STO_รายงานฉบับสมบูรณ์ Flipbook PDF


33 downloads 101 Views 39MB Size

Recommend Stories


Sto. Tomás de Aquino, s. XIII ( )
Sto. Tomás de Aquino, s. XIII (1225 - 1274) Sto. Tomás representa la cima de la filosofía medieval. Su obra, gigantesca, es una síntesis de todo lo di

Porque. PDF Created with deskpdf PDF Writer - Trial ::
Porque tu hogar empieza desde adentro. www.avilainteriores.com PDF Created with deskPDF PDF Writer - Trial :: http://www.docudesk.com Avila Interi

Story Transcript

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคี ปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) บุคลากรในโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ: ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต หัวหน้าโครงการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระ สินเดชารักษ์ นักวิจัย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.เอกสิทธิ์ หนุนภักดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา บุญยัง ผู้จัดการโครงการและผู้ประสานงานโครงการ: นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ ผู้ช่วยนักวิจัย: นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นายยุทธภูมิ พงษ์จีน นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕


บทสรุปผู้บริหาร หลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ว่าด้วยแผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองได้ให้ ความสำคัญต่อการสร้างความปรองดองสมานฉันท์อันเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศในขณะที่สังคมไทยตกอยู่ในความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อเรื้อรังเกือบ ๒ ทศวรรษ ทั้งที่มีความพยายามศึกษาปมปัญหาและเสนอมาตรการในการจัดการความขัดแย้งนี้มาโดยตลอดแต่ยังไม่ สัมฤทธิ์ผล สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เห็นว่าในปัจจุบันองค์ประกอบหลายประการได้เปลี่ยนแปลงไปทั้งปมความขัดแย้ง บริบทภายในและภายนอกประเทศตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นช่วงเวลา ที่สมควรทบทวนปมปัญหา ความคิดเห็น แนวทาง กลไก และมาตรการในการสร้างความปรองดองใหม่ โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้ เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาองค์ความรู้และข้อมูลเรื่องปัญหา ความขัดแย้งในการเมืองไทยและวิธีการสร้างความปรองดอง เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการ หาแนวทางสร้างความปรองดองด้วยการลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นและสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถาม นำองค์ความรู้และข้อมูลดังกล่าวมาสังเคราะห์วิเคราะห์สภาพปัญหา กำหนดแนวทางและสร้างกระบวนการ แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และจัดทำข้อเสนอที่ระบุแนวทาง กลไก และมาตรการในการสร้างความปรองดอง โดยมีเป้าหมายว่าจะได้รับข้อมูลและแนวทางในการสร้างความปรองดองจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่สอดคล้อง ต่อสถานการณ์และความเป็นจริง ระเบียบวิธีวิจัย โครงการนี้เลือกใช้เครื่องมือในการทำงานแบบผสมผสานทั้งการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ เชิงลึกเพื่อให้ได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ องค์ความรู้ ตัวแบบเกี่ยวกับความขัดแย้งและการสร้างความปรองดอง และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้อง ใช้การสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามทั่วทุกภูมิภาค จำนวนประมาณ ๓,๐๐๐ ชุด ใช้การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในจังหวัดตัวแทนภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี นครราชสีมา นครศรีธรรมราช และเชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมรวมทั้งสิ้นประมาณ ๖๐๐ คน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นโดยตรงจากปากคำของภาคส่วนต่าง ๆ และใช้การจัดประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหารือแนวทางและรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษา ผลการศึกษาแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ผลการศึกษาจากภาควิชาการประกอบด้วยการทบทวนงานวิจัย และแนวคิดทฤษฎีเรื่องการปรองดอง และการสัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ และผลการศึกษาจากการลงพื้นที่และสำรวจความคิดเห็น ผลการศึกษาจากภาควิชาการบ่งชี้ว่าความขัดแย้งในสังคมไทยเป็นความขัดแย้งทางการเมือง ทั้งในเรื่องความคิดความเชื่อทางการเมืองและความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรทรัพยากรโดยมีปัจจัยกระตุ้น ปัญหาให้รุนแรงยิ่งขึ้นจากการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมและความเจริญก้าวหน้าด้านนวัติกรรม


และการสื่อสาร เป็นความขัดแย้งร้าวลึกลงไปทั้งในระดับสังคมและครอบครัว มีปัจจัยเกี่ยวข้องทั้งตัวบุคคล ทัศนคติ เชิงสถาบันและเชิงโครงสร้าง ข้อเสนอเรื่องการปรองดองที่สำคัญของภาควิชาการคือแนวคิดเรื่องความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน อันเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดอคติความเกลียดชัง และสร้างความไว้วางใจระหว่างผู้ที่มีความขัดแย้งรุนแรง ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านประกอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ การค้นหาตรวจสอบข้อเท็จจริง การยอมรับ ขออภัยและแสดงความรับผิดชอบ การนิรโทษกรรม การเยียวยาและชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับ ผลกระทบและการปฏิรูปหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากกระบวนการในการสร้างความปรองดองดังข้างต้นแล้ว ในเชิงพื้นที่ดำเนินการ การสร้าง ความปรองดองสามารถดำเนินการได้ทั้งในระดับตัวบุคคล ทัศนคติ เชิงสถาบันและเชิงโครงสร้าง ผลการศึกษาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการให้ภาพปมความขัดแย้งมาจากความแตกต่างทางความคิดและ อุดมการณ์อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ช่องว่างระหว่างช่วงวัย การศึกษาอบรม การได้รับข้อมูลแตกต่างกัน หรือตีความข้อมูลแตกต่างกัน และความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงโอกาสและทรัพยากร ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ถูกตอกย้ำให้เห็นชัดโดยการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรมและความบกพร่องหรือความด้อยประสิทธิภาพ ของสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ และนักการเมืองทำให้ไม่สามารถเป็นช่องทางในการแก้ไขบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ส่งผลให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนอกจากจะไม่สามารถบรรเทา เบาบางลงไปได้แล้วยังขยายตัวลงลึกไปสู่ชุมชน ครอบครัวและระหว่างปัจเจกชนต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างทั้ง ๕ จังหวัดมีข้อเสนอร่วมกันหลายประเด็นสำหรับทางออกสำหรับการอยู่ร่วมกันหรือ การปรองดองคือ การมีส่วนร่วมของประชาชน การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย การสร้างและบังคับใช้ กฎหมายอย่างเป็นธรรม การลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ การจัดหาสวัสดิการให้แก่ประชาชน การกระจายอำนาจ ส่วนข้อเสนออย่างเป็นรูปธรรมที่ทุกพื้นที่เห็นตรงกันคือการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ การพิทักษ์สิทธิ เสรีภาพประชาชนและการจำกัดบทบาทของกองทัพในทางการเมือง กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เสนอเพิ่มเติมเรื่องการนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดตัวแทนจากกองทัพ และหน่วยงานความมั่นคงมีความเห็นต่างจากภาคส่วนอื่น ๆ ในบางประเด็นโดยให้น้ำหนักต่อการสร้าง ความปรองดองไปที่การรณรงค์สร้างความรักความสามัคคีให้แก่ประชาชนทุกคนในประเทศเป็นประเด็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่มีความคาดหวังที่จะเห็นการประนีประนอม เลิกทะเลาะเบาะแว้ง กันทั้งในระดับระหว่างชนชั้นนำและในระหว่างประชาชนด้วยกันเอง โดยประชาชนทั้งหมดเห็นว่าการเห็นต่าง เป็นเรื่องปรกติและสังคมที่ปรารถนาคือสังคมที่เห็นต่างแต่สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสันติภายใต้กติกา ที่ชอบธรรม เป็นธรรมและเสมอภาค และด้วยความคาดหวังทำนองนี้ทำให้กลุ่มตัวอย่างบางพื้นที่ให้ความสำคัญ กับการปรับเปลี่ยนค่านิยมและทัศนคติด้วย ผลการศึกษาจากการสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมดเห็นว่า ความขัดแย้งในปัจจุบันของประเทศไทยเป็นความขัดแย้งทางการเมืองหรือนโยบายและเป็นความขัดแย้ง ทางความคิด สาเหตุของความขัดแย้งเป็นเรื่องของความต้องการอำนาจการเมือง การสูญเสียผลประโยชน์และ อำนาจการเมือง ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียม การใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมการไม่ยอมรับความเห็นต่าง ทางการเมือง การเข้าใจข้อมูลที่ได้รับต่างกัน โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งมีทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ


