รวมวิจัย 1-65 Flipbook PDF


69 downloads 117 Views 918KB Size

Recommend Stories


TOWERS. 165 lbs. (75kg)
TOWERS IMPORTANT: M1-4 Measurements for placement on your car should be in the clip boxes. If not in boxes, CALL •1-800-948-7483 (USA, Canada only) or

Avenida Mosconi 165, Puerto Madryn
CATALOGO BULONERIA Bulones y Tuercas de grado 5 al 12.9 - Roscas SAE y USS Arandelas Grower, Biseladas y Chapista Tuercas Mariposas, Autofrenantes, Ca

Story Transcript

วิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research) เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา องค์ประกอบศิลป์สาหรับงานคอมพิวเตอร์ โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยการอาชีพกันตัง

จัดทาโดย นายสุรศักดิ์ น้าเยื้อง

วิทยาลัยการอาชีพกันตัง จังหวัดตรัง สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติผู้วิจัย ชื่อ – นามสกุล

นายสุรศักดิ์ น้้าเยื้อง

เกิดวันที่

07 ธันวาคม 2523

ประวัติการศึกษา :

ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สถานที่ทางาน :

1 มีนาคม 2562 – ปัจจุบัน วิทยาลัยการอาชีพกันตัง จังหวัดตรัง



กิตติกรรมประกาศ การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้ สาเร็จได้ด้วยความกรุณาจากคณะครูอาจารย์ วิทยาลัยการอาชีพกันตัง ที่ได้ให้ ความช่วยเหลือ ให้ความรู้ ความคิดให้คาแนะนา คาปรึกษาตลอดจนการตรวจแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ เป็นอย่างดี จน การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ ขอขอบพระคุณ นายสายัณห์ แร่ทอง ผู้อานวยการวิทยาลัยการอาชีพกันตัง นายนิกอน ทองโอ รองผู้อานวยการ ฝ่ายวิชาการ ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ ให้คาแนะนา ให้ความรู้ ความคิดที่มีประโยชน์ และอานวยความสะดวกใน การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นอย่างดี และขอขอบใจนัก เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ของวิทยาลัยการ อาชีพ กันตังทุกคนที่ให้ ความร่วมมือเป็น อย่างดีในการวิจัยและเก็บข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้จนกระทั่งการ ศึกษาวิจัยครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ นายสุรศักดิ์ น้าเยื้อง ผูว้ ิจัย



บทคัดย่อ ชื่องานวิจัย

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยการอาชีพกันตัง

ชื่อผู้วิจัย

นายสุรศักดิ์ น้าเยื้อง

การวิจั ย นี้ มี วัตถุป ระสงค์ เพื่ อ พัฒ นาผลสั ม ฤทธิ์ท างการเรียนรายวิช าองค์ป ระกอบศิล ป์ ฯ โดยใช้ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยการอาชีพกันตัง จากผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ โดยใช้กิจกรรม เพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัย การอาชีพ จานวน 6 คน ซึ่งมีปัญหาในการเรียน ผู้เรียนไม่สามารถทาแบบฝึกปฏิบัติท้ายหน่วยเรียนผ่านเกณฑ์ ส่งผล ทาให้ไม่สามารถทาแบบทดสอบได้ ผลจากการทาแบบทดสอบหลังการใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ปรากฏว่านักเรียนมี ผลคะแนนการทาแบบทดสอบสูงขึ้น คิดเป็นค่าเฉลี่ย (𝑥̅ = 2.33) การใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ช่วยให้นักเรียน ที่มี ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถแตกต่างกัน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน

สารบัญ ประกาศคุณูปการ บทคัดย่อ บทที่ 1 บทนา ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบแนวคิด ขอบเขตการวิจัย ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประโยชน์ของการวิจัย คานิยามศัพท์เฉพาะ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้และกระบวนการกลุ่ม งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีการดาเนินการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการดาเนินการสร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการทดสอบก่อนเรียน ผลการทดสอบหลังเรียน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะ อภิปรายและสรุปผล อภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก ประวัติผู้วิจัย

หน้า 0ก 0ข 01 01 01 01 02 02 02 03 05 08 09 09 09 09 10 10 11 12 12 13 13 13 14

บทที่ 1 บทนำ 1.1 ควำมเป็นมำและควำมสำคัญของปัญหำ ในการเรียนการสอนของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัย การอาชีพกันตัง ได้มีการกาหนดให้รายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ รหัส 20204 2006 เป็นรายวิชาที่อยู่ในกลุ่มทักษะ วิชาชีพเลือก ที่นักเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจทุกคนจะต้องเรียนวิชานี้ วิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ เป็นวิชาหนึ่ง ซึ่งมีความสาคัญสาหรับนักเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ โดยวัตถุประสงค์ของรายวิชานี้ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถออกแบบ สร้าง แก้ไข และตกแต่งโดยใช้โปรแกรมมัลติมีเดีย นักเรียนสามารถนาความรู้ที่ ได้ไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องได้ จากการสั งเกตการเรี ย นการสอน พบว่ า นั ก เรี ย นบางคนไม่ ส ามารถท าแบบฝึ ก หั ด ใบงานปฏิ บั ติ แบบทดสอบ และข้อสอบตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้ได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่นักศึกษาบางคนเรียนรู้ได้ช้ามี ความสามารถในการเรียนรู้ และมีพื้นฐานความรู้ที่ไม่เท่ากัน ซึ่งวิธีการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เป็น วิธีการหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้นักศึกษามีแรงจูงใจ มีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษารายวิชาโปรแกรมมัลติมีเดีย ของนักเรียนสาขาวิชา คอมพิว เตอร์ธุรกิจ โดยใช้กิจ กรรมเพื่อนช่วยเพื่ อนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒ นาการเรียนการสอนให้ มีความ หลากหลายในวิธีสอนมากยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนดียิ่งขึ้นไป 1.2 วัตถุประสงค์และเป้ำหมำยกำรวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาผลจากการจัดการเรียนรู้ โดยกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ ของนักเรียนระดับ ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพกันตัง 1.2.2 เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับ ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการ อาชีพกันตังผ่านเกณฑ์ที่กาหนด 1.2.3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโปรแกรมมัลติมีเดีย ก่อนการเรียนและหลังการเรียน โดยใช้วิธีการเรียนรู้ร่วมกันแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 1.2.4 เพื่อนาการวิจัยครั้งนี้ ไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในปีการศึกษา ต่อไป 1.3 กรอบแนวคิด การเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาโปรแกรมตารางคานวณ

