สรุปกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ 20 กิจกรรม โรงเรียนบ้านไสถั่ว Flipbook PDF


54 downloads 105 Views 10MB Size

Story Transcript



คำนำ กิจกรรมการทดลอง 20 กิจกรรม ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เป็นกิจกรรม การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่เน้นกระบวนการแสวงหาความรู้ การค้ นคว้าหาคำตอบ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ด้วย ตนเอง กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ มีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ฝึกให้เด็กมีทักษะการคิด การสังเกต การเปรียบเทียบ การคาดคะเนคำตอบ เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ อธิบาย และนำเสนอผลการทดลอง ครูและเด็กร่วมกันสนทนาในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจกรรมการทดลอง ครูยกตัวอย่างเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ในเรื่องที่ใกล้เคียงกับกิจกรรมการทดลองให้เด็กเกิดความสนใจก่อน ครูอธิบายขั้นตอน การเตรียมอุปกรณ์ และการสาธิตการใช้วัสดุอุปกรณ์ให้เด็กเข้าใจ และครูให้เด็กช่วยกันคาดคะเนคำตอบของผลการทดลองก่อนให้ เด็กปฏิบัติกิจกรรมการทดลองจริง หลังจากเด็กปฏิบัติกิจกรรมการทดลองแล้ว ครูให้เด็ก ร่วมกันสรุปผลการ ทดลองด้วยการวาดภาพและเขียนสรุป และนำผลงานมานำเสนอให้เพื่อนฟัง ผลจากกิจกรรมการทดลอง 20 กิจกรรม ทำให้เด็กเกิดทักษะการคิด การสังเกต การเปรียบเทียบ การคาดคะเนคำตอบ การสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลการทดลองได้ ผลการทดลองจากกิจกรรมการ ทดลองบ้านวิทยาศาสตร์น้อยครั้งนี้ ได้เป็นไปตามแนวทางที่สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเสริมพัฒนาการให้เด็ก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาต่อไป ผู้จัดทำ นางสาวกัลยกร ชูเลี่ยง โรงเรียนบ้านไสถั่ว



สารบัญ เรื่อง คำนำ สารบัญ กิจกรรมที่ ๑ เรื่อง การละลายของน้ำตาล กิจกรรมที่ 2 เรื่อง เนินน้ำ กิจกรรมที่ 3 เรื่อง กักน้ำไว้ได้ กิจกรรมที่ ๔ เรื่อง น้ำ ทราย และน้ำมัน กิจกรรมที่ ๕ เรื่อง หลอดดำน้ำ กิจกรรมที่ ๖ เรื่อง ไหลแรงหรือค่อย กิจกรรมที่ ๗ เรื่อง ความลับของสีดำ กิจกรรมที่ ๘ เรื่อง น้ำจืด น้ำเค็ม กิจกรรมที่ ๙ เรื่อง ลมอ่อน ๆ พัดผ่านห้อง กิจกรรมที่ 1๐ เรื่อง จรวดหลอด กิจกรรมที่ ๑๑ เรื่อง ปั๊มขวด และลิฟท์เทียน กิจกรรมที่ 1๒ เรื่อง ขวดบุบเองได้ กิจกรรมที่ 1๓ เรื่อง พรึ่บ กิจกรรมที่ ๑๔ เรื่อง งูเต้นระบำ กิจกรรมที่ 1๕ เรื่อง รู้จักอากาศด้วยประสาทสัมผัส กิจกรรมที่ 1๖ เรื่อง อากาศต้องการที่อยู่ กิจกรรมที่ 17 เรื่อง ขวดเป่าลูกโป่ง กิจกรรมที่ 18 เรื่อง ถุงดำ กิจกรรมที่ ๑๙ เรื่อง ยิงบอล กิจกรรมที่ ๒๐ เรื่อง ส่องกระจก

หน้า ก ข 1 5 8 12 15 18 21 25 29 33 37 41 45 48 52 55 59 62 65 68



กิจกรรมที่ 1 เรื่อง การละลายของน้ำตาล จุดประสงค์ 1. เด็กสามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรมการละลายของน้ำตาลได้ 2. เด็กรู้จักสังเกต และบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง รวบรวมความคิด 2. ครูแนะนำให้เด็กรู้จักอุปกรณ์ ครูอธิบายให้เด็ก ๆ ฟังว่าน้ำจะแทรกเข้าไปอยู่ในช่องว่าง ระหว่างผลึกน้ำตาลซึ่งมีอากาศอยู่ ทำให้อากาศถูกแทนที่ด้วยน้ำ ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นฟองอากาศลอยขึ้นมา ที่ผิวน้ำ น้ำตาลดูดน้ำเข้ามาจนเต็มทำให้ผลึกน้ำตาลแยกจากกันและละลายน้ำไปในที่สุด โดยน้ำตาลที่ย้อมสีจะ ลอยอยู่ในน้ำเต็มจาน สังเกตจากสีที่แพร่กระจายไปทั่วจาน การแพร่กระจายของสีในจานของแต่ละกลุ่มจะ แตกต่างกัน สีที่แพร่กระจายออกจากน้ำตาลแต่ละก้อนจะแยกออกจากกันในช่วงแรก เมื่อวางตั้งทิ้งไว้สักพัก สี เหล่านั้นจะแพร่เข้าหากันและผสมกันในที่สุด เราสามารถทำให้เกิดการผสมสีกันได้รวดเร็วขึ้นด้วยการค่อย ๆ ขยับจานไปมา

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

1

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์การทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ สังเกตผลการทดลอง

ผลการทดลอง 2

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

3

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้าน และพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดขึ้นตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กสามารถบอกและทำการทดลองกิจกรรมการละลายของน้ำตาลได้ 1.2 เด็กรู้จักสังเกตและบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ 2. พัฒนาการความสามารถพื้นฐานและการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้ / ด้านภาษา / ด้านสติปัญญา - เด็กรู้จักการตั้งคำถามในสิ่งที่ตนสงสัย - เด็กได้ลงมือทำและทดลองด้วยตนเอง - เด็กสามารถอธิบายถึงวิธีการเรียนรู้ของตนเองว่าเรียนรู้ได้อย่างไร และได้พบ คำตอบที่อยากรู้ - เด็กสามารถบอกและทำการทดลองกิจกรรมการละลายของน้ำตาลได้ - เด็กรู้จักสังเกตและจำแนกความเหมือน ความต่างได้ - เด็กสามารถสรุปและนำเสนอผลการสรุปแก่คนอื่น ๆ ได้ - เด็กบอกรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์การทดลอง โดยใช้คำพูดของตนเอง - เด็กอธิบายถึงสิ่งที่พวกเขาสังเกตเห็นจากการทดลอง - เด็กได้นำเสนอข้อมูลที่ได้ค้นพบด้วยตนเอง 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น - เด็กเคารพกฎ และกติกาของห้องเรียน 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในการทำกิจกรรมการทดลอง และได้ผ่อนคลาย - สนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก - เด็กมีความสนใจใฝ่เรียนรู้ - เด็กได้ฝึกความกล้าแสดงออก 2.4 ด้านการเคลื่อนไหว / ร่างกาย - เด็กสามารถเคลื่อนไหว หยิบ จับ อุปกรณ์การทดลองได้คล่องแคล่ว - เด็กสามารถหยิบ จับ ประดิษฐ์กิจกรรมการละลายของน้ำตาล ได้อย่างคล่องแคล่ว

4

กิจกรรมที่ 2 เรื่อง เนินน้ำ จุดประสงค์ 1. เด็กได้เรียนรู้เรื่องปรากฏการณ์แรงตึงผิว จากการทดลองเรื่อง เนินน้ำ 2. เด็กสามารถแสดงออกและนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยวิธีการของตนเองที่เหมาะสมกับวัยได้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมที่เด็กเห็นน้ำอยู่บนใบบัวหรือกอหญ้า 2. ครูแนะนำอุปกรณ์และสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ในการทดลอง เช่น หลอดหยด 3. ครูอธิบายภาพรวมของการทดลองให้เด็กเข้าใจ 4. เด็กคาดคะเนผลที่เกิดขึ้นจากการทดลอง และดำเนินการทดลองดังนี้ 4.1 เด็กเอาฝาขวดวางบนจานรองและเทน้ำใส่ลงในฝาขวดจนเกือบเต็ม คาดคะเนผลที่เกิดจาก การทดลอง 4.2 เด็กใช้หลอดหยดดูดน้ำหยดลงในฝ่าขวด น้ำมีระดับสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งต้องระวังมาก 4.3 เด็กและครูร่วมกันสนทนาจากการทดลอง - เพราะอะไรน้ำจึงไม่ไหลออกจากฝาขวด - ทำไมน้ำจึงนูนสูงขึ้นเรื่อย ๆ 4.4 เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองเรื่อง เนินน้ำ พบว่า น้ำมีแรงยึดเหนี่ยวทำให้จับตัวกัน แน่น โดยเฉพาะที่ผิวน้ำ เรียกว่า แรงตึงผิว ทำให้เราเห็นเป็นเนินน้ำได้ 5. เด็กบันทึกผลการทดลองโดยการวาดภาพ ระบายสี พร้อมนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง 5