ข้าราชการทหารในอัตราส่วนที่สูงกว่าข้าราชการพลเรือน นักวิชาการ นักศึกษา ประชาชน NGOs สื่อ และ ต่างประเทศเล็กน้อย ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมดเห็นด้วยกับแนวทางในการจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเจรจาสันติวิธี การไกล่เกลี่ยโดยบุคคลที่สาม การต่อรองเพื่อให้เกิดความสมดุล การไต่สวนเพื่อระงับ ข้อพิพาท การประนีประนอม การสร้างกติกาที่คู่แข่งยอมรับ การกระจายอำนาจและการปฏิรูปโครงสร้าง ข้อมูลเบื้องต้นจากแบบสอบถามบ่งชี้ว่าประชาชนรับรู้เรื่องความขัดแย้งของประเทศในระดับสูง และเห็นด้วยกับการใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยสันติ จากข้อมูลเปรียบเทียบความคิดของผู้ตอบแบบสอบถามตามปัจจัยส่วนบุคคลเรื่องเพศ การศึกษา และอาชีพแล้วพบว่ามีลักษณะแตกต่างกันโดยมีภาพรวมว่าผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่า ประกอบอาชีพในภาคเอกชน และมีเพศสภาพ LGBTQ จะมีความคิดเห็นต่อประเด็นต่าง ๆ ในเรื่องความขัดแย้งในระดับที่มากกว่าผู้ที่ การศึกษาน้อยกว่า ประกอบอาชีพข้าราชการ และมีเพศสภาพชายหรือหญิง นัยของผลการศึกษา ข้อสรุปเชิงทฤษฎี การทบทวนงานวิจัย แบบสอบถาม การประชุมเชิงปฏิบัติการและความเห็น ของนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องต่อประเด็นทางออกของความขัดแย้งหรือความปรองดองเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ทุกฝ่ายเห็นความขัดแย้งและความเห็นต่างเป็นสิ่งปกติที่ต้องเกิดขึ้นในสังคมจึงเห็นว่าการปรองดองคือการทำให้คน ในสังคมสามารถเห็นต่างกันแต่อยู่ร่วมกันได้โดยสันติ ซึ่งในการนี้ทุกกลุ่มเห็นว่าจะต้องดำเนินการอย่างน้อย ๒ เรื่อง คือ หนึ่ง การปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจให้ใกล้เคียงกันมากขึ้นโดยการส่งเสริมรักษาระบอบประชาธิปไตย ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การสร้างกติกาที่ชอบธรรม เป็นธรรมและเสมอภาค เพื่อพิทักษ์สิทธิเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนทุกคน สอง ปรับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้ใกล้เคียงกันมาก ขึ้นโดยการลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ การสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมการสร้างรัฐสวัสดิการ หรืออีกนัยหนึ่ง เครื่องมือสำคัญในการสร้างความปรองดองคือ “กติกา” และ “ความอยู่ดีกินดี” ของประชาชน แนวทาง กลไกและมาตรการในการสร้างความปรองดอง การที่จะดำเนินการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในสังคมไทย ให้ใกล้เคียงกันมากขึ้นหรือการสร้างกติกาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเพื่อให้เกิดความปรองดอง ตามความคิดเห็นและข้อเสนอของภาคส่วนต่าง ๆ ดังข้างต้นนั้น และภายใต้โอกาสและข้อจำกัดต่าง ๆ โดยมีโอกาส ที่สำคัญคือ การที่ประชาชนมีฉันทามติในเรื่องความต้องการอยู่ร่วมกันแม้มีความเห็นต่าง และมีข้อจำกัดสำคัญคือ การขับเคลื่อนข้อเสนอเพื่อสร้างความปรองดองจำเป็นต้องใช้อำนาจ โครงการนี้จึงเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนที่ สามารถดำเนินการได้โดยสอดคล้องกับโอกาสและข้อจำกัดดังกล่าวคือ การขับเคลื่อนการปรองดองที่ทุกภาคส่วน สามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนได้ และเป็นการขับเคลื่อนภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่ดำรงอยู่ของแต่ละภาคส่วน โดยใช้แนวทาง “เปิด-ปรับ-ผลัก” อันหมายถึงการดำเนินการเปิดพลังบวกลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อ ความปรองดอง ปรับเปลี่ยนความรู้คิดเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน และผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้มีการแก้ไขปรับปรุง เชิงสถาบันและโครงสร้างต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของประชาชน ผ่านกลไกความร่วมมือ ระหว่างภาคประชาชนภาคเอกชนและภาครัฐ (Public-Private-People partnerships) หรือ “กลไกประชารัฐ” ซึ่งมียุทธศาสตร์ ๔ ด้านคือ


ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อความปรองดองในทันที มีเป้าประสงค์เพื่อสร้าง ความเป็นธรรม ลดผลกระทบด้านลบทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมต่อประชาชน ลดปัจจัยความขัดแย้ง เสริมความรู้สึกด้านบวกต่อความปรองดอง โดยคาดหมายว่าประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการปรองดอง ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในด้านลบจากความขัดแย้งทางการเมืองได้รับการเยียวยา ประชาชนเกิดความรู้สึก ในทางบวกกับหน่วยงานที่เข้าร่วมหรือสนับสนุนโครงการ ประชาชนที่เข้าร่วมในโครงการในรูปแบบต่าง ๆ มีโอกาส เปิดใจรับฟังปัญหา ความคิด ความรู้สึกของเพื่อนร่วมสังคม และสังคมไทยเรียนรู้กระบวนการประชาธิปไตย ตัวอย่างมาตรการสำหรับยุทธศาสตร์นี้ได้แก่ โครงการที่เกี่ยวกับการเยียวยา การชดเชยการสร้างความเข้าใจ ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การส่งเสริมทัศนคติที่จำเป็นต่อความปรองดอง มีเป้าประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำ และชนชั้น ประชาชน สื่อมวลชน ข้าราชการ นักการเมือง มีทัศนคติและวิถีปฏิบัติที่สอดคล้องกับคุณค่า ในระบอบประชาธิปไตย โดยคาดหมายว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพของตนเองตาม กฎหมาย ประชาชนรับทราบช่องทางในการเข้าถึงกระบวนการทางกฎหมาย ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญของตนเองในกระบวนการปรองดอง หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการมีภาพลักษณ์ที่ดีในเรื่องของ การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ผู้นำ ชนชั้นนำ สื่อมวลชน ข้าราชการและนักการเมืองตระหนักถึง หลักการพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย ตัวอย่างมาตรการสำหรับยุทธศาสตร์นี้ ได้แก่ โครงการที่ผลิต เผยแพร่และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การปฏิรูปเชิงสถาบันเพื่อสร้างความปรองดอง มีเป้าประสงค์เพื่อปฏิรูประเบียบ การเมือง เศรษฐกิจและสังคมเพื่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติในระบอบประชาธิปไตย ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ที่ประชาชนยอมรับ โดยคาดหมายว่าสังคมไทยมีพลังสนับสนุนกลไกเชิงสถาบันในการจัดการความขัดแย้ง โดยสันติ ระเบียบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติในระบอบ ประชาธิปไตยได้รับการพิจารณาและเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมได้รับความสนใจ จากสังคม ตัวอย่างมาตรการสำหรับยุทธศาสตร์นี้ได้แก่ โครงการที่เกี่ยวกับการสร้างสถาบันในระบอบ ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนทั้งสถาบันในเชิงองค์กรรูปธรรมและสถาบันในเชิงระเบียบปฏิบัติ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การปฏิรูปโครงสร้างเพื่อสร้างความปรองดอง มีเป้าประสงค์เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยน โครงสร้างทางการเมืองที่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในระบอบประชาธิปไตยได้ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน โครงสร้างทางสังคมที่ส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพและศักยภาพของประชาชน โดยคาดหมายว่าประชาชนสามารถสะท้อนความต้องการการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างด้านต่าง ๆ สังคมตระหนัก ถึงโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมมากขึ้น ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพและศักยภาพของประชาชน ลดลง ตัวอย่างมาตรการสำหรับยุทธศาสตร์นี้ได้แก่ โครงการที่ลดอุปสรรคหรือส่งเสริมศักยภาพเชิงโครงสร้าง ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ผลการวิจัยบ่งชี้ว่ากลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่และกลุ่มเพศสภาพทางเลือกควรเป็นกลุ่มเป้าหมาย สำคัญสำหรับกิจกรรมขับเคลื่อนการสร้างความปรองดองในด้านต่าง ๆ