2 1.4 ขอบเขตกำรวิจัย วิจัยเรื่องนี้ได้กาหนดขอบเขตของการวิจัยดังนี้ 1.4.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพ กันตัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จานวน 6 คน 1.4.2 เครื่องมือทีใ่ ช้ คือ แบบประเมินผลก่อนการเรียนและหลังการเรียน ขอบเขตด้านวัตกรรม 1. แผนการสอน 2. แบบประเมินผลก่อนการเรียนและหลังการเรียน 1.5 ตัวแปรที่ใช้ในกำรวิจัย 1.5.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การเรียนโดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน 1.5.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ ของนักเรียนระดับ ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพกันตัง 1.6 ประโยชน์ของกำรวิจัย 1.6.1 ผลจากการจัดการเรียนรู้ โดยกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่ อน ทาให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา องค์ประกอบศิลป์ฯ ของนักเรียนระดับ ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพกันตังอยู่ผ่านเกณฑ์ ที่กาหนด 1.6.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ หลังการเรียนดีกว่าก่อนการเรียน 1.6.3 ได้น าผลจากการวิจัยครั้งนี้ ไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภ าพยิ่งขึ้น ในปี การศึกษาต่อไป 1.7 คำนิยำมศัพท์เฉพำะ นักเรียน หมายถึง นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัย การอาชีพ กัน ตัง ที่ล งทะเบี ย นเรี ย นรายวิช าองค์ป ระกอบศิล ป์ ฯ รหั ส วิช า 20204 – 2006 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565 กำรสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน หมายถึง การจัดการเรียนรู้โดยแบ่งเป็นกลุ่มโดยแต่ละกลุ่มมีนักศึกษา คละความสามารถ เก่ง ปานกลาง และอ่อน โดยครูเป็นผู้แบ่งกลุ่มให้นักศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน หมายถึง คะแนนจากการทาแบบทดสอบรายวิชาโปรแกรมมัลติมีเดีย หลังเรียน ได้ ไม่ตากว่าร้อยละ 50 ของคะแนน (คะแนนเต็ม 20 คะแนน นักศึกษาต้องผ่านเกณฑ์ประเมินไม่น้อยกว่า 10 คะแนน)

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ รหัส 20204 2006 โดยใช้ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยการอาชีพกันตัง ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีสาระสาคัญดังหัวข้อ ต่อไปนี้ 1. การสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน 1.1 ความหมายของการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน 1.2 วัตถุประสงค์ของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 1.3 รูปแบบวิธีการสอนโดยใช้กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน 1.4 หลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม 2. ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้และกระบวนการกลุ่ม 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 การสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน 2.1.1 ความหมายของการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน กิจกรรมการเรียนการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นแนวคิดที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีโอกาส ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการกระจายบทบาทการสอนครู ไปสู่นักศึกษานับว่าเป็นวิธีการที่ยึดนักศึกษาเป็นสาคัญ วิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนนี้ ได้รับความสนใจจากนักการศึกษาเป็นจานวนมาก เนื่องจากวิธีการสอน แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นวิธีการที่ครูสอนพยายามเข้าถึงความต้องการของนักศึกษาแต่ละคน เป็นแนวคิดที่ ส่งเสริมและโน้มน้าวให้เด็กนักศึกษาเกิดทัศนคติที่ดีต่อสมาชิกภายในกลุ่ม วิธีการสอนดังกล่าวนี้ครูผู้สอนต้องมี การวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นการเตรียมนักศึกษาให้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังสามารถเปลี่ยนบทบาทครูและนักศึกษาได้อีกด้วย เป็นการฝึกให้นักศึกษากล้าแสดงออกทางความคิดมากขึ้น นับได้ว่าเป็นการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ของเด็กนักศึกษา (พิกุล ภูมิแสน. 2539 : 28) 2.1.2 วัตถุประสงค์ของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การสอนโดยวิธีให้เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นวิธีการที่มุ่งให้นักศึกษาเกิดแรงจูงใจต่อการเรียนมากขึ้น เนื่องจากนักศึกษาทุกคนเป็นผู้มีบทบาทในกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการสอนดังกล่าวมีจุดประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เรื่อ งกระบวนการกลุ่มของนักศึกษาโดยเน้นการให้นักศึกษาช่วยเหลือ กัน ตลอดจนเห็นคุณค่าของการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง 2. เพื่อให้นักศึกษาที่มีระดับความแตกต่างกัน สามารถเรียนประสบการณ์อย่างเดียวกันได้ 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้จากแหล่งต่างๆ มากขึ้น เช่น จากเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน หรือ จากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นามาประกอบการเรียน 4. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดี รวมทั้งแรงจูงใจในการเรียน เนื่องจากนักศึกษา ผู้สอนรู้สึกภาคภูมิใจใน ตนเอง หรือรู้สึกว่าตนเองได้รับความสาเร็จในการเรียน เนื่องจากมีโอกาสได้ทาประโยชน์ให้กับเพื่อนนักศึกษา สาหรับนักศึกษาที่มีปัญหาก็จะลดความกังวลในเรื่องข้อบกพร่องของตนเอง