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์การทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ สังเกตผลการทดลอง

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก 6

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้าน และพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดขึ้นตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กสามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรมเนินน้ำได้ 1.2 เด็กรู้จักสังเกต และบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ 2. พัฒนาการความสามารถพื้นฐานและการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้ / ด้านภาษา / ด้านสติปัญญา - เด็กรู้จักการตั้งคำถามในสิ่งที่ตนสงสัย - เด็กได้ลงมือทำ และทดลองด้วยตนเอง - เด็กสามารถอธิบายถึงวิธีการเรียนรู้ของตนเองว่าเรียนรู้ได้อย่างไร และได้พบ คำตอบที่อยากรู้ - เด็กสามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรมเนินน้ำได้ - เด็กรู้จักสังเกต และจำแนกความเหมือน ความต่างได้ - เด็กสามารถสรุป และนำเสนอผลการสรุปแก่คนอื่น ๆ ได้ - เด็กบอกรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์การทดลอง โดยใช้คำพูดของตนเอง - เด็กอธิบายถึงสิ่งที่พวกเขาสังเกตเห็นจากการทดลอง - เด็กได้นำเสนอข้อมูลที่ได้ค้นพบด้วยตนเอง 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น - เด็กเคารพกฎ และกติกาของห้องเรียน 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในการทำกิจกรรมการทดลอง และได้ผ่อนคลาย - สนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก - เด็กมีความสนใจใฝ่เรียนรู้ - เด็กได้ฝึกความกล้าแสดงออก 2.4 ด้านการเคลื่อนไหว / ร่างกาย - เด็กสามารถเคลื่อนไหว หยิบ จับ อุปกรณ์การทดลองได้คล่องแคล่ว - เด็กสามารถหยิบ จับ ประดิษฐ์กิจกรรมเนินน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว

7

กิจกรรมที่ 3 เรื่อง กักน้ำไว้ได้ จุดประสงค์ 1. สามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรมกักน้ำไว้ได้ ได้ 2. รู้จักสังเกต และบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง รวบรวมความคิด 2. ครูแนะนำให้เด็กรู้จักอุปกรณ์ ครูอธิบายให้เด็ก ๆ ฟังว่าน้ำถูกกักไว้ในแก้วได้เมื่ออากาศ ภายนอกมีแรงดันมากกว่าอากาศบริเวณปากแก้วที่คว่ำลง เมื่อสังเกตดี ๆ จะพบว่ามีน้ำไหลออกมาจากแก้ว เล็กน้อย และกระจายออกไป เช่น ตามขอบแก้ว ทำให้อากาศบริเวณบนผิวน้ำกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างขึ้น แรงดันอากาศภายนอกแก้วจะออกแรงดันกับกระดาษที่ปิดปากแก้วอยู่ตลอดเวลา และสามารถเอาชนะแรงดัน อากาศภายในแก้ว ได้ น้ำจึงถูกกัก อยู่ ในแก้ว และเมื่อเราใช้ กระดาษบาง ๆ จะสังเกตเห็น ได้ช ั ดเจนว่ า แผ่นกระดาษนั้นโค้งเว้าเข้าไปภายในแก้ว วัสดุกันน้ำ เช่น ฝาพลาสติก แผ่นใส กระดาษเคลือบจะสามารถกัก น้ำไว้ได้นานกว่ากระดาษธรรมดา

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

8

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์การทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

ผลการทดลอง

9

เด็ก ๆ ร่วมกันบันทึกผลการทดลอง โดยการวาดภาพระบายสี

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

10

ผลที่เกิดกับเด็ก(ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้าน และพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดขึ้นตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กสามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรมกักน้ำไว้ได้ ได้ 1.2 เด็กรู้จักสังเกต และบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ 2. พัฒนาการความสามารถพื้นฐานและการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้ / ด้านภาษา / ด้านสติปัญญา - เด็กรู้จักการตั้งคำถามในสิ่งที่ตนสงสัย - เด็กได้ลงมือทำและทดลองด้วยตนเอง - เด็กสามารถอธิบายถึงวิธีการเรียนรู้ของตนเองว่าเรียนรู้ได้อย่างไร และได้พบ คำตอบที่อยากรู้ - เด็กสามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรมกักน้ำไว้ได้ ได้ - เด็กรู้จักสังเกต และจำแนกความเหมือน ความต่างได้ - เด็กสามารถสรุป และนำเสนอผลการสรุปแก่คนอื่นๆ ได้ - เด็กบอกรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์การทดลอง โดยใช้คำพูดของตนเอง - เด็กอธิบายถึงสิ่งที่พวกเขาสังเกตเห็นจากการทดลอง - เด็กได้นำเสนอข้อมูลที่ได้ค้นพบด้วยตนเอง 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น - เด็กเคารพกฎ และกติกาของห้องเรียน 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในการทำกิจกรรมการทดลอง และได้ผ่อนคลาย - สนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก - เด็กมีความสนใจใฝ่เรียนรู้ - เด็กได้ฝึกความกล้าแสดงออก 2.4 ด้านการเคลื่อนไหว / ร่างกาย - เด็กสามารถเคลื่อนไหว หยิบ จับ อุปกรณ์การทดลองได้คล่องแคล่ว - เด็กสามารถหยิบ จับ ประดิษฐ์กิจกรรมกักน้ำไว้ได้ ได้อย่างคล่องแคล่ว

11

กิจกรรมที่ ๔ เรื่อง น้ำ ทราย และน้ำมัน จุดประสงค์ 1. เด็กได้เรียนรู้เรื่องปรากฎการณ์การจมการลอย 2. เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. เด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับไขมันที่ลอยอยู่ในน้ำซุป 2. เด็กและครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ อธิบายวิธีการทดลอง และคาดคะเนคำตอบ ผลจากการทดลอง 3. เด็ก ๆ เทน้ำลงในขวด ต่อจากนั้นใส่ทรายลงไป 4 ช้อนชา และคนให้เข้ากัน 4.เทน้ำมันพืชลงในขวด และปิดฝาให้แน่น เขย่าหลาย ๆ ครั้ง แล้วนำไปวาง ไว้บนโต๊ะเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลง 5. เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทตลองเรื่องน้ำ ทราย และน้ำมัน พบว่าทรายจะ ตกตะกอนอย่างรวดเร็ว น้ำมันพืช น้ำ และฟองอากาศเกิดจากการเขย่าทำให้รวมตัวกัน แต่จากนั้นไม่นาน น้ำมันพืช น้ำ จะแยกชั้นออกจากกัน 6. เด็กร่วมกันบันทีกผลการทดลองด้วยการวาดภาพระบายสี พร้อมนำเสนอผลงานหน้า ขั้นเรียน

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง 12

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์การทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ สังเกตผลการทดลอง

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก 13

ผลที่เกิดกับนักเรียม (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้าน และพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดขึ้นจากจุดประสงค์ 1.1 เด็กได้เรียนรู้เรื่องปรากฎการณ์การจม การลอย การทดลองทรายจะตกตะกอนอย่าง รวดเร็วพราะมีน้ำหนักมากว่า น้ำมันพืชกับน้ำและฟองอากาศที่เกิดจากการเขย่าจะรวมตัวกัน แต่ หลังจากนั้นไม่กี่วินาทีน้ำมันพืช และน้ำจะแยกตัวออกจากกัน โดยน้ำมันพืชสีเหลืองจะลอยตัวอยู่บน ผิวน้ำเพราะมีน้ำหนักเบากว่า 1.2 เด็กเกิดทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน พัฒนาทักษะทางภาษา การ สื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับวัย 2. พัฒนาความสามารถพื้นฐานและพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้ ภาษาและสติปัญญา - เด็กสามารถใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสมกับวัย และรู้จักตั้งคำถาม - เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง - เด็กสนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องราวจากการทดลอง เรื่อง น้ำ ทรายและน้ำมัน 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานเป็นกลุ่มและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ - เด็กปฏิบัติตามกฎกติกาและข้อตกลงของกลุ่มและห้องเรียนได้ดี 2.3 ด้านอารมณ์จิตใจ - เด็กแสดงอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย ไม่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง - ชื่นชมการทำงานของตนเองและของผู้อื่น - เด็กมีความมั่นใจและกล้าแสดงออก - เด็กรู้จักการอดทนและรอคอยที่จะทำกิจกรรมการทดลอง 2.4 ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย - เด็กสามารถเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในการ หยิบ จับ สัมผัสอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทดลอง - เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตสิ่งที่ทดลองจนได้ข้อมูลที่ชัดเจน

