด้วย แร่ธาตุและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี 3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินอี วิตามินซี วิตามินเค ฟอสฟอรัส แคลเซียม โพแทสเซียม โซเดียม แมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ และแร่ธาตุอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งแร่ธาตุและ สารอาหารเหล่านี้มีประโยชน์กับร่างกายใน เรื่องต่างๆ เช่น -ควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากฟักทองเป็นพืชที่ไขมันน้อย น้ำตาลน้อย ให้พลังงานต่ำ (26 kcal/100 กรัม) ทำให้ทานแล้วอยู่ท้อง อิ่มนาน และยังเต็มไปด้วยกากใยอาหารซึ่งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำ งานได้ดีและ ลดความอยากอาหาร -ต้านอนุมูลอิสระในฟักทองอุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินอี ส่วนช่วยลดความเสี่ยง ของการเกิดโรคมะเร็งได้ -บำรุงสายตา เพราะในฟักทองมีวิตามินเอ ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงสายตา ปกป้องสายตาจาก การถูกทำลาย และลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดดวงตาเสื่อมหรือโรคทางตา -บำรุงเลือด แร่ธาตุที่สำคัญต่อระบบเลือดอย่าง ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม สังกะสี และแมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีในฟักทอง ทำให้ฟักทองมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงเลือด -ผิวพรรณผ่องใส เพราะในฟักทองมีคอลลาเจนตามธรรมชาติ ที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังของ เรา อีกทั้งยังมี วิตามินซีที่ช่วยทำให้เรามีผิวพรรณที่สดใส ป้องกันการเกิดริ้วรอย ถึงแม้ว่าประโยชน์ของ ฟักทองจะมีมากมาย แต่เราก็ควรรับประทานฟักทองในปริมาณที่พอดีเท่านั้นหากรับประทานใน ปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด และไม่สบายท้องได้นั่นเอง ข้อมูลอ้างอิง https://www.sukumvithospital.com/content.php?id=3403


10 ฟักทอง เป็นพืชตระกูลมะระ ชนิดไม้เถาขนาดใหญ่ผิวมีลักษณะขรุขระเนื้อในสีเหลืองนิ่ม มีเมล็ดสีขาว แบนๆ ติดอยู่ซึ่ง แต่ละส่วนของ "ฟักทอง" มีสรรพคุณทางมากมาย คือ - เนื้อฟักทอง มีวิตามินเอสูงรวมทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซีแป้ง และที่จะลืมไปไม่ได้เลยก็คือ "เบต้าแคโรทีน" ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทอง สามารถช่วยลดการเกิดมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจได้ แถมเบต้าแคโรทีน ยังช่วยต้านความชรา ป้องกันโรคผิวหนัง บรรเทาอาการปวด เมื่อยของข้อเข่าและบั้นเอวได้เป็นอย่างดี - เปลือกฟักทอง มีฤทธิ์ทางยามากมาย หากทานฟักทองทั้งเปลือกจะสามารถกระตุ้นการหลั่ง อินซูลินใน ร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายไป ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ - ใบอ่อน มีวิตามินเอสูงเท่ากับ เนื้อฟักทองแต่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในเนื้อ - ดอก มีวิตามินเอธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีวิตามินซีเล็กน้อย - เมล็ด ประกอบดว้ยแป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน รวมทั้งสารที่ชื่อว่า "คิวเคอร์บิติน" (cucurbitine) ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิตัวตืดได้ดีและยังช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว มะเร็ง กระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้น้ำมันจากเมล็ดฟักทองยังช่วยบำรุงประสาทได้ดี และยังมีกรดอะมิโนบาง ชนิดที่ช่วยป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากของผู้ชายขยาย ใหญ่ขึ้น และช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้ จากลูกอัณฑะให้อยู่ในระดับปกติ - รากนำมาต้มน้ำใช้ดื่มแก้อาการไอได้และยังช่วยบำรุงร่างกายถอนพิษของฝิ่นได้ - เยื่อกลางผล สามารถนำมาพอกแผลแก้อาการฟกช้ำ อาการปวด อักเสบได้ ฟักทองอาหารเพื่อคุณผู้หญิง และสำรับคุณผู้หญิงที่ต้องการลดน้ำหนัก "ฟักทอง" นี่แหละค่ะคือ"ตัวช่วย" ที่ดีตัวหนึ่งเลย ทีเดียวเพราะฟักทองเป็น พืชที่มีกากใยมากและมีแคลอรีไม่สูงไขมันน้อยจึงไม่ทำให้อ้วน นอกจากนี้ใน ฟักทองมีวิตามินหลายชนิดในปริมาณสูงจะ ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังทำให้ผิวพรรณของคุณ สาว ๆ มีน้ำมีนวลแถมสายตายังดูปิ๊งอีกต่างหาก นอกจากนี้สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร "ฟักทอง" ซึ่งมี ฤทธิ์อุ่น จะช่วยย่อยอาหารทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลังลดอาการอักเสบ แก้ปวดได้อีกด้วย ข้อควรระวังในการทาน "ฟักทอง" เนื่องจาก "ฟักทอง" มีฤทธิ์อุ่น ดังนั้นคนที่ "กระเพาะร้อน" คือมีอาการเช่นกระหายน้ำ ปาก


11 เหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก เป็นแผลในช่องปาก เหงือกบวม ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป เพราะอาจกระตุ้นให้ร่างกายร้อน ขึ้นได้นั่นเอง หรือแม้แต่ในคนปกติ การทานฟักทองมากเกินไป ก็อาจ ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้ เช่นกัน ข้อมูลอ้างอิง https://health.kapook.com/view16925.html


12 ฟักทอง ฟักทองเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง จะปลูกเป็นไร่เพื่อขาย หรือทำส่วนครัว ปลูกฟักทองสัก 2-3 ต้น พอรับประทานได้ ฟักทองมี 2 พันธุ์ มีพันธุ์ข้าวเหนียวและพันธุ์ข้าวเจ้า พันธุ์ข้าวเหนียวเมื่อสุก เนื้อค่อนข้างนิ่ม ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวเจ้า เนื้อจะแข็ง รับประทานได้ตั้งแต่ดอก ยอดอ่อน ใบอ่อน จนถึงผล ฟักทอง ทั้งอ่อนทิ้งแก่ อาหารที่ทำจากฟักทองอร่อยทุกอย่าง ถ้าซื้อฟักทองมาแบ่งทำรับประทาน ให้หา ปูนแดงตรงเนื้อที่ตัดออกไป จะเก็บเอาไว้ได้นาน กว่าจะนำมาทำอาหารรับประทานอีก หรือเก็บไว้ใน ตู้เย็น เมื่อถึงเวลาก็นำออกมาใช้ได้ แต่ถ้าจะให้มีรสหวานอร่อย รับประทานสดๆ จะได้คุณค่าทางอาหาร มากกว่า การเลือกผักผลไม้ตามฤดูกาลที่มีชุก มาประกอบอาหาร ทำให้ประหยัดเงินได้มาก ดอก ผลอ่อน ใบอ่อน มักจะเก็บมาทำอาหารรับประทาน เมื่อเก็บผลฟักทองจนหมดต้นแล้ว ยอดอ่อน และดอกจะแตกออกมาใหม่ แต่ไม่สู้จะให้ผลสมบูรณ์นัก เพราะเถาใหญ่แก่และหมดอายุ เมื่อ เก็บจากต้นจะรู้สึกระคายมือ ก่อนที่จะนำมาเป็นผักรับประทานได้ จะต้องนำ มาล้างให้สะอาด ปอก ก้าน เพื่อให้เหลือก้านที่อ่อน เด็ดเป็นชิ้นส่วนตาม ที่ต้องการ ที่นำมาทำเป็นอาหารรับประทานในตอนนี้ คอต้มกับหัวกะทิ จิ้มน้ำพริก ใบอ่อน ก้านที่มีขนนุ่มๆ จะอุ้มหัวกะทิ ถ้าเป็นแกงก็จะอุ้มน้ำแกง ทำให้มี รสชาติอร่อยตามที่ ดอก ยอดอ่อน ใบอ่อนต้มกับหัวกะทิ จิ้มน้ำพริกมะนาว แนมด้วยปลาทูทอด ปลาดุก ฟู ปลาช่อนย่าง กุ้งต้มเค็ม นอกจากนี้นำมาเป็นผักใส่แกงส้มปลาช่อน กุ้ง เป็นผักใส่แกงคั่วกับหัวปลา แกงเลียง แหล่งอ้างอิง วัลยา ภู่ภิญโญ.(2542).อาหารทำจากดอกไม้และผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:ดุจลดา สำนักพิมพ์