4 5. เพื่อให้การเรียนการสอนมีลักษณะเป็นการสื่อสารมากขึ้น ลักษณะดังกล่าวจะทาปฏิสัมพันธ์ ระหว่างนักศึกษาดีขึ้น เนื่องจากบรรยากาศในชั้นเรียนมีความเป็นกันเอง 6. ครูเป็นเพียงผู้ให้คาแนะน่าให้คาปรึกษา และคอยสังเกต ตลอดจนทาการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในการเรียนการสอนของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม 2.1.3 รูปแบบวิธีการสอนโดยใช้กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน วิธี ก ารสอนแบบเพื่ อ นช่ ว ยเพื่ อ น เป็ น วิธี ก ารสอนวิธี ห นึ่ งที่ สื บ ทอดเจตนารมณ์ ข องปรัช ญา การศึกษาที่ว่า Learning by Doing โดยการเน้นให้นักศึกษามีการรวมกลุ่มเพื่อท่างาน หรือการปฏิบัติในกิจกรรม การเรียนการสอน อาจกล่าวได้ว่าวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนนั้นยังเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย และยังมุ่งให้ ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนอยู่ในเกณฑ์ ต่าได้รับประโยชน์จากเพื่อนนักศึกษาที่เรียนเก่งกว่า หรือมีผลสัมฤทธิ์ อยู่ในเกณฑ์สูง (อุทัย เพชรช่วย. 2530 : 16-19) การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สามารถน่ามาประยุกต์ใช้ได้กับการ จัดชั้นเรียนตามปกติ หรืออาจจัดชั้นเรียนขึ้นเป็นพิเศษ โดยให้นักศึกษาเรียนรู้จากเพื่อนในวัยเดียวกัน (Peer – Tutoring) หรืออาจจัดชั้นเรียนให้นักศึกษาผู้สอนมีคุณวุฒิสูงกว่านักศึกษา (Cross – Age Tutoring) นอกจากนี้ ครูผู้สอนยังสามารถนาไปใช้กับเนื้อหาตามปกติ หรือใช้ในการทบทวนหรือ การสอนซ่อมเสริมได้ตามเหมาะสม การจัดการเรียนการสอนของการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนนั้น ผู้สอนจะต้องแบ่งนักศึกษา ออกเป็นกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มเก่ง กลุ่มอ่อนคละกัน โดยมุ่งเน้นให้เด็กเก่งของแต่ละกลุ่มท่าหน้าที่เป็นผู้ช่วยครู (Teacher Assistants) หรือในบางครั้งก็อาจจัดเป็นกลุ่มง่ายๆ ตามที่นั่งนักศึกษา 2.1.4 หลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม 1. นาคะแนนผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในวิชาที่สอน มาเรียงลาดับจากมากไปหาน้อย 2. นาผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน หรือใกล้เคียงกันมาจัดเป็นกลุ่มตามจานวนที่ต้องการ หลังจากนั้น ครูผู้ สอนจึ งมอบหมายงานให้ นั กศึกษารับ ผิ ดชอบศึกษาร่วมกัน และต้องรายงานผลเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ ใน บางครั้งครูอาจจะให้ อ่านบทสนทนาเขียนบทความ หลังจากนั้นจะให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มสรุปใจความ หรือให้ เตรีย มคาถามในเรื่องที่อ่าน หรือคิดกิจ กรรมต่างๆ ตามความเหมาะสมก่อนที่จะด่าเนินการเรียนการสอนนั้ น ครูผู้สอนจะต้องพิจารณาและด่าเนินการตามล่าดับขั้นตอนต่อไปนี้ (อุทัย เพชรช่วย. 2528 : 27-30) 1. ชี้แนะและกระตุ้นให้นักศึกษาได้มองเห็นความสาคัญ และเกิดความเชื่อมั่นว่าตนจะได้รับ ประโยชน์จากการใช้วิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน 2. ชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการสอน โดยการจัดกลุ่มให้มีผู้น่าในการเรียนแก่นักศึกษาที่เป็นผู้น่าในการ เรียน และให้คาแนะนาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้นาในการเรียน เพื่อให้เข้าใจอย่างชัดเจน 3. คอยให้คาแนะนาและเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่เป็นผู้นาในการเรียนได้มีโอกาสพบปะ เพื่อ ปรึกษาได้ในทุกช่วงเวลาที่เด็กนักศึกษาต้องการ หรือมีปัญหาเกิดขึ้น 4. การประเมินผลการเรียนของนักศึกษาแต่ละกลุ่มเดือนละครั้ง เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาในแต่ละ กลุ่มได้แข่งขันกันเอง 5. มีการเตรียมแหล่งข้อมูลให้เพียงพอ เช่น หนังสือ คู่มือ หนังสือพิมพ์ และ วารสารต่างๆ ตลอดจนอุปกรณ์ในการเรียน ได้แก่ วิทยุ เทปบันทึกเสียง เป็นต้น 6. การกระจายเนื้อหาในรายวิชาที่จะสอนให้เป็นบทย่อยๆ แล้วจัดเรียงลาดับความเหมาะสม 7. เตรียมแบบฝึกหัดประกอบการเรียน ตลอดจนการเตรียมแบบทดสอบและขณะเดียวกันจะต้อง มีการกาหนดเรื่องการให้คะแนน การตีความผลสอบ เพื่อความสะดวกในการดาเนินกิจกรรมการเรียนการสอน