14

กิจกรรมที่ ๕ เรื่อง หลอดดำน้ำ จุดประสงค์ 1. เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เรื่องปรากฏการณ์จมและลอย 2. เด็ก ๆ สามารถบันทึกผลการทดลอง และนำเสนอผลการทดลองได้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูสนทนาซักถามว่าสิ่งใดบ้างที่ลอยน้ำได้ และลอยน้ำไม่ได้ พร้อมให้เหตุผล 2. เด็กและครูช่วยกันเตรียมอุปกรณ์ และครูอธิบายขั้นตอนการทดลองให้เด็ก ๆ ฟัง 3. เด็ก ๆ คาดคะเนคำตอบจากการทดลอง เริ่มการทดลองโดยใช้หลอดดูดกับลวดเสียบ ขั้นตอนแรกตรวจสอบลวดเสียบใหญ่พอที่จะเสียบหลอดดูดหรือไม่ 3.1 งอหลอดตรงรอยพับ และใช้กรรไกรตัดหลอดข้างที่ยาวให้เท่ากับข้างที่สั้น หลังจากนั้นนำลวดเสียบ 3-4 ตัวสอดเข้าไปเหนือบริเวณรอยพับเล็กน้อย 3.2 ทดสอบความสามารถในการลอยน้ำของหลอดในกะละมังก้นลึก โดยวางหลอด ให้ตั้งฉากกับผิวน้ำเหมือนรูปตัว A 3.3 ทดลองจนหลอดสามารถลอยน้ำได้แล้วให้เด็กนำหลอดพร้อมลวดเสียบมาใส่ ในขวดพลาสติกที่ใส่น้ำอยู่เต็ม โดยไม่ให้น้ำล้นออกมาเมื่อปิดฝาขวดน้ำ 3.4 ปิดฝาขวดให้สนิท ใช้มือบีบขวดพลาสติกอย่างแรงและบีบค้างไว้ แล้วถามเด็ก ว่าเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้างเมื่อบีบขวดน้ำ 4. เด็กและครูร่วมกันสรุปการทดลอง เรื่องหลอดดำน้ำ พบว่าการลอยน้ำของวัตถุขึ้นอยู่ กับน้ำหนักและขนาดของวัตถุ เมื่อใส่วัตถุลงในน้ำ น้ำมีแรงลอยตัวหรือพยุงทำให้วัตถุลอยได้ 5. เด็กบันทึกผลการทดลอง โดยการวาดภาพระบายสีและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง 15

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์การทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ สังเกตผลการทดลอง

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

16

ผลที่เกิดกับนักเรียน (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้าน และพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดขึ้นจากจุดประสงค์ 1.1 เด็กได้เรียนรู้ว่าสมบัติการลอยน้ำของวัตถุ เมื่อใส่วัตถุลงไปในน้ำ น้ำจะมีแรงลอยตัว หรือพยุงให้วัตถุลอยได้ 1.2 เด็กเกิดทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน พัฒนาทักษะทางภาษา การสื่อสาร ได้อย่างเหมาะสมกับวัย 2.พัฒนาความสามารถฟื้นฐานและพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้ ภาษาและสติปัญญา - เด็กสามารถใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสมกับวัย และรู้จะตั้งคำถาม - เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง - เด็กสนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องราวจากการทดลอง เรื่อง หลอดดำน้ำ 2.2 ต้านสังคม - เด็กสามารถทำงานเป็นกลุ่มและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ - เด็กปฏิบัติตามกฎกติกาและข้อตกลงของกลุ่มและห้องเรียนได้ดี 2.3 ด้านอารมณ์จิตใจ - เด็กแสดงอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย ไม่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง - ชื่นชมการทำงานของตนเองและของผู้อื่น - เด็กมีความมั่นใจและกล้าแสดงออก - เด็กรู้จักการอดทนและรอคอยที่จะทำกิจกรรมการทดลอง 2.4 ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย - เด็กสามารถเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในการ หยิบ จับ สัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ที่ ใช้ในการทดลอง

17

กิจกรรมที่ ๖ เรื่อง ไหลแรงหรือค่อย จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กสามารถทำการทดลองได้ด้วยตัวเอง 2. เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากการสังเกตด้วยประสาทสัมผัส ซักถาม ตลอดจนการ แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในชั้นเรียน ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูแนะนำกิจกรรม “ไหลแรงหรือค่อย” 2. เด็กและครูร่วมกันสังเกต วัสดุ อุปกรณ์ แล้วร่วมกันวางแผนขั้นตอนการทดลอง 3. เด็กช่วยกันคาดคะเนผลการทดลอง แล้วทดลองตามขั้นตอนพร้อมสังเกตผลการทดลองว่า ตรงตามที่คาดคะเนไว้หรือไม่ และที่เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุใด 4. ตัวแทนกลุ่ม หรืออาสาสมัคร อธิบายสิ่งที่สังเกตเห็นหรือผลที่เกิดจากการทดลอง 5. เด็กและครูสรุปผลจากการทดลองอีกครั้ง 6. เด็กบันทึกผลด้วยการวาดภาพ

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

18

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์การทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ สังเกตผลการทดลอง

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน 19

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้าน และพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดขึ้นตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กเกิดความสนใจในการทดลองวิทยาศาสตร์มากขึ้น 1.2 เด็กได้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม ร่วมกับผู้อื่น รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือกัน 1.3 เด็กได้พัฒนาทักษะการใช้ภาษา โดยการอธิบาย การสังเกต รู้จักกล้าแสดงออก และรู้จักวิธีการค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเอง 2. พัฒนาการความสามารถพื้นฐานและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2.1 ต้านการเรียนรู้/ด้านภาษา/ด้านสติปัญญา - เด็กเกิดการเรียนรู้ด้านภาษาจากการออกมานำเสนอผลงานและแนวคิดใหม่ ๆ จากการ สังเกต และเกิดข้อสงสัยในการทำกิจกรรม 2.2 ด้านสังคม - เด็กได้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับผู้อื่นและรู้จักแบ่งปันช่วยเหลือกัน 2.3 ด้านอารมณ์จิตใจ - เด็ก ๆ ได้รับความสนุกสนานจากการทำกิจกรรมและรู้จักการสังการการอดทนรอคอยเพราะ กิจกรรมบางกิจกรรมต้องใช้เวลารอดูผลจากการทดลอง 2.4 ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย - เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายในระหว่างการทำกิจกรรม และบางกิจกรรมเด็ก ๆ ได้ฝึกทดลองด้วย ตนเอง โดยมีคุณครูคอยดูแลช่วยเหลืออยู่ใกล้

20

กิจกรรมที่ ๗ เรื่อง ความลับของสีดำ จุดประสงค์ 1. สามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรมความลับของสีดำได้ 2. รู้จักสังเกต และบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง รวบรวมความคิด 2. ครูแนะนำให้เด็กรู้จักอุปกรณ์ ครูอธิบายให้เด็ก ๆ ฟังว่าสีเมจิกหลายสีระบายทับในบริเวณเดียวกัน สีจะผสมกันเป็นสีดำ ปากกาเมจิกสีดำนั้นมีแต่สีดำจริงหรือ สีดำของสีเมจิกเกิดจากการผสมของสีหลายสี ใน การทดลองนี้เด็ก ๆ จะเหมือนกับเป็นนักสืบที่ค้นหาว่าปากกาเมจิกสีดำ เกิดจากการผสมของสีใดบ้าง จะพบว่า สีชมพู สีฟ้า สีเหลือง และสีเขียวซ่อนอยู่ในสีดำ การทดลองนี้ใช้วิธีทางเคมีในการค้นหาที่ซ่อนอยู่เรียกว่า “ โครมาโทกราฟี ”

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

21

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์การทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ สังเกตผลการทดลอง

ผลการทดลอง 22

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

23

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้าน และพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดขึ้นตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กสามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรมความลับของสีดำได้ 1.2 เด็กรู้จักสังเกต และบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ 2. พัฒนาการความสามารถพื้นฐานและการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้ / ด้านภาษา / ด้านสติปัญญา - เด็กรู้จักการตั้งคำถามในสิ่งที่ตนสงสัย - เด็กได้ลงมือทำและทดลองด้วยตนเอง - เด็กสามารถอธิบายถึงวิธีการเรียนรู้ของตนเองว่าเรียนรู้ได้อย่างไร และได้พบ คำตอบที่อยากรู้ - เด็กสามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรมความลับของสีดำได้ - เด็กรู้จักสังเกต และจำแนกความเหมือน ความต่างได้ - เด็กสามารถสรุป และนำเสนอผลการสรุปแก่คนอื่น ๆ ได้ - เด็กบอกรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์การทดลอง โดยใช้คำพูดของตนเอง - เด็กอธิบายถึงสิ่งที่พวกเขาสังเกตเห็นจากการทดลอง - เด็กได้นำเสนอข้อมูลที่ได้ค้นพบด้วยตนเอง 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น - เด็กเคารพกฎ และกติกาของห้องเรียน 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในการทำกิจกรรมการทดลอง และได้ผ่อนคลาย - สนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก - เด็กมีความสนใจใฝ่เรียนรู้ - เด็กได้ฝึกความกล้าแสดงออก 2.4 ด้านการเคลื่อนไหว / ร่างกาย - เด็กสามารถเคลื่อนไหว หยิบ จับ อุปกรณ์การทดลองได้คล่องแคล่ว - เด็กสามารถหยิบ จับ ประดิษฐ์กิจกรรมความลับของสีดำได้อย่างคล่องแคล่ว