13 เผือก เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เปลือกนอกมีสีน้ำตาล เนื้อสีขาวเป็นจุดสีม่วงทั้งหัว เมื่อปรุงสุกมีรสหวานเล็กน้อย เนื้อสัมผัสคล้ายมัน อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น วิตามินบี 6 แมงกานีส โฟเลต ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพลำไส้ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็งและ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ คุณค่าทางโภชนาการของเผือก เผือก ปริมาณ 132 กรัม ให้พลังงานประมาณ 187 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต 39 กรัม ไฟเบอร์ 7 กรัม โปรตีน 1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม น้ำตาล 1 กรัม วิตามินอี 19% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน วิตามินซี 11% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน วิตามินบี 6 22% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน นอกจากนี้ เผือกยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แมงกานีส โพแทสเซียม ทองแดง ฟอสฟอรัส โฟเลต แมกนีเซียม ประโยชน์ของเผือก เผือกมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ สนับสนุนสรรพคุณของเผือกในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ 1.อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เผือกอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต 2 ชนิดที่ดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ ไฟเบอร์ และแป้งทนย่อย (Resistant Starch) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่สามารถถูกย่อยและดูดซึมภายในลำไส้ เล็กของมนุษย์ได้ จึงไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Reviews เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของไฟเบอร์ในการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากถึง 42.5 กรัม/วัน หรืออาหารเสริมที่มีเส้นใยละลายน้ำ 15 กรัม/วัน ช่วยลดน้ำตาลสะสมในเลือดลง 0.55% ทั้ง ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารได้


14 นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Food Science and Technology เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของแป้งและแป้งทนย่อยที่ได้จากหัว และรากของเผือกกับมัน พบว่า เผือกอุดมไปด้วยแป้งทนย่อยที่ไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ จึงสามารถ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอด เลือดหัวใจ และโรคเบาหวาน 2.อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพลำไส้ เผือกอุดมไปด้วยไฟเบอร์และแป้งทนย่อยจำนวนมาก จึงอาจส่งผลดีต่อสุขภาพลำไส้ โดยมี งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Physiological Reviews เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 ศึกษา เกี่ยวกับกรดไขมันสายสั้นและการทำงานของลำไส้มนุษย์ พบว่า แป้งทนย่อยจะไม่ถูกย่อยและดูดซึมใน ลำไส้เล็กแต่จะส่งไปหมักในลำไส้ใหญ่พร้อมกับใยอาหารกลายเป็นกรดไขมันสายสั้นอย่างอะซิเตท (Acetate) โพรพิโอเนต (Propionate) และบิวทิริก (Butyrate) ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในลำไส้และส่งเสริมการ เจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดี รวมทั้งกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในลำไส้ใหญ่และการดูดซึมของเหลว ทำให้ลำไส้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น 3.อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ เผือกอุดมไปด้วยไฟเบอร์และแป้งทนย่อยที่อาจมีส่วนช่วยชะลอการดูดซึมไขมัน ช่วยลด คอเลสเตอรอล และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่ตีพิมพ์ในวารสาร The BMJ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคใยอาหารและความ เสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่า การบริโภคใยอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะใยอาหารจากธัญพืช ผักและไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of AOAC INTERNATIONAL เดือน พฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2547 ศึกษาเกี่ยวกับแป้งทนย่อยกับการเผาผลาญและประโยชน์ต่อสุขภาพ พบว่า แป้งทนย่อยเป็นแป้งที่ไม่ย่อยและดูดซึมในลำไส้เล็กแต่ถูกส่งไปหมักในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้เกิดการ ผลิตกรดไขมันสายสั้นเพิ่มขึ้น และอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน ลดคอเลสเตอรอล และความเข้มข้นของไตรกลีเซอไรด์ ปรับปรุงความไวของอินซูลินในร่างกายทั้งหมด เพิ่มความอิ่ม และ ลดการสะสมไขมัน ซึ่งอาจช่วยลดน้ำหนัก ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด


15 4.อาจช่วยต้านมะเร็ง สารประกอบโพลีฟีนอล (Polyphenols) อย่างเควอซิทีน (Quercetin) เป็นสารต้านอนุมูล อิสระที่พบในหัวเผือก ซึ่งอาจมีส่วนช่วยป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชัน และอาจช่วยต้านมะเร็ง เช่น มะเร็ง เต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับโพลีฟีนอลในราก ผลและเมล็ดพืชและโรคของมนุษย์ พบว่า สารโพลีฟีนอลเป็น กลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผัก ธัญพืช และพืชตระกูลถั่ว เช่น มันสำปะหลัง เผือก บีทรูท ถั่วเหลือง เมล็ดโกโก้ มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งยังอาจช่วยป้องกันความเสื่อมสภาพของร่างกายและ ป้องกันโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรค ทางระบบประสาท ข้อควรระวังในการบริโภคเผือก แม้เผือกจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่สำหรับบางคนอาจทำให้เกิดอาการแพ้ เนื่องจากในเผือก ดิบทั้งหัวและลำต้นประกอบด้วยผลึกแคลเซียมออกซาเลต (Calcium Oxalate) ซึ่งทำให้เกิดอาการคัน ในช่องปาก ลิ้นชา แสบร้อน โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Bioorganic & Medicinal Chemistry Letters เดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ศึกษาเกี่ยวกับอาการคันที่เกิดจากสารกระตุ้นในเผือก พบว่า เผือกดิบมีสารประกอบที่ออกฤทธิ์ 2 ชนิด ได้แก่ ยูราซิล (Uracil) และไกลคอล-โปรตีนทาโรเลค ติน (Glycol-protein Taro Lectin) ที่ส่งผลทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนังและก่อให้เกิดอาการคัน โดยสารประกอบทั้ง 2 ชนิดอาจเข้าไปกระตุ้นเส้นประสาทบนเซลล์ประสาท ปมประสาทและราก ประสาทจนทำให้เกิดอาการคัน ก่อนนำเผือกมารับประทานควรนำไปตากแดด แช่น้ำ หรือปรุงจนสุก เพื่อลดความเข้มข้นของ แคลเซียมออกซาเลต ซึ่งอาจช่วยป้องกันอาการคันและอาการแพ้ได้ ข้อมูลอ้างอิงhttps://hellokhunmor.com


16 อัญชัน เมื่อนึกถึงอาหาร หรือขนมหวานที่มีสีม่วงอมน้ำเงิน หลาย ๆ คนตอบได้ทันทีว่าสีสวย ๆ แบบนี้ มาจาก “ดอกอัญชัน (Butterfly pea)” อย่างแน่นอน นอกจากจะให้สีน้ำเงินสวย เพื่อนำมาประกอบ อาหาร เช่น ขนมหวานของไทยเราแล้ว วันนี้ SGE จะพาไปรู้จักประโยชน์อีกมากมายของดอกอัญชันที่ คุณอาจยังไม่รู้ เพียงแค่น้ำคั้นสด หรือน้ำต้มดอกอัญชันเท่านั้น แต่ให้ผลดีต่อสุขภาพมหาศาลเลยทีเดียว จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย ดอกอัญชัน (Butterfly pea) คืออะไร? อัญชัน ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Clitoria ternatea L. เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อย พัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม ดอกอัญชันเป็นไม้เถา มีดอกสีม่วงอมน้ำเงินสวยงามตามธรรมชาติ ทำให้นิยมนำมาคั้นเป็นสีผสมอาหาร คุณประโยชน์ของดอกอัญชันยังครอบคลุมไปถึงสรรพคุณทางยาอันหลากหลาย เช่น ลดไข้ แก้หอบหืด เป็นต้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลาย เว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลาง กลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออก ดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด ดอก ใช้ปลูกผมทำให้ผมดกดำ เงางามมากขึ้น เพราะดอกอัญชันมีสารที “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น ดอก นำมาคั้นนำใช้หุงข้าวได้ด้วย ช่วยให้ข้าวที่หุงมีสีสันที่สวยงาม เมล็ด เป็นยาระบาย ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้ หยอดหู และหยอดตา 10 ประโยชน์ดีๆ จากดอกอัญชัน 1. บำรุงสายตา ป้องกันอาการตาฝ้าฟาง ตาแฉะ และป้องกันโรคต้อกระจก 2. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน


17 3. เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย 4. ขับปัสสาวะ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ 5. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้ 6. ชะลอริ้วรอย และดูแลผิวพรรณให้เต่งตึง กระชับ 7. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด 8. บำรุงผมให้เงางาม ดกดำ มักเป็นส่วนประกอบของยาสระผม หรือครีมบำรุงผม 9. ช่วยสลายลิ่มเลือด 10. ช่วยให้ระบบโลหิตไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น วิธีทำน้ำดอกอัญชัน วัตถุดิบ น้ำดอกอัญชัน 1 ถ้วย น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ ขั้นตอนการทำน้ำดอกอัญชัน เริ่มทำน้ำดอกอัญชันก่อน ด้วยการนำดอกอัญชันสดประมาณ 100 กรัม นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วใส่หม้อเติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย นำไปต้มจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วกรองดอกอัญชัน ขึ้นจากหม้อ ต่อมาทำน้ำเชื่อม โดยใช้สัดส่วน น้ำเปล่า 500 กรัม/ น้ำตาลทราย 500 กรัม เมื่อได้ส่วนผสมครบแล้วให้นำน้ำดอกอัญชัน, น้ำเชื่อม, น้ำผึ้ง ผสมรวมกันชิมรสชาติตามชอบใจ พร้อม เสิร์ฟ ขอแนะนำเมนู “น้ำพั้นช์ดอกอัญชัน”หากใครชอบความสดชื่น ให้ใช้ส่วนผสม ดังนี้ น้ำดอกอัญชัน 1⁄2 ถ้วย น้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ น้ำเชื่อม 6 ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว 1⁄2 ถ้วย น้ำโซดาเย็น 1 ขวด วิธีทำน้ำพั้นซ์ดอกอัญชัน นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมรวมกัน ชิมรสชาติตามชอบ


18 ใส่น้ำแข็งเกล็ด เพื่อความสดชื่นยิ่งขึ้น พร้อมเสิร์ฟ ถ้าต้องการทำเป็นน้ำชาไว้ดื่ม ให้ใช้ดอกอัญชันที่ตากแห้งแล้ว ประมาณ 25 ดอก นำมาชงในน้ำ เดือด 1 ถ้วย แล้วนำมาดื่ม ก็อร่อยสดชื่นไม่แพ้กัน คำแนะนำ ควรดื่มทันทีเมื่อทำเสร็จ เพื่อรักษาคุณค่าทางสารอาหาร และยาไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพร ในอุณหภูมิที่ร้อนจัด หรือมีอุณหภูมิเกิน 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป เพราะอาจจะทำให้เยื่อบุผิว หลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งและสารอื่น ๆได้ง่ายไม่ควรดื่มน้ำ สมุนไพรใด ๆ ชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี อัญชันกับอาหาร เป็นอย่างไร? อันชัญเป็นดอกไม้อีกหนึ่งประเภทที่นิยมนำไปทำอาหาร โดยปกติจะใช้สีจากการต้ม และคั้นน้ำ ของดอกเพื่อมาผสมกับแป้งต่าง ๆ ทำเป็น ขนมชั้น, ทับทิมกรอบ, บัวลอย ฯลฯ นอกจากนั้น ดอกก็สามารถนำมาชุบแป้งทอด ใส่สลัดต่าง ๆ เพื่อตกแต่งจาน หรือทำไข่เจียวหรือชาอัญชัน ข้อควรระวังในการทานดอกอัญชัน ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการสลายลิ่มเลือด จึงไม่เหมาะกับคนที่อยู่ในภาวะโลหิตจาง ไม่ควรดื่มน้ำอัญชันที่มีความเข้มข้นมากเกินไป และไม่ดื่มแทนน้ำเปล่า ควรใช้ดอกอัญชันชงเป็นเครื่องดื่มในปริมาณแต่พอน้อย ผู้ที่มีอาการแพ้ละออง หรือเกสรดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ควรระมัดระวังในการใช้ดอกอัญชัน หรือ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของอัญชัน เนื่องจากเสี่ยงก่อให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นเดียวกัน หากกำลังตั้งครรภ์ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนรับประทาน หลีกเลี่ยงการรับประทานเมล็ดอัญชัน เพราะเมล็ดจะส่งผลระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ทำให้ คลื่นไส้และอาเจียนได้ ดอกอัญชันควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแบบไม่ผ่านการปรุงสุก และก่อนนำมา รับประทาน ควรดึงบริเวณขั้วดอกออก เพราะบริเวณขั้วดอกมียางซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ส่งผลต่อ การระคายเคืองในลำคอ อาจจะเกิดการกัดหลอดอาหารในลำคอได้หลีกเลี่ยงการทานดอก อัญชันคู่กับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของยาลดลง ข้อมูลอ้างอิง https://www.sgethai.com


19 อัญชัน ปลูกผมและบรรเทา อาการปวดฟัน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria termitest L 20: Leguminosae Papilionoideae อัญชันเป็นไม้ยืนต้นประเภทเถาเลื้อย ลำต้นส่วนปลายจะเป็น เถาเลื้อยพันขนาดเล็ก ไม่มีเถา เกาะ แต่จะใช้ลำต้นพันไปกับไม้ชนิดอื่นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยขนาดเล็ก ปลายใบแหลม โคน ใบมน มีขนหนาปกคลุมด้านล่างไป ดอกมีหลายสี ม่วง ฟ้า และขาว ที่เราพบมากจะเป็นสีม่วง จะมีพันธุ์เป็นซ้อนและมีทั้งพันธุ์ที่เป็นดอกชั้นเดียว ออกดอกตลอดปี ภายในมีเมล็ด รูปไตสีดำสนิท ๕ - ๑๐ เมล็ด ดอกอัญชันเป็นที่รู้กันดีว่านำมาทำเป็นสีผสมอาหารและสีย้อมผ้า ชาติดี ทำเป็นสีผสมอาหารก็ ได้สวยงามและดูน่ากิน แต่อัญชันไม่ได้มีดีแค่ทำให้สีสวย สีของอัญชันมีดีมากกว่านั้นมากมาย ที่ แน่ๆน้ำคั้นจากดอกอัญชันคือยาปลูกผมชั้นดี วิธีเข้าตัวยา ๑. ยาระบาย แก้ท้องผูก : เมล็ดดอกอัญชัน ๑๐ กรัม บดให้ ละเอียด ชงกับน้ำร้อน ๑ ถ้วยกาแฟ ดื่มเพื่อช่วยระบายท้อง แก้อาการ ท้องผูก แก้อุจจาระพิการ ๒. แก้ปวดฟัน : ราก,ประมาณ ๑๐ กรัม นำมาพัน ปวด หรือจะคั้นเอาน้ำหยดลงพื้นที่ ที่ปวด จะช่วยให้อาการปวดทุเลาลง ๓. ยาขับปัสสาวะ : ใบอัญชันประมาณ ๑ กำมือ รากสดประ มาณ ๑๐ กรัม บุบพอ แตก ต้มกับน้ำ 5 ลิตร เคี่ยวจนเหลือประมาณ ๖๐๐ ซีซี กรองเอาแต่น้ำแบ่งเพิ่ม 5 ครั้งต่อวัน ช่วยเพิ่มปริมาณปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด แก้อาการตัวบวมน้ำ