5 8. ในการเลือกนักศึกษาเป็นผู้สอน (Tutors) นักศึกษาที่เรียนกลุ่ม (Turees) เพือ่ จัดกลุ่มหรือจัด คู่ระหว่างนักศึกษาผู้สอนและนักศึกษานั้น ครูผู้สอนต้องแนะนา หรืออธิบายให้นักศึกษาเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ ตนเอง หลักเกณฑ์ในการเลือกนักศึกษาผู้สอน ดังนี้ - เป็นผู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์สูง - เป็นผู้มีความเสียสละ และมีความสมัครใจสอน - เป็นผู้มีความประพฤติและนิสัยดี เป็นที่ยอมรับของผู้เรียนในกลุ่ม หลักเกณฑ์ในการเลือกนักศึกษาผู้เรียน ดังนี้ - เป็นผู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่า - เป็นนักศึกษาที่มีปัญหาในเรื่องการเรียน หรือขาดเรียนบ่อย ๆ อนึ่งเมื่อครูผู้สอนคัดเลือกตัวผู้เรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปคือ การจัดกลุ่มนักศึกษาโดยให้ มีอัตราจานวนนักศึกษาผู้สอนต่อจานวนนักศึกษาผู้เรียนอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ในกรณีที่จัดให้นักศึกษามีการ เรียนแบบเป็นคู่ๆ ผู้สอนควรเลือกนักศึกษาที่เป็นเพศเดียวกัน หรืออายุไล่เลี่ยกันในการเตรียมนักศึกษาผู้สอน ให้ เข้าใจถึงวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนนั้น ครูจะต้องอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ ตลอดจนการ เตรียมตัวในการสอนรวมทั้งการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเรียน จากที่กล่าวข้างต้นนี้ ท่าให้เห็นว่าบทบาทหน้าที่ของครู และนักศึกษาในกิจกรรมการเรียนการ สอนได้เปลี่ยนแปลงไป โดยครูได้เปลี่ยนหน้าที่จากผู้สอนมาเป็นผู้กากับการสอนโดยอาศัยนักศึกษาผู้สอนฝึกให้กับ นักศึกษา เมื่อนักศึกษาผู้สอนเกิดความชานาญในการสอนเพิ่มมากขึ้นแล้ว ครูจะลดบทบาทในการควบคุมดูแล ดังนั้น ตัวนักศึกษาเองจะมีส่วนร่วมอย่างมากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นวิธีสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ต่อการเรียนการสอนอย่างแท้จริง สามารถปฏิบัติได้ดังนี้ 1. จัดกิจกรรมโดยให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางในการเรียน 2. สมาชิกที่มีความเข้าใจเนื้อหาช่วยสมาชิกในกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจ 3. รูปแบบชัดเจนแน่นอน คือ จัดกลุ่มเล็ดลอดการด่าเนินงานกิจกรรมการเรียนการสอน 4. ผลัดเปลี่ยนกันมีบทบาท 5. มีความรับผิดชอบร่วมกัน 6. ส่งเสริมทักษะทางด้านสังคม 7. มีการเสริมแรงจูงใจในการท่างานร่วมกัน 8. มีความรับผิดชอบในการท่างานร่วมกัน 9. สมาชิกภายในกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกัน 10. สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบงานของตนเอง และของสมาชิกภายในกลุ่ม 11. เน้นวิธีการและผลงาน 2.2 ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้และกระบวนการกลุ่ม การเรียนแบบร่วมมือเป็นการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มแก้ปัญหา ตามแนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ที่ นามาใช้ใน การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ดังที่นักการศึกษาและนักจิตวิทยาชาวรัสเซียชื่อลีพ วีกอตสกี (Lev s. Vygotsky) (Johnson and Johnson 1987) ได้อธิบายว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้และพัฒ นาสติปัญญาได้เมื่ออยู่