24

กิจกรรมที่ ๘ เรื่อง น้ำจืด น้ำเค็ม จุดประสงค์ ๑. เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับ การจม การลอย 2. เด็กสามารถบันทึกผลการทดลอง และนำเสนอผลการทดลองได้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ๑. สนทนาพูดคุยเพื่อให้เด็กๆได้ทราบถึงเรื่องราวที่จะทำการทดลอง โดยได้พูดคุยถึงประสบการณ์เดิม ของเด็ก ๆ เกี่ยวกับสิ่งของที่ทำให้เกิดการจม การลอย ๒. ครูแนะนำอุปกรณ์การทดลอง ( น้ำเปล่า แก้วน้ำ ไข่ ช้อน เกลือ) ๓. ครูอธิบายขั้นตอนการทดลอง - นำน้ำเปล่าที่เตรียมไว้เทใส่ภาชนะทั้ง ๒ ใบให้เท่ากัน แล้วเติมเกลือลงไปในภาชนะที่ ๒ จำนวน ๓ ซ้อนโต๊ะ คนเกลือให้ละลายจนกว่าน้ำที่เติมเกลือลงไปจะใส และน้ำนิ่ง ให้เด็กสังเกตความแตกต่างของปริมาณของน้ำทั้ง ๒ ใบแล้วให้เด็ก ๆ ได้ชิม และหยิบไข่ใส่ลง ไปในภาชนะทั้ง ๒ ใบ 4. ให้เด็กสังเกตการทดลองว่า เมื่อใส่ไข่ลงไปในภาชนะแล้วเกิดอะไรขึ้น ๕. เด็กแลครูะร่วมกันสรุปการทดลอง เรื่อง น้ำจืด น้ำเค็ม ๖. เด็กบันทึกผลการทดลองด้วยการวาดภาพ ระบายสี และนำเสนอผลงาน

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

25

เด็ก ๆ ทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

ผลการทดลอง

26

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

27

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้านและพัฒนาการ ๔ ด้าน) ๑. ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ ๑.๑ เด็กรู้ว่าเมื่อเติมเกลือลงไปในภาชนะที่ ๒ทำให้น้ำเปลี่ยนและมีรสเค็มทำให้ไข่ลอยน้ำได้ 1.2 เด็กสามารถบันทึกผลการทดลอง และนำเสนอผลการทดลองได้โดยการวาดภาพ ๒. พัฒนาความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้านและพัฒนาการ ๒.๑ ด้านการเรียนรู้/ด้านภาษา/สติปัญญา - เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสและทดลองด้วยตนเอง - เด็กสามารถอธิบายถึงวิธีการทดลอง และสรุปเป็นองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง - เด็กบอกอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองได้ - เด็กบอกสิ่งที่สังเกตเห็นจากการทดลอง - เด็กได้บันทึกข้อมูลด้วยตนเอง - เด็กได้นำเสนอข้อมูลที่ค้นพบด้วยตนเอง ๒.๒ ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น -เด็กเคารพข้อตกลง กฎ และกติกาของห้องเรียน ๒.๓ ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ - เด็กสนใจและสนุกสนานในการเรียนรู้ - เด็กรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ๒.๔ ด้านการเคลื่อนไหว/ร่างกาย - เด็กสามารถใช้กล้ามเนื้อเล็ก หยิบจับและใช้อุปกรณ์การทคลองได้อย่างคล่องแคล่ว - เด็กสามารถใช้มือหยิบ จับ ดินสอ สี ลากเส้น ระบายสีบันทึกผลการทดลองได้ - เด็กสามารถใช้กล้ามเนื้อใหญ่เคลื่อนไหวในการจัดเตรียม และจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ในการ ทดลอง และทำความสะอาดได้เรียบร้อย

28

กิจกรรมที่ ๙ เรื่อง ลมอ่อน ๆ พัดผ่านห้อง จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ว่าอากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราสามารถเคลื่อนที่ได้ 2. เพื่อให้เด็กทราบว่าการเคลื่อนที่ของอากาศที่แตกต่างกันจะทำเกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูแนะนำกิจกรรมและวัสดุ อุปกรณ์ในการทดลองให้เด็กได้รู้จัก 2. ครูชวนเด็กทำกิจกรรมโดยใช้คำถามกระตุ้น ดังนี้ “นักเรียนรู้จักอากาศไหม อากาศมีลักษณะอย่างไร” 3. ครูให้เด็กนั่งให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อเตรียมความพร้อมทำกิจกรรมการทดลองลมอ่อน ๆ พัดผ่านห้อง 4. ครูนำเทียนมาตั้งไว้แล้วจุดเทียน จากนั้นหันกล่องด้านที่เจาะรูไว้เข้าหาเทียน 4. ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดเด็ก ขณะทีเ่ ด็กจะทำการตบกล่อง ดังนี้ “เด็ก ๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเทียนที่เราจุดไว้เมื่อเราใช้มือทั้งสองข้างตบไปที่ด้านข้างของกล่อง” 5. ครูให้เด็กแต่ละคนใช้มือทั้งสองข้างตบไปที่ด้านข้างของกล่อง และสังเกตความเปลี่ยนแปลง 6. ขณะที่เด็กใช้มือ 2 ข้างตบไปที่กล่องเด็กสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เด็ก ๆ : เทียนดับ 7. ครูใช้คำถามกระตุ้น เด็กๆคิดว่าเพราะอะไรทำไมเทียนจึงดับ เด็ก ๆ : เพราะว่ามีลมออกมาจากกล่อง 8. เด็กบันทึกการทดลอง โดยการวาดภาพ 9. เด็กนำเสนอผลงาน 10. เด็กและครูร ่ว มกัน สรุป ในทุก ที่จะมีอากาศอาศัยอยู่รวมถึงกล่องที่เรานำมาทดลอง ที่เรา สังเกตเห็นว่าเมื่อเรานำมือทั้ง 2 ข้างไปตบที่กล่องแล้วเทียนดับนั้นเป็นเพราะว่ามีการเคลื่อนที่ของอากาศ ภายในกล่องออกมากระทบกับเปลวเทียนจึงทำให้เทียนดับ ยิ่งเราตบแรงอากาศก็จะเคลื่อนที่ไปกระทบกับ เปลวเทียนได้แรงทำให้เปลวเทียนดับได้ง่ายขึ้น

29

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์ในการทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

30

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก แล

31

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้านและพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กได้เรียนรู้ว่าอากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราสามารถเคลื่อนที่ได้ 1.2 เด็กทราบว่าการเคลื่อนที่ของอากาศที่แตกต่างกันจะทำเกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เช่นถ้า เราตบกล่องอากาศก็จะเคลื่อนที่ช้าทำให้เทียนไม่ดับ แต่ถ้าเราตบกล่องแรงอากาศก็จะเคลื่อนที่เร็วทำ ให้เทียนดับได้ ๒. พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ๒.๑ ด้านการเรียนรู้ / ด้านภาษา / สติปัญญา ด้านการเรียนรู้ - เด็กสามารถเข้าใจและอธิบายเรื่องการเคลื่อนที่ของอากาศที่อยู่รอบตัวเราได้ ด้านภาษา - การฟัง เด็กใช้ทักษะการฟังจากสิ่งที่เพื่อนสนทนา ซักถาม โต้ตอบ - การพูด ตอบคำถาม บอกเหตุจากสิ่งที่ตนเองคิด อธิบายสิ่งที่พบเห็น - การอ่าน อ่านตามใบกิจกรรมที่ครูอ่านให้ฟัง - การเขียน เด็กส่วนใหญ่วาดภาพสื่อสารสิ่งได้เรียนรู้จากกิจกรรมได้ชัดเจน ด้านสติปัญญา เด็กส่วนใหญ่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ได้ทดลองทำกิจกรรมด้วยตนเองกับสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น การเคลื่อนที่ของอากาศช้าจะไม่สามารถทำให้เปลวเทียนดับได้ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าอากาศ เคลื่อนที่เร็วสามารถทำให้เปลวเทียนดับได้ ๒.๒ ด้านสังคม เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน รู้จักมารยาทในการฟัง การพูด ควบคุมตนเอง ปฏิบัติ ตามข้อตกลงร่วมกันได้ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน รอคอยได้ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ๒.๓ ด้านอารมณ์ จิตใจ แสดงออกทางสีหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใส สนุกสนาน ดีใจ ตื่นเต้น ๒.๔ ด้านการเคลื่อนไหว/ร่างกาย เด็กใช้มือหยิบจับวัสดุ อุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การใช้มือไปกระทบกับกล่อง เป็นต้น และสามารถเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมได้อย่างคล่องแคล่ว