20 สรรพคุณเด่นของอัญชัน ในอัญชันมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสาร เคอร์เซติน สารแอนโทไซยานินสารแอสตรากาลิน สารคดีโนซีน ซึ่ง ต่างก็มีดีในร่างกายแตกต่างกันไป ในปัจจุบัน พบว่าดอกอัญชันเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระในอันดับต้นๆ น้ำส้มดอกอัญชันตาก แห้งช่วยขับ อนุมูลอิสระออกจากร่างกายได้ดี ช่วยป้องกันมะเร็งและ ช่วยลดปริมาณน้าศาลในเส้นเลือด และยังช่วย บำรุงสายตาได้ดี จึง ไม่แปลกที่จะเห็นน้ำอัญชันสำเร็จรูปออกมาวางจำหน่างกันหลายยี่ห้อ แม้แต่คุณตัน โออิชิ ก็ยังหันมาทำน้ำอัญชันชาย บ้านใครที่รั้วยังว่างๆ ลองหาต้นอัญชันมาเลื้อยพันไปตามกำแพง นอกจากจะได้ความสวย งามแล้ว คุณยังเก็บเอาดอกอัญชันมาจากแห้ง ไว้ทำน้ำอัญชันดื่มเป็น ยา ป้องกันมะเร็งและป้องกันเบาหวานได้พร้อมๆ กัน โดยที่ไม่ต้อง เสียเงินมาก วิธีท่าไม่ยุ่งยาก ดอกอัญชัน ตากแห้งต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลเพื่อ เพิ่มรสชาติเล็กน้อย ดื่มต่างน้ำเลยก็ยังได้ เกือบลืมในส่วนที่เกินไป ก่อนหน้านี้ว่าอัญชันคือยาปลูกผมดีๆ นี่เอง เพียงแค่เอาดอกอัญชันสัก ๑ กำมือ คั้นเอาแต่น้ำ แล้วชโลม ให้ทั่วศีรษะเป็นประจำ ผมที่มีก็จะตก เป็นประกายเงางาม ที่ไม่มีผมก็จะมีผมงอกขึ้นมาสมใจ ข้อมูลอ้างอิง พิมลพรรณ อนันต์กิจไพศาล.(2557).๑๐๘ สมุนไพร ใช้เป็น หายป่วย.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ เก็ท ไอเดีย ภูมิใจเสนอ


21 แป้งข้าวเหนียว เปิดตำรา “แป้งทำอาหาร" รู้ไว้ใช้ไม่ผิด! เคยสงสัยไหมว่าแป้งทำอาหารแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร? เดินตลาดทีเห็นมีทั้งแป้งข้าวจ้าว แป้ง ข้าวเหนียว แป้งข้าวโพดจะเลือกซื้อแป้งแบบไหนมาทำอาหาร มาดูกันเลย! ไม่ทราบว่ามีใครเป็นเหมือนผู้เขียนหรือเปล่า เวลาจะไปซื้อแป้งมาทำขนมต้องใช้เวลาเลือกกัน อยู่นานเลยทีเดียวแป้งทำอาหาร มีหลายชนิดมากจนเลือกไม่ถูก เวลาที่ทำอาหารง่าย ๆ อย่าง ผัดผักรวมมิตรหรือราดหน้า ทำไมพอทานไปราดหน้าไม่ค่อยร้อนหรือว่าเย็นตัวแล้วแล้วทำไม มันเหลวๆ ไม่อยู่ตัวไม่ข้นเหมือนตอนทำใหม่ ๆ ตกลงมันต้องใช้แป้งอะไรทำกันแน่? เพื่อไข ข้อสังสัยให้ตัวเอง ก็เลยไปหาข้อมูลมาแล้วเรียบเรียงมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน แป้ง ทำอาหาร มีกี่ชนิด แป้งชนิดไหนเหมาะจะนำมาทำอะไร เราไปดูกันเลยค่ะ 2.แป้งข้าวเหนียว (Glutinous flour) แป้งข้าวเหนียว ทำมาจากเมล็ดข้าวเหนียว มีลักษณะคล้าย ๆ กับแป้งข้าวเจ้าคือเป็นผงสีขาวๆ เมื่อใช้มือสัมผัสจะมีความหยาบเล็กน้อยกว่าแป้งข้าวเจ้า พอทำให้สุกแล้วตัวแป้งจะมีสีขาวขุ่น ข้น มีความเหนียวเมนูที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว ได้แก่ ขนมต้ม บัวลอย ขนมถั่วแปบ ข้าวเหนียว ตัด ขนมเทียน ขนมเข่ง ข้าวเหนียวเปียก ขนมบ้าบิ่น ขนมโก๋ แป้งจี่ ขนมโค ซึ่งบางเมนูที่ไม่ ต้องการความเหนียวมากนักก็ให้ผสมแป้งข้าวเจ้าลงไปค่ะ แหล่งที่มา https://www.wongnai.com/food-tips/types-of-flour


22 แป้งข้าวเหนียว ทำเมนูอะไรได้บ้าง? โดยส่วนใหญ่แล้ว แป้งข้าวเหนียวมักจะไม่ได้เป็นตัวเอกในการทำเมนูอาหาร เพราะเมื่อถูกทำให้สุกแล้วเนื้อแป้งจะมีความเหนียวและขุ่น จึงนิยมนำไปผสมร่วมกับแป้งอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความเหนียวหนึบให้กับเมนูอาหารมากยิ่งขึ้น เช่น ผสมในลูกชิ้น หมูยอ กุยช่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังนิยมผสมลงในวัตถุดิบสำหรับเมนูทอดบางประเภทเพื่อเพิ่มการเกาะตัวมากยิ่งขึ้น อีกด้วย ส่วนเมนูที่เน้นการใช้แป้งข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบหลักนั้นส่วนใหญ่จะเป็นเมนูขนมหวาน ซึ่งสังเกตได้จากสีผิวของขนมที่จะมีความขุ่น เช่น บัวลอย, ขนมโค, ขนมเทียน, ถั่วแปป เป็นต้น ทั้งนี้ ในเมนูขนมญี่ปุ่นยอดนิยมอย่างขนม "โมจิ" เองก็ใช้แป้งข้าวเหนียวเช่นกันค่ะ แต่จะเป็น แป้งข้าวเหนียวญี่ปุ่นนั่นเอง เรียกได้ว่าแป้งข้าวเหนียวถุงเดียวสามารถตอบโจทย์การทำอาหาร ได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวานเลย วิธีการเลือกแป้งข้าวเหนียว หลายคนอาจเข้าใจว่า แป้งข้าวเหนียวแต่ละยี่ห้อคงจะไม่ต่างกันมากนัก แต่ความจริง แล้วเมื่อนำไปประกอบอาหารเพื่อรับประทานจะทราบได้ทันทีว่า แป้งข้าวเหนียวก็มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีการโม่รวมถึงสายพันธ์ุข้าวที่นำมาโม่ก็มีผลต่อรสชาติ แล้ว จะเลือกอย่างไรจึงจะได้แป้งข้าวเหนียวที่เหมาะสมในการทำอาหารมากที่สุด ลองมาดูวิธีการ ต่อไปนี้กันเลยค่ะ เลือกแป้งข้าวเหนียวจากกรรมวิธีการโม่แป้ง การโม่แป้งข้าวเหนียวในอดีตจะใช้วิธีการโม่น้ำซึ่งมีขั้นตอนการทำที่ละเอียดพิถีพิถัน ต้องทำความสะอาดข้าวนำเอาสิ่งเจือปนออกไปให้ได้มากที่สุดเพื่อให้แป้งที่ได้มีสีขาวบริสุทธิ์ ไม่ มีกลิ่นและปราศจากรสชาติของสิ่งแปลกปลอม ซึ่งจะใช้กรรมวิธีการโม่แป้ง 2 วิธีด้วยกัน คือ การโม่น้ำและโม่แห้ง วิธีการโม่น้ำนี้จะทำให้แป้งมีเนื้อสัมผัสที่เนียนละเอียด มีกลิ่นหอมของข้าวอย่างชัดเจน เมื่อนำไปประกอบอาหารแป้งก็จะอิ่มน้ำได้ง่าย ขนมที่ได้จากแป้งที่ผ่านการโม่น้ำจะมีลักษณะ เหนียวนุ่ม เนื้อเนียน ไม่จับตัวกันเป็นก้อนแข็ง ส่วนกรรมวิธีการโม่แห้งเป็นกรรมวิธีสมัยใหม่ที่ ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งการคัดเลือกข้าวก็จะไม่ค่อยละเอียดพิถีพิถันเท่าแบบโม่น้ำ แต่แป้งข้าว เหนียวจากการโม่แห้งนี้เหมาะสำหรับการใช้งานเร่งด่วน หรือการทำขนมที่ไม่ต้องการความ ละเอียดสูง มักจะใช้ในเมนูอาหารที่ใช้ร่วมกับแป้งชนิดอื่น ๆ ค่ะ