6 ร่ว มกับ ผู้ อื่น ในสั งคม มีป ฏิ สั ม พั น ธ์และท างานร่ว มกั บ คนอื่น เมื่อ อยู่ในครอบครัว และในโรงเรียน อยู่ร่ ว มกั บ ผู้ปกครอง ครู และเพื่อน เด็กจะอยู่ในสภาวะที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ท้าทาย ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น เพราะเด็ก ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตามลาพัง เด็กจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม จึงกล่าวได้ว่าแนวคิดสาคัญของทฤษฎีการ เรียนแบบร่วมมือสัมพันธ์กับทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้และทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม ดังมีสาระสาคัญดังนี้ 2.2.1 ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ จอห์นสันและจอห์นสัน (Johnson and Johnson, 1994 : 34) กล่าวว่า การเรียนแบบร่วมมือ เกี่ยวข้องกับทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ 3 ทฤษฎี คือ 2.2.1.1 ทฤษฎีการพึ่งพาทางสังคม จอห์น สัน และจอห์นสัน (Johnson and Johnson, 1994) อธิบายว่ากลุ่มสังคมต่างๆ มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงโดยไม่เคยหยุดนิ่งแต่อย่างไร แต่ถ้ามีการร่วมมือกันหรือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการ ท างานจะท าให้ ให้ บ รรลุ จุ ด มุ่ ง หมายร่ ว มกั น นอกจากนี้ การเปลี่ ย นแปลงต าแหน่ ง ฐานะของสมาชิ ก หรื อ เปลี่ยนแปลงสภาวะในกลุ่ม จะทาให้สมาชิกแต่ละคนมีปฏิสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงภายในกลุ่ม โดยการช่วยเหลือและ การอ านวยความสะดวกซึ่ ง กั น และกั น ซึ่ งจะมี ผ ลให้ เกิ ด การเรี ย นรู้ ไปพร้ อ มๆ กั น ในทางตรงกั น ข้ า ม การ เปลี่ยนแปลงที่ทาให้สภาพการเรียนมีการแข่งขันกัน สมาชิกไม่ได้พึ่งพากันทางสังคม จะเป็นสถานการณ์การเรียนรู้ ที่มีอุปสรรคเพราะมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อกัน เป็นผลให้สมาชิกไม่สนับสนุนช่วยเหลือหรือส่งเสริมให้มีความมานะ พยายามที่จะทางานให้บรรลุผลสาเร็จตามเป้าหมาย 2.2.1.2 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซิกมัน ต์ ฟรอยด์ ได้เสนอแนวคิดว่า เมื่อบุคคลอยู่รวมเป็นกลุ่ ม ได้ทางานร่วมกันเมื่อ ประสบความสาเร็จที่จะเป็นผลหรือเป็นรางวัลที่จูงใจในการทางานของสมาชิกในกลุ่ม นอกจากนี้ การรวมกลุ่มกัน ยังทาให้รู้จักบุคลิกภาพของผู้อื่นได้ว่า เมื่อประสบปัญหา บุคคลจะมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นตัวตนอย่างเปิดเผย ป้องกันและปิดบังตนเองด้วยวิธีต่างๆ (Defense Mechanism) (ซิกมันต์ ฟรอยด์ อ้างถึง ในอารีย์ พันธ์มณี 2534 : 199-200) 2.2.1.3 ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Operant Conditioning Theory) สกิ น เนอร์ (B.F.Skinner) (Skinner and Epustein, 1982) กล่ า วว่ า พฤติ ก รรมของ บุคคลเป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ กับสภาพแวดล้อม พฤติกรรมของบุคคลจะเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับผลกระทบ (Consequences) จากสภาพแวดล้ อมนั้ นๆ ผลกระทบเช่นนี้เป็นตัวเสริมแรง (Reinforcer) ที่ทาให้บุคคลนั้นมี อัตราการกระทาเพิ่มขึ้น หรือถ้าเป็นการลงโทษ (Punisher) ก็จะทาให้บุคคลนั้นหยุดพฤติกรรมหรือการกระทา สมโภชน์ เอี่ ย มสุ ภ าษิ ต (2541 : 172-174) กล่ า วว่ า ริ ม ม์ และมาสเตอร์ (Rimm & Masters) ได้จาแนกตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) ซึ่งหมายถึง มีพฤติกรรมเพิ่มขึ้นหรือคงที่ เมื่อได้รับสิ่งเร้าหรือสภาพการณ์ที่พึงพอใจไว้ 5 ประเภท ดังนี้ 1) ตัวเสริมแรงที่เป็นสิ่งของ (Material Reinforcers) คืออาหาร ของที่เสพได้ และสิ่งของต่าง ๆ 2) ตัวเสริมแรงทางสังคม (Social Reinforcers) คือ คาพูดและการแสดงทาง กิริยาท่าทาง ตัวเสริมแรงทางสังคมยังเป็ นเงื่อนไขที่ใช้กับตัวเสริมแรงอื่นให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งทาให้พฤติกรรม เปลี่ยนไป แต่ต้องนามาใช้อย่างจริงใจ 3) ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรม (Activity Reinforcers) คือการใช้กิจกรรมที่ชอบ มากที่สุดและกิจกรรมที่ชอบน้อยที่สุดมาใช้เป็นตัวเสริมแรง