32

กิจกรรมที่ 1๐ เรื่อง จรวดหลอด จุดประสงค์ ๑. เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่องอากาศหรือลมทำให้ของเคลื่อนที่ได้ 2. เด็กสามารถบันทึกผลการทดลอง และนำเสนอผลการทดลองได้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ๑. เด็กและครูร่วมกันสนทนาพูดคุยเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ทราบถึงเรื่องราวที่จะทำการทดลอง โดยได้พูดคุย ถึงประสบการณ์เดิมของเด็ก ๆ เกี่ยวกับเรื่องอากาศ ๒. ครูแนะนำอุปกรณ์การทดลอง ( หลอดดูดน้ำ และดินน้ำมัน ) ๓. ครูอธิบายขั้นตอนการทดลอง - ปัน้ ดินน้ำมันเป็นก้อนกลม ๆ หลังจากนั้นนำมาติดไว้ที่ปากหลอด และให้เด็ก ๆ ทดลองเป่า 4. ให้เด็กสังเกตการทดลองขณะเป่าลมลงไปในหลอด ๕. เด็กและครูร่วมกันสรุปการทดลอง เรื่อง จรวดหลอด ๖. เด็กบันทึกผลการทดลองด้วยการวาดภาพ ระบายสี และนำเสนอผลงานกิจกรรม จรวดหลอด

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

33

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์การทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ ทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง โดยการวาดภาพ

34

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

35

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้านและพัฒนาการ ๔ ด้าน) ๑. ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ ๑.๑ เด็กเรียนรู้ว่าถ้าเราใช้แรงเป่าแรงๆ แล้วลมจะออกมาแรงจะทำให้ดินน้ำมันลอยไปไกลได้ ๑.๒ เด็กสามารถบันทึกผลการทดลอง และนำเสนอผลการทดลองได้ ๒. พัฒนาความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้านและพัฒนาการ ๒.๑ ด้านการเรียนรู้/ด้านภาษา/สติปัญญา - เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสและทดลองด้วยตนเอง - เด็กสามารถอธิบายถึงวิธีการทดลอง - เด็กสรุปเป็นองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง - เด็กบอกอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองได้ - เด็กบอกสิ่งที่สังเกตเห็นจากการทดลองได้ - เด็กได้บันทึกข้อมูลด้วยตนเอง - เด็กได้นำเสนอข้อมูลที่ค้นพบด้วยตนเอง ๒.๒ ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น - เด็กเคารพข้อตกลง กฎ กติกาของห้องเรียน ๒.๓ ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ - เด็กสนใจและสนุกสนานในการเรียนรู้ - เด็กตื่นตาตื่นใจกับปรากฎการณ์ที่พบจากการทดลอง - เด็กรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ๒.๔ ต้านการเคลื่อนไหว/ร่างกาย - เด็กสามารถใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หยิบจับและใช้อุปกรณ์การทดลองได้อย่างคล่องแคล่ว - เด็กสามารถใช้มือหยิบ จับ ดินสอ สิ ลากเส้น ระบายสิบันทึกผลการทดลองได้ - เด็กสามารถใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่เคลื่อนไหวในการจัดเตรียมและจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ใน การทดลอง และทำความสะอาดได้เรียบร้อย

36

กิจกรรมที่ ๑๑ เรื่อง ปั๊มขวด และลิฟท์เทียน จุดประสงค์ 1. สามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรมปั๊มขวดและลิฟท์เทียนได้ 2. รู้จักสังเกต และบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง รวบรวมความคิด 2. ครูแนะนำให้เด็กรู้จักอุปกรณ์ ครูอธิบายให้เด็ก ๆ ฟังว่าอากาศต้องการพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น จึงทำให้เราได้ยินเสียงอากาศขยายตัว เมื่อล้างขวดหรือแก้วด้วยน้ำร้อน และคว่ำไว้บนพื้น โต๊ะเมื่ออากาศเย็นลง อากาศจะต้องการพื้นที่น้อยลงเพราะอนุภาคของอากาศจะเคลื่อนที่เข้ามาใกล้มากขึ้น จึงทำให้เกิดที่ว่าง และเกิดการไหลของอากาศขึ้น แต่มีการทดลองนี้เราจะศึกษาการไหลของน้ำแทน ซึ่งจะ แสดงให้เห็นว่าเมื่ออากาศเย็นตัวลงอนุภาคของอากาศจะยิ่งเข้ามาชิดกันมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามเมื่ออากาศ มีอุณหภูมิสูงขึ้นระยะห่างระหว่างอนุภาคของอากาศก็จะเพิ่มมากขึ้น อากาศซึ่งมีปริมาตรเท่าเดิมจึงต้องการ พื้นที่มากกว่าอากาศเย็น

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

37

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์การทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ สังเกตผลการทดลอง

ผลการทดลอง

38

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

39

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้าน และพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดขึ้นตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กสามารถบอกและทำการทดลองกิจกรรมปั๊มขวดและลิฟท์เทียนได้ 1.2 เด็กรู้จักสังเกตและบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ 2. พัฒนาการความสามารถพื้นฐานและการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้ / ด้านภาษา / ด้านสติปัญญา - เด็กรู้จักการตั้งคำถามในสิ่งที่ตนสงสัย - เด็กได้ลงมือทำ และทดลองด้วยตนเอง - เด็กสามารถอธิบายถึงวิธีการเรียนรู้ของตนเองว่าเรียนรู้ได้อย่างไร และได้พบ คำตอบที่อยากรู้ - เด็กสามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรมปั๊มขวดและลิฟท์เทียนได้ - เด็กรู้จักสังเกต และจำแนกความเหมือน ความต่างได้ - เด็กสามารถสรุป และนำเสนอผลการสรุปแก่คนอื่น ๆ ได้ - เด็กบอกรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์การทดลอง โดยใช้คำพูดของตนเอง - เด็กอธิบายถึงสิ่งที่พวกเขาสังเกตเห็นจากการทดลอง - เด็กได้นำเสนอข้อมูลที่ได้ค้นพบด้วยตนเอง 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น - เด็กเคารพกฎ และกติกาของห้องเรียน 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในการทำกิจกรรมการทดลอง และได้ผ่อนคลาย - สนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก - เด็กมีความสนใจใฝ่เรียนรู้ - เด็กได้ฝึกความกล้าแสดงออก 2.4 ด้านการเคลื่อนไหว / ร่างกาย - เด็กสามารถเคลื่อนไหว หยิบ จับ อุปกรณ์การทดลองได้คล่องแคล่ว - เด็กสามารถหยิบ จับ ประดิษฐ์กิจกรรมปั๊มขวดและลิฟท์เทียน ได้อย่างคล่องแคล่ว

40

กิจกรรมที่ 1๒ เรื่อง ขวดบุบเองได้ จุดประสงค์ 1. เด็กได้เรียนรู้เรื่องปรากฎการณ์ อากาศ ณ อุณหภูมิต่าง ๆ 2. เด็กสามารถบันทึกผลการทดลอง และนำเสนอผลการทดลองได้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. เด็กและครูร่วมกันสนทนาว่าหลังจากต้มไข่เสร็จใหม่ ๆ มีใครเคยสังเกตไหมคะ ก่อนที่ จะปอกเปลือก คุณแม่นำไข่ไปแช่น้ำเย็นก่อนปอกหรือไม่ และทำไมต้องทำเช่นนั้น 2. เด็กและครูเตรียมอุปกรณ์ แนะนำและอธิบายชั้นตอนการทดสอง 3. เด็กคาดคะเนคำตอบผลที่เกิดจากการทดลอง 3.1 เด็กเติมน้ำเย็นในถ้วยใบหนึ่งอีกใบหนึ่งเติมน้ำร้อน 3.2 นำขวดพลาสติกมาหนึ่งใบแล้วเติมน้ำเย็นลงไปในขวดประมาณครึ่งขวดแล้วปิด ฝาให้แน่น 3.3 ให้เด็กเขย่าขวดเพื่อให้น้ำเย็นกระจายไปทั่วขวด แล้วเทน้ำออกจากขวดให้หมด และปิดฝา ขวดให้แน่น 3.4 สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับขวดพลาสติก 3.5 นำขวดพลาสติกมาหนึ่งใบแล้วเติมน้ำร้อนลงไปในขวดประมาณครึ่งขวดแล้วปิด ฝาให้แน่น 3.6 ให้เด็กเขย่าขวดเพื่อให้น้ำร้อนกระจายไปทั่วขวด จากนั้นลองจับดูที่ข้างขวด เมื่อขวดอุ่นขึ้นจึงเทน้ำออกจากขวดให้หมด และปิดฝาขวดให้แน่น 3.7 สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับขวดพลาสติก 4. เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองเรื่อง ขวดบุบเองได้ พบว่า อากาศร้อนขยายตัว อากาศเย็น หดตัว อากาศร้อนเคลื่อนที่เร็วทำให้มีแรงดันอากาศมาก อากาศเย็นเคลื่อนที่ช้าทำให้แรงดันอากาศลดลง 5. เด็กบันทึกผลการทดลอง โดยการวาดภาพระบายสีและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