23 เลือกสายพันธุ์ข้าวที่นำมาทำแป้งข้าวเหนียว แม้จะเรียกว่าข้าวเหนียวเหมือนกันแต่ข้าวเหนียวก็มีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งจะมีกลิ่นหอม สีสัน รสชาติ และรสสัมผัสที่แตกต่างกันไป ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงทำให้ ลักษณะการนำไปใช้งานของข้าวเหนียวแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน คุณจึงควรพิจารณาเลือก แป้งข้าวเหนียวตามประเภทสายพันธุ์เพื่อให้เหมาะสมกับเมนูอาหาร ข้าวเหนียวขาว กลุ่มข้าวเหนียวขาวที่นิยมนำมาโม่เป็นแป้งข้าวเหนียวต้องยกให้ข้าวเล้าแตก เพราะข้าวเหนียวเล้าแตกเป็นข้าวที่สามารถพบได้ทั่วไปในแถบภาคอีสาน จัดเป็นข้าวเหนียว พันธุ์พื้นเมืองที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เมล็ดป้อม ให้ผลผลิตมากจนได้รับสมญานามว่า "ข้าวเล้าแตก" นั่นเองค่ะ โดยแป้งข้าวเหนียวขาวที่ทำจากข้าวเล้าแตกนี้จะเหมาะกับการนำไปทำขนมทั่วไป ซึ่งต้องการ ผิวสัมผัสที่ละเอียด มีความนุ่มหนึบและมีสีขาว เช่น ขนมหมก ขนมต้ม เป็นต้น นอกจากนี้ แป้ง ข้าวเหนียวเล้าแตกยังง่ายต่อการผสมสีต่าง ๆ ลงไป และมีเนื้อแป้งที่ยึดเกาะกันดีจึงทำให้ปั้นขึ้น รูปและรักษารูปทรงได้ง่ายค่ะ ซึ่งนอกจากข้าวเล้าแตกแล้ว ในปัจจุบันยังมีการนำข้าว กข6 และ ข้าวเหนียวสายพันธุ์อื่น ๆ มาโม่เป็นแป้งข้าวเหนียวด้วยเช่นกัน ข้าวเหนียวดำ แป้งข้าวเหนียวดำ ในภาษาอีสานเรียกว่า "แป้งข้าวก่ำ" เป็นแป้งที่กำลังได้รับความนิยม ในหมู่คนรักสุขภาพเนื่องจากเป็นแป้งข้าวเหนียวที่มีสารแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยชะลอ การเสื่อมสภาพของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย และแป้งชนิดนี้ยังมีโปรตีนสูงช่วยซ่อมแซมและ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังมีไฟเบอร์มากกว่าข้าวขาวปกติ ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหาร เป็นไปอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม แป้งข้าวเหนียวดำจะมีคุณสมบัติการยึดเกาะน้อยกว่าแป้งข้าวเหนียว ขาวทั่วไป แต่เนื้อแป้งข้าวเหนียวชนิดนี้เมื่อทำให้สุกแล้วจะมีสีม่วงเข้ม สวยงามและมีรสสัมผัส เฉพาะตัว และขนมที่ได้จากแป้งข้าวเหนียวดำมักจะมีความแข็งกว่าแป้งข้าวเหนียวขาวค่ะ ข้าวเหนียวแดง เหนียวแดงหรือเรียกอีกอย่างว่า "ข้าวไร่, ข้าวไฮ่" ที่นิยมปลูกเฉพาะพื้นที่สูงมีน้ำน้อย


24 เมื่อนำมาโม่เป็นแป้งและปรุงสุกแล้วจะมีความนุ่มหนึบ มีรสชาติมัน มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ และให้สีแดงอมม่วงเล็กน้อย เพราะเนื้อแป้งมีความนุ่มและหนึบในตัวจึงไม่จำเป็นต้องผสมแป้ง ข้าวขาวหรือข้าวเล้าแตกก็สามารถนำไปทำขนมได้เลย แต่หากต้องการความหนึบมากขึ้นก็ สามารถผสมแป้งข้าวเหนียวขาวได้เช่นกัน แป้งข้าวเหนียวแดงมีปริมาณน้ำตาลที่น้อยกว่าแป้ง ข้าวเหนียวทั่วไป จึงเป็นแป้งทางเลือกของผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลและผู้รักสุขภาพ แต่ทั้งนี้ แป้งข้าวเหนียวแดงค่อนข้างหาซื้อยาก ส่วนใหญ่จะนิยมนำข้าวเหนียวแดงมาโม่เองค่ะ ตารางเปรียบเทียบแป้งข้าวเหนียว ผลิตภัณฑ์ TOP 5 แนะนำสำหรับแป้งข้าวเหนียว ยี่ห้อไหนดี ได้แก่ :ง่วนสูน – แป้งข้าวเหนียว New GRADE - แป้งข้าวเหนียวบัวลอย – แป้งข้าวเหนียวดำ ปลาแฟนซีคาร์ฟ – แป้งข้าว เหนียวดำ MAEDA – แป้งข้าวเหนียวญี่ปุ่น บทส่งท้าย แป้งข้าวเหนียวที่ดีควรมีสีขาวสะอาด เมื่อมองด้วยตาแล้วไม่เห็นสิ่งเจือปน ไม่มีวัตถุบนเปื้อน ไม่มีลักษณะที่บ่งบอกว่ามีราดำหรือแมลงอยู่ภายในถุงบรรจุ แป้งที่ดีต้องไม่ เป็นดานแข็ง ไม่จับตัวกันเป็นก้อนภายในถุง เมื่อใช้มือจับจากภายนอกถุงต้องมีลักษณะนุ่มมือ ไม่กระด้าง ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้แป้งหากพบว่าบรรจุภัณฑ์ของแป้งมีรอยฉีกขาดหรือมี ลักษณะปนเปื้อนจากความชื้นและสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ เพราะอาจทำให้ได้แป้งที่ไม่มีคุณภาพ นั่นเองค่ะ แหล่งที่มา https://my-best.in.th/50394