7 4) ตั ว เสริ ม แรงที่ เป็ น เบี้ ย อรรถกร (Token Reinforcers) คื อ ตั ว เสริ ม แรงที่ สนับสนุน (Back-up Reinforcers) ตัวเสริมแรงอื่นๆ เช่น เงิน เบี้ย แต้ม คะแนน ดาว คูปอง ฯลฯ ปัจจุบันยอมรับ ว่าเป็นตัวเสริมแรงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการปรับพฤติกรม 5) ตั ว เสริ ม แรงภายใน (Covert Reinforcers) คื อ ตั ว เสริ ม แรงที่ ค รอบคลุ ม ความคิด ความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ความพึงพอใจ ความสุขใจ ความภาคภูมิใจ เป็นตัวเสริมแรงที่มีประสิทธิผลต่อการ ปรับพฤติกรรม ทั้งกิจกรรมของการให้ รวมถึงกิจกรรมที่เสี่ยงอันตรายหรือท้าทาย สรุ ป ได้ว่า การจั ดกิ จกรรมการเรียนรู้ร่ว มกั น ซึ่งเป็ น การท างานในกลุ่ ม ผู้ ส อนจะน า แนวคิดของทฤษฎีการเรีย นรู้ มาใช้ มีการพึ่งพาทางสังคม ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และทฤษฎีการวางเงื่อนไข ทาให้ ผู้เรียนกระทาและมีพฤติกรรมการทางานร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์และพึ่งพากัน จัดกิจกรรมที่สร้างเงื่อนไขและให้การ เสริมแรงการทากิจกรรม และการให้รางวัลในเชิงบวก ที่ทาให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เป็นเงื่อนไขจูง ใจในการเรียนรู้ร่วมกัน 2.2.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม (Group Dynamics Theories) ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม มีแนวคิดมาจากการเรียนรู้ทฤษฎีภาคสนาม (Field Theory) ทฤษฎีแลกเปลี่ย น (Exchange Theory) ทฤษฎีป ฏิสัมพัน ธ์ (Interaction Theory) และทฤษฎีระบบ (System Theory) ดังที่เมไบรย์ (Mabry 1980 : 9-18) กล่าวไว้ สรุปได้ดังนี้ 2.2.2.1 ทฤษฎี ภ าคสนาม เป็น ทฤษฎี ของเคิร์ต เลวิน (Kurt Levin) อธิบายว่า บุ คคลมีความ แตกต่างกัน เมื่อมารวมกลุ่มกันจะเกิดเป็นพลังความสัมพันธ์ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล แม้ว่าสมาชิกในกลุ่ม กระทา มีความรู้สึกและความคิดที่แตกต่างกัน แต่สามารถปรับตัวเข้าหากันได้ โดยแต่ละคนจะปรับบุคลิกภาพให้ สอดคล้องกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิดพลังหรือเป็นแรงผลักดันที่มีผลทาให้การเรียนสัมฤทธิ์ผล ตามต้องการ 2.2.2.2 ทฤษฎี ก ารแลกเปลี่ ย น เป็ น ทฤษฎี ของทริเบาลต์ แ ละเคลลี (Thiboult and Kelley) อธิบายว่า เมื่อบุคคลรวมกลุ่มกัน มีการสื่อสารหรือการแสดงพฤติกรรมที่เป็นการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ หรือมี ปฏิสัมพัน ธ์ต่อกัน ด้วยการพูดและการกระทา เพื่อให้ กลุ่มบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเกิดเป็นผลผลิตของกลุ่ม (Group outcome) บุคคลจะเห็นคุณค่าของการแสดงพฤติกรรมที่ทาให้บรรลุจุดมุ่งหมาย และเกิดความร่วมมือกัน รวมทั้ง จะขจัดลักษณะที่ไม่มีประโยชน์ซึ่งเป็นความขัดแย้งภายในกลุ่ม และสมาชิกจะช่วยกันกาหนดคุณค่าของสมาชิกแต่ ละคนจากการทางาน 2.2.2.3 ทฤษฎี ป ฏิ สั มพั น ธ์ เป็น ทฤษฎี ที่เบล โฮแมนส์ และไวต์ (Bale Homans and Whyte) ได้เสนอแนวคิดไว้ว่า การทeกิจ กรรมเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกในกลุ่ มมีป ฏิสั มพันธ์ต่อกันทั้งทางร่างกาย วาจา และ อารมณ์ การมีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มเช่นนี้จะทาให้สมาชิกเกิดมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน ซึ่งเป็นเงื่อนไข หรือปัจจัยที่ทาให้ การทางานประสบความสาเร็จ 2.2.2.4 ทฤษฎีระบบ เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่า กลุ่มแต่ละกลุ่มมีโครงสร้างหรือระบบการกาหนด บทบาทและตาแหน่งหน้าที่ของสมาชิก โครงสร้างหรือระบบเช่นนี้ผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ (output) อย่างใดอย่าง หนึ่ง ดังนั้นสมาชิกจะแสดงบทบาทตามตาแหน่งหน้าที่ในกลุ่มโดยการสื่อสารซึ่งกันและกันและการแสดงตัวตน อย่างเปิดเผยภายในกลุ่ม (open system) :ซึ่งเป็นผลดีต่อการทางานร่วมกัน สรุปว่า ทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มมีแนวคิดที่แสดงให้เห็นพลังของทีม ที่นาความแตกต่าง ของบุคคลมาสร้างเป็นพลังในการทางาน การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ โดยมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีที่แสดงออก ทางร่างกายและอารมณ์ตามบทบาท หน้าที่ของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม ส่งผลให้สมาชิกมีความรับผิดชอบงาน

8 ตามที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกัน ทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มจึงส่งเสริ มให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้วิชาการควบคู่กับการพัฒนาตนเองให้มีทักษะทางสังคม 2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รุ่งทิวา ควรชม (2546 : บทคัดย่อ) ได้พัฒนารูปแบบการสอนเน้นการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ สาหรับ นักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จานวน 40 คน โรงเรียนศรีบัวบานวิทยาคม สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการสอน แบบวัด ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น แบบวั ด เจตคติ ต่ อ วิ ช าโปรแกรมมั ล ติ มี เดี ย ผลการวิ จั ย พบว่ า รู ป แบบการสอนที่ ผู้วิจัยพัฒ นาขึ้น มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในส่วนประสิทธิภาพพบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีดัชนี 90.92/88.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนด 80/80 ไว้ ด้านปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มพบว่า นักศึกษาที่เรียนรูปแบบการ สอนโปรแกรมมัลติมีเดีย ที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มระดับดี และมีเจตคติต่อการ เรียนโปรแกรมมัลติมีเดีย ระดับดี นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และในส่วนประสิทธิผลของรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 0.81