สารบัญ หน้า บทที่ ๑ บทนำ......................................................................................................................................... ๑ ๑. หลักการและเหตุผล...................................................................................................................๑ ๒. วัตถุประสงค์..............................................................................................................................๒ ๓. เป้าหมายที่จะได้รับจากการศึกษา..............................................................................................๒ ๔. ขอบเขตการศึกษา .....................................................................................................................๓ ๕. การส่งมอบงาน ..........................................................................................................................๔ ๖. กรอบแนวทางการศึกษา............................................................................................................๗ บทที่ ๒ แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ............................................................................................ ๘ บทที่ ๓ ระเบียบวิธีวิจัย........................................................................................................................๑๘ บทที่ ๔ ผลการรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ทางการเมืองที่เป็นปัญหาสำคัญ ที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง.......................................................................................................๒๕ ๑. ประวัติศาสตร์และสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง/สังคมของประเทศไทย...................๒๖ ๒. ความขัดแย้งทางสังคมและทางการเมือง.................................................................................๔๑ ๓. การจัดการความขัดแย้งและการสร้างการปรองดอง................................................................๔๗ ๔. ตัวอย่างความขัดแย้งทางการเมืองและการแก้ไขปัญหา ระบบและกลไกการสร้างการปรองดอง ของต่างประเทศที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์ในประเทศไทย............................................๕๑ ๕. การวิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบันของไทยในเรื่องการสร้างความปรองดอง..........................๕๗ ๖. การวิเคราะห์ผลการศึกษาประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา....................................๕๙ ๗. บทสรุปและกรอบการศึกษาวิจัย.............................................................................................๖๑ บทที่ ๕ ผลการจัดประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑................................................................๖๔ ๑. ภาพรวมการประชุมเชิงปฏิบัติการ..........................................................................................๖๔ ๒. ความคิดเห็นที่ได้รับจากการประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ ๑ ...................................๖๖ ๓. สรุปผลการประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ ๑.............................................................๗๒


สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ ๖ ผลการคัดเลือกจังหวัดที่ต้องการลงพื้นที่เก็บข้อมูล แผนการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และแผน การลงพื้นที่การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น..........................................................................๗๓ ๑. ผลการคัดเลือกจังหวัดที่ต้องการลงพื้นที่เก็บข้อมูล..................................................................๗๓ ๒. แผนการสัมภาษณ์เชิงลึก.........................................................................................................๗๖ ๓. แผนการลงพื้นที่เก็บข้อมูล......................................................................................................๗๗ ๔. แผนการลงพื้นที่การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น...................................................................๘๐ ๕. ร่างแบบสอบถามเชิงปริมาณและแนวคำถามสัมภาษณ์...........................................................๗๗ บทที่ ๗ ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก...........................................................................................................๘๓ ๑. ดร.สติธร ธนานิธิโชติ...............................................................................................................๘๓ ๒. ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล..............................................................................................๘๔ ๓. รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ........................................................................................................๘๖ ๔. นายยามารุดดิน ทรงศิริและเพื่อน (กลุ่มเยาวชน/นักศึกษา) ....................................................๘๙ บทที่ ๘ ผลการลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูล...................................................................................๘๖ ๑. การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ...........................................................๘๖ ๒. การวิเคราะห์สภาพปัญหา กำหนดแนวทาง และสร้างกระบวนการในการแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งในสังคมไทย........................................................................................................๘๙ ๓. การทดสอบความแตกต่างระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง สาเหตุของ ความขัดแย้งผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง สาเหตุของความขัดแย้งในอนาคต และการ จัดการความขัดแย้งเพื่อสร้างความปรองดองในประเทศไทย................................................ ๑๑๓ บทที่ ๙ ผลการลงพื้นที่เพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ...........................................................................๑๘๓ ๑. ผลการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในภาคใต้: นครศรีธรรมราช................................................. ๑๘๔ ๒. ผลการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในภาคเหนือ: เชียงใหม่........................................................ ๑๘๖ ๓. ผลการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: นครราชสีมา.......................... ๑๘๗ ๔. ผลการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในภาคตะวันออก: ชลบุรี..................................................... ๑๘๙ ๕. ผลการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในภาคกลาง: กรุงเทพมหานคร............................................ ๑๙๐ ๖. สรุปผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ................................................................................... ๑๙๒


สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ ๑๐ ผลการจัดประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๒..........................................................๑๙๕ ๑. ภาพรวมการประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๒....................................................... ๑๙๕ ๒. ความคิดเห็นที่ได้รับจากการประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ ๒ ................................ ๑๙๗ ๓. สรุปผลการประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ ๒.......................................................... ๒๐๑ บทที่ ๑๑ เปรียบเทียบมุมมองเรื่องความขัดแย้งและการปรองดอง และแนวทาง กลไก และมาตรการในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์.........................................................๒๐๒ ๑. เปรียบเทียบมุมมองเรื่องความขัดแย้งและการปรองดอง...................................................... ๒๐๒ ๒. แนวทาง กลไก และมาตรการในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์................................... ๒๑๓ ๓. การขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดอง..................................................................... ๒๑๕ บทที่ ๑๒ การประชาสัมพันธ์ผลการศึกษาวิจัย..................................................................................๒๓๒ ๑. การประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์.............................................................................. ๒๓๒ ๒. การประชาสัมพันธ์ผ่านการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง........................................... ๒๔๐ ภาคผนวก..........................................................................................................................................๒๔๔ ภาคผนวก ก หนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ ๑ ......................................... ๒๔๕ ภาคผนวก ข หนังสือแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ โครงการขับเคลื่อนการสร้าง ความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้ เกิดความสามัคคีปรองดอง ของคนในชาติ............................................................ ๒๕๓ ภาคผนวก ค เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ ๑ ........................... ๒๕๗ ภาคผนวก ง ภาพบรรยากาศในการประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ ๑ ......................... ๒๘๙ ภาคผนวก จ ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ ๑ ................... ๒๙๓ ภาคผนวก ฉ รายละเอียดการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการทั้งในส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง............ ๓๐๔ ภาคผนวก ช รายละเอียดการจัดประชุมบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดอง สู่การปฏิบัติ.......................................................................................................... ๓๖๐ เอกสารอ้างอิง....................................................................................................................................๓๖๕


สารบัญตาราง หน้า ตาราง ๑ จำนวนและสัดส่วนตัวอย่างที่จะทำการสำรวจ..............................................................................๒๐ ตาราง ๒ กำหนดการการจัดประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ ๑ .......................................................๖๔ ตาราง ๓ ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ ๑ ...........................................๖๖ ตาราง ๔ จำนวนและสัดส่วนตัวอย่างที่จะทำการสำรวจ..............................................................................๗๓ ตาราง ๕ กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์เชิงลึก.............................................................................................๗๖ ตาราง ๖ แผนการลงพื้นที่เก็บข้อมูล............................................................................................................๗๗ ตาราง ๗ แผนการลงพื้นที่การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น........................................................................๘๐ ตาราง ๘ ความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์เชิงลึก...........................................................................................๗๔ ตาราง ๙ จำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล......................................๘๖ ตาราง ๑๐ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นต่อความขัดแย้งในสังคมไทย...๙๐ ตาราง ๑๑ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นต่อสาเหตุของความขัดแย้ง ในสังคมไทย.............................................................................................................................๙๓ ตาราง ๑๒ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับ ความขัดแย้งในสังคมไทย..........................................................................................................๙๙ ตาราง ๑๓ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นต่อสาเหตุของความขัดแย้ง ในอนาคตในสังคมไทย........................................................................................................... ๑๐๒ ตาราง ๑๔ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นต่อการจัดการความขัดแย้ง เพื่อสร้างความปรองดองในประเทศไทย................................................................................ ๑๐๔ ตาราง ๑๕ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อความขัดแย้ง สาเหตุของความขัดแย้ง ผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง สาเหตุของความขัดแย้งในอนาคต และการจัดการความขัดแย้งเพื่อสร้างความปรองดองในประเทศไทย..................................... ๑๐๙ ตาราง ๑๖ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นความขัดแย้งทางการเมือง/ นโยบายทางการเมือง กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ................................................... ๑๑๓ ตาราง ๑๗ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นความขัดแย้งทางความคิด/ อุดมคติกับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ.......................................................................... ๑๑๕ ตาราง ๑๘ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นความขัดแย้งที่เกิดจากช่องว่าง ระหว่างวัย กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ.................................................................... ๑๑๗ ตาราง ๑๙ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นความขัดแย้งจากการเข้าถึง ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ................................................ ๑๑๘ ตาราง ๒๐ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นความขัดแย้งจากการละเมิด สิทธิมนุษยชน/สิทธิขั้นพื้นฐาน กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ...................................... ๑๒๐ ตาราง ๒๑ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นความขัดแย้งจาก ความแตกต่างทางชาติพันธุ์/ศาสนา กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ.............................. ๑๒๒