41

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์การทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ สังเกตผลการทดลอง 42

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

43

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้าน และพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปรากฎการณ์อากาศ ณ อุณหภูมิต่าง ๆ 1.2 เด็กสามารถบันทึกผลการทดลอง และนำเสนอผลการทดลองเป็นรูปภาพได้ 2. พัฒนาการตามความสามารถพื้นฐาน และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้/ด้านภาษา/สติปัญญา ด้านการเรียนรู้ - เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจเรื่องปรากฎการณ์อากาศ ณ อุณหภูมิต่าง ๆ ด้านภาษา - เด็กสนทนาโต้ตอบและแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้ - การคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้น เด็กแสดงความคิดเห็น อภิปราย และสรุปผลการทดลอง ด้านสติปัญญา - เด็กวางแผนและลงมือทำการทดลองเพื่อค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยได้ด้วยตนเอง 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของอื่น - เด็กเคารพกฎกติกาและปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียนได้ 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กมีสมาธิในการทำการทดลอง - เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น 2.4 ด้านการเคลื่อนไหว/ร่างกาย - เด็กสามารถเคลื่อนไหว การเขย่าขวด หยิบจับและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทดลองได้ อย่างคล่องแคล่ว - เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และทำการทดลองได้

44

กิจกรรมที่ 1๓ เรื่อง พรึ่บ จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กสามารถปฏิบัติการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้ 2. เพื่อให้เด็กพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูแนะนำกิจกรรมและวัสดุ อุปกรณ์ในการทดลองให้เด็กได้รู้จัก 2. ครูชวนเด็กทำกิจกรรมโดยใช้คำถามกระตุ้น ดังนี้ “นักเรียนรู้จักอากาศไหม อากาศมีลักษณะอย่างไร” 3. เด็กนั่งให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อเตรียมความพร้อมทำกิจกรรมการทดลองเรื่อง พรึ่บ 4. เด็กรับลูกโป่งจากครูคนละ 1 ลูก และเป่าลมให้ลูกโป่งพองโต 5. เด็กทดลองปล่อยลมออกจากลูกโป่งทีละนิด (จะทำให้เกิดเสียง) 6. เด็กนำสก็อตเทปไปติดที่ลูกโป่ง แล้วใช้เข็มหมุดค่อย ๆ เจาะลูกโป่งตรงบริเวณที่ติดสก็อตเทปไว้ 7. เด็กร่วมกันสรุปผลการทดลอง และบันทึกการทดลองโดยการวาดภาพ 8. เด็กนำเสนอผลงาน

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

45

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์ในการทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

46

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้านและพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กสามารถปฏิบัติการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้ 1.2 เด็กเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2.ผลการพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้/ด้านภาษา/ด้านสติปัญญา ด้านการเรียนรู้ - เด็ก ๆ สามารถเล่า/บอก วิธีการหาคำตอบของตนเองได้ - เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การทดลองเรื่อง พรึ่บ ด้านภาษา - เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาจากการสนทนาโต้ตอบแสดงความคิดเห็น - ทักษะด้านภาษาจากการพูด บรรยาย/เล่า สิ่งที่สังเกต ด้านสติปัญญา - เด็กรู้จักการคิดการแก้ปัญหาด้วยตนเองในการวางแผนและปฏิบัติตามแผน - เด็กรู้จักการเชื่อมโยงและแสดงความรู้สึกและสร้างสรรค์ผ่านสื่อ - เด็กสามารถใช้ภาษาในการถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองได้ จากการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - เด็กเคารพกฎกติกาและปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กได้รับความสนุกสนานจากการปฏิบัติกิจกรรม - เด็กเรียนรู้พึงพอใจในการปฏิบัติกิจกรรม 2.4 ด้านการเคลื่อนไหวและทักษะการรับรู้ประสาทสัมผัส - เด็กเคลื่อนไหวหยิบจับ สื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว - เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตด้วยตนเองจนได้ข้อมูลที่ชัดเจน

47

กิจกรรมที่ ๑๔ เรื่อง งูเต้นระบำ จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กรู้จักเปรียบเทียบอุณหภูมิร้อนกับเย็นจะมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน 2. เพื่อให้เด็กทำกิจกรรมการทดลองด้วยตนเอง ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ๑. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอากาศร้อน “ใครเคยเห็นไอร้อนลอยขึ้นมาจามถนนหรือพื้นสนามหรือไม่” เด็กๆ : ตอนนั่งมอเตอร์ไซค์ไปกับพ่อเห็นเป็นเหมือนแสง เปลวความร้อนขึ้นมาจากถนน ๒. เด็ก ๆ ทดลองกับกระดาษเพื่อหาลักษณะของลมร้อน โดยให้วาดวงกลมตามแบบลงบนกระดาษ และใช้กรรไกรตัดออกมา ครูสอนวิธีวาดงูลงบนแผ่นวงกลมให้กับเด็ก และระบายสีเมื่อเด็ก ๆ ระบายสี “งู” เสร็จแล้ว ให้ใช้กรรไกรตัดตำมเส้นที่วาดรูปงูออกมา ๓. เจาะที่รูกึ่งกลางหัวงูแล้วร้อยด้ายลงไป ๔. ให้เด็กจับหรือแขวนงูกระดาษให้เหนือเทียนที่จุดไฟ เด็กๆ สังเกตเห็นงูกระดาษหมุน เด็กตอบว่า “ถ้าร้อนมาก ๆ งูก็จะหมุนเร็ว” ๕. ครูถามใช้คำถามกระตุ้นความคิดเด็ก ดังนี้ “ถ้าเราดับไฟ จะเป็นอย่างไร เด็กๆ ตอบ งูจะหยุดหมุน” ๖. เด็กทดลองทำกิจกรรมด้วยตนเองโดยมีครูดูแลอย่างใกล้ชิด ๗. เด็กบันทึกผลการทดลอง ๘. เด็กนำเสนอผลงาน ๙. เด็กและครูร่วมกันสรุปว่าอากาศร้อนขยายตัว เคลื่อนที่เร็วและมีน้ำหนักเบา อากาศร้อนจึง เคลื่อนที่ลอยขึ้นด้านบน ส่วนอากาศเย็นจะหนักกว่า จะหดตัวเคลื่อนที่ช้า จะลอยต่ำลง

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

48

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์การทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ สังเกตผลการทดลอง

ผลงานจากการทดลอง 49

เด็ก ๆ ร่วมกันบันทึกผลการทดลอง โดยการวาดภาพ ระบายสี

เด็ก ๆ นำเสนอผลการทดลอง

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

50

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้าน และพัฒนาการ ๔ ด้าน) ๑. ผลที่เกิดขึ้นตามจุดประสงค์ ๑.๑ เด็กเข้าใจเรื่องอุณหภูมิที่มีความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิร้อนกับเย็น ๑.๒ เด็กสามารถนำวัสดุมาทดลองด้วยเองได้ และเข้าใจได้ว่างูกระดาษอยู่เหนืออากาศร้อนจะทำให้ งูหมุนได้เพราะอากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นด้านบน ๒. พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ๒.๑ ด้านการเรียนรู้ / ด้านภาษา / สติปัญญา ด้านการเรียนรู้ เด็กได้เรียนรู้เรื่องอุณหภูมิร้อนกับเย็นจะมีเความแตกต่างกัน อากาศร้อนจะเบา และลอยตัว ขึ้นด้านบนอากาศเย็นจะหดตัวจับตัวกันแน่นจึงหนักกว่าและลอยต่ำลง ด้านภาษา - การฟัง เด็กใช้ทักษะการฟังจากสิ่งที่เพื่อนสนทนา ซักถาม โต้ตอบ - การพูด ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นจากสิ่งที่ตนเองคิด อธิบายสิ่งที่พบเห็น - การอ่าน อ่านตามใบกิจกรรมที่ครูอ่านให้ฟัง - การเขียน เด็กส่วนใหญ่วาดภาพสื่อสารสิ่งได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมได้ชัดเจน ด้านสติปัญญา เด็กส่วนใหญ่สามารถทำการทดลองและเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นจากการลงมือทำ กิจกรรม ด้วยตนเองเมื่อน้ำงูกระดาษมาอยู่เหนือเปลวเทียน อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นข้างบน เมื่อ ปะทะงูกระดาษ จึงทำให้งูหมุนขึ้นด้านบนได้ และเมื่อดับเทียนอากาศจะเย็นลงงูจะไม่เคลื่อนที่ ๒.๒ ด้านสังคม เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน รู้จักมารยาทในการฟัง การพูดยกมือก่อนจะพูด ควบคุม ตนเอง ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันได้ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน รอคอยได้ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างทำกิจกรรม ๒.๓ ด้านอารมณ์ – จิตใจ แสดงออกทางสีหน้ำยิ้มแย้ม แจ่มใส สนุกสนาน ตื่นเต้นกับสิ่งที่ได้ลงมือปฏิบัติ มีสมาธิ จดจ่อกับ กิจกรรมการทดลอง ๒.๔ ด้านการเคลื่อนไหว/ร่างกาย เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อเล็ก- ใหญ่ ในกำรทำกิจกรรมได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การหยิบจับอุปกรณ์ ในการ ทำกิจกรรมได้อย่างคล่องแคล่ว