บทที่ 3 วิธีการดาเนินการวิจัย ในการดาเนินการวิจัย เรื่อง การพัฒ นาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ โดยใช้ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยการอาชีพกันตัง ผู้วิจัยได้ดาเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ประชากร 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. วิธีการดาเนินการสร้างเครื่องมือ 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ 3.1 ประชากร ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพกันตัง ภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จานวน 6 คน 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.2.1 แผนการเรียนรู้รายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ 3.2.2 แบบประเมินผลก่อนการเรียนและหลังการเรียน จานวน 20 ข้อ 3.3 วิธีการดาเนินการสร้างเครื่องมือ ผู้วิจัยดาเนินการสร้างเครื่องมือสาหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้ 3.3.1 ศึกษาเอกสาร ตารา ผลงานวิจัย ผลงานการค้นคว้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ศึกษารูปแบบของ การสร้างเครื่องมือเพื่อการวิจัย 3.3.2 สร้างแบบประเมินก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวบข้อมูล 3.3.3 นาแบบประเมินก่อนเรียนให้นักเรียนได้ทาก่อนจะให้เพื่อนช่วยเพื่อน 3.3.4 นาผลคะแนนที่ได้มาแล้วจับคู่นักเรียนที่ได้คะแนนมากคู่กับนักเรียนที่ได้คะแนนน้อย 3.3.5 นักเรียนทาแบบประเมินหลังเรียน 3.3.6 นาผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบ 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง จากการเช็คเวลาเรียนในชั้นเรียน และจากคะแนน ก่อนเรียนและหลังเรียน ตลอดภาคเรียน

10 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.5.1 ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) โดยการแยกข้อมูล อย่างเป็น ระบบ ตีความหมาย เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้ 3.5.2 ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย โดยมีการแบ่งช่วงของคะแนน ดังนี้ ระดับ 4 = ร้อยละ 80 – 100 ผ่านเกณฑ์ ระดับดีมาก ระดับ 3 = ร้อยละ 65 – 79 ผ่านเกณฑ์ ระดับดี ระดับ 2 = ร้อยละ 50 – 64 ผ่านเกณฑ์ ระดับพอใช้ ระดับ 1 = ร้อยละ 0 – 49 ไม่ผ่านเกณฑ์ ระดับต้องปรับปรุง 3.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ หาค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ ย ( ) และค่าเฉลี่ย ( ) ที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดย ใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2543 : 102 - 103) 3.6.1 ค่าร้อยละ P = x 100 เมื่อ

P f N

แทน แทน แทน

ค่าร้อยละ ความถี่ที่ต้องการคิดให้เป็นร้อยละ จานวนความถี่ทั้งหมด

แทน แทน แทน

ค่าเฉลี่ย ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม จานวนคะแนนในกลุ่ม

3.6.2 ค่าเฉลี่ย ( ) = เมื่อ N

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ โดยใช้กิจ กรรมเพื่ อนช่ว ยเพื่ อ น ของนั ก เรีย นระดับ ชั้ น ปวช.2 สาขาวิช าคอมพิ ว เตอร์ธุรกิ จ ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565 วิทยาลัยการอาชีพกันตัง เป็นดังนี้ 4.1 ผลการทดสอบก่อนเรียน ตาราง 4.1 แสดงผลคะแนนการทดสอบก่อนเรียน โดยใช้วธิ ีแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน คะแนน ลาดับที่ ชื่อ – สกุล แปลผลการประเมินตามเกณฑ์ 20 ข้อ ร้อยละ นาย นายณัฐพงศ์ หาดหิน 1 9 45 ต้องปรับปรุง นาย นายธีรภัทร์ สีทิพย์ 2 8 75 ต้องปรับปรุง นางสาว นางสาวนฤมล พลสวัสดิ์ 3 9 35 ต้องปรับปรุง นาย นายนิธิพงศ์ คงรักษ์ 4 16 80 ดีมาก นางสาว นางสาวพัชรี ศรีเพ็ชร 5 14 70 ดี นาย นายอัษฏาวุธ ท่าจีน 6 14 30 ดี คะแนนรวม ร้อยละ

= 70 คะแนน = 11.67 = 58.35

จากตาราง 4.1 พบว่าผลคะแนนการทดสอบก่ อนเรีย น โดยใช้วิธีการสอนแบบกลุ่ ม เพื่ อ นช่ว ยเพื่ อ น รายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพกันตัง การประเมินมีผลตามเกณฑ์ ดังนี้ ระดับ 4 = ร้อยละ 80 – 100 ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก จานวน 1 คน ระดับ 3 = ร้อยละ 65 – 79 ผ่านเกณฑ์ระดับดี จานวน 2 คน ระดับ 2 = ร้อยละ 50 – 64 ผ่านเกณฑ์ระดับพอใช้ จานวน 0 คน ระดับ 1 = ร้อยละ 0 – 49 ไม่ผ่านเกณฑ์ต้องปรับปรุง จานวน 3 คน

12 4.2 ผลการทดสอบหลังเรียน ตาราง 4.2 แสดงผลคะแนนการทดสอบหลังเรียน โดยใช้วิธแี บบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน คะแนน ลาดับที่ ชื่อ – สกุล แปลผลการประเมินตามเกณฑ์ 20 ข้อ ร้อยละ นาย นายณัฐพงศ์ หาดหิน 1 14 45 ดี นาย นายธีรภัทร์ สีทิพย์ 2 13 75 ดี นางสาว นางสาวนฤมล พลสวัสดิ์ 3 13 35 ดี นาย นายนิธิพงศ์ คงรักษ์ 4 16 80 ดีมาก นางสาว นางสาวพัชรี ศรีเพ็ชร 5 14 70 ดี นาย นายอัษฏาวุธ ท่าจีน 6 14 30 ดี คะแนนรวม ร้อยละ