สารบัญตาราง (ต่อ) หน้า ตาราง ๒๒ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น ความไม่ลงตัวในความเห็นและการเข้าถึงอำนาจทางการเมือง กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ.............................................................................................................................. ๑๒๔ ตาราง ๒๓ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็นการ ไม่ยอมรับความเห็นที่แตกต่างทางการเมือง กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ.................. ๑๒๖ ตาราง ๒๔ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็นการ ไม่ยอมรับอำนาจของฝ่ายผู้ปกครอง กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ............................. ๑๒๘ ตาราง ๒๕ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็นการ สูญเสียผลประโยชน์จากการสูญเสียอำนาจทางการเมือง กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ.............................................................................................................................. ๑๒๙ ตาราง ๒๖ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น การถูกปฏิเสธพื้นที่ทางการเมือง/มีสิทธิทางการเมืองที่ไม่เท่าเทียม กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ.............................................................................................................................. ๑๓๑ ตาราง ๒๗ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียม กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ............................... ๑๓๒ ตาราง ๒๘ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น ความเหลื่อมล้ำในด้านต่าง ๆ กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ........................................ ๑๓๔ ตาราง ๒๙ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น ความไม่สมดุลในความสัมพันธ์เชิงอำนาจของรัฐกับประชาชน กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ.............................................................................................................................. ๑๓๕ ตาราง ๓๐ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ.............................. ๑๓๗ ตาราง ๓๑ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น การเข้าถึงและการรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกัน กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ................... ๑๓๙ ตาราง ๓๒ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น ความเข้าใจต่อข้อมูลที่ได้รับจากการสื่อสารที่ต่างกัน กับ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ .... ๑๔๐ ตาราง ๓๓ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น ค่านิยมและการให้คุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ที่ต่างกันกับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ............. ๑๔๒ ตาราง ๓๔ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ขัดแย้งที่เปราะบางกับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ...................... ๑๔๔ ตาราง ๓๕ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น ความก้าวหน้าของระบบสื่อสารและเทคโนโลยีกับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ............... ๑๔๕ ตาราง ๓๖ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น ประชาชน/ประชาสังคมมีส่วนร่วมในกิจการของรัฐกับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ......... ๑๔๗


สารบัญตาราง (ต่อ) หน้า ตาราง ๓๗ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น ความแตกต่างทางความคิดเห็นต่อแนวทางการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์กับเพศ ระดับ การศึกษา และอาชีพ............................................................................................................. ๑๔๘ ตาราง ๓๘ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น ความแตกต่างของช่วงวัยและการเกิดช่องว่างระหว่างวัยของคนในสังคมไทยกับเพศ ระดับ การศึกษา และอาชีพ............................................................................................................. ๑๕๐ ตาราง ๓๙ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของความขัดแย้งในประเด็น การแทรกแซงจากต่างประเทศกับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ........................................ ๑๕๒ ตาราง ๔๐ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อข้าราชการพลเรือนในฐานะที่เป็น ผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ............................ ๑๕๔ ตาราง ๔๑ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อข้าราชการทหารในฐานะที่เป็น ผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ..................... ๑๕๕ ตาราง ๔๒ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อนักการเมืองในฐานะที่เป็นผู้เกี่ยวข้อง กับความขัดแย้งในประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ...................................... ๑๕๗ ตาราง ๔๓ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อภาคธุรกิจ/กลุ่มนายทุนในฐานะ ที่เป็นผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ............ ๑๕๙ ตาราง ๔๔ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อนักวิชาการในฐานะที่เป็นผู้เกี่ยวข้อง กับความขัดแย้งในประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ...................................... ๑๖๑ ตาราง ๔๕ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อนักศึกษาในฐานะที่เป็นผู้เกี่ยวข้องกับ ความขัดแย้งในประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ........................................... ๑๖๒ ตาราง ๔๖ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อประชาชนในฐานะที่เป็นผู้เกี่ยวข้องกับ ความขัดแย้งในประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ........................................... ๑๖๕ ตาราง ๔๗ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อภาคต่างประเทศในฐานะที่เป็น ผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ..................... ๑๖๖ ตาราง ๔๘ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อองค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐในฐานะที่ เป็นผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ............... ๑๖๘ ตาราง ๔๙ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อสื่อสารมวลชนในฐานะที่เป็น ผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ..................... ๑๗๐ ตาราง ๕๐ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นความเห็นทางการเมือง ที่แตกต่างในฐานะที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งในอนาคตของประเทศไทย กับเพศ ระดับ การศึกษา และอาชีพ............................................................................................................. ๑๗๓ ตาราง ๕๑ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นความขัดแย้งจาก ความแตกต่างของวัยในฐานะที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งในอนาคตของประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ....................................................................................... ๑๗๔


สารบัญตาราง (ต่อ) หน้า ตาราง ๕๒ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นความเหลื่อมล้ำในด้านต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งในอนาคตของประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ.............................................................................................................................. ๑๗๕ ตาราง ๕๓ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นความขัดแย้งจากประเด็น ค่านิยม ความเชื่อในฐานะที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งในอนาคตของประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ.................................................................................................... ๑๗๘ ตาราง ๕๔ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นความขัดแย้งจาก การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงในฐานะที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งในอนาคตของ ประเทศไทย กับเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ................................................................... ๑๘๐ ตาราง ๕๕ จำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วม และวันที่จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในแต่ละจังหวัด....................... ๑๘๓ ตาราง ๕๖ กำหนดการการจัดประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ ๒ ................................................. ๑๙๕ ตาราง ๕๗ เปรียบเทียบมุมมองเรื่องความขัดแย้งและการปรองดอง......................................................... ๒๐๒ ตาราง ๕๘ การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรคต่อการสร้างความปรองดองด้วย SWOT Analysis............................................................................................................................... ๒๑๓ ตาราง ๕๙ การวิเคราะห์การสร้างความปรองดองด้วย TOWS Matrix..................................................... ๒๑๔


สารบัญภาพประกอบ หน้า ภาพประกอบ ๑ กรอบแนวทางการศึกษา......................................................................................................๗ ภาพประกอบ ๒ กรอบแนวคิดและทฤษฎีเบื้องต้น ......................................................................................๖๒ ภาพประกอบ ๓ การขับเคลื่อนประชารัฐ....................................................................................................๖๓ ภาพประกอบ ๔ การขับเคลื่อนประชารัฐแบบบูรณาการ.......................................................................... ๒๑๖ ภาพประกอบ ๕ กลไกประชารัฐแนวราบ โดยคณะวิจัย............................................................................ ๒๑๗ ภาพประกอบ ๖ Infographic ประชาสัมพันธ์โครงการ............................................................................ ๒๓๒ ภาพประกอบ ๗ Infographic แนวทาง กลไก มาตรการเพื่อขับเคลื่อนความปรองดอง............................ ๒๓๓ ภาพประกอบ ๘ การเผยแพร่ผลการศึกษาผ่านสำนักข่าวออนไลน์ ฐานเศรษฐกิจ..................................... ๒๓๔ ภาพประกอบ ๙ การเผยแพร่ผลการศึกษาผ่านสำนักข่าวออนไลน์ สยามอีเวนท์...................................... ๒๓๕ ภาพประกอบ ๑๐ การเผยแพร่ผลการศึกษาผ่านสำนักข่าวออนไลน์ insightoutstory............................. ๒๓๖ ภาพประกอบ ๑๑ การเผยแพร่ผลการศึกษาผ่านสำนักข่าวออนไลน์ asiannewschannel1.................... ๒๓๗ ภาพประกอบ ๑๒ การเผยแพร่ผลการศึกษาผ่านสำนักข่าวออนไลน์ ebiznewstoday............................ ๒๓๗ ภาพประกอบ ๑๓ การเผยแพร่ผลการศึกษาผ่านสำนักข่าวออนไลน์ ไทยแลนไทม์................................... ๒๓๘ ภาพประกอบ ๑๔ การเผยแพร่ผลการศึกษาผ่านสำนักข่าวออนไลน์ thinsiam........................................ ๒๓๙