51

กิจกรรมที่ 1๕ เรื่อง รู้จักอากาศด้วยประสาทสัมผัส จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กมีความรู้และเข้าใจเรื่องอากาศ 2. เพื่อเด็กสัมผัสอากาศด้วยประสาทสัมผัส ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. เด็กและครูร่วมกันพูดคุย สนทนาเกี่ยวกับอากาศรอบตัวเรา 2. ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ (ร่ม) ให้เด็กทำการทดลอง 3. เด็กปฏิบัติกิจกรรมการทดลองร่วมกัน 3.1 รอบที่ 1 เด็ก ๆ วิ่งถือร่มแบบหุบ วิ่งไปข้างหน้าโดยการถือร่มไว้ระดับเอว แล้ววิ่งกลับมาโดยการเอาไว้วางไว้ตรงหัวไหล่ 3.2 รอบที่ 2 เด็ก ๆ วิ่งถือร่มแบบกาง วิ่งไปข้างหน้าโดยการถือร่มไว้ระดับเอว แล้ววิ่งกลับมาโดยการเอาไว้วางไว้ตรงหัวไหล่ 4. เด็กและร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอากาศ วิ่งแบบไหนง่ายกว่า หรือยากกว่ากัน และตอน วิ่งเด็ก ๆ มีความรู้สึกอย่างไรบ้าง ให้เด็ก ๆช่วยกันแสดงความคิดเห็น 5. เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรม

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

52

เด็ก ๆ การทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก 53

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้าน และพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องอากาศและได้รู้ว่าอากาศมีตัวตนไม่ใช่สิ่งว่างเปล่า 1.2 เด็กร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนานและมีความสุขกับการทดลอง 2. พัฒนาการตามความสามารถพื้นฐาน และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้/ด้านภาษา/สติปัญญา ด้านการเรียนรู้ - เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจเรื่องอากาศ อากาศมีตัวตน ด้านภาษา - เด็กสนทนาโต้ตอบและแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้ - การคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้น เด็กแสดงความคิดเห็น อภิปราย และสรุปผลการทดลอง ด้านสติปัญญา - เด็กวางแผนและลงมือทำการทดลองเพื่อค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยได้ด้วยตนเอง 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของอื่น - เด็กเคารพกฎกติกาและปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียนได้ 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กมีสมาธิในการทำการทดลอง - เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น 2.4 ด้านการเคลื่อนไหว/ร่างกาย - เด็กสามารถเคลื่อนไหว การเขย่าขวด หยิบจับและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทดลองได้ อย่างคล่องแคล่ว - เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และทำการทดลองได้

54

กิจกรรมที่ 1๖ เรื่อง อากาศต้องการที่อยู่ จุดประสงค์ 1. สามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรม 2. รู้จักสังเกต และบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูแนะนำกิจกรรมและวัสดุ อุปกรณ์ในการทดลองให้เด็กได้รู้จัก 2. ครูชวนเด็กทำกิจกรรมโดยใช้คำถามกระตุ้นความคิดเด็ก เกี่ยวกับเรื่องอากาศ 3. เด็กนั่งให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อเตรียมความพร้อมทำกิจกรรมการทดลองเรื่อง อากาศต้องการ ที่อยู่ 4. เด็กและครูเริ่มทำการทดลอง 4.1 ครูส่งต่อขวดน้ำ ครั้งที่ 1 เป็นขวดน้ำเปล่าที่ไม่ได้ปิดฝา ให้เด็ก ๆ ทดลองใช้แรงบีบขวด ให้บุบ 4.2 ครูส่งต่อขวดน้ำ ครั้งที่ 2 เป็นขวดน้ำเปล่าที่ปิดฝา ให้เด็ก ๆ ทดลองใช้แรงบีบขวด ให้บุบ โดยครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดเด็กตลอดการทำกิจกรรม 4.3 ครูส่งต่อขวดน้ำ ครั้งที่ 3 เป็นขวดน้ำเปล่า ที่ใส่น้ำจนเต็มขวด และปิดฝาสนิท จากนั้น ให้เด็ก ๆ ทดลองใช้แรงบีบขวดให้บุบ โดยครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดเด็กตลอดการทำกิจกรรม 5. เด็กร่วมกันสรุปผลการทดลอง และบันทึกการทดลองโดยการวาดภาพ 6. เด็กนำเสนอผลงาน

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง 55

เด็ก ๆ ทดลองบีบขวดครั้งที่ 1 (ขวดน้ำเปล่า ที่ไม่ปิดฝา)

เด็ก ๆ ทดลองบีบขวดครั้งที่ 2 (ขวดน้ำเปล่า ที่ปิดฝา)

เด็ก ๆ ทดลองบีบขวดครั้งที่ ๓ (ขวดน้ำเปล่า ที่ใส่น้ำจนเต็มขวด และปิดฝาสนิท)

56

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอข้อมูล

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

57

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาการความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้าน และพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องอากาศ และได้รู้ว่าอากาศไม่ได้ล่อยลอยในอากาศเพียงอย่าง เดียว แต่อากาศต้องการที่อยู่ด้วย 1.2 เด็กร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน และมีความสุขกับการทดลอง 2. พัฒนาการตามความสามารถพื้นฐาน และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้/ด้านภาษา/สติปัญญา ด้านการเรียนรู้ - เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจเรื่องอากาศ อากาศมีตัวตน ด้านภาษา - เด็กสนทนาโต้ตอบและแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้ - การคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้น เด็กแสดงความคิดเห็น อภิปราย และสรุปผลการทดลอง ด้านสติปัญญา - เด็กวางแผนและลงมือทำการทดลองเพื่อค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยได้ด้วยตนเอง 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของอื่น - เด็กเคารพกฎกติกาและปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียนได้ 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กมีสมาธิในการทำการทดลอง - เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น 2.4 ด้านการเคลื่อนไหว/ร่างกาย - เด็กสามารถเคลื่อนไหว การเขย่าขวด หยิบจับและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทดลองได้ อย่างคล่องแคล่ว - เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และทำการทดลองได้

58

กิจกรรมที่ 17 เรื่อง ขวดเป่าลูกโป่ง จุดประสงค์ 1. สามารถบอก และทำการทดลองกิจกรรมขวดเป่าลูกโป่งได้ 2. รู้จักสังเกต และบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูแนะนำกิจกรรมและวัสดุ อุปกรณ์ในการทดลองให้เด็กได้รู้จัก 2. ครูชวนเด็กทำกิจกรรมโดยใช้คำถามกระตุ้นความคิดเด็ก เกี่ยวกับเรื่องอากาศ 3. เด็กนั่งให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อเตรียมความพร้อมทำกิจกรรมการทดลองเรื่อง ขวดเป่าลูกโป่ง 4. เด็ก ๆ ออกมารับอุปกรณ์ในการทดลอง คนละ 1 ชุด คือ ขวดน้ำ และลูกโป่ง 5. เด็กนำลูกโป่งครอบไว้ที่ปากขวดน้ำ และทดลองเป่าลมใส่ลูกโป่งที่อยู่ในขวด 6. เด็กทดลองบีบขวดเพื่อให้ลมในขวดเป่าลูกโป่งให้พองโต 7. เด็กร่วมกันสรุปผลการทดลอง และบันทึกการทดลองโดยการวาดภาพ 8. เด็กนำเสนอผลงาน

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

59

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์ในการทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