25 แป้งข้าวเจ้า ข้อดีและข้อเสียของแป้งข้าวจ้าว: ทางเลือกสำหรับผู้ที่แพ้กลูเตน แป้งข้าวจ้าวซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามแป้งที่ปราศจากกลูเตน เป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับผู้ที่แพ้ กลูเตน กลูเตนเป็นโปรตีนที่มีอยู่ในแป้งสาลีและอาจทำให้ระบบย่อยอาหารแย่ลงสำหรับผู้ที่แพ้ กลูเตน แตกต่างจากข้าวสาลีหรือข้าวไร แป้งข้าวจ้าวทำจากข้าวที่ปราศจากกลูเตน ไม่ว่าจะเป็น เมล็ดข้าวเต็มเมล็ดหรือเมล็ดข้าวหักที่ผ่านกระบวนการโม่และจากนั้นบดเป็นผง แป้งข้าวจ้าว สามารถพบได้ทั้งในรูปแบบข้าวขาวและข้าวกล้องและใช้ได้ดีในซุป ซอส และ เกรวี่ เป็นตัวให้ ความข้นและความสามารถในการป้องกันการแยกของเหลว เสนอตัวเลือกที่ปราศจากกลูเตน ประโยชน์ของการเลือกแป้งข้าวจ้าวคือการที่เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ชื่นชอบอาหารที่ไม่ ทำให้อ้วนในฐานะที่เป็นผงปราศจากกลูเตนแป้งข้าวจ้าวมีรสชาติที่เป็นกลางและสามารถช่วยใน กระบวนการ ย่อยอาหารได้ คุณสามารถใช้แป้งข้าวจ้าวเป็นแป้งสาลีแทนในการทำแครกเกอร์ เค้กและเกี๊ยวได้แต่ข้อเสียเปรียบคือโปรตีนในแป้งข้าวไม่สามารถเก็บก๊าซที่ผลิตได้ในระหว่าง กระบวนการหมัก ดังนั้นการใช้แทนแป้งสาลียังคงมีข้อจำกัดอยู่คุณค่าทางโภชนาการในแป้งข้าว จ้าวการเป็นแหล่งสำคัญของแมงกานีสและอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุเป็นข้อได้เปรียบของ แป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวจ้าวยังให้คุณค่าทางโภชนาการเช่นเพิ่มแคลเซียมและสังกะสี ข้อเสียของแป้งข้าวจ้าวคือการที่ขาดคุณค่าทางโภชนาการบางอย่างเมื่อเทียบกับที่แป้งสาลี สามารถให้ได้ โดยปกติแล้วแป้งสาลีทั้งหมดจะมีโฟเลตร้อยละ 14 ซึ่งช่วยกำจัด homocysteine ออกจากเลือดและลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ยังมีสาร phytonutrients ที่ต่อสู้กับมะเร็งได้มากกว่า 30% ที่เรียกว่า lignans มากกว่าแป้งข้าวซึ่งช่วย ปรับสมดุลระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายและลดระดับคอเลสเตอรอลให้เส้นใยสูง ข้อดีอีกประการของแป้งข้าวจ้าวคือมีเส้นใยสูง ไขมันอิ่มตัวคอเลสเตอรอลและโซเดียมต่ำ เช่นเดียวกับถั่วและผักที่มีกากใยมาก ๆ แป้งข้าวจ้าวยังมีเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำซึ่งช่วยร่างกาย ของเราโดยกำจัดของเสีย โดยเฉพาะแป้งข้าวกล้องสามารถให้ไฟเบอร์ได้มากขึ้นและดีต่อปัญหา ท้องผูก เส้นใยสูงในแป้งข้าวจ้าวช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดแต่ถึงกระนั้น แล้วแม้ว่าแป้งข้าวจ้าวจะอุดมไปด้วยเส้นใย แต่ว่าแป้งข้าวจ้าวขาดสารอาหารบางชนิดกว่าแป้ง ชนิดอื่น ๆบำรุงตับให้แข็งแรง อีกหนึ่งข้อดีของแป้งข้าวจ้าวคือการที่มีโคลีนซึ่งช่วยบำรุงตับให้แข็งแรงโคลีนในแป้งข้าวจ้าว ช่วยลำเลียงคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์จากตับไปยังที่ที่ต้องการภายในร่างกาย แป้งข้าว


26 จ้าวเป็นทางเลือกที่ดีในการรักษาตับของคุณให้อยู่ในสภาพดีแม้ว่าจะให้สารอาหารน้อยกว่าแป้ง ชนิดอื่นๆก็ตาม ข่าวดีก็คือการขาดสารอาหารในแป้งข้าวจ้าวสามารถเพิ่มได้โดยการเพิ่มไข่ขาวหรือโปรตีนเวย์ เข้าไปซึ่งเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่แพ้กลูเตน แหล่งที่มา http://www.pkthai.net/pros-and-cons-of-rice-flour.html


27 กะทิ กะทิเป็นส่วนประกอบมาจากมะพร้าว ที่คนไทยมักนิยมนำมาประกอบอาหารหลาย ชนิดให้มีรสชาติอร่อย และยังนิยมนำกะทิทำขนมหวานหลากหลายชนิด แต่หลายคนมัก หลีกเลี่ยงในการรับประทานกะทิ เพราะมีความเชื่อว่ากะทิเป็นตัวการสำคัญของความอ้วน และ ทำให้เกิดการสะสมไขมันภายในร่างกาย แต่จริงๆ แล้วกะทิก็เป็นอาหารอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ หลายอย่างสำหรับร่างกาย เช่น ประโยชน์ดีๆ ของกะทิที่มีต่อสุขภาพ 1. กะทิย่อยง่าย ทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว โดยร่างกาย จะเผาพลาญกะทิให้กลายเป็นพลังงานในตับ เพื่อให้ร่างกายสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้อย่างทันที 2. ในกะทิมีกรดลอริค ซึ่งเป็นกรดที่สามารถช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส และป้องกันเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อจุลรินทีย์ และต่อต้านเชื้อราภายในร่างกาย จึงจัดได้ว่ากะทิสามารถ สร้างภูมิกันเชื้อโรคต่างๆ ภายในร่างกายได้เป็นย่างดี 3. ช่วยลดการสะสมของไขมัน เพราะเมื่อเราบริโภคกะทิเข้าไปแล้วนั้น กะทิจะมีส่วน ในการช่วยดึงไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ถูกสะสมไว้ไปแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน ได้อีกด้วย จึงสามารถช่วยลดการสะสมของไขมันได้เป็นอย่างดี 4. กะทิมีฤทธิ์ในการช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง 5. ในกะทิมีวิตามินอยู่หลายชนิด เช่น วิตามินบี1, วิตามินบี2, วิตามินบี3, วิตามินบี6 และ วิตามินซี วิตามินมีประโยชน์หลายอย่างต่อสุขภาพร่างกาย เช่น แก้โรคเหน็บชา ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยลดคอเลสตรอรอล ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ช่วยบรรเทา อาการต่างๆ ของระบบประสาท ลดอาการเครียด ช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและ แข็งแรง 6. กะทิยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุอีกมากมาย เช่น ธาตุแคลเซียม, ธาตุเหล็ก, ธาตุ แมกนีเซียม, ธาตุฟอสฟอรัส, ธาตุโพแทสเซียม, ธาตุสังกะสี เป็นต้น และแร่ธาตุเหล่านี้ ก็เป็นแร่ธาตุที่ให้ประโยชน์หลายอย่างสำหรับร่างกายของเรา เช่น - แคลเซียม ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ใน ร่างกาย ช่วยทำให้ระบบประสาททำงานได้อย่างเป็นปกติ


28 - ธาตุเหล็ก ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ป้องกันอาการอ่อนเพลีย และ ช่วยป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง - ธาตุแมกนีเซียม ช่วยป้องกันความดันโลหิต ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และยังช่วย ป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน - ธาตุฟอสฟอรัส ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยเผาพลาญไขมัน และช่วย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย - ธาตุโพแทสเซียม ช่วยควบคุมให้ปริมาณน้ำในร่างกายมีความสมดุล ช่วยลดความดัน โลหิต และบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ - ธาตุสังกะสี ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและการเจริญเติบโตให้กับร่างกาย มีประโยชน์มากมายขนาดนี้ใครที่ไม่ค่อยชอบทานกะทิลองหันมาบริโภคกะทิกันบ้างนะคะ เพื่อ ประโยชน์ที่ดีสำหรับสุขภาพร่างกายของเราเอง กะทิเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลายอย่างที่มีประโยชน์สำหรับร่างกาย นอกจากนี้ กะทิยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารและขนมหลายชนิด มีส่วนช่วยทำให้อาหารและขนม มีรสชาติอร่อย มีประโยชน์และยังให้ความอร่อย ดังนั้นเพื่อประโยชน์ของร่างกายควรหันมา บริโภคกะทิกันบ้างนะคะ แหล่งที่มา https://www.sanook.com/women/80221/