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๑ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บทที่ ๑ บทนำ ๑. หลักการและเหตุผล ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยนับเป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่ยืดเยื้อและเรื้อรัง มาอย่างยาวนาน แม้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจะมีความพยายามจากทุกภาคส่วนในการสร้าง ความปรองดอง ผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อบรรเทาและแก้ไขปมปัญหาความขัดแย้งก็ยังไม่เห็นผลอย่างเป็น รูปธรรม โดยสภาพความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสะท้อนให้เห็นความจริงที่ว่าไม่มีความคิดเห็นของฝ่ายใด ที่ถูก หรือผิดไปทั้งหมดท่ามกลางสภาวะความขัดแย้งที่แต่ละฝ่ายยังคงยึดมั่นอยู่ในจุดยืนของตนเอง สิ่งที่ต้อง ริเริ่มดำเนินการโดยเร็ว คือ การสร้างบรรยากาศแห่งความสามัคคีปรองดองให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผน การปฏิรูปประเทศ ด้านการเมืองได้ให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูพื้นฐานด้านความมั่นคง โดยเฉพาะการสร้าง ความปรองดองสมานฉันท์ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการอยู่ ร่วมกันในสังคมอย่างสันติของผู้มีความเห็นต่างทางความคิดและอุดมการณ์บนพื้นฐานของการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ และการผลักดันการปฏิรูปประเทศให้บรรลุผลสำเร็จจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างการรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน ในเรื่องดังกล่าวตั้งแต่ระดับฐานรากอย่างทั่วถึงเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและขับเคลื่อน การพัฒนาโดยปราศจากความขัดแย้งต่อไป สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) ในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักในกิจกรรมปฏิรูปที่สำคัญเร่งด่วน และมีผลต่อ ประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ กิจกรรมปฏิรูปที่ ๓ การสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งมีภารกิจหลักในการเสนอแนะมาตรการ แนวทางการดำเนินการ และกลไกในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของประชาชน และขจัดความขัดแย้ง ทางการเมืองในสังคม ได้พิจารณาผลการศึกษาวิจัยของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐในประเด็น เกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองและการสร้างความสามัคคีปรองดองแล้ว เห็นว่าผลการศึกษาดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอให้ร่วมกันสร้างบรรยากาศแห่งการปรองดองผ่านการสร้างเวทีทั่วประเทศเพื่อเปิดโอกาส ให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันแสวงหาทางออกต่อความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน และแลกเปลี่ยนมุมมองความคิด ในวงกว้างต่อข้อเสนอทางเลือกความเป็นไปได้ต่าง ๆ ในการสร้างความปรองดอง รวมทั้งออกแบบ ภาพอนาคต ของประชาธิปไตยไทยตลอดจนกติกาทางการเมืองที่ยอมรับได้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ระหว่างกัน มากขึ้น และหาทางเลือกที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายอันจะส่งผลให้แต่ละฝ่ายสามารถก้าวออกจากจุดยืน ที่แตกต่างกันมาสู่จุดร่วมที่จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยยึดหลักกระบวนการพูดคุย ( dialogue) ซึ่งถือเป็นหัวใจของการสร้างความปรองดอง


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๒ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างไรก็ดีการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ทางการเมืองในสังคมไทยที่ผ่านมาได้ดำเนินการในลักษณะของการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาทิ การจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อเป็นบุคคลกลางในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง โดยการแก้ไขปัญหาในลักษณะดังกล่าวเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและเป็นรายกรณีไป ซึ่งบางครั้งอาจมิได้ ป้องกันการขยายขอบเขตของความขัดแย้งไปสู่วงที่กว้างขึ้นหรือก่อให้เกิดความล่าช้าในการแก้ไขปัญหา ตั้งแต่ต้นเหตุประกอบกับสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปและการพัฒนาเทคโนโลยีอาจทำให้สภาพปัญหาที่เคย ศึกษาไว้เดิมเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมีเป้าประสงค์ที่จะทำการทบทวนประเด็นปัจจัย ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยให้เป็นปัจจุบันรวมทั้งควรมีแนวทาง กลไก และมาตรการ ในการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของประชาชนและขจัดความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมเพื่อใช้เป็น แนวทางในการแก้ไขและป้องกัน ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางการเมืองเพื่อสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของประชาชนในสังคมอย่างยั่งยืน ต่อไป ๒. วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อให้มีการศึกษารวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ทางการเมืองที่เป็นปัญหา สำคัญที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ศึกษาเปรียบเทียบจากทฤษฎี เอกสารทางวิชาการ เหตุการณ์ความขัดแย้ง และวิธีการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งกรณีศึกษาของประเทศอื่น ที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาตั้งแต่สาเหตุรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้ชุดความรู้และข้อมูล เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดอง ๒.๒ เพื่อจัดให้มีการลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นโดยเปิดเวทีให้ทุกภาคส่วนทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ที่ประกอบไปด้วย หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน มีส่วนร่วมในการหาแนวทางการสร้างความปรองดองของคนในชาติ ๒.๓ เพื่อให้มีการวิเคราะห์สภาพปัญหา กำหนดแนวทาง และสร้างกระบวนการในการแก้ไขปัญหา ความขัดแย้ง ตามหลักวิชาการที่เกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง สันติวิธี และการสร้าง ความปรองดองสมานฉันท์ จากข้อมูลที่ได้ตามข้อ ๒.๑ และ ๒.๒ ๒.๔ เพื่อให้มีการจัดทำข้อเสนอที่ระบุแนวทาง กลไก และมาตรการในการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของประชาชนและขจัดความขัดแย้งทางการเมืองในสังคม ๓. เป้าหมายที่จะได้รับจากการศึกษา ๓.๑ ได้รับข้อมูลที่สะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทย ในปัจจุบัน และแนวทางการสร้างความปรองดองจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ๓.๒ ได้แนวทางการสร้างความปรองดองของประเทศที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ และสภาพปัญหา ที่แท้จริงอันจะนำไปสู่การเสริมสร้างสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๓ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๔. ขอบเขตการศึกษา ๔.๑ การดำเนินงาน ๑) จัดทำแผนการดำเนินโครงการฯ โดยครอบคลุมแนวทาง ขั้นตอน วิธีการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ตลอดจนออกแบบกระบวนการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการ ซึ่งสามารถระบุถึงปัญหา อุปสรรค และผลสัมฤทธิ์ ๒) ศึกษารวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ทางการเมืองที่เป็นปัญหาสำคัญ ที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ศึกษาเปรียบเทียบจากทฤษฎี เอกสารทางวิชาการ เหตุการณ์ความขัดแย้ง และวิธีการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งกรณีศึกษาของประเทศอื่น ที่เกี่ยวข้องโดยศึกษาตั้งแต่สาเหตุรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้ชุดความรู้ และข้อมูล เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความสามัคคีปรองดอง ๓) จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาหารือแนวทางการสำรวจและเก็บข้อมูล และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคต่าง ๆ โดยที่ปรึกษาจะทำการคัดเลือกจังหวัด ที่ต้องการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและแผนการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตลอดจนคัดเลือกจังหวัดที่จะจัดประชุมรับฟัง ความคิดเห็นอย่างน้อย ๔ ภาค (ภาคกลางไม่น้อยกว่า ๑ ครั้ง และภาคอื่น ๆ ไม่น้อยกว่า ๓ ภาค) ซึ่งที่ปรึกษา จะทำการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้นที่ต้องการเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน รวมทั้งทำการประสานงาน กับหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือในการดำเนินการ ๔) จัดให้มีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภูมิภาคต่าง ๆ รวมทั้ง ปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐและภาคเอกชน ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล ที่จำเป็นในการจัดทำข้อเสนอแนะและแนวทางในแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความสามัคคี ปรองดอง อาทิ สภาพแวดล้อม จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคในการดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อจัดทำ สรุปผลการวิเคราะห์ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย และนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ๕) จัดให้มีการลงพื้นที่เพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการหรือการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจาก ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น (หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน) ภาคกลางครั้งละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ คน ภาคอื่น ๆ ครั้งละไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ คนเพื่อร่วมกันให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็น และเสนอแนะแนวทางและรูปแบบที่จะใช้แก้ไขปัญหา ความขัดแย้ง และหาแนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๖) จัดทำรายงานผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและรายงานผลการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตามข้อ ๓) และ ๕) แล้วจัดให้มีการจัด ประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาแนวทางการจัดทำข้อเสนอแนะ


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๔ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๗) จัดทำรายงานข้อเสนอที่ระบุแนวทาง กลไก และมาตรการในการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ ของประชาชนและขจัดความขัดแย้งทางการเมืองในสังคม ๘) จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ตามข้อเสนอแนะในรายงานข้อ ๗) ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของสำนักงาน ป.ย.ป. ๙) จัดการประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย ๒ ครั้ง ตามข้อ ๓) และ ๖) โดยคณะกรรมการฯ ประกอบด้วยกรรมการจำนวนไม่เกิน ๑๐ คน ตามที่สำนักงาน ป.ย.ป. กำหนด ๔.๒ ประชากรของการศึกษาวิจัย ๑) ข้อมูลเอกสารทางวิชาการและรายงานจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์การนอกภาครัฐ (NGO) ทั้งที่ได้รับการเผยแพร่และไม่ได้เผยแพร่สู่สาธารณะ ๒) ประชาชนทั่วประเทศ ที่ครอบคลุมครอบทุกภาคส่วน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์การนอกภาครัฐ (NGO) และประชาชน ๓) ผู้ทรงคุณวุฒิประกอบไปด้วย นักวิชาการ และนักการเมืองอาวุโสผู้ซึ่งมีบทบาทในการสร้าง ความปรองดองในสถานการณ์ต่าง ๆ ของประเทศไทย ตลอดจนคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญตามที่สำนักงาน ป.ย.ป. กำหนด ๔.๓ ระยะเวลาของการศึกษา การดำเนินโครงการจะใช้เวลาทั้งสิ้น ๒๗๐ วัน ๕. การส่งมอบงาน จะมีการส่งมอบงานตามรูปแบบการดำเนินงานที่กำหนดไว้ ดังนี้ ๕.๑ งวดที่ ๑ ภายใน ๓๐ วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้าง จะมีการส่งมอบรายงานแผนการดำเนินโครงการฯ โดยอย่างน้อยต้องกำหนดแนวทาง ขั้นตอน วิธีการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ตลอดจนออกแบบกระบวนการติดตามความก้าวหน้า การดำเนินการซึ่งสามารถระบุถึงปัญหา อุปสรรค และผลสัมฤทธิ์ จำนวน ๕ ชุด และบันทึกเป็น Digital file รูปแบบ Word และ PDF ลงใน Flash Drive จำนวน ๑ ชุด ๕.๒ งวดที่ ๒ ภายใน ๙๐ วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้าง จะมีการส่งมอบเอกสารรายงานการศึกษาเบื้องต้น จำนวน ๕ ชุด และบันทึกเป็น Digital file รูปแบบ Word และ PDF ลงใน Flash Dive จำนวน ๑ ชุด โดยมีเนื้อหาอย่างน้อยประกอบไปด้วย