= 84 คะแนน = 14 = 70

จากตาราง 4.2 พบว่าผลคะแนนการทดสอบหลั ง เรีย น โดยใช้ วิธีก ารสอนแบบกลุ่ ม เพื่ อนช่ว ยเพื่ อ น รายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพกันตัง การประเมินมีผลตามเกณฑ์ ดังนี้ ระดับ 4 = ร้อยละ 80 – 100 ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก จานวน 1 คน ระดับ 3 = ร้อยละ 65 – 79 ผ่านเกณฑ์ระดับดี จานวน 5 คน ระดับ 2 = ร้อยละ 50 – 64 ผ่านเกณฑ์ระดับพอใช้ จานวน 0 คน ระดับ 1 = ร้อยละ 0 – 49 ไม่ผ่านเกณฑ์ต้องปรับปรุง จานวน 0 คน 4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากตารางที่ 4.1 ผลการทาแบบทดสอบก่อนเรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ ของนักศึกษาระดับ ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพกันตัง จานวน 6 คน มีผลการทาแบบทดสอบก่อนเรียนค่าเฉลี่ย ( = 11.67 ) และตารางที่ 4.2 ผลการท่าแบบทดสอบหลังเรียนโดยใช้การสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน มีผลการ ทาแบบทดสอบหลังเรียนค่าเฉลี่ย ( = 14 ) แสดงให้เห็นว่านักศึกษากลุ่มดังกล่าว มีผลคะแนนหลังเรียนสูงกว่า คะแนนก่อนเรียนโดยใช้การสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน มีค่าเฉลี่ย ( = 2.33)

บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง การพัฒ นาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วย เพื่อน ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยการ อาชีพ ซึ่งผลการศึกษาครั้งนีส้ ามารถสรุปได้ดังนี้คือ 5.1 อภิปรายและสรุปผล จากการที่ผู้วิจัยได้ทาการวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาโปรแกรมมัลติมีเดีย โดยใช้ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยการอาชีพ จานวน 6 คน เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยแผนการเรียนรู้รายวิชาโปรแกรม มัลติมีเดียและแบบประเมินผลก่อนการเรียนและหลังการเรียน จานวน 20 ข้อ โดยใช้วิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน แบบวัดผล 1 ฉบับ จานวน 20 ข้อ เมื่อเสร็จสิ้นการสอนแล้วทาการ วัดผลการเรียน จากนั้นนาผลการวัดมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าร้อยละ 5.2 อภิปรายผลการวิจัย จากการวิจัย การพัฒ นาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาองค์ประกอบศิลป์ฯ โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วย เพื่อน ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิ จ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยการ อาชีพ จานวน 6 คน ซึ่งมีปัญหาในการเรียน ผู้เรียนไม่สามารถทาแบบฝึกปฏิบัติท้ายหน่วยเรียนผ่านเกณฑ์ ส่งผล ทาให้ ไม่สามารถทาแบบทดสอบได้ ผลจากการทาแบบทดสอบหลั งการใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ปรากฏว่า นักเรียนมีผลคะแนนการทาแบบทดสอบสูงขึ้น คิดเป็นค่าเฉลี่ย ( = 2.33) การใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนช่วยให้ นักเรียน ที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถแตกต่างกัน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และช่วยเหลือกันระหว่าง เพื่อนร่วมชั้นเรียน 5.3 ข้อเสนอแนะ ในการจัดการเรีย นการสอน ในรายวิช าโปรแกรมมัล ติมีเดีย มีเนื้ อหามีรายละเอียดเยอะ และต้องใช้ โปรแกรมสาเร็จรูปที่ไม่คุ้ยเคยหรือที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง และผลการเรียนเรียนระดับค่อนข้างต่า อาจขาดความพยายาม และเบื่อหน่ายในการเรียนด้วยวิธีการบรรยายสาธิตจากครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว การใช้ การสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน จะทาให้เกิดการช่วยเหลือกันระหว่างผู้เรียนในกลุ่มที่ผู้สอนจัดกลุ่มให้ นักศึกษา ที่มีผลการเรียนในระดับปานกลางและระดับค่อนข้อต่า จะได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่มด้วยกัน การใช้ กระบวนการกลุ่มสามารถนาไปใช้กับรายวิชาอื่นๆ ได้เพื่อแก้ไขปัญหาในการเรียนรวมทั้งการใช้กระบวนการอื่นๆ ในการจัดการเรียนการสอนที่ห ลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน และส่ งผลให้ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นตามไปด้วย

บรรณานุกรม สิปปนนท์ เกตุทัต. “การเรียนรู้ของนักศึกษามิใช่มาจากครูแต่เพียงผู้เดียวแต่สามารถเรียนรู้จากเพื่อน นักศึกษาด้วยกัน เพราะนักศึกษาย่อมประสบปัญหาในการเรียนคล้าย ๆ กัน”. หน้า 78 - 85. พระนครศรีอยุธยา : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา, 2526 พรรณรัศมิ์ เง่าธรรมสาร (2533:35-36). “การเรียนแบบท่างานรับผิดชอบร่วมกัน” (กุมภาพันธ์ 2533). อุทัย เพชรช่วย.2530. “การสอนโดยการจัดกลุ่มให้มีผู้น่าในการสอน”,สารพัฒนาหลักสูตร. 61 (มกราคม 2530).16-19. พิกุล ภูมิแสน. “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเพื่อจับใจความ วิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนและวิธีสอนแบบปกติ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2544.

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.