29 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการทดลอง จากการศึกษาค้นคว้าเรื่องการทำบัวลอย เป็นการศึกษาค้นคว้าที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับการทำบัวลอย ให้ทัน ทันสมัยมากขึ้น 7 ด้านดังนี้ 1) ด้านความละเอียดของเนื้อแป้งบัวลอย 2) ด้านของรสชาติของบัวลอย 3) ด้านกลิ่นของบัวลอย 4) ด้านความสะอาดของบัวลอย 5) ด้านของสวยงามของผลิตภัณฑ์6) ด้านผลลัพธ์ ของผลิตภัณฑ์ของบัวลอยหลังจากที่ได้ลองรับประทาน 7) ด้านภาพรวมของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความ ต้องการและความพึ่งพอใจในการรับทานบัวลอย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล กำรประเมินความพึงพอใจ จากความคิดเห็นของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน นวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา๒ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ทางแก้ไขปรับปรุง พัฒนาในจุดบกพร่องของการทำบัว ลอย เพื่อให้การทำบัวลอยที่จัดทำมีคุณภาพมากที่สุดทำการศึกษาค้นคว้าโดยมีวิธีการและขั้นตอนตำม ลำดับดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ 6. วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ 1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ำได้แก่ นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน นวมินท ราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่กำรศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร จำนวน 50 คน


30 2.เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า วิธีการสร้างเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้นเป็น เครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งผู้ศึกษาได้ได้สร้างแบบสอบถามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์องค์การศึกษา และขอบเขตของการศึกษาซึ่งประกอบด้วยคำถาม 2 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ข้อมูล ปัจจัย ด้านบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะแบบสอบถามปลายปิด (Close Ended Respmonse question) ส่วนที่2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบัวลอย ตามความเห็นของได้แก่ นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร มีลักษณะคำถามเป็น คำถามมาตรส่วนประมาณค่ำ (Rating Scale) 5 ระดับตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) คือ น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก และมากที่สุด โดยมีเกณฑ์การให้ คะแนนและเกณฑ์การให้คะแนนและเกณฑ์การจัดระดับ ดังนี้ ระดับความคิดเห็น ค่าน้ำหนักคะแนนของตัวเลือกตอบ น้อยที่สุด กำหนดค่าเท่ากับ 1 คะแนน น้อย ส กำหนดค่าเท่ากับ 2 คะแนน ปานกลาง กำหนดค่าเท่ากับ 3 คะแนน มาก กำหนดค่าเท่ากับ 4 คะแนน มากที่สุด กำหนดค่าเท่ากับ 5 คะแนน เกณฑ์ในการแปลความหมายค่ำร้อยละของคะแนนระดับความเห็นเพื่อจัดระดับคะแนน การศึกษา สภาพการดำเนินกิจกรรมต่างๆกำหนดเป็นช่วงคะแนนดังต่อไปนี้ ช่วงคะแนนร้อยละ 80 คะแนนขึ้นไป = ดีมาก ช่วงคะแนนร้อยละ 70-79 คะแนน = ดี ช่วงคะแนนร้อยละ 60-69 คะแนน = ปานกลาง ช่วงคะแนนร้อยละ 50-59 คะแนน = พอใช้ ช่วงคะแนนร้อยละ 40-49 คะแนน = ปรับปรุง


31 3.เก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ ขอความร่วมมือจากนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา๒ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ในการทำแบบสอบถามเพื่อ การ จัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทางสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัด ผู้ศึกษานำแบบสอบถามไปแจกด้วยตนเองทั้งหมดในระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม 2565 จำนวน 76 ชุด ชุดเมื่อถึงกำหนดวันนัดหมายผู้ศึกษาไปขอรับและแบบสอบถามคืนตนเองพร้อมตรวจสอบ ถูกต้อง ความเรียบร้อยความสมบูรณ์ของข้อมูลในการตอบแบบสอบถามในแต่ละชุดและจำนวนข้อมูลที่ได้รับ จำนวน 76 ชุด ผู้ศึกษานำแบบสอบถามหรือข้อมูลที่เก็บรวบรวมในแต่ละสถานศึกษาเพื่อนำไปวิเคราะห์และ แปลผลข้อมูล 4.การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับและผู้ ศึกษา ค้นคว้า นำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้สถิติวิเคราะห์ ดังนี้ การ วิเคราะห์ข้อมูลตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้ความถี่ร้อยละ ตอนที่ 2 ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับบัวลอย จำแนกตามสถานภาพ ได้แก่ นักเรียน ครู/อาจารย์ บุคคล ทั่วไป และเพศ ได้แก่ ชาย หญิง


32 5.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาค้นคว้าได้วิเคราะห์และประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้วย ระบบคอมพิวเตอร์สถิติที่ใช้ คือ สถิติพรรณนาการหาค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการหา ค่าความถี่โดยวิธีนับคำนวณ สูตรการหาค่าร้อยละ = ×100 N 6.วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ 6.1.1 อุปกรณ์และเครื่องมือหลักที่ต้องใช้ ชนิดอุปกรณ์ จำนวน หม้อ 1 ใบ มีด 2 เล่ม กะละมัง 4 ใบ ถาด 2 ใบ ตะแกรง 1 อัน ทัพพี 1 อัน ไม้เสียบอาหาร 1 แพ็ค


33 6.1.2 วัสดุอุปกรณ์ที่คต้องจัดเตรียม ชนิดอุปกรณ์ จำนวน แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม แป้งข้าวเหนียว 1200 กรัม ฟักทอง 300 กรัม มันไข่ส้ม 300 กรัม เผือก 300 กรัม กล้วย 100 กรัม น้ำใบเตย 150 มิลลิลิตร น้ำกะทิ 750 มิลลิลิตร น้ำตาล 50 กรัม


34 วิธีการทดลอง 1. ปลอกเปลือกผักและผลไม้ที่เตรียมไว้ 2. ตวงแป้งข้าวงเจ้า 100 กรัม แป้งข้าวเหนียว ทั้งหมด 1200 กรัม แบ่งไส้ละ 300 กรัม


35 3. นำมาล้างให้สะอาด แล้วนำมานึงประมาณ 10-15 นาที 4. นำมาบดส่วนนึงประมาณ 200 กรัม เข้ากับแป้งข้าวเหนียว 300 กรัม จนเป็นเนื้อเดียวกัน อีก 100 กรัมเก็บไว้ทำไส้ (อัตราส่วน 2:3) 5. นำแป้งมาแผ่ออก แล้ววางไส้ลงบนแป้ง หลังจากนั้นก็ปั้นแป้งให้เป็นทรงกลมปิดทับไส้


36 6. นำมาเสียบไม้ พร้อมโรยแป้ง 7. ต้มน้ำให้เดือด แล้วนำไปต้มประมาณ 4-5 นาที 8. นำกะทิ 750 มิลลิลิตร มากวนเข้ากับ น้ำตาล 50 กรัม และ แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม (อัตราส่วน 15:1:2)


37 9. นำบัวลอยขึ้นมาแช่น้ำ 1-2 นาที หลังจากนั้นนำขึ้นมาแล้วนำมาใส่จานพร้อมราดน้ำกะทิ


38 ผลการทดลอง 1. ผลการศึกษาบัวลอย ได้แก่ บัวลอยมันไข่ส้ม บัวลอยเผือก และบัวลอยฟักทอง ตารางที่ 1 ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ บัวลอย ลักษณะผิวเนื้อ สี กลิ่น รสชาติ บัวลอยมันไข่ส้ม ผิวขรุขระ เนื้อ หยาบ ส้ม หอม หอม หวาน มัน บัวลอยเผือก ผิวเนียน เนื้อเนียน ขาว หอม หอม หวาน มัน บัวลอยฟักทอง ผิวเนียน เนื้อหยาบ ส้ม หอม หวาน มัน