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๕ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑) ผลการรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ทางการเมืองที่เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลให้ เกิดความขัดแย้ง ศึกษาเปรียบเทียบจากทฤษฎี เอกสารทางวิชาการ เหตุการณ์ความขัดแย้งและวิธีการสร้าง ความปรองดองสมานฉันท์ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งกรณีศึกษาของประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาตั้งแต่สาเหตุรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้ชุดความรู้และข้อมูล เกี่ยวกับ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความสามัคคีปรองดอง ๒) ผลการจัดประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑ ๓) ผลการคัดเลือกจังหวัดที่ต้องการลงพื้นที่เก็บข้อมูล แผนการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและแผนการลงพื้นที่ การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ๕.๓ งวดที่ ๓ ภายใน ๑๘๐ วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้าง จะมีการส่งมอบเอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์ในการดำเนินการ จำนวน ๕ ชุด และบันทึกเป็น Digital file รูปแบบ Word และ PDF ลงใน Flash Dive จำนวน ๑ ชุด โดยมีเนื้อหาอย่างน้อยประกอบไปด้วย ๑) ผลการลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูล และการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคต่าง ๆ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ๒) ผลการลงพื้นที่เพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการหรือการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วน ทั้งส่วนกลางส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น (หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษาภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน) เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางและรูปแบบที่จะใช้แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และหาแนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๓) ผลการจัดประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๒ ๕.๔ งานงวดที่ ๔ ภายใน ๒๗๐ วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้าง จะมีการส่งมอบรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน ๒๕ ชุด และในรูปแบบ e-book และบันทึกเป็น Digital file รูปแบบ Word และ PDF ลงใน Flash Drive จำนวน ๑ ชุด โดยมีเนื้อหา อย่างน้อยประกอบไปด้วย ๑) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ๒) ผลการศึกษาเปรียบเทียบจากทฤษฎี เอกสารทางวิชาการ เหตุการณ์ความขัดแย้งและวิธีการสร้าง ความปรองดองสมานฉันท์ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ และวิเคราะห์หลักวิชาการที่เกี่ยวกับการดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ พร้อมกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อแนวทางที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของประชาชนและขจัด ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคม


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๖ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๓) ผลการดำเนินงานการลงพื้นที่เพื่อหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำรวจเก็บข้อมูลในภูมิภาคต่าง ๆ และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการหรือการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น และการดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๔) ข้อเสนอที่ระบุแนวทาง กลไก และมาตรการในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของประชาชน และขจัดความขัดแย้งทางการเมืองในสังคม ๕) ผลการประชาสัมพันธ์ข้อเสนอที่ระบุแนวทาง กลไก และมาตรการในการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของประชาชนและขจัดความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเค ๖. กรอบแนวทางการศึกษา ภาพประกอบ ๑ กรอ


๗ คลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อบแนวทางการศึกษา


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเค บทที แผนการดำเนินงา ลำดับ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เม.ย. พ.ค ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๑ จัดทำแผนการดำเนิ น โครงการ โดยกำหนด แนวทาง ขั้นตอน วิธีการ ผู้ มีส่วนเกี่ยวข้อง และ ระยะเวลาในการดำเนิน โครงการ พร้อมออกแบบ ก ร ะ บ ว น ก า ร ต ิ ด ต า ม ค ว า ม ก ้ า ว ห น ้ า ก า ร ดำเนินการซึ่งสามารถระบุ ถึงปัญหา อุปสรรค และ ผลสัมฤทธิ์ ผู้ดำเนินงานหลัก ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๒ จัดทำรายงานงวดที่ ๑ โดยมีเนื้อหาครอบคลุม กิจกรรมที่ ๑ ผู้ดำเนินงานหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง


๘ คลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ ๒ านตลอดโครงการ ระยะเวลา (วัน) ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ดด


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเค ลำดับ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เม.ย. พ.ค ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๓ จัดส่งรายงานงวดที่ ๑ (วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕) ๔ ศึกษารวบรวมข้อมูลทาง ป ร ะ ว ั ต ิ ศาสตร ์ และ เหตุการณ์ทางการเมืองที่ เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลให้ เกิดความขัดแย้ง ศึกษา เปรียบเทียบจากทฤษฎี เอกสารวิชาการ เหตุการณ์ ความขัดแย้งและวิธีการ สร ้ างความปรองดอง สมานฉันท์ที่เกิดขึ้นทั้งใน และต่างประเทศ รวมทั้ง กรณีศึกษาของประเทศอื่น ที่เกี่ยวข้อง ผู้ดำเนินงานหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๕ จัดประชุมคณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาหารือ ผู้ดำเนินงานหลัก ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต


๙ คลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะเวลา (วัน) ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเค ลำดับ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เม.ย. พ.ค ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ แนวทางการสำรวจและเก็บ ข้อมูลและการจัดประชุมรับ ฟังความคิดเห็นจากผู้ที่ เกี่ยวข้องในภูมิภาคต่าง ๆ โดยคัดเลือกจังหวัดที่ ต้องการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และแผนการลงพื้นที่เก็บ ข้อมูล ตลอดจนคัดเลือก จังหวัดที่จะจัดประชุมรับฟัง ความคิดเห็นอย่างน้อย ๔ ภาค (ภาคกลางไม่น้อยกว่า ๑ ครั้ง และภาคอื่น ๆ ไม่น้อย กว่า ๓ ภาค) พร้อมทั้งกำหนด กลุ่มเป้าหมายเบื้องต้นที่ ต ้ อ ง ก า ร เ ก ็ บ ข ้ อ มู ล ประสานงานกับหน่วยงาน ภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนที่เกี่ยวข้องใน พื้นที่ เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือ ในการดำเนินการ รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรนอกภาครัฐ (NGO) กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่เข้าร่วมการ ประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่ทำการเก็บข้อมูล ด้วยแบบสอบถาม


๑๐ คลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะเวลา (วัน) ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเค ลำดับ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เม.ย. พ.ค ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๖ จัดทำรายงานงวดที่ ๒ โดยมีเนื้อหาครอบคลุม กิจกรรมที่ ๔ และ ๕ ผู้ดำเนินงานหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๗ จัดส่งรายงานงวดที่ ๒ (วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕) ๘ ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและ เก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องในภูมิภาคต่าง ๆ รวมทั้งปรึกษาหารือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน ภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ดำเนินงานหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ


๑๑ คลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะเวลา (วัน) ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเค ลำดับ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เม.ย. พ.ค ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๙ ดำเน ิ นการศ ึ กษาและ วิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นใน การจัดทำข้อเสนอแนะและ แนวทางในการแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งและการสร้าง ความสามัคคีปรองดอง เช่น สภาพแวดล้อม จุดอ่อน จุด แข็ง โอกาส และอุปสรรคใน การดำเนินการแก้ไขปัญหา ผู้ดำเนินงานหลัก ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๑๐ สรุปผลการวิเคราะห์ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย และนำเสนอแนวทางการ แก้ไขปัญหาเบื้องต้น โดย จัดเตรียมรูปแบบการ ดำเนินการ นัดหมาย ผู้ดำเนินงานหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์


๑๒ คลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะเวลา (วัน) ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเค ลำดับ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เม.ย. พ.ค ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ประสานงาน และอำนวย ความสะดวกแก่สำนักงาน ป.ย.ป. และผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๑๑ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือการประชุมเพื่อรับฟัง ความคิดเห็นจากผู้ที่ เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้ง ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และ ส่วนท้องถิ่น (หน่วยงาน ภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชา สังคม และประชาชน) ภาค กลางครั้งละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ คน ภาคอื่น ๆ ครั้งละไม่ต่ำ กว่า ๑๐๐ คน เพื่อร่วมกัน ให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็น และเสนอแนะแนวทางและ รูปแบบที่จะใช้แก้ไขปัญหา ความขัดแย้งและหาแนว ผู้ดำเนินงานหลัก ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐ


๑๓ คลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะเวลา (วัน) ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเค ลำดับ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เม.ย. พ.ค ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ทางการสร้างความสามัคคี ปรองดองของคนในชาติ หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรนอกภาครัฐ (NGO) กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่เข้าร่วมการ ประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่ทำการเก็บข้อมูล ด้วยแบบสอบถาม ๑๒ จัดทำรายงานผลการลง พื้นที่เก็บข้อมูลและ รายงานผลการจัดประชุม เชิงปฏิบัติการหรือการ ประชุมเพื่อรับฟังความ คิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุก ภาคส่วน และจัดประชุม คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรึกษาแนวทางการ จัดทำข้อเสนอแนะ ผู้ดำเนินงานหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๑๓ จัดทำรายงานข้อเสนอที่ ระบุแนวทาง กลไก และ มาตรฐานในการสร้าง ผู้ดำเนินงานหลัก ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์


๑๔ คลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะเวลา (วัน) ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเค ลำดับ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เม.ย. พ.ค ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ความปรองดองสมานฉันท์ ของประชาชน และขจัด ความขัดแย้งทางการเมือง ในสังคม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๑๔ จัดทำรายงานงวดที่ ๓ โดยมีเนื้อหาครอบคลุม กิจกรรมที่ ๘ และ ๑๔ ผู้ดำเนินงานหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง


๑๕ คลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะเวลา (วัน) ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเค ลำดับ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เม.ย. พ.ค ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๑๕ ส่งรายงานงวดที่ ๓ (วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕) ๑๖ จัดทำบทสรุปผู้บริหาร ( Executive Summary) ผลการศึกษาทั้งหมด ตลอดโครงการ ข้อเสนอที่ ระบุแนวทางกลไกและ มาตรการในการสร้าง ความปรองดองสมานฉันท์ ของประชาชน และขจัด ความขัดแย้งทางการเมือง ในสังคม และผลการ ประชาสัมพันธ์ข้อเสนอ ผู้ดำเนินงานหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๑๗ ประชาสัมพันธ์ตาม ข้อเสนอแนะในรายงาน ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยประชาสัมพันธ์ใน รูปแบบหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ผู้ดำเนินงานหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ


๑๖ คลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะเวลา (วัน) ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เสนอ สำนักงานขับเค ลำดับ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เม.ย. พ.ค ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๑๘ จัดทำเล่มรายงานผลการ ดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ โดยมีเนื้อหาทั้งหมดของ โครงการ ผู้ดำเนินงานหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ อาจารย์วิชาญ กิตติรัตนพันธ์ ผู้ดำเนินงานรอง นางสาวรุ่งกมล โพธิสมบัติ นางสาวจิรัชญา บุญประกอบ นางสาวปรางทิพย์ เรี่ยวแรงบุญญา นางสาวกัณฐมณี อินต๊ะเสน นางสาวอินทราณี ศรีบุญเรือง นางสาวสุชาดา โพธิสิงห์ ๑๙ จัดส่งรายงานงวดที่ ๔ (วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕)


๑๗ คลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะเวลา (วัน) ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๑๘ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บทที่ ๓ ระเบียบวิธีวิจัย ๑. วิธีวิทยาการศึกษา ๑.๑ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยโดยการใช้แบบสัมภาษณ์กลุ่มประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ในภาพรวมจากประชาชนถึงประเด็นความขัดแย้งของประเทศไทยในปัจจุบัน สาเหตุสำคัญ สาเหตุร่วม (หรือปัจจัยหนุนเสริม) ผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ผลกระทบจากความขัดแย้ง และแนวทางการแก้ไขหรือ บรรเทาความขัดแย้ง ๑.๒ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยแบ่งเป็นสองส่วน คือ ๑) การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการทบทวนแนวคิดและทฤษฎีความขัดแย้ง การจัดการความขัดแย้ง การเสริมสร้างความปรองดอง และความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ร่วมกับ การศึกษากฎหมาย รูปแบบ และกลไกที่เกี่ยวข้องซึ่งเคยมีการนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ๒) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยการลงพื้นที่เพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการหรือการ ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น (หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน) เพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลใน ภาพรวมเชิงคุณภาพ (ทัศนะคติ แนวคิด ประเด็นเฉพาะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองไทยใน ปัจจุบัน) ๓) การจัดประชุมกลุ่ม (Focus group) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้เครื่องมือการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) โดยทำการประชุมกลุ่ม ๒ ครั้ง ครั้งแรก เป็นการสอบถามเพื่อหารือถึง ๑) พื้นที่และแนวทางการสำรวจและเก็บข้อมูลและการจัด ประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และ ๒) ทัศนคติและมุมมองของผู้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องความ ปรองดอง และอนาคตของประเทศไทย โดยมีประเด็นคำถามดังนี้ (๑) ความขัดแย้ง (๑.๑) ประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน (ช่วงระยะเวลา ๑๐ ปีที่ผ่านมา พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๖๕) (๑.๒) สาเหตุของความขัดแย้ง (๑.๓) ผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งดังกล่าว


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๑๙ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (๑.๔) การเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง (๑.๕) ความขัดแย้งในอนาคต และเงื่อนไขความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต (๒) ทางออกที่จะนำไปสู่สันติสุขและการสร้างความปรองดองอย่างยั่งยืน ครั้งที่ ๒ เป็นการรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อการประมวล และการวิเคราะห์ผล ข้อเสนอแนวทางการสร้างความปรองดองที่ได้จากการทำการศึกษาของคณะผู้วิจัย ตลอดจนร่วมกันเสนอแนะแนวทางที่เห็นควรจะทำให้เกิดการปรองดองแห่งชาติขึ้นได้อย่างประสบความสำเร็จ ในประเทศไทย ๑.๓ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ๑) ข้อมูลเอกสารทางวิชาการและรายงานจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์การนอกภาครัฐ (NGO) ทั้งที่ได้รับการเผยแพร่และไม่ได้เผยแพร่สู่สาธารณะ ๒) ประชาชนทั่วประเทศ ที่ครอบคลุมครอบทุกภาคส่วน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์การนอกภาครัฐ (NGO) และประชาชน แบ่งเป็น ๒ กลุ่มได้แก่ ๒.๑) กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่อยู่ในพื้นที่ที่จะจัดประชุมรับฟัง ความคิดเห็นจำนวน ๕ ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ (รวมภาคตะวันตก) ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนบน และภาคกลางตอนล่าง ภาคละ ๑๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ คน ๒.๒) กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยเป็นการสุ่มเก็บจากประชาชน ทั่วประเทศ กำหนดอายุของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุตั้งแต่ ๒๐ – ๖๕ ปี โดยเป็นการคำนวณสูตรตาม วิธีการทางสถิติ ซึ่งกำหนดระดับนัยสำคัญที่ร้อยละ ๙๕ และบวกความคลาดเคลื่อนร้อยละ ๓๐ โดยกลุ่ม ตัวอย่างจะกระจายอยู่ในทั้ง ๔ ภูมิภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในแต่ละพื้นที่จะกระจายสัดส่วนจำนวนตัวอย่างโดยใช้สัดส่วนจำนวนประชากรเป็นเกณฑ์ ซึ่งจะมีจำนวน ตัวอย่างอย่างน้อย ๒,๖๐๐ ตัวอย่าง ทั้งนี้อาจเพิ่มเติมในบางจังหวัดที่ไม่ได้สุ่มเลือกแต่มีความน่าสนใจ ต่อโครงการตามความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ ได้มีรายละเอียดกลุ่มตัวอย่าง ดังตาราง


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๒๐ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตาราง ๑ จำนวนและสัดส่วนตัวอย่างที่จะทำการสำรวจ ภูมิภาค จังหวัด อำเภอ/เขต ตำบล/แขวง หมู่บ้าน จำนวน ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร คลองสามวา บางชัน หมู่บ้านที่ ๑ ๕๓ หมู่บ้านที่ ๒ ๕๓ สามวาตะวันตก หมู่บ้านที่ ๑ ๕๓ หมู่บ้านที่ ๒ ๕๓ บางแค บางแคเหนือ หมู่บ้านที่ ๑ ๕๓ หมู่บ้านที่ ๒ ๕๓ หลักสอง หมู่บ้านที่ ๑ ๕๓ หมู่บ้านที่ ๒ ๕๓ ชลบุรี เมือง หนองรี หนองไข่เน่า ๕๓ เขาดิน ๔๒ เหมือง ดอนล่าง ๗๘ ไร่ไหหลำ ๕๓ พนัสนิคม หนองเหียง หนองสังข์ ๓๐ หนองตามิตร ๒๗ นาเริก เนินไทร ๒๑ ดอนไร่ ๒๐ ภาคเหนือ เชียงใหม่ เมือง สันผีเสื้อ ขัวโก ๕๕ ท่าเดื่อ ๓๒ ช้างเผือก ช้างเผือก ๒๕๖ ขุนช่างเคี่ยน ๒๐ ฝาง ม่อนปิ่น เวียงหวาย ๘๐ ลาน ๖๓ เวียง ห้วยบอน ๔๐ สันป่ายาง ๓๖ เชียงราย เมือง รอบเวียง หนองด่าน ๒๙ ป่ายางมนต์ ๑๗