60

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้านและพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กสามารถปฏิบัติการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้ 1.2 เด็กเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2.ผลการพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้/ด้านภาษา/ด้านสติปัญญา ด้านการเรียนรู้ - เด็ก ๆ สามารถเล่า/บอก วิธีการหาคำตอบของตนเองได้ - เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การทดลองเรื่อง ขวดเป่าลูกโป่ง ด้านภาษา - เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาจากการสนทนาโต้ตอบแสดงความคิดเห็น - ทักษะด้านภาษาจากการพูด บรรยาย/เล่า สิ่งที่สังเกต ด้านสติปัญญา - เด็กรู้จักการคิดการแก้ปัญหาด้วยตนเองในการวางแผนและปฏิบัติตามแผน - เด็กรู้จักการเชื่อมโยงและแสดงความรู้สึกและสร้างสรรค์ผ่านสื่อ - เด็กสามารถใช้ภาษาในการถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองได้ จากการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - เด็กเคารพกฎกติกาและปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กได้รับความสนุกสนานจากการปฏิบัติกิจกรรม - เด็กเรียนรู้พึงพอใจในการปฏิบัติกิจกรรม 2.4 ด้านการเคลื่อนไหวและทักษะการรับรู้ประสาทสัมผัส - เด็กเคลื่อนไหวหยิบจับ สื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว - เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตด้วยตนเองจนได้ข้อมูลที่ชัดเจน

61

กิจกรรมที่ 18 เรื่อง ถุงดำ จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กสามารถปฏิบัติการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้ 2. เพื่อให้เด็กพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูแนะนำกิจกรรมและวัสดุ อุปกรณ์ในการทดลองให้เด็กได้รู้จัก 2. ครูชวนเด็กทำกิจกรรมโดยใช้คำถามกระตุ้นความคิดเด็กเกี่ยวกับอากาศที่อยู่รอบตัว 2.1 เด็กเคยมองเห็นอากาศได้ไหมคะ 2.2 เด็กคิดว่าเราสามารถจับอากาศได้ไหมคะ 3. เด็กนั่งให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อเตรียมความพร้อมทำกิจกรรมการทดลองเรื่อง ถุงดำ 4. เด็กออกมารับอุปกรณ์จากครู (ถุงดำ/ถุงใส่ขยะ) 5. เด็กเริ่มทำการทดลอง โดยการวิ่งกางถุงดำเพื่อนำอากาศใส่ถุงดำให้ได้มากที่สุด และมัดปากถุงให้ แน่น 6. เด็กนำถุงดำที่จับอากาศได้มาแข่งขันกัน ว่าของใครจับอากาศได้เยอะที่สุด 7. เด็กร่วมกันสรุปผลการทดลอง และบันทึกการทดลองโดยการวาดภาพ 8. เด็กนำเสนอผลงาน

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

62

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์ในการทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก 63

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้านและพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กสามารถปฏิบัติการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้ 1.2 เด็กเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2.ผลการพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้/ด้านภาษา/ด้านสติปัญญา ด้านการเรียนรู้ - เด็ก ๆ สามารถเล่า/บอก วิธีการหาคำตอบของตนเองได้ - เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การทดลองเรื่อง ถุงดำ ด้านภาษา - เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาจากการสนทนาโต้ตอบแสดงความคิดเห็น - ทักษะด้านภาษาจากการพูด บรรยาย/เล่า สิ่งที่สังเกต ด้านสติปัญญา - เด็กรู้จักการคิดการแก้ปัญหาด้วยตนเองในการวางแผนและปฏิบัติตามแผน - เด็กรู้จักการเชื่อมโยงและแสดงความรู้สึกและสร้างสรรค์ผ่านสื่อ - เด็กสามารถใช้ภาษาในการถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองได้ จากการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - เด็กเคารพกฎกติกาและปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กได้รับความสนุกสนานจากการปฏิบัติกิจกรรม - เด็กเรียนรู้พึงพอใจในการปฏิบัติกิจกรรม 2.4 ด้านการเคลื่อนไหวและทักษะการรับรู้ประสาทสัมผัส - เด็กเคลื่อนไหวหยิบจับ สื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว - เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตด้วยตนเองจนได้ข้อมูลที่ชัดเจน

64

กิจกรรมที่ ๑๙ เรื่อง ยิงบอล จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กสามารถปฏิบัติการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้ 2. เพื่อให้เด็กพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูแนะนำกิจกรรมและวัสดุ อุปกรณ์ในการทดลองให้เด็กได้รู้จัก 2. ครูชวนเด็กทำกิจกรรมโดยใช้คำถามกระตุ้นความคิดเด็กเกี่ยวกับอากาศ 3. เด็กนั่งให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อเตรียมความพร้อมทำกิจกรรมการทดลองเรื่อง ยิงบอล 4. ครูสาธิตวิธีการทดลองให้เด็ก ๆ ดู 1 รอบ 4.1 วางระดับก้อนสำลีให้ตรงกับปากขวด 4.2 เป่าลมไปที่ก้อนสำลี 5. เด็กทำการทดลองด้วยตนเอง 6. เด็กร่วมกันสรุปผลการทดลอง และบันทึกการทดลองโดยการวาดภาพ 7. เด็กนำเสนอผลงาน

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

65

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์ในการทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอข้อมูล

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

66

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้านและพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กสามารถปฏิบัติการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้ 1.2 เด็กเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2.ผลการพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้/ด้านภาษา/ด้านสติปัญญา ด้านการเรียนรู้ - เด็ก ๆ สามารถเล่า/บอก วิธีการหาคำตอบของตนเองได้ - เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การทดลองเรื่อง ส่องกระจก ด้านภาษา - เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาจากการสนทนาโต้ตอบแสดงความคิดเห็น - ทักษะด้านภาษาจากการพูด บรรยาย/เล่า สิ่งที่สังเกต ด้านสติปัญญา - เด็กรู้จักการคิดการแก้ปัญหาด้วยตนเองในการวางแผนและปฏิบัติตามแผน - เด็กรู้จักการเชื่อมโยงและแสดงความรู้สึกและสร้างสรรค์ผ่านสื่อ - เด็กสามารถใช้ภาษาในการถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองได้ จากการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - เด็กเคารพกฎกติกาและปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กได้รับความสนุกสนานจากการปฏิบัติกิจกรรม - เด็กเรียนรู้พึงพอใจในการปฏิบัติกิจกรรม 2.4 ด้านการเคลื่อนไหวและทักษะการรับรู้ประสาทสัมผัส - เด็กเคลื่อนไหวหยิบจับ สื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว - เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตด้วยตนเองจนได้ข้อมูลที่ชัดเจน

67

กิจกรรมที่ ๒๐ เรื่อง ส่องกระจก จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กสามารถปฏิบัติการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้ 2. เพื่อให้เด็กพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม กิจกรรม ส่องกระจก ให้เด็ก ๆ มารับอุปกรณ์จากคุณครู จากนั้นให้เด็ก ๆ หาวัตถุที่มีพื้นผิวสะท้อน แสงแบบต่าง ๆ และสรุปว่าพื้นผิวสะท้อนที่เรียบจะให้ภาพแตกต่างจากพื้นผิวโค้งอย่างไร จากนั้นนำแผ่น กระจกเงามาส่องตนเองและเพื่อน ๆ นำวัตถุที่เตรียมไว้มาส่อง สังเกตภาพที่เกิดขึ้นในกระจกเงา

วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์ในการทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแล 68

เด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลงาน

ผลงานที่สำเร็จของเด็ก

69

ผลที่เกิดกับเด็ก (ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม พัฒนาความสามารถพื้นฐาน ๔ ด้านและพัฒนาการ ๔ ด้าน) 1. ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ 1.1 เด็กสามารถปฏิบัติการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้ 1.2 เด็กเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2.ผลการพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย 2.1 ด้านการเรียนรู้/ด้านภาษา/ด้านสติปัญญา ด้านการเรียนรู้ - เด็ก ๆ สามารถเล่า/บอก วิธีการหาคำตอบของตนเองได้ - เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การทดลองเรื่อง ส่องกระจก ด้านภาษา - เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาจากการสนทนาโต้ตอบแสดงความคิดเห็น - ทักษะด้านภาษาจากการพูด บรรยาย/เล่า สิ่งที่สังเกต ด้านสติปัญญา - เด็กรู้จักการคิดการแก้ปัญหาด้วยตนเองในการวางแผนและปฏิบัติตามแผน - เด็กรู้จักการเชื่อมโยงและแสดงความรู้สึกและสร้างสรรค์ผ่านสื่อ - เด็กสามารถใช้ภาษาในการถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองได้ จากการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ 2.2 ด้านสังคม - เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - เด็กแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - เด็กเคารพกฎกติกาและปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน 2.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ - เด็กได้รับความสนุกสนานจากการปฏิบัติกิจกรรม - เด็กเรียนรู้พึงพอใจในการปฏิบัติกิจกรรม 2.4 ด้านการเคลื่อนไหวและทักษะการรับรู้ประสาทสัมผัส - เด็กเคลื่อนไหวหยิบจับ สื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว - เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตด้วยตนเองจนได้ข้อมูลที่ชัดเจน

70

71

Get in touch

Social

© Copyright 2013 - 2024 MYDOKUMENT.COM - All rights reserved.