39 บทที่4 ผลการทดลอง การศึกษาค้นคว้าการทำบัวลอย ซึ่งเป็นขนมไทย ที่ไม่น่าสนใจมากนักและรับประทานได้ไม่ ค่อยสะดวก คณะผู้จัดทำจึงนำปัญหาเหล่านี้มาปรับปรุงเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและปรับเปลี่ยนวิธีการ รับประทานให้สะดวก การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมมูลเพื่อนำมาจัดทำเป็น โครงงาน ประเภทการทดลอง โดยภายหลังจากที่ทำผลิตภัณฑ์เสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ นำผลิตภัณฑ์ มาให้นักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ ได้ทดลอง รับประทาน และทำแบบประเมิณ ความพึงพอใจต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และร่วมกันเสนอ ข้อเสนอแนะ ซึ่งประชากรในการค้นคว้าครั้งนี้มี นักเรียนจำนวน 71 คน และบุคลากรภายในโรงเรียน จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 76 คน ได้รับแบบ ประเมิณกลับคืนมาจำนวน 76 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 ใน การสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล มีหัวข้อ ดังต่อไปนี้ 4.1 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ 4.2 วิเคราะห์คะแนนความพึงพอใจต่อบัวลอย ของนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนนวมินทราชินู ทิศ สตรีวิทยา๒


40 4.1 วิเคราะข้อมูลทั่วไปของนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ ตารางที่ 4.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จากตารางที่ 1 พบว่าข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน มีดังนี้ 1.อาชีพ ผู้ทำแบบสอบถามส่วนมากมีอาชีพนักเรียน ร้อยละ 93.4 รองลงมาคือ ครู ร้อยละ5.3 และน้อย ที่สุดคือ อื่นๆ ร้อยละ 1.3 รายการ ข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน ร้อยละ นักเรียน 71 93.4 ครู 4 5.3 อื่นๆ 1 1.3 รวม 76 100


41 4.2 วิเคราะคะแนนความพึงพอใจต่อบัวลอยของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนนวมิ นทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ ตาราง4.2 การวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อบัวลอย คำถาม ดีมาก 5 ดี 4 ปาน กลาง 3 น้อย 2 น้อย ที่สุด 1 ค่าร้อยละ แปลค่า มีรูปร่าง ลักษณะน่าสนใจ 25 20 18 12 1 74.73 มาก รสชาติของบัวลอย 13 32 23 6 2 73.63 มาก ความสะดวกสบายใน การรับประทาน 23 32 19 2 0 80 มากที่สุด สามารถสร้างรายได้ระหว่าง เรียน 36 23 13 4 0 83.94 มากที่สุด ปกติคุณชอบรับประทาน บัวลอย 24 20 19 10 3 73.68 มาก ความน่าสนใจของ บรรจุภัณฑ์ 16 28 22 10 0 73.15 มาก ขนาดของลูกบัวลอย 32 21 17 6 0 80.78 มากที่สุด มีปริมาณที่เหมาะสมกับ ราคา 32 25 12 7 0 81.57 มากที่สุด ความน่าสนใจในไส้ของบัว 21 21 20 14 0 53.94 น้อย


42 ลอย ภาพรวมของบัวลอย 17 33 14 12 0 74.47 มาก รวม 74.989 มาก เกณฑ์การให้คะแนน ช่วงคะแนนร้อยละ 80 คะแนนขึ้นไป = ดีมาก ช่วงคะแนนร้อยละ 70-79 คะแนน = ดี ช่วงคะแนนร้อยละ 60-69 คะแนน = ปานกลาง ช่วงคะแนนร้อยละ 50-59 คะแนน = พอใช้ ช่วงคะแนนร้อยละ 40-49 คะแนน = ปรับปรุง จากตารางการวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อบัวลอย ทั้ง 9 ข้อ พบวันภาพรวมของผลิตภัณฑ์อยู่ในเกณฑ์ ดี โดยด้านที่มีคะแนนมากที่สุด คือ สามารถสร้างรายได้ระหว่างเรียน มีค่าร้อยละ 83.94 รองลงมาคือมี ปริมาณที่เหมาะสมกับราคา มีค่าร้อยละ 81.57และด้านที่เหลือมีระดับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นส่วนใหญ่แนะนำให้ปรับปรุงในด้านความน่าสนใจในไส้ของบัวลอย เพื่อดึงดูดความสนใจ และสามารถเพิ่มมูลค่าไปจนถึงเพิ่มยอดขายให้ผลิตภัณฑ์


43 บทที่5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ การศึกษาค้นคว้าการทำบัวลอย มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1)เพื่อประยุกต์รูปแบบ รูปร่างของ บัวลอยให้ทันสมัยมากขึ้น (2)เพื่อปรับเปลี่ยนการรับประทานบัวลอยให้สะดวกมากขึ้น (3)เพื่อสร้าง รายได้ และสามารถประมวลผลได้ ดังนี้ กลุ่มเป้าหมายที่เราใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ และบุคลากรภายในโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามความพึงพอใจในการ รับประทานบัวลอยโดยแบบสอบถามคือ Google Form ซึ่งเรานั้นให้สแกน QR Code โดยมีคำถาม สำรวจจำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน สรุปผลการทดลอง จากการศึกษาทดลองการทำบัวลอยสามารถสรุปได้ว่าแป้งที่ทำจากฟักทองไม่ค่อยเรียบเนียน สวยงามเหมือนแป้งอื่นๆ เกิดจากการผสมเนื้อฟักทองที่มากเกินไปทำให้เกิดความไม่สมดุลกันของ ส่วนผสม เมื่อทำการต้มแล้วทำให้แป้งที่ทำจากฟักทองมีผิวที่ขรุขระไม่เรียบเนียนและมีกลิ่งที่ค่อนข้าง แรงกว่าแป้งอื่นๆ อภิปราย จากการศึกษาค้นคว้าเรื่องการทำบัวลอย ตามความคิดเห็นจากนักเรียนและบุคลากรภายใน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ สามารถอภิปรายได้ดังนี้ จากการสอบถามความคิดเห็นความพึงพอใจของนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ ในเรื่องการทำบัวลอยพบว่าอยู่ในระดับดี ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากผลสำรวจมีข้อเสนอดังนี้ 1. ควรปรับปรุงเรื่องความน่าสนใจของไส้บัวลอยให้มีความน่าสนใจและน่าดึงดูด


44 บรรณานุกรม ระพีพรรณ ใจภักดี. (2545) ผลไม้ชุดที่2 พิมพ์ครั้งที่2 กรุงเทพ; สำนักพิมพ์: แสงแดดเพื่อนเด็ก พิมลพรรณ อนันต์กิจไพศาล.(2557).๑๐๘ สมุนไพร ใช้เป็น หายป่วย.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ เก็ท ไอเดีย ภูมิใจเสนอ วัลยา ภู่ภิญโญ.(2542). อาหารทำจากดอกไม้และผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:ดุจลดา สำนักพิมพ์ เว็บไซต์ MedThai.com. มันเทศ สรรพคุณของมันเทศ 27ข้อ. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565. จาก https://medthai.com/%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%80%e0 %b8%97%e0%b8%a8/ โรงพยาบาลขอนแก่น ราม. ประโยชน์ของกล้วยหอม. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565. จากhttps://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/healtharticles/health/banana?fbclid=IwAR2- lploBIZANRvN2cTUdeupFZKiExuNe6Ur_NRK4bDv47ibgvplQ6wTROU เว็บไซต์ Kapook.com. (2553). ข้อดี ข้อเสีย ฟักทอง ประโยชน์ของฟักทอง. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565. จากhttps://health.kapook.com/view16925.html ทัตตพร อิสสรโชติ. (2565). เผือก ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565. จาก https://hellokhunmor.com เว็บไซต์ Sgethai.com. สรรพคุณ “ดอกอัญชัน” และการนำมาใช้ประโยชน์. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.sgethai.com จิ๋วหิวโซ. (2564). เปิดตำรา “แป้งทำอาหาร” รู้ไว้ใช้ไม่ผิด!. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.wongnai.com/food-tips/types-of-flour กองบรรณาธิการ mybest. (2565). 10 อันดับ แป้งข้าวเหนียว ยี่ห้อไหนดี ปี 2022 จากตราช้างสาม เศียร บัวลอย ง่วนสูน สืบค้น 13 ธันวาคม 2565. จาก https://my-best.in.th/50394


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.