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๒๑ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภูมิภาค จังหวัด อำเภอ/เขต ตำบล/แขวง หมู่บ้าน จำนวน ริมกก ฟาร์มสัมพันธกิจ ๒๐ เมืองงิม ๑๙ พาน เมืองพาน ป่าไผ่ ๑๕ ทุ่งมงคล ๑๒ ป่าละหุ่ง ปางเกาะทราย ๔๗ ป่าบงหลวง ๑๕ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา เมือง ในเมือง ประตูชัย ๓๒ วังหิน ๒๗ หนองบัวศาลา หนองตาคง ๒๐๓ หนองตะลุมปุ๊กใหม่ ๖๔ ปากช่อง หนองสาหร่าย โคกสง่า ๘๐ หนองคู ๕๑ ปากช่อง บันไดม้า ๒๙ สะพานดำ ๒๘ อุบลราชธานี เมือง แจระแม ท่าบ่อ ๕๐ ทับไทย ๓๐ ไร่น้อย นาเมือง ๘๓ โนนหงษ์ทอง ๕๖ เดชอุดม เมืองเดช หนองสำราญ ๒๓ สมสะอาด ๒๓ กลาง กลาง ๒๒ โนน ๒๒ ภาคใต้ นครศรีธรรมราช เมือง นาเคียน นาเคียนเหนือ ๔๖ ทุ่งจีน ๔๔ ปากพูน สวนจันทร์ ๒๐๕ ท่าแพ ๑๒๖ ทุ่งสง กะปาง ศรีสุนทร ๔๕


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๒๒ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภูมิภาค จังหวัด อำเภอ/เขต ตำบล/แขวง หมู่บ้าน จำนวน ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ๔๔ เขาขาว ทรายขาว ๓๔ หินราว ๓๑ สงขลา เมือง เขารูปช้าง ปราบ ๑๕๙ ท่าสะอ้าน ๑๓๓ ทุ่งหวัง สวนใต้ ๓๐ อ่างทอง ๒๗ จะนะ นาทับ ปากบาง ๒๗ ม้างอน ๒๕ ตลิ่งชัน ป่างาม ๔๐ ตลิ่งชัน ๓๕ รวม ๓,๓๘๐ ๓) ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบไปด้วย นักวิชาการ และนักการเมืองอาวุโส ผู้ซึ่งมีบทบาทในการสร้าง ความปรองดองในสถานการณ์ต่าง ๆ ของประเทศไทย ตลอดจนคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญตามที่สำนักงาน ป.ย.ป. กำหนด จำนวนรวมไม่น้อยกว่า ๑๐ ท่าน


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๒๓ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑.๔ ขั้นตอนการดำเนินงาน การดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่าย ในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ มีขั้นตอนการดำเนินงานหลัก ๔ ขั้นตอน ดังนี้ ๑) การรวบรวมข้อมูล การวิจัยทางเอกสาร และการทบทวนวรรณกรรม รวบรวมข้อมูลข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างความปรองดองทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการรวบรวมข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ตั้งแต่สาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง หรือทางสังคม ตั้งแต่รากเหง้าของปัญหาไปจนถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวในการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการยับยั้งเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หรือความขัดแย้งขึ้น รวมถึงการใช้เป็นแนวทาง เพื่อนำไปสู่ความปรองดองในสังคม ๒) การจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จัดประชุมเพื่อหารือแนวทางการสำรวจ การคัดเลือกจังหวัด และกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ เก็บข้อมูลพร้อมทั้งร่างแบบสอบถามที่จะใช้เก็บข้อมูล ประสานกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การประชุมกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปเพื่อเสนอแนวทาง กลไก และมาตรการในการสร้างความสามัคคีปรองดอง ของประชาชน หลังจากนั้นจัดทำข้อเสนอระบุแนวทางการสร้างความปรองดอง โดยจะมีการจัดประชุม อย่างน้อย ๒ ครั้ง เพื่อหาข้อสรุปในประเด็นที่กล่าวไปข้างต้น ๓) การสำรวจและเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภูมิภาคต่าง ๆ เมื่อได้ข้อสรุปจากการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญแล้วจะนำทั้งแนวทางและเครื่องมือมาสำรวจและ เก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภูมิภาคต่าง ๆ ตามจำนวนและพื้นที่ที่มีการหารือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ และ ได้รับความเห็นชอบจาก สำนักงาน ป.ย.ป. รวมทั้งปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐและเอกชน หลังจากสำรวจและเก็บข้อมูลแล้วจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำข้อเสนอแนะและแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความสามัคคีปรองดอง เช่น สภาพแวดล้อม จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคในการดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อจัดทำสรุปผลการวิเคราะห์ และนำเสนอแนวทาง การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ๔) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ประกอบไปด้วย หน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา องค์การนอกภาครัฐ (NGO) ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนมาแสดงความคิดเห็น และเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความปรองดอง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประชาชน ที่เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ๕ ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๒๔ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ (รวมภาคตะวันตก) ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนบนและภาคกลางตอนล่าง ภาคละ ๑๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ คน และศึกษาข้อมูลที่จำเป็น เช่น จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรคในการ ดำเนินการแก้ไขปัญหา หลังจากนั้นเขียนรายงานผลการลงพื้นที่เพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ รายการค่าใช้จ่ายในการสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ๒๕ เสนอ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บทที่ ๔ ผลการรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ทางการเมืองที่เป็นปัญหาสำคัญ ที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง การรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ทางการเมืองที่เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลให้เกิด ความขัดแย้ง มีการศึกษาเปรียบเทียบจากทฤษฎี เอกสารทางวิชาการ เหตุการณ์ความขัดแย้งและวิธีการสร้าง ความปรองดองสมานฉันท์ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งกรณีศึกษาของประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาตั้งแต่สาเหตุรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้ชุดความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความสามัคคีปรองดอง โดยจากศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองในประเทศไทย ในระยะเวลา กว่า ๑๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการศึกษา วิเคราะห์จากหลายภาคส่วน ซึ่งงานศึกษาต่าง ๆ ล้วนสะท้อนให้เห็นถึง รากเหง้าของความขัดแย้งที่มีมูลเหตุสำคัญหลายประการ โดยมีบทสรุปได้ว่ามูลเหตุหลัก ได้แก่ ความขัดแย้ง ระหว่างคู่ขัดแย้งทางการเมือง ความแตกต่างทางความคิดและความเชื่อทางการเมืองการปกครอง การเข้าถึง ผลประโยชน์และทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียม ตลอดจนมีปัจจัยเกื้อหนุนหรือปัจจัยร่วมที่กระตุ้นและเร่งเร้าให้ปัญหา ความขัดแย้งของประเทศไทยทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้อำนาจของภาครัฐที่สร้างความรู้สึกไม่เป็นธรรม ให้แก่ประชาชน หรือฝ่ายที่รู้สึกสูญเสียผลประโยชน์หรือที่รู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม และการพัฒนาทางเทคโนโลยี และการสื่อสาร อย่างไรก็ตามจากพลวัตทางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจ การเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลหรืออาจจะส่งผลให้ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันมีความแตกต่างไปจากความขัดแย้งในห้วงเวลา ในอดีต ทำให้การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การทบทวนข้อเท็จจริงของรากเหง้าความขัดแย้ง ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน และหาแนวทางการสร้างความปรองดองโดยการแก้ไขที่สอดคล้องและเหมาะสม กับสาเหตุที่แท้จริงจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งในบทนี้นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมือง และแนวทางการสร้างความปรองดอง เพื่อที่จะนำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดของการศึกษาวิจัย และการวิเคราะห์ สังเคราะห์ผลการศึกษาได้มีรายละเอียดจำแนกตามประเด็น ดังนี้ ๑. ประวัติศาสตร์และสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง/สังคมของประเทศไทย ๒. ความขัดแย้งทางสังคมและทางการเมือง ๓. การจัดการความขัดแย้งละการสร้างการปรองดอง ๔. ตัวอย่างความขัดแย้งทางการเมืองและการแก้ไขปัญหา ระบบและกลไกการสร้างการปรองดอง ของต่างประเทศที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์ในประเทศไทย ๕. การวิเคราะห์ผลการศึกษาประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา ๖. บทสรุปและกรอบการศึกษาวิจัย


Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.